• พิรงรองจะล้มยักษ์ ยกแรกคุก 2 ปี

    ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางพิพากษาจำคุก 2 ปี น.ส.พิรงรอง รามสูต คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 กรณีที่บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ยื่นฟ้องกรณีที่ กสทช.มีหนังสือแจ้งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ไม่ให้นำช่องรายการไปให้บริการบนแพลตฟอร์ม True ID เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2567 ที่ผ่านมา

    ศาลเห็นว่าโจทก์เป็นผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน True ID มาตั้งแต่ปี 2559 ประเภทผ่านอินเทอร์เน็ตสาธารณะ (Over-The-Top หรือ OTT) ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ ครั้งที่ 3/2566 เมื่อ 16 ก.พ. 2566 จำเลยทำหน้าที่ประธาน ที่ประชุมนำวาระการตรวจสอบการแพร่เสียงแพร่ภาพผ่านกล่องทรูไอดี และแอปฯ True ID มาพิจารณา แต่ที่ประชุมไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ประกอบกับปัจจุบันมีผู้ให้บริการ OTT เช่นเดียวกันจำนวนมาก ซึ่งไม่ได้เป็นผู้รับใบอนุญาตและกำกับดูแลจาก กสทช. และยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อกฎหมาย

    ต่อมาได้มีหนังสือไปยังผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ 127 ราย โดยเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ จัดทำบันทึกและร่างหนังสือของสำนักงาน กสทช. ตามระบบสารบัญ คนที่กลั่นกรองงานให้แก่รองเลขาธิการ กสทช. สอบถามเหตุผลและความจำเป็นว่าทำไมต้องระบุชื่อ True ID เป็นการเฉพาะ ได้รับแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้สั่งการและเร่งรัดให้จัดทำ ต่อมาการประชุมครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2566 จำเลยต่อว่าและตำหนิฝ่ายเลขานุการที่ไม่ได้ระบุหรือเจาะจงถึงการให้บริการ True ID และในรายงานการประชุมครั้งที่ 3/2566 ไม่ได้มีมติให้ทำหนังสือแจ้งถึงบริการ True ID แต่บันทึกรายงานการประชุมกลับระบุว่ามีมติรับรอง อันเป็นการทำเอกสารรายงานการประชุมอันเป็นเท็จ

    นอกจากนี้ จำเลยยังได้กล่าวถ้อยคำในการประชุมครั้งที่ 3/2566 พยายามโน้มน้าวและรวบรัดการพิจารณา อีกทั้งก่อนจบการประชุมจำเลยใช้คำพูดว่า "ต้องเตรียมตัวจะ จะล้มยักษ์" และยอมรับว่าหมายถึงโจทก์ สื่อความหมายชัดเจนว่าประสงค์ให้กิจการของโจทก์ได้รับความเสียหาย เจตนามุ่งประสงค์กลั่นแกล้งโจทก์และใช้อำนาจไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้มีผู้ประกอบกิจการหลายรายได้ชะลอหรือขยายเวลาเข้าทำนิติกรรมกับโจทก์

    น.ส.พิรงรองได้รับการประกันตัวด้วยวงเงิน 1.2 แสนบาท พร้อมเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ทำให้ยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการ กสทช. เช่นเดิม ถึงกระนั้นยังต้องต่อสู้อีกสองศาลที่เหลือ ได้แก่ ชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา

    #Newskit
    พิรงรองจะล้มยักษ์ ยกแรกคุก 2 ปี ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางพิพากษาจำคุก 2 ปี น.ส.พิรงรอง รามสูต คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 กรณีที่บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ยื่นฟ้องกรณีที่ กสทช.มีหนังสือแจ้งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ไม่ให้นำช่องรายการไปให้บริการบนแพลตฟอร์ม True ID เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2567 ที่ผ่านมา ศาลเห็นว่าโจทก์เป็นผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน True ID มาตั้งแต่ปี 2559 ประเภทผ่านอินเทอร์เน็ตสาธารณะ (Over-The-Top หรือ OTT) ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ ครั้งที่ 3/2566 เมื่อ 16 ก.พ. 2566 จำเลยทำหน้าที่ประธาน ที่ประชุมนำวาระการตรวจสอบการแพร่เสียงแพร่ภาพผ่านกล่องทรูไอดี และแอปฯ True ID มาพิจารณา แต่ที่ประชุมไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ประกอบกับปัจจุบันมีผู้ให้บริการ OTT เช่นเดียวกันจำนวนมาก ซึ่งไม่ได้เป็นผู้รับใบอนุญาตและกำกับดูแลจาก กสทช. และยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อกฎหมาย ต่อมาได้มีหนังสือไปยังผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ 127 ราย โดยเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ จัดทำบันทึกและร่างหนังสือของสำนักงาน กสทช. ตามระบบสารบัญ คนที่กลั่นกรองงานให้แก่รองเลขาธิการ กสทช. สอบถามเหตุผลและความจำเป็นว่าทำไมต้องระบุชื่อ True ID เป็นการเฉพาะ ได้รับแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้สั่งการและเร่งรัดให้จัดทำ ต่อมาการประชุมครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2566 จำเลยต่อว่าและตำหนิฝ่ายเลขานุการที่ไม่ได้ระบุหรือเจาะจงถึงการให้บริการ True ID และในรายงานการประชุมครั้งที่ 3/2566 ไม่ได้มีมติให้ทำหนังสือแจ้งถึงบริการ True ID แต่บันทึกรายงานการประชุมกลับระบุว่ามีมติรับรอง อันเป็นการทำเอกสารรายงานการประชุมอันเป็นเท็จ นอกจากนี้ จำเลยยังได้กล่าวถ้อยคำในการประชุมครั้งที่ 3/2566 พยายามโน้มน้าวและรวบรัดการพิจารณา อีกทั้งก่อนจบการประชุมจำเลยใช้คำพูดว่า "ต้องเตรียมตัวจะ จะล้มยักษ์" และยอมรับว่าหมายถึงโจทก์ สื่อความหมายชัดเจนว่าประสงค์ให้กิจการของโจทก์ได้รับความเสียหาย เจตนามุ่งประสงค์กลั่นแกล้งโจทก์และใช้อำนาจไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้มีผู้ประกอบกิจการหลายรายได้ชะลอหรือขยายเวลาเข้าทำนิติกรรมกับโจทก์ น.ส.พิรงรองได้รับการประกันตัวด้วยวงเงิน 1.2 แสนบาท พร้อมเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ทำให้ยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการ กสทช. เช่นเดิม ถึงกระนั้นยังต้องต่อสู้อีกสองศาลที่เหลือ ได้แก่ ชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา #Newskit
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 152 มุมมอง 0 รีวิว
  • คดี "พิรงรอง" เข้าข่ายฟ้องปิดปาก เสนอลาออกแลกถอนฟ้อง (06/02/68) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #ฟ้องปิดปาก #แก้ กม.คุ้มครอง จนท.รัฐ
    คดี "พิรงรอง" เข้าข่ายฟ้องปิดปาก เสนอลาออกแลกถอนฟ้อง (06/02/68) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #ฟ้องปิดปาก #แก้ กม.คุ้มครอง จนท.รัฐ
    Like
    Angry
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 731 มุมมอง 39 0 รีวิว
  • คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ออกแถลงการณ์ สนับสนุน "พิรงรอง" ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ตามกฎหมายคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ กรณีถูก ‘ทรูไอดี’ ฟ้อง ม.157

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000012260

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ออกแถลงการณ์ สนับสนุน "พิรงรอง" ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ตามกฎหมายคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ กรณีถูก ‘ทรูไอดี’ ฟ้อง ม.157 อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000012260 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 735 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิดรายละเอียดคำพิพากษา จำคุก 2 ปี “พิรงรอง” ชี้ทำรายงานประชุมเท็จอ้างมีมติให้เตือนทรูฯ แถมบอกในที่ประชุม “เตรียมตัวจะล้มยักษ์” เล็งใช้วิธีตลบหลังระงับบริการทรูไอดี ทั้งที่ กสทช.ยังไม่มีหลักเกณฑ์กำกับดูแลบริการ OTT ส่อจงใจกลั่นแกล้ง ทำให้โจทก์เสียหาย

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000012168

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    เปิดรายละเอียดคำพิพากษา จำคุก 2 ปี “พิรงรอง” ชี้ทำรายงานประชุมเท็จอ้างมีมติให้เตือนทรูฯ แถมบอกในที่ประชุม “เตรียมตัวจะล้มยักษ์” เล็งใช้วิธีตลบหลังระงับบริการทรูไอดี ทั้งที่ กสทช.ยังไม่มีหลักเกณฑ์กำกับดูแลบริการ OTT ส่อจงใจกลั่นแกล้ง ทำให้โจทก์เสียหาย อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000012168 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Sad
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 654 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐผู้ปกป้องคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค แล้วโดนแบบนี้ ต่อไปก็คงไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐหน้าไหนทำเพื่อประชาชน หากต้องเผชิญหน้ากับนายทุน
    #7ดอกจิก
    #พิรงรอง
    ♣ ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐผู้ปกป้องคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค แล้วโดนแบบนี้ ต่อไปก็คงไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐหน้าไหนทำเพื่อประชาชน หากต้องเผชิญหน้ากับนายทุน #7ดอกจิก #พิรงรอง
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 94 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศาลอาญาคดีทุจริตฯ พิพากษา "พิรงรอง" กรรมการ กสทช. ผิด ม.157 สั่งจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญาฯ คดี "ทรูไอดี" ยื่นฟ้องออกหนังสือเตือนทีวีดิจิทัล มีโฆษณาแทรกในสัญญาณที่นำไปออก ผิดกฎ “Must Carry” ที่มีโฆษณาแทรกไม่ได้ ชี้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย เพราะไม่มีระเบียบเฉพาะกับ OTT จับตาหากไม่ได้รับการประกันตัว จะหลุดจากตำแหน่งทันที
    .
    วันนี้ (6 ก.พ.) ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำพิพากษาจำคุก 2 ปี น.ส.พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกิจการโทรทัศน์ เป็นเวลา 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ในคดีที่ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ฟ้องมาตรา 157 โดยกล่าวหาว่า น.ส.พิรงรอง มีเจตนากลั่นแกล้งทำให้ ทรู ดิจิทัล ไอดี บริษัทในกลุ่มทรู ดิจิทัล กรุ๊ปเสียหาย
    .
    สำหรับคดีดังกล่าว เนื่องจากการมีผู้บริโภคร้องเรียนมาที่สำนักงาน กสทช. เมื่อปี 2566 หลังจากได้พบว่าบนแพลตฟอร์มของแอปพลิเคชันทรู ไอดี (True ID) มีการโฆษณาแทรกในช่องรายการทีวีดิจิทัลของผู้ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. ซึ่งบริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ปฯ ในฐานะผู้ให้บริการแอปฯ ทรูไอดีได้นำสัญญาณมาถ่ายทอดในแพลตฟอร์มของตนเอง
    .
    ต่อมาคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ได้พิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องดังกล่าว และ สำนักงาน กสทช. ได้ออกหนังสือแจ้งไปยังผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ให้ตรวจสอบว่ามีการนำช่องรายการที่ได้รับอนุญาตไปออกอากาศผ่านโครงข่ายใดหรือนำไปแพร่ภาพในแพลตฟอร์มใดและให้ปฏิบัติตามประกาศ กสทช. และเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “มัสแครี่” (Must Carry) ที่มีโฆษณาแทรกไม่ได้ แม้หนังสือดังกล่าวไม่ได้ส่งตรงไปยังบริษัท ทรู ดิจิทัลฯ เนื่องจากบริษัทไม่ได้เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตและไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. แต่บริษัทได้อ้างว่าการออกหนังสือดังกล่าวทำให้ตนเองเสียหาย จึงนำมาซึ่งการฟ้องร้องต่อการทำหน้าที่ของประธานอนุกรรมการชุดนี้ คือ น.ส.พิรงรอง กรรมการ กสทช.
    .
    ในคำร้องของบริษัททรูดิจิทัลฯ อ้างว่าหนังสือดังกล่าวเป็นเหตุที่ทำให้ตนเองได้รับความเสียหายเนื่องจากผู้รับใบอนุญาตประเภทช่องรายการโทรทัศน์ อาจทำการระงับการเผยแพร่รายการต่าง ๆ ผ่านทางแพลตฟอร์มของตน ในคำร้องได้อ้างว่าทางสำนักงาน กสทช. ยังไม่มีระเบียบเฉพาะในการกำกับดูแลกิจการ OTT (Over-The-Top หรือการให้บริการสตรีมเนื้อหาผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต)
    .
    อย่างไรก็ตาม น.ส.พิรงรอง ยืนยันว่า การออกหนังสือของสำนักงาน กสทช. เป็นการทำตามหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากการแทรกโฆษณาในบนแพลตฟอร์มทรูไอดีในการรับชมเนื้อหาตามประกาศมัสต์ แครี่ และดูแลลิขสิทธิ์เนื้อหาของผู้ให้บริการโทรทัศน์ดิจิทัล เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม ซึ่งการตรวจสอบของสำนักงาน กสทช. จนนำไปสู่การออกหนังสือดังกล่าวมาจากการร้องเรียนของผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากการแทรกโฆษณาบนกล่องทรูไอดี ทั้งนี้ ไม่ได้มีการเลือกปฏิบัติต่อผู้ประกอบกิจการรายหนึ่งรายใดเป็นพิเศษ
    .
    เป็นที่สังเกตได้ว่า หนังสือดังกล่าวที่ออกโดยสำนักงาน กสทช. มิใช่คำสั่งทางปกครอง จึงไม่มีผลบังคับใช้ตามกฏหมาย อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตได้รับหนังสือข้างต้นและจะปฏิบัติตามประกาศ กสทช. ในประเด็นมัสแครี่ อย่างเคร่งครัดหรือไม่ ก็ยังไม่มีบทลงโทษตามกฎหมาย และผู้ได้รับใบอนุญาตมีสิทธิที่จะพิจารณาตามความเหมาะสมต่อรายการที่อยู่ภายใต้การประกอบการของตน
    .
    ก่อนหน้านี้ ในเดือน เม.ย. 2567 ศาลมีคำสั่งประทับฟ้องบริษัททรูดิจิทัลฯ ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้ น.ส.พิรงรอง ยุติการปฏิบัติหน้าที่กรรมการ กสทช. และประธานอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ไว้ชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาในคดีนี้
    .
    แต่ต่อมาในเดือน พ.ค. 2567 ศาลยกคำร้องดังกล่าว โดยพิจารณาว่าจำเลยไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นปฏิปักษ์ ขัดขวาง หรือกลั่นแกล้งการประกอบธุรกิจของโจทก์ตามที่กล่าวอ้าง อย่างไรก็ตาม หาก น.ส.พิรงรอง ถูกตัดสินว่ามีความผิดและไม่ได้รับสิทธิให้ประกันตัวระหว่างรอการอนุมัติการอุทธรณ์ จะต้องสิ้นสภาพการเป็นกรรมการ กสทช. ทันที
    .
    ทั้งนี้ ผู้ที่กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 มีโทษคุกตั้งแต่ 1 – 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนคุณสมบัติของ กสทช. ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 7 (6) และ (7) กำหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการ กสทช. ว่า เป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล หรือ เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000012019
    .........
    Sondhi X
    ศาลอาญาคดีทุจริตฯ พิพากษา "พิรงรอง" กรรมการ กสทช. ผิด ม.157 สั่งจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญาฯ คดี "ทรูไอดี" ยื่นฟ้องออกหนังสือเตือนทีวีดิจิทัล มีโฆษณาแทรกในสัญญาณที่นำไปออก ผิดกฎ “Must Carry” ที่มีโฆษณาแทรกไม่ได้ ชี้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย เพราะไม่มีระเบียบเฉพาะกับ OTT จับตาหากไม่ได้รับการประกันตัว จะหลุดจากตำแหน่งทันที . วันนี้ (6 ก.พ.) ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำพิพากษาจำคุก 2 ปี น.ส.พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกิจการโทรทัศน์ เป็นเวลา 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ในคดีที่ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ฟ้องมาตรา 157 โดยกล่าวหาว่า น.ส.