8 เม.ย. ฟังคำพิพากษา!
“ไตรรัตน์” ฟ้อง 4 กสทช. ลงมติปลด ”กลั่นแกล้ง?“
ไม่ใช่แค่เรื่องใครถูก-ผิด แต่สะท้อนความเหลวแหลกของระบบ!

วันที่ 8 เมษายน 2568 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง นัดฟังคำพิพากษาคดีที่ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล ฟ้องกรรมการ กสทช. 4 ราย ประกอบด้วย
พล.อ.ท. ดร. ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ
รศ.ดร. ศุภัช ศุภชลาศัย
รศ.ดร. สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์​
และ ศ.กิตติคุณ ดร. พิรงรอง รามสูต
ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีมีมติปลดเขาออกจากตำแหน่งรักษาการเลขาธิการ กสทช.

ดูเผิน ๆ อาจคิดว่าเป็นความขัดแย้งภายในระหว่าง รักษาการเลขาฯ กับ 4 กรรมการกสทช.เสียงข้างมาก แต่คดีนี้ไม่ใช่แค่เรื่องบุคคล มันกำลังฉายภาพโครงสร้างองค์กรที่พังจากภายใน และระบบที่ออกแบบให้ “ไม่มีใครสอบใครได้จริง”



เมื่อเสียงข้างมากพยายามสอบปัญหา… แต่ระบบไม่อนุญาตให้สอบ

ต้นเรื่องเริ่มจากการอุดหนุนเงิน 600 ล้านบาท จากกองทุน กทปส.
เพื่อให้ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2022
โดยมีข้อตกลงใน MOU ว่า ผู้รับใบอนุญาตทุกประเภทต้องได้รับสิทธิเท่าเทียม
แต่ภายหลัง กกท. กลับไปทำ MOU แยกกับกลุ่มทรู โดยให้สิทธิพิเศษเฉพาะบางแพลตฟอร์ม นำไปสู่ เหตุการณ์ “จอดำ” ทั่วประเทศ และการตั้งคำถามเรื่องความไม่เท่าเทียมทางการออกอากาศ

ในรายงานตรวจสอบข้อเท็จจริง ระบุชัดว่า
การดำเนินการของสำนักงาน กสทช. อาจเข้าข่ายฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ และมติบอร์ด และ ชื่อของนายไตรรัตน์ ซึ่งทำหน้าที่รักษาการเลขาฯ ปรากฏอยู่ในกระบวนการรับรู้และอนุมัติ

กรรมการ กสทช. 4 คน จึงมีมติให้ตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย
แต่กลับพบว่าตามระเบียบ กสทช. ผู้ที่มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการสอบสวนคือ “เลขาธิการ กสทช.” ซึ่งในขณะนั้นก็คือ… นายไตรรัตน์ ที่นั่งรักษาการฯ อยู่ และประธานบอร์ด กสทช. ไม่ลงนาม กลายเป็นประเด็นที่ใช้โต้แย้งและนำไปสู่การฟ้องคดีว่า 4 กสทช.ใช้อำนาจมิชอบกลั่นแกล้ง

แต่ถามว่าถ้าระเบียบเป็นแบบนี้แล้วใครจะสอบรักษาการเลขาฯ ได้ ยิ่งถ้าประธาน กสทช.กับเลขาฯ เป็นคอหอยกับลูกกระเดือก กลไกการตรวจสอบภายในของสำนักงาน กสทช. จะเดินหน้าได้อย่างไร?

ที่มา : https://thepublisherth.com/070468-1/
8 เม.ย. ฟังคำพิพากษา! “ไตรรัตน์” ฟ้อง 4 กสทช. ลงมติปลด ”กลั่นแกล้ง?“ ไม่ใช่แค่เรื่องใครถูก-ผิด แต่สะท้อนความเหลวแหลกของระบบ! วันที่ 8 เมษายน 2568 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง นัดฟังคำพิพากษาคดีที่ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล ฟ้องกรรมการ กสทช. 4 ราย ประกอบด้วย พล.อ.ท. ดร. ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ รศ.ดร. ศุภัช ศุภชลาศัย รศ.ดร. สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์​ และ ศ.กิตติคุณ ดร. พิรงรอง รามสูต ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีมีมติปลดเขาออกจากตำแหน่งรักษาการเลขาธิการ กสทช. ดูเผิน ๆ อาจคิดว่าเป็นความขัดแย้งภายในระหว่าง รักษาการเลขาฯ กับ 4 กรรมการกสทช.เสียงข้างมาก แต่คดีนี้ไม่ใช่แค่เรื่องบุคคล มันกำลังฉายภาพโครงสร้างองค์กรที่พังจากภายใน และระบบที่ออกแบบให้ “ไม่มีใครสอบใครได้จริง” ⸻ เมื่อเสียงข้างมากพยายามสอบปัญหา… แต่ระบบไม่อนุญาตให้สอบ ต้นเรื่องเริ่มจากการอุดหนุนเงิน 600 ล้านบาท จากกองทุน กทปส. เพื่อให้ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2022 โดยมีข้อตกลงใน MOU ว่า ผู้รับใบอนุญาตทุกประเภทต้องได้รับสิทธิเท่าเทียม แต่ภายหลัง กกท. กลับไปทำ MOU แยกกับกลุ่มทรู โดยให้สิทธิพิเศษเฉพาะบางแพลตฟอร์ม นำไปสู่ เหตุการณ์ “จอดำ” ทั่วประเทศ และการตั้งคำถามเรื่องความไม่เท่าเทียมทางการออกอากาศ ในรายงานตรวจสอบข้อเท็จจริง ระบุชัดว่า การดำเนินการของสำนักงาน กสทช. อาจเข้าข่ายฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ และมติบอร์ด และ ชื่อของนายไตรรัตน์ ซึ่งทำหน้าที่รักษาการเลขาฯ ปรากฏอยู่ในกระบวนการรับรู้และอนุมัติ กรรมการ กสทช. 4 คน จึงมีมติให้ตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย แต่กลับพบว่าตามระเบียบ กสทช. ผู้ที่มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการสอบสวนคือ “เลขาธิการ กสทช.” ซึ่งในขณะนั้นก็คือ… นายไตรรัตน์ ที่นั่งรักษาการฯ อยู่ และประธานบอร์ด กสทช. ไม่ลงนาม กลายเป็นประเด็นที่ใช้โต้แย้งและนำไปสู่การฟ้องคดีว่า 4 กสทช.ใช้อำนาจมิชอบกลั่นแกล้ง แต่ถามว่าถ้าระเบียบเป็นแบบนี้แล้วใครจะสอบรักษาการเลขาฯ ได้ ยิ่งถ้าประธาน กสทช.กับเลขาฯ เป็นคอหอยกับลูกกระเดือก กลไกการตรวจสอบภายในของสำนักงาน กสทช. จะเดินหน้าได้อย่างไร? ที่มา : https://thepublisherth.com/070468-1/
THEPUBLISHERTH.COM
8 เม.ย. ฟังคำพิพากษา ! “ไตรรัตน์” ฟ้อง 4 กสทช. ลงมติปลด ”กลั่นแกล้ง?“ ไม่ใช่แค่เรื่องใครถูก-ผิด แต่สะท้อนความเหลวแหลกของระบบ!
วันที่ 8 เมษายน 2568 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง นัดฟังคำพิพากษาคดีที่ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล ฟ้องกรรมการ กสทช. 4 ราย ประกอบด้วยพล.อ.ท. ดร. ธนพันธุ์ หร่ายเจริญรศ.ดร. ศุภัช ศุภชลาศัยรศ.ดร. สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์​และ ศ.กิตติคุณ ดร. พิรงรอง รามสูตในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีมีมติปลดเขาออกจากตำแหน่งรักษาการเลขาธิการ กสทช. ดูเผิน ๆ อาจคิดว่าเป็นความขัดแย้งภายในระหว่าง รักษาการเลขาฯ กับ 4 กรรมการกสทช.เสียงข้างมาก แต่คดีนี้ไม่ใช่แค่เรื่องบุคคล มันกำลังฉายภาพโครงสร้างองค์กรที่พังจากภายใน และระบบที่ออกแบบให้ “ไม่มีใครสอบใครได้จริง” ⸻ เมื่อเสียงข้างมากพยายามสอบปัญหา… แต่ระบบไม่อนุญาตให้สอบ ต้นเรื่องเริ่มจากการอุดหนุนเงิน 600 ล้านบาท จากกองทุน กทปส.เพื่อให้ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2022โดยมีข้อตกลงใน MOU ว่า ผู้รับใบอนุญาตทุกประเภทต้องได้รับสิทธิเท่าเทียมแต่ภายหลัง กกท. กลับไปทำ MOU
Like
1
0 Comments 0 Shares 64 Views 0 Reviews