• ภายนอกสำคัญที่สุดจริงหรือ? https://www.blockdit.com/posts/67f63a3ac08404a1b3642ffc
    ภายนอกสำคัญที่สุดจริงหรือ? https://www.blockdit.com/posts/67f63a3ac08404a1b3642ffc
    WWW.BLOCKDIT.COM
    [sansati ศานสติ] If the looks can kill... คนเราสมัยนี้เห็นรูปร่างหน้าตาสำคัญกว่าอย่างอื่น ให้ความสำคัญถึงขนาดที่ว่าต้องไปทำศัลยกรรมกันเลยทีเดียว เพราะเชื่อว่าจะได้เปรียบในทางสังคม ไม่ว่าจะด้านการงาน ความรัก ชื่อเสียง
    คนเราสมัยนี้เห็นรูปร่างหน้าตาสำคัญกว่าอย่างอื่น ให้ความสำคัญถึงขนาดที่ว่าต้องไปทำศัลยกรรมกันเลยทีเดียว เพราะเชื่อว่าจะได้เปรียบในทางสังคม ไม่ว่าจะด้านการงาน ความรัก ชื่อเสียง หรือแม้กระทั่งเงินทอง ความเชื่อที่ว่าจะได้โอกาสพิจารณาก่อนในการสมัครเข้าทำงาน หรือมีคนเชื่อถือในคำพูดมากกว่าเวลาขายของ หรือเป็นผู้เลือกในด้านความรัก ไม่ใช่ต้องรอเป็นฝ่ายถูกเลือก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 29 มุมมอง 0 รีวิว
  • ด่วน!
    ทำเนียบขาวประกาศตอบโต้จีน ด้วยการเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 245%

    อย่างไรก็ตาม จีนเคยระบุก่อนหน้านี้ว่าจะไม่สนใจการตอบโต้ของสหรัฐฯ อีกต่อไป เนื่องจากจีนมองว่าเป็นการกระทำที่ตลก

    https://thaitimes.co/posts/208453
    ด่วน! ทำเนียบขาวประกาศตอบโต้จีน ด้วยการเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 245% อย่างไรก็ตาม จีนเคยระบุก่อนหน้านี้ว่าจะไม่สนใจการตอบโต้ของสหรัฐฯ อีกต่อไป เนื่องจากจีนมองว่าเป็นการกระทำที่ตลก https://thaitimes.co/posts/208453
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 227 มุมมอง 0 รีวิว
  • Meta บริษัทแม่ของ Facebook และ Instagram ได้ประกาศว่าจะนำข้อมูลจากโพสต์สาธารณะและการโต้ตอบกับ AI มาฝึกโมเดลปัญญาประดิษฐ์ในสหภาพยุโรป (EU) หลังจากเผชิญกับความกังวลด้านความเป็นส่วนตัวและกฎระเบียบคุ้มครองข้อมูลที่เข้มงวดในภูมิภาคนี้ การเปิดตัวเทคโนโลยี AI ในยุโรปล่าช้าไปจากแผนเดิม เนื่องจากข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแล

    Meta ให้ความมั่นใจกับผู้ใช้ใน EU ว่าจะมีการแจ้งเตือนเกี่ยวกับข้อมูลที่บริษัทใช้ รวมถึงช่องทางให้ผู้ใช้แสดงความคัดค้านต่อการนำข้อมูลของตนมาใช้ในการฝึก AI อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่เป็นข้อความส่วนตัวและข้อมูลจากบัญชีของผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีจะไม่ถูกนำมาใช้

    การตัดสินใจของ Meta เกิดขึ้นหลังจากเผชิญกับแรงกดดันจากคณะกรรมาธิการยุโรป และกลุ่มสิทธิด้านความเป็นส่วนตัว เช่น NOYB ที่เรียกร้องให้มีการจำกัดการใช้ข้อมูลจากโซเชียลมีเดียในการฝึก AI นอกจากนี้ Meta ยังถูกตรวจสอบโดยหน่วยงานกำกับดูแลข้อมูลของไอร์แลนด์ ซึ่งเคยสั่งให้บริษัทชะลอแผนดังกล่าวเมื่อปีที่แล้ว

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/04/15/meta-to-use-public-posts-ai-interactions-to-train-models-in-eu
    Meta บริษัทแม่ของ Facebook และ Instagram ได้ประกาศว่าจะนำข้อมูลจากโพสต์สาธารณะและการโต้ตอบกับ AI มาฝึกโมเดลปัญญาประดิษฐ์ในสหภาพยุโรป (EU) หลังจากเผชิญกับความกังวลด้านความเป็นส่วนตัวและกฎระเบียบคุ้มครองข้อมูลที่เข้มงวดในภูมิภาคนี้ การเปิดตัวเทคโนโลยี AI ในยุโรปล่าช้าไปจากแผนเดิม เนื่องจากข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแล Meta ให้ความมั่นใจกับผู้ใช้ใน EU ว่าจะมีการแจ้งเตือนเกี่ยวกับข้อมูลที่บริษัทใช้ รวมถึงช่องทางให้ผู้ใช้แสดงความคัดค้านต่อการนำข้อมูลของตนมาใช้ในการฝึก AI อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่เป็นข้อความส่วนตัวและข้อมูลจากบัญชีของผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีจะไม่ถูกนำมาใช้ การตัดสินใจของ Meta เกิดขึ้นหลังจากเผชิญกับแรงกดดันจากคณะกรรมาธิการยุโรป และกลุ่มสิทธิด้านความเป็นส่วนตัว เช่น NOYB ที่เรียกร้องให้มีการจำกัดการใช้ข้อมูลจากโซเชียลมีเดียในการฝึก AI นอกจากนี้ Meta ยังถูกตรวจสอบโดยหน่วยงานกำกับดูแลข้อมูลของไอร์แลนด์ ซึ่งเคยสั่งให้บริษัทชะลอแผนดังกล่าวเมื่อปีที่แล้ว https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/04/15/meta-to-use-public-posts-ai-interactions-to-train-models-in-eu
    WWW.THESTAR.COM.MY
    Meta to use public posts, AI interactions to train models in EU
    (Reuters) -Meta Platforms said on Monday it would use interactions that users have with its AI, as well as public posts and comments shared by adults across its platforms, to train its artificial intelligence models in the European Union.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 153 มุมมอง 0 รีวิว
  • ** บทกวีทับทิมจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เราได้คุยถึงเรื่องสีแดงในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้คงจะจำได้ว่าพ่อของนางเอกทิ้งสูตรเกี่ยวกับการผสมสีแดงของตระกูลไว้ในบทกวีที่เกี่ยวกับทับทิม Storyฯ เห็นว่ามีเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ สอดแทรกอยู่ในนี้ที่เพื่อนเพจคงไม่รู้ เลยมาแบ่งปันให้ฟัง... เป็นเรื่องราวชีวิตคู่ของหลี่ไป๋

    บทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า ‘หย่งหลินหนี่ว์ตงชวงไห่สือหลิ่ว’ (咏邻女东窗海石榴 แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมสตรีข้างบ้านผ่านหน้าต่างและต้นทับทิม) เป็นผลงานของหลี่ไป๋ เซียนกวีแห่งราชวงศ์ถัง ถูกประพันธ์ขึ้นสมัยที่เขาพำนักอยู่ในเขตซานตง ใจความบรรยายถึงความงามของสตรีข้างบ้านที่เขามองเห็นผ่านหน้าต่าง ซึ่งเขาเรียกในบทกวีว่า ‘สตรีจากแดนหลู่’ ความงามของนางถูกเสริมด้วยความงามของต้นทับทิมที่มีดอกสีแดงจัดตัดกับใบเขียว เขาถึงกับรำพันว่าจะยอมเป็นกิ่งทับทิมที่ทอดเกยอาภรณ์ของนางเพื่อขอเพียงให้ได้ใกล้ชิดอนงค์นาง แต่จนใจได้แต่ชะเง้อมองผ่านหน้าต่าง

    แน่นอนว่ามันเป็นกลอนบอกรัก และสตรีดังกล่าวเป็นหนึ่งในภรรรยาของหลี่ไป๋

    เพื่อนเพจหลายท่านอาจไม่คุ้นเคยกับชีวประวัติของหลี่ไป๋และคงไม่ทราบว่าหลี่ไป๋มีภรรยาสี่คน จริงๆ แล้วเขาแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมสองครั้ง ส่วนภรรยาอีกสองคนไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ

    เขาแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบเจ็ดปีกับภรรยาคนแรกคือสตรีสกุลสวี่ผู้เป็นหลานของอดีตอัครเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ถังเกาจง ถูกรับเข้าจวนสกุลสวี่เป็นเขยแต่งเข้าหรือที่เรียกว่า ‘จุ้ยซวี่’ มีลูกด้วยกันสองคน ชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่ลูกทั้งสองได้ใช้แซ่หลี่ตามหลี่ไป๋ผู้เป็นบิดา (อนึ่ง ปกติจุ้ยซวี่แต่งเข้าเรือนของสตรี เมื่อมีลูกก็จะใช้แซ่ของผู้เป็นมารดาไม่ใช่บิดา Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว แปะลิ้งค์ไว้ให้อ่านใหม่ที่ท้ายเรื่อง) ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับนางสกุลสวี่นี้ หลี่ไป๋มีชีวิตค่อนข้างสบายเพราะฝ่ายหญิงมีฐานะดีและเขามีอิสระที่จะเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตามใจหมาย ว่ากันว่าเขารักภรรยาคนนี้มากแต่นางป่วยตายหลังจากใช้ชีวิตคู่ด้วยกันนานสิบเอ็ดปี

    เมื่อสิ้นภรรยาคนแรก หลี่ไป๋ก็พาลูกจากจวนสกุลสวี่ออกเดินทาง มาหยุดพำนักที่บริเวณพื้นที่แถบซานตง หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็อยู่กินกับนางสกุลหลิว ว่ากันว่าเป็นเพราะต้องการหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อว่าตนเองจะได้มีอิสระในการเดินทาง ส่วนนางสกุลหลิวเองก็คาดหวังว่าหลี่ไป๋จะมีอนาคตขุนนางสวยงาม แต่ หลี่ไป๋ก็ยังไม่ได้เข้ารับราชการเสียที สุดท้ายนางทนไม่ได้กับความเป็นกวีขี้เมาของหลี่ไป๋ ทั้งสองจึงแยกทางกันอย่างไม่แฮปปี้

    ต่อมาอีกประมาณหกปี หลี่ไป๋ยังคงอยู่ในละแวกพื้นที่ซานตงหรือที่เรียกว่าพื้นที่หลู่นี้ และได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สาม ซึ่งก็คือ ‘สตรีจากแดนหลู่’ ในบทกวีข้างต้นนั่นเอง เขาซื้อที่ดินทำกินให้นางดูแลทรัพย์สินอย่างไว้ใจ นางเองก็ขยันขันแข็งทำมาหากิน ส่วนตัวเขายังคงออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง พวกเขามีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ไม่มีการบันทึกถึงรายละเอียดว่าเกิดอะไรกับลูกชายคนนี้ และไม่มีหลักฐานปรากฏด้วยซ้ำว่าสตรีนางนี้มีชื่อสกุลใด บ้างว่านางเป็นแม่หม้ายบ้างว่านางได้หมั้นหมายแล้วแต่คู่หมายหายไปหลายปีกลายเป็นหม้ายขันหมาก แต่ที่แน่ๆ คือนางอยู่ข้างบ้าน มองกันไปมองกันมาก็เกิดปิ๊งกันเลยอยู่กินกัน เล่าขานกันต่อมาเพียงว่าอยู่ด้วยกันเพียงห้าปีนางก็ตายจากไป

    หลี่ไป๋แต่งงานครั้งที่สองกับภรรยาคนสุดท้ายคือสตรีสกุลจง เป็นหลานปู่ของจงฉู่เค่อ อดีตอัครเสนาบดีอีกท่านหนึ่งและเขาแต่งเข้าเรือนฝ่ายหญิงอีกครั้ง อยู่ด้วยกันสิบปีอย่างสมบูรณ์พูนสุขแต่ไม่มีบุตร แต่สุดท้ายหลี่ไป๋เข้าไปพัวพันกับคดีการเมืองและนางเสียชีวิตลง ส่วนเขาถูกเนรเทศและแม้ว่าในบั้นปลายชีวิตจะได้รับอิสรภาพแต่ก็ต้องจบชีวิตลงอย่างเดียวดาย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความในอดีตเกี่ยวกับเจ้าบ่าวจุ้ยซวี่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/134357391983589

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.gdzjdaily.com.cn/p/2903387.html
    https://www.photophoto.cn/pic/11693708.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_7753758
    https://gushici.china.com/srgushi/10.html
    https://www.163.com/dy/article/G328S2640543SC39.html
    https://baike.baidu.com/item/咏邻女东窗海石榴/9436296
    https://www.sohu.com/a/341251009_100053536

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #กวีเอก #หลี่ไป๋ #เซียนกวี #ราชวงศ์ถัง #สาระจีน
    ** บทกวีทับทิมจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เราได้คุยถึงเรื่องสีแดงในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้คงจะจำได้ว่าพ่อของนางเอกทิ้งสูตรเกี่ยวกับการผสมสีแดงของตระกูลไว้ในบทกวีที่เกี่ยวกับทับทิม Storyฯ เห็นว่ามีเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ สอดแทรกอยู่ในนี้ที่เพื่อนเพจคงไม่รู้ เลยมาแบ่งปันให้ฟัง... เป็นเรื่องราวชีวิตคู่ของหลี่ไป๋ บทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า ‘หย่งหลินหนี่ว์ตงชวงไห่สือหลิ่ว’ (咏邻女东窗海石榴 แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมสตรีข้างบ้านผ่านหน้าต่างและต้นทับทิม) เป็นผลงานของหลี่ไป๋ เซียนกวีแห่งราชวงศ์ถัง ถูกประพันธ์ขึ้นสมัยที่เขาพำนักอยู่ในเขตซานตง ใจความบรรยายถึงความงามของสตรีข้างบ้านที่เขามองเห็นผ่านหน้าต่าง ซึ่งเขาเรียกในบทกวีว่า ‘สตรีจากแดนหลู่’ ความงามของนางถูกเสริมด้วยความงามของต้นทับทิมที่มีดอกสีแดงจัดตัดกับใบเขียว เขาถึงกับรำพันว่าจะยอมเป็นกิ่งทับทิมที่ทอดเกยอาภรณ์ของนางเพื่อขอเพียงให้ได้ใกล้ชิดอนงค์นาง แต่จนใจได้แต่ชะเง้อมองผ่านหน้าต่าง แน่นอนว่ามันเป็นกลอนบอกรัก และสตรีดังกล่าวเป็นหนึ่งในภรรรยาของหลี่ไป๋ เพื่อนเพจหลายท่านอาจไม่คุ้นเคยกับชีวประวัติของหลี่ไป๋และคงไม่ทราบว่าหลี่ไป๋มีภรรยาสี่คน จริงๆ แล้วเขาแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมสองครั้ง ส่วนภรรยาอีกสองคนไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ เขาแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบเจ็ดปีกับภรรยาคนแรกคือสตรีสกุลสวี่ผู้เป็นหลานของอดีตอัครเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ถังเกาจง ถูกรับเข้าจวนสกุลสวี่เป็นเขยแต่งเข้าหรือที่เรียกว่า ‘จุ้ยซวี่’ มีลูกด้วยกันสองคน ชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่ลูกทั้งสองได้ใช้แซ่หลี่ตามหลี่ไป๋ผู้เป็นบิดา (อนึ่ง ปกติจุ้ยซวี่แต่งเข้าเรือนของสตรี เมื่อมีลูกก็จะใช้แซ่ของผู้เป็นมารดาไม่ใช่บิดา Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว แปะลิ้งค์ไว้ให้อ่านใหม่ที่ท้ายเรื่อง) ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับนางสกุลสวี่นี้ หลี่ไป๋มีชีวิตค่อนข้างสบายเพราะฝ่ายหญิงมีฐานะดีและเขามีอิสระที่จะเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตามใจหมาย ว่ากันว่าเขารักภรรยาคนนี้มากแต่นางป่วยตายหลังจากใช้ชีวิตคู่ด้วยกันนานสิบเอ็ดปี เมื่อสิ้นภรรยาคนแรก หลี่ไป๋ก็พาลูกจากจวนสกุลสวี่ออกเดินทาง มาหยุดพำนักที่บริเวณพื้นที่แถบซานตง หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็อยู่กินกับนางสกุลหลิว ว่ากันว่าเป็นเพราะต้องการหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อว่าตนเองจะได้มีอิสระในการเดินทาง ส่วนนางสกุลหลิวเองก็คาดหวังว่าหลี่ไป๋จะมีอนาคตขุนนางสวยงาม แต่ หลี่ไป๋ก็ยังไม่ได้เข้ารับราชการเสียที สุดท้ายนางทนไม่ได้กับความเป็นกวีขี้เมาของหลี่ไป๋ ทั้งสองจึงแยกทางกันอย่างไม่แฮปปี้ ต่อมาอีกประมาณหกปี หลี่ไป๋ยังคงอยู่ในละแวกพื้นที่ซานตงหรือที่เรียกว่าพื้นที่หลู่นี้ และได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สาม ซึ่งก็คือ ‘สตรีจากแดนหลู่’ ในบทกวีข้างต้นนั่นเอง เขาซื้อที่ดินทำกินให้นางดูแลทรัพย์สินอย่างไว้ใจ นางเองก็ขยันขันแข็งทำมาหากิน ส่วนตัวเขายังคงออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง พวกเขามีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ไม่มีการบันทึกถึงรายละเอียดว่าเกิดอะไรกับลูกชายคนนี้ และไม่มีหลักฐานปรากฏด้วยซ้ำว่าสตรีนางนี้มีชื่อสกุลใด บ้างว่านางเป็นแม่หม้ายบ้างว่านางได้หมั้นหมายแล้วแต่คู่หมายหายไปหลายปีกลายเป็นหม้ายขันหมาก แต่ที่แน่ๆ คือนางอยู่ข้างบ้าน มองกันไปมองกันมาก็เกิดปิ๊งกันเลยอยู่กินกัน เล่าขานกันต่อมาเพียงว่าอยู่ด้วยกันเพียงห้าปีนางก็ตายจากไป หลี่ไป๋แต่งงานครั้งที่สองกับภรรยาคนสุดท้ายคือสตรีสกุลจง เป็นหลานปู่ของจงฉู่เค่อ อดีตอัครเสนาบดีอีกท่านหนึ่งและเขาแต่งเข้าเรือนฝ่ายหญิงอีกครั้ง อยู่ด้วยกันสิบปีอย่างสมบูรณ์พูนสุขแต่ไม่มีบุตร แต่สุดท้ายหลี่ไป๋เข้าไปพัวพันกับคดีการเมืองและนางเสียชีวิตลง ส่วนเขาถูกเนรเทศและแม้ว่าในบั้นปลายชีวิตจะได้รับอิสรภาพแต่ก็ต้องจบชีวิตลงอย่างเดียวดาย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความในอดีตเกี่ยวกับเจ้าบ่าวจุ้ยซวี่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/134357391983589 Credit รูปภาพจาก: https://www.gdzjdaily.com.cn/p/2903387.html https://www.photophoto.cn/pic/11693708.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/baijiahao_7753758 https://gushici.china.com/srgushi/10.html https://www.163.com/dy/article/G328S2640543SC39.html https://baike.baidu.com/item/咏邻女东窗海石榴/9436296 https://www.sohu.com/a/341251009_100053536 #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #กวีเอก #หลี่ไป๋ #เซียนกวี #ราชวงศ์ถัง #สาระจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 400 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง

    เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ

    แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’?

    สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才)

    เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ

    Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html
    https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子
    https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/
    https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D
    http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html
    https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593

    #สำนวนจีน #เสาหลัก
    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’? สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才) เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子 https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/ https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593 #สำนวนจีน #เสาหลัก
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 319 มุมมอง 0 รีวิว
  • มีความทุกข์อย่างไร ไม่เพิ่มทุกข์ด้วยการเข้าหาคนช่วยผิดๆ https://www.blockdit.com/posts/67ceb1b86dda5b26c8808663
    มีความทุกข์อย่างไร ไม่เพิ่มทุกข์ด้วยการเข้าหาคนช่วยผิดๆ https://www.blockdit.com/posts/67ceb1b86dda5b26c8808663
    WWW.BLOCKDIT.COM
    [sansati ศานสติ] อย่าตกหลุมพรางฟางเส้นสุดท้าย อย่ารอเจ้าหญิงเจ้าชายขี่ม้าขาว คนเราบางครั้งเวลาที่อยู่ในสถานะที่มืดมน ไม่รู้ว่าจะหาทางออกไปยังไง หันหน้าไปทางไหนก็ไม่รู้ว่าจะบอกกล่าวกับใครดี มันทำให้เราก็แอบฝันมโนไปว่า
    คนเราบางครั้งเวลาที่อยู่ในสถานะที่มืดมน ไม่รู้ว่าจะหาทางออกไปยังไง หันหน้าไปทางไหนก็ไม่รู้ว่าจะบอกกล่าวกับใครดี มันทำให้เราก็แอบฝันมโนไปว่า อยากมีจังเลยนะ คนที่จะขี่ม้าขาวมาช่วยเราออกจากความทุกข์ทนตรงนี้ ถ้ามีก็คงจะดี แต่ความคิดเช่นนี้ อาจทำให้เราตกลงไปในหลุมพรางที่เป็นเหมือนฟางเส้นสุดท้ายอันน่ากลัวได้ เพราะมีคนบางคนที่รอฉกฉวยโอกาส จากความอ่อนแอของจิตใจผู้อื่นอยู่หนทุกแห่ง เราไม่รู้เลยว่าเราจะตกเป็นเหยื่อของความหลอกลวงตรงนี้เมื่อไหร่
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 138 มุมมอง 0 รีวิว
  • **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน

    เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’

    ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา

    ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร

    กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี

    เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น

    เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง

    บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ)

    Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน)

    เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล

    เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง

    ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน

    บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://news.agentm.tw/310261/
    https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00
    https://www.yeeyi.com/news/details/629504/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/李白/1043
    https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719
    http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259
    https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904
    https://www.sohu.com/a/538839040_355475
    http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211#

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ) Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน) เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223 Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.agentm.tw/310261/ https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00 https://www.yeeyi.com/news/details/629504/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/李白/1043 https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719 http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259 https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904 https://www.sohu.com/a/538839040_355475 http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211# #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1007 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภาพมุมสูง หลังผ่านไป 17 ชม. จากเหตุถนนทรุดตัวที่มยองอิล เขตคังดง กรุงโซลเมื่อวานนี้ ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือชายที่ขี่มอเตอร์ไซต์

    ช่วงหลังเกิดเหตุความกว้างของหลุมมีเพียงถนนสองเลน แต่ตอนนี้กินพื้นที่ไปถึงสามเลนแล้ว

    คลิปจากโพสต์แรก
    https://thaitimes.co/posts/199558
    ภาพมุมสูง หลังผ่านไป 17 ชม. จากเหตุถนนทรุดตัวที่มยองอิล เขตคังดง กรุงโซลเมื่อวานนี้ ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือชายที่ขี่มอเตอร์ไซต์ ช่วงหลังเกิดเหตุความกว้างของหลุมมีเพียงถนนสองเลน แต่ตอนนี้กินพื้นที่ไปถึงสามเลนแล้ว คลิปจากโพสต์แรก https://thaitimes.co/posts/199558
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 343 มุมมอง 0 รีวิว
  • วิดีโอมุมใหม่ความยาวกว่าเดิมของการกำจัดนักเคลื่อนไหวชาตินิยมหัวรุนแรง "เดเมียน กานูล" (Demyan Ganul) ในโอเดสซา

    คลิปเดิม
    https://thaitimes.co/posts/194376

    กานูล เป็นแกนนำของขบวนการชาตินิยมหัวรุนแรงของยูเครนที่มีชื่อเสียงเรื่องความโหดเหี้ยม โดยดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายความมั่นคงของกลุ่ม "Right Sector" นอกจากนี้ เขายังมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในเหตุจลาจลเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2014 ซึ่งคือการวางเพลิงอาคารสหภาพแรงงาน จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 50 ราย

    นอกเหนือจากบทบาทของเขาในการสังหารหมู่ที่โอเดสซาแล้ว กานูลยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมชาตินิยมต่างๆ เช่น:
    - การทำลายอนุสรณ์สถาน และสัญลักษณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับรัสเซีย
    - การก่อกวนการแสดงคอนเสิร์ตของศิลปินชาวรัสเซียและการทำร้ายประชาชนที่พูดภาษารัสเซีย
    - สนับสนุนความพยายามระดมพลของยูเครนอย่างแข็งขันหลังจากเริ่มปฏิบัติการทางทหารพิเศษของรัสเซีย รวมถึงการ เข้าร่วมกองกำลังใต้ดินที่คอย "ปราบปราม" ฝ่ายต่อต้านการระดมพลของยูเครน
    - เขายังมีหมายจับจากทางรัสเซียอีกด้วย

    การสังหารกานูลครั้งนี้เกิดขึ้นอย่างน่าสงสัย เนื่องจากใกล้กับวันครบรอบ 11 ปีของเหตุเพลิงไหม้และการสังหารหมู่ที่ Odessa
    วิดีโอมุมใหม่ความยาวกว่าเดิมของการกำจัดนักเคลื่อนไหวชาตินิยมหัวรุนแรง "เดเมียน กานูล" (Demyan Ganul) ในโอเดสซา คลิปเดิม https://thaitimes.co/posts/194376 กานูล เป็นแกนนำของขบวนการชาตินิยมหัวรุนแรงของยูเครนที่มีชื่อเสียงเรื่องความโหดเหี้ยม โดยดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายความมั่นคงของกลุ่ม "Right Sector" นอกจากนี้ เขายังมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในเหตุจลาจลเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2014 ซึ่งคือการวางเพลิงอาคารสหภาพแรงงาน จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 50 ราย นอกเหนือจากบทบาทของเขาในการสังหารหมู่ที่โอเดสซาแล้ว กานูลยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมชาตินิยมต่างๆ เช่น: - การทำลายอนุสรณ์สถาน และสัญลักษณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับรัสเซีย - การก่อกวนการแสดงคอนเสิร์ตของศิลปินชาวรัสเซียและการทำร้ายประชาชนที่พูดภาษารัสเซีย - สนับสนุนความพยายามระดมพลของยูเครนอย่างแข็งขันหลังจากเริ่มปฏิบัติการทางทหารพิเศษของรัสเซีย รวมถึงการ เข้าร่วมกองกำลังใต้ดินที่คอย "ปราบปราม" ฝ่ายต่อต้านการระดมพลของยูเครน - เขายังมีหมายจับจากทางรัสเซียอีกด้วย การสังหารกานูลครั้งนี้เกิดขึ้นอย่างน่าสงสัย เนื่องจากใกล้กับวันครบรอบ 11 ปีของเหตุเพลิงไหม้และการสังหารหมู่ที่ Odessa
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 977 มุมมอง 0 รีวิว
  • เรียนรู้จักการเอาใจเขามาใส่ใจเรา แบบรอบด้าน ทักษะของการเป็นผู้นำที่ดี https://www.blockdit.com/posts/67da9041e04a766b6d108be1
    เรียนรู้จักการเอาใจเขามาใส่ใจเรา แบบรอบด้าน ทักษะของการเป็นผู้นำที่ดี https://www.blockdit.com/posts/67da9041e04a766b6d108be1
    WWW.BLOCKDIT.COM
    [sansati ศานสติ] เอาใจเขามาใส่ใจเรา คุณเข้าใจวลีที่ว่า “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” มากน้อยแค่ไหนอย่างไร? ก่อนหน้านี้ผู้เขียนเคยเข้าใจในทำนองที่ว่า ให้ลองคิดว่าตัวเองอยู่ในสถานการณ์หนึ่งๆ ที่เป็นแบบเดียวกับคนที่เราต้องการทำคว
    คุณเข้าใจวลีที่ว่า “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” มากน้อยแค่ไหนอย่างไร? ก่อนหน้านี้ผู้เขียนเคยเข้าใจในทำนองที่ว่า ให้ลองคิดว่าตัวเองอยู่ในสถานการณ์หนึ่งๆ ที่เป็นแบบเดียวกับคนที่เราต้องการทำความเข้าใจความรู้สึกของเขา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 141 มุมมอง 0 รีวิว
  • ร.อ.อิบราฮิม ตราโอเร่ ประธานาธิบดีเปลี่ยนผ่านแห่งบูร์กินาฟาโซ ประเทศในแอฟริกา ปฎิเสธ MBS มกุฎราชกุมารซาอุฯ ที่เสนอจะสร้างมัสยิด 200 แห่งให้บูร์กินาฟาโซ บอกว่าประเทศเค้ามีมัสยิดเพียงพอแล้ว แล้วขอให้ซาอุฯลงทุนในโครงการที่จะสร้างประโยชน์แก่ชาวบูร์กินาฟาโซโดยตรงแทน อย่าง โรงเรียน โรงพยาบาล โครงการที่จะสร้างงานให้แก่ชาวบูร์กินาฟาโซ ฯลฯ
    .
    ร.อ.อิบราฮิม ตราโอเร่ ปัจจุบันอายุ 37 ปี ขึ้นเป็นผู้นำฯจากการยึดอำนาจจาก ปธน.รักษาการ พ.ท.Paul-Henri Sandaogo Damiba ในปี 2022 (ที่ก็ไปยึดอำนาจจากผู้นำฯคนก่อน)
    หลังจากนั้นก็นำบูร์กินาฟาโซถอยห่างจากฝรั่งเศสอดีตเจ้าอาณานิคม ยึดเหมืองทองกลับมาเป็นของรัฐ ระงับการส่งออก"unrefined gold"ไปยังยุโรป

    ยกเลิกข้อตกลงทางทหารและเชิญทหารฝรั่งเศสออกไป ถอนตัวจากกลุ่ม ECOWAS ที่ใช้สกุลเงิน CFA Franc โดยมีเป้ามหายที่จะเลิกใช้ CFA Franc ฯลฯ

    หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ฝรั่งเศสยังมีอิทธิพลและบทบาทในแอฟริกาสูงมาก ความขัดแย้งภายในหลายประเทศในทวีปแอฟฟริกาก็มีฝรั่งเศสเป็นผู้เข้าไปสนับสนุนคู่ขัดแย้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

    หลายประเทศในแอฟริกาใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการหรือภาษาที่สอง กลุ่มประเทศในแอฟริกากลางและตะวันตกสิบกว่าประเทศ ใช้สกุลเงินกลางที่เรียกว่า CFA Franc ซึ่งควบคุมโดยฝรั่งเศส มีธนาคารกลางฝรั่งเศสเป็นผู้พิมพ์ธนบัติที่ใช้หมุนเวียน ทุนสำรองระหว่างประเทศราวๆครึ่งนึงของประเทศเหล่านี้จึงฝากไว้กับฝรั่งเศส
    .
    ผู้กองตราโอเร่เป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมสูงมากโดยเฉพาะกับคนในวัยหนุ่มสาวทั้งในประเทศและในทวีปแอฟฟริกา
    เค้ามีนโยบายนำประเทศพึ่งพาตัวเอง(self sufficient) พยายามนำประเทศปลดแอกจากอิทธิพลตะวันตก ฯลฯ
    ปฎิเสธเงินกู้จาก IMF และ ธนาคารโลก โดยบอกว่า ไม่ต้องการให้ประเทศเป็นทาสทางการเงินขององค์กรเหล่านี้ บูร์กินาฟาโซสามารถพัฒนาได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินกู้ที่มาพร้อมเงื่อนไขจากทางตะวันตก
    เค้าบอกว่าโครงสร้างฯที่เป็นอยู่มีปัญหา ทรัพยากรของแอฟฟริกาถูกผ่องถ่ายไปยังทวีปอื่นโดยได้รับค่าตอบแทนอย่างไม่เป็นธรรมมานานแล้ว ฯลฯ
    .
    อย่างไรก็ตามผู้นำบูร์กินาฟาโซที่ยังกินเงินเดือนทหารยศร้อยเอกมาจนถึงตอนนี้ แค่ในระยะสองปีกว่าที่ผ่านมาเคยถูกพยายามลอบสังหารมาแล้วหลายครั้ง ตัวเลขสูงหน่อยก็ 16 ครั้ง ..... แล้วก็เคยมีข่าวว่าบริษัทใหญ่ๆของต่างประเทศไปจนถึงระดับรัฐบาลต่างประเทศพยายามติดสินบนเค้า แต่โดนตะเพิดหมดเลย


    https://web.facebook.com/SiriuS.is.A.Star/posts/pfbid0VDcG4SWpyvfaLPv7HqEaamAS6Nryssc8GjFUrg7jzXoAs1vu8vK53q83xnFQbjy9l
    ร.อ.อิบราฮิม ตราโอเร่ ประธานาธิบดีเปลี่ยนผ่านแห่งบูร์กินาฟาโซ ประเทศในแอฟริกา ปฎิเสธ MBS มกุฎราชกุมารซาอุฯ ที่เสนอจะสร้างมัสยิด 200 แห่งให้บูร์กินาฟาโซ บอกว่าประเทศเค้ามีมัสยิดเพียงพอแล้ว แล้วขอให้ซาอุฯลงทุนในโครงการที่จะสร้างประโยชน์แก่ชาวบูร์กินาฟาโซโดยตรงแทน อย่าง โรงเรียน โรงพยาบาล โครงการที่จะสร้างงานให้แก่ชาวบูร์กินาฟาโซ ฯลฯ . ร.อ.อิบราฮิม ตราโอเร่ ปัจจุบันอายุ 37 ปี ขึ้นเป็นผู้นำฯจากการยึดอำนาจจาก ปธน.รักษาการ พ.ท.Paul-Henri Sandaogo Damiba ในปี 2022 (ที่ก็ไปยึดอำนาจจากผู้นำฯคนก่อน) หลังจากนั้นก็นำบูร์กินาฟาโซถอยห่างจากฝรั่งเศสอดีตเจ้าอาณานิคม ยึดเหมืองทองกลับมาเป็นของรัฐ ระงับการส่งออก"unrefined gold"ไปยังยุโรป ยกเลิกข้อตกลงทางทหารและเชิญทหารฝรั่งเศสออกไป ถอนตัวจากกลุ่ม ECOWAS ที่ใช้สกุลเงิน CFA Franc โดยมีเป้ามหายที่จะเลิกใช้ CFA Franc ฯลฯ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ฝรั่งเศสยังมีอิทธิพลและบทบาทในแอฟริกาสูงมาก ความขัดแย้งภายในหลายประเทศในทวีปแอฟฟริกาก็มีฝรั่งเศสเป็นผู้เข้าไปสนับสนุนคู่ขัดแย้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หลายประเทศในแอฟริกาใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการหรือภาษาที่สอง กลุ่มประเทศในแอฟริกากลางและตะวันตกสิบกว่าประเทศ ใช้สกุลเงินกลางที่เรียกว่า CFA Franc ซึ่งควบคุมโดยฝรั่งเศส มีธนาคารกลางฝรั่งเศสเป็นผู้พิมพ์ธนบัติที่ใช้หมุนเวียน ทุนสำรองระหว่างประเทศราวๆครึ่งนึงของประเทศเหล่านี้จึงฝากไว้กับฝรั่งเศส . ผู้กองตราโอเร่เป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมสูงมากโดยเฉพาะกับคนในวัยหนุ่มสาวทั้งในประเทศและในทวีปแอฟฟริกา เค้ามีนโยบายนำประเทศพึ่งพาตัวเอง(self sufficient) พยายามนำประเทศปลดแอกจากอิทธิพลตะวันตก ฯลฯ ปฎิเสธเงินกู้จาก IMF และ ธนาคารโลก โดยบอกว่า ไม่ต้องการให้ประเทศเป็นทาสทางการเงินขององค์กรเหล่านี้ บูร์กินาฟาโซสามารถพัฒนาได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินกู้ที่มาพร้อมเงื่อนไขจากทางตะวันตก เค้าบอกว่าโครงสร้างฯที่เป็นอยู่มีปัญหา ทรัพยากรของแอฟฟริกาถูกผ่องถ่ายไปยังทวีปอื่นโดยได้รับค่าตอบแทนอย่างไม่เป็นธรรมมานานแล้ว ฯลฯ . อย่างไรก็ตามผู้นำบูร์กินาฟาโซที่ยังกินเงินเดือนทหารยศร้อยเอกมาจนถึงตอนนี้ แค่ในระยะสองปีกว่าที่ผ่านมาเคยถูกพยายามลอบสังหารมาแล้วหลายครั้ง ตัวเลขสูงหน่อยก็ 16 ครั้ง ..... แล้วก็เคยมีข่าวว่าบริษัทใหญ่ๆของต่างประเทศไปจนถึงระดับรัฐบาลต่างประเทศพยายามติดสินบนเค้า แต่โดนตะเพิดหมดเลย https://web.facebook.com/SiriuS.is.A.Star/posts/pfbid0VDcG4SWpyvfaLPv7HqEaamAS6Nryssc8GjFUrg7jzXoAs1vu8vK53q83xnFQbjy9l
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 674 มุมมอง 0 รีวิว
  • แม้วันเวลาจะผ่านไปกว่า 32 ปีแล้วก็ตาม แต่คดี เพชรซาอุฯ ก็ยังถูกกลับเอามาเล่าขานกันอีกครั้ง
    .
    ตำนานเครื่องเพชรที่ถูกพูดถึงมากเรื่องหนึ่งในสังคมไทยโดย คดี เพชรซาอุฯ นั้นเกิดขึ้นครั้งแรกเกิดปี พ.ศ. 2532 นายเกรียงไกร เตชะโม่ง คนงานทำความสะอาดในพระราชวังของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด ได้โจรกรรมเพชร ทอง และอัญมณี ที่ถูกวางไว้อย่างไม่เป็นที่เป็นทาง จากพระราชวัง โดยอาศัยช่วงเวลาที่เจ้าชายแปรพระราชฐานไปต่างประเทศ แอบนำถุงกระสอบขนาดใหญ่เข้าไปในพระราชวัง ซ่อนตัวอยู่ภายในพระราชวังจนถึงเวลากลางคืน แล้วจึงทำการขโมยเครื่องเพชรใส่ถุงกระสอบแล้วโยนถุงกระสอบลงมาออกนอกกำแพงพระราชวัง จากนั้นนำส่งประเทศไทยโดยการส่งปะปนมากับเสื้อผ้าเครื่องใช้ส่วนตัว ทำให้ ยากจะตรวจสอบได้
    .
    แต่สุดท้าย นายเกรียงไกร เตชะโม่ง ได้ถูก ตำรวจจับกุมได้ในเวลาต่อมา โดย ชุดจับกุมของ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ และยอมรับสารภาพทุกข้อกล่าวหา พร้อมช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการตามเพชรทั้งหมดกลับคืนอีกด้วย
    .
    ---------------
    ไม่เคยมี "เพชรสีน้ำเงินมาแต่แรก"
    ---------------
    .
    อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เริ่มมี "คดีเพชรซาอุ" มีการพูดถึง เครื่องเพชร ชุดหนึ่ง คือ "เพชรสีน้ำเงิน"( เครื่องเพชรบลูไดมอนด์) ซึ่งแท้จริงแล้วมีปรากฎแต่ในการนำเสนอข่าวภายในประเทศไทยเท่านั้น ที่แม้แต่ พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรัตน์ ผช.อตร. เจ้าของคดี ยังถามถามสื่อมวลชนเองว่า "ไปเอาเรื่องนี้มาจากไหน ตนไม่เคยได้ยิน หรือเห็นมาก่อนเลย" จากนั้นก็มีการไปเอารูปภริยาอธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น พล.ต.อ. แสวง ธีระสวัสดิ์ ภาพใน น.ส.พ. ฉบับหนึ่ง ผู้หญิงสวมสร้อยคอที่มีจี้เป็นอัญมณีสีน้ำเงินล้อมเพชรและทอง ปรากฏตัวในงานเลี้ยงงานหนึ่ง ใช้ชื่อ "งานเลี้ยงบลูไดมอนด์" แล้วก็ลือกันตามมาว่าเป็นเพชรบลูไดมอนด์ของเจ้าฟ้าชายไฟซาล เรื่องราวนี้ดังไปถึงหู ทางการของประเทศซาอุฯ เลยส่งสายสืบลับของซาอุฯมาตรวจสอบเพิ่มเติม จนพบว่า ในความเป็นจริงแล้วเพชรบลูไดมอนด์ ในข่าวเป็นเพียง วัตถุที่ทำด้วยผ้ากำมะหยี่สีน้ำเงินเข้มที่นำมาประดิษฐ์เข้าคู่กับเพชรและทอง เท่านั้น คดีเพชรบลูไดมอนด์จึงจบไป...
    .
    ส่วน นายเกรียงไกร เตชะโม่ง จำเลยได้สารภาพว่า ได้แบ่งเครื่องเพชรให้กับเพื่อนที่มีส่วนรู้เห็นโดยไม่ได้แยกแยะ ชนิดสี ประเภทใดๆก่อนที่จะเดินทางกลับประเทศไทย โดยแยกทองและหินออกจากกัน เนื่องจาก นาย เกรียงไกร ทราบมูลค่าของทองดีแต่ไม่ทราบมูลของเพชรพลอยที่ประดับ หินบางส่วนถูกทุบให้แตกเพื่อแยกประเภทคร่าวๆตามความเข้าใจว่าเพชรเป็นของแข็ง หากไม่แตกก็จะเก็บเอาไว้ขายนั้นเอง จากนั้นจึงนำไปขายให้พ่อค้าเพชรและทองตามลำดับ
    .
    ในช่วงเวลาระหว่างการดำเนินคดี นายเกรียงไกร เตชะโม่ง จำเลยในคดีลักเพชรของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด อธิบดีกรมตำรวจ พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบคือ (สิงเหนือ ) พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ ออกติดตามเครื่องเพชรคืนให้แก่รัฐบาลซาอุดิอาระเบีย โดยตามหาและส่งคืนกลับไปทั้งหมด ผลงานของ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศในครั้งนั้นสร้างชื่อเสียงมากจนได้รับการยกย่องจากประเทศซาอุดิอาระเบีย ให้เป็นแขกพิเศษ
    .
    อย่างไรก็ตามมีประเด็นต่อมา คือการส่งคืนเครื่องเพชรจำนวนมากในครั้งนั้นกลับไม่ครบ-และบางส่วนปลอม เลยมีการรื้อคดีกลับมาตรวจสอบอีกครั้ง จากคำให้การของนายเกรียงไกร ที่บอกว่า ได้โจรกรรมเครื่องเพชรของเจ้าชายไฟซาล แล้วนำเข้ามาขายในประเทศไทย โดยขายให้ นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ จึงพุ่งเป้าไปที่ นายสันติ เพื่อตามทวงคืน เครื่องเพชรส่วนที่เหลือ แต่นายสันติ ได้ปฎิเสธ พล.ต.ท.ชลอจึงจับลูกและภารยาของนายสันติ เป็นตัวประกันเพื่อบีบบังคับให้ นายสันติบอกที่ซ่อนของเพชรที่เหลือ แต่ก็ไม่เป็นผล ...ประจวบกับเหตุการณ์เวลานั้นมีการคุกคามตัวประกัน จึงมีการสังหารตัวประกันแล้วจัดฉากให้เป็นอุบัติเหตุ แต่ในภายหลัง พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศถูกจับกุมในคดี สังหาร ครอบครัว ศรีธนะขัณฑ์ เลยได้รับโทษประหารชีวิต ...(ซึ่งปัจจุบัน ได้รับการปล่อยตัวหลังจากที่จำคุกมาได้ 19ปี)
    .
    เมื่อมีการพยายามพูดถึง เพชรบลูไดมอนด์และเพชรที่เหลือจากซาอุฯ อีกครั้ง มีการตรวจสอบ ย้อนกลับซ้ำอีกครั้ง จึงพบว่า ทางซาอุฯไม่สามารถระบุรูปลักษณ์ของ เพชรบลูไดมอนด์ และไม่มีใครทั้ง นายเกรียงไกร เตชะโม่ง ,นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ และเจ้าหน้าที่ทางการไทย ต่างไม่เคยพบเห็นเพชรบลูไดมอนด์ เลยจึงได้ข้อสรุปว่าเพชรบลูไดมอนด์ ไม่เคยอยู่ในประเทศไทย
    .
    เรื่องราว เพชรซาอุฯ มีข้อเท็จจริงแต่เพียงเท่านี้...
    .
    ------------------------
    กำเนิดข่าวลือเพชรซาอุรอบที่สอง
    ------------------------
    .
    อย่างไรก็ตาม ในปี2551 ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง มีการยกเรื่อง เพชรสีน้ำเงิน เอาขึ้นมาอีกครั้ง บนเวทีสนามหลวง เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2551
    .
    ทั้งบนเวที และ ในลักษณะข่าวลือ โดยบนเวทีชุมนุมนั้นจะปรากฎ ภาพ แหวนเพชรสีน้ำเงินถูกสวมอยู่ในอุ้งเท้าไดโนเสาร์ ซึ่งในการชุมนุมครั้งนั้น มี หนึ่งในผู้ปราศรัย คือ(เสือใต้) พล.ต.อ สล้าง บุนนาค นายตำรวจยุคเดียวกับ (สิงเหนือ)พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ
    .
    ส่วนข่าวลือและภาพที่ถูกแชร์กันใส่สังคมออนไลน์ในช่วงปี 2553 คือภาพ เพชรสีน้ำเงิน หน้าต่างๆกันออกไปทั้งแบบที่เป็นแหวนเพชร และ สร้อยคอ โดยมีการระบุในข่าวลือว่าเป็น เพชรบลูไดมอนด์จากคดีเพชรซาอุฯ โดยมีการนำเอาภาพของสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่9 ทรงพระศอประดับอัญมณีสีฟ้าในการแชร์พร้อมเรื่องราวข่าวเท็จเกี่ยวกับการขโมยเพชรสีน้ำเงินจากราชวงศ์ซาอุฯ จนกลายเป็นข่าวลือให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแยบยล
    .
    ในความเป็นจริงแล้วไม่เคยมีใครเคยเห็น เพชรบลูไดมอนด์ ว่าอยู่ในสภาพแหวนหรือสอยคอ และมีจำนวนกี่เม็ดกันแน่
    .
    หากพิจารณาภาพเพชรสีน้ำเงินที่เผยแพร่ในช่วงนี้ก็จะพบว่าเป็นเพียงการนำภาพ เครื่องเพชรที่มีลักษณะใกล้เคียงมาตัดต่อพร้อมประกอบกับเรื่องราวข่าวลือเท่านั้น โดยภาพที่ปรากฏประจำคือ Hope Diamond ของฝรั่งเศส ทั้งนี้ Hope Diamond มีประวัติน่าสนใจมาก เพราะ เป็นเพชรสีน้ำเงินที่ถูกตัดออกมาจาก เพชรเม็ดยักของ ราชวงศ์ฝรั่งเศส ที่ชื่อว่า French Blue (Le bleu de France) ตั้งแต่สมัยปฎิวัติฝรั่งเศส โดยแหล่งกำเนิดของ French Blue (Le bleu de France) นั้นมาจากเหมืองในเมืองกอลคอนดา (Golconda) ในประเทศอินเดีย ตั้งแต่ ปี 1664
    .
    แต่ด้วยประวัติของผู้ครอบครองเพชรสีน้ำเงิน ที่ล้วนเป็นคนใหญ่คนโต และเสียชีวิตฉับพลันจึงทำให้กลายเป็นตำนานเพชรต้องสาป ซึ่งปัจจุบัน เพชรเม็ดนี้ อยู่ในพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน
    .
    ส่วนอีกภาพที่นิยมแชร์พร้อมกับข่าวลือคำสาปเพชรซาอุฯ คือภาพของ "Heart of the Ocean" หรือในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า "Le Cœur de la Mer" เพชรสีน้ำเงินรูปทรงหัวใจ เป็นเครืองประดับที่สวยงามมาก แต่น่าเสียดายว่า แท้จริงแล้ว"Heart of the Ocean"เป็นเพชรที่เกิดมาจาก การจินตนาการของผู้กำกับภาพยนต์ ไททานิค โดย "Heart of the Ocean" นั้นถูกจินตนาการขึ้นโดยอ้างอิง ประวัติ Hope Diamond ของฝรั่งเศส และถูกจินตนาการไปถึงการเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุการจมเรือในภาพยนตร์ไททานิค
    .
    ส่วนภาพสำคัญและมักถูกตกเป็นเป้าโจมตีของข่าวเท็จก็คือภาพของ สมเด็จพระราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ทรง พระศอไพลินสีน้ำเงิน(ไม่ใช่เพชร) เป็นภาพตั้งแต่ ปี 2500 ขณะทรงเยือนสหรัฐอเมริกา ซึ่งพระศอไพลินสีน้ำเงินนั้นเป็นมรดกตกทอดมาจากสมเด็จพระพันปีหลวง
    .
    และ แน่นอนว่า ภาพของ สมเด็จพระราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ทรง พระศอไพลินสีน้ำเงิน เป็นภาพที่เกิดขึ้นก่อน คดีเพชรซาอุฯ ถึง 32 ปี
    .
    ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ ที่ เพชรบลูไดมอนด์ จากคดีเพชรซาอุฯปี 2532 จะย้อน เวลาไปปรากฎในปี 2500 ได้โดยเด็ดขาด
    ---------------------------------
    แหล่งข้อมูล
    - https://www.git.or.th/g20130410.html
    - http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=3585&read=true&count=true
    - https://www.facebook.com/siamgreatwarriors/posts/1591058431203175?
    - https://www.facebook.com/boraannaanma/photos/a.1721168658137287/2367376280183185/?type=3&theater
    - https://th.wikipedia.org/wiki/เพชรโฮป
    - https://www.facebook.com/726502237386172/posts/3507440415958993/
    -------------------------------
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
    Website : http://www.thailandvision.co
    Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
    Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
    Youtube : https://www.youtube.com/c/Thailandvision
    แม้วันเวลาจะผ่านไปกว่า 32 ปีแล้วก็ตาม แต่คดี เพชรซาอุฯ ก็ยังถูกกลับเอามาเล่าขานกันอีกครั้ง . ตำนานเครื่องเพชรที่ถูกพูดถึงมากเรื่องหนึ่งในสังคมไทยโดย คดี เพชรซาอุฯ นั้นเกิดขึ้นครั้งแรกเกิดปี พ.ศ. 2532 นายเกรียงไกร เตชะโม่ง คนงานทำความสะอาดในพระราชวังของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด ได้โจรกรรมเพชร ทอง และอัญมณี ที่ถูกวางไว้อย่างไม่เป็นที่เป็นทาง จากพระราชวัง โดยอาศัยช่วงเวลาที่เจ้าชายแปรพระราชฐานไปต่างประเทศ แอบนำถุงกระสอบขนาดใหญ่เข้าไปในพระราชวัง ซ่อนตัวอยู่ภายในพระราชวังจนถึงเวลากลางคืน แล้วจึงทำการขโมยเครื่องเพชรใส่ถุงกระสอบแล้วโยนถุงกระสอบลงมาออกนอกกำแพงพระราชวัง จากนั้นนำส่งประเทศไทยโดยการส่งปะปนมากับเสื้อผ้าเครื่องใช้ส่วนตัว ทำให้ ยากจะตรวจสอบได้ . แต่สุดท้าย นายเกรียงไกร เตชะโม่ง ได้ถูก ตำรวจจับกุมได้ในเวลาต่อมา โดย ชุดจับกุมของ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ และยอมรับสารภาพทุกข้อกล่าวหา พร้อมช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการตามเพชรทั้งหมดกลับคืนอีกด้วย . --------------- ไม่เคยมี "เพชรสีน้ำเงินมาแต่แรก" --------------- . อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เริ่มมี "คดีเพชรซาอุ" มีการพูดถึง เครื่องเพชร ชุดหนึ่ง คือ "เพชรสีน้ำเงิน"( เครื่องเพชรบลูไดมอนด์) ซึ่งแท้จริงแล้วมีปรากฎแต่ในการนำเสนอข่าวภายในประเทศไทยเท่านั้น ที่แม้แต่ พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรัตน์ ผช.อตร. เจ้าของคดี ยังถามถามสื่อมวลชนเองว่า "ไปเอาเรื่องนี้มาจากไหน ตนไม่เคยได้ยิน หรือเห็นมาก่อนเลย" จากนั้นก็มีการไปเอารูปภริยาอธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น พล.ต.อ. แสวง ธีระสวัสดิ์ ภาพใน น.ส.พ. ฉบับหนึ่ง ผู้หญิงสวมสร้อยคอที่มีจี้เป็นอัญมณีสีน้ำเงินล้อมเพชรและทอง ปรากฏตัวในงานเลี้ยงงานหนึ่ง ใช้ชื่อ "งานเลี้ยงบลูไดมอนด์" แล้วก็ลือกันตามมาว่าเป็นเพชรบลูไดมอนด์ของเจ้าฟ้าชายไฟซาล เรื่องราวนี้ดังไปถึงหู ทางการของประเทศซาอุฯ เลยส่งสายสืบลับของซาอุฯมาตรวจสอบเพิ่มเติม จนพบว่า ในความเป็นจริงแล้วเพชรบลูไดมอนด์ ในข่าวเป็นเพียง วัตถุที่ทำด้วยผ้ากำมะหยี่สีน้ำเงินเข้มที่นำมาประดิษฐ์เข้าคู่กับเพชรและทอง เท่านั้น คดีเพชรบลูไดมอนด์จึงจบไป... . ส่วน นายเกรียงไกร เตชะโม่ง จำเลยได้สารภาพว่า ได้แบ่งเครื่องเพชรให้กับเพื่อนที่มีส่วนรู้เห็นโดยไม่ได้แยกแยะ ชนิดสี ประเภทใดๆก่อนที่จะเดินทางกลับประเทศไทย โดยแยกทองและหินออกจากกัน เนื่องจาก นาย เกรียงไกร ทราบมูลค่าของทองดีแต่ไม่ทราบมูลของเพชรพลอยที่ประดับ หินบางส่วนถูกทุบให้แตกเพื่อแยกประเภทคร่าวๆตามความเข้าใจว่าเพชรเป็นของแข็ง หากไม่แตกก็จะเก็บเอาไว้ขายนั้นเอง จากนั้นจึงนำไปขายให้พ่อค้าเพชรและทองตามลำดับ . ในช่วงเวลาระหว่างการดำเนินคดี นายเกรียงไกร เตชะโม่ง จำเลยในคดีลักเพชรของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด อธิบดีกรมตำรวจ พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบคือ (สิงเหนือ ) พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ ออกติดตามเครื่องเพชรคืนให้แก่รัฐบาลซาอุดิอาระเบีย โดยตามหาและส่งคืนกลับไปทั้งหมด ผลงานของ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศในครั้งนั้นสร้างชื่อเสียงมากจนได้รับการยกย่องจากประเทศซาอุดิอาระเบีย ให้เป็นแขกพิเศษ . อย่างไรก็ตามมีประเด็นต่อมา คือการส่งคืนเครื่องเพชรจำนวนมากในครั้งนั้นกลับไม่ครบ-และบางส่วนปลอม เลยมีการรื้อคดีกลับมาตรวจสอบอีกครั้ง จากคำให้การของนายเกรียงไกร ที่บอกว่า ได้โจรกรรมเครื่องเพชรของเจ้าชายไฟซาล แล้วนำเข้ามาขายในประเทศไทย โดยขายให้ นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ จึงพุ่งเป้าไปที่ นายสันติ เพื่อตามทวงคืน เครื่องเพชรส่วนที่เหลือ แต่นายสันติ ได้ปฎิเสธ พล.ต.ท.ชลอจึงจับลูกและภารยาของนายสันติ เป็นตัวประกันเพื่อบีบบังคับให้ นายสันติบอกที่ซ่อนของเพชรที่เหลือ แต่ก็ไม่เป็นผล ...ประจวบกับเหตุการณ์เวลานั้นมีการคุกคามตัวประกัน จึงมีการสังหารตัวประกันแล้วจัดฉากให้เป็นอุบัติเหตุ แต่ในภายหลัง พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศถูกจับกุมในคดี สังหาร ครอบครัว ศรีธนะขัณฑ์ เลยได้รับโทษประหารชีวิต ...(ซึ่งปัจจุบัน ได้รับการปล่อยตัวหลังจากที่จำคุกมาได้ 19ปี) . เมื่อมีการพยายามพูดถึง เพชรบลูไดมอนด์และเพชรที่เหลือจากซาอุฯ อีกครั้ง มีการตรวจสอบ ย้อนกลับซ้ำอีกครั้ง จึงพบว่า ทางซาอุฯไม่สามารถระบุรูปลักษณ์ของ เพชรบลูไดมอนด์ และไม่มีใครทั้ง นายเกรียงไกร เตชะโม่ง ,นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ และเจ้าหน้าที่ทางการไทย ต่างไม่เคยพบเห็นเพชรบลูไดมอนด์ เลยจึงได้ข้อสรุปว่าเพชรบลูไดมอนด์ ไม่เคยอยู่ในประเทศไทย . เรื่องราว เพชรซาอุฯ มีข้อเท็จจริงแต่เพียงเท่านี้... . ------------------------ กำเนิดข่าวลือเพชรซาอุรอบที่สอง ------------------------ . อย่างไรก็ตาม ในปี2551 ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง มีการยกเรื่อง เพชรสีน้ำเงิน เอาขึ้นมาอีกครั้ง บนเวทีสนามหลวง เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2551 . ทั้งบนเวที และ ในลักษณะข่าวลือ โดยบนเวทีชุมนุมนั้นจะปรากฎ ภาพ แหวนเพชรสีน้ำเงินถูกสวมอยู่ในอุ้งเท้าไดโนเสาร์ ซึ่งในการชุมนุมครั้งนั้น มี หนึ่งในผู้ปราศรัย คือ(เสือใต้) พล.ต.อ สล้าง บุนนาค นายตำรวจยุคเดียวกับ (สิงเหนือ)พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ . ส่วนข่าวลือและภาพที่ถูกแชร์กันใส่สังคมออนไลน์ในช่วงปี 2553 คือภาพ เพชรสีน้ำเงิน หน้าต่างๆกันออกไปทั้งแบบที่เป็นแหวนเพชร และ สร้อยคอ โดยมีการระบุในข่าวลือว่าเป็น เพชรบลูไดมอนด์จากคดีเพชรซาอุฯ โดยมีการนำเอาภาพของสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่9 ทรงพระศอประดับอัญมณีสีฟ้าในการแชร์พร้อมเรื่องราวข่าวเท็จเกี่ยวกับการขโมยเพชรสีน้ำเงินจากราชวงศ์ซาอุฯ จนกลายเป็นข่าวลือให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแยบยล . ในความเป็นจริงแล้วไม่เคยมีใครเคยเห็น เพชรบลูไดมอนด์ ว่าอยู่ในสภาพแหวนหรือสอยคอ และมีจำนวนกี่เม็ดกันแน่ . หากพิจารณาภาพเพชรสีน้ำเงินที่เผยแพร่ในช่วงนี้ก็จะพบว่าเป็นเพียงการนำภาพ เครื่องเพชรที่มีลักษณะใกล้เคียงมาตัดต่อพร้อมประกอบกับเรื่องราวข่าวลือเท่านั้น โดยภาพที่ปรากฏประจำคือ Hope Diamond ของฝรั่งเศส ทั้งนี้ Hope Diamond มีประวัติน่าสนใจมาก เพราะ เป็นเพชรสีน้ำเงินที่ถูกตัดออกมาจาก เพชรเม็ดยักของ ราชวงศ์ฝรั่งเศส ที่ชื่อว่า French Blue (Le bleu de France) ตั้งแต่สมัยปฎิวัติฝรั่งเศส โดยแหล่งกำเนิดของ French Blue (Le bleu de France) นั้นมาจากเหมืองในเมืองกอลคอนดา (Golconda) ในประเทศอินเดีย ตั้งแต่ ปี 1664 . แต่ด้วยประวัติของผู้ครอบครองเพชรสีน้ำเงิน ที่ล้วนเป็นคนใหญ่คนโต และเสียชีวิตฉับพลันจึงทำให้กลายเป็นตำนานเพชรต้องสาป ซึ่งปัจจุบัน เพชรเม็ดนี้ อยู่ในพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน . ส่วนอีกภาพที่นิยมแชร์พร้อมกับข่าวลือคำสาปเพชรซาอุฯ คือภาพของ "Heart of the Ocean" หรือในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า "Le Cœur de la Mer" เพชรสีน้ำเงินรูปทรงหัวใจ เป็นเครืองประดับที่สวยงามมาก แต่น่าเสียดายว่า แท้จริงแล้ว"Heart of the Ocean"เป็นเพชรที่เกิดมาจาก การจินตนาการของผู้กำกับภาพยนต์ ไททานิค โดย "Heart of the Ocean" นั้นถูกจินตนาการขึ้นโดยอ้างอิง ประวัติ Hope Diamond ของฝรั่งเศส และถูกจินตนาการไปถึงการเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุการจมเรือในภาพยนตร์ไททานิค . ส่วนภาพสำคัญและมักถูกตกเป็นเป้าโจมตีของข่าวเท็จก็คือภาพของ สมเด็จพระราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ทรง พระศอไพลินสีน้ำเงิน(ไม่ใช่เพชร) เป็นภาพตั้งแต่ ปี 2500 ขณะทรงเยือนสหรัฐอเมริกา ซึ่งพระศอไพลินสีน้ำเงินนั้นเป็นมรดกตกทอดมาจากสมเด็จพระพันปีหลวง . และ แน่นอนว่า ภาพของ สมเด็จพระราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ทรง พระศอไพลินสีน้ำเงิน เป็นภาพที่เกิดขึ้นก่อน คดีเพชรซาอุฯ ถึง 32 ปี . ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ ที่ เพชรบลูไดมอนด์ จากคดีเพชรซาอุฯปี 2532 จะย้อน เวลาไปปรากฎในปี 2500 ได้โดยเด็ดขาด --------------------------------- แหล่งข้อมูล - https://www.git.or.th/g20130410.html - http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=3585&read=true&count=true - https://www.facebook.com/siamgreatwarriors/posts/1591058431203175? - https://www.facebook.com/boraannaanma/photos/a.1721168658137287/2367376280183185/?type=3&theater - https://th.wikipedia.org/wiki/เพชรโฮป - https://www.facebook.com/726502237386172/posts/3507440415958993/ ------------------------------- ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่ Website : http://www.thailandvision.co Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision Youtube : https://www.youtube.com/c/Thailandvision
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1154 มุมมอง 0 รีวิว
  • เห็นมุมมองใหม่จากฝั่งตรงข้ามกับเรา แล้วนำมาใช้ประโยชน์ได้ https://www.blockdit.com/posts/67cd60543e3336e227d70721
    เห็นมุมมองใหม่จากฝั่งตรงข้ามกับเรา แล้วนำมาใช้ประโยชน์ได้ https://www.blockdit.com/posts/67cd60543e3336e227d70721
    WWW.BLOCKDIT.COM
    [sansati ศานสติ] กระจกมองในมุมอับ ขึ้นชื่อว่า “ศัตรู” ย่อมมีแต่คิดร้าย ทำลาย ไม่มีทางที่จะคิดช่วยเหลือเราอย่างเด็ดขาด แต่หากมีปัญญาพลิกมุมกลับ ศัตรูจะช่วยชี้จุดอ่อนที่มองไม่เห็น ไม่เคยคิดว่ามีของเราได้ เปรียบเหมือนกร
    ขึ้นชื่อว่า “ศัตรู” ย่อมมีแต่คิดร้าย ทำลาย ไม่มีทางที่จะคิดช่วยเหลือเราอย่างเด็ดขาด แต่หากมีปัญญาพลิกมุมกลับ ศัตรูจะช่วยชี้จุดอ่อนที่มองไม่เห็น ไม่เคยคิดว่ามีของเราได้ เปรียบเหมือนกระจกมองในมุมอับให้กับเรา ในมุมของฝ่ายตรงข้ามย่อมหาวิธีทำร้ายชนิดที่คนเป็นมิตรไม่มีวันคิดไปถึงแล้วลงมือ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 97 มุมมอง 0 รีวิว
  • เคยลอกข้อสอบใครตอนเด็กๆไหม คุณอาจจะคิดว่าไม่เห็นเป็นไร ลองมาอ่านบทความนี้ดู https://www.blockdit.com/posts/67c8159f145127ed3a3ce97f
    เคยลอกข้อสอบใครตอนเด็กๆไหม คุณอาจจะคิดว่าไม่เห็นเป็นไร ลองมาอ่านบทความนี้ดู https://www.blockdit.com/posts/67c8159f145127ed3a3ce97f
    WWW.BLOCKDIT.COM
    [sansati ศานสติ] Grade A copy ใครๆก็คงจะเคย copy ผลงานคนอื่นมาบ้าง ตอนเด็กๆ อาจจะเคยลอกการบ้านเพื่อน หรือไม่ก็อาจจะเคยลอกบางส่วนของบทความทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเอามาทำรายงานส่งครูอาจารย์ ตามความคิดแบบเด็กๆว่าคงไม่เป็นอะ
    ใครๆก็คงจะเคย copy ผลงานคนอื่นมาบ้าง ตอนเด็กๆ อาจจะเคยลอกการบ้านเพื่อน หรือไม่ก็อาจจะเคยลอกบางส่วนของบทความทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเอามาทำรายงานส่งครูอาจารย์ ตามความคิดแบบเด็กๆว่าคงไม่เป็นอะไร เพราะว่าอยากจะได้คะแนน อยากจะสอบผ่านแค่นั้น คุณอาจจะคิดว่ามันก็แค่เรื่องเล็กๆน้อยๆ ใครๆเขาก็ทำกัน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 126 มุมมอง 0 รีวิว
  • เรื่องสั้น เท่าเทียมความยุติธรรม https://www.blockdit.com/posts/654be35636d62e9cbf3cfc54
    เรื่องสั้น เท่าเทียมความยุติธรรม https://www.blockdit.com/posts/654be35636d62e9cbf3cfc54
    WWW.BLOCKDIT.COM
    [Sansati 2395] เท่าเทียมยุติธรรม? ครั้งหนึ่งมีคนสองคน คนหนึ่งสูงกว่าอีกคนหนึ่งกำลังเถียงกันอยู่ คนสูง: แกนั่นแหละที่เตี้ย ฉันไม่ได้สูง คนเตี้ย: แกนั่นแหละที่สูง ฉันไม่ได้เตี้ย คนสูง: ถ้างั้นแกก็หาอะไรมาต่อขาแกสิ จะไ
    ครั้งหนึ่งมีคนสองคน คนหนึ่งสูงกว่าอีกคนหนึ่งกำลังเถียงกันอยู่ คนสูง: แกนั่นแหละที่เตี้ย ฉันไม่ได้สูง คนเตี้ย: แกนั่นแหละที่สูง ฉันไม่ได้เตี้ย คนสูง: ถ้างั้นแกก็หาอะไรมาต่อขาแกสิ จะได้สูงเท่าชั้น คนเตี้ย: เรื่องอะไร ทำไมแกไม่ยืนคุกเข่าหละ จะได้สูงเท่าชั้น ผู้เฒ่าคนหนึ่งผ่านมาเห็นเหตุการณ์ทั้งหมดก็เลยเดินเข้าไปบอกคนทั้งสองว่า:
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 212 มุมมอง 0 รีวิว
  • ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล อธิบาย เครื่องแต่งกายของท่านเอกอัครราชทูตภูฏาน กับความ ... ของนายกฯ ที่.... https://www.facebook.com/100041610101467/posts/1661560768574244/?mibextid=rS40aB7S9Ucbxw6v
    ดร.รัตนาภรณ์ ธรรมโกศล อธิบาย เครื่องแต่งกายของท่านเอกอัครราชทูตภูฏาน กับความ ... ของนายกฯ ที่.... https://www.facebook.com/100041610101467/posts/1661560768574244/?mibextid=rS40aB7S9Ucbxw6v
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 155 มุมมอง 0 รีวิว
  • เรื่องเตือนใจให้ปล่อยวางแบบเบาๆ https://www.blockdit.com/posts/67adc08c17bcd553943adc09
    เรื่องเตือนใจให้ปล่อยวางแบบเบาๆ https://www.blockdit.com/posts/67adc08c17bcd553943adc09
    WWW.BLOCKDIT.COM
    [sansati ศานสติ] กรุณาวางหมาตัวนั้นลง! คนเราบางครั้งก็มีเรื่องที่ทำให้ลืมไม่ลง ปล่อยวางไม่ได้ ทั้งๆที่มันเป็นเรื่องที่ทำให้เจ็บปวดและเราอยากจะลืมมันซะเหลือเกิน แต่ทุกครั้งที่มีบางสิ่งบางอย่างมากระตุ้นทำให้เรานึกถึงมัน
    คนเราบางครั้งก็มีเรื่องที่ทำให้ลืมไม่ลง ปล่อยวางไม่ได้ ทั้งๆที่มันเป็นเรื่องที่ทำให้เจ็บปวดและเราอยากจะลืมมันซะเหลือเกิน แต่ทุกครั้งที่มีบางสิ่งบางอย่างมากระตุ้นทำให้เรานึกถึงมัน เราก็จะกลับไปรู้สึกเจ็บปวดได้เหมือนกับมันยังสดใหม่ เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ เหมือนกับครั้งแรกที่เราต้องประสบพบเจอกับเหตุการณ์นี้ งั้นลองมาฟังเรื่องเล่านี้กันนะคะเผื่อจะช่วยคุณให้วางบางสิ่งบางอย่างลงได้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 156 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง

    เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ

    แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’?

    สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才)

    เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ

    Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html
    https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子
    https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/
    https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D
    http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html
    https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593

    #สำนวนจีน #เสาหลัก
    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’? สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才) เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子 https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/ https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593 #สำนวนจีน #เสาหลัก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 664 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยจำได้ว่า Storyฯ เคยเขียนว่าพระเอกในเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> ‘ลู่อี้’ นั้นมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ วันนี้มาคุยกันกับเกร็ดประวัติศาสตร์จากละครเรื่องนี้ที่ Storyฯ เพิ่งได้กลับมาตั้งใจดูอีกครั้งและพบว่าตัวเองตกหล่นรายละเอียดไปไม่น้อย

    เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่าในเนื้อเรื่องมีตัวร้ายคือ ‘เหยียนซื่อฟาน’ ซึ่งเป็นลูกชายของขุนนางตัวโกงนาม ‘เหยียนซง’ ซึ่งทั้งสองคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในรัชสมัยขององค์หมิงซื่อจงแห่งราชวง์หมิง โดยเหยียนซงรับตำแหน่งหัวหน้าของคณะขุนนางสูงสุดหรือที่เรียกว่า ‘เน่ยเก๋อ’ (内阁 จึงเป็นที่มาของการเรียกขาน เหยียนซื่อฟานว่า ‘เสี่ยวเก๋อเหล่า’) ในละครมีฉากที่เหยียนซื่อฟานได้ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาและมีการถกกันว่าเป็นภาพของแท้หรือไม่

    Storyฯ เคยเขียนถึงภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาแล้วตอนที่คุยกันเกี่ยวกับละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> แต่วันนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติม ขอถอดบทสนทนาจากในละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> มาดังนี้
    ... “ได้ยินมาว่าจางเจ๋อตวนใช้เวลาหนึ่งปีก็วาดภาพม้วนยาวนี้เสร็จ นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถหายาก... ท่านใต้เท่าสวี่... เชิญท่านลองคุยๆ ดูภาพนี้จริงปลอมหรือไม่อย่างไร” เหยียนซงกล่าว
    ใต้เท้าสวี่เอ่ย “...ตามที่ข้าน้อยทราบมา ภาพนี้ควรมีลายพระอักษรรูปแบบโซ่วจินขององค์ซ่งฮุยจงเป็นคำว่า ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ห้าอักษร... และมีตราประทับมังกรคู่ อีกทั้งมีบทกลอนนำ ภาพนี้ดูแล้วไม่คล้ายเป็นภาพวาดเลียนแบบ” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ยาว 528 ซม. สูง 24.8 ซม. เป็นหนึ่งในสิบของภาพโบราณที่มีค่าที่สุดของจีน ถูกวาดขึ้นโดยจางเจ๋อตวน เขาใช้เวลาหนึ่งปีในการวาดภาพนี้จริงหรือไม่ ไม่ปรากฏหลักฐานหรือบันทึกใดกล่าวชัด แต่ภาพนี้เคยตกอยู่ในมือของเหยียนซงจริง! ตอนที่ตระกูลเหยียนถูกลงทัณฑ์และยึดสมบัตินั้น รายชื่อของสมบัติที่ริบได้นั้นยาวถึง 140 หน้ากระดาษและหนึ่งในนั้นก็คือ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ นี้

    จากบันทึกที่พอแกะรอยกันได้ ว่ากันว่าภาพนี้แรกเริ่มถูกนำถวายองค์ซ่งฮุยจง (ค.ศ. 1522-1566) และพระองค์ทรงเขียนชื่อ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ขึ้นบนภาพด้วยอักษรในรูปแบบ ‘โซ่วจิน’ ซึ่งเป็นรูปแบบอักษรที่ทรงคิดประดิษฐ์ขึ้นเอง (ดูตัวอย่างจากรูป2 ขวา) เป็นที่ถกเถียงกันต่อมาว่าทรงโปรดภาพนี้หรือไม่เพราะมันไม่ได้ถูกเก็บไว้ในท้องพระคลังแต่ถูกพระราชทานให้ขุนนาง

    หลังจากนั้น ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ผ่านการเดินทางอย่างโชกโชน ในช่วงที่ราชวงศ์จินยึดแผ่นดินซ่งได้สำเร็จนั้น ว่ากันว่ามันถูกเก็บเข้าท้องพระคลังและถูกยักยอกออกมาขายทอดตลาด เป็นช่วงที่มีการเขียนบทนำลงไปหน้าภาพ ต่อมาในสมัยหยวนก็ถูกซื้อเก็บเข้าท้องพระคลังอีกครั้งและถูกยักยอกออกมาขายอีก มีการเสาะหามันเรื่อยมาจนตกมาอยู่ในมือของเหยียนซงในสมัยหมิง โดยที่ก่อนหน้านั้นปรากฏงานลอกเลียนแบบออกมาจำนวนไม่น้อย ต่อมามันถูกริบเป็นสมบัติหลวงอีกครั้งโดยมีการลบตราประทับที่แสดงความเป็นเจ้าของของตระกูลเหยียนออกจากภาพ หลังจากนั้นมันถูกเปลี่ยนมือไปมาในแวดวงขุนนาง โดยไม่แน่ว่าเป็นการได้รับพระราชทานหรือยักยอก และปรากฏบทความนำหน้าภาพขึ้นมาเพิ่มอีก โดยที่ลายพระหัตถ์ขององค์หมิงซื่อจงไม่ทราบว่าหายไปจากภาพตั้งแต่เมื่อใด ผู้ที่ถือครองครั้งสุดท้ายว่ากันว่าคือขันทีนามว่า ‘เฝิงเป่า’ ซึ่งต่อมาถูกลงทัณฑ์ริบสมบัติ

    ภาพนี้หายสาบสูญไปนานกว่าสองร้อยปี แน่นอนว่ามีภาพปลอมจำนวนไม่น้อยปรากฏขึ้น และภาพที่เชื่อว่าเป็นฉบับจริงนี้ปรากฏในตลาดและมาถึงมือของพิพิธภัณฑ์มณฑลเหลียวหนิงในปีค.ศ. 1950 ปัจจุบันถูกเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับลู่อี้: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0QA8xxCRgWSD6jP6PexAdnrZmEdGAHVxGTu3UXj3CpZfkovdY37ft9rQbauD6KfQzl
    บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับชิงหมิงซ่างเหอถู: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid01MbyBtawx6X9xEHogRvHY8NesM2MVWHUBgYeuujQnFrPFA39dgddSihm4jjXrfiPl

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://www.zgsshh.com/Works_body.asp?id=1190&amp;qx=137
    http://www.fengxuelin.com/tougao/16546.html
    http://ent.sina.com.cn/v/m/2017-10-12/doc-ifymviyp0369720.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2010/06-21/2352544.shtml
    http://collection.sina.com.cn/jczs/2016-10-26/doc-ifxwztrt0466746.shtml
    https://baike.baidu.com/item/瘦金体/884949

