สิงคโปร์ ยุบสภาก่อนได้เปรียบ?
การประกาศยุบสภาของรัฐบาลสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. และจัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 พ.ค.ที่จะถึงนี้ นายลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ให้เหตุผลว่า เพื่อต้องการให้ชาวสิงคโปร์ได้ตัดสินใจเลือกรัฐบาลซึ่งจะนำพาประเทศในช่วงเวลาวิกฤต หลังจากโลกกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอนและอาจถึงขั้นไร้เสถียรภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้า ซึ่งสิงคโปร์ถูกขึ้นภาษี 10% นายหว่องเคยกล่าวต่อรัฐสภาว่า ยุคของโลกาภิวัตน์ตามกฎเกณฑ์และการค้าเสรีได้สิ้นสุดลงแล้ว สิงคโปร์เสี่ยงที่จะถูกบีบให้หลุดจากการแข่งขัน ตกขอบ และถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
การยุบสภาไม่ใช่เรื่องใหม่ของสิงคโปร์ ก่อนหน้านี้สมัยนายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 3 ก็เคยยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 10 ก.ค.2563 เพื่อต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่มีเวลาทำงานเต็ม 5 ปีในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และความท้าทายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น สามารถตัดสินใจในเรื่องสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการจัดเลือกตั้งในช่วงโควิด-19 ก็ตาม และนายลี เซียน ลุง ก็ลงจากตำแหน่งในวันที่ 15 พ.ค. 2567 เพื่อส่งต่อให้กับนายลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 4
การเลือกตั้งทั่วไปของสิงคโปร์ในครั้งนี้ เป็นการเลือกสมาชิกรัฐสภา 97 คน จาก 33 เขตเลือกตั้ง มีผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง 2.7 ล้านคน นับเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 19 นับตั้งแค่การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในปี ค.ศ.1948 และเป็นครั้งที่ 14 นับตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี ค.ศ.1965 รวมทั้งเป็นครั้งแรกที่นายลอว์เรนซ์ หว่อง รับบทบาทเป็นหัวหน้าพรรคกิจประชาชน (PAP) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเสียงข้างมากในรัฐสภาสิงคโปร์ ที่ครองอำนาจมายาวนาน สมัยที่แล้วได้มา 79 ที่นั่ง จะต้องแข่งกับพรรคแรงงาน (WP) ซึ่งสมัยที่แล้วได้มา 8 ที่นั่ง พรรคก้าวหน้าสิงคโปร์ (PSP) ได้มา 2 ที่นั่ง และพรรคอื่นๆ
บทความจาก รศ.วิทยา ด่านธำรงกูล สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) วิเคราะห์ตอนหนึ่งว่า การยุบสภาของนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ นอกจากจะเป็นการพยายามหาฉันทมติจากประชาชนว่าจะเห็นด้วยกับแนวทางการแก้ปัญหาของเขา และคณะรัฐมนตรีของเขามากน้อยเพียงใดแล้ว ยังเป็นการฉกฉวยโอกาสจากวิกฤติสงครามการค้า เพื่อให้ประชาชนได้เห็นว่ารัฐบาลของเขาเข้าใจวิกฤติครั้งนี้ และพร้อมจะเข้ามามีบทบาทเต็มที่ในการหาทางออกให้ประเทศ ย่อมเป็นการฉกฉวยคะแนนบนความกังวลใจของชาวสิงคโปร์
#Newskit
การประกาศยุบสภาของรัฐบาลสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. และจัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 พ.ค.ที่จะถึงนี้ นายลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ให้เหตุผลว่า เพื่อต้องการให้ชาวสิงคโปร์ได้ตัดสินใจเลือกรัฐบาลซึ่งจะนำพาประเทศในช่วงเวลาวิกฤต หลังจากโลกกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอนและอาจถึงขั้นไร้เสถียรภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้า ซึ่งสิงคโปร์ถูกขึ้นภาษี 10% นายหว่องเคยกล่าวต่อรัฐสภาว่า ยุคของโลกาภิวัตน์ตามกฎเกณฑ์และการค้าเสรีได้สิ้นสุดลงแล้ว สิงคโปร์เสี่ยงที่จะถูกบีบให้หลุดจากการแข่งขัน ตกขอบ และถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
การยุบสภาไม่ใช่เรื่องใหม่ของสิงคโปร์ ก่อนหน้านี้สมัยนายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 3 ก็เคยยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 10 ก.ค.2563 เพื่อต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่มีเวลาทำงานเต็ม 5 ปีในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และความท้าทายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น สามารถตัดสินใจในเรื่องสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการจัดเลือกตั้งในช่วงโควิด-19 ก็ตาม และนายลี เซียน ลุง ก็ลงจากตำแหน่งในวันที่ 15 พ.ค. 2567 เพื่อส่งต่อให้กับนายลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 4
การเลือกตั้งทั่วไปของสิงคโปร์ในครั้งนี้ เป็นการเลือกสมาชิกรัฐสภา 97 คน จาก 33 เขตเลือกตั้ง มีผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง 2.7 ล้านคน นับเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 19 นับตั้งแค่การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในปี ค.ศ.1948 และเป็นครั้งที่ 14 นับตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี ค.ศ.1965 รวมทั้งเป็นครั้งแรกที่นายลอว์เรนซ์ หว่อง รับบทบาทเป็นหัวหน้าพรรคกิจประชาชน (PAP) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเสียงข้างมากในรัฐสภาสิงคโปร์ ที่ครองอำนาจมายาวนาน สมัยที่แล้วได้มา 79 ที่นั่ง จะต้องแข่งกับพรรคแรงงาน (WP) ซึ่งสมัยที่แล้วได้มา 8 ที่นั่ง พรรคก้าวหน้าสิงคโปร์ (PSP) ได้มา 2 ที่นั่ง และพรรคอื่นๆ
บทความจาก รศ.วิทยา ด่านธำรงกูล สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) วิเคราะห์ตอนหนึ่งว่า การยุบสภาของนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ นอกจากจะเป็นการพยายามหาฉันทมติจากประชาชนว่าจะเห็นด้วยกับแนวทางการแก้ปัญหาของเขา และคณะรัฐมนตรีของเขามากน้อยเพียงใดแล้ว ยังเป็นการฉกฉวยโอกาสจากวิกฤติสงครามการค้า เพื่อให้ประชาชนได้เห็นว่ารัฐบาลของเขาเข้าใจวิกฤติครั้งนี้ และพร้อมจะเข้ามามีบทบาทเต็มที่ในการหาทางออกให้ประเทศ ย่อมเป็นการฉกฉวยคะแนนบนความกังวลใจของชาวสิงคโปร์
#Newskit
สิงคโปร์ ยุบสภาก่อนได้เปรียบ?
การประกาศยุบสภาของรัฐบาลสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. และจัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 พ.ค.ที่จะถึงนี้ นายลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ให้เหตุผลว่า เพื่อต้องการให้ชาวสิงคโปร์ได้ตัดสินใจเลือกรัฐบาลซึ่งจะนำพาประเทศในช่วงเวลาวิกฤต หลังจากโลกกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอนและอาจถึงขั้นไร้เสถียรภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้า ซึ่งสิงคโปร์ถูกขึ้นภาษี 10% นายหว่องเคยกล่าวต่อรัฐสภาว่า ยุคของโลกาภิวัตน์ตามกฎเกณฑ์และการค้าเสรีได้สิ้นสุดลงแล้ว สิงคโปร์เสี่ยงที่จะถูกบีบให้หลุดจากการแข่งขัน ตกขอบ และถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
การยุบสภาไม่ใช่เรื่องใหม่ของสิงคโปร์ ก่อนหน้านี้สมัยนายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 3 ก็เคยยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 10 ก.ค.2563 เพื่อต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่มีเวลาทำงานเต็ม 5 ปีในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และความท้าทายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น สามารถตัดสินใจในเรื่องสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการจัดเลือกตั้งในช่วงโควิด-19 ก็ตาม และนายลี เซียน ลุง ก็ลงจากตำแหน่งในวันที่ 15 พ.ค. 2567 เพื่อส่งต่อให้กับนายลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 4
การเลือกตั้งทั่วไปของสิงคโปร์ในครั้งนี้ เป็นการเลือกสมาชิกรัฐสภา 97 คน จาก 33 เขตเลือกตั้ง มีผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง 2.7 ล้านคน นับเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 19 นับตั้งแค่การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในปี ค.ศ.1948 และเป็นครั้งที่ 14 นับตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี ค.ศ.1965 รวมทั้งเป็นครั้งแรกที่นายลอว์เรนซ์ หว่อง รับบทบาทเป็นหัวหน้าพรรคกิจประชาชน (PAP) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเสียงข้างมากในรัฐสภาสิงคโปร์ ที่ครองอำนาจมายาวนาน สมัยที่แล้วได้มา 79 ที่นั่ง จะต้องแข่งกับพรรคแรงงาน (WP) ซึ่งสมัยที่แล้วได้มา 8 ที่นั่ง พรรคก้าวหน้าสิงคโปร์ (PSP) ได้มา 2 ที่นั่ง และพรรคอื่นๆ
บทความจาก รศ.วิทยา ด่านธำรงกูล สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) วิเคราะห์ตอนหนึ่งว่า การยุบสภาของนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ นอกจากจะเป็นการพยายามหาฉันทมติจากประชาชนว่าจะเห็นด้วยกับแนวทางการแก้ปัญหาของเขา และคณะรัฐมนตรีของเขามากน้อยเพียงใดแล้ว ยังเป็นการฉกฉวยโอกาสจากวิกฤติสงครามการค้า เพื่อให้ประชาชนได้เห็นว่ารัฐบาลของเขาเข้าใจวิกฤติครั้งนี้ และพร้อมจะเข้ามามีบทบาทเต็มที่ในการหาทางออกให้ประเทศ ย่อมเป็นการฉกฉวยคะแนนบนความกังวลใจของชาวสิงคโปร์
#Newskit
1 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
5 มุมมอง
0 รีวิว