Smith&Wesson Model 629 .44 Magnum
โดย. พีระพงษ์ กลั่นกรอง
เมื่อ คลิ้นท์ อี้สต์วู้ด (Clint Eastwood) ในบทของสารวัตรมือปราบ ฮาร์รี่ คาลาแฮน (Harry Callahan) พูดกับคนร้ายในฉากแรกของภาพยนต์เรื่อง “มือปราบปืนโหด” หรือ Dirty Harry ภาพยนต์ซีรี่ส์บู้แอ๊คชั่นที่ยิงกันสนั่นจอเรื่องที่โด่งดังที่สุดในโลกเมื่อ 40 ปีที่แล้ว
ด้วยทุนสร้าง 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มือปราบปืนโหด(ภาคแรก-ปีค.ศ.1971)ทำรายได้สูงถึง 35 ล้านเหรียญ, ภาคที่สอง คือ Magnum Force (ปี 1973), ภาคที่สาม-The Enforcer (ปี 1976), ภาคที่สี่-Sudden Impact (ปี 1983), และภาคสุดท้าย คือ The Dead Pool (ปี 1988)
ไม่ว่าภาพยนต์เรื่องนี้จะออกมากี่ภาคก็ตาม ผลตอบรับ ก็คือ ปลุกกระแสความนิยมปืน “สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 สี่สี่แม็กนั่ม” จนตลาดปืนทั่วโลกยอดขายถล่มทลาย แม้ว่าบริษัทผลิตปืนสมิธฯกำลังจะขุดหลุมฝัง(เลิกผลิต)ปืนสั้นกระสุนโหดรุ่นนี้อยู่ก่อนหน้านั้นก็ตาม
................
อเมริกัน ได้ชื่อว่าเก่งในเรื่องการต่อสู้ด้วยอาวุธปืน เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีชีวิตเป็นเดิมพัน นับแต่ครั้งที่ต่อสู้แย่งผืนดินที่ทำกินกับอินเดียนแดงเผ่าต่างๆ จนกระทั่งถึงสงครามกลางเมือง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง-สอง และสงครามเวียดนาม
อานุภาพกระสุนปืน(อำนาจหยุดยั้ง, ประหัตประหาร, และทะลุทะลวง)เป็นข้อสำคัญประการแรกสำหรับงานล่า ป้องกันตัว และจู่โจม ความแม่นยำเป็นอันดับที่สองโดยเฉพาะกรณีที่ระยะยิงตั้งแต่ 75 หลา(หรือ 68.6 เมตร)ขึ้นไป หรือในระยะที่ความหนาของใบศูนย์หน้าใหญ่ทับเป้าหรือตัวคน
ดังที่ทราบกัน โดยหลักการ การเพิ่มอานุภาพกระสุนปืนมากขึ้นได้ก็ต้องอาศัย หนึ่ง-แรงดันในรังเพลิง(Chamber Pressure) ซึ่งจะให้ประโยชน์โดยปริยายในข้อที่สอง-คือ ความเร็วหัวกระสุน(Velocity), สาม-รูปแบบหัวกระสุน(Bullet type), ส่วนข้อที่สี่ คือ ขนาด-น้ำหนักหัวกระสุน(Bore & Weight) นั้น กลายเป็นเรื่องท้ายสุด หากว่าความเร็วกระสุนเกิน 3,000 ฟุตต่อวินาทีขึ้นไป ก็จะเกิดแรงปะทะคลื่นอากาศหรือ Shock Wave ทำให้บาดแผลแหกฉกรรจ์และกระเด็นล้มคว่ำได้ทันใด
ยกตัวอย่าง กระสุนเอ็ม 16 หรือกระสุนปืนไรเฟิลล่าสัตว์ขนาด .223 หรือ 5.56x45 ม.ม.นาโต้(NATO) หัวกระสุนเล็กเท่ากับกระสุนลูกกรด คือ .22 นิ้วฟุต น้ำหนักหัวกระสุน 55 เกรนมากกว่ากระสุนลูกกรด(40 เกรน)นิดเดียว ความเร็วต้น 3,250 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 1,325 ฟุต-ปอนด์ ฯลฯ เป็นต้น
“สี่สี่แม็กนั่ม” หรือในชื่อเป็นทางการว่า .44 Remington Magnum เมื่อ 40 ปีที่แล้วเป็นกระสุนปืนสั้นที่อานุภาพเอกอุที่สุดในโลก(The Most Powerful Handgun in the World)
ประดิษฐ์คิดค้นโดย เอลเม่อร์ คีธ (Elmer Keith) นักเขียนเรื่องปืนและนักผจญภัยกลางแจ้ง(Outdoor Adventurer)ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังมากในสหรัฐอเมริกา โดยร่วมกับบริษัทผลิตปืน สมิธแอนด์เวสสัน(Smith&Wesson)และบริษัทปืนและกระสุนยี่ห้อเรมิงตัน(Remington) ผลิตจำหน่ายในปีค.ศ.1955 (ปีพ.ศ.2498) จนปัจจุบัน
เอลเม่อร์ คีธ นำกระสุนขนาด “สี่สี่-สเปเชี่ยล” หรือ .44 S&W Special (ผลิตในปีค.ศ.1907 แรงดันรังเพลิง 15,500 ปอนด์/ตร.นิ้วฟุต ปลอกกระสุนยาว 1.16 นิ้วฟุต น้ำหนักหัวกระสุน 246 เกรน ความเร็วต้น 755 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 310 ฟุต-ปอนด์) มาทดลองพัฒนาเพิ่มแรงดันในรังเพลิง ซึ่งก็หมายถึงกระสุนความเร็วสูงโดยปริยาย เพื่อให้เป็น “สี่สี่-แม็กนั่ม”
โดยไม่คิดนำกระสุนหน้าตัดใหญ่ที่โด่งดังในยุคโคบาลตะวันตก(Wild Western) คือ “สี่ห้า-โค้ลท์” หรือ .45 Colt (ผลิตในปีค.ศ.1872 แรงดันรังเพลิง 14,000 ปอนด์/ตร.นิ้วฟุต ปลอกกระสุนยาว 1.285 นิ้วฟุต หัวกระสุนหนัก 250 เกรน ความเร็วต้น 929 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 479 ฟุต-ปอนด์ และแบบ Buffalo Bore หัวกระสุนหนัก 325 เกรน ความเร็วต้น 1,325 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 1,267 ฟุต-ปอนด์) มาพัฒนา
หลักการง่ายๆ ก็คือ กระสุนหน้าตัดใหญ่(Big Bore), หัวกระสุนหนักอึ้ง(Heavy Bullet), และ กระสุนความเร็วสูง(Higher Velocity) เปรียบง่ายๆว่า ซุงหนึ่งต้นหนัก 500 กิโลกรัมวางไว้เฉยๆข้างถนน รถยนต์ที่พุ่งชนต้นซุงต้นนี้ย่อมเสียหายน้อยกว่าการที่ถูกต้นซุงพุ่งมาด้วยความเร็ว 60 กม./ชม.ชนเข้ากับรถยนต์ที่จอดอยู่เฉยๆ (อ่านและคิดทบทวนอีกครั้งนะครับ)
วัตถุประสงค์หลักในการประดิษฐ์คิดค้น ก็เพื่อล่าสัตว์เท้ากีบขนาดเขื่อง เช่น กวางเอ้ลค์(Elk) สูงถึงหัวไหล่ 1.50 เมตร หนักประมาณ 250-450 กิโลกรัม จนกระทั่งถึงควายป่าที่เรียกว่า Cape Buffalo ที่มีกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ แต่น้ำหนักไม่มากเท่ากระทิงในบ้านเรา โดยการยิงจากปืนสั้นลูกโม่ลำกล้องยาว 7-8 นิ้วฟุต
จึงเป็นจุดกำเนิดปืนสั้นลูกโม่ดับเบิ้ลแอ๊คชั่น Smith&Wesson Model 29
สมิธแอนด์เวสสัน “สี่สี่-แม็กนั่ม”
56 ปีมาแล้วที่ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 ปืนสั้นลูกโม่ดับเบิ้ลแอ็คชั่น(Double-Action Revolver) กระสุนสี่สี่แม็กนั่มผลิตจำหน่าย อันที่จริงก็ด้วยวัตถุประสงค์ของการล่าสัตว์ด้วยปืนสั้น ซึ่งเป็นความคลาสสิคและใช้ศิลปะการล่ามากกว่าปืนยาว ยิ่งปืนสั้นลูกโม่แม้จะลำกล้องยาว 7-8 นิ้วฟุต หากได้ติดศูนย์กล้องเล็งขยาย 4-8 เท่า ก็ยิ่งทวีความยากลำบากในการเล็งยิงมากขึ้น
แม้ปืนโมเดลนี้(ซึ่งรวมทั้งกระสุนด้วย)จะขายดิบดีในช่วงต้นๆของการเปิดจำหน่ายก็ตาม แต่แล้วยอดขายก็ตกฮวบตามวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เช่นเดียวกับรถ 4x4 Off-Road เพราะมนุษย์หันมาอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติ ออกกำลังกายในร่มมากกว่ากีฬากลางแจ้งเช่นก่อน
จนกระทั่ง ในปีค.ศ.1971 ที่ภาพยนต์บู้แอ๊คชั่นเรื่อง “มือปราบปืนโหด” ออกฉาย ทำให้ปืนและกระสุนสี่สี่แม๊กนั่มกลับขายดีถล่มทลาย เพราะผู้ชายส่วนมากอย่างเก่งกล้าหรือมีอาวุธที่อานุภาพเอกอุเหมือนพระเอก คลิ้นท์ อี้สต์วู้ด นั้น จะเป็นกลยุทธ์การตลาดเช่นเดียวกับที่ภาพยนต์เรื่อง เจมส์ บอนด์ ปลุกกระแสความนิยมรถสปอร์ตอังกฤษยี่ห้อ แอสตัน มาร์ติน(Aston Martin) เป็นเหตุผลอยู่เบื้องหลังหรือเปล่า อันนี้ไม่แน่ใจ
สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29
-ปืนสั้นลูกโม่ดับเบิ้ลแอ๊คชั่นบรรจุกระสุน 6 นัด โครงปืนใหญ่(S&W N-Frame)
-ลูกโม่หมุนทวนเข็มนาฬิกา(Anti-Clockwise)
-กระสุนปืนสั้นลูกโม่ชนวนกลาง(Revolver/Center-Fire Cartridge)ขนาด .44 Remington Magnum
-ตัวปืนเสนอตลาดด้วย 7 ขนาดความยาวลำกล้อง ได้แก่ 3, 4, 5, 6, 6 ½ , 8 3/8 และหลังสุด 10 5/8 นิ้วฟุต
-เฉพาะลำกล้อง 5 นิ้วฟุตเท่านั้นที่ฟักก้านกระทุ้งปลอกกระสุนยาวเต็มความยาวลำกล้องหรือ Full Barrel Length Underlug
โมเดล 29 เสนออยู่ 2 แบบ ได้แก่ แบบรมดำผิวหนา(Highly Polished Blued Finish) กับแบบนิเกิ้ลโครเมี่ยม(Nickle-Plated Surface)
ในปีค.ศ.1960 โมเดล 29-1 ผลิตสู่ตลาดภายใต้การปรับปรุงด้านเทคนิคเล็กน้อย อาทิ สกรูยึดก้านกระทุ้งปลอกกระสุน(Ejector Rod Screw) ให้หลังหนึ่งปี โมเดล 29-2 ก็ปรากฏสู่ตลาดโดยเพิ่มสกรูตัวขันยึดความแน่นหนาให้กับสปริงสลักล็อคลูกโม่(Cylinder Stop Spring) ในปีค.ศ. 1979 หั่นลำกล้องจาก 6 ½ เหลือแค่ 6 นิ้วฟุต
ทั้งโมเดล 29-1 และ 29-2 เพิ่มเทคนิคพิเศษอีกนิดนึง คือ ตัวลำกล้องขันเกลียวยึดแน่นกับโครงปืนพร้อมหมุดตอกย้ำ ส่วนตัวลูกโม่เซาะร่องฝังจานคัดปลอกกระสุนให้เรียบหน้าโม่ เรียกเทคนิคนี้ว่า Pinned & Recessed Model
ปีค.ศ.1967-1971 บริษัทสนับสนุนทางยุทโธปกรณ์สหรัฐอเมริกา ชื่อ AAI Corporation (Aircraft Armaments, Inc.) สั่งผลิตปืนสมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 จำนวนหนึ่ง
ลำกล้องสั้นแค่ 1.375 นิ้วฟุต ใช้ยิงกับกระสุน .40 หรือว่า 10 มอมอ และกระสุนลูกซองขนาด .410 เพื่อใช้ในปฏิบัติการพิเศษที่เรียกว่า QAPR (Quiet Special Purpose Revolver) เพื่อให้ทหารอเมริกันบุกเข้าจู่โจมและตรวจค้น “ถ้ำรูหนู” หรือ Tunnel Rats ที่ทหารเวียดนามอาศัยเป็นช่องทางหลบหนีหลบซ่อน
ในปีค.ศ. 1982 โมเดล 29-3 ยกเลิกเทคนิคพิเศษดังกล่าวเพิ่มลดต้นทุนและระยะเวลาในการผลิต โดยหันมาใช้เทคนิค Crush-Fit Barrel หรือคล้ายๆกับ โคนลำกล้องตีปลอกฟิตแน่นกับโครงปืน ซึ่งได้ผลเท่าเทียมกันแต่ประหยัดต้นทุนและเวลาผลิตมากกว่า
ในปีค.ศ.1988 (โมเดล 29-4) และปี 1990 (โมเดล 29-5) เสริมแรงให้กับชิ้นส่วนและโครงสร้างตัวปืนเพื่อให้ใช้งานได้อย่างสมบุกสมบันมากขึ้น โดยเฉพาะทนแรงดันรังเพลิงและแรงสะบัดสะท้อนจากกระสุนแรงสูงสมัยใหม่ ปีค.ศ.1994 โมเดล 29-6 ผลิตจำหน่ายพร้อมกับด้ามยาง Monogrip กระชับมือยี่ห้อ ฮ้อว์ก(Hogue) สันบนโครงปืนมีรูไว้สำหรับขันสกรูติดตั้งศูนย์กล้องล่าสัตว์
ในปีค.ศ.1998 โมเดล 29-7 ออกตลาดภายใต้การปรับปรุงชิ้นส่วนลั่นไก เช่น เข็มแทงชนวน, นกปืน, ไกปืน, ฯลฯ ล้วนผลิตจากกรรมวิธีฉีดโลหะขึ้นรูป(Metal Injection Molding Process) เพื่อป้องกันปัญหาแตกหักขณะใช้งานหนัก
สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 ถูกยกเลิกการผลิตไปอย่างถาวรในปีค.ศ.1999 ด้วยเหตุผลของอายุสินค้า(Model Life)ในเชิงการตลาด ปัจจุบัน ทั้งตลาดนอกและตลาดไทย นักเล่นปืนต่างมองหาสี่สี่แม็กนั่มรุ่นนี้ไว้สะสม เพราะตัวปืนมีความสวยงามมากกว่าปืนรุ่นใหม่ของสมิธฯ
โดยเฉพาะ โมเดล 29 ในรุ่นฉลองครบรอบ 50 ปี (50th Anniversary Model 29) ที่ผลิตขึ้นจำกัดจำนวนเมื่อวันที่ 26 มกราคมปี 2006 ลักษณะพิเศษ ได้แก่ ลูกโม่กลมกลึงไม่มีร่อง(Non-Fluted Cylinder), สลักลายทองด้วยแสงเลเซอร์บนตัวปืน, ระบบสลักนิรภัยภายใน(Interlock Mechanism), ฯลฯ
วันที่ 1 มกราคมปี 2007 โมเดล 29 คลาสสิคไลน์ รุ่นพิเศษแกะลายสวยหรู(Engraved Model)
สมิธแอนด์เวสสัน “โมเดล 629”
ในยุคที่โลหะวิทยาหันมาสนใจเหล็กสแตนเลส(Stainless Steel)กันอย่างบ้าคลั่ง
ด้วยคุณสมบัติบางประการที่ให้ประโยชน์ใช้งานเหนือกว่าเหล็ก(Steel) เช่น ไม่เป็นสนิมเหล็ก, ทนสภาวะกัดกร่อนได้สูง(Anti-Corrosion), เนื้อโลหะเหนียวแน่น(High-Density)จากการหล่อขึ้นรูปได้มากกว่า, เนื้อผิวสวยงามดูน่าใช้น่าจับต้องมากกว่า, ฯลฯ
สมิธแอนด์เวสสัน “โมเดล 629” จึงกำเนิดขึ้นมาด้วยเหล็กสแตนเลสแทนโมเดล 29 ที่เป็นเหล็ก ด้วยประการเช่นนี้
โมเดล 629 สี่สี่แม็กนั่ม เปิดตัวครั้งแรกในปีค.ศ.1978 ในขนาดลำกล้องยาว 6 นิ้วฟุต ส่วนลำกล้อง 4 และ 8 3/8 นิ้วฟุตออกสู่ตลาดในปีค.ศ.1980
ในปีค.ศ.1982 โมเดล 629-1 ใช้เทคนิคพิเศษ Crush-Fit Barrel ตามอย่างโมเดล 29-3 ในปีค.ศ.1988 โมเดล 629-1 เพิ่มรุ่นพิเศษลำกล้องสั้น 3 นิ้วฟุต ส้นด้ามมน(Round Butt) ชิ้นส่วนกลไกภายในเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับโมเดล 29-4 กรณีที่ตัวปืนปั๊ม 629-2E นั่นหมายถึงว่า บานพับหน้าลูกโม่หรือ Cylinder Crane ปรับให้ผิวเนื้อมีความแข็งแกร่งมากขึ้น
ปีค.ศ.1990 โมเดล 629-3 มาในรูปแบบของด้ามยางฮ้อว์ก(Hogue), สันบนโครงปืนมีสกรูพร้อมติดตั้งศูนย์กล้องเล็ง, เปลี่ยนก้านกระทุ้งปลอกกระสุน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโมเดล 629-4 ที่เปิดตัวภายหลังในคุณสมบัติของปืนสั้นแข่งขันยิงเป้ามากขึ้น อาทิ นกปืน-ไกปืนใหญ่แบบปืนสั้นแข่งขันยิงเป้า, ศูนย์หน้ากระโดงปลาแถบแดง(Red Ramp Front Sight), ใบศูนย์หลังเส้นขาว(White Outline Rear Sight), ฯลฯ เป็นต้น
ในปีเดียวกันนี้(1990) โมเดล 629 คลาสสิค(Classic) เสนอตลาดด้วยรูปแบบของ “ฝักเต็ม” หรือ Full Barrel Underlug หมายถึง มีแท่งตันถ่วงน้ำหนักต่อจากฝักก้านกระทุ้งปลอกกระสุนใต้ลำกล้องยาวจรดปากกระบอกปืน
ภายใต้รหัส 629-4s ลำกล้องยาว 5, 6 และ 8 3/8 นิ้วฟุต ปีค.ศ.1991 โมเดล 629 คลาสสิค ดีเอ๊กซ์ (629 Classic DX) ออกสู่ตลาดพร้อมกับคุณสมบัติพิเศษเหนือใคร คือ เปลี่ยนใบศูนย์หน้าได้ 5 แบบ
ปีค.ศ.1988 โมเดล 629-5 เปลี่ยนนกและไกปืน MIM และใช้เข็มแทงชนวนแบบฝังลอยในโครงปืน แทนเข็มแทงชนวนแบบนกสับเช่นก่อน
โมเดล 629 คลาสสิค มิได้เป็นแค่สินค้ารุ่นใหม่ที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้มีคุณภาพดีมากกว่าโมเดล 29 และโมเดล 629 เท่านั้น
ในเชิงการตลาดถือว่าเป็นการ “ยกระดับ” สินค้า(Product Repositioning)ให้สูงขึ้น ซึ่งหมายถึง ราคาแพงขึ้นตามคุณภาพสินค้า ขณะเดียวกัน ก็ยกระดับชื่อยี่ห้อและตัวสินค้าให้สูงขึ้นเพื่อตลาดระดับไฮเอ็น(High-end) คือ เศรษฐีและนักสะสมปืน
ดังนี้ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 629 คลาสสิค ยุคหลังๆจึงมีสินค้ารุ่นพิเศษสู่ตลาด อาทิ แม๊กน่าคลาสสิค(MagnaClassic), วี-ค้อมพ์(V-Comp), สเต็ลท์ฮันเตอร์(Stealth Hunter), ฯลฯ เป็นต้น รวมทั้งความยาวลำกล้อง 7 ½ นิ้วฟุตที่มาคั่นกลางเป็นทางเลือกใหม่ ระหว่างลำกล้อง 6 และ 8 3/8 นิ้วฟุต อีกด้วย
บทวิพากย์….
ในแง่มุมของนักสะสมปืน(Gun Collectors) ยังมีข้อมูลอีกมากมายที่ไม่สามารถลงพิมพ์ในจำนวนหน้ากระดาษจำกัดนี้ได้หมด เช่น รุ่นลำกล้องสั้น 3 นิ้วฟุต, เมาเท่นกันส์(Mountain Gun), และอื่นๆ
แต่ในมุมของผู้ใช้ปืนทั่วไปก็พอที่จะใช้เนื้อที่หน้ากระดาษที่เหลือนั่งจับเข่าคุยกันได้ดังนี้ครับ
คำถาม: “ใครบ้างที่ซื้อปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่ม? และทำไมต้องเป็นสมิธแอนด์เวสสัน?”
ตอบ: แม้กระสุนสี่สี่แม็กนั่มจะออกแบบมาแต่อ้อนออกให้ใช้กับปืนสั้นลูกโม่ดับเบิ้ลแอ็คชั่น เพื่อกีฬาล่าสัตว์และป้องกันตัวจากสัตว์ร้ายในงานสำรวจท่องเที่ยวป่า
แต่กลุ่มผู้ซื้อปืนสั้นกระสุนดุขนาดนี้ส่วนมากกลับเป็นนักสะสมปืน นักเลงปืน และตำรวจทหารตามชายแดนหรือในท้องที่ทุรกันดาร ทั้งในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเมืองไทย
ด้วยราคาตัวปืนและกระสุนที่แพงกว่าปืนอื่นในตลาด ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ผู้ที่ซื้อปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่ม ก็คือ คนที่มีใจรักปืนสั้นกระสุนดุขนาดนี้จริงๆ
ขณะที่ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 สี่สี่แม็กนั่ม คลอดสู่ตลาดเมื่อ 56 ปีที่แล้ว ก็มีบริษัทผลิตปืนยี่ห้อ รูเก้อร์ (Ruger) สหรัฐอเมริกา ผลิตปืนสั้นที่ใช้กระสุนขนาดเดียวกันนี้ออกแข่งตลาด แต่เป็นปืนสั้นซิงเกิ้ลแอ๊คชั่น(Single Action Revolver)
นัยว่า เป็นเพราะพนักงานของบริษัทผลิตกระสุนเรมิงตันนำปลอกกระสุนขนาดใหม่ล่านี้ไปให้รูเก้อร์
ปัจจุบัน แม้ว่าจะมีปืนสั้นหลายยี่ห้อที่แข่งค้ากับปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่มของสมิธฯ เช่น โค้ลท์ อะนาคอนด้า(Colt Anaconda), รูเก้อร์ ซูเปอร์ เรดฮอว์ก(Ruger Super Redhawk)ดับเบิ้ลแอ๊คชั่น, รูเก้อร์ ซูเปอร์ แบล็คฮอว์ก(Ruger Super Blackhawk)ซิงเกิ้ลแอ๊คชั่น, ฯลฯ
ยังไม่นับปืนพกกึ่งอัตโนมัติ(Semi-Automatic Pistol)ชื่อดังที่ใช้กระสุนสี่สี่แม๊กนั่มของปืนสั้นลูกโม่ เช่น เดสเสิร์ต อีเกิ้ล (IMI Desert Eagle), และอื่นๆ เป็นต้น
แต่ที่เมืองนอกเมืองไทยพูดกันมากที่สุด ก็คือ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29, 629 และ 629 คลาสสิค ประณีตแม่นยำที่สุดในกระบวนปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่มด้วยกัน
ถาม: “ปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่มใช้กระสุนอื่นยิงแทนได้ไหมในเมื่อไม่มีลูกซ้อมยิง?”
ตอบ: ได้ คือ .44 สเปเชี่ยล(.44 S&W Special) ที่ปลอกหรือนัดกระสุนสั้นกว่าสี่สี่แม็กนั่มนิดเดียว (0.125 นิ้วฟุต)
ทำนองเดียวกับที่เราใช้กระสุนสามแปดสเปฯ (.38 Special) ยิงซ้อมมือกับปืนสั้นลูกโม่สามห้าเจ็ดแม็กนั่ม(.357 Magnum) เพราะขนาดหน้าตัดหัวกระสุนและความโตของปลอกกระสุนใกล้เคียงกันมาก แต่หลักการนี้ใช้ได้เฉพาะปืนสั้นลูกโม่เท่านั้น ปืนพกกึ่งอัตโนมัติหรือปืนสั้นออโตเมติคจะมีปัญหา
ถาม: “สมมุติว่าขอใบอนุญาตและซื้อปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่มมาได้แล้วจะไปยิงซ้อมที่สนามยิงปืนที่ไหน?”
ตอบ: เดี๋ยวนี้ยากมากครับ สนามยิงปืนของราชการและเอกชนทั่วไปในบ้านเราไม่ค่อยอนุญาตให้ยิงปืนกระสุนสี่สี่แม็กนั่ม ซึ่งรวมทั้งปืนไรเฟิลขนาดต่างๆ ด้วย
ปืนกระสุนดุที่อนุญาตให้ยิงซ้อมกันในสนาม อย่างมากก็แค่สิบเอ็ดมอมอ(.45 ACP), ลูกซองกระสุนลูกปราย, สามห้าเจ็ดแม็กนั่ม(.357 Magnum)เป็นบางสนาม จริงๆจังๆก็คงเป็นสนามยิงปืนของทหารที่ Backstop (กำแพงหยุดกระสุนหลังเป้า) เตรียมไว้สำหรับเอ็ม 16 ก็พอจะพูดคุยขอกันได้บ้าง
ถาม: “สี่สี่แม็กนั่มกระสุนนอกราคานัดละเท่าไร? กระสุนไทยมีผลิตไหม?”
ตอบ: กระสุนสี่สี่แม็กนั่มที่พอจะหาซื้อได้ในตลาดปืนบ้านเรามีค่อนข้างน้อยมาก ถ้ามีก็ตกนัดละเกือบๆร้อยบาทหรือกว่านี้ เท่าที่ทราบ สี่สี่แม็กนั่มไม่มีผลิตขึ้นในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เพราะขาดวัสดุและดินปืนที่ต้องขออนุญาตกลาโหมเพื่อนำเข้า ยอดจำหน่ายมีแค่นิดเดียว จึงไม่คุ้มที่จะผลิตในประเทศไทย
ถาม: “ที่ว่า ปืนสมิธฯสี่สี่แม็กนั่มแม่นยำกว่าปืนอื่นนั้นเป็นอย่างไร?”
ตอบ: จากบทความต่างประเทศ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 629 แม็กน่าคลาสสิค ลำกล้องยาว 8 3/8 นิ้วฟุต ยิงด้วยกระสุน Garrett Cartridges หัวกระสุนหนัก 320 เกรน ความเร็วต้น 1,315 ฟุต/วินาที จากระยะยิง 25 หลา(ประมาณ 23 เมตร)จำนวน 6 นัดทำกลุ่มกระสุนได้ 1 นิ้วฟุต
กระสุน Carbon Hunter หัวกระสุนหนัก 260 เกรน หัวรู(Hollow Point) ความเร็วต้น 1,450 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 1,214 ฟุต-ปอนด์ ระยะยิง 25 หลา จำนวน 6 นัดทำกลุ่มได้ 1x2 นิ้วฟุต
ทั้งนี้ยังไม่มีการยิงพิสูจน์ความแม่นยำเทียบระหว่าง Smith&Wesson, Colt Anaconda, Ruger Super Redhawk ทั้งเมืองนอกและในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
ถาม: “ถ้าจะซื้อปืนสั้นลูกโม่สี่สี่แม็กนั่มสักกระบอกในชีวิตจะเลือกอะไรดี?”
ตอบ: ถ้าเลือกความประณีตแม่นยำ(Precision/Accuracy)ก็ต้องสมิธแอนด์เวสสัน ถ้าชอบความแข็งแรงบึกบึนทนทาน(Strong, Durability & Reliability)ก็ต้องฟันธงว่ารูเก้อร์ ส่วนอะนาคอนด้า(Anaconda)เป็นอะไรๆ ที่ต้องเป็นยี่ห้อโค้ลท์ไว้ก่อน
ถาม: “ปืนสั้นลูกโม่เล่นกระสุนสี่สี่แม็กนั่มแบบไหนดี?”
ตอบ: นักเลงสี่สี่แม็กนั่มตัวจริงจะเล่นกระสุน “หัวตัน-หัวหนัก” ไว้ก่อน ไม่ว่าจะเป็น Jacketed Soft Point, Semi-Wadcutter, Flat/Leaded Nose, รวมทั้งกระสุนพิเศษซาบ้อต(Sabot)
จากประสบการณ์ส่วนตัว สี่สี่แม็กนั่มหัวรู น้ำหนัก 240 เกรน แม้จะมีความเร็วสูงถึงขั้น 1,400 ฟุต/วินาที จะมีปัญหา “เหินลม” ทำให้วิถีกระสุน(Trajectory)ไม่ราบเรียบไม่แม่นยำเท่าควร
ขณะที่กระสุนหัวตัน น้ำหนักหัวกระสุนมากๆ (หรือบางทีก็น้ำหนัก 240 เกรนเท่ากัน) แต่ปลอกกระสุนมีเข็มขัดรัดหรือรอยย้ำ 2 แถว แม้ความเร็วน้อยกว่าแต่ให้ความแม่นยำหนักแน่นสูงกว่ามาก เรียกว่าได้ใจทุกนัดไป ข้อเสีย คือ ยิงสะบัดกัดมือมากกว่ากระสุนรุ่นใหม่ๆ ประมาณ +15%-20%
ถาม: “ปืนสี่สี่แม็กนั่มต้องระวังอะไรบ้าง? ติดศูนย์กล้องดีไหม?”
ตอบ: ข้อหนึ่ง-ถ้าเป็นเหล็กสแตนเลส เช่น โมเดล 629 และ 629 คลาสสิค ควรใส่กล่องเก็บหรือไม่ก็ตัดซองหนังใส่ปืนเก็บรักษา เพื่อป้องกันรอยขีดข่วน รอยขนแมว ที่เกิดขึ้นเพราะผิวเหล็กสแตนเลสเนื้ออ่อนกว่าเหล็ก
ข้อสอง-ไม่ควรใช้ยาขัดโลหะชนิดที่มีสารชะล้าง(Solven)ขัดถูกตัวปืน เพราะจะทำให้ตัวอักษรที่แกะสลักด้วยเลเซอร์เคลือบสีทองไว้ลางเลือนจางหาย
ข้อสาม-หมั่นตรวจขันหมุดสกรูที่ตัวปืนทั้งก่อนและหลังการยิง เนื่องจากแรงสะบัดสะท้อนรุนแรงทำให้หมุดสกรูคลายตัวและอาจหลุดกระเด็นหาย
ข้อสี่-ถึงจะหาซื้อกระสุนได้มากก็ไม่ควรยิงเล่นบ่อยๆ เพราะจะทำให้ตัวปืนทรุดโทรมเร็วกว่าที่ควรอย่างน่าเสียดาย
ข้อห้า-อย่านำมายิงแห้งหรือเหนี่ยวไกเล่น(โดยไม่บรรจุกระสุนในตัวปืน)บ่อยๆ กลไกปืนอาจชำรุดเสียหาย โดยเฉพาะเข็มแทงชนวนอาจหักโดยไม่รู้ตัว
ข้อหก-ติดศูนย์กล้องเล็งได้ในกำลังขยายภาพไม่เกิน 4 เท่า สูงกว่านั้นจะเล็งยิงได้ลำบาก มือสั่นสายตาพร่ามัวเพราะไม่กล้าลั่นกระสุน(เพราะภาพมันฟ้องว่าศูนย์ปืนไม่เข้าเป้าเนื่องจากมือผู้ยิงสั่นไปมา) แต่สุดท้ายก็ต้องถอดศูนย์กล้องเล็งออกเพราะรู้สึกเกะกะหนักตัวปืนเปล่าๆ
สรุปท้ายเรื่อง...
สมิธแอนด์เวสสัน สี่สี่แม็กนั่ม เป็นทรัพย์สมบัติที่คู่ควรต่อผู้มีบารมีและนักสะสมปืนมากกว่าการมีใช้เพื่อต่อสู้ป้องกันชีวิตทรัพย์สิน ไม่ใช่ปืนสั้นประจำกายอย่างแน่นอน แต่จะเหมาะที่สุดในกรณีท่องไพรสำรวจป่าที่พกไว้ข้างเอวหรือข้างสีข้างลำตัวเพื่อป้องกันสัตว์เขี้ยวยาวดุร้ายต่างๆ
แม้ปัจจุบัน ตลาดปืนโลกจะมี “ปืนโหดกระสุนดุ” รุ่นใหม่ๆที่มีอานุภาพสูงกว่าสี่สี่แม็กนั่ม ไม่ว่าจะเป็น .454 Casull, .460 S&W Magnum, .500 S&W Magnum, และอื่นๆ แต่
“สี่สี่แม็กนั่มยังจะเป็นเพื่อนที่ดีของนักเล่นปืนตลอดไป”
ขอบคุณครับ...
Smith&Wesson Model 629 .44 Magnum
โดย. พีระพงษ์ กลั่นกรอง
เมื่อ คลิ้นท์ อี้สต์วู้ด (Clint Eastwood) ในบทของสารวัตรมือปราบ ฮาร์รี่ คาลาแฮน (Harry Callahan) พูดกับคนร้ายในฉากแรกของภาพยนต์เรื่อง “มือปราบปืนโหด” หรือ Dirty Harry ภาพยนต์ซีรี่ส์บู้แอ๊คชั่นที่ยิงกันสนั่นจอเรื่องที่โด่งดังที่สุดในโลกเมื่อ 40 ปีที่แล้ว
ด้วยทุนสร้าง 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มือปราบปืนโหด(ภาคแรก-ปีค.ศ.1971)ทำรายได้สูงถึง 35 ล้านเหรียญ, ภาคที่สอง คือ Magnum Force (ปี 1973), ภาคที่สาม-The Enforcer (ปี 1976), ภาคที่สี่-Sudden Impact (ปี 1983), และภาคสุดท้าย คือ The Dead Pool (ปี 1988)
ไม่ว่าภาพยนต์เรื่องนี้จะออกมากี่ภาคก็ตาม ผลตอบรับ ก็คือ ปลุกกระแสความนิยมปืน “สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 สี่สี่แม็กนั่ม” จนตลาดปืนทั่วโลกยอดขายถล่มทลาย แม้ว่าบริษัทผลิตปืนสมิธฯกำลังจะขุดหลุมฝัง(เลิกผลิต)ปืนสั้นกระสุนโหดรุ่นนี้อยู่ก่อนหน้านั้นก็ตาม
................
อเมริกัน ได้ชื่อว่าเก่งในเรื่องการต่อสู้ด้วยอาวุธปืน เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีชีวิตเป็นเดิมพัน นับแต่ครั้งที่ต่อสู้แย่งผืนดินที่ทำกินกับอินเดียนแดงเผ่าต่างๆ จนกระทั่งถึงสงครามกลางเมือง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง-สอง และสงครามเวียดนาม
อานุภาพกระสุนปืน(อำนาจหยุดยั้ง, ประหัตประหาร, และทะลุทะลวง)เป็นข้อสำคัญประการแรกสำหรับงานล่า ป้องกันตัว และจู่โจม ความแม่นยำเป็นอันดับที่สองโดยเฉพาะกรณีที่ระยะยิงตั้งแต่ 75 หลา(หรือ 68.6 เมตร)ขึ้นไป หรือในระยะที่ความหนาของใบศูนย์หน้าใหญ่ทับเป้าหรือตัวคน
ดังที่ทราบกัน โดยหลักการ การเพิ่มอานุภาพกระสุนปืนมากขึ้นได้ก็ต้องอาศัย หนึ่ง-แรงดันในรังเพลิง(Chamber Pressure) ซึ่งจะให้ประโยชน์โดยปริยายในข้อที่สอง-คือ ความเร็วหัวกระสุน(Velocity), สาม-รูปแบบหัวกระสุน(Bullet type), ส่วนข้อที่สี่ คือ ขนาด-น้ำหนักหัวกระสุน(Bore & Weight) นั้น กลายเป็นเรื่องท้ายสุด หากว่าความเร็วกระสุนเกิน 3,000 ฟุตต่อวินาทีขึ้นไป ก็จะเกิดแรงปะทะคลื่นอากาศหรือ Shock Wave ทำให้บาดแผลแหกฉกรรจ์และกระเด็นล้มคว่ำได้ทันใด
ยกตัวอย่าง กระสุนเอ็ม 16 หรือกระสุนปืนไรเฟิลล่าสัตว์ขนาด .223 หรือ 5.56x45 ม.ม.นาโต้(NATO) หัวกระสุนเล็กเท่ากับกระสุนลูกกรด คือ .22 นิ้วฟุต น้ำหนักหัวกระสุน 55 เกรนมากกว่ากระสุนลูกกรด(40 เกรน)นิดเดียว ความเร็วต้น 3,250 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 1,325 ฟุต-ปอนด์ ฯลฯ เป็นต้น
“สี่สี่แม็กนั่ม” หรือในชื่อเป็นทางการว่า .44 Remington Magnum เมื่อ 40 ปีที่แล้วเป็นกระสุนปืนสั้นที่อานุภาพเอกอุที่สุดในโลก(The Most Powerful Handgun in the World)
ประดิษฐ์คิดค้นโดย เอลเม่อร์ คีธ (Elmer Keith) นักเขียนเรื่องปืนและนักผจญภัยกลางแจ้ง(Outdoor Adventurer)ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังมากในสหรัฐอเมริกา โดยร่วมกับบริษัทผลิตปืน สมิธแอนด์เวสสัน(Smith&Wesson)และบริษัทปืนและกระสุนยี่ห้อเรมิงตัน(Remington) ผลิตจำหน่ายในปีค.ศ.1955 (ปีพ.ศ.2498) จนปัจจุบัน
เอลเม่อร์ คีธ นำกระสุนขนาด “สี่สี่-สเปเชี่ยล” หรือ .44 S&W Special (ผลิตในปีค.ศ.1907 แรงดันรังเพลิง 15,500 ปอนด์/ตร.นิ้วฟุต ปลอกกระสุนยาว 1.16 นิ้วฟุต น้ำหนักหัวกระสุน 246 เกรน ความเร็วต้น 755 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 310 ฟุต-ปอนด์) มาทดลองพัฒนาเพิ่มแรงดันในรังเพลิง ซึ่งก็หมายถึงกระสุนความเร็วสูงโดยปริยาย เพื่อให้เป็น “สี่สี่-แม็กนั่ม”
โดยไม่คิดนำกระสุนหน้าตัดใหญ่ที่โด่งดังในยุคโคบาลตะวันตก(Wild Western) คือ “สี่ห้า-โค้ลท์” หรือ .45 Colt (ผลิตในปีค.ศ.1872 แรงดันรังเพลิง 14,000 ปอนด์/ตร.นิ้วฟุต ปลอกกระสุนยาว 1.285 นิ้วฟุต หัวกระสุนหนัก 250 เกรน ความเร็วต้น 929 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 479 ฟุต-ปอนด์ และแบบ Buffalo Bore หัวกระสุนหนัก 325 เกรน ความเร็วต้น 1,325 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 1,267 ฟุต-ปอนด์) มาพัฒนา
หลักการง่ายๆ ก็คือ กระสุนหน้าตัดใหญ่(Big Bore), หัวกระสุนหนักอึ้ง(Heavy Bullet), และ กระสุนความเร็วสูง(Higher Velocity) เปรียบง่ายๆว่า ซุงหนึ่งต้นหนัก 500 กิโลกรัมวางไว้เฉยๆข้างถนน รถยนต์ที่พุ่งชนต้นซุงต้นนี้ย่อมเสียหายน้อยกว่าการที่ถูกต้นซุงพุ่งมาด้วยความเร็ว 60 กม./ชม.ชนเข้ากับรถยนต์ที่จอดอยู่เฉยๆ (อ่านและคิดทบทวนอีกครั้งนะครับ)
วัตถุประสงค์หลักในการประดิษฐ์คิดค้น ก็เพื่อล่าสัตว์เท้ากีบขนาดเขื่อง เช่น กวางเอ้ลค์(Elk) สูงถึงหัวไหล่ 1.50 เมตร หนักประมาณ 250-450 กิโลกรัม จนกระทั่งถึงควายป่าที่เรียกว่า Cape Buffalo ที่มีกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ แต่น้ำหนักไม่มากเท่ากระทิงในบ้านเรา โดยการยิงจากปืนสั้นลูกโม่ลำกล้องยาว 7-8 นิ้วฟุต
จึงเป็นจุดกำเนิดปืนสั้นลูกโม่ดับเบิ้ลแอ๊คชั่น Smith&Wesson Model 29
สมิธแอนด์เวสสัน “สี่สี่-แม็กนั่ม”
56 ปีมาแล้วที่ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 ปืนสั้นลูกโม่ดับเบิ้ลแอ็คชั่น(Double-Action Revolver) กระสุนสี่สี่แม็กนั่มผลิตจำหน่าย อันที่จริงก็ด้วยวัตถุประสงค์ของการล่าสัตว์ด้วยปืนสั้น ซึ่งเป็นความคลาสสิคและใช้ศิลปะการล่ามากกว่าปืนยาว ยิ่งปืนสั้นลูกโม่แม้จะลำกล้องยาว 7-8 นิ้วฟุต หากได้ติดศูนย์กล้องเล็งขยาย 4-8 เท่า ก็ยิ่งทวีความยากลำบากในการเล็งยิงมากขึ้น
แม้ปืนโมเดลนี้(ซึ่งรวมทั้งกระสุนด้วย)จะขายดิบดีในช่วงต้นๆของการเปิดจำหน่ายก็ตาม แต่แล้วยอดขายก็ตกฮวบตามวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เช่นเดียวกับรถ 4x4 Off-Road เพราะมนุษย์หันมาอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติ ออกกำลังกายในร่มมากกว่ากีฬากลางแจ้งเช่นก่อน
จนกระทั่ง ในปีค.ศ.1971 ที่ภาพยนต์บู้แอ๊คชั่นเรื่อง “มือปราบปืนโหด” ออกฉาย ทำให้ปืนและกระสุนสี่สี่แม๊กนั่มกลับขายดีถล่มทลาย เพราะผู้ชายส่วนมากอย่างเก่งกล้าหรือมีอาวุธที่อานุภาพเอกอุเหมือนพระเอก คลิ้นท์ อี้สต์วู้ด นั้น จะเป็นกลยุทธ์การตลาดเช่นเดียวกับที่ภาพยนต์เรื่อง เจมส์ บอนด์ ปลุกกระแสความนิยมรถสปอร์ตอังกฤษยี่ห้อ แอสตัน มาร์ติน(Aston Martin) เป็นเหตุผลอยู่เบื้องหลังหรือเปล่า อันนี้ไม่แน่ใจ
สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29
-ปืนสั้นลูกโม่ดับเบิ้ลแอ๊คชั่นบรรจุกระสุน 6 นัด โครงปืนใหญ่(S&W N-Frame)
-ลูกโม่หมุนทวนเข็มนาฬิกา(Anti-Clockwise)
-กระสุนปืนสั้นลูกโม่ชนวนกลาง(Revolver/Center-Fire Cartridge)ขนาด .44 Remington Magnum
-ตัวปืนเสนอตลาดด้วย 7 ขนาดความยาวลำกล้อง ได้แก่ 3, 4, 5, 6, 6 ½ , 8 3/8 และหลังสุด 10 5/8 นิ้วฟุต
-เฉพาะลำกล้อง 5 นิ้วฟุตเท่านั้นที่ฟักก้านกระทุ้งปลอกกระสุนยาวเต็มความยาวลำกล้องหรือ Full Barrel Length Underlug
โมเดล 29 เสนออยู่ 2 แบบ ได้แก่ แบบรมดำผิวหนา(Highly Polished Blued Finish) กับแบบนิเกิ้ลโครเมี่ยม(Nickle-Plated Surface)
ในปีค.ศ.1960 โมเดล 29-1 ผลิตสู่ตลาดภายใต้การปรับปรุงด้านเทคนิคเล็กน้อย อาทิ สกรูยึดก้านกระทุ้งปลอกกระสุน(Ejector Rod Screw) ให้หลังหนึ่งปี โมเดล 29-2 ก็ปรากฏสู่ตลาดโดยเพิ่มสกรูตัวขันยึดความแน่นหนาให้กับสปริงสลักล็อคลูกโม่(Cylinder Stop Spring) ในปีค.ศ. 1979 หั่นลำกล้องจาก 6 ½ เหลือแค่ 6 นิ้วฟุต
ทั้งโมเดล 29-1 และ 29-2 เพิ่มเทคนิคพิเศษอีกนิดนึง คือ ตัวลำกล้องขันเกลียวยึดแน่นกับโครงปืนพร้อมหมุดตอกย้ำ ส่วนตัวลูกโม่เซาะร่องฝังจานคัดปลอกกระสุนให้เรียบหน้าโม่ เรียกเทคนิคนี้ว่า Pinned & Recessed Model
ปีค.ศ.1967-1971 บริษัทสนับสนุนทางยุทโธปกรณ์สหรัฐอเมริกา ชื่อ AAI Corporation (Aircraft Armaments, Inc.) สั่งผลิตปืนสมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 จำนวนหนึ่ง
ลำกล้องสั้นแค่ 1.375 นิ้วฟุต ใช้ยิงกับกระสุน .40 หรือว่า 10 มอมอ และกระสุนลูกซองขนาด .410 เพื่อใช้ในปฏิบัติการพิเศษที่เรียกว่า QAPR (Quiet Special Purpose Revolver) เพื่อให้ทหารอเมริกันบุกเข้าจู่โจมและตรวจค้น “ถ้ำรูหนู” หรือ Tunnel Rats ที่ทหารเวียดนามอาศัยเป็นช่องทางหลบหนีหลบซ่อน
ในปีค.ศ. 1982 โมเดล 29-3 ยกเลิกเทคนิคพิเศษดังกล่าวเพิ่มลดต้นทุนและระยะเวลาในการผลิต โดยหันมาใช้เทคนิค Crush-Fit Barrel หรือคล้ายๆกับ โคนลำกล้องตีปลอกฟิตแน่นกับโครงปืน ซึ่งได้ผลเท่าเทียมกันแต่ประหยัดต้นทุนและเวลาผลิตมากกว่า
ในปีค.ศ.1988 (โมเดล 29-4) และปี 1990 (โมเดล 29-5) เสริมแรงให้กับชิ้นส่วนและโครงสร้างตัวปืนเพื่อให้ใช้งานได้อย่างสมบุกสมบันมากขึ้น โดยเฉพาะทนแรงดันรังเพลิงและแรงสะบัดสะท้อนจากกระสุนแรงสูงสมัยใหม่ ปีค.ศ.1994 โมเดล 29-6 ผลิตจำหน่ายพร้อมกับด้ามยาง Monogrip กระชับมือยี่ห้อ ฮ้อว์ก(Hogue) สันบนโครงปืนมีรูไว้สำหรับขันสกรูติดตั้งศูนย์กล้องล่าสัตว์
ในปีค.ศ.1998 โมเดล 29-7 ออกตลาดภายใต้การปรับปรุงชิ้นส่วนลั่นไก เช่น เข็มแทงชนวน, นกปืน, ไกปืน, ฯลฯ ล้วนผลิตจากกรรมวิธีฉีดโลหะขึ้นรูป(Metal Injection Molding Process) เพื่อป้องกันปัญหาแตกหักขณะใช้งานหนัก
สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 ถูกยกเลิกการผลิตไปอย่างถาวรในปีค.ศ.1999 ด้วยเหตุผลของอายุสินค้า(Model Life)ในเชิงการตลาด ปัจจุบัน ทั้งตลาดนอกและตลาดไทย นักเล่นปืนต่างมองหาสี่สี่แม็กนั่มรุ่นนี้ไว้สะสม เพราะตัวปืนมีความสวยงามมากกว่าปืนรุ่นใหม่ของสมิธฯ
โดยเฉพาะ โมเดล 29 ในรุ่นฉลองครบรอบ 50 ปี (50th Anniversary Model 29) ที่ผลิตขึ้นจำกัดจำนวนเมื่อวันที่ 26 มกราคมปี 2006 ลักษณะพิเศษ ได้แก่ ลูกโม่กลมกลึงไม่มีร่อง(Non-Fluted Cylinder), สลักลายทองด้วยแสงเลเซอร์บนตัวปืน, ระบบสลักนิรภัยภายใน(Interlock Mechanism), ฯลฯ
วันที่ 1 มกราคมปี 2007 โมเดล 29 คลาสสิคไลน์ รุ่นพิเศษแกะลายสวยหรู(Engraved Model)
สมิธแอนด์เวสสัน “โมเดล 629”
ในยุคที่โลหะวิทยาหันมาสนใจเหล็กสแตนเลส(Stainless Steel)กันอย่างบ้าคลั่ง
ด้วยคุณสมบัติบางประการที่ให้ประโยชน์ใช้งานเหนือกว่าเหล็ก(Steel) เช่น ไม่เป็นสนิมเหล็ก, ทนสภาวะกัดกร่อนได้สูง(Anti-Corrosion), เนื้อโลหะเหนียวแน่น(High-Density)จากการหล่อขึ้นรูปได้มากกว่า, เนื้อผิวสวยงามดูน่าใช้น่าจับต้องมากกว่า, ฯลฯ
สมิธแอนด์เวสสัน “โมเดล 629” จึงกำเนิดขึ้นมาด้วยเหล็กสแตนเลสแทนโมเดล 29 ที่เป็นเหล็ก ด้วยประการเช่นนี้
โมเดล 629 สี่สี่แม็กนั่ม เปิดตัวครั้งแรกในปีค.ศ.1978 ในขนาดลำกล้องยาว 6 นิ้วฟุต ส่วนลำกล้อง 4 และ 8 3/8 นิ้วฟุตออกสู่ตลาดในปีค.ศ.1980
ในปีค.ศ.1982 โมเดล 629-1 ใช้เทคนิคพิเศษ Crush-Fit Barrel ตามอย่างโมเดล 29-3 ในปีค.ศ.1988 โมเดล 629-1 เพิ่มรุ่นพิเศษลำกล้องสั้น 3 นิ้วฟุต ส้นด้ามมน(Round Butt) ชิ้นส่วนกลไกภายในเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับโมเดล 29-4 กรณีที่ตัวปืนปั๊ม 629-2E นั่นหมายถึงว่า บานพับหน้าลูกโม่หรือ Cylinder Crane ปรับให้ผิวเนื้อมีความแข็งแกร่งมากขึ้น
ปีค.ศ.1990 โมเดล 629-3 มาในรูปแบบของด้ามยางฮ้อว์ก(Hogue), สันบนโครงปืนมีสกรูพร้อมติดตั้งศูนย์กล้องเล็ง, เปลี่ยนก้านกระทุ้งปลอกกระสุน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโมเดล 629-4 ที่เปิดตัวภายหลังในคุณสมบัติของปืนสั้นแข่งขันยิงเป้ามากขึ้น อาทิ นกปืน-ไกปืนใหญ่แบบปืนสั้นแข่งขันยิงเป้า, ศูนย์หน้ากระโดงปลาแถบแดง(Red Ramp Front Sight), ใบศูนย์หลังเส้นขาว(White Outline Rear Sight), ฯลฯ เป็นต้น
ในปีเดียวกันนี้(1990) โมเดล 629 คลาสสิค(Classic) เสนอตลาดด้วยรูปแบบของ “ฝักเต็ม” หรือ Full Barrel Underlug หมายถึง มีแท่งตันถ่วงน้ำหนักต่อจากฝักก้านกระทุ้งปลอกกระสุนใต้ลำกล้องยาวจรดปากกระบอกปืน
ภายใต้รหัส 629-4s ลำกล้องยาว 5, 6 และ 8 3/8 นิ้วฟุต ปีค.ศ.1991 โมเดล 629 คลาสสิค ดีเอ๊กซ์ (629 Classic DX) ออกสู่ตลาดพร้อมกับคุณสมบัติพิเศษเหนือใคร คือ เปลี่ยนใบศูนย์หน้าได้ 5 แบบ
ปีค.ศ.1988 โมเดล 629-5 เปลี่ยนนกและไกปืน MIM และใช้เข็มแทงชนวนแบบฝังลอยในโครงปืน แทนเข็มแทงชนวนแบบนกสับเช่นก่อน
โมเดล 629 คลาสสิค มิได้เป็นแค่สินค้ารุ่นใหม่ที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้มีคุณภาพดีมากกว่าโมเดล 29 และโมเดล 629 เท่านั้น
ในเชิงการตลาดถือว่าเป็นการ “ยกระดับ” สินค้า(Product Repositioning)ให้สูงขึ้น ซึ่งหมายถึง ราคาแพงขึ้นตามคุณภาพสินค้า ขณะเดียวกัน ก็ยกระดับชื่อยี่ห้อและตัวสินค้าให้สูงขึ้นเพื่อตลาดระดับไฮเอ็น(High-end) คือ เศรษฐีและนักสะสมปืน
ดังนี้ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 629 คลาสสิค ยุคหลังๆจึงมีสินค้ารุ่นพิเศษสู่ตลาด อาทิ แม๊กน่าคลาสสิค(MagnaClassic), วี-ค้อมพ์(V-Comp), สเต็ลท์ฮันเตอร์(Stealth Hunter), ฯลฯ เป็นต้น รวมทั้งความยาวลำกล้อง 7 ½ นิ้วฟุตที่มาคั่นกลางเป็นทางเลือกใหม่ ระหว่างลำกล้อง 6 และ 8 3/8 นิ้วฟุต อีกด้วย
บทวิพากย์….
ในแง่มุมของนักสะสมปืน(Gun Collectors) ยังมีข้อมูลอีกมากมายที่ไม่สามารถลงพิมพ์ในจำนวนหน้ากระดาษจำกัดนี้ได้หมด เช่น รุ่นลำกล้องสั้น 3 นิ้วฟุต, เมาเท่นกันส์(Mountain Gun), และอื่นๆ
แต่ในมุมของผู้ใช้ปืนทั่วไปก็พอที่จะใช้เนื้อที่หน้ากระดาษที่เหลือนั่งจับเข่าคุยกันได้ดังนี้ครับ
คำถาม: “ใครบ้างที่ซื้อปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่ม? และทำไมต้องเป็นสมิธแอนด์เวสสัน?”
ตอบ: แม้กระสุนสี่สี่แม็กนั่มจะออกแบบมาแต่อ้อนออกให้ใช้กับปืนสั้นลูกโม่ดับเบิ้ลแอ็คชั่น เพื่อกีฬาล่าสัตว์และป้องกันตัวจากสัตว์ร้ายในงานสำรวจท่องเที่ยวป่า
แต่กลุ่มผู้ซื้อปืนสั้นกระสุนดุขนาดนี้ส่วนมากกลับเป็นนักสะสมปืน นักเลงปืน และตำรวจทหารตามชายแดนหรือในท้องที่ทุรกันดาร ทั้งในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเมืองไทย
ด้วยราคาตัวปืนและกระสุนที่แพงกว่าปืนอื่นในตลาด ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ผู้ที่ซื้อปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่ม ก็คือ คนที่มีใจรักปืนสั้นกระสุนดุขนาดนี้จริงๆ
ขณะที่ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29 สี่สี่แม็กนั่ม คลอดสู่ตลาดเมื่อ 56 ปีที่แล้ว ก็มีบริษัทผลิตปืนยี่ห้อ รูเก้อร์ (Ruger) สหรัฐอเมริกา ผลิตปืนสั้นที่ใช้กระสุนขนาดเดียวกันนี้ออกแข่งตลาด แต่เป็นปืนสั้นซิงเกิ้ลแอ๊คชั่น(Single Action Revolver)
นัยว่า เป็นเพราะพนักงานของบริษัทผลิตกระสุนเรมิงตันนำปลอกกระสุนขนาดใหม่ล่านี้ไปให้รูเก้อร์
ปัจจุบัน แม้ว่าจะมีปืนสั้นหลายยี่ห้อที่แข่งค้ากับปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่มของสมิธฯ เช่น โค้ลท์ อะนาคอนด้า(Colt Anaconda), รูเก้อร์ ซูเปอร์ เรดฮอว์ก(Ruger Super Redhawk)ดับเบิ้ลแอ๊คชั่น, รูเก้อร์ ซูเปอร์ แบล็คฮอว์ก(Ruger Super Blackhawk)ซิงเกิ้ลแอ๊คชั่น, ฯลฯ
ยังไม่นับปืนพกกึ่งอัตโนมัติ(Semi-Automatic Pistol)ชื่อดังที่ใช้กระสุนสี่สี่แม๊กนั่มของปืนสั้นลูกโม่ เช่น เดสเสิร์ต อีเกิ้ล (IMI Desert Eagle), และอื่นๆ เป็นต้น
แต่ที่เมืองนอกเมืองไทยพูดกันมากที่สุด ก็คือ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 29, 629 และ 629 คลาสสิค ประณีตแม่นยำที่สุดในกระบวนปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่มด้วยกัน
ถาม: “ปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่มใช้กระสุนอื่นยิงแทนได้ไหมในเมื่อไม่มีลูกซ้อมยิง?”
ตอบ: ได้ คือ .44 สเปเชี่ยล(.44 S&W Special) ที่ปลอกหรือนัดกระสุนสั้นกว่าสี่สี่แม็กนั่มนิดเดียว (0.125 นิ้วฟุต)
ทำนองเดียวกับที่เราใช้กระสุนสามแปดสเปฯ (.38 Special) ยิงซ้อมมือกับปืนสั้นลูกโม่สามห้าเจ็ดแม็กนั่ม(.357 Magnum) เพราะขนาดหน้าตัดหัวกระสุนและความโตของปลอกกระสุนใกล้เคียงกันมาก แต่หลักการนี้ใช้ได้เฉพาะปืนสั้นลูกโม่เท่านั้น ปืนพกกึ่งอัตโนมัติหรือปืนสั้นออโตเมติคจะมีปัญหา
ถาม: “สมมุติว่าขอใบอนุญาตและซื้อปืนสั้นสี่สี่แม็กนั่มมาได้แล้วจะไปยิงซ้อมที่สนามยิงปืนที่ไหน?”
ตอบ: เดี๋ยวนี้ยากมากครับ สนามยิงปืนของราชการและเอกชนทั่วไปในบ้านเราไม่ค่อยอนุญาตให้ยิงปืนกระสุนสี่สี่แม็กนั่ม ซึ่งรวมทั้งปืนไรเฟิลขนาดต่างๆ ด้วย
ปืนกระสุนดุที่อนุญาตให้ยิงซ้อมกันในสนาม อย่างมากก็แค่สิบเอ็ดมอมอ(.45 ACP), ลูกซองกระสุนลูกปราย, สามห้าเจ็ดแม็กนั่ม(.357 Magnum)เป็นบางสนาม จริงๆจังๆก็คงเป็นสนามยิงปืนของทหารที่ Backstop (กำแพงหยุดกระสุนหลังเป้า) เตรียมไว้สำหรับเอ็ม 16 ก็พอจะพูดคุยขอกันได้บ้าง
ถาม: “สี่สี่แม็กนั่มกระสุนนอกราคานัดละเท่าไร? กระสุนไทยมีผลิตไหม?”
ตอบ: กระสุนสี่สี่แม็กนั่มที่พอจะหาซื้อได้ในตลาดปืนบ้านเรามีค่อนข้างน้อยมาก ถ้ามีก็ตกนัดละเกือบๆร้อยบาทหรือกว่านี้ เท่าที่ทราบ สี่สี่แม็กนั่มไม่มีผลิตขึ้นในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เพราะขาดวัสดุและดินปืนที่ต้องขออนุญาตกลาโหมเพื่อนำเข้า ยอดจำหน่ายมีแค่นิดเดียว จึงไม่คุ้มที่จะผลิตในประเทศไทย
ถาม: “ที่ว่า ปืนสมิธฯสี่สี่แม็กนั่มแม่นยำกว่าปืนอื่นนั้นเป็นอย่างไร?”
ตอบ: จากบทความต่างประเทศ สมิธแอนด์เวสสัน โมเดล 629 แม็กน่าคลาสสิค ลำกล้องยาว 8 3/8 นิ้วฟุต ยิงด้วยกระสุน Garrett Cartridges หัวกระสุนหนัก 320 เกรน ความเร็วต้น 1,315 ฟุต/วินาที จากระยะยิง 25 หลา(ประมาณ 23 เมตร)จำนวน 6 นัดทำกลุ่มกระสุนได้ 1 นิ้วฟุต
กระสุน Carbon Hunter หัวกระสุนหนัก 260 เกรน หัวรู(Hollow Point) ความเร็วต้น 1,450 ฟุต/วินาที แรงปะทะต้น 1,214 ฟุต-ปอนด์ ระยะยิง 25 หลา จำนวน 6 นัดทำกลุ่มได้ 1x2 นิ้วฟุต
ทั้งนี้ยังไม่มีการยิงพิสูจน์ความแม่นยำเทียบระหว่าง Smith&Wesson, Colt Anaconda, Ruger Super Redhawk ทั้งเมืองนอกและในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
ถาม: “ถ้าจะซื้อปืนสั้นลูกโม่สี่สี่แม็กนั่มสักกระบอกในชีวิตจะเลือกอะไรดี?”
ตอบ: ถ้าเลือกความประณีตแม่นยำ(Precision/Accuracy)ก็ต้องสมิธแอนด์เวสสัน ถ้าชอบความแข็งแรงบึกบึนทนทาน(Strong, Durability & Reliability)ก็ต้องฟันธงว่ารูเก้อร์ ส่วนอะนาคอนด้า(Anaconda)เป็นอะไรๆ ที่ต้องเป็นยี่ห้อโค้ลท์ไว้ก่อน
ถาม: “ปืนสั้นลูกโม่เล่นกระสุนสี่สี่แม็กนั่มแบบไหนดี?”
ตอบ: นักเลงสี่สี่แม็กนั่มตัวจริงจะเล่นกระสุน “หัวตัน-หัวหนัก” ไว้ก่อน ไม่ว่าจะเป็น Jacketed Soft Point, Semi-Wadcutter, Flat/Leaded Nose, รวมทั้งกระสุนพิเศษซาบ้อต(Sabot)
จากประสบการณ์ส่วนตัว สี่สี่แม็กนั่มหัวรู น้ำหนัก 240 เกรน แม้จะมีความเร็วสูงถึงขั้น 1,400 ฟุต/วินาที จะมีปัญหา “เหินลม” ทำให้วิถีกระสุน(Trajectory)ไม่ราบเรียบไม่แม่นยำเท่าควร
ขณะที่กระสุนหัวตัน น้ำหนักหัวกระสุนมากๆ (หรือบางทีก็น้ำหนัก 240 เกรนเท่ากัน) แต่ปลอกกระสุนมีเข็มขัดรัดหรือรอยย้ำ 2 แถว แม้ความเร็วน้อยกว่าแต่ให้ความแม่นยำหนักแน่นสูงกว่ามาก เรียกว่าได้ใจทุกนัดไป ข้อเสีย คือ ยิงสะบัดกัดมือมากกว่ากระสุนรุ่นใหม่ๆ ประมาณ +15%-20%
ถาม: “ปืนสี่สี่แม็กนั่มต้องระวังอะไรบ้าง? ติดศูนย์กล้องดีไหม?”
ตอบ: ข้อหนึ่ง-ถ้าเป็นเหล็กสแตนเลส เช่น โมเดล 629 และ 629 คลาสสิค ควรใส่กล่องเก็บหรือไม่ก็ตัดซองหนังใส่ปืนเก็บรักษา เพื่อป้องกันรอยขีดข่วน รอยขนแมว ที่เกิดขึ้นเพราะผิวเหล็กสแตนเลสเนื้ออ่อนกว่าเหล็ก
ข้อสอง-ไม่ควรใช้ยาขัดโลหะชนิดที่มีสารชะล้าง(Solven)ขัดถูกตัวปืน เพราะจะทำให้ตัวอักษรที่แกะสลักด้วยเลเซอร์เคลือบสีทองไว้ลางเลือนจางหาย
ข้อสาม-หมั่นตรวจขันหมุดสกรูที่ตัวปืนทั้งก่อนและหลังการยิง เนื่องจากแรงสะบัดสะท้อนรุนแรงทำให้หมุดสกรูคลายตัวและอาจหลุดกระเด็นหาย
ข้อสี่-ถึงจะหาซื้อกระสุนได้มากก็ไม่ควรยิงเล่นบ่อยๆ เพราะจะทำให้ตัวปืนทรุดโทรมเร็วกว่าที่ควรอย่างน่าเสียดาย
ข้อห้า-อย่านำมายิงแห้งหรือเหนี่ยวไกเล่น(โดยไม่บรรจุกระสุนในตัวปืน)บ่อยๆ กลไกปืนอาจชำรุดเสียหาย โดยเฉพาะเข็มแทงชนวนอาจหักโดยไม่รู้ตัว
ข้อหก-ติดศูนย์กล้องเล็งได้ในกำลังขยายภาพไม่เกิน 4 เท่า สูงกว่านั้นจะเล็งยิงได้ลำบาก มือสั่นสายตาพร่ามัวเพราะไม่กล้าลั่นกระสุน(เพราะภาพมันฟ้องว่าศูนย์ปืนไม่เข้าเป้าเนื่องจากมือผู้ยิงสั่นไปมา) แต่สุดท้ายก็ต้องถอดศูนย์กล้องเล็งออกเพราะรู้สึกเกะกะหนักตัวปืนเปล่าๆ
สรุปท้ายเรื่อง...
สมิธแอนด์เวสสัน สี่สี่แม็กนั่ม เป็นทรัพย์สมบัติที่คู่ควรต่อผู้มีบารมีและนักสะสมปืนมากกว่าการมีใช้เพื่อต่อสู้ป้องกันชีวิตทรัพย์สิน ไม่ใช่ปืนสั้นประจำกายอย่างแน่นอน แต่จะเหมาะที่สุดในกรณีท่องไพรสำรวจป่าที่พกไว้ข้างเอวหรือข้างสีข้างลำตัวเพื่อป้องกันสัตว์เขี้ยวยาวดุร้ายต่างๆ
แม้ปัจจุบัน ตลาดปืนโลกจะมี “ปืนโหดกระสุนดุ” รุ่นใหม่ๆที่มีอานุภาพสูงกว่าสี่สี่แม็กนั่ม ไม่ว่าจะเป็น .454 Casull, .460 S&W Magnum, .500 S&W Magnum, และอื่นๆ แต่
“สี่สี่แม็กนั่มยังจะเป็นเพื่อนที่ดีของนักเล่นปืนตลอดไป”
ขอบคุณครับ...