    #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ชิงหมิงซ่างเหอถู #เหยียนซื่อฟาน #ซ่งฮุยจง #อักษรโซ่วจิน
    เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยจำได้ว่า Storyฯ เคยเขียนว่าพระเอกในเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> ‘ลู่อี้’ นั้นมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ วันนี้มาคุยกันกับเกร็ดประวัติศาสตร์จากละครเรื่องนี้ที่ Storyฯ เพิ่งได้กลับมาตั้งใจดูอีกครั้งและพบว่าตัวเองตกหล่นรายละเอียดไปไม่น้อย เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่าในเนื้อเรื่องมีตัวร้ายคือ ‘เหยียนซื่อฟาน’ ซึ่งเป็นลูกชายของขุนนางตัวโกงนาม ‘เหยียนซง’ ซึ่งทั้งสองคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในรัชสมัยขององค์หมิงซื่อจงแห่งราชวง์หมิง โดยเหยียนซงรับตำแหน่งหัวหน้าของคณะขุนนางสูงสุดหรือที่เรียกว่า ‘เน่ยเก๋อ’ (内阁 จึงเป็นที่มาของการเรียกขาน เหยียนซื่อฟานว่า ‘เสี่ยวเก๋อเหล่า’) ในละครมีฉากที่เหยียนซื่อฟานได้ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาและมีการถกกันว่าเป็นภาพของแท้หรือไม่ Storyฯ เคยเขียนถึงภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาแล้วตอนที่คุยกันเกี่ยวกับละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> แต่วันนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติม ขอถอดบทสนทนาจากในละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> มาดังนี้ ... “ได้ยินมาว่าจางเจ๋อตวนใช้เวลาหนึ่งปีก็วาดภาพม้วนยาวนี้เสร็จ นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถหายาก... ท่านใต้เท่าสวี่... เชิญท่านลองคุยๆ ดูภาพนี้จริงปลอมหรือไม่อย่างไร” เหยียนซงกล่าว ใต้เท้าสวี่เอ่ย “...ตามที่ข้าน้อยทราบมา ภาพนี้ควรมีลายพระอักษรรูปแบบโซ่วจินขององค์ซ่งฮุยจงเป็นคำว่า ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ห้าอักษร... และมีตราประทับมังกรคู่ อีกทั้งมีบทกลอนนำ ภาพนี้ดูแล้วไม่คล้ายเป็นภาพวาดเลียนแบบ” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ยาว 528 ซม. สูง 24.8 ซม. เป็นหนึ่งในสิบของภาพโบราณที่มีค่าที่สุดของจีน ถูกวาดขึ้นโดยจางเจ๋อตวน เขาใช้เวลาหนึ่งปีในการวาดภาพนี้จริงหรือไม่ ไม่ปรากฏหลักฐานหรือบันทึกใดกล่าวชัด แต่ภาพนี้เคยตกอยู่ในมือของเหยียนซงจริง! ตอนที่ตระกูลเหยียนถูกลงทัณฑ์และยึดสมบัตินั้น รายชื่อของสมบัติที่ริบได้นั้นยาวถึง 140 หน้ากระดาษและหนึ่งในนั้นก็คือ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ นี้ จากบันทึกที่พอแกะรอยกันได้ ว่ากันว่าภาพนี้แรกเริ่มถูกนำถวายองค์ซ่งฮุยจง (ค.ศ. 1522-1566) และพระองค์ทรงเขียนชื่อ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ขึ้นบนภาพด้วยอักษรในรูปแบบ ‘โซ่วจิน’ ซึ่งเป็นรูปแบบอักษรที่ทรงคิดประดิษฐ์ขึ้นเอง (ดูตัวอย่างจากรูป2 ขวา) เป็นที่ถกเถียงกันต่อมาว่าทรงโปรดภาพนี้หรือไม่เพราะมันไม่ได้ถูกเก็บไว้ในท้องพระคลังแต่ถูกพระราชทานให้ขุนนาง หลังจากนั้น ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ผ่านการเดินทางอย่างโชกโชน ในช่วงที่ราชวงศ์จินยึดแผ่นดินซ่งได้สำเร็จนั้น ว่ากันว่ามันถูกเก็บเข้าท้องพระคลังและถูกยักยอกออกมาขายทอดตลาด เป็นช่วงที่มีการเขียนบทนำลงไปหน้าภาพ ต่อมาในสมัยหยวนก็ถูกซื้อเก็บเข้าท้องพระคลังอีกครั้งและถูกยักยอกออกมาขายอีก มีการเสาะหามันเรื่อยมาจนตกมาอยู่ในมือของเหยียนซงในสมัยหมิง โดยที่ก่อนหน้านั้นปรากฏงานลอกเลียนแบบออกมาจำนวนไม่น้อย ต่อมามันถูกริบเป็นสมบัติหลวงอีกครั้งโดยมีการลบตราประทับที่แสดงความเป็นเจ้าของของตระกูลเหยียนออกจากภาพ หลังจากนั้นมันถูกเปลี่ยนมือไปมาในแวดวงขุนนาง โดยไม่แน่ว่าเป็นการได้รับพระราชทานหรือยักยอก และปรากฏบทความนำหน้าภาพขึ้นมาเพิ่มอีก โดยที่ลายพระหัตถ์ขององค์หมิงซื่อจงไม่ทราบว่าหายไปจากภาพตั้งแต่เมื่อใด ผู้ที่ถือครองครั้งสุดท้ายว่ากันว่าคือขันทีนามว่า ‘เฝิงเป่า’ ซึ่งต่อมาถูกลงทัณฑ์ริบสมบัติ ภาพนี้หายสาบสูญไปนานกว่าสองร้อยปี แน่นอนว่ามีภาพปลอมจำนวนไม่น้อยปรากฏขึ้น และภาพที่เชื่อว่าเป็นฉบับจริงนี้ปรากฏในตลาดและมาถึงมือของพิพิธภัณฑ์มณฑลเหลียวหนิงในปีค.ศ. 1950 ปัจจุบันถูกเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับลู่อี้: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0QA8xxCRgWSD6jP6PexAdnrZmEdGAHVxGTu3UXj3CpZfkovdY37ft9rQbauD6KfQzl บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับชิงหมิงซ่างเหอถู: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid01MbyBtawx6X9xEHogRvHY8NesM2MVWHUBgYeuujQnFrPFA39dgddSihm4jjXrfiPl Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://www.zgsshh.com/Works_body.asp?id=1190&amp;qx=137 http://www.fengxuelin.com/tougao/16546.html http://ent.sina.com.cn/v/m/2017-10-12/doc-ifymviyp0369720.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2010/06-21/2352544.shtml http://collection.sina.com.cn/jczs/2016-10-26/doc-ifxwztrt0466746.shtml https://baike.baidu.com/item/瘦金体/884949 #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ชิงหมิงซ่างเหอถู #เหยียนซื่อฟาน #ซ่งฮุยจง #อักษรโซ่วจิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 922 มุมมอง 0 รีวิว
  • จากที่ได้ศึกษาเรื่่องกรรม มีความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับกรรมทางวาจามาเผยแพร่ ในยุคโซเชียลนี้ต้องระวังอย่างไร จึงจะไม่สร้างกรรมหนักทางวาจาค่ะ😇🤔🤐😥☠️🙊🙏 https://www.blockdit.com/posts/67a1eb947130a7e26d75a629
    จากที่ได้ศึกษาเรื่่องกรรม มีความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับกรรมทางวาจามาเผยแพร่ ในยุคโซเชียลนี้ต้องระวังอย่างไร จึงจะไม่สร้างกรรมหนักทางวาจาค่ะ😇🤔🤐😥☠️🙊🙏 https://www.blockdit.com/posts/67a1eb947130a7e26d75a629
    WWW.BLOCKDIT.COM
    [sansati ศานสติ] พูดจาภาษาดอกไม้ อาจจะเป็นเพราะเราโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ได้มั้ง เพราะรู้สึกว่า เมื่อก่อนตอนที่ผู้เขียนยังเป็นวัยรุ่น ยังไม่กล้าพูดคำหยาบเท่ากับเด็กสมัยนี้ เพราะสังคมเปลี่ยนไป รับวัฒนธรรมจากภายนอกมากขึ้น จ
    อาจจะเป็นเพราะเราโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ได้มั้ง เพราะรู้สึกว่า เมื่อก่อนตอนที่ผู้เขียนยังเป็นวัยรุ่น ยังไม่กล้าพูดคำหยาบเท่ากับเด็กสมัยนี้ เพราะสังคมเปลี่ยนไป รับวัฒนธรรมจากภายนอกมากขึ้น จนเดี๋ยวนี้เรามักจะเห็นผู้คนตั้งแต่เด็กตัวเล็กๆจนไปถึงผู้ใหญ่ พูดคำหยาบกันจนเป็นเรื่องปกติธรรมดา พูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ แม้กระทั่งเหล่า youtuber นักสร้างคอนเทนต์ทั้งหลาย ก็ยังมีสายที่ชอบพูดคำหยาบเป็นเอกลักษณ์อย่างนี้โดยเฉพาะ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 122 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ จากเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid036pXf9b2bDT6Pj7hz6t8U4hTYrJTrubWu3xRGJ26wogVFFnWAsTm6iQm7PECsHvbFl) วันนี้มาคุยต่อกันเกี่ยวกับอีกหนึ่งวลีเด็ดจากเรื่องเดียวกัน คือ ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วง... ตามเวลาของมัน’ (ฮวาคายฮวาลั่วจื้อโหย่วสือ / 花开花落自有时)

    จริงๆ แล้วความหมายของมันค่อนข้างตรงตัวเพราะสะท้อนถึงวัฏจักรแห่งชีวิต และเชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนคงคิดว่ามันมาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ

    วลีนี้ผันแปรมาจากวรรคหนึ่งในบทกวีในสมัยซ่งใต้ เป็นบทกวีของนางคณิกาหลวงเหยียนหรุ่ยผู้เลื่องชื่อด้านบทกวี มีชื่อว่า ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ (不是爱风尘 / มิได้รักในชีวิตนางคณิกา) และประโยคดั้งเดิมคือ ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน’ (คือร่วงก่อนแล้วค่อยบาน ไม่ใช่บานแล้วจึงร่วงแบบที่เราคุ้นเคย)

    ประวัติของเหยียนหรุ่ยไม่แน่ชัด บ้างว่านางถูกพ่อเลี้ยงหลอกมาขาย บ้างว่าพ่อของนางเคยเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยที่ต้องโทษ แต่ที่ชัดเจนคือนางได้รับการศึกษามาอย่างดีก่อนจะกลายมาเป็นนางคณิกาหลวง (คือถูกเรียกใช้ร้องรำทำเพลงในงานเลี้ยงต่างๆ ของขุนนาง) ชีวิตของนางผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย นางได้รับการชื่นชมจากขุนนางและผู้มีหน้ามีตาในสังคมไม่น้อยด้วยบทกวีที่โดดเด่น หนึ่งในนั้นคือถังจงโหย่วผู้ว่าราชการเขตเจ๋อตง จนต่อมานางถูกจับเข้าคุกไปทรมานด้วยข้อหาที่ว่านางค้างคืนในจวนของถังจงโหย่ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเอาผิดถังจงโหย่ว (ซึ่งเป็นการผิดกฎการใช้บริการนางคณิกาหลวง) แต่นางไม่ยอมรับผิดตามข้อกล่าวหา จนสุดท้ายเรื่องถึงในวังและได้มีการแต่งตั้งเยวี่ยหลิน (ลูกชายของเยวี่ยเฟยหรืองักฮุย) มาไต่สวนจนพบว่าจริงแล้วมันเป็นการแย่งชิงอำนาจของขุนนางโดยมีนางเป็นหมากตาหนึ่ง นางจึงได้รับการปลดปล่อย และต่อมาในบั้นปลายชีวิตนางกินดีอยู่ดีในฐานะอนุภรรยาอันเป็นที่รักของพ่อม่ายเชื้อพระวงศ์คนหนึ่ง

    เรื่องราวตอนที่นางถูกใส่ร้ายจนจำคุกและถูกทรมานเจียนตายนั้น เป็นคดีความที่โด่งดัง เกิดขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1182 และตอนที่นางถูกนำมาไต่สวนอีกครั้งโดยเยวี่ยหลินนั้น ด้วยความที่เยวี่ยหลินได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถด้านโคลงกลอนของนางและสืบรู้เรื่องราวที่แท้จริงจนตั้งใจจะปล่อยนางอยู่แล้ว จึงตั้งเงื่อนไขให้นางเล่าความจริงผ่านบทกวีเพื่อแลกกับอิสรภาพ และ ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ คือบทกวีบทนั้น

    ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ มีแปดวรรค เป็นบทกลอนที่ใช้การเปรียบเปรยและอุปมาอุไมยไม่น้อย สาระใจความสรุปได้ว่า: อย่าได้คิดดูถูกว่านางเป็นสตรีใฝ่ต่ำ นางไม่ได้ต้องการมาเป็นนางคณิกา แต่มีเหตุผิดพลาดทำให้ชีวิตผกผัน ชะตาชีวิตของนางตอนนี้ขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลินแล้ว นางอยากหลุดพ้นจากชีวิตนางคณิกานี้ แต่ยังจำต้องทนแม้ฝืนใจเต็มที และสิ่งที่โหยหาคืออิสรภาพ

    ฟังดูเหมือนไม่น่ามีอะไรเกี่ยวกับ ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ ใช่ไหม?

    ประโยค ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ นี้ ในบทกวีเดิมเขียนไว้ว่า ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน ล้วนแล้วแต่สุริยเทพจะกำหนด’ (花落花开自有时, 总赖东君主) เป็นการอุปมาอุปไมยว่า ไม่ว่านางจะตกอับจำคุก (บุปผาโรยร่วง) หรือจะพ้นคุกยืนหยัดขึ้นได้ใหม่ (บุปผาผลิบาน) อาจดูคล้ายเป็นเรื่องที่ชะตาชีวิตกำหนดไว้แล้ว แต่จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลิน (สุริยเทพ) ดังนั้นประโยคนี้ในความหมายดั้งเดิมของมันคือการรำพันถึงชะตาชีวิตที่ตกอยู่ในมือคนอื่น ตนเองไม่อาจกำหนดได้ สะท้อนถึงความท้อแท้ในใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ยอมรับในธรรมชาติของมันและอ้อนวอนขอความเห็นใจ

    ว่ากันว่าบทกวีนี้มิเพียงทำให้นางหลุดจากคุกแต่ยังได้รับการปลดชื่อออกจากทะเบียนทาสซึ่งเป็นสถานะของนางคณิกาหลวงอีกด้วย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงสถานะทาสของนางคณิกาหลวงแล้วในเรื่องของ ซ่งอิ่นจาง ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) เป็นการได้รับอิสรภาพสองแบบเลยทีเดียว

    วรรคที่ใช้ดอกไม้อุปมาอุปไมยถึงชะตาชีวิตนี้ เป็นที่นิยมแพร่หลายด้วยความไพเราะของมัน และต่อมาถูกผันเปลี่ยนมาเป็น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน’ (คือบานแล้วจึงโรย ตามวัฏจักรธรรมชาติ) และมีการแต่งวรรคต่ออีกหลากหลาย เช่น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน รักเกิดรักดับไม่มีผู้ใดบังคับได้’ เป็นต้น แต่ล้วนเป็นประโยคที่กล่าวถึงการดับการเกิดตามครรลองธรรมชาติเพื่อสะท้อนความไม่จีรัง และนิยมนำมาใช้กับความรักหรือความสัมพันธ์ระหว่างคน และนี่ก็เป็นบริบทและความหมายที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> นี่เอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.vogue.com.tw/culture/content-42286
    https://kknews.cc/history/5x9gyb8.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/严蕊/892616
    http://www.gaosan.com/gaokao/262749.html
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_753d1a95cd9e.aspx
    http://book.sina.com.cn/excerpt/rwws/2017-04-14/1446/doc-ifyeimqc3679324-p2.shtml

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #เหยียนหรุ่ย #บุปผาผลิบาน #ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน
    สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ จากเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid036pXf9b2bDT6Pj7hz6t8U4hTYrJTrubWu3xRGJ26wogVFFnWAsTm6iQm7PECsHvbFl) วันนี้มาคุยต่อกันเกี่ยวกับอีกหนึ่งวลีเด็ดจากเรื่องเดียวกัน คือ ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วง... ตามเวลาของมัน’ (ฮวาคายฮวาลั่วจื้อโหย่วสือ / 花开花落自有时) จริงๆ แล้วความหมายของมันค่อนข้างตรงตัวเพราะสะท้อนถึงวัฏจักรแห่งชีวิต และเชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนคงคิดว่ามันมาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ วลีนี้ผันแปรมาจากวรรคหนึ่งในบทกวีในสมัยซ่งใต้ เป็นบทกวีของนางคณิกาหลวงเหยียนหรุ่ยผู้เลื่องชื่อด้านบทกวี มีชื่อว่า ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ (不是爱风尘 / มิได้รักในชีวิตนางคณิกา) และประโยคดั้งเดิมคือ ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน’ (คือร่วงก่อนแล้วค่อยบาน ไม่ใช่บานแล้วจึงร่วงแบบที่เราคุ้นเคย) ประวัติของเหยียนหรุ่ยไม่แน่ชัด บ้างว่านางถูกพ่อเลี้ยงหลอกมาขาย บ้างว่าพ่อของนางเคยเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยที่ต้องโทษ แต่ที่ชัดเจนคือนางได้รับการศึกษามาอย่างดีก่อนจะกลายมาเป็นนางคณิกาหลวง (คือถูกเรียกใช้ร้องรำทำเพลงในงานเลี้ยงต่างๆ ของขุนนาง) ชีวิตของนางผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย นางได้รับการชื่นชมจากขุนนางและผู้มีหน้ามีตาในสังคมไม่น้อยด้วยบทกวีที่โดดเด่น หนึ่งในนั้นคือถังจงโหย่วผู้ว่าราชการเขตเจ๋อตง จนต่อมานางถูกจับเข้าคุกไปทรมานด้วยข้อหาที่ว่านางค้างคืนในจวนของถังจงโหย่ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเอาผิดถังจงโหย่ว (ซึ่งเป็นการผิดกฎการใช้บริการนางคณิกาหลวง) แต่นางไม่ยอมรับผิดตามข้อกล่าวหา จนสุดท้ายเรื่องถึงในวังและได้มีการแต่งตั้งเยวี่ยหลิน (ลูกชายของเยวี่ยเฟยหรืองักฮุย) มาไต่สวนจนพบว่าจริงแล้วมันเป็นการแย่งชิงอำนาจของขุนนางโดยมีนางเป็นหมากตาหนึ่ง นางจึงได้รับการปลดปล่อย และต่อมาในบั้นปลายชีวิตนางกินดีอยู่ดีในฐานะอนุภรรยาอันเป็นที่รักของพ่อม่ายเชื้อพระวงศ์คนหนึ่ง เรื่องราวตอนที่นางถูกใส่ร้ายจนจำคุกและถูกทรมานเจียนตายนั้น เป็นคดีความที่โด่งดัง เกิดขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1182 และตอนที่นางถูกนำมาไต่สวนอีกครั้งโดยเยวี่ยหลินนั้น ด้วยความที่เยวี่ยหลินได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถด้านโคลงกลอนของนางและสืบรู้เรื่องราวที่แท้จริงจนตั้งใจจะปล่อยนางอยู่แล้ว จึงตั้งเงื่อนไขให้นางเล่าความจริงผ่านบทกวีเพื่อแลกกับอิสรภาพ และ ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ คือบทกวีบทนั้น ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ มีแปดวรรค เป็นบทกลอนที่ใช้การเปรียบเปรยและอุปมาอุไมยไม่น้อย สาระใจความสรุปได้ว่า: อย่าได้คิดดูถูกว่านางเป็นสตรีใฝ่ต่ำ นางไม่ได้ต้องการมาเป็นนางคณิกา แต่มีเหตุผิดพลาดทำให้ชีวิตผกผัน ชะตาชีวิตของนางตอนนี้ขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลินแล้ว นางอยากหลุดพ้นจากชีวิตนางคณิกานี้ แต่ยังจำต้องทนแม้ฝืนใจเต็มที และสิ่งที่โหยหาคืออิสรภาพ ฟังดูเหมือนไม่น่ามีอะไรเกี่ยวกับ ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ ใช่ไหม? ประโยค ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ นี้ ในบทกวีเดิมเขียนไว้ว่า ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน ล้วนแล้วแต่สุริยเทพจะกำหนด’ (花落花开自有时, 总赖东君主) เป็นการอุปมาอุปไมยว่า ไม่ว่านางจะตกอับจำคุก (บุปผาโรยร่วง) หรือจะพ้นคุกยืนหยัดขึ้นได้ใหม่ (บุปผาผลิบาน) อาจดูคล้ายเป็นเรื่องที่ชะตาชีวิตกำหนดไว้แล้ว แต่จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลิน (สุริยเทพ) ดังนั้นประโยคนี้ในความหมายดั้งเดิมของมันคือการรำพันถึงชะตาชีวิตที่ตกอยู่ในมือคนอื่น ตนเองไม่อาจกำหนดได้ สะท้อนถึงความท้อแท้ในใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ยอมรับในธรรมชาติของมันและอ้อนวอนขอความเห็นใจ ว่ากันว่าบทกวีนี้มิเพียงทำให้นางหลุดจากคุกแต่ยังได้รับการปลดชื่อออกจากทะเบียนทาสซึ่งเป็นสถานะของนางคณิกาหลวงอีกด้วย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงสถานะทาสของนางคณิกาหลวงแล้วในเรื่องของ ซ่งอิ่นจาง ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) เป็นการได้รับอิสรภาพสองแบบเลยทีเดียว วรรคที่ใช้ดอกไม้อุปมาอุปไมยถึงชะตาชีวิตนี้ เป็นที่นิยมแพร่หลายด้วยความไพเราะของมัน และต่อมาถูกผันเปลี่ยนมาเป็น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน’ (คือบานแล้วจึงโรย ตามวัฏจักรธรรมชาติ) และมีการแต่งวรรคต่ออีกหลากหลาย เช่น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน รักเกิดรักดับไม่มีผู้ใดบังคับได้’ เป็นต้น แต่ล้วนเป็นประโยคที่กล่าวถึงการดับการเกิดตามครรลองธรรมชาติเพื่อสะท้อนความไม่จีรัง และนิยมนำมาใช้กับความรักหรือความสัมพันธ์ระหว่างคน และนี่ก็เป็นบริบทและความหมายที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> นี่เอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.vogue.com.tw/culture/content-42286 https://kknews.cc/history/5x9gyb8.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/严蕊/892616 http://www.gaosan.com/gaokao/262749.html https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_753d1a95cd9e.aspx http://book.sina.com.cn/excerpt/rwws/2017-04-14/1446/doc-ifyeimqc3679324-p2.shtml #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #เหยียนหรุ่ย #บุปผาผลิบาน #ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 921 มุมมอง 0 รีวิว
  • หากรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ลองฝึกความรู้สึกสำนึกขอบคุณ ด้วยบทความดีๆนี้กันค่ะ https://www.blockdit.com/posts/67ac7b27a1fcdebcc4a228a4
    หากรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ลองฝึกความรู้สึกสำนึกขอบคุณ ด้วยบทความดีๆนี้กันค่ะ https://www.blockdit.com/posts/67ac7b27a1fcdebcc4a228a4
    WWW.BLOCKDIT.COM
    [sansati ศานสติ] Gratitude is the gravity that keeps you grounded คุณเคยรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าบ้างไหม? ถ้าคำตอบของคุณคือ “เคย” ผู้เขียนคิดว่าที่คุณรู้สึกแบบนั้น อาจเป็นเพราะว่าคุณกำลังมีความทุกข์ และรู้สึกลบกับทุกสิ่งท
    คุณเคยรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าบ้างไหม? ถ้าคำตอบของคุณคือ “เคย” ผู้เขียนคิดว่าที่คุณรู้สึกแบบนั้น อาจเป็นเพราะว่าคุณกำลังมีความทุกข์ และรู้สึกลบกับทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ รู้สึกขาดที่พึ่ง ที่พึ่งได้อย่างแท้จริง จริงๆแล้วเราทุกคนล้วนแล้วแต่มีเหตุผลในการที่จะอุบัติขึ้นบนโลกนี้ ไม่มีสิ่งใดดำรงอยู่อย่างสูญเปล่า แม้กระทั่งมดแมลงยังมีประโยชน์ แล้วทำไมคนอย่างเราถึงจะไร้ค่าไปได้ล่ะ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 165 มุมมอง 0 รีวิว
  • สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ Storyฯ คุยถึงที่มาของวลีเด็ดจากซีรีส์ <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> มีเพื่อนเพจถามถึงเรื่องละครงิ้วที่หรูอี้พูดถึงบ่อยๆ ในเรื่อง ซึ่งก็คือ ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (墙头马上) ขอใช้คำแปลตรงตัวว่า ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ ซึ่งในซีรีส์เท้าความว่า การชมงิ้วเรื่องนี้เป็นครั้งแรกที่หรูอี้และเฉียนหลงได้พบกัน และต่อมามีฉากที่เฉียนหลงบอกว่าจะไม่อ่อนแอเหมือนคุณชายสกุลเผย และหรูอี้บอกว่าไม่อยากต้องเจอสภาพแบบคุณหนูหลี่ที่ถูกบังคับให้ต้องทิ้งลูกไป ทำเอาผู้ชมงงไปตามๆ กันว่าเขาคุยอะไรกัน

    วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้

    ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ เป็นละครงิ้วสมัยราชวงศ์หยวนมีชื่อเต็มว่า ‘เผยส้าวจวิ้น เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (裴少俊墙头马上) ต่อมาตัดชื่อสั้นลงเหลือเพียง ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ เป็นผลงานของ ‘ไป๋ผ้อ’ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ยอดผู้แต่งบทละครงิ้วในสมัยนั้นและผลงานของเขายังได้รับการสืบทอดและจัดแสดงในปัจจุบันอีกหลายเรื่อง และ ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดละครงิ้วแนวรักโรแมนติกสมัยหยวน

    ละครงิ้วนี้ดัดแปลงมาจากบทกวีสมัยถังของไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) (หมายเหตุ คือเขาคือนักการเมืองผู้เคยสร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกซากุระหรืออิงฮวาที่ Storyฯ เคยเขียนถึง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/686842736777355 )
    บทกวีที่ว่านี้มีชื่อว่า ‘งมขวดเงินจากก้นบ่อ’ (井底引银瓶) เป็นหนึ่งในผลงานที่เลื่องชื่อที่สุดของเขา ยาวถึง 34 วรรค สรุปเนื้อหาเป็นเรื่องราวความรักรันทด โดยมีอารัมภบทว่า ใช้ด้ายผูกขวดเงินดึงขึ้นเกือบจะพ้นบ่อ แต่ด้ายก็ขาดเสียก่อน เอาหยกมาเจียรด้วยหิน กำลังจะได้ปิ่นปักผมก็มาหักเสียก่อน เป็นการหวนรำลึกถึงความรักในอดีตที่ขาดสะบั้นลง อดีตที่ว่านี้ก็คือเรื่องคุณหนูนางหนึ่งที่ถูกเลี้ยงมาอย่างริ้นไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม วันๆ ถูกขังอยู่แต่ในสวนหลังบ้าน จึงชอบปีนขึ้นไปเกาะสันกำแพงมองดูโลกภายนอก อยู่มาวันหนึ่งยืนมองอยู่อย่างนี้ก็สบตาเข้ากับคุณชายท่านหนึ่งที่ขี่ม้าขาวผ่านมา เกิดเป็นรักแรกพบ ต่อมาก็หนีตามคุณชายผู้นั้นกลับไปยังบ้านของเขาที่อีกเมืองหนึ่ง แต่ด้วยเป็นการหนีตาม ไม่ได้มีตบแต่งตามพิธีการ นางจึงไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวฝ่ายชาย ถูกมองว่าเป็นเพียงอนุ ไม่ใช่ภรรยาเอก สุดท้ายถูกบีบให้ทิ้งลูกและไล่ออกไป คุณชายนั้นก็ไม่ได้ปกป้อง นางจึงต้องออกมาผจญชีวิตตามลำพังเพราะละอายเกินกว่าจะแบกหน้ากลับบ้านเกิด บทกวีจบลงด้วยการรำพันของนางว่า ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี และเตือนเหล่าหญิงสาวไร้เดียงสาที่กำลังมีความรักให้จงสังวรไว้ว่า อย่าได้เอาชีวิตทั้งชีวิตของตนมาทุ่มเทให้กับชายใดได้โดยง่าย

    วรรคที่กล่าวถึงตอนสบตากันข้ามกำแพงและตกหลุมรักนั้น ก็คือวรรคที่หรูอี้มักเอ่ยติดปากยามที่นางและเฉียนหลงพูดถึงละครงิ้ว ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ ซึ่ง Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงวรรคนี้ว่า ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ (墙头马上遥相顾,一见知君即断肠 หมายเหตุ ภาษาจีนใช้คำประมาณว่า ‘รักและคิดถึงจนทำให้ไส้ขาดจนตายได้!’) เป็นคำพูดที่หรูอี้พยายามสื่อให้เฉียนหลงเข้าใจว่านางรักเขามากมาย

    นับว่าเป็นบทกวีที่แฝงไว้ด้วยความเศร้าและความผิดหวัง แต่ทำไมหรูอี้และเฉียนหลงจึงคุยกันราวกับว่ามันเป็นเรื่องที่มีความหมายดี?

    นั่นเป็นเพราะว่าละครงิ้วและบทกวีมีความแตกต่าง ละครงิ้วที่นิยมในสมัยหยวนนั้น เป็นสไตล์แบบ ‘จ๋าจวี้’ (Mixed Play ที่ Storyฯ เคยพูดถึงตอนคุยเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) กล่าวคือมีหลากหลายอรรถรส ละครเรื่องนี้จึงถูกแต่งเติมให้มีทั้งความเศร้า ความตลกและจบแบบสุขนิยม มีการต่อเติมเรื่องราวว่า สตรีนางนี้คือคุณหนูหลี่เชียนจิน แต่นางโหยหาความรักและต่อต้านการถูกกักขัง นางหนีตามเผยส้าวจวิ้นมาถึงเรือนสกุลเผย แต่ต้องแอบอยู่ในเรือนสวนของสามีไม่ให้พ่อของสามีรู้ อยู่มาเจ็ดปีมีบุตรชายหนึ่งหญิงหนึ่ง ความลับก็ถูกเปิดเผย นางถูกกล่าวหาว่าเป็นนางโลมและถูกบีบให้ต้องทิ้งลูกกลับบ้านเกิดไปโดยที่เผยส้าวจวิ้นทำอะไรไม่ได้ ต่อมาเผยส้าวจวิ้นสอบได้เป็นราชบัณฑิตเป็นขุนนางติดยศ ทางบ้านไม่กล้าขัดเขาอีก เขาก็มาง้อนาง ง้ออยู่นานจนสุดท้ายนางใจอ่อนยอมคืนดีด้วย และได้ครองรักกันอย่างมีความสุขในที่สุด เป็นเรื่องราวความรักหลากหลายอรรถรสที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่จะฝ่าฟันอุปสรรคให้หลุดพ้นจากกรอบสังคม จึงเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมตลอดหลายยุคหลายสมัย

    ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ ... ไม่แน่ว่าหรูอี้อาจต้องการเพียงใช้ประโยคนี้แสดงถึงความรักอย่างยิ่งยวดที่มีต่อเฉียนหลง แต่บทสรุปเรื่องราวชีวิตของนางผ่านซีรีส์เรื่องนี้กลับกลายเป็นอย่างที่บทกวีว่าไว้... ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://kknews.cc/history/xeg9gx8.html
    https://www.sgss8.net/tpdq/21724747/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5487665ffe0a.aspx
    https://baike.baidu.com/item/井底引银瓶/10214172
    https://www.sohu.com/a/260464211_801417
    https://baike.baidu.com/item/裴少俊墙头马上/754408

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #จ๋าจวี้ #งิ้วสมัยหยวน #เฉียงโถวหม่าซ่าง #สันกำแพงหลังอาชา
    สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ Storyฯ คุยถึงที่มาของวลีเด็ดจากซีรีส์ <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> มีเพื่อนเพจถามถึงเรื่องละครงิ้วที่หรูอี้พูดถึงบ่อยๆ ในเรื่อง ซึ่งก็คือ ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (墙头马上) ขอใช้คำแปลตรงตัวว่า ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ ซึ่งในซีรีส์เท้าความว่า การชมงิ้วเรื่องนี้เป็นครั้งแรกที่หรูอี้และเฉียนหลงได้พบกัน และต่อมามีฉากที่เฉียนหลงบอกว่าจะไม่อ่อนแอเหมือนคุณชายสกุลเผย และหรูอี้บอกว่าไม่อยากต้องเจอสภาพแบบคุณหนูหลี่ที่ถูกบังคับให้ต้องทิ้งลูกไป ทำเอาผู้ชมงงไปตามๆ กันว่าเขาคุยอะไรกัน วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ เป็นละครงิ้วสมัยราชวงศ์หยวนมีชื่อเต็มว่า ‘เผยส้าวจวิ้น เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (裴少俊墙头马上) ต่อมาตัดชื่อสั้นลงเหลือเพียง ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ เป็นผลงานของ ‘ไป๋ผ้อ’ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ยอดผู้แต่งบทละครงิ้วในสมัยนั้นและผลงานของเขายังได้รับการสืบทอดและจัดแสดงในปัจจุบันอีกหลายเรื่อง และ ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดละครงิ้วแนวรักโรแมนติกสมัยหยวน ละครงิ้วนี้ดัดแปลงมาจากบทกวีสมัยถังของไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) (หมายเหตุ คือเขาคือนักการเมืองผู้เคยสร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกซากุระหรืออิงฮวาที่ Storyฯ เคยเขียนถึง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/686842736777355 ) บทกวีที่ว่านี้มีชื่อว่า ‘งมขวดเงินจากก้นบ่อ’ (井底引银瓶) เป็นหนึ่งในผลงานที่เลื่องชื่อที่สุดของเขา ยาวถึง 34 วรรค สรุปเนื้อหาเป็นเรื่องราวความรักรันทด โดยมีอารัมภบทว่า ใช้ด้ายผูกขวดเงินดึงขึ้นเกือบจะพ้นบ่อ แต่ด้ายก็ขาดเสียก่อน เอาหยกมาเจียรด้วยหิน กำลังจะได้ปิ่นปักผมก็มาหักเสียก่อน เป็นการหวนรำลึกถึงความรักในอดีตที่ขาดสะบั้นลง อดีตที่ว่านี้ก็คือเรื่องคุณหนูนางหนึ่งที่ถูกเลี้ยงมาอย่างริ้นไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม วันๆ ถูกขังอยู่แต่ในสวนหลังบ้าน จึงชอบปีนขึ้นไปเกาะสันกำแพงมองดูโลกภายนอก อยู่มาวันหนึ่งยืนมองอยู่อย่างนี้ก็สบตาเข้ากับคุณชายท่านหนึ่งที่ขี่ม้าขาวผ่านมา เกิดเป็นรักแรกพบ ต่อมาก็หนีตามคุณชายผู้นั้นกลับไปยังบ้านของเขาที่อีกเมืองหนึ่ง แต่ด้วยเป็นการหนีตาม ไม่ได้มีตบแต่งตามพิธีการ นางจึงไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวฝ่ายชาย ถูกมองว่าเป็นเพียงอนุ ไม่ใช่ภรรยาเอก สุดท้ายถูกบีบให้ทิ้งลูกและไล่ออกไป คุณชายนั้นก็ไม่ได้ปกป้อง นางจึงต้องออกมาผจญชีวิตตามลำพังเพราะละอายเกินกว่าจะแบกหน้ากลับบ้านเกิด บทกวีจบลงด้วยการรำพันของนางว่า ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี และเตือนเหล่าหญิงสาวไร้เดียงสาที่กำลังมีความรักให้จงสังวรไว้ว่า อย่าได้เอาชีวิตทั้งชีวิตของตนมาทุ่มเทให้กับชายใดได้โดยง่าย วรรคที่กล่าวถึงตอนสบตากันข้ามกำแพงและตกหลุมรักนั้น ก็คือวรรคที่หรูอี้มักเอ่ยติดปากยามที่นางและเฉียนหลงพูดถึงละครงิ้ว ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ ซึ่ง Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงวรรคนี้ว่า ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ (墙头马上遥相顾,一见知君即断肠 หมายเหตุ ภาษาจีนใช้คำประมาณว่า ‘รักและคิดถึงจนทำให้ไส้ขาดจนตายได้!’) เป็นคำพูดที่หรูอี้พยายามสื่อให้เฉียนหลงเข้าใจว่านางรักเขามากมาย นับว่าเป็นบทกวีที่แฝงไว้ด้วยความเศร้าและความผิดหวัง แต่ทำไมหรูอี้และเฉียนหลงจึงคุยกันราวกับว่ามันเป็นเรื่องที่มีความหมายดี? นั่นเป็นเพราะว่าละครงิ้วและบทกวีมีความแตกต่าง ละครงิ้วที่นิยมในสมัยหยวนนั้น เป็นสไตล์แบบ ‘จ๋าจวี้’ (Mixed Play ที่ Storyฯ เคยพูดถึงตอนคุยเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) กล่าวคือมีหลากหลายอรรถรส ละครเรื่องนี้จึงถูกแต่งเติมให้มีทั้งความเศร้า ความตลกและจบแบบสุขนิยม มีการต่อเติมเรื่องราวว่า สตรีนางนี้คือคุณหนูหลี่เชียนจิน แต่นางโหยหาความรักและต่อต้านการถูกกักขัง นางหนีตามเผยส้าวจวิ้นมาถึงเรือนสกุลเผย แต่ต้องแอบอยู่ในเรือนสวนของสามีไม่ให้พ่อของสามีรู้ อยู่มาเจ็ดปีมีบุตรชายหนึ่งหญิงหนึ่ง ความลับก็ถูกเปิดเผย นางถูกกล่าวหาว่าเป็นนางโลมและถูกบีบให้ต้องทิ้งลูกกลับบ้านเกิดไปโดยที่เผยส้าวจวิ้นทำอะไรไม่ได้ ต่อมาเผยส้าวจวิ้นสอบได้เป็นราชบัณฑิตเป็นขุนนางติดยศ ทางบ้านไม่กล้าขัดเขาอีก เขาก็มาง้อนาง ง้ออยู่นานจนสุดท้ายนางใจอ่อนยอมคืนดีด้วย และได้ครองรักกันอย่างมีความสุขในที่สุด เป็นเรื่องราวความรักหลากหลายอรรถรสที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่จะฝ่าฟันอุปสรรคให้หลุดพ้นจากกรอบสังคม จึงเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมตลอดหลายยุคหลายสมัย ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ ... ไม่แน่ว่าหรูอี้อาจต้องการเพียงใช้ประโยคนี้แสดงถึงความรักอย่างยิ่งยวดที่มีต่อเฉียนหลง แต่บทสรุปเรื่องราวชีวิตของนางผ่านซีรีส์เรื่องนี้กลับกลายเป็นอย่างที่บทกวีว่าไว้... ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://kknews.cc/history/xeg9gx8.html https://www.sgss8.net/tpdq/21724747/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5487665ffe0a.aspx https://baike.baidu.com/item/井底引银瓶/10214172 https://www.sohu.com/a/260464211_801417 https://baike.baidu.com/item/裴少俊墙头马上/754408 #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #จ๋าจวี้ #งิ้วสมัยหยวน #เฉียงโถวหม่าซ่าง #สันกำแพงหลังอาชา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 965 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศธ. เตือนอย่าท้าทายระบบ พบเคสฉาวฟันไม่รอ จ่อเสิร์ฟวินัยร้ายแรง คุรุสภารับลูกต่อถอดใบประกอบวิชาชีพ
    https://www.facebook.com/pradenrath/posts/1283871496544045
    ศธ. เตือนอย่าท้าทายระบบ พบเคสฉาวฟันไม่รอ จ่อเสิร์ฟวินัยร้ายแรง คุรุสภารับลูกต่อถอดใบประกอบวิชาชีพ https://www.facebook.com/pradenrath/posts/1283871496544045
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 106 มุมมอง 0 รีวิว
  • และแล้วเราก็คุยกันมาถึงภาพสุดท้ายของสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี

    ภาพที่จะกล่าวถึงในวันนี้เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปยังพระตำหนักจิ่งเหรินกง ดูจากไทม์ไลน์แล้วน่าจะเป็นที่ประทับของฉุนเฟย แต่ในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฉุนเฟยประทับที่พระตำหนักจงชุ่ยกง ภาพนี้มีชื่อว่า ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ (燕姞梦兰图) หน้าตาแท้จริงเป็นอย่างไรไม่ทราบได้ เพราะว่าสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพวาดโดยจิตรกรญี่ปุ่น

    เรื่องราวของภาพคือเรื่องของเยี่ยนจี๋ อนุภรรยาของเจิ้งเหวินกง เจ้าผู้ปกครองแคว้นเจิ้งในยุคสมัยชุนชิว (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความ) นางฝันว่ามีเทพธิดานำดอกหลันฮวามามอบให้และบอกว่าดอกไม้นี้จะทำให้นางได้รับความรักจากเจิ้งเหวินกงและจะได้บุตรที่โดดเด่นมาเป็นผู้สืบทอดแผ่นดินต่อไป และวลี ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ ต่อมาถูกใช้เปรียบเปรยถึงความรักที่ออกดอกออกผลเป็นลูกหลาน และสะท้อนความนัยว่า ฝันที่ดีนำมาซึ่งเรื่องราวดีๆ และภาพนี้ถูกตีความว่า หมายถึงการทำสิ่งที่ฝันให้เป็นจริง

    เรื่องนี้คุ้นหูกันบ้างไหม? Storyฯ เคยเล่าถึงเรื่องนี้แล้วตอนที่คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ ลองกลับไปอ่านดูกันนะคะ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/731814662280162)

    ป้ายที่พระราชทานคู่กับภาพนี้คือ ‘จ้านเต๋อกงเหวย’ (赞德宫闱) แปลได้ประมาณว่า ศีลธรรมดีงามได้รับการยกย่องไปทั่วพระราชฐานนางใน

    จบแล้วกับสิบสองภาพวาด Storyฯ นำมาเรียบเรียงอีกครั้ง โดยเรียงลำดับจากพระตำหนักที่อยู่ใกล้พระที่นั่งหยั่งซินเตี้ยน (ที่ประทับฮ่องเต้) ตามนี้ค่ะ

    1. ตำหนักฉี่เสียงกง หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ไท่จี๋เตี้ยน (Hall of Supreme Principle) ภาพ ‘เจียงโฮ่วทัวจาน’ (姜后脱簪 / มเหสีเจียงปลดปิ่น) ความหมายคือคล้อยตามสามี ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/791887496272878)
    2. ตำหนักฉางชุนกง (Palace of Eternal Spring) ภาพ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร) ความหมายคือ สั่งสอนบุตร ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/746257530835875)
    3. ตำหนักหย่งโซ่วกง (Palace of Eternal Longevity) ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (班姬辞辇图 / ปันจีผู้งามมารยาท) ความหมายคือ รู้มารยาทและพิธีการ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/750792533715708)
    4. ตำหนักอี้คุนกง (Palace of Earthly Honor) ภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图 / จาวหรงตัดสินบทกวี) ความหมายคือ การศึกษา ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/764297899031838)
    5. ตำหนักเสียนฝูกง (Palace of Universal Happiness) ภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ (婕妤当熊图 / เจี๋ยอวี๋ขวางหมี) ความหมายคือ กล้าหาญ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/768864935241801)
    6. ตำหนักฉู่ซิ่วกง (Palace of Gathered Elegance) ภาพ ‘ซีหลิงเจียวฉาน’ (西陵教蚕图 /ซีหลิงสอนเลี้ยงไหม) ความหมายคือ นวัตกรรม ภาพจริงสูญหายไปแล้ว(https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/754042176724077)
    7. ตำหนักจิ่งเหรินกง (Palace of Great Benevolence) ภาพ ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ (燕姞梦兰 / เยี่ยนจี๋ฝันถึงหลันฮวา) ความหมายคือ วิสัยทัศน์ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ก็คือบทความที่เล่าถึงข้างต้นในวันนี้
    8. ตำหนักเฉินเฉียนกง (Palace of Celestial Favor) ภาพ ‘สวีเฟยจื๋อเจี้ยน’ (徐妃直谏 / สวีเฟยวิพากษ์) ความหมายคือ จงรักภักดีตรงไปตรงมา ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/759313216196973)
    9. ตำหนักจงชุ่ยกง (Palace of Accumulated Purity) ภาพ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้าน’ (许后奉案/ สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร) ความหมายคือ เคารพผู้อาวุโส ภาพจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้พระราชวังต้องห้าม (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/773395164788778)
    10. ตำหนักจิ่งหยางกง (Palace of Great Brilliance) ภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣图 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) ความหมายคือ มัธยัสถ์ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://web.facebook.com/StoryfromStory/posts/797174585744169)
    11. ตำหนักหย่งเหอกง (Palace of Eternal Harmony) ภาพ ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ (樊姬谏猎 / ฝานจีเตือนสติให้หยุดล่าสัตว์) ความหมายคือเตือนสติ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/786677160127245)
    12. ตำหนักเหยียนสี่กง (Palace of Prolonging Happiness) ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) ความหมายคือ ขยันขันแข็ง ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/777707414357553)

    สรุปว่าในบรรดาสิบสองภาพวาดนี้ เหลือของจริงอยู่เพียงภาพเดียวคือ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้าน’ ภาพจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้กง Storyฯ อาจเล่าสะเปะสะปะไปหน่อยและใช้เวลาเล่านานกว่าจะจบครบสิบสองภาพ หวังว่าเรื่องราวในภาพวาดกงซวิ่นถูจะเป็นที่เพลิดเพลินของเพื่อนเพจไม่มากก็น้อย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
    (ป.ล. 2 ชื่อพระตำหนัก Storyฯ แปลเป็นไทยแล้วรู้สึกว่าจั๊กจี้ เลยเอาเป็นคำแปลภาษาอังกฤษมาฝากแทน)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.baike.com/wikiid/2576687878101900972?view_id=y3t51nqv02o00
    Metropolitan Museum of Arts
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/G0GD3GUH0537ML11.html
    https://www.xiumu.cn/ts/2018/0824/4278239.html
    https://www.travelchinaguide.com/attraction/beijing/forbidden/six_eastern.htm
    https://www.travelchinaguide.com/attraction/beijing/forbidden/six_western.htm

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เยี่ยนจี๋ #เจิ้งเหวินกง #เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน #หลันอินซวี่กั่ว #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    และแล้วเราก็คุยกันมาถึงภาพสุดท้ายของสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี ภาพที่จะกล่าวถึงในวันนี้เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปยังพระตำหนักจิ่งเหรินกง ดูจากไทม์ไลน์แล้วน่าจะเป็นที่ประทับของฉุนเฟย แต่ในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฉุนเฟยประทับที่พระตำหนักจงชุ่ยกง ภาพนี้มีชื่อว่า ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ (燕姞梦兰图) หน้าตาแท้จริงเป็นอย่างไรไม่ทราบได้ เพราะว่าสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพวาดโดยจิตรกรญี่ปุ่น เรื่องราวของภาพคือเรื่องของเยี่ยนจี๋ อนุภรรยาของเจิ้งเหวินกง เจ้าผู้ปกครองแคว้นเจิ้งในยุคสมัยชุนชิว (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความ) นางฝันว่ามีเทพธิดานำดอกหลันฮวามามอบให้และบอกว่าดอกไม้นี้จะทำให้นางได้รับความรักจากเจิ้งเหวินกงและจะได้บุตรที่โดดเด่นมาเป็นผู้สืบทอดแผ่นดินต่อไป และวลี ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ ต่อมาถูกใช้เปรียบเปรยถึงความรักที่ออกดอกออกผลเป็นลูกหลาน และสะท้อนความนัยว่า ฝันที่ดีนำมาซึ่งเรื่องราวดีๆ และภาพนี้ถูกตีความว่า หมายถึงการทำสิ่งที่ฝันให้เป็นจริง เรื่องนี้คุ้นหูกันบ้างไหม? Storyฯ เคยเล่าถึงเรื่องนี้แล้วตอนที่คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ ลองกลับไปอ่านดูกันนะคะ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/731814662280162) ป้ายที่พระราชทานคู่กับภาพนี้คือ ‘จ้านเต๋อกงเหวย’ (赞德宫闱) แปลได้ประมาณว่า ศีลธรรมดีงามได้รับการยกย่องไปทั่วพระราชฐานนางใน จบแล้วกับสิบสองภาพวาด Storyฯ นำมาเรียบเรียงอีกครั้ง โดยเรียงลำดับจากพระตำหนักที่อยู่ใกล้พระที่นั่งหยั่งซินเตี้ยน (ที่ประทับฮ่องเต้) ตามนี้ค่ะ 1. ตำหนักฉี่เสียงกง หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ไท่จี๋เตี้ยน (Hall of Supreme Principle) ภาพ ‘เจียงโฮ่วทัวจาน’ (姜后脱簪 / มเหสีเจียงปลดปิ่น) ความหมายคือคล้อยตามสามี ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/791887496272878) 2. ตำหนักฉางชุนกง (Palace of Eternal Spring) ภาพ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร) ความหมายคือ สั่งสอนบุตร ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/746257530835875) 3. ตำหนักหย่งโซ่วกง (Palace of Eternal Longevity) ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (班姬辞辇图 / ปันจีผู้งามมารยาท) ความหมายคือ รู้มารยาทและพิธีการ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/750792533715708) 4. ตำหนักอี้คุนกง (Palace of Earthly Honor) ภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图 / จาวหรงตัดสินบทกวี) ความหมายคือ การศึกษา ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/764297899031838) 5. ตำหนักเสียนฝูกง (Palace of Universal Happiness) ภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ (婕妤当熊图 / เจี๋ยอวี๋ขวางหมี) ความหมายคือ กล้าหาญ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/768864935241801) 6. ตำหนักฉู่ซิ่วกง (Palace of Gathered Elegance) ภาพ ‘ซีหลิงเจียวฉาน’ (西陵教蚕图 /ซีหลิงสอนเลี้ยงไหม) ความหมายคือ นวัตกรรม ภาพจริงสูญหายไปแล้ว(https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/754042176724077) 7. ตำหนักจิ่งเหรินกง (Palace of Great Benevolence) ภาพ ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ (燕姞梦兰 / เยี่ยนจี๋ฝันถึงหลันฮวา) ความหมายคือ วิสัยทัศน์ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ก็คือบทความที่เล่าถึงข้างต้นในวันนี้ 8. ตำหนักเฉินเฉียนกง (Palace of Celestial Favor) ภาพ ‘สวีเฟยจื๋อเจี้ยน’ (徐妃直谏 / สวีเฟยวิพากษ์) ความหมายคือ จงรักภักดีตรงไปตรงมา ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/759313216196973) 9. ตำหนักจงชุ่ยกง (Palace of Accumulated Purity) ภาพ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้าน’ (许后奉案/ สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร) ความหมายคือ เคารพผู้อาวุโส ภาพจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้พระราชวังต้องห้าม (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/773395164788778) 10. ตำหนักจิ่งหยางกง (Palace of Great Brilliance) ภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣图 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) ความหมายคือ มัธยัสถ์ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://web.facebook.com/StoryfromStory/posts/797174585744169) 11. ตำหนักหย่งเหอกง (Palace of Eternal Harmony) ภาพ ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ (樊姬谏猎 / ฝานจีเตือนสติให้หยุดล่าสัตว์) ความหมายคือเตือนสติ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/786677160127245) 12. ตำหนักเหยียนสี่กง (Palace of Prolonging Happiness) ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) ความหมายคือ ขยันขันแข็ง ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/777707414357553) สรุปว่าในบรรดาสิบสองภาพวาดนี้ เหลือของจริงอยู่เพียงภาพเดียวคือ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้าน’ ภาพจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้กง Storyฯ อาจเล่าสะเปะสะปะไปหน่อยและใช้เวลาเล่านานกว่าจะจบครบสิบสองภาพ หวังว่าเรื่องราวในภาพวาดกงซวิ่นถูจะเป็นที่เพลิดเพลินของเพื่อนเพจไม่มากก็น้อย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) (ป.ล. 2 ชื่อพระตำหนัก Storyฯ แปลเป็นไทยแล้วรู้สึกว่าจั๊กจี้ เลยเอาเป็นคำแปลภาษาอังกฤษมาฝากแทน) Credit รูปภาพจาก: https://www.baike.com/wikiid/2576687878101900972?view_id=y3t51nqv02o00 Metropolitan Museum of Arts Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/G0GD3GUH0537ML11.html https://www.xiumu.cn/ts/2018/0824/4278239.html https://www.travelchinaguide.com/attraction/beijing/forbidden/six_eastern.htm https://www.travelchinaguide.com/attraction/beijing/forbidden/six_western.htm #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เยี่ยนจี๋ #เจิ้งเหวินกง #เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน #หลันอินซวี่กั่ว #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1139 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts