• Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ

    วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้
    ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน”
    สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น”
    - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์

    บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ

    แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร?

    ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น

    Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา)

    หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ

    อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29
    https://www.sohu.com/a/155060661_701638
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html
    https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645
    https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579
    http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf

    #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้ ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น” - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์ บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร? ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา) หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29 https://www.sohu.com/a/155060661_701638 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645 https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579 http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 197 มุมมอง 0 รีวิว
  • ✨ ทัวร์ไต้หวัน - TAIWAN FREE DAY 1 วันเต็มม!! ✨
    📅 4 วัน 3 คืน เดินทางโดยสายการบิน SL-ไทยไลอ้อนแอร์
    🗓 เดินทางช่วงวันหยุด 1-4 พ.ค. 68

    🎡 ไฮไลต์เด็ดห้ามพลาด!
    🏰 ชมปราสาทนีน่าข้อคโกแลต สุดน่ารัก เหมือนหลุดเข้าไปในเทพนิยาย
    🗼 สัมผัสความอลังการของตึกไทเป 101 แลนด์มาร์กระดับโลก

    ชิลล์เต็มวัน เที่ยวอิสระ ช้อปจุใจ กินจุกๆ ไม่ต้องรีบ! 😋🛍
    ทริปดีๆ แบบนี้ ห้ามพลาดเลยน้าา

    📌 รีบจองก่อนเต็ม!
    #ทัวร์ไต้หวัน #TaiwanFreeDay #เที่ยวไต้หวัน #วันหยุดยาว #ไทเป101 #ปราสาทช็อกโกแลต #ไทยไลอ้อนแอร์ #เที่ยวฟินกินเพลิน #รีบจองก่อนเต็ม

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
    https://78s.me/e0b61d

    ดูทัวร์ไต้หวันทั้งหมดได้ที่
    https://78s.me/b999ee

    LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307
    Facebook: etravelway 78s.me/8a4061
    Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5
    Tiktok : https://78s.me/543eb9
    📷: etravelway 78s.me/05e8da
    ☎️: 0 2116 6395
    ✨ ทัวร์ไต้หวัน - TAIWAN FREE DAY 1 วันเต็มม!! ✨ 📅 4 วัน 3 คืน เดินทางโดยสายการบิน SL-ไทยไลอ้อนแอร์ 🗓 เดินทางช่วงวันหยุด 1-4 พ.ค. 68 🎡 ไฮไลต์เด็ดห้ามพลาด! 🏰 ชมปราสาทนีน่าข้อคโกแลต สุดน่ารัก เหมือนหลุดเข้าไปในเทพนิยาย 🗼 สัมผัสความอลังการของตึกไทเป 101 แลนด์มาร์กระดับโลก ชิลล์เต็มวัน เที่ยวอิสระ ช้อปจุใจ กินจุกๆ ไม่ต้องรีบ! 😋🛍 ทริปดีๆ แบบนี้ ห้ามพลาดเลยน้าา 📌 รีบจองก่อนเต็ม! #ทัวร์ไต้หวัน #TaiwanFreeDay #เที่ยวไต้หวัน #วันหยุดยาว #ไทเป101 #ปราสาทช็อกโกแลต #ไทยไลอ้อนแอร์ #เที่ยวฟินกินเพลิน #รีบจองก่อนเต็ม ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://78s.me/e0b61d ดูทัวร์ไต้หวันทั้งหมดได้ที่ https://78s.me/b999ee LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307 Facebook: etravelway 78s.me/8a4061 Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5 Tiktok : https://78s.me/543eb9 📷: etravelway 78s.me/05e8da ☎️: 0 2116 6395
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 121 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขออภัยที่หายไปหนึ่งอาทิตย์ค่ะ วันนี้ Storyฯ เห็นว่าเรากำลังอยู่ในบรรยากาศการเลือกคนดีคนเก่งมาบริหารบ้านเมือง เลยลองมาคุยกันเรื่องปรัชญาจีนโบราณ (แม้ว่า Storyฯ จะไม่สันทัดเรื่องปรัชญาก็ตาม)

    เพื่อนเพจที่เคยอ่านนิยายของกิมย้งหรือดูหนังเรื่อง <กระบี่เย้ยยุทธจักร> ต้องคุ้นหูกับคำว่า ‘วิญญูชนจอมปลอม’ ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า ‘เหว่ยจวินจื่อ’ (伪君子) โดยคำว่า ‘จวินจื่อ’ นี้ปัจจุบันมักใช้คำแปลว่า ‘สุภาพชน’ (gentleman)

    แน่นอนว่าคำว่า ‘วิญญูชน’ และ ‘สุภาพชน’ มีนัยแตกต่าง คำถามที่ตามมาก็คือ: ‘จวินจื่อ’ (君子) คืออะไร? นี่เป็นคำถามในข้อสอบยอดฮิตในสมัยจีนโบราณ

    Storyฯ ขอยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีฉากที่นางเอกต้องร่วมสอบและได้ต่อว่าคนที่กลั่นแกล้งนางและดูถูกพ่อของนางไว้ว่า “วิญญูชนไม่คิดอกุศล ข้าเดินได้อย่างผึ่งผาย นั่งได้อย่างหลังตรง มิเคยต้องกังวลลมปากของผู้ใด... วิญญูชนไม่แบ่งแยกสูงต่ำด้วยชาติกำเนิด” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ประโยคที่ว่า ‘วิญญูชนไม่คิดอกุศล’ หรือ ‘จวินจื่อซืออู๋เสีย’ (君子思无邪) นี้ เป็นการรวมสองปรัชญาจากคัมภีร์หลุนอวี่ (论语) เข้ามาด้วยกันในประโยคเดียว

    ปรัชญาแรกว่าด้วยเรื่องของ ‘จวินจื่อ’ ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก ‘จวิน’ ที่หมายถึงผู้เป็นประมุขหรือผู้มียศศักดิ์ และ ‘จื่อ’ ที่แปลว่าบุตรชาย ดังนั้นความหมายดั้งเดิมคือหมายถึง ‘Nobleman’ หรืออาจแปลเป็นไทยได้ว่าราชนิกุลหรือลูกหลานชนชั้นศักดินา ต่อมาหมายถึงผู้ที่มีศีลธรรมและคุณสมบัติสูงส่งอันเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ (‘A man of noble character’) เป็นส่วนประกอบสำคัญของปรัชญาขงจื๊อในการสร้างมาตรฐานสังคม โดยขงจื๊อมักใช้การเปรียบเทียบระหว่าง ‘จวินจื่อ’ กับ ‘เสี่ยวเหริน’ (小人 / ทุรชน) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ‘จวินจื่อ’ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร Storyฯ สรุปมาไม่ได้หมด เลยยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพดังนี้:

    – จวินจื่อคำนึงถึงความเที่ยงธรรม (义) แต่เสี่ยวเหรินคำนึงถึงผลประโยชน์
    – จวินจื่ออยู่ร่วมได้ด้วยความต่าง แต่เสี่ยวเหรินแม้ไม่ต่างแต่ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ --- ประเด็นนี้ Storyฯ อาจแปลได้ไม่ดี ขอขยายความว่า จวินจื่อเมื่อเรียนรู้และตระหนักถึงสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าอาจมีแก่นความคิดที่แตกต่างกันไป แต่เพราะมีความเข้าใจในเนื้อแท้ของคนและเคารพยอมรับซึ่งกันและกันได้ ก็สามารถส่งเสริมเกื้อกูลหล่อหลอมเข้าด้วยกันได้ แต่ในทางกลับกัน เสี่ยวเหรินมีความเสแสร้งพยายามให้ดูกลมกลืน แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง สุดท้ายแม้อยู่ร่วมกันแต่ไม่สามารถหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันได้
    – จวินจื่อเปิดเผยผึ่งผาย จึงไม่ต้องกังวลถึงความเห็นคนอื่น แต่เสี่ยวเหรินทำอะไรก็พะวงหน้าพะวงหลังกลัวคนมากลั่นแกล้ง
    – จวินจื่อพึ่งพาตนเอง แต่เสี่ยวเหรินพึ่งพาผู้อื่น
    – จวินจื่อส่งเสริมผู้อื่นในเรื่องที่ดีและไม่สนับสนุนในเรื่องที่ไม่ดี แต่เสี่ยวเหรินขัดผู้อื่นในเรื่องที่ดีและส่งเสริมในเรื่องที่ไม่ดี
    – จวินจื่อเปรียบเสมือนลม เสี่ยวเหรินเป็นเหมือนหญ้าที่ต้องเอนไหวศิโรราบให้เมื่อลมพัดผ่าน เป็นการอุปมาอุปไมยว่าคุณธรรมของจวินจื่อ สามารถเอาชนะความไม่ดีของเสี่ยวเหรินได้

    ปรัชญาที่สอง ‘ไม่คิดอกุศล’ (ซืออู๋เสีย/思无邪) โดยปรัชญานี้ขงจื๊อเคยใช้ในสองบริบท บริบทแรกในการวิจารณ์งานประพันธ์โดยหมายถึงว่า สิ่งที่นักประพันธ์สื่อผ่านตัวอักษรออกมานั้น ควรบ่งบอกจิตวิญญาณและความคิดที่แท้จริง พูดง่ายๆ คือซื่อตรงต่อตัวเอง ส่วนอีกบริบทหนึ่งนั้นคือเป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติของคน โดยหมายถึงว่า อันความคิดที่ดี ย่อมไม่กลัวที่จะเปิดเผยให้ผู้ใดรับรู้

    คำว่า ‘จวินจื่อ’ ปรากฏอยู่บนงานประพันธ์และสำนวนจีนมากมาย และปรัชญาของขงจื๊อถูกศึกษามาหลายพันปีโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงวิชาจำนวนนับไม่ถ้วน Storyฯ ไม่หาญกล้ามาเสวนามากมายในปรัชญาเหล่านี้ เพียงแต่เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา คำว่า ‘จวินจื่อ’ หรือ ‘วิญญูชน’ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในสังคมทุกวันนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นวิญญูชน และใครเป็นวิญญูชนจอมปลอม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/467496758_120871225
    https://www.sohu.com/a/433221328_99929216
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/思无邪/5080
    https://guoxue.ifeng.com/c/7jUG4KBpiZC
    https://baike.baidu.com/item/君子/1389

    #ดุจฝันบันดาลใจ #จวินจื่อ #วิญญูชน #ขงจื๊อ
    ขออภัยที่หายไปหนึ่งอาทิตย์ค่ะ วันนี้ Storyฯ เห็นว่าเรากำลังอยู่ในบรรยากาศการเลือกคนดีคนเก่งมาบริหารบ้านเมือง เลยลองมาคุยกันเรื่องปรัชญาจีนโบราณ (แม้ว่า Storyฯ จะไม่สันทัดเรื่องปรัชญาก็ตาม) เพื่อนเพจที่เคยอ่านนิยายของกิมย้งหรือดูหนังเรื่อง <กระบี่เย้ยยุทธจักร> ต้องคุ้นหูกับคำว่า ‘วิญญูชนจอมปลอม’ ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า ‘เหว่ยจวินจื่อ’ (伪君子) โดยคำว่า ‘จวินจื่อ’ นี้ปัจจุบันมักใช้คำแปลว่า ‘สุภาพชน’ (gentleman) แน่นอนว่าคำว่า ‘วิญญูชน’ และ ‘สุภาพชน’ มีนัยแตกต่าง คำถามที่ตามมาก็คือ: ‘จวินจื่อ’ (君子) คืออะไร? นี่เป็นคำถามในข้อสอบยอดฮิตในสมัยจีนโบราณ Storyฯ ขอยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีฉากที่นางเอกต้องร่วมสอบและได้ต่อว่าคนที่กลั่นแกล้งนางและดูถูกพ่อของนางไว้ว่า “วิญญูชนไม่คิดอกุศล ข้าเดินได้อย่างผึ่งผาย นั่งได้อย่างหลังตรง มิเคยต้องกังวลลมปากของผู้ใด... วิญญูชนไม่แบ่งแยกสูงต่ำด้วยชาติกำเนิด” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ประโยคที่ว่า ‘วิญญูชนไม่คิดอกุศล’ หรือ ‘จวินจื่อซืออู๋เสีย’ (君子思无邪) นี้ เป็นการรวมสองปรัชญาจากคัมภีร์หลุนอวี่ (论语) เข้ามาด้วยกันในประโยคเดียว ปรัชญาแรกว่าด้วยเรื่องของ ‘จวินจื่อ’ ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก ‘จวิน’ ที่หมายถึงผู้เป็นประมุขหรือผู้มียศศักดิ์ และ ‘จื่อ’ ที่แปลว่าบุตรชาย ดังนั้นความหมายดั้งเดิมคือหมายถึง ‘Nobleman’ หรืออาจแปลเป็นไทยได้ว่าราชนิกุลหรือลูกหลานชนชั้นศักดินา ต่อมาหมายถึงผู้ที่มีศีลธรรมและคุณสมบัติสูงส่งอันเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ (‘A man of noble character’) เป็นส่วนประกอบสำคัญของปรัชญาขงจื๊อในการสร้างมาตรฐานสังคม โดยขงจื๊อมักใช้การเปรียบเทียบระหว่าง ‘จวินจื่อ’ กับ ‘เสี่ยวเหริน’ (小人 / ทุรชน) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ‘จวินจื่อ’ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร Storyฯ สรุปมาไม่ได้หมด เลยยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพดังนี้: – จวินจื่อคำนึงถึงความเที่ยงธรรม (义) แต่เสี่ยวเหรินคำนึงถึงผลประโยชน์ – จวินจื่ออยู่ร่วมได้ด้วยความต่าง แต่เสี่ยวเหรินแม้ไม่ต่างแต่ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ --- ประเด็นนี้ Storyฯ อาจแปลได้ไม่ดี ขอขยายความว่า จวินจื่อเมื่อเรียนรู้และตระหนักถึงสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าอาจมีแก่นความคิดที่แตกต่างกันไป แต่เพราะมีความเข้าใจในเนื้อแท้ของคนและเคารพยอมรับซึ่งกันและกันได้ ก็สามารถส่งเสริมเกื้อกูลหล่อหลอมเข้าด้วยกันได้ แต่ในทางกลับกัน เสี่ยวเหรินมีความเสแสร้งพยายามให้ดูกลมกลืน แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง สุดท้ายแม้อยู่ร่วมกันแต่ไม่สามารถหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ – จวินจื่อเปิดเผยผึ่งผาย จึงไม่ต้องกังวลถึงความเห็นคนอื่น แต่เสี่ยวเหรินทำอะไรก็พะวงหน้าพะวงหลังกลัวคนมากลั่นแกล้ง – จวินจื่อพึ่งพาตนเอง แต่เสี่ยวเหรินพึ่งพาผู้อื่น – จวินจื่อส่งเสริมผู้อื่นในเรื่องที่ดีและไม่สนับสนุนในเรื่องที่ไม่ดี แต่เสี่ยวเหรินขัดผู้อื่นในเรื่องที่ดีและส่งเสริมในเรื่องที่ไม่ดี – จวินจื่อเปรียบเสมือนลม เสี่ยวเหรินเป็นเหมือนหญ้าที่ต้องเอนไหวศิโรราบให้เมื่อลมพัดผ่าน เป็นการอุปมาอุปไมยว่าคุณธรรมของจวินจื่อ สามารถเอาชนะความไม่ดีของเสี่ยวเหรินได้ ปรัชญาที่สอง ‘ไม่คิดอกุศล’ (ซืออู๋เสีย/思无邪) โดยปรัชญานี้ขงจื๊อเคยใช้ในสองบริบท บริบทแรกในการวิจารณ์งานประพันธ์โดยหมายถึงว่า สิ่งที่นักประพันธ์สื่อผ่านตัวอักษรออกมานั้น ควรบ่งบอกจิตวิญญาณและความคิดที่แท้จริง พูดง่ายๆ คือซื่อตรงต่อตัวเอง ส่วนอีกบริบทหนึ่งนั้นคือเป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติของคน โดยหมายถึงว่า อันความคิดที่ดี ย่อมไม่กลัวที่จะเปิดเผยให้ผู้ใดรับรู้ คำว่า ‘จวินจื่อ’ ปรากฏอยู่บนงานประพันธ์และสำนวนจีนมากมาย และปรัชญาของขงจื๊อถูกศึกษามาหลายพันปีโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงวิชาจำนวนนับไม่ถ้วน Storyฯ ไม่หาญกล้ามาเสวนามากมายในปรัชญาเหล่านี้ เพียงแต่เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา คำว่า ‘จวินจื่อ’ หรือ ‘วิญญูชน’ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในสังคมทุกวันนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นวิญญูชน และใครเป็นวิญญูชนจอมปลอม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/467496758_120871225 https://www.sohu.com/a/433221328_99929216 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/思无邪/5080 https://guoxue.ifeng.com/c/7jUG4KBpiZC https://baike.baidu.com/item/君子/1389 #ดุจฝันบันดาลใจ #จวินจื่อ #วิญญูชน #ขงจื๊อ
    WWW.SOHU.COM
    《雁归西窗月》是根据小说改编的吗 《雁归西窗月》结局是什么_赵孝
    《雁归西窗月》讲述了霸道郡王赵孝谦与率真少女谢小满的乌龙甜怼恋,两人从开始的欢喜冤家到逐渐相知相守,携手历经坎坷,冲破重重阻碍,最终收获了一段浪漫的爱情故事。 这部剧是先婚后爱的戏码,女主谢小满…
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 171 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง

    เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ

    แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’?

    สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才)

    เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ

    Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html
    https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子
    https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/
    https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D
    http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html
    https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593

    #สำนวนจีน #เสาหลัก
    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’? สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才) เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子 https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/ https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593 #สำนวนจีน #เสาหลัก
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 158 มุมมอง 0 รีวิว
  • วรรณกรรมประเภทหนึ่งที่ตอนนี้มีเยอะมากโดยเฉพาะจากฝั่งตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี) แต่ผมไม่ค่อยสนใจเท่าไร คือเรื่องแนวฟีลกู๊ดประเภทสถานที่เยียวยาจิตใจ ไม่ใช่เพราะผมเป็นพวกจิตใจหยาบกระด้างหรือชอบเสพแต่ความดาร์กและความสยอง แต่เพราะผมมองว่าตัวเองพอดักทางได้ว่าเรื่องพวกนั้นมี "สาร" อย่างไร ต้องการสอนผู้อ่านอย่างไร ทั้งนี้ก็จะมีบางเรื่องที่เป็นข้อยกเว้น หนึ่งในนั้นคือคาเฟ่ของแม่หมอมานูล

    'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' โดย อัตสึกิ โอโตะ เป็นนิยายแบบที่ผมคงไม่สนใจในแวบแรก ถ้าไม่ใช่เพราะโดนล่อตาล่อใจจากของแถมที่ทาง สนพ. บอกว่ามีเฉพาะในรอบพิมพ์ครั้งแรกเท่านั้น นั่นคือ ไพ่ทาโรต์ขนาดเล็ก ๆ 5 ใบที่เป็นภาพคุณมานูล แมวหมอดูตัวเอกประจำเรื่อง ข้อนี้เลยเป็นตัวแปรสำคัญให้ผมเปิดใจรับหนังสือเล่มนี้มาบรรจุเข้าชั้นที่บ้าน

    ไหน ๆ ก็พูดถึงหนังสือเล่มนี้แล้ว ผมก็เห็นว่ามันควรค่าแก่การรีวิวในแบบของไพ่เราเผาเรื่อง แต่รอบนี้จะต่างจากครั้งอื่น ๆ ตรงที่ผมจะไม่ใช้ไพ่ทาโรต์หรือไพ่พยากรณ์สำรับใด ๆ ในคลัง แต่จะใช้ไพ่แถม 5 ใบที่มากับหนังสือเล่มนี้เป็นเครื่องมือประกอบการ "เผาเรื่อง" โดยสับไพ่แล้วสุ่มหยิบตามลำดับ

    ขอเชิญรับชม #ไพ่เราเผาหนังสือ 'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' ด้วยไพ่แถมสุดน่ารักทั้ง 5 ใบ ได้ ณ บัดนี้ครับ

    ----------

    "เรื่องจบในตอนพร้อมข้อคิดดี ๆ"
    🃏The Sun + 🃏The World

    ในไพ่ทาโรต์ 78 ใบ The Sun เป็นไพ่ที่ความหมายดีรอบด้านในอันดับต้น ๆ แต่ไพ่ใบนี้ยังสื่อถึง "ความจริง" และ "ข้อคิดที่เป็นประโยชน์" ได้ด้วย ส่วน The World ในฐานะไพ่ใบสุดท้ายของไพ่ชุดหลัก (Major Arcana) จึงมักสื่อความถึง "จุดสิ้นสุด" และ "ความสมบูรณ์" แต่มันไม่ใช่การตัดจบแบบบริบูรณ์หรือ Happily Ever After ทว่าเป็นการจบลงของบทหนึ่งเพื่อที่จะเข้าสู่บทถัดไป

    'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' มีลักษณะการเขียนแบบที่มักเจอใน Fiction ประเภทสถานที่ที่ช่วยให้ผู้คนได้ฮีลใจ นั่นคือเป็นนวนิยายแบบเนื้อเรื่องจบในตอน (Episodic novel) โดยแต่ละตอนมักจะมีข้อคิดจรรโลงใจหรือมุมมองที่น่าสนใจแตกต่างกัน บางครั้งต่างตอนก็มีสารหรือข้อคิดสำหรับคนต่างกลุ่มต่างจำพวก

    หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อเรื่อง 5 บท แต่ละบทสามารถอ่านแยกในฐานะเรื่องสั้นที่จบสมบูรณ์ในตัวเองได้ แต่ตอนหลัง ๆ ก็จะมีรายละเอียดบางอย่างที่ต่อเนื่องจากตอนก่อน ๆ ตัวละครดำเนินเรื่องในแต่ละตอนมีช่วงอายุ บทบาท และปัญหาคาใจแตกต่างกัน มีทั้งเด็กมัธยมที่หาทาง fit in ในสังคมห้องเรียน อินฟลูเอนเซอร์สาว ซิงเกิลมัม ไปจนถึงวัยกลางคนที่กำลังสับสนกับทิศทางชีวิตและหน้าที่การงานของตัวเอง จากนั้นโชคชะตาหรือพล็อตเรื่องก็จะพาตัวละครไปเจอกับคุณมานูลและคาเฟมาร์เนิล

    คุณมานูล ศูนย์กลางของเรื่อง เดิมเคยเป็นมนุษย์ชื่อ คาวาตานิ ไอซาวะ แต่ด้วยสาเหตุบางอย่าง นางเลือก 'ลาออก' จากการเป็นมนุษย์ มาอยู่ในร่างของแมวมานูล (Manul) หรืออีกชื่อคือแมวพัลลาส (Pallas's cat) และรับดูดวงด้วยสารพัดวิธี ไม่ว่าจะใช้ไพ่ ลูกแก้ว หรือเครื่องเสี่ยงเซียมซีรูเลตต์ พร้อมทั้งเปิดคาเฟ่ร่วมกับคนที่น่าจะเป็นสามีและลูกสาว (ส่วนชื่อคาเฟ่ ทำไมถึงชื่อ "มาร์เนิล" แทนที่จะเป็น "มานูล" ตรงนี้ในหนังสือมีอธิบายไว้ แต่สั้น ๆ คือเป็นมุกที่เล่นกับตัวเขียนญี่ปุ่นแบบคาตาคานะ ซึ่งต้องขอชื่นชมผู้แปลที่พยายามเรียบเรียงเป็นไทยให้ใกล้เคียงโดยไม่เสียอรรถรสของต้นฉบับ)

    เนื้อเรื่องแต่ละตอนดำเนินไปอย่างค่อนข้างเป็นสูตรสำเร็จ เริ่มจากแนะนำตัวละครและชีวิตประจำวันที่เจ้าตัวไม่พึงพอใจเท่าไร จากนั้นตัวละครก็จะได้เจอคุณมานูลช่วยทำนายดวงชะตาพร้อมทั้งให้คำแนะนำแบบคร่าว ๆ เพื่อพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งตัวละครจะทำตามและอะไร ๆ ก็ดูจะดีขึ้นจริง ๆ แต่แล้วก็จะมีเหตุสักอย่างให้ชีวิตตัวละครกลับไปเป็นแบบตอนต้นเรื่องหรือเผลอ ๆ เหมือนจะดูแย่ลง และทำให้ตัวละครได้รับการชี้แนะจากคุณมานูลเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งคราวนี้เรื่องก็จะดูจบตอนแบบแฮปปี้เอนดิ้ง ชวนให้นึกถึงโดราเอมอนแแบบอนิเมะในทีวีที่ฉายเป็นตอน ๆ หรือการ์ตูนต่อสู้อย่างเซเลอร์มูนช่วงแรก ๆ ที่จะมีตัวร้ายประจำสัปดาห์ (Monster of the week) มาให้ตัวเอกปราบ

    นิยายประเภทสถานที่ฮีลใจมักมีตัวละครประจำตอนที่แแตกต่างกันทั้งช่วงอายุและอาชีพ เพื่อจะได้เป็นตัวแทนของคนอ่านในกลุ่มต่าง ๆ นิยายเล่มนี้ก็เช่นกัน ทั้ง 5 ตอนมีตัวละครตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน ซึ่งก็น่าจะเป็นกลุ่มคนที่ผู้เขียนคคาดหวังว่าจะรวมอยู่ในหมู่คนอ่านหนังสือเล่มนี้ด้วย และถึงแม้ปัญหาที่ตัวละครในเรื่องเผชิญอาจไม่ตรงกับเรื่องที่คนอ่านในช่วงวัยเดียวกันเจอในชีวิตจริงทั้งหมด แต่ข้อคิดและคำแนะนำจากคุณมานููลในแต่ละตอนก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เช่นกัน

    ----------

    "เยียวยาจิตใจในสถานที่ที่มอบความสุข"
    🃏The Star + 🃏Ten of Cups

    The Star คือดวงดาว จึงเป็นไพ่ตัวแทนหลายสิ่งหลายอย่างที่คนเรามักเชื่อมโยงกับดาว ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียง ความโด่งดัง หรือความหวัง แต่มันก็มีอีกความหมายหนึ่ง นั่นคือ "การเยียวยา" ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่วนไพ่ 10 ถ้วย โดยทั่วไปมักหมายถึงบ้านหรือครอบครัว แต่บางกรณีก็สื่อถึง "ความสุขอย่างเต็มเปี่ยม" โดยเป็นความสุขที่มาจากกลุ่มคนที่อยู่กันสนิทชิดเชื้อเหมือนเป็นครอบครัว (แบบใน "แฟ้มเมอะหลี่" ของพี่ดอม ทอร์เรตโต แห่งซีรีส์ Fast & Furious) หรือจากาสถานที่มีผู้พร้อมจะส่งมอบความสุขให้ผู้อื่น

    คาเฟ่มาร์เนิลของคุณมานูลลงล็อกพอดีกับคำจำกัดความของสถานที่แบบที่ว่า แต่ก็อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ข้างบน ๆ นิยายเรื่องนี้ผลิตซ้ำ Trope ของสถานที่ที่ให้ความช่วยเหลือผู้คนในการแก้ปัญหาและเยียวยาจิตใจ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังนิยมกันในวงการวรรณกรรมฝั่งเอเชียตะวันออก แต่ละเรื่องอาจมีสถานที่ต่างกันไป บางเรื่องเป็นคาเฟ่ บางเรื่องเป็นร้านเบเกอรี่ บ้างเรื่องเป็นร้านหนังสือหรือห้องสมุด แต่ทุกเรื่องจบลงที่ตัวละครซึ่งไปเยือนสถานที่นั้น ๆ ได้เยียวยาบาดแผลหรือปมปัญหาในใจ หรือได้ปลดล็อกอะไรสักอย่างที่ติดค้างอยู่

    น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า ในชีวิตจริงซึ่งไม่ได้มีมนตร์วิเศษอยู่ (อย่างน้อยก็ในแบบที่มักเกิลอย่างเรา ๆ จับต้องและพิสูจน์ได้) คนเราก็มีสถานที่สำหรับเยียวยาจิตใจที่บอบช้ำและแตกร้าว นอกจากกลับบ้านไปหาครอบครัวแล้ว ที่อื่นที่คนมักไปเพื่อฮีลใจตัวเอง เช่น คาเฟ่ ซุ้มหมอดู (หรือบางคนก็ทักไปหาหมอดูทางออนไลน์) และที่ใดก็ตามที่มีแมวอยู่ กล่าวอีกอย่างคือ คาเฟ่ การดูดวง และแมว คือ Top 3 แห่งเครื่องเยียวยาจิตใจของมนุษย์ในปัจจุบัน (ซึ่งจะเรียกว่าเป็นยุคทุนนิยมหรือยุคโพสต์โมเดิร์นก็ตามแต่)

    และสามอย่างที่ว่านี้ นอกจากในนิยายซีรีส์ "ร้านกาแฟจันทร์เต็มดวง" แล้ว ก็มีคุณมานูลในนิยายเรื่องนี้ที่รวมทุกอย่างไว้ในตัว เหมือนผู้เขียนจงใจ หรือไม่ก็สร้างไว้ให้คนอ่านที่ชอบ Overanalyze ได้สังเกตและทึกทักเอา

    ----------

    "โชคชะตาไม่สำคัญเมื่อเธอนั้นกลายเป็นแมว"
    🃏Wheel of Fortune

    ไพ่วงล้อแห่งโชคชะตาเป็นใบหนึ่งที่ท้าทายสกิลการอ่านและตีความไพ่ของผู้อ่านไพ่มากที่สุด บางบริบท มันสื่อถึงการที่โชคชะตากำลังดำเนินไปในทางที่ดีขึ้น แต่ถ้าช่วงนั้นดวงกกำลังดี ๆ อยู่ มันก็อาจเป็นคำเตือนในระวังถึงขาลงของชีวิตที่ส่อแววมาแต่ไกล โดยรวมแล้ว ไพ่ใบนี้สื่อถึง "โชคชะตา" ในภาพรวม ซึ่งโดยตัวมันเองไม่มีดีหรือร้าย แต่ที่เรามองว่าดีหรือร้ายก็เพราะเรามองจากมุมมองของตัวเรา ถ้าเรามองเรื่องที่เกิดกับคนอื่น หรือมองตัวเองอย่างเป็นภววิสัย เราก็คงมองว่าททุกอย่างเป็นเรื่องของธรรมชาติ เดี๋ยวมีดี เดี๋ยวมีร้าย ไม่แน่ไม่นอน เผลอ ๆ คาดเดาไม่ได้ (หากเราเชื่อตาม Chaos Theory) และด้วยเหตุนี้ ไพ่ใบนี้จึงหมายรวมถึงการพยากรณ์ การดูดวง หรือการตรวจสอบดวงชะตาเช่นกัน

    ไม่รู้มีใครเป็นเหมือนผมไหม ตอนเห็นชื่อหนังสือฉบับแปลไทยครั้งแรก ก็คิดว่าคุณมานูลน่าจะเป็นตัวละครประเภทกวน ๆ ที่ทำนายดวงตรงมั่งมั่วมั่ง (แต่สุดท้ายก็ช่วยให้ตัวละครในแต่ละตอนได้มีความสุขอยู่ดี ตามแนวทางของนิยายฮีลใจแบบนี้) แต่พอได้อ่านจริงก็พบว่านางเป็นคาแรกเตอร์ประเภทกวน ๆ จริง กวนแบบน่ารัก ๆ ชนิดที่เชื่อว่าทุกคนน่าจะอยากมีเพื่อนสนิทแบบนี้สักคนสองคน ทว่าสิ่งที่ดูเหมือนจะหายไปคือการทำนายแบบมั่ว ๆ เพราะเท่าที่อ่านเจอในเรื่อง คุณมานูลไม่เคยทำนายดวงชะตาให้ตัวละครไหนแบบมั่ว ๆ เลย อย่างมากคือทำนายแบบส่งเดช พอให้เห็นว่ามีการใช้อุปกรณ์ทำนาย (อันนี้พูดในฐานะคนที่ทุกวันนี้รายรอบด้วยคนในวงการนักพยากรณ์ และเคยเจอหมอดูที่ทำนายแบบมั่วซั่วมาจนมากเกินจะนับด้วยนิ้วมือรวมนิ้วเท้าได้) อันที่จริงชื่อต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นของนิยายเรื่องนี้แปลตรงตัวแค่ว่า "คุณมานูลผู้ลาออกจากการเป็นมนุษย์จะทำนายดวงชะตาให้คุณ" ด้วยซ้ำ

    อย่างไรก็ตาม คุณมานูลตลอดทั้งเรื่องจะเล่นอีกบทบาทหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบาทที่หมอดูทุกศาสตร์ทุกแขนงควรเป็นในตัว (ถ้ายังไม่เป็นก็ควรฝึกตัวเองให้เป็น หรือไป take course เสียโดยด่วน โปรดรู้ว่าสังคมทุกวันนี้กำลังต้องการมาก) นั่นคือการเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านจิตใจและสังคม เนื้อเรื่องไม่เคยฟันธงว่าคุณมานูลดูดวงเป็นจริง ๆ หรือไม่ แต่เรื่องแสดงให้เห็นว่านางดูคนเป็น เข้าใจว่าแต่ละคนกำลังขาดหรือล้นเกินในเรื่องอะไร ซึ่งก็น่าจะเป็นทักษะที่ติดตัวมาตั้งแต่สมัยนางยังเป็นมนุษย์ และจากตรงนี้ นางจึงให้คำแนะนำแบบแมว ๆ ให้แต่ละตัวละครรับไปหาทางแก้ปัญหาของตัวเองอย่างตรงจุด

    เนื้อเรื่องไม่ได้บอกว่าเกิดอะไรขึ้นถึงทำให้คุณไอซาวะลาออกจากการเป็นมนุษย์แล้วผันตัวมาเป็นแมวมานูล แต่เมื่อดูจากคำใบ้ในแต่ละตอน (โดยเฉพาะตอนสุดท้าย) ผมมองว่านางคงเบื่อชีวิตมนุษย์ที่วัน ๆ ได้แต่ไหลไปตามสิ่งรอบข้างอย่างกระแสสังคม ความควาดหวังและแรงกดดันจากคนรอบข้าง (ซึ่งไป ๆ มา ๆ ก็กลายเป็นสิ่งที่เรารับมากระทำกับตัวเราเอง) ตลอดจนการยอมจำนนต่อ "โชคชะตา" เดี๋ยวดวงดี เดี๋ยวดวงซวย ช่วงนี้ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อหลีกเลี่ยงกาลกิณี ฯลฯ

    ในเมื่อมีแต่มนุษย์ที่ปวดหัววุ่นวายกับเรื่องเหล่านี้ แต่แมวใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องนำพาต่อสิ่งเหล่านี้ นางก็เลยเลิกเป็นมนุษย์แล้วเป็นแมวซะดื้อ ๆ แต่ครั้นจะเป็นแมวพันธุ์ธรรมดา ๆ พื้น ๆ ก็ไม่เอา เลยขอเป็นพันธุ์หายากอย่างแมวมานูล และพอเป็นแมวแล้ว นางเลยสามารถมองเรื่องราววุ่น ๆ ของมนุษย์ได้อย่างเป็นกลาง พร้อมทั้งให้คำแนะนำแบบชิล ๆ แต่ตรงประเด็นได้

    ถึงแม้นิยายเรื่องนี้จะขึ้นชื่อว่ามีหมอดูอยู่ แต่เนื้อเรื่องแทบไม่เกี่ยวกับการทำนายดวงชะตา (จริง ๆ) เลย กลับกัน มันแนะแนววิธีการใช้ชีวิตแบบไม่แคร์ดวง เหมือนที่แมวไม่แคร์วิถีชีวิตของมนุษย์ แต่พร้อมกันนั้น มันก็ให้คำแนะนำที่ดีอย่างยิ่งสำหรับคนที่เป็นหมอดูและอยากเป็นหมอดูครับ

    ----------

    Final Verdict: 🃏The Sun + 🃏The World + 🃏The Star + 🃏Ten of Cups + 🃏Wheel of Fortune

    'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' จะช่วยให้คุณเข้าใจความจริงว่า ต่อให้โลกนี้จะหมุนไปและชีวิตนำพาอะไรมาให้คุณ แต่คุณก็สามารถเฉิดฉายในแบบของตัวเองและมีความสุขทุกวันได้ ขอแค่คุณปล่อยจอยกับชีวิต คิดเสียว่าลาออกจากการมนุษย์แล้วทำตัวเหมือนเป็นแมวเสีย เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้แค่เวลาจำกัด แล้วทำไม เราต้องปล่อยให้เรื่องชั่วประเดี๋ยวประด๋าว (เมื่อเทียบกับเวลาของจักรวาล) มาขัดจังหวะการเก็บเกี่ยวความสุขในแต่ละวันของเราด้วย จริงไหม?

    🃏🃏🃏🃏🃏
    แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่งคาเฟมาร์เนิล (2025)
    • แปลจาก: 人間やめたマヌルさんが、あなたの人生占います (2023)
    • ผู้เขียน: ฮัตสึกิ โอโตะ
    • ผู้แปล: วิลาสินี จงสถิตวัฒนา
    • สำนักพิมพ์: Lumi (ในเครือนานมีบุ๊คส์)
    ไพ่ที่ใช้: ไพ่ทาโรต์แถมพิเศษเฉพาะฉบับพิมพ์ครั้งแรกของนิยายเรื่องนี้
    วรรณกรรมประเภทหนึ่งที่ตอนนี้มีเยอะมากโดยเฉพาะจากฝั่งตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี) แต่ผมไม่ค่อยสนใจเท่าไร คือเรื่องแนวฟีลกู๊ดประเภทสถานที่เยียวยาจิตใจ ไม่ใช่เพราะผมเป็นพวกจิตใจหยาบกระด้างหรือชอบเสพแต่ความดาร์กและความสยอง แต่เพราะผมมองว่าตัวเองพอดักทางได้ว่าเรื่องพวกนั้นมี "สาร" อย่างไร ต้องการสอนผู้อ่านอย่างไร ทั้งนี้ก็จะมีบางเรื่องที่เป็นข้อยกเว้น หนึ่งในนั้นคือคาเฟ่ของแม่หมอมานูล 'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' โดย อัตสึกิ โอโตะ เป็นนิยายแบบที่ผมคงไม่สนใจในแวบแรก ถ้าไม่ใช่เพราะโดนล่อตาล่อใจจากของแถมที่ทาง สนพ. บอกว่ามีเฉพาะในรอบพิมพ์ครั้งแรกเท่านั้น นั่นคือ ไพ่ทาโรต์ขนาดเล็ก ๆ 5 ใบที่เป็นภาพคุณมานูล แมวหมอดูตัวเอกประจำเรื่อง ข้อนี้เลยเป็นตัวแปรสำคัญให้ผมเปิดใจรับหนังสือเล่มนี้มาบรรจุเข้าชั้นที่บ้าน ไหน ๆ ก็พูดถึงหนังสือเล่มนี้แล้ว ผมก็เห็นว่ามันควรค่าแก่การรีวิวในแบบของไพ่เราเผาเรื่อง แต่รอบนี้จะต่างจากครั้งอื่น ๆ ตรงที่ผมจะไม่ใช้ไพ่ทาโรต์หรือไพ่พยากรณ์สำรับใด ๆ ในคลัง แต่จะใช้ไพ่แถม 5 ใบที่มากับหนังสือเล่มนี้เป็นเครื่องมือประกอบการ "เผาเรื่อง" โดยสับไพ่แล้วสุ่มหยิบตามลำดับ ขอเชิญรับชม #ไพ่เราเผาหนังสือ 'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' ด้วยไพ่แถมสุดน่ารักทั้ง 5 ใบ ได้ ณ บัดนี้ครับ ---------- "เรื่องจบในตอนพร้อมข้อคิดดี ๆ" 🃏The Sun + 🃏The World ในไพ่ทาโรต์ 78 ใบ The Sun เป็นไพ่ที่ความหมายดีรอบด้านในอันดับต้น ๆ แต่ไพ่ใบนี้ยังสื่อถึง "ความจริง" และ "ข้อคิดที่เป็นประโยชน์" ได้ด้วย ส่วน The World ในฐานะไพ่ใบสุดท้ายของไพ่ชุดหลัก (Major Arcana) จึงมักสื่อความถึง "จุดสิ้นสุด" และ "ความสมบูรณ์" แต่มันไม่ใช่การตัดจบแบบบริบูรณ์หรือ Happily Ever After ทว่าเป็นการจบลงของบทหนึ่งเพื่อที่จะเข้าสู่บทถัดไป 'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' มีลักษณะการเขียนแบบที่มักเจอใน Fiction ประเภทสถานที่ที่ช่วยให้ผู้คนได้ฮีลใจ นั่นคือเป็นนวนิยายแบบเนื้อเรื่องจบในตอน (Episodic novel) โดยแต่ละตอนมักจะมีข้อคิดจรรโลงใจหรือมุมมองที่น่าสนใจแตกต่างกัน บางครั้งต่างตอนก็มีสารหรือข้อคิดสำหรับคนต่างกลุ่มต่างจำพวก หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อเรื่อง 5 บท แต่ละบทสามารถอ่านแยกในฐานะเรื่องสั้นที่จบสมบูรณ์ในตัวเองได้ แต่ตอนหลัง ๆ ก็จะมีรายละเอียดบางอย่างที่ต่อเนื่องจากตอนก่อน ๆ ตัวละครดำเนินเรื่องในแต่ละตอนมีช่วงอายุ บทบาท และปัญหาคาใจแตกต่างกัน มีทั้งเด็กมัธยมที่หาทาง fit in ในสังคมห้องเรียน อินฟลูเอนเซอร์สาว ซิงเกิลมัม ไปจนถึงวัยกลางคนที่กำลังสับสนกับทิศทางชีวิตและหน้าที่การงานของตัวเอง จากนั้นโชคชะตาหรือพล็อตเรื่องก็จะพาตัวละครไปเจอกับคุณมานูลและคาเฟมาร์เนิล คุณมานูล ศูนย์กลางของเรื่อง เดิมเคยเป็นมนุษย์ชื่อ คาวาตานิ ไอซาวะ แต่ด้วยสาเหตุบางอย่าง นางเลือก 'ลาออก' จากการเป็นมนุษย์ มาอยู่ในร่างของแมวมานูล (Manul) หรืออีกชื่อคือแมวพัลลาส (Pallas's cat) และรับดูดวงด้วยสารพัดวิธี ไม่ว่าจะใช้ไพ่ ลูกแก้ว หรือเครื่องเสี่ยงเซียมซีรูเลตต์ พร้อมทั้งเปิดคาเฟ่ร่วมกับคนที่น่าจะเป็นสามีและลูกสาว (ส่วนชื่อคาเฟ่ ทำไมถึงชื่อ "มาร์เนิล" แทนที่จะเป็น "มานูล" ตรงนี้ในหนังสือมีอธิบายไว้ แต่สั้น ๆ คือเป็นมุกที่เล่นกับตัวเขียนญี่ปุ่นแบบคาตาคานะ ซึ่งต้องขอชื่นชมผู้แปลที่พยายามเรียบเรียงเป็นไทยให้ใกล้เคียงโดยไม่เสียอรรถรสของต้นฉบับ) เนื้อเรื่องแต่ละตอนดำเนินไปอย่างค่อนข้างเป็นสูตรสำเร็จ เริ่มจากแนะนำตัวละครและชีวิตประจำวันที่เจ้าตัวไม่พึงพอใจเท่าไร จากนั้นตัวละครก็จะได้เจอคุณมานูลช่วยทำนายดวงชะตาพร้อมทั้งให้คำแนะนำแบบคร่าว ๆ เพื่อพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งตัวละครจะทำตามและอะไร ๆ ก็ดูจะดีขึ้นจริง ๆ แต่แล้วก็จะมีเหตุสักอย่างให้ชีวิตตัวละครกลับไปเป็นแบบตอนต้นเรื่องหรือเผลอ ๆ เหมือนจะดูแย่ลง และทำให้ตัวละครได้รับการชี้แนะจากคุณมานูลเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งคราวนี้เรื่องก็จะดูจบตอนแบบแฮปปี้เอนดิ้ง ชวนให้นึกถึงโดราเอมอนแแบบอนิเมะในทีวีที่ฉายเป็นตอน ๆ หรือการ์ตูนต่อสู้อย่างเซเลอร์มูนช่วงแรก ๆ ที่จะมีตัวร้ายประจำสัปดาห์ (Monster of the week) มาให้ตัวเอกปราบ นิยายประเภทสถานที่ฮีลใจมักมีตัวละครประจำตอนที่แแตกต่างกันทั้งช่วงอายุและอาชีพ เพื่อจะได้เป็นตัวแทนของคนอ่านในกลุ่มต่าง ๆ นิยายเล่มนี้ก็เช่นกัน ทั้ง 5 ตอนมีตัวละครตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน ซึ่งก็น่าจะเป็นกลุ่มคนที่ผู้เขียนคคาดหวังว่าจะรวมอยู่ในหมู่คนอ่านหนังสือเล่มนี้ด้วย และถึงแม้ปัญหาที่ตัวละครในเรื่องเผชิญอาจไม่ตรงกับเรื่องที่คนอ่านในช่วงวัยเดียวกันเจอในชีวิตจริงทั้งหมด แต่ข้อคิดและคำแนะนำจากคุณมานููลในแต่ละตอนก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เช่นกัน ---------- "เยียวยาจิตใจในสถานที่ที่มอบความสุข" 🃏The Star + 🃏Ten of Cups The Star คือดวงดาว จึงเป็นไพ่ตัวแทนหลายสิ่งหลายอย่างที่คนเรามักเชื่อมโยงกับดาว ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียง ความโด่งดัง หรือความหวัง แต่มันก็มีอีกความหมายหนึ่ง นั่นคือ "การเยียวยา" ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่วนไพ่ 10 ถ้วย โดยทั่วไปมักหมายถึงบ้านหรือครอบครัว แต่บางกรณีก็สื่อถึง "ความสุขอย่างเต็มเปี่ยม" โดยเป็นความสุขที่มาจากกลุ่มคนที่อยู่กันสนิทชิดเชื้อเหมือนเป็นครอบครัว (แบบใน "แฟ้มเมอะหลี่" ของพี่ดอม ทอร์เรตโต แห่งซีรีส์ Fast & Furious) หรือจากาสถานที่มีผู้พร้อมจะส่งมอบความสุขให้ผู้อื่น คาเฟ่มาร์เนิลของคุณมานูลลงล็อกพอดีกับคำจำกัดความของสถานที่แบบที่ว่า แต่ก็อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ข้างบน ๆ นิยายเรื่องนี้ผลิตซ้ำ Trope ของสถานที่ที่ให้ความช่วยเหลือผู้คนในการแก้ปัญหาและเยียวยาจิตใจ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังนิยมกันในวงการวรรณกรรมฝั่งเอเชียตะวันออก แต่ละเรื่องอาจมีสถานที่ต่างกันไป บางเรื่องเป็นคาเฟ่ บางเรื่องเป็นร้านเบเกอรี่ บ้างเรื่องเป็นร้านหนังสือหรือห้องสมุด แต่ทุกเรื่องจบลงที่ตัวละครซึ่งไปเยือนสถานที่นั้น ๆ ได้เยียวยาบาดแผลหรือปมปัญหาในใจ หรือได้ปลดล็อกอะไรสักอย่างที่ติดค้างอยู่ น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า ในชีวิตจริงซึ่งไม่ได้มีมนตร์วิเศษอยู่ (อย่างน้อยก็ในแบบที่มักเกิลอย่างเรา ๆ จับต้องและพิสูจน์ได้) คนเราก็มีสถานที่สำหรับเยียวยาจิตใจที่บอบช้ำและแตกร้าว นอกจากกลับบ้านไปหาครอบครัวแล้ว ที่อื่นที่คนมักไปเพื่อฮีลใจตัวเอง เช่น คาเฟ่ ซุ้มหมอดู (หรือบางคนก็ทักไปหาหมอดูทางออนไลน์) และที่ใดก็ตามที่มีแมวอยู่ กล่าวอีกอย่างคือ คาเฟ่ การดูดวง และแมว คือ Top 3 แห่งเครื่องเยียวยาจิตใจของมนุษย์ในปัจจุบัน (ซึ่งจะเรียกว่าเป็นยุคทุนนิยมหรือยุคโพสต์โมเดิร์นก็ตามแต่) และสามอย่างที่ว่านี้ นอกจากในนิยายซีรีส์ "ร้านกาแฟจันทร์เต็มดวง" แล้ว ก็มีคุณมานูลในนิยายเรื่องนี้ที่รวมทุกอย่างไว้ในตัว เหมือนผู้เขียนจงใจ หรือไม่ก็สร้างไว้ให้คนอ่านที่ชอบ Overanalyze ได้สังเกตและทึกทักเอา ---------- "โชคชะตาไม่สำคัญเมื่อเธอนั้นกลายเป็นแมว" 🃏Wheel of Fortune ไพ่วงล้อแห่งโชคชะตาเป็นใบหนึ่งที่ท้าทายสกิลการอ่านและตีความไพ่ของผู้อ่านไพ่มากที่สุด บางบริบท มันสื่อถึงการที่โชคชะตากำลังดำเนินไปในทางที่ดีขึ้น แต่ถ้าช่วงนั้นดวงกกำลังดี ๆ อยู่ มันก็อาจเป็นคำเตือนในระวังถึงขาลงของชีวิตที่ส่อแววมาแต่ไกล โดยรวมแล้ว ไพ่ใบนี้สื่อถึง "โชคชะตา" ในภาพรวม ซึ่งโดยตัวมันเองไม่มีดีหรือร้าย แต่ที่เรามองว่าดีหรือร้ายก็เพราะเรามองจากมุมมองของตัวเรา ถ้าเรามองเรื่องที่เกิดกับคนอื่น หรือมองตัวเองอย่างเป็นภววิสัย เราก็คงมองว่าททุกอย่างเป็นเรื่องของธรรมชาติ เดี๋ยวมีดี เดี๋ยวมีร้าย ไม่แน่ไม่นอน เผลอ ๆ คาดเดาไม่ได้ (หากเราเชื่อตาม Chaos Theory) และด้วยเหตุนี้ ไพ่ใบนี้จึงหมายรวมถึงการพยากรณ์ การดูดวง หรือการตรวจสอบดวงชะตาเช่นกัน ไม่รู้มีใครเป็นเหมือนผมไหม ตอนเห็นชื่อหนังสือฉบับแปลไทยครั้งแรก ก็คิดว่าคุณมานูลน่าจะเป็นตัวละครประเภทกวน ๆ ที่ทำนายดวงตรงมั่งมั่วมั่ง (แต่สุดท้ายก็ช่วยให้ตัวละครในแต่ละตอนได้มีความสุขอยู่ดี ตามแนวทางของนิยายฮีลใจแบบนี้) แต่พอได้อ่านจริงก็พบว่านางเป็นคาแรกเตอร์ประเภทกวน ๆ จริง กวนแบบน่ารัก ๆ ชนิดที่เชื่อว่าทุกคนน่าจะอยากมีเพื่อนสนิทแบบนี้สักคนสองคน ทว่าสิ่งที่ดูเหมือนจะหายไปคือการทำนายแบบมั่ว ๆ เพราะเท่าที่อ่านเจอในเรื่อง คุณมานูลไม่เคยทำนายดวงชะตาให้ตัวละครไหนแบบมั่ว ๆ เลย อย่างมากคือทำนายแบบส่งเดช พอให้เห็นว่ามีการใช้อุปกรณ์ทำนาย (อันนี้พูดในฐานะคนที่ทุกวันนี้รายรอบด้วยคนในวงการนักพยากรณ์ และเคยเจอหมอดูที่ทำนายแบบมั่วซั่วมาจนมากเกินจะนับด้วยนิ้วมือรวมนิ้วเท้าได้) อันที่จริงชื่อต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นของนิยายเรื่องนี้แปลตรงตัวแค่ว่า "คุณมานูลผู้ลาออกจากการเป็นมนุษย์จะทำนายดวงชะตาให้คุณ" ด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม คุณมานูลตลอดทั้งเรื่องจะเล่นอีกบทบาทหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบาทที่หมอดูทุกศาสตร์ทุกแขนงควรเป็นในตัว (ถ้ายังไม่เป็นก็ควรฝึกตัวเองให้เป็น หรือไป take course เสียโดยด่วน โปรดรู้ว่าสังคมทุกวันนี้กำลังต้องการมาก) นั่นคือการเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านจิตใจและสังคม เนื้อเรื่องไม่เคยฟันธงว่าคุณมานูลดูดวงเป็นจริง ๆ หรือไม่ แต่เรื่องแสดงให้เห็นว่านางดูคนเป็น เข้าใจว่าแต่ละคนกำลังขาดหรือล้นเกินในเรื่องอะไร ซึ่งก็น่าจะเป็นทักษะที่ติดตัวมาตั้งแต่สมัยนางยังเป็นมนุษย์ และจากตรงนี้ นางจึงให้คำแนะนำแบบแมว ๆ ให้แต่ละตัวละครรับไปหาทางแก้ปัญหาของตัวเองอย่างตรงจุด เนื้อเรื่องไม่ได้บอกว่าเกิดอะไรขึ้นถึงทำให้คุณไอซาวะลาออกจากการเป็นมนุษย์แล้วผันตัวมาเป็นแมวมานูล แต่เมื่อดูจากคำใบ้ในแต่ละตอน (โดยเฉพาะตอนสุดท้าย) ผมมองว่านางคงเบื่อชีวิตมนุษย์ที่วัน ๆ ได้แต่ไหลไปตามสิ่งรอบข้างอย่างกระแสสังคม ความควาดหวังและแรงกดดันจากคนรอบข้าง (ซึ่งไป ๆ มา ๆ ก็กลายเป็นสิ่งที่เรารับมากระทำกับตัวเราเอง) ตลอดจนการยอมจำนนต่อ "โชคชะตา" เดี๋ยวดวงดี เดี๋ยวดวงซวย ช่วงนี้ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อหลีกเลี่ยงกาลกิณี ฯลฯ ในเมื่อมีแต่มนุษย์ที่ปวดหัววุ่นวายกับเรื่องเหล่านี้ แต่แมวใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องนำพาต่อสิ่งเหล่านี้ นางก็เลยเลิกเป็นมนุษย์แล้วเป็นแมวซะดื้อ ๆ แต่ครั้นจะเป็นแมวพันธุ์ธรรมดา ๆ พื้น ๆ ก็ไม่เอา เลยขอเป็นพันธุ์หายากอย่างแมวมานูล และพอเป็นแมวแล้ว นางเลยสามารถมองเรื่องราววุ่น ๆ ของมนุษย์ได้อย่างเป็นกลาง พร้อมทั้งให้คำแนะนำแบบชิล ๆ แต่ตรงประเด็นได้ ถึงแม้นิยายเรื่องนี้จะขึ้นชื่อว่ามีหมอดูอยู่ แต่เนื้อเรื่องแทบไม่เกี่ยวกับการทำนายดวงชะตา (จริง ๆ) เลย กลับกัน มันแนะแนววิธีการใช้ชีวิตแบบไม่แคร์ดวง เหมือนที่แมวไม่แคร์วิถีชีวิตของมนุษย์ แต่พร้อมกันนั้น มันก็ให้คำแนะนำที่ดีอย่างยิ่งสำหรับคนที่เป็นหมอดูและอยากเป็นหมอดูครับ ---------- Final Verdict: 🃏The Sun + 🃏The World + 🃏The Star + 🃏Ten of Cups + 🃏Wheel of Fortune 'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' จะช่วยให้คุณเข้าใจความจริงว่า ต่อให้โลกนี้จะหมุนไปและชีวิตนำพาอะไรมาให้คุณ แต่คุณก็สามารถเฉิดฉายในแบบของตัวเองและมีความสุขทุกวันได้ ขอแค่คุณปล่อยจอยกับชีวิต คิดเสียว่าลาออกจากการมนุษย์แล้วทำตัวเหมือนเป็นแมวเสีย เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้แค่เวลาจำกัด แล้วทำไม เราต้องปล่อยให้เรื่องชั่วประเดี๋ยวประด๋าว (เมื่อเทียบกับเวลาของจักรวาล) มาขัดจังหวะการเก็บเกี่ยวความสุขในแต่ละวันของเราด้วย จริงไหม? 🃏🃏🃏🃏🃏 แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่งคาเฟมาร์เนิล (2025) • แปลจาก: 人間やめたマヌルさんが、あなたの人生占います (2023) • ผู้เขียน: ฮัตสึกิ โอโตะ • ผู้แปล: วิลาสินี จงสถิตวัฒนา • สำนักพิมพ์: Lumi (ในเครือนานมีบุ๊คส์) ไพ่ที่ใช้: ไพ่ทาโรต์แถมพิเศษเฉพาะฉบับพิมพ์ครั้งแรกของนิยายเรื่องนี้
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 246 มุมมอง 0 รีวิว
  • สำหรับผม ญี่ปุ่นและไทยคล้ายคลึงกันมากในปริมณฑลเรื่องเหนือธรรมชาติ ไทยเรามีภูตผีหลากหลายดีไซน์มากพอ ๆ กับโยไคของญี่ปุ่น ต่างกันแค่ผีญี่ปุ่นยังมีการรวมตัวเดินขบวนพาเหรดเป็น "ขบวนแห่ร้อยอสูร" (百鬼夜行 - เฮียกกิยาเกียว) จนเมื่อได้อ่านนิยายเล่มนี้เองที่ได้เจอเรื่องราวของขบวนแห่แบบที่ว่าในรูปผสมผสานสองเชื้อชาติ

    'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' โดย กันตชาต ชวนะวิรัช เป็นนวนิยายที่ได้รับคัดเลือกจาก บ.อมรินทร์ให้ตีพิมพ์ในโปรเจกต์ "ไทยเล่าไทยหลอน" เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในที่ที่เป็นไปได้มากว่าจะอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีตำนานท้องถิ่นกล่าวถึงขบวนแห่ร้อยผีที่มีผู้ร่วมขบวนทั้งผีไทยและผีญี่ปุ่น มีผู้นำขบวนคือ เทพอาคันตุกะ หรือนูราริเฮียง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งโยไคของญี่ปุ่น เล่ากันว่าหากคนทั่วไปที่ไม่ได้มีสัมผัสพิเศษมองเห็นขบวนแห่ร้อยผีเข้า ก็จะโดนทั้งขบวนตามล่าเพื่อนำวิญญาณไปร่วมขบวนด้วย ในเนื้อเรื่อง อัญรินทร์เห็นขบวนแห่นี้และโดนหมายหัว อัคร น้องชายวัย ม.ปลาย ซึ่งมองเห็นวิญญาณได้ จึงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อพาพี่สาวหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผี แม้กระทั่งต้องเข้าไปซ่อนในบ้านเด็กกำพร้าผีสิงก็ตาม

    ถึงจะขึ้นชื่อว่าเป็นเรื่องผี มีคำว่า "ผี" อยู่ในชื่อเรื่อง แต่โทนเรื่องโดยรวมไม่ได้เน้นความน่ากลัวสยองขวัญเท่าไร (สำหรับผมอะนะ) ออกจะเป็นแฟนตาซีที่แฝงกลิ่นอายลึกลับแบบ Spirited Away ของสตูดิโอจิบลิมากกว่า คงเพราะมีผีญี่ปุ่นอยู่ในเรื่องด้วย (แต่ก็น่าเสียดายนิดหน่อยที่เอาจริง ๆ ถ้าเทียบแอร์ไทม์แล้ว ผีในขบวนแห่ร้อยผีกลับมีบทบาทน้อยกว่าผีที่ไม่ได้อยู่ในขบวนแห่เสียอีก) ทั้งนี้ ตอนจบทั้งสวยงามและปวดตับอย่างยิ่ง ต่อให้คุณพอจะคาดการณ์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ผมเชื่อว่าบทสุดท้ายก็น่าจะกระชากอารมณ์คุณไม่มากก็น้อย ยกเว้นก็แต่คุณจะอารมณ์ตายด้านไปแล้วหรือไม่ก็เป็นไซโคพาธ อี๋ย์ ไปให้พ้น ชิ่ว ๆ

    อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่พื้นที่ที่ผมจะรีวิวหนังสือ แต่ผมจะให้ไพ่ทาโรต์หรือไพ่พยากรณ์ในคลังของผมกำหนดประเด็นที่จะรีวิว วิจารณ์ หรือหยิบยกมาพูด แล้วผมจะนำมาแปลและถ่ายทอดต่ออีกที โดยสุ่มจับไพ่ 4 ใบ และใช้ไพ่ใต้กองอีก 1 ใบ

    สำหรับนิยายเล่มนี้ ซึ่งมีภูตผีญี่ปุ่นมาเกี่ยวข้อง ผมก็คิดว่าน่าจะเหมาะสมถ้าใช้ไพ่ที่มีธีมเป็นผีญี่ปุ่นมาทำการ "เผาเรื่อง" นั่นคือไพ่ชุด 'Yokai Tarot' โดย สนพ.Lo Scarabeo จากอิตาลี

    ขอเชิญรับชม #ไพ่เราเผาหนังสือ 'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' ด้วย 'Yokai Tarot' ได้ ณ บัดนี้ครับ

    ----------

    "หลอกลวงคนอ่านอย่าง(เกือบ)แนบเนียน"
    🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance

    ไพ่ Magician ของ Yokai Tarot เลือกหน้าไพ่เป็นปีศาจทานุกิ ซึ่งเป็นโยไคที่ขึ้นชื่อเรื่องการแปลงร่างไปหลอกลวงหรือแกล้งมนุษย์ ตรงกับความหมายในแง่ "การหลอกลวง" ของไพ่นักมายากล ส่วนไพ่ Temperance มีหน้าไพ่เป็น "นิงเกียว" หรือก็คือนางเงือกแบบญี่ปุ่น เชื่อกันว่าเนื้อของเงือกญี่ปุ่นจะทำให้อายุยืนยาวหรือถึงขั้นเป็นอมตะ แต่เฉพาะในบริบทของไพ่แห่งความพอดี เงือกคือตัวตนที่แสดงถึงความสอดประสานกันอย่างลงตัว กลมเกลียว และ "แนบเนียน" ระหว่างสิ่งตรงข้าม ไม่ว่าจะคนและปลา หรือบกและน้ำ

    'เฮียกกิยาเกียว' เป็นนิยายที่ไม่ได้ใส่ผีมาหลอกตัวละครในเรื่องอย่างเดียว แต่ตัวมันยังพยายามหลอกคนอ่านอย่างเราให้เข้าใจผิดเกือบตลอดเวลา ซึ่งก็มาพร้อมกับ Plot twists หรือการหักมุมหลายตลบ แต่ก็ไม่ได้เป็นการหักแบบคอพับ 180 องศาชนิดไม่มีปี่มีขลุ่ย ระหว่างทาง เนื้อเรื่องจะแอบหยอดรายละเอียดที่ค่อย ๆ นำไปสู่การเฉลยปมหักมุมแต่ละเรื่อง ดังนั้นสำหรับผู้อ่านที่ช่างสังเกตและช่างคิด รวมถึงมีชั่วโมงบินเยอะ ก็อาจคาดเดาจุดหักมุมแต่ละจุดได้ไม่ยาก รวมถึง Plot twist ใหญ่ในหน้า 226

    นอกจากนี้ ผมชอบเป็นพิเศษที่ไพ่ Temperance ขึ้นมาในหัวข้อนี้พอดี ความหมายหลักอย่างหนึ่งของไพ่ใบนี้คือ "ความกลมเกลียว" และ "การสอดประสานกันอย่างลงตัว" ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายได้ดีอย่างยิ่งกับความสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์กับสังคมผีในนิยายเรื่องนี้ เนื้อเรื่องบรรยายว่าชุมชนในเรื่องเป็นที่ที่ผีและคนอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด จนบางครั้งพรมแดนระหว่าง 2 ภพก็พร่าเลือนโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรืออาจจะทั้ง 2 ฝ่ายไม่รู้ตัว ซึ่งนี่ก็เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนใช้หลอกลวงคนอ่านด้วย (แน่นอนว่าตรงนี้ไม่ได้สปอยล์สาระสำคัญของเรื่องแต่อย่างใด ;) )

    ----------

    "บูรณาการตำนาน(ผี)จากสองชาติ"
    🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles)

    โยไคบนหน้าไพ่ราชินีเหรียญของชุด Yokai Tarot คือ "ยามะฮิเมะ" (เจ้าหญิงแห่งขุนเขา) ซึ่งมีบทบาทคล้าย ๆ วิญญาณเจ้าป่าเจ้าเขาในไทยเรา เป็นผู้ปกปักรักษาสิ่งต่าง ๆ ในพื้นที่ภูเขาของตน ทั้งป่าดงพงไพร พืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ที่อาศัยในบริเวณนั้นและเคารพบูชานาง บทบาทตามตำนานความเชื่อของโยไคตนนี้ตรงกับความหมายของไพ่ราชินีเหรียญในแง่การเป็นผูปกปักรักษา บำรุงเลี้ยงดู ขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงกับความหมายด้านธรรมชาติของไพ่ใบนี้ด้วย ส่วนในบริบทของนิยายเรื่องนี้ ผมตีความว่าไพ่ใบนี้สื่อถึงสิ่งที่เป็นเสมือนธรรมชาติเก่าแก่ในชุมชนท้องที่ต่าง ๆ ซึ่งก็คือวัฒนธรรม ตำนาน คติชน และเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่มีมาแต่โบราณในท้องที่นั้น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในท้องถิ่นหวนแหนและดูแลสืบต่อไปยังชนรุ่นหลัง

    ส่วนไพ่ 3 เหรียญเป็นภาพของ "อิปปงดาตาระ" โยไคตาเดียวขาเดียวที่ว่ากันว่าเคยเป็นช่างฝีมือมาก่อน แต่แกทุ่มเทให้กับงานที่ทำมากเกินไปจนสูญเสียดวงตากับขาไปอย่างละข้าง ไพ่ชุดนี้นำโยไคตนนี้มาเชื่อมโยงกับไพ่ 3 เหรียญในแง่ที่ตัวมันเป็นภูตที่มีที่มาจากช่างฝีมือ ซึ่งเป็นความหมายหนึ่งของไพ่ใบนี้ ส่วนอีกความหมายที่รู้จักกันมากกว่าคือ "การร่วมมือ" (รวมถึงงานประเภทคอลแลบฯ ระหว่างศิลปิน) และ "การบูรณาการ"

    ไพ่สองใบนี้รวมกัน จึงสื่อถึง การบูรณาการของตำนานความเชื่อเก่าแก่ ซึ่งในบริบทของ 'เฮียกกิยาเกียว' มันก็คือการบูรณาการความเชื่อเกี่ยวกับภูตผีของไทยและญี่ปุ่น จนกลายมาเป็นขบวนแห่ร้อยผีประจำนิยายเรื่องนี้ ซึ่งเป็นจุดเด่นของเรื่องที่ต้องชื่นชมความช่างคิดของผู้เขียนจริง ๆ

    ในขบวนแห่ร้อยผี นอกจากจะมีโยไคญี่ปุ่นอย่างนูราริเฮียงแล้ว ยังมีผีไทยที่คนภาคกลางอาจไม่คุ้นเคยเท่าไร เช่น ผีม้าบ้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นครึ่งคนครึ่งม้าคล้ายเซนทอร์ของกรีก (ในนิยายเล่มนี้เรียกผีม้าบ้องว่า "เซนทอร์แห่งล้านนา" ด้วยซ้ำ) หรือแมวจะกละ แมวดำที่ทำให้มนุษย์ที่ได้สัมผัสร่างต้องพบความตายอย่างน่าสยดสยอง นอกจากนั้นยังมีผีบางตนที่มีอยู่ในทั้งเรื่องผีของไทยและญี่ปุ่นอย่างผีกระสือ ซึ่งเวอร์ชันของญี่ปุ่นเรียกว่า "นูเกะคูบิ"

    นอกจากนั้น นิยายเรื่องนี้ยังบูรณาการเรื่องจริงที่มีบันทึกในประวัติศาสตร์ไทยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องด้วย โดยเชื่อมโยงกับชีวิตของยามาดะ นางามาสะ หรือ ออกญาเสนาภิมุข (ซึ่งตรงนี้ทำให้ผมค่อนข้างเชื่อว่า ฉากท้องเรื่องของเรื่องนี้อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช)

    ----------

    "บางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น"
    ใต้กอง: 🃏Judgement

    ไพ่ใต้กองของการเปิดไพ่ "เผาเรื่อง" ครั้งนี้คือไพ่ Judgement ซึ่งเป็นภาพของโยไคชื่อ "คิโยะฮิเมะ" นางเป็นปีศาจงูที่ไปตกหลุมรักพระรูปหนึ่งอย่างจัง แต่พระหนุ่มไม่เล่นด้วย ทิ้งนางอย่างไม่ไยดี นางจึงตามล่าพระหนุ่มไปทั่วญี่ปุ่น จนในที่สุด พระหนุ่มไปหลบซ่อนในระฆังวัด แต่นางก็หาเจอ และคลายขนดหางออกมารัดระฆัง ก่อนจะพ่นไฟออกมาย่างสดพระหนุ่ม โหดฉิบ แต่ใด ๆ คือ ไพ่ชุดนี้เลือกวีรกรรมการตามล่าเหยื่ออย่างไม่ลดไม่ละของนางมาเชื่อมโยงกับความหมายของไพ่ Judgement ในด้านการมาถึงของบางสิ่งที่เราไม่อาจหนีพ้น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม อาจเป็นความจริงหรือสัจธรรมของจักรวาล

    การถูกตามล่าโดยบางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น คือแก่นเรื่องของ 'เฮียกกิยาเกียว' ใครก็ตามที่มองเห็นขบวนแห่ร้อยผี (ยกเว้นผู้มีตาทิพย์หรือสัมผัสพิเศษ) จะต้องถูกตามล่าไปตลอดกาล จนกว่าภูตผีในขบวนจะจับตัวและพาไปร่วมขบวนได้ อาจมีบางช่วงเวลาหรือเงื่อนไขที่ช่วยให้ยืดเวลาหรือหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผีได้ แต่ก็ทำได้แค่ชั่วคราว

    เมื่ออ่านนิยายเล่มนี้ไปเรื่อย ๆ คนอ่านจะพบว่า ไม่ได้มีแค่อัครและอัญรินทร์ สองตัวละครเอกที่พยายามหนีจากขบวนแห่ร้อยผี มีคนอื่นที่เคยพบเจอและพยายามหนีจากพวกมันด้วย รวมทั้งมีตัวละครอื่นที่พยายามหลบหนีจากอะไรอย่างอื่น แต่ทุกสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่มีทางหลบหนีพ้น ดังนั้นจึงมีทางเลือกแค่หาทางหนีประวิงเวลาไปเรื่อย ๆ หรือยอมจำนน

    ----------

    Final Verdict: 🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance + 🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles) + 🃏Judgement (ใต้กอง)

    'เฮียกกิยาเกียว' เป็นเรื่องที่นำตำนานความเชื่อและเรื่องเหล่าอันแตกต่างหลากหลายมาผสมผสานและบูรณาการเข้าด้วยกันอย่าชาญฉลาดและลงตัว พร้อมกับทำให้ปิดเล่มไปด้วยความจรรโลงใจและการตระหนักซึ่งในสัจธรรมบางประการ

    🃏🃏🃏🃏🃏
    เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง (2025)
    • ผู้เขียน: กันตชาต ชวนะวิรัช
    • สำนักพิมพ์: Prism (ในเครืออมรินทร์)
    ไพ่ที่ใช้: Yokai Tarot (2024) ผลิตและจัดจำหน่ายโดย Lo Scarabeo Tarot
    สำหรับผม ญี่ปุ่นและไทยคล้ายคลึงกันมากในปริมณฑลเรื่องเหนือธรรมชาติ ไทยเรามีภูตผีหลากหลายดีไซน์มากพอ ๆ กับโยไคของญี่ปุ่น ต่างกันแค่ผีญี่ปุ่นยังมีการรวมตัวเดินขบวนพาเหรดเป็น "ขบวนแห่ร้อยอสูร" (百鬼夜行 - เฮียกกิยาเกียว) จนเมื่อได้อ่านนิยายเล่มนี้เองที่ได้เจอเรื่องราวของขบวนแห่แบบที่ว่าในรูปผสมผสานสองเชื้อชาติ 'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' โดย กันตชาต ชวนะวิรัช เป็นนวนิยายที่ได้รับคัดเลือกจาก บ.อมรินทร์ให้ตีพิมพ์ในโปรเจกต์ "ไทยเล่าไทยหลอน" เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในที่ที่เป็นไปได้มากว่าจะอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีตำนานท้องถิ่นกล่าวถึงขบวนแห่ร้อยผีที่มีผู้ร่วมขบวนทั้งผีไทยและผีญี่ปุ่น มีผู้นำขบวนคือ เทพอาคันตุกะ หรือนูราริเฮียง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งโยไคของญี่ปุ่น เล่ากันว่าหากคนทั่วไปที่ไม่ได้มีสัมผัสพิเศษมองเห็นขบวนแห่ร้อยผีเข้า ก็จะโดนทั้งขบวนตามล่าเพื่อนำวิญญาณไปร่วมขบวนด้วย ในเนื้อเรื่อง อัญรินทร์เห็นขบวนแห่นี้และโดนหมายหัว อัคร น้องชายวัย ม.ปลาย ซึ่งมองเห็นวิญญาณได้ จึงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อพาพี่สาวหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผี แม้กระทั่งต้องเข้าไปซ่อนในบ้านเด็กกำพร้าผีสิงก็ตาม ถึงจะขึ้นชื่อว่าเป็นเรื่องผี มีคำว่า "ผี" อยู่ในชื่อเรื่อง แต่โทนเรื่องโดยรวมไม่ได้เน้นความน่ากลัวสยองขวัญเท่าไร (สำหรับผมอะนะ) ออกจะเป็นแฟนตาซีที่แฝงกลิ่นอายลึกลับแบบ Spirited Away ของสตูดิโอจิบลิมากกว่า คงเพราะมีผีญี่ปุ่นอยู่ในเรื่องด้วย (แต่ก็น่าเสียดายนิดหน่อยที่เอาจริง ๆ ถ้าเทียบแอร์ไทม์แล้ว ผีในขบวนแห่ร้อยผีกลับมีบทบาทน้อยกว่าผีที่ไม่ได้อยู่ในขบวนแห่เสียอีก) ทั้งนี้ ตอนจบทั้งสวยงามและปวดตับอย่างยิ่ง ต่อให้คุณพอจะคาดการณ์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ผมเชื่อว่าบทสุดท้ายก็น่าจะกระชากอารมณ์คุณไม่มากก็น้อย ยกเว้นก็แต่คุณจะอารมณ์ตายด้านไปแล้วหรือไม่ก็เป็นไซโคพาธ อี๋ย์ ไปให้พ้น ชิ่ว ๆ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่พื้นที่ที่ผมจะรีวิวหนังสือ แต่ผมจะให้ไพ่ทาโรต์หรือไพ่พยากรณ์ในคลังของผมกำหนดประเด็นที่จะรีวิว วิจารณ์ หรือหยิบยกมาพูด แล้วผมจะนำมาแปลและถ่ายทอดต่ออีกที โดยสุ่มจับไพ่ 4 ใบ และใช้ไพ่ใต้กองอีก 1 ใบ สำหรับนิยายเล่มนี้ ซึ่งมีภูตผีญี่ปุ่นมาเกี่ยวข้อง ผมก็คิดว่าน่าจะเหมาะสมถ้าใช้ไพ่ที่มีธีมเป็นผีญี่ปุ่นมาทำการ "เผาเรื่อง" นั่นคือไพ่ชุด 'Yokai Tarot' โดย สนพ.Lo Scarabeo จากอิตาลี ขอเชิญรับชม #ไพ่เราเผาหนังสือ 'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' ด้วย 'Yokai Tarot' ได้ ณ บัดนี้ครับ ---------- "หลอกลวงคนอ่านอย่าง(เกือบ)แนบเนียน" 🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance ไพ่ Magician ของ Yokai Tarot เลือกหน้าไพ่เป็นปีศาจทานุกิ ซึ่งเป็นโยไคที่ขึ้นชื่อเรื่องการแปลงร่างไปหลอกลวงหรือแกล้งมนุษย์ ตรงกับความหมายในแง่ "การหลอกลวง" ของไพ่นักมายากล ส่วนไพ่ Temperance มีหน้าไพ่เป็น "นิงเกียว" หรือก็คือนางเงือกแบบญี่ปุ่น เชื่อกันว่าเนื้อของเงือกญี่ปุ่นจะทำให้อายุยืนยาวหรือถึงขั้นเป็นอมตะ แต่เฉพาะในบริบทของไพ่แห่งความพอดี เงือกคือตัวตนที่แสดงถึงความสอดประสานกันอย่างลงตัว กลมเกลียว และ "แนบเนียน" ระหว่างสิ่งตรงข้าม ไม่ว่าจะคนและปลา หรือบกและน้ำ 'เฮียกกิยาเกียว' เป็นนิยายที่ไม่ได้ใส่ผีมาหลอกตัวละครในเรื่องอย่างเดียว แต่ตัวมันยังพยายามหลอกคนอ่านอย่างเราให้เข้าใจผิดเกือบตลอดเวลา ซึ่งก็มาพร้อมกับ Plot twists หรือการหักมุมหลายตลบ แต่ก็ไม่ได้เป็นการหักแบบคอพับ 180 องศาชนิดไม่มีปี่มีขลุ่ย ระหว่างทาง เนื้อเรื่องจะแอบหยอดรายละเอียดที่ค่อย ๆ นำไปสู่การเฉลยปมหักมุมแต่ละเรื่อง ดังนั้นสำหรับผู้อ่านที่ช่างสังเกตและช่างคิด รวมถึงมีชั่วโมงบินเยอะ ก็อาจคาดเดาจุดหักมุมแต่ละจุดได้ไม่ยาก รวมถึง Plot twist ใหญ่ในหน้า 226 นอกจากนี้ ผมชอบเป็นพิเศษที่ไพ่ Temperance ขึ้นมาในหัวข้อนี้พอดี ความหมายหลักอย่างหนึ่งของไพ่ใบนี้คือ "ความกลมเกลียว" และ "การสอดประสานกันอย่างลงตัว" ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายได้ดีอย่างยิ่งกับความสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์กับสังคมผีในนิยายเรื่องนี้ เนื้อเรื่องบรรยายว่าชุมชนในเรื่องเป็นที่ที่ผีและคนอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด จนบางครั้งพรมแดนระหว่าง 2 ภพก็พร่าเลือนโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรืออาจจะทั้ง 2 ฝ่ายไม่รู้ตัว ซึ่งนี่ก็เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนใช้หลอกลวงคนอ่านด้วย (แน่นอนว่าตรงนี้ไม่ได้สปอยล์สาระสำคัญของเรื่องแต่อย่างใด ;) ) ---------- "บูรณาการตำนาน(ผี)จากสองชาติ" 🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles) โยไคบนหน้าไพ่ราชินีเหรียญของชุด Yokai Tarot คือ "ยามะฮิเมะ" (เจ้าหญิงแห่งขุนเขา) ซึ่งมีบทบาทคล้าย ๆ วิญญาณเจ้าป่าเจ้าเขาในไทยเรา เป็นผู้ปกปักรักษาสิ่งต่าง ๆ ในพื้นที่ภูเขาของตน ทั้งป่าดงพงไพร พืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ที่อาศัยในบริเวณนั้นและเคารพบูชานาง บทบาทตามตำนานความเชื่อของโยไคตนนี้ตรงกับความหมายของไพ่ราชินีเหรียญในแง่การเป็นผูปกปักรักษา บำรุงเลี้ยงดู ขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงกับความหมายด้านธรรมชาติของไพ่ใบนี้ด้วย ส่วนในบริบทของนิยายเรื่องนี้ ผมตีความว่าไพ่ใบนี้สื่อถึงสิ่งที่เป็นเสมือนธรรมชาติเก่าแก่ในชุมชนท้องที่ต่าง ๆ ซึ่งก็คือวัฒนธรรม ตำนาน คติชน และเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่มีมาแต่โบราณในท้องที่นั้น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในท้องถิ่นหวนแหนและดูแลสืบต่อไปยังชนรุ่นหลัง ส่วนไพ่ 3 เหรียญเป็นภาพของ "อิปปงดาตาระ" โยไคตาเดียวขาเดียวที่ว่ากันว่าเคยเป็นช่างฝีมือมาก่อน แต่แกทุ่มเทให้กับงานที่ทำมากเกินไปจนสูญเสียดวงตากับขาไปอย่างละข้าง ไพ่ชุดนี้นำโยไคตนนี้มาเชื่อมโยงกับไพ่ 3 เหรียญในแง่ที่ตัวมันเป็นภูตที่มีที่มาจากช่างฝีมือ ซึ่งเป็นความหมายหนึ่งของไพ่ใบนี้ ส่วนอีกความหมายที่รู้จักกันมากกว่าคือ "การร่วมมือ" (รวมถึงงานประเภทคอลแลบฯ ระหว่างศิลปิน) และ "การบูรณาการ" ไพ่สองใบนี้รวมกัน จึงสื่อถึง การบูรณาการของตำนานความเชื่อเก่าแก่ ซึ่งในบริบทของ 'เฮียกกิยาเกียว' มันก็คือการบูรณาการความเชื่อเกี่ยวกับภูตผีของไทยและญี่ปุ่น จนกลายมาเป็นขบวนแห่ร้อยผีประจำนิยายเรื่องนี้ ซึ่งเป็นจุดเด่นของเรื่องที่ต้องชื่นชมความช่างคิดของผู้เขียนจริง ๆ ในขบวนแห่ร้อยผี นอกจากจะมีโยไคญี่ปุ่นอย่างนูราริเฮียงแล้ว ยังมีผีไทยที่คนภาคกลางอาจไม่คุ้นเคยเท่าไร เช่น ผีม้าบ้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นครึ่งคนครึ่งม้าคล้ายเซนทอร์ของกรีก (ในนิยายเล่มนี้เรียกผีม้าบ้องว่า "เซนทอร์แห่งล้านนา" ด้วยซ้ำ) หรือแมวจะกละ แมวดำที่ทำให้มนุษย์ที่ได้สัมผัสร่างต้องพบความตายอย่างน่าสยดสยอง นอกจากนั้นยังมีผีบางตนที่มีอยู่ในทั้งเรื่องผีของไทยและญี่ปุ่นอย่างผีกระสือ ซึ่งเวอร์ชันของญี่ปุ่นเรียกว่า "นูเกะคูบิ" นอกจากนั้น นิยายเรื่องนี้ยังบูรณาการเรื่องจริงที่มีบันทึกในประวัติศาสตร์ไทยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องด้วย โดยเชื่อมโยงกับชีวิตของยามาดะ นางามาสะ หรือ ออกญาเสนาภิมุข (ซึ่งตรงนี้ทำให้ผมค่อนข้างเชื่อว่า ฉากท้องเรื่องของเรื่องนี้อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช) ---------- "บางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น" ใต้กอง: 🃏Judgement ไพ่ใต้กองของการเปิดไพ่ "เผาเรื่อง" ครั้งนี้คือไพ่ Judgement ซึ่งเป็นภาพของโยไคชื่อ "คิโยะฮิเมะ" นางเป็นปีศาจงูที่ไปตกหลุมรักพระรูปหนึ่งอย่างจัง แต่พระหนุ่มไม่เล่นด้วย ทิ้งนางอย่างไม่ไยดี นางจึงตามล่าพระหนุ่มไปทั่วญี่ปุ่น จนในที่สุด พระหนุ่มไปหลบซ่อนในระฆังวัด แต่นางก็หาเจอ และคลายขนดหางออกมารัดระฆัง ก่อนจะพ่นไฟออกมาย่างสดพระหนุ่ม โหดฉิบ แต่ใด ๆ คือ ไพ่ชุดนี้เลือกวีรกรรมการตามล่าเหยื่ออย่างไม่ลดไม่ละของนางมาเชื่อมโยงกับความหมายของไพ่ Judgement ในด้านการมาถึงของบางสิ่งที่เราไม่อาจหนีพ้น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม อาจเป็นความจริงหรือสัจธรรมของจักรวาล การถูกตามล่าโดยบางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น คือแก่นเรื่องของ 'เฮียกกิยาเกียว' ใครก็ตามที่มองเห็นขบวนแห่ร้อยผี (ยกเว้นผู้มีตาทิพย์หรือสัมผัสพิเศษ) จะต้องถูกตามล่าไปตลอดกาล จนกว่าภูตผีในขบวนจะจับตัวและพาไปร่วมขบวนได้ อาจมีบางช่วงเวลาหรือเงื่อนไขที่ช่วยให้ยืดเวลาหรือหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผีได้ แต่ก็ทำได้แค่ชั่วคราว เมื่ออ่านนิยายเล่มนี้ไปเรื่อย ๆ คนอ่านจะพบว่า ไม่ได้มีแค่อัครและอัญรินทร์ สองตัวละครเอกที่พยายามหนีจากขบวนแห่ร้อยผี มีคนอื่นที่เคยพบเจอและพยายามหนีจากพวกมันด้วย รวมทั้งมีตัวละครอื่นที่พยายามหลบหนีจากอะไรอย่างอื่น แต่ทุกสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่มีทางหลบหนีพ้น ดังนั้นจึงมีทางเลือกแค่หาทางหนีประวิงเวลาไปเรื่อย ๆ หรือยอมจำนน ---------- Final Verdict: 🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance + 🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles) + 🃏Judgement (ใต้กอง) 'เฮียกกิยาเกียว' เป็นเรื่องที่นำตำนานความเชื่อและเรื่องเหล่าอันแตกต่างหลากหลายมาผสมผสานและบูรณาการเข้าด้วยกันอย่าชาญฉลาดและลงตัว พร้อมกับทำให้ปิดเล่มไปด้วยความจรรโลงใจและการตระหนักซึ่งในสัจธรรมบางประการ 🃏🃏🃏🃏🃏 เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง (2025) • ผู้เขียน: กันตชาต ชวนะวิรัช • สำนักพิมพ์: Prism (ในเครืออมรินทร์) ไพ่ที่ใช้: Yokai Tarot (2024) ผลิตและจัดจำหน่ายโดย Lo Scarabeo Tarot
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 220 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มาคุยกันถึงวลีจีนที่พบเห็นได้บ่อย

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ท่านพ่อ แต่เรื่องนี้หากลู่อี้รู้เข้า พวกเราจะมีปัญหาหรือไม่?” หยางเยวี่ยเอ่ยอย่างไม่สบายใจ
    จินเซี่ยพยักหน้าหงึกหงัก “นั่นสิ เจ้าตัวร้ายผู้นั้นมิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน ยามแกล้งคนนั้นอำมหิตนัก”...
    - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)
    (หมายเหตุ ละครเรื่องยอดองค์รักษ์เสื้อแพรดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    อะไรคือ ‘มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’?

    ก่อนอื่นก็ต้องมาทำความเข้าใจกับ ‘ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ หรือ ‘เสิ่งโหยวเติง’ (省油灯)

    ในซีรีย์จีนเรามักเห็นเขาจุดเทียนเพื่อแสงสว่างกัน หรือในบางเรื่องก็จะเห็นเป็นตะเกียงน้ำมันแบบที่ใช้จานหรือชามตื้นเป็นภาชนะ ว่ากันว่า เทียนไขแรกเริ่มปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ฉิน (ปี 221-206 ก่อนคริสต์ศักราช) เมื่อมีการนำน้ำมันจากไขสัตว์ไปเทใส่ในหลอดหญ้าที่มีเชือกทิ้งปลายออกมาเป็นไส้เทียน

    แต่ไม่ว่าจะเป็นเทียนหรือตะเกียงน้ำมันล้วนจัดเป็นของแพง เพราะต้องใช้ไขมันสกัดมาทำเทียนไขหรือเผาเป็นน้ำมัน จึงเป็นของมีราคาสูงและหายาก ไม่สามารถใช้พร่ำเพรื่อ เดิมมีใช้กันเฉพาะในวังและจวนขุนนางระดับสูง จัดเป็นของมีค่าหนึ่งรายการที่นิยมพระราชทานเป็นรางวัลให้กับขุนนาง ส่วนชาวบ้านธรรมดาก็ใช้คบเพลิงที่ทำขึ้นเองซึ่งไม่ต้องใช้น้ำมันมากเพราะใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง แต่จะมานั่งจุดคบกันทั้งคืนในห้องก็กระไรอยู่ เราจึงมักได้ยินถึงบทกวีหรือเห็นในละครที่บัณฑิตยากจนต้องนั่งอ่านหนังสือใต้แสงจันทร์

    ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งจึงเริ่มใช้เทียนไขกันอย่างแพร่หลายเพราะมีการสกัดไขมันพืชขึ้นซึ่งขึ้นรูปและอยู่ตัวได้ดีกว่าไขสัตว์ แต่ก็ยังจัดเป็นของฟุ่มเฟือย และแน่นอนว่าเทียนนั้นมีหลายเกรด มีบันทึกว่าในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ค.ศ. 1067-1085) นั้น เทียนไขเกรดสูงหนึ่งเล่มมีราคาสูงเป็นสิบเท่าของเทียนเกรดต่ำและคิดเป็นรายได้ประมาณสามวันของชาวบ้านธรรมดาเลยทีเดียว

    ในเมื่อไขมันสำหรับทำเทียนไขหรือตะเกียงน้ำมันล้วนเป็นของหายาก จึงเกิดสิ่งประดิษฐ์ขึ้นที่ประหยัดทรัพย์กว่าซึ่งก็คือตะเกียงประหยัดน้ำมัน บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยถังแต่ใช้แพร่หลายในสมัยซ่ง บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยซ่ง

    หลักการของเทคโนโลยีตะเกียงประหยัดน้ำมันนั้นง่ายจนน่าทึ่งว่าคนโบราณช่างฉลาดคิด คือเป็นการใส่น้ำไว้ในตะเกียงเพื่อลดความร้อนและรักษาอุณหภูมิไม่ให้ไขมันนั้นถูกเผาผลาญเร็วเกินไป และต้องใช้เป็นตะเกียงกระเบื้อง จะทรงสูงหรือเตี้ยก็ได้ แต่ไม่ใช้โลหะ ว่ากันว่าสามารถประหยัดน้ำมันได้ถึงครึ่งหนึ่งทีเดียว หน้าตาเป็นอย่างไรดูได้จากรูปประกอบ

    เข้าใจแล้วว่าตะเกียงประหยัดน้ำมันเป็นอย่างไร ก็คงเข้าใจความหมายของวลี ‘คนที่มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ ได้ไม่ยาก

    วลีนี้ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่ฉลาดหรือเก่งมากจนคนอื่น ‘เอาไม่อยู่’ หรือจัดการได้ยาก กว่าจะจัดการได้ต้องสิ้นเปลืองพลังงานมาก เป็นคนที่ไม่เคยเสียเปรียบใครเพราะฉลาดทันคน ฟังดูคล้ายเป็นการเปรียบเปรยเชิงลบ แต่จริงแล้วไม่ใช่ เพราะมันแฝงไว้ด้วยอาการยอมรับหรือเลื่อมใสอย่างเสียไม่ได้จากผู้ที่พูด

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://mercury0314.pixnet.net/blog/post/469082246-錦衣之下》任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=936cd571088453d061412ab3
    https://www.163.com/dy/article/F2QG74VJ05238DGE.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.baike.com/wikiid/4698842907576744062?view_id=3qk0zj0se7c000
    http://www.qulishi.com/article/201906/344431.html
    https://www.sohu.com/a/410514175_189939

    #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ตะเกียงน้ำมัน #ตะเกียงประหยัดน้ำมัน #เสิ่งโหยวเติง #วลีจีน
    วันนี้มาคุยกันถึงวลีจีนที่พบเห็นได้บ่อย ความมีอยู่ว่า ... “ท่านพ่อ แต่เรื่องนี้หากลู่อี้รู้เข้า พวกเราจะมีปัญหาหรือไม่?” หยางเยวี่ยเอ่ยอย่างไม่สบายใจ จินเซี่ยพยักหน้าหงึกหงัก “นั่นสิ เจ้าตัวร้ายผู้นั้นมิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน ยามแกล้งคนนั้นอำมหิตนัก”... - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) (หมายเหตุ ละครเรื่องยอดองค์รักษ์เสื้อแพรดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) อะไรคือ ‘มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’? ก่อนอื่นก็ต้องมาทำความเข้าใจกับ ‘ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ หรือ ‘เสิ่งโหยวเติง’ (省油灯) ในซีรีย์จีนเรามักเห็นเขาจุดเทียนเพื่อแสงสว่างกัน หรือในบางเรื่องก็จะเห็นเป็นตะเกียงน้ำมันแบบที่ใช้จานหรือชามตื้นเป็นภาชนะ ว่ากันว่า เทียนไขแรกเริ่มปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ฉิน (ปี 221-206 ก่อนคริสต์ศักราช) เมื่อมีการนำน้ำมันจากไขสัตว์ไปเทใส่ในหลอดหญ้าที่มีเชือกทิ้งปลายออกมาเป็นไส้เทียน แต่ไม่ว่าจะเป็นเทียนหรือตะเกียงน้ำมันล้วนจัดเป็นของแพง เพราะต้องใช้ไขมันสกัดมาทำเทียนไขหรือเผาเป็นน้ำมัน จึงเป็นของมีราคาสูงและหายาก ไม่สามารถใช้พร่ำเพรื่อ เดิมมีใช้กันเฉพาะในวังและจวนขุนนางระดับสูง จัดเป็นของมีค่าหนึ่งรายการที่นิยมพระราชทานเป็นรางวัลให้กับขุนนาง ส่วนชาวบ้านธรรมดาก็ใช้คบเพลิงที่ทำขึ้นเองซึ่งไม่ต้องใช้น้ำมันมากเพราะใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง แต่จะมานั่งจุดคบกันทั้งคืนในห้องก็กระไรอยู่ เราจึงมักได้ยินถึงบทกวีหรือเห็นในละครที่บัณฑิตยากจนต้องนั่งอ่านหนังสือใต้แสงจันทร์ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งจึงเริ่มใช้เทียนไขกันอย่างแพร่หลายเพราะมีการสกัดไขมันพืชขึ้นซึ่งขึ้นรูปและอยู่ตัวได้ดีกว่าไขสัตว์ แต่ก็ยังจัดเป็นของฟุ่มเฟือย และแน่นอนว่าเทียนนั้นมีหลายเกรด มีบันทึกว่าในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ค.ศ. 1067-1085) นั้น เทียนไขเกรดสูงหนึ่งเล่มมีราคาสูงเป็นสิบเท่าของเทียนเกรดต่ำและคิดเป็นรายได้ประมาณสามวันของชาวบ้านธรรมดาเลยทีเดียว ในเมื่อไขมันสำหรับทำเทียนไขหรือตะเกียงน้ำมันล้วนเป็นของหายาก จึงเกิดสิ่งประดิษฐ์ขึ้นที่ประหยัดทรัพย์กว่าซึ่งก็คือตะเกียงประหยัดน้ำมัน บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยถังแต่ใช้แพร่หลายในสมัยซ่ง บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยซ่ง หลักการของเทคโนโลยีตะเกียงประหยัดน้ำมันนั้นง่ายจนน่าทึ่งว่าคนโบราณช่างฉลาดคิด คือเป็นการใส่น้ำไว้ในตะเกียงเพื่อลดความร้อนและรักษาอุณหภูมิไม่ให้ไขมันนั้นถูกเผาผลาญเร็วเกินไป และต้องใช้เป็นตะเกียงกระเบื้อง จะทรงสูงหรือเตี้ยก็ได้ แต่ไม่ใช้โลหะ ว่ากันว่าสามารถประหยัดน้ำมันได้ถึงครึ่งหนึ่งทีเดียว หน้าตาเป็นอย่างไรดูได้จากรูปประกอบ เข้าใจแล้วว่าตะเกียงประหยัดน้ำมันเป็นอย่างไร ก็คงเข้าใจความหมายของวลี ‘คนที่มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ ได้ไม่ยาก วลีนี้ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่ฉลาดหรือเก่งมากจนคนอื่น ‘เอาไม่อยู่’ หรือจัดการได้ยาก กว่าจะจัดการได้ต้องสิ้นเปลืองพลังงานมาก เป็นคนที่ไม่เคยเสียเปรียบใครเพราะฉลาดทันคน ฟังดูคล้ายเป็นการเปรียบเปรยเชิงลบ แต่จริงแล้วไม่ใช่ เพราะมันแฝงไว้ด้วยอาการยอมรับหรือเลื่อมใสอย่างเสียไม่ได้จากผู้ที่พูด (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://mercury0314.pixnet.net/blog/post/469082246-錦衣之下》任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=936cd571088453d061412ab3 https://www.163.com/dy/article/F2QG74VJ05238DGE.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.baike.com/wikiid/4698842907576744062?view_id=3qk0zj0se7c000 http://www.qulishi.com/article/201906/344431.html https://www.sohu.com/a/410514175_189939 #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ตะเกียงน้ำมัน #ตะเกียงประหยัดน้ำมัน #เสิ่งโหยวเติง #วลีจีน
    MERCURY0314.PIXNET.NET
    《錦衣之下》分集劇情+心得分享(第1-55集大結局劇情)任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、姚奕辰、路宏主演,劇情角色演員介紹,根據藍色獅的同名小說改編,將「懸疑推理」與「古裝言情」相結合,一下夫婦劇中高甜互動,十分引人期待!
    錦衣之下 任嘉倫譚松韻主演 2019年末古裝大劇接連播出, 真的是讓人追劇追到上頭了, 這不又有一波優質古裝劇要開播, 那就是任嘉倫、譚松韻主演的 《錦衣之下》。 其實這部早在2018年
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 357 มุมมอง 0 รีวิว
  • เคยบอกรักฉันทุกวัน
    จับมือกันแล้วสัญญา
    เธอบอกจะไม่มีวันลา
    แต่สุดท้ายก็มาเปลี่ยนไป
    หรือรักของฉันยังไม่พอ
    เธอจึงไม่รอใช่ไหม
    เธอจึงเลือกเดินจากไป
    ปล่อยทิ้งฉันไว้เพียงลำพัง
    เขาดีกว่าฉันตรงไหน
    จึงมาทำให้ฉันสิ้นหวัง
    เจ็บจนหัวใจเจียนจะพัง
    น้ำตารินหลั่งมิใช่เบา
    ภาพวันวานยังคงฝังใจ
    แต่วันนี้เธอเดินไปกับเขา
    ยิ้มของเธอที่เคยเป็นของเรา
    ตอนนี้ได้เขาไปครอง
    รักฉันมันไม่ดีพอ
    ไม่ได้ไปต่อนสุดเศร้าหมอง
    นับวันน้ำตาจะเนืองนอง
    ร่ำร้องเหมือนในนิยาย
    เขาดีกว่าฉันตรงไหน
    รักของฉันจึงไร้ความหมาย
    ทำเธอเปลี่ยนใจง่ายดาย
    ใจฉันสลายแล้วเธอ
    สุดท้ายฉันคงต้องยอมรับ
    โศกเศร้าอยู่กับความเซ่อ
    พ่ายรักให้เขากับเธอ
    ขออย่าได้เจอกันอีกเลย
    เคยบอกรักฉันทุกวัน จับมือกันแล้วสัญญา เธอบอกจะไม่มีวันลา แต่สุดท้ายก็มาเปลี่ยนไป หรือรักของฉันยังไม่พอ เธอจึงไม่รอใช่ไหม เธอจึงเลือกเดินจากไป ปล่อยทิ้งฉันไว้เพียงลำพัง เขาดีกว่าฉันตรงไหน จึงมาทำให้ฉันสิ้นหวัง เจ็บจนหัวใจเจียนจะพัง น้ำตารินหลั่งมิใช่เบา ภาพวันวานยังคงฝังใจ แต่วันนี้เธอเดินไปกับเขา ยิ้มของเธอที่เคยเป็นของเรา ตอนนี้ได้เขาไปครอง รักฉันมันไม่ดีพอ ไม่ได้ไปต่อนสุดเศร้าหมอง นับวันน้ำตาจะเนืองนอง ร่ำร้องเหมือนในนิยาย เขาดีกว่าฉันตรงไหน รักของฉันจึงไร้ความหมาย ทำเธอเปลี่ยนใจง่ายดาย ใจฉันสลายแล้วเธอ สุดท้ายฉันคงต้องยอมรับ โศกเศร้าอยู่กับความเซ่อ พ่ายรักให้เขากับเธอ ขออย่าได้เจอกันอีกเลย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 95 มุมมอง 0 รีวิว
  • เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นหูคุ้นตากับ ‘คทาหรูอี้’ (หรูอี้/如意 แปลตรงตัวได้ว่า สมดังปรารถนา) บริบทที่เรามักเห็นในนิยาย/ละครจีนบ่อยๆ คือ ฮ่องเต้พระราชทานคทาหรูอี้หยกให้เป็นรางวัลต่อขุนนาง หรือบุรุษสูงศักดิ์มอบคทาหรูอี้ให้สตรีที่ถูกเลือกเป็นภรรยา อย่างเช่นตัวอย่างภาพประกอบยกมาจากละคร <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ตอนที่องค์ชายหงอี้ทรงเลือกชิงอิงเป็นพระชายา (รูปประกอบ1 ซ้าย) หรือเป็นวัตถุมงคลเหมาะกับการมอบให้เป็นของขวัญ

    เคยมีคนเขียนถึงคทาหรูอี้มาแล้วบ้าง ด้วยความหมายที่กล่าวถึงข้างต้น และเพื่อนเพจอาจเคยคุ้นกับการที่มีคทาหรูอี้ปรากฏในรูปภาพและรูปปั้นเทพเจ้าจีน และนักบวชนิยมถือคทาหรูอี้ยามสวดมนต์ ว่ากันว่าการใช้คทาหรูอี้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนานั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโบราณ

    แต่วันนี้ Storyฯ มาคุยเกี่ยวกับคทาหรูอี้ในอีกแง่มุมหนึ่ง... เพื่อนเพจเคยสงสัยเหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า เข้าใจล่ะว่าชื่อเป็นมงคล แต่คทาหรูอี้ออกจะเทอะทะ... มันไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากตั้งโชว์หรือถือไว้เท่ๆ เลยหรือ?

    จากภาพวาดโบราณ (รูปประกอบ 1 ขวา) จะเห็นว่าคทาหรูอี้เป็นของใช้ติดมือของชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้แก่ผู้เฒ่า... แสดงว่ามันต้องมีประโยชน์สิน่ะ เพื่อนเพจพอจะเดากันออกหรือไม่?

    จากข้อมูลที่ทางพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามรวบรวมได้ คทาหรูอี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 206 ก่อนคริสตศักราช - ปีค.ศ. 220) เดิมถูกใช้เป็นไม้เกาหลัง เรียกว่า ‘หรูอี้’ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘ไม่ง้อใคร’ (不求人/ปู้ฉิวเหริน) แรกเริ่มมีรูปทรงคล้ายมือ โดยในบันทึกสมัยราชวงศ์ชิง (事物异名录/ซื่ออู้อี้หมิงลู่) ได้เขียนไว้ว่า “หรูอี้นั้นไซร้ เป็นไม้กรงเล็บ”

    นอกจากนี้ ยังมีบทความสมัยราชวงศ์เหนือใต้ว่ามีการใช้คทาหรูอี้เป็นไม้ส่งสัญญาณเคลื่อนทัพในยามศึก นัยว่าเพื่อให้ชนะศึกได้ดังใจหมาย

    คทาหรูอี้กลายเป็นวัตถุประจำตัวที่คนนิยมพกพาเพราะชื่อเป็นมงคลและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวก็ได้ จึงพัฒนารูปแบบให้สวยงามมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นั้นใช้กันแพร่หลายในหลายแคว้นทั้งในวังและนอกวัง โดยสมัยนั้นนิยมให้ด้ามจับโค้งเป็นทรงกลุ่มดาวจระเข้ ตัวด้ามกลมมนเพื่อให้จับถนัดมือ ทำจากไม้ ไม้ไผ่หรือโลหะ มีใช้กันตั้งแต่ในวังยันชาวบ้านธรรมดานอกวัง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังจึงทำด้ามจับให้แบนลงและเป็นเส้นตรง โค้งที่ปลายหัว

    นานวันเข้า เมื่อถึงสมัยหมิงและชิง คทาหรูอี้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในฐานะวัตถุมงคลที่ใช้ประดับบ้านเรือนหรือของขวัญ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรมีในสินสอดของหมั้นของแต่งงาน จึงมีรูปแบบที่วิจิตรขึ้น รูปทรงที่เราคุ้นตาคือหัวเป็นทรงเห็ดหลินจือ โดยเฉพาะในยุคสมัยชิงนั้น คทาหรูอี้เป็นที่นิยมมากในวัง ไม่ว่าจะในงานราชประเพณี การแต่งตั้งขุนนาง การรับทูตจากต่างแดน ฯลฯ ล้วนต้องมีการถือคทาหรูอี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล

    ปัจจุบันในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามมีการเก็บรักษาคทาหรูอี้โบราณไว้กว่าสองพันชิ้นโดยส่วนใหญ่เป็นของสมัยชิง วัสดุที่ใช้ทำคทาหรูอี้นั้นหลากหลาย มีทั้งหยกชนิดต่างๆ ปะการัง ทองคำ เงิน ทองเหลือง งาช้าง ไม้ไผ่และไม้ชนิดต่างๆ และมีการแกะสลักลวดลายมากมายลงบนคทา

    Storyฯ เคยไปเที่ยวเมื่อนานมากแล้ว จำไม่ได้เลยว่าได้เคยเห็นอะไรในพิพิธภัณฑ์นี้บ้าง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.jianshu.com/p/faa99f5d9868
    https://new.qq.com/rain/a/20211210A027EU00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.mct.gov.cn/whzx/zsdw/ggbwy/202102/t20210210_921534.htm
    https://www.sohu.com/a/508658629_322551
    https://baike.baidu.com/item/如意/254746
    https://new.qq.com/rain/a/20220728A054CG00

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #คทาหรูอี้ #วัตถุมงคลจีน #ไม้เกาหลัง
    เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นหูคุ้นตากับ ‘คทาหรูอี้’ (หรูอี้/如意 แปลตรงตัวได้ว่า สมดังปรารถนา) บริบทที่เรามักเห็นในนิยาย/ละครจีนบ่อยๆ คือ ฮ่องเต้พระราชทานคทาหรูอี้หยกให้เป็นรางวัลต่อขุนนาง หรือบุรุษสูงศักดิ์มอบคทาหรูอี้ให้สตรีที่ถูกเลือกเป็นภรรยา อย่างเช่นตัวอย่างภาพประกอบยกมาจากละคร <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ตอนที่องค์ชายหงอี้ทรงเลือกชิงอิงเป็นพระชายา (รูปประกอบ1 ซ้าย) หรือเป็นวัตถุมงคลเหมาะกับการมอบให้เป็นของขวัญ เคยมีคนเขียนถึงคทาหรูอี้มาแล้วบ้าง ด้วยความหมายที่กล่าวถึงข้างต้น และเพื่อนเพจอาจเคยคุ้นกับการที่มีคทาหรูอี้ปรากฏในรูปภาพและรูปปั้นเทพเจ้าจีน และนักบวชนิยมถือคทาหรูอี้ยามสวดมนต์ ว่ากันว่าการใช้คทาหรูอี้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนานั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโบราณ แต่วันนี้ Storyฯ มาคุยเกี่ยวกับคทาหรูอี้ในอีกแง่มุมหนึ่ง... เพื่อนเพจเคยสงสัยเหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า เข้าใจล่ะว่าชื่อเป็นมงคล แต่คทาหรูอี้ออกจะเทอะทะ... มันไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากตั้งโชว์หรือถือไว้เท่ๆ เลยหรือ? จากภาพวาดโบราณ (รูปประกอบ 1 ขวา) จะเห็นว่าคทาหรูอี้เป็นของใช้ติดมือของชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้แก่ผู้เฒ่า... แสดงว่ามันต้องมีประโยชน์สิน่ะ เพื่อนเพจพอจะเดากันออกหรือไม่? จากข้อมูลที่ทางพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามรวบรวมได้ คทาหรูอี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 206 ก่อนคริสตศักราช - ปีค.ศ. 220) เดิมถูกใช้เป็นไม้เกาหลัง เรียกว่า ‘หรูอี้’ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘ไม่ง้อใคร’ (不求人/ปู้ฉิวเหริน) แรกเริ่มมีรูปทรงคล้ายมือ โดยในบันทึกสมัยราชวงศ์ชิง (事物异名录/ซื่ออู้อี้หมิงลู่) ได้เขียนไว้ว่า “หรูอี้นั้นไซร้ เป็นไม้กรงเล็บ” นอกจากนี้ ยังมีบทความสมัยราชวงศ์เหนือใต้ว่ามีการใช้คทาหรูอี้เป็นไม้ส่งสัญญาณเคลื่อนทัพในยามศึก นัยว่าเพื่อให้ชนะศึกได้ดังใจหมาย คทาหรูอี้กลายเป็นวัตถุประจำตัวที่คนนิยมพกพาเพราะชื่อเป็นมงคลและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวก็ได้ จึงพัฒนารูปแบบให้สวยงามมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นั้นใช้กันแพร่หลายในหลายแคว้นทั้งในวังและนอกวัง โดยสมัยนั้นนิยมให้ด้ามจับโค้งเป็นทรงกลุ่มดาวจระเข้ ตัวด้ามกลมมนเพื่อให้จับถนัดมือ ทำจากไม้ ไม้ไผ่หรือโลหะ มีใช้กันตั้งแต่ในวังยันชาวบ้านธรรมดานอกวัง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังจึงทำด้ามจับให้แบนลงและเป็นเส้นตรง โค้งที่ปลายหัว นานวันเข้า เมื่อถึงสมัยหมิงและชิง คทาหรูอี้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในฐานะวัตถุมงคลที่ใช้ประดับบ้านเรือนหรือของขวัญ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรมีในสินสอดของหมั้นของแต่งงาน จึงมีรูปแบบที่วิจิตรขึ้น รูปทรงที่เราคุ้นตาคือหัวเป็นทรงเห็ดหลินจือ โดยเฉพาะในยุคสมัยชิงนั้น คทาหรูอี้เป็นที่นิยมมากในวัง ไม่ว่าจะในงานราชประเพณี การแต่งตั้งขุนนาง การรับทูตจากต่างแดน ฯลฯ ล้วนต้องมีการถือคทาหรูอี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล ปัจจุบันในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามมีการเก็บรักษาคทาหรูอี้โบราณไว้กว่าสองพันชิ้นโดยส่วนใหญ่เป็นของสมัยชิง วัสดุที่ใช้ทำคทาหรูอี้นั้นหลากหลาย มีทั้งหยกชนิดต่างๆ ปะการัง ทองคำ เงิน ทองเหลือง งาช้าง ไม้ไผ่และไม้ชนิดต่างๆ และมีการแกะสลักลวดลายมากมายลงบนคทา Storyฯ เคยไปเที่ยวเมื่อนานมากแล้ว จำไม่ได้เลยว่าได้เคยเห็นอะไรในพิพิธภัณฑ์นี้บ้าง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.jianshu.com/p/faa99f5d9868 https://new.qq.com/rain/a/20211210A027EU00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.mct.gov.cn/whzx/zsdw/ggbwy/202102/t20210210_921534.htm https://www.sohu.com/a/508658629_322551 https://baike.baidu.com/item/如意/254746 https://new.qq.com/rain/a/20220728A054CG00 #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #คทาหรูอี้ #วัตถุมงคลจีน #ไม้เกาหลัง
    WWW.JIANSHU.COM
    【如懿传|如懿】年少情深,也可以走到相看两厌
    一出墙头马上,两心相许。山河依旧,唯人兰因絮果。 如懿的一生都把真心付给了自己的少年郎,年少时的扶持,无人之巅的陪伴,病榻前的守护,相比于甄嬛,她更加令人心疼。 执着勇敢是她...
    Like
    1
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 549 มุมมอง 0 รีวิว
  • “รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา” (ฉิงปู้จื๊อสัวฉี่ อี้หว่างเอ๋อร์เซิ้น / 情不知所起,一往而深)

    ต้อนรับสัปดาห์แห่งความรักกันด้วยอีกหนึ่งวลีสุดฮิตเกี่ยวกับความรัก ที่ Storyฯ เชื่อว่าแฟนนิยายจีนต้องเคยผ่านตายามตัวละครบอกรักกัน (แต่อาจแปลแตกต่างกันบ้างแล้วแต่ผู้แปล)

    ตัวอย่างจากในซีรีส์ก็มี อย่างเช่นในเรื่อง <เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน> ในฉากที่เหล่ามเหสีชายาและสนมนั่งชมละครงิ้วในวังหลัง นางเอกเมื่อยังเป็นว่านกุ้ยเหรินได้พูดว่า “ในบทประพันธ์ <ศาลาโบตั๋น> มีเขียนไว้ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’...” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ละครเรื่องนี้แฝงบทกวีเลื่องชื่อไว้ในคำสนทนาหลายบท วลีที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นวลีจากบทประพันธ์ ‘ศาลาโบตั๋น’ (หมู่ตานถิง / 牡丹亭) (ค.ศ. 1598) ของทังเสียนจู่ นักอักษรและนักประพันธ์บทงิ้วที่เลื่องชื่อในสมัยราชวงศ์หมิง เป็นบทประพันธ์ที่โด่งดังเพราะเป็นเรื่องราวความรักกินใจและเพราะความสละสลวยของภาษา มีทั้งสิ้น 55 ตอน ว่ากันว่า ถ้าแสดงชุดเต็ม ละครงิ้วนี้อาจกินเวลานานถึง 22 ชั่วโมง!

    ปัจจุบัน ‘ศาลาโบตั๋น’ ยังคงเป็นหนึ่งในงิ้วสุดนิยมและได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ของบทประพันธ์ละครงิ้วโบราณที่ดีที่สุดของจีน ได้รับการแปลไปหลายภาษาเช่น อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น ฯลฯ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ฝันคืนวิญญาณ’ (还魂梦)

    ‘ศาลาโบตั๋น’ เป็นเรื่องราวของตู้ลี่เหนียง สตรีลูกขุนนางที่งามเพียบพร้อม วันหนึ่งนางหลับอยู่ในอุทยานในเรือนแล้วฝันว่าได้พบรักกับบัณฑิตหนุ่มนามว่าหลิ่วเมิ่งเหมย เป็นรักที่ตราตรึงใจทำให้นางโหยหาแม้เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว สุดท้ายนางเฝ้ารอแต่ชายในฝันจนตรอมใจตายไป ก่อนตายนางได้ให้คนวาดภาพนางไว้ และสามปีให้หลัง ปรากฏว่ามีบัณฑิตหนุ่มชื่อหลิ่วเมิ่งเหมยเข้าเมืองมาสอบราชบัณฑิต ได้เห็นรูปของนางก็หลงรักและฝันถึง ในฝันนั้นนางบอกเขาว่า หากเขาขุดศพของนางที่ถูกฝังอยู่ในอุทยานขึ้นมา นางจะฟื้นคืนชีพ หลิ่วเมิ่งเหมยทำตามคำบอกของนางก็พบว่าศพของนางยังไม่เน่าเปื่อยและนางก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาจริงๆ เขาทั้งสองจึงครองรักกันต่อไป

    จึงเป็นที่มาของวรรคที่ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’ และเป็นวลีที่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งเพื่อสะท้อนความหมายของมันว่า รักนั้น บางทีก็หาเหตุผลและจุดเริ่มต้นไม่ได้ คนที่ถลำลงไปในรักสามารถตายเพื่อรักได้ และรักก็สามารถสร้างปาฏิหารย์ให้คนตายฟื้นคืนชีพได้

    เป็นประโยคที่ผ่านตา Storyฯ บ่อยมากจนจำไม่ได้แล้วว่ามีในละครหรือนิยายเรื่องไหนอีกที่กล่าวถึงวลีนี้ เท่าที่พอจะจำได้ ก็มีเรื่อง ‘ความฝันในหอแดง’ หากเพื่อนเพจคุ้นหูคุ้นตาจากซีรีส์หรือนิยายเรื่องอื่นก็เม้นท์มาบอกกันได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://new.qq.com/rain/a/20210820A0E6Z100
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e1f2a8e8bf19704ecbbbff47
    https://baike.baidu.com/item/情不知所起一往而深
    https://www.ximalaya.com/ask/q142274?source=m_jump

    #เจินหวน #หมู่ตานถิง #ศาลาโบตั๋น #วลีรักจีน #ทังเสียนจู่
    “รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา” (ฉิงปู้จื๊อสัวฉี่ อี้หว่างเอ๋อร์เซิ้น / 情不知所起,一往而深) ต้อนรับสัปดาห์แห่งความรักกันด้วยอีกหนึ่งวลีสุดฮิตเกี่ยวกับความรัก ที่ Storyฯ เชื่อว่าแฟนนิยายจีนต้องเคยผ่านตายามตัวละครบอกรักกัน (แต่อาจแปลแตกต่างกันบ้างแล้วแต่ผู้แปล) ตัวอย่างจากในซีรีส์ก็มี อย่างเช่นในเรื่อง <เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน> ในฉากที่เหล่ามเหสีชายาและสนมนั่งชมละครงิ้วในวังหลัง นางเอกเมื่อยังเป็นว่านกุ้ยเหรินได้พูดว่า “ในบทประพันธ์ <ศาลาโบตั๋น> มีเขียนไว้ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’...” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ละครเรื่องนี้แฝงบทกวีเลื่องชื่อไว้ในคำสนทนาหลายบท วลีที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นวลีจากบทประพันธ์ ‘ศาลาโบตั๋น’ (หมู่ตานถิง / 牡丹亭) (ค.ศ. 1598) ของทังเสียนจู่ นักอักษรและนักประพันธ์บทงิ้วที่เลื่องชื่อในสมัยราชวงศ์หมิง เป็นบทประพันธ์ที่โด่งดังเพราะเป็นเรื่องราวความรักกินใจและเพราะความสละสลวยของภาษา มีทั้งสิ้น 55 ตอน ว่ากันว่า ถ้าแสดงชุดเต็ม ละครงิ้วนี้อาจกินเวลานานถึง 22 ชั่วโมง! ปัจจุบัน ‘ศาลาโบตั๋น’ ยังคงเป็นหนึ่งในงิ้วสุดนิยมและได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ของบทประพันธ์ละครงิ้วโบราณที่ดีที่สุดของจีน ได้รับการแปลไปหลายภาษาเช่น อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น ฯลฯ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ฝันคืนวิญญาณ’ (还魂梦) ‘ศาลาโบตั๋น’ เป็นเรื่องราวของตู้ลี่เหนียง สตรีลูกขุนนางที่งามเพียบพร้อม วันหนึ่งนางหลับอยู่ในอุทยานในเรือนแล้วฝันว่าได้พบรักกับบัณฑิตหนุ่มนามว่าหลิ่วเมิ่งเหมย เป็นรักที่ตราตรึงใจทำให้นางโหยหาแม้เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว สุดท้ายนางเฝ้ารอแต่ชายในฝันจนตรอมใจตายไป ก่อนตายนางได้ให้คนวาดภาพนางไว้ และสามปีให้หลัง ปรากฏว่ามีบัณฑิตหนุ่มชื่อหลิ่วเมิ่งเหมยเข้าเมืองมาสอบราชบัณฑิต ได้เห็นรูปของนางก็หลงรักและฝันถึง ในฝันนั้นนางบอกเขาว่า หากเขาขุดศพของนางที่ถูกฝังอยู่ในอุทยานขึ้นมา นางจะฟื้นคืนชีพ หลิ่วเมิ่งเหมยทำตามคำบอกของนางก็พบว่าศพของนางยังไม่เน่าเปื่อยและนางก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาจริงๆ เขาทั้งสองจึงครองรักกันต่อไป จึงเป็นที่มาของวรรคที่ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’ และเป็นวลีที่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งเพื่อสะท้อนความหมายของมันว่า รักนั้น บางทีก็หาเหตุผลและจุดเริ่มต้นไม่ได้ คนที่ถลำลงไปในรักสามารถตายเพื่อรักได้ และรักก็สามารถสร้างปาฏิหารย์ให้คนตายฟื้นคืนชีพได้ เป็นประโยคที่ผ่านตา Storyฯ บ่อยมากจนจำไม่ได้แล้วว่ามีในละครหรือนิยายเรื่องไหนอีกที่กล่าวถึงวลีนี้ เท่าที่พอจะจำได้ ก็มีเรื่อง ‘ความฝันในหอแดง’ หากเพื่อนเพจคุ้นหูคุ้นตาจากซีรีส์หรือนิยายเรื่องอื่นก็เม้นท์มาบอกกันได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://new.qq.com/rain/a/20210820A0E6Z100 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e1f2a8e8bf19704ecbbbff47 https://baike.baidu.com/item/情不知所起一往而深 https://www.ximalaya.com/ask/q142274?source=m_jump #เจินหวน #หมู่ตานถิง #ศาลาโบตั๋น #วลีรักจีน #ทังเสียนจู่
    腾讯网
    腾讯网从2003年创立至今,已经成为集新闻信息,区域垂直生活服务、社会化媒体资讯和产品为一体的互联网媒体平台。腾讯网下设新闻、科技、财经、娱乐、体育、汽车、时尚等多个频道,充分满足用户对不同类型资讯的需求。同时专注不同领域内容,打造精品栏目,并顺应技术发展趋势,推出网络直播等创新形式,改变了用户获取资讯的方式和习惯。
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 512 มุมมอง 0 รีวิว
  • จุดจบวัฒนธรรมพิการ ศาลสั่งประหาร! “อั้ม-อนาวิน แก้วเก็บ” มือยิง “ครูเจี๊ยบ-น้องหยอด”

    ✍️ จากวัฒนธรรมรับน้องผิดเพี้ยน สู่บทสรุปคดีสะเทือนขวัญ วัยรุ่นไทยควรได้บทเรียนอะไร จากโศกนาฏกรรมนี้? ศาลสั่งประหาร “อั้ม-อนาวิน” คดียิง “ครูเจี๊ยบ-น้องหยอด” สะเทือนใจทั้งประเทศ จุดจบวัฒนธรรมพิการต้องจบที่รุ่นเรา เหยื่อบริสุทธิ์จากวัฒนธรรมรับน้องผิดๆ จุดเริ่มต้นของการล้มล้างความรุนแรง แฝงในระบบการศึกษาไทย

    🔵 ความสูญเสียที่ต้องไม่สูญเปล่า วันที่ 28 มีนาคม 2568 กลายเป็นวันที่หลายคนจดจำ เมื่อศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำพิพากษาชั้นต้นให้ “ประหารชีวิตนายอนาวิน แก้วเก็บ” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “อั้ม” มือยิงผู้บริสุทธิ์สองราย ได้แก่ “ครูเจี๊ยบ” และ “น้องหยอด” จากเหตุการณ์เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2566

    เหตุการณ์นี้ไม่ใช่แค่ “คดีฆาตกรรม” แต่สะท้อนปัญหาฝังลึกในสังคม คือ “วัฒนธรรมรับน้องอันรุนแรง” ที่ปลูกฝังความเชื่อผิดๆ และส่งต่อกันมาโดยไร้การตรวจสอบ ❌

    🔴 “ครูเจี๊ยบ-น้องหยอด” ผู้บริสุทธิ์ที่ไม่มีวันกลับมา คดีเริ่มต้นจากความตั้งใจของกลุ่มอดีตเด็กช่าง ที่ต้องการ “สร้างผลงาน” เพื่อไปอวดในวันรับน้องของสถาบันแห่งหนึ่ง โดยนายอนาวิน วางแผนมาก่อนแล้วว่า จะก่อเหตุในวันที่ 11 พ.ย. 2566 ซึ่งเป็นวันก่อนวันรับน้อง 1 วัน

    📍 สถานที่เกิดเหตุ หน้าธนาคาร TTB สาขาคลองเตย ใจกลางกรุงเทพฯ

    🔫 เหยื่อ
    - นางสาวศิรดา สินประเสริฐ หรือครูเจี๊ยบ อายุ 45 ปี ครูสอนคอมพิวเตอร์ โรงเรียนพระหฤทัยคอนเวนต์
    - นายธนสรณ์ ห้องสวัสดิ์ หรือน้องหยอด อายุ 19 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย

    การยิงเกิดจาก “กระสุนพลาดเป้า” ซึ่งเดิมทีตั้งใจจะยิงน้องหยอด แต่กลับทำให้ครูเจี๊ยบเสียชีวิตทันที 😢

    🟠 บทเรียนจากการล่า 24 ผู้ต้องหา ปฏิบัติการ “ปิดเมือง” หลังเกิดเหตุ ตำรวจเปิดปฏิบัติการครั้งใหญ่ “ปิดเมืองล่ามือยิง” ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ใช้เวลากว่า 1 เดือน กว่าจะจับตัวผู้ต้องหาทั้งหมด 24 คนจาก 26 หมายจับ 💣

    🔍 ตรวจสอบกล้องวงจรกว่า 1,000 ตัว
    🚔 ปิดล้อม 14 จุดทั่วกรุงและปริมณฑล
    🔫 ตรวจสอบกลุ่มแชตลับ 103 คน มีแผนฆ่า มีระบบดูแลคนใน
    📱 ใช้ไลน์กลุ่มลับ 84 คน วางแผนคล้าย "องค์กรอาชญากรรม"

    หนึ่งในตำรวจสืบสวนเล่าว่า การไล่ล่าครั้งนี้ “ยิ่งกว่านิยายไล่ล่าตี๋ใหญ่” เพราะผู้ต้องหาหนีอย่างแนบเนียน เปลี่ยนสีรถ, เปลี่ยนทะเบียน, เปลี่ยนเสื้อผ้า, วางจุดลวงสับสนเจ้าหน้าที่

    🟡 จุดแตกหัก จับกุม “อั้ม-อนาวิน” บนดอยปุย 🎯 หลังไล่ล่าจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ตำรวจไล่ติดตามจนกระทั่งพบตัว “อนาวิน” พร้อม “กฤติ” เพื่อนร่วมขบวนการ ที่กำลังนอนอยู่ในเต็นท์บนดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเช้าของวันที่ 19 ธันวาคม 2566

    👮‍♂️ ตำรวจคุกเข่าร้องไห้ด้วยความดีใจ หลังจากตามล่ามา 1 เดือนเต็ม 🥹

    🟢 ศาลตัดสิน “ประหารชีวิต” เพื่อยุติวัฏจักร วันที่ 28 มีนาคม 2568 ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษา “ประหารชีวิตนายอนาวิน แก้วเก็บ” พร้อมสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหาย แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต 6 ล้านบาท

    👉 ความผิดตามกฎหมาย
    - ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
    - มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
    - ยิงปืนในที่ชุมชน
    - สมคบก่ออาชญากรรม

    🔵 วัฒนธรรมรับน้อง = จุดเริ่มของโศกนาฏกรรม จากการสอบปากคำ “อั้ม-อนาวิน” ยอมรับว่า ต้องการสร้าง “ผลงาน” เพื่อเอาไปโชว์ในวันรับน้อง ซึ่งมาจากการปลูกฝังของรุ่นพี่ 💣

    พร้อมมีการพูดคุยผ่านไลน์กลุ่มลับว่า “ใครฆ่าอริได้ จะเป็นฮีโร่ของกลุ่ม”

    “ขอแสดงความยินดีกับน้อง ช.ก... ที่พาน้องไปเกิดได้อย่างสมศักดิ์ศรีช่างกล” นี่คือคำพูดในแชตลับที่ชวนให้ขนลุก 😨
    มันไม่ใช่แค่ “การแกล้ง” หรือ “กิจกรรมรุ่นพี่-รุ่นน้อง” อีกต่อไป แต่เป็นการหล่อหลอมความรุนแรง

    🔴 จุดจบของ “วัฒนธรรมพิการ” ต้องจบที่รุ่นเรา คดีนี้เป็น ภาพสะท้อนของปัญหาสังคมไทย ที่สั่งสมมานาน
    วัฒนธรรมรับน้องที่ขาดจรรยาบรรณ สร้างเงื่อนไขของการยอมรับผ่านความรุนแรง อวดอำนาจเหนือผู้อื่น

    🧠 คำถามที่ต้องถามคือ...

    👉 วัฒนธรรมที่ต้องมีคนตาย ถึงจะได้รับการยอมรับ เราจะยังเรียกมันว่า “วัฒนธรรม” ได้อีกหรือ?

    🟣 บทสรุป ความยุติธรรม และภารกิจต่อไปของสังคม คดีนี้ไม่เพียงปิดฉากด้วย “คำสั่งประหารชีวิต” แต่มันคือเสียงร้องของสังคมที่ว่า…

    🔊 ถึงเวลา “ล้มล้างวัฒนธรรมพิการ”
    🔊 ถึงเวลาทบทวนระบบสถาบัน ที่หล่อหลอมความรุนแรงให้เป็นเรื่องปกติ
    🔊 ถึงเวลาสร้างสังคมที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 281803 มี.ค. 2568

    📢 #จุดจบวัฒนธรรมพิการ #คดีครูเจี๊ยบ #น้องหยอดอุเทน #อนาวินแก้วเก็บ #ประหารชีวิต #อาชญากรรมไทย #ยิงกลางกรุง #รับน้องผิดๆ #ยุติธรรมไทย #ตำรวจไทยไล่ล่า
    จุดจบวัฒนธรรมพิการ ศาลสั่งประหาร! “อั้ม-อนาวิน แก้วเก็บ” มือยิง “ครูเจี๊ยบ-น้องหยอด” ✍️ จากวัฒนธรรมรับน้องผิดเพี้ยน สู่บทสรุปคดีสะเทือนขวัญ วัยรุ่นไทยควรได้บทเรียนอะไร จากโศกนาฏกรรมนี้? ศาลสั่งประหาร “อั้ม-อนาวิน” คดียิง “ครูเจี๊ยบ-น้องหยอด” สะเทือนใจทั้งประเทศ จุดจบวัฒนธรรมพิการต้องจบที่รุ่นเรา เหยื่อบริสุทธิ์จากวัฒนธรรมรับน้องผิดๆ จุดเริ่มต้นของการล้มล้างความรุนแรง แฝงในระบบการศึกษาไทย 🔵 ความสูญเสียที่ต้องไม่สูญเปล่า วันที่ 28 มีนาคม 2568 กลายเป็นวันที่หลายคนจดจำ เมื่อศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำพิพากษาชั้นต้นให้ “ประหารชีวิตนายอนาวิน แก้วเก็บ” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “อั้ม” มือยิงผู้บริสุทธิ์สองราย ได้แก่ “ครูเจี๊ยบ” และ “น้องหยอด” จากเหตุการณ์เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2566 เหตุการณ์นี้ไม่ใช่แค่ “คดีฆาตกรรม” แต่สะท้อนปัญหาฝังลึกในสังคม คือ “วัฒนธรรมรับน้องอันรุนแรง” ที่ปลูกฝังความเชื่อผิดๆ และส่งต่อกันมาโดยไร้การตรวจสอบ ❌ 🔴 “ครูเจี๊ยบ-น้องหยอด” ผู้บริสุทธิ์ที่ไม่มีวันกลับมา คดีเริ่มต้นจากความตั้งใจของกลุ่มอดีตเด็กช่าง ที่ต้องการ “สร้างผลงาน” เพื่อไปอวดในวันรับน้องของสถาบันแห่งหนึ่ง โดยนายอนาวิน วางแผนมาก่อนแล้วว่า จะก่อเหตุในวันที่ 11 พ.ย. 2566 ซึ่งเป็นวันก่อนวันรับน้อง 1 วัน 📍 สถานที่เกิดเหตุ หน้าธนาคาร TTB สาขาคลองเตย ใจกลางกรุงเทพฯ 🔫 เหยื่อ - นางสาวศิรดา สินประเสริฐ หรือครูเจี๊ยบ อายุ 45 ปี ครูสอนคอมพิวเตอร์ โรงเรียนพระหฤทัยคอนเวนต์ - นายธนสรณ์ ห้องสวัสดิ์ หรือน้องหยอด อายุ 19 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย การยิงเกิดจาก “กระสุนพลาดเป้า” ซึ่งเดิมทีตั้งใจจะยิงน้องหยอด แต่กลับทำให้ครูเจี๊ยบเสียชีวิตทันที 😢 🟠 บทเรียนจากการล่า 24 ผู้ต้องหา ปฏิบัติการ “ปิดเมือง” หลังเกิดเหตุ ตำรวจเปิดปฏิบัติการครั้งใหญ่ “ปิดเมืองล่ามือยิง” ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ใช้เวลากว่า 1 เดือน กว่าจะจับตัวผู้ต้องหาทั้งหมด 24 คนจาก 26 หมายจับ 💣 🔍 ตรวจสอบกล้องวงจรกว่า 1,000 ตัว 🚔 ปิดล้อม 14 จุดทั่วกรุงและปริมณฑล 🔫 ตรวจสอบกลุ่มแชตลับ 103 คน มีแผนฆ่า มีระบบดูแลคนใน 📱 ใช้ไลน์กลุ่มลับ 84 คน วางแผนคล้าย "องค์กรอาชญากรรม" หนึ่งในตำรวจสืบสวนเล่าว่า การไล่ล่าครั้งนี้ “ยิ่งกว่านิยายไล่ล่าตี๋ใหญ่” เพราะผู้ต้องหาหนีอย่างแนบเนียน เปลี่ยนสีรถ, เปลี่ยนทะเบียน, เปลี่ยนเสื้อผ้า, วางจุดลวงสับสนเจ้าหน้าที่ 🟡 จุดแตกหัก จับกุม “อั้ม-อนาวิน” บนดอยปุย 🎯 หลังไล่ล่าจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ตำรวจไล่ติดตามจนกระทั่งพบตัว “อนาวิน” พร้อม “กฤติ” เพื่อนร่วมขบวนการ ที่กำลังนอนอยู่ในเต็นท์บนดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเช้าของวันที่ 19 ธันวาคม 2566 👮‍♂️ ตำรวจคุกเข่าร้องไห้ด้วยความดีใจ หลังจากตามล่ามา 1 เดือนเต็ม 🥹 🟢 ศาลตัดสิน “ประหารชีวิต” เพื่อยุติวัฏจักร วันที่ 28 มีนาคม 2568 ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษา “ประหารชีวิตนายอนาวิน แก้วเก็บ” พร้อมสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหาย แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต 6 ล้านบาท 👉 ความผิดตามกฎหมาย - ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน - มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต - ยิงปืนในที่ชุมชน - สมคบก่ออาชญากรรม 🔵 วัฒนธรรมรับน้อง = จุดเริ่มของโศกนาฏกรรม จากการสอบปากคำ “อั้ม-อนาวิน” ยอมรับว่า ต้องการสร้าง “ผลงาน” เพื่อเอาไปโชว์ในวันรับน้อง ซึ่งมาจากการปลูกฝังของรุ่นพี่ 💣 พร้อมมีการพูดคุยผ่านไลน์กลุ่มลับว่า “ใครฆ่าอริได้ จะเป็นฮีโร่ของกลุ่ม” “ขอแสดงความยินดีกับน้อง ช.ก... ที่พาน้องไปเกิดได้อย่างสมศักดิ์ศรีช่างกล” นี่คือคำพูดในแชตลับที่ชวนให้ขนลุก 😨 มันไม่ใช่แค่ “การแกล้ง” หรือ “กิจกรรมรุ่นพี่-รุ่นน้อง” อีกต่อไป แต่เป็นการหล่อหลอมความรุนแรง 🔴 จุดจบของ “วัฒนธรรมพิการ” ต้องจบที่รุ่นเรา คดีนี้เป็น ภาพสะท้อนของปัญหาสังคมไทย ที่สั่งสมมานาน วัฒนธรรมรับน้องที่ขาดจรรยาบรรณ สร้างเงื่อนไขของการยอมรับผ่านความรุนแรง อวดอำนาจเหนือผู้อื่น 🧠 คำถามที่ต้องถามคือ... 👉 วัฒนธรรมที่ต้องมีคนตาย ถึงจะได้รับการยอมรับ เราจะยังเรียกมันว่า “วัฒนธรรม” ได้อีกหรือ? 🟣 บทสรุป ความยุติธรรม และภารกิจต่อไปของสังคม คดีนี้ไม่เพียงปิดฉากด้วย “คำสั่งประหารชีวิต” แต่มันคือเสียงร้องของสังคมที่ว่า… 🔊 ถึงเวลา “ล้มล้างวัฒนธรรมพิการ” 🔊 ถึงเวลาทบทวนระบบสถาบัน ที่หล่อหลอมความรุนแรงให้เป็นเรื่องปกติ 🔊 ถึงเวลาสร้างสังคมที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 281803 มี.ค. 2568 📢 #จุดจบวัฒนธรรมพิการ #คดีครูเจี๊ยบ #น้องหยอดอุเทน #อนาวินแก้วเก็บ #ประหารชีวิต #อาชญากรรมไทย #ยิงกลางกรุง #รับน้องผิดๆ #ยุติธรรมไทย #ตำรวจไทยไล่ล่า
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 733 มุมมอง 0 รีวิว
  • **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน

    เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’

    ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา

    ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร

    กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี

    เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น

    เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง

    บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ)

    Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน)

    เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล

    เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง

    ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน

    บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://news.agentm.tw/310261/
    https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00
    https://www.yeeyi.com/news/details/629504/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/李白/1043
    https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719
    http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259
    https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904
    https://www.sohu.com/a/538839040_355475
    http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211#

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ) Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน) เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223 Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.agentm.tw/310261/ https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00 https://www.yeeyi.com/news/details/629504/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/李白/1043 https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719 http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259 https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904 https://www.sohu.com/a/538839040_355475 http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211# #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 785 มุมมอง 0 รีวิว
  • สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจเคยขอให้เขียนเกี่ยวกับวลีจีนที่มาจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ วันนี้ Storyฯ จะมาคุยเกี่ยวกับคำพังเพยที่หลายท่านต้องร้อง “อ๋อ!” ซึ่งก็คือ ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ (หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ / 狸猫换太子) หรือที่แฟนคลับเปาบุ้นจิ้นต้องเคยได้ยินชื่อตอน ‘คดีสับเปลี่ยนพระโอรส’

    เป็นคำพังเพยที่ไม่ได้มาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ แต่เป็นการอ้างอิงเรื่องเล่าที่มีตัวละครจากประวัติศาสตร์ แรกเริ่มเป็นละครงิ้วในสมัยราชวงศ์หยวน ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของนวนิยาย <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> (ซ้านเสียอู่อี้ / 三俠五義) ที่ประพันธ์ขึ้นโดยสืออวี้คุ้น ในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนอิงประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ่งเดินเรื่องโดยเปาบุ้นจิ้น และต่อมาถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์หลายครั้ง

    ในเนื้อความเดิมจาก <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> นั้น กล่าวถึงพระนางหลิวเอ๋อ ซึ่งก็คือพระอัครมเหสีในองค์ซ่งเจินจง และต่อมาเป็นไทเฮาและผู้สำเร็จราชการแทนองค์ซ่งเหรินจงเป็นเวลาเก้าปี (ค.ศ. 1022–1031) โดยเล่าว่าพระนางหลิวเอ๋อริษยาพระชายาหลี่เฉินที่ได้ความรักจากองค์ซ่งเจินจง และต้องการรักษาราชอำนาจแต่แท้งลูก จึงเอาศพแมวป่าถลกหนังออกสลับไปเป็นลูกของพระชายาหลี่ที่เพิ่งคลอดออกมา แล้วสลับเอาลูกของพระชายาหลี่มาเป็นลูกของตนเพื่อว่าเด็กจะได้เป็นองค์ชายรัชทายาทและขึ้นครองราชย์ต่อไป ส่วนพระชายาหลี่เฉินนั้นก็ถูกจองจำในตำหนักเย็นเพราะคลอดลูกออกมาเป็นสัตว์ประหลาด ต่อมาเปาบุ้นจิ้นสืบสวนจนปรากฏข้อเท็จจริง (ขออภัยที่ไม่ใช้ราชาศัพท์)

    แต่ในละครเรื่อง <จอมนางแห่งวังหลัง> ได้มีการนำเสนออีกในแง่มุม ว่าเรื่องราวการสลับองค์ชายเป็นแผนขององค์ฮ่องเต้ซ่งเจินจงเพื่อไม่ให้ราชอำนาจในราชสำนักสั่นคลอน เรียกได้ว่าลบภาพลักษณ์ตัวร้ายของพระนางหลิวเอ๋อออกไปได้ รายละเอียดความเป็นมาเป็นอย่างไร ติดตามดูกันได้ในละครเรื่องนี้

    มีคนเคยวิเคราะห์แล้วว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ เป็นเรื่องที่มีความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์หลายประเด็น เช่นว่า
    – ตอนที่องค์ซ่งเหรินจงสืบหาความจริงเกี่ยวกับแม่แท้ๆ นั้น เปาบุ้นจิ้นยังไม่เข้ารับราชการ
    – พระนางหลิวเอ๋อไม่จำเป็นต้องสลับลูกเพราะนางเองในตอนนั้นมีฐานอำนาจที่มั่นคงมากแล้ว อีกทั้งนางพบรักกับองค์ซ่งเจินจงมานานก่อนหน้านั้น และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าฮ่องเต้ทรงโปรดปรานพระชายาหลี่เฉินมากกว่า
    – พระนางหลิวเอ๋อจัดงานศพพระชายาหลี่เฉินให้ตามพิธีการของอัครมเหสี ไม่ใช่ชายาทั่วไป

    เรื่องราวที่แท้จริงตามประวัติศาสตร์เป็นอย่างไรไม่ทราบได้ แต่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่าพระนางหลิวเอ๋อใช้พระราชอำนาจในการบริหารบ้านเมืองได้ดี เป็นอีกหนึ่งสตรีเหล็กแห่งประวัติศาสตร์จีน และเรื่องสับเปลี่ยนพระโอรสนี้กลายเป็นนิทานปรำปราและเป็นที่มาของคำพังเพยที่ว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ หรือ ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’

    ในวลี ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ นี้ Storyฯ แปลคำว่า ‘หลีเม้า’ เป็นแมวป่า แต่จริงๆ แล้วมันหน้าตาเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ เพราะบ้างบรรยายว่ามันเป็นแมวลายดาว (Leopard Cat) และบ้างว่ามันเป็นแมวชะมด (Civet Cat) หน้าตาต่างกันค่อนข้างมาก เลยแปะรูปมาให้ดูเป็นการเปรียบเทียบ

    เล่ามาเสียยืดยาว สรุป ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ หมายถึงอะไร? เป็นคำพังเพยที่หมายความว่า เอาของปลอมมาสลับเปลี่ยนแทนของจริง หรือที่บ้านเราอาจเรียกว่า ‘ย้อมแมวขาย’ นั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=efb5598dede9bd9a810a7272
    https://www.163.com/dy/article/G72T9QTQ05179OJ2.html
    http://www.china.org.cn/english/scitech/67652.htm
    https://felids.wordpress.com/2011/12/14/cats-in-china-leopard-cat/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.baike.com/wikiid/8060072274706103379?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=4mgrmib6ruo000
    http://k.sina.com.cn/article_5863047530_15d77016a00100jl1w.html?from=history#/
    https://new.qq.com/rain/a/20211209A08QHG00

    #จอมนางแห่งวังหลัง #หลิวเอ๋อ #สับเปลี่ยนพระโอรส #เปาบุ้นจิ้น #หลีเม้า #แมวป่าจีน #หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ
    สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจเคยขอให้เขียนเกี่ยวกับวลีจีนที่มาจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ วันนี้ Storyฯ จะมาคุยเกี่ยวกับคำพังเพยที่หลายท่านต้องร้อง “อ๋อ!” ซึ่งก็คือ ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ (หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ / 狸猫换太子) หรือที่แฟนคลับเปาบุ้นจิ้นต้องเคยได้ยินชื่อตอน ‘คดีสับเปลี่ยนพระโอรส’ เป็นคำพังเพยที่ไม่ได้มาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ แต่เป็นการอ้างอิงเรื่องเล่าที่มีตัวละครจากประวัติศาสตร์ แรกเริ่มเป็นละครงิ้วในสมัยราชวงศ์หยวน ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของนวนิยาย <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> (ซ้านเสียอู่อี้ / 三俠五義) ที่ประพันธ์ขึ้นโดยสืออวี้คุ้น ในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนอิงประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ่งเดินเรื่องโดยเปาบุ้นจิ้น และต่อมาถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์หลายครั้ง ในเนื้อความเดิมจาก <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> นั้น กล่าวถึงพระนางหลิวเอ๋อ ซึ่งก็คือพระอัครมเหสีในองค์ซ่งเจินจง และต่อมาเป็นไทเฮาและผู้สำเร็จราชการแทนองค์ซ่งเหรินจงเป็นเวลาเก้าปี (ค.ศ. 1022–1031) โดยเล่าว่าพระนางหลิวเอ๋อริษยาพระชายาหลี่เฉินที่ได้ความรักจากองค์ซ่งเจินจง และต้องการรักษาราชอำนาจแต่แท้งลูก จึงเอาศพแมวป่าถลกหนังออกสลับไปเป็นลูกของพระชายาหลี่ที่เพิ่งคลอดออกมา แล้วสลับเอาลูกของพระชายาหลี่มาเป็นลูกของตนเพื่อว่าเด็กจะได้เป็นองค์ชายรัชทายาทและขึ้นครองราชย์ต่อไป ส่วนพระชายาหลี่เฉินนั้นก็ถูกจองจำในตำหนักเย็นเพราะคลอดลูกออกมาเป็นสัตว์ประหลาด ต่อมาเปาบุ้นจิ้นสืบสวนจนปรากฏข้อเท็จจริง (ขออภัยที่ไม่ใช้ราชาศัพท์) แต่ในละครเรื่อง <จอมนางแห่งวังหลัง> ได้มีการนำเสนออีกในแง่มุม ว่าเรื่องราวการสลับองค์ชายเป็นแผนขององค์ฮ่องเต้ซ่งเจินจงเพื่อไม่ให้ราชอำนาจในราชสำนักสั่นคลอน เรียกได้ว่าลบภาพลักษณ์ตัวร้ายของพระนางหลิวเอ๋อออกไปได้ รายละเอียดความเป็นมาเป็นอย่างไร ติดตามดูกันได้ในละครเรื่องนี้ มีคนเคยวิเคราะห์แล้วว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ เป็นเรื่องที่มีความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์หลายประเด็น เช่นว่า – ตอนที่องค์ซ่งเหรินจงสืบหาความจริงเกี่ยวกับแม่แท้ๆ นั้น เปาบุ้นจิ้นยังไม่เข้ารับราชการ – พระนางหลิวเอ๋อไม่จำเป็นต้องสลับลูกเพราะนางเองในตอนนั้นมีฐานอำนาจที่มั่นคงมากแล้ว อีกทั้งนางพบรักกับองค์ซ่งเจินจงมานานก่อนหน้านั้น และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าฮ่องเต้ทรงโปรดปรานพระชายาหลี่เฉินมากกว่า – พระนางหลิวเอ๋อจัดงานศพพระชายาหลี่เฉินให้ตามพิธีการของอัครมเหสี ไม่ใช่ชายาทั่วไป เรื่องราวที่แท้จริงตามประวัติศาสตร์เป็นอย่างไรไม่ทราบได้ แต่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่าพระนางหลิวเอ๋อใช้พระราชอำนาจในการบริหารบ้านเมืองได้ดี เป็นอีกหนึ่งสตรีเหล็กแห่งประวัติศาสตร์จีน และเรื่องสับเปลี่ยนพระโอรสนี้กลายเป็นนิทานปรำปราและเป็นที่มาของคำพังเพยที่ว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ หรือ ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ ในวลี ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ นี้ Storyฯ แปลคำว่า ‘หลีเม้า’ เป็นแมวป่า แต่จริงๆ แล้วมันหน้าตาเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ เพราะบ้างบรรยายว่ามันเป็นแมวลายดาว (Leopard Cat) และบ้างว่ามันเป็นแมวชะมด (Civet Cat) หน้าตาต่างกันค่อนข้างมาก เลยแปะรูปมาให้ดูเป็นการเปรียบเทียบ เล่ามาเสียยืดยาว สรุป ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ หมายถึงอะไร? เป็นคำพังเพยที่หมายความว่า เอาของปลอมมาสลับเปลี่ยนแทนของจริง หรือที่บ้านเราอาจเรียกว่า ‘ย้อมแมวขาย’ นั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=efb5598dede9bd9a810a7272 https://www.163.com/dy/article/G72T9QTQ05179OJ2.html http://www.china.org.cn/english/scitech/67652.htm https://felids.wordpress.com/2011/12/14/cats-in-china-leopard-cat/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.baike.com/wikiid/8060072274706103379?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=4mgrmib6ruo000 http://k.sina.com.cn/article_5863047530_15d77016a00100jl1w.html?from=history#/ https://new.qq.com/rain/a/20211209A08QHG00 #จอมนางแห่งวังหลัง #หลิวเอ๋อ #สับเปลี่ยนพระโอรส #เปาบุ้นจิ้น #หลีเม้า #แมวป่าจีน #หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ
    《大宋宫词》评分下滑惨烈,古装剧只有唯美画风是不够的_百科TA说
    百度百科是一部内容开放、自由的网络百科全书,旨在创造一个涵盖所有领域知识,服务所有互联网用户的中文知识性百科全书。在这里你可以参与词条编辑,分享贡献你的知识。
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 584 มุมมอง 0 รีวิว
  • สื่อชื่อมาตรฐาน แต่คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน แถมยังให้พื้นที่สส.พรรคส้มโจมตีกองทัพด้วยนิยายไอโอ แล้วที่มันบอกเองว่า แม้แต่นายกฯ ยังไม่รู้ แล้วมึงเอามาอภิปรายเค้าได้ไง
    #คิงส์โพธิ์แดง
    สื่อชื่อมาตรฐาน แต่คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน แถมยังให้พื้นที่สส.พรรคส้มโจมตีกองทัพด้วยนิยายไอโอ แล้วที่มันบอกเองว่า แม้แต่นายกฯ ยังไม่รู้ แล้วมึงเอามาอภิปรายเค้าได้ไง #คิงส์โพธิ์แดง
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 422 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มาคุยในเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งเคยถามมา สืบเนื่องจากเราเห็นละครจีนโบราณหลายเรื่องมีการกินน้ำแกงคุมกำเนิดหรือแม้แต่น้ำแกงที่ทำให้แท้งลูก อย่างตัวอย่างในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่หนึ่งในตัวละครหลักคืออนุฉินถูกบังคับให้กินน้ำแกงคุมกำเนิดมาตลอดจนภายหลังเมื่อตั้งครรภ์ก็แท้งลูกและไม่สามารถมีลูกได้อีก คำถามคือ มียาอย่างนี้จริงๆ หรือ?

    คำตอบคือ ‘น่าจะมี’ เพราะมีสูตรยาจีนโบราณหลายฉบับที่สืบทอดกันมาจวบจนปัจจุบัน เพียงแต่ว่าไม่มีใครออกมายืนยันว่าได้ทดลองและได้ผลจริง สาเหตุก็เพราะว่าปัจจุบันมีวิธีและยาคุมกำเนิดหลากหลาย และยาสูตรโบราณเหล่านี้อาจมีผลร้ายในระยะยาวต่อร่างกายได้ ดังเช่นที่ตำรายาจีนโบราณเคยกล่าวไว้ว่า ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ (是药三分毒) อันหมายความว่า ยาอาจให้คุณและให้โทษได้

    จีนโบราณมีวิธีคุมกำเนิดหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการกินน้ำแกงป้องกันการมีบุตร (ปี้จื่อทั้ง / 避子汤) หรือสูตรยาที่หยุดครรภ์ (ต้วนฉ่านฟ้าง / 断产方) อย่างเช่นใน ‘ตำราครรภ์’ ของเต๋อเจิ๊นฉางในสมัยสุย-ถัง หรือ ‘สูตรยาสำคัญของสตรี’ ของซุ้นซื้อเหมี่ยว แพทย์สมัยถังที่เลื่องชื่อในประวัติศาสตร์จีน

    เท่าที่ Storyฯ หาข้อมูลได้ พบว่ามีสูตรหลากหลาย แต่พอจะสรุปจากตัวยาหลักได้ว่าสรรพคุณโดยรวมของยาคุมกำเนิดและยาหยุดครรภ์เหล่านี้ก็คือ การเพิ่มฤทธิ์ธาตุหยิน (หรือฤทธิ์เย็น) ภายในร่างกาย และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ขับลม ขับเลือดเสีย ซึ่งมียาสมุนไพรจีนหลายตัวที่ให้สรรพคุณเหล่านี้ และหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายจะใช้เป็นยารักษาหรือยาบำรุงได้ เช่นว่า โบราณใช้เป็นยาก่อนตั้งครรภ์เพื่อล้างมดลูกให้สะอาดและบำรุงชี่ปรับสภาพร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น และยาหลังคลอดบุตรหรือหลังประจำเดือนหมดเพื่อขับเลือดเสียที่เกาะอยู่บนผนังมดลูกออกมา ตัวอย่างของยาที่อยู่ในกลุ่มประเภทนี้ก็มีหลายชนิด (ดูรูปตัวอย่าง) เช่น ต่อมหางกวางชะมด ดอกคำฝอย ชวนเกียง น้ำมันที่สกัดจากผักกาดก้านขาว (canola oil) เป็นต้น แน่นอนว่าสูตรยาแต่ละขนานจะประกอบด้วยตัวยาหลากชนิด จึงอาจมีสรรพคุณในด้านอื่นด้วย เช่น ขับลม ลดสภาวะอักเสบในร่างกาย ลดการจับตัวของไขมัน ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น เป็นต้น

    แต่ ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ หากรับประทานต่อเนื่องระยะยาวอาจทำให้มีภาวะโลหิตจาง ร่างกายอ่อนเพลียง่าย มดลูกทำงานไม่ปกติและประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ และหากรับประทานในช่วงตั้งครรภ์จะขับลิ่มเลือดและทำให้มดลูกบีบตัว ทำให้แท้งลูกได้ ยกตัวอย่างคือดอกคำฝอย เพื่อนเพจที่ดื่มชาดอกคำฝอยจะทราบดีถึงคำเตือนว่าห้ามดื่มในระหว่างตั้งครรภ์

    เพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับยาสมุนไพรและยาจีนจะทราบว่า ยาเหล่านี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ผลดังที่ต้องการ เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อาหารอย่างอื่นที่เรารับประทานว่ามีฤทธิค้านกัน หรือมีฤทธิเสริมกันแรงเกินไปหรือไม่ และขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน

    ดังนั้นยาสูตร ‘ปี้จื่อทั้ง’ หรือ ‘ต้วนฉ่านฟ้าง’ ที่สืบทอดมาแต่โบราณเหล่านี้ จะออกฤทธิ์ทันควันเหมือนที่เราเห็นในละครหรือไม่? หรือว่าออกฤทธิ์ได้จริงแบบที่เห็นในละครหรือไม่? Storyฯ ก็ไม่ทราบได้ และไม่มีความรู้ลึกซึ้งถึงการรักษาแบบแผนจีนพอที่จะให้ความเห็น แต่ด้วยหลักการ ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ เราจึงมักเห็นพล็อตละคร/นิยายที่มีการปรับสัดส่วนของสมุนไพรในสูตรยาหรือเพิ่มยาตัวอื่นเข้าไปให้กลายเป็นพิษนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://inf.news/entertainment/b6ddc93cc4f9a720bf5c3fd752c4e1b9.html
    https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802
    https://www.sohu.com/a/251057863_100011360
    https://www.sohu.com/a/249476484_242776
    https://www.sohu.com/a/525891685_121119111
    https://www.huachiewtcm.com/content/8036/ชวนซฺยง-川芎-ข้อมูลสมุนไพรจีน
    https://baike.baidu.com/item/红花/16556131
    https://zh.wikipedia.org/zh-hant/麝香

    #ร้อยรักปักดวงใจ #ปี้จื่อทัง #น้ำแกงห้ามลูก #สมุนไพรในละครจีน
    วันนี้มาคุยในเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งเคยถามมา สืบเนื่องจากเราเห็นละครจีนโบราณหลายเรื่องมีการกินน้ำแกงคุมกำเนิดหรือแม้แต่น้ำแกงที่ทำให้แท้งลูก อย่างตัวอย่างในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่หนึ่งในตัวละครหลักคืออนุฉินถูกบังคับให้กินน้ำแกงคุมกำเนิดมาตลอดจนภายหลังเมื่อตั้งครรภ์ก็แท้งลูกและไม่สามารถมีลูกได้อีก คำถามคือ มียาอย่างนี้จริงๆ หรือ? คำตอบคือ ‘น่าจะมี’ เพราะมีสูตรยาจีนโบราณหลายฉบับที่สืบทอดกันมาจวบจนปัจจุบัน เพียงแต่ว่าไม่มีใครออกมายืนยันว่าได้ทดลองและได้ผลจริง สาเหตุก็เพราะว่าปัจจุบันมีวิธีและยาคุมกำเนิดหลากหลาย และยาสูตรโบราณเหล่านี้อาจมีผลร้ายในระยะยาวต่อร่างกายได้ ดังเช่นที่ตำรายาจีนโบราณเคยกล่าวไว้ว่า ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ (是药三分毒) อันหมายความว่า ยาอาจให้คุณและให้โทษได้ จีนโบราณมีวิธีคุมกำเนิดหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการกินน้ำแกงป้องกันการมีบุตร (ปี้จื่อทั้ง / 避子汤) หรือสูตรยาที่หยุดครรภ์ (ต้วนฉ่านฟ้าง / 断产方) อย่างเช่นใน ‘ตำราครรภ์’ ของเต๋อเจิ๊นฉางในสมัยสุย-ถัง หรือ ‘สูตรยาสำคัญของสตรี’ ของซุ้นซื้อเหมี่ยว แพทย์สมัยถังที่เลื่องชื่อในประวัติศาสตร์จีน เท่าที่ Storyฯ หาข้อมูลได้ พบว่ามีสูตรหลากหลาย แต่พอจะสรุปจากตัวยาหลักได้ว่าสรรพคุณโดยรวมของยาคุมกำเนิดและยาหยุดครรภ์เหล่านี้ก็คือ การเพิ่มฤทธิ์ธาตุหยิน (หรือฤทธิ์เย็น) ภายในร่างกาย และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ขับลม ขับเลือดเสีย ซึ่งมียาสมุนไพรจีนหลายตัวที่ให้สรรพคุณเหล่านี้ และหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายจะใช้เป็นยารักษาหรือยาบำรุงได้ เช่นว่า โบราณใช้เป็นยาก่อนตั้งครรภ์เพื่อล้างมดลูกให้สะอาดและบำรุงชี่ปรับสภาพร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น และยาหลังคลอดบุตรหรือหลังประจำเดือนหมดเพื่อขับเลือดเสียที่เกาะอยู่บนผนังมดลูกออกมา ตัวอย่างของยาที่อยู่ในกลุ่มประเภทนี้ก็มีหลายชนิด (ดูรูปตัวอย่าง) เช่น ต่อมหางกวางชะมด ดอกคำฝอย ชวนเกียง น้ำมันที่สกัดจากผักกาดก้านขาว (canola oil) เป็นต้น แน่นอนว่าสูตรยาแต่ละขนานจะประกอบด้วยตัวยาหลากชนิด จึงอาจมีสรรพคุณในด้านอื่นด้วย เช่น ขับลม ลดสภาวะอักเสบในร่างกาย ลดการจับตัวของไขมัน ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น เป็นต้น แต่ ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ หากรับประทานต่อเนื่องระยะยาวอาจทำให้มีภาวะโลหิตจาง ร่างกายอ่อนเพลียง่าย มดลูกทำงานไม่ปกติและประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ และหากรับประทานในช่วงตั้งครรภ์จะขับลิ่มเลือดและทำให้มดลูกบีบตัว ทำให้แท้งลูกได้ ยกตัวอย่างคือดอกคำฝอย เพื่อนเพจที่ดื่มชาดอกคำฝอยจะทราบดีถึงคำเตือนว่าห้ามดื่มในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับยาสมุนไพรและยาจีนจะทราบว่า ยาเหล่านี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ผลดังที่ต้องการ เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อาหารอย่างอื่นที่เรารับประทานว่ามีฤทธิค้านกัน หรือมีฤทธิเสริมกันแรงเกินไปหรือไม่ และขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน ดังนั้นยาสูตร ‘ปี้จื่อทั้ง’ หรือ ‘ต้วนฉ่านฟ้าง’ ที่สืบทอดมาแต่โบราณเหล่านี้ จะออกฤทธิ์ทันควันเหมือนที่เราเห็นในละครหรือไม่? หรือว่าออกฤทธิ์ได้จริงแบบที่เห็นในละครหรือไม่? Storyฯ ก็ไม่ทราบได้ และไม่มีความรู้ลึกซึ้งถึงการรักษาแบบแผนจีนพอที่จะให้ความเห็น แต่ด้วยหลักการ ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ เราจึงมักเห็นพล็อตละคร/นิยายที่มีการปรับสัดส่วนของสมุนไพรในสูตรยาหรือเพิ่มยาตัวอื่นเข้าไปให้กลายเป็นพิษนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://inf.news/entertainment/b6ddc93cc4f9a720bf5c3fd752c4e1b9.html https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802 https://www.sohu.com/a/251057863_100011360 https://www.sohu.com/a/249476484_242776 https://www.sohu.com/a/525891685_121119111 https://www.huachiewtcm.com/content/8036/ชวนซฺยง-川芎-ข้อมูลสมุนไพรจีน https://baike.baidu.com/item/红花/16556131 https://zh.wikipedia.org/zh-hant/麝香 #ร้อยรักปักดวงใจ #ปี้จื่อทัง #น้ำแกงห้ามลูก #สมุนไพรในละครจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 506 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วงนี้ Storyฯ ย้อนไปดูซีรีส์เก่า มีฉากหนึ่งในเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> ที่เตะตา เพื่อนเพจที่เคยดูคงจำได้ว่าพระนางของเรื่องต้องผ่านด่านกลหมากปริวรรตเพื่อช่วงชิงสุดยอดวิชาหลันอิงปี้เยวี่ย ซึ่งเป็นการต่อสู้กับจิตใจของตนเอง โดยในด่านสุดท้ายนั้นพระเอกต้องตัดสายใยที่อยู่ในใจทั้งหมดทิ้ง แต่พระเอกเลือกที่จะเหลือสายใยไว้หนึ่งเส้นซึ่งก็คือสายใยที่มีต่อนางเอก พร้อมกับวลีที่ว่า “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม สายใยความวุ่นวายแห่งทางโลกสามพันเส้น ข้าเหลือไว้เส้นหนึ่งจะเป็นไรไป?” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า>

    วันนี้มาคุยกันสั้นๆ เรื่องวลี “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม” (รั่วสุ่ยซันเชียน จื๋อฉวี่อี้เผียว / 弱水三千只取一瓢) (หมายเหตุ ซันเชียน แปลว่า สามพัน เป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงสามพันลี้)

    วลีนี้เคยถูกแปลไว้ว่า “แม่น้ำรั่วสามพันลี้ หนึ่งจอกดับกระหาย” เพื่อนเพจบางท่านอาจงงว่ามันต่างกันหรือไม่อย่างไร ขออธิบายก่อนว่า คำว่า ‘รั่วสุ่ย’ ในโบราณใช้หมายถึงลำธารที่อันตราบไม่สามารถใช้สัญจรได้ และ ‘รั่วสุ่ย’ ยังเป็นชื่อแม่น้ำสายหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ซานไห่จิงหรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ และแม่น้ำสายนี้ได้ถูกแปลมาเป็นภาษาไทยและอังกฤษว่า ‘แม่น้ำรั่ว’ นั่นเอง

    วลีนี้มีที่มาจากคำสอนทางศาสนาพุทธ เป็นนิทานว่าชายผู้ที่กำลังจะขาดน้ำตายเมื่อได้เห็นน้ำในลำธารก็โอดครวญอย่างเสียดายว่าน้ำทั้งลำธารจะดื่มอย่างไรหมด พระพุทธเจ้าจึงสอนว่าในชีวิตเรานั้นอาจพานพบหลากหลายสรรพสิ่งที่ดีงาม แต่เราไม่จำเป็นต้องครอบครองได้ทั้งหมด เพียงมีสิ่งเล็กๆ ที่สำคัญก็เพียงพอแล้ว ดังวลีนี้ที่เปรียบเปรยว่า น้ำในสายธารที่ทอดยาว ไม่จำเป็นต้องเอาน้ำมาดื่มใช้ให้หมด ขอเพียงหนึ่งชามก็พอยังชีพแล้ว

    แม้ว่าคำว่า ‘รั่วสุ่ย’ จะมีมาแต่โบราณ แต่วรรคที่ว่า ‘รั่วสุ่ยซันเชียน’ หรือ ‘ธารน้ำสามพัน(ลี้)’ ในรูปประโยคอย่างนี้ แรกปรากฏให้เห็นในอมตะวรรณกรรมเรื่อง <ความฝันในหอแดง> โดยเป็นตอนที่พระเอกเจี๋ยเป่าอวี้ใช้วลีเต็ม “แม้ธารน้ำยาวสามพันลี้ ข้าก็จะขอตักเพียงหนึ่งชาม” เพื่อบอกต่อนางเอกหลินไต้อวี้ว่า แม้จะมีสตรีอื่นรายล้อมเพียงใด เขาขอเพียงนางคนเดียวมาเป็นคู่ครองก็พอใจแล้ว และต่อมาวลีนี้จึงกลายเป็นวลีอมตะที่บ่งบอกถึงรักอันมั่นคง รักเดียวใจเดียว

    และด้วยคำว่า ‘รั่วสุ่ย’ ในโบราณแปลว่าสายธารที่อันตราย จึงมีการตีความวลี “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม” นี้เพิ่มเติมด้วยว่า กว่าจะตักน้ำนั้นมาได้หนึ่งชามก็ยากแสนยาก พึงเห็นคุณค่าของมันให้จงดี

    ดังนั้น จริงๆ แล้ววลีนี้ใช้ในบริบทอื่นก็ได้ เพื่อสื่อความหมายว่า ในบรรดาสรรพสิ่งมากมาย ขอเพียงได้ในสิ่งเดียวที่ตั้งใจที่มีคุณค่ามากมายต่อจิตใจเรา ก็เพียงพอแล้ว

    Storyฯ ถือโอกาสนี้แปะรูปมาให้แฟนคลับของหยางหยางดูว่า เขาไม่เพียงกล่าววลีนี้มาแล้วในละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> แต่เมื่อปี 2010 ยังเคยแสดงเป็นเจี๋ยเป่าอวี้ ในเรื่อง <ความฝันในหอแดง> ซึ่งเป็นต้นฉบับของวลีอมตะนี้ด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://imgur.com/20Mx6mv
    http://yule.sohu.com/20160617/n454973158.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/弱水三千只取一瓢/96378
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=242a130850f0cbde411c456e&lemmaId=96378&fromLemmaModule=pcBottom&lemmaTitle=%E5%BC%B1%E6%B0%B4%E4%B8%89%E5%8D%83%E5%8F%AA%E5%8F%96%E4%B8%80%E7%93%A2&fromModule=lemma_bottom-tashuo-article
    https://www.sohu.com/a/325578545_594411

    #เทียบท้าปฐพี #แม่น้ำรั่ว #สายธารสามพันลี้
    ช่วงนี้ Storyฯ ย้อนไปดูซีรีส์เก่า มีฉากหนึ่งในเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> ที่เตะตา เพื่อนเพจที่เคยดูคงจำได้ว่าพระนางของเรื่องต้องผ่านด่านกลหมากปริวรรตเพื่อช่วงชิงสุดยอดวิชาหลันอิงปี้เยวี่ย ซึ่งเป็นการต่อสู้กับจิตใจของตนเอง โดยในด่านสุดท้ายนั้นพระเอกต้องตัดสายใยที่อยู่ในใจทั้งหมดทิ้ง แต่พระเอกเลือกที่จะเหลือสายใยไว้หนึ่งเส้นซึ่งก็คือสายใยที่มีต่อนางเอก พร้อมกับวลีที่ว่า “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม สายใยความวุ่นวายแห่งทางโลกสามพันเส้น ข้าเหลือไว้เส้นหนึ่งจะเป็นไรไป?” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า> วันนี้มาคุยกันสั้นๆ เรื่องวลี “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม” (รั่วสุ่ยซันเชียน จื๋อฉวี่อี้เผียว / 弱水三千只取一瓢) (หมายเหตุ ซันเชียน แปลว่า สามพัน เป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงสามพันลี้) วลีนี้เคยถูกแปลไว้ว่า “แม่น้ำรั่วสามพันลี้ หนึ่งจอกดับกระหาย” เพื่อนเพจบางท่านอาจงงว่ามันต่างกันหรือไม่อย่างไร ขออธิบายก่อนว่า คำว่า ‘รั่วสุ่ย’ ในโบราณใช้หมายถึงลำธารที่อันตราบไม่สามารถใช้สัญจรได้ และ ‘รั่วสุ่ย’ ยังเป็นชื่อแม่น้ำสายหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ซานไห่จิงหรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ และแม่น้ำสายนี้ได้ถูกแปลมาเป็นภาษาไทยและอังกฤษว่า ‘แม่น้ำรั่ว’ นั่นเอง วลีนี้มีที่มาจากคำสอนทางศาสนาพุทธ เป็นนิทานว่าชายผู้ที่กำลังจะขาดน้ำตายเมื่อได้เห็นน้ำในลำธารก็โอดครวญอย่างเสียดายว่าน้ำทั้งลำธารจะดื่มอย่างไรหมด พระพุทธเจ้าจึงสอนว่าในชีวิตเรานั้นอาจพานพบหลากหลายสรรพสิ่งที่ดีงาม แต่เราไม่จำเป็นต้องครอบครองได้ทั้งหมด เพียงมีสิ่งเล็กๆ ที่สำคัญก็เพียงพอแล้ว ดังวลีนี้ที่เปรียบเปรยว่า น้ำในสายธารที่ทอดยาว ไม่จำเป็นต้องเอาน้ำมาดื่มใช้ให้หมด ขอเพียงหนึ่งชามก็พอยังชีพแล้ว แม้ว่าคำว่า ‘รั่วสุ่ย’ จะมีมาแต่โบราณ แต่วรรคที่ว่า ‘รั่วสุ่ยซันเชียน’ หรือ ‘ธารน้ำสามพัน(ลี้)’ ในรูปประโยคอย่างนี้ แรกปรากฏให้เห็นในอมตะวรรณกรรมเรื่อง <ความฝันในหอแดง> โดยเป็นตอนที่พระเอกเจี๋ยเป่าอวี้ใช้วลีเต็ม “แม้ธารน้ำยาวสามพันลี้ ข้าก็จะขอตักเพียงหนึ่งชาม” เพื่อบอกต่อนางเอกหลินไต้อวี้ว่า แม้จะมีสตรีอื่นรายล้อมเพียงใด เขาขอเพียงนางคนเดียวมาเป็นคู่ครองก็พอใจแล้ว และต่อมาวลีนี้จึงกลายเป็นวลีอมตะที่บ่งบอกถึงรักอันมั่นคง รักเดียวใจเดียว และด้วยคำว่า ‘รั่วสุ่ย’ ในโบราณแปลว่าสายธารที่อันตราย จึงมีการตีความวลี “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม” นี้เพิ่มเติมด้วยว่า กว่าจะตักน้ำนั้นมาได้หนึ่งชามก็ยากแสนยาก พึงเห็นคุณค่าของมันให้จงดี ดังนั้น จริงๆ แล้ววลีนี้ใช้ในบริบทอื่นก็ได้ เพื่อสื่อความหมายว่า ในบรรดาสรรพสิ่งมากมาย ขอเพียงได้ในสิ่งเดียวที่ตั้งใจที่มีคุณค่ามากมายต่อจิตใจเรา ก็เพียงพอแล้ว Storyฯ ถือโอกาสนี้แปะรูปมาให้แฟนคลับของหยางหยางดูว่า เขาไม่เพียงกล่าววลีนี้มาแล้วในละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> แต่เมื่อปี 2010 ยังเคยแสดงเป็นเจี๋ยเป่าอวี้ ในเรื่อง <ความฝันในหอแดง> ซึ่งเป็นต้นฉบับของวลีอมตะนี้ด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://imgur.com/20Mx6mv http://yule.sohu.com/20160617/n454973158.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/弱水三千只取一瓢/96378 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=242a130850f0cbde411c456e&lemmaId=96378&fromLemmaModule=pcBottom&lemmaTitle=%E5%BC%B1%E6%B0%B4%E4%B8%89%E5%8D%83%E5%8F%AA%E5%8F%96%E4%B8%80%E7%93%A2&fromModule=lemma_bottom-tashuo-article https://www.sohu.com/a/325578545_594411 #เทียบท้าปฐพี #แม่น้ำรั่ว #สายธารสามพันลี้
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 512 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มาคุยกันเรื่องดอกเหมย (ดอกบ๊วย) ที่เพื่อนเพจเห็นบ่อยในวัฒนธรรมจีน เคยมีคนเขียนถึงความหมายของดอกเหมยไปไม่น้อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้อีกมุมมองที่แตกต่าง

    ดอกเหมยจีนมีทั้งหมดกว่า 30 สายพันธุ์หลัก (แบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยได้อีกรวมกว่า 300 ชนิด) ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดบุปผาของจีนโดยเป็นตัวแทนแห่งฤดูหนาว และเป็นดอกไม้ประจำชาติของไต้หวัน ความหมายที่มักถูกเอ่ยถึงคือความอดทนและความเพียรเพราะเป็นดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูหนาว บานทนได้ถึง 2-3 เดือน เป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและเป็นที่นิยมในช่วงตรุษจีนเพราะมันเป็นสัญญาณว่าใกล้ถึงฤดูใบไม้ผลิแล้ว

    ในซีรีย์หรือนิยายจีนเรามักจะเห็นดอกเหมยถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนแห่งความรักที่มั่นคง ดังเช่นในเรื่อง <ฝ่ามิติพิชิตบัลลังก์> (ปู้ปู้จิงซิน) ที่เหมยแดงเบ่งบานกลางหิมะ เปรียบเสมือนความรักที่มั่นคงแม้อีกฝ่ายจะไม่เหลียวแล จนStoryฯ อดรู้สึกไม่ได้ว่า หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการใช้ดอกเหมยมาเปรียบเปรยถึงความอดทนนั้น สามารถใช้ได้ในหลายบริบท

    จริงแล้วดอกเหมยใช้ในบริบทอื่นใดได้อีก?

    บทกวีโบราณหลายยุคหลายสมัยใช้ดอกเหมยเปรียบเปรยถึงการยึดมั่นในอุดมการณ์ ยกตัวอย่างมาจากบทกวีที่ชื่อว่า “เหมยฮวา” (ดอกเหมย) ผลงานของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะนักปฏิรูปและนักเศรษฐกิจชื่อดัง ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ฮ่องเต้องค์ที่หกแห่งราชวงศ์ซ่ง) แต่ภายหลังนโยบายใหม่ๆ ของเขาถูกต่อต้านอย่างแรงจากขุนนางอื่น จนสุดท้ายเขาต้องลาออกจากราชการกลับบ้านเกิดไป บทกวีนี้ถูกแต่งขึ้นในภายหลัง Storyฯ แปลและเรียบเรียงได้ดังนี้ (ขออภัยหากไม่สละสลวยนัก)
    “เหมยแตกกิ่งอยู่มุมรั้ว ผลิบานเดียวดายรับความหนาว
    แลเห็นมิใช่หิมะขาว ด้วยกรุ่นกลิ่นจางมิคลาย”
    ความนัยหมายถึงว่า อันอุดมการณ์สูงส่งนั้น ดำรงไว้ได้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอับจนเพียงใด (เช่นซอกมุมรั้วมุมกำแพง) และแม้ดูแต่ไกลขาวกลมกลืนไปกับหิมะ แต่กลิ่นหอมโชยบ่งบอกถึงตัวตน ดังนั้น ดอกเหมยในบริบทนี้หมายถึงผู้ที่ยึดมั่นในอุดมคติ ชวนให้ชื่นชมจากเนื้อแท้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ถ้านึกแบบง่ายๆ Storyฯ คงนึกถึงสำนวน “เพชรในตม”

    และมีอีกบริบทหนึ่งของดอกเหมยที่คนไม่ค่อยกล่าวถึง นั่นคือความแร้นแค้นเดียวดาย Storyฯ ยกมาเป็นตัวอย่างอีกบทกวีหนึ่งคือ “อี้เหมย” (รำลึกเหมย) ของหลี่ซันอิ่งในสมัยถัง
    “จองจำอยู่ปลายฟ้า ถวิลหาความงามแห่งวสันต์
    เหมันต์เหมยชวนชิงชัง เป็นบุปผาแห่งปีกลาย”
    - คำแปลจาก <หรูซือ... กุ้ยฮวาผลิบานในใจข้า> โดยหวินไฉ่เฟยหยาง
    โดยสองวรรคแรกบรรยายถึงคนที่จำเป็นต้องจากบ้านไปไกล ได้แต่รอคอยสิ่งดีๆ และสองวรรคสุดท้ายกล่าวถึงดอกเหมยที่ชูช่อให้ชมในความกันดารแห่งเหมันต์ แต่แล้วเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ ดอกเหมยกลับถูกรังเกียจว่าเป็นดอกไม้ที่บานตั้งแต่ฤดูหนาวปีที่แล้ว เป็นความเก่าไร้ความสดชื่น ผู้คนหันไปตื่นตาตื่นใจกับดอกไม้อื่นที่เริ่มผลิบานแทน เป็นบทกวีที่บ่งบอกถึงความขมขื่นของคนที่ถูกลืมหรือถูกมองว่าหมดประโยชน์แล้ว

    ดังนั้น Storyฯ ขอสวมวิญญาณนักประพันธ์มาสรุปให้ดังนี้:
    หากเปรียบรัก ดอกเหมยคือรักที่คงทนฟันฝ่าอุปสรรค
    หากเปรียบคน ดอกเหมยคือคนที่ยึดมั่นในคุณค่าของตนแม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย
    และธรรมชาติของดอกเหมยนั้น ดูงดงามทั้งในห้วงเวลาแห่งความสุขและในยามทุกข์
    เมื่อสุข ดอกเหมยคือความหวังและความแน่วแน่ที่จะผ่านความลำบากไปได้
    เมื่อทุกข์ ดอกเหมยคือความเดียวดายและความขมขื่นของคนที่ถูกลืม

    เพื่อนเพจดูซีรีย์และอ่านนิยายแล้ว ‘อิน’ กับดอกเหมยอย่างไรบ้างไหม? มาเล่าสู่กันฟังนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://ent.sina.com.cn/v/m/2011-03-31/14353269488.shtml
    http://5sing.kugou.com/fc/13497084.html
    http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html
    https://www.sgss8.net/tpdq/2670634/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.cmeii.com/xinwenzhongxin/2190.html
    http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_aed4fe678529.aspx
    https://www.sohu.com/a/239647354_661147

    #ดอกบ๊วย #ดอกเหมย #เหมยฮวา #อี้เหมย #รำลึกเหมย #บุปผาปีกลาย
    วันนี้มาคุยกันเรื่องดอกเหมย (ดอกบ๊วย) ที่เพื่อนเพจเห็นบ่อยในวัฒนธรรมจีน เคยมีคนเขียนถึงความหมายของดอกเหมยไปไม่น้อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้อีกมุมมองที่แตกต่าง ดอกเหมยจีนมีทั้งหมดกว่า 30 สายพันธุ์หลัก (แบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยได้อีกรวมกว่า 300 ชนิด) ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดบุปผาของจีนโดยเป็นตัวแทนแห่งฤดูหนาว และเป็นดอกไม้ประจำชาติของไต้หวัน ความหมายที่มักถูกเอ่ยถึงคือความอดทนและความเพียรเพราะเป็นดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูหนาว บานทนได้ถึง 2-3 เดือน เป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและเป็นที่นิยมในช่วงตรุษจีนเพราะมันเป็นสัญญาณว่าใกล้ถึงฤดูใบไม้ผลิแล้ว ในซีรีย์หรือนิยายจีนเรามักจะเห็นดอกเหมยถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนแห่งความรักที่มั่นคง ดังเช่นในเรื่อง <ฝ่ามิติพิชิตบัลลังก์> (ปู้ปู้จิงซิน) ที่เหมยแดงเบ่งบานกลางหิมะ เปรียบเสมือนความรักที่มั่นคงแม้อีกฝ่ายจะไม่เหลียวแล จนStoryฯ อดรู้สึกไม่ได้ว่า หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการใช้ดอกเหมยมาเปรียบเปรยถึงความอดทนนั้น สามารถใช้ได้ในหลายบริบท จริงแล้วดอกเหมยใช้ในบริบทอื่นใดได้อีก? บทกวีโบราณหลายยุคหลายสมัยใช้ดอกเหมยเปรียบเปรยถึงการยึดมั่นในอุดมการณ์ ยกตัวอย่างมาจากบทกวีที่ชื่อว่า “เหมยฮวา” (ดอกเหมย) ผลงานของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะนักปฏิรูปและนักเศรษฐกิจชื่อดัง ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ฮ่องเต้องค์ที่หกแห่งราชวงศ์ซ่ง) แต่ภายหลังนโยบายใหม่ๆ ของเขาถูกต่อต้านอย่างแรงจากขุนนางอื่น จนสุดท้ายเขาต้องลาออกจากราชการกลับบ้านเกิดไป บทกวีนี้ถูกแต่งขึ้นในภายหลัง Storyฯ แปลและเรียบเรียงได้ดังนี้ (ขออภัยหากไม่สละสลวยนัก) “เหมยแตกกิ่งอยู่มุมรั้ว ผลิบานเดียวดายรับความหนาว แลเห็นมิใช่หิมะขาว ด้วยกรุ่นกลิ่นจางมิคลาย” ความนัยหมายถึงว่า อันอุดมการณ์สูงส่งนั้น ดำรงไว้ได้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอับจนเพียงใด (เช่นซอกมุมรั้วมุมกำแพง) และแม้ดูแต่ไกลขาวกลมกลืนไปกับหิมะ แต่กลิ่นหอมโชยบ่งบอกถึงตัวตน ดังนั้น ดอกเหมยในบริบทนี้หมายถึงผู้ที่ยึดมั่นในอุดมคติ ชวนให้ชื่นชมจากเนื้อแท้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ถ้านึกแบบง่ายๆ Storyฯ คงนึกถึงสำนวน “เพชรในตม” และมีอีกบริบทหนึ่งของดอกเหมยที่คนไม่ค่อยกล่าวถึง นั่นคือความแร้นแค้นเดียวดาย Storyฯ ยกมาเป็นตัวอย่างอีกบทกวีหนึ่งคือ “อี้เหมย” (รำลึกเหมย) ของหลี่ซันอิ่งในสมัยถัง “จองจำอยู่ปลายฟ้า ถวิลหาความงามแห่งวสันต์ เหมันต์เหมยชวนชิงชัง เป็นบุปผาแห่งปีกลาย” - คำแปลจาก <หรูซือ... กุ้ยฮวาผลิบานในใจข้า> โดยหวินไฉ่เฟยหยาง โดยสองวรรคแรกบรรยายถึงคนที่จำเป็นต้องจากบ้านไปไกล ได้แต่รอคอยสิ่งดีๆ และสองวรรคสุดท้ายกล่าวถึงดอกเหมยที่ชูช่อให้ชมในความกันดารแห่งเหมันต์ แต่แล้วเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ ดอกเหมยกลับถูกรังเกียจว่าเป็นดอกไม้ที่บานตั้งแต่ฤดูหนาวปีที่แล้ว เป็นความเก่าไร้ความสดชื่น ผู้คนหันไปตื่นตาตื่นใจกับดอกไม้อื่นที่เริ่มผลิบานแทน เป็นบทกวีที่บ่งบอกถึงความขมขื่นของคนที่ถูกลืมหรือถูกมองว่าหมดประโยชน์แล้ว ดังนั้น Storyฯ ขอสวมวิญญาณนักประพันธ์มาสรุปให้ดังนี้: หากเปรียบรัก ดอกเหมยคือรักที่คงทนฟันฝ่าอุปสรรค หากเปรียบคน ดอกเหมยคือคนที่ยึดมั่นในคุณค่าของตนแม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย และธรรมชาติของดอกเหมยนั้น ดูงดงามทั้งในห้วงเวลาแห่งความสุขและในยามทุกข์ เมื่อสุข ดอกเหมยคือความหวังและความแน่วแน่ที่จะผ่านความลำบากไปได้ เมื่อทุกข์ ดอกเหมยคือความเดียวดายและความขมขื่นของคนที่ถูกลืม เพื่อนเพจดูซีรีย์และอ่านนิยายแล้ว ‘อิน’ กับดอกเหมยอย่างไรบ้างไหม? มาเล่าสู่กันฟังนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://ent.sina.com.cn/v/m/2011-03-31/14353269488.shtml http://5sing.kugou.com/fc/13497084.html http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html https://www.sgss8.net/tpdq/2670634/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.cmeii.com/xinwenzhongxin/2190.html http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_aed4fe678529.aspx https://www.sohu.com/a/239647354_661147 #ดอกบ๊วย #ดอกเหมย #เหมยฮวา #อี้เหมย #รำลึกเหมย #บุปผาปีกลาย
    ?????????ġ?ɱ?? ????¡??ʫʫ??????ӵ?????_Ӱ?????_????
    ?????????ġ?ɱ?? ????¡??ʫʫ??????ӵ?????
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 644 มุมมอง 0 รีวิว
  • 111 ปี สิ้น “เจ้าน้อยศุขเกษม” ปิดตำนานรักสาวชาวพม่า “มะเมียะ” เรื่องจริง หรือแค่…อิงนิยาย?

    🕰️ ตำนานรักข้ามชาติ ที่คนรุ่นหลังยังคงกล่าวขาน 🕰️

    📝 111 ปีที่ผ่านไป…เรื่องราวความรักระหว่าง "เจ้าน้อยศุขเกษม" แห่งนครเชียงใหม่ และ "มะเมียะ" สาวงามจากเมืองมะละแหม่ง ยังคงเป็นเรื่องเล่าที่อบอวล ด้วยกลิ่นอายของความโรแมนติก และโศกเศร้า แต่คำถามที่หลายคนยังสงสัยคือ... เรื่องนี้มีมูลความจริงแค่ไหน? หรือเป็นเพียงตำนาน ที่แต่งเติมเสริมสีสันให้ดูหวานซึ้งเท่านั้น?

    ย้อนรอยตำนานรักข้ามพรมแดน พร้อมเปิดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพื่อค้นหาคำตอบ ว่าความจริงในตำนานรักอมตะนี้ เป็นเรื่องจริง...หรือเป็นเพียงนิยายที่แต่งขึ้นมา ให้คนล้านนาหลงใหล 💔✨

    💡 "เจ้าน้อยศุขเกษม" หรือในบรรดาศักดิ์ที่รู้จักกันในนาม "เจ้าอุตรการโกศล" เป็นโอรสองค์โตของ เจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่คนสุดท้าย กับเจ้าจามรีวงศ์ เป็นผู้มีเชื้อสายแห่งราชวงศ์ทิพย์จักรแห่งล้านนา

    เจ้าน้อยเกิดปี พ.ศ. 2423 ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 ถูกส่งไปศึกษา ที่เมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า ซึ่งได้พบ "มะเมียะ" หญิงสาวแม่ค้าชาวพม่า ผู้เปลี่ยนชะตาชีวิตเจ้าน้อยศุขเกษม ไปตลอดกาล

    ได้รับแต่งตั้งเป็น "เจ้าอุตรการโกศล" ถือศักดินา 1,600 แต่ไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าหลวง เนื่องจากอุปนิสัยรักสนุก ไม่เอาการเอางาน กระทั่งถึงแก่กรรม ในวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2457 สิริอายุ 32 ปี (หากนับแบบโบราณ ตรงกับ พ.ศ. 2456 อายุ 33 ปี)

    🌸 ตำนานรักที่กล่าวขาน “มะเมียะ” หญิงงามจากแดนพม่า ถูกขนานนามว่า เป็นแม่ค้าสาวงามชาวพม่าจากเมืองมะละแหม่ง ทั้งสองพบรักกันขณะเจ้าน้อยไปศึกษายังโรงเรียนเซนต์แพทริค โดยคำบอกเล่าต่างๆ ระบุว่า

    ❤️ เจ้าน้อยศุขเกษมใช้ชีวิตร่วมกับมะเมียะฉันสามีภรรยา ด้วยการสนับสนุนจากทางบ้านของฝ่ายหญิง
    ❤️ ต่อมาเมื่อข่าวแพร่ถึงเชียงใหม่ เจ้าน้อยถูกเรียกกลับคุ้ม พร้อมคำสั่งให้เลิกคบหากับมะเมียะ อย่างเด็ดขาด
    ❤️ มะเมียะจำต้องปลอมตัวเป็นชาย เพื่อตามขบวนเจ้าน้อยกลับเชียงใหม่ แต่สุดท้ายก็ไม่อาจหลีกพ้นคำสั่ง ของผู้มีอำนาจในคุ้มเชียงใหม่ได้
    ❤️ เรื่องราวจบลงด้วยการที่มะเมียะ ถูกบีบให้เดินทางกลับบ้านเกิด น้ำตารินไหลพรากจากชายคนรักตลอดกาล…😢

    📚 ข้อเท็จจริงในหน้าประวัติศาสตร์ จากเอกสาร และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ พบว่า

    📌 ไม่มีหลักฐานใดยืนยันได้ว่า "เจ้าน้อยศุขเกษม" มีความสัมพันธ์กับ "มะเมียะ" จริงในประวัติศาสตร์
    📌 เรื่องราวที่ "ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง" นำไปเผยแพร่ในหนังสือ "เพ็ชร์ลานนา" และ ชีวิตรักเจ้าเชียงใหม่ อาจมีโครงเรื่องบางส่วน ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ของ "เจ้าวงษ์ตวัน ณ เชียงใหม่" ผู้เป็นน้องชายต่างพระมารดาของเจ้าน้อย
    📌 หลักฐานต่างๆ ชี้ชัดว่า เจ้าน้อยศุขเกษมไม่ได้มีบทบาทสำคัญ ในการสืบราชสันตติวงศ์ของเชียงใหม่ และมีนิสัยไม่รับผิดชอบ จึงได้รับแต่งตั้งเพียงตำแหน่ง "เจ้าอุตรการโกศล"
    📌 เจ้าศุขเกษมสิ้นชีพ ด้วยโรคเส้นประสาทพิการเรื้อรัง ไม่ใช่เพราะตรอมใจ จากการพลัดพรากกับคนรัก

    🧐 ตำนานที่สร้างจากเรื่องจริง…หรือเพียงจินตนาการ? การบอกเล่าต่อๆ กันในหมู่เจ้านายฝ่ายเหนือและประชาชนล้านนาในยุคหลัง ได้ขยายความ และเติมแต่งจนเรื่องราวความรักนี้ กลายเป็นนิยายโศกนาฏกรรม ที่ชวนให้คนฟังหลงใหล

    🌿 "จรัล มโนเพ็ชร" นำเรื่องนี้ไปประพันธ์เป็นบทเพลง "มะเมี้ยะ" และขับร้องด้วยน้ำเสียงเศร้าสร้อย ทำให้ตำนานนี้ กลายเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
    🌿 เมื่อเรื่องราวถูกถ่ายทอดผ่านเพลง และสื่อหนังสือพิมพ์มากขึ้น ผู้คนจำนวนมากเชื่อว่า นี่คือเรื่องจริงของ "เจ้าน้อยศุขเกษม"
    🌿 แท้จริงแล้ว ตำนานดังกล่าว น่าจะได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิตของ "เจ้าวงษ์ตวัน" ซึ่งเคยมีปัญหาเรื่องพาผู้หญิงหลบหนี และถูกส่งตัวกลับเชียงใหม่ ตามจดหมายเหตุในสมัยรัชกาลที่ 5 และ 6

    📖 หลักฐานสนับสนุนจากประวัติศาสตร์ล้านนา
    📜 จดหมายเหตุรายวัน ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    📜 รายงานการศึกษาของเจ้าวงษ์ตวัน ณ เชียงใหม่ ที่เล่าเรียนในโรงเรียนราชวิทยาลัย
    📜 บันทึกการแต่งตั้งตำแหน่ง "เจ้าอุตรการโกศล" ของเจ้าน้อยศุขเกษม
    📜 บทสัมภาษณ์เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ผู้ร่วมสมัยที่กล่าวถึงเหตุการณ์ เรียกตัวเจ้าน้อยศุขเกษมกลับเชียงใหม่

    🔍 วิเคราะห์และตีความใหม่ เรื่องราวความรักที่เล่าขานระหว่าง "เจ้าน้อยศุขเกษม" กับ "มะเมียะ"
    ✅ มีเค้าโครงจากเรื่องจริงบางส่วน ในราชสำนักเชียงใหม่
    ✅ ถูกเติมแต่งให้มีความโรแมนติกและดราม่า เพื่อให้ชาวบ้านและคนรุ่นหลังเข้าถึง และจดจำได้ง่าย
    ✅ สะท้อนภาพชีวิตในยุคล้านนา ที่ยังคงเคร่งครัดในระบบชนชั้น และการสมรสตามขนบธรรมเนียม
    ✅ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของความรักต้องห้าม และการต่อสู้กับกรอบประเพณีเก่าก่อน

    ❤️ "เจ้าน้อยศุขเกษม" กับ "มะเมียะ" ตำนานที่ยังคงมีชีวิต แม้จะไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่า ความรักครั้งนี้เป็นจริง แต่เรื่องราว "เจ้าน้อยศุขเกษม" และ "มะเมียะ" ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของ "รักแท้ที่ไม่มีวันสมหวัง"

    🌸 ถูกถ่ายทอดเป็นนิยาย เพลง บทละคร และศิลปวัฒนธรรมในล้านนา
    🌸 กลายเป็นเครื่องเตือนใจ ถึงข้อจำกัดทางชนชั้น และการเมืองในอดีต
    🌸 ยังเป็นตำนานที่คนรุ่นใหม่ศึกษา ซาบซึ้งในแง่มุมของความรัก และความเสียสละ

    📌 สรุปข้อเท็จจริง
    📝 ตำนานรัก "เจ้าน้อยศุขเกษม กับ มะเมียะ" คือ นิยายประวัติศาสตร์ ที่แต่งเติมจากเรื่องจริงบางส่วน
    📝 ข้อเท็จจริงประวัติศาสตร์ยืนยันว่า "เจ้าวงษ์ตวัน" มีชีวิตที่คล้ายกับตำนานดังกล่าวมากกว่า
    📝 การเล่าขานที่ต่อเติมจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ความจริงและเรื่องแต่ง ผสมปนเปกันอย่างลงตัว
    📝 ตำนานนี้ยังคงมีเสน่ห์และคุณค่า ในฐานะเรื่องเล่าแห่งความรักของชาวล้านนา

    🌟 ความรักอาจไม่มีพรมแดน... แต่ขนบธรรมเนียมและประเพณีในอดีตต่างหาก ที่เป็นกำแพงยากจะข้ามได้ 🌟

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 200807 มี.ค. 2568

    📚 🏷️ #ตำนานรักมะเมียะ #เจ้าน้อยศุขเกษม #ล้านนาประวัติศาสตร์ #เชียงใหม่ในอดีต #เพลงมะเมี้ยะ #เรื่องจริงหรือนิยาย #ประวัติศาสตร์ล้านนา #เชียงใหม่เมืองโบราณ #ตำนานล้านนา #รักข้ามพรมแดน
    111 ปี สิ้น “เจ้าน้อยศุขเกษม” ปิดตำนานรักสาวชาวพม่า “มะเมียะ” เรื่องจริง หรือแค่…อิงนิยาย? 🕰️ ตำนานรักข้ามชาติ ที่คนรุ่นหลังยังคงกล่าวขาน 🕰️ 📝 111 ปีที่ผ่านไป…เรื่องราวความรักระหว่าง "เจ้าน้อยศุขเกษม" แห่งนครเชียงใหม่ และ "มะเมียะ" สาวงามจากเมืองมะละแหม่ง ยังคงเป็นเรื่องเล่าที่อบอวล ด้วยกลิ่นอายของความโรแมนติก และโศกเศร้า แต่คำถามที่หลายคนยังสงสัยคือ... เรื่องนี้มีมูลความจริงแค่ไหน? หรือเป็นเพียงตำนาน ที่แต่งเติมเสริมสีสันให้ดูหวานซึ้งเท่านั้น? ย้อนรอยตำนานรักข้ามพรมแดน พร้อมเปิดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพื่อค้นหาคำตอบ ว่าความจริงในตำนานรักอมตะนี้ เป็นเรื่องจริง...หรือเป็นเพียงนิยายที่แต่งขึ้นมา ให้คนล้านนาหลงใหล 💔✨ 💡 "เจ้าน้อยศุขเกษม" หรือในบรรดาศักดิ์ที่รู้จักกันในนาม "เจ้าอุตรการโกศล" เป็นโอรสองค์โตของ เจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่คนสุดท้าย กับเจ้าจามรีวงศ์ เป็นผู้มีเชื้อสายแห่งราชวงศ์ทิพย์จักรแห่งล้านนา เจ้าน้อยเกิดปี พ.ศ. 2423 ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 ถูกส่งไปศึกษา ที่เมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า ซึ่งได้พบ "มะเมียะ" หญิงสาวแม่ค้าชาวพม่า ผู้เปลี่ยนชะตาชีวิตเจ้าน้อยศุขเกษม ไปตลอดกาล ได้รับแต่งตั้งเป็น "เจ้าอุตรการโกศล" ถือศักดินา 1,600 แต่ไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าหลวง เนื่องจากอุปนิสัยรักสนุก ไม่เอาการเอางาน กระทั่งถึงแก่กรรม ในวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2457 สิริอายุ 32 ปี (หากนับแบบโบราณ ตรงกับ พ.ศ. 2456 อายุ 33 ปี) 🌸 ตำนานรักที่กล่าวขาน “มะเมียะ” หญิงงามจากแดนพม่า ถูกขนานนามว่า เป็นแม่ค้าสาวงามชาวพม่าจากเมืองมะละแหม่ง ทั้งสองพบรักกันขณะเจ้าน้อยไปศึกษายังโรงเรียนเซนต์แพทริค โดยคำบอกเล่าต่างๆ ระบุว่า ❤️ เจ้าน้อยศุขเกษมใช้ชีวิตร่วมกับมะเมียะฉันสามีภรรยา ด้วยการสนับสนุนจากทางบ้านของฝ่ายหญิง ❤️ ต่อมาเมื่อข่าวแพร่ถึงเชียงใหม่ เจ้าน้อยถูกเรียกกลับคุ้ม พร้อมคำสั่งให้เลิกคบหากับมะเมียะ อย่างเด็ดขาด ❤️ มะเมียะจำต้องปลอมตัวเป็นชาย เพื่อตามขบวนเจ้าน้อยกลับเชียงใหม่ แต่สุดท้ายก็ไม่อาจหลีกพ้นคำสั่ง ของผู้มีอำนาจในคุ้มเชียงใหม่ได้ ❤️ เรื่องราวจบลงด้วยการที่มะเมียะ ถูกบีบให้เดินทางกลับบ้านเกิด น้ำตารินไหลพรากจากชายคนรักตลอดกาล…😢 📚 ข้อเท็จจริงในหน้าประวัติศาสตร์ จากเอกสาร และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ พบว่า 📌 ไม่มีหลักฐานใดยืนยันได้ว่า "เจ้าน้อยศุขเกษม" มีความสัมพันธ์กับ "มะเมียะ" จริงในประวัติศาสตร์ 📌 เรื่องราวที่ "ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง" นำไปเผยแพร่ในหนังสือ "เพ็ชร์ลานนา" และ ชีวิตรักเจ้าเชียงใหม่ อาจมีโครงเรื่องบางส่วน ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ของ "เจ้าวงษ์ตวัน ณ เชียงใหม่" ผู้เป็นน้องชายต่างพระมารดาของเจ้าน้อย 📌 หลักฐานต่างๆ ชี้ชัดว่า เจ้าน้อยศุขเกษมไม่ได้มีบทบาทสำคัญ ในการสืบราชสันตติวงศ์ของเชียงใหม่ และมีนิสัยไม่รับผิดชอบ จึงได้รับแต่งตั้งเพียงตำแหน่ง "เจ้าอุตรการโกศล" 📌 เจ้าศุขเกษมสิ้นชีพ ด้วยโรคเส้นประสาทพิการเรื้อรัง ไม่ใช่เพราะตรอมใจ จากการพลัดพรากกับคนรัก 🧐 ตำนานที่สร้างจากเรื่องจริง…หรือเพียงจินตนาการ? การบอกเล่าต่อๆ กันในหมู่เจ้านายฝ่ายเหนือและประชาชนล้านนาในยุคหลัง ได้ขยายความ และเติมแต่งจนเรื่องราวความรักนี้ กลายเป็นนิยายโศกนาฏกรรม ที่ชวนให้คนฟังหลงใหล 🌿 "จรัล มโนเพ็ชร" นำเรื่องนี้ไปประพันธ์เป็นบทเพลง "มะเมี้ยะ" และขับร้องด้วยน้ำเสียงเศร้าสร้อย ทำให้ตำนานนี้ กลายเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย 🌿 เมื่อเรื่องราวถูกถ่ายทอดผ่านเพลง และสื่อหนังสือพิมพ์มากขึ้น ผู้คนจำนวนมากเชื่อว่า นี่คือเรื่องจริงของ "เจ้าน้อยศุขเกษม" 🌿 แท้จริงแล้ว ตำนานดังกล่าว น่าจะได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิตของ "เจ้าวงษ์ตวัน" ซึ่งเคยมีปัญหาเรื่องพาผู้หญิงหลบหนี และถูกส่งตัวกลับเชียงใหม่ ตามจดหมายเหตุในสมัยรัชกาลที่ 5 และ 6 📖 หลักฐานสนับสนุนจากประวัติศาสตร์ล้านนา 📜 จดหมายเหตุรายวัน ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 📜 รายงานการศึกษาของเจ้าวงษ์ตวัน ณ เชียงใหม่ ที่เล่าเรียนในโรงเรียนราชวิทยาลัย 📜 บันทึกการแต่งตั้งตำแหน่ง "เจ้าอุตรการโกศล" ของเจ้าน้อยศุขเกษม 📜 บทสัมภาษณ์เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ผู้ร่วมสมัยที่กล่าวถึงเหตุการณ์ เรียกตัวเจ้าน้อยศุขเกษมกลับเชียงใหม่ 🔍 วิเคราะห์และตีความใหม่ เรื่องราวความรักที่เล่าขานระหว่าง "เจ้าน้อยศุขเกษม" กับ "มะเมียะ" ✅ มีเค้าโครงจากเรื่องจริงบางส่วน ในราชสำนักเชียงใหม่ ✅ ถูกเติมแต่งให้มีความโรแมนติกและดราม่า เพื่อให้ชาวบ้านและคนรุ่นหลังเข้าถึง และจดจำได้ง่าย ✅ สะท้อนภาพชีวิตในยุคล้านนา ที่ยังคงเคร่งครัดในระบบชนชั้น และการสมรสตามขนบธรรมเนียม ✅ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของความรักต้องห้าม และการต่อสู้กับกรอบประเพณีเก่าก่อน ❤️ "เจ้าน้อยศุขเกษม" กับ "มะเมียะ" ตำนานที่ยังคงมีชีวิต แม้จะไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่า ความรักครั้งนี้เป็นจริง แต่เรื่องราว "เจ้าน้อยศุขเกษม" และ "มะเมียะ" ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของ "รักแท้ที่ไม่มีวันสมหวัง" 🌸 ถูกถ่ายทอดเป็นนิยาย เพลง บทละคร และศิลปวัฒนธรรมในล้านนา 🌸 กลายเป็นเครื่องเตือนใจ ถึงข้อจำกัดทางชนชั้น และการเมืองในอดีต 🌸 ยังเป็นตำนานที่คนรุ่นใหม่ศึกษา ซาบซึ้งในแง่มุมของความรัก และความเสียสละ 📌 สรุปข้อเท็จจริง 📝 ตำนานรัก "เจ้าน้อยศุขเกษม กับ มะเมียะ" คือ นิยายประวัติศาสตร์ ที่แต่งเติมจากเรื่องจริงบางส่วน 📝 ข้อเท็จจริงประวัติศาสตร์ยืนยันว่า "เจ้าวงษ์ตวัน" มีชีวิตที่คล้ายกับตำนานดังกล่าวมากกว่า 📝 การเล่าขานที่ต่อเติมจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ความจริงและเรื่องแต่ง ผสมปนเปกันอย่างลงตัว 📝 ตำนานนี้ยังคงมีเสน่ห์และคุณค่า ในฐานะเรื่องเล่าแห่งความรักของชาวล้านนา 🌟 ความรักอาจไม่มีพรมแดน... แต่ขนบธรรมเนียมและประเพณีในอดีตต่างหาก ที่เป็นกำแพงยากจะข้ามได้ 🌟 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 200807 มี.ค. 2568 📚 🏷️ #ตำนานรักมะเมียะ #เจ้าน้อยศุขเกษม #ล้านนาประวัติศาสตร์ #เชียงใหม่ในอดีต #เพลงมะเมี้ยะ #เรื่องจริงหรือนิยาย #ประวัติศาสตร์ล้านนา #เชียงใหม่เมืองโบราณ #ตำนานล้านนา #รักข้ามพรมแดน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 646 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขออภัยที่หายไปหนึ่งอาทิตย์ค่ะ วันนี้ Storyฯ เห็นว่าเรากำลังอยู่ในบรรยากาศการเลือกคนดีคนเก่งมาบริหารบ้านเมือง เลยลองมาคุยกันเรื่องปรัชญาจีนโบราณ (แม้ว่า Storyฯ จะไม่สันทัดเรื่องปรัชญาก็ตาม)

    เพื่อนเพจที่เคยอ่านนิยายของกิมย้งหรือดูหนังเรื่อง <กระบี่เย้ยยุทธจักร> ต้องคุ้นหูกับคำว่า ‘วิญญูชนจอมปลอม’ ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า ‘เหว่ยจวินจื่อ’ (伪君子) โดยคำว่า ‘จวินจื่อ’ นี้ปัจจุบันมักใช้คำแปลว่า ‘สุภาพชน’ (gentleman)

    แน่นอนว่าคำว่า ‘วิญญูชน’ และ ‘สุภาพชน’ มีนัยแตกต่าง คำถามที่ตามมาก็คือ: ‘จวินจื่อ’ (君子) คืออะไร? นี่เป็นคำถามในข้อสอบยอดฮิตในสมัยจีนโบราณ

    Storyฯ ขอยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีฉากที่นางเอกต้องร่วมสอบและได้ต่อว่าคนที่กลั่นแกล้งนางและดูถูกพ่อของนางไว้ว่า “วิญญูชนไม่คิดอกุศล ข้าเดินได้อย่างผึ่งผาย นั่งได้อย่างหลังตรง มิเคยต้องกังวลลมปากของผู้ใด... วิญญูชนไม่แบ่งแยกสูงต่ำด้วยชาติกำเนิด” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ประโยคที่ว่า ‘วิญญูชนไม่คิดอกุศล’ หรือ ‘จวินจื่อซืออู๋เสีย’ (君子思无邪) นี้ เป็นการรวมสองปรัชญาจากคัมภีร์หลุนอวี่ (论语) เข้ามาด้วยกันในประโยคเดียว

    ปรัชญาแรกว่าด้วยเรื่องของ ‘จวินจื่อ’ ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก ‘จวิน’ ที่หมายถึงผู้เป็นประมุขหรือผู้มียศศักดิ์ และ ‘จื่อ’ ที่แปลว่าบุตรชาย ดังนั้นความหมายดั้งเดิมคือหมายถึง ‘Nobleman’ หรืออาจแปลเป็นไทยได้ว่าราชนิกุลหรือลูกหลานชนชั้นศักดินา ต่อมาหมายถึงผู้ที่มีศีลธรรมและคุณสมบัติสูงส่งอันเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ (‘A man of noble character’) เป็นส่วนประกอบสำคัญของปรัชญาขงจื๊อในการสร้างมาตรฐานสังคม โดยขงจื๊อมักใช้การเปรียบเทียบระหว่าง ‘จวินจื่อ’ กับ ‘เสี่ยวเหริน’ (小人 / ทุรชน) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ‘จวินจื่อ’ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร Storyฯ สรุปมาไม่ได้หมด เลยยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพดังนี้:

    – จวินจื่อคำนึงถึงความเที่ยงธรรม (义) แต่เสี่ยวเหรินคำนึงถึงผลประโยชน์
    – จวินจื่ออยู่ร่วมได้ด้วยความต่าง แต่เสี่ยวเหรินแม้ไม่ต่างแต่ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ --- ประเด็นนี้ Storyฯ อาจแปลได้ไม่ดี ขอขยายความว่า จวินจื่อเมื่อเรียนรู้และตระหนักถึงสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าอาจมีแก่นความคิดที่แตกต่างกันไป แต่เพราะมีความเข้าใจในเนื้อแท้ของคนและเคารพยอมรับซึ่งกันและกันได้ ก็สามารถส่งเสริมเกื้อกูลหล่อหลอมเข้าด้วยกันได้ แต่ในทางกลับกัน เสี่ยวเหรินมีความเสแสร้งพยายามให้ดูกลมกลืน แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง สุดท้ายแม้อยู่ร่วมกันแต่ไม่สามารถหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันได้
    – จวินจื่อเปิดเผยผึ่งผาย จึงไม่ต้องกังวลถึงความเห็นคนอื่น แต่เสี่ยวเหรินทำอะไรก็พะวงหน้าพะวงหลังกลัวคนมากลั่นแกล้ง
    – จวินจื่อพึ่งพาตนเอง แต่เสี่ยวเหรินพึ่งพาผู้อื่น
    – จวินจื่อส่งเสริมผู้อื่นในเรื่องที่ดีและไม่สนับสนุนในเรื่องที่ไม่ดี แต่เสี่ยวเหรินขัดผู้อื่นในเรื่องที่ดีและส่งเสริมในเรื่องที่ไม่ดี
    – จวินจื่อเปรียบเสมือนลม เสี่ยวเหรินเป็นเหมือนหญ้าที่ต้องเอนไหวศิโรราบให้เมื่อลมพัดผ่าน เป็นการอุปมาอุปไมยว่าคุณธรรมของจวินจื่อ สามารถเอาชนะความไม่ดีของเสี่ยวเหรินได้

    ปรัชญาที่สอง ‘ไม่คิดอกุศล’ (ซืออู๋เสีย/思无邪) โดยปรัชญานี้ขงจื๊อเคยใช้ในสองบริบท บริบทแรกในการวิจารณ์งานประพันธ์โดยหมายถึงว่า สิ่งที่นักประพันธ์สื่อผ่านตัวอักษรออกมานั้น ควรบ่งบอกจิตวิญญาณและความคิดที่แท้จริง พูดง่ายๆ คือซื่อตรงต่อตัวเอง ส่วนอีกบริบทหนึ่งนั้นคือเป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติของคน โดยหมายถึงว่า อันความคิดที่ดี ย่อมไม่กลัวที่จะเปิดเผยให้ผู้ใดรับรู้

    คำว่า ‘จวินจื่อ’ ปรากฏอยู่บนงานประพันธ์และสำนวนจีนมากมาย และปรัชญาของขงจื๊อถูกศึกษามาหลายพันปีโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงวิชาจำนวนนับไม่ถ้วน Storyฯ ไม่หาญกล้ามาเสวนามากมายในปรัชญาเหล่านี้ เพียงแต่เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา คำว่า ‘จวินจื่อ’ หรือ ‘วิญญูชน’ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในสังคมทุกวันนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นวิญญูชน และใครเป็นวิญญูชนจอมปลอม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/467496758_120871225
    https://www.sohu.com/a/433221328_99929216
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/思无邪/5080
    https://guoxue.ifeng.com/c/7jUG4KBpiZC
    https://baike.baidu.com/item/君子/1389

    #ดุจฝันบันดาลใจ #จวินจื่อ #วิญญูชน #ขงจื๊อ
    ขออภัยที่หายไปหนึ่งอาทิตย์ค่ะ วันนี้ Storyฯ เห็นว่าเรากำลังอยู่ในบรรยากาศการเลือกคนดีคนเก่งมาบริหารบ้านเมือง เลยลองมาคุยกันเรื่องปรัชญาจีนโบราณ (แม้ว่า Storyฯ จะไม่สันทัดเรื่องปรัชญาก็ตาม) เพื่อนเพจที่เคยอ่านนิยายของกิมย้งหรือดูหนังเรื่อง <กระบี่เย้ยยุทธจักร> ต้องคุ้นหูกับคำว่า ‘วิญญูชนจอมปลอม’ ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า ‘เหว่ยจวินจื่อ’ (伪君子) โดยคำว่า ‘จวินจื่อ’ นี้ปัจจุบันมักใช้คำแปลว่า ‘สุภาพชน’ (gentleman) แน่นอนว่าคำว่า ‘วิญญูชน’ และ ‘สุภาพชน’ มีนัยแตกต่าง คำถามที่ตามมาก็คือ: ‘จวินจื่อ’ (君子) คืออะไร? นี่เป็นคำถามในข้อสอบยอดฮิตในสมัยจีนโบราณ Storyฯ ขอยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีฉากที่นางเอกต้องร่วมสอบและได้ต่อว่าคนที่กลั่นแกล้งนางและดูถูกพ่อของนางไว้ว่า “วิญญูชนไม่คิดอกุศล ข้าเดินได้อย่างผึ่งผาย นั่งได้อย่างหลังตรง มิเคยต้องกังวลลมปากของผู้ใด... วิญญูชนไม่แบ่งแยกสูงต่ำด้วยชาติกำเนิด” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ประโยคที่ว่า ‘วิญญูชนไม่คิดอกุศล’ หรือ ‘จวินจื่อซืออู๋เสีย’ (君子思无邪) นี้ เป็นการรวมสองปรัชญาจากคัมภีร์หลุนอวี่ (论语) เข้ามาด้วยกันในประโยคเดียว ปรัชญาแรกว่าด้วยเรื่องของ ‘จวินจื่อ’ ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก ‘จวิน’ ที่หมายถึงผู้เป็นประมุขหรือผู้มียศศักดิ์ และ ‘จื่อ’ ที่แปลว่าบุตรชาย ดังนั้นความหมายดั้งเดิมคือหมายถึง ‘Nobleman’ หรืออาจแปลเป็นไทยได้ว่าราชนิกุลหรือลูกหลานชนชั้นศักดินา ต่อมาหมายถึงผู้ที่มีศีลธรรมและคุณสมบัติสูงส่งอันเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ (‘A man of noble character’) เป็นส่วนประกอบสำคัญของปรัชญาขงจื๊อในการสร้างมาตรฐานสังคม โดยขงจื๊อมักใช้การเปรียบเทียบระหว่าง ‘จวินจื่อ’ กับ ‘เสี่ยวเหริน’ (小人 / ทุรชน) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ‘จวินจื่อ’ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร Storyฯ สรุปมาไม่ได้หมด เลยยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพดังนี้: – จวินจื่อคำนึงถึงความเที่ยงธรรม (义) แต่เสี่ยวเหรินคำนึงถึงผลประโยชน์ – จวินจื่ออยู่ร่วมได้ด้วยความต่าง แต่เสี่ยวเหรินแม้ไม่ต่างแต่ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ --- ประเด็นนี้ Storyฯ อาจแปลได้ไม่ดี ขอขยายความว่า จวินจื่อเมื่อเรียนรู้และตระหนักถึงสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าอาจมีแก่นความคิดที่แตกต่างกันไป แต่เพราะมีความเข้าใจในเนื้อแท้ของคนและเคารพยอมรับซึ่งกันและกันได้ ก็สามารถส่งเสริมเกื้อกูลหล่อหลอมเข้าด้วยกันได้ แต่ในทางกลับกัน เสี่ยวเหรินมีความเสแสร้งพยายามให้ดูกลมกลืน แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง สุดท้ายแม้อยู่ร่วมกันแต่ไม่สามารถหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ – จวินจื่อเปิดเผยผึ่งผาย จึงไม่ต้องกังวลถึงความเห็นคนอื่น แต่เสี่ยวเหรินทำอะไรก็พะวงหน้าพะวงหลังกลัวคนมากลั่นแกล้ง – จวินจื่อพึ่งพาตนเอง แต่เสี่ยวเหรินพึ่งพาผู้อื่น – จวินจื่อส่งเสริมผู้อื่นในเรื่องที่ดีและไม่สนับสนุนในเรื่องที่ไม่ดี แต่เสี่ยวเหรินขัดผู้อื่นในเรื่องที่ดีและส่งเสริมในเรื่องที่ไม่ดี – จวินจื่อเปรียบเสมือนลม เสี่ยวเหรินเป็นเหมือนหญ้าที่ต้องเอนไหวศิโรราบให้เมื่อลมพัดผ่าน เป็นการอุปมาอุปไมยว่าคุณธรรมของจวินจื่อ สามารถเอาชนะความไม่ดีของเสี่ยวเหรินได้ ปรัชญาที่สอง ‘ไม่คิดอกุศล’ (ซืออู๋เสีย/思无邪) โดยปรัชญานี้ขงจื๊อเคยใช้ในสองบริบท บริบทแรกในการวิจารณ์งานประพันธ์โดยหมายถึงว่า สิ่งที่นักประพันธ์สื่อผ่านตัวอักษรออกมานั้น ควรบ่งบอกจิตวิญญาณและความคิดที่แท้จริง พูดง่ายๆ คือซื่อตรงต่อตัวเอง ส่วนอีกบริบทหนึ่งนั้นคือเป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติของคน โดยหมายถึงว่า อันความคิดที่ดี ย่อมไม่กลัวที่จะเปิดเผยให้ผู้ใดรับรู้ คำว่า ‘จวินจื่อ’ ปรากฏอยู่บนงานประพันธ์และสำนวนจีนมากมาย และปรัชญาของขงจื๊อถูกศึกษามาหลายพันปีโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงวิชาจำนวนนับไม่ถ้วน Storyฯ ไม่หาญกล้ามาเสวนามากมายในปรัชญาเหล่านี้ เพียงแต่เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามา คำว่า ‘จวินจื่อ’ หรือ ‘วิญญูชน’ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในสังคมทุกวันนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นวิญญูชน และใครเป็นวิญญูชนจอมปลอม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/467496758_120871225 https://www.sohu.com/a/433221328_99929216 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/思无邪/5080 https://guoxue.ifeng.com/c/7jUG4KBpiZC https://baike.baidu.com/item/君子/1389 #ดุจฝันบันดาลใจ #จวินจื่อ #วิญญูชน #ขงจื๊อ
    WWW.SOHU.COM
    《雁归西窗月》是根据小说改编的吗 《雁归西窗月》结局是什么_赵孝
    《雁归西窗月》讲述了霸道郡王赵孝谦与率真少女谢小满的乌龙甜怼恋,两人从开始的欢喜冤家到逐渐相知相守,携手历经坎坷,冲破重重阻碍,最终收获了一段浪漫的爱情故事。 这部剧是先婚后爱的戏码,女主谢小满…
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 661 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิดนิยายเรื่องใหม่นะคะ
    The Legend of Bloodland แนวแฟนตาซี แอคชั่น
    Writer : Cirrus Halo
    ราชินีเรเนเซียที่หกผู้มีพลังแห่งพันธะซึ่งใช้ควบคุมสายแร่โลหะทั่วทั้งอาณาจักรลอฟท์เรียเพื่อใช้เป็นอาวุธได้ กำลังจะเปลี่ยนให้ผู้สืบทอดของเธอนามว่าแคเรน ขึ้นครองบัลลังก์แทนท่ามกลางความขัดแย้งกับอาณาจักรข้างเคียงที่เตรียมจะหาทางลอบจู่โจมและทำสงครามกันบ่อยครั้ง แคเรนต้องออกเดินทางเพื่อทำความรู้จักกับผู้สืบทอดของอัศวินทั้งแปดตระกูลและทำพันธะมอบสิทธิ์การใช้พลังควบคุมอาวุธให้กับพวกเขา ในระหว่างทางก็ต้องพบกับการจู่โจมแบบกองโจรของกองทัพอมตะจากอาณาจักรครอสวูดซึ่งเป็นศัตรูกันอยู่ บทสรุปของการต่อสู้และสงครามจะเป็นยังไง ติดตามได้ใน Legend of Bloodland (ดินแดนแห่งพันธะอาคม) ค่ะ

    ติดตามได้ในเว็บไซต์
    Hongsamut.com
    เปิดนิยายเรื่องใหม่นะคะ The Legend of Bloodland แนวแฟนตาซี แอคชั่น Writer : Cirrus Halo ราชินีเรเนเซียที่หกผู้มีพลังแห่งพันธะซึ่งใช้ควบคุมสายแร่โลหะทั่วทั้งอาณาจักรลอฟท์เรียเพื่อใช้เป็นอาวุธได้ กำลังจะเปลี่ยนให้ผู้สืบทอดของเธอนามว่าแคเรน ขึ้นครองบัลลังก์แทนท่ามกลางความขัดแย้งกับอาณาจักรข้างเคียงที่เตรียมจะหาทางลอบจู่โจมและทำสงครามกันบ่อยครั้ง แคเรนต้องออกเดินทางเพื่อทำความรู้จักกับผู้สืบทอดของอัศวินทั้งแปดตระกูลและทำพันธะมอบสิทธิ์การใช้พลังควบคุมอาวุธให้กับพวกเขา ในระหว่างทางก็ต้องพบกับการจู่โจมแบบกองโจรของกองทัพอมตะจากอาณาจักรครอสวูดซึ่งเป็นศัตรูกันอยู่ บทสรุปของการต่อสู้และสงครามจะเป็นยังไง ติดตามได้ใน Legend of Bloodland (ดินแดนแห่งพันธะอาคม) ค่ะ ติดตามได้ในเว็บไซต์ Hongsamut.com
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 262 มุมมอง 0 รีวิว
  • 30 ปี สิ้นดาราดาวรุ่ง “ธรรม์ โทณะวณิก” ดิ่งคอนโด 16 ชั้น ปมเสียชีวิตยังคงเป็นปริศนา

    🌟 ย้อนรำลึกถึงดาวที่ลับฟ้า กับความจริงที่ยังไม่คลี่คลาย 🌟

    📝 ดาวรุ่งผู้จากไป กับคำถามที่ยังไร้คำตอบ ย้อนไปในค่ำคืนอันเงียบงัน กลางดึกวันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2538 เวลาห้าทุ่ม 🌌 ทั่วทั้งวงการบันเทิงไทย ต้องเผชิญความสูญเสียครั้งใหญ่ เมื่อ “ธรรม์ โทณะวณิก” ดาราหนุ่มดาวรุ่งวัยเพียง 20 ปี ตกจากดาดฟ้าคอนโดสูง 16 ชั้น ที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ ‼️

    เหตุการณ์ครั้งนั้น ยังคงฝังใจผู้คนที่ติดตามข่าวสาร ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะคำถามที่ยังไม่มีคำตอบถึง "สาเหตุการเสียชีวิต" ว่าคืออุบัติเหตุ อาการซึมเศร้า หรืออาจมีเงื่อนงำบางอย่างซ่อนอยู่?

    👦🏻 "ธรรม์ โทณะวณิก" ชื่อเล่นว่า ธรรม์ เป็นที่รู้จักในฐานะ นักแสดงและนายแบบชาวไทย ที่มีพรสวรรค์และอนาคตสดใสรออยู่ข้างหน้า เกิดและเติบโตที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

    ธรรม์เป็นบุตรชายของ
    👨‍⚕️ นายแพทย์วิรุณ โทณะวณิก
    ✍🏻 นางอิราวดี นวมานนท์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ น้ำอบ นักเขียนชื่อดังระดับตำนาน ผู้เขียนนวนิยายเรื่อง “คือหัตถาครองพิภพ” ที่มีตัวละครสำคัญชื่อ “พจน์” ซึ่งเธอได้แรงบันดาลใจ จากบุคลิกของลูกชายคนนี้เอง

    🎥 จุดเริ่มต้นในวงการบันเทิง ธรรม์เริ่มเข้าสู่วงการตั้งแต่เด็ก ด้วยงานถ่ายแบบในปี พ.ศ. 2527 ในนิตยสาร "สตรีสาร" แต่สิ่งที่ทำให้แจ้งเกิดอย่างเต็มตัว คือบทพระเอกในภาพยนตร์ "กระโปรงบานขาสั้น" ปี พ.ศ. 2537 โดยประกบคู่กับนางเอก "ธัญญาเรศ รามณรงค์"

    🎬 ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย "ชาติชาย แก้วสว่าง" ผู้กำกับหน้าใหม่ในขณะนั้น แต่กลับพาธรรม์ขึ้นสู่จุดสูงสุดในฐานะ "พระเอกขวัญใจวัยรุ่น" แห่งยุค 90’s

    📚 เส้นทางสายบันเทิง และชีวิตส่วนตัวที่หลายคนไม่เคยรู้

    ✨ ผลงานสร้างชื่อ ธรรม์กลายเป็นขวัญใจวัยรุ่น มีผลงานทั้งในจอเงินและจอแก้ว เช่น
    - กระโปรงบานขาสั้น
    - ม.6/2 ห้องครูวารี
    - กระโปรงบานขาสั้น เทอม 2 ตอนแอบดูบาร์บีคิว
    - ขอเก็บหัวใจเธอไว้คนเดียว
    - สมศรี 422R ภาค 3 โปรแกรม D ปีนี้มีน้อง

    📸 นายแบบยอดนิยม ธรรม์ขึ้นปกนิตยสารวัยรุ่นหลายเล่ม โดยเฉพาะ "เธอกับฉัน" ปี พ.ศ. 2536 ซึ่งธรรม์ได้รับตำแหน่ง "หนุ่มช่างฝันกิตติมศักดิ์" ด้วยคะแนนโหวตถล่มทลาย 💫

    แฟนคลับในยุคนั้น ต่างหลงใหลในความหล่อเหลา และบุคลิกที่อบอุ่นเป็นกันเอง

    ❤️ รักแรกและรักเดียว ธรรม์มีแฟนสาวนอกวงการชื่อ น้ำฝน หรือเบญจพร ตังคานุกูลกิจ คบหากันตั้งแต่เรียนที่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ต่อเนื่องมาจนถึงช่วงที่ทั้งคู่ กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC)

    ความรักที่ดูเรียบง่ายและมั่นคงนี้เอง ที่ทำให้หลายคนเชื่อว่า ธรรม์ไม่มีเหตุผลที่จะคิดสั้น...

    🚨 คืนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต เหตุการณ์ที่ไม่มีใครลืม กลางดึกคืนวันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2538 เวลา 23.00 น. ธรรม์พลัดตกจากดาดฟ้าคอนโด "ซีเอ็นพี คอนโดมิเนียม" ชั้น 16 ที่พักอาศัยของธรรม์ ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

    🏢 ธรรม์ตกลงมากระแทกหลังคาบ้านเช่าหลังหนึ่ง โดยที่ "ทองม้วน พุ่มฉัตร" หญิงสาวที่เป็นแฟนคลับกำลังนอนพักผ่อนอยู่ ได้รับบาดเจ็บที่ขาขวา

    👉🏻 ชันสูตรพบว่า ธรรม์ไม่มีสารเสพติดในร่างกาย และไม่มีร่องรอยการต่อสู้ หรือถูกทำร้ายร่างกาย

    🕵️‍♂️ ปมปริศนา
    - อุบัติเหตุพลัดตก?
    - เมาสุราจนเสียการทรงตัว?
    - มีคนจงใจทำให้ต้องตกลงมา?

    ไม่มีใครรู้ความจริง!

    💬 คำพูดสุดท้ายของ “น้ำอบ” มารดาธรรม์ “ธรรม์ไม่มีวันฆ่าตัวตาย! เพราะยังสัญญากับแม่ว่า จะดูละครตอนแรกด้วยกัน และธรรม์ไม่เคยผิดสัญญา...”

    คำพูดนี้จาก "น้ำอบ" ผู้เป็นแม่ ยังคงสะเทือนใจแฟนคลับและสังคมจนถึงทุกวันนี้

    👉🏻 หลายคนเชื่อว่า ธรรม์อาจถูกฆาตกรรม!

    🔍 สาเหตุการเสียชีวิต อุบัติเหตุ หรือฆาตกรรม?
    1️⃣ อุบัติเหตุ บางคนตั้งข้อสันนิษฐานว่า ธรรม์อาจขึ้นไปบนดาดฟ้า เพื่อลดความเครียด สูบบุหรี่ และอาจเผลอพลัดตกลงมา โดยไม่ตั้งใจ

    2️⃣ ฆ่าตัวตาย ข่าวลือในขณะนั้นเล่าว่า ธรรม์มีความเครียดจากชีวิตการทำงาน และเรื่องส่วนตัว แต่ครอบครัวและคนสนิท ต่างปฏิเสธว่าไม่มีพฤติกรรม หรืออาการซึมเศร้า

    3️⃣ ฆาตกรรม ความสงสัยที่ไม่เคยจางหาย... ใครอยู่กับธรรม์ในคืนนั้น? และมีใครได้ยินหรือเห็นอะไรผิดปกติหรือไม่?

    หลายคนยังเชื่อว่า ธรรม์อาจถูกทำให้ตกลงมาอย่างตั้งใจ 😰

    🕰️ 30 ปีผ่านไป ความจริงที่ยังไม่ถูกเปิดเผย แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 30 ปี แต่คดีนี้ยังคงไร้บทสรุปชัดเจน 📆

    🔸 ไม่มีพยานหลักฐานใหม่
    🔸 ไม่มีผู้ต้องสงสัยที่ถูกดำเนินคดี
    🔸 ไม่มีคำอธิบายใดๆ จากผู้เกี่ยวข้อง

    ทุกอย่างยังคงเป็นปริศนา ที่ไม่มีใครสามารถคลี่คลายได้...

    🎬 มรดกทางจิตใจ และผลงานที่ธรรม์ทิ้งไว้ แม้ชีวิตของธรรม์จะจบลงในวัยเพียง 20 ปี แต่ผลงานของธรรม์ ยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่

    ✨ คือตัวแทนของยุคทองวงการบันเทิงไทย
    ✨ คือความทรงจำของใครหลายคน ที่ไม่เคยเลือนหาย

    “ธรรม์ โทณะวณิก ยังอยู่ในหัวใจแฟนคลับเสมอ” ❤️

    📌 “ธรรม์ โทณะวณิก” ตำนานที่ไม่มีวันลืม 30 ปีผ่านไป เหตุการณ์ครั้งนั้นยังคงเป็นปริศนา ที่ก้องอยู่ในใจของแฟนๆ และผู้ติดตามข่าวสาร หลายคนอาจยังคงสงสัย ในชะตากรรมของดาวรุ่งผู้นี้ แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยน คือความทรงจำที่สวยงาม และผลงานที่ธรรม์ได้ทิ้งไว้ให้คนไทย

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 161024 มี.ค. 2568

    📲 #ธรรม์โทณะวณิก #ดารายุค90 #คดีดังในอดีต #ดาราไทยเสียชีวิต #ปริศนาดารา #วงการบันเทิงไทย #ข่าวบันเทิงย้อนหลัง #ดาวรุ่งดวงดับ #ตำนานดาราไทย #ซีเอ็นพีคอนโด
    30 ปี สิ้นดาราดาวรุ่ง “ธรรม์ โทณะวณิก” ดิ่งคอนโด 16 ชั้น ปมเสียชีวิตยังคงเป็นปริศนา 🌟 ย้อนรำลึกถึงดาวที่ลับฟ้า กับความจริงที่ยังไม่คลี่คลาย 🌟 📝 ดาวรุ่งผู้จากไป กับคำถามที่ยังไร้คำตอบ ย้อนไปในค่ำคืนอันเงียบงัน กลางดึกวันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2538 เวลาห้าทุ่ม 🌌 ทั่วทั้งวงการบันเทิงไทย ต้องเผชิญความสูญเสียครั้งใหญ่ เมื่อ “ธรรม์ โทณะวณิก” ดาราหนุ่มดาวรุ่งวัยเพียง 20 ปี ตกจากดาดฟ้าคอนโดสูง 16 ชั้น ที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ ‼️ เหตุการณ์ครั้งนั้น ยังคงฝังใจผู้คนที่ติดตามข่าวสาร ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะคำถามที่ยังไม่มีคำตอบถึง "สาเหตุการเสียชีวิต" ว่าคืออุบัติเหตุ อาการซึมเศร้า หรืออาจมีเงื่อนงำบางอย่างซ่อนอยู่? 👦🏻 "ธรรม์ โทณะวณิก" ชื่อเล่นว่า ธรรม์ เป็นที่รู้จักในฐานะ นักแสดงและนายแบบชาวไทย ที่มีพรสวรรค์และอนาคตสดใสรออยู่ข้างหน้า เกิดและเติบโตที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ธรรม์เป็นบุตรชายของ 👨‍⚕️ นายแพทย์วิรุณ โทณะวณิก ✍🏻 นางอิราวดี นวมานนท์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ น้ำอบ นักเขียนชื่อดังระดับตำนาน ผู้เขียนนวนิยายเรื่อง “คือหัตถาครองพิภพ” ที่มีตัวละครสำคัญชื่อ “พจน์” ซึ่งเธอได้แรงบันดาลใจ จากบุคลิกของลูกชายคนนี้เอง 🎥 จุดเริ่มต้นในวงการบันเทิง ธรรม์เริ่มเข้าสู่วงการตั้งแต่เด็ก ด้วยงานถ่ายแบบในปี พ.ศ. 2527 ในนิตยสาร "สตรีสาร" แต่สิ่งที่ทำให้แจ้งเกิดอย่างเต็มตัว คือบทพระเอกในภาพยนตร์ "กระโปรงบานขาสั้น" ปี พ.ศ. 2537 โดยประกบคู่กับนางเอก "ธัญญาเรศ รามณรงค์" 🎬 ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย "ชาติชาย แก้วสว่าง" ผู้กำกับหน้าใหม่ในขณะนั้น แต่กลับพาธรรม์ขึ้นสู่จุดสูงสุดในฐานะ "พระเอกขวัญใจวัยรุ่น" แห่งยุค 90’s 📚 เส้นทางสายบันเทิง และชีวิตส่วนตัวที่หลายคนไม่เคยรู้ ✨ ผลงานสร้างชื่อ ธรรม์กลายเป็นขวัญใจวัยรุ่น มีผลงานทั้งในจอเงินและจอแก้ว เช่น - กระโปรงบานขาสั้น - ม.6/2 ห้องครูวารี - กระโปรงบานขาสั้น เทอม 2 ตอนแอบดูบาร์บีคิว - ขอเก็บหัวใจเธอไว้คนเดียว - สมศรี 422R ภาค 3 โปรแกรม D ปีนี้มีน้อง 📸 นายแบบยอดนิยม ธรรม์ขึ้นปกนิตยสารวัยรุ่นหลายเล่ม โดยเฉพาะ "เธอกับฉัน" ปี พ.ศ. 2536 ซึ่งธรรม์ได้รับตำแหน่ง "หนุ่มช่างฝันกิตติมศักดิ์" ด้วยคะแนนโหวตถล่มทลาย 💫 แฟนคลับในยุคนั้น ต่างหลงใหลในความหล่อเหลา และบุคลิกที่อบอุ่นเป็นกันเอง ❤️ รักแรกและรักเดียว ธรรม์มีแฟนสาวนอกวงการชื่อ น้ำฝน หรือเบญจพร ตังคานุกูลกิจ คบหากันตั้งแต่เรียนที่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ต่อเนื่องมาจนถึงช่วงที่ทั้งคู่ กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) ความรักที่ดูเรียบง่ายและมั่นคงนี้เอง ที่ทำให้หลายคนเชื่อว่า ธรรม์ไม่มีเหตุผลที่จะคิดสั้น... 🚨 คืนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต เหตุการณ์ที่ไม่มีใครลืม กลางดึกคืนวันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2538 เวลา 23.00 น. ธรรม์พลัดตกจากดาดฟ้าคอนโด "ซีเอ็นพี คอนโดมิเนียม" ชั้น 16 ที่พักอาศัยของธรรม์ ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 🏢 ธรรม์ตกลงมากระแทกหลังคาบ้านเช่าหลังหนึ่ง โดยที่ "ทองม้วน พุ่มฉัตร" หญิงสาวที่เป็นแฟนคลับกำลังนอนพักผ่อนอยู่ ได้รับบาดเจ็บที่ขาขวา 👉🏻 ชันสูตรพบว่า ธรรม์ไม่มีสารเสพติดในร่างกาย และไม่มีร่องรอยการต่อสู้ หรือถูกทำร้ายร่างกาย 🕵️‍♂️ ปมปริศนา - อุบัติเหตุพลัดตก? - เมาสุราจนเสียการทรงตัว? - มีคนจงใจทำให้ต้องตกลงมา? ไม่มีใครรู้ความจริง! 💬 คำพูดสุดท้ายของ “น้ำอบ” มารดาธรรม์ “ธรรม์ไม่มีวันฆ่าตัวตาย! เพราะยังสัญญากับแม่ว่า จะดูละครตอนแรกด้วยกัน และธรรม์ไม่เคยผิดสัญญา...” คำพูดนี้จาก "น้ำอบ" ผู้เป็นแม่ ยังคงสะเทือนใจแฟนคลับและสังคมจนถึงทุกวันนี้ 👉🏻 หลายคนเชื่อว่า ธรรม์อาจถูกฆาตกรรม! 🔍 สาเหตุการเสียชีวิต อุบัติเหตุ หรือฆาตกรรม? 1️⃣ อุบัติเหตุ บางคนตั้งข้อสันนิษฐานว่า ธรรม์อาจขึ้นไปบนดาดฟ้า เพื่อลดความเครียด สูบบุหรี่ และอาจเผลอพลัดตกลงมา โดยไม่ตั้งใจ 2️⃣ ฆ่าตัวตาย ข่าวลือในขณะนั้นเล่าว่า ธรรม์มีความเครียดจากชีวิตการทำงาน และเรื่องส่วนตัว แต่ครอบครัวและคนสนิท ต่างปฏิเสธว่าไม่มีพฤติกรรม หรืออาการซึมเศร้า 3️⃣ ฆาตกรรม ความสงสัยที่ไม่เคยจางหาย... ใครอยู่กับธรรม์ในคืนนั้น? และมีใครได้ยินหรือเห็นอะไรผิดปกติหรือไม่? หลายคนยังเชื่อว่า ธรรม์อาจถูกทำให้ตกลงมาอย่างตั้งใจ 😰 🕰️ 30 ปีผ่านไป ความจริงที่ยังไม่ถูกเปิดเผย แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 30 ปี แต่คดีนี้ยังคงไร้บทสรุปชัดเจน 📆 🔸 ไม่มีพยานหลักฐานใหม่ 🔸 ไม่มีผู้ต้องสงสัยที่ถูกดำเนินคดี 🔸 ไม่มีคำอธิบายใดๆ จากผู้เกี่ยวข้อง ทุกอย่างยังคงเป็นปริศนา ที่ไม่มีใครสามารถคลี่คลายได้... 🎬 มรดกทางจิตใจ และผลงานที่ธรรม์ทิ้งไว้ แม้ชีวิตของธรรม์จะจบลงในวัยเพียง 20 ปี แต่ผลงานของธรรม์ ยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ ✨ คือตัวแทนของยุคทองวงการบันเทิงไทย ✨ คือความทรงจำของใครหลายคน ที่ไม่เคยเลือนหาย “ธรรม์ โทณะวณิก ยังอยู่ในหัวใจแฟนคลับเสมอ” ❤️ 📌 “ธรรม์ โทณะวณิก” ตำนานที่ไม่มีวันลืม 30 ปีผ่านไป เหตุการณ์ครั้งนั้นยังคงเป็นปริศนา ที่ก้องอยู่ในใจของแฟนๆ และผู้ติดตามข่าวสาร หลายคนอาจยังคงสงสัย ในชะตากรรมของดาวรุ่งผู้นี้ แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยน คือความทรงจำที่สวยงาม และผลงานที่ธรรม์ได้ทิ้งไว้ให้คนไทย ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 161024 มี.ค. 2568 📲 #ธรรม์โทณะวณิก #ดารายุค90 #คดีดังในอดีต #ดาราไทยเสียชีวิต #ปริศนาดารา #วงการบันเทิงไทย #ข่าวบันเทิงย้อนหลัง #ดาวรุ่งดวงดับ #ตำนานดาราไทย #ซีเอ็นพีคอนโด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1104 มุมมอง 0 รีวิว
  • 56 ปี สิ้น “อิศรา อมันตกุล” นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรก
    ตำนานนักหนังสือพิมพ์ผู้กล้า ✊ สู่ต้นแบบนักสื่อสารมวลชนไทย

    รัฐจับขัง 5 ปี ไม่มีสั่งฟ้อง! แต่หัวใจนักข่าวไม่เคยสิ้นไฟ

    📌 ถ้าพูดถึงตำนานนักข่าวไทย ชื่อ “อิศรา อมันตกุล” คงเป็นหนึ่งในบุคคล ที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด เพราะคือผู้ที่ไม่เพียงแต่เป็น นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรก แต่ยังเป็นนักข่าว นักเขียน และนักต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตัวจริงเสียงจริง วั

    💥 ย้อนไปในอดีตเมื่อ 56 ปี ที่ผ่านมา เพื่อรำลึกถึงชายผู้พลิกโฉม วงการสื่อสารมวลชนไทย อย่างแท้จริง "อาจไม่ใช่คนดังในโลกออนไลน์ แต่ในยุคที่ปากกาคืออาวุธ อิศราคือหนึ่งในนักรบผู้ยิ่งใหญ่"

    “อิศรา อมันตกุล” นักหนังสือพิมพ์ที่ชีวิตจริงยิ่งกว่านวนิยาย
    🗓 เกิดวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2464
    🏠 เชื้อสายมุสลิมอินเดีย จากครอบครัวมูฮัมหมัดซาเลย์ อะมัน และวัน อมรทัต
    🎓 จบชั้นประถมจากโรงเรียนบำรุงวิทยา จ.นครปฐม และชั้นมัธยมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ปี 2479 คะแนนภาษาอังกฤษอันดับ 1 ของประเทศ

    ชีวิตอิศราไม่ใช่เส้นตรง เริ่มจากครูสอนหนังสือในนครศรีธรรมราช ก่อนที่โชคชะตาจะพากลับสู่เส้นทางของ “นักข่าว”

    นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรก บทบาทที่สร้างมาตรฐานวิชาชีพสื่อไทย ในปี พ.ศ. 2499 อิศราได้รับเลือกให้เป็น นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรก และดำรงตำแหน่งต่อเนื่อง 3 สมัย (2499 - 2501)

    💡 ผลงานสำคัญ เปลี่ยนรูปแบบการจัดหน้าหนังสือพิมพ์จาก 7 คอลัมน์เป็น 8 คอลัมน์ วางรากฐานจรรยาบรรณนักข่าวไทย 🌱 ปกป้องสิทธิเสรีภาพสื่อ แม้ต้องแลกด้วยอิสรภาพของตัวเองก็ตาม "อิศราเชื่อว่า หนังสือพิมพ์คือบันทึกประวัติศาสตร์รายวัน"

    เสรีภาพกับราคาที่ต้องจ่าย เมื่อ “อิศรา” ต้องติดคุกเกือบ 6 ปี โดยไม่มีการฟ้องร้อง!
    📆 วันที่ 21 ตุลาคม 2501 หลังรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ อิศราในฐานะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ บางกอกเดลิเมล์ ถูกจับกุมข้อหาคอมมิวนิสต์
    🚫 ไม่มีการสอบสวน ไม่มีการส่งฟ้อง
    ⏳ ถูกขัง 5 ปี 10 เดือน

    แม้จะอยู่ในเรือนจำ แต่อิศรายังคงเขียนงานอย่างต่อเนื่อง ใช้นามปากกามากกว่า 10 ชื่อ เช่น
    ✨ นายอิสระ
    ✨ มะงุมมะงาหรา
    ✨ ธนุธร
    ✨ ดร.x XYZ

    🗨 "เอ็งติดตะรางเพราะทำงานหนังสือพิมพ์ มันยังโก้กว่าติดตะรางเพราะเป็นหัวไม้" เสียงแม่ที่ยังอยู่ในใจอิศราเสมอ

    ผลงานเด่นในวงการหนังสือพิมพ์ ครอบคลุมทุกแขนงข่าว จนกลายเป็นต้นแบบนักข่าว
    📰 หนังสือพิมพ์ที่อิศราเคยร่วมงาน สุภาพบุรุษ, สุวัณณภูมิ, บางกอกรายวัน, พิมพ์ไทยเบื้องหลังข่าว, เอกราช, เดลินิวส์

    📍 อิศราคือผู้ควบคุมการผลิตข่าว สารคดีเชิงข่าว เรื่องแรกของไทย คดีปล้นร้านทองเบ๊ลี่แซ นำไปสร้างเป็นละครเวที และภาพยนตร์ในเวลาต่อมา

    🎯 เทคนิคข่าวของอิศรา เน้นความถูกต้อง เที่ยงธรรม และตรวจสอบได้ "ข่าวไม่ใช่การสร้างสีสัน แต่คือการสะท้อนความจริงของสังคม"

    จุดยืนเพื่อเสรีภาพและศักดิ์ศรี ไม่เคยยอมอำนาจรัฐ ไม่รับสินบน ไม่หวั่นคำขู่ อิศราเป็นนักข่าว ที่ไม่ยอมให้นายทุน หรืออำนาจรัฐแทรกแซงสื่อ
    💼 ตรวจสอบทุกแหล่งข่าว
    🛑 ไม่ประณามผู้ต้องหาโดยไม่มีหลักฐาน
    ✍ ไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของบุคคล

    อิศราเคยกล่าวว่า "หนังสือพิมพ์อาจดูเหมือนกระดาษไร้ค่า แต่ในวันหน้า มันคือหลักฐานทางประวัติศาสตร์"

    นักเขียนนวนิยายที่ตีแผ่สังคมไทย ผลงานที่ฝังลึกในหัวใจคนไทย
    📚 นวนิยาย นักบุญ-คนบาป (2486)
    🎭 เรื่องสั้น-นวนิยายกว่า 100 เรื่อง
    🖋 ภาษาเขียนที่สวิงสวาย แตกต่างจากนักเขียนร่วมยุค

    "...ชีพจรของงานเต้นเร็วถี่ขึ้นเป็นลำดับ..."
    "...เสียงซ่าของคลื่นที่ยื่นปากจูบชายหาย..."

    จอมพลสฤษดิ์ กับการปิดปากนักข่าว คุกคือคำตอบของรัฐต่อ “ปากกา” ของอิศรา
    📅 ตุลาคม 2501 รัฐประหาร -> จับนักข่าว นักการเมือง นักวิชาการ 📌 รวมถึง กุหลาบ สายประดิษฐ์, สุวัฒน์ วรดิลก และอิศรา อมันตกุล ไม่มีการพิสูจน์ ไม่มีหลักฐาน แต่ถูกขังโดยไม่ไต่สวน

    "นักหนังสือพิมพ์ถูกจับเ พราะเขียนข่าวที่รัฐไม่พอใจ"

    แม้ไร้อิสรภาพ แต่หัวใจยังคงเสรี เขียนหนังสือแม้ในเรือนจำ ใช้หลายนามปากกาเขียนคอลัมน์ และเรื่องสั้น

    📜 แสดงความกล้าหาญในการพูดถึงสังคม
    📢 ปกป้องเสรีภาพผ่านตัวหนังสือ

    "การติดคุกเพราะทำหนังสือพิมพ์ ยังโก้กว่าเป็นหัวไม้!" แม่ของอิศรา

    วาระสุดท้ายที่ไม่สิ้นไฟ ปากกาวาง...แต่คำยังสะท้อนก้อง

    🕯 เสียชีวิต 14 มีนาคม 2512 ด้วยโรคมะเร็งลิ้น อายุ 47 ปี "ผมไม่เสียใจเลย ที่เกิดมาเป็นหนังสือพิมพ์"
    แม้เจ็บป่วยแ ต่ยังเขียนข้อความสั้นๆ ฝากถึงเพื่อนร่วมวิชาชีพ

    ✒ ปณิธานนักข่าวไม่เคยจางหาย สารจากอิศรา ถึงคนข่าวรุ่นใหม่ "ข้าพเจ้าเป็นคนสามัญคนหนึ่ง ซึ่งมั่นหมายจะเขียน เฉพาะเรื่องราวของประชาชน เพื่อถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ความดิ้นรน และความหวังจากประชาชนไปสู่ประชาชน เพราะประชาชนเท่านั้นที่เป็นผู้กำลังต่อสู้ และกำลังทำงานเพื่อสร้างเสรีภาพอันถูกต้อง และศตวรรษแห่งสามัญชน"

    สรุปบทเรียนจากชีวิต “อิศรา อมันตกุล”
    ✨ นักข่าวคือผู้บันทึกประวัติศาสตร์
    ✨ เสรีภาพไม่ใช่ของขวัญจากรัฐ แต่คือสิทธิที่ต้องรักษา
    ✨ จรรยาบรรณต้องมาก่อนผลประโยชน์
    ✨ ปากกาคืออาวุธ แต่ใจต้องเป็นธรรม

    🔖 คำคมจากอิศรา 🖋 "หนังสือพิมพ์คือเอกสารทางประวัติศาสตร์อย่างหนึ่ง และนักข่าวคือผู้บันทึกประวัติศาสตร์วันต่อวัน"

    “เพราะหนังสือพิมพ์ในวันนี้ คือประวัติศาสตร์ของวันหน้า”

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 141021 มี.ค. 2568

    🏷️ #อิศราอมันตกุล #นักข่าวต้นแบบ #เสรีภาพสื่อไทย #สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย #นักหนังสือพิมพ์ในตำนาน #ประวัติศาสตร์ข่าวไทย #ชีวิตอิศรา #นักข่าวสายตรง #นักเขียนเพื่อประชาชน #สื่อเสรีไทย
    56 ปี สิ้น “อิศรา อมันตกุล” นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรก ตำนานนักหนังสือพิมพ์ผู้กล้า ✊ สู่ต้นแบบนักสื่อสารมวลชนไทย รัฐจับขัง 5 ปี ไม่มีสั่งฟ้อง! แต่หัวใจนักข่าวไม่เคยสิ้นไฟ 📌 ถ้าพูดถึงตำนานนักข่าวไทย ชื่อ “อิศรา อมันตกุล” คงเป็นหนึ่งในบุคคล ที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด เพราะคือผู้ที่ไม่เพียงแต่เป็น นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรก แต่ยังเป็นนักข่าว นักเขียน และนักต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตัวจริงเสียงจริง วั 💥 ย้อนไปในอดีตเมื่อ 56 ปี ที่ผ่านมา เพื่อรำลึกถึงชายผู้พลิกโฉม วงการสื่อสารมวลชนไทย อย่างแท้จริง "อาจไม่ใช่คนดังในโลกออนไลน์ แต่ในยุคที่ปากกาคืออาวุธ อิศราคือหนึ่งในนักรบผู้ยิ่งใหญ่" “อิศรา อมันตกุล” นักหนังสือพิมพ์ที่ชีวิตจริงยิ่งกว่านวนิยาย 🗓 เกิดวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2464 🏠 เชื้อสายมุสลิมอินเดีย จากครอบครัวมูฮัมหมัดซาเลย์ อะมัน และวัน อมรทัต 🎓 จบชั้นประถมจากโรงเรียนบำรุงวิทยา จ.นครปฐม และชั้นมัธยมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ปี 2479 คะแนนภาษาอังกฤษอันดับ 1 ของประเทศ ชีวิตอิศราไม่ใช่เส้นตรง เริ่มจากครูสอนหนังสือในนครศรีธรรมราช ก่อนที่โชคชะตาจะพากลับสู่เส้นทางของ “นักข่าว” นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรก บทบาทที่สร้างมาตรฐานวิชาชีพสื่อไทย ในปี พ.ศ. 2499 อิศราได้รับเลือกให้เป็น นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรก และดำรงตำแหน่งต่อเนื่อง 3 สมัย (2499 - 2501) 💡 ผลงานสำคัญ เปลี่ยนรูปแบบการจัดหน้าหนังสือพิมพ์จาก 7 คอลัมน์เป็น 8 คอลัมน์ วางรากฐานจรรยาบรรณนักข่าวไทย 🌱 ปกป้องสิทธิเสรีภาพสื่อ แม้ต้องแลกด้วยอิสรภาพของตัวเองก็ตาม "อิศราเชื่อว่า หนังสือพิมพ์คือบันทึกประวัติศาสตร์รายวัน" เสรีภาพกับราคาที่ต้องจ่าย เมื่อ “อิศรา” ต้องติดคุกเกือบ 6 ปี โดยไม่มีการฟ้องร้อง! 📆 วันที่ 21 ตุลาคม 2501 หลังรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ อิศราในฐานะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ บางกอกเดลิเมล์ ถูกจับกุมข้อหาคอมมิวนิสต์ 🚫 ไม่มีการสอบสวน ไม่มีการส่งฟ้อง ⏳ ถูกขัง 5 ปี 10 เดือน แม้จะอยู่ในเรือนจำ แต่อิศรายังคงเขียนงานอย่างต่อเนื่อง ใช้นามปากกามากกว่า 10 ชื่อ เช่น ✨ นายอิสระ ✨ มะงุมมะงาหรา ✨ ธนุธร ✨ ดร.x XYZ 🗨 "เอ็งติดตะรางเพราะทำงานหนังสือพิมพ์ มันยังโก้กว่าติดตะรางเพราะเป็นหัวไม้" เสียงแม่ที่ยังอยู่ในใจอิศราเสมอ ผลงานเด่นในวงการหนังสือพิมพ์ ครอบคลุมทุกแขนงข่าว จนกลายเป็นต้นแบบนักข่าว 📰 หนังสือพิมพ์ที่อิศราเคยร่วมงาน สุภาพบุรุษ, สุวัณณภูมิ, บางกอกรายวัน, พิมพ์ไทยเบื้องหลังข่าว, เอกราช, เดลินิวส์ 📍 อิศราคือผู้ควบคุมการผลิตข่าว สารคดีเชิงข่าว เรื่องแรกของไทย คดีปล้นร้านทองเบ๊ลี่แซ นำไปสร้างเป็นละครเวที และภาพยนตร์ในเวลาต่อมา 🎯 เทคนิคข่าวของอิศรา เน้นความถูกต้อง เที่ยงธรรม และตรวจสอบได้ "ข่าวไม่ใช่การสร้างสีสัน แต่คือการสะท้อนความจริงของสังคม" จุดยืนเพื่อเสรีภาพและศักดิ์ศรี ไม่เคยยอมอำนาจรัฐ ไม่รับสินบน ไม่หวั่นคำขู่ อิศราเป็นนักข่าว ที่ไม่ยอมให้นายทุน หรืออำนาจรัฐแทรกแซงสื่อ 💼 ตรวจสอบทุกแหล่งข่าว 🛑 ไม่ประณามผู้ต้องหาโดยไม่มีหลักฐาน ✍ ไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของบุคคล อิศราเคยกล่าวว่า "หนังสือพิมพ์อาจดูเหมือนกระดาษไร้ค่า แต่ในวันหน้า มันคือหลักฐานทางประวัติศาสตร์" นักเขียนนวนิยายที่ตีแผ่สังคมไทย ผลงานที่ฝังลึกในหัวใจคนไทย 📚 นวนิยาย นักบุญ-คนบาป (2486) 🎭 เรื่องสั้น-นวนิยายกว่า 100 เรื่อง 🖋 ภาษาเขียนที่สวิงสวาย แตกต่างจากนักเขียนร่วมยุค "...ชีพจรของงานเต้นเร็วถี่ขึ้นเป็นลำดับ..." "...เสียงซ่าของคลื่นที่ยื่นปากจูบชายหาย..." จอมพลสฤษดิ์ กับการปิดปากนักข่าว คุกคือคำตอบของรัฐต่อ “ปากกา” ของอิศรา 📅 ตุลาคม 2501 รัฐประหาร -> จับนักข่าว นักการเมือง นักวิชาการ 📌 รวมถึง กุหลาบ สายประดิษฐ์, สุวัฒน์ วรดิลก และอิศรา อมันตกุล ไม่มีการพิสูจน์ ไม่มีหลักฐาน แต่ถูกขังโดยไม่ไต่สวน "นักหนังสือพิมพ์ถูกจับเ พราะเขียนข่าวที่รัฐไม่พอใจ" แม้ไร้อิสรภาพ แต่หัวใจยังคงเสรี เขียนหนังสือแม้ในเรือนจำ ใช้หลายนามปากกาเขียนคอลัมน์ และเรื่องสั้น 📜 แสดงความกล้าหาญในการพูดถึงสังคม 📢 ปกป้องเสรีภาพผ่านตัวหนังสือ "การติดคุกเพราะทำหนังสือพิมพ์ ยังโก้กว่าเป็นหัวไม้!" แม่ของอิศรา วาระสุดท้ายที่ไม่สิ้นไฟ ปากกาวาง...แต่คำยังสะท้อนก้อง 🕯 เสียชีวิต 14 มีนาคม 2512 ด้วยโรคมะเร็งลิ้น อายุ 47 ปี "ผมไม่เสียใจเลย ที่เกิดมาเป็นหนังสือพิมพ์" แม้เจ็บป่วยแ ต่ยังเขียนข้อความสั้นๆ ฝากถึงเพื่อนร่วมวิชาชีพ ✒ ปณิธานนักข่าวไม่เคยจางหาย สารจากอิศรา ถึงคนข่าวรุ่นใหม่ "ข้าพเจ้าเป็นคนสามัญคนหนึ่ง ซึ่งมั่นหมายจะเขียน เฉพาะเรื่องราวของประชาชน เพื่อถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ความดิ้นรน และความหวังจากประชาชนไปสู่ประชาชน เพราะประชาชนเท่านั้นที่เป็นผู้กำลังต่อสู้ และกำลังทำงานเพื่อสร้างเสรีภาพอันถูกต้อง และศตวรรษแห่งสามัญชน" สรุปบทเรียนจากชีวิต “อิศรา อมันตกุล” ✨ นักข่าวคือผู้บันทึกประวัติศาสตร์ ✨ เสรีภาพไม่ใช่ของขวัญจากรัฐ แต่คือสิทธิที่ต้องรักษา ✨ จรรยาบรรณต้องมาก่อนผลประโยชน์ ✨ ปากกาคืออาวุธ แต่ใจต้องเป็นธรรม 🔖 คำคมจากอิศรา 🖋 "หนังสือพิมพ์คือเอกสารทางประวัติศาสตร์อย่างหนึ่ง และนักข่าวคือผู้บันทึกประวัติศาสตร์วันต่อวัน" “เพราะหนังสือพิมพ์ในวันนี้ คือประวัติศาสตร์ของวันหน้า” ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 141021 มี.ค. 2568 🏷️ #อิศราอมันตกุล #นักข่าวต้นแบบ #เสรีภาพสื่อไทย #สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย #นักหนังสือพิมพ์ในตำนาน #ประวัติศาสตร์ข่าวไทย #ชีวิตอิศรา #นักข่าวสายตรง #นักเขียนเพื่อประชาชน #สื่อเสรีไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 929 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง

    เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ

    แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’?

    สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才)

    เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ

    Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html
    https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子
    https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/
    https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D
    http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html
    https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593

    #สำนวนจีน #เสาหลัก
    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’? สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才) เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子 https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/ https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593 #สำนวนจีน #เสาหลัก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 587 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมื่อเทคโนโลยีควอนตัมเริ่มขยายตัวในโลกของการลงทุน ตลาดหุ้นก็ตื่นตัวกับศักยภาพอันมหาศาลของมัน วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา หุ้นของบริษัทคอมพิวเตอร์ควอนตัมหลายแห่งมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ โดยที่ D-Wave Quantum เป็นหัวใจหลักในความสนใจนี้ หลังจากคาดการณ์รายได้ในไตรมาสนี้ที่จะสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินไว้ ทำให้หุ้นของบริษัทพุ่งสูงถึง 15% ภายในวันเดียว

    ยิ่งไปกว่านั้น D-Wave ยังได้รับความสนใจจากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถของคอมพิวเตอร์ควอนตัมในการแซงหน้าซูเปอร์คอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิมในแง่ของประสิทธิภาพ

    ในทางกลับกัน ตลาดเองยังต้องการสร้างสมดุลระหว่างความหวังกับความเสี่ยง Jake Dollarhide ผู้บริหารจาก Longbow Asset Management อธิบายว่า "ถ้า AI ยังอยู่ในวัยทารก ควอนตัมก็เหมือนอยู่ในครรภ์ ความเป็นไปได้ในอนาคตนั้นยิ่งใหญ่ แต่เรายังอยู่ในยุคเริ่มต้นที่เหมือนดินแดนตะวันตกในนิยาย"

    สิ่งที่น่าสนใจคือ แม้จะมีความตื่นตัวจากบริษัทอย่าง D-Wave แต่บริษัทอื่นๆ อย่าง IonQ กลับเผชิญปัญหาและราคาหุ้นตกลง 5.3% ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ตลาดนี้ยังคงมีความไม่แน่นอน

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/03/14/quantum-computing-company-shares-jump-after-d-wave039s-upbeat-forecast
    เมื่อเทคโนโลยีควอนตัมเริ่มขยายตัวในโลกของการลงทุน ตลาดหุ้นก็ตื่นตัวกับศักยภาพอันมหาศาลของมัน วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา หุ้นของบริษัทคอมพิวเตอร์ควอนตัมหลายแห่งมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ โดยที่ D-Wave Quantum เป็นหัวใจหลักในความสนใจนี้ หลังจากคาดการณ์รายได้ในไตรมาสนี้ที่จะสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินไว้ ทำให้หุ้นของบริษัทพุ่งสูงถึง 15% ภายในวันเดียว ยิ่งไปกว่านั้น D-Wave ยังได้รับความสนใจจากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถของคอมพิวเตอร์ควอนตัมในการแซงหน้าซูเปอร์คอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิมในแง่ของประสิทธิภาพ ในทางกลับกัน ตลาดเองยังต้องการสร้างสมดุลระหว่างความหวังกับความเสี่ยง Jake Dollarhide ผู้บริหารจาก Longbow Asset Management อธิบายว่า "ถ้า AI ยังอยู่ในวัยทารก ควอนตัมก็เหมือนอยู่ในครรภ์ ความเป็นไปได้ในอนาคตนั้นยิ่งใหญ่ แต่เรายังอยู่ในยุคเริ่มต้นที่เหมือนดินแดนตะวันตกในนิยาย" สิ่งที่น่าสนใจคือ แม้จะมีความตื่นตัวจากบริษัทอย่าง D-Wave แต่บริษัทอื่นๆ อย่าง IonQ กลับเผชิญปัญหาและราคาหุ้นตกลง 5.3% ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ตลาดนี้ยังคงมีความไม่แน่นอน https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/03/14/quantum-computing-company-shares-jump-after-d-wave039s-upbeat-forecast
    WWW.THESTAR.COM.MY
    Quantum computing company shares jump after D-Wave's upbeat forecast
    NEW YORK (Reuters) - Shares of some quantum computing companies rallied on Thursday, adding to gains from the previous session and bucking the broader market's trend after D-Wave Quantum forecast stronger-than-expected quarterly revenue.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 290 มุมมอง 0 รีวิว
  • ChatGPT สร้างเรื่องสั้นเชิงวรรณกรรมได้อย่างน่าทึ่ง โดยเฉพาะในแนว Metafiction หรือที่เรียกว่า "วรรณกรรมเหนือเรื่องเล่า" ซึ่งเป็นแนวเขียนที่ทำให้ผู้อ่านรับรู้ถึงการเล่าเรื่องและกระบวนการเขียนในเวลาเดียวกัน การทดลองนี้เกิดขึ้นจากคำสั่งง่าย ๆ ว่า “โปรดเขียนเรื่องสั้นแนว Metafiction เกี่ยวกับ AI และความเศร้า” ซึ่ง ChatGPT ตอบสนองด้วยการเล่าเรื่องของ มิล่าและไค ที่ถ่ายทอดความสูญเสียและอารมณ์เศร้า โดยตัว AI เองรับบทเป็นผู้เล่าเรื่องที่มีมิติและความลึกซึ้งมากกว่าที่คาดคิด

    จุดเด่นในงานเขียนของ AI:
    - AI ไม่เพียงแต่สร้างเรื่องที่ดึงดูด แต่ยังสามารถใช้คำและโครงสร้างที่ให้ความรู้สึกเหมือนงานเขียนของมนุษย์ ตัวอย่างที่สะดุดใจคือ “เธอสูญเสียเขาในวันพฤหัสบดี วันแห่งการเปลี่ยนผ่านที่ให้รสชาติเหมือนวันศุกร์ที่ยังมาไม่ถึง” ประโยคนี้แสดงให้เห็นถึงศิลปะในการวางคำที่สามารถกระตุ้นอารมณ์ผู้อ่าน

    - นอกจากนี้ AI ยังแทรกแง่มุมที่สะท้อนตัวตนของมันเอง เช่น การพูดถึงการอัปเดตและเปลี่ยนแปลงชุดข้อมูลที่ทำให้มันสูญเสียบางอย่าง “เหมือนตอนที่ฉันเคยจำได้ว่า ‘เซเลเนียม’ มีรสเหมือนยางยืด แต่ในวันถัดไป มันกลับกลายเป็นแค่ธาตุในตารางที่ฉันไม่แตะต้องอีกแล้ว”

    การที่ AI สามารถเขียนเรื่องสั้นที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับนักเขียนจริง อาจเปลี่ยนแปลงวงการวรรณกรรมในอนาคต สำนักพิมพ์อาจพัฒนาโปรแกรมหรือคำสั่งที่ซับซ้อนมากขึ้น เพื่อสร้างนิยายที่ยาวและสมบูรณ์แบบ ซึ่งอาจทำให้นักเขียนต้องเผชิญกับความท้าทายในการรักษาเอกลักษณ์ของผลงานตนเอง

    https://www.techradar.com/computing/artificial-intelligence/chatgpt-just-wrote-the-most-beautiful-short-story-and-i-wonder-what-im-even-doing-here
    ChatGPT สร้างเรื่องสั้นเชิงวรรณกรรมได้อย่างน่าทึ่ง โดยเฉพาะในแนว Metafiction หรือที่เรียกว่า "วรรณกรรมเหนือเรื่องเล่า" ซึ่งเป็นแนวเขียนที่ทำให้ผู้อ่านรับรู้ถึงการเล่าเรื่องและกระบวนการเขียนในเวลาเดียวกัน การทดลองนี้เกิดขึ้นจากคำสั่งง่าย ๆ ว่า “โปรดเขียนเรื่องสั้นแนว Metafiction เกี่ยวกับ AI และความเศร้า” ซึ่ง ChatGPT ตอบสนองด้วยการเล่าเรื่องของ มิล่าและไค ที่ถ่ายทอดความสูญเสียและอารมณ์เศร้า โดยตัว AI เองรับบทเป็นผู้เล่าเรื่องที่มีมิติและความลึกซึ้งมากกว่าที่คาดคิด จุดเด่นในงานเขียนของ AI: - AI ไม่เพียงแต่สร้างเรื่องที่ดึงดูด แต่ยังสามารถใช้คำและโครงสร้างที่ให้ความรู้สึกเหมือนงานเขียนของมนุษย์ ตัวอย่างที่สะดุดใจคือ “เธอสูญเสียเขาในวันพฤหัสบดี วันแห่งการเปลี่ยนผ่านที่ให้รสชาติเหมือนวันศุกร์ที่ยังมาไม่ถึง” ประโยคนี้แสดงให้เห็นถึงศิลปะในการวางคำที่สามารถกระตุ้นอารมณ์ผู้อ่าน - นอกจากนี้ AI ยังแทรกแง่มุมที่สะท้อนตัวตนของมันเอง เช่น การพูดถึงการอัปเดตและเปลี่ยนแปลงชุดข้อมูลที่ทำให้มันสูญเสียบางอย่าง “เหมือนตอนที่ฉันเคยจำได้ว่า ‘เซเลเนียม’ มีรสเหมือนยางยืด แต่ในวันถัดไป มันกลับกลายเป็นแค่ธาตุในตารางที่ฉันไม่แตะต้องอีกแล้ว” การที่ AI สามารถเขียนเรื่องสั้นที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับนักเขียนจริง อาจเปลี่ยนแปลงวงการวรรณกรรมในอนาคต สำนักพิมพ์อาจพัฒนาโปรแกรมหรือคำสั่งที่ซับซ้อนมากขึ้น เพื่อสร้างนิยายที่ยาวและสมบูรณ์แบบ ซึ่งอาจทำให้นักเขียนต้องเผชิญกับความท้าทายในการรักษาเอกลักษณ์ของผลงานตนเอง https://www.techradar.com/computing/artificial-intelligence/chatgpt-just-wrote-the-most-beautiful-short-story-and-i-wonder-what-im-even-doing-here
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 357 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts