• คุยกันเรื่องวังหลังของเฉียนหลงฮ่องเต้มาหลายสัปดาห์ วันนี้ยังคุยกันเรื่องนี้ แต่เปลี่ยนเป็นละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งถามถึงเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพวาดที่พูดถึงในละคร

    ท่านใดที่ได้เคยดูละครหรืออ่านนิยายเรื่องนี้จะทราบว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานรูปภาพทั้งหมดสิบสองภาพให้แก่เหล่าพระมเหสี โดยในเรื่องมีการเล่าถึงความหมายของบางรูปภาพและมีการตีความกันไปต่างๆ นาๆ ว่าองค์เฉียนหลงทรงหมายถึงอะไร ในเรื่องนั้นองค์เฉียนหลงทรงต้องการให้พวกนางไปใช้เวลาไปตีความหมายกันเองจะได้ไม่มีเรื่องราวมากวนพระทัย แต่แน่นอนว่าภาพวาดเหล่านี้ล้วนมีเรื่องราวของมัน คงต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าเราจะคุยจบทั้ง 12 ภาพวาด อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ

    ภาพทั้งสิบสองภาพนี้ถูกเรียกรวมว่า ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ได้รับการวาดขึ้นคู่กับบทกวีสิบสองบทที่เรียกว่า ‘กงซวิ่นซือ’ (宫训诗 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+บทกวี) ที่ทรงให้เหล่าขุนนางเป็นผู้แต่งและจัดทำเป็นป้ายสี่อักษรที่สื่อถึงบทกวีเต็ม และได้ทรงกำหนดไว้ว่า ในทุกวันที่ 26 เดือน 12 ตามปฏิทินจีน (คือห้าวันก่อนตรุษจีน ซึ่งเป็นช่วงเวลาจัดเตรียมการฉลองวันตรุษ) ทั้งสิบสองตำหนักต้องเอาภาพและป้ายอักษรดังกล่าวออกมาแขวน โดยภาพวาดให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันตก ส่วนป้ายอักษรให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันออก รอจนวันที่ 2 เดือน 2 จึงจะปลดลงได้

    ภาพแรกที่จะคุยกันวันนี้เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานให้ฮองเฮา เซี่ยวเสียนฉุนหวงโฮ่วแห่งพระตำหนักฉางชุนกง มีชื่อว่าภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร)

    ‘ไท่ซึ’ คือใคร? ไท่ซึเป็นชายาเอกในองค์โจวเหวินหวาง อ๋องผู้ปกครองแคว้นโจวในสมัยปลายราชวงศ์ซางระหว่างปี 1110-1050 ก่อนคริสตกาลและเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์โจว (หมายเหตุ คือองค์โจวเหวินหวางผู้ทรงกำหนดเพิ่มสายพิณเส้นที่หกที่มีชื่อว่า เซ่ากง บนพิณโบราณกู่ฉินเพื่อเป็นการระลึกถึงโอรสที่วายชนม์ ซึ่ง Storyฯ เคยเล่าถึงตอนคุยเรื่องชื่อของสายพิณจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/569581261836837 )

    จากบันทึกโบราณและบทกวีต่างๆ ที่กล่าวถึง ว่ากันว่า ไท่ซึมีรูปโฉมและจริยวัตรงดงามและมีเมตตา เป็นผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นคู่ครองที่เหมาะสมกับโจวเหวินหวางและเป็นมารดาที่ดีแห่งแคว้น (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) นางมีบุตรชายสิบคนให้กับโจวเหวินหวาง ซึ่งเป็นที่กล่าวขานว่านางสั่งสอนบุตรอย่างเข้มงวดจนเป็นคนดีมีความกตัญญูทุกคน

    มีเรื่องราวต่อมาอีกว่า โอรสคนโตของนางและโจวเหวินหวาง นามว่า ป๋ออี้เข่า นั้น ในตำนานว่ากันว่าเป็นบุรุษรูปงาม เชี่ยวชาญด้านพิณ และขึ้นชื่อว่าเป็นบุตรที่กตัญญูมาก ในสมัยนั้นโจ้วหวางผู้เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซางเพ่งเล็งและระแวงในแคว้นโจว และเพื่อเป็นการปกป้องโจวเหวินหวางและแคว้น ป๋ออี้เข่ายอมจากบ้านเกิดมาเป็นตัวประกันที่ราชสำนักซาง

    โจ้วหวางมีมเหสีที่รักมากชื่อว่าต๋าจี่ ผู้มีความงามอย่างที่หาใครเปรียบได้ยาก ตามตำนานเล่าว่า ต๋าจี่หลงรักป๋ออี้เข่าตั้งแต่แรกพบ เลยใช้ข้ออ้างขอเรียนพิณเพื่อเข้าใกล้ป๋ออี้เข่า แต่เขาไม่มีใจให้นาง นางโกรธแค้นเขามาก จึงสร้างเรื่องว่าถูกเขาลวนลาม ทำให้โจ้วหวางโกรธจนสังหารป๋ออี้เข่าทิ้ง ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจเริ่มคุ้นหูคุ้นตากันบ้างไหมกับชื่อ ‘ต๋าจี่’ นี้ แต่นี่คือเรื่องเล่าในตำนานสงครามเทพ <เฟิงเสิน> และต๋าจี่คือนางงามที่เป็นปีศาจจิ้งจอกจำแลงนั่นเอง

    โจ้วหวางถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นทรราชเพราะมีพฤติกรรมโหดเหี้ยมอำมหิตมากมาย ต๋าจี่กลายเป็นตำนานนางจิ้งจอก เป็นตัวแทนของหญิงงามล่มเมือง และเรื่องราวของป๋ออี้เข่าเป็นโศกนาฏกรรมที่เกิดต่อครอบครัวของโจวเหวินหวางและไท่ซึ และเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้โจวเหวินหวางลุกขึ้นเป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ซางและสถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว ต่อมาบุตรชายคนรองคือโจวอู่หวางก็โค่นล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ (และในเรื่องชื่อของสายพิณที่ Storyฯ เคยเล่าถึงไปแล้วนั้น โจวอู่หวางคือผู้ที่เสริมสายพิณเส้นที่เจ็ดเข้าไปในพิณโบราณกู่ฉินและตั้งชื่อสายพิณเส้นนั้นว่า เซ่าซาง เพื่อเป็นการรำลึกถึงการล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ)

    ดูจะเชื่อมโยงตัวละครจากหลากหลายบทความที่ Storyฯ เคยเขียนถึง ลองย้อนกลับไปอ่านบทความเก่าๆ กันนะคะ จะได้ไม่งง

    สรุปว่า ภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ นี้แฝงไว้ซึ่งเรื่องราวความกตัญญูและโศกนาฏกรรมของป๋ออี้เข่า อารมณ์แฝงอาจสอดคล้องกับอารมณ์ที่โศกเศร้าของฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนที่ต้องสูญเสียพระโอรสไปก่อนเวลาอันควร แต่ยังสะท้อนถึงจริยวัตรของการเป็นมารดาที่สั่งสอนบุตรอย่างดีอีกด้วย ส่วนป้ายอักษรที่มาคู่กับภาพนี้คือ ‘จิ้งซิวเน่ยเจ๋อ’ (敬休内则) มีความหมายประมาณว่า วางตนอย่างสงบและบริหารงานภายในครอบครัวให้เรียบร้อย

    จึงเป็นที่มาของการตีความโดยตัวละครต่างๆ ในเรื่องนี้ว่า ความหมายของรูปภาพนี้คืออยากให้ฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนเลิกโศกเศร้าแล้วลุกขึ้นมาดูแลวังหลังในฐานะมารดาแห่งแผ่นดิน การตีความแบบนี้ถูกหรือไม่ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ แต่เห็นว่าเรื่องราวจากภาพนี้ก็อ่านเพลินดี เพื่อนเพจเห็นด้วยไหม

    สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อกับภาพต่อไปค่ะ

    หมายเหตุ อัพเดทเพิ่มเติมวันที่ 22/8/2566 นะคะว่า ภาพวาดที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนี้ เป็นผลงานในสมัยองค์คังซีของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจินเกี่ยวกับไท่ซึค่ะ ภาพจริงของ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ ซึ่งเป็น 1 ใน 12 กงซวิ่นถูนั้นสูญหายไปแล้ว หน้าตาเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบได้

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://autos.yahoo.com.tw/被催生氣炸-富察皇后吐單身心聲-094507428.html
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    http://lethe921.blogspot.com/2013/05/blog-post.html
    http://www.chinakongzi.org/baike/RENWU/xianqin/201707/t20170720_139258.htm
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/妲己
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/伯邑考
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ภาพวาดเฉียนหลง #ไท่ซึฮุ่ยจื่อ #ไท่ซึ #โจวเหวินหวาง #โจวอู่หวาง #โจ้วหวาง #ต๋าจี่ #นางจิ้งจอก #เฟิงเสิน
    คุยกันเรื่องวังหลังของเฉียนหลงฮ่องเต้มาหลายสัปดาห์ วันนี้ยังคุยกันเรื่องนี้ แต่เปลี่ยนเป็นละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งถามถึงเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพวาดที่พูดถึงในละคร ท่านใดที่ได้เคยดูละครหรืออ่านนิยายเรื่องนี้จะทราบว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานรูปภาพทั้งหมดสิบสองภาพให้แก่เหล่าพระมเหสี โดยในเรื่องมีการเล่าถึงความหมายของบางรูปภาพและมีการตีความกันไปต่างๆ นาๆ ว่าองค์เฉียนหลงทรงหมายถึงอะไร ในเรื่องนั้นองค์เฉียนหลงทรงต้องการให้พวกนางไปใช้เวลาไปตีความหมายกันเองจะได้ไม่มีเรื่องราวมากวนพระทัย แต่แน่นอนว่าภาพวาดเหล่านี้ล้วนมีเรื่องราวของมัน คงต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าเราจะคุยจบทั้ง 12 ภาพวาด อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ ภาพทั้งสิบสองภาพนี้ถูกเรียกรวมว่า ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ได้รับการวาดขึ้นคู่กับบทกวีสิบสองบทที่เรียกว่า ‘กงซวิ่นซือ’ (宫训诗 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+บทกวี) ที่ทรงให้เหล่าขุนนางเป็นผู้แต่งและจัดทำเป็นป้ายสี่อักษรที่สื่อถึงบทกวีเต็ม และได้ทรงกำหนดไว้ว่า ในทุกวันที่ 26 เดือน 12 ตามปฏิทินจีน (คือห้าวันก่อนตรุษจีน ซึ่งเป็นช่วงเวลาจัดเตรียมการฉลองวันตรุษ) ทั้งสิบสองตำหนักต้องเอาภาพและป้ายอักษรดังกล่าวออกมาแขวน โดยภาพวาดให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันตก ส่วนป้ายอักษรให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันออก รอจนวันที่ 2 เดือน 2 จึงจะปลดลงได้ ภาพแรกที่จะคุยกันวันนี้เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานให้ฮองเฮา เซี่ยวเสียนฉุนหวงโฮ่วแห่งพระตำหนักฉางชุนกง มีชื่อว่าภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร) ‘ไท่ซึ’ คือใคร? ไท่ซึเป็นชายาเอกในองค์โจวเหวินหวาง อ๋องผู้ปกครองแคว้นโจวในสมัยปลายราชวงศ์ซางระหว่างปี 1110-1050 ก่อนคริสตกาลและเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์โจว (หมายเหตุ คือองค์โจวเหวินหวางผู้ทรงกำหนดเพิ่มสายพิณเส้นที่หกที่มีชื่อว่า เซ่ากง บนพิณโบราณกู่ฉินเพื่อเป็นการระลึกถึงโอรสที่วายชนม์ ซึ่ง Storyฯ เคยเล่าถึงตอนคุยเรื่องชื่อของสายพิณจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/569581261836837 ) จากบันทึกโบราณและบทกวีต่างๆ ที่กล่าวถึง ว่ากันว่า ไท่ซึมีรูปโฉมและจริยวัตรงดงามและมีเมตตา เป็นผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นคู่ครองที่เหมาะสมกับโจวเหวินหวางและเป็นมารดาที่ดีแห่งแคว้น (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) นางมีบุตรชายสิบคนให้กับโจวเหวินหวาง ซึ่งเป็นที่กล่าวขานว่านางสั่งสอนบุตรอย่างเข้มงวดจนเป็นคนดีมีความกตัญญูทุกคน มีเรื่องราวต่อมาอีกว่า โอรสคนโตของนางและโจวเหวินหวาง นามว่า ป๋ออี้เข่า นั้น ในตำนานว่ากันว่าเป็นบุรุษรูปงาม เชี่ยวชาญด้านพิณ และขึ้นชื่อว่าเป็นบุตรที่กตัญญูมาก ในสมัยนั้นโจ้วหวางผู้เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซางเพ่งเล็งและระแวงในแคว้นโจว และเพื่อเป็นการปกป้องโจวเหวินหวางและแคว้น ป๋ออี้เข่ายอมจากบ้านเกิดมาเป็นตัวประกันที่ราชสำนักซาง โจ้วหวางมีมเหสีที่รักมากชื่อว่าต๋าจี่ ผู้มีความงามอย่างที่หาใครเปรียบได้ยาก ตามตำนานเล่าว่า ต๋าจี่หลงรักป๋ออี้เข่าตั้งแต่แรกพบ เลยใช้ข้ออ้างขอเรียนพิณเพื่อเข้าใกล้ป๋ออี้เข่า แต่เขาไม่มีใจให้นาง นางโกรธแค้นเขามาก จึงสร้างเรื่องว่าถูกเขาลวนลาม ทำให้โจ้วหวางโกรธจนสังหารป๋ออี้เข่าทิ้ง ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจเริ่มคุ้นหูคุ้นตากันบ้างไหมกับชื่อ ‘ต๋าจี่’ นี้ แต่นี่คือเรื่องเล่าในตำนานสงครามเทพ <เฟิงเสิน> และต๋าจี่คือนางงามที่เป็นปีศาจจิ้งจอกจำแลงนั่นเอง โจ้วหวางถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นทรราชเพราะมีพฤติกรรมโหดเหี้ยมอำมหิตมากมาย ต๋าจี่กลายเป็นตำนานนางจิ้งจอก เป็นตัวแทนของหญิงงามล่มเมือง และเรื่องราวของป๋ออี้เข่าเป็นโศกนาฏกรรมที่เกิดต่อครอบครัวของโจวเหวินหวางและไท่ซึ และเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้โจวเหวินหวางลุกขึ้นเป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ซางและสถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว ต่อมาบุตรชายคนรองคือโจวอู่หวางก็โค่นล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ (และในเรื่องชื่อของสายพิณที่ Storyฯ เคยเล่าถึงไปแล้วนั้น โจวอู่หวางคือผู้ที่เสริมสายพิณเส้นที่เจ็ดเข้าไปในพิณโบราณกู่ฉินและตั้งชื่อสายพิณเส้นนั้นว่า เซ่าซาง เพื่อเป็นการรำลึกถึงการล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ) ดูจะเชื่อมโยงตัวละครจากหลากหลายบทความที่ Storyฯ เคยเขียนถึง ลองย้อนกลับไปอ่านบทความเก่าๆ กันนะคะ จะได้ไม่งง สรุปว่า ภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ นี้แฝงไว้ซึ่งเรื่องราวความกตัญญูและโศกนาฏกรรมของป๋ออี้เข่า อารมณ์แฝงอาจสอดคล้องกับอารมณ์ที่โศกเศร้าของฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนที่ต้องสูญเสียพระโอรสไปก่อนเวลาอันควร แต่ยังสะท้อนถึงจริยวัตรของการเป็นมารดาที่สั่งสอนบุตรอย่างดีอีกด้วย ส่วนป้ายอักษรที่มาคู่กับภาพนี้คือ ‘จิ้งซิวเน่ยเจ๋อ’ (敬休内则) มีความหมายประมาณว่า วางตนอย่างสงบและบริหารงานภายในครอบครัวให้เรียบร้อย จึงเป็นที่มาของการตีความโดยตัวละครต่างๆ ในเรื่องนี้ว่า ความหมายของรูปภาพนี้คืออยากให้ฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนเลิกโศกเศร้าแล้วลุกขึ้นมาดูแลวังหลังในฐานะมารดาแห่งแผ่นดิน การตีความแบบนี้ถูกหรือไม่ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ แต่เห็นว่าเรื่องราวจากภาพนี้ก็อ่านเพลินดี เพื่อนเพจเห็นด้วยไหม สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อกับภาพต่อไปค่ะ หมายเหตุ อัพเดทเพิ่มเติมวันที่ 22/8/2566 นะคะว่า ภาพวาดที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนี้ เป็นผลงานในสมัยองค์คังซีของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจินเกี่ยวกับไท่ซึค่ะ ภาพจริงของ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ ซึ่งเป็น 1 ใน 12 กงซวิ่นถูนั้นสูญหายไปแล้ว หน้าตาเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบได้ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://autos.yahoo.com.tw/被催生氣炸-富察皇后吐單身心聲-094507428.html https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html http://lethe921.blogspot.com/2013/05/blog-post.html http://www.chinakongzi.org/baike/RENWU/xianqin/201707/t20170720_139258.htm https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/妲己 https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/伯邑考 https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ภาพวาดเฉียนหลง #ไท่ซึฮุ่ยจื่อ #ไท่ซึ #โจวเหวินหวาง #โจวอู่หวาง #โจ้วหวาง #ต๋าจี่ #นางจิ้งจอก #เฟิงเสิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 181 มุมมอง 0 รีวิว
  • คุ้มเจ้าหลวงนครเชียงใหม่

    เป็นบ้านไม้สักสามชั้นริมน้ำปิง
    เจ้าหลวงอินทวิชยานนท์ องค์ที่ ๗
    พระราชทานที่ดินให้หมอชีค
    ต่อมาได้ตกเป็นสมบัติของนายหลุยส์ โดโนแวน
    คู่หูหมอชีค หลังจากที่หมอชีคเสียชีวิต ในปี ๒๔๓๘
    ต่อมานายหลุยส์ ได้นำไปใช้หนี้
    แทนเงิน ๒๕,๖๙๖ รูปี ให้กับเจ้าดารารัศมี
    เจ้าดารารัศมี ได้ประทานบ้านหลังนี้
    ให้กับ เจ้าแก้วนวรัฐ ผู้เป็นพี่ชาย
    ภายหลังเจ้าแก้วนวรัฐได้รับสถาปนา
    เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙
    บ้านหลังนี้จึงกลายเป็น คุ้มหลวง
    แห่งแรกที่อยู่นอกกำแพงเมือง
    ----------------------
    ปัจจุบัน เป็น กาดหลวง และ เป็น ห้างทองอั้วจินเฮง
    คุ้มเจ้าหลวงนครเชียงใหม่ เป็นบ้านไม้สักสามชั้นริมน้ำปิง เจ้าหลวงอินทวิชยานนท์ องค์ที่ ๗ พระราชทานที่ดินให้หมอชีค ต่อมาได้ตกเป็นสมบัติของนายหลุยส์ โดโนแวน คู่หูหมอชีค หลังจากที่หมอชีคเสียชีวิต ในปี ๒๔๓๘ ต่อมานายหลุยส์ ได้นำไปใช้หนี้ แทนเงิน ๒๕,๖๙๖ รูปี ให้กับเจ้าดารารัศมี เจ้าดารารัศมี ได้ประทานบ้านหลังนี้ ให้กับ เจ้าแก้วนวรัฐ ผู้เป็นพี่ชาย ภายหลังเจ้าแก้วนวรัฐได้รับสถาปนา เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙ บ้านหลังนี้จึงกลายเป็น คุ้มหลวง แห่งแรกที่อยู่นอกกำแพงเมือง ---------------------- ปัจจุบัน เป็น กาดหลวง และ เป็น ห้างทองอั้วจินเฮง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 120 มุมมอง 0 รีวิว
  • 86 ปี สิ้น “ครูบาเจ้าศรีวิชัย” เจ้าตนบุญแห่งล้านนา คณะสงฆ์ลำพูนขยาดบารมี ยัดอธิกรณ์ 8 ข้อ ความขัดแย้งที่บานปลาย

    📌 ย้อนรอยประวัติศาสตร์ ไปสู่เรื่องราวของ “ครูบาเจ้าศรีวิชัย” เจ้าตนบุญแห่งล้านนา ผู้เป็นศูนย์รวมศรัทธาของชาวเหนือ แม้กระทั่งเจ้าคณะสงฆ์ในยุคสมัยนั้น ยังต้องหวั่นเกรงในบารมี จนเกิดการตั้งอธิกรณ์ถึง 8 ข้อ นำไปสู่การควบคุมตัว และขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ในหมู่คณะสงฆ์ล้านนา

    🔎 86 ปี แห่งการมรณภาพ ของครูบาเจ้าศรีวิชัย
    หากย้อนเวลากลับไปเมื่อ 86 ปี ที่ผ่านมา ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 (เมื่อก่อนนับศักราชใหม่ ในวันสงกรานต์ ถ้าเทียบปัจจุบันจะเป็นต้นปี พ.ศ. 2482) นับเป็นปีที่พุทธศาสนิกชนไทย ต้องโศกเศร้าอย่างใหญ่หลวง เพราะเป็นวันมรณภาพของ "ครูบาเจ้าศรีวิชัย" พระเกจิชื่อดังแห่งล้านนา ผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้าง และบูรณะพุทธศาสนสถาน ทั่วภาคเหนือของไทย

    ครูบาเจ้าศรีวิชัยละสังขาร ที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สิริอายุได้ 60 ปี ก่อนที่ศพจะถูกตั้งไว้ ที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน เป็นเวลาหลายปี กระทั่งวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489 มีการพระราชทานเพลิงศพ โดยมีประชาชนจำนวนมหาศาลเข้าร่วมพิธี และเหตุการณ์ที่น่าตกใจคือ มีผู้แย่งชิงอัฐิของครูบาเจ้าศรีวิชัย ตั้งแต่เปลวไฟยังไม่มอดสนิท

    ✨ แม้แต่ดินตรงที่ถวายพระเพลิงศพ ยังถูกขุดเอาไปบูชา แสดงให้เห็นถึงแรงศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อครูบาเจ้าศรีวิชัย

    👶 วัยเยาว์ ชาติกำเนิดของตนบุญ
    ครูบาเจ้าศรีวิชัย เกิดเมื่อวันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2421 ปีขาล ขณะที่เกิด มีพายุฟ้าร้องรุนแรง จึงถูกตั้งชื่อว่า อินตาเฟือน หรืออ้ายฟ้าร้อง บิดาชื่อ นายควาย มีเชื้อสายกะเหรี่ยงแดง มารดาชื่อ นางอุสา บ้างว่าเป็นชาวเชียงใหม่ บ้างว่าเป็นชาวเมืองลี้

    เมื่ออายุได้ 18 ปี มีความคิดว่าความยากจนของตน เกิดจากกรรมในอดีต จึงตัดสินใจออกบวช เพื่อสร้างบุญกุศล และตอบแทนบุญคุณบิดามารดา

    📌 ครูบาศรีวิชัยบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบ้านปาง ก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในวัย 21 ปี ที่วัดบ้านโฮ่งหลวง จังหวัดลำพูน ได้รับฉายาทางธรรมว่า "พระศรีวิชัย"

    🏯 บทบาทของครูบาเจ้าศรีวิชัย ในการพัฒนาพุทธศาสนาในล้านนา
    ครูบาเจ้าศรีวิชัย ไม่ได้เป็นเพียงพระนักปฏิบัติธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นพระนักพัฒนา สร้างและบูรณะวัดมากมาย รวมถึงเส้นทางคมนาคมสำคัญ เช่น

    ✔️ สร้างถนนขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ
    ✔️ บูรณะวัดพระธาตุหริภุญชัย วัดจามเทวี วัดสวนดอก ฯลฯ
    ✔️ เป็นผู้นำพุทธศาสนิกชน ร่วมแรงร่วมใจ ในการก่อสร้างศาสนสถาน

    ✨ ศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อครูบาเจ้าศรีวิชัยสูงส่ง ถึงขนาดที่ว่า ชาวบ้านเดินทางมาจากทั่วทุกสารทิศ เพียงเพื่อจะได้พบหน้า

    ⚖️ ถูกตั้งอธิกรณ์ 8 ข้อ?
    การที่ครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้รับความศรัทธามาก ทำให้คณะสงฆ์ล้านนาบางกลุ่ม โดยเฉพาะเจ้าคณะจัวงหวัดลำพูน เริ่มไม่พอใจ และหวาดกลัวอิทธิพล

    ในที่สุด เจ้าคณะจังหวัดลำพูน ได้นำการตั้งอธิกรณ์ หรือข้อกล่าวหา ต่อครูบาเจ้าศรีวิชัยถึง 8 ข้อ โดยกล่าวหาว่า

    ❌ ทำตัวเป็น “ผีบุญ” อวดอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติ
    ❌ ซ่องสุมกำลังประชาชน เสมือนเป็นผู้นำลัทธิใหม่
    ❌ ขัดขืนอำนาจคณะสงฆ์ฝ่ายปกครอง
    ❌ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบสงฆ์ ของสยามประเทศ
    ❌ จัดพิธีกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต
    ❌ มีพฤติกรรมเสมือนเป็นผู้นำทางการเมือง

    📌 ผลจากข้อกล่าวหาเหล่านี้ ทำให้ครูบาเจ้าศรีวิชัย ถูกควบคุมตัวส่งไปไต่สวนที่กรุงเทพฯ

    ⚔️ ความขัดแย้งระหว่างครูบาเจ้าศรีวิชัย กับคณะสงฆ์ล้านนา
    1️⃣ คณะสงฆ์ล้านนาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
    ✔️ กลุ่มที่ยอมรับอำนาจของกรุงเทพฯ สนับสนุนการปกครองสงฆ์แบบรวมศูนย์
    ✔️ กลุ่มประนีประนอม ไม่ต่อต้าน แต่ก็ไม่ได้ร่วมมือเต็มที่
    ✔️ กลุ่มต่อต้านกรุงเทพฯ ต้องการคงจารีตล้านนาแบบดั้งเดิม

    📌 ครูบาศรีวิชัยถูกมองว่า เป็นผู้นำของกลุ่มที่สาม ซึ่งเป็นเหตุผลหลัก ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างหนัก

    - สร้างถนนขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้ริเริ่มโครงการ โดยไม่ได้ปรึกษาคณะสงฆ์ ฝ่ายปกครอง
    - พระสงฆ์กว่า 50 วัด ลาออกจากการขึ้นตรง กับคณะสงฆ์กรุงเทพฯ
    - คณะสงฆ์ฝ่ายปกครองมองว่า เป็นการกระด้างกระเดื่องต่ออำนาจ

    ⚖️ สุดท้าย ครูบาเจ้าศรีวิชัย ถูกส่งตัวไปกรุงเทพฯ เพื่อพิจารณาคดี และได้รับโทษ ก่อนถูกปล่อยตัวกลับล้านนา

    🙏 เจ้าตนบุญแห่งล้านนา กับแรงศรัทธาที่ไม่มีวันเสื่อมคลาย
    แม้ว่าจะต้องเผชิญกับข้อกล่าวหา และความขัดแย้งมากมาย แต่ศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อครูบาเจ้าศรีวิชัย ไม่เคยเสื่อมคลาย

    “ตนบุญ” หรือ “นักบุญ” มีความหมายเชิงยกย่องว่า เป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ ในดินแดนล้านนา เป็นคติความเชื่อที่ถูกนำมาใช้ตลอดในประวัติศาสตร์ล้านนา แนวคิดดังกล่าว จะถูกหยิบนำมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การใช้อ้างความชอบธรรม ของสถาบันกษัตริย์ล้านนา จนกระทั่งสามัญชน ที่ใช้คำว่า “ตนบุญ” เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านยามทุกข์เข็ญ เผชิญกับสภาพความสงบของบ้านเมือง

    หลังมรณภาพ ประชาชนยังคงเดินทาง มากราบไหว้สรีระ วัดหลายแห่งยังคงยกย่อง และจัดงานรำลึกถึงครูบาเจ้าศรีวิชัย ตำนาน “เจ้าตนบุญแห่งล้านนา” ยังคงถูกกล่าวขานถึงปัจจุบัน

    🛕 ปัจจุบัน รูปปั้นและอนุสรณ์สถาน ของครูบาเจ้าศรีวิชัย มีอยู่ทั่วภาคเหนือ เช่น บริเวณทางขึ้นดอยสุเทพ และวัดบ้านปาง

    ✨ แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 86 ปี แต่บารมีของครูบาเจ้าศรีวิชัย ยังคงยิ่งใหญ่ และจะอยู่ในหัวใจ ของชาวล้านนาตลอดไป

    ✅ ครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นพระนักพัฒนา ที่มีบารมีสูงสุดองค์หนึ่งในล้านนา
    ✅ ถูกตั้งอธิกรณ์ 8 ข้อ เนื่องจากความขัดแย้ง กับคณะสงฆ์ฝ่ายปกครอง
    ✅ แม้จะถูกควบคุมตัว แต่ประชาชนยังคงศรัทธา นอย่างเหนียวแน่น
    ✅ ปัจจุบัน ครูบาเจ้าศรีวิชัย ยังคงเป็นสัญลักษณ์แห่งศรัทธา ของชาวล้านนา

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 211017 ก.พ. 2568

    🔖 #ครูบาศรีวิชัย #เจ้าตนบุญล้านนา #ประวัติศาสตร์ล้านนา #วัดบ้านปาง #ศรัทธาพระสงฆ์
    86 ปี สิ้น “ครูบาเจ้าศรีวิชัย” เจ้าตนบุญแห่งล้านนา คณะสงฆ์ลำพูนขยาดบารมี ยัดอธิกรณ์ 8 ข้อ ความขัดแย้งที่บานปลาย 📌 ย้อนรอยประวัติศาสตร์ ไปสู่เรื่องราวของ “ครูบาเจ้าศรีวิชัย” เจ้าตนบุญแห่งล้านนา ผู้เป็นศูนย์รวมศรัทธาของชาวเหนือ แม้กระทั่งเจ้าคณะสงฆ์ในยุคสมัยนั้น ยังต้องหวั่นเกรงในบารมี จนเกิดการตั้งอธิกรณ์ถึง 8 ข้อ นำไปสู่การควบคุมตัว และขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ในหมู่คณะสงฆ์ล้านนา 🔎 86 ปี แห่งการมรณภาพ ของครูบาเจ้าศรีวิชัย หากย้อนเวลากลับไปเมื่อ 86 ปี ที่ผ่านมา ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 (เมื่อก่อนนับศักราชใหม่ ในวันสงกรานต์ ถ้าเทียบปัจจุบันจะเป็นต้นปี พ.ศ. 2482) นับเป็นปีที่พุทธศาสนิกชนไทย ต้องโศกเศร้าอย่างใหญ่หลวง เพราะเป็นวันมรณภาพของ "ครูบาเจ้าศรีวิชัย" พระเกจิชื่อดังแห่งล้านนา ผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้าง และบูรณะพุทธศาสนสถาน ทั่วภาคเหนือของไทย ครูบาเจ้าศรีวิชัยละสังขาร ที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สิริอายุได้ 60 ปี ก่อนที่ศพจะถูกตั้งไว้ ที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน เป็นเวลาหลายปี กระทั่งวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489 มีการพระราชทานเพลิงศพ โดยมีประชาชนจำนวนมหาศาลเข้าร่วมพิธี และเหตุการณ์ที่น่าตกใจคือ มีผู้แย่งชิงอัฐิของครูบาเจ้าศรีวิชัย ตั้งแต่เปลวไฟยังไม่มอดสนิท ✨ แม้แต่ดินตรงที่ถวายพระเพลิงศพ ยังถูกขุดเอาไปบูชา แสดงให้เห็นถึงแรงศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อครูบาเจ้าศรีวิชัย 👶 วัยเยาว์ ชาติกำเนิดของตนบุญ ครูบาเจ้าศรีวิชัย เกิดเมื่อวันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2421 ปีขาล ขณะที่เกิด มีพายุฟ้าร้องรุนแรง จึงถูกตั้งชื่อว่า อินตาเฟือน หรืออ้ายฟ้าร้อง บิดาชื่อ นายควาย มีเชื้อสายกะเหรี่ยงแดง มารดาชื่อ นางอุสา บ้างว่าเป็นชาวเชียงใหม่ บ้างว่าเป็นชาวเมืองลี้ เมื่ออายุได้ 18 ปี มีความคิดว่าความยากจนของตน เกิดจากกรรมในอดีต จึงตัดสินใจออกบวช เพื่อสร้างบุญกุศล และตอบแทนบุญคุณบิดามารดา 📌 ครูบาศรีวิชัยบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบ้านปาง ก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในวัย 21 ปี ที่วัดบ้านโฮ่งหลวง จังหวัดลำพูน ได้รับฉายาทางธรรมว่า "พระศรีวิชัย" 🏯 บทบาทของครูบาเจ้าศรีวิชัย ในการพัฒนาพุทธศาสนาในล้านนา ครูบาเจ้าศรีวิชัย ไม่ได้เป็นเพียงพระนักปฏิบัติธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นพระนักพัฒนา สร้างและบูรณะวัดมากมาย รวมถึงเส้นทางคมนาคมสำคัญ เช่น ✔️ สร้างถนนขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ ✔️ บูรณะวัดพระธาตุหริภุญชัย วัดจามเทวี วัดสวนดอก ฯลฯ ✔️ เป็นผู้นำพุทธศาสนิกชน ร่วมแรงร่วมใจ ในการก่อสร้างศาสนสถาน ✨ ศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อครูบาเจ้าศรีวิชัยสูงส่ง ถึงขนาดที่ว่า ชาวบ้านเดินทางมาจากทั่วทุกสารทิศ เพียงเพื่อจะได้พบหน้า ⚖️ ถูกตั้งอธิกรณ์ 8 ข้อ? การที่ครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้รับความศรัทธามาก ทำให้คณะสงฆ์ล้านนาบางกลุ่ม โดยเฉพาะเจ้าคณะจัวงหวัดลำพูน เริ่มไม่พอใจ และหวาดกลัวอิทธิพล ในที่สุด เจ้าคณะจังหวัดลำพูน ได้นำการตั้งอธิกรณ์ หรือข้อกล่าวหา ต่อครูบาเจ้าศรีวิชัยถึง 8 ข้อ โดยกล่าวหาว่า ❌ ทำตัวเป็น “ผีบุญ” อวดอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติ ❌ ซ่องสุมกำลังประชาชน เสมือนเป็นผู้นำลัทธิใหม่ ❌ ขัดขืนอำนาจคณะสงฆ์ฝ่ายปกครอง ❌ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบสงฆ์ ของสยามประเทศ ❌ จัดพิธีกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต ❌ มีพฤติกรรมเสมือนเป็นผู้นำทางการเมือง 📌 ผลจากข้อกล่าวหาเหล่านี้ ทำให้ครูบาเจ้าศรีวิชัย ถูกควบคุมตัวส่งไปไต่สวนที่กรุงเทพฯ ⚔️ ความขัดแย้งระหว่างครูบาเจ้าศรีวิชัย กับคณะสงฆ์ล้านนา 1️⃣ คณะสงฆ์ล้านนาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ✔️ กลุ่มที่ยอมรับอำนาจของกรุงเทพฯ สนับสนุนการปกครองสงฆ์แบบรวมศูนย์ ✔️ กลุ่มประนีประนอม ไม่ต่อต้าน แต่ก็ไม่ได้ร่วมมือเต็มที่ ✔️ กลุ่มต่อต้านกรุงเทพฯ ต้องการคงจารีตล้านนาแบบดั้งเดิม 📌 ครูบาศรีวิชัยถูกมองว่า เป็นผู้นำของกลุ่มที่สาม ซึ่งเป็นเหตุผลหลัก ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างหนัก - สร้างถนนขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้ริเริ่มโครงการ โดยไม่ได้ปรึกษาคณะสงฆ์ ฝ่ายปกครอง - พระสงฆ์กว่า 50 วัด ลาออกจากการขึ้นตรง กับคณะสงฆ์กรุงเทพฯ - คณะสงฆ์ฝ่ายปกครองมองว่า เป็นการกระด้างกระเดื่องต่ออำนาจ ⚖️ สุดท้าย ครูบาเจ้าศรีวิชัย ถูกส่งตัวไปกรุงเทพฯ เพื่อพิจารณาคดี และได้รับโทษ ก่อนถูกปล่อยตัวกลับล้านนา 🙏 เจ้าตนบุญแห่งล้านนา กับแรงศรัทธาที่ไม่มีวันเสื่อมคลาย แม้ว่าจะต้องเผชิญกับข้อกล่าวหา และความขัดแย้งมากมาย แต่ศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อครูบาเจ้าศรีวิชัย ไม่เคยเสื่อมคลาย “ตนบุญ” หรือ “นักบุญ” มีความหมายเชิงยกย่องว่า เป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ ในดินแดนล้านนา เป็นคติความเชื่อที่ถูกนำมาใช้ตลอดในประวัติศาสตร์ล้านนา แนวคิดดังกล่าว จะถูกหยิบนำมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การใช้อ้างความชอบธรรม ของสถาบันกษัตริย์ล้านนา จนกระทั่งสามัญชน ที่ใช้คำว่า “ตนบุญ” เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านยามทุกข์เข็ญ เผชิญกับสภาพความสงบของบ้านเมือง หลังมรณภาพ ประชาชนยังคงเดินทาง มากราบไหว้สรีระ วัดหลายแห่งยังคงยกย่อง และจัดงานรำลึกถึงครูบาเจ้าศรีวิชัย ตำนาน “เจ้าตนบุญแห่งล้านนา” ยังคงถูกกล่าวขานถึงปัจจุบัน 🛕 ปัจจุบัน รูปปั้นและอนุสรณ์สถาน ของครูบาเจ้าศรีวิชัย มีอยู่ทั่วภาคเหนือ เช่น บริเวณทางขึ้นดอยสุเทพ และวัดบ้านปาง ✨ แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 86 ปี แต่บารมีของครูบาเจ้าศรีวิชัย ยังคงยิ่งใหญ่ และจะอยู่ในหัวใจ ของชาวล้านนาตลอดไป ✅ ครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นพระนักพัฒนา ที่มีบารมีสูงสุดองค์หนึ่งในล้านนา ✅ ถูกตั้งอธิกรณ์ 8 ข้อ เนื่องจากความขัดแย้ง กับคณะสงฆ์ฝ่ายปกครอง ✅ แม้จะถูกควบคุมตัว แต่ประชาชนยังคงศรัทธา นอย่างเหนียวแน่น ✅ ปัจจุบัน ครูบาเจ้าศรีวิชัย ยังคงเป็นสัญลักษณ์แห่งศรัทธา ของชาวล้านนา ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 211017 ก.พ. 2568 🔖 #ครูบาศรีวิชัย #เจ้าตนบุญล้านนา #ประวัติศาสตร์ล้านนา #วัดบ้านปาง #ศรัทธาพระสงฆ์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 269 มุมมอง 0 รีวิว

  • #วัดหนองป่าพง
    #อุบลราชธานี

    วัดหนองป่าพง – ย้อนรำลึกความหลัง เมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน ผมได้มีโอกาสสัมผัส วัดหนองป่าพง ด้วยความไม่รู้ และไม่ลึกซึ้งถึงแวดวงพระพุทธศาสนา เลยทำให้การไปวัดหนองป่าพง ครั้งแรก ผมไม่ได้อะไรติดมือติดใจกลับมาเป็นวิทยาทานเลย จนเมื่อครั้งล่าสุดที่ไป ชีวิตมีประสบการณ์ และพอมีพื้นฐานพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นบ้าง ครั้งนี้ เป็นการใช้เวลาอยู่ที่วัดนานขึ้น พร้อมพกพาความรู้สึก ความประทับใจที่ต่างออกไป กลับออกมาด้วยอย่างปลื้มอกปลื้มใจ ล้อมวงมาฟังกันครับ วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี (ยาวสักหน่อยนะครับ)

    คงจะไม่ถูกต้อง ถ้าจะกล่าวถึงวัดหนองป่าพง โดยไม่กล่าวถึง หลวงปู่ชา

    หลวงปู่ชา พระสำคัญผู้ก่อตั้งวัดแห่งนี้ ให้สามารถไปเผยแพร่พุทธศาสนาได้กว้างไกล ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย หากแต่ไปไกลถึงสิบกว่าประเทศทั่วโลก หลวงปู่ชา พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ต้นแบบของพระป่าทั่วโลก ด้วยวัตรปฎิบัติที่เคร่งครัดสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีต้นแบบจาก"พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต"

    หลวงปู่ชา หรือ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เกิดเมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน ในวัยเด็ก หลวงปู่ชาเรียนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถม 1 จึงขอลาออกเพื่อมาบวชเรียนตามความสนใจของตนเอง โดยช่วงอายุ 13 ปี หลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษา โยมบิดาได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาสเพื่อเรียนรู้บุพกิจเบื้องต้นเกี่ยวกับบรรพชาวิธี จึงได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็น “สามเณรชา โชติช่วง” จนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์ เป็นเวลา 3 ปี ได้แล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา แต่ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในทางธรรม เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงลาพ่อแม่มาบวชเป็นพระ โดยอุปสมบทเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 เวลา 13.55 น. ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี พระชา สุภทฺโท ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดก่อนอก 2 พรรษา ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม ทั้งจากตำรับตำราและจากครูอาจารย์ จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสำนักวัดแห่งนี้ แต่โชคร้าย ช่วงนั้น หลวงพ่อชา ได้ว่างเว้นจากการศึกษา เพื่อไปดูแลโยมบิดาที่ป่วย แม้หลวงพ่อชา ก็เกิดความลังเลใจ พะว้าพะวง ห่วงการศึกษาก็ห่วง ห่วงโยมบิดาก็ห่วง แต่ความห่วงผู้บังเกิดเกล้ามีน้ำหนักมากกว่า เพราะโยมบิดาเป็นผู้มีพระคุณอย่างเหลือล้น หลวงปู่จึงตัดสินใจกลับไปดูแลโยมพ่อทั้งที่วันสอบนักธรรมก็ใกล้เข้ามาทุกที แต่ก็เลือกที่จะเดินในเส้นทางสายกตัญญุตา โดยที่สุด มาอยู่เฝ้าดูแลอาการป่วยของโยมพ่อนับเป็นเวลา 13 วัน โยมพ่อจึงได้ถึงแก่กรรม (ปี 2483)

    หลังจากนั้น หลวงปู่ชา ก็ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนยังที่ต่างๆ เช่น ที่สำนักของหลวงพ่อเภา วัดเขาวงกฏ จ.ลพบุรี และพระอาจารย์ชาวกัมพูชาที่เป็นพระธุดงค์ซึ่งได้พบกันที่วัดเขาวงกฏ หลวงปู่กินรี อาจารย์คำดี หลวงปู่ทองรัตน์ พระอาจารย์มั่น เป็นต้น พออินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อยๆ โดยยังดำรงสมณเพศเป็นพระมหานิกายอยู่ตลอดเวลา

    กิจที่หลวงปู่ฯ โปรดปราน คือการได้ธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อโปรดสานุศิษย์และเผยแพร่พุทธศาสนา จนที่สุดเมื่อคณะศิษย์ และหลวงพ่อได้เดินทางมาถึงชายดงป่าพง ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 พอเช้าวันที่ 9 มีนาคม 2497 จึงได้พากันเข้าสำรวจ สถานที่พักในดงป่านี้ และได้ช่วยกันดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเรารู้จักในปัจจุบัน คือ “วัดหนองป่าพง”

    จนภายหลังมีสานุศิษย์มากมายทั้งไทยและเทศ ขยายไปหลายสาขา ดังที่กล่าวไปข้างต้น และท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอด และถึงแก่มรณภาพเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เวลา 05.20 น. ที่ วัดหนองป่าพง อย่างสงบท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศทั่วโลก ด้วยความที่วัดหนองป่าพง มีพระสงฆ์ต่างชาติ เป็นจำนวนมาก เคยมีคนไปถามหลวงปู่ว่า พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แล้วจะสอนชาวต่างชาติได้อย่างไร หลวงปู่ท่านเมตตาตอบว่า น้ำร้อน ที่ฝรั่งว่ากันว่า ฮ๊อตวอเตอร์ เอามือลงไปสัมผัส ทุกชาติก็รู้ว่าร้อน ไม่เห็นต้องรู้ภาษาก่อนเลย นัยว่า ธรรมะ เรียนรู้ได้จากการสัมผัส การปฏิบัติ มิใช่การอ่านเขียนเท่านั้น

    ปัจจุบัน แม้หลวงปู่ชาฯ จะละสังขารไปแล้วกว่าสามสิบปีกว่าปี คำสอนและวัตรปฏิบัติอันดีงาม ก็ยังอยู่ในความทรงจำสานุศิษย์ทั้งหลาย เห็นได้จากการที่กลับไปสัมผัส วัดหนองป่าพง อีกครั้ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ ความสงบ และ ความเคร่งครัด แบบพระป่า ยังคงมีให้เห็นและสัมผัสได้ มีโอกาสได้แวะเข้าไปชม พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) โดยจะจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ชา สุภัทโท มีเครื่องทองเหลือง พระพุทธรูป และ เจดีย์ศรีโพธิญาณ เป็นสถานที่พระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ชาอีกด้วย จุดเด่นที่ประทับใจ คือ ป้าย คำสอนต่าง ๆ ที่ติดไว้ตามต้นไม้ อ่านแล้วทำให้เราได้นึกทบทวนชีวิตเราไปด้วยขณะเดินชมไปเงียบ ๆ นอกจากนี้ ได้มีโอกาสเข้าไปที่ อุโบสถด้านใน ทางเข้าเขตสังฆาวาส ที่พระสงฆ์ใช้ทำวัด ทำให้พอนึกเห็นภาพบรรยากาศเมื่อสมัยก่อน ที่หลวงปู่ ลงมาเทศนาธรรม

    รวม ๆ แล้วประทับใจมาก ครับ ผมกราบเรียนเชิญ ท่านที่มีโอกาสไป อุบลราชธานี อยากให้ไปสัมผัส วัดหนองป่าพง สักครั้งครับ

    #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    #วัดหนองป่าพง #อุบลราชธานี วัดหนองป่าพง – ย้อนรำลึกความหลัง เมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน ผมได้มีโอกาสสัมผัส วัดหนองป่าพง ด้วยความไม่รู้ และไม่ลึกซึ้งถึงแวดวงพระพุทธศาสนา เลยทำให้การไปวัดหนองป่าพง ครั้งแรก ผมไม่ได้อะไรติดมือติดใจกลับมาเป็นวิทยาทานเลย จนเมื่อครั้งล่าสุดที่ไป ชีวิตมีประสบการณ์ และพอมีพื้นฐานพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นบ้าง ครั้งนี้ เป็นการใช้เวลาอยู่ที่วัดนานขึ้น พร้อมพกพาความรู้สึก ความประทับใจที่ต่างออกไป กลับออกมาด้วยอย่างปลื้มอกปลื้มใจ ล้อมวงมาฟังกันครับ วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี (ยาวสักหน่อยนะครับ) คงจะไม่ถูกต้อง ถ้าจะกล่าวถึงวัดหนองป่าพง โดยไม่กล่าวถึง หลวงปู่ชา หลวงปู่ชา พระสำคัญผู้ก่อตั้งวัดแห่งนี้ ให้สามารถไปเผยแพร่พุทธศาสนาได้กว้างไกล ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย หากแต่ไปไกลถึงสิบกว่าประเทศทั่วโลก หลวงปู่ชา พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ต้นแบบของพระป่าทั่วโลก ด้วยวัตรปฎิบัติที่เคร่งครัดสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีต้นแบบจาก"พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต" หลวงปู่ชา หรือ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เกิดเมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน ในวัยเด็ก หลวงปู่ชาเรียนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถม 1 จึงขอลาออกเพื่อมาบวชเรียนตามความสนใจของตนเอง โดยช่วงอายุ 13 ปี หลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษา โยมบิดาได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาสเพื่อเรียนรู้บุพกิจเบื้องต้นเกี่ยวกับบรรพชาวิธี จึงได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็น “สามเณรชา โชติช่วง” จนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์ เป็นเวลา 3 ปี ได้แล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา แต่ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในทางธรรม เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงลาพ่อแม่มาบวชเป็นพระ โดยอุปสมบทเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 เวลา 13.55 น. ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี พระชา สุภทฺโท ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดก่อนอก 2 พรรษา ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม ทั้งจากตำรับตำราและจากครูอาจารย์ จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสำนักวัดแห่งนี้ แต่โชคร้าย ช่วงนั้น หลวงพ่อชา ได้ว่างเว้นจากการศึกษา เพื่อไปดูแลโยมบิดาที่ป่วย แม้หลวงพ่อชา ก็เกิดความลังเลใจ พะว้าพะวง ห่วงการศึกษาก็ห่วง ห่วงโยมบิดาก็ห่วง แต่ความห่วงผู้บังเกิดเกล้ามีน้ำหนักมากกว่า เพราะโยมบิดาเป็นผู้มีพระคุณอย่างเหลือล้น หลวงปู่จึงตัดสินใจกลับไปดูแลโยมพ่อทั้งที่วันสอบนักธรรมก็ใกล้เข้ามาทุกที แต่ก็เลือกที่จะเดินในเส้นทางสายกตัญญุตา โดยที่สุด มาอยู่เฝ้าดูแลอาการป่วยของโยมพ่อนับเป็นเวลา 13 วัน โยมพ่อจึงได้ถึงแก่กรรม (ปี 2483) หลังจากนั้น หลวงปู่ชา ก็ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนยังที่ต่างๆ เช่น ที่สำนักของหลวงพ่อเภา วัดเขาวงกฏ จ.ลพบุรี และพระอาจารย์ชาวกัมพูชาที่เป็นพระธุดงค์ซึ่งได้พบกันที่วัดเขาวงกฏ หลวงปู่กินรี อาจารย์คำดี หลวงปู่ทองรัตน์ พระอาจารย์มั่น เป็นต้น พออินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อยๆ โดยยังดำรงสมณเพศเป็นพระมหานิกายอยู่ตลอดเวลา กิจที่หลวงปู่ฯ โปรดปราน คือการได้ธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อโปรดสานุศิษย์และเผยแพร่พุทธศาสนา จนที่สุดเมื่อคณะศิษย์ และหลวงพ่อได้เดินทางมาถึงชายดงป่าพง ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 พอเช้าวันที่ 9 มีนาคม 2497 จึงได้พากันเข้าสำรวจ สถานที่พักในดงป่านี้ และได้ช่วยกันดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเรารู้จักในปัจจุบัน คือ “วัดหนองป่าพง” จนภายหลังมีสานุศิษย์มากมายทั้งไทยและเทศ ขยายไปหลายสาขา ดังที่กล่าวไปข้างต้น และท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอด และถึงแก่มรณภาพเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เวลา 05.20 น. ที่ วัดหนองป่าพง อย่างสงบท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศทั่วโลก ด้วยความที่วัดหนองป่าพง มีพระสงฆ์ต่างชาติ เป็นจำนวนมาก เคยมีคนไปถามหลวงปู่ว่า พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แล้วจะสอนชาวต่างชาติได้อย่างไร หลวงปู่ท่านเมตตาตอบว่า น้ำร้อน ที่ฝรั่งว่ากันว่า ฮ๊อตวอเตอร์ เอามือลงไปสัมผัส ทุกชาติก็รู้ว่าร้อน ไม่เห็นต้องรู้ภาษาก่อนเลย นัยว่า ธรรมะ เรียนรู้ได้จากการสัมผัส การปฏิบัติ มิใช่การอ่านเขียนเท่านั้น ปัจจุบัน แม้หลวงปู่ชาฯ จะละสังขารไปแล้วกว่าสามสิบปีกว่าปี คำสอนและวัตรปฏิบัติอันดีงาม ก็ยังอยู่ในความทรงจำสานุศิษย์ทั้งหลาย เห็นได้จากการที่กลับไปสัมผัส วัดหนองป่าพง อีกครั้ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ ความสงบ และ ความเคร่งครัด แบบพระป่า ยังคงมีให้เห็นและสัมผัสได้ มีโอกาสได้แวะเข้าไปชม พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) โดยจะจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ชา สุภัทโท มีเครื่องทองเหลือง พระพุทธรูป และ เจดีย์ศรีโพธิญาณ เป็นสถานที่พระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ชาอีกด้วย จุดเด่นที่ประทับใจ คือ ป้าย คำสอนต่าง ๆ ที่ติดไว้ตามต้นไม้ อ่านแล้วทำให้เราได้นึกทบทวนชีวิตเราไปด้วยขณะเดินชมไปเงียบ ๆ นอกจากนี้ ได้มีโอกาสเข้าไปที่ อุโบสถด้านใน ทางเข้าเขตสังฆาวาส ที่พระสงฆ์ใช้ทำวัด ทำให้พอนึกเห็นภาพบรรยากาศเมื่อสมัยก่อน ที่หลวงปู่ ลงมาเทศนาธรรม รวม ๆ แล้วประทับใจมาก ครับ ผมกราบเรียนเชิญ ท่านที่มีโอกาสไป อุบลราชธานี อยากให้ไปสัมผัส วัดหนองป่าพง สักครั้งครับ #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 377 มุมมอง 0 รีวิว
  • 17 กุมภาพันธ์ พ ศ 2498
    วันประหารชีวิต สามนักโทษกรณีสวรรคต

    หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า

    “มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน พยายามสื่อสารให้เข้าใจว่า รัชกาลที่เก้าเป็นผู้ปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่ 8”

    ————

    "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด"


    ผู้เขียนขอนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด

    เพราะมีสื่อต่างๆที่นำเสนอข้อมูลบางตอนที่ “อาจจะ” ทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน หากไม่อ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วน

    สื่อต่างๆที่ว่านี้ ได้แก่

    1. THE STANDARD TEAM เรื่อง “17 กุมภาพันธ์ 2498 – ประหารชีวิต ชิต, บุศย์, เฉลียว จำเลยคดีสวรรคตในหลวง ร.8” เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความดังนี้:

    “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2478 ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา พระองค์สวรรคตด้วยพระแสงปืนอย่างมีเงื่อนงำเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489

    ต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยทั้ง 3 คน คือ เฉลียว ปทุมรส, ชิต สิงหเสนี และ บุศย์ ปัทมศริน อ้างอิงจากแถลงการณ์กระทรวงมหาดไทย ดังนี้

    แถลงการณ์ของกระทรวงมหาดไทย ตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตนายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนีย์ และนายบุศย์ ปัทมะศิรินทร์ จำเลยในคดีต้องหาว่าประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และจำเลยทั้งสามได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น

    บัดนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามเสีย

    ทางราชทัณฑ์จึงได้นำตัวจำเลยทั้งสาม ไปประหารชีวิตตามคำพิพากษา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 เวลา 05.00 น. ณ เรือนจำกลางบางขวาง ต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวางเป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายแพทย์เชื้อ พัฒนเจริญ และนายหลอม บุญอ่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกควบคุมเรือนจำกลางบางขวางเป็นกรรมการ ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยเป็นการเสร็จไปแล้ว จึงขอแถลงมาให้ทราบทั่วกันกระทรวงมหาดไทย วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498”

    ................

    2. สถาบันปรีดี พนมยงค์ เรื่อง “สามจำเลยผู้บริสุทธิ์” โดย สุพจน์ ด่านตระกูล เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความบางตอนดังนี้

    “หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสามคน เมื่อ 12 ตุลาคม 2497 แล้ว ต่อมาในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2497 จำเลยทั้งสามได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด

    เกี่ยวกับการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้งสามนั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้

    ‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. 2498-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต

    ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว

    ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ

    แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ทนจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น

    ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า 647)

    และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุดตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้เพิ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์’”

    ..................

    3. “ปัจฉิมวาจาของ ๓ นักโทษประหาร” มีข้อความบางตอนดังนี้:

    “หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้ง ๓ คน เมื่อ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๙๗ แล้วต่อมาในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ จำเลยทั้ง ๓ ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด

    เกี่ยวกับการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้ง ๓ นั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้

    ‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถามจอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. ๒๔๙๘-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ท่านจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า ๖๘๗)

    และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุด ตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้พึ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์’”

    ----------

    ผู้เขียนได้สืบค้นเงื่อนไขการขอพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ พบว่า บทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น ทำให้พระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ต้องถูกลิดรอนลงจากเดิม

    จากการใช้พระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระมาสู่การใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญแล้ว

    ยังทำให้แนวความคิดและรูปแบบของการใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย

    ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเมื่อพุทธศักราช 2477 โดยได้กำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษไว้ในภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษมาตรา 259 ถึงมาตรา 267 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ถวายความเห็นและคำแนะนำเท่านั้น

    ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ

    แม้ว่าในบางกรณีความเห็นของกระทรวงมหาดไทยขัดแย้งกับความเห็นของคณะรัฐมนตรีก็ตาม (สรุปและเรียบเรียงจากหัวข้อ พระราชทานอภัยโทษ ฐานข้อมูล สถาบันพระปกเกล้า)

    ………

    ในการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย

    —————-

    ผู้เขียนได้ไปสืบค้นรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่ ๘๕/๒๔๙๗ วันพุธที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๙๗ มีข้อความทั้งหมดที่เกี่ยวกับกรณีการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ดังนี้:


    “๙. เรื่อง นักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน ขอพระราชทานอภัยลดโทษ (กระทรวงมหาดไทยนำส่งฎีกาพร้อมด้วยเอกสารการสอบสวนของนักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน เรือนจำกลาง บางขวาง ต้องโทษฐานสมคบกันกระทำการประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) กำหนดโทษประหารชีวิต ขอพระราชทานชีวิตให้คงไว้ มา

    น.ช. เฉลียว ฯ อ้างว่า ตนยังมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดไป ไม่เคยคิดที่จะหมิ่มพระบรมเดชานุภาพอย่างใด ขณะนี้ครอบครัวขาดผู้อุปการะ

    น.ช. ชิต ฯ อ้างว่า บรรพบุรุษในตระกูลของตน ซึ่งมีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เป็นต้นตระกูล ตลอดจนบิดา ได้เคยรับราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต

    ส่วน น.ช. บุศย์ ฯ อ้างว่า ชีวิตของตนได้เติบโตขึ้นมาก็โดยความอุปการะในพระบรมราชตระกูลที่ได้ทรงชุบเลี้ยง การเข้ารับราชการจึงเป็นไปด้วยความจงรักภักดี

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จอมพล ป พิบูลสงคราม) ได้สอบสวนพิจารณาแล้ว ไม่เห็นควรขอพระราชทานอภัยลดโทษได้ให้โดยอ้างว่า เรื่องนี้เป็นการประทุษร้ายแก่บุคคลสำคัญของประเทศตามหลักการของกระทรวงมหาดไทย

    ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยแล้วนั้น จะไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้ ควรยกฎีกาเสีย)

    มติ - เห็นชอบด้วยตามกระทรวงมหาดไทย ให้นำความกราบบังคมทูลได้.”

    (นอกจาก จอมพล ป จะเป็น รมต มหาดไทยแล้ว ยังเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย)

    ------------

    จากข้อความในรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีข้างต้นและจากการเปลี่ยนแปลงพระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ถูกลิดรอนลงจากเดิมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

    พระมหากษัตริย์จึงไม่มีพระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระ

    แต่ทรงใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญ

    ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ

    ขณะเดียวกัน จากคำบอกเล่าของ พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม ที่กล่าวถึง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้เป็นบิดาว่า “…ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง…”

    ……….

    ผู้เขียนใคร่เรียนขอว่า ถ้ามีใครมีหลักฐานการขอพระราชอภัยโทษอีกสองครั้ง โปรดกรุณานำมาเผยแพร่ด้วย

    จักเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์และต่อสาธารณชน

    ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

    ป ล หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน ให้รัชกาลที่เก้าเป็นผู้รับผิดชอบการปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษ

    ที่มา : เฟซบุ๊ก Chaiyan Chaiyaporn
    ของ ศาสตราจารย์ ไชยันต์ ไชยพร
    17 กุมภาพันธ์ พ ศ 2498 วันประหารชีวิต สามนักโทษกรณีสวรรคต หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า “มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน พยายามสื่อสารให้เข้าใจว่า รัชกาลที่เก้าเป็นผู้ปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่ 8” ———— "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด" ผู้เขียนขอนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด เพราะมีสื่อต่างๆที่นำเสนอข้อมูลบางตอนที่ “อาจจะ” ทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน หากไม่อ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วน สื่อต่างๆที่ว่านี้ ได้แก่ 1. THE STANDARD TEAM เรื่อง “17 กุมภาพันธ์ 2498 – ประหารชีวิต ชิต, บุศย์, เฉลียว จำเลยคดีสวรรคตในหลวง ร.8” เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความดังนี้: “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2478 ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา พระองค์สวรรคตด้วยพระแสงปืนอย่างมีเงื่อนงำเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยทั้ง 3 คน คือ เฉลียว ปทุมรส, ชิต สิงหเสนี และ บุศย์ ปัทมศริน อ้างอิงจากแถลงการณ์กระทรวงมหาดไทย ดังนี้ แถลงการณ์ของกระทรวงมหาดไทย ตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตนายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนีย์ และนายบุศย์ ปัทมะศิรินทร์ จำเลยในคดีต้องหาว่าประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และจำเลยทั้งสามได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น บัดนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามเสีย ทางราชทัณฑ์จึงได้นำตัวจำเลยทั้งสาม ไปประหารชีวิตตามคำพิพากษา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 เวลา 05.00 น. ณ เรือนจำกลางบางขวาง ต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวางเป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายแพทย์เชื้อ พัฒนเจริญ และนายหลอม บุญอ่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกควบคุมเรือนจำกลางบางขวางเป็นกรรมการ ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยเป็นการเสร็จไปแล้ว จึงขอแถลงมาให้ทราบทั่วกันกระทรวงมหาดไทย วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498” ................ 2. สถาบันปรีดี พนมยงค์ เรื่อง “สามจำเลยผู้บริสุทธิ์” โดย สุพจน์ ด่านตระกูล เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความบางตอนดังนี้ “หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสามคน เมื่อ 12 ตุลาคม 2497 แล้ว ต่อมาในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2497 จำเลยทั้งสามได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด เกี่ยวกับการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้งสามนั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้ ‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. 2498-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ทนจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า 647) และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุดตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้เพิ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์’” .................. 3. “ปัจฉิมวาจาของ ๓ นักโทษประหาร” มีข้อความบางตอนดังนี้: “หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้ง ๓ คน เมื่อ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๙๗ แล้วต่อมาในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ จำเลยทั้ง ๓ ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด เกี่ยวกับการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้ง ๓ นั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้ ‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถามจอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. ๒๔๙๘-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ท่านจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า ๖๘๗) และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุด ตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้พึ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์’” ---------- ผู้เขียนได้สืบค้นเงื่อนไขการขอพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ พบว่า บทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น ทำให้พระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ต้องถูกลิดรอนลงจากเดิม จากการใช้พระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระมาสู่การใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญแล้ว ยังทำให้แนวความคิดและรูปแบบของการใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเมื่อพุทธศักราช 2477 โดยได้กำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษไว้ในภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษมาตรา 259 ถึงมาตรา 267 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ถวายความเห็นและคำแนะนำเท่านั้น ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ แม้ว่าในบางกรณีความเห็นของกระทรวงมหาดไทยขัดแย้งกับความเห็นของคณะรัฐมนตรีก็ตาม (สรุปและเรียบเรียงจากหัวข้อ พระราชทานอภัยโทษ ฐานข้อมูล สถาบันพระปกเกล้า) ……… ในการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย —————- ผู้เขียนได้ไปสืบค้นรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่ ๘๕/๒๔๙๗ วันพุธที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๙๗ มีข้อความทั้งหมดที่เกี่ยวกับกรณีการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ดังนี้: “๙. เรื่อง นักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน ขอพระราชทานอภัยลดโทษ (กระทรวงมหาดไทยนำส่งฎีกาพร้อมด้วยเอกสารการสอบสวนของนักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน เรือนจำกลาง บางขวาง ต้องโทษฐานสมคบกันกระทำการประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) กำหนดโทษประหารชีวิต ขอพระราชทานชีวิตให้คงไว้ มา น.ช. เฉลียว ฯ อ้างว่า ตนยังมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดไป ไม่เคยคิดที่จะหมิ่มพระบรมเดชานุภาพอย่างใด ขณะนี้ครอบครัวขาดผู้อุปการะ น.ช. ชิต ฯ อ้างว่า บรรพบุรุษในตระกูลของตน ซึ่งมีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เป็นต้นตระกูล ตลอดจนบิดา ได้เคยรับราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต ส่วน น.ช. บุศย์ ฯ อ้างว่า ชีวิตของตนได้เติบโตขึ้นมาก็โดยความอุปการะในพระบรมราชตระกูลที่ได้ทรงชุบเลี้ยง การเข้ารับราชการจึงเป็นไปด้วยความจงรักภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จอมพล ป พิบูลสงคราม) ได้สอบสวนพิจารณาแล้ว ไม่เห็นควรขอพระราชทานอภัยลดโทษได้ให้โดยอ้างว่า เรื่องนี้เป็นการประทุษร้ายแก่บุคคลสำคัญของประเทศตามหลักการของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยแล้วนั้น จะไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้ ควรยกฎีกาเสีย) มติ - เห็นชอบด้วยตามกระทรวงมหาดไทย ให้นำความกราบบังคมทูลได้.” (นอกจาก จอมพล ป จะเป็น รมต มหาดไทยแล้ว ยังเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย) ------------ จากข้อความในรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีข้างต้นและจากการเปลี่ยนแปลงพระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ถูกลิดรอนลงจากเดิมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระมหากษัตริย์จึงไม่มีพระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระ แต่ทรงใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญ ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ ขณะเดียวกัน จากคำบอกเล่าของ พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม ที่กล่าวถึง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้เป็นบิดาว่า “…ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง…” ………. ผู้เขียนใคร่เรียนขอว่า ถ้ามีใครมีหลักฐานการขอพระราชอภัยโทษอีกสองครั้ง โปรดกรุณานำมาเผยแพร่ด้วย จักเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์และต่อสาธารณชน ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ ป ล หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน ให้รัชกาลที่เก้าเป็นผู้รับผิดชอบการปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษ ที่มา : เฟซบุ๊ก Chaiyan Chaiyaporn ของ ศาสตราจารย์ ไชยันต์ ไชยพร
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 281 มุมมอง 0 รีวิว
  • แฟนละคร/นิยายจีนคงคุ้นเคยดีกับโครงเรื่องที่มีการชิงอำนาจทางการเมืองด้วยการจัดให้มีการแต่งงานระหว่างตระกูลดังกับเชื้อพระวงศ์ จนเกิดเป็นแรงกดดันมหาศาลให้กับตัวละครเอก บางคนอาจเคยบ่นว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’

    วันนี้ Storyฯ ยกตัวอย่างมาคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจ (เรียกรวมว่า สื้อเจีย / 世家)
    เป็นหนึ่งในตระกูลที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์ตอนต้นและกลางของจีนโบราณก็ว่าได้

    ความมีอยู่ว่า
    ....ตระกูลชุยจากชิงเหอรุ่นนี้ สายหลักของตระกูลมีนางเป็นบุตรีโทนแต่เพียงผู้เดียว ... และตระกูลชุยกำลังรุ่งเรือง นางยังอยู่ในท้องของมารดาก็ได้รับการหมั้นหมายให้กับองค์ชายรัชทายาทแล้ว....
    - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ชิงเหอคือพื้นที่ทางด้านเหนือของจีน (แถบเหอหนาน เหอเป่ยและซานตง) ในสมัยจีนตอนต้นมีสถานะเป็นแคว้นบ้างหรือรองลงมาเป็นจวิ้น (郡) บ้าง ซึ่งนับเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ มีหลายตระกูลดังในประวัติศาตร์จีนที่มาจากพื้นที่แถบนี้ หนึ่งในนั้นคือตระกูลชุย

    ตระกูลชุยมีรากฐานยาวนานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและรวมถึงชาวเผ่าพันธุ์อื่นที่หันมาใช้สกุลนี้ รับราชการในตำแหน่งสำคัญมาหลายยุคสมัย แตกมาเป็นสายที่เรียกว่า ‘ตระกูลชุยจากชิงเหอ’ ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) เมื่อชุยเหลียง (ทายาทรุ่นที่ 7) ได้รับการอวยยศเป็นโหวและได้รับพระราชทานเขตการปกครองชิงเหอนี้ และต่อมาตระกูลชุยจากชิงเหอมีแตกสายย่อยไปอีกรวมเป็นหกสาย

    ตระกูลชุยจากชิงเหอที่กล่าวถึงในละครข้างต้น ‘ไม่ธรรมดา’ แค่ไหน?

    ตระกูลชุยจากชิงเหอรับราชการระดับสูงต่อเนื่อง ผ่านร้อนผ่านหนาวแต่อยู่ยงคงกระพันมากว่า 700 ปี ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ในบรรดาสี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) และในสมัยราชวงศ์ถังก็เป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) อันเป็นตระกูลชั้นสูงที่ต่อมาถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างฐานอำนาจมากเกินไป

    มีคนจากตระกูลชุยจากชิงเหอนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) หรือตำแหน่งที่สูงคล้ายกันมากมายหลายรุ่น เฉพาะในสมัยราชวงศ์ถังที่ยาวนานเกือบสามร้อยปีก็มีถึง 12 คน (ถ้ารวมตระกูลชุยสายอื่นมีอีก 10 คน) มีจอหงวน 11 คน ยังไม่รวมที่รับราชการในตำแหน่งอื่น ที่กุมอำนาจทางการทหาร ที่เป็นผู้นำทางความคิด (นักปราชญ์ กวีชื่อดัง) และที่เป็นลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังในตำแหน่งต่างๆ อีกจำนวนไม่น้อย จวบจนสมัยซ่งใต้ ฐานอำนาจของตระกูลนี้จึงเสื่อมจางลงเหมือนกับตระกูลสื้อเจียอื่นๆ

    ทำไมต้องพูดถึงตระกูลชุยจากชิงเหอ? Storyฯ เล่าเป็นตัวอย่างของเหล่าตระกูลสื้อเจียค่ะ จากที่เคยคิดว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ แต่พอมาเห็นรากฐานของตระกูลสื้อเจียเหล่านี้ เราจะได้อรรถรสเลยว่า ‘ฐานอำนาจ’ ที่เขาพูดถึงกันนั้น มันหยั่งรากลึกแค่ไหน? เหตุใดตัวละครเอกมักรู้สึกถูกกดดันมากมาย? และเพราะเหตุใดมันจึงฝังรากลึกในวัฒนธรรมจีนโบราณ? เพราะมันไม่ใช่เรื่องของหนึ่งหรือสองชั่วอายุคน แต่เรากำลังพูดถึงฐานอำนาจหลายร้อยปีที่แทรกซึมเข้าไปในสังคมโดยมีประมุขใหญ่ของตระกูลในแต่ละรุ่นเป็นแกนนำสำคัญ

    Storyฯ หวังว่าเพื่อนๆ จะดูละครได้อรรถรสยิ่งขึ้นนะคะ ใครเห็นบทบาทของคนในตระกูลชุยในละครเรื่องอื่นใดอีกหรือหากนึกถึงตระกูลอื่นที่คล้ายคลึงก็เม้นท์มาได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/484438060_121051662
    https://www.sohu.com/a/485012584_100151502
    https://www.sohu.com/a/489015136_120827444

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/FNSTJKT60543BK4H.html
    https://new.qq.com/omn/20211021/20211021A09WBQ00.html
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_16209361
    https://www.baike.com/wiki/清河崔氏
    https://zh.wikipedia.org/wiki/清河崔氏

    #กระดูกงดงาม #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #สื้อเจีย
    แฟนละคร/นิยายจีนคงคุ้นเคยดีกับโครงเรื่องที่มีการชิงอำนาจทางการเมืองด้วยการจัดให้มีการแต่งงานระหว่างตระกูลดังกับเชื้อพระวงศ์ จนเกิดเป็นแรงกดดันมหาศาลให้กับตัวละครเอก บางคนอาจเคยบ่นว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ วันนี้ Storyฯ ยกตัวอย่างมาคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจ (เรียกรวมว่า สื้อเจีย / 世家) เป็นหนึ่งในตระกูลที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์ตอนต้นและกลางของจีนโบราณก็ว่าได้ ความมีอยู่ว่า ....ตระกูลชุยจากชิงเหอรุ่นนี้ สายหลักของตระกูลมีนางเป็นบุตรีโทนแต่เพียงผู้เดียว ... และตระกูลชุยกำลังรุ่งเรือง นางยังอยู่ในท้องของมารดาก็ได้รับการหมั้นหมายให้กับองค์ชายรัชทายาทแล้ว.... - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) ชิงเหอคือพื้นที่ทางด้านเหนือของจีน (แถบเหอหนาน เหอเป่ยและซานตง) ในสมัยจีนตอนต้นมีสถานะเป็นแคว้นบ้างหรือรองลงมาเป็นจวิ้น (郡) บ้าง ซึ่งนับเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ มีหลายตระกูลดังในประวัติศาตร์จีนที่มาจากพื้นที่แถบนี้ หนึ่งในนั้นคือตระกูลชุย ตระกูลชุยมีรากฐานยาวนานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและรวมถึงชาวเผ่าพันธุ์อื่นที่หันมาใช้สกุลนี้ รับราชการในตำแหน่งสำคัญมาหลายยุคสมัย แตกมาเป็นสายที่เรียกว่า ‘ตระกูลชุยจากชิงเหอ’ ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) เมื่อชุยเหลียง (ทายาทรุ่นที่ 7) ได้รับการอวยยศเป็นโหวและได้รับพระราชทานเขตการปกครองชิงเหอนี้ และต่อมาตระกูลชุยจากชิงเหอมีแตกสายย่อยไปอีกรวมเป็นหกสาย ตระกูลชุยจากชิงเหอที่กล่าวถึงในละครข้างต้น ‘ไม่ธรรมดา’ แค่ไหน? ตระกูลชุยจากชิงเหอรับราชการระดับสูงต่อเนื่อง ผ่านร้อนผ่านหนาวแต่อยู่ยงคงกระพันมากว่า 700 ปี ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ในบรรดาสี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) และในสมัยราชวงศ์ถังก็เป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) อันเป็นตระกูลชั้นสูงที่ต่อมาถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างฐานอำนาจมากเกินไป มีคนจากตระกูลชุยจากชิงเหอนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) หรือตำแหน่งที่สูงคล้ายกันมากมายหลายรุ่น เฉพาะในสมัยราชวงศ์ถังที่ยาวนานเกือบสามร้อยปีก็มีถึง 12 คน (ถ้ารวมตระกูลชุยสายอื่นมีอีก 10 คน) มีจอหงวน 11 คน ยังไม่รวมที่รับราชการในตำแหน่งอื่น ที่กุมอำนาจทางการทหาร ที่เป็นผู้นำทางความคิด (นักปราชญ์ กวีชื่อดัง) และที่เป็นลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังในตำแหน่งต่างๆ อีกจำนวนไม่น้อย จวบจนสมัยซ่งใต้ ฐานอำนาจของตระกูลนี้จึงเสื่อมจางลงเหมือนกับตระกูลสื้อเจียอื่นๆ ทำไมต้องพูดถึงตระกูลชุยจากชิงเหอ? Storyฯ เล่าเป็นตัวอย่างของเหล่าตระกูลสื้อเจียค่ะ จากที่เคยคิดว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ แต่พอมาเห็นรากฐานของตระกูลสื้อเจียเหล่านี้ เราจะได้อรรถรสเลยว่า ‘ฐานอำนาจ’ ที่เขาพูดถึงกันนั้น มันหยั่งรากลึกแค่ไหน? เหตุใดตัวละครเอกมักรู้สึกถูกกดดันมากมาย? และเพราะเหตุใดมันจึงฝังรากลึกในวัฒนธรรมจีนโบราณ? เพราะมันไม่ใช่เรื่องของหนึ่งหรือสองชั่วอายุคน แต่เรากำลังพูดถึงฐานอำนาจหลายร้อยปีที่แทรกซึมเข้าไปในสังคมโดยมีประมุขใหญ่ของตระกูลในแต่ละรุ่นเป็นแกนนำสำคัญ Storyฯ หวังว่าเพื่อนๆ จะดูละครได้อรรถรสยิ่งขึ้นนะคะ ใครเห็นบทบาทของคนในตระกูลชุยในละครเรื่องอื่นใดอีกหรือหากนึกถึงตระกูลอื่นที่คล้ายคลึงก็เม้นท์มาได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/484438060_121051662 https://www.sohu.com/a/485012584_100151502 https://www.sohu.com/a/489015136_120827444 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/FNSTJKT60543BK4H.html https://new.qq.com/omn/20211021/20211021A09WBQ00.html https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_16209361 https://www.baike.com/wiki/清河崔氏 https://zh.wikipedia.org/wiki/清河崔氏 #กระดูกงดงาม #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #สื้อเจีย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 283 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขอเชิญประชาชน เฝ้าฯรับเสด็จ

    สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

    ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานรางวัลการแข่งขันกีฬาสเก็ตลีลา เชียงใหม่
    ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี ๒๕๖๘ รายการ Skate Chiang Mai 2025

    ณ สนามฮอกกี้น้ำแข็งไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล ไอซ์ฮอกกี้ อารีน่า เชียงใหม่

    วันจันทร์ ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘
    เวลา ๑๗.๐๐ น.

    ณ ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวังเชียงใหม่

    ** ผู้ที่ประสงค์จะเข้าเฝ้ารับเสด็จโปรดติดต่อเบอร์ 061-1656168 หรือ 085-0404354
    ** หมายเหตุ แต่งกายสุภาพ
    #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
    ขอเชิญประชาชน เฝ้าฯรับเสด็จ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานรางวัลการแข่งขันกีฬาสเก็ตลีลา เชียงใหม่ ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี ๒๕๖๘ รายการ Skate Chiang Mai 2025 ณ สนามฮอกกี้น้ำแข็งไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล ไอซ์ฮอกกี้ อารีน่า เชียงใหม่ วันจันทร์ ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ เวลา ๑๗.๐๐ น. ณ ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวังเชียงใหม่ ** ผู้ที่ประสงค์จะเข้าเฝ้ารับเสด็จโปรดติดต่อเบอร์ 061-1656168 หรือ 085-0404354 ** หมายเหตุ แต่งกายสุภาพ #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 190 มุมมอง 0 รีวิว
  • “กฎหมายนั้นไม่ใช่ตัวความยุติธรรม เป็นแต่เพียงเครื่องมืออย่างหนึ่ง สำหรับใช้ในการรักษาและอำนวยความยุติธรรมเท่านั้น การใช้กฎหมายจึงต้องมุ่งหมายใช้เพื่อรักษาความยุติธรรมไม่ใช่เพื่อรักษาตัวบทของกฎหมายเอง และการรักษาความยุติธรรมในแผ่นดิน ก็มิได้มีวงแคบอยู่เพียงแค่ขอบเขตของกฎหมาย หากต้องขยายออกไปให้ถึงศีลธรรมจรรยาตลอดจนเหตุและผลตามความเป็นจริงด้วย”

    พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เนื่องในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้วิชาความรู้ชั้นเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ ๓๓ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
    (๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๔)
    “กฎหมายนั้นไม่ใช่ตัวความยุติธรรม เป็นแต่เพียงเครื่องมืออย่างหนึ่ง สำหรับใช้ในการรักษาและอำนวยความยุติธรรมเท่านั้น การใช้กฎหมายจึงต้องมุ่งหมายใช้เพื่อรักษาความยุติธรรมไม่ใช่เพื่อรักษาตัวบทของกฎหมายเอง และการรักษาความยุติธรรมในแผ่นดิน ก็มิได้มีวงแคบอยู่เพียงแค่ขอบเขตของกฎหมาย หากต้องขยายออกไปให้ถึงศีลธรรมจรรยาตลอดจนเหตุและผลตามความเป็นจริงด้วย” พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เนื่องในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้วิชาความรู้ชั้นเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ ๓๓ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร (๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๔)
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 114 มุมมอง 0 รีวิว
  • มุกดาหาร- จัดมหกรรมประกวดควายไทยลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 2 ชิงถ้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์พัฒนาพันธุ์ควายไทย กระตุ้นการท่องเที่ยว ส่งเสริมเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร เผยมีควายไทยจากทั่วประเทศเข้าร่วมงานกว่า 200 ฟาร์ม

    วันนี้(8 ก.พ.)เวลา 11.00 น. ณ ลานข้างไทวัสดุ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน มหกรรมประกวดควายไทยลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 2 พร้อมด้วย นายไกร เอี่ยมจุฬา รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิริยะ ทองผา สส.เขต 1 จังหวัดมุกดาหาร นายวีระพงษ์ ทองผา ว่าที่ นายก อบจ. มุกดาหาร นายกสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาควายไทยฯลฯ การจัดงานครั้งนี้มีเจ้าของฟาร์มควายไทย 200 ฟาร์ม และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมกว่า 500 คน

    นายยิ่งคุณ ประจันทอน ผู้อำนวยการเลี้ยงสัตว์พระราชทาน ( แมน มณีวรรณ นักร้องลูกทุ่ง ) เปิดเผยว่า กระบือหรือควาย เป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่คู่กับเกษตรกรไทยมาอย่างยาวนาน โดยใช้เป็นพาหนะ และใช้แรงงานในการทำการเกษตร แต่ในปัจจุบันการเลี้ยงกระบือได้ลดความสำคัญลง เนื่องจากเกษตรกรนิยมนำเครื่องจักรกลมาใช้ในการทำการเกษตรแทนกระบือ แต่ก็นำมาซึ่งต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้นจึงมีความจำเป็นต้องส่งเสริม อนุรักษ์ และพัฒนาพันธุ์ควายไทย ให้คงอยู่คู่กับสังคมการเกษตรของไทย

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/local/detail/9680000012867

    #MGROnline #มหกรรมประกวดควายไทยลุ่มน้ำโขง
    มุกดาหาร- จัดมหกรรมประกวดควายไทยลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 2 ชิงถ้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์พัฒนาพันธุ์ควายไทย กระตุ้นการท่องเที่ยว ส่งเสริมเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร เผยมีควายไทยจากทั่วประเทศเข้าร่วมงานกว่า 200 ฟาร์ม • วันนี้(8 ก.พ.)เวลา 11.00 น. ณ ลานข้างไทวัสดุ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน มหกรรมประกวดควายไทยลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 2 พร้อมด้วย นายไกร เอี่ยมจุฬา รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิริยะ ทองผา สส.เขต 1 จังหวัดมุกดาหาร นายวีระพงษ์ ทองผา ว่าที่ นายก อบจ. มุกดาหาร นายกสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาควายไทยฯลฯ การจัดงานครั้งนี้มีเจ้าของฟาร์มควายไทย 200 ฟาร์ม และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมกว่า 500 คน • นายยิ่งคุณ ประจันทอน ผู้อำนวยการเลี้ยงสัตว์พระราชทาน ( แมน มณีวรรณ นักร้องลูกทุ่ง ) เปิดเผยว่า กระบือหรือควาย เป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่คู่กับเกษตรกรไทยมาอย่างยาวนาน โดยใช้เป็นพาหนะ และใช้แรงงานในการทำการเกษตร แต่ในปัจจุบันการเลี้ยงกระบือได้ลดความสำคัญลง เนื่องจากเกษตรกรนิยมนำเครื่องจักรกลมาใช้ในการทำการเกษตรแทนกระบือ แต่ก็นำมาซึ่งต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้นจึงมีความจำเป็นต้องส่งเสริม อนุรักษ์ และพัฒนาพันธุ์ควายไทย ให้คงอยู่คู่กับสังคมการเกษตรของไทย • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/local/detail/9680000012867 • #MGROnline #มหกรรมประกวดควายไทยลุ่มน้ำโขง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 251 มุมมอง 0 รีวิว
  • ว่าด้วยเรื่องตีกลองร้องฎีกา

    สวัสดีค่ะ ขออภัยที่หายเงียบไปสองสัปดาห์เพราะ Storyฯ งานเข้าและไม่สบายไปหลายวัน วันนี้ยังคงมีเกร็ดเรื่องเล่าจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> มาคุยกัน เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้คงจำได้ว่ามีฉากหนึ่งที่มู่ปา น้องสาวของนางเอกเข้าเมืองหลวงมาตีกลองร้องฎีกาและต้องถูกโบยสามสิบพลองเพราะตีกลองนั้น

    และหากเพื่อนเพจได้ดูละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ก็จะเคยเห็นฉากที่นางเอกตีกลองร้องฎีกาแล้วต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเช่นกัน แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกก็เคยตีกลองร้องฎีกาแต่ไม่ต้องถูกโบย ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นราชวงศ์สมมุติที่อิงจากสมัยถัง

    เรื่องการถูกโบยก่อนได้ร้องทุกข์จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ในวันนี้

    ในสมัยโบราณ ชาวบ้านต้องการร้องทุกข์ก็จะไปดักรอขบวนเสด็จ แต่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน และเพื่อแสดงความห่วงใยในประชาชนของกษัตริย์ จึงมีการกำหนดจุดร้องฎีกาขึ้นเพื่อให้มีขั้นตอนที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ไม่เพียงเพื่อให้ประชาชนร้องทุกข์ แต่เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนออกความเห็นในเรื่องต่างๆ ได้อีกด้วย

    จากบันทึกโจวหลี่ การตีกลองร้องทุกข์มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว (1046 - 256 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีการวางกลองไว้ข้างถนน มีทหารเวรยามดูแล เมื่อมีคนมาตีกลอง ทหารต้องรายงานเบื้องบนจนถึงพระกรรณ

    นอกจากนี้ ยังมีการร้องทุกข์ด้วยการไปยืนอย่างเงียบๆ ข้างหินสีแดงสูงประมาณ 8-9 ฟุต เรียกว่า ‘หินเฟ่ยสือ’ (肺石 แปลตรงตัวว่า ปอดที่ทำจากหิน) สำหรับคนที่ต้องการร้องทุกข์แบบไม่โพนทะนา ยืนสามวัน ทหารที่เฝ้าอยู่ก็จะพาตัวไปรับเรื่องอย่างเงียบๆ

    มีการใช้ระบบร้องทุกข์ทั้งสองแบบนี้ต่อเนื่องกันมาโดยกำหนดสถานที่และหน่วยงานผู้ดูแลแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย และในสมัยถังได้มีการพัฒนาระบบการร้องทุกข์อย่างเข้มข้น มีการแยกกลองร้องทุกข์ออกมาเป็นสองแบบ กลองร้องฎีกาต่อฮ่องเต้เรียกว่ากลอง ‘เติงเหวินกู่’ (登闻鼓 แปลตรงตัวได้ประมาณว่ากลองที่เสียงดังไปถึงราชบัลลังก์ในท้องพระโรง) แตกต่างจากกลองร้องทุกข์ทั่วไปที่ชาวบ้านในตีหน้าศาลหรือหน้าสถานที่ว่าการท้องถิ่นที่เรียกว่า ‘หมิงเยวียนกู่’ (鸣冤鼓)

    มีการบันทึกว่าในสมัยถังนั้น มีการตั้งกลองเติงเหวินกู่และหินเฟ่ยสือที่หน้าประตูอาคารนอกท้องพระโรง และมีทหารยามเฝ้าเพื่อคอยรับเรื่อง (แต่ไม่ได้บอกว่ายังต้องยืนข้างหินเฟ่ยสือนานถึงสามวันหรือไม่) ต่อมาในสมัยจักรพรรดินีบูเช็กเทียนยกเลิกการเฝ้าโดยทหาร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความกลัว และให้มีเจ้าหน้าที่หน่วยตรวจสอบขุนนางหรือที่เรียกว่า ‘อวี้สื่อไถ’ (御史台) มารับคำร้องโดยตรง

    ในยุคสมัยต่อมายังคงมีการใช้กลองเติงเหวินกู่ แต่นานวันเข้า เรื่องที่ได้รับการร้องทุกข์ผ่านการตีกลองเติงเหวินกู่ดูจะพร่ำเพรื่อขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้เป็นเรื่องร้องเรียนขุนนางระดับสูงหรือเรื่องระดับชาติบ้านเมือง จนทำให้ฮ่องเต้ต้องทรงหมดเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ในสมัยซ่งมีคดีร้องทุกข์ที่โด่งดังจนถูกจารึกไว้ในสมัยองค์ซ่งไท่จงว่า มีชาวบ้านมาตีกลองร้องฎีกาตามหาหมูที่หายไป จึงทรงพระราชทานเงินให้เป็นการชดเชย เป็นเรื่องเล่าที่แสดงถึงความ ‘เข้าถึง’ และความใส่พระทัยองค์ฮ่องเต้ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความยิบย่อยของเรื่องที่มีการร้องฏีกา

    ในรัชสมัยต่อมาในราชวงศ์ซ่งจึงมีการพัฒนาระบบการร้องฎีกายิ่งขึ้น โดยกำหนดที่ตั้งกลองเติงเหวินกู่ไว้สามจุด ต่อมายุบเหลือสองจุด โดยมีหน่วยงานที่ดูแลแต่ละจุดและกลั่นกรองเรื่องต่างกัน

    ต่อมาในยุคหมิงและชิงยิ่งมีข้อกำหนดที่เข้มข้นมากขึ้นเกี่ยวกับการตีกลองเติงเหวินกู่ โดยกำหนดให้ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทหารและการบริหารบ้านเมืองที่สำคัญ การทุจริตในระดับสูง หรือเรื่องที่ได้รับความไม่เป็นธรรมอย่างผิดแปลกมากเท่านั้น และในสมัยชิงนี่เองที่มีการกำหนดไว้ว่า ผู้ที่ตีกลองเติงเหวินกู่นั้น ต้องถูกโบยสามสิบพลองก่อน จึงจะยื่นฎีกาได้

    เมื่อกลองเติงเหวินกู่ดัง องค์ราชันมิอาจเพิกเฉย

    เนื่องด้วยเป็นเรื่องที่รู้ถึงพระเนตรพระกรรณ องค์ฮ่องเต้จึงทรงสามารถเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนของหน่วยงานต่างๆ หรือทรงไต่สวนด้วยองค์เองก็ย่อมได้ และท้ายสุดจะทรงเป็นผู้ตัดสินคดีเอง แต่ในความเป็นจริงนั้นกระบวนการร้องฎีกานี้มีการรับเรื่องและตรวจสอบผ่านหน่วยงานต่างๆ ตามขั้นตอน ดังนั้น หนทางสู่การได้รับความยุติธรรมของผู้ที่ร้องทุกข์ก็ไม่ได้ง่ายหรือตรงไปตรงมาอย่างที่เราเห็นในละคร

    แต่ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ชาวบ้านยังสามารถตีกลองร้องทุกข์ปกติหน้าที่ว่าการอำเภอหรือหน้าศาลได้ โดยมีบทกำหนดขั้นตอนและเนื้อหาของเรื่องที่ร้องเรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุและชนชั้นของผู้ที่ต้องการร้องทุกข์อีกด้วย อีกทั้งยังมีบทลงโทษรุนแรงสำหรับผู้ที่ร้องเรียนด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ

    สรุปได้ว่า ในบริบทของสมัยถังนั้น Stoyฯ ไม่พบข้อมูลว่ามีการโบยผู้ตีกลองร้องฏีกาแต่อย่างใด

    ส่วนในสมัยซ่งซึ่งเป็นฉากหลังของละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> และ <ตำนานหมิงหลัน> นั้น Storyฯ อ่านพบบทวิเคราะห์ว่า ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> นั้น นางเอกตีกลองร้องทุกข์ว่าถูกผู้ชายหลอกว่าจะแต่งงานด้วยและพยายามหลอกเงิน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างชัดเจน (คือยังไม่ได้แต่งงานและเงินก็ไม่ได้ถูกเอาไป) อีกทั้งนางเป็นบุตรีของขุนนางที่เคยต้องโทษ จึงต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้กล่าวหาเท็จ แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกไม่ต้องถูกโบยเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับราชสำนักโดยตรงและเป็นการร้องเรียนโดยตัวนางเอกซึ่งมียศสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Storyฯ หาไม่พบข้อมูลอื่นที่มายืนยันว่าในสมัยซ่งมีการโบยผู้ตีกลองร้องฎีกาจริงๆ หากท่านใดเคยผ่านตาผ่านหูมาก็บอกกล่าวกันได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.wpzysq.com/thread-137854.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/登闻鼓/9859346
    https://baike.baidu.com/item/肺石/5742166
    https://www.bj148.org/wh/bl/zh/201907/t20190718_1521655.html
    https://www.163.com/dy/article/GB17LQI20543L1MM.html
    https://www.gugong.net/wenhua/39062.html
    https://www.youtube.com/watch?v=O06IQj2yGKk

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ตำนานหมิงหลัน #สามบุปผาลิขิตฝัน #กระบวนการร้องทุกข์ #ตีกลองร้องทุกข์
    ว่าด้วยเรื่องตีกลองร้องฎีกา สวัสดีค่ะ ขออภัยที่หายเงียบไปสองสัปดาห์เพราะ Storyฯ งานเข้าและไม่สบายไปหลายวัน วันนี้ยังคงมีเกร็ดเรื่องเล่าจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> มาคุยกัน เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้คงจำได้ว่ามีฉากหนึ่งที่มู่ปา น้องสาวของนางเอกเข้าเมืองหลวงมาตีกลองร้องฎีกาและต้องถูกโบยสามสิบพลองเพราะตีกลองนั้น และหากเพื่อนเพจได้ดูละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ก็จะเคยเห็นฉากที่นางเอกตีกลองร้องฎีกาแล้วต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเช่นกัน แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกก็เคยตีกลองร้องฎีกาแต่ไม่ต้องถูกโบย ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นราชวงศ์สมมุติที่อิงจากสมัยถัง เรื่องการถูกโบยก่อนได้ร้องทุกข์จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ในวันนี้ ในสมัยโบราณ ชาวบ้านต้องการร้องทุกข์ก็จะไปดักรอขบวนเสด็จ แต่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน และเพื่อแสดงความห่วงใยในประชาชนของกษัตริย์ จึงมีการกำหนดจุดร้องฎีกาขึ้นเพื่อให้มีขั้นตอนที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ไม่เพียงเพื่อให้ประชาชนร้องทุกข์ แต่เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนออกความเห็นในเรื่องต่างๆ ได้อีกด้วย จากบันทึกโจวหลี่ การตีกลองร้องทุกข์มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว (1046 - 256 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีการวางกลองไว้ข้างถนน มีทหารเวรยามดูแล เมื่อมีคนมาตีกลอง ทหารต้องรายงานเบื้องบนจนถึงพระกรรณ นอกจากนี้ ยังมีการร้องทุกข์ด้วยการไปยืนอย่างเงียบๆ ข้างหินสีแดงสูงประมาณ 8-9 ฟุต เรียกว่า ‘หินเฟ่ยสือ’ (肺石 แปลตรงตัวว่า ปอดที่ทำจากหิน) สำหรับคนที่ต้องการร้องทุกข์แบบไม่โพนทะนา ยืนสามวัน ทหารที่เฝ้าอยู่ก็จะพาตัวไปรับเรื่องอย่างเงียบๆ มีการใช้ระบบร้องทุกข์ทั้งสองแบบนี้ต่อเนื่องกันมาโดยกำหนดสถานที่และหน่วยงานผู้ดูแลแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย และในสมัยถังได้มีการพัฒนาระบบการร้องทุกข์อย่างเข้มข้น มีการแยกกลองร้องทุกข์ออกมาเป็นสองแบบ กลองร้องฎีกาต่อฮ่องเต้เรียกว่ากลอง ‘เติงเหวินกู่’ (登闻鼓 แปลตรงตัวได้ประมาณว่ากลองที่เสียงดังไปถึงราชบัลลังก์ในท้องพระโรง) แตกต่างจากกลองร้องทุกข์ทั่วไปที่ชาวบ้านในตีหน้าศาลหรือหน้าสถานที่ว่าการท้องถิ่นที่เรียกว่า ‘หมิงเยวียนกู่’ (鸣冤鼓) มีการบันทึกว่าในสมัยถังนั้น มีการตั้งกลองเติงเหวินกู่และหินเฟ่ยสือที่หน้าประตูอาคารนอกท้องพระโรง และมีทหารยามเฝ้าเพื่อคอยรับเรื่อง (แต่ไม่ได้บอกว่ายังต้องยืนข้างหินเฟ่ยสือนานถึงสามวันหรือไม่) ต่อมาในสมัยจักรพรรดินีบูเช็กเทียนยกเลิกการเฝ้าโดยทหาร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความกลัว และให้มีเจ้าหน้าที่หน่วยตรวจสอบขุนนางหรือที่เรียกว่า ‘อวี้สื่อไถ’ (御史台) มารับคำร้องโดยตรง ในยุคสมัยต่อมายังคงมีการใช้กลองเติงเหวินกู่ แต่นานวันเข้า เรื่องที่ได้รับการร้องทุกข์ผ่านการตีกลองเติงเหวินกู่ดูจะพร่ำเพรื่อขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้เป็นเรื่องร้องเรียนขุนนางระดับสูงหรือเรื่องระดับชาติบ้านเมือง จนทำให้ฮ่องเต้ต้องทรงหมดเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ในสมัยซ่งมีคดีร้องทุกข์ที่โด่งดังจนถูกจารึกไว้ในสมัยองค์ซ่งไท่จงว่า มีชาวบ้านมาตีกลองร้องฎีกาตามหาหมูที่หายไป จึงทรงพระราชทานเงินให้เป็นการชดเชย เป็นเรื่องเล่าที่แสดงถึงความ ‘เข้าถึง’ และความใส่พระทัยองค์ฮ่องเต้ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความยิบย่อยของเรื่องที่มีการร้องฏีกา ในรัชสมัยต่อมาในราชวงศ์ซ่งจึงมีการพัฒนาระบบการร้องฎีกายิ่งขึ้น โดยกำหนดที่ตั้งกลองเติงเหวินกู่ไว้สามจุด ต่อมายุบเหลือสองจุด โดยมีหน่วยงานที่ดูแลแต่ละจุดและกลั่นกรองเรื่องต่างกัน ต่อมาในยุคหมิงและชิงยิ่งมีข้อกำหนดที่เข้มข้นมากขึ้นเกี่ยวกับการตีกลองเติงเหวินกู่ โดยกำหนดให้ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทหารและการบริหารบ้านเมืองที่สำคัญ การทุจริตในระดับสูง หรือเรื่องที่ได้รับความไม่เป็นธรรมอย่างผิดแปลกมากเท่านั้น และในสมัยชิงนี่เองที่มีการกำหนดไว้ว่า ผู้ที่ตีกลองเติงเหวินกู่นั้น ต้องถูกโบยสามสิบพลองก่อน จึงจะยื่นฎีกาได้ เมื่อกลองเติงเหวินกู่ดัง องค์ราชันมิอาจเพิกเฉย เนื่องด้วยเป็นเรื่องที่รู้ถึงพระเนตรพระกรรณ องค์ฮ่องเต้จึงทรงสามารถเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนของหน่วยงานต่างๆ หรือทรงไต่สวนด้วยองค์เองก็ย่อมได้ และท้ายสุดจะทรงเป็นผู้ตัดสินคดีเอง แต่ในความเป็นจริงนั้นกระบวนการร้องฎีกานี้มีการรับเรื่องและตรวจสอบผ่านหน่วยงานต่างๆ ตามขั้นตอน ดังนั้น หนทางสู่การได้รับความยุติธรรมของผู้ที่ร้องทุกข์ก็ไม่ได้ง่ายหรือตรงไปตรงมาอย่างที่เราเห็นในละคร แต่ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ชาวบ้านยังสามารถตีกลองร้องทุกข์ปกติหน้าที่ว่าการอำเภอหรือหน้าศาลได้ โดยมีบทกำหนดขั้นตอนและเนื้อหาของเรื่องที่ร้องเรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุและชนชั้นของผู้ที่ต้องการร้องทุกข์อีกด้วย อีกทั้งยังมีบทลงโทษรุนแรงสำหรับผู้ที่ร้องเรียนด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ สรุปได้ว่า ในบริบทของสมัยถังนั้น Stoyฯ ไม่พบข้อมูลว่ามีการโบยผู้ตีกลองร้องฏีกาแต่อย่างใด ส่วนในสมัยซ่งซึ่งเป็นฉากหลังของละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> และ <ตำนานหมิงหลัน> นั้น Storyฯ อ่านพบบทวิเคราะห์ว่า ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> นั้น นางเอกตีกลองร้องทุกข์ว่าถูกผู้ชายหลอกว่าจะแต่งงานด้วยและพยายามหลอกเงิน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างชัดเจน (คือยังไม่ได้แต่งงานและเงินก็ไม่ได้ถูกเอาไป) อีกทั้งนางเป็นบุตรีของขุนนางที่เคยต้องโทษ จึงต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้กล่าวหาเท็จ แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกไม่ต้องถูกโบยเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับราชสำนักโดยตรงและเป็นการร้องเรียนโดยตัวนางเอกซึ่งมียศสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Storyฯ หาไม่พบข้อมูลอื่นที่มายืนยันว่าในสมัยซ่งมีการโบยผู้ตีกลองร้องฎีกาจริงๆ หากท่านใดเคยผ่านตาผ่านหูมาก็บอกกล่าวกันได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.wpzysq.com/thread-137854.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/登闻鼓/9859346 https://baike.baidu.com/item/肺石/5742166 https://www.bj148.org/wh/bl/zh/201907/t20190718_1521655.html https://www.163.com/dy/article/GB17LQI20543L1MM.html https://www.gugong.net/wenhua/39062.html https://www.youtube.com/watch?v=O06IQj2yGKk #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ตำนานหมิงหลัน #สามบุปผาลิขิตฝัน #กระบวนการร้องทุกข์ #ตีกลองร้องทุกข์
    WWW.WPZYSQ.COM
    灼灼风流4K[全40集]古装/爱情/2023-4K专区-网盘资源社
    灼灼风流4K[全40集]古装/爱情/2023的网盘资源剧集简介该剧改编自随宇而安的小说《曾风流》。反抗传统婚姻制度、一心考取功名的事业脑女官慕灼华(景甜饰)与沙场沐血折戟、背负国仇家恨的美强惨战神刘衍(冯绍峰饰)彼此救赎、相知相爱,携手攘外安内、守卫国家,终成一代风流人物的故事。[ttreply]2023.灼灼风流4K
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 432 มุมมอง 0 รีวิว
  • 5/2/68

    โรงเรียนพระดาบส
    รับสมัครศิษย์พระดาบส
    รุ่นที่ 48 สำหรับปีการศึกษา 2568
    เปิดรับตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2567 - 21 มีนาคม 2568

    คุณสมบัติของผู้สมัคร ชายและหญิง อายุระหว่าง 18 - 35 ปี

    หลักสูตร 1 ปี ใน 9 หลักสูตร

    • ช่างไฟฟ้า

    ช่างอิเล็กทรอนิกส์

    ช่างยนต์

    ช่างซ่อมบำรุง

    ช่างเชื่อม

    ช่างไม้เครื่องเรือนและช่างสี

    • เคหบริบาล

    • การเกษตรพอเพียง

    ช่างก่อสร้าง

    สามารถดาวน์โหลด
    ใบสมัครได้ที่นี่
    สามารถสมัคร
    เรียนออนไลน์ได้ที่นี่

    เรียนฟรี
    ในระหว่างการศึกษา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นโดยจะได้รับพระราชทาน
    พระมหากรุณาธิคุณเป็นทุนการศึกษา ที่รวมถึงค่าเล่าเรียน อุปกรณ์การเรียน อาหารและที่พักอาศัย

    เปิดรับสมัคย วันจันทร์ - ศุกย์ (ยกเว้นวันหยุดขายการและนักขัตฤกษ์)
    เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ณ โรงเรียนพระดาบสสามารถสมครด้วยตัวเองหรือสแกน OR Gode เพื่อนดาวน์โหลดใบสมัคร
    📞0-2282-7000
    5/2/68 โรงเรียนพระดาบส รับสมัครศิษย์พระดาบส รุ่นที่ 48 สำหรับปีการศึกษา 2568 เปิดรับตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2567 - 21 มีนาคม 2568 คุณสมบัติของผู้สมัคร ชายและหญิง อายุระหว่าง 18 - 35 ปี หลักสูตร 1 ปี ใน 9 หลักสูตร • ช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างยนต์ ช่างซ่อมบำรุง ช่างเชื่อม ช่างไม้เครื่องเรือนและช่างสี • เคหบริบาล • การเกษตรพอเพียง ช่างก่อสร้าง สามารถดาวน์โหลด ใบสมัครได้ที่นี่ สามารถสมัคร เรียนออนไลน์ได้ที่นี่ เรียนฟรี ในระหว่างการศึกษา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นโดยจะได้รับพระราชทาน พระมหากรุณาธิคุณเป็นทุนการศึกษา ที่รวมถึงค่าเล่าเรียน อุปกรณ์การเรียน อาหารและที่พักอาศัย เปิดรับสมัคย วันจันทร์ - ศุกย์ (ยกเว้นวันหยุดขายการและนักขัตฤกษ์) เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ณ โรงเรียนพระดาบสสามารถสมครด้วยตัวเองหรือสแกน OR Gode เพื่อนดาวน์โหลดใบสมัคร 📞0-2282-7000
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 196 มุมมอง 0 รีวิว
  • เหรียญหลวงพ่อสงค์ วัดคงคาวดี วัดปากบาง จ.สงขลา ปี2540
    เหรียญหลวงพ่อสงค์ เนื้อฝาบาตร วัดคงคาวดี วัดปากบาง ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จ.สงขลา ปี2540 //หลวงพ่อสงค์ เกจิอาจารย์ ยุคเก่าที่มีประสบการณ์เด่นมากๆในเรื่องมหาอุด หยุดปืน เป็นที่โจษขานกันมาก // พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากกครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** มหาอุด หยุดปืน หนังเหนียว ฟันไม่เข้า แคล้วคลาด คงกระพัน เมตตามหานิยม ไม่เกรงภยันตรายทั้งปวง !!

    ** วัดคงคาวดี เดิมเรียกว่า “วัดปากบางภูมี” มีหลวงปู่สงค์ ศรีสุวรรณโณ ผู้มีชื่อเสียงในด้านคงกระพันชาตรีและเมตตามหานิยมเป็นเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เคารพของชาวบ้าน วัดคงคาวดีได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ >>

    ** พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131

    เหรียญหลวงพ่อสงค์ วัดคงคาวดี วัดปากบาง จ.สงขลา ปี2540 เหรียญหลวงพ่อสงค์ เนื้อฝาบาตร วัดคงคาวดี วัดปากบาง ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จ.สงขลา ปี2540 //หลวงพ่อสงค์ เกจิอาจารย์ ยุคเก่าที่มีประสบการณ์เด่นมากๆในเรื่องมหาอุด หยุดปืน เป็นที่โจษขานกันมาก // พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากกครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** มหาอุด หยุดปืน หนังเหนียว ฟันไม่เข้า แคล้วคลาด คงกระพัน เมตตามหานิยม ไม่เกรงภยันตรายทั้งปวง !! ** วัดคงคาวดี เดิมเรียกว่า “วัดปากบางภูมี” มีหลวงปู่สงค์ ศรีสุวรรณโณ ผู้มีชื่อเสียงในด้านคงกระพันชาตรีและเมตตามหานิยมเป็นเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เคารพของชาวบ้าน วัดคงคาวดีได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ >> ** พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 170 มุมมอง 0 รีวิว
  • วัดอรุณฯ ศาสนสถานงานศิลป์ชั้นเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    หากเอ่ยถึง วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร (Wat Arun Ratchawararam Ratchawaramahawihan) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า วัดอรุณฯ เราเชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักเป็นอย่างดี เพราะเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน แถมยังตั้งเด่นเป็นสง่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา จนกลายเป็นสัญลักษณ์ความสวยงามที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลก อีกทั้งยังเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามประเมินค่าไม่ได้ โดยมีคติความเชื่อที่ว่า หากได้ไปไหว้พระวัดอรุณฯ ชีวิตจะรุ่งโรจน์ทุกคืนวัน วันนี้เราเลยถือโอกาสพาเพื่อน ๆ ไปท่องเที่ยวพร้อมทำความรู้จักกับวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ให้มากขึ้นกัน

    และด้วยวัดอรุณฯเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม โดดเด่นด้วยพระปรางค์สีทองที่สูงตระหง่าน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวไทยและชาวต่างชาติมากมาย จึงมีมักมีผู้ศรัทธามาวัดอรุณเพื่อสักการะพระปรางค์ ไหว้พระ และขอพร พิธีการขอพรที่พบเห็นโดยทั่วไปคือจะจุดธูป เทียน และดอกไม้ ไหว้พระประธานในพระอุโบสถ แล้วเดินรอบพระปรางค์ บ้างก็สวดเทวะมันตรา และตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพศรัทธา เชื่อกันว่าการขอพรที่วัดอรุณฯจะทำให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา

    ประวัติวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร

    วัดอรุณฯ เป็นวัดโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แรกเรียกว่า วัดมะกอก มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระเจ้าตาก (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ทรงนำกองทัพมาเพื่อเลือกชัยภูมิในการสร้างราชธานีใหม่ พระองค์เสด็จฯ ถึงวัดมะกอกในเวลารุ่งแจ้ง เมื่อทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี จึงทรงปฏิสังขรณ์พระอารามแห่งนี้ และสถาปนาเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า วัดแจ้ง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ซึ่งอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์

    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ทรงสถาปนาพระอุโบสถและพระวิหารหลังใหม่ พร้อมทั้งอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จพระองค์ก็เสด็จสวรรคต หลังจากนั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) จึงทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดอรุณราชธาราม ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดอรุณราชวราราม

    วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 66 ตอนที่ 64 วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 และประกาศระวางแนวเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 72 ตอนที่ 14 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498

    วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ไหน?

    วัดอรุณฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร หมายถึงพระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ ตั้งอยู่ที่แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี ทั้งยังอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวังเดิม
    ที่ตั้ง : เลขที่ 34 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
    วัดอรุณฯ ศาสนสถานงานศิลป์ชั้นเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หากเอ่ยถึง วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร (Wat Arun Ratchawararam Ratchawaramahawihan) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า วัดอรุณฯ เราเชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักเป็นอย่างดี เพราะเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน แถมยังตั้งเด่นเป็นสง่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา จนกลายเป็นสัญลักษณ์ความสวยงามที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลก อีกทั้งยังเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามประเมินค่าไม่ได้ โดยมีคติความเชื่อที่ว่า หากได้ไปไหว้พระวัดอรุณฯ ชีวิตจะรุ่งโรจน์ทุกคืนวัน วันนี้เราเลยถือโอกาสพาเพื่อน ๆ ไปท่องเที่ยวพร้อมทำความรู้จักกับวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ให้มากขึ้นกัน และด้วยวัดอรุณฯเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม โดดเด่นด้วยพระปรางค์สีทองที่สูงตระหง่าน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวไทยและชาวต่างชาติมากมาย จึงมีมักมีผู้ศรัทธามาวัดอรุณเพื่อสักการะพระปรางค์ ไหว้พระ และขอพร พิธีการขอพรที่พบเห็นโดยทั่วไปคือจะจุดธูป เทียน และดอกไม้ ไหว้พระประธานในพระอุโบสถ แล้วเดินรอบพระปรางค์ บ้างก็สวดเทวะมันตรา และตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพศรัทธา เชื่อกันว่าการขอพรที่วัดอรุณฯจะทำให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา ประวัติวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร วัดอรุณฯ เป็นวัดโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แรกเรียกว่า วัดมะกอก มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระเจ้าตาก (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ทรงนำกองทัพมาเพื่อเลือกชัยภูมิในการสร้างราชธานีใหม่ พระองค์เสด็จฯ ถึงวัดมะกอกในเวลารุ่งแจ้ง เมื่อทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี จึงทรงปฏิสังขรณ์พระอารามแห่งนี้ และสถาปนาเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า วัดแจ้ง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ซึ่งอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ทรงสถาปนาพระอุโบสถและพระวิหารหลังใหม่ พร้อมทั้งอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จพระองค์ก็เสด็จสวรรคต หลังจากนั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) จึงทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดอรุณราชธาราม ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดอรุณราชวราราม วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 66 ตอนที่ 64 วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 และประกาศระวางแนวเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 72 ตอนที่ 14 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ไหน? วัดอรุณฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร หมายถึงพระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ ตั้งอยู่ที่แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี ทั้งยังอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวังเดิม ที่ตั้ง : เลขที่ 34 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 355 มุมมอง 0 รีวิว
  • 7 ปี สิ้นเชลยศึกชาวไทย “พันเอกชัยชาญ หาญนาวี” วีรบุรุษทหารรบพิเศษไทย ในสงครามเวียดนาม ที่อเมริกายกย่องเชิดชู

    📅 ย้อนไปเมื่อ 7 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 ถือเป็นวันที่ประเทศไทย สูญเสียบุคคลสำคัญคนหนึ่ง ที่มีประวัติอันน่าจดจำ และเป็นที่เคารพในหมู่ทหารอเมริกัน ผู้ชายคนนั้นคือ “พันเอกชัยชาญ หาญนาวี” ทหารรบพิเศษไทย ที่ถูกจับเป็นเชลยศึกในสงครามเวียดนาม นานถึง 9 ปี 4 เดือน 8 วัน และได้รับการเชิดชูเกียรติ จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ด้วยเหรียญกล้าหาญ Silver Star และ Legion of Merit 🏅

    แม้ว่าหลายคนในไทย อาจไม่คุ้นชื่อของพันเอกชัยชาญ แต่สำหรับทหารอเมริกันในยุคนั้น ชัยชาญคือวีรบุรุษที่ช่วยชีวิตเชลยศึกสหรัฐฯ มากมาย แม้ต้องเผชิญกับการทรมาน อันโหดร้ายในเรือนจำ "ฮานอยฮิลตัน" (Hỏa Lò Prison) ในกรุงฮานอย ประเทศเวียดนามเหนือ 🇹🇭🇺🇸

    👦 จากชาวอยุธยา สู่ทหารรบพิเศษไทย 🔴
    พันเอกชัยชาญ หาญนาวี เกิดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเข้ารับราชการทหาร ในหน่วยกองรบพิเศษที่ 1 ค่ายวชิราลงกรณ์ จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นหน่วยที่ฝึกอบรมทหารไทย ให้สามารถปฏิบัติภารกิจพิเศษ ร่วมกับกองทัพสหรัฐฯ

    ด้วยทักษะที่โดดเด่น ชัยชาญถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจ ที่ประเทศลาว ในช่วงสงครามเวียดนาม ทำหน้าที่เป็นพลวิทยุ ให้กับหน่วยรบพิเศษไทย-อเมริกัน

    ✈️ ภารกิจที่ผิดพลาด นำไปสู่การเป็นเชลยศึก
    📅 วันที่ 21 พฤษภาคม 2508 เป็นวันหยุด ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของพันเอกชัยชาญ ไปตลอดกาล เมื่อถูกชวนขึ้นเครื่องบินของ Air America (สายการบินลับของ CIA) เพื่อไปทำหน้าที่เป็น Spotter หรือผู้ระบุตำแหน่งข้าศึก

    ขณะที่เครื่องบินกำลังบินจากเชียงลม แขวงไชยะบุรี ประเทศลาว เพื่อส่งเสบียงให้ฐานปฏิบัติการ เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เครื่องถูกยิงตกกลางป่า ทหารอมริกันเสียชีวิตทั้งหมดทันที พันเอกชัยชาญและนักบินรอดชีวิต และพยายามหลบหนี แต่สุดท้ายถูกจับกุม โดยกองทัพเวียดนามเหนือ

    ชัยชาญถูกส่งไปยังค่ายเชลย ที่มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์เรื่อง "แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู" ที่ซึ่งการทรมานนักโทษ ถือเป็นเรื่องปกติ...

    🏚️ จากเดียนเบียนฟู สู่ฮานอยฮิลตัน ⚠️
    หลังจากถูกขังอยู่ที่เดียนเบียนฟู นานเกือบ 3 ปี ชัยชาญถูกย้ายไปยังเรือนจำ "ฮานอยฮิลตัน" (Hỏa Lò Prison) ซึ่งเป็นคุกที่เลื่องชื่อ ในหมู่เชลยศึกอเมริกัน

    📌 ที่นี่ชัยชาญถูกขังเดี่ยว 5 ปี ถูกซ้อมทรมานเป็นประจำ ถูกมัดติดขื่อไม้ และต้องนอนเกลือกกลั้ว อยู่กับอุจจาระ และปัสสาวะของตัวเอง ได้รับอนุญาตให้อาบน้ำ เพียงเดือนละครั้ง 😞

    🔥 แต่ถึงจะถูกทรมานแค่ไหน ชัยชาญก็ยังไม่ละทิ้งศักดิ์ศรี ของทหารไทย

    🔑 Tap Code สื่อสารลับช่วยเชลยศึกอเมริกัน
    หนึ่งในวีรกรรมสำคัญ ของพันเอกชัยชาญคือ การใช้รหัสเคาะกำแพง (Tap Code) เพื่อส่งข้อมูลให้เชลยศึกอเมริกัน 🛑🔨

    🔹 Tap Code คืออะไร?
    เป็นรหัสลับที่เชลยศึกอเมริกัน พัฒนาเพื่อใช้สื่อสารกัน โดยการเคาะกำแพง ตามจังหวะที่กำหนด เพื่อแทนตัวอักษร คล้ายกับรหัสมอร์ส หรือรหัสแตะ สามารถส่งได้หลายวิธี และในสภาพแวดล้อม ที่ยากลำบาก

    รหัสเคาะเป็นวิธีง่ายๆ ในการเข้ารหัสข้อความ ข้อความจะถูกส่ง โดยการแปลตัวอักษรเป็นเสียงเคาะ ซึ่งนักโทษในเวียดนามใช้รหัสนี้ และบางครั้งเรียกว่ารหัสเคาะหรือรหัสสมิทตี้ รหัสนี้ใช้สี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5x5 เพื่อกำหนดตัวเลขสองตัว (แถวและคอลัมน์) ให้กับตัวอักษรแต่ละตัว จากนั้นผู้ส่งจะเคาะหลายครั้งตามจำนวนตัวเลขแต่ละตัว และหยุดชั่วคราวระหว่างตัวเลข

    🔹 ชัยชาญใช้รหัสเคาะอย่างไร?
    ชัยชาญเรียนรู้รหัสนี้ จากเชลยเวียดนามใต้ และใช้ส่งข้อความให้ทหารอเมริกัน แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับแผนการทรมาน และให้กำลังใจเพื่อนเชลย

    ☠️ ถ้าถูกจับได้ อาจต้องจบชีวิตทันที แต่ชัยชาญยอมเสี่ยง เพื่อช่วยเหลือเพื่อนเชลย

    หนึ่งในเชลยศึก ที่ได้รับความช่วยเหลือจากชัยชาญคือ "จอห์น แมกเคน" (John McCain) นักบินรบของกองทัพเรือสหรัฐฯ และผู้สมัครชิงตำแหน่ง ประธานาธิบดีสหรัฐอมเริกา ในเวลาต่อมา 🇺🇸

    🏅 เกียรติยศสูงสุด จากกองทัพสหรัฐฯ
    📅 หลังจากถูกกักขัง ยาวนานกว่า 9 ปี พันเอกชัยชาญได้รับการปล่อยตัว ในปี 2517 จากการเจรจาระหว่างไทย-สหรัฐฯ และเวียดนามเหนือ

    💔 แต่เมื่อกลับมาถึงมาตุภูมิ ชัยชาญพบว่า ภรรยาแต่งงานใหม่ไปแล้ว ซึ่งตอนกลับมาได้รับพระราชทาน ยศชั้นนายพันแล้ว เพราะกองทัพไทยคิดว่า คงหายสาบสูญไป ในสงครามแล้ว แต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ได้กลับมารับราชการเหมือนเดิม ไม่มีใครกล้าถอดยศพระราชทาน

    แม้ว่าชีวิตส่วนตัวจะพังพินาศ แต่เกียรติยศของชัยชาญ กลับได้รับการยกย่อง จากกองทัพสหรัฐฯ สหรัฐอเมริกามอบเหรียญกล้าหาญ "Silver Star" และ "Legion of Merit" ให้ชาญชัย พร้อมจัดพิธีเชิดชูเกียรติที่ Pentagon

    🔹 Hall of Heroes ที่ Pentagon
    พันเอกชัยชาญเป็น "ทหารต่างชาติเพียงคนเดียว" ที่ได้รับเกียรติให้มีรูปถ่าย แขวนอยู่ใน Hall of Heroes ณ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ

    ✈️ นอกจากนี้ชัยชาญ ยังได้รับเชิญให้ไปศึกษาต่อ ที่ฐานทัพ Lackland Air Force Base และ Fort Bragg ศูนย์สงครามพิเศษของสหรัฐฯ

    🕊️ วันสุดท้ายของวีรบุรุษไทย
    📅 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 พันเอกชัยชาญ เสียชีวิตอย่างสงบในวัย 87 ปี เนื่องจากเส้นเลือดสมองอุดตัน

    🇹🇭 แม้พันเอกชัยชาญ จะเป็นที่รู้จักในวงแคบของคนไทย แต่สำหรับอเมริกา ชัยชาญคือหนึ่งในบุคคล ที่มีเกียรติสูงสุด ในหมู่เชลยศึก

    ✨ วีรกรรมของชัยชาญ จะถูกจารึกในประวัติศาสตร์ ตลอดไป ✨
    ✅ พันเอกชัยชาญ หาญนาวี คือหนึ่งในเชลยศึก ที่ถูกคุมขังนานที่สุด ในสงครามเวียดนาม
    ✅ มีบทบาทสำคัญ ในการช่วยเหลือเชลยศึกอเมริกัน
    ✅ ได้รับเหรียญกล้าหาญ จากรัฐบาลสหรัฐฯ
    ✅ เป็นคนไทยเพียงคนเดียว ที่ได้รับเกียรติใน Hall of Heroes

    แม้กายจะลับไป แต่ชื่อของ "ชัยชาญ หาญนาวี" จะคงอยู่ในประวัติศาสตร์ไทย และโลกตลอดไป 🙏🇹🇭

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 041344 ก.พ. 2568

    📢 #พันเอกชัยชาญหาญนาวี #เชลยศึกเวียดนาม #วีรบุรุษไทย #สงครามเวียดนาม #HanoiHilton #TapCode #JohnMcCain #ThaiMilitary #SilverStar #LegionOfMerit
    7 ปี สิ้นเชลยศึกชาวไทย “พันเอกชัยชาญ หาญนาวี” วีรบุรุษทหารรบพิเศษไทย ในสงครามเวียดนาม ที่อเมริกายกย่องเชิดชู 📅 ย้อนไปเมื่อ 7 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 ถือเป็นวันที่ประเทศไทย สูญเสียบุคคลสำคัญคนหนึ่ง ที่มีประวัติอันน่าจดจำ และเป็นที่เคารพในหมู่ทหารอเมริกัน ผู้ชายคนนั้นคือ “พันเอกชัยชาญ หาญนาวี” ทหารรบพิเศษไทย ที่ถูกจับเป็นเชลยศึกในสงครามเวียดนาม นานถึง 9 ปี 4 เดือน 8 วัน และได้รับการเชิดชูเกียรติ จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ด้วยเหรียญกล้าหาญ Silver Star และ Legion of Merit 🏅 แม้ว่าหลายคนในไทย อาจไม่คุ้นชื่อของพันเอกชัยชาญ แต่สำหรับทหารอเมริกันในยุคนั้น ชัยชาญคือวีรบุรุษที่ช่วยชีวิตเชลยศึกสหรัฐฯ มากมาย แม้ต้องเผชิญกับการทรมาน อันโหดร้ายในเรือนจำ "ฮานอยฮิลตัน" (Hỏa Lò Prison) ในกรุงฮานอย ประเทศเวียดนามเหนือ 🇹🇭🇺🇸 👦 จากชาวอยุธยา สู่ทหารรบพิเศษไทย 🔴 พันเอกชัยชาญ หาญนาวี เกิดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเข้ารับราชการทหาร ในหน่วยกองรบพิเศษที่ 1 ค่ายวชิราลงกรณ์ จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นหน่วยที่ฝึกอบรมทหารไทย ให้สามารถปฏิบัติภารกิจพิเศษ ร่วมกับกองทัพสหรัฐฯ ด้วยทักษะที่โดดเด่น ชัยชาญถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจ ที่ประเทศลาว ในช่วงสงครามเวียดนาม ทำหน้าที่เป็นพลวิทยุ ให้กับหน่วยรบพิเศษไทย-อเมริกัน ✈️ ภารกิจที่ผิดพลาด นำไปสู่การเป็นเชลยศึก 📅 วันที่ 21 พฤษภาคม 2508 เป็นวันหยุด ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของพันเอกชัยชาญ ไปตลอดกาล เมื่อถูกชวนขึ้นเครื่องบินของ Air America (สายการบินลับของ CIA) เพื่อไปทำหน้าที่เป็น Spotter หรือผู้ระบุตำแหน่งข้าศึก ขณะที่เครื่องบินกำลังบินจากเชียงลม แขวงไชยะบุรี ประเทศลาว เพื่อส่งเสบียงให้ฐานปฏิบัติการ เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เครื่องถูกยิงตกกลางป่า ทหารอมริกันเสียชีวิตทั้งหมดทันที พันเอกชัยชาญและนักบินรอดชีวิต และพยายามหลบหนี แต่สุดท้ายถูกจับกุม โดยกองทัพเวียดนามเหนือ ชัยชาญถูกส่งไปยังค่ายเชลย ที่มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์เรื่อง "แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู" ที่ซึ่งการทรมานนักโทษ ถือเป็นเรื่องปกติ... 🏚️ จากเดียนเบียนฟู สู่ฮานอยฮิลตัน ⚠️ หลังจากถูกขังอยู่ที่เดียนเบียนฟู นานเกือบ 3 ปี ชัยชาญถูกย้ายไปยังเรือนจำ "ฮานอยฮิลตัน" (Hỏa Lò Prison) ซึ่งเป็นคุกที่เลื่องชื่อ ในหมู่เชลยศึกอเมริกัน 📌 ที่นี่ชัยชาญถูกขังเดี่ยว 5 ปี ถูกซ้อมทรมานเป็นประจำ ถูกมัดติดขื่อไม้ และต้องนอนเกลือกกลั้ว อยู่กับอุจจาระ และปัสสาวะของตัวเอง ได้รับอนุญาตให้อาบน้ำ เพียงเดือนละครั้ง 😞 🔥 แต่ถึงจะถูกทรมานแค่ไหน ชัยชาญก็ยังไม่ละทิ้งศักดิ์ศรี ของทหารไทย 🔑 Tap Code สื่อสารลับช่วยเชลยศึกอเมริกัน หนึ่งในวีรกรรมสำคัญ ของพันเอกชัยชาญคือ การใช้รหัสเคาะกำแพง (Tap Code) เพื่อส่งข้อมูลให้เชลยศึกอเมริกัน 🛑🔨 🔹 Tap Code คืออะไร? เป็นรหัสลับที่เชลยศึกอเมริกัน พัฒนาเพื่อใช้สื่อสารกัน โดยการเคาะกำแพง ตามจังหวะที่กำหนด เพื่อแทนตัวอักษร คล้ายกับรหัสมอร์ส หรือรหัสแตะ สามารถส่งได้หลายวิธี และในสภาพแวดล้อม ที่ยากลำบาก รหัสเคาะเป็นวิธีง่ายๆ ในการเข้ารหัสข้อความ ข้อความจะถูกส่ง โดยการแปลตัวอักษรเป็นเสียงเคาะ ซึ่งนักโทษในเวียดนามใช้รหัสนี้ และบางครั้งเรียกว่ารหัสเคาะหรือรหัสสมิทตี้ รหัสนี้ใช้สี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5x5 เพื่อกำหนดตัวเลขสองตัว (แถวและคอลัมน์) ให้กับตัวอักษรแต่ละตัว จากนั้นผู้ส่งจะเคาะหลายครั้งตามจำนวนตัวเลขแต่ละตัว และหยุดชั่วคราวระหว่างตัวเลข 🔹 ชัยชาญใช้รหัสเคาะอย่างไร? ชัยชาญเรียนรู้รหัสนี้ จากเชลยเวียดนามใต้ และใช้ส่งข้อความให้ทหารอเมริกัน แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับแผนการทรมาน และให้กำลังใจเพื่อนเชลย ☠️ ถ้าถูกจับได้ อาจต้องจบชีวิตทันที แต่ชัยชาญยอมเสี่ยง เพื่อช่วยเหลือเพื่อนเชลย หนึ่งในเชลยศึก ที่ได้รับความช่วยเหลือจากชัยชาญคือ "จอห์น แมกเคน" (John McCain) นักบินรบของกองทัพเรือสหรัฐฯ และผู้สมัครชิงตำแหน่ง ประธานาธิบดีสหรัฐอมเริกา ในเวลาต่อมา 🇺🇸 🏅 เกียรติยศสูงสุด จากกองทัพสหรัฐฯ 📅 หลังจากถูกกักขัง ยาวนานกว่า 9 ปี พันเอกชัยชาญได้รับการปล่อยตัว ในปี 2517 จากการเจรจาระหว่างไทย-สหรัฐฯ และเวียดนามเหนือ 💔 แต่เมื่อกลับมาถึงมาตุภูมิ ชัยชาญพบว่า ภรรยาแต่งงานใหม่ไปแล้ว ซึ่งตอนกลับมาได้รับพระราชทาน ยศชั้นนายพันแล้ว เพราะกองทัพไทยคิดว่า คงหายสาบสูญไป ในสงครามแล้ว แต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ได้กลับมารับราชการเหมือนเดิม ไม่มีใครกล้าถอดยศพระราชทาน แม้ว่าชีวิตส่วนตัวจะพังพินาศ แต่เกียรติยศของชัยชาญ กลับได้รับการยกย่อง จากกองทัพสหรัฐฯ สหรัฐอเมริกามอบเหรียญกล้าหาญ "Silver Star" และ "Legion of Merit" ให้ชาญชัย พร้อมจัดพิธีเชิดชูเกียรติที่ Pentagon 🔹 Hall of Heroes ที่ Pentagon พันเอกชัยชาญเป็น "ทหารต่างชาติเพียงคนเดียว" ที่ได้รับเกียรติให้มีรูปถ่าย แขวนอยู่ใน Hall of Heroes ณ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ✈️ นอกจากนี้ชัยชาญ ยังได้รับเชิญให้ไปศึกษาต่อ ที่ฐานทัพ Lackland Air Force Base และ Fort Bragg ศูนย์สงครามพิเศษของสหรัฐฯ 🕊️ วันสุดท้ายของวีรบุรุษไทย 📅 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 พันเอกชัยชาญ เสียชีวิตอย่างสงบในวัย 87 ปี เนื่องจากเส้นเลือดสมองอุดตัน 🇹🇭 แม้พันเอกชัยชาญ จะเป็นที่รู้จักในวงแคบของคนไทย แต่สำหรับอเมริกา ชัยชาญคือหนึ่งในบุคคล ที่มีเกียรติสูงสุด ในหมู่เชลยศึก ✨ วีรกรรมของชัยชาญ จะถูกจารึกในประวัติศาสตร์ ตลอดไป ✨ ✅ พันเอกชัยชาญ หาญนาวี คือหนึ่งในเชลยศึก ที่ถูกคุมขังนานที่สุด ในสงครามเวียดนาม ✅ มีบทบาทสำคัญ ในการช่วยเหลือเชลยศึกอเมริกัน ✅ ได้รับเหรียญกล้าหาญ จากรัฐบาลสหรัฐฯ ✅ เป็นคนไทยเพียงคนเดียว ที่ได้รับเกียรติใน Hall of Heroes แม้กายจะลับไป แต่ชื่อของ "ชัยชาญ หาญนาวี" จะคงอยู่ในประวัติศาสตร์ไทย และโลกตลอดไป 🙏🇹🇭 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 041344 ก.พ. 2568 📢 #พันเอกชัยชาญหาญนาวี #เชลยศึกเวียดนาม #วีรบุรุษไทย #สงครามเวียดนาม #HanoiHilton #TapCode #JohnMcCain #ThaiMilitary #SilverStar #LegionOfMerit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 604 มุมมอง 0 รีวิว
  • เล่าเรื่องTikTok@wang.gao7 #วังเก่า #โรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน #ราชวงศ์จักรี #ว่างว่างก็แวะมา
    เล่าเรื่องTikTok@wang.gao7 #วังเก่า #โรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน #ราชวงศ์จักรี #ว่างว่างก็แวะมา
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 290 มุมมอง 2 0 รีวิว
  • ในหลวงพระราชทานช่อดอกไม้และของขวัญคู่รัก LGBT เนื่องในวันจดทะเบียนสมรสระหว่างนายกำพล วงษ์นารี & นายณัฐภูมิ


    https://web.facebook.com/share/p/195rb6YyfS/
    ในหลวงพระราชทานช่อดอกไม้และของขวัญคู่รัก LGBT เนื่องในวันจดทะเบียนสมรสระหว่างนายกำพล วงษ์นารี & นายณัฐภูมิ https://web.facebook.com/share/p/195rb6YyfS/
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 270 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิดสะพานทศมราชัน สร้างมา 5 ปีกว่าจะมีวันนี้

    เวลา 09.09 น. วันที่ 29 ม.ค. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดสะพานทศมราชัน ที่ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษสุขสวัสดิ์ ระหว่างรอโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยก่อสร้างแล้วเสร็จ คิดค่าผ่านทางตามปกติของทางพิเศษเฉลิมมหานคร คาดว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรบนสะพานพระราม 9 จาก 100,470 คันต่อวัน ลดเหลือ 75,325 คันต่อวัน

    สำหรับความคืบหน้าโครงการฯ ตลอดสายทาง 18.7 กิโลเมตร ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2567 ภาพรวม 86.28% เร็วกว่าแผน 1.03% คาดว่าเปิดให้บริการประมาณปลายปี 2568 โดยขาออกกรุงเทพฯ จากทางพิเศษเฉลิมมหานคร และทางพิเศษศรีรัช ก่อนขึ้นสะพานทศมราชันต้องรับบัตรผ่านทางพิเศษที่ด่านบางโคล่ และจ่ายเงินที่ด่านปลายทาง โดยคิดค่าผ่านทางแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงดาวคะนอง-พระราม 3 และช่วงดาวคะนอง-วงแหวนฯ ตะวันตก ได้แก่ รถ 4 ล้อ ช่วงละ 30 บาท รถ 6-10 ล้อช่วงละ 60 บาท รถมากกว่า 10 ล้อช่วงละ 90 บาท

    สะพานทศมราชัน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ สัญญา 4 ลักษณะเป็นสะพานคู่ (Cable Stayed Bridge) แบบไม่มีเสาอยู่ในลำน้ำ ขนาด 8 ช่องจราจร ความยาว 781.2 เมตร รับแรงลมได้สูงถึง 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มูลค่าโครงการ 6,636.19 ล้านบาท ก่อสร้างโดย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นสัญญา 16 ม.ค. 2563 แล้วเสร็จตามสัญญาวันที่ 30 มี.ค. 2566 รวม 1,170 วัน ก่อนส่งมอบให้การทางพิเศษฯ

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “สะพานทศมราชัน” หมายถึง พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567 ไปประดิษฐานบนสะพานแห่งนี้ โดยเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสะพานทศมราชัน

    องค์ประกอบสถาปัตยกรรมของสะพาน ได้แก่ 1.ส่วนยอดของเสาสะพาน หมายถึง ฝ่าพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แสดงถึงความโอบอุ้มปกป้อง ให้ความรัก ความห่วงใย พสกนิกรต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือเกล้า 2.สายเคเบิลเป็นสีเหลือง สื่อถึงวันพระบรมราชสมภพคือวันจันทร์ 3.รูปปั้นพญานาคสีเหลืองทองอยู่บนโคนเสาสะพานทั้ง 4 ต้น ซึ่งเป็นราศีประจำปีมะโรง ปีพระบรมราชสมภพ เพื่อถวายอารักขาแด่พระองค์ 4.รั้วสะพานกันกระโดด ออกแบบให้เป็นลายดอกรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำพระองค์

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    เปิดสะพานทศมราชัน สร้างมา 5 ปีกว่าจะมีวันนี้ เวลา 09.09 น. วันที่ 29 ม.ค. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดสะพานทศมราชัน ที่ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษสุขสวัสดิ์ ระหว่างรอโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยก่อสร้างแล้วเสร็จ คิดค่าผ่านทางตามปกติของทางพิเศษเฉลิมมหานคร คาดว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรบนสะพานพระราม 9 จาก 100,470 คันต่อวัน ลดเหลือ 75,325 คันต่อวัน สำหรับความคืบหน้าโครงการฯ ตลอดสายทาง 18.7 กิโลเมตร ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2567 ภาพรวม 86.28% เร็วกว่าแผน 1.03% คาดว่าเปิดให้บริการประมาณปลายปี 2568 โดยขาออกกรุงเทพฯ จากทางพิเศษเฉลิมมหานคร และทางพิเศษศรีรัช ก่อนขึ้นสะพานทศมราชันต้องรับบัตรผ่านทางพิเศษที่ด่านบางโคล่ และจ่ายเงินที่ด่านปลายทาง โดยคิดค่าผ่านทางแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงดาวคะนอง-พระราม 3 และช่วงดาวคะนอง-วงแหวนฯ ตะวันตก ได้แก่ รถ 4 ล้อ ช่วงละ 30 บาท รถ 6-10 ล้อช่วงละ 60 บาท รถมากกว่า 10 ล้อช่วงละ 90 บาท สะพานทศมราชัน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ สัญญา 4 ลักษณะเป็นสะพานคู่ (Cable Stayed Bridge) แบบไม่มีเสาอยู่ในลำน้ำ ขนาด 8 ช่องจราจร ความยาว 781.2 เมตร รับแรงลมได้สูงถึง 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มูลค่าโครงการ 6,636.19 ล้านบาท ก่อสร้างโดย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นสัญญา 16 ม.ค. 2563 แล้วเสร็จตามสัญญาวันที่ 30 มี.ค. 2566 รวม 1,170 วัน ก่อนส่งมอบให้การทางพิเศษฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “สะพานทศมราชัน” หมายถึง พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567 ไปประดิษฐานบนสะพานแห่งนี้ โดยเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสะพานทศมราชัน องค์ประกอบสถาปัตยกรรมของสะพาน ได้แก่ 1.ส่วนยอดของเสาสะพาน หมายถึง ฝ่าพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แสดงถึงความโอบอุ้มปกป้อง ให้ความรัก ความห่วงใย พสกนิกรต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือเกล้า 2.สายเคเบิลเป็นสีเหลือง สื่อถึงวันพระบรมราชสมภพคือวันจันทร์ 3.รูปปั้นพญานาคสีเหลืองทองอยู่บนโคนเสาสะพานทั้ง 4 ต้น ซึ่งเป็นราศีประจำปีมะโรง ปีพระบรมราชสมภพ เพื่อถวายอารักขาแด่พระองค์ 4.รั้วสะพานกันกระโดด ออกแบบให้เป็นลายดอกรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำพระองค์ #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 632 มุมมอง 0 รีวิว
  • "สวนแม่ฟ้าหลวง" หรือ "สวนดอยตุง" สวนไม้ดอกไม้หลากสีสัน กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา บนพื้นที่ 25 ไร่ ภายในสวนถูกตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับสวยงาม ดูแลอย่างดี ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนออกดอกตลอดปี อาทิ ดอกซัลเวีย พิทูเนีย บีโกเนีย กุหลาบ ดอกลำโพง ไม้มงคลต่าง ๆ ไม้ยืนต้นและซุ้มไม้เลี้อยมากกว่า 70 ชนิด นอกจากแปลงไม้ประทับกลางแจ้งแล้วยังมีโรงเรือนไม้ในร่มจุดเด่นคือกล้วยไม้จำพวกรองเท้านารีชนิดต่าง ๆ ที่มีดอกสวยงามมาก บริเวณกลางสวนมีประติมากรรมเด็กยืนต่อตัวของ มีเซียม ยิบอินซอย โดยสมเด็จย่าพระราชทานชื่อว่าความต่อเนื่องที่สื่อถึงการทำงานจะสำเร็จได้ต้องทำอย่างต่อเนื่อง มาถึงจุดนี้แวะเติมพลังกันสักนิดกับ "ดอยตุงคาเฟ่" นั่งพักชิล ๆ จิบกาแฟหอม ๆ ในสวน
    "สวนแม่ฟ้าหลวง" หรือ "สวนดอยตุง" สวนไม้ดอกไม้หลากสีสัน กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา บนพื้นที่ 25 ไร่ ภายในสวนถูกตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับสวยงาม ดูแลอย่างดี ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนออกดอกตลอดปี อาทิ ดอกซัลเวีย พิทูเนีย บีโกเนีย กุหลาบ ดอกลำโพง ไม้มงคลต่าง ๆ ไม้ยืนต้นและซุ้มไม้เลี้อยมากกว่า 70 ชนิด นอกจากแปลงไม้ประทับกลางแจ้งแล้วยังมีโรงเรือนไม้ในร่มจุดเด่นคือกล้วยไม้จำพวกรองเท้านารีชนิดต่าง ๆ ที่มีดอกสวยงามมาก บริเวณกลางสวนมีประติมากรรมเด็กยืนต่อตัวของ มีเซียม ยิบอินซอย โดยสมเด็จย่าพระราชทานชื่อว่าความต่อเนื่องที่สื่อถึงการทำงานจะสำเร็จได้ต้องทำอย่างต่อเนื่อง มาถึงจุดนี้แวะเติมพลังกันสักนิดกับ "ดอยตุงคาเฟ่" นั่งพักชิล ๆ จิบกาแฟหอม ๆ ในสวน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 200 มุมมอง 0 รีวิว
  • วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว – เพชรบูรณ์
    อีกหนึ่งวัดสวยงามอลังการตา ที่ต้องมาเมื่อมาเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวภาคเหนือ ต้องยกให้ วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว หรือ วัดพระธาตุผาแก้ว หนึ่งใน เพชรบูรณ์ที่เที่ยว ค่ะ ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาของหมู่บ้านทางแดง อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์
    วัดพระธาตุผาซ่อนแก้วก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ในนาม “พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว” ได้รับการอนุมัติจัดตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ โดยมีพระครูปลัด ปารมี สุรยุทโธ เป็นเจ้าอาวาส

    เจดีย์พระธาตุผาแก้ว สร้างเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี และเป็นที่สืบพระศาสนาให้ดำรงอยู่คู่แผ่นดินไทย เพื่อประโยชน์แก่มนุษยชาติและคนรุ่นหลัง ได้มีโอกาสเรียนรู้ต่อไป บนยอดเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งได้รับพระราชทานมาจากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ความพิเศษของเจดีย์ คือ ลวดลายการตกแต่งด้วยถ้วยกระเบื้อง หินสีต่าง ๆ ดูงดงามแปลกตาและบริเวณใต้ฐานพระเจดีย์ใช้เป็นที่เก็บรวบรวมหลักธรรมคำสอน ภาพปริศนาธรรม และเป็นที่เจริญสติภาวนา สำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป

    การเดินทาง : เดินทางมาได้ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว - จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางผ่านจังหวัดสระบุรี และใช้เส้นทางหมายเลข 21 สระบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ เมื่อ ผ่านตัวเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์มาสักระยะ จนใกล้หลักกิโลเมตรที่ 260 ให้สังเกตอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมืองทางซ้ายมือ และเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 12 หล่มสัก พิษณุโลก ขับต่อไปยัง ทางหลวงหมายเลข 12 ประมาณ 30 นาที หลักกิโลเมตรที่ 103 มีจุดสังเกตคือ อบต.แคมป์สนอยู่ทางขวามือ และธนาคารกสิกรไทย เยื้องขึ้นไปทางซ้ายมือ ตรงไปกลับรถ และจะเห็นป้าย พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว อยู่ปากซอยทางเข้า หมู่บ้านทางแดง ซึ่งอยู่ด้านข้าง อบต.แคมป์สน เลี้ยวซ้ายเข้าไป ตรงตลอดจนเห็นสะพานทางเข้าวัด เลี้ยวขวาข้ามสะพานและจอดรถ ณ บริเวณที่จัดไว้

    #วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว
    #ท่องเที่ยว
    วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว – เพชรบูรณ์ อีกหนึ่งวัดสวยงามอลังการตา ที่ต้องมาเมื่อมาเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวภาคเหนือ ต้องยกให้ วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว หรือ วัดพระธาตุผาแก้ว หนึ่งใน เพชรบูรณ์ที่เที่ยว ค่ะ ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาของหมู่บ้านทางแดง อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ วัดพระธาตุผาซ่อนแก้วก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ในนาม “พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว” ได้รับการอนุมัติจัดตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ โดยมีพระครูปลัด ปารมี สุรยุทโธ เป็นเจ้าอาวาส เจดีย์พระธาตุผาแก้ว สร้างเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี และเป็นที่สืบพระศาสนาให้ดำรงอยู่คู่แผ่นดินไทย เพื่อประโยชน์แก่มนุษยชาติและคนรุ่นหลัง ได้มีโอกาสเรียนรู้ต่อไป บนยอดเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งได้รับพระราชทานมาจากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ความพิเศษของเจดีย์ คือ ลวดลายการตกแต่งด้วยถ้วยกระเบื้อง หินสีต่าง ๆ ดูงดงามแปลกตาและบริเวณใต้ฐานพระเจดีย์ใช้เป็นที่เก็บรวบรวมหลักธรรมคำสอน ภาพปริศนาธรรม และเป็นที่เจริญสติภาวนา สำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป การเดินทาง : เดินทางมาได้ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว - จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางผ่านจังหวัดสระบุรี และใช้เส้นทางหมายเลข 21 สระบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ เมื่อ ผ่านตัวเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์มาสักระยะ จนใกล้หลักกิโลเมตรที่ 260 ให้สังเกตอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมืองทางซ้ายมือ และเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 12 หล่มสัก พิษณุโลก ขับต่อไปยัง ทางหลวงหมายเลข 12 ประมาณ 30 นาที หลักกิโลเมตรที่ 103 มีจุดสังเกตคือ อบต.แคมป์สนอยู่ทางขวามือ และธนาคารกสิกรไทย เยื้องขึ้นไปทางซ้ายมือ ตรงไปกลับรถ และจะเห็นป้าย พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว อยู่ปากซอยทางเข้า หมู่บ้านทางแดง ซึ่งอยู่ด้านข้าง อบต.แคมป์สน เลี้ยวซ้ายเข้าไป ตรงตลอดจนเห็นสะพานทางเข้าวัด เลี้ยวขวาข้ามสะพานและจอดรถ ณ บริเวณที่จัดไว้ #วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว #ท่องเที่ยว
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 424 มุมมอง 0 รีวิว
  • อาจารย์ชิดตะวันพูดอยู่ตอนหนึ่งว่า "...คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้จำกัดอยู่แค่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง หรือว่าประเทศไทย มันคือตัวคนคนนั้นเป็นคนเช่นไร คือต้องมีทั้งความรอบรู้ และก็ต้องเป็นคนดี..."

    ผมก็เลยขอขยายความเพิ่มเติมนิดหน่อยครับ

    เพราะว่าพออาจารย์พูดขึ้นมา ผมก็นึกขึ้นได้ว่า ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2542 ความสำคัญตอนหนึ่งว่า

    "...ถ้านับดูปีนี้ที่น่าจะมีความเสียหายหมื่นล้าน ไม่ต้องเสีย ที่ไม่ต้องเสียนี้ก็ทำให้เกิดมีผลผลิต โดยเฉพาะอย่างเกษตร เขามีผลผลิตได้ แม้จะปีนี้ ซึ่งเขื่อนยังไม่ได้ทำงานในด้านชลประทาน ก็ทำให้ป้องกันไม่ให้มีน้ำท่วม ทำให้เกษตรกรเพาะปลูกได้ ก็เป็นเงินหลายพันล้าน ฉะนั้นในปีเดียวเขื่อนป่าสักนี้ได้คุ้มแล้ว

    ...หมายความว่ากิจการเหล่านี้ ไม่ได้อยู่ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน แต่ว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ก็พอเพียงเพราะว่าถ้าทำแล้ว คนอาจจะเกี่ยวข้องกับกิจการนี้มากมาย ทำให้ส่วนรวมได้รับประโยชน์และจะทำให้เจริญ

    ...ไม่ใช่เป็นแต่เหมือนทฤษฎีใหม่ 15 ไร่ แล้วก็สามารถจะปลูกข้าวพอกิน นี่ใหญ่กว่า แต่อันนี้ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน คนไม่เข้าใจว่ากิจการใหญ่ๆ เหมือนสร้างเขื่อนป่าสัก คนนึกว่าเป็นเศรษฐกิจสมัยใหม่ เป็นเศรษฐกิจที่ไกลจากเศรษฐกิจพอเพียง

    ...ในเมืองไทยนี้ถ้าทำกิจการ หมายความว่าปกครอง หรือดำเนินกิจการ ทั้งในด้านการเมือง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ทั้งในด้านธุรกิจ ในด้านอาชีพ มีทุจริต เมืองไทยพัง ของเรา เมืองไทยที่ยังไม่พังแท้ ก็เพราะว่าเมืองไทยนี้นับว่าแข็งมาก..."

    สรุปก็คือ ต่อให้เป็นการทำโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีกระแสหลักของ Harrod-Domar [deltaY/Y = s/k โดยที่ S=I]) ถ้าทำโดยมี "ประโยชน์สุข" ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง มีความ "คุ้มค่า" เมื่อเทียบต้นทุนกับผลได้ และ "ปราศจากการทุจริต" ก็ถือได้ว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน

    ฉะนั้น ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (โดยเฉพาะ Harrod-Domar model ซึ่งเก่ามากแล้ว - ตั้งแต่ปี 2482) แม้จะมี "จุดอ่อน" แต่ถ้าเอามาใช้ โดยกำกับด้วย "สติปัญญา" และ "คุณธรรม" (2 เงื่อนไขในแผนภาพปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง) ก็ถือว่าใช้ได้แล้วครับ

    อ้างอิง:

    พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ (ฉบับไม่เป็นทางการ). (2555). เครือข่ายกาญจนาภิเษก. http://kanchanapisek.or.th/speeches/1999/1223.th.html

    อภิชัย พันธเสน. (2560). เศรษฐกิจพอเพียง : พระอัจฉริยภาพ และพระกรุณาธิคุณของในหลวง รัชกาลที่ ๙. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต. https://anyflip.com/tocrx/skhf/

    คลิปรายการของไทยโพสต์:
    https://www.youtube.com/watch?v=lQfWzMHWRWs
    อาจารย์ชิดตะวันพูดอยู่ตอนหนึ่งว่า "...คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้จำกัดอยู่แค่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง หรือว่าประเทศไทย มันคือตัวคนคนนั้นเป็นคนเช่นไร คือต้องมีทั้งความรอบรู้ และก็ต้องเป็นคนดี..." ผมก็เลยขอขยายความเพิ่มเติมนิดหน่อยครับ เพราะว่าพออาจารย์พูดขึ้นมา ผมก็นึกขึ้นได้ว่า ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2542 ความสำคัญตอนหนึ่งว่า "...ถ้านับดูปีนี้ที่น่าจะมีความเสียหายหมื่นล้าน ไม่ต้องเสีย ที่ไม่ต้องเสียนี้ก็ทำให้เกิดมีผลผลิต โดยเฉพาะอย่างเกษตร เขามีผลผลิตได้ แม้จะปีนี้ ซึ่งเขื่อนยังไม่ได้ทำงานในด้านชลประทาน ก็ทำให้ป้องกันไม่ให้มีน้ำท่วม ทำให้เกษตรกรเพาะปลูกได้ ก็เป็นเงินหลายพันล้าน ฉะนั้นในปีเดียวเขื่อนป่าสักนี้ได้คุ้มแล้ว ...หมายความว่ากิจการเหล่านี้ ไม่ได้อยู่ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน แต่ว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ก็พอเพียงเพราะว่าถ้าทำแล้ว คนอาจจะเกี่ยวข้องกับกิจการนี้มากมาย ทำให้ส่วนรวมได้รับประโยชน์และจะทำให้เจริญ ...ไม่ใช่เป็นแต่เหมือนทฤษฎีใหม่ 15 ไร่ แล้วก็สามารถจะปลูกข้าวพอกิน นี่ใหญ่กว่า แต่อันนี้ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน คนไม่เข้าใจว่ากิจการใหญ่ๆ เหมือนสร้างเขื่อนป่าสัก คนนึกว่าเป็นเศรษฐกิจสมัยใหม่ เป็นเศรษฐกิจที่ไกลจากเศรษฐกิจพอเพียง ...ในเมืองไทยนี้ถ้าทำกิจการ หมายความว่าปกครอง หรือดำเนินกิจการ ทั้งในด้านการเมือง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ทั้งในด้านธุรกิจ ในด้านอาชีพ มีทุจริต เมืองไทยพัง ของเรา เมืองไทยที่ยังไม่พังแท้ ก็เพราะว่าเมืองไทยนี้นับว่าแข็งมาก..." สรุปก็คือ ต่อให้เป็นการทำโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีกระแสหลักของ Harrod-Domar [deltaY/Y = s/k โดยที่ S=I]) ถ้าทำโดยมี "ประโยชน์สุข" ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง มีความ "คุ้มค่า" เมื่อเทียบต้นทุนกับผลได้ และ "ปราศจากการทุจริต" ก็ถือได้ว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน ฉะนั้น ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (โดยเฉพาะ Harrod-Domar model ซึ่งเก่ามากแล้ว - ตั้งแต่ปี 2482) แม้จะมี "จุดอ่อน" แต่ถ้าเอามาใช้ โดยกำกับด้วย "สติปัญญา" และ "คุณธรรม" (2 เงื่อนไขในแผนภาพปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง) ก็ถือว่าใช้ได้แล้วครับ อ้างอิง: พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ (ฉบับไม่เป็นทางการ). (2555). เครือข่ายกาญจนาภิเษก. http://kanchanapisek.or.th/speeches/1999/1223.th.html อภิชัย พันธเสน. (2560). เศรษฐกิจพอเพียง : พระอัจฉริยภาพ และพระกรุณาธิคุณของในหลวง รัชกาลที่ ๙. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต. https://anyflip.com/tocrx/skhf/ คลิปรายการของไทยโพสต์: https://www.youtube.com/watch?v=lQfWzMHWRWs
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 435 มุมมอง 0 รีวิว
  • มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯวันพฤหัสบดี ที่ 23 มกราคม 2568 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ บางพลัด กรุงเทพมหานครมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรม ราชูปถัมภ์ ได้จัดกิจกรรมโครงการเตรียม ความพร้อมก่อนจบ (Jop Ready)นักเรียนทุนพระราชทานเพื่อการ ศึกษาสงเคราะห์ โดยมี 5 กิจกรรม ดังนี้ การสร้างแรงบันดาลใจในตนเองคุณสมบัติของบัณฑิตที่องค์กรส่วนใหญ่ ต้องการ การเขียนจดหมายเพื่อสมัคบก่อนจบงาน และการจัดทำแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) การพัฒนาบุคลิกภาพและกราะห์ราชทา การพูดเพื่อการสัมภาษณ์งาน การวางแผนทางการเงิน #มูลนิธิราชประชานุ เคราะห์ฯ #สังคมสงเคราะห์ ##นักเรียน ทุนพระราชทาน #รัชกาลที่10 TikTok@rpk.bkk #ว่างว่างก็แวะมา
    มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯวันพฤหัสบดี ที่ 23 มกราคม 2568 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ บางพลัด กรุงเทพมหานครมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรม ราชูปถัมภ์ ได้จัดกิจกรรมโครงการเตรียม ความพร้อมก่อนจบ (Jop Ready)นักเรียนทุนพระราชทานเพื่อการ ศึกษาสงเคราะห์ โดยมี 5 กิจกรรม ดังนี้ การสร้างแรงบันดาลใจในตนเองคุณสมบัติของบัณฑิตที่องค์กรส่วนใหญ่ ต้องการ การเขียนจดหมายเพื่อสมัคบก่อนจบงาน และการจัดทำแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) การพัฒนาบุคลิกภาพและกราะห์ราชทา การพูดเพื่อการสัมภาษณ์งาน การวางแผนทางการเงิน #มูลนิธิราชประชานุ เคราะห์ฯ #สังคมสงเคราะห์ ##นักเรียน ทุนพระราชทาน #รัชกาลที่10 TikTok@rpk.bkk #ว่างว่างก็แวะมา
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 509 มุมมอง 1 0 รีวิว
  • ในยุคที่มีเหล่าดารา Call Out รัฐบาลลุงตู่ วัคซีน และสถาบัน เทอก็เป็นหนึ่งในนั้น มาวันนี้ดันขอพระราชทานน้ำสังข์งานแต่งเฉย
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง3
    ในยุคที่มีเหล่าดารา Call Out รัฐบาลลุงตู่ วัคซีน และสถาบัน เทอก็เป็นหนึ่งในนั้น มาวันนี้ดันขอพระราชทานน้ำสังข์งานแต่งเฉย #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง3
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 364 มุมมอง 0 รีวิว
  • เล่าเรื่องTikTok@wang_gao7 #วังเก่า #โรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน #รัชกาลที่10 #เริ่มที่ตัวเรา #ว่างว่างก็แวะมา
    เล่าเรื่องTikTok@wang_gao7 #วังเก่า #โรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน #รัชกาลที่10 #เริ่มที่ตัวเรา #ว่างว่างก็แวะมา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 337 มุมมอง 1 0 รีวิว
  • เล่าเรื่องTikTok@wang_gao7 #วังเก่า #โรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน #ว่างว่างก็แวะมา
    เล่าเรื่องTikTok@wang_gao7 #วังเก่า #โรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน #ว่างว่างก็แวะมา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 304 มุมมอง 1 0 รีวิว
  • พ่อ-ลูกครู ตชด. เหยื่อผู้ก่อความไม่สงบ

    เมื่อวันที่ 20 ม.ค.2568 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. เป็นผู้แทนพระองค์เชิญดินฝังศพพระราชทานวางบนหลุมฝังศพของ พ.ต.ท.สุวิทย์ ช่วยเทวฤทธิ์ ครูใหญ่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (รร.ตชด.) บ้านบ้านตืองอช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ 13 และ ด.ต.โดม ช่วยเทวฤทธิ์ ครู รร.ตชด.บ้านตืองอฯ บุตรชาย ที่บ้านเลขที่ 293 หมู่ 3 ต.คลองทรายขาว อ.กงหรา จ.พัทลุง ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายรัฐศาสตร์ ชิดชู ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นผู้แทนพระองค์เชิญดินฝังศพพระราชทานวางบนหลุมฝังศพของครู ตชด. ทั้ง 2 นายด้วย

    พ.ต.ท.สุวิทย์ ครูใหญ่ และลูกชาย ด.ต.โดม ครูวิชาเกษตรโรงเรียนเดียวกัน ถูกคนร้ายนำระเบิดแสวงเครื่องซุกใต้ถนนดักถล่มแล้วยิงซ้ำ เสียชีวิต 2 ราย พร้อมขโมยปืนไป 2 กระบอก เหตุเกิดบนถนนศรีสาคร-ลูโบ๊ะยือริง ช่วงบ้านไอร์กือแด หมู่ 4 ต.ศรีบรรพต อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 13 ม.ค.2568 สร้างความสะเทือนใจให้แก่วงการตำรวจ และแวดวงการศึกษา เนื่องจาก พ.ต.ท.สุวิทย์เป็นครูที่ทุ่มเทเสียสละสอนนักเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัยมานานกว่า 30 ปี และถือเป็นครูต้นแบบให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอยู่ทั้งหมด 12 แห่งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

    นางสุปรีดา ช่วยเทวฤทธิ์ ภรรยา พ.ต.ท.สุวิทย์ กล่าวว่า “พี่แกไปดีแล้ว และสมความตั้งใจในหน้าที่การงาน แกไปไม่คิดขอย้ายจากที่นี่ ทั้งมีโอกาส แกบอกแกรักคนที่นี่ แต่สุดท้าย มีไม่กี่คนที่เกลียดแก แกไปดีแล้ว” สอดคล้องกับ จ.ส.ต.หญิง ฮานีบะห์ สานิ ครูโรงเรียน ตชด.บ้านตืองอฯ ตามรายงานข่าวของศูนย์ข่าวภาคใต้ สำนักข่าวอิศรา กล่าวว่า ทั้งโรงเรียนมีครูผู้ชายอยู่ 2 คน คือครูใหญ่สุวิทย์และครูโดม ที่เหลือเป็นครูผู้หญิง 11 คน ต้องดูแลเด็กนักเรียน 120 ชีวิต เรานั่งเรือด้วยกัน แต่คนขับเรือไม่อยู่แล้ว แล้วใครจะขับต่อ แล้วจะไปต่ออย่างไร วันข้างหน้าเราไม่รู้ว่าจะเจออะไร อุปสรรคอะไร แล้วจะไปต่อถึงฝั่งได้อย่างไร

    เฟซบุ๊กของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มหนึ่ง กล่าวอ้างพระนามแห่งอัลเลาะห์ ระบุว่าทั้งสองคนเป็นพลรบสยามไทย นอกจากเป็นครูแล้วยังมีสถานะพลรบด้วย แม้จะเสียดายผู้มากด้วยฝีมือและประสบการณ์ แต่ไม่อาจหลีกเลี่ยงการต่อสู้และทำลายได้ ขณะที่ศาลจังหวัดนราธิวาส อนุมัติออกหมายจับนายอับดุลเลาะห์ สาเมาะ อายุ 30 ปี และนายอับดุลเลาะ บูละ อายุ 40 ปี มีหมายจับในคดีความมั่นคงหลายคดี รวม 14 หมายจับ มาจากหลักฐานดีเอ็นเอในที่เกิดเหตุ

    #Newskit
    พ่อ-ลูกครู ตชด. เหยื่อผู้ก่อความไม่สงบ เมื่อวันที่ 20 ม.ค.2568 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. เป็นผู้แทนพระองค์เชิญดินฝังศพพระราชทานวางบนหลุมฝังศพของ พ.ต.ท.สุวิทย์ ช่วยเทวฤทธิ์ ครูใหญ่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (รร.ตชด.) บ้านบ้านตืองอช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ 13 และ ด.ต.โดม ช่วยเทวฤทธิ์ ครู รร.ตชด.บ้านตืองอฯ บุตรชาย ที่บ้านเลขที่ 293 หมู่ 3 ต.คลองทรายขาว อ.กงหรา จ.พัทลุง ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายรัฐศาสตร์ ชิดชู ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นผู้แทนพระองค์เชิญดินฝังศพพระราชทานวางบนหลุมฝังศพของครู ตชด. ทั้ง 2 นายด้วย พ.ต.ท.สุวิทย์ ครูใหญ่ และลูกชาย ด.ต.โดม ครูวิชาเกษตรโรงเรียนเดียวกัน ถูกคนร้ายนำระเบิดแสวงเครื่องซุกใต้ถนนดักถล่มแล้วยิงซ้ำ เสียชีวิต 2 ราย พร้อมขโมยปืนไป 2 กระบอก เหตุเกิดบนถนนศรีสาคร-ลูโบ๊ะยือริง ช่วงบ้านไอร์กือแด หมู่ 4 ต.ศรีบรรพต อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 13 ม.ค.2568 สร้างความสะเทือนใจให้แก่วงการตำรวจ และแวดวงการศึกษา เนื่องจาก พ.ต.ท.สุวิทย์เป็นครูที่ทุ่มเทเสียสละสอนนักเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัยมานานกว่า 30 ปี และถือเป็นครูต้นแบบให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอยู่ทั้งหมด 12 แห่งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ นางสุปรีดา ช่วยเทวฤทธิ์ ภรรยา พ.ต.ท.สุวิทย์ กล่าวว่า “พี่แกไปดีแล้ว และสมความตั้งใจในหน้าที่การงาน แกไปไม่คิดขอย้ายจากที่นี่ ทั้งมีโอกาส แกบอกแกรักคนที่นี่ แต่สุดท้าย มีไม่กี่คนที่เกลียดแก แกไปดีแล้ว” สอดคล้องกับ จ.ส.ต.หญิง ฮานีบะห์ สานิ ครูโรงเรียน ตชด.บ้านตืองอฯ ตามรายงานข่าวของศูนย์ข่าวภาคใต้ สำนักข่าวอิศรา กล่าวว่า ทั้งโรงเรียนมีครูผู้ชายอยู่ 2 คน คือครูใหญ่สุวิทย์และครูโดม ที่เหลือเป็นครูผู้หญิง 11 คน ต้องดูแลเด็กนักเรียน 120 ชีวิต เรานั่งเรือด้วยกัน แต่คนขับเรือไม่อยู่แล้ว แล้วใครจะขับต่อ แล้วจะไปต่ออย่างไร วันข้างหน้าเราไม่รู้ว่าจะเจออะไร อุปสรรคอะไร แล้วจะไปต่อถึงฝั่งได้อย่างไร เฟซบุ๊กของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มหนึ่ง กล่าวอ้างพระนามแห่งอัลเลาะห์ ระบุว่าทั้งสองคนเป็นพลรบสยามไทย นอกจากเป็นครูแล้วยังมีสถานะพลรบด้วย แม้จะเสียดายผู้มากด้วยฝีมือและประสบการณ์ แต่ไม่อาจหลีกเลี่ยงการต่อสู้และทำลายได้ ขณะที่ศาลจังหวัดนราธิวาส อนุมัติออกหมายจับนายอับดุลเลาะห์ สาเมาะ อายุ 30 ปี และนายอับดุลเลาะ บูละ อายุ 40 ปี มีหมายจับในคดีความมั่นคงหลายคดี รวม 14 หมายจับ มาจากหลักฐานดีเอ็นเอในที่เกิดเหตุ #Newskit
    Like
    Sad
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 526 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts