• #ศิลปะ ซอฟท์เพาว์เวอร์
    พระพัชนีด้ามจิ้ว หรือ พัดทรง💜💜

    หลายท่านที่ได้ชมพระราชพิธีเมื่อวาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗

    ในระหว่างที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ประทับในเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ทรงใช้พระพัชนีด้ามจิ้ว ระหว่างประทับหลายท่านน่าจะเห็นว่าลวดลายบนพัดมีความงดงามมาก พัดทรงด้ามนี้ออกแบบและเขียนลาย โดยอาจารย์หทัย บุนนาค

    โดยท่านเคยให้รายละเอียดเกี่ยวกับพัดทรงด้ามนี้ว่า…

    "พัดทรง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาพัชรสุธาพิมลลักษณ์พระบรมราชินี พัดด้ามไม้ประดับปีกแมลงทับ ตัวพัดทำจากผ้าไหมไทยปิดเงินเปลว เขียนสีเป็นลายเทพยดาอำนวยพร บนพื้นสีครามประกอบลวดลายพรรณพฤกษา แกนพัดและห่วงพัดทำจากเงินกะไหล่ทอง แหวนสำหรับรัดพัดและสายพู่คล้องพัดเป็นไหมสีเขียวมะกอกรับกัน ร้อยสลับกับลูกปัดเงินกะไหล่ทองและลูกปัดพลอยเนื้ออ่อนสีม่วง

    รายชื่อคณะทำงานและช่างฝีมือ

    ช่างเขียนและออกแบบ: นาย หทัย บุนนาค
    ช่างประดับปีกแมลงทับ: นางสาว กัลยากร อัครยากูล

    ช่างทองทำห่วงพัดและแกนพัด : อาจารย์ศุภชัย เสริมสุขเจริญชัย และ อาจารย์จิราพร รอดคุ้ม จากมหาวิทยาลัย เพาะช่าง
    ช่างทำพู่และสายคล้องตลอดจนแหวนรัดพัด: นางสาว เมนาท วรรัตนวัชร

    ช่างประกอบตัวและจับจีบพัด: นายวันชัย เลิศไพบูลย์ผล

    ช่างทำกล่อง: นายวันชัย เลิศไพบูลย์ผลและนายธงชัย ตาลพวง นางสาว กุลธิดา บุนนาค

    ประสานงาน : นายวุฒิกร จินตนสถิตย์"
    เครดิตโดยอาจารย์หทัย บุนนาค(ภาพสุดท้าย)

    🙏🇹🇭💜#ขอทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน #เกร็ดความรู้ #เกร็ดประวัติศาสตร์ #พยุหยาตราทางชลมารค
    #ศิลปะ ซอฟท์เพาว์เวอร์ พระพัชนีด้ามจิ้ว หรือ พัดทรง💜💜 หลายท่านที่ได้ชมพระราชพิธีเมื่อวาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ในระหว่างที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ประทับในเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ทรงใช้พระพัชนีด้ามจิ้ว ระหว่างประทับหลายท่านน่าจะเห็นว่าลวดลายบนพัดมีความงดงามมาก พัดทรงด้ามนี้ออกแบบและเขียนลาย โดยอาจารย์หทัย บุนนาค โดยท่านเคยให้รายละเอียดเกี่ยวกับพัดทรงด้ามนี้ว่า… "พัดทรง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาพัชรสุธาพิมลลักษณ์พระบรมราชินี พัดด้ามไม้ประดับปีกแมลงทับ ตัวพัดทำจากผ้าไหมไทยปิดเงินเปลว เขียนสีเป็นลายเทพยดาอำนวยพร บนพื้นสีครามประกอบลวดลายพรรณพฤกษา แกนพัดและห่วงพัดทำจากเงินกะไหล่ทอง แหวนสำหรับรัดพัดและสายพู่คล้องพัดเป็นไหมสีเขียวมะกอกรับกัน ร้อยสลับกับลูกปัดเงินกะไหล่ทองและลูกปัดพลอยเนื้ออ่อนสีม่วง รายชื่อคณะทำงานและช่างฝีมือ ช่างเขียนและออกแบบ: นาย หทัย บุนนาค ช่างประดับปีกแมลงทับ: นางสาว กัลยากร อัครยากูล ช่างทองทำห่วงพัดและแกนพัด : อาจารย์ศุภชัย เสริมสุขเจริญชัย และ อาจารย์จิราพร รอดคุ้ม จากมหาวิทยาลัย เพาะช่าง ช่างทำพู่และสายคล้องตลอดจนแหวนรัดพัด: นางสาว เมนาท วรรัตนวัชร ช่างประกอบตัวและจับจีบพัด: นายวันชัย เลิศไพบูลย์ผล ช่างทำกล่อง: นายวันชัย เลิศไพบูลย์ผลและนายธงชัย ตาลพวง นางสาว กุลธิดา บุนนาค ประสานงาน : นายวุฒิกร จินตนสถิตย์" เครดิตโดยอาจารย์หทัย บุนนาค(ภาพสุดท้าย) 🙏🇹🇭💜#ขอทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน #เกร็ดความรู้ #เกร็ดประวัติศาสตร์ #พยุหยาตราทางชลมารค
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 595 มุมมอง 0 รีวิว
  • กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
    ในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา รัชกาลที่ 10
    กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยา และในสมัยรัตนโกสินทร์ จะเคลื่อนขบวนตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นหลัก
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ได้ทรงสร้างเรือขึ้นมาใหม่ 67 ลำ ซึ่งมีทั้งเรือพระที่นั่ง เรือขบวนปิดทอง เรือพิฆาต และเรือแซง ซึ่งเป็นเรือที่สำคัญ ๆ เป็นที่รู้จักมาจนเท่าทุกวันนี้ ในรัชกาลต่อ ๆ มาก็ยังมีการสร้างเรือเพิ่มขึ้นมาอีก
    โดยเรือที่สำคัญ ๆ และตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่
    เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ 3 ได้ใช้เป็นเรือพระที่นั่งทรงในรัชกาลที่ 4 และต่อมาในรัชกาลที่ 6 ได้สร้างลำใหม่ขึ้นแทนลำเดิม,
    เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 และ
    เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อแทนลำเดิมที่ชำรุด สร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6
    รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีการสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก
    สำหรับในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคทั้งสิ้น 17 ครั้ง
    ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค 2 ครั้ง ดังนี้
    กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) จากท่าวาสุกรี ไปยังท่าราชวรดิฐ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (เลื่อนการจัดกระบวนจากเดิมในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เนื่องจากกระแสน้ำที่เพิ่มระดับในแม่น้ำเจ้าพระยา‬)
    กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) จากท่าวาสุกรี ไปในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2567
    กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ จะมีเรือพระราชพิธีทั้งสิ้น 52 ลำ จัดเป็น 5 ริ้วขบวน ความยาว 1,200 เมตร กว้าง 90 เมตร และใช้กำลังพลประจำเรือในขบวนเรือพระราชพิธี รวม 2,200 นาย โดยประชาชนสามารถรับชมความงดงามของเรือพระราชพิธีได้ตลอด 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สะพานพระราม 8 ไปจนถึงวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
    กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา รัชกาลที่ 10 กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยา และในสมัยรัตนโกสินทร์ จะเคลื่อนขบวนตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นหลัก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ได้ทรงสร้างเรือขึ้นมาใหม่ 67 ลำ ซึ่งมีทั้งเรือพระที่นั่ง เรือขบวนปิดทอง เรือพิฆาต และเรือแซง ซึ่งเป็นเรือที่สำคัญ ๆ เป็นที่รู้จักมาจนเท่าทุกวันนี้ ในรัชกาลต่อ ๆ มาก็ยังมีการสร้างเรือเพิ่มขึ้นมาอีก โดยเรือที่สำคัญ ๆ และตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ 3 ได้ใช้เป็นเรือพระที่นั่งทรงในรัชกาลที่ 4 และต่อมาในรัชกาลที่ 6 ได้สร้างลำใหม่ขึ้นแทนลำเดิม, เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 และ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อแทนลำเดิมที่ชำรุด สร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีการสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก สำหรับในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคทั้งสิ้น 17 ครั้ง ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค 2 ครั้ง ดังนี้ กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) จากท่าวาสุกรี ไปยังท่าราชวรดิฐ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (เลื่อนการจัดกระบวนจากเดิมในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เนื่องจากกระแสน้ำที่เพิ่มระดับในแม่น้ำเจ้าพระยา‬) กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) จากท่าวาสุกรี ไปในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2567 กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ จะมีเรือพระราชพิธีทั้งสิ้น 52 ลำ จัดเป็น 5 ริ้วขบวน ความยาว 1,200 เมตร กว้าง 90 เมตร และใช้กำลังพลประจำเรือในขบวนเรือพระราชพิธี รวม 2,200 นาย โดยประชาชนสามารถรับชมความงดงามของเรือพระราชพิธีได้ตลอด 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สะพานพระราม 8 ไปจนถึงวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 601 มุมมอง 21 0 รีวิว
  • ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคมรดกชาติไทย-มรดกของโลก
    .
    เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหาร ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567
    .
    ทั้งนี้ เป็นพระราชพิธีสำคัญที่คนไทยทั้งประเทศต่างรอคอยชมความงดงามของริ้วขบวนเรือพระราชพิธี ดังจะเห็นได้จากในช่วงการซ้อมใหญ่ที่ผ่านมา ได้มีประชาชนจับจองพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ขบวนเรือเคลื่อนผ่านเป็นจำนวนมาก
    .
    สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนให้ความสนใจกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นอย่างมากนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นโบราณราชประเพณีที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก แต่จะมีขึ้นเฉพาะในห้วงเวลาที่ประเทศไทยมีโอกาสสำคัญเท่านั้น อย่างล่าสุดที่คนไทยได้เห็นขบวนพยุหยาตราทางชลมารค คือ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปีพ.ศ.2562
    .
    พระราชพิธีขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะในมิติของการเป็นพิธีการหนึ่งของรัฐเท่านั้น แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของคนไทยที่ผูกพันกับสายน้ำอีกด้วย โดยสารคดีเฉลิมพระเกียรติ มรดกศิลป์ แผ่นดินไทย ตอนที่ 1 เรือไทยคู่สายน้ำ และ ตอนที่ 2 ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งเป็นข้อมูลที่จัดทำโดยคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้อธิบายถึงความสำคัญของขบวนพยุหยาตราทางชลมารคไว้อย่างน่าสนใจตอนหนึ่งดังนี้
    .
    "นับแต่อดีตชาวไทยมีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับสายน้ำ เปรียบเสมือนสายชีวิตที่หล่อเลี้ยงทุกสรรพสิ่ง เป็นเหตุผลที่ทำให้คนในสมัยโบราณ นิยมสร้างบ้านเรือนใกล้ริมน้ำกันเป็นส่วนมาก ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้น เรือ จึงเป็นพาหนะ สำคัญที่ใช้ในการสัญจรทางน้ำ การต่อเรือแต่ละลำ จึงคำนึงถึงความเหมาะสมของการใช้งาน ...และยิ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว จะมีการจัดริ้วขบวนเรืออย่างสมพระเกียรติ ริ้วขบวนเรือนี้ เรียกว่า ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค"
    .
    สำหรับการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคนี้ มีวิวัฒนาการมาจากการจัดขบวนทัพเรือในยามที่ว่างศึก เพื่อเป็นการฝึกซ้อมเรียกระดมพล โดยที่กองเรือเหล่านี้จะตกแต่งอย่างสวยงาม มีการประโคมดนตรีไปในขบวน เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน และพลพายเกิดความฮึกเหิมเป็นการแสดงออก ถึงความเป็นเอกลักษณ์ ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีอย่างหนึ่งของชาติแสดงถึงพระบารมีแผ่ไพศาลของพระมหากษัตริย์อันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ และเป็นที่พึ่งแด่พสกนิกรทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
    .
    โดยประเพณีเสด็จพระราชดาเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคนั้น ได้รับการฟื้นฟูตั้งแต่ปี 2500 หลังจากว่างเว้นมานานถึง 50 ปี นับตั้งแต่การสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ซึ่งการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2500 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ โดยได้จัดให้มีขบวนเรือพระราชพิธี อัญเชิญพระพุทธรูป ไตรปิฏก และพระสงฆ์ เคลื่อนไปตามลำน้ำเจ้าพระยา
    .
    นับตั้งแต่ พ.ศ.2500 จนถึง พ.ศ.2555 ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค จำนวน 15 ครั้ง และจัดขบวนเรือพระราชพิธี จำนวน 2 ครั้ง โดยสิ่งที่เป็นเครื่องตอกย้ำถึงความงดงามและยิ่งใหญ่ของพระราชพิธีทางน้ำของประเทศไทย คือ การที่องค์การเรือโลก (World Ship Trust) แห่งสหราชอาณาจักรได้มอบรางวัล “มรดกเรือโลก” แก่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เมื่อปี 2535
    .
    ดังนั้น พระราชพิธีที่จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม จึงเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทยอย่างไม่อาจปฏิเสธได้
    ..............
    Sondhi X
    ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคมรดกชาติไทย-มรดกของโลก . เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหาร ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 . ทั้งนี้ เป็นพระราชพิธีสำคัญที่คนไทยทั้งประเทศต่างรอคอยชมความงดงามของริ้วขบวนเรือพระราชพิธี ดังจะเห็นได้จากในช่วงการซ้อมใหญ่ที่ผ่านมา ได้มีประชาชนจับจองพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ขบวนเรือเคลื่อนผ่านเป็นจำนวนมาก . สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนให้ความสนใจกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นอย่างมากนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นโบราณราชประเพณีที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก แต่จะมีขึ้นเฉพาะในห้วงเวลาที่ประเทศไทยมีโอกาสสำคัญเท่านั้น อย่างล่าสุดที่คนไทยได้เห็นขบวนพยุหยาตราทางชลมารค คือ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปีพ.ศ.2562 . พระราชพิธีขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะในมิติของการเป็นพิธีการหนึ่งของรัฐเท่านั้น แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของคนไทยที่ผูกพันกับสายน้ำอีกด้วย โดยสารคดีเฉลิมพระเกียรติ มรดกศิลป์ แผ่นดินไทย ตอนที่ 1 เรือไทยคู่สายน้ำ และ ตอนที่ 2 ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งเป็นข้อมูลที่จัดทำโดยคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้อธิบายถึงความสำคัญของขบวนพยุหยาตราทางชลมารคไว้อย่างน่าสนใจตอนหนึ่งดังนี้ . "นับแต่อดีตชาวไทยมีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับสายน้ำ เปรียบเสมือนสายชีวิตที่หล่อเลี้ยงทุกสรรพสิ่ง เป็นเหตุผลที่ทำให้คนในสมัยโบราณ นิยมสร้างบ้านเรือนใกล้ริมน้ำกันเป็นส่วนมาก ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้น เรือ จึงเป็นพาหนะ สำคัญที่ใช้ในการสัญจรทางน้ำ การต่อเรือแต่ละลำ จึงคำนึงถึงความเหมาะสมของการใช้งาน ...และยิ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว จะมีการจัดริ้วขบวนเรืออย่างสมพระเกียรติ ริ้วขบวนเรือนี้ เรียกว่า ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค" . สำหรับการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคนี้ มีวิวัฒนาการมาจากการจัดขบวนทัพเรือในยามที่ว่างศึก เพื่อเป็นการฝึกซ้อมเรียกระดมพล โดยที่กองเรือเหล่านี้จะตกแต่งอย่างสวยงาม มีการประโคมดนตรีไปในขบวน เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน และพลพายเกิดความฮึกเหิมเป็นการแสดงออก ถึงความเป็นเอกลักษณ์ ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีอย่างหนึ่งของชาติแสดงถึงพระบารมีแผ่ไพศาลของพระมหากษัตริย์อันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ และเป็นที่พึ่งแด่พสกนิกรทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร . โดยประเพณีเสด็จพระราชดาเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคนั้น ได้รับการฟื้นฟูตั้งแต่ปี 2500 หลังจากว่างเว้นมานานถึง 50 ปี นับตั้งแต่การสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ซึ่งการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2500 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ โดยได้จัดให้มีขบวนเรือพระราชพิธี อัญเชิญพระพุทธรูป ไตรปิฏก และพระสงฆ์ เคลื่อนไปตามลำน้ำเจ้าพระยา . นับตั้งแต่ พ.ศ.2500 จนถึง พ.ศ.2555 ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค จำนวน 15 ครั้ง และจัดขบวนเรือพระราชพิธี จำนวน 2 ครั้ง โดยสิ่งที่เป็นเครื่องตอกย้ำถึงความงดงามและยิ่งใหญ่ของพระราชพิธีทางน้ำของประเทศไทย คือ การที่องค์การเรือโลก (World Ship Trust) แห่งสหราชอาณาจักรได้มอบรางวัล “มรดกเรือโลก” แก่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เมื่อปี 2535 . ดังนั้น พระราชพิธีที่จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม จึงเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทยอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ .............. Sondhi X
    Like
    Love
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1251 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวยงามตระการตามาก ♥️♥️♥️

