• ด่านปาดังเบซาร์ วันนี้ที่เปลี่ยนไป

    ใกล้จะครบรอบ 1 ปี สำหรับการกลับมาเปิดใช้สะพานลอยปาดังเบซาร์ (Padang Besar) รัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย นับตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ.2567 เป็นต้นมา ซึ่งเชื่อมระหว่างศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ ตรงข้ามด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา กับสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ ของการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ที่มีรถไฟ KTM Komuter ไปสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง และรถไฟ ETS ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ พบว่าเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด

    ถ้ามาจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ หรือรัฐปีนังด้วยรถไฟ ถึงสถานีปาดังเบซาร์ เมื่อออกจากประตูอัตโนมัติ (ACG) จะพบกับบรรดาโชเฟอร์แท็กซี่และรถตู้ไปหาดใหญ่ คนละ 30 ริงกิต (ประมาณ 231 บาท) แต่มีป้ายบอกทางระบุเป็นภาษาไทยและภาษามาเลย์ว่า "ออกจากเมือง ไปด่านตรวจคนเข้าเมือง (ICQS) และไปศูนย์การค้า NIAGA ปาดังเบซาร์" โดยลูกศรชี้ไปที่สะพานลอยที่เปิดขึ้นมา ถ้าไม่ได้ใช้บริการรถไฟไปยังสถานีชุมทางหาดใหญ่ก็ใช้สะพานลอยแห่งนี้

    สะพานลอยดังกล่าวไปออกวงเวียนปาดังเบซาร์ ซึ่งจะมีรถจักรยานยนต์รับจ้างไปส่งถึงฝั่งประเทศไทย ค่าโดยสาร 10 ริงกิต แต่ถ้าจะเดินเข้าไปเองก็ทำได้แต่ไกลหน่อย ศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ เปิดเวลา 06.00-22.00 น. ส่วนด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทย เปิด 05.00-21.00 น. (เวลาไทย)

    ด้านพื้นที่การค้าย่านวงเวียนปาดังเบซาร์ พบว่ามีร้านมิสเตอร์ดีไอวาย (มาเลเซีย) เปิดอยู่ใกล้กับวงเวียน ตามมาด้วยอาคารพาณิชย์ ศูนย์การค้า Arked Niaga ศูนย์การค้า Plaza Niaga และศูนย์การค้า Padang Waremart แต่ก็มีศูนย์การค้าเปิดใหม่ด้านในสุด คือ Padang Besar Street ที่มีศูนย์อาหาร Border Kitchen และร้าน Tealive ตั้งอยู่

    สำหรับร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free) มีอยู่ 2 แห่ง ได้แก่ ร้าน Warisan Limpahan เป็นอาคารพาณิชย์ใกล้ Arked Niaga จำหน่ายน้ำหอม สุรา และบุหรี่ แต่การรับสินค้าหลังชำระเงินแล้ว ต้องนำใบเสร็จไปรับที่ห้องกระจกหลังผ่านจุดลงตราประทับ โดยจะมีพนักงานตามไปส่งสินค้าด้วยจักรยานยนต์ ส่วนอีกแห่งหนึ่งคือ The ZON Duty Free อยู่เลยศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ไปแล้ว ก่อนถึงด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทย ด้านในคล้ายกับห้างสรรพสินค้า

    เมื่อออกจากด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทยแล้ว มีจุดจอดรถตู้บริเวณตรงข้ามด่าน ค่าโดยสารคนละ 70 บาท รถออกเที่ยวแรก 06.30 น. เที่ยวสุดท้าย 17.30 น. (เวลาไทย) หากต้องการส่งพัสดุไปรษณีย์ จะมีที่ทำการไปรษณีย์ปาดังเบซาร์ อยู่ตรงข้ามสถานีตำรวจภูธรปาดังเบซาร์ เปิดวันจันทร์-ศุกร์ 08.30-17.00 น. วันเสาร์ 09.00-15.00 น. หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    ด่านปาดังเบซาร์ วันนี้ที่เปลี่ยนไป ใกล้จะครบรอบ 1 ปี สำหรับการกลับมาเปิดใช้สะพานลอยปาดังเบซาร์ (Padang Besar) รัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย นับตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ.2567 เป็นต้นมา ซึ่งเชื่อมระหว่างศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ ตรงข้ามด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา กับสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ ของการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ที่มีรถไฟ KTM Komuter ไปสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง และรถไฟ ETS ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ พบว่าเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด ถ้ามาจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ หรือรัฐปีนังด้วยรถไฟ ถึงสถานีปาดังเบซาร์ เมื่อออกจากประตูอัตโนมัติ (ACG) จะพบกับบรรดาโชเฟอร์แท็กซี่และรถตู้ไปหาดใหญ่ คนละ 30 ริงกิต (ประมาณ 231 บาท) แต่มีป้ายบอกทางระบุเป็นภาษาไทยและภาษามาเลย์ว่า "ออกจากเมือง ไปด่านตรวจคนเข้าเมือง (ICQS) และไปศูนย์การค้า NIAGA ปาดังเบซาร์" โดยลูกศรชี้ไปที่สะพานลอยที่เปิดขึ้นมา ถ้าไม่ได้ใช้บริการรถไฟไปยังสถานีชุมทางหาดใหญ่ก็ใช้สะพานลอยแห่งนี้ สะพานลอยดังกล่าวไปออกวงเวียนปาดังเบซาร์ ซึ่งจะมีรถจักรยานยนต์รับจ้างไปส่งถึงฝั่งประเทศไทย ค่าโดยสาร 10 ริงกิต แต่ถ้าจะเดินเข้าไปเองก็ทำได้แต่ไกลหน่อย ศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ เปิดเวลา 06.00-22.00 น. ส่วนด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทย เปิด 05.00-21.00 น. (เวลาไทย) ด้านพื้นที่การค้าย่านวงเวียนปาดังเบซาร์ พบว่ามีร้านมิสเตอร์ดีไอวาย (มาเลเซีย) เปิดอยู่ใกล้กับวงเวียน ตามมาด้วยอาคารพาณิชย์ ศูนย์การค้า Arked Niaga ศูนย์การค้า Plaza Niaga และศูนย์การค้า Padang Waremart แต่ก็มีศูนย์การค้าเปิดใหม่ด้านในสุด คือ Padang Besar Street ที่มีศูนย์อาหาร Border Kitchen และร้าน Tealive ตั้งอยู่ สำหรับร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free) มีอยู่ 2 แห่ง ได้แก่ ร้าน Warisan Limpahan เป็นอาคารพาณิชย์ใกล้ Arked Niaga จำหน่ายน้ำหอม สุรา และบุหรี่ แต่การรับสินค้าหลังชำระเงินแล้ว ต้องนำใบเสร็จไปรับที่ห้องกระจกหลังผ่านจุดลงตราประทับ โดยจะมีพนักงานตามไปส่งสินค้าด้วยจักรยานยนต์ ส่วนอีกแห่งหนึ่งคือ The ZON Duty Free อยู่เลยศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ไปแล้ว ก่อนถึงด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทย ด้านในคล้ายกับห้างสรรพสินค้า เมื่อออกจากด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทยแล้ว มีจุดจอดรถตู้บริเวณตรงข้ามด่าน ค่าโดยสารคนละ 70 บาท รถออกเที่ยวแรก 06.30 น. เที่ยวสุดท้าย 17.30 น. (เวลาไทย) หากต้องการส่งพัสดุไปรษณีย์ จะมีที่ทำการไปรษณีย์ปาดังเบซาร์ อยู่ตรงข้ามสถานีตำรวจภูธรปาดังเบซาร์ เปิดวันจันทร์-ศุกร์ 08.30-17.00 น. วันเสาร์ 09.00-15.00 น. หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 238 มุมมอง 0 รีวิว
  • นับหนึ่งถึงอนาคต รถไฟฟ้าสายแรกปีนัง

    รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย กำลังจะมีรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) สายแรกเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ หลังจากเมื่อเดือน มี.ค.2567 รัฐบาลกลางมาเลเซีย รับช่วงต่อจากรัฐบาลท้องถิ่นรัฐปีนัง พัฒนาโครงการรถไฟรางเบาสายมูเทียร่า ไลน์ (Mutiara Line) โดยแต่งตั้งบริษัท เอ็มอาร์ที คอร์ป (MRT Corp) ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมด เป็นผู้พัฒนาโครงการ

    พิธีวางศิลาฤกษ์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2568 บริเวณสถานที่ก่อสร้างสถานีบันดาร์ ศรี ปีนัง (Bandar Sri Pinang) โดยมีนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเป็นประธาน

    จากการลงพื้นที่ของ Newskit พบว่า สถานที่ก่อสร้างสถานีบันดาร์ ศรี ปีนัง (Bandar Sri Pinang) ติดกับทางด่วนลิม ชอง ยู (Lim Chong Eu) ใกล้กับมัสยิดอัล บัคฮารี่ (Al Bukhary) และทางจักรยานเลียบชายทะเล บริเวณฝั่งตะวันออกของเกาะปีนัง เมื่อข้ามแม่น้ำปีนังไปแล้วจะเป็นสถานีแมคคัลลัม ก่อนแยกเป็นสองสาย แยกซ้ายไปสถานีคอมตาร์ แยกขวาข้ามทะเลไปสถานีปีนังเซ็นทรัล

    ก่อนที่เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2568 จะมีการลงนามสัญญาก่อสร้างช่วงคอมตาร์-เกาะซิลิคอน (Komtar-Silicon Island) ระยะทาง 24 กิโลเมตร รวม 19 สถานี มูลค่าประมาณ 8,310 ล้านริงกิต (64,000 ล้านบาท) โดยมีกลุ่มกิจการร่วมค้าเอสอาร์เอส ที่บริษัทก่อสร้างกามูดา (Gamuda) ถือหุ้น 60% เป็นผู้รับเหมาในการก่อสร้าง โดยมีระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2574

    ส่วนช่วงคอมตาร์-ปีนังเซ็นทรัล (Komtar-Penang Sentral) จากสถานีแมคคัลลัม (Macallum) ในเมืองจอร์จทาวน์ ผ่านช่องแคบปีนัง ระยะทาง 5.8 กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดประมูลในเดือน ก.ค. 2568 และประกาศผลการประมูลในต้นปี 2569 ส่วนการประมูลระบบรถไฟฟ้าและการบำรุงรักษา กำลังดำเนินการ โดยมีกำหนดส่งข้อเสนอขั้นสุดท้ายในวันที่ 14 เม.ย. 2568

    นายแอนโทนี ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า โครงการนี้ได้รับการวางแผนอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้สามารถเข้าถึงศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่สำคัญได้อย่างราบรื่น สนับสนุนโครงการ Penang Silicon Design @5km+ การยกระดับท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง และเขตอุตสาหกรรมเสรีบายัน เลอปาส (Bayan Lepas)

    อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ยังมีปัญหาเรื่องที่ดินก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณสถานีสุไหงนิบง (Sungai Nibong) ซึ่งเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีการจัดงานเทศกาลประจำปี เพสต้า ปูเลา ปีนัง (Pesta Pulau Pinang) มาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2509 แต่ทาง MRT Corp ยืนยันว่าจะใช้พื้นที่ไม่มาก ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรองและพื้นที่พัฒนารอบสถานี (TOD) เท่านั้น

    #Newskit

    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    นับหนึ่งถึงอนาคต รถไฟฟ้าสายแรกปีนัง รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย กำลังจะมีรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) สายแรกเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ หลังจากเมื่อเดือน มี.ค.2567 รัฐบาลกลางมาเลเซีย รับช่วงต่อจากรัฐบาลท้องถิ่นรัฐปีนัง พัฒนาโครงการรถไฟรางเบาสายมูเทียร่า ไลน์ (Mutiara Line) โดยแต่งตั้งบริษัท เอ็มอาร์ที คอร์ป (MRT Corp) ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมด เป็นผู้พัฒนาโครงการ พิธีวางศิลาฤกษ์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2568 บริเวณสถานที่ก่อสร้างสถานีบันดาร์ ศรี ปีนัง (Bandar Sri Pinang) โดยมีนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเป็นประธาน จากการลงพื้นที่ของ Newskit พบว่า สถานที่ก่อสร้างสถานีบันดาร์ ศรี ปีนัง (Bandar Sri Pinang) ติดกับทางด่วนลิม ชอง ยู (Lim Chong Eu) ใกล้กับมัสยิดอัล บัคฮารี่ (Al Bukhary) และทางจักรยานเลียบชายทะเล บริเวณฝั่งตะวันออกของเกาะปีนัง เมื่อข้ามแม่น้ำปีนังไปแล้วจะเป็นสถานีแมคคัลลัม ก่อนแยกเป็นสองสาย แยกซ้ายไปสถานีคอมตาร์ แยกขวาข้ามทะเลไปสถานีปีนังเซ็นทรัล ก่อนที่เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2568 จะมีการลงนามสัญญาก่อสร้างช่วงคอมตาร์-เกาะซิลิคอน (Komtar-Silicon Island) ระยะทาง 24 กิโลเมตร รวม 19 สถานี มูลค่าประมาณ 8,310 ล้านริงกิต (64,000 ล้านบาท) โดยมีกลุ่มกิจการร่วมค้าเอสอาร์เอส ที่บริษัทก่อสร้างกามูดา (Gamuda) ถือหุ้น 60% เป็นผู้รับเหมาในการก่อสร้าง โดยมีระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2574 ส่วนช่วงคอมตาร์-ปีนังเซ็นทรัล (Komtar-Penang Sentral) จากสถานีแมคคัลลัม (Macallum) ในเมืองจอร์จทาวน์ ผ่านช่องแคบปีนัง ระยะทาง 5.8 กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดประมูลในเดือน ก.ค. 2568 และประกาศผลการประมูลในต้นปี 2569 ส่วนการประมูลระบบรถไฟฟ้าและการบำรุงรักษา กำลังดำเนินการ โดยมีกำหนดส่งข้อเสนอขั้นสุดท้ายในวันที่ 14 เม.ย. 2568 นายแอนโทนี ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า โครงการนี้ได้รับการวางแผนอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้สามารถเข้าถึงศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่สำคัญได้อย่างราบรื่น สนับสนุนโครงการ Penang Silicon Design @5km+ การยกระดับท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง และเขตอุตสาหกรรมเสรีบายัน เลอปาส (Bayan Lepas) อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ยังมีปัญหาเรื่องที่ดินก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณสถานีสุไหงนิบง (Sungai Nibong) ซึ่งเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีการจัดงานเทศกาลประจำปี เพสต้า ปูเลา ปีนัง (Pesta Pulau Pinang) มาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2509 แต่ทาง MRT Corp ยืนยันว่าจะใช้พื้นที่ไม่มาก ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรองและพื้นที่พัฒนารอบสถานี (TOD) เท่านั้น #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 269 มุมมอง 0 รีวิว
  • ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes

    มูลค่า 10 ริงกิต (77.09 บาท) เป็นบัตรเปล่า ไม่มียอดเงินในบัตร

    สามารถเติมเงินลงในบัตรได้ที่สถานีรถไฟฟ้า MRT Corp หรือ Rapid KL หรือเครื่อง Kiosk ของ Touch 'n Go และร้านค้า อาทิ 7-Eleven (มาเลเซีย), ECONSAVE, Watsons (มาเลเซีย), KK Mart, 99 Speedmart, Lotus's (มาเลเซีย) หรือจุดบริการตามที่ Touch 'n Go กำหนด แต่ถ้ามีซิมการ์ดค่ายมือถือประเทศมาเลเซีย สามารถใช้ร่วมกับแอปพลิเคชัน Touch 'n Go e-Wallet ได้

    เพียงกรอกแบบฟอร์มนี้ >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9

    เฉพาะชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์มือถือ เพื่อใช้สำหรับจัดส่งของรางวัลหากเป็นผู้โชคดีเท่านั้น

    (แบบฟอร์มนี้ไม่มีการกรอกข้อมูลทางการเงิน อาทิ ข้อมูลบัญชีธนาคาร ข้อมูลบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือข้อมูลบัตรอิเล็กทรอนิกส์ใดๆ ทั้งสิ้น)

    ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 มกราคม 2568 ประกาศรายชื่อผู้โชคดี 3 กุมภาพันธ์ 2568 ที่เพจ Newskit ใน Thaitimes

    เงื่อนไขเป็นไปตามที่เพจ Newskit กำหนด กิจกรรมนี้ทาง Thaitimes ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes มูลค่า 10 ริงกิต (77.09 บาท) เป็นบัตรเปล่า ไม่มียอดเงินในบัตร สามารถเติมเงินลงในบัตรได้ที่สถานีรถไฟฟ้า MRT Corp หรือ Rapid KL หรือเครื่อง Kiosk ของ Touch 'n Go และร้านค้า อาทิ 7-Eleven (มาเลเซีย), ECONSAVE, Watsons (มาเลเซีย), KK Mart, 99 Speedmart, Lotus's (มาเลเซีย) หรือจุดบริการตามที่ Touch 'n Go กำหนด แต่ถ้ามีซิมการ์ดค่ายมือถือประเทศมาเลเซีย สามารถใช้ร่วมกับแอปพลิเคชัน Touch 'n Go e-Wallet ได้ เพียงกรอกแบบฟอร์มนี้ >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9 เฉพาะชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์มือถือ เพื่อใช้สำหรับจัดส่งของรางวัลหากเป็นผู้โชคดีเท่านั้น (แบบฟอร์มนี้ไม่มีการกรอกข้อมูลทางการเงิน อาทิ ข้อมูลบัญชีธนาคาร ข้อมูลบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือข้อมูลบัตรอิเล็กทรอนิกส์ใดๆ ทั้งสิ้น) ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 มกราคม 2568 ประกาศรายชื่อผู้โชคดี 3 กุมภาพันธ์ 2568 ที่เพจ Newskit ใน Thaitimes เงื่อนไขเป็นไปตามที่เพจ Newskit กำหนด กิจกรรมนี้ทาง Thaitimes ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 241 มุมมอง 0 รีวิว
  • ต่อนยอนสู่ปีนัง ขบวนรถไฟ My Sawasdee

    หลังการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ประเทศมาเลเซีย ประสบความสำเร็จในการเปิดให้บริการขบวนรถพิเศษ My Sawasdee เส้นทางกัวลาลัมเปอร์-หาดใหญ่ ในช่วงวันหยุดยาวของมาเลเซีย นับตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2565 ล่าสุดเมื่อช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 ที่ผ่านมา เปิดตัวรถไฟขบวนพิเศษ My Sawasdee Penang Edition เส้นทางจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ไปยังสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้บริการระหว่างวันที่ 29 ธ.ค.2567 ถึง 5 ม.ค.2568

    เฟซบุ๊ก "แซม ญาณบ้าน" นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการ เปิดเผยว่า ขบวนรถดังกล่าวจำหน่ายตั๋วเที่ยวเดียวในราคา 45 ริงกิต (ประมาณ 346 บาท) เน้นสำหรับชาวมาเลเซียที่จะไปเที่ยวหาดใหญ่ เพราะออกจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 7 โมงเช้า ถึงปลายทางหาดใหญ่ประมาณเที่ยงวัน ส่วนขากลับออกจากหาดใหญ่เวลาประมาณ 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย จอดที่สถานีปาดังเบซาร์ เพื่อลงตราประทับจากตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ก่อนจอดส่งผู้โดยสารตามรายทาง รวม 5 สถานี

    ก่อนเข้าสถานีปาดังเบซาร์ เจ้าหน้าที่จะกำชับเรื่องการกรอกบัตรขาเข้าดิจิทัลของมาเลเซีย (MDAC) สำหรับชาวต่างชาติ และต้องนำสิ่งของทุกอย่างลงจากรถไฟ รวมทั้งน้ำดื่มและอาหาร เข้า ตม. เพื่อผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร

    ตู้โดยสารที่ใช้เป็นตู้โดยสารปรับอากาศ คล้ายรถนั่งปรับอากาศชั้น 2 ในไทย เมื่อถึงสถานีปาดังเบซาร์ ให้นั่งรอในขบวนรถระหว่าง ตม. ไทยและมาเลเซียลงตราประทับนักท่องเที่ยวขาออกจากมาเลเซีย ไปขบวน 950 และ 46 ให้หมดก่อน ประมาณ 30 นาทีจึงให้ผู้โดยสารออกมาลงตราประทับ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และไม่มีผู้โดยสารขึ้นระหว่างทางก่อนถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ก็ปล่อยขบวนรถก่อนเวลาเกือบ 20 นาที แต่ปรากฎว่าต้องรอหลีกให้รถไฟ KTM Komuter มาถึงทีหลังให้แซงไปก่อน ถึงจะออกรถได้

    แม้จะถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 21.36 น. ตามเวลามาเลเซีย แต่ขึ้นเรือเฟอร์รี่ไม่ทันรอบ 21.30 น. ต้องรอเรือรอบถัดไป 23.00 น. ถึงจะเข้าไปบนเกาะปีนัง จึงแนะว่าถ้าไม่เร่งรีบก็น่าสนใจ แต่ถ้าต้องทำเวลาจริงๆ ใช้บริการ KTM Komuter ดีกว่า เพราะใช้เวลาจากสถานีปาดังเบซาร์ ถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธไม่ถึง 2 ชั่วโมง

    สำหรับความคืบหน้าการเดินรถไฟ บัตเตอร์เวิร์ธ-กรุงเทพอภิวัฒน์ ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวบูเลทิน มูเทียรา (Buletin Mutiara) รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย รายงานว่า นายวง ฮอน ไว ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งรัฐปีนัง กล่าวต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งรัฐปีนัง เมื่อเดือน พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา ว่าจะเริ่มให้บริการในช่วงต้นปี 2568

    #Newskit
    ต่อนยอนสู่ปีนัง ขบวนรถไฟ My Sawasdee หลังการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ประเทศมาเลเซีย ประสบความสำเร็จในการเปิดให้บริการขบวนรถพิเศษ My Sawasdee เส้นทางกัวลาลัมเปอร์-หาดใหญ่ ในช่วงวันหยุดยาวของมาเลเซีย นับตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2565 ล่าสุดเมื่อช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 ที่ผ่านมา เปิดตัวรถไฟขบวนพิเศษ My Sawasdee Penang Edition เส้นทางจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ไปยังสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้บริการระหว่างวันที่ 29 ธ.ค.2567 ถึง 5 ม.ค.2568 เฟซบุ๊ก "แซม ญาณบ้าน" นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการ เปิดเผยว่า ขบวนรถดังกล่าวจำหน่ายตั๋วเที่ยวเดียวในราคา 45 ริงกิต (ประมาณ 346 บาท) เน้นสำหรับชาวมาเลเซียที่จะไปเที่ยวหาดใหญ่ เพราะออกจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 7 โมงเช้า ถึงปลายทางหาดใหญ่ประมาณเที่ยงวัน ส่วนขากลับออกจากหาดใหญ่เวลาประมาณ 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย จอดที่สถานีปาดังเบซาร์ เพื่อลงตราประทับจากตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ก่อนจอดส่งผู้โดยสารตามรายทาง รวม 5 สถานี ก่อนเข้าสถานีปาดังเบซาร์ เจ้าหน้าที่จะกำชับเรื่องการกรอกบัตรขาเข้าดิจิทัลของมาเลเซีย (MDAC) สำหรับชาวต่างชาติ และต้องนำสิ่งของทุกอย่างลงจากรถไฟ รวมทั้งน้ำดื่มและอาหาร เข้า ตม. เพื่อผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร ตู้โดยสารที่ใช้เป็นตู้โดยสารปรับอากาศ คล้ายรถนั่งปรับอากาศชั้น 2 ในไทย เมื่อถึงสถานีปาดังเบซาร์ ให้นั่งรอในขบวนรถระหว่าง ตม. ไทยและมาเลเซียลงตราประทับนักท่องเที่ยวขาออกจากมาเลเซีย ไปขบวน 950 และ 46 ให้หมดก่อน ประมาณ 30 นาทีจึงให้ผู้โดยสารออกมาลงตราประทับ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และไม่มีผู้โดยสารขึ้นระหว่างทางก่อนถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ก็ปล่อยขบวนรถก่อนเวลาเกือบ 20 นาที แต่ปรากฎว่าต้องรอหลีกให้รถไฟ KTM Komuter มาถึงทีหลังให้แซงไปก่อน ถึงจะออกรถได้ แม้จะถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 21.36 น. ตามเวลามาเลเซีย แต่ขึ้นเรือเฟอร์รี่ไม่ทันรอบ 21.30 น. ต้องรอเรือรอบถัดไป 23.00 น. ถึงจะเข้าไปบนเกาะปีนัง จึงแนะว่าถ้าไม่เร่งรีบก็น่าสนใจ แต่ถ้าต้องทำเวลาจริงๆ ใช้บริการ KTM Komuter ดีกว่า เพราะใช้เวลาจากสถานีปาดังเบซาร์ ถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธไม่ถึง 2 ชั่วโมง สำหรับความคืบหน้าการเดินรถไฟ บัตเตอร์เวิร์ธ-กรุงเทพอภิวัฒน์ ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวบูเลทิน มูเทียรา (Buletin Mutiara) รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย รายงานว่า นายวง ฮอน ไว ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งรัฐปีนัง กล่าวต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งรัฐปีนัง เมื่อเดือน พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา ว่าจะเริ่มให้บริการในช่วงต้นปี 2568 #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 403 มุมมอง 0 รีวิว
  • การรถไฟมาลายา ประเทศมาเลเซีย เปิดเดินรถขบวนพิเศษ "มาย สวัสดี ปีนัง อิดิชัน" มายังหาดใหญ่ จ.สงขลา ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ถึงวันที่ 5 ม.ค. เผยผู้โดยสารจองตั๋วแล้วกว่า 70%

    วันนี้ (29 ธ.ค.) เฟซบุ๊ก KTM Berhad ของการรถไฟมาลายา ประเทศมาเลเซีย โพสต์ภาพบรรยากาศการเปิดตัวรถไฟขบวนพิเศษที่ชื่อว่า มาย สวัสดี ปีนัง อิดิชัน (My Sawasdee Penang Edition) เส้นทางจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ถึงสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อเชื่อมโยงจุดหมายปลายทางหลักของทั้งสองสถานี และเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิดระหว่างมาเลเซียและไทย

    ทั้งนี้ ขบวนรถไฟมายสวัสดี ปีนัง อิดิชัน ให้บริการทุกวันในช่วงเทศกาลปีใหม่ ถึงวันที่ 5 ม.ค. 2568 ผ่านสถานีบูกิตเมอร์ตาจัม (Bukit Mertajam) สถานีสุไหงเปตานี (Sungai Petani) สถานีอลอร์สตาร์ (Alor Setar) สถานีอาเรา (Arau) และสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) ซึ่งในวันแรกของการให้บริการ KTM Berhad ได้มอบของที่ระลึกจำนวน 200 ชุด เพื่อแสดงความขอบคุณแก่สื่อมวลชนและผู้โดยสารที่สนับสนุนบริการของ KTM Berhad อย่างต่อเนื่อง

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000124875

    #MGROnline #การรถไฟมาลายา #ประเทศมาเลเซีย
    การรถไฟมาลายา ประเทศมาเลเซีย เปิดเดินรถขบวนพิเศษ "มาย สวัสดี ปีนัง อิดิชัน" มายังหาดใหญ่ จ.สงขลา ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ถึงวันที่ 5 ม.ค. เผยผู้โดยสารจองตั๋วแล้วกว่า 70% • วันนี้ (29 ธ.ค.) เฟซบุ๊ก KTM Berhad ของการรถไฟมาลายา ประเทศมาเลเซีย โพสต์ภาพบรรยากาศการเปิดตัวรถไฟขบวนพิเศษที่ชื่อว่า มาย สวัสดี ปีนัง อิดิชัน (My Sawasdee Penang Edition) เส้นทางจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ถึงสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อเชื่อมโยงจุดหมายปลายทางหลักของทั้งสองสถานี และเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิดระหว่างมาเลเซียและไทย • ทั้งนี้ ขบวนรถไฟมายสวัสดี ปีนัง อิดิชัน ให้บริการทุกวันในช่วงเทศกาลปีใหม่ ถึงวันที่ 5 ม.ค. 2568 ผ่านสถานีบูกิตเมอร์ตาจัม (Bukit Mertajam) สถานีสุไหงเปตานี (Sungai Petani) สถานีอลอร์สตาร์ (Alor Setar) สถานีอาเรา (Arau) และสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) ซึ่งในวันแรกของการให้บริการ KTM Berhad ได้มอบของที่ระลึกจำนวน 200 ชุด เพื่อแสดงความขอบคุณแก่สื่อมวลชนและผู้โดยสารที่สนับสนุนบริการของ KTM Berhad อย่างต่อเนื่อง • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000124875 • #MGROnline #การรถไฟมาลายา #ประเทศมาเลเซีย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 239 มุมมอง 0 รีวิว
  • “นายกฯ อิ๊งค์” ยังไม่ทราบ “ทักษิณ” บินมาเลเซีย พบนายกอันวาร์ อิบราฮิม วันที่ 26 ธ.ค. แต่น่าจะเป็นเรื่องดี น่าจะส่งผลดีต่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย

    เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 23 ธ.ค.ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์กรณีที่มีรายงานข่าวจากสื่อมาเลเซีย ระบุว่านายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ปรึกษาส่วนตัวของประธานอาเซียนในปี 2568 เตรียมเดินทางไปประเทศมาเลเซีย เพื่อพบกับนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และประธานาธิบดี อินโดนีเซีย ในโอกาสที่มีวาระการหารือ ประเด็นยุทธศาสตร์และการพัฒนาอาเซียน ในวันที่ 26 ธ.ค.นี้ ว่า ยังไม่ทราบ

    ผู้สื่อข่าวถามว่า การเดินทางไปครั้งนี้ จะส่งผลดีต่อการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย น.ส. แพทองธาร กล่าวว่า ที่จริงเราได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทางมาเลเซียแต่ถ้าได้เจอได้พบกัน น่าจะดี แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร

    เมื่อถามว่า นายทักษิณได้ตอบรับที่จะเดินทางไปแล้วใช่หรือไม่แพรทองทานกล่าวว่า ยังไม่ได้คุยจริงๆ เดี๋ยวจะถามให้

    #MGROnline #อิ๊งค์ #ทักษิณ #มาเลเซีย
    “นายกฯ อิ๊งค์” ยังไม่ทราบ “ทักษิณ” บินมาเลเซีย พบนายกอันวาร์ อิบราฮิม วันที่ 26 ธ.ค. แต่น่าจะเป็นเรื่องดี น่าจะส่งผลดีต่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย • เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 23 ธ.ค.ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์กรณีที่มีรายงานข่าวจากสื่อมาเลเซีย ระบุว่านายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ปรึกษาส่วนตัวของประธานอาเซียนในปี 2568 เตรียมเดินทางไปประเทศมาเลเซีย เพื่อพบกับนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และประธานาธิบดี อินโดนีเซีย ในโอกาสที่มีวาระการหารือ ประเด็นยุทธศาสตร์และการพัฒนาอาเซียน ในวันที่ 26 ธ.ค.นี้ ว่า ยังไม่ทราบ • ผู้สื่อข่าวถามว่า การเดินทางไปครั้งนี้ จะส่งผลดีต่อการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย น.ส. แพทองธาร กล่าวว่า ที่จริงเราได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทางมาเลเซียแต่ถ้าได้เจอได้พบกัน น่าจะดี แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร • เมื่อถามว่า นายทักษิณได้ตอบรับที่จะเดินทางไปแล้วใช่หรือไม่แพรทองทานกล่าวว่า ยังไม่ได้คุยจริงๆ เดี๋ยวจะถามให้ • #MGROnline #อิ๊งค์ #ทักษิณ #มาเลเซีย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 251 มุมมอง 0 รีวิว
  • สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง”, ฉายานายกฯ “แพทองโพย“ 7 รมต.ติดโผ ”บิ๊กอ้วน,อนุทิน,ทวี“ - พ่วง3รมต.โลกลืม
    .
    เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า การตั้งฉายารัฐบาล และรัฐมนตรีประจำปี ของผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล เป็นธรรมเนียมที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมานานของผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของสื่อมวลชนต่อการทำงานของรัฐบาล โดยปราศจากอคติส่วนตัว ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล จึงมีมติร่วมกันตั้งฉายารัฐบาล รัฐมนตรี และวาทะแห่งปี ประจำปี 2567 ดังนี้
    .
    ฉายารัฐบาล รัฐบาล“พ่อ“เลี้ยง
    ด้วยความเป็น “พ่อ” ของหัวหน้ารัฐบาล ยี่ห้อ "ทักษิณ ชินวัตร" ขึ้นชื่อดีกรีความรักลูกไม่น้อยหน้าใคร ทั้งปกป้อง เลี้ยงดู อุ้มชู ปูทาง จนได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำประเทศ เป็นลูกไม้หล่นใต้ต้น ที่มี DNA
    เดียวกันเป๊ะ จนไม่พ้นเสียงครหา รัฐบาลนี้ "พ่อคิด ลูกทำ"
    และไม่ใช่แค่การเลี้ยงดูลูกในสนามการเมืองเท่านั้น ยังลามไปถึงวาทะเลี้ยง "มาม่า" พรรคร่วมรัฐบาล ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า จนสะเทือนเลื่อนลั่น สะท้อนบทแบ็กอัพที่ไม่ใช่เลี้ยงลูกตัวเองเท่านั้น แต่เลี้ยงรัฐบาลให้เดินอยู่ในรอยด้วย
    .
    1.น.ส.แพทองธาร ชินวัตร
    ฉายา แพทองโพย
    ล้อมาจากชื่อของนายกฯ
    “แพทองธาร” กับประเด็นดรามา "ไอแพด" คู่ใจ โพยยุคไอที ถือติดมือได้ทุกที่ เป็นเอกลักษณ์ประจำตัว พกโพยเครื่องเดียวอ่าน จด โหลดข้อมูลเสร็จสรรพ จนเกิดเสียงวิจารณ์ถึงความเหมาะสมเมื่อยกขึ้นอ่าน ระหว่างพบผู้นำ แขกต่างชาติ กลายเป็นประเด็นตอบโต้เผ็ดร้อนกับชาวเน็ต และตอกย้ำแบบโนสนโนแคร์ด้วยภาพชูไอแพดคู่ใจ ระหว่างร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน หรือแม้แต่ยกไอแพด ขึ้นอ่านแถลงข่าวการระบายน้ำภาคเหนือ ลงสู่แม่น้ำโขง จนถูกวิจารณ์ยกใหญ่
    .
    2.นายภูมิธรรม​ เวชย​ชัย​ รองนายก​รัฐมนตรี​ และ​รมว.กลาโหม
    ฉายา สหายใหญ่ใส่บู๊ต
    รองนายกรัฐมนตรี คนที่ 1 ติดโผได้รับฉายาไม่ไม่ขาด
    “สหายใหญ่” ในเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 วันนั้น สู่ "บิ๊กอ้วน" แห่งกองทัพไทยในวันนี้ ปรับโฉมกุนซือการเมือง มายกมือตะเบ๊ะ เสื้อตึงเป๊ะ ใส่
    "ท็อปบูต"นั่งเก้าอี้กลาโหม จากที่เคยอยู่กันคนละฝั่ง วันนี้ต้องคุมบังเหียนมาทำงานร่วมกับเหล่าทหาร ส่งท้ายปีจับมือท็อปบู้ตพากันลงพื้นที่ช่วยน้ำท่วม และยังต้องรับบทหนัก ถึงหนักมาก คอยระวังหลังให้กับ "นายกฯอิ๊งค์" อีกด้วย
    .
    3.นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย
    ฉายา ภูมิใจขวาง
    นอกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี คนที่ 3 ยังสวมหมวกหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ทำงาน 3 เดือนใน “รัฐบาลแพทองธาร” สร้างสีสันจากบุคลิกและสไตล์การพูดหยิกแกมหยอก พร้อมสโลแกนขอทำงานไม่ขัดแย้งใคร แต่นับจากลงเรือร่วมรัฐบาล มียกมือค้านทั้งร่างกฎหมายสกัดรัฐประหาร ของสส.พรรคแกนนำ ล่าสุดโหวตสวนร่างพ.ร.บ.ประชามติ เห็นต่างจาก
    พรรครัฐบาล ต้องจับตาบทบาทจากนี้“รมต.หนู“จะปล่อยของ โชว์ลีลา สร้างผลงาน ให้ประทับใจอย่างไร
    .
    4. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาครองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน
    ฉายา พีระพัง
    พังอุดมการณ์จากพรรคขั้วตรงข้าม “ชินวัตร“ ตกลงปลงใจมาจับมือร่วมรัฐบาล “นายกฯอิ๊งค์“คว้าเก้าอี้รัฐมนตรีคุมกระทรวงใหญ่ ถูกคาดหวังจะมาแก้ปมเรื่องพลังงาน ให้ชาวบ้านได้ใช้น้ำมันถูกลง เจ้าตัวยังหมายมั่นปั้นมือประกาศแก้กฎหมายรื้อโครงสร้างภาษีน้ำมัน จนเปลี่ยนหัวหน้ารัฐบาลแล้ว ก็ยังไม่ชัดเจน หรือจะซุ่มทำเงียบๆ งานนี้สังคมช่วยลุ้นจะทำได้ทันรัฐบาลนี้ หรือจะพังพับไปก่อน
    ด้านงานการเมืองยุค “หัวหน้าพี“คุมบังเหียน “รวมไทยสร้างชาติ”ดูยิ่งโลว์โปรไฟล์ จัดกิจกรรมพรรคได้เงียบกริบตามสไตล์ จนเกิดกระแสข่าวรอยร้าวภายใน ถูกจับจ้องถึงสัมพันธภาพกับลูกพรรค จะกอดคอรักกันนานแค่ไหน
    .
    5.พ.ต.อ.ทวี​ สอดส่อง​รมว.ยุติธรรม
    ฉายา ทวีไอพี
    ล็อกเป้าคุมเก้าอี้กระทรวงยุติธรรม เรียกได้ว่าเลื่อยขาเก้าอี้ไม่มีสั่น ไม่บอกก็รู้ว่า “นายใหญ่” ไว้ใจแค่ไหน นับตั้งแต่ภารกิจพานายใหญ่กลับบ้าน ถึงอีพี 2 ส่งนายใหญ่ขึ้น “ชั้น 14” ครองเตียง “วีไอพี” แทนนอนเรือนจำถึงได้พักโทษ ทำให้สังคมมองว่าเป็นนักโทษวีไอพี
    ต่อเนื่องที่เร่งออกระเบียบคุมตัวนอกเรือนจำ เสียงลือ
    แซ่ดเตรียมปูทางสำหรับ “วีไอพีหญิง“ตามรอยพี่ชายหรือไม่ เมื่อเดินงานเข้าตา พ.ต.อ.ทวี น่าจะถือบัตรวีไอพี ยึดเก้าอี้รัฐมนตรี ไปอีกยาว
    .
    6.นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ฉายา ประชาธิเป๋
    แปะยี่ห้อ “ประชาธิปัตย์” รั้งตำแหน่งหัวหน้าพรรค ประกาศพาค่ายสะตอกลับมายิ่งใหญ่ ไปๆมาๆ พลิกหนีบทฝ่ายค้าน ไม่ติดอดีต ไม่ฟาดฟันทางการเมือง กลืนอุดมการณ์คู่ปรับนับทศวรรษกับ “เพื่อไทย” กระโดดมาร่วมรัฐบาล เดินเป๋จากเส้นทางอุดมการณ์กว่า 70 ปี จนได้ตั๋วคุมงานกระทรวงใหญ่ แต่ผลงาน ได้เห็นเค้าแค่ลางๆยังไม่ชัดเจน
    .
    7.นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม
    ฉายา รวม(เพื่อ)ไทยอ้างชาติ
    เรื่องจริงหรือฝัน ทำบรรดาแม่ยก แทบไม่เชื่อสายตา ว่า "ขิง เอกนัฏ" คีย์แมนรทสช.ต้องยอมทำเพื่อชาติ ประกาศร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย เคลียร์ประเด็นคุณสมบัติคนเคยมีคดี ก่อนนั่งเก้าอี้รัฐมนตรีแบบใสๆ ภายใต้การนำของ"คนชินวัตร“ลั่นในใจไม่ลบ ไม่เคยลืมอดีต ก่อนยก
    วาทะเด็ด “ต้องทำงานโดยคิดถึงบ้านเมืองเป็นหลัก ถ้าคิดถึงบ้านเมือง ก็ทำงานร่วมกันได้” ทิ้งอดีตไว้ข้างหลัง เร่งโชว์ผลงานเดินเครื่องกวาดล้างโรงงานเถื่อน สารเคมีอันตราย ให้เข้าตาประชาชน
    .
    8.น.ส.จิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
    ฉายา จิราพอ(ล)
    จาก สส.รุ่นใหม่ดาวเด่นในสภา พูดจาฉะฉาน ถูกคาดหวังจะเฉิดฉายเมื่อนั่งเก้าอี้รัฐมนตรี ช่วยปรับโฉมงานของรัฐบาล เพราะคุมทั้งสื่อรัฐ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ. )แต่งานกลับเดินไปเนิบๆ
    สังคมมาถึงบางอ้อว่ารมต.น้ำ นั่งคุมสคบ.จากคดีดัง “ดิไอคอน กรุ๊ป”และ “บอสพอล” ถึงได้จังหวะโชว์ผลงาน ทั้งที่ขึ้นชั้นรมต.มาตั้งแต่ปลายรัฐบาลเศรษฐา จนถูกตั้งคำถามเรื่องการทำงาน ขึ้นปีใหม่จะเร่งเครื่องไปต่อ หรือพอใจจะทำงานเงียบๆ แบบสโลไลฟ์
    .
    กลุ่ม “รมต.โลกลืม”
    นายสุชาติ ชมกลิ่นรมช.พาณิชย์
    พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ
    นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช. พาณิชย์
    ทั้ง3คน มีบทบาท ได้คุมกระทรวงเกรดเอ ทั้งเรื่องการค้าและการศึกษา ผ่านเก้าอี้รมต.ที่เป็นประตูปูทาง
    สร้างงานให้โดดเด่นได้ แต่ผลงาน3 เดือนในรัฐบาล กลับไม่เปรี้ยงแต่เงียบกริบ จนประชาชนเรียกหาให้สตาร์ทเครื่อง ตีปี๊บผลงาน รับศักราชใหม่ สลัดครหารัฐมนตรีโลกลืม
    .
    วาทะแห่งปี “สามีเป็นคนใต้”
    น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในระหว่างการลงพื้นติดตามการฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำท่วม อ.แม่สาย จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.2567 ซึ่งถูกตั้งคำถามจากสังคม เปรียบเทียบการลงพื้นที่เพื่อฟื้นฟูภาคเหนือของนายกฯแต่อาจละเลยพี่น้องภาคใต้ ที่ถูกน้ำท่วม
    นายกฯชี้แจงย้ำหนักแน่น ไม่ได้ละเลยคนใต้ ด้วยประโยคว่า “โอ้ คำว่าละเลยภาคใต้ สามีเป็นคนใต้ ครอบครัวสามีเป็นคนใต้ ถ้าละเลยคนใต้ ไม่รักคนใต้ แต่งงานคนใต้ไม่ได้นะคะ”ยืนยันคำตอบจากใจ ไม่ได้เลือกปฏิบัติกับประชาชนภาคใด เพราะเป็นนายกฯของคนทั้งประเทศ
    .
    คำตอบของนายกฯยังไม่ใช่เหตุผลที่ตรงใจชาวโซเชียล จึงไม่วายถูกตั้งข้อสงสัยว่าเหตุที่ไม่ลงใต้ เพราะภาคใต้ไม่ใช่ฐานเสียงของพรรคเพื่อไทย ไร้ที่นั่งสส.มานาน ถึงกับถามย้ำๆขอฟังชัดๆ จะลงใต้เมื่อไหร่ กระทั่งนายกฯกลับจากเยือนประเทศมาเลเซีย ช่วงฝนเทภาคใต้รอบสอง จึงเปลี่ยนใจ บินลงพื้นที่จ.นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 17 ธ.ค.2567 จากที่ตั้งใจจะลงไปในช่วงการฟื้นฟู
    .
    ขึ้นศักราชใหม่ หัวหน้ารัฐบาลประกาศ “โอกาสไทย ทำได้จริง” เป็นคำมั่นที่ประชาชน รอติดตาม
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000122816
    ..............
    Sondhi X
    สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง”, ฉายานายกฯ “แพทองโพย“ 7 รมต.ติดโผ ”บิ๊กอ้วน,อนุทิน,ทวี“ - พ่วง3รมต.โลกลืม . เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า การตั้งฉายารัฐบาล และรัฐมนตรีประจำปี ของผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล เป็นธรรมเนียมที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมานานของผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของสื่อมวลชนต่อการทำงานของรัฐบาล โดยปราศจากอคติส่วนตัว ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล จึงมีมติร่วมกันตั้งฉายารัฐบาล รัฐมนตรี และวาทะแห่งปี ประจำปี 2567 ดังนี้ . ฉายารัฐบาล รัฐบาล“พ่อ“เลี้ยง ด้วยความเป็น “พ่อ” ของหัวหน้ารัฐบาล ยี่ห้อ "ทักษิณ ชินวัตร" ขึ้นชื่อดีกรีความรักลูกไม่น้อยหน้าใคร ทั้งปกป้อง เลี้ยงดู อุ้มชู ปูทาง จนได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำประเทศ เป็นลูกไม้หล่นใต้ต้น ที่มี DNA เดียวกันเป๊ะ จนไม่พ้นเสียงครหา รัฐบาลนี้ "พ่อคิด ลูกทำ" และไม่ใช่แค่การเลี้ยงดูลูกในสนามการเมืองเท่านั้น ยังลามไปถึงวาทะเลี้ยง "มาม่า" พรรคร่วมรัฐบาล ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า จนสะเทือนเลื่อนลั่น สะท้อนบทแบ็กอัพที่ไม่ใช่เลี้ยงลูกตัวเองเท่านั้น แต่เลี้ยงรัฐบาลให้เดินอยู่ในรอยด้วย . 1.น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ฉายา แพทองโพย ล้อมาจากชื่อของนายกฯ “แพทองธาร” กับประเด็นดรามา "ไอแพด" คู่ใจ โพยยุคไอที ถือติดมือได้ทุกที่ เป็นเอกลักษณ์ประจำตัว พกโพยเครื่องเดียวอ่าน จด โหลดข้อมูลเสร็จสรรพ จนเกิดเสียงวิจารณ์ถึงความเหมาะสมเมื่อยกขึ้นอ่าน ระหว่างพบผู้นำ แขกต่างชาติ กลายเป็นประเด็นตอบโต้เผ็ดร้อนกับชาวเน็ต และตอกย้ำแบบโนสนโนแคร์ด้วยภาพชูไอแพดคู่ใจ ระหว่างร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน หรือแม้แต่ยกไอแพด ขึ้นอ่านแถลงข่าวการระบายน้ำภาคเหนือ ลงสู่แม่น้ำโขง จนถูกวิจารณ์ยกใหญ่ . 2.นายภูมิธรรม​ เวชย​ชัย​ รองนายก​รัฐมนตรี​ และ​รมว.กลาโหม ฉายา สหายใหญ่ใส่บู๊ต รองนายกรัฐมนตรี คนที่ 1 ติดโผได้รับฉายาไม่ไม่ขาด “สหายใหญ่” ในเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 วันนั้น สู่ "บิ๊กอ้วน" แห่งกองทัพไทยในวันนี้ ปรับโฉมกุนซือการเมือง มายกมือตะเบ๊ะ เสื้อตึงเป๊ะ ใส่ "ท็อปบูต"นั่งเก้าอี้กลาโหม จากที่เคยอยู่กันคนละฝั่ง วันนี้ต้องคุมบังเหียนมาทำงานร่วมกับเหล่าทหาร ส่งท้ายปีจับมือท็อปบู้ตพากันลงพื้นที่ช่วยน้ำท่วม และยังต้องรับบทหนัก ถึงหนักมาก คอยระวังหลังให้กับ "นายกฯอิ๊งค์" อีกด้วย . 3.นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ฉายา ภูมิใจขวาง นอกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี คนที่ 3 ยังสวมหมวกหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ทำงาน 3 เดือนใน “รัฐบาลแพทองธาร” สร้างสีสันจากบุคลิกและสไตล์การพูดหยิกแกมหยอก พร้อมสโลแกนขอทำงานไม่ขัดแย้งใคร แต่นับจากลงเรือร่วมรัฐบาล มียกมือค้านทั้งร่างกฎหมายสกัดรัฐประหาร ของสส.พรรคแกนนำ ล่าสุดโหวตสวนร่างพ.ร.บ.ประชามติ เห็นต่างจาก พรรครัฐบาล ต้องจับตาบทบาทจากนี้“รมต.หนู“จะปล่อยของ โชว์ลีลา สร้างผลงาน ให้ประทับใจอย่างไร . 4. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาครองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ฉายา พีระพัง พังอุดมการณ์จากพรรคขั้วตรงข้าม “ชินวัตร“ ตกลงปลงใจมาจับมือร่วมรัฐบาล “นายกฯอิ๊งค์“คว้าเก้าอี้รัฐมนตรีคุมกระทรวงใหญ่ ถูกคาดหวังจะมาแก้ปมเรื่องพลังงาน ให้ชาวบ้านได้ใช้น้ำมันถูกลง เจ้าตัวยังหมายมั่นปั้นมือประกาศแก้กฎหมายรื้อโครงสร้างภาษีน้ำมัน จนเปลี่ยนหัวหน้ารัฐบาลแล้ว ก็ยังไม่ชัดเจน หรือจะซุ่มทำเงียบๆ งานนี้สังคมช่วยลุ้นจะทำได้ทันรัฐบาลนี้ หรือจะพังพับไปก่อน ด้านงานการเมืองยุค “หัวหน้าพี“คุมบังเหียน “รวมไทยสร้างชาติ”ดูยิ่งโลว์โปรไฟล์ จัดกิจกรรมพรรคได้เงียบกริบตามสไตล์ จนเกิดกระแสข่าวรอยร้าวภายใน ถูกจับจ้องถึงสัมพันธภาพกับลูกพรรค จะกอดคอรักกันนานแค่ไหน . 5.พ.ต.อ.ทวี​ สอดส่อง​รมว.ยุติธรรม ฉายา ทวีไอพี ล็อกเป้าคุมเก้าอี้กระทรวงยุติธรรม เรียกได้ว่าเลื่อยขาเก้าอี้ไม่มีสั่น ไม่บอกก็รู้ว่า “นายใหญ่” ไว้ใจแค่ไหน นับตั้งแต่ภารกิจพานายใหญ่กลับบ้าน ถึงอีพี 2 ส่งนายใหญ่ขึ้น “ชั้น 14” ครองเตียง “วีไอพี” แทนนอนเรือนจำถึงได้พักโทษ ทำให้สังคมมองว่าเป็นนักโทษวีไอพี ต่อเนื่องที่เร่งออกระเบียบคุมตัวนอกเรือนจำ เสียงลือ แซ่ดเตรียมปูทางสำหรับ “วีไอพีหญิง“ตามรอยพี่ชายหรือไม่ เมื่อเดินงานเข้าตา พ.ต.อ.ทวี น่าจะถือบัตรวีไอพี ยึดเก้าอี้รัฐมนตรี ไปอีกยาว . 6.นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฉายา ประชาธิเป๋ แปะยี่ห้อ “ประชาธิปัตย์” รั้งตำแหน่งหัวหน้าพรรค ประกาศพาค่ายสะตอกลับมายิ่งใหญ่ ไปๆมาๆ พลิกหนีบทฝ่ายค้าน ไม่ติดอดีต ไม่ฟาดฟันทางการเมือง กลืนอุดมการณ์คู่ปรับนับทศวรรษกับ “เพื่อไทย” กระโดดมาร่วมรัฐบาล เดินเป๋จากเส้นทางอุดมการณ์กว่า 70 ปี จนได้ตั๋วคุมงานกระทรวงใหญ่ แต่ผลงาน ได้เห็นเค้าแค่ลางๆยังไม่ชัดเจน . 7.นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม ฉายา รวม(เพื่อ)ไทยอ้างชาติ เรื่องจริงหรือฝัน ทำบรรดาแม่ยก แทบไม่เชื่อสายตา ว่า "ขิง เอกนัฏ" คีย์แมนรทสช.ต้องยอมทำเพื่อชาติ ประกาศร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย เคลียร์ประเด็นคุณสมบัติคนเคยมีคดี ก่อนนั่งเก้าอี้รัฐมนตรีแบบใสๆ ภายใต้การนำของ"คนชินวัตร“ลั่นในใจไม่ลบ ไม่เคยลืมอดีต ก่อนยก วาทะเด็ด “ต้องทำงานโดยคิดถึงบ้านเมืองเป็นหลัก ถ้าคิดถึงบ้านเมือง ก็ทำงานร่วมกันได้” ทิ้งอดีตไว้ข้างหลัง เร่งโชว์ผลงานเดินเครื่องกวาดล้างโรงงานเถื่อน สารเคมีอันตราย ให้เข้าตาประชาชน . 8.น.ส.จิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ฉายา จิราพอ(ล) จาก สส.รุ่นใหม่ดาวเด่นในสภา พูดจาฉะฉาน ถูกคาดหวังจะเฉิดฉายเมื่อนั่งเก้าอี้รัฐมนตรี ช่วยปรับโฉมงานของรัฐบาล เพราะคุมทั้งสื่อรัฐ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ. )แต่งานกลับเดินไปเนิบๆ สังคมมาถึงบางอ้อว่ารมต.น้ำ นั่งคุมสคบ.จากคดีดัง “ดิไอคอน กรุ๊ป”และ “บอสพอล” ถึงได้จังหวะโชว์ผลงาน ทั้งที่ขึ้นชั้นรมต.มาตั้งแต่ปลายรัฐบาลเศรษฐา จนถูกตั้งคำถามเรื่องการทำงาน ขึ้นปีใหม่จะเร่งเครื่องไปต่อ หรือพอใจจะทำงานเงียบๆ แบบสโลไลฟ์ . กลุ่ม “รมต.โลกลืม” นายสุชาติ ชมกลิ่นรมช.พาณิชย์ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช. พาณิชย์ ทั้ง3คน มีบทบาท ได้คุมกระทรวงเกรดเอ ทั้งเรื่องการค้าและการศึกษา ผ่านเก้าอี้รมต.ที่เป็นประตูปูทาง สร้างงานให้โดดเด่นได้ แต่ผลงาน3 เดือนในรัฐบาล กลับไม่เปรี้ยงแต่เงียบกริบ จนประชาชนเรียกหาให้สตาร์ทเครื่อง ตีปี๊บผลงาน รับศักราชใหม่ สลัดครหารัฐมนตรีโลกลืม . วาทะแห่งปี “สามีเป็นคนใต้” น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในระหว่างการลงพื้นติดตามการฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำท่วม อ.แม่สาย จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.2567 ซึ่งถูกตั้งคำถามจากสังคม เปรียบเทียบการลงพื้นที่เพื่อฟื้นฟูภาคเหนือของนายกฯแต่อาจละเลยพี่น้องภาคใต้ ที่ถูกน้ำท่วม นายกฯชี้แจงย้ำหนักแน่น ไม่ได้ละเลยคนใต้ ด้วยประโยคว่า “โอ้ คำว่าละเลยภาคใต้ สามีเป็นคนใต้ ครอบครัวสามีเป็นคนใต้ ถ้าละเลยคนใต้ ไม่รักคนใต้ แต่งงานคนใต้ไม่ได้นะคะ”ยืนยันคำตอบจากใจ ไม่ได้เลือกปฏิบัติกับประชาชนภาคใด เพราะเป็นนายกฯของคนทั้งประเทศ . คำตอบของนายกฯยังไม่ใช่เหตุผลที่ตรงใจชาวโซเชียล จึงไม่วายถูกตั้งข้อสงสัยว่าเหตุที่ไม่ลงใต้ เพราะภาคใต้ไม่ใช่ฐานเสียงของพรรคเพื่อไทย ไร้ที่นั่งสส.มานาน ถึงกับถามย้ำๆขอฟังชัดๆ จะลงใต้เมื่อไหร่ กระทั่งนายกฯกลับจากเยือนประเทศมาเลเซีย ช่วงฝนเทภาคใต้รอบสอง จึงเปลี่ยนใจ บินลงพื้นที่จ.นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 17 ธ.ค.2567 จากที่ตั้งใจจะลงไปในช่วงการฟื้นฟู . ขึ้นศักราชใหม่ หัวหน้ารัฐบาลประกาศ “โอกาสไทย ทำได้จริง” เป็นคำมั่นที่ประชาชน รอติดตาม . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000122816 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Wow
    8
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1079 มุมมอง 1 รีวิว
  • พันธุ์เดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน!
    "ทุเรียนจีน" แพ้ "ทุเรียนไทย" กระจุย
    นักวิทย์จีนอึ้ง สารอาหารต่างกันลิบลับ
    .
    วันนี้ (22 ธ.ค.) สื่อเซาท์ ไชน่า มอร์นิง โพสต์ ของฮ่องกงรายงานว่าจากผลการตรวจสอบสารอาหารของทุเรียนที่เพาะปลูกบนเกาะไหหลำ (มณฑลไห่หนาน) ของจีนนั้น พบว่ามีคุณค่าทางอาหารต่ำกว่าทุเรียนพันธุ์เดียวกันที่นำเข้าจากประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมาก
    .
    สำหรับการศึกษานี้เป็นการศึกษาครั้งแรก ๆ ในเรื่องนี้ นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรไหหลำยกตัวอย่างว่า "ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง" ที่ปลูกในประเทศจีนนั้นไม่มีสารเคอร์ซิติน (Quercetin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเลย ในขณะที่ทุเรียนหมอนทองที่ปลูกในไทยอุดมด้วยสารเคอร์ซิตินจำนวนมาก
    .
    นอกจากนี้ ทุเรียนที่ปลูกบนเกาะไหหลำพันธุ์เดียวที่มีสารเคอร์ซิตินอยู่บ้างคือ "ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว" แต่สารเคอร์ซิตินที่มีนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าทุเรียนก้านยานที่ปลูกประะเทศไทยถึง 520 เท่า และต่ำกว่าพันธุ์หมอนทองของไทยถึง 540,000 เท่า !
    .
    ในส่วนของกรดแกลลิก (Gallic Acid) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และต้านมะเร็ง นักวิจัยของจีนพบว่า ไม่พบสารดังกล่าวในพันธุ์ก้านยาวที่ปลูกในจีน ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาก่อนหน้านี้ แต่ระดับของกรดแกลลิกในพันธุ์หมอนทองนั้น “ต่ำกว่าระดับที่รายงานไว้ก่อนหน้านี้มาก”
    .
    ในขณะเดียวกัน ผลการศึกษาคุณค่าทางอาหารของ "ทุเรียนไทย" ในปี 2551 พบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว "ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง" มีกรดแกลลิกราว 2,072 ไมโครกรัมต่อทุเรียน 100 กรัม ซึ่งสูงกว่าทุเรียนที่ปลูกในจีนซึ่งมีกรดแกลลิกเพียงแค่ 22.85 นาโนกรัม ถึง 906 เท่า
    .
    จาง จิง หัวหน้าคณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยซานย่าหนานฝานแห่งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การเกษตรไหหลำ (海南大学南繁学院) ให้เหตุผลว่า “ความแตกต่างของสภาพอากาศและปริมาณแร่ธาตุและสารอาหารในดินอาจส่งผลต่อการสะสมสารอาหารในระหว่างกระบวนการเจริญเติบโตของทุเรียน โดยอาจส่งผลให้มีสารบางชนิดในปริมาณที่สูงขึ้น ในขณะที่บางชนิดอาจไม่มีเลย” เธอกล่าว
    .
    ในรายงานที่ตีพิมพ์ลงวารสารภาษาจีน Food and Fermentation Industries (食品与发酵工业) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา นักวิจัยระบุว่าสารต้านอนุมูลอิสระหลักที่พบในทุเรียน 3 ชนิดที่ศึกษา ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง ก้านยาว และมูซังคิง ได้แก่ โพรไซยานิดิน บี 1, คาเทชิน และเคอร์ซิติน

    “ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าก้านยาวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองที่แข็งแกร่งที่สุด (จากทั้งสามชนิด)” นักวิจัยจีนระบุ
    .
    ปัจจุบันจีนถือเป็นประเทศผู้นำเข้าทุเรียนมากที่สุดในโลก โดยจีนนำเข้าทุเรียนมากถึง 95% ของทั่วโลก โดยต่อมาในปี 2561 จีนได้ดำเนินการเริ่มปลูกทุเรียนเชิงพาณิชย์ที่เกาะไหหลำ ซึ่งเป็พื้นที่เพียงแห่งเดียวที่มีสภาพอากาศเหมาะสมต่อการปลูกผลไม้เขตร้อนชนิดนี้
    .
    จริง ๆ แล้ว จีนเริ่มมีการเพาะพันธุ์ทุเรียนอย่างจริงจังที่มณฑลไห่หนาน หรือ เกาะไหหลำเมื่อประมาณ 60 กว่าปีที่แล้ว คือในปี 2501 โดยมีการนำต้นกล้าทุเรียนจากประเทศมาเลเซียเข้ามาปลูกบนเกาะ แต่เนื่องจากเทคโนโลยีการปลูก และการคัดเลือกสายพันธุ์ทุเรียนในสมัยนั้นยังมีข้อจำกัด จึงมีต้นทุเรียนเพียงต้นเดียวเท่านั้นที่รอดมาได้ จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้หลังจากใช้ความพยายามมานานกว่า 60 ปี นักวิทยาศาสตร์และเกษตรกรของจีนได้ทำการผสมเกสรเทียม ปรับปรุงพันธุ์ และใช้เทคโนโลยีการเกษตรในการปลูกทุเรียนจนประสบความสำเร็จ ทุกวันนี้ เกาะไหหลำมีพื้นที่ปลูกทุเรียนมากกว่า 10,000 ไร่ ให้ผลผลิตทุเรียนมากถึง 40,000 ตันต่อปี แต่ว่าก็ยังถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับการนำเข้าทุเรียนของจีนที่คิดเป็นปริมาณมากกว่า 1 ล้าน 4 แสนตันต่อปี
    .
    คลิกฟัง Podcast บูรพาไม่แพ้ Ep.96 : ไหวไหม? ทุเรียน Made in China ท้าแข่งทุเรียนไทย
    >> https://www.youtube.com/watch?v=6khyvzCT5H0
    .
    .
    อ้างอิง :
    • Scientists find key nutrient missing in China-grown durian
    https://www.scmp.com/news/china/science/article/3291480/scientists-find-key-nutrient-missing-china-grown-durian
    • ภาพประกอบจากwww.xinhuathai.com
    พันธุ์เดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน! "ทุเรียนจีน" แพ้ "ทุเรียนไทย" กระจุย นักวิทย์จีนอึ้ง สารอาหารต่างกันลิบลับ . วันนี้ (22 ธ.ค.) สื่อเซาท์ ไชน่า มอร์นิง โพสต์ ของฮ่องกงรายงานว่าจากผลการตรวจสอบสารอาหารของทุเรียนที่เพาะปลูกบนเกาะไหหลำ (มณฑลไห่หนาน) ของจีนนั้น พบว่ามีคุณค่าทางอาหารต่ำกว่าทุเรียนพันธุ์เดียวกันที่นำเข้าจากประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมาก . สำหรับการศึกษานี้เป็นการศึกษาครั้งแรก ๆ ในเรื่องนี้ นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรไหหลำยกตัวอย่างว่า "ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง" ที่ปลูกในประเทศจีนนั้นไม่มีสารเคอร์ซิติน (Quercetin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเลย ในขณะที่ทุเรียนหมอนทองที่ปลูกในไทยอุดมด้วยสารเคอร์ซิตินจำนวนมาก . นอกจากนี้ ทุเรียนที่ปลูกบนเกาะไหหลำพันธุ์เดียวที่มีสารเคอร์ซิตินอยู่บ้างคือ "ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว" แต่สารเคอร์ซิตินที่มีนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าทุเรียนก้านยานที่ปลูกประะเทศไทยถึง 520 เท่า และต่ำกว่าพันธุ์หมอนทองของไทยถึง 540,000 เท่า ! . ในส่วนของกรดแกลลิก (Gallic Acid) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และต้านมะเร็ง นักวิจัยของจีนพบว่า ไม่พบสารดังกล่าวในพันธุ์ก้านยาวที่ปลูกในจีน ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาก่อนหน้านี้ แต่ระดับของกรดแกลลิกในพันธุ์หมอนทองนั้น “ต่ำกว่าระดับที่รายงานไว้ก่อนหน้านี้มาก” . ในขณะเดียวกัน ผลการศึกษาคุณค่าทางอาหารของ "ทุเรียนไทย" ในปี 2551 พบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว "ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง" มีกรดแกลลิกราว 2,072 ไมโครกรัมต่อทุเรียน 100 กรัม ซึ่งสูงกว่าทุเรียนที่ปลูกในจีนซึ่งมีกรดแกลลิกเพียงแค่ 22.85 นาโนกรัม ถึง 906 เท่า . จาง จิง หัวหน้าคณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยซานย่าหนานฝานแห่งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การเกษตรไหหลำ (海南大学南繁学院) ให้เหตุผลว่า “ความแตกต่างของสภาพอากาศและปริมาณแร่ธาตุและสารอาหารในดินอาจส่งผลต่อการสะสมสารอาหารในระหว่างกระบวนการเจริญเติบโตของทุเรียน โดยอาจส่งผลให้มีสารบางชนิดในปริมาณที่สูงขึ้น ในขณะที่บางชนิดอาจไม่มีเลย” เธอกล่าว . ในรายงานที่ตีพิมพ์ลงวารสารภาษาจีน Food and Fermentation Industries (食品与发酵工业) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา นักวิจัยระบุว่าสารต้านอนุมูลอิสระหลักที่พบในทุเรียน 3 ชนิดที่ศึกษา ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง ก้านยาว และมูซังคิง ได้แก่ โพรไซยานิดิน บี 1, คาเทชิน และเคอร์ซิติน “ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าก้านยาวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองที่แข็งแกร่งที่สุด (จากทั้งสามชนิด)” นักวิจัยจีนระบุ . ปัจจุบันจีนถือเป็นประเทศผู้นำเข้าทุเรียนมากที่สุดในโลก โดยจีนนำเข้าทุเรียนมากถึง 95% ของทั่วโลก โดยต่อมาในปี 2561 จีนได้ดำเนินการเริ่มปลูกทุเรียนเชิงพาณิชย์ที่เกาะไหหลำ ซึ่งเป็พื้นที่เพียงแห่งเดียวที่มีสภาพอากาศเหมาะสมต่อการปลูกผลไม้เขตร้อนชนิดนี้ . จริง ๆ แล้ว จีนเริ่มมีการเพาะพันธุ์ทุเรียนอย่างจริงจังที่มณฑลไห่หนาน หรือ เกาะไหหลำเมื่อประมาณ 60 กว่าปีที่แล้ว คือในปี 2501 โดยมีการนำต้นกล้าทุเรียนจากประเทศมาเลเซียเข้ามาปลูกบนเกาะ แต่เนื่องจากเทคโนโลยีการปลูก และการคัดเลือกสายพันธุ์ทุเรียนในสมัยนั้นยังมีข้อจำกัด จึงมีต้นทุเรียนเพียงต้นเดียวเท่านั้นที่รอดมาได้ จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้หลังจากใช้ความพยายามมานานกว่า 60 ปี นักวิทยาศาสตร์และเกษตรกรของจีนได้ทำการผสมเกสรเทียม ปรับปรุงพันธุ์ และใช้เทคโนโลยีการเกษตรในการปลูกทุเรียนจนประสบความสำเร็จ ทุกวันนี้ เกาะไหหลำมีพื้นที่ปลูกทุเรียนมากกว่า 10,000 ไร่ ให้ผลผลิตทุเรียนมากถึง 40,000 ตันต่อปี แต่ว่าก็ยังถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับการนำเข้าทุเรียนของจีนที่คิดเป็นปริมาณมากกว่า 1 ล้าน 4 แสนตันต่อปี . คลิกฟัง Podcast บูรพาไม่แพ้ Ep.96 : ไหวไหม? ทุเรียน Made in China ท้าแข่งทุเรียนไทย >> https://www.youtube.com/watch?v=6khyvzCT5H0 . . อ้างอิง : • Scientists find key nutrient missing in China-grown durian https://www.scmp.com/news/china/science/article/3291480/scientists-find-key-nutrient-missing-china-grown-durian • ภาพประกอบจากwww.xinhuathai.com
    Like
    Love
    5
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 536 มุมมอง 0 รีวิว
  • อันวาร์ตั้งทักษิณ ฝ่าด่านออกนอกประเทศ

    การประกาศแต่งตั้งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียน ของนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธานอาเซียนในปี 2568 ระหว่างการเยือนประเทศมาเลเซียอย่างเป็นทางการของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายอันวาร์มั่นใจว่าประสบการณ์นายทักษิณในฐานะนักการเมืองจะให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่า พร้อมกับทีมงานจากประเทศสมาชิกอาเซียนในรูปแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งมาเลเซียต้องการประโยชน์จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญการเมือง (Statesmen) เหล่านี้

    นายโมฮัมหมัด ฮะซัน รมว.ต่างประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า นายทักษิณจะมีบทบาทในฐานะที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการ เพราะเป็นผู้มีอิทธิพลในประเทศไทย ได้รับการยอมรับจากสหรัฐอเมริกา และมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับจีน ซึ่งจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างอาเซียน นายทักษิณและบุคคลที่มีชื่อเสียงคนอื่นๆ ที่จะประกาศแต่งตั้งในภายหลังร่วมงานกับนายอันวาร์มายาวนาน สามารถเสนอข้อมูลเชิงลึกว่าอาเซียนจะก้าวต่อไปได้อย่างไร ยืนยันว่าไม่ใช่คณะที่ปรึกษาอาเซียน แต่เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในฐานะประธานอาเซียน และไม่ใช่องค์กรอย่างเป็นทางการหรือหน่วยงานใหม่ในอาเซียน

    เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2567 ศาลอาญาให้ปล่อยตัวชั่วคราวนายทักษิณ ในคดีมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากกรณีให้สัมภาษณ์สื่อเกาหลีใต้เมื่อปี 2558 ตีราคาประกัน 500,000 บาท และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล นายทักษิณเคยขอเดินทางออกนอกประเทศเพื่อไปพบแพทย์ที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และไปพบบุคคลสำคัญ แต่ศาลอาญายกคำร้องไม่อนุญาต เพราะอาการป่วยเป็นโรคที่เกิดแก่บุคคลทั่วไป และแพทย์ในประเทศตรวจรักษาเป็นประจำอยู่แล้ว ส่วนการไปพบบุคคลสำคัญก็เป็นเรื่องส่วนตัว และไม่มีพยานหลักฐานยืนยันชัดแจ้งถึงความจำเป็น

    นายทักษิณอาจใช้การเป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียนของนายอันวาร์ เพื่อขอเดินทางออกนอกประเทศก็เป็นได้ ซึ่งคดีมาตรา 112 ศาลกำหนดนัดสืบพยานโจทก์และจำเลยในช่วงเดือน ก.ค. 2568

    รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง เห็นว่าการที่นายอันวาร์แต่งตั้งนายทักษิณ ช่วยอุดช่องว่างเรื่องที่รัฐบาลชุดปัจจุบันขาดความรู้ความชำนาญในเรื่องมาเลเซีย เพราะ น.ส.แพทองธาร ไม่มีความพร้อมในหลายเรื่อง โดยเฉพาะความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ก็เป็นดาบสองคม หากใช้ไม่ระวัง ไม่มีความชัดเจนและโปร่งใส เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศในแนวทางที่ถูกต้อง อาจกระทบต่อความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ และคนไทยโดยรวมได้ในที่สุด

    #Newskit
    อันวาร์ตั้งทักษิณ ฝ่าด่านออกนอกประเทศ การประกาศแต่งตั้งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียน ของนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธานอาเซียนในปี 2568 ระหว่างการเยือนประเทศมาเลเซียอย่างเป็นทางการของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายอันวาร์มั่นใจว่าประสบการณ์นายทักษิณในฐานะนักการเมืองจะให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่า พร้อมกับทีมงานจากประเทศสมาชิกอาเซียนในรูปแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งมาเลเซียต้องการประโยชน์จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญการเมือง (Statesmen) เหล่านี้ นายโมฮัมหมัด ฮะซัน รมว.ต่างประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า นายทักษิณจะมีบทบาทในฐานะที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการ เพราะเป็นผู้มีอิทธิพลในประเทศไทย ได้รับการยอมรับจากสหรัฐอเมริกา และมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับจีน ซึ่งจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างอาเซียน นายทักษิณและบุคคลที่มีชื่อเสียงคนอื่นๆ ที่จะประกาศแต่งตั้งในภายหลังร่วมงานกับนายอันวาร์มายาวนาน สามารถเสนอข้อมูลเชิงลึกว่าอาเซียนจะก้าวต่อไปได้อย่างไร ยืนยันว่าไม่ใช่คณะที่ปรึกษาอาเซียน แต่เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในฐานะประธานอาเซียน และไม่ใช่องค์กรอย่างเป็นทางการหรือหน่วยงานใหม่ในอาเซียน เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2567 ศาลอาญาให้ปล่อยตัวชั่วคราวนายทักษิณ ในคดีมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากกรณีให้สัมภาษณ์สื่อเกาหลีใต้เมื่อปี 2558 ตีราคาประกัน 500,000 บาท และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล นายทักษิณเคยขอเดินทางออกนอกประเทศเพื่อไปพบแพทย์ที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และไปพบบุคคลสำคัญ แต่ศาลอาญายกคำร้องไม่อนุญาต เพราะอาการป่วยเป็นโรคที่เกิดแก่บุคคลทั่วไป และแพทย์ในประเทศตรวจรักษาเป็นประจำอยู่แล้ว ส่วนการไปพบบุคคลสำคัญก็เป็นเรื่องส่วนตัว และไม่มีพยานหลักฐานยืนยันชัดแจ้งถึงความจำเป็น นายทักษิณอาจใช้การเป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียนของนายอันวาร์ เพื่อขอเดินทางออกนอกประเทศก็เป็นได้ ซึ่งคดีมาตรา 112 ศาลกำหนดนัดสืบพยานโจทก์และจำเลยในช่วงเดือน ก.ค. 2568 รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง เห็นว่าการที่นายอันวาร์แต่งตั้งนายทักษิณ ช่วยอุดช่องว่างเรื่องที่รัฐบาลชุดปัจจุบันขาดความรู้ความชำนาญในเรื่องมาเลเซีย เพราะ น.ส.แพทองธาร ไม่มีความพร้อมในหลายเรื่อง โดยเฉพาะความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ก็เป็นดาบสองคม หากใช้ไม่ระวัง ไม่มีความชัดเจนและโปร่งใส เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศในแนวทางที่ถูกต้อง อาจกระทบต่อความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ และคนไทยโดยรวมได้ในที่สุด #Newskit
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 575 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมื่อวันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม 2567 เวลา 17.00 น. สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) โพสต์ประกาศ แจ้งความคืบหน้ากรณีการช่วยเหลือผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนจากการจองตั๋วเครื่องบินผ่านแอปพลิเคชัน แอร์เอเชียมูฟ (AirAsia Move) โดยชำระเงินแล้ว แต่ระบบแจ้งว่าการจองไม่สำเร็จ และยังไม่ได้รับเงินคืนแม้เวลาจะผ่านไปหลายเดือนสคบ. ชี้แจงการดําเนินการกรณีผู้บริโภคร้องเรียนจองบัตรโดยสารเครื่องบิน ผ่าน แอปพลิเคชัน AirAsia Moveจากกรณีที่ผู้บริโภคได้จองบัตรโดยสารเครื่องบิน ผ่านแอปพลิเคชัน AirAsia Move ซึ่งผู้บริโภค ได้ชําระเงินแล้ว มีอีเมลมาแจ้งว่าไม่สามารถจองได้สําเร็จ โดยให้ติดต่อขอรับเงินคืน ซึ่งผ่านมาหลายเดือนแล้ว ผู้บริโภคยังไม่ได้เงินคืนสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคขอชี้แจงข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวต่อสาธารณะ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคและได้มีการตรวจสอบ ไปยังสายการบิน ไทยแอร์เอเชีย ซึ่งสายการบินแจ้งว่า บริษัท Move Travel Sdn Bhd จํากัด เป็นบริษัทที่ จดทะเบียนนิติบุคคลที่ประเทศมาเลเซีย และเป็นบริษัท ที่ดูแลเว็บไซต์ www.airasia.com แอปพลิเคชัน AirAsia Moveอีกทั้ง สํานักงานคณะกรรมการผู้บริโภค ได้ประสานขอข้อมูลและแนวทางการช่วยเหลือผู้บริโภคกับสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ในฐานะที่กํากับดูแลสายการบิน ตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ซึ่งได้รับแจ้งว่ากรณีจองบัตรโดยสารเครื่องบินผ่านแอปพลิเคชัน AirAsia Move นั้น ผู้ให้บริการมีสํานักงานอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย โดยสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จะรับไปดําเนินการโดยประสานผ่านผู้ให้บริการ สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย (ในประเทศไทย) เพื่อให้คืนเงินให้กับผู้บริโภคโดยเร็วทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอีก สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและ สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจะบูรณาการการทํางานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกําหนด มาตรการในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคกรณีดังกล่าวต่อไปจากการตรวจสอบของ สคบ. พบว่า บริษัท Move Travel Sdn Bhd จำกัด ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.airasia.com และแอปพลิเคชัน AirAsia Move เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศมาเลเซียดังนั้น สคบ. จึงได้ประสานงานกับสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เพื่อขอความช่วยเหลือในการติดต่อบริษัทดังกล่าว ซึ่งทาง สคบ. จะรับเรื่องไปดำเนินการโดยประสานผ่านสายการบินไทยแอร์เอเชียในประเทศไทย เพื่อเร่งรัดให้คืนเงินแก่ผู้บริโภคโดยเร็วที่สุดนอกจากนี้ สคบ. และสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค และป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้
    เมื่อวันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม 2567 เวลา 17.00 น. สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) โพสต์ประกาศ แจ้งความคืบหน้ากรณีการช่วยเหลือผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนจากการจองตั๋วเครื่องบินผ่านแอปพลิเคชัน แอร์เอเชียมูฟ (AirAsia Move) โดยชำระเงินแล้ว แต่ระบบแจ้งว่าการจองไม่สำเร็จ และยังไม่ได้รับเงินคืนแม้เวลาจะผ่านไปหลายเดือนสคบ. ชี้แจงการดําเนินการกรณีผู้บริโภคร้องเรียนจองบัตรโดยสารเครื่องบิน ผ่าน แอปพลิเคชัน AirAsia Moveจากกรณีที่ผู้บริโภคได้จองบัตรโดยสารเครื่องบิน ผ่านแอปพลิเคชัน AirAsia Move ซึ่งผู้บริโภค ได้ชําระเงินแล้ว มีอีเมลมาแจ้งว่าไม่สามารถจองได้สําเร็จ โดยให้ติดต่อขอรับเงินคืน ซึ่งผ่านมาหลายเดือนแล้ว ผู้บริโภคยังไม่ได้เงินคืนสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคขอชี้แจงข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวต่อสาธารณะ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคและได้มีการตรวจสอบ ไปยังสายการบิน ไทยแอร์เอเชีย ซึ่งสายการบินแจ้งว่า บริษัท Move Travel Sdn Bhd จํากัด เป็นบริษัทที่ จดทะเบียนนิติบุคคลที่ประเทศมาเลเซีย และเป็นบริษัท ที่ดูแลเว็บไซต์ www.airasia.com แอปพลิเคชัน AirAsia Moveอีกทั้ง สํานักงานคณะกรรมการผู้บริโภค ได้ประสานขอข้อมูลและแนวทางการช่วยเหลือผู้บริโภคกับสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ในฐานะที่กํากับดูแลสายการบิน ตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ซึ่งได้รับแจ้งว่ากรณีจองบัตรโดยสารเครื่องบินผ่านแอปพลิเคชัน AirAsia Move นั้น ผู้ให้บริการมีสํานักงานอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย โดยสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จะรับไปดําเนินการโดยประสานผ่านผู้ให้บริการ สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย (ในประเทศไทย) เพื่อให้คืนเงินให้กับผู้บริโภคโดยเร็วทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอีก สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและ สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจะบูรณาการการทํางานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกําหนด มาตรการในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคกรณีดังกล่าวต่อไปจากการตรวจสอบของ สคบ. พบว่า บริษัท Move Travel Sdn Bhd จำกัด ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.airasia.com และแอปพลิเคชัน AirAsia Move เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศมาเลเซียดังนั้น สคบ. จึงได้ประสานงานกับสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เพื่อขอความช่วยเหลือในการติดต่อบริษัทดังกล่าว ซึ่งทาง สคบ. จะรับเรื่องไปดำเนินการโดยประสานผ่านสายการบินไทยแอร์เอเชียในประเทศไทย เพื่อเร่งรัดให้คืนเงินแก่ผู้บริโภคโดยเร็วที่สุดนอกจากนี้ สคบ. และสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค และป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 308 มุมมอง 0 รีวิว
  • น้ำท่วมภาคใต้ อ่วมไทย-มาเลเซีย

    สภาพอากาศแปรปรวนในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สรุปสถานการณ์ระหว่างวันที่ 22 พ.ย. ถึง 2 ธ.ค. 2567 เกิดอุทกภัย 10 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวม 87 อำเภอ 538 ตำบล 3,729 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 664,173 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 25 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วม 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส

    นับเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบหลายปี ที่จังหวัดยะลา เทศบาลนครยะลาน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 36 ปี นับจากก่อนหน้านี้เมื่อปี 2531 ส่วนเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา น้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำภูมินารถดำริ หรือคลอง ร.1 เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่โซนหาดใหญ่ใน เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ก่อนกลับมาเป็นปกติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. แต่โซนเศรษฐกิจชั้นในของเมืองหาดใหญ่ปลอดภัย น้ำไม่ท่วม เพราะคลอง ร.1 โครงการพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ ๙ สร้างขึ้นหลังอุทกภัยปี 2543 ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน

    แม้สถานการณ์ลุ่มน้ำปัจจุบันระดับน้ำลดลง แต่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ลงวันที่ 2 ธ.ค. เวลา 17.00 น. ระบุว่า ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

    สภาพอากาศแปรปรวนยังส่งผลกระทบถึงประเทศมาเลเซีย มีน้ำท่วมเกิดขึ้นแล้ว 10 รัฐ เสียชีวิต 7 ราย โดยรัฐกลันตันมีผู้ประสบภัยน้ำท่วมมากที่สุด แม่น้ำสุไหงโกลกในเมืองรันเตาปันจังและตุมปัต ยังอยู่ในระดับที่อันตราย ส่วนทางด่วนสายเหนือ-ใต้ E1 เชื่อมระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์กับด่านบูกิตกายูฮิตัม ไปยังประเทศไทย น้ำท่วมบริเวณกิโลเมตรที่ 32.1 ถึง 33.2 ช่วงด่านจิตรา ถึงด่านฮูตันกำปง ต้องเบี่ยงให้ผู้ใช้ทางไปใช้เส้นทางใกล้เคียง ส่วนทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก หยุดการเดินรถเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะขบวนรถไฟเส้นทางตุมปัต-เจบี เซ็นทรัล

    นายกสมาคมโรงแรมไทย เสนอให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องช่วงโค้งสุดท้ายปี 2567 เพราะน้ำท่วมครั้งนี้มีการยกเลิกห้องพักล่วงหน้าทั้งกรุ๊ปทัวร์และเดินทางส่วนตัว รวมถึงการจองจัดงานสังสรรค์ หากสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียก็จะฟื้นตัวได้เร็ว เพราะขับรถข้ามด่านมาเที่ยวเอง

    #Newskit
    น้ำท่วมภาคใต้ อ่วมไทย-มาเลเซีย สภาพอากาศแปรปรวนในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สรุปสถานการณ์ระหว่างวันที่ 22 พ.ย. ถึง 2 ธ.ค. 2567 เกิดอุทกภัย 10 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวม 87 อำเภอ 538 ตำบล 3,729 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 664,173 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 25 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วม 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส นับเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบหลายปี ที่จังหวัดยะลา เทศบาลนครยะลาน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 36 ปี นับจากก่อนหน้านี้เมื่อปี 2531 ส่วนเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา น้ำจากคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำภูมินารถดำริ หรือคลอง ร.1 เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่โซนหาดใหญ่ใน เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ก่อนกลับมาเป็นปกติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. แต่โซนเศรษฐกิจชั้นในของเมืองหาดใหญ่ปลอดภัย น้ำไม่ท่วม เพราะคลอง ร.1 โครงการพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ ๙ สร้างขึ้นหลังอุทกภัยปี 2543 ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน แม้สถานการณ์ลุ่มน้ำปัจจุบันระดับน้ำลดลง แต่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ลงวันที่ 2 ธ.ค. เวลา 17.00 น. ระบุว่า ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สภาพอากาศแปรปรวนยังส่งผลกระทบถึงประเทศมาเลเซีย มีน้ำท่วมเกิดขึ้นแล้ว 10 รัฐ เสียชีวิต 7 ราย โดยรัฐกลันตันมีผู้ประสบภัยน้ำท่วมมากที่สุด แม่น้ำสุไหงโกลกในเมืองรันเตาปันจังและตุมปัต ยังอยู่ในระดับที่อันตราย ส่วนทางด่วนสายเหนือ-ใต้ E1 เชื่อมระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์กับด่านบูกิตกายูฮิตัม ไปยังประเทศไทย น้ำท่วมบริเวณกิโลเมตรที่ 32.1 ถึง 33.2 ช่วงด่านจิตรา ถึงด่านฮูตันกำปง ต้องเบี่ยงให้ผู้ใช้ทางไปใช้เส้นทางใกล้เคียง ส่วนทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก หยุดการเดินรถเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะขบวนรถไฟเส้นทางตุมปัต-เจบี เซ็นทรัล นายกสมาคมโรงแรมไทย เสนอให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องช่วงโค้งสุดท้ายปี 2567 เพราะน้ำท่วมครั้งนี้มีการยกเลิกห้องพักล่วงหน้าทั้งกรุ๊ปทัวร์และเดินทางส่วนตัว รวมถึงการจองจัดงานสังสรรค์ หากสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียก็จะฟื้นตัวได้เร็ว เพราะขับรถข้ามด่านมาเที่ยวเอง #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 846 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฟื้นทางรถไฟ สุไหงโก-ลกไปมาเลเซีย

    เมื่อวันก่อน นายฮัสบิ ฮาบิโบลเลาะห์ รมว.คมนาคมมาเลเซีย เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมพร้อมที่จะศึกษาความต้องการในการฟื้นฟูทางรถไฟ ช่วงระหว่างด่านรันเตาปันจัง กับสถานีปาซีร์มัส รัฐกลันตัน ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร และศึกษาความเป็นไปได้ในการกลับมาให้บริการรถไฟ จากสถานีรันเตาปันจัง ไปยังสถานีสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ประเทศไทย โดยต้องคำนึงถึงการจัดสรรงบประมาณ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย

    สำหรับทางรถไฟที่เชื่อมต่อมาเลเซียกับไทย หยุดให้บริการผู้โดยสารตั้งแต่ปี 2525 และหยุดให้บริการขนส่งสินค้าเมื่อปี 2549 เนื่องจากปัญหาความปลอดภัยและผลกระทบจากอุทกภัย นับแต่นั้นเป็นต้นมาเส้นทางรถไฟถูกปิดตาย โครงสร้างพื้นฐานรวมถึงสถานีรถไฟรันเตาปันจังอยู่ในสภาพทรุดโทรม จำเป็นต้องได้รับการบูรณะ บำรุงรักษา และยกระดับก่อนจะสามารถเปิดให้บริการอีกครั้ง

    ส่วนข้อเสนอของนางซาอิลาห์ โมห์ด ยูซอฟฟ์ ส.ส.เมืองรันเตาปันจัง เกี่ยวกับความจำเป็นในการฟื้นฟูทางรถไฟและการกลับมาให้บริการรถไฟจากรันเตาปันจังไปยังสุไหงโก-ลก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น เสริมสร้างความสัมพันธ์แบบทวิภาคีระหว่างมาเลเซียและไทย เติมเต็มกิจกรรมการค้าในพื้นที่ชายแดนนั้น รัฐบาลรับทราบข้อเสนอดังกล่าว ถือเป็นหนทางที่จะปรับปรุงการเข้าถึงและกระตุ้นเศรษฐกิจระหว่างมาเลเซียและไทย หากโครงการนี้ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ไม่เพียงแต่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ และเพิ่มกิจกรรมการค้าในพื้นที่ชายแดนอีกด้วย

    นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งทะเลตะวันออก (ECRL) ไปยังสถานีปาซีร์มัส ของการรถไฟมาลายา (KTMB) ซึ่งจะทำให้ทางรถไฟ ECRL มีประสิทธิภาพที่กระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจบนชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรมาเลเซีย และช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจกับชายฝั่งทะเลตะวันตก นอกจากนี้ ยังเป็นตัวเลือกสำหรับขนส่งสินค้าและโดยสารระหว่างมาเลเซียกับไทยอีกด้วย

    เมื่อเดือน มิ.ย. 2567 แหล่งข่าวจากตัวแทนการรถไฟแห่งประเทศไทยรายหนึ่งเปิดเผยว่า การรถไฟฯ มีความพร้อมที่จะพัฒนาทางรถไฟเชื่อมไปยังฝั่งประเทศมาเลเซีย โดยได้มีการพูดคุยกับการรถไฟมาลายา (KTMB) เป็นระยะ แต่โครงการจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ ที่ผ่านมานับตั้งแต่หยุดการเดินรถ และฝั่งประเทศมาเลเซียเคยเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ถึงบัดนี้ ยังไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบสภาพทางรถไฟฝั่งประเทศมาเลเซียในปัจจุบันได้

    #Newskit
    ฟื้นทางรถไฟ สุไหงโก-ลกไปมาเลเซีย เมื่อวันก่อน นายฮัสบิ ฮาบิโบลเลาะห์ รมว.คมนาคมมาเลเซีย เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมพร้อมที่จะศึกษาความต้องการในการฟื้นฟูทางรถไฟ ช่วงระหว่างด่านรันเตาปันจัง กับสถานีปาซีร์มัส รัฐกลันตัน ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร และศึกษาความเป็นไปได้ในการกลับมาให้บริการรถไฟ จากสถานีรันเตาปันจัง ไปยังสถานีสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ประเทศไทย โดยต้องคำนึงถึงการจัดสรรงบประมาณ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย สำหรับทางรถไฟที่เชื่อมต่อมาเลเซียกับไทย หยุดให้บริการผู้โดยสารตั้งแต่ปี 2525 และหยุดให้บริการขนส่งสินค้าเมื่อปี 2549 เนื่องจากปัญหาความปลอดภัยและผลกระทบจากอุทกภัย นับแต่นั้นเป็นต้นมาเส้นทางรถไฟถูกปิดตาย โครงสร้างพื้นฐานรวมถึงสถานีรถไฟรันเตาปันจังอยู่ในสภาพทรุดโทรม จำเป็นต้องได้รับการบูรณะ บำรุงรักษา และยกระดับก่อนจะสามารถเปิดให้บริการอีกครั้ง ส่วนข้อเสนอของนางซาอิลาห์ โมห์ด ยูซอฟฟ์ ส.ส.เมืองรันเตาปันจัง เกี่ยวกับความจำเป็นในการฟื้นฟูทางรถไฟและการกลับมาให้บริการรถไฟจากรันเตาปันจังไปยังสุไหงโก-ลก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น เสริมสร้างความสัมพันธ์แบบทวิภาคีระหว่างมาเลเซียและไทย เติมเต็มกิจกรรมการค้าในพื้นที่ชายแดนนั้น รัฐบาลรับทราบข้อเสนอดังกล่าว ถือเป็นหนทางที่จะปรับปรุงการเข้าถึงและกระตุ้นเศรษฐกิจระหว่างมาเลเซียและไทย หากโครงการนี้ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ไม่เพียงแต่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ และเพิ่มกิจกรรมการค้าในพื้นที่ชายแดนอีกด้วย นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งทะเลตะวันออก (ECRL) ไปยังสถานีปาซีร์มัส ของการรถไฟมาลายา (KTMB) ซึ่งจะทำให้ทางรถไฟ ECRL มีประสิทธิภาพที่กระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจบนชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรมาเลเซีย และช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจกับชายฝั่งทะเลตะวันตก นอกจากนี้ ยังเป็นตัวเลือกสำหรับขนส่งสินค้าและโดยสารระหว่างมาเลเซียกับไทยอีกด้วย เมื่อเดือน มิ.ย. 2567 แหล่งข่าวจากตัวแทนการรถไฟแห่งประเทศไทยรายหนึ่งเปิดเผยว่า การรถไฟฯ มีความพร้อมที่จะพัฒนาทางรถไฟเชื่อมไปยังฝั่งประเทศมาเลเซีย โดยได้มีการพูดคุยกับการรถไฟมาลายา (KTMB) เป็นระยะ แต่โครงการจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ ที่ผ่านมานับตั้งแต่หยุดการเดินรถ และฝั่งประเทศมาเลเซียเคยเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ถึงบัดนี้ ยังไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบสภาพทางรถไฟฝั่งประเทศมาเลเซียในปัจจุบันได้ #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1075 มุมมอง 0 รีวิว
  • สุไหงโก-ลกวุ่น มาเลย์เข้มข้ามแดน

    ปัญหาอาชญากรรมตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย ระหว่าง จ.นราธิวาส กับรัฐกลันตัน ที่พบปัญหาชาวไทยและมาเลเซียใช้ช่องทางธรรมชาติเข้า-ออกผ่านแม่น้ำโกลก โดยไม่ใช้หนังสือเดินทางหรือหนังสือผ่านแดนชั่วคราว ไปถึงการจับกุมยาเสพติด อาวุธปืน สินค้าผิดกฎหมาย ทำให้นับตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2567 เป็นต้นไป ทางการมาเลเซียประกาศให้ประชาชนที่อยู่ตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย ต้องเข้า-ออกพรมแดนผ่านทางช่องทางที่ถูกต้องเท่านั้น

    กองกำลังปฏิบัติการทั่วไป (GOF) หรือ ตชด.มาเลเซีย ติดป้ายเตือนริมแม่น้ำโกลกที่ท่าเรือข้ามแม่น้ำผิดกฎหมายหลายแห่งตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย เพื่อเตือนประชาชนไม่ให้ข้ามแดนโดยผิดกฎหมาย โดยระบุว่า "บุคคลใดก็ตามที่เข้าออกจากชายแดนมาเลเซียและประเทศไทยผ่านช่องทางที่ไม่ได้รับอนุญาต จะถูกจับกุมดำเนินคดีตามมาตรา 5 (2) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมืองมาเลเซีย 1959/1963 มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี ปรับสูงสุด 10,000 ริงกิต หรือทั้งจำทั้งปรับ"

    นายไซฟุดดิน นาซูติออน อิสมาอิล รมว.มหาดไทยมาเลเซีย ยืนยันว่ามีทางเข้า-ออกรัฐกลันตันและไทยอย่างเป็นทางการเพียง 3 จุดเท่านั้น ได้แก่ ศูนย์ ICQS รันเตาปันจัง (ตรงข้ามด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส) ด่านบูกิตบุหงา (ตรงข้ามด่านศุลกากรบูเก๊ะตา อ.แว้ง) และด่านเป็งกาลันกูโบ (ตรงข้ามด่านตากใบ อ.ตากใบ) นอกนั้นเป็นช่องทางผิดกฎหมาย

    ขณะที่ดาโต๊ะ โมฮ้มหมัด ซูซอฟ มามัต ผู้บัญชาการตำรวจรัฐกลันตัน ระบุว่า ได้กำชับตำรวจและเจ้าหน้าที่ทุกนาย จับกุมชาวมาเลเซียที่มาจากไทยโดยใช้ช่องทางผิดกฎหมาย พร้อมเตือนทุกคนที่ต้องการเข้าประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายว่าจะจับกุมตลอดเวลา เช่นเดียวกับคนไทยที่เข้าประเทศมาเลเซียอย่างผิดกฎหมายก็จะถูกจับกุมเช่นกัน

    ที่ผ่านมาพวกเขาคิดว่าการเข้าประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายไม่ใช่ปัญหา อีกทั้งยังลักลอบขนยาเสพติด อาวุธปืนพก และสินค้าหนีภาษีอย่างเสรี ย้ำว่าจำเป็นต้องเข้าประเทศผ่านศูนย์ ICQS เพื่อช่วยลดปัญหาการลักลอบเข้าเมือง เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบยานพาหนะและควบคุมการลักลอบขนสินค้าหนีภาษีได้ ส่วนการควบคุมความปลอดภัยตามแนวชายแดนจะมีความเข้มงวดมากขึ้น

    อีกด้านหนึ่ง มาตรการเข้มงวดในการข้ามแดนของทางการมาเลเซีย ส่งผลกระทบไปถึงเศรษฐกิจในพื้นที่ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก โดยเฉพาะผู้ประกอบการโรงแรมพบว่าผู้เข้าพักช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ลดลงจากเดิม 100-200 ห้องเหลือ 15-20 ห้องต่อคืน ขณะที่มาตรการของทางการมาเลเซีย ทำให้ประชาชนทั้งสองประเทศวิตกกังวล ไม่กล้าเข้า-ออกประเทศ อาจทำให้เศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว งานบริการในพื้นที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก

    #Newskit
    สุไหงโก-ลกวุ่น มาเลย์เข้มข้ามแดน ปัญหาอาชญากรรมตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย ระหว่าง จ.นราธิวาส กับรัฐกลันตัน ที่พบปัญหาชาวไทยและมาเลเซียใช้ช่องทางธรรมชาติเข้า-ออกผ่านแม่น้ำโกลก โดยไม่ใช้หนังสือเดินทางหรือหนังสือผ่านแดนชั่วคราว ไปถึงการจับกุมยาเสพติด อาวุธปืน สินค้าผิดกฎหมาย ทำให้นับตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2567 เป็นต้นไป ทางการมาเลเซียประกาศให้ประชาชนที่อยู่ตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย ต้องเข้า-ออกพรมแดนผ่านทางช่องทางที่ถูกต้องเท่านั้น กองกำลังปฏิบัติการทั่วไป (GOF) หรือ ตชด.มาเลเซีย ติดป้ายเตือนริมแม่น้ำโกลกที่ท่าเรือข้ามแม่น้ำผิดกฎหมายหลายแห่งตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย เพื่อเตือนประชาชนไม่ให้ข้ามแดนโดยผิดกฎหมาย โดยระบุว่า "บุคคลใดก็ตามที่เข้าออกจากชายแดนมาเลเซียและประเทศไทยผ่านช่องทางที่ไม่ได้รับอนุญาต จะถูกจับกุมดำเนินคดีตามมาตรา 5 (2) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมืองมาเลเซีย 1959/1963 มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี ปรับสูงสุด 10,000 ริงกิต หรือทั้งจำทั้งปรับ" นายไซฟุดดิน นาซูติออน อิสมาอิล รมว.มหาดไทยมาเลเซีย ยืนยันว่ามีทางเข้า-ออกรัฐกลันตันและไทยอย่างเป็นทางการเพียง 3 จุดเท่านั้น ได้แก่ ศูนย์ ICQS รันเตาปันจัง (ตรงข้ามด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส) ด่านบูกิตบุหงา (ตรงข้ามด่านศุลกากรบูเก๊ะตา อ.แว้ง) และด่านเป็งกาลันกูโบ (ตรงข้ามด่านตากใบ อ.ตากใบ) นอกนั้นเป็นช่องทางผิดกฎหมาย ขณะที่ดาโต๊ะ โมฮ้มหมัด ซูซอฟ มามัต ผู้บัญชาการตำรวจรัฐกลันตัน ระบุว่า ได้กำชับตำรวจและเจ้าหน้าที่ทุกนาย จับกุมชาวมาเลเซียที่มาจากไทยโดยใช้ช่องทางผิดกฎหมาย พร้อมเตือนทุกคนที่ต้องการเข้าประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายว่าจะจับกุมตลอดเวลา เช่นเดียวกับคนไทยที่เข้าประเทศมาเลเซียอย่างผิดกฎหมายก็จะถูกจับกุมเช่นกัน ที่ผ่านมาพวกเขาคิดว่าการเข้าประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายไม่ใช่ปัญหา อีกทั้งยังลักลอบขนยาเสพติด อาวุธปืนพก และสินค้าหนีภาษีอย่างเสรี ย้ำว่าจำเป็นต้องเข้าประเทศผ่านศูนย์ ICQS เพื่อช่วยลดปัญหาการลักลอบเข้าเมือง เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบยานพาหนะและควบคุมการลักลอบขนสินค้าหนีภาษีได้ ส่วนการควบคุมความปลอดภัยตามแนวชายแดนจะมีความเข้มงวดมากขึ้น อีกด้านหนึ่ง มาตรการเข้มงวดในการข้ามแดนของทางการมาเลเซีย ส่งผลกระทบไปถึงเศรษฐกิจในพื้นที่ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก โดยเฉพาะผู้ประกอบการโรงแรมพบว่าผู้เข้าพักช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ลดลงจากเดิม 100-200 ห้องเหลือ 15-20 ห้องต่อคืน ขณะที่มาตรการของทางการมาเลเซีย ทำให้ประชาชนทั้งสองประเทศวิตกกังวล ไม่กล้าเข้า-ออกประเทศ อาจทำให้เศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว งานบริการในพื้นที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก #Newskit
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 785 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไฟดูดบนรถบัส เรื่องเล็กอย่าปล่อยผ่าน

    สิ่งอำนวยความสะดวกบนรถโดยสาร หรือรถทัวร์ที่ได้รับความนิยม นอกจากเบาะนั่งนุ่มๆ กับห้องน้ำภายในรถแล้ว ยังมีปลั๊กไฟหรือช่องเสียบ USB ให้ผู้โดยสารชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือระหว่างการเดินทาง แต่เมื่อยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยออกมา ถือเป็นความเสี่ยงที่ผู้โดยสารอาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต

    เมื่อไม่นานมานี้้เหตุผู้โดยสารรถทัวร์ในประเทศมาเลเซีย ถูกไฟดูดเสียชีวิตระหว่างเสียบชาร์จโทรศัพท์มือถือ เมื่อเวลา 18.10 น. ของวันที่ 1 พ.ย. ตำรวจรับแจ้งว่าพบคนหมดสติภายในรถทัวร์ ที่สถานีขนส่งปีนังเซ็นทรัล (Penang Sentral) เมืองบัตเตอร์เวิร์ธ รัฐปีนัง ระหว่างเสียบปลั๊กภายในรถเพื่อชาร์จโทรศัพท์มือถือ จากการตรวจสอบพบว่าผู้โดยสารเป็นชายวัย 18 ปี ตำรวจตรวจสอบสภาพศพมีรอยไหม้ที่นิ้วมือซ้าย ปลายสายชาร์จโทรศัพท์มือถือละลาย และโทรศัพท์มือถืออุ่นขึ้น สาเหตุคาดว่าเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร

    ตามรายงานข่าวระบุว่า ผู้โดยสารนั่งอยู่บนรถบัส กำลังจะออกเดินทางไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ ส่งเสียงกรีดร้องและมีน้ำลายฟูมปาก คนขับรถจึงโทรศัพท์เรียกรถพยาบาล แต่เมื่อรถพยาบาลมาถึงปรากฎว่าผู้โดยสารเสียชีวิตแล้ว

    เรื่องนี้ทำให้นายแอนโทนี ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย สั่งระงับการเดินรถคันดังกล่าวทันที และตั้งหน่วยเฉพาะกิจพิเศษ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากกรมการขนส่งทางบก (RTD) หน่วยงานระบบขนส่งสาธารณะทางบก (APAD) และสถาบันวิจัยความปลอดภัยทางถนนมาเลเซีย เพื่อสืบสวนหาสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยเห็นว่าเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องร้ายแรงอย่างยิ่ง จึงสอบสวนหาสาเหตุดังกล่าว และหาทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก

    กระทั่งวันที่ 7 พ.ย. กระทรวงคมนาคมมาเลเซีย ประกาศไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารใช้ปลั๊กไฟบนรถทัวร์ และรถโดยสารทุกคันที่มีปลั๊กไฟถูกห้ามใช้ชั่วคราว จนกว่าการสอบสวนจะเสร็จสิ้น ทำให้ผู้ประกอบการรถทัวร์ในมาเลเซีย ต่างขอความร่วมมือผู้โดยสาร งดใช้ปลั๊กไฟบนรถเพื่อชาร์จโทรศัพท์มือถือชั่วคราว เช่น Causeway Link Express ผู้ประกอบการเดินรถระหว่างรัฐยะโฮร์กับกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประกาศระงับใช้ปลั๊กไฟภายในรถชั่วคราว จนกว่าจะมีมาตรการด้านความปลอดภัยออกมา

    อย่างไรก็ตาม สำหรับปลั๊กไฟบนเครื่องบินและรถไฟ ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ

    ย้อนกลับมาที่ประเทศไทย ปัจจุบันมีรถโดยสารทั้งที่เป็นรถประจำทาง (รถทัวร์) และรถรับจ้างไม่ประจำทาง (รถ 30) ผู้ประกอบการบางรายมีปลั๊กไฟหรือช่องเสียบ USB ให้บริการแก่ผู้โดยสาร หากกรมการขนส่งทางบกยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยออกมา วันหนึ่งเราอาจจะได้เห็นเหตุการณ์สลดใจเฉกเช่นประเทศเพื่อนบ้านก็เป็นได้

    #Newskit
    ไฟดูดบนรถบัส เรื่องเล็กอย่าปล่อยผ่าน สิ่งอำนวยความสะดวกบนรถโดยสาร หรือรถทัวร์ที่ได้รับความนิยม นอกจากเบาะนั่งนุ่มๆ กับห้องน้ำภายในรถแล้ว ยังมีปลั๊กไฟหรือช่องเสียบ USB ให้ผู้โดยสารชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือระหว่างการเดินทาง แต่เมื่อยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยออกมา ถือเป็นความเสี่ยงที่ผู้โดยสารอาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต เมื่อไม่นานมานี้้เหตุผู้โดยสารรถทัวร์ในประเทศมาเลเซีย ถูกไฟดูดเสียชีวิตระหว่างเสียบชาร์จโทรศัพท์มือถือ เมื่อเวลา 18.10 น. ของวันที่ 1 พ.ย. ตำรวจรับแจ้งว่าพบคนหมดสติภายในรถทัวร์ ที่สถานีขนส่งปีนังเซ็นทรัล (Penang Sentral) เมืองบัตเตอร์เวิร์ธ รัฐปีนัง ระหว่างเสียบปลั๊กภายในรถเพื่อชาร์จโทรศัพท์มือถือ จากการตรวจสอบพบว่าผู้โดยสารเป็นชายวัย 18 ปี ตำรวจตรวจสอบสภาพศพมีรอยไหม้ที่นิ้วมือซ้าย ปลายสายชาร์จโทรศัพท์มือถือละลาย และโทรศัพท์มือถืออุ่นขึ้น สาเหตุคาดว่าเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ตามรายงานข่าวระบุว่า ผู้โดยสารนั่งอยู่บนรถบัส กำลังจะออกเดินทางไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ ส่งเสียงกรีดร้องและมีน้ำลายฟูมปาก คนขับรถจึงโทรศัพท์เรียกรถพยาบาล แต่เมื่อรถพยาบาลมาถึงปรากฎว่าผู้โดยสารเสียชีวิตแล้ว เรื่องนี้ทำให้นายแอนโทนี ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย สั่งระงับการเดินรถคันดังกล่าวทันที และตั้งหน่วยเฉพาะกิจพิเศษ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากกรมการขนส่งทางบก (RTD) หน่วยงานระบบขนส่งสาธารณะทางบก (APAD) และสถาบันวิจัยความปลอดภัยทางถนนมาเลเซีย เพื่อสืบสวนหาสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยเห็นว่าเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องร้ายแรงอย่างยิ่ง จึงสอบสวนหาสาเหตุดังกล่าว และหาทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก กระทั่งวันที่ 7 พ.ย. กระทรวงคมนาคมมาเลเซีย ประกาศไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารใช้ปลั๊กไฟบนรถทัวร์ และรถโดยสารทุกคันที่มีปลั๊กไฟถูกห้ามใช้ชั่วคราว จนกว่าการสอบสวนจะเสร็จสิ้น ทำให้ผู้ประกอบการรถทัวร์ในมาเลเซีย ต่างขอความร่วมมือผู้โดยสาร งดใช้ปลั๊กไฟบนรถเพื่อชาร์จโทรศัพท์มือถือชั่วคราว เช่น Causeway Link Express ผู้ประกอบการเดินรถระหว่างรัฐยะโฮร์กับกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประกาศระงับใช้ปลั๊กไฟภายในรถชั่วคราว จนกว่าจะมีมาตรการด้านความปลอดภัยออกมา อย่างไรก็ตาม สำหรับปลั๊กไฟบนเครื่องบินและรถไฟ ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ ย้อนกลับมาที่ประเทศไทย ปัจจุบันมีรถโดยสารทั้งที่เป็นรถประจำทาง (รถทัวร์) และรถรับจ้างไม่ประจำทาง (รถ 30) ผู้ประกอบการบางรายมีปลั๊กไฟหรือช่องเสียบ USB ให้บริการแก่ผู้โดยสาร หากกรมการขนส่งทางบกยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยออกมา วันหนึ่งเราอาจจะได้เห็นเหตุการณ์สลดใจเฉกเช่นประเทศเพื่อนบ้านก็เป็นได้ #Newskit
    Like
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 656 มุมมอง 0 รีวิว
  • อาหารไทยเฉิดฉาย มิชลินไกด์มาเลย์ฯ

    การประกาศรางวัลร้านอาหารมิชลินไกด์ กัวลาลัมเปอร์และปีนัง ปี 2025 (MICHELIN Guide Kuala Lumpur & Penang 2025) ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2567 มีร้านอาหารในกรุงกัวลาลัมเปอร์ และรัฐปีนังได้รับการคัดเลือก 143 แห่ง โดยมี 25 แห่ง ได้รับการคัดเลือกเป็นครั้งแรก พร้อมเปิดตัวร้านที่ได้รับรางวัล Green Star หรือรางวัลดาวมิชลินรักษ์โลกแห่งแรกในประเทศมาเลเซีย คือ ร้านเดวากาน (Dewakan) ที่นอกจากจะรักษารางวัลมิชลิน 2 ดาวด้วยเมนูอาหารที่โดดเด่นแล้ว ยังพยายามจัดหาวัตถุดิบในท้องถิ่นและใช้เป็นส่วนผสมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเสริมรสชาติแบบดั้งเดิมของมาเลเซีย วัตถุดิบส่วนเกินยังนำไปหมักเป็นซอสโฮมเมดเพื่อลดขยะ ถือเป็นแรงบันดาลใจให้ร้านอาหารอื่นนำแนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้

    ร้านใหม่ 2 แห่งได้รับรางวัลมิชลินสตาร์ 1 ดาว ได้แก่ ชิมบายเชฟหนุ่ม (Chim By Chef Noom) ร้านอาหารไทยร่วมสมัย สืบทอดอาหารไทยดั้งเดิม แต่มีการปรับเปลี่ยนเมนูที่สร้างสรรค์และการจัดจานอย่างมีสไตล์ อีกทั้งเชฟอัซมี อาหมัด กามาล ยังได้รับรางวัล Service Award อีกรางวัลหนึ่ง ส่วนอีกร้านหนึ่งคือ โมลินา (Molina) ที่มีเมนูสร้างสรรค์ที่ผสมผสานเทคนิคแบบฝรั่งเศส กลิ่นอายแบบนอร์ดิก และกลิ่นอายแบบเอเชียอย่างลงตัว โดยเชฟกีโยม เดอปูร์แตร์ ได้รับรางวัล Opening of the Year Award

    รางวัลบิบกรูมองด์ (Bib Gourmand) ร้านอาหารอร่อยและราคาสมเหตุสมผล มีร้านใหม่ 12 แห่ง ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ 5 แห่ง และปีนัง 7 แห่ง หนึ่งในนั้นคือร้าน BM Yam Rice ย่านบูกิตเมอร์ตาจัม ที่เลื่อนระดับขึ้นจาก MICHELIN Selected เมนูเด่นคือซุปหมูและเครื่องในหมูรสชาติเข้มข้น เสิร์ฟพร้อมข้าวแยมไรซ์ (Yam Rice) เป็นหนึ่งในร้านอาหารราคาจับต้องได้ที่โดดเด่นที่สุดในมาเลเซีย ส่วนร้านอาหารหมวดหมู่ MICHELIN Selected มีร้านใหม่เพิ่มเติม 10 ร้าน รวมเป็น 80 ร้าน

    สำหรับร้านชิมบายเชฟหนุ่ม ตั้งอยู่ในอาคาร TSLAW Tower ย่านตุน ราซัก เอ็กซ์เชนจ์ (Tun Razak Exchange) เจ้าของร้านคือเชฟหนุ่ม ธนินธร จันทรวรรณ แห่งร้านชิมบายสยามวิสดอม (Chim by Siam Wisdom) ย่านสามเสน กรุงเทพฯ โดยใช้วัตถุดิบคุณภาพจากญี่ปุ่น ร่วมกับเครื่องเทศ ผลไม้ และผักในท้องถิ่น เมนูเด่นของร้านคือ The Lost Recipe ต้มยำสูตรโบราณกว่า 200 ปี ที่มีรสชาติกลมกล่อมลงตัว

    อนึ่ง ในภูมิภาคอาเซียนมีการจัดทำคู่มือมิชลินไกด์แล้ว 4 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์เริ่มจากฉบับปี 2016 ประเทศไทยเริ่มจากฉบับปี 2018 มาเลเซียและและเวียดนาม เริ่มจากฉบับปี 2023

    #Newskit #MICHELINGuideMY #ChimbyChefNoom
    อาหารไทยเฉิดฉาย มิชลินไกด์มาเลย์ฯ การประกาศรางวัลร้านอาหารมิชลินไกด์ กัวลาลัมเปอร์และปีนัง ปี 2025 (MICHELIN Guide Kuala Lumpur & Penang 2025) ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2567 มีร้านอาหารในกรุงกัวลาลัมเปอร์ และรัฐปีนังได้รับการคัดเลือก 143 แห่ง โดยมี 25 แห่ง ได้รับการคัดเลือกเป็นครั้งแรก พร้อมเปิดตัวร้านที่ได้รับรางวัล Green Star หรือรางวัลดาวมิชลินรักษ์โลกแห่งแรกในประเทศมาเลเซีย คือ ร้านเดวากาน (Dewakan) ที่นอกจากจะรักษารางวัลมิชลิน 2 ดาวด้วยเมนูอาหารที่โดดเด่นแล้ว ยังพยายามจัดหาวัตถุดิบในท้องถิ่นและใช้เป็นส่วนผสมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเสริมรสชาติแบบดั้งเดิมของมาเลเซีย วัตถุดิบส่วนเกินยังนำไปหมักเป็นซอสโฮมเมดเพื่อลดขยะ ถือเป็นแรงบันดาลใจให้ร้านอาหารอื่นนำแนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ ร้านใหม่ 2 แห่งได้รับรางวัลมิชลินสตาร์ 1 ดาว ได้แก่ ชิมบายเชฟหนุ่ม (Chim By Chef Noom) ร้านอาหารไทยร่วมสมัย สืบทอดอาหารไทยดั้งเดิม แต่มีการปรับเปลี่ยนเมนูที่สร้างสรรค์และการจัดจานอย่างมีสไตล์ อีกทั้งเชฟอัซมี อาหมัด กามาล ยังได้รับรางวัล Service Award อีกรางวัลหนึ่ง ส่วนอีกร้านหนึ่งคือ โมลินา (Molina) ที่มีเมนูสร้างสรรค์ที่ผสมผสานเทคนิคแบบฝรั่งเศส กลิ่นอายแบบนอร์ดิก และกลิ่นอายแบบเอเชียอย่างลงตัว โดยเชฟกีโยม เดอปูร์แตร์ ได้รับรางวัล Opening of the Year Award รางวัลบิบกรูมองด์ (Bib Gourmand) ร้านอาหารอร่อยและราคาสมเหตุสมผล มีร้านใหม่ 12 แห่ง ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ 5 แห่ง และปีนัง 7 แห่ง หนึ่งในนั้นคือร้าน BM Yam Rice ย่านบูกิตเมอร์ตาจัม ที่เลื่อนระดับขึ้นจาก MICHELIN Selected เมนูเด่นคือซุปหมูและเครื่องในหมูรสชาติเข้มข้น เสิร์ฟพร้อมข้าวแยมไรซ์ (Yam Rice) เป็นหนึ่งในร้านอาหารราคาจับต้องได้ที่โดดเด่นที่สุดในมาเลเซีย ส่วนร้านอาหารหมวดหมู่ MICHELIN Selected มีร้านใหม่เพิ่มเติม 10 ร้าน รวมเป็น 80 ร้าน สำหรับร้านชิมบายเชฟหนุ่ม ตั้งอยู่ในอาคาร TSLAW Tower ย่านตุน ราซัก เอ็กซ์เชนจ์ (Tun Razak Exchange) เจ้าของร้านคือเชฟหนุ่ม ธนินธร จันทรวรรณ แห่งร้านชิมบายสยามวิสดอม (Chim by Siam Wisdom) ย่านสามเสน กรุงเทพฯ โดยใช้วัตถุดิบคุณภาพจากญี่ปุ่น ร่วมกับเครื่องเทศ ผลไม้ และผักในท้องถิ่น เมนูเด่นของร้านคือ The Lost Recipe ต้มยำสูตรโบราณกว่า 200 ปี ที่มีรสชาติกลมกล่อมลงตัว อนึ่ง ในภูมิภาคอาเซียนมีการจัดทำคู่มือมิชลินไกด์แล้ว 4 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์เริ่มจากฉบับปี 2016 ประเทศไทยเริ่มจากฉบับปี 2018 มาเลเซียและและเวียดนาม เริ่มจากฉบับปี 2023 #Newskit #MICHELINGuideMY #ChimbyChefNoom
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1072 มุมมอง 0 รีวิว
  • โรคเลื่อนรถไฟทางคู่ เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู

    โครงการรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู (Gemas-Johor Bahru Electrified Double-Tracking Rail Project) หรือ Gemas-JB EDTP ประเทศมาเลเซีย ระยะทาง 192 กิโลเมตร แม้มีความคืบหน้าการก่อสร้าง แต่การขยายเส้นทางบริการรถไฟ ETS จากสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) รัฐปะลิส หรือสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ถึงสถานีเซกามัส (Segamat) ซึ่งเป็นสถานีแรกของรัฐยะโฮร์ ต้องถูกเลื่อนออกไปเป็นครั้งที่สอง

    เดิมการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) มีแผนที่จะขยายบริการรถไฟ ETS ไปยังสถานีเซกามัสในวันที่ 1 ก.ค. 2567 แต่ต้องเลื่อนออกไป คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือน ต.ค. 2567 แต่แล้วก็เลื่อนออกไปอีก ตามรายงานข่าวของสำนักข่าวเดอะสเตรทไทมส์ของมาเลเซีย ระบุแหล่งข่าวจากรัฐบาลมาเลเซียว่า เกิดจากบริษัท YTL Construction ผู้รับจ้างก่อสร้าง ไม่สามารถดำเนินการด้านเทคนิคของสายจ่ายกระแสไฟฟ้าที่สถานีควบคุมการเดินรถเกนวง (Genuang Operating Station) ส่งผลทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือศีรษะได้

    แม้ว่าการวางรางรถไฟช่วงสถานีเกอมัส ถึงรัฐยะโฮร์จะคืบหน้ากว่า 95% แต่งานด้านอื่นที่ยังดำเนินการอยู่ ได้แก่ การทดสอบเดินรถไฟฟ้า โดยที่ผ่านมาโครงการนี้ประสบปัญหาล่าช้ากว่า 3 ปี จากสถานการณ์โควิด 19 และการเวนคืนที่ดิน นอกจากนี้ ยังมีความล่าช้าในการส่งมอบขบวนรถโดยสารรุ่น KTM Class 94 หรือ ETS3 ขนาด 312 ที่นั่ง จำนวน 10 คัน จากบริษัท CRRC Zhuzhou Locomotive ประเทศจีน ซึ่งนายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย คาดว่าขบวนรถจะส่งมอบทั้งหมดภายในวันที่ 12 ส.ค. 2568

    อย่างไรก็ตาม คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือน เม.ย. 2568 และเปิดให้บริการในช่วงกลางปี 2568 ขณะที่การก่อสร้างสถานี Genuang, Segamat, Labis, Bekok และ Paloh เปิดให้ประชาชนใช้บริการได้แล้ว

    โครงการ Gemas-JB EDTP เริ่มต้นจากสถานีเกอมัส รัฐเนกรีเซมบีลัน เชื่อมกับรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ที่เปิดให้บริการเมื่อปี 2554 ถึงสถานีเจบีเซ็นทรัล (JB Sentral) รัฐยะโฮร์ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยลดเวลาการเดินทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ไปยังเมืองยะโฮร์บาห์รู จาก 7 ชั่วโมงเหลือ 4 ชั่วโมง 30 นาที คาดว่าจะให้บริการผู้โดยสารได้ 3,000 คนต่อวัน รวมทั้งยังใกล้กับโครงการรถไฟ RTS Link ไปยังประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการภายในเดือน ม.ค. 2570

    ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 มีผู้ใช้บริการรถไฟดีเซลราง KTM Intercity เส้นทางระหว่างเกอมัสถึงยะโฮร์บาห์รู จำนวน 63,607 คน

    #Newskit #Gemas #KTMB
    โรคเลื่อนรถไฟทางคู่ เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู โครงการรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู (Gemas-Johor Bahru Electrified Double-Tracking Rail Project) หรือ Gemas-JB EDTP ประเทศมาเลเซีย ระยะทาง 192 กิโลเมตร แม้มีความคืบหน้าการก่อสร้าง แต่การขยายเส้นทางบริการรถไฟ ETS จากสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) รัฐปะลิส หรือสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ถึงสถานีเซกามัส (Segamat) ซึ่งเป็นสถานีแรกของรัฐยะโฮร์ ต้องถูกเลื่อนออกไปเป็นครั้งที่สอง เดิมการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) มีแผนที่จะขยายบริการรถไฟ ETS ไปยังสถานีเซกามัสในวันที่ 1 ก.ค. 2567 แต่ต้องเลื่อนออกไป คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือน ต.ค. 2567 แต่แล้วก็เลื่อนออกไปอีก ตามรายงานข่าวของสำนักข่าวเดอะสเตรทไทมส์ของมาเลเซีย ระบุแหล่งข่าวจากรัฐบาลมาเลเซียว่า เกิดจากบริษัท YTL Construction ผู้รับจ้างก่อสร้าง ไม่สามารถดำเนินการด้านเทคนิคของสายจ่ายกระแสไฟฟ้าที่สถานีควบคุมการเดินรถเกนวง (Genuang Operating Station) ส่งผลทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือศีรษะได้ แม้ว่าการวางรางรถไฟช่วงสถานีเกอมัส ถึงรัฐยะโฮร์จะคืบหน้ากว่า 95% แต่งานด้านอื่นที่ยังดำเนินการอยู่ ได้แก่ การทดสอบเดินรถไฟฟ้า โดยที่ผ่านมาโครงการนี้ประสบปัญหาล่าช้ากว่า 3 ปี จากสถานการณ์โควิด 19 และการเวนคืนที่ดิน นอกจากนี้ ยังมีความล่าช้าในการส่งมอบขบวนรถโดยสารรุ่น KTM Class 94 หรือ ETS3 ขนาด 312 ที่นั่ง จำนวน 10 คัน จากบริษัท CRRC Zhuzhou Locomotive ประเทศจีน ซึ่งนายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย คาดว่าขบวนรถจะส่งมอบทั้งหมดภายในวันที่ 12 ส.ค. 2568 อย่างไรก็ตาม คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือน เม.ย. 2568 และเปิดให้บริการในช่วงกลางปี 2568 ขณะที่การก่อสร้างสถานี Genuang, Segamat, Labis, Bekok และ Paloh เปิดให้ประชาชนใช้บริการได้แล้ว โครงการ Gemas-JB EDTP เริ่มต้นจากสถานีเกอมัส รัฐเนกรีเซมบีลัน เชื่อมกับรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ที่เปิดให้บริการเมื่อปี 2554 ถึงสถานีเจบีเซ็นทรัล (JB Sentral) รัฐยะโฮร์ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยลดเวลาการเดินทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ไปยังเมืองยะโฮร์บาห์รู จาก 7 ชั่วโมงเหลือ 4 ชั่วโมง 30 นาที คาดว่าจะให้บริการผู้โดยสารได้ 3,000 คนต่อวัน รวมทั้งยังใกล้กับโครงการรถไฟ RTS Link ไปยังประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการภายในเดือน ม.ค. 2570 ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 มีผู้ใช้บริการรถไฟดีเซลราง KTM Intercity เส้นทางระหว่างเกอมัสถึงยะโฮร์บาห์รู จำนวน 63,607 คน #Newskit #Gemas #KTMB
    Like
    Sad
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 888 มุมมอง 0 รีวิว
  • เบื่อหาดใหญ่ ไปอลอร์สตาร์

    ในขณะที่ชาวมาเลเซียนิยมเข้ามาท่องเที่ยวที่หาดใหญ่ จ.สงขลาอย่างคึกคัก ในทางกลับกันยังมีคนไทยอีกส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะชาวหาดใหญ่ นิยมไปเที่ยวประเทศมาเลเซีย หนึ่งในนั้นคือ อลอร์สตาร์ (Alor Setar) เมืองหลวงของรัฐเคดะห์ (Kedah) หากขับรถไปเองโดยใช้ทางด่วนเหนือ-ใต้ E1 จากด่านบูกิตกายูฮิตัม ตรงข้าม อ.สะเดา จ.สงขลา ระยะทางเพียง 50 กิโลเมตร

    แต่ส่วนมากนิยมเดินทางโดยรถไฟ KTM Komuter จากสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที ค่าโดยสาร 5.70 ริงกิตต่อเที่ยว (ประมาณ 45 บาท) หากเดินทางแบบไปเช้าเย็นกลับ นิยมจอดรถที่ด่านปาดังเบซาร์ฝั่งไทย ก่อนไปประทับตราหนังสือเดินทางที่ด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ เปิดเวลา 05.00-21.00 น. ตามเวลาประเทศไทย กับศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์

    ชาวหาดใหญ่นิยมมาช้อปปิ้งที่ศูนย์การค้าอะมาน เซ็นทรัล (Aman Central) เนื่องจากมีร้านค้าที่ไม่มีในหาดใหญ่ เช่น ร้าน CHAGEE, ร้าน Krispy Kreme ที่มีโดนัทไซส์เล็ก, ไอศกรีม Llaollao (เหยาเหยา) นอกนั้นก็จะซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ทั้งน้ำหอม สกินแคร์ และวิตามินต่างๆ บางรายการถูกกว่าประเทศไทย

    อะมาน เซ็นทรัล เป็นศูนย์การค้าขนาด 8 ชั้นของกลุ่มเบลล์วิลล์กรุ๊ป เปิดเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2558 มีร้านค้าเช่ารวม 420 ร้าน แมกเนตหลักประกอบด้วย โลตัส (Lotus's) ห้างสรรพสินค้าพาร์คสัน (Parkson) และโรงภาพยนตร์โกลเด้นสกรีนซีนีม่าส์ (GSC)

    ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมประกอบด้วย Menara Alor Setar หอโทรคมนาคม สูง 4 ชั้น ยาว 165.5 เมตร (543 ฟุต) อันดับสามในมาเลเซีย เปิดเมื่อปี 2540 ราคาเข้าชมจุดชมวิวเริ่มต้นที่ 8 ริงกิต, มัสยิดซาฮีร์ (Zahir Mosque) ซึ่งเก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย นอกนั้นก็จะมี Kedah State Art Gallery หอศิลป์แห่งรัฐเคดาห์ ห่างออกไปจะเป็น Kedah Paddy Museum พิพิธภัณฑ์ข้าว

    เคดะห์เป็นรัฐ 5 อันดับแรกในมาเลเซียที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวสูงสุด เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวอย่างเกาะลังกาวี โดยในปี 2566 มีนักท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 6.45 ล้านคน โดยเมืองอลอร์สตาร์มีโรงแรมให้บริการรวม 2,552 ห้อง ส่วนสนามบินอลอร์สตาร์ (AOR) มีผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 588,771 คน มีเที่ยวบินจากสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) 23 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ สนามบินซูบัง (SZB) 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินเซไน รัฐยะโฮร์ (JHB) 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

    ล่าสุด สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) ประกาศเปิดเส้นทางบินใหม่ กัวลาลัมเปอร์-อลอร์สตาร์ ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 2567 ให้บริการ 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

    #Newskit #AlorSetar #Kedah
    เบื่อหาดใหญ่ ไปอลอร์สตาร์ ในขณะที่ชาวมาเลเซียนิยมเข้ามาท่องเที่ยวที่หาดใหญ่ จ.สงขลาอย่างคึกคัก ในทางกลับกันยังมีคนไทยอีกส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะชาวหาดใหญ่ นิยมไปเที่ยวประเทศมาเลเซีย หนึ่งในนั้นคือ อลอร์สตาร์ (Alor Setar) เมืองหลวงของรัฐเคดะห์ (Kedah) หากขับรถไปเองโดยใช้ทางด่วนเหนือ-ใต้ E1 จากด่านบูกิตกายูฮิตัม ตรงข้าม อ.สะเดา จ.สงขลา ระยะทางเพียง 50 กิโลเมตร แต่ส่วนมากนิยมเดินทางโดยรถไฟ KTM Komuter จากสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที ค่าโดยสาร 5.70 ริงกิตต่อเที่ยว (ประมาณ 45 บาท) หากเดินทางแบบไปเช้าเย็นกลับ นิยมจอดรถที่ด่านปาดังเบซาร์ฝั่งไทย ก่อนไปประทับตราหนังสือเดินทางที่ด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ เปิดเวลา 05.00-21.00 น. ตามเวลาประเทศไทย กับศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ ชาวหาดใหญ่นิยมมาช้อปปิ้งที่ศูนย์การค้าอะมาน เซ็นทรัล (Aman Central) เนื่องจากมีร้านค้าที่ไม่มีในหาดใหญ่ เช่น ร้าน CHAGEE, ร้าน Krispy Kreme ที่มีโดนัทไซส์เล็ก, ไอศกรีม Llaollao (เหยาเหยา) นอกนั้นก็จะซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ทั้งน้ำหอม สกินแคร์ และวิตามินต่างๆ บางรายการถูกกว่าประเทศไทย อะมาน เซ็นทรัล เป็นศูนย์การค้าขนาด 8 ชั้นของกลุ่มเบลล์วิลล์กรุ๊ป เปิดเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2558 มีร้านค้าเช่ารวม 420 ร้าน แมกเนตหลักประกอบด้วย โลตัส (Lotus's) ห้างสรรพสินค้าพาร์คสัน (Parkson) และโรงภาพยนตร์โกลเด้นสกรีนซีนีม่าส์ (GSC) ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมประกอบด้วย Menara Alor Setar หอโทรคมนาคม สูง 4 ชั้น ยาว 165.5 เมตร (543 ฟุต) อันดับสามในมาเลเซีย เปิดเมื่อปี 2540 ราคาเข้าชมจุดชมวิวเริ่มต้นที่ 8 ริงกิต, มัสยิดซาฮีร์ (Zahir Mosque) ซึ่งเก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย นอกนั้นก็จะมี Kedah State Art Gallery หอศิลป์แห่งรัฐเคดาห์ ห่างออกไปจะเป็น Kedah Paddy Museum พิพิธภัณฑ์ข้าว เคดะห์เป็นรัฐ 5 อันดับแรกในมาเลเซียที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวสูงสุด เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวอย่างเกาะลังกาวี โดยในปี 2566 มีนักท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 6.45 ล้านคน โดยเมืองอลอร์สตาร์มีโรงแรมให้บริการรวม 2,552 ห้อง ส่วนสนามบินอลอร์สตาร์ (AOR) มีผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 588,771 คน มีเที่ยวบินจากสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) 23 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ สนามบินซูบัง (SZB) 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินเซไน รัฐยะโฮร์ (JHB) 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ล่าสุด สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) ประกาศเปิดเส้นทางบินใหม่ กัวลาลัมเปอร์-อลอร์สตาร์ ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 2567 ให้บริการ 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ #Newskit #AlorSetar #Kedah
    Like
    Love
    9
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 911 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไทย-มาเลย์เจาะกลุ่ม Self Drive Tourism

    นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 23 ต.ค. 2567 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเยือนกว่า 4 ล้านคน โดยพบว่า 49% เลือกเดินทางเข้าประเทศไทยผ่านด่านสะเดา จ.สงขลา ทำให้รัฐบาลไทยขยายเวลายกเว้นแบบฟอร์ม ตม.6 ผ่าน 4 ด่านชายแดนทางบกระหว่างไทย-มาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. 2567 ถึง 30 เม.ย. 2568 แต่สำหรับคนไทยมาเยือนประเทศมาเลเซีย ข้อมูลจากการท่องเที่ยวมาเลเซีย เดือน ส.ค. 2567 อยู่ที่ 1.1 ล้านคน เพิ่มขึ้น 19.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

    ทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับการท่องเที่ยวมาเลเซีย ร่วมกันจัดโครงการ Malaysia & Thailand Self Drive Tourism เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบขับรถข้ามชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยเปิดตัวคู่มือแผนที่เส้นทางท่องเที่ยว Self-Drive เชื่อมโยงชายแดนไทยและมาเลเซีย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในเส้นทาง

    ททท. คาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียมาเยือนไทยไม่น้อยกว่า 5 ล้านคน ส่วนคนไทยเดินทางไปเยือนมาเลเซียไม่น้อยกว่า 2 ล้านคน รวมแล้วไม่น้อยกว่า 7 ล้านคน ส่วนการท่องเที่ยวมาเลเซีย ตั้งเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากไทยไม่น้อยกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2568 และกำลังจะมีแคมเปญ Visit Malaysia 2026 ในปี 2569 โดยมีเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก 35.6 ล้านคน

    สำหรับคู่มือ Malaysia & Thailand Self-Drive ของการท่องเที่ยวมาเลเซีย นำเสนอแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวใน 4 รัฐของมาเลเซีย ได้แก่ รัฐเปอร์ลิส (Perlis) รัฐเคดะห์ (Kedah) รัฐปีนัง (Penang) และรัฐเปรัก (Perak) ทั้งหมด 28 แห่ง พร้อมกับคิวอาร์โค้ดเพื่อค้นหาโรงแรมที่พักจาก The Malaysia Budget & Business Hotel Association (MyBHA) ข้อมูลจุดพักรถ R&R (Rest & Relaxation) ปั๊มน้ำมันและสถานที่ชาร์จรถยนต์ EV บนทางพิเศษเหนือ-ใต้หมายเลข 1 (E1) และข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ

    นักท่องเที่ยวสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ https://www.malaysia.travel/explore/malaysia-thailand-self-drive

    อนึ่ง สำหรับรถยนต์จากไทยไปมาเลเซีย ผู้ใช้รถจะต้องเป็นเจ้าของรถโดยตรง หากเป็นรถติดไฟแนนซ์ส่วนใหญ่มักจะไม่อนุญาต โดยความเข้มของฟิล์มกรองแสงต้องไม่เกิน 40% ที่หน้าด่านสะเดาจะมีเอเจนซี่ ให้บริการรับทำเอกสารและประกันรถยนต์ ซึ่งจะได้แผ่นป้ายวงกลม (ICP) หรือสำเนาใบอนุญาตนำเข้ายานพาหนะของมาเลเซีย ประกันภัยรถยนต์มาเลเซีย และสติกเกอร์ทะเบียนรถยนต์ภาษาอังกฤษ ส่วนใบขับขี่ใช้ของประเทศไทยได้ ไม่ต้องทำใบขับขี่สากล

    #Newskit #SelfDriveTourism #ThaiMalaysia
    ไทย-มาเลย์เจาะกลุ่ม Self Drive Tourism นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 23 ต.ค. 2567 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเยือนกว่า 4 ล้านคน โดยพบว่า 49% เลือกเดินทางเข้าประเทศไทยผ่านด่านสะเดา จ.สงขลา ทำให้รัฐบาลไทยขยายเวลายกเว้นแบบฟอร์ม ตม.6 ผ่าน 4 ด่านชายแดนทางบกระหว่างไทย-มาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. 2567 ถึง 30 เม.ย. 2568 แต่สำหรับคนไทยมาเยือนประเทศมาเลเซีย ข้อมูลจากการท่องเที่ยวมาเลเซีย เดือน ส.ค. 2567 อยู่ที่ 1.1 ล้านคน เพิ่มขึ้น 19.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับการท่องเที่ยวมาเลเซีย ร่วมกันจัดโครงการ Malaysia & Thailand Self Drive Tourism เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบขับรถข้ามชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยเปิดตัวคู่มือแผนที่เส้นทางท่องเที่ยว Self-Drive เชื่อมโยงชายแดนไทยและมาเลเซีย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในเส้นทาง ททท. คาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียมาเยือนไทยไม่น้อยกว่า 5 ล้านคน ส่วนคนไทยเดินทางไปเยือนมาเลเซียไม่น้อยกว่า 2 ล้านคน รวมแล้วไม่น้อยกว่า 7 ล้านคน ส่วนการท่องเที่ยวมาเลเซีย ตั้งเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากไทยไม่น้อยกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2568 และกำลังจะมีแคมเปญ Visit Malaysia 2026 ในปี 2569 โดยมีเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก 35.6 ล้านคน สำหรับคู่มือ Malaysia & Thailand Self-Drive ของการท่องเที่ยวมาเลเซีย นำเสนอแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวใน 4 รัฐของมาเลเซีย ได้แก่ รัฐเปอร์ลิส (Perlis) รัฐเคดะห์ (Kedah) รัฐปีนัง (Penang) และรัฐเปรัก (Perak) ทั้งหมด 28 แห่ง พร้อมกับคิวอาร์โค้ดเพื่อค้นหาโรงแรมที่พักจาก The Malaysia Budget & Business Hotel Association (MyBHA) ข้อมูลจุดพักรถ R&R (Rest & Relaxation) ปั๊มน้ำมันและสถานที่ชาร์จรถยนต์ EV บนทางพิเศษเหนือ-ใต้หมายเลข 1 (E1) และข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ นักท่องเที่ยวสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ https://www.malaysia.travel/explore/malaysia-thailand-self-drive อนึ่ง สำหรับรถยนต์จากไทยไปมาเลเซีย ผู้ใช้รถจะต้องเป็นเจ้าของรถโดยตรง หากเป็นรถติดไฟแนนซ์ส่วนใหญ่มักจะไม่อนุญาต โดยความเข้มของฟิล์มกรองแสงต้องไม่เกิน 40% ที่หน้าด่านสะเดาจะมีเอเจนซี่ ให้บริการรับทำเอกสารและประกันรถยนต์ ซึ่งจะได้แผ่นป้ายวงกลม (ICP) หรือสำเนาใบอนุญาตนำเข้ายานพาหนะของมาเลเซีย ประกันภัยรถยนต์มาเลเซีย และสติกเกอร์ทะเบียนรถยนต์ภาษาอังกฤษ ส่วนใบขับขี่ใช้ของประเทศไทยได้ ไม่ต้องทำใบขับขี่สากล #Newskit #SelfDriveTourism #ThaiMalaysia
    Like
    8
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 756 มุมมอง 0 รีวิว
  • โกตาบารูอัปเกรดสนามบิน-ระบบราง

    โกตาบารู (Kota Bharu) เมืองหลวงของรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนไทย-มาเลเซีย ทางรถยนต์ที่ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก และเรือข้ามฟากที่ด่านตากใบ (ท่าเรือ) จ.นราธิวาส แม้จะเป็นรัฐอนุรักษ์นิยมที่เคร่งครัดในเรื่องศาสนามากที่สุด และจัดอยู่ในกลุ่มรัฐที่ยากจนที่สุด แต่ที่ผ่านมารัฐบาลกลางของมาเลเซียได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง กระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยว

    ท่าอากาศยานสุลต่านอิสมาอิล เปตรา โกตาบารู (KBR) ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2567 ได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ระยะที่ 1 รองรับผู้โดยสารได้ 1.5 ล้านคนต่อปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 440 ล้านริงกิต ขณะที่นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เคยตอบรับที่จะขยายทางวิ่ง (Runway) เพิ่มอีก 400 เมตร จากเดิม 2,400 เมตร เป็น 2,800 เมตร ตามที่มุขมนตรีรัฐกลันตันร้องขอ เพื่อรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ นำผู้แสวงบุญไปยังประเทศซาอุดิอาระเบีย

    ปัจจุบันสนามบินโกตาบารู มีเที่ยวบินไปยังสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) มี 3 สายการบิน ได้แก่ แอร์เอเชีย มาเลเซียแอร์ไลน์ส และบาติกแอร์ สนามบินซูบัง (SZB) กับสนามบินปีนัง (PEN) มีบินทุกวันโดยไฟร์ฟลาย สนามบินโคตาคินาบาลู (BKI) กับสนามบินยะโฮร์บาห์รู (JHB) 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินกูชิ่ง (KCH) 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ที่ผ่านมามีชาวไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาขึ้นเครื่องไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพราะค่าโดยสารถูก ไม่ถึง 1,000 บาทต่อเที่ยว

    ส่วนโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งตะวันออกมาเลเซีย หรือ ECRL (East Coast Rail Link) ระยะทาง 665 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 50,270 ล้านริงกิต ต้นทางจากสถานีโกตาบารู ผ่านรัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐปะหัง และรัฐสลังงอร์ ปลายทางสถานีจาลัน คาสตัม (Jalan Castam) ย่านพอร์ตแคลง (Port Klang) โดยใช้รถไฟโดยสารความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลดเวลาเดินทางไปยังสถานีกอมบัค (Gombak) เหลือประมาณ 4 ชั่วโมง สามารถต่อรถไฟฟ้า LRT ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ได้

    นายนิค โซห์ ยาคูบ (Nik Soh Yaacoub) ผู้อำนวยการฝ่ายโยธาธิการของรัฐกลันตัน เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างทางรถไฟช่วงที่ผ่านรัฐกลันตัน ระยะทาง 48.86 กิโลเมตร คืบหน้า 83.27% ส่วนการก่อสร้างสถานีโกตาบารู คืบหน้า 45.48% เร็วกว่าแผนเล็กน้อย ส่วนสถานีปาซีร์ปูเตะห์ (Pasir Puteh) สำหรับการโดยสารและขนส่งสินค้า ล่าช้าเล็กน้อยเพราะปัจจัยแวดล้อมหลายประการ คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2568 และเปิดให้บริการในปี 2570

    #Newskit #KotaBharu #ECRL
    โกตาบารูอัปเกรดสนามบิน-ระบบราง โกตาบารู (Kota Bharu) เมืองหลวงของรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนไทย-มาเลเซีย ทางรถยนต์ที่ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก และเรือข้ามฟากที่ด่านตากใบ (ท่าเรือ) จ.นราธิวาส แม้จะเป็นรัฐอนุรักษ์นิยมที่เคร่งครัดในเรื่องศาสนามากที่สุด และจัดอยู่ในกลุ่มรัฐที่ยากจนที่สุด แต่ที่ผ่านมารัฐบาลกลางของมาเลเซียได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง กระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยว ท่าอากาศยานสุลต่านอิสมาอิล เปตรา โกตาบารู (KBR) ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2567 ได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ระยะที่ 1 รองรับผู้โดยสารได้ 1.5 ล้านคนต่อปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 440 ล้านริงกิต ขณะที่นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เคยตอบรับที่จะขยายทางวิ่ง (Runway) เพิ่มอีก 400 เมตร จากเดิม 2,400 เมตร เป็น 2,800 เมตร ตามที่มุขมนตรีรัฐกลันตันร้องขอ เพื่อรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ นำผู้แสวงบุญไปยังประเทศซาอุดิอาระเบีย ปัจจุบันสนามบินโกตาบารู มีเที่ยวบินไปยังสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) มี 3 สายการบิน ได้แก่ แอร์เอเชีย มาเลเซียแอร์ไลน์ส และบาติกแอร์ สนามบินซูบัง (SZB) กับสนามบินปีนัง (PEN) มีบินทุกวันโดยไฟร์ฟลาย สนามบินโคตาคินาบาลู (BKI) กับสนามบินยะโฮร์บาห์รู (JHB) 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินกูชิ่ง (KCH) 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ที่ผ่านมามีชาวไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาขึ้นเครื่องไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพราะค่าโดยสารถูก ไม่ถึง 1,000 บาทต่อเที่ยว ส่วนโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งตะวันออกมาเลเซีย หรือ ECRL (East Coast Rail Link) ระยะทาง 665 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 50,270 ล้านริงกิต ต้นทางจากสถานีโกตาบารู ผ่านรัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐปะหัง และรัฐสลังงอร์ ปลายทางสถานีจาลัน คาสตัม (Jalan Castam) ย่านพอร์ตแคลง (Port Klang) โดยใช้รถไฟโดยสารความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลดเวลาเดินทางไปยังสถานีกอมบัค (Gombak) เหลือประมาณ 4 ชั่วโมง สามารถต่อรถไฟฟ้า LRT ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ได้ นายนิค โซห์ ยาคูบ (Nik Soh Yaacoub) ผู้อำนวยการฝ่ายโยธาธิการของรัฐกลันตัน เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างทางรถไฟช่วงที่ผ่านรัฐกลันตัน ระยะทาง 48.86 กิโลเมตร คืบหน้า 83.27% ส่วนการก่อสร้างสถานีโกตาบารู คืบหน้า 45.48% เร็วกว่าแผนเล็กน้อย ส่วนสถานีปาซีร์ปูเตะห์ (Pasir Puteh) สำหรับการโดยสารและขนส่งสินค้า ล่าช้าเล็กน้อยเพราะปัจจัยแวดล้อมหลายประการ คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2568 และเปิดให้บริการในปี 2570 #Newskit #KotaBharu #ECRL
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 764 มุมมอง 0 รีวิว
  • KKV บุกไทย ไลฟ์สไตล์สโตร์จากจีน

    ในที่สุดไลฟ์สไตล์สโตร์สัญชาติจีนอย่าง เคเควี (KKV) กำลังจะเปิดสาขาแรกในประเทศไทย ที่ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ ชั้น 2 โดยอินสตาแกรม kkv.global ระบุว่า ในวันที่ 29 ต.ค. จะมีการจัดปาร์ตี้สำหรับแขกรับเชิญพิเศษก่อนวันเปิดร้านจริง นอกจากนี้ ยังเตรียมเปิดสาขาเดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ ท่าพระ อีกด้วย

    KK Group Company Holdings Ltd. หรือ KK Group ก่อตั้งขึ้นในปี 2558 มีสำนักงานใหญ่ที่เมืองดองกวน มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน มี 4 แบรนด์หลักในเครือ ได้แก่ KKV ร้านค้าปลีกไลฟ์สไตล์, The Colorist ร้านค้าปลีกเฉพาะด้านความงาม, X11 ร้านค้าปลีกเฉพาะทางแนวป๊อปสมัยใหม่ และ KK Guan ไลฟ์สไตล์มินิมาร์ท ปัจจุบันได้พัฒนาร้านค้ากว่า 700 แห่ง ตั้งอยู่ในเขตการค้าชั้นนำและห้างสรรพสินค้า 200 เมืองทั่วประเทศจีน และขยายไปยังอินโดนีเซีย

    ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน ระบุว่า ปัจจุบัน จากการแข่งขันของร้านค้าปลีก (Stores Retailing) ที่เพิ่มมากขึ้น หลายธุรกิจจึงต้องเริ่มหารูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบใหม่เพิ่มมากขึ้น สร้างความความแตกต่างเป็นเอกลักษณ์ เพื่อดึงดูดผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น รูปแบบร้านค้าสินค้าไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ เป็นอีกโมเดลธุรกิจที่น่าจับตามองสำหรับผู้ประกอบการ อย่าง KK Group ที่มีจำหน่ายครอบคลุมสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ รวมไปถึงอาหารเครื่องดื่ม ของกินเล่นและของใช้ อาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง เรียกได้ว่า เป็นแหล่ง One Stop Service ของชาว GenZ ถูกจริตพฤติกรรมผู้บริโภคที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย และจากภาพลักษณ์ของแบรนด์ ยังสามารถส่งเสริมให้สินค้าดูมีระดับมากขึ้น เนื่องจากร้านค้าสามารถสร้างการรับรู้ด้านการคัดสรรสินค้าและบริการที่ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างพิถีพิถันแก่ผู้บริโภคโดยตรง รูปแบบแบรนด์ร้านค้าสินค้าไลฟ์สไตล์ จึงเป็นอีกช่องทางการกระจายสินค้าได้อย่างหลากหลายมิติ ที่ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญ การนำแบรนด์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในร้านค้าจะเป็นส่วนช่วยในการกระจายสินค้า เสริมสร้างการรับรู้ด้านภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์สินค้า

    ก่อนหน้านี้ KKV เข้าไปลงทุนในประเทศมาเลเซีย เปิดสาขาแรกที่ย่านบูกิต บินตัง กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2567 ก่อนจะขยายสาขาไปยังเมืองต่างๆ เช่น ซันเวย์ คาร์นิวัล มอลล์, เฟิร์ส อเวนิว มอลล์, อิออน มอลล์ บูกิตเมอร์ตาจัม รัฐปีนัง, พาราเดียมมอลล์ รัฐยะโฮร์, บันดารา มะละกา รัฐมะละกา และสาขาพาวิลเลียน บูกิต จาลิล กรุงกัวลาลัมเปอร์ รวมกันแล้วมี 7 สาขา ก่อนเข้ามาลงทุนในไทย เป็นประเทศที่ 3 ในภูมิภาคอาเซียน

    #Newskit #KKVThailand
    KKV บุกไทย ไลฟ์สไตล์สโตร์จากจีน ในที่สุดไลฟ์สไตล์สโตร์สัญชาติจีนอย่าง เคเควี (KKV) กำลังจะเปิดสาขาแรกในประเทศไทย ที่ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ ชั้น 2 โดยอินสตาแกรม kkv.global ระบุว่า ในวันที่ 29 ต.ค. จะมีการจัดปาร์ตี้สำหรับแขกรับเชิญพิเศษก่อนวันเปิดร้านจริง นอกจากนี้ ยังเตรียมเปิดสาขาเดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ ท่าพระ อีกด้วย KK Group Company Holdings Ltd. หรือ KK Group ก่อตั้งขึ้นในปี 2558 มีสำนักงานใหญ่ที่เมืองดองกวน มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน มี 4 แบรนด์หลักในเครือ ได้แก่ KKV ร้านค้าปลีกไลฟ์สไตล์, The Colorist ร้านค้าปลีกเฉพาะด้านความงาม, X11 ร้านค้าปลีกเฉพาะทางแนวป๊อปสมัยใหม่ และ KK Guan ไลฟ์สไตล์มินิมาร์ท ปัจจุบันได้พัฒนาร้านค้ากว่า 700 แห่ง ตั้งอยู่ในเขตการค้าชั้นนำและห้างสรรพสินค้า 200 เมืองทั่วประเทศจีน และขยายไปยังอินโดนีเซีย ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน ระบุว่า ปัจจุบัน จากการแข่งขันของร้านค้าปลีก (Stores Retailing) ที่เพิ่มมากขึ้น หลายธุรกิจจึงต้องเริ่มหารูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบใหม่เพิ่มมากขึ้น สร้างความความแตกต่างเป็นเอกลักษณ์ เพื่อดึงดูดผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น รูปแบบร้านค้าสินค้าไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ เป็นอีกโมเดลธุรกิจที่น่าจับตามองสำหรับผู้ประกอบการ อย่าง KK Group ที่มีจำหน่ายครอบคลุมสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ รวมไปถึงอาหารเครื่องดื่ม ของกินเล่นและของใช้ อาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง เรียกได้ว่า เป็นแหล่ง One Stop Service ของชาว GenZ ถูกจริตพฤติกรรมผู้บริโภคที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย และจากภาพลักษณ์ของแบรนด์ ยังสามารถส่งเสริมให้สินค้าดูมีระดับมากขึ้น เนื่องจากร้านค้าสามารถสร้างการรับรู้ด้านการคัดสรรสินค้าและบริการที่ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างพิถีพิถันแก่ผู้บริโภคโดยตรง รูปแบบแบรนด์ร้านค้าสินค้าไลฟ์สไตล์ จึงเป็นอีกช่องทางการกระจายสินค้าได้อย่างหลากหลายมิติ ที่ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญ การนำแบรนด์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในร้านค้าจะเป็นส่วนช่วยในการกระจายสินค้า เสริมสร้างการรับรู้ด้านภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์สินค้า ก่อนหน้านี้ KKV เข้าไปลงทุนในประเทศมาเลเซีย เปิดสาขาแรกที่ย่านบูกิต บินตัง กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2567 ก่อนจะขยายสาขาไปยังเมืองต่างๆ เช่น ซันเวย์ คาร์นิวัล มอลล์, เฟิร์ส อเวนิว มอลล์, อิออน มอลล์ บูกิตเมอร์ตาจัม รัฐปีนัง, พาราเดียมมอลล์ รัฐยะโฮร์, บันดารา มะละกา รัฐมะละกา และสาขาพาวิลเลียน บูกิต จาลิล กรุงกัวลาลัมเปอร์ รวมกันแล้วมี 7 สาขา ก่อนเข้ามาลงทุนในไทย เป็นประเทศที่ 3 ในภูมิภาคอาเซียน #Newskit #KKVThailand
    Like
    6
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 622 มุมมอง 0 รีวิว
  • KTM Go Cashless รถไฟมาเลเซียไร้เงินสด

    การรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ประเทศมาเลเซีย กำลังรณรงค์แคมเปญ Go Cashless หรือ Komuniti Tanpa Tunai (สังคมไร้เงินสด) ให้ผู้ใช้บริการรถไฟทุกประเภทซื้อตั๋วรถไฟ ชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสด ผ่านเคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋ว ช่องทางออนไลน์ผ่านแอปฯ เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ และประตูอัตโนมัติ (ACG) ของทุกสถานี พร้อมกับออกบูธจัดกิจกรรมโรดโชว์ตามสถานีต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้แก่ผู้ใช้บริการ และจะงดรับเงินสดเต็มรูปแบบในระยะถัดไป

    • การซื้อตั๋วที่เคาน์เตอร์สถานี ทั้งรถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter สาย Klang Valley และสาย Utara รถไฟทางไกล ETS และ KTM Intercity สามารถใช้บัตรเดบิต MyDebit ที่ออกโดยสถาบันการเงินในมาเลเซีย บัตร VISA และ Mastercard และ KTM Wallet ใน KTMB Mobile (KITS) ส่วนผู้ถือบัตร Komuter Link ใช้ได้เฉพาะรถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter

    • การซื้อตั๋วล่วงหน้าผ่านช่องทางออนไลน์ แอปพลิเคชัน KTMB Mobile เลือกชำระได้ทั้ง KTM Wallet, บัตร VISA และ Mastercard, บัตรเดบิต MyDebit, Touch 'n Go eWallet, Boost Wallet และคิวอาร์โค้ด DuitNow

    • การซื้อตั๋วที่เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ (Ticket Kiosk) สามารถใช้บัตรเดบิต MyDebit, บัตร VISA และ Mastercard, คิวอาร์โค้ด DuitNow, อีวอลเล็ต Boost Wallet และ Touch 'n Go eWallet

    • การเข้าสู่ระบบรถไฟผ่านประตูอัตโนมัติ (ACG) รองรับทั้งบัตร Komuter Link, บัตรเดบิต MyDebit, บัตร VISA และ Mastercard, บัตร Touch 'n Go, Google Pay, Apple Pay และ Samsung Pay

    ทั้งนี้ ผู้ที่ใช้บัตร VISA และ Mastercard เข้าสู่ประตูอัตโนมัติ (ACG) ระบบจะกันวงเงินบัตรไว้ 30 ริงกิต (ประมาณ 231 บาท) และจะได้รับคืนภายหลัง ส่วนอีวอลเล็ต KTM Wallet ใน KTMB Mobile (KITS) รองรับเฉพาะรถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter เท่านั้น

    สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย สามารถสมัครสมาชิก KTMB Mobile (KITS) เพื่อซื้อตั๋วล่วงหน้าได้ โดยใช้หนังสือเดินทางเป็นหลักฐาน ส่วนการซื้อตั๋วที่เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ และการเข้าสู่ระบบรถไฟผ่านประตูอัตโนมัติ (ACG) ด้วยบัตร VISA และ Mastercard ควรสอบถามธนาคารผู้ออกบัตรว่าใช้ที่ต่างประเทศได้หรือไม่

    หรือสมัครบัตรที่ไม่เสียค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน 2.5% มีทั้งบัตร Travel Card เช่น YouTrip, Planet SCB, Krungsri Boarding Card หรือบัตรเดบิต เช่น Chill D CIMB Thai, ttb all free, Krungthai Travel Mastercard Debit, KBank Journey Travel Card เป็นต้น

    #Newskit #KTMB #GoCashless
    KTM Go Cashless รถไฟมาเลเซียไร้เงินสด การรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ประเทศมาเลเซีย กำลังรณรงค์แคมเปญ Go Cashless หรือ Komuniti Tanpa Tunai (สังคมไร้เงินสด) ให้ผู้ใช้บริการรถไฟทุกประเภทซื้อตั๋วรถไฟ ชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสด ผ่านเคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋ว ช่องทางออนไลน์ผ่านแอปฯ เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ และประตูอัตโนมัติ (ACG) ของทุกสถานี พร้อมกับออกบูธจัดกิจกรรมโรดโชว์ตามสถานีต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้แก่ผู้ใช้บริการ และจะงดรับเงินสดเต็มรูปแบบในระยะถัดไป • การซื้อตั๋วที่เคาน์เตอร์สถานี ทั้งรถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter สาย Klang Valley และสาย Utara รถไฟทางไกล ETS และ KTM Intercity สามารถใช้บัตรเดบิต MyDebit ที่ออกโดยสถาบันการเงินในมาเลเซีย บัตร VISA และ Mastercard และ KTM Wallet ใน KTMB Mobile (KITS) ส่วนผู้ถือบัตร Komuter Link ใช้ได้เฉพาะรถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter • การซื้อตั๋วล่วงหน้าผ่านช่องทางออนไลน์ แอปพลิเคชัน KTMB Mobile เลือกชำระได้ทั้ง KTM Wallet, บัตร VISA และ Mastercard, บัตรเดบิต MyDebit, Touch 'n Go eWallet, Boost Wallet และคิวอาร์โค้ด DuitNow • การซื้อตั๋วที่เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ (Ticket Kiosk) สามารถใช้บัตรเดบิต MyDebit, บัตร VISA และ Mastercard, คิวอาร์โค้ด DuitNow, อีวอลเล็ต Boost Wallet และ Touch 'n Go eWallet • การเข้าสู่ระบบรถไฟผ่านประตูอัตโนมัติ (ACG) รองรับทั้งบัตร Komuter Link, บัตรเดบิต MyDebit, บัตร VISA และ Mastercard, บัตร Touch 'n Go, Google Pay, Apple Pay และ Samsung Pay ทั้งนี้ ผู้ที่ใช้บัตร VISA และ Mastercard เข้าสู่ประตูอัตโนมัติ (ACG) ระบบจะกันวงเงินบัตรไว้ 30 ริงกิต (ประมาณ 231 บาท) และจะได้รับคืนภายหลัง ส่วนอีวอลเล็ต KTM Wallet ใน KTMB Mobile (KITS) รองรับเฉพาะรถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter เท่านั้น สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย สามารถสมัครสมาชิก KTMB Mobile (KITS) เพื่อซื้อตั๋วล่วงหน้าได้ โดยใช้หนังสือเดินทางเป็นหลักฐาน ส่วนการซื้อตั๋วที่เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ และการเข้าสู่ระบบรถไฟผ่านประตูอัตโนมัติ (ACG) ด้วยบัตร VISA และ Mastercard ควรสอบถามธนาคารผู้ออกบัตรว่าใช้ที่ต่างประเทศได้หรือไม่ หรือสมัครบัตรที่ไม่เสียค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน 2.5% มีทั้งบัตร Travel Card เช่น YouTrip, Planet SCB, Krungsri Boarding Card หรือบัตรเดบิต เช่น Chill D CIMB Thai, ttb all free, Krungthai Travel Mastercard Debit, KBank Journey Travel Card เป็นต้น #Newskit #KTMB #GoCashless
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 742 มุมมอง 0 รีวิว
  • LRT เกาะปีนัง คาดตอกเข็ม ธ.ค.นี้

    โครงการรถไฟฟ้ารางเบา สายมูเทียรา ไลน์ (LRT Mutiara Line) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายแรกบนเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย กำลังจะเกิดขึ้นในเดือน ธ.ค. 2567 ที่จะถึงนี้ เมื่อสำนักข่าวเดอะสตาร์ของมาเลเซีย รายงานว่า นายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย ได้อนุมัติวันเริ่มต้นก่อสร้าง โดยสถานีแรกจะสร้างขึ้นที่ถนนแมคคัลลัม ขณะที่บริษัท MRT Corp ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการ อาจเลือกใช้ระบบรถไฟฟ้าแบบล้อยาง เพื่อประหยัดต้นทุนการดำเนินงานและการบำรุงรักษา

    ส่วนกลุ่มกิจการค้าร่วมเอสอาร์เอส (SRS Consortium) ที่นำโดยกามูดา เบอร์ฮัด (Gamuda Berhad) บริษัทก่อสร้างรายใหญ่ของมาเลเซีย กำลังสรุปเงื่อนไขและข้อกำหนดสำหรับงานโยธา ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างประมาณ 7,600 ล้านริงกิต ซึ่งกามูดาก็กำลังวางแผนประมูลงานระบบไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1,200 ล้านริงกิต

    โครงการรถไฟฟ้ารางเบา สายมูเทียรา ไลน์ ระยะทาง 29 กิโลเมตร แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ งานโยธาตอนที่ 1 ตั้งแต่เกาะซิลิคอนถึงอาคารคอมตาร์ (Komtar) งานโยธาตอนที่ 2 จากอาคารคอมตาร์ข้ามทะเลไปยังอาคารปีนังเซ็นทรัล (Penang Sentral) และสัญญาแบบเทิร์นคีย์สำหรับงานระบบและจัดหาขบวนรถ

    แนวเส้นทางเริ่มต้นจากเกาะซิลิคอน ทางตอนใต้ของเกาะปีนัง ซึ่งจะเป็นศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ข้ามทะเลขึ้นไปบนหมู่บ้านเปร์มาตัง ดามาร์ ลาอุต (Permatang Damar Laut) จากนั้นผ่านท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง (Penang International Airport) เขตอุตสาหกรรมเสรี (Free Industrial Zone) สนามกีฬาสไปซ์อารีน่า (SPICE) ผ่านถนนมหาวิทยาลัย (Jalan Universiti) ที่จะไปมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย (USM)

    ก่อนจะมุ่งหน้าไปยังอาคารคอมตาร์ (Komtar) ที่จะรองรับเส้นทางไปตันจุงบูงะฮ์ (Tanjung Bungah) และอาเยอร์อีตัม (Air Itam) ในอนาคต แล้วข้ามทะเลไปสิ้นสุดที่อาคารปีนังเซ็นทรัล โดยมีสถานีให้บริการทั้งหมด 22 สถานี เวลาเปิดให้บริการ 06.00-24.00 น. มีที่จอดรถยนต์ 1,220 คัน และรถจักรยานยนต์ 1,315 คัน

    ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 29 มี.ค. รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า รัฐบาลกลางได้เข้ารับช่วงต่อโครงการรถไฟฟ้า LRT จากรัฐบาลของรัฐปีนัง โดยแต่งตั้งให้ MRT Corp เป็นผู้พัฒนาและเจ้าของโครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2573 หรืออีก 6 ปีข้างหน้า

    #Newskit #LRTMutiaraLine #เกาะปีนัง
    LRT เกาะปีนัง คาดตอกเข็ม ธ.ค.นี้ โครงการรถไฟฟ้ารางเบา สายมูเทียรา ไลน์ (LRT Mutiara Line) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายแรกบนเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย กำลังจะเกิดขึ้นในเดือน ธ.ค. 2567 ที่จะถึงนี้ เมื่อสำนักข่าวเดอะสตาร์ของมาเลเซีย รายงานว่า นายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย ได้อนุมัติวันเริ่มต้นก่อสร้าง โดยสถานีแรกจะสร้างขึ้นที่ถนนแมคคัลลัม ขณะที่บริษัท MRT Corp ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการ อาจเลือกใช้ระบบรถไฟฟ้าแบบล้อยาง เพื่อประหยัดต้นทุนการดำเนินงานและการบำรุงรักษา ส่วนกลุ่มกิจการค้าร่วมเอสอาร์เอส (SRS Consortium) ที่นำโดยกามูดา เบอร์ฮัด (Gamuda Berhad) บริษัทก่อสร้างรายใหญ่ของมาเลเซีย กำลังสรุปเงื่อนไขและข้อกำหนดสำหรับงานโยธา ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างประมาณ 7,600 ล้านริงกิต ซึ่งกามูดาก็กำลังวางแผนประมูลงานระบบไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1,200 ล้านริงกิต โครงการรถไฟฟ้ารางเบา สายมูเทียรา ไลน์ ระยะทาง 29 กิโลเมตร แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ งานโยธาตอนที่ 1 ตั้งแต่เกาะซิลิคอนถึงอาคารคอมตาร์ (Komtar) งานโยธาตอนที่ 2 จากอาคารคอมตาร์ข้ามทะเลไปยังอาคารปีนังเซ็นทรัล (Penang Sentral) และสัญญาแบบเทิร์นคีย์สำหรับงานระบบและจัดหาขบวนรถ แนวเส้นทางเริ่มต้นจากเกาะซิลิคอน ทางตอนใต้ของเกาะปีนัง ซึ่งจะเป็นศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ข้ามทะเลขึ้นไปบนหมู่บ้านเปร์มาตัง ดามาร์ ลาอุต (Permatang Damar Laut) จากนั้นผ่านท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง (Penang International Airport) เขตอุตสาหกรรมเสรี (Free Industrial Zone) สนามกีฬาสไปซ์อารีน่า (SPICE) ผ่านถนนมหาวิทยาลัย (Jalan Universiti) ที่จะไปมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย (USM) ก่อนจะมุ่งหน้าไปยังอาคารคอมตาร์ (Komtar) ที่จะรองรับเส้นทางไปตันจุงบูงะฮ์ (Tanjung Bungah) และอาเยอร์อีตัม (Air Itam) ในอนาคต แล้วข้ามทะเลไปสิ้นสุดที่อาคารปีนังเซ็นทรัล โดยมีสถานีให้บริการทั้งหมด 22 สถานี เวลาเปิดให้บริการ 06.00-24.00 น. มีที่จอดรถยนต์ 1,220 คัน และรถจักรยานยนต์ 1,315 คัน ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 29 มี.ค. รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า รัฐบาลกลางได้เข้ารับช่วงต่อโครงการรถไฟฟ้า LRT จากรัฐบาลของรัฐปีนัง โดยแต่งตั้งให้ MRT Corp เป็นผู้พัฒนาและเจ้าของโครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2573 หรืออีก 6 ปีข้างหน้า #Newskit #LRTMutiaraLine #เกาะปีนัง
    Like
    Love
    Yay
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 683 มุมมอง 0 รีวิว
  • ☆เบตง (จีน: 勿洞)
    เป็นเทศบาลเมืองในอำเภอเบตง
    จังหวัดยะลา
    ภาคใต้ของประเทศไทย
    ติดกับเขตแดนประเทศมาเลเซีย
    มีพื้นที่ทั้งหมด 78 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมตำบลเบตงทั้งตำบล และมีประชากรในปี พ.ศ. 2548
    จำนวน 24,688 คน

    เบตงเป็นเทศบาลเมืองที่ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศไทย
    สมญา: เมืองในหมอกและดอกไม้งาม
    คำขวัญ: เบตงใต้สุดแดนสยาม เมืองงามน่าอยู่
    คู่การลงทุน หนุนการท่องเที่ยว
    ประชาชนกลมเกลียว ยึดเหนี่ยววัฒนธรรม
    ค้ำจุนประเพณี ใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า
    ■■■■■■■■■■■■■■■■
    #เบตง #ยะลา #ใต้สุดแดนสยาม #ยะลาน่าเที่ยว #มะนาวก้าวเดิน
    #thaitimes #thaitimesเที่ยวไทย #thaitimesมะนาวก้าวเดิน #thaitimesmanowjourney
    ☆เบตง (จีน: 勿洞) เป็นเทศบาลเมืองในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ภาคใต้ของประเทศไทย ติดกับเขตแดนประเทศมาเลเซีย มีพื้นที่ทั้งหมด 78 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมตำบลเบตงทั้งตำบล และมีประชากรในปี พ.ศ. 2548 จำนวน 24,688 คน เบตงเป็นเทศบาลเมืองที่ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศไทย สมญา: เมืองในหมอกและดอกไม้งาม คำขวัญ: เบตงใต้สุดแดนสยาม เมืองงามน่าอยู่ คู่การลงทุน หนุนการท่องเที่ยว ประชาชนกลมเกลียว ยึดเหนี่ยววัฒนธรรม ค้ำจุนประเพณี ใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า ■■■■■■■■■■■■■■■■ #เบตง #ยะลา #ใต้สุดแดนสยาม #ยะลาน่าเที่ยว #มะนาวก้าวเดิน #thaitimes #thaitimesเที่ยวไทย #thaitimesมะนาวก้าวเดิน #thaitimesmanowjourney
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1518 มุมมอง 470 0 รีวิว
  • มาเลเซียเอาบ้าง งดแจกถุงพลาสติก

    ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2567 เป็นต้นไป ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา และร้านเพื่อสุขภาพและความงามในประเทศมาเลเซียกว่า 8,000 แห่งทั่วประเทศ จะงดแจกถุงพลาสติดแบบใช้ครั้งเดียว (Single-use plastic bags) อย่างเป็นทางการ หากลูกค้าไม่ได้นำถุงพลาสติกมาเอง สามารถหาซื้อถุงรีไซเคิลได้ที่ร้านค้า ตามแคมเปญ "Say No to Single-Use Plastics" ของกระทรวงการเคหะและการปกครองส่วนท้องถิ่น

    นายหงา กอร์ มิง รมว.การเคหะและการปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวว่า เครือข่ายร้านค้าปลีกชั้นนำบางแห่งได้เริ่มงดแจกถุงพลาสติกแล้ว แต่บัดนี้พวกเขาได้ลงนามความร่วมมือครั้งใหญ่ โดยจะเริ่มในสัปดาห์หน้า คาดว่าจะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้ปีละ 200 ล้านใบ ลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัด และยืดอายุการใช้งานหลุมฝังกลบขยะที่มีอยู่

    ที่ผ่านมารัฐบาลมาเลเซียต้องแบกรับต้นทุนการจัดการขยะมูลฝอยและการทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ สูงกว่า 2,000 ล้านริงกิตต่อปี และกำลังดำเนินการเพื่อลดการพึ่งพาหลุมฝังกลบ ซึ่งปัจจุบันประเทศมาเลเซียมีหลุมฝังกลบขยะที่ไม่ถูกสุขอนามัย 114 แห่ง มีเพียง 22 แห่งที่ถูกสุขอนามัย ซึ่งการเปิดหลุมฝังกลบขยะและการปรับปรุงหลุมฝังกลบขยะเดิมต้องใช้ต้นทุนสูงมาก

    นอกจากนี้ ทางกระทรวงฯ กำลังจัดทำร่างกฎหมายจัดการผู้ที่ทิ้งขยะโดยขาดความรับผิดชอบ และจะนำเสนอต่อรัฐสภาในปี 2568 เพื่อแก้ปัญหาขยะล้นเมืองอย่างจริงจัง และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศ เนื่องจากยุคนี้เป็นยุคของโซเชียลมีเดีย หากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเที่ยวที่นี่ แล้วถ่ายคลิปลงติ๊กต็อก ชื่อเสียงของประเทศจะได้รับผลกระทบ ที่ผ่านมามีการบังคับใช้กฎหมายและประสบความสำเร็จในประเทศที่พัฒนาแล้วหลายแห่ง การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

    ร้านค้าปลีกในมาเลเซียที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย 99 Speedmart 2,533 สาขา 7-Eleven 2,400 สาขา KK Mart 808 สาขา Watsons 733 สาขา Guardian 602 สาขา emart24 65 สาขา ส่วนห้างสรรพสินค้า อาทิ กลุ่ม GCH Retail (Giant / Cold Storage / Mercato) 93 สาขา AEON 35 สาขา AEON Big 21 สาขา Mydin 78 สาขา Lotus's 68 สาขา The Store 50 สาขา TF Value Mart 45 สาขา Econsave 33 สาขา NSK Trade City 32 สาขา Lulu 5 สาขา เป็นต้น

    สำหรับประเทศไทย ภาครัฐได้ผลักดันนโยบายงดแจกถุงพลาสติกตามห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก และร้านสะดวกซื้อ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2563 เป็นต้นมา แต่ก็เป็นที่วิจารณ์ว่าการจำหน่ายถุงพลาสติกแทนการแจก เป็นการผลักภาระให้ผู้บริโภค

    #Newskit #งดแจกถุงพลาสติก #มาเลเซีย
    มาเลเซียเอาบ้าง งดแจกถุงพลาสติก ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2567 เป็นต้นไป ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา และร้านเพื่อสุขภาพและความงามในประเทศมาเลเซียกว่า 8,000 แห่งทั่วประเทศ จะงดแจกถุงพลาสติดแบบใช้ครั้งเดียว (Single-use plastic bags) อย่างเป็นทางการ หากลูกค้าไม่ได้นำถุงพลาสติกมาเอง สามารถหาซื้อถุงรีไซเคิลได้ที่ร้านค้า ตามแคมเปญ "Say No to Single-Use Plastics" ของกระทรวงการเคหะและการปกครองส่วนท้องถิ่น นายหงา กอร์ มิง รมว.การเคหะและการปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวว่า เครือข่ายร้านค้าปลีกชั้นนำบางแห่งได้เริ่มงดแจกถุงพลาสติกแล้ว แต่บัดนี้พวกเขาได้ลงนามความร่วมมือครั้งใหญ่ โดยจะเริ่มในสัปดาห์หน้า คาดว่าจะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้ปีละ 200 ล้านใบ ลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัด และยืดอายุการใช้งานหลุมฝังกลบขยะที่มีอยู่ ที่ผ่านมารัฐบาลมาเลเซียต้องแบกรับต้นทุนการจัดการขยะมูลฝอยและการทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ สูงกว่า 2,000 ล้านริงกิตต่อปี และกำลังดำเนินการเพื่อลดการพึ่งพาหลุมฝังกลบ ซึ่งปัจจุบันประเทศมาเลเซียมีหลุมฝังกลบขยะที่ไม่ถูกสุขอนามัย 114 แห่ง มีเพียง 22 แห่งที่ถูกสุขอนามัย ซึ่งการเปิดหลุมฝังกลบขยะและการปรับปรุงหลุมฝังกลบขยะเดิมต้องใช้ต้นทุนสูงมาก นอกจากนี้ ทางกระทรวงฯ กำลังจัดทำร่างกฎหมายจัดการผู้ที่ทิ้งขยะโดยขาดความรับผิดชอบ และจะนำเสนอต่อรัฐสภาในปี 2568 เพื่อแก้ปัญหาขยะล้นเมืองอย่างจริงจัง และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศ เนื่องจากยุคนี้เป็นยุคของโซเชียลมีเดีย หากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเที่ยวที่นี่ แล้วถ่ายคลิปลงติ๊กต็อก ชื่อเสียงของประเทศจะได้รับผลกระทบ ที่ผ่านมามีการบังคับใช้กฎหมายและประสบความสำเร็จในประเทศที่พัฒนาแล้วหลายแห่ง การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ร้านค้าปลีกในมาเลเซียที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย 99 Speedmart 2,533 สาขา 7-Eleven 2,400 สาขา KK Mart 808 สาขา Watsons 733 สาขา Guardian 602 สาขา emart24 65 สาขา ส่วนห้างสรรพสินค้า อาทิ กลุ่ม GCH Retail (Giant / Cold Storage / Mercato) 93 สาขา AEON 35 สาขา AEON Big 21 สาขา Mydin 78 สาขา Lotus's 68 สาขา The Store 50 สาขา TF Value Mart 45 สาขา Econsave 33 สาขา NSK Trade City 32 สาขา Lulu 5 สาขา เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ภาครัฐได้ผลักดันนโยบายงดแจกถุงพลาสติกตามห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก และร้านสะดวกซื้อ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2563 เป็นต้นมา แต่ก็เป็นที่วิจารณ์ว่าการจำหน่ายถุงพลาสติกแทนการแจก เป็นการผลักภาระให้ผู้บริโภค #Newskit #งดแจกถุงพลาสติก #มาเลเซีย
    Like
    8
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1025 มุมมอง 0 รีวิว
  • ส่องไทยเที่ยวมาเลย์ฯ ครึ่งปี 8.1 แสนคน

    ในขณะที่กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทย รายงานจำนวนนักท่องเที่ยวมาไทยสะสมระหว่าง 1 ม.ค. ถึง 15 ก.ย. 2567 พบว่ามีจำนวน 24,810,988 คน โดยพบว่ามีนักท่องเที่ยวจีนสูงสุด 5,002,975 คน รองลงมาคือ มาเลเซีย 3,517,586 คน อินเดีย 1,442,978 คน เกาหลีใต้ 1,316,895 คน และรัสเซีย 1,119,768 คน

    มาดูกันที่การท่องเที่ยวมาเลเซีย (Tourism Malaysia) เปิดเผยจำนวนนักท่องเที่ยวมาไทยสะสมระหว่าง ม.ค. ถึง มิ.ย. 2567 รวม 11,808,937 คน สร้างรายได้ 45,422 ล้านริงกิต โดยพบว่ามีนักท่องเที่ยวสิงคโปร์สูงสุด 4,276,007 คน รองลงมาคือ อินโดนีเซีย 1,786,630 คน จีน 1,449,711 คน ไทย 813,783 คน และบรูไน 565,999 คน

    ส่วนรูปแบบการเดินทาง พบว่าทางบก 5 อันดับแรก มีผู้เดินทางผ่านด่านทัมบักยะโฮร์ รัฐยะโฮร์มากที่สุด 2,711,430 คน รองลงมาคือ ด่านเกอลังปาตาห์ รัฐยะโฮร์ 1,976,578 คน ทั้งสองด่านติดกับสิงคโปร์ อันดับสาม ด่านสุไหงตูจูห์ รัฐซาราวัก 326,038 คน ติดกับบรูไน อันดับสี่ ด่านบูกิตกายูฮิตัม รัฐเคดะห์ 267,902 คน และด่านปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส 198,546 คน ทั้งสองด่านติดกับประเทศไทย

    ทางอากาศ 5 อันดับแรก มีผู้เดินทางผ่านสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KLIA) มากที่สุด 1,926,191 คน รองลงมาคือ กัวลาลัมเปอร์ 2 (KLIA 2) 1,749,623 คน อันดับสาม สนามบินบายันเลอปัซ รัฐปีนัง (PEN) 523,920 คน อันดับสี่ สนามบินโคตาคินาบาลู (BKI) ซาบาห์ 290,021 คน และอันดับ 5 สนามบินเซไน รัฐยะโฮร์ (JHB) 63,244 คน

    ที่น่าสนใจก็คือ นักท่องเที่ยวแบบทัศนาจร (Excursionist Arrivals) รวม 5,670,061 คน โดยพบว่ามีนักท่องเที่ยวสิงคโปร์สูงสุด 4,121,879 คน รองลงมาคือ ไทย 361,035 คน บรูไน 319,421 คน อินโดนีเซีย 244,481 คน และจีน 157,702 คน โดยพบว่าเดินทางผ่านทางบกมากที่สุด 91.7% รองลงมาคือทางอากาศ 6.1% ทางรถไฟ 1.9% และทางทะเล 0.4%

    ก่อนหน้านี้ในรายงานประจำปี 2023 พบว่าประเทศมาเลเซียต้อนรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศรวม 20,141,846 คน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 71,308.5 ล้านริงกิต โดยพบว่าอันดับ 1 สิงคโปร์ 8,308,230 คน อันดับ 2 อินโดนีเซีย 3,108,165 คน อันดับ 3 ประเทศไทย 1,551,282 คน อันดับ 4 จีน 1,474,114 คน และอันดับ 5 บรูไน 811,833 คน

    ส่วนนักท่องเที่ยวแบบทัศนาจร มีทั้งหมด 8,822,462 คน โดยพบว่าอันดับ 1 สิงคโปร์ 6,520,323 คน อันดับ 2 ประเทศไทย 748,876 คน อันดับ 3 อินโดนีเซีย 371,227 คน อันดับ 4 บรูไน 304,378 คน และอันดับ 5 จีน 139,198 คน

    #Newskit #TourismMalaysia #การท่องเที่ยวมาเลเซีย
    ส่องไทยเที่ยวมาเลย์ฯ ครึ่งปี 8.1 แสนคน ในขณะที่กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทย รายงานจำนวนนักท่องเที่ยวมาไทยสะสมระหว่าง 1 ม.ค. ถึง 15 ก.ย. 2567 พบว่ามีจำนวน 24,810,988 คน โดยพบว่ามีนักท่องเที่ยวจีนสูงสุด 5,002,975 คน รองลงมาคือ มาเลเซีย 3,517,586 คน อินเดีย 1,442,978 คน เกาหลีใต้ 1,316,895 คน และรัสเซีย 1,119,768 คน มาดูกันที่การท่องเที่ยวมาเลเซีย (Tourism Malaysia) เปิดเผยจำนวนนักท่องเที่ยวมาไทยสะสมระหว่าง ม.ค. ถึง มิ.ย. 2567 รวม 11,808,937 คน สร้างรายได้ 45,422 ล้านริงกิต โดยพบว่ามีนักท่องเที่ยวสิงคโปร์สูงสุด 4,276,007 คน รองลงมาคือ อินโดนีเซีย 1,786,630 คน จีน 1,449,711 คน ไทย 813,783 คน และบรูไน 565,999 คน ส่วนรูปแบบการเดินทาง พบว่าทางบก 5 อันดับแรก มีผู้เดินทางผ่านด่านทัมบักยะโฮร์ รัฐยะโฮร์มากที่สุด 2,711,430 คน รองลงมาคือ ด่านเกอลังปาตาห์ รัฐยะโฮร์ 1,976,578 คน ทั้งสองด่านติดกับสิงคโปร์ อันดับสาม ด่านสุไหงตูจูห์ รัฐซาราวัก 326,038 คน ติดกับบรูไน อันดับสี่ ด่านบูกิตกายูฮิตัม รัฐเคดะห์ 267,902 คน และด่านปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส 198,546 คน ทั้งสองด่านติดกับประเทศไทย ทางอากาศ 5 อันดับแรก มีผู้เดินทางผ่านสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KLIA) มากที่สุด 1,926,191 คน รองลงมาคือ กัวลาลัมเปอร์ 2 (KLIA 2) 1,749,623 คน อันดับสาม สนามบินบายันเลอปัซ รัฐปีนัง (PEN) 523,920 คน อันดับสี่ สนามบินโคตาคินาบาลู (BKI) ซาบาห์ 290,021 คน และอันดับ 5 สนามบินเซไน รัฐยะโฮร์ (JHB) 63,244 คน ที่น่าสนใจก็คือ นักท่องเที่ยวแบบทัศนาจร (Excursionist Arrivals) รวม 5,670,061 คน โดยพบว่ามีนักท่องเที่ยวสิงคโปร์สูงสุด 4,121,879 คน รองลงมาคือ ไทย 361,035 คน บรูไน 319,421 คน อินโดนีเซีย 244,481 คน และจีน 157,702 คน โดยพบว่าเดินทางผ่านทางบกมากที่สุด 91.7% รองลงมาคือทางอากาศ 6.1% ทางรถไฟ 1.9% และทางทะเล 0.4% ก่อนหน้านี้ในรายงานประจำปี 2023 พบว่าประเทศมาเลเซียต้อนรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศรวม 20,141,846 คน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 71,308.5 ล้านริงกิต โดยพบว่าอันดับ 1 สิงคโปร์ 8,308,230 คน อันดับ 2 อินโดนีเซีย 3,108,165 คน อันดับ 3 ประเทศไทย 1,551,282 คน อันดับ 4 จีน 1,474,114 คน และอันดับ 5 บรูไน 811,833 คน ส่วนนักท่องเที่ยวแบบทัศนาจร มีทั้งหมด 8,822,462 คน โดยพบว่าอันดับ 1 สิงคโปร์ 6,520,323 คน อันดับ 2 ประเทศไทย 748,876 คน อันดับ 3 อินโดนีเซีย 371,227 คน อันดับ 4 บรูไน 304,378 คน และอันดับ 5 จีน 139,198 คน #Newskit #TourismMalaysia #การท่องเที่ยวมาเลเซีย
    Like
    Love
    9
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1005 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts