• ถึงคิว "บูร์กินาฟาโซ"

    สหรัฐกล่าวหาผู้นำบูร์กินาฟาโซ ใช้ทองคำสำรองของประเทศเพื่อปกป้องตนเองและพรรคพวก ด้านวุฒิสภาสหรัฐกำลังพูดถึงมาตรการที่เตรียมออกมาใช้กับประเทศที่เพิ่งหลุดพ้นจากอิทธิพลฝรั่งเศส

    นายพลไมเคิล แลงลีย์ ผู้บัญชาการกองบัญชาการสหรัฐเขตแอฟริกา (AFRICOM) กล่าวหากัปตันอิบราฮิม ตราโอเร่ ผู้นำบูร์กินาฟาโซ ว่าใช้ทองคำของประเทศเพื่อปกป้องตนเองและกลุ่มผู้ปกครองประเทศที่มาจากคณะรัฐประหาร มากกว่าใช้เพื่อความมั่นคงของประชาชน ในระหว่างการตอบคำถามของ 'โรเจอร์ วิกเกอร์' สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2025 เกี่ยวกับการทุจริตและการติดสินบนที่เกี่ยวข้องกับการค้ากับจีน จนนำไปสู่การขับไล่ผู้บริหารบริษัทจีนออกนอกประเทศ

    อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 15 เมษายน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของประเทศบูร์กินาฟาโซ "คาราโมโก ฌอง มารี ตราโอเร" ออกแถลงการณ์ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยระบุว่าข้อกล่าวหา "ไม่มีมูลความจริง" และข้อกล่าวหาดังกล่าวยังไม่ชัดเจน หรือหลักฐานเพียงพอ

    สิ่งนี้เนื่องจากข้อมูลที่มีความขัดแย้งกันและหลักฐานที่ไม่เพียงพอ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กว้างขึ้น เนื่องจากบูร์กินาฟาโซกำลังละทิ้งอิทธิพลของชาติตะวันตก จำเป็นต้องมีการสืบสวนเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่าทองคำดังกล่าวถูกนำมาใช้อย่างไร

    เมื่อสหรัฐนำเรื่องใดก็ตามเข้าสู่การพิจารณาในรัฐสภา นั่นหมายความว่า พวกเขากำลังเตรียมสร้างเหตุผลเพื่อเพิ่มทำอะไรบางอย่างในบูร์กินาฟาโซ ซึ่งอาจส่งผลถึงอนาคตของกัปตันตราโอเร่ในอนาคต
    ถึงคิว "บูร์กินาฟาโซ" สหรัฐกล่าวหาผู้นำบูร์กินาฟาโซ ใช้ทองคำสำรองของประเทศเพื่อปกป้องตนเองและพรรคพวก ด้านวุฒิสภาสหรัฐกำลังพูดถึงมาตรการที่เตรียมออกมาใช้กับประเทศที่เพิ่งหลุดพ้นจากอิทธิพลฝรั่งเศส นายพลไมเคิล แลงลีย์ ผู้บัญชาการกองบัญชาการสหรัฐเขตแอฟริกา (AFRICOM) กล่าวหากัปตันอิบราฮิม ตราโอเร่ ผู้นำบูร์กินาฟาโซ ว่าใช้ทองคำของประเทศเพื่อปกป้องตนเองและกลุ่มผู้ปกครองประเทศที่มาจากคณะรัฐประหาร มากกว่าใช้เพื่อความมั่นคงของประชาชน ในระหว่างการตอบคำถามของ 'โรเจอร์ วิกเกอร์' สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2025 เกี่ยวกับการทุจริตและการติดสินบนที่เกี่ยวข้องกับการค้ากับจีน จนนำไปสู่การขับไล่ผู้บริหารบริษัทจีนออกนอกประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 15 เมษายน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของประเทศบูร์กินาฟาโซ "คาราโมโก ฌอง มารี ตราโอเร" ออกแถลงการณ์ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยระบุว่าข้อกล่าวหา "ไม่มีมูลความจริง" และข้อกล่าวหาดังกล่าวยังไม่ชัดเจน หรือหลักฐานเพียงพอ สิ่งนี้เนื่องจากข้อมูลที่มีความขัดแย้งกันและหลักฐานที่ไม่เพียงพอ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กว้างขึ้น เนื่องจากบูร์กินาฟาโซกำลังละทิ้งอิทธิพลของชาติตะวันตก จำเป็นต้องมีการสืบสวนเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่าทองคำดังกล่าวถูกนำมาใช้อย่างไร เมื่อสหรัฐนำเรื่องใดก็ตามเข้าสู่การพิจารณาในรัฐสภา นั่นหมายความว่า พวกเขากำลังเตรียมสร้างเหตุผลเพื่อเพิ่มทำอะไรบางอย่างในบูร์กินาฟาโซ ซึ่งอาจส่งผลถึงอนาคตของกัปตันตราโอเร่ในอนาคต
    0 Comments 0 Shares 110 Views 0 Reviews
  • 170 ปี สนธิสัญญาเบาว์ริง เปิดประเทศสู่เศรษฐกิจโลก ประโยชน์ไม่สมดุล ทุนต่างชาติครอบงำ ไม่ยุติธรรม! ไทยทำไม่ได้ที่อังกฤษ เปิดประเทศสู่โลก แต่ปิดความเท่าเทียม? 🇹🇭⚖️

    📚 สนธิสัญญาเบาว์ริงไม่ใช่แค่เรื่องในอดีต แต่คือจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่นำไทยเข้าสู่เวทีเศรษฐกิจโลก ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่เท่าเทียม เปิดประตูสู่ความทันสมัย แต่ปิดโอกาสของความเสมอภาค ในการเจรจากับชาติตะวันตก ⚖️

    🧭 สนธิสัญญาที่เปิดประเทศ แต่ปิดความเสมอภาค ในวันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “สนธิสัญญาเบาว์ริง” ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของไทย สู่โลกทุนนิยม 🌍

    แต่ภายใต้การเปิดเสรีนั้น กลับมีเงื่อนไขที่ไทยเสียเปรียบ ทั้งในแง่เศรษฐกิจ การปกครอง และกฎหมายระหว่างประเทศ ทำให้สนธิสัญญานี้ถูกวิพากษ์ว่าเป็น "สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม"

    📜 “Treaty of Friendship and Commerce between the British Empire and the Kingdom of Siam” หรือ Bowring Treaty คือข้อตกลงระหว่างไทย หรือราชอาณาจักรสยามในสมัยนั้น กับอังกฤษ ที่ลงนามเมื่อวันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398

    จุดเด่นของสนธิสัญญานี้ คือการเปิดให้พ่อค้าชาวอังกฤษ สามารถค้าขายอย่างเสรีในสยาม และได้รับ “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” (Extraterritorial Rights) 🛂

    กล่าวคือ คนในบังคับอังกฤษที่อยู่ในไทย จะไม่อยู่ภายใต้กฎหมายไทย แต่ขึ้นกับศาลของอังกฤษเอง

    นอกจากนี้ สนธิสัญญายังเปิดทางให้พ่อค้าต่างชาติ ตั้งรกราก ซื้อขายทรัพย์สิน และถือครองที่ดินในบางพื้นที่ได้ด้วย

    💼 เหตุผลเบื้องหลัง อังกฤษต้องการอะไรกันแน่? หลายคนอาจเข้าใจว่า อังกฤษต้องการแค่เปิดตลาดการค้า แต่เบื้องหลังของข้อตกลงนี้ กลับลึกซึ้งกว่านั้นมาก…

    ผลประโยชน์จากการค้าฝิ่น อังกฤษต้องการสร้างเส้นทางการค้าฝิ่น ที่มั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการให้สยามเป็นทางผ่านการค้ากับจีน ฮ่องกง และอินเดีย 🚢 อำนาจและอิทธิพลทางการทูต

    หลังสงครามฝิ่นครั้งแรก จีนพ่ายแพ้ อังกฤษต้องการป้องกันไม่ให้เกิด “สยามเป็นจีนลำดับต่อไป” เบาว์ริงใช้วิธี “ทูตนุ่ม” มากกว่าการใช้กำลังทหาร

    ประโยชน์จากภาษีต่ำ ตามสนธิสัญญา ไทยเก็บภาษีนำเข้าได้แค่ 3% เท่านั้น ‼️ ฝิ่นไม่ต้องเสียภาษีเลย แต่ต้องขายให้กับเจ้าภาษีเท่านั้น

    👑 ทำไมสยามถึงยอมเซ็น? พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเล็งเห็นว่า ประเทศไทยอยู่ในภาวะล้าหลัง เมื่อเทียบกับชาติตะวันตก หากไม่ยอมเปิดประเทศ อาจตกเป็นอาณานิคมเหมือนจีน พม่า หรืออินเดียได้

    การเปิดการค้าเสรี จะช่วยให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจาก “การส่งออกข้าว” ชาวนาก็จะมีเงินมากขึ้น ข้าวจะกลายเป็นสินค้าส่งออกของไทย สร้างรายได้ให้แก่รัฐบาล... 🧺🌾

    🔍 ผลกระทบที่ตามมา เปิดเสรี หรือเปิดโอกาสให้ต่างชาติครอบงำ? ภายหลังการลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริง มีเรือต่างประเทศ เข้ามาค้าขายกว่า 100 ลำในปีเดียว ระบบเงินเหรียญ แทนพดด้วง เริ่มใช้อย่างเป็นระบบ เกิดการลงทุนของต่างชาติ เช่น โรงสี โรงเลื่อยไม้ โรงน้ำตาล

    ชาวนามีรายได้สูงขึ้น ราคาข้าวพุ่ง จาก 3–5 บาท ต่อเกวียน เป็น 16–20 บาท ต่อเกวียน ราษฎรสามารถ “จำนอง” หรือ “ขายฝาก” ที่ดินของตนได้ ชาวต่างชาติสามารถเช่า หรือซื้อที่ดินได้ในพื้นที่ที่รัฐบาลกำหนด 🏘️

    📈 ข้อดีของสนธิสัญญาเบาว์ริง ที่น้อยคนนึกถึง...
    ✅ เปิดประตูการค้าเสรี
    ✅ ช่วยให้ไทยพัฒนาวิทยาการตะวันตก
    ✅ ราษฎรมีรายได้จากการค้าข้าว
    ✅ กระตุ้นการพัฒนาเมือง ถนนเจริญกรุง สีลม เริ่มก่อสร้าง
    ✅ ทำให้มีการแข่งขันทางการค้า → ราคาสินค้าลดลง

    📌 สินค้าไทยเป็นที่ต้องการของตลาดโลก เช่น ข้าว ไม้สัก งาช้าง

    😞 ข้อเสียเปรียบของไทย ในสนธิสัญญาเบาว์ริง ที่ถูกซ่อนไว้

    ❌ เสียสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ไม่สามารถเก็บภาษีนำเข้าตามต้องการได้ ต้องเปิดตลาดสินค้าให้ต่างชาติ โดยไม่มีข้อจำกัด

    ❌ เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คนอังกฤษไม่ต้องขึ้นศาลไทย ทำให้ศาลไทยไม่มีอำนาจเต็มที่

    ❌ ทุนต่างชาติเข้ามาครอบงำเศรษฐกิจ ตั้งโรงงาน โรงสี โรงเลื่อยไม้ ฯลฯ โดยคนไทยแข่งขันไม่ได้

    ❌ คนไทยไม่สามารถทำการค้าในอังกฤษได้ ไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียม เหมือนที่อังกฤษได้จากไทย

    ⚖️ ทำไมถึงเรียกว่า “สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม”?
    📍 ถูกเซ็นภายใต้แรงกดดัน จากอำนาจจักรวรรดิ
    📍 ไม่มีความเสมอภาคระหว่างสองประเทศ
    📍 ไทยไม่สามารถต่อรองเงื่อนไขได้มากนัก
    📍 คล้ายกับ “สนธิสัญญานานกิง” ที่จีนถูกบังคับให้เซ็นหลังสงครามฝิ่น

    📚 บทเรียนที่ไทยได้จากอดีต

    🇹🇭 สนธิสัญญาเบาว์ริง เป็นแรงผลักดันให้ไทยเร่งพัฒนา ปฏิรูประบบราชการ ระบบศาล และกฎหมาย เปิดการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาในภายหลัง โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่งผลถึงการรักษาเอกราชของไทย ในขณะที่เพื่อนบ้านหลายประเทศ กลายเป็นอาณานิคม

    ✨ ไทยเสียเปรียบวันนี้ เพื่อไม่เสียประเทศในวันหน้า?

    “ไม่เสมอภาค แต่จำเป็น” คือคำจำกัดความที่ดีที่สุด ของสนธิสัญญาเบาว์ริง

    ถึงแม้สัญญาฉบับนี้ จะเต็มไปด้วยข้อเสียเปรียบ แต่ก็นำมาซึ่งการรอดพ้นจากอาณานิคม การเปิดประตูสู่โลกสมัยใหม่ การเตรียมประเทศ เข้าสู่ยุคการปฏิรูปในรัชกาลที่ 5

    สนธิสัญญาเบาว์ริงจึงเป็นเหมือน "ดาบสองคม" ที่ทั้งให้คุณและโทษ ในเวลาเดียวกัน ⚔️

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 181147 เม.ย. 2568

    📌 #สนธิสัญญาเบาว์ริง #เปิดประเทศแต่ไม่เปิดโอกาส #ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย
    #ThailandHistory #BowringTreaty #เปิดเสรีไม่เท่าเทียม
    #ThailandTradeHistory #อธิปไตยไทย #อังกฤษในไทย
    #โลกาภิวัตน์กับไทย
    170 ปี สนธิสัญญาเบาว์ริง เปิดประเทศสู่เศรษฐกิจโลก ประโยชน์ไม่สมดุล ทุนต่างชาติครอบงำ ไม่ยุติธรรม! ไทยทำไม่ได้ที่อังกฤษ เปิดประเทศสู่โลก แต่ปิดความเท่าเทียม? 🇹🇭⚖️ 📚 สนธิสัญญาเบาว์ริงไม่ใช่แค่เรื่องในอดีต แต่คือจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่นำไทยเข้าสู่เวทีเศรษฐกิจโลก ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่เท่าเทียม เปิดประตูสู่ความทันสมัย แต่ปิดโอกาสของความเสมอภาค ในการเจรจากับชาติตะวันตก ⚖️ 🧭 สนธิสัญญาที่เปิดประเทศ แต่ปิดความเสมอภาค ในวันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “สนธิสัญญาเบาว์ริง” ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของไทย สู่โลกทุนนิยม 🌍 แต่ภายใต้การเปิดเสรีนั้น กลับมีเงื่อนไขที่ไทยเสียเปรียบ ทั้งในแง่เศรษฐกิจ การปกครอง และกฎหมายระหว่างประเทศ ทำให้สนธิสัญญานี้ถูกวิพากษ์ว่าเป็น "สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม" 📜 “Treaty of Friendship and Commerce between the British Empire and the Kingdom of Siam” หรือ Bowring Treaty คือข้อตกลงระหว่างไทย หรือราชอาณาจักรสยามในสมัยนั้น กับอังกฤษ ที่ลงนามเมื่อวันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 จุดเด่นของสนธิสัญญานี้ คือการเปิดให้พ่อค้าชาวอังกฤษ สามารถค้าขายอย่างเสรีในสยาม และได้รับ “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” (Extraterritorial Rights) 🛂 กล่าวคือ คนในบังคับอังกฤษที่อยู่ในไทย จะไม่อยู่ภายใต้กฎหมายไทย แต่ขึ้นกับศาลของอังกฤษเอง นอกจากนี้ สนธิสัญญายังเปิดทางให้พ่อค้าต่างชาติ ตั้งรกราก ซื้อขายทรัพย์สิน และถือครองที่ดินในบางพื้นที่ได้ด้วย 💼 เหตุผลเบื้องหลัง อังกฤษต้องการอะไรกันแน่? หลายคนอาจเข้าใจว่า อังกฤษต้องการแค่เปิดตลาดการค้า แต่เบื้องหลังของข้อตกลงนี้ กลับลึกซึ้งกว่านั้นมาก… ผลประโยชน์จากการค้าฝิ่น อังกฤษต้องการสร้างเส้นทางการค้าฝิ่น ที่มั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการให้สยามเป็นทางผ่านการค้ากับจีน ฮ่องกง และอินเดีย 🚢 อำนาจและอิทธิพลทางการทูต หลังสงครามฝิ่นครั้งแรก จีนพ่ายแพ้ อังกฤษต้องการป้องกันไม่ให้เกิด “สยามเป็นจีนลำดับต่อไป” เบาว์ริงใช้วิธี “ทูตนุ่ม” มากกว่าการใช้กำลังทหาร ประโยชน์จากภาษีต่ำ ตามสนธิสัญญา ไทยเก็บภาษีนำเข้าได้แค่ 3% เท่านั้น ‼️ ฝิ่นไม่ต้องเสียภาษีเลย แต่ต้องขายให้กับเจ้าภาษีเท่านั้น 👑 ทำไมสยามถึงยอมเซ็น? พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเล็งเห็นว่า ประเทศไทยอยู่ในภาวะล้าหลัง เมื่อเทียบกับชาติตะวันตก หากไม่ยอมเปิดประเทศ อาจตกเป็นอาณานิคมเหมือนจีน พม่า หรืออินเดียได้ การเปิดการค้าเสรี จะช่วยให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจาก “การส่งออกข้าว” ชาวนาก็จะมีเงินมากขึ้น ข้าวจะกลายเป็นสินค้าส่งออกของไทย สร้างรายได้ให้แก่รัฐบาล... 🧺🌾 🔍 ผลกระทบที่ตามมา เปิดเสรี หรือเปิดโอกาสให้ต่างชาติครอบงำ? ภายหลังการลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริง มีเรือต่างประเทศ เข้ามาค้าขายกว่า 100 ลำในปีเดียว ระบบเงินเหรียญ แทนพดด้วง เริ่มใช้อย่างเป็นระบบ เกิดการลงทุนของต่างชาติ เช่น โรงสี โรงเลื่อยไม้ โรงน้ำตาล ชาวนามีรายได้สูงขึ้น ราคาข้าวพุ่ง จาก 3–5 บาท ต่อเกวียน เป็น 16–20 บาท ต่อเกวียน ราษฎรสามารถ “จำนอง” หรือ “ขายฝาก” ที่ดินของตนได้ ชาวต่างชาติสามารถเช่า หรือซื้อที่ดินได้ในพื้นที่ที่รัฐบาลกำหนด 🏘️ 📈 ข้อดีของสนธิสัญญาเบาว์ริง ที่น้อยคนนึกถึง... ✅ เปิดประตูการค้าเสรี ✅ ช่วยให้ไทยพัฒนาวิทยาการตะวันตก ✅ ราษฎรมีรายได้จากการค้าข้าว ✅ กระตุ้นการพัฒนาเมือง ถนนเจริญกรุง สีลม เริ่มก่อสร้าง ✅ ทำให้มีการแข่งขันทางการค้า → ราคาสินค้าลดลง 📌 สินค้าไทยเป็นที่ต้องการของตลาดโลก เช่น ข้าว ไม้สัก งาช้าง 😞 ข้อเสียเปรียบของไทย ในสนธิสัญญาเบาว์ริง ที่ถูกซ่อนไว้ ❌ เสียสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ไม่สามารถเก็บภาษีนำเข้าตามต้องการได้ ต้องเปิดตลาดสินค้าให้ต่างชาติ โดยไม่มีข้อจำกัด ❌ เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คนอังกฤษไม่ต้องขึ้นศาลไทย ทำให้ศาลไทยไม่มีอำนาจเต็มที่ ❌ ทุนต่างชาติเข้ามาครอบงำเศรษฐกิจ ตั้งโรงงาน โรงสี โรงเลื่อยไม้ ฯลฯ โดยคนไทยแข่งขันไม่ได้ ❌ คนไทยไม่สามารถทำการค้าในอังกฤษได้ ไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียม เหมือนที่อังกฤษได้จากไทย ⚖️ ทำไมถึงเรียกว่า “สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม”? 📍 ถูกเซ็นภายใต้แรงกดดัน จากอำนาจจักรวรรดิ 📍 ไม่มีความเสมอภาคระหว่างสองประเทศ 📍 ไทยไม่สามารถต่อรองเงื่อนไขได้มากนัก 📍 คล้ายกับ “สนธิสัญญานานกิง” ที่จีนถูกบังคับให้เซ็นหลังสงครามฝิ่น 📚 บทเรียนที่ไทยได้จากอดีต 🇹🇭 สนธิสัญญาเบาว์ริง เป็นแรงผลักดันให้ไทยเร่งพัฒนา ปฏิรูประบบราชการ ระบบศาล และกฎหมาย เปิดการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาในภายหลัง โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่งผลถึงการรักษาเอกราชของไทย ในขณะที่เพื่อนบ้านหลายประเทศ กลายเป็นอาณานิคม ✨ ไทยเสียเปรียบวันนี้ เพื่อไม่เสียประเทศในวันหน้า? “ไม่เสมอภาค แต่จำเป็น” คือคำจำกัดความที่ดีที่สุด ของสนธิสัญญาเบาว์ริง ถึงแม้สัญญาฉบับนี้ จะเต็มไปด้วยข้อเสียเปรียบ แต่ก็นำมาซึ่งการรอดพ้นจากอาณานิคม การเปิดประตูสู่โลกสมัยใหม่ การเตรียมประเทศ เข้าสู่ยุคการปฏิรูปในรัชกาลที่ 5 สนธิสัญญาเบาว์ริงจึงเป็นเหมือน "ดาบสองคม" ที่ทั้งให้คุณและโทษ ในเวลาเดียวกัน ⚔️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 181147 เม.ย. 2568 📌 #สนธิสัญญาเบาว์ริง #เปิดประเทศแต่ไม่เปิดโอกาส #ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย #ThailandHistory #BowringTreaty #เปิดเสรีไม่เท่าเทียม #ThailandTradeHistory #อธิปไตยไทย #อังกฤษในไทย #โลกาภิวัตน์กับไทย
    0 Comments 0 Shares 288 Views 0 Reviews
  • กระทรวงกลาโหมของรัสเซียรายงานถึงการโจมตีด้วยขีปนาวุธความแม่นยำสูง Iskander ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในเมือง Krivoy Rog ซึ่งเป็นสถานที่ประชุมของผู้บัญชาการกองทัพยูเครนและทหารจากชาติตะวันตก

    มีรายงานว่าการโจมตีดังกล่าวคร่าชีวิตเจ้าหน้าที่ทหารและต่างชาติไปมากถึง 85 นาย และทำลายรถยนต์ไปมากถึง 20 คัน

    นอกจากนี้ในช่วงเวลากลางคืน กองทัพรัสเซียยังดำเนินการโจมตีตำแหน่งสำคัญทางทหารใน Krivoy Rog เพิ่มเติมอีกหลายจุด
    กระทรวงกลาโหมของรัสเซียรายงานถึงการโจมตีด้วยขีปนาวุธความแม่นยำสูง Iskander ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในเมือง Krivoy Rog ซึ่งเป็นสถานที่ประชุมของผู้บัญชาการกองทัพยูเครนและทหารจากชาติตะวันตก มีรายงานว่าการโจมตีดังกล่าวคร่าชีวิตเจ้าหน้าที่ทหารและต่างชาติไปมากถึง 85 นาย และทำลายรถยนต์ไปมากถึง 20 คัน นอกจากนี้ในช่วงเวลากลางคืน กองทัพรัสเซียยังดำเนินการโจมตีตำแหน่งสำคัญทางทหารใน Krivoy Rog เพิ่มเติมอีกหลายจุด
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 230 Views 23 0 Reviews
  • บูรพาไม่แพ้ Ep.114 : Make Thailand Great Again มุมมองจาก ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม
    .
    รายการวันนี้มีความพิเศษ คือ คุณศุภชัยรายงานตรง มาจากเวทีการประชุมใหญ่ประจำปีของ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม ที่เกาะไห่หนาน หรือ ที่คนไทยเรียกกันว่า ไหหลำ ในประเทศจีน
    .
    สำหรับ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม เป็นการประชุมระหว่างประเทศ ที่จัดขึ้นโดยมี ประเทศจีน เป็นแกนนำ พร้อมด้วยความร่วมมือของ 26 ประเทศในเอเชีย และออสเตรเลีย โดยชื่อของ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม ก็มาจากชื่อตำบลป๋ออ๋าว ในมณฑลไห่หนาน ซึ่งเป็นที่จัดการประชุมหลักเป็นประจำทุกปี
    .
    โดยเวทีการประชุมป๋ออ๋าว ฟอรั่ม ที่คุณศุภชัยไปร่วมงานในขณะนี้นั้น ถูกเรียกกันว่าเป็น “การประชุมดาวอสแห่งเอเชีย” เพราะว่ามีบทบาทคล้ายกับเวที World Economic Forum ที่จัดขึ้นเป็นประจำที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดย “เวทีดาวอส” ส่วนใหญ่จะหารือกันเรื่องของเศรษฐกิจโลกในทัศนะ หรือ มุมมองของชาติตะวันตก แต่ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม จะให้ความสำคัญกับชาติเอเชียเป็นหลัก ......
    .
    คลิกฟัง >> https://www.youtube.com/watch?v=5YsjpZNbVkI
    .
    #บูรพาไม่แพ้ #BoaoForum #ป๋ออ่าวฟอรั่ม
    บูรพาไม่แพ้ Ep.114 : Make Thailand Great Again มุมมองจาก ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม . รายการวันนี้มีความพิเศษ คือ คุณศุภชัยรายงานตรง มาจากเวทีการประชุมใหญ่ประจำปีของ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม ที่เกาะไห่หนาน หรือ ที่คนไทยเรียกกันว่า ไหหลำ ในประเทศจีน . สำหรับ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม เป็นการประชุมระหว่างประเทศ ที่จัดขึ้นโดยมี ประเทศจีน เป็นแกนนำ พร้อมด้วยความร่วมมือของ 26 ประเทศในเอเชีย และออสเตรเลีย โดยชื่อของ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม ก็มาจากชื่อตำบลป๋ออ๋าว ในมณฑลไห่หนาน ซึ่งเป็นที่จัดการประชุมหลักเป็นประจำทุกปี . โดยเวทีการประชุมป๋ออ๋าว ฟอรั่ม ที่คุณศุภชัยไปร่วมงานในขณะนี้นั้น ถูกเรียกกันว่าเป็น “การประชุมดาวอสแห่งเอเชีย” เพราะว่ามีบทบาทคล้ายกับเวที World Economic Forum ที่จัดขึ้นเป็นประจำที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดย “เวทีดาวอส” ส่วนใหญ่จะหารือกันเรื่องของเศรษฐกิจโลกในทัศนะ หรือ มุมมองของชาติตะวันตก แต่ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม จะให้ความสำคัญกับชาติเอเชียเป็นหลัก ...... . คลิกฟัง >> https://www.youtube.com/watch?v=5YsjpZNbVkI . #บูรพาไม่แพ้ #BoaoForum #ป๋ออ่าวฟอรั่ม
    Like
    1
    0 Comments 1 Shares 441 Views 0 Reviews
  • จบข่าว!
    รัสเซียประกาศชัดเจน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซีย (Zaporizhzhia Nuclear Power Plant - ZNPP) เป็นส่วนหนึ่งของมอสโก เป็นไปไม่ได้ที่จะอนุญาตให้ยูเครนหรือชาติอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมโรงไฟฟ้าแห่งนี้

    กระทรวงต่างประเทศรัสเซียประกาศว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซีย ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคซาปอริซเซีย และเป็น 1 ใน 4 ภูมิภาคใหม่ที่ถูกผนวกเป็นดินแดนรัสเซีย ย่อมต้องเป็นของรัสเซียเท่านั้น การที่ชาติอื่นจะเข้ามาบริหารจัดการร่วมเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้

    นอกจากนี้ ประธานาธิบดีปูติน ยังได้ออกกฎหมายเพื่อประกาศให้โรงไฟฟ้าแห่งนี้เป็นทรัพย์สินของรัสเซียไปนานแล้ว แม้ว่าชาติตะวันตกในตอนนั้นจะไม่ยอมรับ นั่นไม่ใช่ปัญหาของรัสเซีย

    “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของภาคอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ของรัสเซียมาระยะหนึ่งแล้ว”
    “ดังนั้น การส่งมอบโรงไฟฟ้าซาปอริซเซียไปสู่การควบคุมของยูเครน หรือประเทศอื่นๆ จึงเป็นไปไม่ได้” กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียระบุ

    โรงไฟฟ้าซาปอริซเซียถือเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดของยุโรปด้วยจำนวนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งหมด 6 เตาปฏิกรณ์ ถึงแม้ว่าในขณะนี้จะไม่ได้ถูกใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า แต่ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ก็ได้ส่งผู้สังเกตการณ์เข้าไปประจำที่โรงไฟฟ้าแห่งนี้ เช่นเดียวกับที่ทำกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งอื่นๆ ในยูเครน

    ที่ผ่านมา ยูเครนพยายามเรียกร้องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ให้กลับคืนสู่ยูเครนมาตั้งแต่ปี 2022 หลังถูกรัสเซียเข้าควบคุม

    ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯพยายามเจรจากับรัสเซียเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ ขณะที่เซเลนสกี ย้ำว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ “เป็นของชาวยูเครน” และเห็นด้วยที่สหรัฐจะเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงาน
    จบข่าว! รัสเซียประกาศชัดเจน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซีย (Zaporizhzhia Nuclear Power Plant - ZNPP) เป็นส่วนหนึ่งของมอสโก เป็นไปไม่ได้ที่จะอนุญาตให้ยูเครนหรือชาติอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมโรงไฟฟ้าแห่งนี้ กระทรวงต่างประเทศรัสเซียประกาศว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซีย ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคซาปอริซเซีย และเป็น 1 ใน 4 ภูมิภาคใหม่ที่ถูกผนวกเป็นดินแดนรัสเซีย ย่อมต้องเป็นของรัสเซียเท่านั้น การที่ชาติอื่นจะเข้ามาบริหารจัดการร่วมเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ นอกจากนี้ ประธานาธิบดีปูติน ยังได้ออกกฎหมายเพื่อประกาศให้โรงไฟฟ้าแห่งนี้เป็นทรัพย์สินของรัสเซียไปนานแล้ว แม้ว่าชาติตะวันตกในตอนนั้นจะไม่ยอมรับ นั่นไม่ใช่ปัญหาของรัสเซีย “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของภาคอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ของรัสเซียมาระยะหนึ่งแล้ว” “ดังนั้น การส่งมอบโรงไฟฟ้าซาปอริซเซียไปสู่การควบคุมของยูเครน หรือประเทศอื่นๆ จึงเป็นไปไม่ได้” กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียระบุ โรงไฟฟ้าซาปอริซเซียถือเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดของยุโรปด้วยจำนวนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งหมด 6 เตาปฏิกรณ์ ถึงแม้ว่าในขณะนี้จะไม่ได้ถูกใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า แต่ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ก็ได้ส่งผู้สังเกตการณ์เข้าไปประจำที่โรงไฟฟ้าแห่งนี้ เช่นเดียวกับที่ทำกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งอื่นๆ ในยูเครน ที่ผ่านมา ยูเครนพยายามเรียกร้องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ให้กลับคืนสู่ยูเครนมาตั้งแต่ปี 2022 หลังถูกรัสเซียเข้าควบคุม ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯพยายามเจรจากับรัสเซียเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ ขณะที่เซเลนสกี ย้ำว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ “เป็นของชาวยูเครน” และเห็นด้วยที่สหรัฐจะเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงาน
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 421 Views 0 Reviews
  • ♣ สุนัย Human rights watch สุนัขรับใช้ชาติตะวันตก ประโคมข่าว รัฐสภาอียู ขู่กดดันไทยให้ยกเลิกมาตรา 112 และหยุดเนรเทศอุยกูร์ ไม่งั้นจะเล่นงานทางการค้า FTA ไทย-อียู
    #7ดอกจิก
    ♣ สุนัย Human rights watch สุนัขรับใช้ชาติตะวันตก ประโคมข่าว รัฐสภาอียู ขู่กดดันไทยให้ยกเลิกมาตรา 112 และหยุดเนรเทศอุยกูร์ ไม่งั้นจะเล่นงานทางการค้า FTA ไทย-อียู #7ดอกจิก
    Angry
    1
    0 Comments 0 Shares 306 Views 0 Reviews
  • ยูริ อิกนัต (Yuriy Ignat) โฆษกกองทัพอากาศยูเครนก้มหน้ายอมรับความจริงว่าเครื่องบิน F-16 ที่ได้รับจากพันธมิตรเป็นรุ่นเก่าที่สู้ Su-35 ของรัสเซียไม่ได้โดยสิ้นเชิง

    โฆษกกองทัพอากาศยูเครนกล่าวในรายการ Novini.Live ว่า เครื่องบิน F-16 ที่ได้รับ เป็นรุ่นเก่าและไม่มีอุปกรณ์ที่ทันสมัย

    "เราไม่สามารถต่อสู้แบบต่อตัวต่อในการสู้รบทางอากาศกับรัสเซียได้ เนื่องจากเครื่องบิน Sukhoi Su-35 เป็นเครื่องบินรบรุ่นใหม่กว่าเรา"

    "นั่นทำให้เราต้องการทุกอย่างที่มันครอบคลุม ซึ่งรวมถึงระบบป้องกันภัยทางอากาศภาคพื้นดิน อุปกรณ์สงครามอิเล็กทรอนิกส์ และเรดาร์บนอากาศ"

    Ignat ยังเรียกร้องอีกว่า “จะเป็นการดี” หากเคียฟจะได้รับอุปกรณ์ตามที่ชาติตะวันตกสัญญาผ่านหน้าสื่อไว้ ซึ่งนอกจากเรดาร์บนเครื่องบินแล้ว เขายังต้องการขีปนาวุธอากาศสู่อากาศด้วย

    "ยูเครนยังขาดระบบเทคโนโลยีเพื่อป้องกันการยิงฝ่ายเดียวกัน นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมเราจึงยิงเครื่องบิน F-16 ลำแรกของเราเองตกเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว" Ignat กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อปีที่แล้ว ที่มีการยิงขีปนาวุธจากระบบป้องกันภัยทางอากาศ Patriot
    ยูริ อิกนัต (Yuriy Ignat) โฆษกกองทัพอากาศยูเครนก้มหน้ายอมรับความจริงว่าเครื่องบิน F-16 ที่ได้รับจากพันธมิตรเป็นรุ่นเก่าที่สู้ Su-35 ของรัสเซียไม่ได้โดยสิ้นเชิง โฆษกกองทัพอากาศยูเครนกล่าวในรายการ Novini.Live ว่า เครื่องบิน F-16 ที่ได้รับ เป็นรุ่นเก่าและไม่มีอุปกรณ์ที่ทันสมัย "เราไม่สามารถต่อสู้แบบต่อตัวต่อในการสู้รบทางอากาศกับรัสเซียได้ เนื่องจากเครื่องบิน Sukhoi Su-35 เป็นเครื่องบินรบรุ่นใหม่กว่าเรา" "นั่นทำให้เราต้องการทุกอย่างที่มันครอบคลุม ซึ่งรวมถึงระบบป้องกันภัยทางอากาศภาคพื้นดิน อุปกรณ์สงครามอิเล็กทรอนิกส์ และเรดาร์บนอากาศ" Ignat ยังเรียกร้องอีกว่า “จะเป็นการดี” หากเคียฟจะได้รับอุปกรณ์ตามที่ชาติตะวันตกสัญญาผ่านหน้าสื่อไว้ ซึ่งนอกจากเรดาร์บนเครื่องบินแล้ว เขายังต้องการขีปนาวุธอากาศสู่อากาศด้วย "ยูเครนยังขาดระบบเทคโนโลยีเพื่อป้องกันการยิงฝ่ายเดียวกัน นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมเราจึงยิงเครื่องบิน F-16 ลำแรกของเราเองตกเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว" Ignat กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อปีที่แล้ว ที่มีการยิงขีปนาวุธจากระบบป้องกันภัยทางอากาศ Patriot
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 276 Views 0 Reviews
  • สถานการณ์ในกรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจากการออกมาชุมนุมประท้วงของประชาชน หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้งกลางของโรมาเนียได้สั่งห้ามคาลิน จอร์เจสกู ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ

    ในการเลือกตั้งรอบแรกเมื่อปลายปีที่ผ่านมา จอร์เจสคู ลงสมัครในนามผู้สมัครอิสระ ซึ่งถือเป็นม้านอกสายตาของยุโรป และเป็นโปรรัสเซียเต็มตัว แต่กลับชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างถล่มทลาย แต่ถูกศาลตัดสินผลการเลือกตั้งให้เป็นโมฆะ ก่อนการเลือกตั้งรอบที่สองจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วัน ซึ่งคาดว่าเขาจะชนะการเลือกตั้งรอบที่สองเช่นกัน

    ในระหว่างนั้น จอร์เจสคู ต้องถูกตั้งข้อกล่าวหาจากรัฐบาลมากมาย เพื่อพยายามขัดขวางไม่ให้เขาลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งใหม่ แต่ จอร์เจสคู ยังคงดึงดันลงสมัครอีกครั้ง และจำไปสู่การสั่งห้ามของคณะกรรมการการเลือกตั้งกลางของโรมาเนียในที่สุด

    สหภาพยุโรปซึ่งมักจะเทศนาเกี่ยวกับ "ค่านิยมประชาธิปไตย" ยังคงหูหนวกตาบอดกับสิ่งที่เกิดขึ้นในโรมาเนีย เพราะการตัดสินใจสั่งห้ามครั้งนี้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของพวกเขา

    สหภาพยุโรปคงทนไม่ได้ หากปล่อยให้ จอร์เจสคู ชนะการเลือกตั้ง เพราะนั่นอาจหมายถึง พวกเขาเสียบริวารที่แสนดีไปให้กับรัสเซียอีกครั้ง

    นอกจากนี้ นาโต้ได้วางตำแหน่งของโรมาเนียให้เป็นฐานทัพใหญ่ของนาโต้เพื่อสร้างภัยคุกคามต่อรัสเซียในทิศทางนี้อีกด้วย

    ทั้งหมดนี้บ่งบอกได้อย่างดีว่า "ประชาธิปไตย" ที่ชาติตะวันตกป้อนใส่หัวประชาชนเป็นได้แค่เพียงผลประโยชน์บนดินแดนที่พวกเขาต้องการเท่านั้น
    สถานการณ์ในกรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจากการออกมาชุมนุมประท้วงของประชาชน หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้งกลางของโรมาเนียได้สั่งห้ามคาลิน จอร์เจสกู ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ ในการเลือกตั้งรอบแรกเมื่อปลายปีที่ผ่านมา จอร์เจสคู ลงสมัครในนามผู้สมัครอิสระ ซึ่งถือเป็นม้านอกสายตาของยุโรป และเป็นโปรรัสเซียเต็มตัว แต่กลับชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างถล่มทลาย แต่ถูกศาลตัดสินผลการเลือกตั้งให้เป็นโมฆะ ก่อนการเลือกตั้งรอบที่สองจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วัน ซึ่งคาดว่าเขาจะชนะการเลือกตั้งรอบที่สองเช่นกัน ในระหว่างนั้น จอร์เจสคู ต้องถูกตั้งข้อกล่าวหาจากรัฐบาลมากมาย เพื่อพยายามขัดขวางไม่ให้เขาลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งใหม่ แต่ จอร์เจสคู ยังคงดึงดันลงสมัครอีกครั้ง และจำไปสู่การสั่งห้ามของคณะกรรมการการเลือกตั้งกลางของโรมาเนียในที่สุด สหภาพยุโรปซึ่งมักจะเทศนาเกี่ยวกับ "ค่านิยมประชาธิปไตย" ยังคงหูหนวกตาบอดกับสิ่งที่เกิดขึ้นในโรมาเนีย เพราะการตัดสินใจสั่งห้ามครั้งนี้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของพวกเขา สหภาพยุโรปคงทนไม่ได้ หากปล่อยให้ จอร์เจสคู ชนะการเลือกตั้ง เพราะนั่นอาจหมายถึง พวกเขาเสียบริวารที่แสนดีไปให้กับรัสเซียอีกครั้ง นอกจากนี้ นาโต้ได้วางตำแหน่งของโรมาเนียให้เป็นฐานทัพใหญ่ของนาโต้เพื่อสร้างภัยคุกคามต่อรัสเซียในทิศทางนี้อีกด้วย ทั้งหมดนี้บ่งบอกได้อย่างดีว่า "ประชาธิปไตย" ที่ชาติตะวันตกป้อนใส่หัวประชาชนเป็นได้แค่เพียงผลประโยชน์บนดินแดนที่พวกเขาต้องการเท่านั้น
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 343 Views 0 Reviews
  • Sondhitalk EP 283 : ใครชักใย “แก็งปั่นอุยกูร์”? - 070368(Full)
    Sondhitalk EP 283 : ใครชักใย “แก็งปั่นอุยกูร์”? (Full)
    - ปฏิบัติการส่ง 40 อุยกูร์กลับจีน
    - “ฉีกหน้ากาก”ชาติตะวันตก ใช้ “ซินเจียง-อุยกูร์” บ่อนทำลาย “จีน”
    - ประธาน กสทช. ขาดคุณสมบัติ
    - เกมเลือกข้าง ? “รัสเซีย-ทวาย”

    #สนธิทอล์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #sondhiapp #thaitimes #ความจริงมีหนึ่งเดียว #อุยกูร์ #ซินเจียง #กสทช #รัสเซียพม่า #ทวาย #อุยกูรย์กลับจีน
    Sondhitalk EP 283 : ใครชักใย “แก็งปั่นอุยกูร์”? - 070368(Full) Sondhitalk EP 283 : ใครชักใย “แก็งปั่นอุยกูร์”? (Full) - ปฏิบัติการส่ง 40 อุยกูร์กลับจีน - “ฉีกหน้ากาก”ชาติตะวันตก ใช้ “ซินเจียง-อุยกูร์” บ่อนทำลาย “จีน” - ประธาน กสทช. ขาดคุณสมบัติ - เกมเลือกข้าง ? “รัสเซีย-ทวาย” #สนธิทอล์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #sondhiapp #thaitimes #ความจริงมีหนึ่งเดียว #อุยกูร์ #ซินเจียง #กสทช #รัสเซียพม่า #ทวาย #อุยกูรย์กลับจีน
    Like
    Love
    Wow
    Haha
    Yay
    130
    3 Comments 1 Shares 4313 Views 341 18 Reviews
  • Alexsandr  Duginที่ปรึกษาคนแรกของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย เพิ่งให้สัมภาษณ์ BOMBSHELL โดยนักข่าวฝ่ายค้านชาวอูเครน Diana Panchenko นี่คือประเด็นที่สำคัญ1.ยูเครนพลาดโอกาสครั้งประวัติศาสตร์ในการแยกตัวเป็นเอกราช"ยูเครนหมดแรงและพลาดโอกาสทางประวัติศาสตร์ในการดำรงอยู่ทางการเมืองระดับชาติที่เป็นอิสระ"2.ยูเครนปฏิเสธโอกาสสร้างอาณาจักรรัสเซีย-ยูเครนที่ยิ่งใหญ่ ดูจินบอกกับชาวอูเครนว่า "แทนที่จะต่อสู้กันเอง เราควรจะร่วมกันต่อสู้กับผู้ที่โจมตีจักรวรรดิแห่งนี้ แต่ทุกอย่างกลับกลายเป็นตรงกันข้าม"3.ชาตินิยมยูเครนทำลายยูเครนเองดูจินกล่าวว่าชาตินิยมที่แท้จริงจะต้องปกป้องบูรณภาพแห่งดินแดน:"แต่ชาตินิยมยูเครนเป็นผู้ที่ […] ทำให้ [ยูเครน] อ่อนแอลง และลากเข้าสู่ความขัดแย้งที่สิ้นหวัง ซึ่งเป็นหายนะสำหรับยูเครนในฐานะรัฐที่มีอำนาจอธิปไตย"4.ชาติตะวันตกเสรีนิยมพยายามทำลายความร่วมมือของดูจินกับปูติน"การดำเนินการทั้งหมดนี้ Jeeranan Watteerachot ไม่เพียงแต่เป็นการต่อต้านปูตินเท่านั้น แต่ยังเป็นการต่อต้านรัสเซียด้วย เพราะเมื่อผู้รักชาติมารวมตัวกัน […] สิ่งนี้ไม่เพียงแต่เพิ่มศักยภาพให้กับเขาเท่านั้น แต่ยังเพิ่มทวีคูณอีกด้วย"5.ทรัมป์พลิกเปลี่ยนทัศนคติชนิด 180° ต่ออุดมการณ์สหรัฐฯ"เขายกเลิกนโยบายเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ขับไล่บุคคลข้ามเพศออกจากกองทัพ […] มันเป็นการตบหน้าการเคลื่อนไหวที่มุ่งสู่เสรีนิยม ลัทธิซาตาน และลัทธิหลังสมัยใหม่ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา"
    Alexsandr  Duginที่ปรึกษาคนแรกของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย เพิ่งให้สัมภาษณ์ BOMBSHELL โดยนักข่าวฝ่ายค้านชาวอูเครน Diana Panchenko นี่คือประเด็นที่สำคัญ1.ยูเครนพลาดโอกาสครั้งประวัติศาสตร์ในการแยกตัวเป็นเอกราช"ยูเครนหมดแรงและพลาดโอกาสทางประวัติศาสตร์ในการดำรงอยู่ทางการเมืองระดับชาติที่เป็นอิสระ"2.ยูเครนปฏิเสธโอกาสสร้างอาณาจักรรัสเซีย-ยูเครนที่ยิ่งใหญ่ ดูจินบอกกับชาวอูเครนว่า "แทนที่จะต่อสู้กันเอง เราควรจะร่วมกันต่อสู้กับผู้ที่โจมตีจักรวรรดิแห่งนี้ แต่ทุกอย่างกลับกลายเป็นตรงกันข้าม"3.ชาตินิยมยูเครนทำลายยูเครนเองดูจินกล่าวว่าชาตินิยมที่แท้จริงจะต้องปกป้องบูรณภาพแห่งดินแดน:"แต่ชาตินิยมยูเครนเป็นผู้ที่ […] ทำให้ [ยูเครน] อ่อนแอลง และลากเข้าสู่ความขัดแย้งที่สิ้นหวัง ซึ่งเป็นหายนะสำหรับยูเครนในฐานะรัฐที่มีอำนาจอธิปไตย"4.ชาติตะวันตกเสรีนิยมพยายามทำลายความร่วมมือของดูจินกับปูติน"การดำเนินการทั้งหมดนี้ [...] ไม่เพียงแต่เป็นการต่อต้านปูตินเท่านั้น แต่ยังเป็นการต่อต้านรัสเซียด้วย เพราะเมื่อผู้รักชาติมารวมตัวกัน […] สิ่งนี้ไม่เพียงแต่เพิ่มศักยภาพให้กับเขาเท่านั้น แต่ยังเพิ่มทวีคูณอีกด้วย"5.ทรัมป์พลิกเปลี่ยนทัศนคติชนิด 180° ต่ออุดมการณ์สหรัฐฯ"เขายกเลิกนโยบายเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ขับไล่บุคคลข้ามเพศออกจากกองทัพ […] มันเป็นการตบหน้าการเคลื่อนไหวที่มุ่งสู่เสรีนิยม ลัทธิซาตาน และลัทธิหลังสมัยใหม่ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา"
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 358 Views 0 Reviews
  • ในการหารือกันที่อิสตันบูลระหว่างรัสเซียและสหรัฐ: รัสเซียยื่นข้อเสนอให้สหรัฐฯ พิจารณาความเป็นไปได้ในการคืนเที่ยวบินตรงไป-กลับสหรัฐอีกครั้ง

    เที่ยวบินตรงระหว่างสองประเทศถูกระงับในปี 2022 จากมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นสงครามเต็มรูปแบบ
    ในการหารือกันที่อิสตันบูลระหว่างรัสเซียและสหรัฐ: รัสเซียยื่นข้อเสนอให้สหรัฐฯ พิจารณาความเป็นไปได้ในการคืนเที่ยวบินตรงไป-กลับสหรัฐอีกครั้ง เที่ยวบินตรงระหว่างสองประเทศถูกระงับในปี 2022 จากมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นสงครามเต็มรูปแบบ
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 149 Views 0 Reviews
  • 'ภูมิธรรม' ตอก 'สหรัฐ-ชาติตะวันตก' เมินรับอุยกูร์ลี้ภัย ยันไทยไม่มีทางเลือก ส่งกลับจีน
    https://www.thai-tai.tv/news/17426/
    'ภูมิธรรม' ตอก 'สหรัฐ-ชาติตะวันตก' เมินรับอุยกูร์ลี้ภัย ยันไทยไม่มีทางเลือก ส่งกลับจีน https://www.thai-tai.tv/news/17426/
    0 Comments 0 Shares 153 Views 0 Reviews
  • เมื่อเดือนมกราคม มาร์โค รูบิโอ ที่เพิ่งได้รับการเสนอให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ให้การกับสภาคองเกรส เรื่องสำคัญที่เขาย้ำกับสภาก็คือต้องล็อบบี้ไม่ให้ไทยส่งตัวชาวอุยกูร์ไปให้จีน

    เขาบอกว่า “ประเทศไทยเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งมากของสหรัฐฯ และเป็นพันธมิตรทางประวัติศาสตร์ที่แข็งแกร่ง นั่นคือพื้นที่ที่ผมคิดว่าการทูตสามารถบรรลุผลได้จริง เนื่องจากความสัมพันธ์นั้นมีความสำคัญและใกล้ชิดกันมาก”

    รูบิโอ มั่นใจมากกว่าเขาจะใช้บารมีของสหรัฐที่มีต่อไทยสกัดกั้นการส่งตัวอุยกูร์ไปจีน ในช่วงเวลาที่ประเด็นอุยกูร์เป็นวาระของชาติตะวันตกอีกครั้งในช่วง 2 - 3 เดือนที่ผ่านมา

    แต่หนึ่งเดือนหลังจากนั้น รูบิโอ ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแล้ว ปรากฏว่าการทูตของสหรัฐฯ เละเทะไปหมด รวมถึงความหวังที่จะเห็นไทยเป็นพัธมิตรที่แข็งแกร่งของสหรัฐ ด้วย เพราะไทยส่งอุยกูร์ให้จีนไปแล้ว

    พูดง่ายๆ คือภารกิจแรกของ รูบิโอ ในการรักษาพันธมิตรล้มเหลวไม่เป็นท่า ดังนั้นจากที่ต้องการจะรักษาไทยในฐานะพันธมิตรทางประวัติศาสตร์ รูบิโอกล่าวในแถลงการณ์ว่า “เราขอประณามอย่างรุนแรงที่สุดต่อการที่ไทยบังคับส่งตัวชาวอุยกูร์อย่างน้อย 40 คนกลับประเทศจีน”

    และกล่าวว่าไทยเสี่ยงที่จะ “ละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศ” ตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ของสหประชาชาติและอนุสัญญาโลกอื่นๆ และเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ไทย “ตรวจสอบอย่างต่อเนื่องอย่างเต็มที่” ว่าทางการจีนปกป้องสิทธิมนุษยชนของชาวอุยกูร์หรือไม่

    ฝ่ายสถานทูตจีนในไทยกล่าวดักเอาไว้ว่าการส่งตัวชาวอุยกูร์กลับประเทศนั้น “ดำเนินการตามกฎหมายของจีนและไทย กฎหมายระหว่างประเทศ และแนวปฏิบัติทั่วไป”

    แต่โปรดทราบว่าแนวปฏิบัติและการตีความสิทธิมนุษยชนของจีนและตะวันตกนั้นไม่ตรงกันเอาเลย ส่วนใครจะถูกจะผิดนั้นโปรดพิจารณากันเอาเอง

    อีกเรื่องคือการที่อุยกูร์เป็นประเด็นอีกครั้ง เพราะมีกลุ่มอุยกูร์ที่ถูกขึ้นบัญชีก่อการร้าย [ETIM] ไปร่วมรบในซีเรียกับฝ่ายที่ชนะล่าสุด เรื่องนี้เกิดขึ้นพร้อมๆ กับที่ตะวันตกบี้ไทยเรื่องจะส่งอุยกูร์พอดี ส่วนสถานทูตจีนประจำกรุงเทพฯ ออกมาชี้แจงเมื่อเดือนที่แล้วว่าผู้ต้องขังชาวอุยกูร์มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อการร้าย และ “บุคคลจำนวนหนึ่งที่ถูกล่อลวงโดยกองกำลังภายนอกได้หลบหนีออกนอกประเทศและเข้าร่วมกับ ‘ขบวนการอิสลามเตอร์กิสถานตะวันออก’ [ETIM] ซึ่งเป็นองค์กรก่อการร้ายที่ได้รับการยอมรับจากสหประชาชาติ”

    ETIM พอเดินทางมาถึงเอเชียกลางและต่อมาถึงซีเรีย ก็เปลี่ยนร่างเป็นขบวนการ Turkistan Islamic Party (TIP)

    ยิ่งหลังจากรัฐบาลอัสซาดล่มเมื่อเดือนธันวาคม 2024 พวก TIP ก็ประกาศว่า "เราจะขับไล่พวกคนจีนนอกศาสนาออกไป (จากซินเจียง)” พอถึงมกราคม 2025 สื่อตะวันตกก็เริ่มประโคมไม่หยุดว่าอุยกูร์ที่ช่วยรบในซีเรียจะเล่นงานจีน เช่น The Economist ชี้ว่า Militant Uyghurs in Syria threaten the Chinese government และ The Telegraph ที่รายงานว่า Uyghur fighters in Syria vow to come for China next (สองสื่ออังกฤษมีท่าทีต่อต้านจีนอยู่แล้ว) - รัฐบาลจีนเห็นแบบนี้คงนิ่งไม่ไหว

    จากการรายงานของ Reuters เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ทูตจีนเพิ่งพบกับผู้นำซีเรียคนใหม่ (ซึ่งมีพวกอุยกูร์ช่วยรบอยู่ในกองทัพ) ในรายงานนี้ย้ำว่า "ในปี 2015 เจ้าหน้าที่จีนกล่าวว่าชาวอุยกูร์จำนวนมากที่หลบหนีไปยังตุรกีผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้วางแผนที่จะนำญิฮาดกลับไปยังจีน โดยอ้างว่าบางคนมีส่วนเกี่ยวข้องกับ "กิจกรรมก่อการร้าย""

    เรื่อง ETIM ผมเพิ่งเขียนไปเมื่อไม่นานมานี้ สามารถเลื่อนลงไปอ่านได้เพราะมีบริบทเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ตอนนี้ระหว่างตะวันตกที่นำโดยสหรัฐฯ กับจีน โดยมีไทยเป็น "โซ่ข้อกลาง"

    ส่วนชาติตะวันตกและสำนักข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก็ประณามไทยเช่นกัน (อย่างเบาๆ คือ "เสียใจ") แต่เรื่องนี้เกี่ยวกับดุลความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน-สหรัฐมากกว่า

    กรณีล่าสุด (รวมถึงอีกหลายกรณีก่อนหน้านี้) ไม่บอกก็รู้ว่าไทยเอียงไปทางจีนอย่างมากแล้วในตอนนี้

    ป.ล. - เป็นที่น่าสังเกตว่า ในวันที่ไทยส่งอุยกูร์ให้จีนนั้น รัสเซียก็เดินเกม "สร้างแนวร่วม" ในอาเซียนด้วยการส่ง ชอยกู รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงไปหารือกับผู้นำอินโดนีเซียและมาเลเซีย กรณีเหล่านี้น่าจะสะท้อนถึงการเดิมเกมรุกของแกนหลัก "ทางการเมือง" ของกลุ่ม BRICS

    ที่มา : เฟซบุ๊กของกรกิจ ดิษฐาน
    เมื่อเดือนมกราคม มาร์โค รูบิโอ ที่เพิ่งได้รับการเสนอให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ให้การกับสภาคองเกรส เรื่องสำคัญที่เขาย้ำกับสภาก็คือต้องล็อบบี้ไม่ให้ไทยส่งตัวชาวอุยกูร์ไปให้จีน เขาบอกว่า “ประเทศไทยเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งมากของสหรัฐฯ และเป็นพันธมิตรทางประวัติศาสตร์ที่แข็งแกร่ง นั่นคือพื้นที่ที่ผมคิดว่าการทูตสามารถบรรลุผลได้จริง เนื่องจากความสัมพันธ์นั้นมีความสำคัญและใกล้ชิดกันมาก” รูบิโอ มั่นใจมากกว่าเขาจะใช้บารมีของสหรัฐที่มีต่อไทยสกัดกั้นการส่งตัวอุยกูร์ไปจีน ในช่วงเวลาที่ประเด็นอุยกูร์เป็นวาระของชาติตะวันตกอีกครั้งในช่วง 2 - 3 เดือนที่ผ่านมา แต่หนึ่งเดือนหลังจากนั้น รูบิโอ ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแล้ว ปรากฏว่าการทูตของสหรัฐฯ เละเทะไปหมด รวมถึงความหวังที่จะเห็นไทยเป็นพัธมิตรที่แข็งแกร่งของสหรัฐ ด้วย เพราะไทยส่งอุยกูร์ให้จีนไปแล้ว พูดง่ายๆ คือภารกิจแรกของ รูบิโอ ในการรักษาพันธมิตรล้มเหลวไม่เป็นท่า ดังนั้นจากที่ต้องการจะรักษาไทยในฐานะพันธมิตรทางประวัติศาสตร์ รูบิโอกล่าวในแถลงการณ์ว่า “เราขอประณามอย่างรุนแรงที่สุดต่อการที่ไทยบังคับส่งตัวชาวอุยกูร์อย่างน้อย 40 คนกลับประเทศจีน” และกล่าวว่าไทยเสี่ยงที่จะ “ละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศ” ตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ของสหประชาชาติและอนุสัญญาโลกอื่นๆ และเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ไทย “ตรวจสอบอย่างต่อเนื่องอย่างเต็มที่” ว่าทางการจีนปกป้องสิทธิมนุษยชนของชาวอุยกูร์หรือไม่ ฝ่ายสถานทูตจีนในไทยกล่าวดักเอาไว้ว่าการส่งตัวชาวอุยกูร์กลับประเทศนั้น “ดำเนินการตามกฎหมายของจีนและไทย กฎหมายระหว่างประเทศ และแนวปฏิบัติทั่วไป” แต่โปรดทราบว่าแนวปฏิบัติและการตีความสิทธิมนุษยชนของจีนและตะวันตกนั้นไม่ตรงกันเอาเลย ส่วนใครจะถูกจะผิดนั้นโปรดพิจารณากันเอาเอง อีกเรื่องคือการที่อุยกูร์เป็นประเด็นอีกครั้ง เพราะมีกลุ่มอุยกูร์ที่ถูกขึ้นบัญชีก่อการร้าย [ETIM] ไปร่วมรบในซีเรียกับฝ่ายที่ชนะล่าสุด เรื่องนี้เกิดขึ้นพร้อมๆ กับที่ตะวันตกบี้ไทยเรื่องจะส่งอุยกูร์พอดี ส่วนสถานทูตจีนประจำกรุงเทพฯ ออกมาชี้แจงเมื่อเดือนที่แล้วว่าผู้ต้องขังชาวอุยกูร์มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อการร้าย และ “บุคคลจำนวนหนึ่งที่ถูกล่อลวงโดยกองกำลังภายนอกได้หลบหนีออกนอกประเทศและเข้าร่วมกับ ‘ขบวนการอิสลามเตอร์กิสถานตะวันออก’ [ETIM] ซึ่งเป็นองค์กรก่อการร้ายที่ได้รับการยอมรับจากสหประชาชาติ” ETIM พอเดินทางมาถึงเอเชียกลางและต่อมาถึงซีเรีย ก็เปลี่ยนร่างเป็นขบวนการ Turkistan Islamic Party (TIP) ยิ่งหลังจากรัฐบาลอัสซาดล่มเมื่อเดือนธันวาคม 2024 พวก TIP ก็ประกาศว่า "เราจะขับไล่พวกคนจีนนอกศาสนาออกไป (จากซินเจียง)” พอถึงมกราคม 2025 สื่อตะวันตกก็เริ่มประโคมไม่หยุดว่าอุยกูร์ที่ช่วยรบในซีเรียจะเล่นงานจีน เช่น The Economist ชี้ว่า Militant Uyghurs in Syria threaten the Chinese government และ The Telegraph ที่รายงานว่า Uyghur fighters in Syria vow to come for China next (สองสื่ออังกฤษมีท่าทีต่อต้านจีนอยู่แล้ว) - รัฐบาลจีนเห็นแบบนี้คงนิ่งไม่ไหว จากการรายงานของ Reuters เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ทูตจีนเพิ่งพบกับผู้นำซีเรียคนใหม่ (ซึ่งมีพวกอุยกูร์ช่วยรบอยู่ในกองทัพ) ในรายงานนี้ย้ำว่า "ในปี 2015 เจ้าหน้าที่จีนกล่าวว่าชาวอุยกูร์จำนวนมากที่หลบหนีไปยังตุรกีผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้วางแผนที่จะนำญิฮาดกลับไปยังจีน โดยอ้างว่าบางคนมีส่วนเกี่ยวข้องกับ "กิจกรรมก่อการร้าย"" เรื่อง ETIM ผมเพิ่งเขียนไปเมื่อไม่นานมานี้ สามารถเลื่อนลงไปอ่านได้เพราะมีบริบทเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ตอนนี้ระหว่างตะวันตกที่นำโดยสหรัฐฯ กับจีน โดยมีไทยเป็น "โซ่ข้อกลาง" ส่วนชาติตะวันตกและสำนักข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก็ประณามไทยเช่นกัน (อย่างเบาๆ คือ "เสียใจ") แต่เรื่องนี้เกี่ยวกับดุลความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน-สหรัฐมากกว่า กรณีล่าสุด (รวมถึงอีกหลายกรณีก่อนหน้านี้) ไม่บอกก็รู้ว่าไทยเอียงไปทางจีนอย่างมากแล้วในตอนนี้ ป.ล. - เป็นที่น่าสังเกตว่า ในวันที่ไทยส่งอุยกูร์ให้จีนนั้น รัสเซียก็เดินเกม "สร้างแนวร่วม" ในอาเซียนด้วยการส่ง ชอยกู รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงไปหารือกับผู้นำอินโดนีเซียและมาเลเซีย กรณีเหล่านี้น่าจะสะท้อนถึงการเดิมเกมรุกของแกนหลัก "ทางการเมือง" ของกลุ่ม BRICS ที่มา : เฟซบุ๊กของกรกิจ ดิษฐาน
    0 Comments 0 Shares 664 Views 0 Reviews
  • 'ภูมิธรรม' ตอก 'สหรัฐ-ชาติตะวันตก' เมินรับอุยกูร์ลี้ภัย ยันไทยไม่มีทางเลือก ส่งกลับจีน
    https://www.thai-tai.tv/news/17426/
    'ภูมิธรรม' ตอก 'สหรัฐ-ชาติตะวันตก' เมินรับอุยกูร์ลี้ภัย ยันไทยไม่มีทางเลือก ส่งกลับจีน https://www.thai-tai.tv/news/17426/
    0 Comments 0 Shares 151 Views 0 Reviews
  • สโลวะเกีย มีสิทธิเรียกร้องให้ยูเครนชำระคืนเงินช่วยเหลือที่พวกเขามอบให้เคียฟในระหว่างทำศึกสงครามกับมอสโก หากว่าบรรดาชาติตะวันตกอย่างสหรัฐฯ เยอรมนีและฝรั่งเศส ดำเนินการแบบเดียวกัน สมาชิกรัฐสภาระดับอาวุโสรายหนึ่งของสโลวะเกียเน้นย้ำ
    .
    อันเดรจ ดันโก ประธานภรรคสโลวัค เนชันแนล ปาร์ตี และบุคคลสำคัญในรัฐบาลผสม แสดงความคิดเห็นในวิดีโอที่โพสต์บนเฟซบุ๊กเมื่อวันจันทร์ (24 ก.พ.) ว่าสโลวะเกียมีสิทธิเรียกร้องขอยูเครนจ่ายคืนเงินช่วยเหลือที่มอบให้ไปกว่า 3,500 ล้านยูโร (ราว 1.2 แสนล้านบาท)
    .
    ความเห็นนี้มีขึ้นตามหลังรายงานข่าวที่ระบุว่าวอชิงตันกำลังเจรจาข้อตกลงหนึ่งกับยูเครน ที่ทางเคียฟอาจมอบแร่ธาตุสำคัญๆ ในสัดส่วน 50% เป็นค่าชดเชยสำหรับเงินช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ซึ่งในเรื่องนี้ ดันโก ตั้งคำถามว่าแล้วสหภาพยุโรป (อียู) จะได้อะไรกลับคืนมาบ้าง สำหรับความช่วยเหลือที่พวกเขามอบให้แก่ยูเครนเช่นกัน
    .
    ข้อเสนอข้อตกลง ซึ่งมีข่าวว่าเป็นการอนุมัติให้สิทธิอย่างครอบคลุมแก่สหรัฐฯ เข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติของยูเครน เป็นความพยายามหาทางชดเชยสิ่งที่อเมริกากล่าวอ้างว่าได้มอบความช่วยเหลือทั้งด้านการทหารและทางเศรษฐกิจแก่เคียฟ ไปกว่า 500,000 ล้านดอลลาร์
    .
    "และผมจะถามเกี่ยวกับสโลวะเกีย" ดันโกเน้นย้ำ "แล้วสโลวะเกียจะได้คืนเงิน 3,500 ล้านยูโรที่ส่งไปหรือไม่" เขาตั้งคำถาม พร้อมเน้นย้ำว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นถือจำนวนที่มากสำหรับชาติหนึ่งของอียู "และผมอยากบอกว่า ถ้าเยอรมนี ฝรั่งเศส และอเมริการ้องขอเงินพวกเขาคืน สโลวะเกียก็ไม่อาจปิดปากเงียบ"
    .
    เมื่อวันจันทร์ (24 ก.พ.) อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมการยุโรป เดินทางไปยังกรุงเคียฟ ในวาระครบรอบ 3 ปี ความขัดแย้งยูเครน เปิดตัวแพกเกจความช่วยเหลือทางการเงินของอียูรอบใหม่ 3,500 ล้านยูโร อัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มเติมเข้าสู่งบประมาณที่แห้งเหือดของยูเครน
    .
    ขณะเดียวกัน คาจา คัลลาส หัวหน้าฝ่ายนโยบายต่างประเทศของอียู ในวันจันทร์ (24 ก.พ.) แสดงมุมมองในแง่บวก ว่าพวกผู้นำของกลุ่มจะเห็นชอบอย่างรวดเร็วในเงินทุนทางทหารก้อนใหม่ที่มอบแก่เคียฟ ข้อเสนอของเขาเป็นการขยายขอบเขตการส่งมอบอาวุธเข้าสู่ปี 2025 แต่มันเผชิญเสียงคัดค้านจากรัฐสมาชิกบางประเทศ
    .
    อิตาลี โปรตุเกส และสเปน แสดงจุดยืนคัดค้านอย่างเปิดเผยต่อแผนดังกล่าว ในขณะที่ฝรั่งเศสและเยอรมนียังไม่ตัดสินใจ อ้างอิงจากรายงานของโพลิติโก เว็บไซต์ข่าวสัญชาติสหรัฐฯ แพกเกจข้อเสนอนี้ ซึ่งมีมูลค่า 10,000 ล้านยูโร มีกำหนดหยิบยกหารือกัน ณ ที่ประชุมซัมมิตอียูในวันที่ 6 มีนาคม และในนั้นจะรวมถึงการมอบอาวุธ กระสุน ระบบป้องกันภัยทางอากาศ และยกระดับการช่วยฝึกฝนทางทหารแก่กองกำลังยูเครน
    .
    ก่อนหน้านี้ โรเบิร์ต ฟิโก นายกรัฐมนตรีสโลวะเกีย วิพากษ์วิจารณ์แนวทางของอียู ชี้มันเท่ากับว่า อียู แบนคำว่า "สันติภาพ" ออกจากการพูดคุยเกี่ยวกับยูเครนโดยสิ้นเชิง
    .
    มอสโก ส่งเสียงเตือนซ้ำๆ ว่าการป้อนอาวุธแก่ยูเครนของตะวันตก รังแต่จะทำให้ความขัดแย้งลากยาวออกไป โดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ใดๆ ในขณะเดียวกันมันก็เสี่ยงเกิดการเผชิญหน้าโดยตรงระหว่างรัสเซียกับนาโต ทั้งนี้ อเล็กซานด์ร กรุสโก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ชี้แนะว่าอียูสามารถมีส่วนส่งเสริมการคลี่คลายวิกฤต ด้วยการหยุดให้แรงสนับสนุนด้านการทหารและโลจิสติกส์แก่เคียฟ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000018796
    ..............
    Sondhi X
    สโลวะเกีย มีสิทธิเรียกร้องให้ยูเครนชำระคืนเงินช่วยเหลือที่พวกเขามอบให้เคียฟในระหว่างทำศึกสงครามกับมอสโก หากว่าบรรดาชาติตะวันตกอย่างสหรัฐฯ เยอรมนีและฝรั่งเศส ดำเนินการแบบเดียวกัน สมาชิกรัฐสภาระดับอาวุโสรายหนึ่งของสโลวะเกียเน้นย้ำ . อันเดรจ ดันโก ประธานภรรคสโลวัค เนชันแนล ปาร์ตี และบุคคลสำคัญในรัฐบาลผสม แสดงความคิดเห็นในวิดีโอที่โพสต์บนเฟซบุ๊กเมื่อวันจันทร์ (24 ก.พ.) ว่าสโลวะเกียมีสิทธิเรียกร้องขอยูเครนจ่ายคืนเงินช่วยเหลือที่มอบให้ไปกว่า 3,500 ล้านยูโร (ราว 1.2 แสนล้านบาท) . ความเห็นนี้มีขึ้นตามหลังรายงานข่าวที่ระบุว่าวอชิงตันกำลังเจรจาข้อตกลงหนึ่งกับยูเครน ที่ทางเคียฟอาจมอบแร่ธาตุสำคัญๆ ในสัดส่วน 50% เป็นค่าชดเชยสำหรับเงินช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ซึ่งในเรื่องนี้ ดันโก ตั้งคำถามว่าแล้วสหภาพยุโรป (อียู) จะได้อะไรกลับคืนมาบ้าง สำหรับความช่วยเหลือที่พวกเขามอบให้แก่ยูเครนเช่นกัน . ข้อเสนอข้อตกลง ซึ่งมีข่าวว่าเป็นการอนุมัติให้สิทธิอย่างครอบคลุมแก่สหรัฐฯ เข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติของยูเครน เป็นความพยายามหาทางชดเชยสิ่งที่อเมริกากล่าวอ้างว่าได้มอบความช่วยเหลือทั้งด้านการทหารและทางเศรษฐกิจแก่เคียฟ ไปกว่า 500,000 ล้านดอลลาร์ . "และผมจะถามเกี่ยวกับสโลวะเกีย" ดันโกเน้นย้ำ "แล้วสโลวะเกียจะได้คืนเงิน 3,500 ล้านยูโรที่ส่งไปหรือไม่" เขาตั้งคำถาม พร้อมเน้นย้ำว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นถือจำนวนที่มากสำหรับชาติหนึ่งของอียู "และผมอยากบอกว่า ถ้าเยอรมนี ฝรั่งเศส และอเมริการ้องขอเงินพวกเขาคืน สโลวะเกียก็ไม่อาจปิดปากเงียบ" . เมื่อวันจันทร์ (24 ก.พ.) อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมการยุโรป เดินทางไปยังกรุงเคียฟ ในวาระครบรอบ 3 ปี ความขัดแย้งยูเครน เปิดตัวแพกเกจความช่วยเหลือทางการเงินของอียูรอบใหม่ 3,500 ล้านยูโร อัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มเติมเข้าสู่งบประมาณที่แห้งเหือดของยูเครน . ขณะเดียวกัน คาจา คัลลาส หัวหน้าฝ่ายนโยบายต่างประเทศของอียู ในวันจันทร์ (24 ก.พ.) แสดงมุมมองในแง่บวก ว่าพวกผู้นำของกลุ่มจะเห็นชอบอย่างรวดเร็วในเงินทุนทางทหารก้อนใหม่ที่มอบแก่เคียฟ ข้อเสนอของเขาเป็นการขยายขอบเขตการส่งมอบอาวุธเข้าสู่ปี 2025 แต่มันเผชิญเสียงคัดค้านจากรัฐสมาชิกบางประเทศ . อิตาลี โปรตุเกส และสเปน แสดงจุดยืนคัดค้านอย่างเปิดเผยต่อแผนดังกล่าว ในขณะที่ฝรั่งเศสและเยอรมนียังไม่ตัดสินใจ อ้างอิงจากรายงานของโพลิติโก เว็บไซต์ข่าวสัญชาติสหรัฐฯ แพกเกจข้อเสนอนี้ ซึ่งมีมูลค่า 10,000 ล้านยูโร มีกำหนดหยิบยกหารือกัน ณ ที่ประชุมซัมมิตอียูในวันที่ 6 มีนาคม และในนั้นจะรวมถึงการมอบอาวุธ กระสุน ระบบป้องกันภัยทางอากาศ และยกระดับการช่วยฝึกฝนทางทหารแก่กองกำลังยูเครน . ก่อนหน้านี้ โรเบิร์ต ฟิโก นายกรัฐมนตรีสโลวะเกีย วิพากษ์วิจารณ์แนวทางของอียู ชี้มันเท่ากับว่า อียู แบนคำว่า "สันติภาพ" ออกจากการพูดคุยเกี่ยวกับยูเครนโดยสิ้นเชิง . มอสโก ส่งเสียงเตือนซ้ำๆ ว่าการป้อนอาวุธแก่ยูเครนของตะวันตก รังแต่จะทำให้ความขัดแย้งลากยาวออกไป โดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ใดๆ ในขณะเดียวกันมันก็เสี่ยงเกิดการเผชิญหน้าโดยตรงระหว่างรัสเซียกับนาโต ทั้งนี้ อเล็กซานด์ร กรุสโก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ชี้แนะว่าอียูสามารถมีส่วนส่งเสริมการคลี่คลายวิกฤต ด้วยการหยุดให้แรงสนับสนุนด้านการทหารและโลจิสติกส์แก่เคียฟ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000018796 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    12
    0 Comments 0 Shares 2458 Views 1 Reviews
  • 6G ตัวเปลี่ยนเกมและวิถีสงครามโลกยุคใหม่
    .
    หัวเว่ยกำลังสร้างนวัตกรรม 6G และเป็นนวัตกรรมเปลี่ยนโลก หลังจากต้องเผชิญกับความมืดมน ความไม่แน่นอน และความพ่ายแพ้นับไม่ถ้วน แต่ก็ได้พบกับปาฏิหาริย์ครั้งแล้วครั้งเล่า ที่ทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ กลายเป็นไปได้ ตามคำกล่าวของเมิ่ง หว่านโจว ลูกสาวของ เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้ง CEO ของหัวเว่ย ที่หลายปีก่อนเธอถูกจับเป็นตัวประกันที่แคนาดา ในสงครามเทคโนโลยีระหว่างจีนกับอเมริกา
    .
    หัวเว่ยจะเป็นบริษัทแรกในโลกนี้ที่นำ 6G มาใช้ในเชิงพาณิชย์ ผมเคยพูดไว้แล้วในรายการตอน213เมื่อ29ตุลาคม2566 เกือบสองปีแล้วที่ผมวิเคราะห์ว่าเรื่อง Super Network 6G อนาคตโลกในมือจีน วันนี้หัวเว่ยประกาศว่าระบบการสื่อสารแบบ 6G จะมีการเปิดใช้เชิงพาณิชย์ ภายในปี 2573 อีกห้าปีข้างหน้า เร็วมาก ชีวิตประจำวันของคนเราจะเปลี่ยนไปโดย 6G ของหัวเว่ย ซึ่งได้รวมการสื่อสารภาคพื้นดิน อวกาศ ดาวเทียม และทะเล เข้าด้วยกัน นำไปใช้ในอุปกรณ์อย่างเช่น IoT: Internet of Things ใช้ในอุตสาหกรรมการขับขี่ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ โรงงานที่เป็น Smart Factory และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
    .
    ขณะนี้รัฐบาลจีนได้อนุมัติใช้คลื่นความถี่ 6 กิกะเฮิร์ตซ เพื่อรองรับไว้แล้ว และจะปฏิวัติเทคโนโลยีการสื่อสารไปอีกขั้น เพราะ 6G มีความเร็วกว่า 5G ที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ถึง 100 เท่า ปานสายฟ้าแลบและใช้พลังงานน้อยกว่าแบตเตอรีน้อยกว่า 5G ถึง 10 เท่า ทำให้หัวเว่ยเป็นผู้นำการพัฒนา 6G ทิ้งห่างประเทศตะวันตกอย่างยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น
    .
    หัวเว่ยมีสิทธิบัตรทาง 6G มากที่สุดในโลกถึง 12,700 ฉบับหรือประมาณ 35% ของทั่วโลก พิสูจน์ให้เห็นถึงความรุนแรงของสงคราม 6G ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ความสำเร็จของหัวเว่ยคือชัยชนะของนวัตกรรม หรือเป็นจุดเปลี่ยนในการต่อสู้กับมหาอำนาจอเมริกา และชาติตะวันตก ที่ตั้งใจจะบดขยี้หัวเว่ยให้จมดิน
    .
    ดังนั้น 6G กับแสนยานุภาพทางการทหารจีนที่จีนพุ่งเป้านำเทคโนโลยี 6G ไปใช้ในการทหารก่อนเป็นอันดับแรก เนื่องจากสำหรับกองทัพแล้ว ประสิทธิภาพมีความสำคัญ และนี่คือสมรภูมิการแข่งขันที่มีความสำคัญ สมรภูมิการแข่งขันด้านเทคโนโลยีอาวุธและสนามรบด้านแสนยานุภาพของการทหารอีกด้วย
    .
    รายงานล่าสุดจากสำนักข่าวซินหัว เมื่อปลายปี 2567 ที่ผ่านมา ระบุว่า จีนตอนนี้มีสถานีฐาน 5G 4.1 ล้านแห่งแล้ว สถานี 5G 4 ล้านกว่าแห่ง เป้าหมายต่อไปใน 2 ปีข้างหน้า 2570 ผู้ใช้เครือข่ายไร้สายในประเทศจีน ซึ่งกว้างใหญ่ไพศาลมากกว่า 85% จะต้องเข้าถึงโครงข่าย 5G อีกสามปีข้างหน้านั่นเองและก็ถึงเวลาที่จะต้องเปิด 6G
    .
    จาก 5G ไปถึง 6G เทคโนโลยีที่เปรียบเทียบได้กับการแข่งขันทางอวกาศระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพโซเวียต แต่เป้าหมายในการแข่งขันนั้นไม่ใช่เรื่องการลงจอดบนดวงจันทร์อีกต่อไป แต่มันเป็นเรื่องการสร้างรากฐานของการเชื่อมต่อสำหรับทศวรรษหน้าที่กำลังจะมาถึง
    .
    จะเห็นได้ว่าการแข่งขันเพื่อ 6G ของหัวเว่ยนั้น มีความหมายมากกว่าความเร็วของอินเทอร์เน็ต แต่ยังเกี่ยวกับการที่ประเทศจีนกำลังจะเป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม และสารสนเทศในอนาคต ซึ่งไม่เพียงแต่กำหนดนวัตกรรมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภูมิรัฐศาสตร์ด้วย ซึ่งจีน อเมริกา และยุโรป กำลังแข่งขันกันเพื่อครองความได้เปรียบบนพื้นที่โลกดิจิทัลในอนาคต เป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ของเกมเทคโนโลยีอันเป็นกุญแจสำคัญที่สุดที่จะนำพาประเทศนั้นๆ สังคมนั้นๆ ไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองระยะยาว
    6G ตัวเปลี่ยนเกมและวิถีสงครามโลกยุคใหม่ . หัวเว่ยกำลังสร้างนวัตกรรม 6G และเป็นนวัตกรรมเปลี่ยนโลก หลังจากต้องเผชิญกับความมืดมน ความไม่แน่นอน และความพ่ายแพ้นับไม่ถ้วน แต่ก็ได้พบกับปาฏิหาริย์ครั้งแล้วครั้งเล่า ที่ทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ กลายเป็นไปได้ ตามคำกล่าวของเมิ่ง หว่านโจว ลูกสาวของ เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้ง CEO ของหัวเว่ย ที่หลายปีก่อนเธอถูกจับเป็นตัวประกันที่แคนาดา ในสงครามเทคโนโลยีระหว่างจีนกับอเมริกา . หัวเว่ยจะเป็นบริษัทแรกในโลกนี้ที่นำ 6G มาใช้ในเชิงพาณิชย์ ผมเคยพูดไว้แล้วในรายการตอน213เมื่อ29ตุลาคม2566 เกือบสองปีแล้วที่ผมวิเคราะห์ว่าเรื่อง Super Network 6G อนาคตโลกในมือจีน วันนี้หัวเว่ยประกาศว่าระบบการสื่อสารแบบ 6G จะมีการเปิดใช้เชิงพาณิชย์ ภายในปี 2573 อีกห้าปีข้างหน้า เร็วมาก ชีวิตประจำวันของคนเราจะเปลี่ยนไปโดย 6G ของหัวเว่ย ซึ่งได้รวมการสื่อสารภาคพื้นดิน อวกาศ ดาวเทียม และทะเล เข้าด้วยกัน นำไปใช้ในอุปกรณ์อย่างเช่น IoT: Internet of Things ใช้ในอุตสาหกรรมการขับขี่ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ โรงงานที่เป็น Smart Factory และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง . ขณะนี้รัฐบาลจีนได้อนุมัติใช้คลื่นความถี่ 6 กิกะเฮิร์ตซ เพื่อรองรับไว้แล้ว และจะปฏิวัติเทคโนโลยีการสื่อสารไปอีกขั้น เพราะ 6G มีความเร็วกว่า 5G ที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ถึง 100 เท่า ปานสายฟ้าแลบและใช้พลังงานน้อยกว่าแบตเตอรีน้อยกว่า 5G ถึง 10 เท่า ทำให้หัวเว่ยเป็นผู้นำการพัฒนา 6G ทิ้งห่างประเทศตะวันตกอย่างยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น . หัวเว่ยมีสิทธิบัตรทาง 6G มากที่สุดในโลกถึง 12,700 ฉบับหรือประมาณ 35% ของทั่วโลก พิสูจน์ให้เห็นถึงความรุนแรงของสงคราม 6G ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ความสำเร็จของหัวเว่ยคือชัยชนะของนวัตกรรม หรือเป็นจุดเปลี่ยนในการต่อสู้กับมหาอำนาจอเมริกา และชาติตะวันตก ที่ตั้งใจจะบดขยี้หัวเว่ยให้จมดิน . ดังนั้น 6G กับแสนยานุภาพทางการทหารจีนที่จีนพุ่งเป้านำเทคโนโลยี 6G ไปใช้ในการทหารก่อนเป็นอันดับแรก เนื่องจากสำหรับกองทัพแล้ว ประสิทธิภาพมีความสำคัญ และนี่คือสมรภูมิการแข่งขันที่มีความสำคัญ สมรภูมิการแข่งขันด้านเทคโนโลยีอาวุธและสนามรบด้านแสนยานุภาพของการทหารอีกด้วย . รายงานล่าสุดจากสำนักข่าวซินหัว เมื่อปลายปี 2567 ที่ผ่านมา ระบุว่า จีนตอนนี้มีสถานีฐาน 5G 4.1 ล้านแห่งแล้ว สถานี 5G 4 ล้านกว่าแห่ง เป้าหมายต่อไปใน 2 ปีข้างหน้า 2570 ผู้ใช้เครือข่ายไร้สายในประเทศจีน ซึ่งกว้างใหญ่ไพศาลมากกว่า 85% จะต้องเข้าถึงโครงข่าย 5G อีกสามปีข้างหน้านั่นเองและก็ถึงเวลาที่จะต้องเปิด 6G . จาก 5G ไปถึง 6G เทคโนโลยีที่เปรียบเทียบได้กับการแข่งขันทางอวกาศระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพโซเวียต แต่เป้าหมายในการแข่งขันนั้นไม่ใช่เรื่องการลงจอดบนดวงจันทร์อีกต่อไป แต่มันเป็นเรื่องการสร้างรากฐานของการเชื่อมต่อสำหรับทศวรรษหน้าที่กำลังจะมาถึง . จะเห็นได้ว่าการแข่งขันเพื่อ 6G ของหัวเว่ยนั้น มีความหมายมากกว่าความเร็วของอินเทอร์เน็ต แต่ยังเกี่ยวกับการที่ประเทศจีนกำลังจะเป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม และสารสนเทศในอนาคต ซึ่งไม่เพียงแต่กำหนดนวัตกรรมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภูมิรัฐศาสตร์ด้วย ซึ่งจีน อเมริกา และยุโรป กำลังแข่งขันกันเพื่อครองความได้เปรียบบนพื้นที่โลกดิจิทัลในอนาคต เป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ของเกมเทคโนโลยีอันเป็นกุญแจสำคัญที่สุดที่จะนำพาประเทศนั้นๆ สังคมนั้นๆ ไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองระยะยาว
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 771 Views 0 Reviews
  • 122 ปี ปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา-เมืองหลวงพระบาง: ฝ่าอิทธิพลจักรวรรดินิยม รักษาเอกราช ทวงคืนอธิปไตยจันทบุรี

    📅 ย้อนกลับไปเมื่อ 122 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ถือเป็นหมุดหมายสำคัญ ในประวัติศาสตร์ไทย 🇹🇭 เมื่อไทยและฝรั่งเศส 🇫🇷 ลงนามในสัญญาปักปันเขตแดน ระหว่างไทย-กัมพูชา และเมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นดินแดน ที่อยู่ภายใต้การปกครอง ของฝรั่งเศสในขณะนั้น

    ภายใต้ข้อตกลงนี้ ไทยต้องยกดินแดน ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ที่อยู่ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับการถอนทหารฝรั่งเศส ออกจากจังหวัดจันทบุรี ซึ่งถูกยึดครองมา ตั้งแต่เหตุการณ์ วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 หรือสงครามฝรั่งเศส-สยาม (พ.ศ. 2436)

    อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของแรงกดดัน จากจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ไทยต้องเผชิญกับ การบีบบังคับทางการเมืองเพิ่มเติม จนต้องยอมเสียเมืองตราด และหมู่เกาะใกล้เคียง เพื่อแลกกับการได้จันทบุรีคืน 📌

    🌍 กระแสล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส ในอินโดจีน 🔹
    ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศส ได้ขยายอิทธิพลอย่างรวดเร็ว ในภูมิภาคอินโดจีน โดยสามารถยึดครองเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ได้สำเร็จ ทำให้ไทยกลายเป็นรัฐกันชน ที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากฝรั่งเศส ทางด้านตะวันออก

    💡 ฝรั่งเศสต้องการควบคุมดินแดน แถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้งหมด เพื่อสร้างเส้นทางการค้าจากจีน ลงมาสู่อินโดจีนของตน ในขณะที่ไทย ต้องพยายามรักษาเอกราช และดินแดนของตนไว้

    🇹🇭 ไทยภายใต้รัชกาลที่ 5 พยายามรักษาเอกราช
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักถึงภัยคุกคาม จากจักรวรรดินิยม และพยายามใช้นโยบายการทูตเชิงรุก เพื่อรักษาความเป็นอิสระของไทย ทรงดำเนินแผนการ ปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย เพื่อลดข้ออ้างของมหาอำนาจตะวันตก ในการเข้ามาแทรกแซง

    อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสใช้ข้ออ้างเรื่องอธิปไตย เหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เป็นเหตุผลในการเรียกร้องดินแดนเพิ่มเติมจากไทย

    🔹 วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 จุดเริ่มต้นของการเสียเปรียบทางดินแดน
    📍 วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เป็นเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศส ใช้กำลังทหารเรือ บุกรุกปากแม่น้ำเจ้าพระยา และปะทะกับทหารไทย จนเป็นเหตุให้รัฐบาลไทย ต้องยอมลงนามในสนธิสัญญา ที่เสียเปรียบ

    📜 ข้อกำหนดสำคัญของสนธิสัญญา ร.ศ. 112
    ✔ ไทยต้องยกดินแดน ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมด รวมถึงลาว ให้แก่ฝรั่งเศส
    ✔ ฝรั่งเศสเข้ายึดจังหวัดจันทบุรี เป็นหลักประกันบังคับให้ไทย ปฏิบัติตามสัญญา
    ✔ ไทยต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวนมหาศาล ให้ฝรั่งเศส

    🛑 นี่เป็นครั้งแรกที่ไทย ต้องเสียดินแดนจำนวนมาก ให้แก่จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส และทำให้สถานการณ์ของไทยในภูมิภาคนี้ ล่อแหลมยิ่งขึ้น

    🔹 สนธิสัญญา พ.ศ. 2446 การทวงคืนจันทบุรี แต่ต้องแลกด้วยดินแดนเพิ่ม
    หลังจากไทย ถูกฝรั่งเศสยึดครองจันทบุรี ไว้นานถึง 10 ปี รัฐบาลไทยพยายามเจรจา ขอคืนจันทบุรี แต่ต้องแลกด้วย การยอมมอบดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ที่ตรงข้ามกับเมืองหลวงพระบาง ให้แก่ฝรั่งเศส

    📌 สนธิสัญญานี้ ลงนามเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ทำให้ไทยได้รับจันทบุรีคืน แต่ฝรั่งเศสกลับยื่นเงื่อนไข ให้ไทยต้องยกเมืองตราด และหมู่เกาะอื่นๆ แทน

    🌏 ผลลัพธ์ของสนธิสัญญานี้
    ✅ ไทยได้จันทบุรีคืนจากฝรั่งเศส
    ❌ ไทยเสียเมืองตราด และหมู่เกาะให้ฝรั่งเศส
    ✅ ไทยยังสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ แต่ต้องจำยอมต่ออำนาจ ของมหาอำนาจตะวันตก

    🔹 ไทยทวงคืนเมืองตราดสำเร็จในปี พ.ศ. 2450
    4 ปี ต่อมา ในปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ไทยสามารถทวงคืนเมืองตราด กลับมาได้สำเร็จ โดยแลกกับดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ที่อยู่ทางฝั่งกัมพูชา ให้ฝรั่งเศสแทน

    นี่เป็นอีกหนึ่งครั้ง ที่ไทยต้องเสียสละดินแดน เพื่อให้สามารถปกป้อง เอกราชของตนเองเอาไว้

    🧐 จากเหตุการณ์ ปักปันเขตแดนในปี พ.ศ. 2446 ไทยได้เรียนรู้ว่า
    ✔ อำนาจทางการทูต มีความสำคัญอย่างยิ่ง ไทยสามารถใช้การเจรจา เพื่อลดความเสียหายได้ แม้ว่าจะต้องยอมเสียดินแดนบางส่วน
    ✔ จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ไม่เคยหยุดกดดันไทย ต้องอาศัยนโยบายเชิงรุก เพื่อรักษาเอกราช
    ✔ ไทยต้องพัฒนาประเทศให้ทันสมัย เพื่อป้องกันการถูกรุกรานในอนาคต

    🎯 แม้ว่าไทยจะต้องยอม สูญเสียดินแดนบางส่วน แต่ก็สามารถรักษา ความเป็นเอกราชเอาไว้ได้ ซึ่งแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่ตกเป็นอาณานิคม ของจักรวรรดินิยมในช่วงเวลานั้น

    🔹 122 ปี แห่งความเปลี่ยนแปลงทางดินแดน และอธิปไตยของไทย
    🌏 ผ่านไป 122 ปี นับตั้งแต่สนธิสัญญา ปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา-เมืองหลวงพระบาง เหตุการณ์นี้ยังคงเป็นบทเรียนสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ของไทย 🇹🇭

    📌 ถึงแม้ไทยจะเสียดินแดนไปบางส่วน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ไทยยังคงรักษาเอกราชไว้ได้ ไม่ต้องตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก เหมือนประเทศเพื่อนบ้าน 💬

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 131208 ก.พ. 2568

    #ประวัติศาสตร์ไทย #ไทยฝรั่งเศส #อธิปไตย #วิกฤติการณ์รศ112 #เอกราชไทย
    122 ปี ปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา-เมืองหลวงพระบาง: ฝ่าอิทธิพลจักรวรรดินิยม รักษาเอกราช ทวงคืนอธิปไตยจันทบุรี 📅 ย้อนกลับไปเมื่อ 122 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ถือเป็นหมุดหมายสำคัญ ในประวัติศาสตร์ไทย 🇹🇭 เมื่อไทยและฝรั่งเศส 🇫🇷 ลงนามในสัญญาปักปันเขตแดน ระหว่างไทย-กัมพูชา และเมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นดินแดน ที่อยู่ภายใต้การปกครอง ของฝรั่งเศสในขณะนั้น ภายใต้ข้อตกลงนี้ ไทยต้องยกดินแดน ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ที่อยู่ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับการถอนทหารฝรั่งเศส ออกจากจังหวัดจันทบุรี ซึ่งถูกยึดครองมา ตั้งแต่เหตุการณ์ วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 หรือสงครามฝรั่งเศส-สยาม (พ.ศ. 2436) อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของแรงกดดัน จากจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ไทยต้องเผชิญกับ การบีบบังคับทางการเมืองเพิ่มเติม จนต้องยอมเสียเมืองตราด และหมู่เกาะใกล้เคียง เพื่อแลกกับการได้จันทบุรีคืน 📌 🌍 กระแสล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส ในอินโดจีน 🔹 ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศส ได้ขยายอิทธิพลอย่างรวดเร็ว ในภูมิภาคอินโดจีน โดยสามารถยึดครองเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ได้สำเร็จ ทำให้ไทยกลายเป็นรัฐกันชน ที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากฝรั่งเศส ทางด้านตะวันออก 💡 ฝรั่งเศสต้องการควบคุมดินแดน แถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้งหมด เพื่อสร้างเส้นทางการค้าจากจีน ลงมาสู่อินโดจีนของตน ในขณะที่ไทย ต้องพยายามรักษาเอกราช และดินแดนของตนไว้ 🇹🇭 ไทยภายใต้รัชกาลที่ 5 พยายามรักษาเอกราช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักถึงภัยคุกคาม จากจักรวรรดินิยม และพยายามใช้นโยบายการทูตเชิงรุก เพื่อรักษาความเป็นอิสระของไทย ทรงดำเนินแผนการ ปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย เพื่อลดข้ออ้างของมหาอำนาจตะวันตก ในการเข้ามาแทรกแซง อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสใช้ข้ออ้างเรื่องอธิปไตย เหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เป็นเหตุผลในการเรียกร้องดินแดนเพิ่มเติมจากไทย 🔹 วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 จุดเริ่มต้นของการเสียเปรียบทางดินแดน 📍 วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เป็นเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศส ใช้กำลังทหารเรือ บุกรุกปากแม่น้ำเจ้าพระยา และปะทะกับทหารไทย จนเป็นเหตุให้รัฐบาลไทย ต้องยอมลงนามในสนธิสัญญา ที่เสียเปรียบ 📜 ข้อกำหนดสำคัญของสนธิสัญญา ร.ศ. 112 ✔ ไทยต้องยกดินแดน ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมด รวมถึงลาว ให้แก่ฝรั่งเศส ✔ ฝรั่งเศสเข้ายึดจังหวัดจันทบุรี เป็นหลักประกันบังคับให้ไทย ปฏิบัติตามสัญญา ✔ ไทยต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวนมหาศาล ให้ฝรั่งเศส 🛑 นี่เป็นครั้งแรกที่ไทย ต้องเสียดินแดนจำนวนมาก ให้แก่จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส และทำให้สถานการณ์ของไทยในภูมิภาคนี้ ล่อแหลมยิ่งขึ้น 🔹 สนธิสัญญา พ.ศ. 2446 การทวงคืนจันทบุรี แต่ต้องแลกด้วยดินแดนเพิ่ม หลังจากไทย ถูกฝรั่งเศสยึดครองจันทบุรี ไว้นานถึง 10 ปี รัฐบาลไทยพยายามเจรจา ขอคืนจันทบุรี แต่ต้องแลกด้วย การยอมมอบดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ที่ตรงข้ามกับเมืองหลวงพระบาง ให้แก่ฝรั่งเศส 📌 สนธิสัญญานี้ ลงนามเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ทำให้ไทยได้รับจันทบุรีคืน แต่ฝรั่งเศสกลับยื่นเงื่อนไข ให้ไทยต้องยกเมืองตราด และหมู่เกาะอื่นๆ แทน 🌏 ผลลัพธ์ของสนธิสัญญานี้ ✅ ไทยได้จันทบุรีคืนจากฝรั่งเศส ❌ ไทยเสียเมืองตราด และหมู่เกาะให้ฝรั่งเศส ✅ ไทยยังสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ แต่ต้องจำยอมต่ออำนาจ ของมหาอำนาจตะวันตก 🔹 ไทยทวงคืนเมืองตราดสำเร็จในปี พ.ศ. 2450 4 ปี ต่อมา ในปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ไทยสามารถทวงคืนเมืองตราด กลับมาได้สำเร็จ โดยแลกกับดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ที่อยู่ทางฝั่งกัมพูชา ให้ฝรั่งเศสแทน นี่เป็นอีกหนึ่งครั้ง ที่ไทยต้องเสียสละดินแดน เพื่อให้สามารถปกป้อง เอกราชของตนเองเอาไว้ 🧐 จากเหตุการณ์ ปักปันเขตแดนในปี พ.ศ. 2446 ไทยได้เรียนรู้ว่า ✔ อำนาจทางการทูต มีความสำคัญอย่างยิ่ง ไทยสามารถใช้การเจรจา เพื่อลดความเสียหายได้ แม้ว่าจะต้องยอมเสียดินแดนบางส่วน ✔ จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ไม่เคยหยุดกดดันไทย ต้องอาศัยนโยบายเชิงรุก เพื่อรักษาเอกราช ✔ ไทยต้องพัฒนาประเทศให้ทันสมัย เพื่อป้องกันการถูกรุกรานในอนาคต 🎯 แม้ว่าไทยจะต้องยอม สูญเสียดินแดนบางส่วน แต่ก็สามารถรักษา ความเป็นเอกราชเอาไว้ได้ ซึ่งแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่ตกเป็นอาณานิคม ของจักรวรรดินิยมในช่วงเวลานั้น 🔹 122 ปี แห่งความเปลี่ยนแปลงทางดินแดน และอธิปไตยของไทย 🌏 ผ่านไป 122 ปี นับตั้งแต่สนธิสัญญา ปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา-เมืองหลวงพระบาง เหตุการณ์นี้ยังคงเป็นบทเรียนสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ของไทย 🇹🇭 📌 ถึงแม้ไทยจะเสียดินแดนไปบางส่วน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ไทยยังคงรักษาเอกราชไว้ได้ ไม่ต้องตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก เหมือนประเทศเพื่อนบ้าน 💬 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 131208 ก.พ. 2568 #ประวัติศาสตร์ไทย #ไทยฝรั่งเศส #อธิปไตย #วิกฤติการณ์รศ112 #เอกราชไทย
    0 Comments 0 Shares 775 Views 0 Reviews
  • รัสเซียยื่นข้อเสนอเปิดสายการผลิต Sukhoi Su-57 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่สเตลธ์รุ่นทันสมัยที่สุดของแดนหมีขาวในแดนภารตะ เพื่อส่งมอบเข้าประจำการในกองทัพอากาศอินเดีย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่สะท้อนถึงการกระชับสัมพันธ์ด้านกลาโหมระหว่าง 2 มหาอำนาจ
    .
    ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา รัสเซียถือเป็นซัปพลายเออร์อาวุธหลักของอินเดียซึ่งเป็นชาติผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดในโลกด้วย และเครื่องบินขับไล่จากแดนหมีขาวก็เป็นองค์ประกอบสำคัญในฝูงบินกองทัพอากาศอินเดีย ทว่าในช่วงไม่กี่ปีมานี้ความสามารถในการส่งออกอาวุธของรัสเซียลดลงไปมากจากผลของสงครามในยูเครน ซึ่งทำให้อินเดียต้องหันไปพึ่งตะวันตกมากขึ้น
    .
    โฆษก Rosoboronexport ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจส่งออกอาวุธของรัสเซียให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า โครงการผลิตเครื่องบินขับไล่ Su-57 อาจเริ่มได้ภายในปีนี้ หากรัฐบาลอินเดียรับข้อเสนอของมอสโก
    .
    กระทรวงกลาโหมอินเดียยังไม่ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมอาวุธรัสเซียและเจ้าหน้าที่อินเดียคนหนึ่งระบุว่า รัสเซียได้ยื่นข้อเสนอแบบไม่เป็นทางการระหว่างพูดคุยกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลอินเดีย และผู้แทนจากบริษัท Hindustan Aeronautics ซึ่งเป็นบริษัทด้านอวกาศและการป้องกันประเทศที่รัฐบาลอินเดียเป็นเจ้าของ
    .
    กองทัพอากาศอินเดียกำลังพยายามหาวิธีเติมเต็มฝูงบินขับไล่ซึ่งปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 31 ฝูงบิน จากเป้าหมาย 42 ฝูงบิน ในขณะที่มหาอำนาจคู่แข่งอย่าง “จีน” มีการเพิ่มจำนวนฝูงบินทหารอย่างต่อเนื่อง
    .
    โฆษก Rosoboronexport ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวในงานแสดงการบิน Aero India ที่เมืองบังกาลอร์ว่า การเปิดสายผลิตเครื่องบินรบในอินเดียโดยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบจะช่วยให้มั่นใจได้ว่า กระบวนการผลิตจะไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการแซงก์ชันรัสเซียของตะวันตก
    .
    เขายังบอกด้วยว่า ในการผลิตเครื่องบินขับไล่ Su-57 อาจจะใช้วิธีปรับปรุงสายการผลิต Sukhoi Su-30 ที่มีอยู่แล้วในอินเดีย ซึ่งปัจจุบันกองทัพอากาศอินเดียมีเครื่องบินรบรุ่นนี้ใช้งานอยู่ทั้งสิ้น 260 ลำ
    .
    ทั้ง Su-57 และเครื่องบินขับไล่ F-35 Lightning II ของค่ายล็อกฮีดมาร์ตินจากสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นคู่แข่งที่มีศักยภาพใกล้เคียงกัน ต่างถูกนำมาแสดงในงาน Aero India ด้วยกันทั้งคู่
    .
    แม้จะได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพพอฟัดพอเหวี่ยงกับเครื่องบินรบของสหรัฐฯ ทว่า Su-57 ก็เคยประสบปัญหาล่าช้าในช่วงของการพัฒนา และเคยเกิดอุบัติเหตุตกเมื่อปี 2019
    .
    ตามข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิต เครื่องบินขับไล่ Su-57 เริ่มเดินสายการผลิตแบบต่อเนื่อง (serial production) เมื่อปี 2022
    .
    ปีที่แล้วรัสเซียได้ส่ง Su-57 ไปเข้าร่วมในงานแสดงการบินที่เมืองจูไห่ของจีน ซึ่งถือเป็นการเปิดตัวในต่างแดนครั้งแรก และยังเป็นการประกาศความร่วมมือระหว่างจีน-รัสเซียให้ชาติตะวันตกได้เห็นกลายๆ ด้วย
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000014303
    ..............
    Sondhi X
    รัสเซียยื่นข้อเสนอเปิดสายการผลิต Sukhoi Su-57 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่สเตลธ์รุ่นทันสมัยที่สุดของแดนหมีขาวในแดนภารตะ เพื่อส่งมอบเข้าประจำการในกองทัพอากาศอินเดีย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่สะท้อนถึงการกระชับสัมพันธ์ด้านกลาโหมระหว่าง 2 มหาอำนาจ . ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา รัสเซียถือเป็นซัปพลายเออร์อาวุธหลักของอินเดียซึ่งเป็นชาติผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดในโลกด้วย และเครื่องบินขับไล่จากแดนหมีขาวก็เป็นองค์ประกอบสำคัญในฝูงบินกองทัพอากาศอินเดีย ทว่าในช่วงไม่กี่ปีมานี้ความสามารถในการส่งออกอาวุธของรัสเซียลดลงไปมากจากผลของสงครามในยูเครน ซึ่งทำให้อินเดียต้องหันไปพึ่งตะวันตกมากขึ้น . โฆษก Rosoboronexport ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจส่งออกอาวุธของรัสเซียให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า โครงการผลิตเครื่องบินขับไล่ Su-57 อาจเริ่มได้ภายในปีนี้ หากรัฐบาลอินเดียรับข้อเสนอของมอสโก . กระทรวงกลาโหมอินเดียยังไม่ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมอาวุธรัสเซียและเจ้าหน้าที่อินเดียคนหนึ่งระบุว่า รัสเซียได้ยื่นข้อเสนอแบบไม่เป็นทางการระหว่างพูดคุยกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลอินเดีย และผู้แทนจากบริษัท Hindustan Aeronautics ซึ่งเป็นบริษัทด้านอวกาศและการป้องกันประเทศที่รัฐบาลอินเดียเป็นเจ้าของ . กองทัพอากาศอินเดียกำลังพยายามหาวิธีเติมเต็มฝูงบินขับไล่ซึ่งปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 31 ฝูงบิน จากเป้าหมาย 42 ฝูงบิน ในขณะที่มหาอำนาจคู่แข่งอย่าง “จีน” มีการเพิ่มจำนวนฝูงบินทหารอย่างต่อเนื่อง . โฆษก Rosoboronexport ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวในงานแสดงการบิน Aero India ที่เมืองบังกาลอร์ว่า การเปิดสายผลิตเครื่องบินรบในอินเดียโดยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบจะช่วยให้มั่นใจได้ว่า กระบวนการผลิตจะไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการแซงก์ชันรัสเซียของตะวันตก . เขายังบอกด้วยว่า ในการผลิตเครื่องบินขับไล่ Su-57 อาจจะใช้วิธีปรับปรุงสายการผลิต Sukhoi Su-30 ที่มีอยู่แล้วในอินเดีย ซึ่งปัจจุบันกองทัพอากาศอินเดียมีเครื่องบินรบรุ่นนี้ใช้งานอยู่ทั้งสิ้น 260 ลำ . ทั้ง Su-57 และเครื่องบินขับไล่ F-35 Lightning II ของค่ายล็อกฮีดมาร์ตินจากสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นคู่แข่งที่มีศักยภาพใกล้เคียงกัน ต่างถูกนำมาแสดงในงาน Aero India ด้วยกันทั้งคู่ . แม้จะได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพพอฟัดพอเหวี่ยงกับเครื่องบินรบของสหรัฐฯ ทว่า Su-57 ก็เคยประสบปัญหาล่าช้าในช่วงของการพัฒนา และเคยเกิดอุบัติเหตุตกเมื่อปี 2019 . ตามข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิต เครื่องบินขับไล่ Su-57 เริ่มเดินสายการผลิตแบบต่อเนื่อง (serial production) เมื่อปี 2022 . ปีที่แล้วรัสเซียได้ส่ง Su-57 ไปเข้าร่วมในงานแสดงการบินที่เมืองจูไห่ของจีน ซึ่งถือเป็นการเปิดตัวในต่างแดนครั้งแรก และยังเป็นการประกาศความร่วมมือระหว่างจีน-รัสเซียให้ชาติตะวันตกได้เห็นกลายๆ ด้วย . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000014303 .............. Sondhi X
    Like
    10
    0 Comments 0 Shares 2181 Views 0 Reviews
  • 📌นักปรัชญาและนักทฤษฎีชาวรัสเซียที่มีชื่อเสียง วิเคราะห์ : จุดจบของอำนาจครอบงำของอเมริกา !!

    Alexander Dugin นักปรัชญาและนักทฤษฎีชาวรัสเซียที่มีชื่อเสียง เชื่อว่าโลกกำลังเปลี่ยนจากโครงสร้างขั้วเดียวไปเป็นโครงสร้างหลายขั้ว และผู้มีบทบาทต่างๆ เช่น อิหร่านและรัสเซียจะต้องเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์นี้

    Alexander Dugin นักปรัชญาและนักทฤษฎีชื่อดังชาวรัสเซีย ได้วิเคราะห์ถึงการพัฒนาทางภูมิรัฐศาสตร์ในโลก การกลับมามีอำนาจของทรัมป์ ตำแหน่งของอิหร่านและรัสเซียในระเบียบโลกใหม่ และการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งในนโยบายต่างประเทศของอเมริกา ในบทสัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ Sahab Broadcasting Network ของรัสเซีย

    ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ Alexander Dugin วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในกลยุทธ์ของอเมริกาและเชื่อว่ายุคที่วอชิงตันสร้างอำนาจเหนือบนพื้นฐานของอุดมการณ์เสรีนิยมและโลกาภิวัตน์นั้นสิ้นสุดลงแล้ว โมเดลนี้ซึ่งมีพื้นฐานมาจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม การบ่อนทำลายอำนาจอธิปไตยของรัฐเอกราช และการออกแบบการปฏิวัติสี ปัจจุบันได้หลีกทางให้กับลัทธิชาตินิยมจักรวรรดินิยม ซึ่งอเมริกาพยายามที่จะรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ไม่ใช่ในฐานะผู้นำโลก แต่เป็นจักรวรรดิที่เป็นอิสระ

    Alexander Dugin เน้นย้ำว่า ทรัมป์พยายามที่จะกำหนดระเบียบโลกใหม่โดยให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และละทิ้งนโยบายโลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลงนี้หมายถึงการลดการพึ่งพาพันธมิตรแบบดั้งเดิมและมุ่งเน้นไปที่การฉายอำนาจโดยตรงของอเมริกาในภูมิภาคเชิงยุทธศาสตร์ ในขณะเดียวกัน รัสเซียและอิหร่านซึ่งเป็นสองมหาอำนาจอิสระที่ได้รับผลกระทบจากรูปแบบเดิมของการครอบงำของชาติตะวันตก สามารถได้รับประโยชน์จากโอกาสใหม่ๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนี้

    ในส่วนอื่นของการสัมภาษณ์ เขากล่าวถึงนโยบายของทรัมป์ต่ออิหร่าน ตามที่ Alexander Dugin กล่าว แม้ว่าทรัมป์จะยังคงดำเนินนโยบายต่อต้านอิหร่านต่อไป แต่แนวทางที่เขามีต่อเตหะรานก็จะแตกต่างจากของไบเดน ต่างจากฝ่ายบริหารพรรคเดโมแครตซึ่งใช้ยุทธศาสตร์ "การกัดเซาะอย่างค่อยเป็นค่อยไป" ทรัมป์จะพยายามสร้างแรงกดดันโดยตรงและรวดเร็ว

    Alexander Dugin ยังอ้างถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และอิสราเอล โดยอธิบายว่าทรัมป์จะทำให้อิสราเอลเป็นนโยบายต่างประเทศลำดับแรกของเขา นั่นหมายความว่าแรงกดดันของวอชิงตันต่อแกนต่อต้านและอิหร่านจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าภายในกระแสฝ่ายขวาที่สนับสนุนทรัมป์ ก็ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการสนับสนุนอิสราเอลอย่างไม่มีเงื่อนไขอีกด้วย

    เขาชี้ถึงความสำคัญของพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ระหว่างอิหร่านและรัสเซีย และถือว่าข้อตกลงทางยุทธศาสตร์ระหว่างทั้งสองประเทศเป็นหนึ่งในพัฒนาการทางภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ข้อตกลงนี้อาจนำไปสู่ความร่วมมือที่กว้างขวางยิ่งขึ้นในด้านการทหารและเศรษฐกิจ

    Alexander Dugin เสนอว่าอิหร่านควรได้รับการจัดให้อยู่ภายใต้การควบคุมทางนิวเคลียร์ของรัสเซีย และในทางกลับกัน รัสเซียควรใช้ประโยชน์จากศักยภาพทางภูมิรัฐศาสตร์ของอิหร่านในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงในอ่าวเปอร์เซียและเอเชียใต้ เขาเห็นพันธมิตรนี้ไม่เพียงแต่เป็นสิ่งจำเป็นเชิงยุทธศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงอารยธรรมที่สามารถต้านทานแรงกดดันจากชาติตะวันตกได้อีกด้วย

    เขาชี้ถึงสงครามฉนวนกาซาและการพัฒนาต่างๆ ที่เกิดขึ้นล่าสุดในปาเลสไตน์ โดยเน้นย้ำว่าความขัดแย้งครั้งนี้ได้นำเสนอภาพลักษณ์ใหม่ของอิสราเอลในความคิดเห็นสาธารณะทั่วโลกมากกว่าที่เคยเป็นมา ตามที่เขากล่าว อิสราเอลประสบความสำเร็จในการสร้างภาพตัวเองให้เป็นประเทศเหยื่อในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา แต่การโจมตีอย่างโหดร้ายในฉนวนกาซาและการสังหารพลเรือนได้ท้าทายเรื่องเล่านี้และปลุกระดมความคิดเห็นสาธารณะทั่วโลกให้ต่อต้านระบอบการปกครอง

    เขาเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงในมุมมองของโลกเกี่ยวกับอิสราเอลคือความล้มเหลวทางยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ที่สุดของระบอบการปกครองในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และยังทำให้การสนับสนุนแบบเดิมของอเมริกาต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ อีกด้วย

    Alexander Dugin ได้นำเสนอภาพที่ชัดเจนของอนาคตของระเบียบโลก ซึ่งในความเชื่อของเขา ยุคแห่งการครอบงำโลกอย่างไม่มีข้อโต้แย้งของอเมริกาสิ้นสุดลงแล้ว และประเทศต่างๆ เช่น จีน รัสเซีย อิหร่าน และอินเดีย จะมีบทบาทมากขึ้นในทางการเมืองระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงทางอารยธรรมด้วย ซึ่งจะรวมถึงการฟื้นคืนค่านิยมดั้งเดิม การเผชิญหน้ากับเสรีนิยมโลก และการก่อตั้งขั้วอำนาจอิสระ

    Alexander Dugin เน้นย้ำว่า อิหร่านและรัสเซียควรคว้าโอกาสทางประวัติศาสตร์นี้และเสริมสร้างพันธมิตรของพวกเขา เขาถือว่าความร่วมมือนี้อยู่เหนือข้อตกลงทางการทูตและถือเป็นรากฐานสำหรับการสร้างระเบียบโลกใหม่ คำสั่งที่ฝ่ายตะวันตกจะไม่เป็นผู้มีบทบาทครอบงำแต่ผู้เดียวอีกต่อไป
    📌นักปรัชญาและนักทฤษฎีชาวรัสเซียที่มีชื่อเสียง วิเคราะห์ : จุดจบของอำนาจครอบงำของอเมริกา !! Alexander Dugin นักปรัชญาและนักทฤษฎีชาวรัสเซียที่มีชื่อเสียง เชื่อว่าโลกกำลังเปลี่ยนจากโครงสร้างขั้วเดียวไปเป็นโครงสร้างหลายขั้ว และผู้มีบทบาทต่างๆ เช่น อิหร่านและรัสเซียจะต้องเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์นี้ Alexander Dugin นักปรัชญาและนักทฤษฎีชื่อดังชาวรัสเซีย ได้วิเคราะห์ถึงการพัฒนาทางภูมิรัฐศาสตร์ในโลก การกลับมามีอำนาจของทรัมป์ ตำแหน่งของอิหร่านและรัสเซียในระเบียบโลกใหม่ และการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งในนโยบายต่างประเทศของอเมริกา ในบทสัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ Sahab Broadcasting Network ของรัสเซีย ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ Alexander Dugin วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในกลยุทธ์ของอเมริกาและเชื่อว่ายุคที่วอชิงตันสร้างอำนาจเหนือบนพื้นฐานของอุดมการณ์เสรีนิยมและโลกาภิวัตน์นั้นสิ้นสุดลงแล้ว โมเดลนี้ซึ่งมีพื้นฐานมาจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม การบ่อนทำลายอำนาจอธิปไตยของรัฐเอกราช และการออกแบบการปฏิวัติสี ปัจจุบันได้หลีกทางให้กับลัทธิชาตินิยมจักรวรรดินิยม ซึ่งอเมริกาพยายามที่จะรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ไม่ใช่ในฐานะผู้นำโลก แต่เป็นจักรวรรดิที่เป็นอิสระ Alexander Dugin เน้นย้ำว่า ทรัมป์พยายามที่จะกำหนดระเบียบโลกใหม่โดยให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และละทิ้งนโยบายโลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลงนี้หมายถึงการลดการพึ่งพาพันธมิตรแบบดั้งเดิมและมุ่งเน้นไปที่การฉายอำนาจโดยตรงของอเมริกาในภูมิภาคเชิงยุทธศาสตร์ ในขณะเดียวกัน รัสเซียและอิหร่านซึ่งเป็นสองมหาอำนาจอิสระที่ได้รับผลกระทบจากรูปแบบเดิมของการครอบงำของชาติตะวันตก สามารถได้รับประโยชน์จากโอกาสใหม่ๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนี้ ในส่วนอื่นของการสัมภาษณ์ เขากล่าวถึงนโยบายของทรัมป์ต่ออิหร่าน ตามที่ Alexander Dugin กล่าว แม้ว่าทรัมป์จะยังคงดำเนินนโยบายต่อต้านอิหร่านต่อไป แต่แนวทางที่เขามีต่อเตหะรานก็จะแตกต่างจากของไบเดน ต่างจากฝ่ายบริหารพรรคเดโมแครตซึ่งใช้ยุทธศาสตร์ "การกัดเซาะอย่างค่อยเป็นค่อยไป" ทรัมป์จะพยายามสร้างแรงกดดันโดยตรงและรวดเร็ว Alexander Dugin ยังอ้างถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และอิสราเอล โดยอธิบายว่าทรัมป์จะทำให้อิสราเอลเป็นนโยบายต่างประเทศลำดับแรกของเขา นั่นหมายความว่าแรงกดดันของวอชิงตันต่อแกนต่อต้านและอิหร่านจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าภายในกระแสฝ่ายขวาที่สนับสนุนทรัมป์ ก็ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการสนับสนุนอิสราเอลอย่างไม่มีเงื่อนไขอีกด้วย เขาชี้ถึงความสำคัญของพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ระหว่างอิหร่านและรัสเซีย และถือว่าข้อตกลงทางยุทธศาสตร์ระหว่างทั้งสองประเทศเป็นหนึ่งในพัฒนาการทางภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ข้อตกลงนี้อาจนำไปสู่ความร่วมมือที่กว้างขวางยิ่งขึ้นในด้านการทหารและเศรษฐกิจ Alexander Dugin เสนอว่าอิหร่านควรได้รับการจัดให้อยู่ภายใต้การควบคุมทางนิวเคลียร์ของรัสเซีย และในทางกลับกัน รัสเซียควรใช้ประโยชน์จากศักยภาพทางภูมิรัฐศาสตร์ของอิหร่านในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงในอ่าวเปอร์เซียและเอเชียใต้ เขาเห็นพันธมิตรนี้ไม่เพียงแต่เป็นสิ่งจำเป็นเชิงยุทธศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงอารยธรรมที่สามารถต้านทานแรงกดดันจากชาติตะวันตกได้อีกด้วย เขาชี้ถึงสงครามฉนวนกาซาและการพัฒนาต่างๆ ที่เกิดขึ้นล่าสุดในปาเลสไตน์ โดยเน้นย้ำว่าความขัดแย้งครั้งนี้ได้นำเสนอภาพลักษณ์ใหม่ของอิสราเอลในความคิดเห็นสาธารณะทั่วโลกมากกว่าที่เคยเป็นมา ตามที่เขากล่าว อิสราเอลประสบความสำเร็จในการสร้างภาพตัวเองให้เป็นประเทศเหยื่อในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา แต่การโจมตีอย่างโหดร้ายในฉนวนกาซาและการสังหารพลเรือนได้ท้าทายเรื่องเล่านี้และปลุกระดมความคิดเห็นสาธารณะทั่วโลกให้ต่อต้านระบอบการปกครอง เขาเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงในมุมมองของโลกเกี่ยวกับอิสราเอลคือความล้มเหลวทางยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ที่สุดของระบอบการปกครองในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และยังทำให้การสนับสนุนแบบเดิมของอเมริกาต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ อีกด้วย Alexander Dugin ได้นำเสนอภาพที่ชัดเจนของอนาคตของระเบียบโลก ซึ่งในความเชื่อของเขา ยุคแห่งการครอบงำโลกอย่างไม่มีข้อโต้แย้งของอเมริกาสิ้นสุดลงแล้ว และประเทศต่างๆ เช่น จีน รัสเซีย อิหร่าน และอินเดีย จะมีบทบาทมากขึ้นในทางการเมืองระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงทางอารยธรรมด้วย ซึ่งจะรวมถึงการฟื้นคืนค่านิยมดั้งเดิม การเผชิญหน้ากับเสรีนิยมโลก และการก่อตั้งขั้วอำนาจอิสระ Alexander Dugin เน้นย้ำว่า อิหร่านและรัสเซียควรคว้าโอกาสทางประวัติศาสตร์นี้และเสริมสร้างพันธมิตรของพวกเขา เขาถือว่าความร่วมมือนี้อยู่เหนือข้อตกลงทางการทูตและถือเป็นรากฐานสำหรับการสร้างระเบียบโลกใหม่ คำสั่งที่ฝ่ายตะวันตกจะไม่เป็นผู้มีบทบาทครอบงำแต่ผู้เดียวอีกต่อไป
    0 Comments 0 Shares 485 Views 0 Reviews
  • "ส่งอาวุธนิวเคลียร์ให้เรา"
    เซเลนสกีเพิ่งให้สัมภาษณ์ในรายการของเพียร์ส มอร์แกน โดยเรียกร้องให้ชาติตะวันตกจัดหา "อาวุธนิวเคลียร์" ให้กับยูเครน!

    เซเลนสกีระบุว่าเขาต้องการให้ชาติตะวันตกสนับสนุนงบประมาณด้านนิวเคลียร์ของเขาให้เต็มที่ เพื่อปกป้องประเทศจากภัยคุกคามอย่างต่อเนื่องของวลาดิมีร์ ปูติน

    เซเลนสกีเน้นย้ำถึงความจำเป็นของการรับประกันความปลอดภัยและความเป็นไปได้ในการเป็นสมาชิกนาโต เซเลนสกีตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของการสนับสนุนทางทหารในปัจจุบัน และเรียกร้องว่ายูเครนอาจต้องการอาวุธนิวเคลียร์เพื่อยับยั้งรัสเซีย หากยูเครนไม่ได้เข้าร่วมนาโตในเร็วๆนี้

    เซเลนสกียังต้องการให้สหรัฐ ให้คำมั่นที่จะส่งยูเครนเป็นสมาชิกนาโตในที่สุด และรัสเซียต้องถอนกำลังทั้งหมดออกจากดินแดนยูเครน และยังต้องชดเชยทางการเงินสำหรับความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมดอีกด้วย
    "ส่งอาวุธนิวเคลียร์ให้เรา" เซเลนสกีเพิ่งให้สัมภาษณ์ในรายการของเพียร์ส มอร์แกน โดยเรียกร้องให้ชาติตะวันตกจัดหา "อาวุธนิวเคลียร์" ให้กับยูเครน! เซเลนสกีระบุว่าเขาต้องการให้ชาติตะวันตกสนับสนุนงบประมาณด้านนิวเคลียร์ของเขาให้เต็มที่ เพื่อปกป้องประเทศจากภัยคุกคามอย่างต่อเนื่องของวลาดิมีร์ ปูติน เซเลนสกีเน้นย้ำถึงความจำเป็นของการรับประกันความปลอดภัยและความเป็นไปได้ในการเป็นสมาชิกนาโต เซเลนสกีตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของการสนับสนุนทางทหารในปัจจุบัน และเรียกร้องว่ายูเครนอาจต้องการอาวุธนิวเคลียร์เพื่อยับยั้งรัสเซีย หากยูเครนไม่ได้เข้าร่วมนาโตในเร็วๆนี้ เซเลนสกียังต้องการให้สหรัฐ ให้คำมั่นที่จะส่งยูเครนเป็นสมาชิกนาโตในที่สุด และรัสเซียต้องถอนกำลังทั้งหมดออกจากดินแดนยูเครน และยังต้องชดเชยทางการเงินสำหรับความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมดอีกด้วย
    Love
    Sad
    2
    0 Comments 0 Shares 275 Views 21 0 Reviews
  • ซีเรีย ในยุคการปกครองของอัสซาด คืออีกหนึ่งประเทศที่เป็น "เหยื่อ" ของการบ่อนทำลาย โดยการสนับสนุนเงินทุนจาก USAID ครั้งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 21 และในครั้งนี้ พวกเขาประสบความสำเร็จ

    USAID ทุ่มเงิน 15,000 ล้านดอลลาร์เข้าซีเรียเพื่อโค่นล้มอัสซาด

    “เอ็นจีโอถูกใช้เพื่อก่อความไม่สงบในซีเรีย พวกเขาแสร้งทำเป็นให้ความช่วยเหลือ แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขาทำงานให้กับหน่วยข่าวกรองต่างประเทศ”
    — บาชาร์ อัล-อัสซาด เคยกล่าวไว้ตั้งแต่ปี 2018

    เป็นเวลากว่าทศวรรษที่ USAID, NED และเอ็นจีโอที่ได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตกมีบทบาทสำคัญในสงครามซีเรีย โดยให้เงินทุนแก่กลุ่มฝ่ายค้าน ผลิตโฆษณาชวนเชื่อ และดำเนินการข่าวกรองภายใต้ข้ออ้างของ “ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและพัฒนาประชาธิปไตย” ในปี 2024 หลังจากหลายปีของการโค่นล้ม การคว่ำบาตร และแรงกดดันทางทหารที่ได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตก ในที่สุดอัสซาดก็ถูกโค่นล้ม

    .

    "เอ็นจีโอ" แท้จริงแล้วคืออาวุธของ USAID

    USAID:
    • ทุ่มเงินกว่า 15,000 ล้านดอลลาร์เข้าไปในซีเรีย โดยการให้เงินทุนลับแก่เครือข่ายฝ่ายค้านเพื่อใช้ในปฏิบัติการต่อต้านรัฐบาล
    • ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มหมวกขาว ซึ่งเป็นกลุ่มที่ถูกเปิดโปงว่าร่วมมือกับอัลกออิดะห์และจัดฉากวิดีโอโฆษณาชวนเชื่อเพื่อพิสูจน์ว่าสหรัฐฯ เข้าแทรกแซง
    • ให้การสนับสนุนด้านโลจิสติกส์แก่กลุ่มฝ่ายค้านในต่างแดน ช่วยสร้างรัฐบาลเงาที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ

    .
    มูลนิธิ National Endowment for Democracy (NED) – “ภาคประชาสังคม” เป็นเครื่องมือในการปกปิดความไม่มั่นคง:

    • ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ Barada TV ซึ่งเป็นสื่อฝ่ายค้านที่มีฐานอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อในการต่อต้านรัฐบาลอัสซาด
    • ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ NGO ที่สนับสนุนประชาธิปไตย ซึ่งต่อมาได้จัดสรรทรัพยากรให้แก่กลุ่มญิฮาด รวมถึงกองทัพซีเรียเสรี (FSA)
    • ให้การสนับสนุนนักเคลื่อนไหวชาวซีเรียในต่างแดน เพื่อเตรียมพวกเขาให้พร้อมที่จะยึดอำนาจเมื่ออัสซาดถูกปลดออกจากอำนาจ

    .
    มูลนิธิ Open Society Foundations (OSF) โซรอสในซีเรีย:
    • เผยแพร่เรื่องราวต่อต้านอัสซาดในสื่อระดับโลก โดยบรรยายถึงสงครามว่าเป็นการลุกฮือจากความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่ออัสซาด มากกว่าการรัฐประหารที่ได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตก
    • ประสานงานกับกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ เพื่ออำนวยความสะดวกในความพยายามเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง
    • เรียกร้องให้มีนโยบายการอพยพระหว่างประเทศจำนวนมากซึ่งกดดันให้ประเทศต่างๆ ในยุโรปยอมรับผู้ลี้ภัยชาวซีเรียหลายล้านคน ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นโดยตรงจากสงครามที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ

    .
    ที่ผ่านมาอัสซาดพยายามต่อต้านอย่างหนัก แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ เขาก็ถูกโค่นล้มไปก่อน:

    ✅ 2014 – ขับไล่ NGO ที่ได้รับการสนับสนุนจาก USAID ออกไปหลังจากเปิดเผยความสัมพันธ์ทางการเงินของพวกเขาต่อกลุ่มกบฏ
    ✅ 2016 – เปิดเผยความร่วมมือระหว่างกลุ่ม White Helmets กับกลุ่มญิฮาด พร้อมเตือนถึงข้อมูลเท็จที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตก
    ✅ 2018 – กล่าวหากระทรวงต่างประเทศของอังกฤษและ USAID ต่อสาธารณะว่าให้ทุนสนับสนุนปฏิบัติการโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐบาล
    ✅ 2023 – บรรลุข้อตกลงการฟื้นฟูหลังสงครามกับรัสเซียและจีนเพื่อลดอิทธิพลของตะวันตก

    แม้อัสซาดจะมีความพยายามมากเพียงใด แต่ก็ยังพ่ายแพ้ให้กับสหรัฐฯ และพันธมิตรที่ไม่เคยละทิ้งภารกิจในการโค่นล้มอัสซาด

    ซีเรีย ในยุคการปกครองของอัสซาด คืออีกหนึ่งประเทศที่เป็น "เหยื่อ" ของการบ่อนทำลาย โดยการสนับสนุนเงินทุนจาก USAID ครั้งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 21 และในครั้งนี้ พวกเขาประสบความสำเร็จ USAID ทุ่มเงิน 15,000 ล้านดอลลาร์เข้าซีเรียเพื่อโค่นล้มอัสซาด “เอ็นจีโอถูกใช้เพื่อก่อความไม่สงบในซีเรีย พวกเขาแสร้งทำเป็นให้ความช่วยเหลือ แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขาทำงานให้กับหน่วยข่าวกรองต่างประเทศ” — บาชาร์ อัล-อัสซาด เคยกล่าวไว้ตั้งแต่ปี 2018 เป็นเวลากว่าทศวรรษที่ USAID, NED และเอ็นจีโอที่ได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตกมีบทบาทสำคัญในสงครามซีเรีย โดยให้เงินทุนแก่กลุ่มฝ่ายค้าน ผลิตโฆษณาชวนเชื่อ และดำเนินการข่าวกรองภายใต้ข้ออ้างของ “ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและพัฒนาประชาธิปไตย” ในปี 2024 หลังจากหลายปีของการโค่นล้ม การคว่ำบาตร และแรงกดดันทางทหารที่ได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตก ในที่สุดอัสซาดก็ถูกโค่นล้ม . "เอ็นจีโอ" แท้จริงแล้วคืออาวุธของ USAID USAID: • ทุ่มเงินกว่า 15,000 ล้านดอลลาร์เข้าไปในซีเรีย โดยการให้เงินทุนลับแก่เครือข่ายฝ่ายค้านเพื่อใช้ในปฏิบัติการต่อต้านรัฐบาล • ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มหมวกขาว ซึ่งเป็นกลุ่มที่ถูกเปิดโปงว่าร่วมมือกับอัลกออิดะห์และจัดฉากวิดีโอโฆษณาชวนเชื่อเพื่อพิสูจน์ว่าสหรัฐฯ เข้าแทรกแซง • ให้การสนับสนุนด้านโลจิสติกส์แก่กลุ่มฝ่ายค้านในต่างแดน ช่วยสร้างรัฐบาลเงาที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ . มูลนิธิ National Endowment for Democracy (NED) – “ภาคประชาสังคม” เป็นเครื่องมือในการปกปิดความไม่มั่นคง: • ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ Barada TV ซึ่งเป็นสื่อฝ่ายค้านที่มีฐานอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อในการต่อต้านรัฐบาลอัสซาด • ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ NGO ที่สนับสนุนประชาธิปไตย ซึ่งต่อมาได้จัดสรรทรัพยากรให้แก่กลุ่มญิฮาด รวมถึงกองทัพซีเรียเสรี (FSA) • ให้การสนับสนุนนักเคลื่อนไหวชาวซีเรียในต่างแดน เพื่อเตรียมพวกเขาให้พร้อมที่จะยึดอำนาจเมื่ออัสซาดถูกปลดออกจากอำนาจ . มูลนิธิ Open Society Foundations (OSF) โซรอสในซีเรีย: • เผยแพร่เรื่องราวต่อต้านอัสซาดในสื่อระดับโลก โดยบรรยายถึงสงครามว่าเป็นการลุกฮือจากความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่ออัสซาด มากกว่าการรัฐประหารที่ได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตก • ประสานงานกับกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ เพื่ออำนวยความสะดวกในความพยายามเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง • เรียกร้องให้มีนโยบายการอพยพระหว่างประเทศจำนวนมากซึ่งกดดันให้ประเทศต่างๆ ในยุโรปยอมรับผู้ลี้ภัยชาวซีเรียหลายล้านคน ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นโดยตรงจากสงครามที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ . ที่ผ่านมาอัสซาดพยายามต่อต้านอย่างหนัก แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ เขาก็ถูกโค่นล้มไปก่อน: ✅ 2014 – ขับไล่ NGO ที่ได้รับการสนับสนุนจาก USAID ออกไปหลังจากเปิดเผยความสัมพันธ์ทางการเงินของพวกเขาต่อกลุ่มกบฏ ✅ 2016 – เปิดเผยความร่วมมือระหว่างกลุ่ม White Helmets กับกลุ่มญิฮาด พร้อมเตือนถึงข้อมูลเท็จที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตก ✅ 2018 – กล่าวหากระทรวงต่างประเทศของอังกฤษและ USAID ต่อสาธารณะว่าให้ทุนสนับสนุนปฏิบัติการโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐบาล ✅ 2023 – บรรลุข้อตกลงการฟื้นฟูหลังสงครามกับรัสเซียและจีนเพื่อลดอิทธิพลของตะวันตก แม้อัสซาดจะมีความพยายามมากเพียงใด แต่ก็ยังพ่ายแพ้ให้กับสหรัฐฯ และพันธมิตรที่ไม่เคยละทิ้งภารกิจในการโค่นล้มอัสซาด
    0 Comments 0 Shares 554 Views 0 Reviews
  • ทรัมป์ต้องการให้ยูเครนมอบแร่หายาก (rare earth) แก่อเมริกา ที่มีอยู่มากมายในดินแดนของยูเครน

    ทรัมป์ บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบขาว ว่าในที่สุดยูเครนจะต้องยอมรับเงื่อนไขนี้ ซึ่งสหรัฐต้องการแร่หายากจากยูเครน โดยใช้เป็นรูปแบบหนึ่งของการชำระเงินคืนในจำนวนเงินที่เท่าเทียมกับที่สหรัฐจ่ายไปเกือบ 300,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยในการทำสงครามกับรัสเซียที่ผ่านมา

    เมื่อปี 2024 ลินด์ซีย์ เกรแฮม วุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกันเคยกล่าวเกี่ยวกับแร่หายากในยูเครนไว้ว่า แร่ธาตุที่สำคัญที่มีมูลค่าสูงถึง 10 - 12 ล้านล้านดอลลาร์ ควรถูกนำมาใช้โดยยูเครนและชาติตะวันตก ไม่ใช่มอบให้กับปูตินหรือแม้แต่จีน

    “ผมต้องการเปลี่ยนแพ็คเกจความช่วยเหลือ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระเงินกู้ของเรา เรามีหนี้อยู่ 34 ล้านล้านดอลลาร์ ยูเครนมีแร่ธาตุ พวกเขามีทรัพยากรมากมาย เราน่าจะใช้ประโยชน์จากตรงนี้ได้ ทรัมป์ก็เคยคิดแบบนี้ หากเรานำมาใช้ได้จริง คิดว่าเราน่าจะได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนมากมาย (สำหรับการให้ความช่วยเหลือแก่เคียฟ) ในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา” เกรแฮม กล่าวไว้เมื่อปี 2024
    ทรัมป์ต้องการให้ยูเครนมอบแร่หายาก (rare earth) แก่อเมริกา ที่มีอยู่มากมายในดินแดนของยูเครน ทรัมป์ บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบขาว ว่าในที่สุดยูเครนจะต้องยอมรับเงื่อนไขนี้ ซึ่งสหรัฐต้องการแร่หายากจากยูเครน โดยใช้เป็นรูปแบบหนึ่งของการชำระเงินคืนในจำนวนเงินที่เท่าเทียมกับที่สหรัฐจ่ายไปเกือบ 300,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยในการทำสงครามกับรัสเซียที่ผ่านมา เมื่อปี 2024 ลินด์ซีย์ เกรแฮม วุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกันเคยกล่าวเกี่ยวกับแร่หายากในยูเครนไว้ว่า แร่ธาตุที่สำคัญที่มีมูลค่าสูงถึง 10 - 12 ล้านล้านดอลลาร์ ควรถูกนำมาใช้โดยยูเครนและชาติตะวันตก ไม่ใช่มอบให้กับปูตินหรือแม้แต่จีน “ผมต้องการเปลี่ยนแพ็คเกจความช่วยเหลือ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระเงินกู้ของเรา เรามีหนี้อยู่ 34 ล้านล้านดอลลาร์ ยูเครนมีแร่ธาตุ พวกเขามีทรัพยากรมากมาย เราน่าจะใช้ประโยชน์จากตรงนี้ได้ ทรัมป์ก็เคยคิดแบบนี้ หากเรานำมาใช้ได้จริง คิดว่าเราน่าจะได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนมากมาย (สำหรับการให้ความช่วยเหลือแก่เคียฟ) ในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา” เกรแฮม กล่าวไว้เมื่อปี 2024
    0 Comments 0 Shares 280 Views 0 Reviews
  • รัสเซียเปิดตัวสื่อการสอนเล่มใหม่ด้านประวัติศาสตร์การทหาร ซึ่งรวมถึงเหตุการณ์ปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครนด้วย

    สื่อการสอนชุดใหม่นี้ จะช่วยให้เด็กนักเรียนเข้าใจอดีตได้ดีขึ้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การทหารของรัสเซีย ซึ่งประกอบไปด้วยหนังสือ 3 เล่ม เริ่มเรียนตั้งแต่เกรด 6 จนถึงเกรด 11

    หนังสือ "ประวัติศาสตร์ด้านการทหารของรัสเซีย" ทั้ง 3 เล่มได้รับการแก้ไขโดยวลาดิเมียร์ เมดินสกี (Vladimir Medinsky) ผู้ช่วยของปูติน และยังเป็นผู้ร่วมเขียนตำราประวัติศาสตร์หลักของรัสเซียอีกด้วย

    บางส่วนของหนังสือเรียนทั้งสามเล่มนี้ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครนด้วย ซึ่งรัสเซียถูกกดดันให้เข้าสู่ปฏิบัติการครั้งนี้ โดยกล่าวถึงสาเหตุของการต่อสู้ ว่าเกิดขึ้นอย่างไร ความกล้าหาญในสนามรบของทหารรัสเซีย และกลยุทธของกองทัพรัสเซียสมัยใหม่ที่บางครั้งนำวิธีการในยุคกองทัพโซเวียตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองมาประยุกต์ใช้

    ในหนังสือยังได้อ้างถึงประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย โดยกล่าวว่า สงครามครั้งนี้ซึ่งรัสเซียเรียกอย่างเป็นทางการว่าเป็น "ปฏิบัติการพิเศษทางทหาร" เป็นการต่อสู้ที่ยากลำบากแต่มีความจำเป็นต้องเปิดศึกกับยูเครน ที่ได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตกและองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต สงครามครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่อขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกที่กำลังเสื่อมโทรม ซึ่งพยายามทำลายและแบ่งแยกรัสเซียออกเป็นชิ้น

    นอกจากนี้ ในหนังสือยังบรรยายถึงวิธีการโค่นล้มประธานาธิบดีของยูเครนที่เป็นมิตรกับรัสเซียโดยได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตกในปี 2557 ซึ่งส่งผลให้ยูเครนกลายเป็นที่มั่นของยุโรปเพื่อต่อต้านรัสเซียอย่างรุนแรง
    รัสเซียเปิดตัวสื่อการสอนเล่มใหม่ด้านประวัติศาสตร์การทหาร ซึ่งรวมถึงเหตุการณ์ปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครนด้วย สื่อการสอนชุดใหม่นี้ จะช่วยให้เด็กนักเรียนเข้าใจอดีตได้ดีขึ้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การทหารของรัสเซีย ซึ่งประกอบไปด้วยหนังสือ 3 เล่ม เริ่มเรียนตั้งแต่เกรด 6 จนถึงเกรด 11 หนังสือ "ประวัติศาสตร์ด้านการทหารของรัสเซีย" ทั้ง 3 เล่มได้รับการแก้ไขโดยวลาดิเมียร์ เมดินสกี (Vladimir Medinsky) ผู้ช่วยของปูติน และยังเป็นผู้ร่วมเขียนตำราประวัติศาสตร์หลักของรัสเซียอีกด้วย บางส่วนของหนังสือเรียนทั้งสามเล่มนี้ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครนด้วย ซึ่งรัสเซียถูกกดดันให้เข้าสู่ปฏิบัติการครั้งนี้ โดยกล่าวถึงสาเหตุของการต่อสู้ ว่าเกิดขึ้นอย่างไร ความกล้าหาญในสนามรบของทหารรัสเซีย และกลยุทธของกองทัพรัสเซียสมัยใหม่ที่บางครั้งนำวิธีการในยุคกองทัพโซเวียตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองมาประยุกต์ใช้ ในหนังสือยังได้อ้างถึงประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย โดยกล่าวว่า สงครามครั้งนี้ซึ่งรัสเซียเรียกอย่างเป็นทางการว่าเป็น "ปฏิบัติการพิเศษทางทหาร" เป็นการต่อสู้ที่ยากลำบากแต่มีความจำเป็นต้องเปิดศึกกับยูเครน ที่ได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตกและองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต สงครามครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่อขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกที่กำลังเสื่อมโทรม ซึ่งพยายามทำลายและแบ่งแยกรัสเซียออกเป็นชิ้น นอกจากนี้ ในหนังสือยังบรรยายถึงวิธีการโค่นล้มประธานาธิบดีของยูเครนที่เป็นมิตรกับรัสเซียโดยได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตกในปี 2557 ซึ่งส่งผลให้ยูเครนกลายเป็นที่มั่นของยุโรปเพื่อต่อต้านรัสเซียอย่างรุนแรง
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 492 Views 0 Reviews
  • อังกฤษ-ยูเครนลงนามข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนด้านความมั่นคงและวัฒนธรรมกับยูเครนเป็นเวลา 100 ปี!!!

    สตาร์เมอร์เดินทางเยือนยูเครนครั้งแรกนับตั้งแต่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว มีกำหนดลงนามความเป็นหุ้นส่วน 100 ปีกับยูเครน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทั้งด้านความมั่นคงและวัฒนธรรม

    สำหรับข้อตกลงและปฏิญญาทางการเมืองดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการทหารเป็นสำคัญ เพื่อสนับสนุนงานด้านความมั่นคงในทะเลบอลติก ทะเลดำ และทะเลอาซอฟ รวมทั้งป้องกันการรุกรานของรัสเซียและประเด็นอื่นๆ เช่น ภาคพลังงาน แร่ธาตุสำคัญ และการผลิตเหล็กเขียว หรือการผลิตเหล็กกล้าโดยไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

    เซเลนสกีและสตาร์เมอร์ มีความเห็นตรงกันว่าทั้งสองมีความปรารถนาที่จะให้มีกองกำลังรักษาสันติภาพของชาติตะวันตกประจำการในยูเครนเมื่อสงครามยูเครนกับรัสเซียยุติลง โดยอังกฤษพร้อมจะมีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้อย่างเต็มที่


    อังกฤษ-ยูเครนลงนามข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนด้านความมั่นคงและวัฒนธรรมกับยูเครนเป็นเวลา 100 ปี!!! สตาร์เมอร์เดินทางเยือนยูเครนครั้งแรกนับตั้งแต่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว มีกำหนดลงนามความเป็นหุ้นส่วน 100 ปีกับยูเครน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทั้งด้านความมั่นคงและวัฒนธรรม สำหรับข้อตกลงและปฏิญญาทางการเมืองดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการทหารเป็นสำคัญ เพื่อสนับสนุนงานด้านความมั่นคงในทะเลบอลติก ทะเลดำ และทะเลอาซอฟ รวมทั้งป้องกันการรุกรานของรัสเซียและประเด็นอื่นๆ เช่น ภาคพลังงาน แร่ธาตุสำคัญ และการผลิตเหล็กเขียว หรือการผลิตเหล็กกล้าโดยไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เซเลนสกีและสตาร์เมอร์ มีความเห็นตรงกันว่าทั้งสองมีความปรารถนาที่จะให้มีกองกำลังรักษาสันติภาพของชาติตะวันตกประจำการในยูเครนเมื่อสงครามยูเครนกับรัสเซียยุติลง โดยอังกฤษพร้อมจะมีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้อย่างเต็มที่
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 468 Views 0 Reviews
  • 'รัสเซียกำลังจะตายจากการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก' นี่คือสิ่งที่สื่อตะวันตกพยายามป้อนข้อมูลให้คนทั้งโลก

    แต่ในความเป็นจริง เมื่อนักการเมืองชาวสโลวาเกีย Andrej Danko ซึ่งเป็นรองประธานรัฐสภาผู้แทนราษฎรสโลวาเกีย เดินทางเข้าไปในซูเปอร์มาร์เก็ตระหว่างการมาเยือนมอสโก เขาต้องตกตะลึงเมื่อพบกับสินค้ามากมายหลายชนิด


    "เนยฟินแลนด์ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1.30 ถึง 2.80 ยูโร ผมคงต้องซื้อมันแล้วล่ะ ในนี้แค่พื้นที่ประมาณ 6 เมตร แต่มีเนยมากมายกว่า 50 ประเภท" Danko กล่าวด้วยความอึ้งในการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก
    'รัสเซียกำลังจะตายจากการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก' นี่คือสิ่งที่สื่อตะวันตกพยายามป้อนข้อมูลให้คนทั้งโลก แต่ในความเป็นจริง เมื่อนักการเมืองชาวสโลวาเกีย Andrej Danko ซึ่งเป็นรองประธานรัฐสภาผู้แทนราษฎรสโลวาเกีย เดินทางเข้าไปในซูเปอร์มาร์เก็ตระหว่างการมาเยือนมอสโก เขาต้องตกตะลึงเมื่อพบกับสินค้ามากมายหลายชนิด "เนยฟินแลนด์ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1.30 ถึง 2.80 ยูโร ผมคงต้องซื้อมันแล้วล่ะ ในนี้แค่พื้นที่ประมาณ 6 เมตร แต่มีเนยมากมายกว่า 50 ประเภท" Danko กล่าวด้วยความอึ้งในการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 385 Views 20 0 Reviews
More Results