• ไทย-มาเลย์เจาะกลุ่ม Self Drive Tourism

    นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 23 ต.ค. 2567 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเยือนกว่า 4 ล้านคน โดยพบว่า 49% เลือกเดินทางเข้าประเทศไทยผ่านด่านสะเดา จ.สงขลา ทำให้รัฐบาลไทยขยายเวลายกเว้นแบบฟอร์ม ตม.6 ผ่าน 4 ด่านชายแดนทางบกระหว่างไทย-มาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. 2567 ถึง 30 เม.ย. 2568 แต่สำหรับคนไทยมาเยือนประเทศมาเลเซีย ข้อมูลจากการท่องเที่ยวมาเลเซีย เดือน ส.ค. 2567 อยู่ที่ 1.1 ล้านคน เพิ่มขึ้น 19.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

    ทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับการท่องเที่ยวมาเลเซีย ร่วมกันจัดโครงการ Malaysia & Thailand Self Drive Tourism เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบขับรถข้ามชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยเปิดตัวคู่มือแผนที่เส้นทางท่องเที่ยว Self-Drive เชื่อมโยงชายแดนไทยและมาเลเซีย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในเส้นทาง

    ททท. คาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียมาเยือนไทยไม่น้อยกว่า 5 ล้านคน ส่วนคนไทยเดินทางไปเยือนมาเลเซียไม่น้อยกว่า 2 ล้านคน รวมแล้วไม่น้อยกว่า 7 ล้านคน ส่วนการท่องเที่ยวมาเลเซีย ตั้งเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากไทยไม่น้อยกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2568 และกำลังจะมีแคมเปญ Visit Malaysia 2026 ในปี 2569 โดยมีเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก 35.6 ล้านคน

    สำหรับคู่มือ Malaysia & Thailand Self-Drive ของการท่องเที่ยวมาเลเซีย นำเสนอแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวใน 4 รัฐของมาเลเซีย ได้แก่ รัฐเปอร์ลิส (Perlis) รัฐเคดะห์ (Kedah) รัฐปีนัง (Penang) และรัฐเปรัก (Perak) ทั้งหมด 28 แห่ง พร้อมกับคิวอาร์โค้ดเพื่อค้นหาโรงแรมที่พักจาก The Malaysia Budget & Business Hotel Association (MyBHA) ข้อมูลจุดพักรถ R&R (Rest & Relaxation) ปั๊มน้ำมันและสถานที่ชาร์จรถยนต์ EV บนทางพิเศษเหนือ-ใต้หมายเลข 1 (E1) และข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ

    นักท่องเที่ยวสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ https://www.malaysia.travel/explore/malaysia-thailand-self-drive

    อนึ่ง สำหรับรถยนต์จากไทยไปมาเลเซีย ผู้ใช้รถจะต้องเป็นเจ้าของรถโดยตรง หากเป็นรถติดไฟแนนซ์ส่วนใหญ่มักจะไม่อนุญาต โดยความเข้มของฟิล์มกรองแสงต้องไม่เกิน 40% ที่หน้าด่านสะเดาจะมีเอเจนซี่ ให้บริการรับทำเอกสารและประกันรถยนต์ ซึ่งจะได้แผ่นป้ายวงกลม (ICP) หรือสำเนาใบอนุญาตนำเข้ายานพาหนะของมาเลเซีย ประกันภัยรถยนต์มาเลเซีย และสติกเกอร์ทะเบียนรถยนต์ภาษาอังกฤษ ส่วนใบขับขี่ใช้ของประเทศไทยได้ ไม่ต้องทำใบขับขี่สากล

    #Newskit #SelfDriveTourism #ThaiMalaysia
    ไทย-มาเลย์เจาะกลุ่ม Self Drive Tourism นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 23 ต.ค. 2567 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเยือนกว่า 4 ล้านคน โดยพบว่า 49% เลือกเดินทางเข้าประเทศไทยผ่านด่านสะเดา จ.สงขลา ทำให้รัฐบาลไทยขยายเวลายกเว้นแบบฟอร์ม ตม.6 ผ่าน 4 ด่านชายแดนทางบกระหว่างไทย-มาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. 2567 ถึง 30 เม.ย. 2568 แต่สำหรับคนไทยมาเยือนประเทศมาเลเซีย ข้อมูลจากการท่องเที่ยวมาเลเซีย เดือน ส.ค. 2567 อยู่ที่ 1.1 ล้านคน เพิ่มขึ้น 19.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับการท่องเที่ยวมาเลเซีย ร่วมกันจัดโครงการ Malaysia & Thailand Self Drive Tourism เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบขับรถข้ามชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยเปิดตัวคู่มือแผนที่เส้นทางท่องเที่ยว Self-Drive เชื่อมโยงชายแดนไทยและมาเลเซีย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในเส้นทาง ททท. คาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียมาเยือนไทยไม่น้อยกว่า 5 ล้านคน ส่วนคนไทยเดินทางไปเยือนมาเลเซียไม่น้อยกว่า 2 ล้านคน รวมแล้วไม่น้อยกว่า 7 ล้านคน ส่วนการท่องเที่ยวมาเลเซีย ตั้งเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากไทยไม่น้อยกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2568 และกำลังจะมีแคมเปญ Visit Malaysia 2026 ในปี 2569 โดยมีเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก 35.6 ล้านคน สำหรับคู่มือ Malaysia & Thailand Self-Drive ของการท่องเที่ยวมาเลเซีย นำเสนอแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวใน 4 รัฐของมาเลเซีย ได้แก่ รัฐเปอร์ลิส (Perlis) รัฐเคดะห์ (Kedah) รัฐปีนัง (Penang) และรัฐเปรัก (Perak) ทั้งหมด 28 แห่ง พร้อมกับคิวอาร์โค้ดเพื่อค้นหาโรงแรมที่พักจาก The Malaysia Budget & Business Hotel Association (MyBHA) ข้อมูลจุดพักรถ R&R (Rest & Relaxation) ปั๊มน้ำมันและสถานที่ชาร์จรถยนต์ EV บนทางพิเศษเหนือ-ใต้หมายเลข 1 (E1) และข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ นักท่องเที่ยวสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ https://www.malaysia.travel/explore/malaysia-thailand-self-drive อนึ่ง สำหรับรถยนต์จากไทยไปมาเลเซีย ผู้ใช้รถจะต้องเป็นเจ้าของรถโดยตรง หากเป็นรถติดไฟแนนซ์ส่วนใหญ่มักจะไม่อนุญาต โดยความเข้มของฟิล์มกรองแสงต้องไม่เกิน 40% ที่หน้าด่านสะเดาจะมีเอเจนซี่ ให้บริการรับทำเอกสารและประกันรถยนต์ ซึ่งจะได้แผ่นป้ายวงกลม (ICP) หรือสำเนาใบอนุญาตนำเข้ายานพาหนะของมาเลเซีย ประกันภัยรถยนต์มาเลเซีย และสติกเกอร์ทะเบียนรถยนต์ภาษาอังกฤษ ส่วนใบขับขี่ใช้ของประเทศไทยได้ ไม่ต้องทำใบขับขี่สากล #Newskit #SelfDriveTourism #ThaiMalaysia
    Like
    8
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 271 มุมมอง 0 รีวิว
  • LRT เกาะปีนัง คาดตอกเข็ม ธ.ค.นี้

    โครงการรถไฟฟ้ารางเบา สายมูเทียรา ไลน์ (LRT Mutiara Line) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายแรกบนเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย กำลังจะเกิดขึ้นในเดือน ธ.ค. 2567 ที่จะถึงนี้ เมื่อสำนักข่าวเดอะสตาร์ของมาเลเซีย รายงานว่า นายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย ได้อนุมัติวันเริ่มต้นก่อสร้าง โดยสถานีแรกจะสร้างขึ้นที่ถนนแมคคัลลัม ขณะที่บริษัท MRT Corp ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการ อาจเลือกใช้ระบบรถไฟฟ้าแบบล้อยาง เพื่อประหยัดต้นทุนการดำเนินงานและการบำรุงรักษา

    ส่วนกลุ่มกิจการค้าร่วมเอสอาร์เอส (SRS Consortium) ที่นำโดยกามูดา เบอร์ฮัด (Gamuda Berhad) บริษัทก่อสร้างรายใหญ่ของมาเลเซีย กำลังสรุปเงื่อนไขและข้อกำหนดสำหรับงานโยธา ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างประมาณ 7,600 ล้านริงกิต ซึ่งกามูดาก็กำลังวางแผนประมูลงานระบบไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1,200 ล้านริงกิต

    โครงการรถไฟฟ้ารางเบา สายมูเทียรา ไลน์ ระยะทาง 29 กิโลเมตร แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ งานโยธาตอนที่ 1 ตั้งแต่เกาะซิลิคอนถึงอาคารคอมตาร์ (Komtar) งานโยธาตอนที่ 2 จากอาคารคอมตาร์ข้ามทะเลไปยังอาคารปีนังเซ็นทรัล (Penang Sentral) และสัญญาแบบเทิร์นคีย์สำหรับงานระบบและจัดหาขบวนรถ

    แนวเส้นทางเริ่มต้นจากเกาะซิลิคอน ทางตอนใต้ของเกาะปีนัง ซึ่งจะเป็นศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ข้ามทะเลขึ้นไปบนหมู่บ้านเปร์มาตัง ดามาร์ ลาอุต (Permatang Damar Laut) จากนั้นผ่านท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง (Penang International Airport) เขตอุตสาหกรรมเสรี (Free Industrial Zone) สนามกีฬาสไปซ์อารีน่า (SPICE) ผ่านถนนมหาวิทยาลัย (Jalan Universiti) ที่จะไปมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย (USM)

    ก่อนจะมุ่งหน้าไปยังอาคารคอมตาร์ (Komtar) ที่จะรองรับเส้นทางไปตันจุงบูงะฮ์ (Tanjung Bungah) และอาเยอร์อีตัม (Air Itam) ในอนาคต แล้วข้ามทะเลไปสิ้นสุดที่อาคารปีนังเซ็นทรัล โดยมีสถานีให้บริการทั้งหมด 22 สถานี เวลาเปิดให้บริการ 06.00-24.00 น. มีที่จอดรถยนต์ 1,220 คัน และรถจักรยานยนต์ 1,315 คัน

    ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 29 มี.ค. รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า รัฐบาลกลางได้เข้ารับช่วงต่อโครงการรถไฟฟ้า LRT จากรัฐบาลของรัฐปีนัง โดยแต่งตั้งให้ MRT Corp เป็นผู้พัฒนาและเจ้าของโครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2573 หรืออีก 6 ปีข้างหน้า

    #Newskit #LRTMutiaraLine #เกาะปีนัง
    LRT เกาะปีนัง คาดตอกเข็ม ธ.ค.นี้ โครงการรถไฟฟ้ารางเบา สายมูเทียรา ไลน์ (LRT Mutiara Line) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายแรกบนเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย กำลังจะเกิดขึ้นในเดือน ธ.ค. 2567 ที่จะถึงนี้ เมื่อสำนักข่าวเดอะสตาร์ของมาเลเซีย รายงานว่า นายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย ได้อนุมัติวันเริ่มต้นก่อสร้าง โดยสถานีแรกจะสร้างขึ้นที่ถนนแมคคัลลัม ขณะที่บริษัท MRT Corp ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการ อาจเลือกใช้ระบบรถไฟฟ้าแบบล้อยาง เพื่อประหยัดต้นทุนการดำเนินงานและการบำรุงรักษา ส่วนกลุ่มกิจการค้าร่วมเอสอาร์เอส (SRS Consortium) ที่นำโดยกามูดา เบอร์ฮัด (Gamuda Berhad) บริษัทก่อสร้างรายใหญ่ของมาเลเซีย กำลังสรุปเงื่อนไขและข้อกำหนดสำหรับงานโยธา ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างประมาณ 7,600 ล้านริงกิต ซึ่งกามูดาก็กำลังวางแผนประมูลงานระบบไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1,200 ล้านริงกิต โครงการรถไฟฟ้ารางเบา สายมูเทียรา ไลน์ ระยะทาง 29 กิโลเมตร แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ งานโยธาตอนที่ 1 ตั้งแต่เกาะซิลิคอนถึงอาคารคอมตาร์ (Komtar) งานโยธาตอนที่ 2 จากอาคารคอมตาร์ข้ามทะเลไปยังอาคารปีนังเซ็นทรัล (Penang Sentral) และสัญญาแบบเทิร์นคีย์สำหรับงานระบบและจัดหาขบวนรถ แนวเส้นทางเริ่มต้นจากเกาะซิลิคอน ทางตอนใต้ของเกาะปีนัง ซึ่งจะเป็นศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ข้ามทะเลขึ้นไปบนหมู่บ้านเปร์มาตัง ดามาร์ ลาอุต (Permatang Damar Laut) จากนั้นผ่านท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง (Penang International Airport) เขตอุตสาหกรรมเสรี (Free Industrial Zone) สนามกีฬาสไปซ์อารีน่า (SPICE) ผ่านถนนมหาวิทยาลัย (Jalan Universiti) ที่จะไปมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย (USM) ก่อนจะมุ่งหน้าไปยังอาคารคอมตาร์ (Komtar) ที่จะรองรับเส้นทางไปตันจุงบูงะฮ์ (Tanjung Bungah) และอาเยอร์อีตัม (Air Itam) ในอนาคต แล้วข้ามทะเลไปสิ้นสุดที่อาคารปีนังเซ็นทรัล โดยมีสถานีให้บริการทั้งหมด 22 สถานี เวลาเปิดให้บริการ 06.00-24.00 น. มีที่จอดรถยนต์ 1,220 คัน และรถจักรยานยนต์ 1,315 คัน ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 29 มี.ค. รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า รัฐบาลกลางได้เข้ารับช่วงต่อโครงการรถไฟฟ้า LRT จากรัฐบาลของรัฐปีนัง โดยแต่งตั้งให้ MRT Corp เป็นผู้พัฒนาและเจ้าของโครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2573 หรืออีก 6 ปีข้างหน้า #Newskit #LRTMutiaraLine #เกาะปีนัง
    Like
    Love
    Yay
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 417 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทุกวันศุกร์ รัฐบาลปีนังไร้เงินสด

    รัฐบาลปีนังรณรงค์วันไร้เงินสด โดยให้ประชาชนชำระเงินผ่านระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (อี-เพย์เมนต์) เมื่อทำธุรกรรมตามหน่วยงานของรัฐทุกวันศุกร์ เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงตุลาคม 2567 เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านธุรกรรมการเงิน จากเงินสดไปยังระบบอี-เพย์เมนต์ เพิ่มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล และกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐปีนังโดยรวม

    โดยทุกวันศุกร์ ประชาชนที่ติดต่อธุรกรรมผ่านเคาน์เตอร์ ในสำนักงานของหน่วยงานของรัฐปีนัง จะต้องขำระเงินผ่านระบบอี-เพย์เมนต์เท่านั้น ได้แก่ อี-วอลเล็ต DuitNow QR แอปพลิเคชันธนาคาร บัตรเครดิต บัตรเดบิต รวมทั้งสามารถชำระเงินผ่านเครื่องคีออส และเว็บไซต์ที่เชื่อมกับระบบของรัฐ เช่น e-Bayar Aspire MBSPPay Cyber ​​Counter และอื่นๆ

    พร้อมกันนี้ บริษัทเพย์เน็ต (PayNet) ผู้ให้บริการเครือข่ายการชำระเงินในมาเลเซีย ได้มอบเงิน 500,000 ริงกิต (ประมาณ 3.85 ล้านบาท) แก่รัฐบาลปีนัง เพื่อนำไปจัดสรรเงินรางวัลให้กับแผนกของรัฐบาลปีนัง ที่มีธุรกรรมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด เพื่อจูงใจให้ทุกหน่วยงานและตัวแทนของรัฐ รณรงค์ให้ประชาชนชำระเงินในหน่วยงานของตนผ่านระบบอี-เพย์เมนต์

    ก่อนหน้านี้ รัฐบาลปีนังได้รับการยอมรับให้เป็นรัฐไร้เงินสดของมาเลเซียในปี 2567 หลังจากประสบความสำเร็จในการทำธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลมากกว่า 95% โดยตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงพฤษภาคม 2567 จัดเก็บรายได้ผ่านระบบอี-เพย์เมนต์ทั้งหมด 5.49 ล้านรายการ คิดเป็น 95.31% ของธุรกรรมทั้งหมด

    ทั้งนี้ กระทรวงการคลังของรัฐบาลกลางมาเลเซีย และเพย์เน็ตกำหนดไว้ว่า แต่ละรัฐจะต้องมีอัตราการทำธุรกรรมดิจิทัลมากกว่า 95% ขึ้นไป จึงจะได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐไร้เงินสด

    #Newskit #Penang #CashlessSociety
    ทุกวันศุกร์ รัฐบาลปีนังไร้เงินสด รัฐบาลปีนังรณรงค์วันไร้เงินสด โดยให้ประชาชนชำระเงินผ่านระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (อี-เพย์เมนต์) เมื่อทำธุรกรรมตามหน่วยงานของรัฐทุกวันศุกร์ เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงตุลาคม 2567 เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านธุรกรรมการเงิน จากเงินสดไปยังระบบอี-เพย์เมนต์ เพิ่มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล และกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐปีนังโดยรวม โดยทุกวันศุกร์ ประชาชนที่ติดต่อธุรกรรมผ่านเคาน์เตอร์ ในสำนักงานของหน่วยงานของรัฐปีนัง จะต้องขำระเงินผ่านระบบอี-เพย์เมนต์เท่านั้น ได้แก่ อี-วอลเล็ต DuitNow QR แอปพลิเคชันธนาคาร บัตรเครดิต บัตรเดบิต รวมทั้งสามารถชำระเงินผ่านเครื่องคีออส และเว็บไซต์ที่เชื่อมกับระบบของรัฐ เช่น e-Bayar Aspire MBSPPay Cyber ​​Counter และอื่นๆ พร้อมกันนี้ บริษัทเพย์เน็ต (PayNet) ผู้ให้บริการเครือข่ายการชำระเงินในมาเลเซีย ได้มอบเงิน 500,000 ริงกิต (ประมาณ 3.85 ล้านบาท) แก่รัฐบาลปีนัง เพื่อนำไปจัดสรรเงินรางวัลให้กับแผนกของรัฐบาลปีนัง ที่มีธุรกรรมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด เพื่อจูงใจให้ทุกหน่วยงานและตัวแทนของรัฐ รณรงค์ให้ประชาชนชำระเงินในหน่วยงานของตนผ่านระบบอี-เพย์เมนต์ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลปีนังได้รับการยอมรับให้เป็นรัฐไร้เงินสดของมาเลเซียในปี 2567 หลังจากประสบความสำเร็จในการทำธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลมากกว่า 95% โดยตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงพฤษภาคม 2567 จัดเก็บรายได้ผ่านระบบอี-เพย์เมนต์ทั้งหมด 5.49 ล้านรายการ คิดเป็น 95.31% ของธุรกรรมทั้งหมด ทั้งนี้ กระทรวงการคลังของรัฐบาลกลางมาเลเซีย และเพย์เน็ตกำหนดไว้ว่า แต่ละรัฐจะต้องมีอัตราการทำธุรกรรมดิจิทัลมากกว่า 95% ขึ้นไป จึงจะได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐไร้เงินสด #Newskit #Penang #CashlessSociety
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 540 มุมมอง 0 รีวิว