• ลี่ เสมียนหลวงโบราณวันนี้เรามาคุยกันสั้นๆ ถึงอีกเกร็ดหนึ่งจากซีรีส์เรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ เพื่อนเพจที่ได้ดูแล้วคงจำได้ว่าในตอนปลายของเรื่องนั้น ไต้เท้าฟ่านเสียนได้เดินทางไปซูโจว และเอาเงินและของที่ได้รับกำนัลจากเหล่าขุนนางท้องถิ่นไปบริจาคให้ชาวบ้านที่หนีภัยธรรมชาติมายังซูโจว ในเหตุการณ์นี้ ฟ่านเสียนมอบหมายให้เสมียนหลวงเป็นคนเอาของไปแจกจ่าย คำกล่าวของเขาคือ เสมียนไม่ใช่ขุนนาง จึงมีสถานะห่างจากชาวบ้านธรรมดาน้อยหน่อยเสมียนหลวงหรือที่เรียกว่า ‘ลี่’ (吏) นี้หากดูจากขอบเขตหน้าที่การทำงานแล้ว คงเปรียบได้กับข้าราชการพลเรือนสามัญในระบบราชการไทย แต่ ‘ลี่’ นี้ ในระบบข้าราชการของจีนโบราณมีสถานะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย บางสมัยนับเป็นข้าราชการ บางสมัยไม่ใช่ ในเรื่อง <หาญท้าฯ> นี้ ขุนนางเรียกว่า ‘กวน’ (官) ในขณะที่ ‘ลี่’ คือเสมียน แต่จริงๆ แล้วในยุคแรกๆ ทั้งกวนและลี่ล้วนใช้กับข้าราชการเหมือนกันและมักเรียกรวมเป็นกวนลี่ และในเอกสารต่างๆ เรียกขุนนางว่าลี่ โดยหมายรวมถึงขุนนางระดับสูงด้วย ตัวอย่างเช่น เอกสารบันทึกสมัยชุนชิวที่เรียกว่าจั่วจ้วน (左传) มีการกล่าวถึงว่า ข้าหลวงตัวแทนพระองค์มีอำนาจและยศต่ำกว่า ‘ซานลี่’ (ลี่สามตำแหน่ง) ซึ่งหมายถึง ‘ซานกง’ (บางคนแปลว่าสามพระยา บางคนแปลว่าสามมหาเสนา) ซึ่งเป็นขุนนางสูงสุดสามตำแหน่งในสมัยนั้นต่อมาคำว่า ‘ลี่’ ถูกใช้เรียกข้าราชการท้องถิ่นเป็นหลัก ในสมัยฮั่นมีการวางระบบข้าราชการเพิ่มเติมและแยกข้าราชการท้องถิ่นออกเป็นสามระดับคือ กวน จ่างลี่ (长吏) และส้าวลี่ (少吏) และกำหนดเกณฑ์ว่าผู้ที่ได้รับเงินเดือนสูงกว่าข้าวสองร้อยต้านคือกวน ต่ำกว่านั้นคือลี่ เห็นได้ว่า แม้ว่าลี่ยังเป็นข้าราชการแต่จัดเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยต่อมาการแบ่งแยกระหว่างกวนและลี่มีมากขึ้นภายใต้ระบบขุนนางเก้าขั้นและเมื่อขุนนางท้องถิ่นถูกลดทอนอำนาจ ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการยกเลิกการให้เงินเดือนหลวงกับลี่และจำนวนขุนนางที่ไปประจำการท้องถิ่นมีน้อยลง จึงต้องว่าจ้างคนในพื้นที่ทำงาน กลายเป็นว่าลี่คือเสมียนรับจ้างจากข้าราชการอีกที ทำให้ในสมัยถังและซ่ง ลี่ถูกมองว่าเป็นคนชั้นล่าง การแบ่งแยกนี้ยิ่งชัดเจนขึ้นในสมัยหมิง เมื่อมีการกำหนดว่าผู้ที่ทำหน้าที่เสมียนหลวงห้ามสอบขุนนาง นั่นแปลว่า ‘ลี่’ เข้ารับราชการไม่ได้เลย ดังนั้น จากเดิมที่ลี่เป็นข้าราชการเช่นเดียวกับกวน ผ่านไปกว่าพันปีกลับกลายเป็นว่า ลี่แม้ทำงานในที่ว่าการท้องถิ่น แต่ไม่ใช่ข้าราชการ ไม่มียศขั้น ไม่มีเงินเดือนหลวงประจำตำแหน่งหากแต่ได้รับค่าจ้างตามแต่ข้าราชการท้องถิ่นจะมีงบประมาณว่าจ้าง ในยุคสมัยที่ขุนนางได้รับการยกย่องว่าเป็นชนชั้นสูงมีหน้ามีตาในสังคม จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นภาพเช่นในเรื่อง <หาญท้าฯ> ที่มีการดูถูกเสมียนหลวงว่าเป็นคนที่ต่ำต้อย และไม่แปลกว่าทำไมฟ่านเสียนจึงบอกว่า เสมียนหลวงไม่ใช่ข้าราชการและนับว่ามีสถานะใกล้ชิดกับชาวบ้านมากกว่าขุนนางในความเป็นจริง เสมียนหลวงมีความสำคัญไม่น้อยแม้ไม่ได้รับการยกย่องชูเกียรติเหมือนขุนนาง เนื่องเพราะพวกเขาเป็นเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของที่ว่าการท้องถิ่น ดูแลงานต่างๆ ประจำวัน อาจกล่าวได้ว่างานหลายเรื่องจะถูกดองหรือไม่ขึ้นอยู่กับพวกเขา นอกจากนี้ ขุนนางที่ไปประจำการท้องถิ่นโดยปกติจะมีการโยกย้ายทุกสามปี แต่เสมียนหลวงเป็นชาวบ้านในพื้นที่ ไม่ต้องถูกโยกย้ายไปประจำการในพื้นที่อื่นและรู้ตื้นลึกหนาบางในพื้นที่ของตนเป็นอย่างดี และนี่ก็เป็นสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าฯ> จึงมีคนท้วงฟ่านเสียนว่าเหตุใดจึงไม่กลัวว่าเสมียนหลวงจะยักยอกเงิน(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ejdz.cn/download/news/n134541.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ctext.org/chun-qiu-zuo-zhuan/cheng-gong-er-nian/zhs https://web.stanford.edu/~xgzhou/zhou_16_GuanLi_EN.pdfhttps://www.sohu.com/a/574234_109477https://www.sohu.com/a/460112987_120129611 https://www.163.com/dy/article/DAJGGOVH0523F8UN.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ขุนนางจีน #เสมียนหลวง #ลี่ #กวน #สาระจีน
    ลี่ เสมียนหลวงโบราณวันนี้เรามาคุยกันสั้นๆ ถึงอีกเกร็ดหนึ่งจากซีรีส์เรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ เพื่อนเพจที่ได้ดูแล้วคงจำได้ว่าในตอนปลายของเรื่องนั้น ไต้เท้าฟ่านเสียนได้เดินทางไปซูโจว และเอาเงินและของที่ได้รับกำนัลจากเหล่าขุนนางท้องถิ่นไปบริจาคให้ชาวบ้านที่หนีภัยธรรมชาติมายังซูโจว ในเหตุการณ์นี้ ฟ่านเสียนมอบหมายให้เสมียนหลวงเป็นคนเอาของไปแจกจ่าย คำกล่าวของเขาคือ เสมียนไม่ใช่ขุนนาง จึงมีสถานะห่างจากชาวบ้านธรรมดาน้อยหน่อยเสมียนหลวงหรือที่เรียกว่า ‘ลี่’ (吏) นี้หากดูจากขอบเขตหน้าที่การทำงานแล้ว คงเปรียบได้กับข้าราชการพลเรือนสามัญในระบบราชการไทย แต่ ‘ลี่’ นี้ ในระบบข้าราชการของจีนโบราณมีสถานะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย บางสมัยนับเป็นข้าราชการ บางสมัยไม่ใช่ ในเรื่อง <หาญท้าฯ> นี้ ขุนนางเรียกว่า ‘กวน’ (官) ในขณะที่ ‘ลี่’ คือเสมียน แต่จริงๆ แล้วในยุคแรกๆ ทั้งกวนและลี่ล้วนใช้กับข้าราชการเหมือนกันและมักเรียกรวมเป็นกวนลี่ และในเอกสารต่างๆ เรียกขุนนางว่าลี่ โดยหมายรวมถึงขุนนางระดับสูงด้วย ตัวอย่างเช่น เอกสารบันทึกสมัยชุนชิวที่เรียกว่าจั่วจ้วน (左传) มีการกล่าวถึงว่า ข้าหลวงตัวแทนพระองค์มีอำนาจและยศต่ำกว่า ‘ซานลี่’ (ลี่สามตำแหน่ง) ซึ่งหมายถึง ‘ซานกง’ (บางคนแปลว่าสามพระยา บางคนแปลว่าสามมหาเสนา) ซึ่งเป็นขุนนางสูงสุดสามตำแหน่งในสมัยนั้นต่อมาคำว่า ‘ลี่’ ถูกใช้เรียกข้าราชการท้องถิ่นเป็นหลัก ในสมัยฮั่นมีการวางระบบข้าราชการเพิ่มเติมและแยกข้าราชการท้องถิ่นออกเป็นสามระดับคือ กวน จ่างลี่ (长吏) และส้าวลี่ (少吏) และกำหนดเกณฑ์ว่าผู้ที่ได้รับเงินเดือนสูงกว่าข้าวสองร้อยต้านคือกวน ต่ำกว่านั้นคือลี่ เห็นได้ว่า แม้ว่าลี่ยังเป็นข้าราชการแต่จัดเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยต่อมาการแบ่งแยกระหว่างกวนและลี่มีมากขึ้นภายใต้ระบบขุนนางเก้าขั้นและเมื่อขุนนางท้องถิ่นถูกลดทอนอำนาจ ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการยกเลิกการให้เงินเดือนหลวงกับลี่และจำนวนขุนนางที่ไปประจำการท้องถิ่นมีน้อยลง จึงต้องว่าจ้างคนในพื้นที่ทำงาน กลายเป็นว่าลี่คือเสมียนรับจ้างจากข้าราชการอีกที ทำให้ในสมัยถังและซ่ง ลี่ถูกมองว่าเป็นคนชั้นล่าง การแบ่งแยกนี้ยิ่งชัดเจนขึ้นในสมัยหมิง เมื่อมีการกำหนดว่าผู้ที่ทำหน้าที่เสมียนหลวงห้ามสอบขุนนาง นั่นแปลว่า ‘ลี่’ เข้ารับราชการไม่ได้เลย ดังนั้น จากเดิมที่ลี่เป็นข้าราชการเช่นเดียวกับกวน ผ่านไปกว่าพันปีกลับกลายเป็นว่า ลี่แม้ทำงานในที่ว่าการท้องถิ่น แต่ไม่ใช่ข้าราชการ ไม่มียศขั้น ไม่มีเงินเดือนหลวงประจำตำแหน่งหากแต่ได้รับค่าจ้างตามแต่ข้าราชการท้องถิ่นจะมีงบประมาณว่าจ้าง ในยุคสมัยที่ขุนนางได้รับการยกย่องว่าเป็นชนชั้นสูงมีหน้ามีตาในสังคม จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นภาพเช่นในเรื่อง <หาญท้าฯ> ที่มีการดูถูกเสมียนหลวงว่าเป็นคนที่ต่ำต้อย และไม่แปลกว่าทำไมฟ่านเสียนจึงบอกว่า เสมียนหลวงไม่ใช่ข้าราชการและนับว่ามีสถานะใกล้ชิดกับชาวบ้านมากกว่าขุนนางในความเป็นจริง เสมียนหลวงมีความสำคัญไม่น้อยแม้ไม่ได้รับการยกย่องชูเกียรติเหมือนขุนนาง เนื่องเพราะพวกเขาเป็นเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของที่ว่าการท้องถิ่น ดูแลงานต่างๆ ประจำวัน อาจกล่าวได้ว่างานหลายเรื่องจะถูกดองหรือไม่ขึ้นอยู่กับพวกเขา นอกจากนี้ ขุนนางที่ไปประจำการท้องถิ่นโดยปกติจะมีการโยกย้ายทุกสามปี แต่เสมียนหลวงเป็นชาวบ้านในพื้นที่ ไม่ต้องถูกโยกย้ายไปประจำการในพื้นที่อื่นและรู้ตื้นลึกหนาบางในพื้นที่ของตนเป็นอย่างดี และนี่ก็เป็นสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าฯ> จึงมีคนท้วงฟ่านเสียนว่าเหตุใดจึงไม่กลัวว่าเสมียนหลวงจะยักยอกเงิน(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ejdz.cn/download/news/n134541.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ctext.org/chun-qiu-zuo-zhuan/cheng-gong-er-nian/zhs https://web.stanford.edu/~xgzhou/zhou_16_GuanLi_EN.pdfhttps://www.sohu.com/a/574234_109477https://www.sohu.com/a/460112987_120129611 https://www.163.com/dy/article/DAJGGOVH0523F8UN.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ขุนนางจีน #เสมียนหลวง #ลี่ #กวน #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 413 มุมมอง 0 รีวิว
  • สำนวนจีนจาก <หาญท้าฯ 2>สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ เกี่ยวกับสำนวนจีนจากซีรีส์เรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> เพื่อนเพจที่ได้ดูแล้วอาจจำได้ว่าฮ่องเต้จัดงานชมบุปผาบนเขาและต่อมามีคนลอบปลงพระชนม์จนทำให้ฟ่านเสียนได้รับบาดเจ็บสาหัส ในช่วงตอนเตรียมงานนั้น แม่ทัพเย่มาขอให้ฟ่านเสียนช่วยสอดส่องดูแลความปลอดภัยของฮ่องเต้ โดยให้เหตุผลว่า ถ้ามีอะไรผิดพลาดเขาจะต้องรับความผิดและลูกน้องจะซวยหนักกว่า ในเวอร์ชั่นซับไทยตอนที่แม่ทัพเย่ให้เหตุผลนี้ เขาอ้ำอึ้งใช้ประโยคว่า “หญ้า... อะไรแหลกๆ… ลมพัดแรงมักพัดถึงพวกตำแหน่งล่าง” ซึ่งฟ่านเสียนเลยต่อให้จบว่า “ช้างสารชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญ... ประโยคนี้ไม่ได้ใช้อย่างนี้” เพื่อนเพจที่ดูซับหรือพากย์ไทยอาจไม่สะดุดตาสะดุดหู แต่จริงๆ แล้วในเวอร์ชั่นภาษาจีนใช้อีกประโยคหนึ่ง ซึ่งสะดุดหู Storyฯ ไม่น้อยประโยคที่กล่าวถึงนี้ ในภาษาจีนก็คือ ‘เฟิงฉี่ชิงผิงจือม่อ’ (风起青萍之末) Storyฯ ขอแปลว่า ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน’ ซึ่งเป็นสำนวนจีน เป็นวรรคต้นของประโยคที่ว่า ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน สิ้นสุดกลางทุ่งหญ้า’ (风起于青萍之末,止于草莽之间) ฟังดูไพเราะ แต่มันแปลว่าอะไร?ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงที่มาว่า สำนวนนี้ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์โบราณสมัยจ้านกั๋วชื่อว่า ‘เฟิงฟู่’ (风赋 / บทประพันธ์แห่งสายลม)ของกวีนามว่าซ่งอวี้ (宋玉 ประมาณปี 290 – 222 ก่อนคริสตกาล) จากแคว้นฉู่ ซึ่งเป็นหนึ่งในแปดบทประพันธ์ชนิด ‘ฟู่’ ของจีนที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด โดย ‘ฟู่’ เป็นวรรณกรรมร้อยแก้วที่มีภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆเฟิงฟู่ ใช้สายลมเป็นตัวดำเนินเรื่อง กล่าวถึงอ๋องฉู่เซียงไปชมวิวบนหอสูง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) รู้สึกชื่นมื่นกับลมเย็นสบายและคิดว่านี่เป็นความเย็นสบายที่ชาวบ้านสามารถร่วมสัมผัสได้เหมือนกัน ไม่แบ่งแยกชนชั้นหรือความร่ำรวยแต่ซ่งอวี้ที่ติดตามไปด้วยกลับบอกว่า ลมที่อ๋องฉู่เซียงสัมผัส ย่อมไม่เหมือนกับลมที่ชาวประชาสัมผัส นั่นเป็นเพราะว่า แม้ลมเป็นอากาศที่ไหลเวียนไปได้หลายพื้นที่ แต่เพราะภูมิประเทศและสิ่งปลูกสร้างที่แตกต่าง แรงลมที่สัมผัสได้ในแต่ละพื้นที่ย่อมแตกต่างกันซ่งอวี้บอกว่า ลมที่อ๋องฉู่เซียงสัมผัส สร้างตัวจากคลื่นอากาศแผ่วเบาเหนือจอกแหน ค่อยๆ ขยายไปยังหุบเขา ก่อเกิดเป็นลมแรงพัดผ่านภูเขา โถมกระหน่ำเข้าใส่หินผาและป่าไม้ จนผ่านพ้นถึงทุ่งหญ้าแล้วจึงสงบลงกลายเป็นสายลมที่สร้างความเย็นใจ และสำนวน ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน สิ้นสุดกลางทุ่งหญ้า’ นี้จึงเป็นการนำข้อความท่อนนี้มากลั่นย่อลงเป็นสำนวนสั้นๆ ซ่งอวี้ยังบอกต่ออีกว่า ลมที่ชาวบ้านทั่วไปสัมผัสนั้นเกิดจากตรอกเล็กซอกซอย เมื่อก่อตัวแรงขึ้นก็พัดพาเอาฝุ่นทรายและของสกปรกคลุ้งกระจายเข้าสู่บ้านเรือน ลมนั้นเมื่อชาวบ้านได้สัมผัสย่อมไม่ทำให้รู้สึกสบายตัวและอาจทำให้ล้มป่วยลงได้บทประพันธ์เฟิงฟู่นี้ไพเราะสวยงามด้วยคำบรรยายถึงลักษณะของสายลมภายใต้สภาวะต่างๆ และแฝงไว้ซึ่งข้อคิดเตือนสติ เฟิงฟู่ใช้สายลมเป็นตัวเปรียบเทียบระหว่างความเกรียงไกรของกษัตริย์และความแร้นแค้นของชาวบ้านธรรมดา สะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างทางสังคมและความไม่เท่าเทียมกัน เพื่อเป็นการเตือนใจต่ออ๋องฉู่เซียงว่าอย่าได้นิ่งนอนใจกับความสบายที่ได้รับเพราะในขณะเดียวกันยังมีชาวบ้านที่ลำบากอยู่ต่อมาสำนวน ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน’ ถูกใช้เป็นการอุปมาอุปไมยว่า คลื่นอากาศแผ่วเบาเหนือจอกแหนสามารถก่อตัวขึ้นเป็นคลื่นลมแรงที่กวาดไปทั่วพื้นที่อันกว้างใหญ่ ก่อเกิดผลกระทบได้มากมาย และแน่นอนว่าสำนวนนี้ไม่ได้แปลว่า ถ้าผู้มีอำนาจล้มแล้วคนที่อยู่เบื้องล่างจะซวยได้อย่างที่แม่ทัพเย่ในซีรีส์ต้องการหมายถึง และ Storyฯ คิดว่าความหมายก็เปรียบไม่ได้กับ ‘ช้างสารชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญ’ เพราะจริงๆ แล้วความหมายของสำนวนนี้พูดสั้นๆ ก็คือ Butterfly Effect --- สิ่งเล็กๆ ที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์หรือการเปลี่ยนแปลงตามมาได้มากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://m.mp.oeeee.com/a/BAAFRD000020240519954909.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/风起于青萍之末/5876137 https://www.sohu.com/a/395149302_120482984 https://baike.baidu.com/item/风赋/2482215 https://zhsc.org/work/work-58b83fd9570c350062072623.htm #หาญท้าชะตาฟ้า #บทประพันธ์จีน #ButterflyEffect #เฟิงฟู่
    สำนวนจีนจาก <หาญท้าฯ 2>สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ เกี่ยวกับสำนวนจีนจากซีรีส์เรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> เพื่อนเพจที่ได้ดูแล้วอาจจำได้ว่าฮ่องเต้จัดงานชมบุปผาบนเขาและต่อมามีคนลอบปลงพระชนม์จนทำให้ฟ่านเสียนได้รับบาดเจ็บสาหัส ในช่วงตอนเตรียมงานนั้น แม่ทัพเย่มาขอให้ฟ่านเสียนช่วยสอดส่องดูแลความปลอดภัยของฮ่องเต้ โดยให้เหตุผลว่า ถ้ามีอะไรผิดพลาดเขาจะต้องรับความผิดและลูกน้องจะซวยหนักกว่า ในเวอร์ชั่นซับไทยตอนที่แม่ทัพเย่ให้เหตุผลนี้ เขาอ้ำอึ้งใช้ประโยคว่า “หญ้า... อะไรแหลกๆ… ลมพัดแรงมักพัดถึงพวกตำแหน่งล่าง” ซึ่งฟ่านเสียนเลยต่อให้จบว่า “ช้างสารชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญ... ประโยคนี้ไม่ได้ใช้อย่างนี้” เพื่อนเพจที่ดูซับหรือพากย์ไทยอาจไม่สะดุดตาสะดุดหู แต่จริงๆ แล้วในเวอร์ชั่นภาษาจีนใช้อีกประโยคหนึ่ง ซึ่งสะดุดหู Storyฯ ไม่น้อยประโยคที่กล่าวถึงนี้ ในภาษาจีนก็คือ ‘เฟิงฉี่ชิงผิงจือม่อ’ (风起青萍之末) Storyฯ ขอแปลว่า ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน’ ซึ่งเป็นสำนวนจีน เป็นวรรคต้นของประโยคที่ว่า ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน สิ้นสุดกลางทุ่งหญ้า’ (风起于青萍之末,止于草莽之间) ฟังดูไพเราะ แต่มันแปลว่าอะไร?ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงที่มาว่า สำนวนนี้ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์โบราณสมัยจ้านกั๋วชื่อว่า ‘เฟิงฟู่’ (风赋 / บทประพันธ์แห่งสายลม)ของกวีนามว่าซ่งอวี้ (宋玉 ประมาณปี 290 – 222 ก่อนคริสตกาล) จากแคว้นฉู่ ซึ่งเป็นหนึ่งในแปดบทประพันธ์ชนิด ‘ฟู่’ ของจีนที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด โดย ‘ฟู่’ เป็นวรรณกรรมร้อยแก้วที่มีภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆเฟิงฟู่ ใช้สายลมเป็นตัวดำเนินเรื่อง กล่าวถึงอ๋องฉู่เซียงไปชมวิวบนหอสูง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) รู้สึกชื่นมื่นกับลมเย็นสบายและคิดว่านี่เป็นความเย็นสบายที่ชาวบ้านสามารถร่วมสัมผัสได้เหมือนกัน ไม่แบ่งแยกชนชั้นหรือความร่ำรวยแต่ซ่งอวี้ที่ติดตามไปด้วยกลับบอกว่า ลมที่อ๋องฉู่เซียงสัมผัส ย่อมไม่เหมือนกับลมที่ชาวประชาสัมผัส นั่นเป็นเพราะว่า แม้ลมเป็นอากาศที่ไหลเวียนไปได้หลายพื้นที่ แต่เพราะภูมิประเทศและสิ่งปลูกสร้างที่แตกต่าง แรงลมที่สัมผัสได้ในแต่ละพื้นที่ย่อมแตกต่างกันซ่งอวี้บอกว่า ลมที่อ๋องฉู่เซียงสัมผัส สร้างตัวจากคลื่นอากาศแผ่วเบาเหนือจอกแหน ค่อยๆ ขยายไปยังหุบเขา ก่อเกิดเป็นลมแรงพัดผ่านภูเขา โถมกระหน่ำเข้าใส่หินผาและป่าไม้ จนผ่านพ้นถึงทุ่งหญ้าแล้วจึงสงบลงกลายเป็นสายลมที่สร้างความเย็นใจ และสำนวน ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน สิ้นสุดกลางทุ่งหญ้า’ นี้จึงเป็นการนำข้อความท่อนนี้มากลั่นย่อลงเป็นสำนวนสั้นๆ ซ่งอวี้ยังบอกต่ออีกว่า ลมที่ชาวบ้านทั่วไปสัมผัสนั้นเกิดจากตรอกเล็กซอกซอย เมื่อก่อตัวแรงขึ้นก็พัดพาเอาฝุ่นทรายและของสกปรกคลุ้งกระจายเข้าสู่บ้านเรือน ลมนั้นเมื่อชาวบ้านได้สัมผัสย่อมไม่ทำให้รู้สึกสบายตัวและอาจทำให้ล้มป่วยลงได้บทประพันธ์เฟิงฟู่นี้ไพเราะสวยงามด้วยคำบรรยายถึงลักษณะของสายลมภายใต้สภาวะต่างๆ และแฝงไว้ซึ่งข้อคิดเตือนสติ เฟิงฟู่ใช้สายลมเป็นตัวเปรียบเทียบระหว่างความเกรียงไกรของกษัตริย์และความแร้นแค้นของชาวบ้านธรรมดา สะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างทางสังคมและความไม่เท่าเทียมกัน เพื่อเป็นการเตือนใจต่ออ๋องฉู่เซียงว่าอย่าได้นิ่งนอนใจกับความสบายที่ได้รับเพราะในขณะเดียวกันยังมีชาวบ้านที่ลำบากอยู่ต่อมาสำนวน ‘ลมเกิดเหนือยอดแหน’ ถูกใช้เป็นการอุปมาอุปไมยว่า คลื่นอากาศแผ่วเบาเหนือจอกแหนสามารถก่อตัวขึ้นเป็นคลื่นลมแรงที่กวาดไปทั่วพื้นที่อันกว้างใหญ่ ก่อเกิดผลกระทบได้มากมาย และแน่นอนว่าสำนวนนี้ไม่ได้แปลว่า ถ้าผู้มีอำนาจล้มแล้วคนที่อยู่เบื้องล่างจะซวยได้อย่างที่แม่ทัพเย่ในซีรีส์ต้องการหมายถึง และ Storyฯ คิดว่าความหมายก็เปรียบไม่ได้กับ ‘ช้างสารชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญ’ เพราะจริงๆ แล้วความหมายของสำนวนนี้พูดสั้นๆ ก็คือ Butterfly Effect --- สิ่งเล็กๆ ที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์หรือการเปลี่ยนแปลงตามมาได้มากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://m.mp.oeeee.com/a/BAAFRD000020240519954909.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/风起于青萍之末/5876137 https://www.sohu.com/a/395149302_120482984 https://baike.baidu.com/item/风赋/2482215 https://zhsc.org/work/work-58b83fd9570c350062072623.htm #หาญท้าชะตาฟ้า #บทประพันธ์จีน #ButterflyEffect #เฟิงฟู่
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 380 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถิงจ้าง - การโบยพระราชทานสวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ถึงเรื่องราวตอนที่ผู้ตรวจการล่ายหมิงเฉิงร้องเรียนฮ่องเต้ว่าประพฤติตนไม่ถูกต้อง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) ฮ่องเต้เลย ‘ตกรางวัล’ ให้เป็นการลงทัณฑ์ด้วยการโบยพร้อมกับคำพูดที่ว่า ยอมเสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเองเพื่อให้ผู้ตรวจการล่ายมีชื่อจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตีเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยจากหลายซีรีส์และนิยายจีน การลงทัณฑ์นี้ทั่วไปเรียกว่า ‘จ้างสิง’ (杖刑) เป็นวิธีการลงทัณฑ์ที่ถูกบัญญัติเข้าไปในกฎหมาย เพียงแต่รูปแบบและรายละเอียดอาจแตกต่างกันไปตามยุคสมัย แต่ที่วันนี้จะคุยถึงคือการโบยที่เรียกว่า ‘ถิงจ้าง’ (廷杖) ซึ่งเป็นกรณีที่เราเห็นในเรื่อง <หาญชะตาฯ 2> ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ‘จ้าง’ แปลว่าตีด้วยไม้ ส่วน ‘ถิง’ หมายถึงส่วนของพระราชวังที่ฮ่องเต้ใช้ทรงงานและประชุมกับขุนนางหรือหมายถึงราชสำนัก ดังนั้น ‘ถิงจ้าง’ จึงเป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้หมายถึงการโบยขุนนางระดับสูงหน้าพระที่นั่งและเป็นคำสั่งของฮ่องเต้เท่านั้น การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตามคำสั่งของฮ่องเต้มีมาตั้งแต่สมัยฮั่น แต่จากสมัยฮั่นจนถึงสมัยหยวนเกิดกรณีอย่างนี้น้อยมาก มันไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัวและไม่ใช่บทลงโทษตามกฎหมาย หากแต่เป็นอำนาจของฮ่องเต้ที่จะเลือกใช้ได้ตามความต้องการและสั่งลงทัณฑ์ได้เลยโดยไม่ผ่านขั้นตอนพิจารณาความผิดตามกฎหมาย ต่อมาในสมัยหมิงมีการถิงจ้างหน้าพระที่นั่งบ่อยมากโดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของราชวงศ์และมีการกำหนดกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน จริงๆ แล้วแรกเริ่มเลย การถิงจ้างในสมัยหมิงไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อลงโทษสถานหนัก หากแต่เป็นการสร้างความอัปยศอดสูให้แก่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เพราะว่าหลักปฏิบัติแต่ไหนแต่ไรมาคือไม่ลงทัณฑ์ขุนนาง หากจะลงทัณฑ์จะปลดออกจากตำแหน่งก่อน ดังนั้น การที่ขุนนางถูกถกชุดชั้นนอกออกแล้วโบยก้นอีกทั้งทำต่อหน้าขุนนางด้วยกันนั้นจึงเป็นเรื่องอัปยศมาก ซึ่งเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นในรัชสมัยขององค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง) เป็นช่วงตอนที่เพิ่งครองราชย์ได้สักแปดปี (ค.ศ. 1376) เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องของขุนนางจากกระทรวงราชทัณฑ์นามว่าหรูไท่ซู่ เขาถวายฎีกาฉบับหนึ่งยาวถึงหมื่นกว่าอักษรร้องเรียนการขาดแคลนข้าราชการที่มีคุณภาพ ซึ่งยาวจนองค์หมิงไท่จู่ต้องให้คนอ่านให้ฟัง ฟังๆ ไปก็รู้สึกว่าน้ำเยอะเนื้อน้อย ถ้อยคำที่ใช้ก็ยิ่งฟังไม่เข้าหู อุตส่าห์เรียกให้หรู่ไท่ซู่มานั่งคุยให้ฟัง แต่ก็ทนไม่ได้กับการพูดวกไปวนมา ว่ากันว่า ยังมีถ้อยคำที่ฟังดูเหมือนยกให้บัณฑิตสูงส่งกว่าซึ่งไม่เข้าหูฮ่องเต้ที่มีพื้นเพเป็นลูกชาวนา สุดท้ายฮ่องเต้โกรธจัดเลยสั่งให้โบยก้นต่อหน้าข้าราชสำนักในท้องพระโรง ในบันทึกไม่ได้เขียนไว้ว่าโบยไปกี่ครั้ง ต่อมาภายหลังองค์หมิงไท่จู่ไตร่ตรองทบทวนเห็นว่าบางข้อเสนอของฎีกานั้นน่าสนใจจึงเอาไปใช้ จึงกลายเป็นว่าความผิดที่ทำให้หรูไท่ซู่ถูกถิงจ้างไม่ใช่เป็นเพราะสาระ แต่เป็นเพราะเขียนยาวเกินไปทำให้สิ้นเปลืองเวลาของฮ่องเต้ เนื้อหาที่เขียนได้ภายในห้าร้อยอักษรกลับเขียนยาวถึงหมื่นอักษร และเพราะเหตุการณ์นี้องค์หมิงไท่จู่จึงให้มีการกำหนดรูปแบบของการเขียนฎีกาขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้อีก การโบยเพื่อสร้างความอัปยศเป็นการแสดงอำนาจของฮ่องเต้เมื่อถูกหมิ่นหรือขัดใจโดยขุนนาง แต่กลับกลายเป็นวัฒนธรรมที่ขุนนางมองว่าการถูกถิงจ้างนี้เป็นการแสดงความกล้าหาญและเป็นสิ่งที่ควรทำ ต่อมาการถิงจ้างจึงเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นตายได้ แน่นอนว่าการสั่งโบยได้เลยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการไต่สวนพิพากษาตามกฎหมายก็กลายเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จที่ฮ่องเต้ใช้ควบคุมขุนนางไม่ให้กระด้างกระเดื่อง จะตีเมื่อไหร่ ตีกี่ครั้ง ตีหนักตีเบา ล้วนแล้วแต่ฮ่องเต้จะกำหนดเอง ถิงจ้างกลายเป็นภาพที่เห็นบ่อยในราชสำนักเมื่อเข้าสู่ช่วงกลางราชวงศ์หมิง สถานที่ลงทัณฑ์เปลี่ยนจากในท้องพระโรงมาเป็นริมทางเดินเข้าวังด้านประตูอู่เหมิน ซึ่งก็คือประตูด้านหน้าของวัง และถิงจ้างทวีความรุนแรงมากขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงอู่จง (ฮ่องเต้องค์ที่สิบเอ็ด) เมื่อมีการเปลี่ยนกฎไม่ให้วางเบาะรองและผู้ถูกโบยห้ามใส่กางเกง ตลอดการครองราชย์สิบหกปีขององค์หมิงอู่จงนั้น มีคนถูกถิงจ้างทั้งสิ้นกว่าหนึ่งร้อยคน ตายสิบเอ็ดคน และนี่เป็นรัชสมัยที่เริ่มใช้ถิงจ้างกับคนจากสำนักผู้ตรวจการ ในรายละเอียดมีเรื่องการใช้อำนาจเกินควรของกลุ่มขันที แต่ Storyฯ ขอไม่เล่าเพราะเรื่องยาวและออกนอกประเด็นเหตุการณ์ถิงจ้างที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์จีนเกิดขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงซื่อจง (ฮ่องเต้องค์ที่ สิบสอง) เมื่อปีค.ศ. 1525 เพราะเป็นการโบยพร้อมกันถึงหนึ่งร้อยสามสิบสี่คน มีคนตายในระหว่างโบยสิบเจ็ดคน (หมายเหตุ เรื่องจำนวนคนแตกต่างกันในหลายบทความ แต่ตัวเลขนี้ Storyฯ ใช้ตามเอกสารของพิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม)เรื่องมีอยู่ว่าฮ่องเต้หมิงซื่อจงไม่ใช่ลูกของฮ่องเต้องค์ก่อนคือฮ่องเต้หมิงอู่จง หากแต่มีศักดิ์เป็นหลานลุง ตามธรรมเนียมเมื่อหมิงซื่อจงขึ้นครองราชย์แล้วก็ต้องรับฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นพ่อ ส่วนพ่อแม่ตัวเองก็ต้องกลายเป็นน้าและน้าสะใภ้ นี่คือธรรมเนียมปฏิบัติ แต่องค์หมิงซื่อจงไม่ยอม ยืนยันจะคงไว้ว่าฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นลุง ขุนนางสองร้อยสามสิบคนคุกเข่าอ้อนวอนอยู่หน้าประตูพระที่นั่งเพื่อหวังจะบีบให้ฮ่องเต้เปลี่ยนใจ สุดท้ายขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปโดนปลด ที่เหลือโดนโบยหมู่และเนรเทศ ในการถิงจ้างสมัยหมิงนั้น ผู้ที่มีหน้าที่โบยคือขันทีหรือองครักษ์เสื้อแพร ว่ากันว่าจริงจังถึงขนาดฝึกซ้อมโบยโดยใช้หุ่นฟางยัดไส้แผ่นกระเบื้องแล้วห่อด้วยกระดาษ ต้องฝึกจนสามารถตีให้กระเบื้องข้างในแตกละเอียดได้โดยที่กระดาษหุ้มข้างนอกไม่ขาด! ที่ต้องฝึกเพราะคำสั่งโบยมีสองแบบคือ ‘ตีอย่างใส่ใจ’ (用心打) และ ‘ตีอย่างจริงจัง’ (着实打) ซึ่งแบบแรกคือไม่ให้เจ็บมากและแบบหลังคือจัดเต็ม และเนื่องจากมันต้องใช้แรงมาก จะมีการเปลี่ยนคนโบยทุกๆ ห้าครั้งจากที่ Storyฯ อ่านเจอมา ไม้ที่ใช้โบยนั้นทำจากไม้เนื้อแข็งอย่างไม้เกาลัด หน้าตาของมันมีสองแบบ แบบแรกคือไม้พลองที่มีปลายแบนหน้าตาเหมือนไม้พาย แบบที่สองฟังดูโหดร้ายคือเป็นไม้พลองที่มีปลายหุ้มด้วยแผ่นเหล็กบากเป็นรอยตะปุ่มตะป่ำ เป็นที่มาว่าทำไมคนจึงถูกโบยจนเนื้อก้นเละเหวอะหวะได้ ว่ากันว่าถูกโบยสิบพลองก็ทำต้องพักติดเตียงเป็นแรมเดือนแล้ว(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://reading.udn.com/read/story/7046/7952824https://www.163.com/dy/article/J2USN6TV0517QCSB.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.dpm.org.cn/Uploads/pdf/1942/T00017_00.pdf https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_1800722 https://www.hunantoday.cn/news/xhn/202310/18872283.html https://www.sohu.com/a/771696490_121165427 https://www.sohu.com/a/773532850_121921623 https://www.163.com/dy/article/G86EPNJQ0528NB1M.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ถิงจ้าง #โบยตี #ลงทัณฑ์พระราชทาน #จูหยวนจาง