พิรงรอง มีเจตนากลั่นแกล้งทำให้ ทรู ดิจิทัล ไอดี บริษัทในกลุ่มทรู ดิจิทัล กรุ๊ปเสียหาย . สำหรับคดีดังกล่าว เนื่องจากการมีผู้บริโภคร้องเรียนมาที่สำนักงาน กสทช. เมื่อปี 2566 หลังจากได้พบว่าบนแพลตฟอร์มของแอปพลิเคชันทรู ไอดี (True ID) มีการโฆษณาแทรกในช่องรายการทีวีดิจิทัลของผู้ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. ซึ่งบริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ปฯ ในฐานะผู้ให้บริการแอปฯ ทรูไอดีได้นำสัญญาณมาถ่ายทอดในแพลตฟอร์มของตนเอง . ต่อมาคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ได้พิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องดังกล่าว และ สำนักงาน กสทช. ได้ออกหนังสือแจ้งไปยังผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ให้ตรวจสอบว่ามีการนำช่องรายการที่ได้รับอนุญาตไปออกอากาศผ่านโครงข่ายใดหรือนำไปแพร่ภาพในแพลตฟอร์มใดและให้ปฏิบัติตามประกาศ กสทช. และเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “มัสแครี่” (Must Carry) ที่มีโฆษณาแทรกไม่ได้ แม้หนังสือดังกล่าวไม่ได้ส่งตรงไปยังบริษัท ทรู ดิจิทัลฯ เนื่องจากบริษัทไม่ได้เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตและไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. แต่บริษัทได้อ้างว่าการออกหนังสือดังกล่าวทำให้ตนเองเสียหาย จึงนำมาซึ่งการฟ้องร้องต่อการทำหน้าที่ของประธานอนุกรรมการชุดนี้ คือ น.ส.พิรงรอง กรรมการ กสทช. . ในคำร้องของบริษัททรูดิจิทัลฯ อ้างว่าหนังสือดังกล่าวเป็นเหตุที่ทำให้ตนเองได้รับความเสียหายเนื่องจากผู้รับใบอนุญาตประเภทช่องรายการโทรทัศน์ อาจทำการระงับการเผยแพร่รายการต่าง ๆ ผ่านทางแพลตฟอร์มของตน ในคำร้องได้อ้างว่าทางสำนักงาน กสทช. ยังไม่มีระเบียบเฉพาะในการกำกับดูแลกิจการ OTT (Over-The-Top หรือการให้บริการสตรีมเนื้อหาผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต) . อย่างไรก็ตาม น.ส.พิรงรอง ยืนยันว่า การออกหนังสือของสำนักงาน กสทช. เป็นการทำตามหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากการแทรกโฆษณาในบนแพลตฟอร์มทรูไอดีในการรับชมเนื้อหาตามประกาศมัสต์ แครี่ และดูแลลิขสิทธิ์เนื้อหาของผู้ให้บริการโทรทัศน์ดิจิทัล เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม ซึ่งการตรวจสอบของสำนักงาน กสทช. จนนำไปสู่การออกหนังสือดังกล่าวมาจากการร้องเรียนของผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากการแทรกโฆษณาบนกล่องทรูไอดี ทั้งนี้ ไม่ได้มีการเลือกปฏิบัติต่อผู้ประกอบกิจการรายหนึ่งรายใดเป็นพิเศษ . เป็นที่สังเกตได้ว่า หนังสือดังกล่าวที่ออกโดยสำนักงาน กสทช. มิใช่คำสั่งทางปกครอง จึงไม่มีผลบังคับใช้ตามกฏหมาย อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตได้รับหนังสือข้างต้นและจะปฏิบัติตามประกาศ กสทช. ในประเด็นมัสแครี่ อย่างเคร่งครัดหรือไม่ ก็ยังไม่มีบทลงโทษตามกฎหมาย และผู้ได้รับใบอนุญาตมีสิทธิที่จะพิจารณาตามความเหมาะสมต่อรายการที่อยู่ภายใต้การประกอบการของตน . ก่อนหน้านี้ ในเดือน เม.ย. 2567 ศาลมีคำสั่งประทับฟ้องบริษัททรูดิจิทัลฯ ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้ น.ส.พิรงรอง ยุติการปฏิบัติหน้าที่กรรมการ กสทช. และประธานอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ไว้ชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาในคดีนี้ . แต่ต่อมาในเดือน พ.ค. 2567 ศาลยกคำร้องดังกล่าว โดยพิจารณาว่าจำเลยไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นปฏิปักษ์ ขัดขวาง หรือกลั่นแกล้งการประกอบธุรกิจของโจทก์ตามที่กล่าวอ้าง อย่างไรก็ตาม หาก น.ส.พิรงรอง ถูกตัดสินว่ามีความผิดและไม่ได้รับสิทธิให้ประกันตัวระหว่างรอการอนุมัติการอุทธรณ์ จะต้องสิ้นสภาพการเป็นกรรมการ กสทช. ทันที . ทั้งนี้ ผู้ที่กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 มีโทษคุกตั้งแต่ 1 – 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนคุณสมบัติของ กสทช. ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 7 (6) และ (7) กำหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการ กสทช. ว่า เป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล หรือ เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000012019 ......... Sondhi X
    Like
    Love
    Yay
    19
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1092 มุมมอง 0 รีวิว