• การจราจรในกรุงเทพมหานครรถติดเป็นอัมพาตหลังแผ่นดินไหว รถไฟฟ้าทุกสายหยุดให้บริการ ขณะที่ ขสมก. และไทยสมายล์บัส ให้บริการตามปกติ ทางด่วนเฉลิมมหานครปิดทางขึ้น-ลงด่านดินแดงชั่วคราว ส่วนถนนพระราม 2 ใช้งานได้ตามปกติ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000029698
    การจราจรในกรุงเทพมหานครรถติดเป็นอัมพาตหลังแผ่นดินไหว รถไฟฟ้าทุกสายหยุดให้บริการ ขณะที่ ขสมก. และไทยสมายล์บัส ให้บริการตามปกติ ทางด่วนเฉลิมมหานครปิดทางขึ้น-ลงด่านดินแดงชั่วคราว ส่วนถนนพระราม 2 ใช้งานได้ตามปกติ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000029698
    Like
    Sad
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1116 มุมมอง 0 รีวิว
  • รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้มีการตั้งข้อสังเกต ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ในขณะที่กำลังเทคอนกรีตเพื่อหล่อคานทางด่วนในหลายประเด็น ทั้งเรื่องการเทคอนกรีตในปริมาณที่มากเกินไป หรือ ตัวรับพื้นคานขวางคือตัวโครงเหล็กที่เป็นแม่แบบ หรือ Temporary Structure มีปัญหาเกิดการขยับตัว ที่เกิดจากสภาพการเปลี่ยนแปลงของดิน ทำให้การรับน้ำหนักปูนกว่า 10 ตันเกิดการเอียง จนตัวแม่แบบหลุดออกจากตำแหน่งและถล่ม รวมไปถึงประเด็นเรื่องดินอ่อน

    แหล่งข่าวจาก กทพ.กล่าวว่า ต้องรอให้มีการตรวจสอบอย่างละเอียดในทุกปัจจัย และรอข้อสรุปอย่างเป็นทางการ แต่ข้อเท็จจริงที่บอกได้เลยคือ จุดก่อสร้างทางด่วน สายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกฯ​บริเวณหน้าด่านดาวคะนอง อยู่บนพื้นที่โครงการทางด่วนเฉลิมมหานคร ที่ตลอดแนว ได้ออกแบบป้องกันเรื่องการทรุดตัวไว้แล้วโดยมีเสาเข็ม เป็น Bearing unit ทุก 2 เมตร ลึก 16 เมตร และมีคอนกรีตหนา 60 ซม. รองอยู่อีกชั้นเพื่อกระจายการรับน้ำหนัก ในเชิงเทคนิคทางด่วนเฉลิมมหานครออกแบบพื้นซัพพอร์ตโครงสร้าง ป้องกันการทรุดตัว และอยู่มา 30 กว่าปีไม่มีปัญหา

    ส่วนการก่อสร้างทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง ได้ออกแบบตั้งเสาค้ำยันตรงกลางสำหรับเทคอนกรีตหล่อคานขวาง บนฐานราก หรือ Footing ของ Bearing unit ของพื้นที่ทางด่วนเดิม จึงมั่นใจไม่มีปัญหาเรื่องทรุดตัว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/business/detail/9680000027836

    #MGROnline #ทางด่วนพระราม3 #ดาวคะนอง
    รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้มีการตั้งข้อสังเกต ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ในขณะที่กำลังเทคอนกรีตเพื่อหล่อคานทางด่วนในหลายประเด็น ทั้งเรื่องการเทคอนกรีตในปริมาณที่มากเกินไป หรือ ตัวรับพื้นคานขวางคือตัวโครงเหล็กที่เป็นแม่แบบ หรือ Temporary Structure มีปัญหาเกิดการขยับตัว ที่เกิดจากสภาพการเปลี่ยนแปลงของดิน ทำให้การรับน้ำหนักปูนกว่า 10 ตันเกิดการเอียง จนตัวแม่แบบหลุดออกจากตำแหน่งและถล่ม รวมไปถึงประเด็นเรื่องดินอ่อน • แหล่งข่าวจาก กทพ.กล่าวว่า ต้องรอให้มีการตรวจสอบอย่างละเอียดในทุกปัจจัย และรอข้อสรุปอย่างเป็นทางการ แต่ข้อเท็จจริงที่บอกได้เลยคือ จุดก่อสร้างทางด่วน สายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกฯ​บริเวณหน้าด่านดาวคะนอง อยู่บนพื้นที่โครงการทางด่วนเฉลิมมหานคร ที่ตลอดแนว ได้ออกแบบป้องกันเรื่องการทรุดตัวไว้แล้วโดยมีเสาเข็ม เป็น Bearing unit ทุก 2 เมตร ลึก 16 เมตร และมีคอนกรีตหนา 60 ซม. รองอยู่อีกชั้นเพื่อกระจายการรับน้ำหนัก ในเชิงเทคนิคทางด่วนเฉลิมมหานครออกแบบพื้นซัพพอร์ตโครงสร้าง ป้องกันการทรุดตัว และอยู่มา 30 กว่าปีไม่มีปัญหา • ส่วนการก่อสร้างทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง ได้ออกแบบตั้งเสาค้ำยันตรงกลางสำหรับเทคอนกรีตหล่อคานขวาง บนฐานราก หรือ Footing ของ Bearing unit ของพื้นที่ทางด่วนเดิม จึงมั่นใจไม่มีปัญหาเรื่องทรุดตัว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/business/detail/9680000027836 • #MGROnline #ทางด่วนพระราม3 #ดาวคะนอง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 383 มุมมอง 0 รีวิว
  • กทพ. เปิดช่องทางเบี่ยงชั่วคราวให้ใช้ด่านดาวะนองขาเข้าได้แล้ว ส่วน การกู้คืนพื้นที่บริเวณด่านฯ ดาวคะนอง ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ดำเนินการรื้อย้ายซากปรักหักพังออกไปแล้วกว่า 75% ขณะขาออก คาดดำเนินการได้ใน 30 วัน

    วันนี้ 17 มีนาคม 2568 เวลา 6.00 น. นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ร่วมกับ พล.ต.ต ธวัช วงศ์สง่า รองผู้บัญชาการกอง บัญชาการตำรวจนครบาล ลงพื้นที่สังเกตุการณ์สภาพการจราจร พร้อมเปิดทางเบี่ยงจราจรชั่วคราวให้ประชาชนสามารถเดินทางเข้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษดาวคะนองได้ เพื่อช่วยระบายการจราจรในการเดินทางเข้าเมืองให้แก่ประชาชน และในเวลาต่อมา ผู้ว่าการฯ ได้เดินทางไปตรวจสอบสภาพปริมาณการจราจรบริเวณด่านฯ สุขสวัสดิ์ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร เพื่อสังเกตุการณ์สภาพการจราจรทั้งขาเข้า-ขาออกเมือง พร้อมสั่งการจัดเจ้าหน้าที่จราจรทำงานร่วมกับตำรวจจราจรในการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนอย่างเต็มความสามารถ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/business/detail/9680000025364

    #MGROnline #กทพ. #ด่านดาวะนอง #พระราม2
    กทพ. เปิดช่องทางเบี่ยงชั่วคราวให้ใช้ด่านดาวะนองขาเข้าได้แล้ว ส่วน การกู้คืนพื้นที่บริเวณด่านฯ ดาวคะนอง ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ดำเนินการรื้อย้ายซากปรักหักพังออกไปแล้วกว่า 75% ขณะขาออก คาดดำเนินการได้ใน 30 วัน • วันนี้ 17 มีนาคม 2568 เวลา 6.00 น. นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ร่วมกับ พล.ต.ต ธวัช วงศ์สง่า รองผู้บัญชาการกอง บัญชาการตำรวจนครบาล ลงพื้นที่สังเกตุการณ์สภาพการจราจร พร้อมเปิดทางเบี่ยงจราจรชั่วคราวให้ประชาชนสามารถเดินทางเข้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษดาวคะนองได้ เพื่อช่วยระบายการจราจรในการเดินทางเข้าเมืองให้แก่ประชาชน และในเวลาต่อมา ผู้ว่าการฯ ได้เดินทางไปตรวจสอบสภาพปริมาณการจราจรบริเวณด่านฯ สุขสวัสดิ์ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร เพื่อสังเกตุการณ์สภาพการจราจรทั้งขาเข้า-ขาออกเมือง พร้อมสั่งการจัดเจ้าหน้าที่จราจรทำงานร่วมกับตำรวจจราจรในการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนอย่างเต็มความสามารถ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/business/detail/9680000025364 • #MGROnline #กทพ. #ด่านดาวะนอง #พระราม2
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 377 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทางด่วนสองชั้น หายนะคนกรุงฯ

    เหตุคานสะพานทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 (Double Deck) ที่ก่อสร้างซ้อนทับอยู่บนทางพิเศษเฉลิมมหานคร ในโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่ 3 ทรุดตัวบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางดาวคะนอง แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ เมื่อคืนวันที่ 15 มี.ค. ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย สูญหาย 2 ราย บาดเจ็บ 27 ราย โครงสร้างทางพิเศษเฉลิมมหานคร ขาออก อายุกว่า 40 ปี พังลง 1 ช่วงเสา ต้องปิดการจราจรอย่างน้อย 1 เดือน

    นับเป็นอีกโศกนาฎกรรมจากการก่อสร้างทางยกระดับขนาดใหญ่ หลังเหตุการณ์คานสะพานถล่ม โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ที่สร้างคร่อมทางหลักบนถนนพระรามที่ 2 จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 มีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 9 คน ต้องปิดการจราจรเพื่อเคลียร์พื้นที่ก่อสร้างนานเกือบครึ่งเดือน ผ่านไปเพียงไม่ถึง 4 เดือนกลับเกิดอุบัติเหตุซ้ำรอย ท่ามกลางสังคมต่างถามหาความรับผิดชอบจากนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯ และ รมว.คมนาคม ถึงบัดนี้ผลการสอบสวนถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการก็ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะแต่อย่างใด

    ก่อนหน้านี้ นายสุริยะ และผู้บริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มีความพยายามผลักดันโครงการแก้ไขปัญหาจราจรบนทางพิเศษระยะที่ 1 ซึ่งจะมีการก่อสร้างโครงการทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 หรือ ดับเบิล เด็ค (Double Deck) ช่วงงามวงศ์วานถึงพระราม 9 ระยะทาง 17 กิโลเมตร โดยเจรจาให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน แลกกับการขยายระยะเวลาสัมปทานระบบทางด่วนขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ที่เพิ่งขยายสัญญาจากกรณีพิพาทค่าโง่ทางด่วน จากเดิมหมดลงในปี 2563 ไปสิ้นสุดในปี 2578 แต่บอกไม่ได้ว่ากี่ปี กลายเป็นที่วิจารณ์ว่าเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนหรือไม่ แทนที่สัญญาสัมปทานหมดลงแล้วจะได้ใช้ทางด่วนในราคาถูกลง

    อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทำให้น่าคิดว่า การทำทางด่วนดับเบิล เด็ค อาจไม่เหมาะสมในเวลานี้ หากมาตรฐานการก่อสร้างของผู้รับเหมาในปัจจุบันยังมีความหละหลวม ก่อให้เกิดโศกนาฎกรรม เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต และสร้างปัญหากระทบกับผู้ใช้รถใช้ถนนบ่อยครั้ง เกิดความสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ ขณะที่ภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงคมนาคม ยังคงแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ วัวหายล้อมคอก มากกว่าหามาตรการป้องกันอย่างเข้มงวด หากปล่อยให้การก่อสร้างดับเบิล เด็คเกิดขึ้นจริง เมื่อเกิดอุบัติเหตุซ้ำรอยในครั้งนี้เกิดขึ้นอีก ความพินาศฉิบหายของผู้ใช้ทางพิเศษ ที่มีจำนวนกว่า 1.8 ล้านคันต่อวันจะบรรลัยยิ่งขึ้นแน่นอน

    #Newskit
    ทางด่วนสองชั้น หายนะคนกรุงฯ เหตุคานสะพานทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 (Double Deck) ที่ก่อสร้างซ้อนทับอยู่บนทางพิเศษเฉลิมมหานคร ในโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่ 3 ทรุดตัวบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางดาวคะนอง แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ เมื่อคืนวันที่ 15 มี.ค. ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย สูญหาย 2 ราย บาดเจ็บ 27 ราย โครงสร้างทางพิเศษเฉลิมมหานคร ขาออก อายุกว่า 40 ปี พังลง 1 ช่วงเสา ต้องปิดการจราจรอย่างน้อย 1 เดือน นับเป็นอีกโศกนาฎกรรมจากการก่อสร้างทางยกระดับขนาดใหญ่ หลังเหตุการณ์คานสะพานถล่ม โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ที่สร้างคร่อมทางหลักบนถนนพระรามที่ 2 จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 มีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 9 คน ต้องปิดการจราจรเพื่อเคลียร์พื้นที่ก่อสร้างนานเกือบครึ่งเดือน ผ่านไปเพียงไม่ถึง 4 เดือนกลับเกิดอุบัติเหตุซ้ำรอย ท่ามกลางสังคมต่างถามหาความรับผิดชอบจากนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯ และ รมว.คมนาคม ถึงบัดนี้ผลการสอบสวนถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการก็ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะแต่อย่างใด ก่อนหน้านี้ นายสุริยะ และผู้บริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มีความพยายามผลักดันโครงการแก้ไขปัญหาจราจรบนทางพิเศษระยะที่ 1 ซึ่งจะมีการก่อสร้างโครงการทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 หรือ ดับเบิล เด็ค (Double Deck) ช่วงงามวงศ์วานถึงพระราม 9 ระยะทาง 17 กิโลเมตร โดยเจรจาให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน แลกกับการขยายระยะเวลาสัมปทานระบบทางด่วนขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ที่เพิ่งขยายสัญญาจากกรณีพิพาทค่าโง่ทางด่วน จากเดิมหมดลงในปี 2563 ไปสิ้นสุดในปี 2578 แต่บอกไม่ได้ว่ากี่ปี กลายเป็นที่วิจารณ์ว่าเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนหรือไม่ แทนที่สัญญาสัมปทานหมดลงแล้วจะได้ใช้ทางด่วนในราคาถูกลง อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทำให้น่าคิดว่า การทำทางด่วนดับเบิล เด็ค อาจไม่เหมาะสมในเวลานี้ หากมาตรฐานการก่อสร้างของผู้รับเหมาในปัจจุบันยังมีความหละหลวม ก่อให้เกิดโศกนาฎกรรม เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต และสร้างปัญหากระทบกับผู้ใช้รถใช้ถนนบ่อยครั้ง เกิดความสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ ขณะที่ภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงคมนาคม ยังคงแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ วัวหายล้อมคอก มากกว่าหามาตรการป้องกันอย่างเข้มงวด หากปล่อยให้การก่อสร้างดับเบิล เด็คเกิดขึ้นจริง เมื่อเกิดอุบัติเหตุซ้ำรอยในครั้งนี้เกิดขึ้นอีก ความพินาศฉิบหายของผู้ใช้ทางพิเศษ ที่มีจำนวนกว่า 1.8 ล้านคันต่อวันจะบรรลัยยิ่งขึ้นแน่นอน #Newskit
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 625 มุมมอง 0 รีวิว
  • บขส.ทำรถทัวร์ฟีดเดอร์ จากสนามบินปลายทางสู่ทะเล

    เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการสำหรับรถโดยสารเชื่อมต่อ (Feeder) ของบริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. เส้นทางจากท่าอากาศยานเชื่อมต่อไปยังจังหวัดต่างๆ นำร่อง 3 เส้นทาง ได้แก่ สาย 9905 ท่าอากาศยานดอนเมือง‐พัทยา ระยะทาง 162 กิโลเมตร, สาย 978 ท่าอากาศยานดอนเมือง‐หัวหิน ระยะทาง 216 กิโลเมตร และสาย 389 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-พัทยา ระยะทาง 127 กิโลเมตร เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารทั้งสองสนามบิน เดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวในเมืองหลัก เมืองรอง และเมืองน่าเที่ยวภายในประเทศ โดยเปิดเที่ยวรถปฐมฤกษ์ไปเมื่อวันที่ 8 มี.ค.2567 ที่ผ่านมา

    จากการสังเกตพบว่าเส้นทางที่ขายดีที่สุด ได้แก่ เส้นทางท่าอากาศยานดอนเมือง‐พัทยา เที่ยวปฐมฤกษ์มีผู้โดยสารค่อนข้างหนาแน่น ส่วนเส้นทางท่าอากาศยานดอนเมือง‐หัวหิน เที่ยวปฐมฤกษ์ เวลา 15.00 น. มีผู้โดยสาร 4 คน ถึงจุดจอดวัดหัวหิน 18.35 น. ส่วนเที่ยวปฐมฤกษ์จากต้นทางสถานีเดินรถหัวหิน รถออกเวลา 09.00 น. ถึงปลายทางท่าอากาศยานดอนเมือง เวลาประมาณ 12.50 น. ซึ่งการเดินรถขึ้นอยู่กับสภาพการจราจร เนื่องจากใช้ทางด่วนโทลล์เวย์ ทางด่วนเฉลิมมหานคร ต่อเนื่องถนนพระรามที่ 2 ที่กำลังก่อสร้างทางยกระดับตั้งแต่ทางลงดาวคะนองถึงทางแยกต่างระดับบ้านแพ้ว และถนนเพชรเกษม

    ส่วนเส้นทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-พัทยา ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเดินรถเอกชน อย่างบริษัท รถรุ่งเรือง จำกัด ให้บริการสาย 389 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-เมืองพัทยา ปลายทางสถานีขนส่งเทพประสิทธิ์ (หาดจอมเทียน) และสาย 789 หัวหิน-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-พัทยา (รถหมวด 3) ปลายทางสถานีขนส่งพัทยาเหนือ ซึ่งพบว่าเคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วของ บขส. ที่อาคารผู้โดยสาร ชั้น 1 ประตู 8 เคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วอยู่ติดกันเสียอีก แต่ปลายทางพัทยา บขส. ได้ก่อสร้างสถานีเดินรถพัทยา บริเวณถนนสุขุมวิท ขาออก ระหว่างแยกพัทยาเหนือกับพัทยากลาง ตรงข้ามศูนย์คณะพระมหาไถ่ รองรับผู้โดยสารไว้แล้ว

    การเชื่อมต่อการเดินทางแบบไร้รอยต่อระหว่างสนามบินไปยังเมืองท่องเที่ยว ถือเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ บขส. ร่วมกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เปิดให้บริการแก่ผู้โดยสารทั้งในและต่างประเทศ โดยได้กำหนดจุดจำหน่ายตั๋วโดยสารและจุดจอดรถ พร้อมประชาสัมพันธ์ภายในสนามบิน ที่ผ่านมาท่าอากาศยานดอนเมืองมีผู้โดยสารรวม 29.14 ล้านคน และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีผู้โดยสารรวม 59.99 ล้านคน นับจากนี้จะต้องดูผลตอบรับจากผู้โดยสาร ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนเวลาเดินรถ เพิ่มเที่ยวเวลา หรือเพิ่มเส้นทางไปยังเมืองหลัก เมืองท่องเที่ยว หรือเมืองรองต่างๆ เพิ่มเติม

    #Newskit
    บขส.ทำรถทัวร์ฟีดเดอร์ จากสนามบินปลายทางสู่ทะเล เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการสำหรับรถโดยสารเชื่อมต่อ (Feeder) ของบริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. เส้นทางจากท่าอากาศยานเชื่อมต่อไปยังจังหวัดต่างๆ นำร่อง 3 เส้นทาง ได้แก่ สาย 9905 ท่าอากาศยานดอนเมือง‐พัทยา ระยะทาง 162 กิโลเมตร, สาย 978 ท่าอากาศยานดอนเมือง‐หัวหิน ระยะทาง 216 กิโลเมตร และสาย 389 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-พัทยา ระยะทาง 127 กิโลเมตร เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารทั้งสองสนามบิน เดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวในเมืองหลัก เมืองรอง และเมืองน่าเที่ยวภายในประเทศ โดยเปิดเที่ยวรถปฐมฤกษ์ไปเมื่อวันที่ 8 มี.ค.2567 ที่ผ่านมา จากการสังเกตพบว่าเส้นทางที่ขายดีที่สุด ได้แก่ เส้นทางท่าอากาศยานดอนเมือง‐พัทยา เที่ยวปฐมฤกษ์มีผู้โดยสารค่อนข้างหนาแน่น ส่วนเส้นทางท่าอากาศยานดอนเมือง‐หัวหิน เที่ยวปฐมฤกษ์ เวลา 15.00 น. มีผู้โดยสาร 4 คน ถึงจุดจอดวัดหัวหิน 18.35 น. ส่วนเที่ยวปฐมฤกษ์จากต้นทางสถานีเดินรถหัวหิน รถออกเวลา 09.00 น. ถึงปลายทางท่าอากาศยานดอนเมือง เวลาประมาณ 12.50 น. ซึ่งการเดินรถขึ้นอยู่กับสภาพการจราจร เนื่องจากใช้ทางด่วนโทลล์เวย์ ทางด่วนเฉลิมมหานคร ต่อเนื่องถนนพระรามที่ 2 ที่กำลังก่อสร้างทางยกระดับตั้งแต่ทางลงดาวคะนองถึงทางแยกต่างระดับบ้านแพ้ว และถนนเพชรเกษม ส่วนเส้นทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-พัทยา ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเดินรถเอกชน อย่างบริษัท รถรุ่งเรือง จำกัด ให้บริการสาย 389 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-เมืองพัทยา ปลายทางสถานีขนส่งเทพประสิทธิ์ (หาดจอมเทียน) และสาย 789 หัวหิน-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-พัทยา (รถหมวด 3) ปลายทางสถานีขนส่งพัทยาเหนือ ซึ่งพบว่าเคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วของ บขส. ที่อาคารผู้โดยสาร ชั้น 1 ประตู 8 เคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วอยู่ติดกันเสียอีก แต่ปลายทางพัทยา บขส. ได้ก่อสร้างสถานีเดินรถพัทยา บริเวณถนนสุขุมวิท ขาออก ระหว่างแยกพัทยาเหนือกับพัทยากลาง ตรงข้ามศูนย์คณะพระมหาไถ่ รองรับผู้โดยสารไว้แล้ว การเชื่อมต่อการเดินทางแบบไร้รอยต่อระหว่างสนามบินไปยังเมืองท่องเที่ยว ถือเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ บขส. ร่วมกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เปิดให้บริการแก่ผู้โดยสารทั้งในและต่างประเทศ โดยได้กำหนดจุดจำหน่ายตั๋วโดยสารและจุดจอดรถ พร้อมประชาสัมพันธ์ภายในสนามบิน ที่ผ่านมาท่าอากาศยานดอนเมืองมีผู้โดยสารรวม 29.14 ล้านคน และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีผู้โดยสารรวม 59.99 ล้านคน นับจากนี้จะต้องดูผลตอบรับจากผู้โดยสาร ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนเวลาเดินรถ เพิ่มเที่ยวเวลา หรือเพิ่มเส้นทางไปยังเมืองหลัก เมืองท่องเที่ยว หรือเมืองรองต่างๆ เพิ่มเติม #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 455 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิดสะพานทศมราชัน สร้างมา 5 ปีกว่าจะมีวันนี้

    เวลา 09.09 น. วันที่ 29 ม.ค. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดสะพานทศมราชัน ที่ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษสุขสวัสดิ์ ระหว่างรอโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยก่อสร้างแล้วเสร็จ คิดค่าผ่านทางตามปกติของทางพิเศษเฉลิมมหานคร คาดว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรบนสะพานพระราม 9 จาก 100,470 คันต่อวัน ลดเหลือ 75,325 คันต่อวัน

    สำหรับความคืบหน้าโครงการฯ ตลอดสายทาง 18.7 กิโลเมตร ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2567 ภาพรวม 86.28% เร็วกว่าแผน 1.03% คาดว่าเปิดให้บริการประมาณปลายปี 2568 โดยขาออกกรุงเทพฯ จากทางพิเศษเฉลิมมหานคร และทางพิเศษศรีรัช ก่อนขึ้นสะพานทศมราชันต้องรับบัตรผ่านทางพิเศษที่ด่านบางโคล่ และจ่ายเงินที่ด่านปลายทาง โดยคิดค่าผ่านทางแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงดาวคะนอง-พระราม 3 และช่วงดาวคะนอง-วงแหวนฯ ตะวันตก ได้แก่ รถ 4 ล้อ ช่วงละ 30 บาท รถ 6-10 ล้อช่วงละ 60 บาท รถมากกว่า 10 ล้อช่วงละ 90 บาท

    สะพานทศมราชัน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ สัญญา 4 ลักษณะเป็นสะพานคู่ (Cable Stayed Bridge) แบบไม่มีเสาอยู่ในลำน้ำ ขนาด 8 ช่องจราจร ความยาว 781.2 เมตร รับแรงลมได้สูงถึง 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มูลค่าโครงการ 6,636.19 ล้านบาท ก่อสร้างโดย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นสัญญา 16 ม.ค. 2563 แล้วเสร็จตามสัญญาวันที่ 30 มี.ค. 2566 รวม 1,170 วัน ก่อนส่งมอบให้การทางพิเศษฯ

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “สะพานทศมราชัน” หมายถึง พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567 ไปประดิษฐานบนสะพานแห่งนี้ โดยเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสะพานทศมราชัน

    องค์ประกอบสถาปัตยกรรมของสะพาน ได้แก่ 1.ส่วนยอดของเสาสะพาน หมายถึง ฝ่าพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แสดงถึงความโอบอุ้มปกป้อง ให้ความรัก ความห่วงใย พสกนิกรต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือเกล้า 2.สายเคเบิลเป็นสีเหลือง สื่อถึงวันพระบรมราชสมภพคือวันจันทร์ 3.รูปปั้นพญานาคสีเหลืองทองอยู่บนโคนเสาสะพานทั้ง 4 ต้น ซึ่งเป็นราศีประจำปีมะโรง ปีพระบรมราชสมภพ เพื่อถวายอารักขาแด่พระองค์ 4.รั้วสะพานกันกระโดด ออกแบบให้เป็นลายดอกรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำพระองค์

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    เปิดสะพานทศมราชัน สร้างมา 5 ปีกว่าจะมีวันนี้ เวลา 09.09 น. วันที่ 29 ม.ค. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดสะพานทศมราชัน ที่ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษสุขสวัสดิ์ ระหว่างรอโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยก่อสร้างแล้วเสร็จ คิดค่าผ่านทางตามปกติของทางพิเศษเฉลิมมหานคร คาดว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรบนสะพานพระราม 9 จาก 100,470 คันต่อวัน ลดเหลือ 75,325 คันต่อวัน สำหรับความคืบหน้าโครงการฯ ตลอดสายทาง 18.7 กิโลเมตร ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2567 ภาพรวม 86.28% เร็วกว่าแผน 1.03% คาดว่าเปิดให้บริการประมาณปลายปี 2568 โดยขาออกกรุงเทพฯ จากทางพิเศษเฉลิมมหานคร และทางพิเศษศรีรัช ก่อนขึ้นสะพานทศมราชันต้องรับบัตรผ่านทางพิเศษที่ด่านบางโคล่ และจ่ายเงินที่ด่านปลายทาง โดยคิดค่าผ่านทางแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงดาวคะนอง-พระราม 3 และช่วงดาวคะนอง-วงแหวนฯ ตะวันตก ได้แก่ รถ 4 ล้อ ช่วงละ 30 บาท รถ 6-10 ล้อช่วงละ 60 บาท รถมากกว่า 10 ล้อช่วงละ 90 บาท สะพานทศมราชัน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ สัญญา 4 ลักษณะเป็นสะพานคู่ (Cable Stayed Bridge) แบบไม่มีเสาอยู่ในลำน้ำ ขนาด 8 ช่องจราจร ความยาว 781.2 เมตร รับแรงลมได้สูงถึง 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มูลค่าโครงการ 6,636.19 ล้านบาท ก่อสร้างโดย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นสัญญา 16 ม.ค. 2563 แล้วเสร็จตามสัญญาวันที่ 30 มี.ค. 2566 รวม 1,170 วัน ก่อนส่งมอบให้การทางพิเศษฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “สะพานทศมราชัน” หมายถึง พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567 ไปประดิษฐานบนสะพานแห่งนี้ โดยเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสะพานทศมราชัน องค์ประกอบสถาปัตยกรรมของสะพาน ได้แก่ 1.ส่วนยอดของเสาสะพาน หมายถึง ฝ่าพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แสดงถึงความโอบอุ้มปกป้อง ให้ความรัก ความห่วงใย พสกนิกรต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือเกล้า 2.สายเคเบิลเป็นสีเหลือง สื่อถึงวันพระบรมราชสมภพคือวันจันทร์ 3.รูปปั้นพญานาคสีเหลืองทองอยู่บนโคนเสาสะพานทั้ง 4 ต้น ซึ่งเป็นราศีประจำปีมะโรง ปีพระบรมราชสมภพ เพื่อถวายอารักขาแด่พระองค์ 4.รั้วสะพานกันกระโดด ออกแบบให้เป็นลายดอกรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำพระองค์ #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 830 มุมมอง 0 รีวิว
  • #ที่ดิน 102 ตรว.(+ 3 ตรว.) พร้อมบ้านไม้เก่า 1 หลัง เขตกรุงเทพฯชั้นใน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี ใกล้ BTS และ MRT
    - เลขที่ 39 ซอยสมเด็จเจ้าพระยาตากสิน 12 ถนนสมเด็จเจ้าพระยาตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กทม. ห่างจากจุดตัดถนนกรุงธนบุรี ตรงแยกตากสินถึงที่ดินระยะทาง 370 เมตร
    - ขายราคา 280,000 บาท/ตรว. 102 ตรว.+ รวมเป็นเงิน 28,560,000 บาท ค่าโอนฝ่ายละครึ่ง
    ********************************
    #ข้อมูลจำเพาะของที่ดิน
    - ผังเมืองสีน้ำตาล ย.9-22 (ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก)
    - หน้ากว้าง 20 เมตร ลึก 21 เมตร ติดถนนซอยตากสิน 12 ห่างจากถนนสมเด็จเจ้าพระยาตากสิน 120 เมตร
    - ห่างจากสถานีรถไฟฟ้า BTS วงเวียนใหญ่ ประมาณ 750 เมตร
    - ห่างจากสถานีรถไฟฟ้า BTS โพธิ์นิมิตร ประมาณ 720 เมตร
    - ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ MRT สำเหร่ (ตรงข้ามไปรษณีย์สำเหร่ แล้วสร็จปี 2571) ประมาณ 500 เมตร
    - เดินทางสะดวกด้วยรถโดยสาร รถรับจ้างสาธารณะ และ รถส่วนบุคคล ใกล้ด่านทางด่วน พระราม 3 พระราม 2 และ ด่านทางด่วน ถ.สีลม ถ.สาทร และ ถ.จันทน์
    - ใกล้ ถ.กรุงธนบุรี ถ.รัชดาภิเษก ถ.เจริญนคร ถ.ประชาธิปก ถ.สาทร- บางรัก
    - ใกล้ เดอะมอลล์ท่าพระ ห้างฯบิ๊กซีดาวคะนอง ไอคอนสยาม ท่าเรือคลองสาน ท่าเป๊ปซี่
    - ใกล้ รพ.สมิติเวช ธนบุรี รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า รพ.กรุงเทพคริสเตียน
    - สิ่งแวดล้อมดี บรรยากาศเงียบสงบเป็นส่วนตัว เพราะอยู่ในซอยไม่ลึกมากคนและยานพาหนะไม่พลุกพล่าน ความปลอดภัยสูง
    - ที่ดินเหมาะสำหรับปลูกบ้านพักอาศัย สร้างโฮสเทลสำหรับนักท่องเที่ยว B2B ทำโฮมออฟฟิศ ทาวน์เฮ้าส์ คลังสินค้าในเมือง และ อื่นๆ
    ********************************
    สนใจถามรายละเอียดเพิ่มเติม
    - คุณกรณ์ 083 061 4654
    - m.me/SBJ.kornkampee
    - พิกัดแปลงที่ดิน : 13.718644046460595, 100.48887519999998
    >> https://goo.gl/maps/SD7eShYWTXAfvgyw6

    #ที่ดินทำเลทอง #ใกล้ย่านธุรกิจ #โรงเรียน #โรงพยาบาล #โรงแรม #แหล่งท่องเที่ยว #ตลาดสด #สถานที่ราชการหลายแห่ง #เดินทางสะดวก #รถไฟฟ้า #ถนนตากสิน #BTS #MRT #เฉลิมมหานคร #วงเวียนใหญ่ #สำเหร
    #ที่ดิน 102 ตรว.(+ 3 ตรว.) พร้อมบ้านไม้เก่า 1 หลัง เขตกรุงเทพฯชั้นใน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี ใกล้ BTS และ MRT - เลขที่ 39 ซอยสมเด็จเจ้าพระยาตากสิน 12 ถนนสมเด็จเจ้าพระยาตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กทม. ห่างจากจุดตัดถนนกรุงธนบุรี ตรงแยกตากสินถึงที่ดินระยะทาง 370 เมตร - ขายราคา 280,000 บาท/ตรว. 102 ตรว.+ รวมเป็นเงิน 28,560,000 บาท ค่าโอนฝ่ายละครึ่ง ******************************** #ข้อมูลจำเพาะของที่ดิน - ผังเมืองสีน้ำตาล ย.9-22 (ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก) - หน้ากว้าง 20 เมตร ลึก 21 เมตร ติดถนนซอยตากสิน 12 ห่างจากถนนสมเด็จเจ้าพระยาตากสิน 120 เมตร - ห่างจากสถานีรถไฟฟ้า BTS วงเวียนใหญ่ ประมาณ 750 เมตร - ห่างจากสถานีรถไฟฟ้า BTS โพธิ์นิมิตร ประมาณ 720 เมตร - ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ MRT สำเหร่ (ตรงข้ามไปรษณีย์สำเหร่ แล้วสร็จปี 2571) ประมาณ 500 เมตร - เดินทางสะดวกด้วยรถโดยสาร รถรับจ้างสาธารณะ และ รถส่วนบุคคล ใกล้ด่านทางด่วน พระราม 3 พระราม 2 และ ด่านทางด่วน ถ.สีลม ถ.สาทร และ ถ.จันทน์ - ใกล้ ถ.กรุงธนบุรี ถ.รัชดาภิเษก ถ.เจริญนคร ถ.ประชาธิปก ถ.สาทร- บางรัก - ใกล้ เดอะมอลล์ท่าพระ ห้างฯบิ๊กซีดาวคะนอง ไอคอนสยาม ท่าเรือคลองสาน ท่าเป๊ปซี่ - ใกล้ รพ.สมิติเวช ธนบุรี รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า รพ.กรุงเทพคริสเตียน - สิ่งแวดล้อมดี บรรยากาศเงียบสงบเป็นส่วนตัว เพราะอยู่ในซอยไม่ลึกมากคนและยานพาหนะไม่พลุกพล่าน ความปลอดภัยสูง - ที่ดินเหมาะสำหรับปลูกบ้านพักอาศัย สร้างโฮสเทลสำหรับนักท่องเที่ยว B2B ทำโฮมออฟฟิศ ทาวน์เฮ้าส์ คลังสินค้าในเมือง และ อื่นๆ ******************************** สนใจถามรายละเอียดเพิ่มเติม - คุณกรณ์ 083 061 4654 - m.me/SBJ.kornkampee - พิกัดแปลงที่ดิน : 13.718644046460595, 100.48887519999998 >> https://goo.gl/maps/SD7eShYWTXAfvgyw6 #ที่ดินทำเลทอง #ใกล้ย่านธุรกิจ #โรงเรียน #โรงพยาบาล #โรงแรม #แหล่งท่องเที่ยว #ตลาดสด #สถานที่ราชการหลายแห่ง #เดินทางสะดวก #รถไฟฟ้า #ถนนตากสิน #BTS #MRT #เฉลิมมหานคร #วงเวียนใหญ่ #สำเหร
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1061 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันแบงค็อก กับห้าง‘หลง’ที่สุด

    จากความตั้งใจของเสี่ยเจริญ และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ที่อยากให้ประเทศไทยมีแลนด์มาร์คพิเศษ ที่ทำให้ชาวโลกรู้สึกชื่นชมที่จะนำความเจริญ และความภาคภูมิใจมาสู่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นำมาสู่ วันแบงค็อก (One Bangkok) โครงการอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ที่สุดในไทย มูลค่าการลงทุนกว่า 120,000 ล้านบาท บนที่ดินกว่า 108 ไร่ ซึ่งเช่าระยะยาวจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2567

    พื้นที่ค้าปลีกกว่า 190,000 ตารางเมตร ที่เปิดให้บริการมี 2 โซน ได้แก่ โซนพาเหรด (Parade) โซนเดอะสตอรี่ส์ (The Storeys) ที่ยังไม่เปิดคือโซนโพสต์ไนน์ทีนไนน์ตี้เอท (POST 1928) เสียงวิจารณ์ที่ตามมานอกจากทำถนนวิทยุ ถนนพระรามที่ 4 และถนนสาทร รถติดหนักกว่าเดิมแล้ว โครงการมิกซ์ยูสที่ใหญ่และแยกเป็นหลายอาคาร ทำให้คนที่มาเยือนครั้งแรกเกิดหลงทางทันที จากเดิมที่เซ็นทรัลเวิลด์ครองแชมป์เดินแล้วหลง เจอวันแบงค็อกเข้าไปต้องเรียกพี่

    แนะนำว่าถ้ามาครั้งแรก ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ลงสถานีลุมพินี ทางออก 1 ดีที่สุด มีทางเชื่อมใต้ดินไปยังโครงการ และจำไว้ว่า MRT ตั้งอยู่ในโซนพาเหรด ชั้น B1 อาคาร Tower 3 ฝั่งถนนพระรามที่ 4

    ชั้น B1 พบกับบิ๊กซีมินิ ร้านอาหาร เดินเลี้ยวขวาสุดทางเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตและฟู้ดฮอลล์สัญชาติญี่ปุ่น มิตซูโคชิ เดปาจิกะ (Mitsukoshi Depachika) ชั้น G เป็นลานพาเหรดสแควร์ (Parade Square) สำหรับจัดงานมินิคอนเสิร์ต ชั้น 1-2 เป็นคิงเพาเวอร์ ซิตี้บูติก (King Power City Boutique) จำหน่ายสินค้าดิวตี้ฟรี สินค้าซื้อแล้วรับกลับทันที ชั้น 3 เป็นห้างสารพัดไทย ของคิงเพาเวอร์ ชั้น 5 เป็นโรงภาพยนตร์วันอัลตร้าสกรีน (One Ultra Screen) และศูนย์อาหารฟู้ดสตรีท (Food Street)

    เดินไปทางซ้ายจะเป็นโซนเดอะสตอรี่ส์ ฝั่งถนนวิทยุ ประกอบด้วยร้านอาหาร ร้านค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ ซึ่งทั้งสองโซนจะเชื่อมถึงกัน ตรงกลางจะเป็นวันแบงค็อกพาร์ค (One Bangkok Park) พื้นที่จัดกิจกรรมกลางแจ้ง ทางเข้าอาคาร Tower 4

    ถัดไปจะเป็นวันแบงค็อกบูเลอวาร์ด (One Bangkok Boulevard) อาคารโพสต์ไนน์ทีนไนน์ตี้เอท อาคาร Tower 5 และอาคารวันแบงค็อกฟอรั่ม (One Bangkok Forum) ศูนย์ประชุมและจัดคอนเสิร์ต โดยชั้น G มีบิ๊กซี บางกอก มาร์เช่ (Big C Bangkok Marché) โมเดลฟู้ดเพลสรูปแบบใหม่ แต่ยังไม่เปิดเต็มรูปแบบ อยู่ใกล้ทางเชื่อมทางด่วนเฉลิมมหานคร ด่านลุมพินีมากที่สุด นับจากนี้จะมีโรงแรม เซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ตามมา และอาคารสูงที่สุดในประเทศไทย ปี 2569

    #Newskit #OneBangkok
    วันแบงค็อก กับห้าง‘หลง’ที่สุด จากความตั้งใจของเสี่ยเจริญ และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ที่อยากให้ประเทศไทยมีแลนด์มาร์คพิเศษ ที่ทำให้ชาวโลกรู้สึกชื่นชมที่จะนำความเจริญ และความภาคภูมิใจมาสู่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นำมาสู่ วันแบงค็อก (One Bangkok) โครงการอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ที่สุดในไทย มูลค่าการลงทุนกว่า 120,000 ล้านบาท บนที่ดินกว่า 108 ไร่ ซึ่งเช่าระยะยาวจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2567 พื้นที่ค้าปลีกกว่า 190,000 ตารางเมตร ที่เปิดให้บริการมี 2 โซน ได้แก่ โซนพาเหรด (Parade) โซนเดอะสตอรี่ส์ (The Storeys) ที่ยังไม่เปิดคือโซนโพสต์ไนน์ทีนไนน์ตี้เอท (POST 1928) เสียงวิจารณ์ที่ตามมานอกจากทำถนนวิทยุ ถนนพระรามที่ 4 และถนนสาทร รถติดหนักกว่าเดิมแล้ว โครงการมิกซ์ยูสที่ใหญ่และแยกเป็นหลายอาคาร ทำให้คนที่มาเยือนครั้งแรกเกิดหลงทางทันที จากเดิมที่เซ็นทรัลเวิลด์ครองแชมป์เดินแล้วหลง เจอวันแบงค็อกเข้าไปต้องเรียกพี่ แนะนำว่าถ้ามาครั้งแรก ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ลงสถานีลุมพินี ทางออก 1 ดีที่สุด มีทางเชื่อมใต้ดินไปยังโครงการ และจำไว้ว่า MRT ตั้งอยู่ในโซนพาเหรด ชั้น B1 อาคาร Tower 3 ฝั่งถนนพระรามที่ 4 ชั้น B1 พบกับบิ๊กซีมินิ ร้านอาหาร เดินเลี้ยวขวาสุดทางเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตและฟู้ดฮอลล์สัญชาติญี่ปุ่น มิตซูโคชิ เดปาจิกะ (Mitsukoshi Depachika) ชั้น G เป็นลานพาเหรดสแควร์ (Parade Square) สำหรับจัดงานมินิคอนเสิร์ต ชั้น 1-2 เป็นคิงเพาเวอร์ ซิตี้บูติก (King Power City Boutique) จำหน่ายสินค้าดิวตี้ฟรี สินค้าซื้อแล้วรับกลับทันที ชั้น 3 เป็นห้างสารพัดไทย ของคิงเพาเวอร์ ชั้น 5 เป็นโรงภาพยนตร์วันอัลตร้าสกรีน (One Ultra Screen) และศูนย์อาหารฟู้ดสตรีท (Food Street) เดินไปทางซ้ายจะเป็นโซนเดอะสตอรี่ส์ ฝั่งถนนวิทยุ ประกอบด้วยร้านอาหาร ร้านค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ ซึ่งทั้งสองโซนจะเชื่อมถึงกัน ตรงกลางจะเป็นวันแบงค็อกพาร์ค (One Bangkok Park) พื้นที่จัดกิจกรรมกลางแจ้ง ทางเข้าอาคาร Tower 4 ถัดไปจะเป็นวันแบงค็อกบูเลอวาร์ด (One Bangkok Boulevard) อาคารโพสต์ไนน์ทีนไนน์ตี้เอท อาคาร Tower 5 และอาคารวันแบงค็อกฟอรั่ม (One Bangkok Forum) ศูนย์ประชุมและจัดคอนเสิร์ต โดยชั้น G มีบิ๊กซี บางกอก มาร์เช่ (Big C Bangkok Marché) โมเดลฟู้ดเพลสรูปแบบใหม่ แต่ยังไม่เปิดเต็มรูปแบบ อยู่ใกล้ทางเชื่อมทางด่วนเฉลิมมหานคร ด่านลุมพินีมากที่สุด นับจากนี้จะมีโรงแรม เซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ตามมา และอาคารสูงที่สุดในประเทศไทย ปี 2569 #Newskit #OneBangkok
    Like
    Love
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1186 มุมมอง 0 รีวิว