    ถิงจ้าง - การโบยพระราชทานสวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ถึงเรื่องราวตอนที่ผู้ตรวจการล่ายหมิงเฉิงร้องเรียนฮ่องเต้ว่าประพฤติตนไม่ถูกต้อง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) ฮ่องเต้เลย ‘ตกรางวัล’ ให้เป็นการลงทัณฑ์ด้วยการโบยพร้อมกับคำพูดที่ว่า ยอมเสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเองเพื่อให้ผู้ตรวจการล่ายมีชื่อจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตีเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยจากหลายซีรีส์และนิยายจีน การลงทัณฑ์นี้ทั่วไปเรียกว่า ‘จ้างสิง’ (杖刑) เป็นวิธีการลงทัณฑ์ที่ถูกบัญญัติเข้าไปในกฎหมาย เพียงแต่รูปแบบและรายละเอียดอาจแตกต่างกันไปตามยุคสมัย แต่ที่วันนี้จะคุยถึงคือการโบยที่เรียกว่า ‘ถิงจ้าง’ (廷杖) ซึ่งเป็นกรณีที่เราเห็นในเรื่อง <หาญชะตาฯ 2> ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ‘จ้าง’ แปลว่าตีด้วยไม้ ส่วน ‘ถิง’ หมายถึงส่วนของพระราชวังที่ฮ่องเต้ใช้ทรงงานและประชุมกับขุนนางหรือหมายถึงราชสำนัก ดังนั้น ‘ถิงจ้าง’ จึงเป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้หมายถึงการโบยขุนนางระดับสูงหน้าพระที่นั่งและเป็นคำสั่งของฮ่องเต้เท่านั้น การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตามคำสั่งของฮ่องเต้มีมาตั้งแต่สมัยฮั่น แต่จากสมัยฮั่นจนถึงสมัยหยวนเกิดกรณีอย่างนี้น้อยมาก มันไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัวและไม่ใช่บทลงโทษตามกฎหมาย หากแต่เป็นอำนาจของฮ่องเต้ที่จะเลือกใช้ได้ตามความต้องการและสั่งลงทัณฑ์ได้เลยโดยไม่ผ่านขั้นตอนพิจารณาความผิดตามกฎหมาย ต่อมาในสมัยหมิงมีการถิงจ้างหน้าพระที่นั่งบ่อยมากโดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของราชวงศ์และมีการกำหนดกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน จริงๆ แล้วแรกเริ่มเลย การถิงจ้างในสมัยหมิงไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อลงโทษสถานหนัก หากแต่เป็นการสร้างความอัปยศอดสูให้แก่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เพราะว่าหลักปฏิบัติแต่ไหนแต่ไรมาคือไม่ลงทัณฑ์ขุนนาง หากจะลงทัณฑ์จะปลดออกจากตำแหน่งก่อน ดังนั้น การที่ขุนนางถูกถกชุดชั้นนอกออกแล้วโบยก้นอีกทั้งทำต่อหน้าขุนนางด้วยกันนั้นจึงเป็นเรื่องอัปยศมาก ซึ่งเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นในรัชสมัยขององค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง) เป็นช่วงตอนที่เพิ่งครองราชย์ได้สักแปดปี (ค.ศ. 1376) เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องของขุนนางจากกระทรวงราชทัณฑ์นามว่าหรูไท่ซู่ เขาถวายฎีกาฉบับหนึ่งยาวถึงหมื่นกว่าอักษรร้องเรียนการขาดแคลนข้าราชการที่มีคุณภาพ ซึ่งยาวจนองค์หมิงไท่จู่ต้องให้คนอ่านให้ฟัง ฟังๆ ไปก็รู้สึกว่าน้ำเยอะเนื้อน้อย ถ้อยคำที่ใช้ก็ยิ่งฟังไม่เข้าหู อุตส่าห์เรียกให้หรู่ไท่ซู่มานั่งคุยให้ฟัง แต่ก็ทนไม่ได้กับการพูดวกไปวนมา ว่ากันว่า ยังมีถ้อยคำที่ฟังดูเหมือนยกให้บัณฑิตสูงส่งกว่าซึ่งไม่เข้าหูฮ่องเต้ที่มีพื้นเพเป็นลูกชาวนา สุดท้ายฮ่องเต้โกรธจัดเลยสั่งให้โบยก้นต่อหน้าข้าราชสำนักในท้องพระโรง ในบันทึกไม่ได้เขียนไว้ว่าโบยไปกี่ครั้ง ต่อมาภายหลังองค์หมิงไท่จู่ไตร่ตรองทบทวนเห็นว่าบางข้อเสนอของฎีกานั้นน่าสนใจจึงเอาไปใช้ จึงกลายเป็นว่าความผิดที่ทำให้หรูไท่ซู่ถูกถิงจ้างไม่ใช่เป็นเพราะสาระ แต่เป็นเพราะเขียนยาวเกินไปทำให้สิ้นเปลืองเวลาของฮ่องเต้ เนื้อหาที่เขียนได้ภายในห้าร้อยอักษรกลับเขียนยาวถึงหมื่นอักษร และเพราะเหตุการณ์นี้องค์หมิงไท่จู่จึงให้มีการกำหนดรูปแบบของการเขียนฎีกาขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้อีก การโบยเพื่อสร้างความอัปยศเป็นการแสดงอำนาจของฮ่องเต้เมื่อถูกหมิ่นหรือขัดใจโดยขุนนาง แต่กลับกลายเป็นวัฒนธรรมที่ขุนนางมองว่าการถูกถิงจ้างนี้เป็นการแสดงความกล้าหาญและเป็นสิ่งที่ควรทำ ต่อมาการถิงจ้างจึงเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นตายได้ แน่นอนว่าการสั่งโบยได้เลยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการไต่สวนพิพากษาตามกฎหมายก็กลายเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จที่ฮ่องเต้ใช้ควบคุมขุนนางไม่ให้กระด้างกระเดื่อง จะตีเมื่อไหร่ ตีกี่ครั้ง ตีหนักตีเบา ล้วนแล้วแต่ฮ่องเต้จะกำหนดเอง ถิงจ้างกลายเป็นภาพที่เห็นบ่อยในราชสำนักเมื่อเข้าสู่ช่วงกลางราชวงศ์หมิง สถานที่ลงทัณฑ์เปลี่ยนจากในท้องพระโรงมาเป็นริมทางเดินเข้าวังด้านประตูอู่เหมิน ซึ่งก็คือประตูด้านหน้าของวัง และถิงจ้างทวีความรุนแรงมากขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงอู่จง (ฮ่องเต้องค์ที่สิบเอ็ด) เมื่อมีการเปลี่ยนกฎไม่ให้วางเบาะรองและผู้ถูกโบยห้ามใส่กางเกง ตลอดการครองราชย์สิบหกปีขององค์หมิงอู่จงนั้น มีคนถูกถิงจ้างทั้งสิ้นกว่าหนึ่งร้อยคน ตายสิบเอ็ดคน และนี่เป็นรัชสมัยที่เริ่มใช้ถิงจ้างกับคนจากสำนักผู้ตรวจการ ในรายละเอียดมีเรื่องการใช้อำนาจเกินควรของกลุ่มขันที แต่ Storyฯ ขอไม่เล่าเพราะเรื่องยาวและออกนอกประเด็นเหตุการณ์ถิงจ้างที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์จีนเกิดขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงซื่อจง (ฮ่องเต้องค์ที่ สิบสอง) เมื่อปีค.ศ. 1525 เพราะเป็นการโบยพร้อมกันถึงหนึ่งร้อยสามสิบสี่คน มีคนตายในระหว่างโบยสิบเจ็ดคน (หมายเหตุ เรื่องจำนวนคนแตกต่างกันในหลายบทความ แต่ตัวเลขนี้ Storyฯ ใช้ตามเอกสารของพิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม)เรื่องมีอยู่ว่าฮ่องเต้หมิงซื่อจงไม่ใช่ลูกของฮ่องเต้องค์ก่อนคือฮ่องเต้หมิงอู่จง หากแต่มีศักดิ์เป็นหลานลุง ตามธรรมเนียมเมื่อหมิงซื่อจงขึ้นครองราชย์แล้วก็ต้องรับฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นพ่อ ส่วนพ่อแม่ตัวเองก็ต้องกลายเป็นน้าและน้าสะใภ้ นี่คือธรรมเนียมปฏิบัติ แต่องค์หมิงซื่อจงไม่ยอม ยืนยันจะคงไว้ว่าฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นลุง ขุนนางสองร้อยสามสิบคนคุกเข่าอ้อนวอนอยู่หน้าประตูพระที่นั่งเพื่อหวังจะบีบให้ฮ่องเต้เปลี่ยนใจ สุดท้ายขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปโดนปลด ที่เหลือโดนโบยหมู่และเนรเทศ ในการถิงจ้างสมัยหมิงนั้น ผู้ที่มีหน้าที่โบยคือขันทีหรือองครักษ์เสื้อแพร ว่ากันว่าจริงจังถึงขนาดฝึกซ้อมโบยโดยใช้หุ่นฟางยัดไส้แผ่นกระเบื้องแล้วห่อด้วยกระดาษ ต้องฝึกจนสามารถตีให้กระเบื้องข้างในแตกละเอียดได้โดยที่กระดาษหุ้มข้างนอกไม่ขาด! ที่ต้องฝึกเพราะคำสั่งโบยมีสองแบบคือ ‘ตีอย่างใส่ใจ’ (用心打) และ ‘ตีอย่างจริงจัง’ (着实打) ซึ่งแบบแรกคือไม่ให้เจ็บมากและแบบหลังคือจัดเต็ม และเนื่องจากมันต้องใช้แรงมาก จะมีการเปลี่ยนคนโบยทุกๆ ห้าครั้งจากที่ Storyฯ อ่านเจอมา ไม้ที่ใช้โบยนั้นทำจากไม้เนื้อแข็งอย่างไม้เกาลัด หน้าตาของมันมีสองแบบ แบบแรกคือไม้พลองที่มีปลายแบนหน้าตาเหมือนไม้พาย แบบที่สองฟังดูโหดร้ายคือเป็นไม้พลองที่มีปลายหุ้มด้วยแผ่นเหล็กบากเป็นรอยตะปุ่มตะป่ำ เป็นที่มาว่าทำไมคนจึงถูกโบยจนเนื้อก้นเละเหวอะหวะได้ ว่ากันว่าถูกโบยสิบพลองก็ทำต้องพักติดเตียงเป็นแรมเดือนแล้ว(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://reading.udn.com/read/story/7046/7952824https://www.163.com/dy/article/J2USN6TV0517QCSB.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.dpm.org.cn/Uploads/pdf/1942/T00017_00.pdf https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_1800722 https://www.hunantoday.cn/news/xhn/202310/18872283.html https://www.sohu.com/a/771696490_121165427 https://www.sohu.com/a/773532850_121921623 https://www.163.com/dy/article/G86EPNJQ0528NB1M.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ถิงจ้าง #โบยตี #ลงทัณฑ์พระราชทาน #จูหยวนจาง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 557 มุมมอง 0 รีวิว
  • สุนัขเห่ากรรโชก วลีจาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ว่าเหล่าขุนนางจากสำนักผู้ตรวจการได้ร้องเรียนฟ่านเสียนว่ารับเงินสินบน และฟ่านเสียนมีปฏิกิริยาตอบกลับคือ ส่งภาพอักษรสี่ตัวให้กับสำนักผู้ตรวจการ ทำให้พวกเขายิ่งโกรธแค้นกระเหี้ยนกระหือรือจะเอาผิดฟ่านเสียนให้ได้ อักษรสี่ตัวนี้คือ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ (狺狺狂吠) ในซีรีส์พากย์ไทยแปลว่า ‘สุนัขเห่าโฮ่งๆ’ วลีนี้แปลว่าสุนัขเห่า แต่เพราะมีคำว่า ‘ขวาง’ ซึ่งแปลว่าบ้าคลั่ง มันจึงไม่ใช่สุนัขเห่าธรรมดา แต่เป็นการเห่าแบบกรรโชกแบบบ้าคลั่ง แต่ที่ดูแปลกตาสำหรับ Storyฯ คืออักษร ‘อิ๋น’ จึงลองไปหาข้อมูลดูพบว่ามันเป็นคำที่แทบไม่ค่อยเห็นในปัจจุบัน ‘อิ๋น’ มีที่มาจากบทกวีจีนโบราณที่มีชื่อว่า ‘จิ่วเปี้ยน’ (九辩 แปลได้ประมาณว่า คำถก 9 หัวข้อ) ซึ่งเป็นผลงานของซ่งอวี้ (宋玉) นักประพันธ์และขุนนางจากแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐ (มีชีวิตอยู่ช่วงปี 298-222 ก่อนคริสตกาล) เป็นบทร้อยกรองยาวกว่าสองร้อยห้าสิบวรรค เขียนขึ้นเมื่อปีที่เขาถูกปลดออกจากราชการตอนอายุห้าสิบปี เป็นวัยที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน บทกวีนี้จึงสะท้อนความรู้สึกหลากหลายโดยมีหัวข้อหลักคือความโศกเศร้าในสารทฤดู ถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบและเป็นหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อนี้เพราะสามารถชวนให้ผู้อ่านจินตนาการและมีอารมณ์ร่วมได้อย่างดีเลิศ(หมายเหตุ บทกวี ‘เติงเกา’ จากตู้ฝู่ซึ่งเป็นสุดยอดกลอนเจ็ดที่เอ่ยถึงในภาคแรกเป็นอีกหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อเดียวกันนี้ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/973244118137214)‘จิ่วเปี้ยน’ เปิดฉากมาด้วยการบรรยายความงามของฤดูใบไม้ร่วงที่ให้ความรู้สึกโศกเศร้า สะท้อนถึงความโดดเดี่ยวของคนที่ตกยากไร้ทรัพย์สินเงินทอง จากนั้นกล่าวถึงสตรีที่รักแล้วผิดหวังถูกทอดทิ้งสลับกับฉากเศร้าๆ ของสารทฤดูที่สะท้อนถึงอารมณ์ของนาง และวลีหมาเห่ากรรโชก ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ นี้มาจากฉากที่เล่าว่าสตรีผู้นี้พยายามจะเข้าไปหาคนรักแต่ถูกหมาเห่าขัดขวางไว้ไม่สามารถก้าวข้ามผ่านประตูไปได้ แต่จริงๆ แล้วฉากข้างต้นเป็นการอุปมาอุปไมยถึงคนที่พยายามเข้าหาแต่ไม่เป็นที่ต้องการ เพราะฉากถัดมากล่าวถึงคนที่พยายามทำตัวเป็นประโยชน์ ดุจขุนนางที่ต้องการรับใช้งานราชสำนัก แต่กลับไร้ซึ่งโอกาส ถูกกีดกันจากรอบด้าน ในขณะที่อำนาจตกไปอยู่ในมือที่ไม่สะอาดจนสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเมือง เป็นความโศกเศร้าของคนที่รู้สึกว่าตัวตนหายไปพร้อมกับโอกาสในชีวิตที่หายไปแล้ว ดังนั้น บทร้อยกรองนี้จึงเป็นการพัฒนาเนื้อหาอย่างต่อเนื่องจากความสดใสของธรรมชาติที่สูญหาย (lost nature) ไปสู่รักที่สูญหาย (lost love) ไปสู่ความเป็นตัวตนที่สูญหาย (lost man)ผลงานของซ่งอวี้ได้รับอิทธิพลจากกวีรุ่นก่อนคือชวีหยวน (屈原) บ้างว่าเขาเป็นศิษย์ของชวีหยวน ผลงานของพวกเขาถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของสไตล์ที่เรียกว่าจินตนิยมในวรรณกรรมจีนโบราณ กล่าวคือ ใช้การบรรยายธรรมชาติหรือวิถีชีวิตคนธรรมดาเร้าอารมณ์ และในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงหลักความคิดหรืออุดมคติบางอย่าง แต่ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ เดิมเป็นเพียงการบรรยายถึงอาการเห่าอย่างบ้าคลั่งของสุนัข ไม่ได้มีความหมายอื่นแอบแฝง มันถูกใช้เปรียบเปรยถึงคนในเชิงดูแคลนตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่การใช้วลีนี้ในลักษณะด่าคนนี้มีตัวอย่างให้เห็นในซีรีส์ ‘สามก๊ก’ เวอร์ชั่นปี 1994 ในตอนที่ขงเบ้งด่าหวางหลาง (อองลอง) จนกระอักเลือดตาย โดยคำด่าเต็มๆ กล่าวไว้ประมาณว่า อองลองทำตัวเป็นบ่าวสองนายไม่มีผลงานใดๆ ในชีวิต ยังจะมีหน้ามาว่ากล่าวตักเตือนคน ช่างทำตัวเป็นเสมือนสุนัขขี้เรื้อนเห่ากรรโชกได้อย่างไร้ยางอายปัจจุบัน ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่โวยวายเสียงดังแต่ไร้สาระ ประหนึ่งสุนัขที่สักแต่จะเห่าไปอย่างนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด จึงไม่แปลกที่ในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> นี้ คนจากสำนักผู้ตรวจการจึงโกรธฟ่านเสียนมากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://weibo.com/6356014463/OhILTDU5d Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/九辩/2482251 https://baike.baidu.com/item/宋玉/72945 https://www.ruanyifeng.com/blog/2006/02/post_174.html https://chuci.5000yan.com/jiubian/ #หาญท้าชะตาฟ้า #สุนัขเห่า #ซ่งอวี้ #จิ่วเปี้ยน #ฉู่ฉือ
    สุนัขเห่ากรรโชก วลีจาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ว่าเหล่าขุนนางจากสำนักผู้ตรวจการได้ร้องเรียนฟ่านเสียนว่ารับเงินสินบน และฟ่านเสียนมีปฏิกิริยาตอบกลับคือ ส่งภาพอักษรสี่ตัวให้กับสำนักผู้ตรวจการ ทำให้พวกเขายิ่งโกรธแค้นกระเหี้ยนกระหือรือจะเอาผิดฟ่านเสียนให้ได้ อักษรสี่ตัวนี้คือ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ (狺狺狂吠) ในซีรีส์พากย์ไทยแปลว่า ‘สุนัขเห่าโฮ่งๆ’ วลีนี้แปลว่าสุนัขเห่า แต่เพราะมีคำว่า ‘ขวาง’ ซึ่งแปลว่าบ้าคลั่ง มันจึงไม่ใช่สุนัขเห่าธรรมดา แต่เป็นการเห่าแบบกรรโชกแบบบ้าคลั่ง แต่ที่ดูแปลกตาสำหรับ Storyฯ คืออักษร ‘อิ๋น’ จึงลองไปหาข้อมูลดูพบว่ามันเป็นคำที่แทบไม่ค่อยเห็นในปัจจุบัน ‘อิ๋น’ มีที่มาจากบทกวีจีนโบราณที่มีชื่อว่า ‘จิ่วเปี้ยน’ (九辩 แปลได้ประมาณว่า คำถก 9 หัวข้อ) ซึ่งเป็นผลงานของซ่งอวี้ (宋玉) นักประพันธ์และขุนนางจากแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐ (มีชีวิตอยู่ช่วงปี 298-222 ก่อนคริสตกาล) เป็นบทร้อยกรองยาวกว่าสองร้อยห้าสิบวรรค เขียนขึ้นเมื่อปีที่เขาถูกปลดออกจากราชการตอนอายุห้าสิบปี เป็นวัยที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน บทกวีนี้จึงสะท้อนความรู้สึกหลากหลายโดยมีหัวข้อหลักคือความโศกเศร้าในสารทฤดู ถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบและเป็นหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อนี้เพราะสามารถชวนให้ผู้อ่านจินตนาการและมีอารมณ์ร่วมได้อย่างดีเลิศ(หมายเหตุ บทกวี ‘เติงเกา’ จากตู้ฝู่ซึ่งเป็นสุดยอดกลอนเจ็ดที่เอ่ยถึงในภาคแรกเป็นอีกหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อเดียวกันนี้ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/973244118137214)‘จิ่วเปี้ยน’ เปิดฉากมาด้วยการบรรยายความงามของฤดูใบไม้ร่วงที่ให้ความรู้สึกโศกเศร้า สะท้อนถึงความโดดเดี่ยวของคนที่ตกยากไร้ทรัพย์สินเงินทอง จากนั้นกล่าวถึงสตรีที่รักแล้วผิดหวังถูกทอดทิ้งสลับกับฉากเศร้าๆ ของสารทฤดูที่สะท้อนถึงอารมณ์ของนาง และวลีหมาเห่ากรรโชก ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ นี้มาจากฉากที่เล่าว่าสตรีผู้นี้พยายามจะเข้าไปหาคนรักแต่ถูกหมาเห่าขัดขวางไว้ไม่สามารถก้าวข้ามผ่านประตูไปได้ แต่จริงๆ แล้วฉากข้างต้นเป็นการอุปมาอุปไมยถึงคนที่พยายามเข้าหาแต่ไม่เป็นที่ต้องการ เพราะฉากถัดมากล่าวถึงคนที่พยายามทำตัวเป็นประโยชน์ ดุจขุนนางที่ต้องการรับใช้งานราชสำนัก แต่กลับไร้ซึ่งโอกาส ถูกกีดกันจากรอบด้าน ในขณะที่อำนาจตกไปอยู่ในมือที่ไม่สะอาดจนสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเมือง เป็นความโศกเศร้าของคนที่รู้สึกว่าตัวตนหายไปพร้อมกับโอกาสในชีวิตที่หายไปแล้ว ดังนั้น บทร้อยกรองนี้จึงเป็นการพัฒนาเนื้อหาอย่างต่อเนื่องจากความสดใสของธรรมชาติที่สูญหาย (lost nature) ไปสู่รักที่สูญหาย (lost love) ไปสู่ความเป็นตัวตนที่สูญหาย (lost man)ผลงานของซ่งอวี้ได้รับอิทธิพลจากกวีรุ่นก่อนคือชวีหยวน (屈原) บ้างว่าเขาเป็นศิษย์ของชวีหยวน ผลงานของพวกเขาถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของสไตล์ที่เรียกว่าจินตนิยมในวรรณกรรมจีนโบราณ กล่าวคือ ใช้การบรรยายธรรมชาติหรือวิถีชีวิตคนธรรมดาเร้าอารมณ์ และในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงหลักความคิดหรืออุดมคติบางอย่าง แต่ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ เดิมเป็นเพียงการบรรยายถึงอาการเห่าอย่างบ้าคลั่งของสุนัข ไม่ได้มีความหมายอื่นแอบแฝง มันถูกใช้เปรียบเปรยถึงคนในเชิงดูแคลนตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่การใช้วลีนี้ในลักษณะด่าคนนี้มีตัวอย่างให้เห็นในซีรีส์ ‘สามก๊ก’ เวอร์ชั่นปี 1994 ในตอนที่ขงเบ้งด่าหวางหลาง (อองลอง) จนกระอักเลือดตาย โดยคำด่าเต็มๆ กล่าวไว้ประมาณว่า อองลองทำตัวเป็นบ่าวสองนายไม่มีผลงานใดๆ ในชีวิต ยังจะมีหน้ามาว่ากล่าวตักเตือนคน ช่างทำตัวเป็นเสมือนสุนัขขี้เรื้อนเห่ากรรโชกได้อย่างไร้ยางอายปัจจุบัน ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่โวยวายเสียงดังแต่ไร้สาระ ประหนึ่งสุนัขที่สักแต่จะเห่าไปอย่างนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด จึงไม่แปลกที่ในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> นี้ คนจากสำนักผู้ตรวจการจึงโกรธฟ่านเสียนมากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://weibo.com/6356014463/OhILTDU5d Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/九辩/2482251 https://baike.baidu.com/item/宋玉/72945 https://www.ruanyifeng.com/blog/2006/02/post_174.html https://chuci.5000yan.com/jiubian/ #หาญท้าชะตาฟ้า #สุนัขเห่า #ซ่งอวี้ #จิ่วเปี้ยน #ฉู่ฉือ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 499 มุมมอง 0 รีวิว
  • กลอนเจ็ด ‘ชีเจวี๋ย’สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ เล่าถึงกลอนจากเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาคแรก> ที่มีชื่อว่า ‘เกาเติง’ ของตู้ฝู่ ซึ่งเป็นกลอนเจ็ดอักษรที่มีลักษณะจังหวะเฉพาะเรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ โดยคุยกันว่ากลอนบทนั้นเป็น ‘ที่สุด’ ได้อย่างไร วันนี้เรามาคุยกันถึงกลอนเจ็ดอีกประเภทหนึ่งจากเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ> เช่นกัน ซึ่งในฉากที่นางเอกและพระเอกร่ำลากันกลางทุ่งดอกคาโนลาสีเหลืองก่อนพระเอกต้องเดินทางไปยังแคว้นเป่ยฉีนั้น นางเอกบอกพระเอกว่า นางจะถือกิ่งดอกอิงฮวา (ดอกซากุระ) รอพระเอกกลับมา เชื่อว่าเพื่อนเพจคงเข้าใจจากบริบทของฉากนี้อยู่แล้วว่าดอกอิงฮวาหรือซากุระนี้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก การถือกิ่งซากุระนี้ไม่ได้ถอดวรรคมาจากบทกวี หากแต่เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกกล่าวถึงในบทกวีที่มีชื่อว่า ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ (折枝花赠行) เป็นผลงานของกวีสมัยถังที่มีชื่อว่า หยวนเจิ่น ซึ่งเรื่องนี้ Storyฯ เคยแปลและเขียนถึงไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/686842736777355) แต่ที่จะยกมาคุยกันอีกในวันนี้คือประเด็นต่อเนื่องเรื่องกลอนเจ็ดที่มีเอกลักษณ์พิเศษ ซึ่งหากใครพลาดยังไม่ได้อ่านของสัปดาห์ที่แล้ว ควรกลับไปอ่านมาก่อนเพื่อทำความเข้าใจนะคะ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02zNLqAnmVP4BKMdSasLRsryL1cWdbRnP5fovkVQsUJovx28SGUp66Az77AR4uDcBhl) Storyฯ พูดไปในบทความที่แล้วว่า บ่อยครั้งที่เราเห็นคำแปลบทกวีจีนที่ได้ใจความและ/หรือได้ความไพเราะ เราไม่รู้เลยว่าคำแปลนั้นตกหล่นเอกลักษณ์เฉพาะทางเทคนิคการใช้คำของกลอนจีนไป บทกวี ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ ที่ Storyฯ เคยแปลไว้ก็เช่นกัน ครั้นวันนี้จะมาแปลใหม่ให้สะท้อนเอกลักษณ์เหล่านี้ก็รู้สึกว่าตัวเองความสามารถไม่ถึงกลอนเจ็ดอักษรของจีน เรียกได้ทั่วไปว่า ‘ชีเหยียน’ (七言) ไม่ได้มีข้อจำกัดว่าต้องมีเสียงพ้องเสียงคล้องจองอย่างไรหรือไม่ ยกเว้นกลอนเจ็ดสองประเภทที่มีเอกลักษณ์ทางเทคนิคเฉพาะตัวคือ (1) ‘ชีเหยียนลวี่ซือ’ (七言律诗) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ (七律) และ (2) ‘ชีเหยียนลวี่เจวี๋ย’ (七言律绝) หรือ ‘ชีเหยียนเจวี๋ยจวี้’ (七言绝句) เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีเจวี๋ย’ (七绝) (อนึ่ง คำว่า ‘ลวี่’ แปลว่ากฎกติกา)‘ชีลวี่’ และ ‘ชีเจวี๋ย’ ต่างกันอย่างไร? สัปดาห์ที่แล้วที่คุยกัน เราเห็นแล้วว่า กลอนเจ็ดชีลวี่หมายถึงกลอนเจ็ดสี่วรรคคู่ รวมแปดวรรค แต่ละวรรคมีเจ็ดอักษร มีแบบแผนจังหวะเสียงเข้มเบาที่ตายตัว โดยวรรคแรกและวรรคสุดท้ายต้องมีจังหวะเดียวกัน และวรรคหลังของประโยคกลางจะมีจังหวะเสียงเดียวกับวรรคแรกของประโยคกลางอีกประโยคหนึ่งทีนี้มาดูกลอนเจ็ดชีเจวี๋ย กันบ้างโดยใช้บทกวี ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ นี้เป็นตัวอย่าง (ดูรูปประกอบ) เราจะเห็นว่า เอกลักษณ์ทางเทคนิคเฉพาะของกลอนประเภทนี้คือ- มีเจ็ดอักษรในแต่ละวรรค แต่จะมีทั้งหมดเพียงสองวรรคคู่ รวมสี่วรรค ซึ่งเท่ากับว่ามีความยาวเพียงครึ่งเดียวของกลอนเจ็ดชีลวี่- ยังคงมีแบบแผนของจังหวะเสียงหนักเบาเหมือนกับกลอนเจ็ดชีลวี่ และมาตรฐานแบบแผนจังหวะนี้มีสี่แบบเช่นกัน- วรรคแรกและวรรคสุดท้ายของกลอนมีจังหวะเหมือนกัน เช่นเดียวกับกลอนเจ็ดชีลวี่- เนื่องจากจำนวนวรรคตรงกลางสั้นกว่าชีลวี่ ดังนั้นแบบแผนจังหวะของกลอนเจ็ดชีเจวี๋ยในวรรคที่เหลือจึงตายตัว กล่าวคือ วรรคหลังของประโยคแรกมีจังหวะเหมือนกันกับวรรคแรกของประโยคสองและสัปดาห์ที่แล้วเราคุยถึงว่ากลอนที่ดีมีหัวข้อที่ชัดเจนและทุกวรรคช่วยเสริมหัวข้อนี้ อีกทั้งมีการใช้คำที่มีความเป็นคู่ ไม่ว่าจะคู่เหมือนหรือคู่ขัดแย้ง ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะปรากฏอยู่ในกลอนเจ็ดชีเจวี๋ยนี้เช่นกันเพื่อนเพจบางท่านอาจคิดว่ากลอนเจ็ดชีลวี่ยาวกว่าจึงแต่งยากกว่า แต่จริงๆ แล้วกลับกันค่ะ จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่ากลอนเจ็ดชีเจวี๋ยมีข้อจำกัดของจังหวะเสียงมากกว่า ดังนั้น เมื่อจำนวนอักษรน้อยลง การสื่อความหมายและการสร้างลูกเล่นความเป็นคู่ภายใต้แบบแผนที่ตายตัวเช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่ยากกว่ามาก และนี่คือสาเหตุที่ว่ามันถูกเรียกว่า ‘เจวี๋ย’ ซึ่งแปลว่า ‘ที่สุด’ หรือ Ultimate นั่นเองเมื่อเอ่ยถึง สุดยอดแห่ง ‘ชีลวี่’ จะนึกถึงบทกวี ‘เกาเติง’ ที่คุยไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่หากพูดถึงสุดยอดแห่ง ‘ชีเจวี๋ย’ จะมีคำตอบที่หลากหลาย โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่ากลอนเจ็ดชีเจวี๋ยที่ดังๆ ล้วนมีคุณสมบัติครบถ้วนด้านแบบแผนจังหวะ ดังนั้นความแตกต่างจึงวัดกันที่ความกินใจของเนื้อหา ความไพเราะของภาษาที่ใช้ และลูกเล่นด้านความเป็นคู่ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่วัดกันยากมากในบริบทของอักษรเพียงสี่วรรค จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นคำตอบที่หลากหลายว่ากลอนใดเป็น ‘ที่สุด’ ของกลอนเจ็ดชีเจวี๋ย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://sail957.pixnet.net/blog/post/556471418 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/七言绝句/10272877 https://www.163.com/dy/article/FMOMPMIE0544516W.html https://m.gushici.com/t_467188 https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=35fbbd5372f3870ada7ea3d1 #หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร #กลอนเจ็ดจีนโบราณ #ชีเจวี๋ย #กวีสมัยถัง #หยวนเจิ่น #อิงฮวา
    กลอนเจ็ด ‘ชีเจวี๋ย’สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ เล่าถึงกลอนจากเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาคแรก> ที่มีชื่อว่า ‘เกาเติง’ ของตู้ฝู่ ซึ่งเป็นกลอนเจ็ดอักษรที่มีลักษณะจังหวะเฉพาะเรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ โดยคุยกันว่ากลอนบทนั้นเป็น ‘ที่สุด’ ได้อย่างไร วันนี้เรามาคุยกันถึงกลอนเจ็ดอีกประเภทหนึ่งจากเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ> เช่นกัน ซึ่งในฉากที่นางเอกและพระเอกร่ำลากันกลางทุ่งดอกคาโนลาสีเหลืองก่อนพระเอกต้องเดินทางไปยังแคว้นเป่ยฉีนั้น นางเอกบอกพระเอกว่า นางจะถือกิ่งดอกอิงฮวา (ดอกซากุระ) รอพระเอกกลับมา เชื่อว่าเพื่อนเพจคงเข้าใจจากบริบทของฉากนี้อยู่แล้วว่าดอกอิงฮวาหรือซากุระนี้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก การถือกิ่งซากุระนี้ไม่ได้ถอดวรรคมาจากบทกวี หากแต่เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกกล่าวถึงในบทกวีที่มีชื่อว่า ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ (折枝花赠行) เป็นผลงานของกวีสมัยถังที่มีชื่อว่า หยวนเจิ่น ซึ่งเรื่องนี้ Storyฯ เคยแปลและเขียนถึงไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/686842736777355) แต่ที่จะยกมาคุยกันอีกในวันนี้คือประเด็นต่อเนื่องเรื่องกลอนเจ็ดที่มีเอกลักษณ์พิเศษ ซึ่งหากใครพลาดยังไม่ได้อ่านของสัปดาห์ที่แล้ว ควรกลับไปอ่านมาก่อนเพื่อทำความเข้าใจนะคะ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02zNLqAnmVP4BKMdSasLRsryL1cWdbRnP5fovkVQsUJovx28SGUp66Az77AR4uDcBhl) Storyฯ พูดไปในบทความที่แล้วว่า บ่อยครั้งที่เราเห็นคำแปลบทกวีจีนที่ได้ใจความและ/หรือได้ความไพเราะ เราไม่รู้เลยว่าคำแปลนั้นตกหล่นเอกลักษณ์เฉพาะทางเทคนิคการใช้คำของกลอนจีนไป บทกวี ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ ที่ Storyฯ เคยแปลไว้ก็เช่นกัน ครั้นวันนี้จะมาแปลใหม่ให้สะท้อนเอกลักษณ์เหล่านี้ก็รู้สึกว่าตัวเองความสามารถไม่ถึงกลอนเจ็ดอักษรของจีน เรียกได้ทั่วไปว่า ‘ชีเหยียน’ (七言) ไม่ได้มีข้อจำกัดว่าต้องมีเสียงพ้องเสียงคล้องจองอย่างไรหรือไม่ ยกเว้นกลอนเจ็ดสองประเภทที่มีเอกลักษณ์ทางเทคนิคเฉพาะตัวคือ (1) ‘ชีเหยียนลวี่ซือ’ (七言律诗) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ (七律) และ (2) ‘ชีเหยียนลวี่เจวี๋ย’ (七言律绝) หรือ ‘ชีเหยียนเจวี๋ยจวี้’ (七言绝句) เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีเจวี๋ย’ (七绝) (อนึ่ง คำว่า ‘ลวี่’ แปลว่ากฎกติกา)‘ชีลวี่’ และ ‘ชีเจวี๋ย’ ต่างกันอย่างไร? สัปดาห์ที่แล้วที่คุยกัน เราเห็นแล้วว่า กลอนเจ็ดชีลวี่หมายถึงกลอนเจ็ดสี่วรรคคู่ รวมแปดวรรค แต่ละวรรคมีเจ็ดอักษร มีแบบแผนจังหวะเสียงเข้มเบาที่ตายตัว โดยวรรคแรกและวรรคสุดท้ายต้องมีจังหวะเดียวกัน และวรรคหลังของประโยคกลางจะมีจังหวะเสียงเดียวกับวรรคแรกของประโยคกลางอีกประโยคหนึ่งทีนี้มาดูกลอนเจ็ดชีเจวี๋ย กันบ้างโดยใช้บทกวี ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ นี้เป็นตัวอย่าง (ดูรูปประกอบ) เราจะเห็นว่า เอกลักษณ์ทางเทคนิคเฉพาะของกลอนประเภทนี้คือ- มีเจ็ดอักษรในแต่ละวรรค แต่จะมีทั้งหมดเพียงสองวรรคคู่ รวมสี่วรรค ซึ่งเท่ากับว่ามีความยาวเพียงครึ่งเดียวของกลอนเจ็ดชีลวี่- ยังคงมีแบบแผนของจังหวะเสียงหนักเบาเหมือนกับกลอนเจ็ดชีลวี่ และมาตรฐานแบบแผนจังหวะนี้มีสี่แบบเช่นกัน- วรรคแรกและวรรคสุดท้ายของกลอนมีจังหวะเหมือนกัน เช่นเดียวกับกลอนเจ็ดชีลวี่- เนื่องจากจำนวนวรรคตรงกลางสั้นกว่าชีลวี่ ดังนั้นแบบแผนจังหวะของกลอนเจ็ดชีเจวี๋ยในวรรคที่เหลือจึงตายตัว กล่าวคือ วรรคหลังของประโยคแรกมีจังหวะเหมือนกันกับวรรคแรกของประโยคสองและสัปดาห์ที่แล้วเราคุยถึงว่ากลอนที่ดีมีหัวข้อที่ชัดเจนและทุกวรรคช่วยเสริมหัวข้อนี้ อีกทั้งมีการใช้คำที่มีความเป็นคู่ ไม่ว่าจะคู่เหมือนหรือคู่ขัดแย้ง ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะปรากฏอยู่ในกลอนเจ็ดชีเจวี๋ยนี้เช่นกันเพื่อนเพจบางท่านอาจคิดว่ากลอนเจ็ดชีลวี่ยาวกว่าจึงแต่งยากกว่า แต่จริงๆ แล้วกลับกันค่ะ จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่ากลอนเจ็ดชีเจวี๋ยมีข้อจำกัดของจังหวะเสียงมากกว่า ดังนั้น เมื่อจำนวนอักษรน้อยลง การสื่อความหมายและการสร้างลูกเล่นความเป็นคู่ภายใต้แบบแผนที่ตายตัวเช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่ยากกว่ามาก และนี่คือสาเหตุที่ว่ามันถูกเรียกว่า ‘เจวี๋ย’ ซึ่งแปลว่า ‘ที่สุด’ หรือ Ultimate นั่นเองเมื่อเอ่ยถึง สุดยอดแห่ง ‘ชีลวี่’ จะนึกถึงบทกวี ‘เกาเติง’ ที่คุยไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่หากพูดถึงสุดยอดแห่ง ‘ชีเจวี๋ย’ จะมีคำตอบที่หลากหลาย โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่ากลอนเจ็ดชีเจวี๋ยที่ดังๆ ล้วนมีคุณสมบัติครบถ้วนด้านแบบแผนจังหวะ ดังนั้นความแตกต่างจึงวัดกันที่ความกินใจของเนื้อหา ความไพเราะของภาษาที่ใช้ และลูกเล่นด้านความเป็นคู่ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่วัดกันยากมากในบริบทของอักษรเพียงสี่วรรค จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นคำตอบที่หลากหลายว่ากลอนใดเป็น ‘ที่สุด’ ของกลอนเจ็ดชีเจวี๋ย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://sail957.pixnet.net/blog/post/556471418 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/七言绝句/10272877 https://www.163.com/dy/article/FMOMPMIE0544516W.html https://m.gushici.com/t_467188 https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=35fbbd5372f3870ada7ea3d1 #หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร #กลอนเจ็ดจีนโบราณ #ชีเจวี๋ย #กวีสมัยถัง #หยวนเจิ่น #อิงฮวา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 516 มุมมอง 0 รีวิว
  • สุดยอดกลอนเจ็ด ‘ชีลวี่’ จาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค1>สวัสดีค่ะ Storyฯ ย้อนกลับไปดูภาคแรกของ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร> เพื่อทวนความทรงจำรอดูภาคสอง เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูภาคแรกนี้ต้องจำได้ว่าในงานสังสรรค์ชมบทกวี พระเอกได้ยืมกลอนจากกวีเอกตู้ฝู่มาใช้โดยมั่นใจว่าจะไม่มีใครสามารถแต่งกลอนที่ดีกว่าได้เพราะกลอนบทนี้ของตู้ฝู่ถูกยกย่องให้เป็น ‘ที่สุด’ Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจทั้งหลายที่เคยได้ยินคำแปลของกลอนบทนี้คง ‘เอ๊ะ’ เหมือนกันว่ามันเป็น ‘ที่สุด’ อย่างไร วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กันก่อนอื่นขอแนะนำเกี่ยวกับกวีตู้ฝู่และกลอนบทนี้ กวีตู้ฝู่เป็นกวีเอกสมัยถัง (ค.ศ. 712–770) ถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดกวีและถูกขนานนามว่า ‘ราชันกวี’ และกลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เติงเกา’ (登高 แปลว่าปีนขึ้นที่สูง) เบื้องหลังของกลอนนี้คือ เป็นช่วงปี ค.ศ. 766 ซึ่งผ่านเหตุการณ์กบฏอันลู่ซานไปได้หลายปีแล้วแต่บ้านเมืองยังไม่สงบ สหายต่างสิ้นชีพกันไปเกือบหมด ตัวตู้ฝู่เองก็มีโรครุมเร้า เดิมอาศัยใต้ร่มบารมีของเหยียนอู่ เมื่อสิ้นเหยียนอู่ก็ไร้ที่พึ่งพาจำต้องเดินทางจากเมืองหลวงไป ตอนที่ตู้ฝู่แต่งกลอนบทนี้คือช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่เขาแวะพักฟื้นที่เขตขุยโจว (ปัจจุบันใกล้ฉงชิ่ง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแยงซีเกียง หรือฉางเจียงที่กล่าวถึงในบทกลอน) วันหนึ่งเขาปีนขึ้นหอสูงนอกเมืองไป๋ตี้ มองทิวทัศน์ก็รำลึกถึงอดีตและรู้สึกสะท้อนใจกับชีวิตที่ต้องระหกระเหินแม้ร่างกายเจ็บป่วย กลอนบทนี้สี่วรรคแรกจึงบรรยายถึงความงามแบบเศร้าๆ ของทิวทัศน์ในฤดูใบไม้เปลี่ยนสี สี่วรรคสุดท้ายบรรยายถึงสภาพตนเองที่มีแต่ความโศกเศร้าเป็นเพื่อน แม้แต่จะกินเหล้าดับทุกข์ก็ยังทำไม่ได้เพราะว่าร่างกายไม่เอื้ออำนวย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาคแรก> จึงมีฉากที่มีคนถามว่า พระเอกอายุยังน้อยจะสามารถแต่งกลอนที่แฝงด้วยความทุกข์ความเศร้าของคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวในชีวิตมาได้อย่างไรกลอนบทนี้ถูกยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดอักษรที่มีลักษณะเฉพาะ หรือที่เรียกว่า ‘ชีเหยียนลวี่ซือ’ (七言律诗) เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ (七律) ที่บอกว่ามีลักษณะเฉพาะเพราะว่ากลอนเจ็ดชีลวี่นี้หมายถึงกลอนเจ็ดสี่วรรคคู่ รวมแปดวรรค แต่ละวรรคมีเจ็ดอักษร มีแบบแผนจังหวะเสียงที่ตายตัว ทีนี้เรามาดูกันว่ามันเป็น ‘สุดยอด’ อย่างไรประเด็นแรกคือ หัวข้อ --- กลอนที่ดีจะพัฒนาถ้อยคำขึ้นรอบๆ หัวข้อของกลอน ในที่นี้หัวข้อคือ ความเศร้าของสารทฤดู ภาพทิวทัศน์คือใบไม้เปลี่ยนสีและธรรมชาติที่แฝงด้วยความเศร้า ความในใจคือความโศกเศร้าเชื่อมโยงกับสารทฤดู ทุกวรรคทุกประโยคล้วนส่งเสริมหัวข้อนี้แต่บรรยายให้เห็นราวภาพวาด แต่ข้อจำกัดของกลอนเจ็ดชีลวี่คือพอเข้าประโยคที่สามต้องเปลี่ยนเรื่อง... ใช่ค่ะ เปลี่ยนเรื่องโดยไม่หลุดจากหัวข้อ ดังนั้นเราจึงเห็นสองประโยคแรกเป็นการบรรยายทิวทัศน์ และประโยคสามเปลี่ยนมาพูดถึงตัวกวีเองแต่คุณสมบัติตามประเด็นแรกนี้หาไม่ยากในกลอนที่โด่งดังทั้งหลาย เรามาดูประเด็นที่เข้มข้นมากขึ้นกันประเด็นที่สองคือ แบบแผนจังหวะและเสียง --- กลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเฉพาะเจาะจงอยู่สี่แบบ และจังหวะที่ว่านี้คือจังหวะความเข้มเบาของเสียงอักษร โดย ‘เบา’ หมายถึงเสียงกลาง ซึ่งท่านที่เรียนภาษาจีนจะทราบว่าจริงๆ แล้วภาษาจีนไม่มีเสียงกลางเหมือนไทยแต่ผันเป็นสี่เสียง และอักษรที่อยู่ในกลุ่มเสียงเบานี้ส่วนใหญ่เป็นอักษรในเสียงสองหรืออาจเป็นอักษรเสียงแรก ส่วน ‘เข้ม’ คือหมายถึงเสียงอื่น แต่ในประเด็นนี้มีความละเอียดอ่อนของการผันเสียง เช่น หากเป็นอักษรแรกตอนเริ่มวรรคหรือหลังกลางวรรค เสียงเบาอาจผันเป็นเสียงเข้มได้ ฟังแล้วอาจงงแต่เราไม่ได้อยากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญก็อย่าไปเครียดกับมันค่ะ สรุปได้สั้นๆ ว่ากลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเบาเข้มที่ชัดเจน ซึ่งกวีต้องรู้ว่าอักษรใดคือเสียงเบา อักษรใดคือเสียงเข้ม และต้องเลือกใช้อักษรที่ให้เสียงเบาเข้มตามแบบแผนจังหวะที่เลือก ดังที่กล่าวมาข้างต้น ชีลวี่มีสี่แบบแผนจังหวะมาตรฐาน ซึ่งทั้งสี่แบบนี้ล้วนให้อิสระกับจังหวะของประโยคแรกและประโยคสุดท้าย แต่เข้มงวดเรื่องการเชื่อมโยงทางจังหวะของวรรคอื่นๆ อย่าเพิ่งงงค่ะ เรามาดูกลอน ‘เติงเกา’ เป็นตัวอย่าง เอกลักษณ์ของแบบแผนชีลวี่สรุปได้ดังนี้ (ดูรูปประกอบขวาล่าง) - จังหวะของวรรคท้ายในประโยคแรกและประโยคสามเหมือนกัน และต่อเนื่องมาถึงจังหวะของวรรคแรกในประโยคสองและวรรคแรกในประโยคสุดท้ายก็เหมือนกัน - ลงท้ายทุกประโยคด้วยเสียงเบาซึ่งทำให้จำนวนอักษรที่สามารถนำมาใช้ได้นั้นมีจำนวนจำกัดยิ่งขึ้น และ - จังหวะเข้มเบาของวรรคแรกและวรรคจบต้องเหมือนกันเชื่อว่าเพื่อนเพจคงรู้สึกเหมือน Storyฯ แล้วว่า การที่จะใช้อักษรให้สื่อความหมายได้ตามต้องการและยังอยู่ในกรอบแบบแผนจังหวะเสียงที่ว่ามานี้ยากมากและกวีผู้นั้นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาสูงมาก เท่านี้ยังไม่พอ ดีกรีความเข้มข้นของภาษาของกลอนบทนี้คือประเด็นสุดท้ายจะกล่าวถึงประเด็นสุดท้ายคือ ความเป็นคู่ --- หลายคนมักเข้าใจว่ากลอนจีนต้องมีความคล้องจองของคำ แต่ถ้าเพื่อนเพจดูจากคำออกเสียงที่ Storyฯ ใส่มาให้จะเห็นว่าเสียงไม่คล้องจองกันเลย ดังนั้นจะเห็นว่ากลอนจีนโบราณจริงแล้วให้ความสำคัญกับความคล้องจองของอักษรน้อยกว่าความเป็นคู่ ซึ่งความเป็นคู่อาจหมายถึง ‘คู่เหมือน’ หรือ ‘คู่ขัดแย้ง’ ซึ่ง Storyฯ เคยเกริ่นถึงแล้วในบทความเกี่ยวกับรหัสลับจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02a8RcKiQmJ1GyrL2pkPs4dKmeZDnuti8guSaVo2VgSTcG9obtJoguAX62Mx4DgbQLl) เพื่ออธิบายประเด็นความเป็นคู่นี้ Storyฯ เลยแปลและเรียบเรียงบทกวีนี้โดยไม่เน้นความไพเราะหรือความพลิ้วพราย แต่พยายามคงเอกลักษณ์ความเป็นคู่ของวรรคแรกและวรรคหลังของแต่ละประโยคไว้ (ดูรูปประกอบขวาบนนะคะ) จะเห็นว่าความเป็นคู่นี้มีลูกเล่นได้หลากหลาย อาทิ - คุณศัพท์ขยายนาม เช่นในประโยคแรก ลมแรง <-> น้ำใส และ ฟ้าสูง <-> ทรายขาว ; ประโยคสาม หมื่นลี้ <-> ร้อยปี- นามและกิริยา เช่นในประโยคแรก ลิงหวนไห้ <-> นกบินกลับ; - คำซ้ำๆ เหมือนกัน เช่นในประโยคที่สอง โปรยโปรย <-> ม้วนม้วน- คำที่ความหมายคล้ายคลึงด้วยจำนวนอักษรเท่ากัน เช่นในประโยคที่สอง ไร้ขอบเขต <-> ไม่สิ้นสุด- อารมณ์ที่ขัดแย้งกัน เช่นในประโยคสาม วรรคแรก ‘หมั่นมาเยือน’ ให้อารมณ์ความคึกคักขัดแย้งกับวรรคหลัง ‘ปีนหอเดียวดาย’ - อารมณ์สอดคล้องกัน เช่นในประโยคสุดท้ายที่ล้วนบรรยายถึงความยากลำบากทางกายและความระทมทางใจและหากเพื่อนเพจสังเกตดีๆ นอกจากความเป็นคู่ของคำที่ใช้แล้ว จะเห็นว่าตำแหน่งของคำเหล่านี้ล้วนเป็นตำแหน่งเดียวกันในวรรคแรกและวรรคหลัง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นคู่Storyฯ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมจีน แต่ที่พยายามแปลและยกมาเล่าให้ฟังนี้ เพื่อที่เพื่อนเพจจะได้อรรถรสถึงความซับซ้อนของกวีจีนโบราณ บ่อยครั้งที่เราได้ยินคำแปลกลอนจีนที่ไพเราะสละสลวยได้อารมณ์และความหมาย แต่ไม่เคยรู้เลยว่าคำแปลนั้นไม่สามารถสะท้อนถึงเอกลักษณ์ทางเทคนิคของบทกลอน Storyฯ เองเวลาแปลบทกวีจีนก็มักจะมองข้ามเอกลักษณ์ทางเทคนิคเช่นกัน และเอกลักษณ์ทางเทคนิคเหล่านี้นี่เองที่ช่วยเสริมให้บทกวี ‘เติงเกา’ ของตู้ฝู่บทนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดชีลวี่ยาวนานกว่าหนึ่งพันปี ทีนี้เข้าใจกันแล้วนะคะว่าบทกวีนี้เป็น ‘ที่สุด’ ได้อย่างไร(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_5325467 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/604660125_121119376 https://www.toutiao.com/article/6824075960027972109/?&source=m_redirect https://www.sohu.com/a/138168554_146329https://baike.baidu.com/item/登高/7605079 https://baike.baidu.com/item/七言律诗/10294898 #หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร #กลอนเจ็ดจีนโบราณ #ชีลวี่ #เกาเติง #กวีสมัยถัง #ตู้ฝู่
    สุดยอดกลอนเจ็ด ‘ชีลวี่’ จาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค1>สวัสดีค่ะ Storyฯ ย้อนกลับไปดูภาคแรกของ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร> เพื่อทวนความทรงจำรอดูภาคสอง เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูภาคแรกนี้ต้องจำได้ว่าในงานสังสรรค์ชมบทกวี พระเอกได้ยืมกลอนจากกวีเอกตู้ฝู่มาใช้โดยมั่นใจว่าจะไม่มีใครสามารถแต่งกลอนที่ดีกว่าได้เพราะกลอนบทนี้ของตู้ฝู่ถูกยกย่องให้เป็น ‘ที่สุด’ Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจทั้งหลายที่เคยได้ยินคำแปลของกลอนบทนี้คง ‘เอ๊ะ’ เหมือนกันว่ามันเป็น ‘ที่สุด’ อย่างไร วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กันก่อนอื่นขอแนะนำเกี่ยวกับกวีตู้ฝู่และกลอนบทนี้ กวีตู้ฝู่เป็นกวีเอกสมัยถัง (ค.ศ. 712–770) ถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดกวีและถูกขนานนามว่า ‘ราชันกวี’ และกลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เติงเกา’ (登高 แปลว่าปีนขึ้นที่สูง) เบื้องหลังของกลอนนี้คือ เป็นช่วงปี ค.ศ. 766 ซึ่งผ่านเหตุการณ์กบฏอันลู่ซานไปได้หลายปีแล้วแต่บ้านเมืองยังไม่สงบ สหายต่างสิ้นชีพกันไปเกือบหมด ตัวตู้ฝู่เองก็มีโรครุมเร้า เดิมอาศัยใต้ร่มบารมีของเหยียนอู่ เมื่อสิ้นเหยียนอู่ก็ไร้ที่พึ่งพาจำต้องเดินทางจากเมืองหลวงไป ตอนที่ตู้ฝู่แต่งกลอนบทนี้คือช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่เขาแวะพักฟื้นที่เขตขุยโจว (ปัจจุบันใกล้ฉงชิ่ง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแยงซีเกียง หรือฉางเจียงที่กล่าวถึงในบทกลอน) วันหนึ่งเขาปีนขึ้นหอสูงนอกเมืองไป๋ตี้ มองทิวทัศน์ก็รำลึกถึงอดีตและรู้สึกสะท้อนใจกับชีวิตที่ต้องระหกระเหินแม้ร่างกายเจ็บป่วย กลอนบทนี้สี่วรรคแรกจึงบรรยายถึงความงามแบบเศร้าๆ ของทิวทัศน์ในฤดูใบไม้เปลี่ยนสี สี่วรรคสุดท้ายบรรยายถึงสภาพตนเองที่มีแต่ความโศกเศร้าเป็นเพื่อน แม้แต่จะกินเหล้าดับทุกข์ก็ยังทำไม่ได้เพราะว่าร่างกายไม่เอื้ออำนวย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาคแรก> จึงมีฉากที่มีคนถามว่า พระเอกอายุยังน้อยจะสามารถแต่งกลอนที่แฝงด้วยความทุกข์ความเศร้าของคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวในชีวิตมาได้อย่างไรกลอนบทนี้ถูกยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดอักษรที่มีลักษณะเฉพาะ หรือที่เรียกว่า ‘ชีเหยียนลวี่ซือ’ (七言律诗) เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ (七律) ที่บอกว่ามีลักษณะเฉพาะเพราะว่ากลอนเจ็ดชีลวี่นี้หมายถึงกลอนเจ็ดสี่วรรคคู่ รวมแปดวรรค แต่ละวรรคมีเจ็ดอักษร มีแบบแผนจังหวะเสียงที่ตายตัว ทีนี้เรามาดูกันว่ามันเป็น ‘สุดยอด’ อย่างไรประเด็นแรกคือ หัวข้อ --- กลอนที่ดีจะพัฒนาถ้อยคำขึ้นรอบๆ หัวข้อของกลอน ในที่นี้หัวข้อคือ ความเศร้าของสารทฤดู ภาพทิวทัศน์คือใบไม้เปลี่ยนสีและธรรมชาติที่แฝงด้วยความเศร้า ความในใจคือความโศกเศร้าเชื่อมโยงกับสารทฤดู ทุกวรรคทุกประโยคล้วนส่งเสริมหัวข้อนี้แต่บรรยายให้เห็นราวภาพวาด แต่ข้อจำกัดของกลอนเจ็ดชีลวี่คือพอเข้าประโยคที่สามต้องเปลี่ยนเรื่อง... ใช่ค่ะ เปลี่ยนเรื่องโดยไม่หลุดจากหัวข้อ ดังนั้นเราจึงเห็นสองประโยคแรกเป็นการบรรยายทิวทัศน์ และประโยคสามเปลี่ยนมาพูดถึงตัวกวีเองแต่คุณสมบัติตามประเด็นแรกนี้หาไม่ยากในกลอนที่โด่งดังทั้งหลาย เรามาดูประเด็นที่เข้มข้นมากขึ้นกันประเด็นที่สองคือ แบบแผนจังหวะและเสียง --- กลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเฉพาะเจาะจงอยู่สี่แบบ และจังหวะที่ว่านี้คือจังหวะความเข้มเบาของเสียงอักษร โดย ‘เบา’ หมายถึงเสียงกลาง ซึ่งท่านที่เรียนภาษาจีนจะทราบว่าจริงๆ แล้วภาษาจีนไม่มีเสียงกลางเหมือนไทยแต่ผันเป็นสี่เสียง และอักษรที่อยู่ในกลุ่มเสียงเบานี้ส่วนใหญ่เป็นอักษรในเสียงสองหรืออาจเป็นอักษรเสียงแรก ส่วน ‘เข้ม’ คือหมายถึงเสียงอื่น แต่ในประเด็นนี้มีความละเอียดอ่อนของการผันเสียง เช่น หากเป็นอักษรแรกตอนเริ่มวรรคหรือหลังกลางวรรค เสียงเบาอาจผันเป็นเสียงเข้มได้ ฟังแล้วอาจงงแต่เราไม่ได้อยากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญก็อย่าไปเครียดกับมันค่ะ สรุปได้สั้นๆ ว่ากลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเบาเข้มที่ชัดเจน ซึ่งกวีต้องรู้ว่าอักษรใดคือเสียงเบา อักษรใดคือเสียงเข้ม และต้องเลือกใช้อักษรที่ให้เสียงเบาเข้มตามแบบแผนจังหวะที่เลือก ดังที่กล่าวมาข้างต้น ชีลวี่มีสี่แบบแผนจังหวะมาตรฐาน ซึ่งทั้งสี่แบบนี้ล้วนให้อิสระกับจังหวะของประโยคแรกและประโยคสุดท้าย แต่เข้มงวดเรื่องการเชื่อมโยงทางจังหวะของวรรคอื่นๆ อย่าเพิ่งงงค่ะ เรามาดูกลอน ‘เติงเกา’ เป็นตัวอย่าง เอกลักษณ์ของแบบแผนชีลวี่สรุปได้ดังนี้ (ดูรูปประกอบขวาล่าง) - จังหวะของวรรคท้ายในประโยคแรกและประโยคสามเหมือนกัน และต่อเนื่องมาถึงจังหวะของวรรคแรกในประโยคสองและวรรคแรกในประโยคสุดท้ายก็เหมือนกัน - ลงท้ายทุกประโยคด้วยเสียงเบาซึ่งทำให้จำนวนอักษรที่สามารถนำมาใช้ได้นั้นมีจำนวนจำกัดยิ่งขึ้น และ - จังหวะเข้มเบาของวรรคแรกและวรรคจบต้องเหมือนกันเชื่อว่าเพื่อนเพจคงรู้สึกเหมือน Storyฯ แล้วว่า การที่จะใช้อักษรให้สื่อความหมายได้ตามต้องการและยังอยู่ในกรอบแบบแผนจังหวะเสียงที่ว่ามานี้ยากมากและกวีผู้นั้นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาสูงมาก เท่านี้ยังไม่พอ ดีกรีความเข้มข้นของภาษาของกลอนบทนี้คือประเด็นสุดท้ายจะกล่าวถึงประเด็นสุดท้ายคือ ความเป็นคู่ --- หลายคนมักเข้าใจว่ากลอนจีนต้องมีความคล้องจองของคำ แต่ถ้าเพื่อนเพจดูจากคำออกเสียงที่ Storyฯ ใส่มาให้จะเห็นว่าเสียงไม่คล้องจองกันเลย ดังนั้นจะเห็นว่ากลอนจีนโบราณจริงแล้วให้ความสำคัญกับความคล้องจองของอักษรน้อยกว่าความเป็นคู่ ซึ่งความเป็นคู่อาจหมายถึง ‘คู่เหมือน’ หรือ ‘คู่ขัดแย้ง’ ซึ่ง Storyฯ เคยเกริ่นถึงแล้วในบทความเกี่ยวกับรหัสลับจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02a8RcKiQmJ1GyrL2pkPs4dKmeZDnuti8guSaVo2VgSTcG9obtJoguAX62Mx4DgbQLl) เพื่ออธิบายประเด็นความเป็นคู่นี้ Storyฯ เลยแปลและเรียบเรียงบทกวีนี้โดยไม่เน้นความไพเราะหรือความพลิ้วพราย แต่พยายามคงเอกลักษณ์ความเป็นคู่ของวรรคแรกและวรรคหลังของแต่ละประโยคไว้ (ดูรูปประกอบขวาบนนะคะ) จะเห็นว่าความเป็นคู่นี้มีลูกเล่นได้หลากหลาย อาทิ - คุณศัพท์ขยายนาม เช่นในประโยคแรก ลมแรง <-> น้ำใส และ ฟ้าสูง <-> ทรายขาว ; ประโยคสาม หมื่นลี้ <-> ร้อยปี- นามและกิริยา เช่นในประโยคแรก ลิงหวนไห้ <-> นกบินกลับ; - คำซ้ำๆ เหมือนกัน เช่นในประโยคที่สอง โปรยโปรย <-> ม้วนม้วน- คำที่ความหมายคล้ายคลึงด้วยจำนวนอักษรเท่ากัน เช่นในประโยคที่สอง ไร้ขอบเขต <-> ไม่สิ้นสุด- อารมณ์ที่ขัดแย้งกัน เช่นในประโยคสาม วรรคแรก ‘หมั่นมาเยือน’ ให้อารมณ์ความคึกคักขัดแย้งกับวรรคหลัง ‘ปีนหอเดียวดาย’ - อารมณ์สอดคล้องกัน เช่นในประโยคสุดท้ายที่ล้วนบรรยายถึงความยากลำบากทางกายและความระทมทางใจและหากเพื่อนเพจสังเกตดีๆ นอกจากความเป็นคู่ของคำที่ใช้แล้ว จะเห็นว่าตำแหน่งของคำเหล่านี้ล้วนเป็นตำแหน่งเดียวกันในวรรคแรกและวรรคหลัง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นคู่Storyฯ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมจีน แต่ที่พยายามแปลและยกมาเล่าให้ฟังนี้ เพื่อที่เพื่อนเพจจะได้อรรถรสถึงความซับซ้อนของกวีจีนโบราณ บ่อยครั้งที่เราได้ยินคำแปลกลอนจีนที่ไพเราะสละสลวยได้อารมณ์และความหมาย แต่ไม่เคยรู้เลยว่าคำแปลนั้นไม่สามารถสะท้อนถึงเอกลักษณ์ทางเทคนิคของบทกลอน Storyฯ เองเวลาแปลบทกวีจีนก็มักจะมองข้ามเอกลักษณ์ทางเทคนิคเช่นกัน และเอกลักษณ์ทางเทคนิคเหล่านี้นี่เองที่ช่วยเสริมให้บทกวี ‘เติงเกา’ ของตู้ฝู่บทนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดชีลวี่ยาวนานกว่าหนึ่งพันปี ทีนี้เข้าใจกันแล้วนะคะว่าบทกวีนี้เป็น ‘ที่สุด’ ได้อย่างไร(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_5325467 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/604660125_121119376 https://www.toutiao.com/article/6824075960027972109/?&source=m_redirect https://www.sohu.com/a/138168554_146329https://baike.baidu.com/item/登高/7605079 https://baike.baidu.com/item/七言律诗/10294898 #หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร #กลอนเจ็ดจีนโบราณ #ชีลวี่ #เกาเติง #กวีสมัยถัง #ตู้ฝู่
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 582 มุมมอง 0 รีวิว