• เถาฝู ป้ายมงคลฉลองตรุษจีนโบราณ

    เข้าสู่เทศกาลตรุษจีนแล้ว ก็คงไม่แคล้วต้องคุยถึงประเพณีและวัฒนธรรมจีนโบราณที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลตรุษจีน ปีก่อนๆ ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงไปคือ: การโส่วซุ่ยหรืออดนอนข้ามคืนเป็นนัยว่าให้ผู้ใหญ่ในบ้านอายุยืนยาว; การกินสุราสมุนไพรเช่นสุราพริกหอม; คำมงคลและอักษรประสม ใครยังไม่ได้อ่านลองย้อนกลับไปอ่านนะคะ (หาลิ้งค์ได้ในสารบัญของเพจ)

    วันนี้มาคุยกันถึงป้ายมงคลคู่แบบหนึ่ง เรียกว่า ‘เถาฝู’ (桃符) แปลตรงตัวว่าป้ายที่ทำจากไม้ท้อ เป็นป้ายมงคลคู่ที่ในสมัยจีนโบราณนิยมติดกันหน้าบ้านเพื่อต้อนรับตรุษจีน อดีตกวีเอกและนักการเมืองสมัยซ่งเคยประพันธ์บทกวีชื่อ <หยวนรึ> (元日/วันขึ้นปีใหม่) บรรยายถึงธรรมเนียมตรุษจีนไว้ Storyฯ เรียบเรียงดังนี้

    เสียงประทัดลั่นคือหนึ่งปีที่ผันผ่าน
    ลมวสันต์อุ่นสุราแห่งศกใหม่
    พันบ้านหมื่นเรือนก่อนอรุณรุ่ง
    ล้วนนำท้อใหม่เปลี่ยนป้ายเก่า

    ‘ท้อใหม่ป้ายเก่า’ ที่กล่าวถึงก็คือ ‘เถาฝู’

    แรกเริ่มเลย ‘เถาฝู’ คือป้ายไม้ที่ทำจากต้นท้อ ในเอกสารที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์เหนือใต้เกี่ยวกับราชวงศ์ก่อนๆ นั้น มีบรรยายไว้ว่า: เถาฝูมีขนาดยาวหกนิ้ว กว้างสามนิ้ว; วันที่หนึ่งเดือนหนึ่ง ทำป้ายติดเรือนด้วยไม้ท้อ คือไม้ศักดิ์สิทธิ์; บนป้ายเขียนชื่อสองเทพเจ้าแปะไว้ซ้ายขวา ซ้ายคือเทพเซินซู ขวาคือเทพอวี้ลวี่ ฯลฯ

    ประวัติของเทพเจ้าสององค์นี้แตกต่างกันไปตามตำนานปรัมปราหลากหลายที่เล่าขานกันมา แต่เรื่องราวที่เหมือนกันก็คือทั้งสองเทพเจ้านี้เฝ้าอยู่ใต้ร่มไม้ต้นท้อยักษ์ ใช้กิ่งเถาของต้นท้อจับภูตผีที่ทำตัวไม่ดีไปโยนให้เสือกิน จึงเป็นที่มาว่าไม้ท้อเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ สามารถขับไล่ภูตผีและสิ่งชั่วร้ายได้ ในวันปีใหม่จึงมีธรรมเนียมแปะเถาฝูเพื่อให้ปกปักษ์คุ้มครองบ้าน ป้องกันภูตผีและสิ่งชั่วร้าย พอขึ้นปีใหม่ก็เปลี่ยนเถาฝูชุดใหม่

    ธรรมเนียมหลายพันปีย่อมมีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง จากการเขียนชื่อสองเทพเจ้ากลายเป็นการแกะสลักรูปภาพเทพเจ้าบนไม้ท้อ กลายเป็นภาพวาดบนกระดาษ นอกจากนี้ในสมัยถังก็เปลี่ยนจากรูปของเทพเซินซูอวี้ลวี่เป็นรูปขุนพลในสมัยถังที่ถูกยกย่องประหนึ่งเป็นเทพสงคราม ซึ่งที่กล่าวมานี้ก็คือธรรมเนียมการแปะรูปเทพเจ้าเหมินเสิน (เทพพิทักษ์ประตู/เทพทวารบาล) ในปัจจุบันนั่นเอง

    แต่คำว่า ‘เถาฝู’ ในสมัยซ่งไม่เพียงหมายถึงป้ายชื่อหรือรูปภาพเทพทวารบาล หากแต่ยังหมายรวมถึงป้ายที่มีกลอนคู่มงคลหรือวลีรับตรุษจีน (หมายเหตุ กลอนคู่เรียกรวมว่า ‘ตุ้ยเหลียน’ ส่วนวลีมงคลที่มีใจความรับปีใหม่เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงได้ว่า ‘ชุนเหลียน’)

    ไอเดียการเขียนกลอนคู่ลงบนป้ายไม้ท้อนี้ ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าริเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่ในเอกสารโบราณเกี่ยวกับแคว้นซีสู่ (สมัยสิบหกแคว้นช่วงปีค.ศ. 304-439) มีกล่าวถึงการเขียนกลอนคู่บนป้ายไม้ท้อเพื่อประดับในพระราชวังแล้ว

    เอกสารโบราณของสมัยหมิงกล่าวไว้ว่า: ประเพณีการติดกลอนคู่มงคลชุนเหลียนในวันตรุษจีนนั้น ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการโดยองค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) โดยมีการประกาศในเมืองหลวงในคืนวันสิ้นปีให้ขุนนางข้าราชการต่างๆ ติดชุนเหลียนไว้หน้าจวน/เรือนของตน เพื่อว่าเวลาทรงเสด็จประพาสต้นจะได้ทอดพระเนตร และในสมัยนั้นได้มีการเรียกจำแนกไว้ว่า ‘เถาฝู’ หมายรวมถึงภาพและกลอนที่ทำขึ้นบนป้ายไม้ท้อ และ ‘ชุนเทีย’ หมายรวมถึงภาพและกลอนที่ทำขึ้นบนกระดาษเพื่อรับตรุษจีน

    และต่อมาในสมัยชิง กระดาษชุนเทียมีดีไซน์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอักษรเดียว วลีเดี่ยวติดแนวขวางเหนือประตู แนวตรงติดข้างประตู ติดหน้าบานประตู ฯลฯ สืบทอดมาจนปัจจุบัน

    ประเพณีติดป้ายเถาฝูหายไปตามยุคสมัย แต่เราจะเห็นได้ว่า แท้จริงแล้วมันคือต้นกำเนิดของการติดภาพวาดเหมินเสินที่ประตู และเป็นต้นกำเนิดของการแปะกลอนคู่มงคลตุ้ยเหลียนที่ยังทำกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันอีกด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://www.gov.cn/govweb/ztzl/08cjtbch/content_861150.htm
    https://www.workercn.cn/32843/201902/06/190206095618327_3.shtml
    https://kknews.cc/culture/3am8x23.html
    http://weixin.chinafolklore.org/?p=15620
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_e3da8d97be73.aspx
    https://www.soundofhope.org/post/468983
    https://baike.baidu.com/item/桃符

    #ประเพณีตรุษจีน #ตุ้นเหลียน #เหมินเสิน #เทพเจ้าประตู #กลอนคู่มงคล #เถาฟู #ป้ายไม้ท้อ
    เถาฝู ป้ายมงคลฉลองตรุษจีนโบราณ เข้าสู่เทศกาลตรุษจีนแล้ว ก็คงไม่แคล้วต้องคุยถึงประเพณีและวัฒนธรรมจีนโบราณที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลตรุษจีน ปีก่อนๆ ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงไปคือ: การโส่วซุ่ยหรืออดนอนข้ามคืนเป็นนัยว่าให้ผู้ใหญ่ในบ้านอายุยืนยาว; การกินสุราสมุนไพรเช่นสุราพริกหอม; คำมงคลและอักษรประสม ใครยังไม่ได้อ่านลองย้อนกลับไปอ่านนะคะ (หาลิ้งค์ได้ในสารบัญของเพจ) วันนี้มาคุยกันถึงป้ายมงคลคู่แบบหนึ่ง เรียกว่า ‘เถาฝู’ (桃符) แปลตรงตัวว่าป้ายที่ทำจากไม้ท้อ เป็นป้ายมงคลคู่ที่ในสมัยจีนโบราณนิยมติดกันหน้าบ้านเพื่อต้อนรับตรุษจีน อดีตกวีเอกและนักการเมืองสมัยซ่งเคยประพันธ์บทกวีชื่อ <หยวนรึ> (元日/วันขึ้นปีใหม่) บรรยายถึงธรรมเนียมตรุษจีนไว้ Storyฯ เรียบเรียงดังนี้ เสียงประทัดลั่นคือหนึ่งปีที่ผันผ่าน ลมวสันต์อุ่นสุราแห่งศกใหม่ พันบ้านหมื่นเรือนก่อนอรุณรุ่ง ล้วนนำท้อใหม่เปลี่ยนป้ายเก่า ‘ท้อใหม่ป้ายเก่า’ ที่กล่าวถึงก็คือ ‘เถาฝู’ แรกเริ่มเลย ‘เถาฝู’ คือป้ายไม้ที่ทำจากต้นท้อ ในเอกสารที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์เหนือใต้เกี่ยวกับราชวงศ์ก่อนๆ นั้น มีบรรยายไว้ว่า: เถาฝูมีขนาดยาวหกนิ้ว กว้างสามนิ้ว; วันที่หนึ่งเดือนหนึ่ง ทำป้ายติดเรือนด้วยไม้ท้อ คือไม้ศักดิ์สิทธิ์; บนป้ายเขียนชื่อสองเทพเจ้าแปะไว้ซ้ายขวา ซ้ายคือเทพเซินซู ขวาคือเทพอวี้ลวี่ ฯลฯ ประวัติของเทพเจ้าสององค์นี้แตกต่างกันไปตามตำนานปรัมปราหลากหลายที่เล่าขานกันมา แต่เรื่องราวที่เหมือนกันก็คือทั้งสองเทพเจ้านี้เฝ้าอยู่ใต้ร่มไม้ต้นท้อยักษ์ ใช้กิ่งเถาของต้นท้อจับภูตผีที่ทำตัวไม่ดีไปโยนให้เสือกิน จึงเป็นที่มาว่าไม้ท้อเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ สามารถขับไล่ภูตผีและสิ่งชั่วร้ายได้ ในวันปีใหม่จึงมีธรรมเนียมแปะเถาฝูเพื่อให้ปกปักษ์คุ้มครองบ้าน ป้องกันภูตผีและสิ่งชั่วร้าย พอขึ้นปีใหม่ก็เปลี่ยนเถาฝูชุดใหม่ ธรรมเนียมหลายพันปีย่อมมีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง จากการเขียนชื่อสองเทพเจ้ากลายเป็นการแกะสลักรูปภาพเทพเจ้าบนไม้ท้อ กลายเป็นภาพวาดบนกระดาษ นอกจากนี้ในสมัยถังก็เปลี่ยนจากรูปของเทพเซินซูอวี้ลวี่เป็นรูปขุนพลในสมัยถังที่ถูกยกย่องประหนึ่งเป็นเทพสงคราม ซึ่งที่กล่าวมานี้ก็คือธรรมเนียมการแปะรูปเทพเจ้าเหมินเสิน (เทพพิทักษ์ประตู/เทพทวารบาล) ในปัจจุบันนั่นเอง แต่คำว่า ‘เถาฝู’ ในสมัยซ่งไม่เพียงหมายถึงป้ายชื่อหรือรูปภาพเทพทวารบาล หากแต่ยังหมายรวมถึงป้ายที่มีกลอนคู่มงคลหรือวลีรับตรุษจีน (หมายเหตุ กลอนคู่เรียกรวมว่า ‘ตุ้ยเหลียน’ ส่วนวลีมงคลที่มีใจความรับปีใหม่เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงได้ว่า ‘ชุนเหลียน’) ไอเดียการเขียนกลอนคู่ลงบนป้ายไม้ท้อนี้ ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าริเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่ในเอกสารโบราณเกี่ยวกับแคว้นซีสู่ (สมัยสิบหกแคว้นช่วงปีค.ศ. 304-439) มีกล่าวถึงการเขียนกลอนคู่บนป้ายไม้ท้อเพื่อประดับในพระราชวังแล้ว เอกสารโบราณของสมัยหมิงกล่าวไว้ว่า: ประเพณีการติดกลอนคู่มงคลชุนเหลียนในวันตรุษจีนนั้น ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการโดยองค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) โดยมีการประกาศในเมืองหลวงในคืนวันสิ้นปีให้ขุนนางข้าราชการต่างๆ ติดชุนเหลียนไว้หน้าจวน/เรือนของตน เพื่อว่าเวลาทรงเสด็จประพาสต้นจะได้ทอดพระเนตร และในสมัยนั้นได้มีการเรียกจำแนกไว้ว่า ‘เถาฝู’ หมายรวมถึงภาพและกลอนที่ทำขึ้นบนป้ายไม้ท้อ และ ‘ชุนเทีย’ หมายรวมถึงภาพและกลอนที่ทำขึ้นบนกระดาษเพื่อรับตรุษจีน และต่อมาในสมัยชิง กระดาษชุนเทียมีดีไซน์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอักษรเดียว วลีเดี่ยวติดแนวขวางเหนือประตู แนวตรงติดข้างประตู ติดหน้าบานประตู ฯลฯ สืบทอดมาจนปัจจุบัน ประเพณีติดป้ายเถาฝูหายไปตามยุคสมัย แต่เราจะเห็นได้ว่า แท้จริงแล้วมันคือต้นกำเนิดของการติดภาพวาดเหมินเสินที่ประตู และเป็นต้นกำเนิดของการแปะกลอนคู่มงคลตุ้ยเหลียนที่ยังทำกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันอีกด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://www.gov.cn/govweb/ztzl/08cjtbch/content_861150.htm https://www.workercn.cn/32843/201902/06/190206095618327_3.shtml https://kknews.cc/culture/3am8x23.html http://weixin.chinafolklore.org/?p=15620 https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_e3da8d97be73.aspx https://www.soundofhope.org/post/468983 https://baike.baidu.com/item/桃符 #ประเพณีตรุษจีน #ตุ้นเหลียน #เหมินเสิน #เทพเจ้าประตู #กลอนคู่มงคล #เถาฟู #ป้ายไม้ท้อ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 614 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถิงจ้าง - การโบยพระราชทานสวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ถึงเรื่องราวตอนที่ผู้ตรวจการล่ายหมิงเฉิงร้องเรียนฮ่องเต้ว่าประพฤติตนไม่ถูกต้อง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) ฮ่องเต้เลย ‘ตกรางวัล’ ให้เป็นการลงทัณฑ์ด้วยการโบยพร้อมกับคำพูดที่ว่า ยอมเสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเองเพื่อให้ผู้ตรวจการล่ายมีชื่อจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตีเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยจากหลายซีรีส์และนิยายจีน การลงทัณฑ์นี้ทั่วไปเรียกว่า ‘จ้างสิง’ (杖刑) เป็นวิธีการลงทัณฑ์ที่ถูกบัญญัติเข้าไปในกฎหมาย เพียงแต่รูปแบบและรายละเอียดอาจแตกต่างกันไปตามยุคสมัย แต่ที่วันนี้จะคุยถึงคือการโบยที่เรียกว่า ‘ถิงจ้าง’ (廷杖) ซึ่งเป็นกรณีที่เราเห็นในเรื่อง <หาญชะตาฯ 2> ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ‘จ้าง’ แปลว่าตีด้วยไม้ ส่วน ‘ถิง’ หมายถึงส่วนของพระราชวังที่ฮ่องเต้ใช้ทรงงานและประชุมกับขุนนางหรือหมายถึงราชสำนัก ดังนั้น ‘ถิงจ้าง’ จึงเป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้หมายถึงการโบยขุนนางระดับสูงหน้าพระที่นั่งและเป็นคำสั่งของฮ่องเต้เท่านั้น การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตามคำสั่งของฮ่องเต้มีมาตั้งแต่สมัยฮั่น แต่จากสมัยฮั่นจนถึงสมัยหยวนเกิดกรณีอย่างนี้น้อยมาก มันไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัวและไม่ใช่บทลงโทษตามกฎหมาย หากแต่เป็นอำนาจของฮ่องเต้ที่จะเลือกใช้ได้ตามความต้องการและสั่งลงทัณฑ์ได้เลยโดยไม่ผ่านขั้นตอนพิจารณาความผิดตามกฎหมาย ต่อมาในสมัยหมิงมีการถิงจ้างหน้าพระที่นั่งบ่อยมากโดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของราชวงศ์และมีการกำหนดกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน จริงๆ แล้วแรกเริ่มเลย การถิงจ้างในสมัยหมิงไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อลงโทษสถานหนัก หากแต่เป็นการสร้างความอัปยศอดสูให้แก่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เพราะว่าหลักปฏิบัติแต่ไหนแต่ไรมาคือไม่ลงทัณฑ์ขุนนาง หากจะลงทัณฑ์จะปลดออกจากตำแหน่งก่อน ดังนั้น การที่ขุนนางถูกถกชุดชั้นนอกออกแล้วโบยก้นอีกทั้งทำต่อหน้าขุนนางด้วยกันนั้นจึงเป็นเรื่องอัปยศมาก ซึ่งเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นในรัชสมัยขององค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง) เป็นช่วงตอนที่เพิ่งครองราชย์ได้สักแปดปี (ค.ศ. 1376) เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องของขุนนางจากกระทรวงราชทัณฑ์นามว่าหรูไท่ซู่ เขาถวายฎีกาฉบับหนึ่งยาวถึงหมื่นกว่าอักษรร้องเรียนการขาดแคลนข้าราชการที่มีคุณภาพ ซึ่งยาวจนองค์หมิงไท่จู่ต้องให้คนอ่านให้ฟัง ฟังๆ ไปก็รู้สึกว่าน้ำเยอะเนื้อน้อย ถ้อยคำที่ใช้ก็ยิ่งฟังไม่เข้าหู อุตส่าห์เรียกให้หรู่ไท่ซู่มานั่งคุยให้ฟัง แต่ก็ทนไม่ได้กับการพูดวกไปวนมา ว่ากันว่า ยังมีถ้อยคำที่ฟังดูเหมือนยกให้บัณฑิตสูงส่งกว่าซึ่งไม่เข้าหูฮ่องเต้ที่มีพื้นเพเป็นลูกชาวนา สุดท้ายฮ่องเต้โกรธจัดเลยสั่งให้โบยก้นต่อหน้าข้าราชสำนักในท้องพระโรง ในบันทึกไม่ได้เขียนไว้ว่าโบยไปกี่ครั้ง ต่อมาภายหลังองค์หมิงไท่จู่ไตร่ตรองทบทวนเห็นว่าบางข้อเสนอของฎีกานั้นน่าสนใจจึงเอาไปใช้ จึงกลายเป็นว่าความผิดที่ทำให้หรูไท่ซู่ถูกถิงจ้างไม่ใช่เป็นเพราะสาระ แต่เป็นเพราะเขียนยาวเกินไปทำให้สิ้นเปลืองเวลาของฮ่องเต้ เนื้อหาที่เขียนได้ภายในห้าร้อยอักษรกลับเขียนยาวถึงหมื่นอักษร และเพราะเหตุการณ์นี้องค์หมิงไท่จู่จึงให้มีการกำหนดรูปแบบของการเขียนฎีกาขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้อีก การโบยเพื่อสร้างความอัปยศเป็นการแสดงอำนาจของฮ่องเต้เมื่อถูกหมิ่นหรือขัดใจโดยขุนนาง แต่กลับกลายเป็นวัฒนธรรมที่ขุนนางมองว่าการถูกถิงจ้างนี้เป็นการแสดงความกล้าหาญและเป็นสิ่งที่ควรทำ ต่อมาการถิงจ้างจึงเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นตายได้ แน่นอนว่าการสั่งโบยได้เลยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการไต่สวนพิพากษาตามกฎหมายก็กลายเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จที่ฮ่องเต้ใช้ควบคุมขุนนางไม่ให้กระด้างกระเดื่อง จะตีเมื่อไหร่ ตีกี่ครั้ง ตีหนักตีเบา ล้วนแล้วแต่ฮ่องเต้จะกำหนดเอง ถิงจ้างกลายเป็นภาพที่เห็นบ่อยในราชสำนักเมื่อเข้าสู่ช่วงกลางราชวงศ์หมิง สถานที่ลงทัณฑ์เปลี่ยนจากในท้องพระโรงมาเป็นริมทางเดินเข้าวังด้านประตูอู่เหมิน ซึ่งก็คือประตูด้านหน้าของวัง และถิงจ้างทวีความรุนแรงมากขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงอู่จง (ฮ่องเต้องค์ที่สิบเอ็ด) เมื่อมีการเปลี่ยนกฎไม่ให้วางเบาะรองและผู้ถูกโบยห้ามใส่กางเกง ตลอดการครองราชย์สิบหกปีขององค์หมิงอู่จงนั้น มีคนถูกถิงจ้างทั้งสิ้นกว่าหนึ่งร้อยคน ตายสิบเอ็ดคน และนี่เป็นรัชสมัยที่เริ่มใช้ถิงจ้างกับคนจากสำนักผู้ตรวจการ ในรายละเอียดมีเรื่องการใช้อำนาจเกินควรของกลุ่มขันที แต่ Storyฯ ขอไม่เล่าเพราะเรื่องยาวและออกนอกประเด็นเหตุการณ์ถิงจ้างที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์จีนเกิดขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงซื่อจง (ฮ่องเต้องค์ที่ สิบสอง) เมื่อปีค.ศ. 1525 เพราะเป็นการโบยพร้อมกันถึงหนึ่งร้อยสามสิบสี่คน มีคนตายในระหว่างโบยสิบเจ็ดคน (หมายเหตุ เรื่องจำนวนคนแตกต่างกันในหลายบทความ แต่ตัวเลขนี้ Storyฯ ใช้ตามเอกสารของพิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม)เรื่องมีอยู่ว่าฮ่องเต้หมิงซื่อจงไม่ใช่ลูกของฮ่องเต้องค์ก่อนคือฮ่องเต้หมิงอู่จง หากแต่มีศักดิ์เป็นหลานลุง ตามธรรมเนียมเมื่อหมิงซื่อจงขึ้นครองราชย์แล้วก็ต้องรับฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นพ่อ ส่วนพ่อแม่ตัวเองก็ต้องกลายเป็นน้าและน้าสะใภ้ นี่คือธรรมเนียมปฏิบัติ แต่องค์หมิงซื่อจงไม่ยอม ยืนยันจะคงไว้ว่าฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นลุง ขุนนางสองร้อยสามสิบคนคุกเข่าอ้อนวอนอยู่หน้าประตูพระที่นั่งเพื่อหวังจะบีบให้ฮ่องเต้เปลี่ยนใจ สุดท้ายขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปโดนปลด ที่เหลือโดนโบยหมู่และเนรเทศ ในการถิงจ้างสมัยหมิงนั้น ผู้ที่มีหน้าที่โบยคือขันทีหรือองครักษ์เสื้อแพร ว่ากันว่าจริงจังถึงขนาดฝึกซ้อมโบยโดยใช้หุ่นฟางยัดไส้แผ่นกระเบื้องแล้วห่อด้วยกระดาษ ต้องฝึกจนสามารถตีให้กระเบื้องข้างในแตกละเอียดได้โดยที่กระดาษหุ้มข้างนอกไม่ขาด! ที่ต้องฝึกเพราะคำสั่งโบยมีสองแบบคือ ‘ตีอย่างใส่ใจ’ (用心打) และ ‘ตีอย่างจริงจัง’ (着实打) ซึ่งแบบแรกคือไม่ให้เจ็บมากและแบบหลังคือจัดเต็ม และเนื่องจากมันต้องใช้แรงมาก จะมีการเปลี่ยนคนโบยทุกๆ ห้าครั้งจากที่ Storyฯ อ่านเจอมา ไม้ที่ใช้โบยนั้นทำจากไม้เนื้อแข็งอย่างไม้เกาลัด หน้าตาของมันมีสองแบบ แบบแรกคือไม้พลองที่มีปลายแบนหน้าตาเหมือนไม้พาย แบบที่สองฟังดูโหดร้ายคือเป็นไม้พลองที่มีปลายหุ้มด้วยแผ่นเหล็กบากเป็นรอยตะปุ่มตะป่ำ เป็นที่มาว่าทำไมคนจึงถูกโบยจนเนื้อก้นเละเหวอะหวะได้ ว่ากันว่าถูกโบยสิบพลองก็ทำต้องพักติดเตียงเป็นแรมเดือนแล้ว(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://reading.udn.com/read/story/7046/7952824https://www.163.com/dy/article/J2USN6TV0517QCSB.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.dpm.org.cn/Uploads/pdf/1942/T00017_00.pdf https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_1800722 https://www.hunantoday.cn/news/xhn/202310/18872283.html https://www.sohu.com/a/771696490_121165427 https://www.sohu.com/a/773532850_121921623 https://www.163.com/dy/article/G86EPNJQ0528NB1M.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ถิงจ้าง #โบยตี #ลงทัณฑ์พระราชทาน #จูหยวนจาง
    ถิงจ้าง - การโบยพระราชทานสวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ถึงเรื่องราวตอนที่ผู้ตรวจการล่ายหมิงเฉิงร้องเรียนฮ่องเต้ว่าประพฤติตนไม่ถูกต้อง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) ฮ่องเต้เลย ‘ตกรางวัล’ ให้เป็นการลงทัณฑ์ด้วยการโบยพร้อมกับคำพูดที่ว่า ยอมเสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเองเพื่อให้ผู้ตรวจการล่ายมีชื่อจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตีเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยจากหลายซีรีส์และนิยายจีน การลงทัณฑ์นี้ทั่วไปเรียกว่า ‘จ้างสิง’ (杖刑) เป็นวิธีการลงทัณฑ์ที่ถูกบัญญัติเข้าไปในกฎหมาย เพียงแต่รูปแบบและรายละเอียดอาจแตกต่างกันไปตามยุคสมัย แต่ที่วันนี้จะคุยถึงคือการโบยที่เรียกว่า ‘ถิงจ้าง’ (廷杖) ซึ่งเป็นกรณีที่เราเห็นในเรื่อง <หาญชะตาฯ 2> ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ‘จ้าง’ แปลว่าตีด้วยไม้ ส่วน ‘ถิง’ หมายถึงส่วนของพระราชวังที่ฮ่องเต้ใช้ทรงงานและประชุมกับขุนนางหรือหมายถึงราชสำนัก ดังนั้น ‘ถิงจ้าง’ จึงเป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้หมายถึงการโบยขุนนางระดับสูงหน้าพระที่นั่งและเป็นคำสั่งของฮ่องเต้เท่านั้น การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตามคำสั่งของฮ่องเต้มีมาตั้งแต่สมัยฮั่น แต่จากสมัยฮั่นจนถึงสมัยหยวนเกิดกรณีอย่างนี้น้อยมาก มันไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัวและไม่ใช่บทลงโทษตามกฎหมาย หากแต่เป็นอำนาจของฮ่องเต้ที่จะเลือกใช้ได้ตามความต้องการและสั่งลงทัณฑ์ได้เลยโดยไม่ผ่านขั้นตอนพิจารณาความผิดตามกฎหมาย ต่อมาในสมัยหมิงมีการถิงจ้างหน้าพระที่นั่งบ่อยมากโดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของราชวงศ์และมีการกำหนดกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน จริงๆ แล้วแรกเริ่มเลย การถิงจ้างในสมัยหมิงไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อลงโทษสถานหนัก หากแต่เป็นการสร้างความอัปยศอดสูให้แก่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เพราะว่าหลักปฏิบัติแต่ไหนแต่ไรมาคือไม่ลงทัณฑ์ขุนนาง หากจะลงทัณฑ์จะปลดออกจากตำแหน่งก่อน ดังนั้น การที่ขุนนางถูกถกชุดชั้นนอกออกแล้วโบยก้นอีกทั้งทำต่อหน้าขุนนางด้วยกันนั้นจึงเป็นเรื่องอัปยศมาก ซึ่งเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นในรัชสมัยขององค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง) เป็นช่วงตอนที่เพิ่งครองราชย์ได้สักแปดปี (ค.ศ. 1376) เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องของขุนนางจากกระทรวงราชทัณฑ์นามว่าหรูไท่ซู่ เขาถวายฎีกาฉบับหนึ่งยาวถึงหมื่นกว่าอักษรร้องเรียนการขาดแคลนข้าราชการที่มีคุณภาพ ซึ่งยาวจนองค์หมิงไท่จู่ต้องให้คนอ่านให้ฟัง ฟังๆ ไปก็รู้สึกว่าน้ำเยอะเนื้อน้อย ถ้อยคำที่ใช้ก็ยิ่งฟังไม่เข้าหู อุตส่าห์เรียกให้หรู่ไท่ซู่มานั่งคุยให้ฟัง แต่ก็ทนไม่ได้กับการพูดวกไปวนมา ว่ากันว่า ยังมีถ้อยคำที่ฟังดูเหมือนยกให้บัณฑิตสูงส่งกว่าซึ่งไม่เข้าหูฮ่องเต้ที่มีพื้นเพเป็นลูกชาวนา สุดท้ายฮ่องเต้โกรธจัดเลยสั่งให้โบยก้นต่อหน้าข้าราชสำนักในท้องพระโรง ในบันทึกไม่ได้เขียนไว้ว่าโบยไปกี่ครั้ง ต่อมาภายหลังองค์หมิงไท่จู่ไตร่ตรองทบทวนเห็นว่าบางข้อเสนอของฎีกานั้นน่าสนใจจึงเอาไปใช้ จึงกลายเป็นว่าความผิดที่ทำให้หรูไท่ซู่ถูกถิงจ้างไม่ใช่เป็นเพราะสาระ แต่เป็นเพราะเขียนยาวเกินไปทำให้สิ้นเปลืองเวลาของฮ่องเต้ เนื้อหาที่เขียนได้ภายในห้าร้อยอักษรกลับเขียนยาวถึงหมื่นอักษร และเพราะเหตุการณ์นี้องค์หมิงไท่จู่จึงให้มีการกำหนดรูปแบบของการเขียนฎีกาขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้อีก การโบยเพื่อสร้างความอัปยศเป็นการแสดงอำนาจของฮ่องเต้เมื่อถูกหมิ่นหรือขัดใจโดยขุนนาง แต่กลับกลายเป็นวัฒนธรรมที่ขุนนางมองว่าการถูกถิงจ้างนี้เป็นการแสดงความกล้าหาญและเป็นสิ่งที่ควรทำ ต่อมาการถิงจ้างจึงเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นตายได้ แน่นอนว่าการสั่งโบยได้เลยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการไต่สวนพิพากษาตามกฎหมายก็กลายเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จที่ฮ่องเต้ใช้ควบคุมขุนนางไม่ให้กระด้างกระเดื่อง จะตีเมื่อไหร่ ตีกี่ครั้ง ตีหนักตีเบา ล้วนแล้วแต่ฮ่องเต้จะกำหนดเอง ถิงจ้างกลายเป็นภาพที่เห็นบ่อยในราชสำนักเมื่อเข้าสู่ช่วงกลางราชวงศ์หมิง สถานที่ลงทัณฑ์เปลี่ยนจากในท้องพระโรงมาเป็นริมทางเดินเข้าวังด้านประตูอู่เหมิน ซึ่งก็คือประตูด้านหน้าของวัง และถิงจ้างทวีความรุนแรงมากขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงอู่จง (ฮ่องเต้องค์ที่สิบเอ็ด) เมื่อมีการเปลี่ยนกฎไม่ให้วางเบาะรองและผู้ถูกโบยห้ามใส่กางเกง ตลอดการครองราชย์สิบหกปีขององค์หมิงอู่จงนั้น มีคนถูกถิงจ้างทั้งสิ้นกว่าหนึ่งร้อยคน ตายสิบเอ็ดคน และนี่เป็นรัชสมัยที่เริ่มใช้ถิงจ้างกับคนจากสำนักผู้ตรวจการ ในรายละเอียดมีเรื่องการใช้อำนาจเกินควรของกลุ่มขันที แต่ Storyฯ ขอไม่เล่าเพราะเรื่องยาวและออกนอกประเด็นเหตุการณ์ถิงจ้างที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์จีนเกิดขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงซื่อจง (ฮ่องเต้องค์ที่ สิบสอง) เมื่อปีค.ศ. 1525 เพราะเป็นการโบยพร้อมกันถึงหนึ่งร้อยสามสิบสี่คน มีคนตายในระหว่างโบยสิบเจ็ดคน (หมายเหตุ เรื่องจำนวนคนแตกต่างกันในหลายบทความ แต่ตัวเลขนี้ Storyฯ ใช้ตามเอกสารของพิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม)เรื่องมีอยู่ว่าฮ่องเต้หมิงซื่อจงไม่ใช่ลูกของฮ่องเต้องค์ก่อนคือฮ่องเต้หมิงอู่จง หากแต่มีศักดิ์เป็นหลานลุง ตามธรรมเนียมเมื่อหมิงซื่อจงขึ้นครองราชย์แล้วก็ต้องรับฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นพ่อ ส่วนพ่อแม่ตัวเองก็ต้องกลายเป็นน้าและน้าสะใภ้ นี่คือธรรมเนียมปฏิบัติ แต่องค์หมิงซื่อจงไม่ยอม ยืนยันจะคงไว้ว่าฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นลุง ขุนนางสองร้อยสามสิบคนคุกเข่าอ้อนวอนอยู่หน้าประตูพระที่นั่งเพื่อหวังจะบีบให้ฮ่องเต้เปลี่ยนใจ สุดท้ายขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปโดนปลด ที่เหลือโดนโบยหมู่และเนรเทศ ในการถิงจ้างสมัยหมิงนั้น ผู้ที่มีหน้าที่โบยคือขันทีหรือองครักษ์เสื้อแพร ว่ากันว่าจริงจังถึงขนาดฝึกซ้อมโบยโดยใช้หุ่นฟางยัดไส้แผ่นกระเบื้องแล้วห่อด้วยกระดาษ ต้องฝึกจนสามารถตีให้กระเบื้องข้างในแตกละเอียดได้โดยที่กระดาษหุ้มข้างนอกไม่ขาด! ที่ต้องฝึกเพราะคำสั่งโบยมีสองแบบคือ ‘ตีอย่างใส่ใจ’ (用心打) และ ‘ตีอย่างจริงจัง’ (着实打) ซึ่งแบบแรกคือไม่ให้เจ็บมากและแบบหลังคือจัดเต็ม และเนื่องจากมันต้องใช้แรงมาก จะมีการเปลี่ยนคนโบยทุกๆ ห้าครั้งจากที่ Storyฯ อ่านเจอมา ไม้ที่ใช้โบยนั้นทำจากไม้เนื้อแข็งอย่างไม้เกาลัด หน้าตาของมันมีสองแบบ แบบแรกคือไม้พลองที่มีปลายแบนหน้าตาเหมือนไม้พาย แบบที่สองฟังดูโหดร้ายคือเป็นไม้พลองที่มีปลายหุ้มด้วยแผ่นเหล็กบากเป็นรอยตะปุ่มตะป่ำ เป็นที่มาว่าทำไมคนจึงถูกโบยจนเนื้อก้นเละเหวอะหวะได้ ว่ากันว่าถูกโบยสิบพลองก็ทำต้องพักติดเตียงเป็นแรมเดือนแล้ว(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://reading.udn.com/read/story/7046/7952824https://www.163.com/dy/article/J2USN6TV0517QCSB.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.dpm.org.cn/Uploads/pdf/1942/T00017_00.pdf https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_1800722 https://www.hunantoday.cn/news/xhn/202310/18872283.html https://www.sohu.com/a/771696490_121165427 https://www.sohu.com/a/773532850_121921623 https://www.163.com/dy/article/G86EPNJQ0528NB1M.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ถิงจ้าง #โบยตี #ลงทัณฑ์พระราชทาน #จูหยวนจาง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 741 มุมมอง 0 รีวิว