กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
ในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา รัชกาลที่ 10
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยา และในสมัยรัตนโกสินทร์ จะเคลื่อนขบวนตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นหลัก
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ได้ทรงสร้างเรือขึ้นมาใหม่ 67 ลำ ซึ่งมีทั้งเรือพระที่นั่ง เรือขบวนปิดทอง เรือพิฆาต และเรือแซง ซึ่งเป็นเรือที่สำคัญ ๆ เป็นที่รู้จักมาจนเท่าทุกวันนี้ ในรัชกาลต่อ ๆ มาก็ยังมีการสร้างเรือเพิ่มขึ้นมาอีก
โดยเรือที่สำคัญ ๆ และตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่
เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ 3 ได้ใช้เป็นเรือพระที่นั่งทรงในรัชกาลที่ 4 และต่อมาในรัชกาลที่ 6 ได้สร้างลำใหม่ขึ้นแทนลำเดิม,
เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 และ
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อแทนลำเดิมที่ชำรุด สร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีการสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก
สำหรับในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคทั้งสิ้น 17 ครั้ง
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค 2 ครั้ง ดังนี้
กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) จากท่าวาสุกรี ไปยังท่าราชวรดิฐ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (เลื่อนการจัดกระบวนจากเดิมในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เนื่องจากกระแสน้ำที่เพิ่มระดับในแม่น้ำเจ้าพระยา‬)
กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) จากท่าวาสุกรี ไปในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2567
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ จะมีเรือพระราชพิธีทั้งสิ้น 52 ลำ จัดเป็น 5 ริ้วขบวน ความยาว 1,200 เมตร กว้าง 90 เมตร และใช้กำลังพลประจำเรือในขบวนเรือพระราชพิธี รวม 2,200 นาย โดยประชาชนสามารถรับชมความงดงามของเรือพระราชพิธีได้ตลอด 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สะพานพระราม 8 ไปจนถึงวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา รัชกาลที่ 10 กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยา และในสมัยรัตนโกสินทร์ จะเคลื่อนขบวนตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นหลัก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ได้ทรงสร้างเรือขึ้นมาใหม่ 67 ลำ ซึ่งมีทั้งเรือพระที่นั่ง เรือขบวนปิดทอง เรือพิฆาต และเรือแซง ซึ่งเป็นเรือที่สำคัญ ๆ เป็นที่รู้จักมาจนเท่าทุกวันนี้ ในรัชกาลต่อ ๆ มาก็ยังมีการสร้างเรือเพิ่มขึ้นมาอีก โดยเรือที่สำคัญ ๆ และตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ 3 ได้ใช้เป็นเรือพระที่นั่งทรงในรัชกาลที่ 4 และต่อมาในรัชกาลที่ 6 ได้สร้างลำใหม่ขึ้นแทนลำเดิม, เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 และ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อแทนลำเดิมที่ชำรุด สร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีการสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก สำหรับในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคทั้งสิ้น 17 ครั้ง ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค 2 ครั้ง ดังนี้ กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) จากท่าวาสุกรี ไปยังท่าราชวรดิฐ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (เลื่อนการจัดกระบวนจากเดิมในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เนื่องจากกระแสน้ำที่เพิ่มระดับในแม่น้ำเจ้าพระยา‬) กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) จากท่าวาสุกรี ไปในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2567 กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ จะมีเรือพระราชพิธีทั้งสิ้น 52 ลำ จัดเป็น 5 ริ้วขบวน ความยาว 1,200 เมตร กว้าง 90 เมตร และใช้กำลังพลประจำเรือในขบวนเรือพระราชพิธี รวม 2,200 นาย โดยประชาชนสามารถรับชมความงดงามของเรือพระราชพิธีได้ตลอด 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สะพานพระราม 8 ไปจนถึงวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 85 มุมมอง 21 0 รีวิว