    #เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
    สวยงามตระการตามาก ♥️♥️♥️ #เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 314 มุมมอง 18 0 รีวิว
  • “สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม” การอัญเชิญเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และการจัดนิทรรศการ เฉลิมพระเกียรติฯ ณ บริเวณท่าราชวรดิฐ #เรือพระที่นั่ง #เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ #กองทัพเรือ #เรือพระราชพิธี #ฝีพายตัวดํา #ทหารเรือ #bangkok #thailand
    “สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม” การอัญเชิญเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และการจัดนิทรรศการ เฉลิมพระเกียรติฯ ณ บริเวณท่าราชวรดิฐ #เรือพระที่นั่ง #เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ #กองทัพเรือ #เรือพระราชพิธี #ฝีพายตัวดํา #ทหารเรือ #bangkok #thailand
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 450 มุมมอง 28 0 รีวิว
  • กองทัพเรือเตรียมพร้อมเต็มที่ รับพระราชพิธีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินทางชลมารค

    กองทัพเรือได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ เพื่อรับพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๗

    #ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคอันยิ่งใหญ่
    ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ จะประกอบด้วยเรือพระราชพิธีทั้งหมด ๕๒ ลำ จัดเป็น ๕ ริ้ว ความยาวรวม ๑,๒๐๐เมตร กว้าง ๙๐ เมตร โดยมีกำลังพลประจำเรือรวม ๒,๒๐๐ นาย ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างร่วมแรงร่วมใจกัน เพื่อให้การจัดพระราชพิธีครั้งนี้เป็นไปอย่างสมพระเกียรติ

    #กรมศิลปากรบูรณะเรือพระราชพิธี
    กรมศิลปากรได้ดำเนินการอนุรักษ์และบูรณะเรือพระราชพิธีทั้ง ๕๒ ลำ ซึ่งถือเป็นโบราณวัตถุอันทรงคุณค่า โดยมีการลงรักปิดทอง ประดับกระจก ด้วยฝีมือช่างจากสำนักช่างสิบหมู่ เพื่อให้เรือแต่ละลำคงความงดงามและทรงคุณค่าตามแบบศิลปะดั้งเดิม

    #กองทัพเรือฝึกซ้อมฝีพาย
    กองทัพเรือได้ดำเนินการฝึกซ้อมฝีพายเรือพระราชพิธีอย่างเข้มข้น เพื่อให้การพายเรือเป็นไปอย่างพร้อมเพรียงและสง่างาม อีกทั้งยังคงไว้ซึ่งท่วงท่าตามโบราณราชประเพณี โดยมีการนำเทคนิคสมัยใหม่มาปรับใช้เพื่อเพิ่มความสวยงามและความแม่นยำในการพายเรือ

    เรือพระที่นั่งสำคัญ ๔ ลำ
    * เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์: เรือพระที่นั่งชั้นสูงสุด โขนเรือเป็นรูปหงส์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระบรมราชินี
    * เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์: เรือพระที่นั่งรอง โขนเรือลงรักปิดทองลายรูปงูตัวเล็ก ๆ จำนวนมาก สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นที่ประทับเปลื้องเครื่องหรือเปลื้องพระชฎามหากฐินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    * เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช: หัวเรือจำหลักรูปพญานาค ๗ เศียร สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖ ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือผ้าพระกฐิน
    * เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙: โขนเรือจำหลักรูปพระวิษณุทรงครุฑ สร้างขึ้นใหม่เพื่อถวายในหลวงรัชกาลที่ ๙ โดยปกติแล้วใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือผ้าพระกฐิน

    เรือพระราชพิธีอื่นๆ
    * เรือรูปสัตว์: มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น เรืออสุรวายุภักษ์ (รูปยักษ์), เรือครุฑเหินเห็จ (รูปครุฑ), เรือกระบี่ปราบเมืองมาร (รูปขุนกระบี่), เรือเอกชัยเหินหาว (รูปจระเข้หรือเหรา)
    * เรือดั้ง: เรือที่มีลักษณะเป็นเรือยาว หัวเรือและท้ายเรือโค้งงอนขึ้น ประดับลวดลายสวยงาม
    * เรือแซง: เรือที่มีลักษณะคล้ายเรือดั้ง แต่มีขนาดเล็กกว่า ใช้สำหรับพายนำหน้าขบวนเรือพระที่นั่ง
    สืบสานประเพณีอันทรงคุณค่า

    การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังเป็นการสืบสานและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่สืบไป
    ความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ

    พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ ที่จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีอันทรงเกียรติและงดงามตระการตา ซึ่งจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยสืบไป

    เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
    ขบวนพยุหยาตราเพชรพวงทางชลมารค ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจัดขบวนเป็น ๕ ตอน
    ๑. ขบวนนอกหน้าประกอบด้วย เรือพิฆาต ๓ คู่ เรือแซ ๕ คู่ เรือชัย ๑๐ คู่ เรือรูปสัตว์ ๒ คู่
    และมีเรือรูปสัตว์อีก ๑ คู่ เป็นเรือประตูหน้าชั้นนอก คั่นขบวนนอกหน้ากับขบวนในหน้า
    ๒. ขบวนในหน้า มีเรือรูปสัตว์ ๑๒ คู่ เรือเอกชัย ๒ คู่ เป็นเรือประตูหน้าชั้นในคั่นขบวนในหน้า
    กับขบวนเรือพระราชยาน มีเรือโขมดยา [ขะ-โหฺมด-ยา] ซ้อนสายนอก ๕ คู่
    ๓. ขบวนเรือพระราชยาน มีเรือพระที่นั่ง ๕ ลำ เป็นเรือดั้งนำเรือพระที่นั่งศรีสมรรถชัย
    [สี-สะ-หฺมัด-ถะ-ไช] ลำทรง และเรือพระที่นั่งไกรสรมุข [ไกฺร-สอ-ระ-มุก] ที่ใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง ขบวนเรือ
    พระราชยานเป็นเรือพระที่นั่งกิ่งทั้งหมด
    ๔. ขบวนในหลัง แบ่งเป็น ๓ สาย สายกลางมีเรือพระที่นั่งเอกชัย ๒ ลำ สายในซ้ายและในขวา
    เป็นเรือรูปสัตว์ ๒ คู่ อีก ๑ คู่ เป็นเรือประตูหลังชั้นนอก คั่นขบวนในหลังกับขบวนนอกหลัง
    ๕. ขบวนนอกหลัง ประกอบด้วยเรือแซ ๓ คู่ เรือพิฆาต ๒ คู่ และมีม้าแซงเดินริมตลิ่งอีกด้วย

    ภายใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ยังเปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมเรือพระราชพิธี ๔ ลำ และเรือรูปสัตว์ ๔ ลำ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี และชมการฝึกฝีพาย ณ บ่อเรือแผนกเรือราชพิธี กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ ในวันราชการ ตั้งแต่วันนี้ ถึง ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

    อ้างอิง
    ๑. Phralan: https://phralan.in.th/Coronation/vocabdetail.php?id=844
    ๒. Thai PBS: https://www.thaipbs.or.th/news/content/341376
    กองทัพเรือเตรียมพร้อมเต็มที่ รับพระราชพิธีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินทางชลมารค กองทัพเรือได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ เพื่อรับพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๗ #ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคอันยิ่งใหญ่ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ จะประกอบด้วยเรือพระราชพิธีทั้งหมด ๕๒ ลำ จัดเป็น ๕ ริ้ว ความยาวรวม ๑,๒๐๐เมตร กว้าง ๙๐ เมตร โดยมีกำลังพลประจำเรือรวม ๒,๒๐๐ นาย ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างร่วมแรงร่วมใจกัน เพื่อให้การจัดพระราชพิธีครั้งนี้เป็นไปอย่างสมพระเกียรติ #กรมศิลปากรบูรณะเรือพระราชพิธี กรมศิลปากรได้ดำเนินการอนุรักษ์และบูรณะเรือพระราชพิธีทั้ง ๕๒ ลำ ซึ่งถือเป็นโบราณวัตถุอันทรงคุณค่า โดยมีการลงรักปิดทอง ประดับกระจก ด้วยฝีมือช่างจากสำนักช่างสิบหมู่ เพื่อให้เรือแต่ละลำคงความงดงามและทรงคุณค่าตามแบบศิลปะดั้งเดิม #กองทัพเรือฝึกซ้อมฝีพาย กองทัพเรือได้ดำเนินการฝึกซ้อมฝีพายเรือพระราชพิธีอย่างเข้มข้น เพื่อให้การพายเรือเป็นไปอย่างพร้อมเพรียงและสง่างาม อีกทั้งยังคงไว้ซึ่งท่วงท่าตามโบราณราชประเพณี โดยมีการนำเทคนิคสมัยใหม่มาปรับใช้เพื่อเพิ่มความสวยงามและความแม่นยำในการพายเรือ เรือพระที่นั่งสำคัญ ๔ ลำ * เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์: เรือพระที่นั่งชั้นสูงสุด โขนเรือเป็นรูปหงส์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระบรมราชินี * เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์: เรือพระที่นั่งรอง โขนเรือลงรักปิดทองลายรูปงูตัวเล็ก ๆ จำนวนมาก สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นที่ประทับเปลื้องเครื่องหรือเปลื้องพระชฎามหากฐินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว * เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช: หัวเรือจำหลักรูปพญานาค ๗ เศียร สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖ ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือผ้าพระกฐิน * เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙: โขนเรือจำหลักรูปพระวิษณุทรงครุฑ สร้างขึ้นใหม่เพื่อถวายในหลวงรัชกาลที่ ๙ โดยปกติแล้วใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือผ้าพระกฐิน เรือพระราชพิธีอื่นๆ * เรือรูปสัตว์: มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น เรืออสุรวายุภักษ์ (รูปยักษ์), เรือครุฑเหินเห็จ (รูปครุฑ), เรือกระบี่ปราบเมืองมาร (รูปขุนกระบี่), เรือเอกชัยเหินหาว (รูปจระเข้หรือเหรา) * เรือดั้ง: เรือที่มีลักษณะเป็นเรือยาว หัวเรือและท้ายเรือโค้งงอนขึ้น ประดับลวดลายสวยงาม * เรือแซง: เรือที่มีลักษณะคล้ายเรือดั้ง แต่มีขนาดเล็กกว่า ใช้สำหรับพายนำหน้าขบวนเรือพระที่นั่ง สืบสานประเพณีอันทรงคุณค่า การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังเป็นการสืบสานและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่สืบไป ความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ ที่จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีอันทรงเกียรติและงดงามตระการตา ซึ่งจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยสืบไป เกร็ดความรู้เพิ่มเติม ขบวนพยุหยาตราเพชรพวงทางชลมารค ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจัดขบวนเป็น ๕ ตอน ๑. ขบวนนอกหน้าประกอบด้วย เรือพิฆาต ๓ คู่ เรือแซ ๕ คู่ เรือชัย ๑๐ คู่ เรือรูปสัตว์ ๒ คู่ และมีเรือรูปสัตว์อีก ๑ คู่ เป็นเรือประตูหน้าชั้นนอก คั่นขบวนนอกหน้ากับขบวนในหน้า ๒. ขบวนในหน้า มีเรือรูปสัตว์ ๑๒ คู่ เรือเอกชัย ๒ คู่ เป็นเรือประตูหน้าชั้นในคั่นขบวนในหน้า กับขบวนเรือพระราชยาน มีเรือโขมดยา [ขะ-โหฺมด-ยา] ซ้อนสายนอก ๕ คู่ ๓. ขบวนเรือพระราชยาน มีเรือพระที่นั่ง ๕ ลำ เป็นเรือดั้งนำเรือพระที่นั่งศรีสมรรถชัย [สี-สะ-หฺมัด-ถะ-ไช] ลำทรง และเรือพระที่นั่งไกรสรมุข [ไกฺร-สอ-ระ-มุก] ที่ใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง ขบวนเรือ พระราชยานเป็นเรือพระที่นั่งกิ่งทั้งหมด ๔. ขบวนในหลัง แบ่งเป็น ๓ สาย สายกลางมีเรือพระที่นั่งเอกชัย ๒ ลำ สายในซ้ายและในขวา เป็นเรือรูปสัตว์ ๒ คู่ อีก ๑ คู่ เป็นเรือประตูหลังชั้นนอก คั่นขบวนในหลังกับขบวนนอกหลัง ๕. ขบวนนอกหลัง ประกอบด้วยเรือแซ ๓ คู่ เรือพิฆาต ๒ คู่ และมีม้าแซงเดินริมตลิ่งอีกด้วย ภายใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ยังเปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมเรือพระราชพิธี ๔ ลำ และเรือรูปสัตว์ ๔ ลำ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี และชมการฝึกฝีพาย ณ บ่อเรือแผนกเรือราชพิธี กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ ในวันราชการ ตั้งแต่วันนี้ ถึง ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อ้างอิง ๑. Phralan: https://phralan.in.th/Coronation/vocabdetail.php?id=844 ๒. Thai PBS: https://www.thaipbs.or.th/news/content/341376
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1170 มุมมอง 0 รีวิว
  • ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2567 นี้ กองทัพเรือ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ในการอัญเชิญเรือพระที่นั่ง จำนวน 3 ลำ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ผูกทุ่น ประกอบกาพย์เห่เรือ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ จากอู่หมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรีไปยัง ท่าราชวรดิฐ เขตพระนคร
    .
    Copyright © 2024 All Right Reserved ผู้จัดการรายวัน 360˚/ MGR Online #MGRPhoto #เรือพระที่นั่ง #เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ #เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ #เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
    ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2567 นี้ กองทัพเรือ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ในการอัญเชิญเรือพระที่นั่ง จำนวน 3 ลำ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ผูกทุ่น ประกอบกาพย์เห่เรือ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ จากอู่หมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรีไปยัง ท่าราชวรดิฐ เขตพระนคร . Copyright © 2024 All Right Reserved ผู้จัดการรายวัน 360˚/ MGR Online #MGRPhoto #เรือพระที่นั่ง #เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ #เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ #เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
    Like
    Love
    Wow
    8
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 803 มุมมอง 0 รีวิว
  • บรรยากาศการซ้อมใหญ่ โดยกองทัพเรืออัญเชิญเรือพระที่นั่ง 3 ลำ ประกอบด้วยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ออกจากอู่เรือฯ ไปจอดผูกทุ่น ที่ท่าราชวรดิฐ
    .
    Copyright © 2024 All Right Reserved ผู้จัดการรายวัน 360˚/ MGR Online ภาพโดย #MGRPhoto #ซ้อมเรือพระราชพิธี #สุพรรณหงส์ #นารายณ์ทรงสุบรรณ #อนันตนาคราช
    บรรยากาศการซ้อมใหญ่ โดยกองทัพเรืออัญเชิญเรือพระที่นั่ง 3 ลำ ประกอบด้วยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ออกจากอู่เรือฯ ไปจอดผูกทุ่น ที่ท่าราชวรดิฐ . Copyright © 2024 All Right Reserved ผู้จัดการรายวัน 360˚/ MGR Online ภาพโดย #MGRPhoto #ซ้อมเรือพระราชพิธี #สุพรรณหงส์ #นารายณ์ทรงสุบรรณ #อนันตนาคราช
    Like
    Love
    9
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 829 มุมมอง 0 รีวิว