• เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นหูคุ้นตากับ ‘คทาหรูอี้’ (หรูอี้/如意 แปลตรงตัวได้ว่า สมดังปรารถนา) บริบทที่เรามักเห็นในนิยาย/ละครจีนบ่อยๆ คือ ฮ่องเต้พระราชทานคทาหรูอี้หยกให้เป็นรางวัลต่อขุนนาง หรือบุรุษสูงศักดิ์มอบคทาหรูอี้ให้สตรีที่ถูกเลือกเป็นภรรยา อย่างเช่นตัวอย่างภาพประกอบยกมาจากละคร <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ตอนที่องค์ชายหงอี้ทรงเลือกชิงอิงเป็นพระชายา (รูปประกอบ1 ซ้าย) หรือเป็นวัตถุมงคลเหมาะกับการมอบให้เป็นของขวัญ

    เคยมีคนเขียนถึงคทาหรูอี้มาแล้วบ้าง ด้วยความหมายที่กล่าวถึงข้างต้น และเพื่อนเพจอาจเคยคุ้นกับการที่มีคทาหรูอี้ปรากฏในรูปภาพและรูปปั้นเทพเจ้าจีน และนักบวชนิยมถือคทาหรูอี้ยามสวดมนต์ ว่ากันว่าการใช้คทาหรูอี้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนานั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโบราณ

    แต่วันนี้ Storyฯ มาคุยเกี่ยวกับคทาหรูอี้ในอีกแง่มุมหนึ่ง... เพื่อนเพจเคยสงสัยเหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า เข้าใจล่ะว่าชื่อเป็นมงคล แต่คทาหรูอี้ออกจะเทอะทะ... มันไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากตั้งโชว์หรือถือไว้เท่ๆ เลยหรือ?

    จากภาพวาดโบราณ (รูปประกอบ 1 ขวา) จะเห็นว่าคทาหรูอี้เป็นของใช้ติดมือของชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้แก่ผู้เฒ่า... แสดงว่ามันต้องมีประโยชน์สิน่ะ เพื่อนเพจพอจะเดากันออกหรือไม่?

    จากข้อมูลที่ทางพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามรวบรวมได้ คทาหรูอี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 206 ก่อนคริสตศักราช - ปีค.ศ. 220) เดิมถูกใช้เป็นไม้เกาหลัง เรียกว่า ‘หรูอี้’ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘ไม่ง้อใคร’ (不求人/ปู้ฉิวเหริน) แรกเริ่มมีรูปทรงคล้ายมือ โดยในบันทึกสมัยราชวงศ์ชิง (事物异名录/ซื่ออู้อี้หมิงลู่) ได้เขียนไว้ว่า “หรูอี้นั้นไซร้ เป็นไม้กรงเล็บ”

    นอกจากนี้ ยังมีบทความสมัยราชวงศ์เหนือใต้ว่ามีการใช้คทาหรูอี้เป็นไม้ส่งสัญญาณเคลื่อนทัพในยามศึก นัยว่าเพื่อให้ชนะศึกได้ดังใจหมาย

    คทาหรูอี้กลายเป็นวัตถุประจำตัวที่คนนิยมพกพาเพราะชื่อเป็นมงคลและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวก็ได้ จึงพัฒนารูปแบบให้สวยงามมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นั้นใช้กันแพร่หลายในหลายแคว้นทั้งในวังและนอกวัง โดยสมัยนั้นนิยมให้ด้ามจับโค้งเป็นทรงกลุ่มดาวจระเข้ ตัวด้ามกลมมนเพื่อให้จับถนัดมือ ทำจากไม้ ไม้ไผ่หรือโลหะ มีใช้กันตั้งแต่ในวังยันชาวบ้านธรรมดานอกวัง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังจึงทำด้ามจับให้แบนลงและเป็นเส้นตรง โค้งที่ปลายหัว

    นานวันเข้า เมื่อถึงสมัยหมิงและชิง คทาหรูอี้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในฐานะวัตถุมงคลที่ใช้ประดับบ้านเรือนหรือของขวัญ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรมีในสินสอดของหมั้นของแต่งงาน จึงมีรูปแบบที่วิจิตรขึ้น รูปทรงที่เราคุ้นตาคือหัวเป็นทรงเห็ดหลินจือ โดยเฉพาะในยุคสมัยชิงนั้น คทาหรูอี้เป็นที่นิยมมากในวัง ไม่ว่าจะในงานราชประเพณี การแต่งตั้งขุนนาง การรับทูตจากต่างแดน ฯลฯ ล้วนต้องมีการถือคทาหรูอี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล

    ปัจจุบันในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามมีการเก็บรักษาคทาหรูอี้โบราณไว้กว่าสองพันชิ้นโดยส่วนใหญ่เป็นของสมัยชิง วัสดุที่ใช้ทำคทาหรูอี้นั้นหลากหลาย มีทั้งหยกชนิดต่างๆ ปะการัง ทองคำ เงิน ทองเหลือง งาช้าง ไม้ไผ่และไม้ชนิดต่างๆ และมีการแกะสลักลวดลายมากมายลงบนคทา

    Storyฯ เคยไปเที่ยวเมื่อนานมากแล้ว จำไม่ได้เลยว่าได้เคยเห็นอะไรในพิพิธภัณฑ์นี้บ้าง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.jianshu.com/p/faa99f5d9868
    https://new.qq.com/rain/a/20211210A027EU00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.mct.gov.cn/whzx/zsdw/ggbwy/202102/t20210210_921534.htm
    https://www.sohu.com/a/508658629_322551
    https://baike.baidu.com/item/如意/254746
    https://new.qq.com/rain/a/20220728A054CG00

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #คทาหรูอี้ #วัตถุมงคลจีน #ไม้เกาหลัง
    เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นหูคุ้นตากับ ‘คทาหรูอี้’ (หรูอี้/如意 แปลตรงตัวได้ว่า สมดังปรารถนา) บริบทที่เรามักเห็นในนิยาย/ละครจีนบ่อยๆ คือ ฮ่องเต้พระราชทานคทาหรูอี้หยกให้เป็นรางวัลต่อขุนนาง หรือบุรุษสูงศักดิ์มอบคทาหรูอี้ให้สตรีที่ถูกเลือกเป็นภรรยา อย่างเช่นตัวอย่างภาพประกอบยกมาจากละคร <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ตอนที่องค์ชายหงอี้ทรงเลือกชิงอิงเป็นพระชายา (รูปประกอบ1 ซ้าย) หรือเป็นวัตถุมงคลเหมาะกับการมอบให้เป็นของขวัญ เคยมีคนเขียนถึงคทาหรูอี้มาแล้วบ้าง ด้วยความหมายที่กล่าวถึงข้างต้น และเพื่อนเพจอาจเคยคุ้นกับการที่มีคทาหรูอี้ปรากฏในรูปภาพและรูปปั้นเทพเจ้าจีน และนักบวชนิยมถือคทาหรูอี้ยามสวดมนต์ ว่ากันว่าการใช้คทาหรูอี้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนานั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโบราณ แต่วันนี้ Storyฯ มาคุยเกี่ยวกับคทาหรูอี้ในอีกแง่มุมหนึ่ง... เพื่อนเพจเคยสงสัยเหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า เข้าใจล่ะว่าชื่อเป็นมงคล แต่คทาหรูอี้ออกจะเทอะทะ... มันไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากตั้งโชว์หรือถือไว้เท่ๆ เลยหรือ? จากภาพวาดโบราณ (รูปประกอบ 1 ขวา) จะเห็นว่าคทาหรูอี้เป็นของใช้ติดมือของชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้แก่ผู้เฒ่า... แสดงว่ามันต้องมีประโยชน์สิน่ะ เพื่อนเพจพอจะเดากันออกหรือไม่? จากข้อมูลที่ทางพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามรวบรวมได้ คทาหรูอี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 206 ก่อนคริสตศักราช - ปีค.ศ. 220) เดิมถูกใช้เป็นไม้เกาหลัง เรียกว่า ‘หรูอี้’ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘ไม่ง้อใคร’ (不求人/ปู้ฉิวเหริน) แรกเริ่มมีรูปทรงคล้ายมือ โดยในบันทึกสมัยราชวงศ์ชิง (事物异名录/ซื่ออู้อี้หมิงลู่) ได้เขียนไว้ว่า “หรูอี้นั้นไซร้ เป็นไม้กรงเล็บ” นอกจากนี้ ยังมีบทความสมัยราชวงศ์เหนือใต้ว่ามีการใช้คทาหรูอี้เป็นไม้ส่งสัญญาณเคลื่อนทัพในยามศึก นัยว่าเพื่อให้ชนะศึกได้ดังใจหมาย คทาหรูอี้กลายเป็นวัตถุประจำตัวที่คนนิยมพกพาเพราะชื่อเป็นมงคลและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวก็ได้ จึงพัฒนารูปแบบให้สวยงามมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นั้นใช้กันแพร่หลายในหลายแคว้นทั้งในวังและนอกวัง โดยสมัยนั้นนิยมให้ด้ามจับโค้งเป็นทรงกลุ่มดาวจระเข้ ตัวด้ามกลมมนเพื่อให้จับถนัดมือ ทำจากไม้ ไม้ไผ่หรือโลหะ มีใช้กันตั้งแต่ในวังยันชาวบ้านธรรมดานอกวัง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังจึงทำด้ามจับให้แบนลงและเป็นเส้นตรง โค้งที่ปลายหัว นานวันเข้า เมื่อถึงสมัยหมิงและชิง คทาหรูอี้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในฐานะวัตถุมงคลที่ใช้ประดับบ้านเรือนหรือของขวัญ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรมีในสินสอดของหมั้นของแต่งงาน จึงมีรูปแบบที่วิจิตรขึ้น รูปทรงที่เราคุ้นตาคือหัวเป็นทรงเห็ดหลินจือ โดยเฉพาะในยุคสมัยชิงนั้น คทาหรูอี้เป็นที่นิยมมากในวัง ไม่ว่าจะในงานราชประเพณี การแต่งตั้งขุนนาง การรับทูตจากต่างแดน ฯลฯ ล้วนต้องมีการถือคทาหรูอี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล ปัจจุบันในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามมีการเก็บรักษาคทาหรูอี้โบราณไว้กว่าสองพันชิ้นโดยส่วนใหญ่เป็นของสมัยชิง วัสดุที่ใช้ทำคทาหรูอี้นั้นหลากหลาย มีทั้งหยกชนิดต่างๆ ปะการัง ทองคำ เงิน ทองเหลือง งาช้าง ไม้ไผ่และไม้ชนิดต่างๆ และมีการแกะสลักลวดลายมากมายลงบนคทา Storyฯ เคยไปเที่ยวเมื่อนานมากแล้ว จำไม่ได้เลยว่าได้เคยเห็นอะไรในพิพิธภัณฑ์นี้บ้าง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.jianshu.com/p/faa99f5d9868 https://new.qq.com/rain/a/20211210A027EU00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.mct.gov.cn/whzx/zsdw/ggbwy/202102/t20210210_921534.htm https://www.sohu.com/a/508658629_322551 https://baike.baidu.com/item/如意/254746 https://new.qq.com/rain/a/20220728A054CG00 #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #คทาหรูอี้ #วัตถุมงคลจีน #ไม้เกาหลัง
    WWW.JIANSHU.COM
    【如懿传|如懿】年少情深,也可以走到相看两厌
    一出墙头马上,两心相许。山河依旧,唯人兰因絮果。 如懿的一生都把真心付给了自己的少年郎,年少时的扶持,无人之巅的陪伴,病榻前的守护,相比于甄嬛,她更加令人心疼。 执着勇敢是她...
    Like
    1
    2 Comments 0 Shares 226 Views 0 Reviews
  • ทางขึ้นบ่อเหล็กน้ำพี้หรือพิพิธภัณฑ์บ่อเหล็กน้ำพี้
    ทางขึ้นบ่อเหล็กน้ำพี้หรือพิพิธภัณฑ์บ่อเหล็กน้ำพี้
    0 Comments 0 Shares 89 Views 0 0 Reviews
  • พิพิธภัณฑ์บ่อเหล็กน้ำพี้
    พิพิธภัณฑ์บ่อเหล็กน้ำพี้
    0 Comments 0 Shares 94 Views 0 0 Reviews
  • 🌍 อียิปต์ (ไคโร-อเล็กซานเดรีย) 🏺
    10-15 ต.ค. 68
    ราคา 59,999 บาท 💥
    เดินทางโดย QR-กาตาร์แอร์เวย์ ✈️
    จำนวนวัน: 6 วัน 4 คืน 🗓️

    🚶‍♂️ ท่องเที่ยว 2 เมืองสุดคลาสสิคในอียิปต์

    ไคโร 🏙️ ชม พิระมิดแห่งกีซ่า และ พิพิธภัณฑ์อียิปต์ 🏛️

    อเล็กซานเดรีย 🌊 สัมผัสบรรยากาศริมทะเลและสถานที่ทางประวัติศาสตร์ 🏰

    📅 รีบจองด่วน! ที่นั่งมีจำนวนจำกัด! ⏳

    #ทัวร์อียิปต์ #เที่ยวอียิปต์ #ไคโร #อเล็กซานเดรีย #กาตาร์แอร์เวย์ #ท่องเที่ยวอียิปต์ #ทัวร์ราคาพิเศษ #ทัวร์อียิปต์2025 #การเดินทาง

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
    https://78s.me/ef7384

    ดูทัวร์อียิปต์ทั้งหมดได้ที่
    https://78s.me/cfda4b

    LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307
    Facebook: etravelway 78s.me/8a4061
    Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5
    Tiktok : https://78s.me/543eb9
    📷: etravelway 78s.me/05e8da
    ☎️: 0 2116 6395
    🌍 อียิปต์ (ไคโร-อเล็กซานเดรีย) 🏺 10-15 ต.ค. 68 ราคา 59,999 บาท 💥 เดินทางโดย QR-กาตาร์แอร์เวย์ ✈️ จำนวนวัน: 6 วัน 4 คืน 🗓️ 🚶‍♂️ ท่องเที่ยว 2 เมืองสุดคลาสสิคในอียิปต์ ไคโร 🏙️ ชม พิระมิดแห่งกีซ่า และ พิพิธภัณฑ์อียิปต์ 🏛️ อเล็กซานเดรีย 🌊 สัมผัสบรรยากาศริมทะเลและสถานที่ทางประวัติศาสตร์ 🏰 📅 รีบจองด่วน! ที่นั่งมีจำนวนจำกัด! ⏳ #ทัวร์อียิปต์ #เที่ยวอียิปต์ #ไคโร #อเล็กซานเดรีย #กาตาร์แอร์เวย์ #ท่องเที่ยวอียิปต์ #ทัวร์ราคาพิเศษ #ทัวร์อียิปต์2025 #การเดินทาง ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://78s.me/ef7384 ดูทัวร์อียิปต์ทั้งหมดได้ที่ https://78s.me/cfda4b LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307 Facebook: etravelway 78s.me/8a4061 Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5 Tiktok : https://78s.me/543eb9 📷: etravelway 78s.me/05e8da ☎️: 0 2116 6395
    0 Comments 0 Shares 218 Views 0 Reviews
  • 🌍 อียิปต์ (ไคโร-อเล็กซานเดรีย) 🏺
    10-15 ต.ค. 68
    ราคา 59,999 บาท 💥
    เดินทางโดย QR-กาตาร์แอร์เวย์ ✈️
    จำนวนวัน: 6 วัน 4 คืน 🗓️

    🚶‍♂️ ท่องเที่ยว 2 เมืองสุดคลาสสิคในอียิปต์

    ไคโร 🏙️ ชม พิระมิดแห่งกีซ่า และ พิพิธภัณฑ์อียิปต์ 🏛️

    อเล็กซานเดรีย 🌊 สัมผัสบรรยากาศริมทะเลและสถานที่ทางประวัติศาสตร์ 🏰

    📅 รีบจองด่วน! ที่นั่งมีจำนวนจำกัด! ⏳

    #ทัวร์อียิปต์ #เที่ยวอียิปต์ #ไคโร #อเล็กซานเดรีย #กาตาร์แอร์เวย์ #ท่องเที่ยวอียิปต์ #ทัวร์ราคาพิเศษ #ทัวร์อียิปต์2025 #การเดินทาง

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
    https://78s.me/ef7384

    ดูทัวร์อียิปต์ทั้งหมดได้ที่
    https://78s.me/cfda4b

    LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307
    Facebook: etravelway 78s.me/8a4061
    Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5
    Tiktok : https://78s.me/543eb9
    📷: etravelway 78s.me/05e8da
    ☎️: 0 2116 6395

    #ทัวร์อียิปต์
    🌍 อียิปต์ (ไคโร-อเล็กซานเดรีย) 🏺 10-15 ต.ค. 68 ราคา 59,999 บาท 💥 เดินทางโดย QR-กาตาร์แอร์เวย์ ✈️ จำนวนวัน: 6 วัน 4 คืน 🗓️ 🚶‍♂️ ท่องเที่ยว 2 เมืองสุดคลาสสิคในอียิปต์ ไคโร 🏙️ ชม พิระมิดแห่งกีซ่า และ พิพิธภัณฑ์อียิปต์ 🏛️ อเล็กซานเดรีย 🌊 สัมผัสบรรยากาศริมทะเลและสถานที่ทางประวัติศาสตร์ 🏰 📅 รีบจองด่วน! ที่นั่งมีจำนวนจำกัด! ⏳ #ทัวร์อียิปต์ #เที่ยวอียิปต์ #ไคโร #อเล็กซานเดรีย #กาตาร์แอร์เวย์ #ท่องเที่ยวอียิปต์ #ทัวร์ราคาพิเศษ #ทัวร์อียิปต์2025 #การเดินทาง ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://78s.me/ef7384 ดูทัวร์อียิปต์ทั้งหมดได้ที่ https://78s.me/cfda4b LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307 Facebook: etravelway 78s.me/8a4061 Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5 Tiktok : https://78s.me/543eb9 📷: etravelway 78s.me/05e8da ☎️: 0 2116 6395 #ทัวร์อียิปต์
    0 Comments 0 Shares 211 Views 0 Reviews
  • 🇯🇵✨ ทัวร์ญี่ปุ่นสุดคุ้ม! ✨🇯🇵
    พัก MARROAD NARITA หรือโรงแรม 3 ดาวเทียบเท่า 🏨 เพลิดเพลินกับ อิสระท่องเที่ยวตามอัธยาศัย หรือเลือกซื้อ ทัวร์เสริม🏰
    👑 **เที่ยวโตเกียวดิสนีย์แลนด์ 🏰

    🎉 ทัวร์ญี่ปุ่นสุดพิเศษ
    - 3 วัดอาซากุสะ** 🏯
    - ถนนนากามิเซะ** 🏙️
    - ล่องเรือทะเลสาบฮาโกเน่ 🚤
    - พิพิธภัณฑ์แผ่นดินไหว 🌍
    - ช้อปปิ้ง Duty Free 🛍️

    🍣 DADU FUJI RESORT หรือโรงแรม 3 ดาวเทียบเท่า
    - พักผ่อนใน Onsen 🌊 และอิ่มอร่อยกับ Buffet ขาปู 🦀
    - 4 ชม. กันดั้มโอไดบะไดเวอร์ซิตี้ 🤖
    - ช้อปปิ้งที่ ชินจุกุ 🛒

    ✈️ เดินทางสู่สนามบินนาริตะ พร้อมความประทับใจจากทัวร์สุดพิเศษนี้! 🛫

    #ทัวร์ญี่ปุ่น #เที่ยวญี่ปุ่น #MARROADNARITA #โตเกียวดิสนีย์แลนด์ #วัดอาซากุสะ #ทะเลสาบฮาโกเน่ #ช้อปปิ้งญี่ปุ่น #Onsen #Buffetขาปู #DADUFUJIRESORT #DutyFree #ทัวร์ญี่ปุ่นราคาพิเศษ

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
    https://78s.me/e8be22

    ดูทัวร์ญี่ปุ่นทั้งหมดได้ที่
    https://78s.me/a32eb2

    LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307
    Facebook: etravelway 78s.me/8a4061
    Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5
    Tiktok : https://78s.me/543eb9
    📷: etravelway 78s.me/05e8da
    ☎️: 0 2116 6395
    🇯🇵✨ ทัวร์ญี่ปุ่นสุดคุ้ม! ✨🇯🇵 พัก MARROAD NARITA หรือโรงแรม 3 ดาวเทียบเท่า 🏨 เพลิดเพลินกับ อิสระท่องเที่ยวตามอัธยาศัย หรือเลือกซื้อ ทัวร์เสริม🏰 👑 **เที่ยวโตเกียวดิสนีย์แลนด์ 🏰 🎉 ทัวร์ญี่ปุ่นสุดพิเศษ - 3 วัดอาซากุสะ** 🏯 - ถนนนากามิเซะ** 🏙️ - ล่องเรือทะเลสาบฮาโกเน่ 🚤 - พิพิธภัณฑ์แผ่นดินไหว 🌍 - ช้อปปิ้ง Duty Free 🛍️ 🍣 DADU FUJI RESORT หรือโรงแรม 3 ดาวเทียบเท่า - พักผ่อนใน Onsen 🌊 และอิ่มอร่อยกับ Buffet ขาปู 🦀 - 4 ชม. กันดั้มโอไดบะไดเวอร์ซิตี้ 🤖 - ช้อปปิ้งที่ ชินจุกุ 🛒 ✈️ เดินทางสู่สนามบินนาริตะ พร้อมความประทับใจจากทัวร์สุดพิเศษนี้! 🛫 #ทัวร์ญี่ปุ่น #เที่ยวญี่ปุ่น #MARROADNARITA #โตเกียวดิสนีย์แลนด์ #วัดอาซากุสะ #ทะเลสาบฮาโกเน่ #ช้อปปิ้งญี่ปุ่น #Onsen #Buffetขาปู #DADUFUJIRESORT #DutyFree #ทัวร์ญี่ปุ่นราคาพิเศษ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://78s.me/e8be22 ดูทัวร์ญี่ปุ่นทั้งหมดได้ที่ https://78s.me/a32eb2 LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307 Facebook: etravelway 78s.me/8a4061 Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5 Tiktok : https://78s.me/543eb9 📷: etravelway 78s.me/05e8da ☎️: 0 2116 6395
    0 Comments 0 Shares 417 Views 0 Reviews
  • 🇯🇵✨ ทัวร์ญี่ปุ่นสุดคุ้ม! ✨🇯🇵
    พัก MARROAD NARITA หรือโรงแรม 3 ดาวเทียบเท่า 🏨 เพลิดเพลินกับ อิสระท่องเที่ยวตามอัธยาศัย หรือเลือกซื้อ ทัวร์เสริม🏰
    👑 **เที่ยวโตเกียวดิสนีย์แลนด์ 🏰

    🎉 ทัวร์ญี่ปุ่นสุดพิเศษ
    - 3 วัดอาซากุสะ** 🏯
    - ถนนนากามิเซะ** 🏙️
    - ล่องเรือทะเลสาบฮาโกเน่ 🚤
    - พิพิธภัณฑ์แผ่นดินไหว 🌍
    - ช้อปปิ้ง Duty Free 🛍️

    🍣 DADU FUJI RESORT หรือโรงแรม 3 ดาวเทียบเท่า
    - พักผ่อนใน Onsen 🌊 และอิ่มอร่อยกับ Buffet ขาปู 🦀
    - 4 ชม. กันดั้มโอไดบะไดเวอร์ซิตี้ 🤖
    - ช้อปปิ้งที่ ชินจุกุ 🛒

    ✈️ เดินทางสู่สนามบินนาริตะ พร้อมความประทับใจจากทัวร์สุดพิเศษนี้! 🛫

    #ทัวร์ญี่ปุ่น #เที่ยวญี่ปุ่น #MARROADNARITA #โตเกียวดิสนีย์แลนด์ #วัดอาซากุสะ #ทะเลสาบฮาโกเน่ #ช้อปปิ้งญี่ปุ่น #Onsen #Buffetขาปู #DADUFUJIRESORT #DutyFree #ทัวร์ญี่ปุ่นราคาพิเศษ

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
    https://78s.me/e8be22

    ดูทัวร์ญี่ปุ่นทั้งหมดได้ที่
    https://78s.me/a32eb2

    LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307
    Facebook: etravelway 78s.me/8a4061
    Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5
    Tiktok : https://78s.me/543eb9
    📷: etravelway 78s.me/05e8da
    ☎️: 0 2116 6395

    #ทัวร์ญี่ปุ่น #ทัวร์ต่างประเทศ #ทัวร์โปรไฟไหม้ #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ที่หลุด #ท่องเที่ยว #เที่ยว #ทัวร์ทั่วโลก #linetoday #linetimeline #linevoom #line #etravelway #ทัวร์ยุโรป #ทัวร์พรีเมี่ยม #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ราคาถูก #ทัวร์ถูก #ทัวร์คุณภาพ #ทัวร์สุดคุ้ม #แพคเกจทัวร์ต่างประเทศ #กรุ๊ปเหมา
    🇯🇵✨ ทัวร์ญี่ปุ่นสุดคุ้ม! ✨🇯🇵 พัก MARROAD NARITA หรือโรงแรม 3 ดาวเทียบเท่า 🏨 เพลิดเพลินกับ อิสระท่องเที่ยวตามอัธยาศัย หรือเลือกซื้อ ทัวร์เสริม🏰 👑 **เที่ยวโตเกียวดิสนีย์แลนด์ 🏰 🎉 ทัวร์ญี่ปุ่นสุดพิเศษ - 3 วัดอาซากุสะ** 🏯 - ถนนนากามิเซะ** 🏙️ - ล่องเรือทะเลสาบฮาโกเน่ 🚤 - พิพิธภัณฑ์แผ่นดินไหว 🌍 - ช้อปปิ้ง Duty Free 🛍️ 🍣 DADU FUJI RESORT หรือโรงแรม 3 ดาวเทียบเท่า - พักผ่อนใน Onsen 🌊 และอิ่มอร่อยกับ Buffet ขาปู 🦀 - 4 ชม. กันดั้มโอไดบะไดเวอร์ซิตี้ 🤖 - ช้อปปิ้งที่ ชินจุกุ 🛒 ✈️ เดินทางสู่สนามบินนาริตะ พร้อมความประทับใจจากทัวร์สุดพิเศษนี้! 🛫 #ทัวร์ญี่ปุ่น #เที่ยวญี่ปุ่น #MARROADNARITA #โตเกียวดิสนีย์แลนด์ #วัดอาซากุสะ #ทะเลสาบฮาโกเน่ #ช้อปปิ้งญี่ปุ่น #Onsen #Buffetขาปู #DADUFUJIRESORT #DutyFree #ทัวร์ญี่ปุ่นราคาพิเศษ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://78s.me/e8be22 ดูทัวร์ญี่ปุ่นทั้งหมดได้ที่ https://78s.me/a32eb2 LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307 Facebook: etravelway 78s.me/8a4061 Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5 Tiktok : https://78s.me/543eb9 📷: etravelway 78s.me/05e8da ☎️: 0 2116 6395 #ทัวร์ญี่ปุ่น #ทัวร์ต่างประเทศ #ทัวร์โปรไฟไหม้ #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ที่หลุด #ท่องเที่ยว #เที่ยว #ทัวร์ทั่วโลก #linetoday #linetimeline #linevoom #line #etravelway #ทัวร์ยุโรป #ทัวร์พรีเมี่ยม #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ราคาถูก #ทัวร์ถูก #ทัวร์คุณภาพ #ทัวร์สุดคุ้ม #แพคเกจทัวร์ต่างประเทศ #กรุ๊ปเหมา
    0 Comments 0 Shares 570 Views 0 Reviews
  • **ผ้าไหมทอลายสูจิ่น เทคนิคการทออันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาวัฒนธรรม**

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราตามรอย <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ไปยังแหล่งผลิตของผ้าไหมสูจิ่น (蜀锦) หรือเมืองอี้โจวในเรื่องซึ่งก็คือเมืองเฉิงตูนั่นเอง Storyฯ ได้กล่าวไว้ว่าผ้าไหมสูจิ่นเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดผ้าไหมทอลายของจีน และเทคนิคการทอผ้าสูจิ่นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจีนเมื่อปี 2006 วันนี้มาคุยกันต่อค่ะ

    ประวัติการทอผ้าไหมจีนมีมายาวนานหลายพันปี แต่เทคนิคการทอผ้าสูจิ่นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนี้มีมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (ปี 206 ก่อนคริสตกาล - ปีค.ศ. 220) โดยมีหลักฐานจากการขุดพบเครื่องทอโบราณจากหลุมฝังศพสมัยราชวงศ์ฮั่น และใช้เวลานานมากในการทำความเข้าใจวิธีการทำงานของมัน เนื่องจากเอกสารข้อมูลที่หลงเหลือเกี่ยวกับมันมีน้อยมากอันสืบเนื่องจากเมืองเฉิงตูและเขตพื้นที่ทอผ้าได้รับความเสียหายจากไฟสงครามเมื่อแมนจูเข้ายึด ปัจจุบันมีการจำลองขึ้นใหม่จนใช้การได้จริง จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอและงานปักสูจิ่นเมืองเฉิงตู (Chengdu Shu Brocade And Embroidery Museum) (ดูรูปประกอบ 2)

    นอกจากนี้ยังมีการขุดพบผ้าไหมทอลายสูจิ่นในพื้นที่แถบซินเกียงที่สะท้อนถึงความสามารถในการทอผ้าลายซับซ้อนในสมัยฮั่น โดยผลงานที่โด่งดังมากที่สุดคือผ้าหุ้มข้อมือที่มีชื่อเรียกว่า ‘อู่ซิงชูตงฟางลี่จงกั๋ว’ (五星出东方利中国/ Five Stars Rising in the East) ผ้าผืนนี้มีสีสันสดใสโดยเน้นสีที่เป็นตัวแทนของห้าดาว (ห้าธาตุ) มีลายสัตว์มงคลและตัวอักษร ‘อู่ซิงชูตงฟางลี่ตงกั๋ว’ และเนื่องด้วยมีการค้นพบเศษผ้าอื่นที่มีลายต่อเนื่องกัน ผู้เชี่ยวชาญจึงวิเคราะห์ไว้ว่าผ้าผืนเต็มประกอบด้วยตัวอักษรยี่สิบอักษร เป็นผ้าทอเนื้อละเอียดมาก ภายในผ้าหนึ่งตารางเซ็นติเมตรมีด้ายยืนทับซ้อนกันทั้งสิ้นกว่า 200 เส้น!

    ต่อมาในสมัยถังและซ่ง เครื่องทอผ้าถูกพัฒนาให้ทอลายที่หลากหลายได้มากยิ่งขึ้นและมีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น โดยมีการบรรยายลักษณะไว้ในบันทึก ‘เทียนกงคายอู้’ (天工开物 /The Exploitation of the Works of Nature) ซึ่งเป็นหนังสือสมัยหมิงจัดทำขึ้นโดยซ่งอิงซิงเมื่อปีค.ศ. 1637 เพื่อบันทึกถึงกว่า 300 อาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง (ดูรูปประกอบ 3) ปัจจุบันมีเครื่องโบราณจริงจากสมัยชิงแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอและงานปักสูจิ่นเมืองเฉิงตู

    เครื่องทอที่ว่านี้ต้องใช้ช่างทอสองคนพร้อมกัน คนหนึ่งนั่งข้างบนบังคับกลุ่มเส้นไหมเพื่อจัดลายทอ อีกคนหนึ่งนั่งข้างล่างทำหน้าที่ทอและดูแลเรื่องเฉดสี รวมแล้วมีเส้นไหมกว่าหมื่นเส้นที่ต้องบังคับ มีขนาดเล็กคือ ‘เสี่ยวฮวาโหลว’ และขนาดใหญ่คือ ‘ต้าฮวาโหลว’ โดยต้าฮวาโหลวมีความสูงถึงห้าเมตร

    แม้แต่อาจารย์ผู้มีประสบการณ์มาหลายสิบปียังสามารถทอได้เพียงไม่เกินสิบเซ็นติเมตรต่อวันด้วยมันต้องใช้แรงและโฟกัสมาก และความยากที่สุดของการทอผ้าไหมสูจิ่นด้วยเครื่องอย่างนี้คือการเอาลายที่ดีไซน์บนภาพวาดแปลงออกมาเป็นการเรียงเส้นไหมนั่งเอง เล่าอย่างนี้อาจนึกภาพไม่ออก เพื่อนเพจลองดูคลิปสั้นนี้ก็จะพอเห็นภาพค่ะ https://www.youtube.com/shorts/fPzQzevjD2M และหากใครพอมีเวลาก็ลองดูสาระคดียาวประมาณ 15 นาทีมีซับภาษาอังกฤษ ก็จะเห็นความซับซ้อนของการทอผ้าสูจิ่นอย่างเต็มรูปแบบ... https://www.youtube.com/watch?v=uYHbELbospQ&t=609s

    เอกลักษณ์ของผ้าสูจิ่นคือลายทอพื้นเมือง เทคนิคการทอลายทับซ้อนได้หลายชั้นและมีสีสันที่สดใส โดยมีชื่อเรียกจำแนกชนิดย่อยไปได้อีกตามลายทอ อธิบายเช่นนี้ก็คงจะยังไม่ค่อยเห็นความแตกต่าง แต่ในรูปประกอบ 1 ก็พอจะเห็นบางส่วนของลายทอต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในซีรีส์ <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://m.bjnews.com.cn/detail/1732938607168793.html
    https://www.facebook.com/permalink.php/?story_fbid=1083381463798209&id=100063790956424
    https://j.021east.com/p/1652758642049238
    https://sichuan.scol.com.cn/ggxw/202102/58058065.html
    https://www.ccmapp.cn/news/detail?id=bd8d36d9-2b59-4fa0-b8e9-7d8b65852db3&categoryid=&categoryname=最新资讯
    https://www.chinasilkmuseum.com/cs/info_164.aspx?itemid=26725
    https://www.researchgate.net/figure/Traditional-Chinese-drawbar-silk-loom-Roads-to-Zanadu_fig4_284551990
    https://news.qq.com/rain/a/20241229A059DQ00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.youtube.com/shorts/fPzQzevjD2M https://www.youtube.com/watch?v=uYHbELbospQ&t=609s
    https://www.youtube.com/watch?v=1zNDpGNh_Z4&t=1197s
    https://sichuan.scol.com.cn/ggxw/202102/58058065.html

    #ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ #ผ้าไหมจีน #ผ้าไหมจิ่น #สูจิ่น #เฉิงตู #สามก๊ก #สี่สุดยอดผ้าไหมจีน #เครื่องทอผ้าจีนโบราณ #สาระจีน
    **ผ้าไหมทอลายสูจิ่น เทคนิคการทออันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาวัฒนธรรม** สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราตามรอย <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ไปยังแหล่งผลิตของผ้าไหมสูจิ่น (蜀锦) หรือเมืองอี้โจวในเรื่องซึ่งก็คือเมืองเฉิงตูนั่นเอง Storyฯ ได้กล่าวไว้ว่าผ้าไหมสูจิ่นเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดผ้าไหมทอลายของจีน และเทคนิคการทอผ้าสูจิ่นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจีนเมื่อปี 2006 วันนี้มาคุยกันต่อค่ะ ประวัติการทอผ้าไหมจีนมีมายาวนานหลายพันปี แต่เทคนิคการทอผ้าสูจิ่นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนี้มีมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (ปี 206 ก่อนคริสตกาล - ปีค.ศ. 220) โดยมีหลักฐานจากการขุดพบเครื่องทอโบราณจากหลุมฝังศพสมัยราชวงศ์ฮั่น และใช้เวลานานมากในการทำความเข้าใจวิธีการทำงานของมัน เนื่องจากเอกสารข้อมูลที่หลงเหลือเกี่ยวกับมันมีน้อยมากอันสืบเนื่องจากเมืองเฉิงตูและเขตพื้นที่ทอผ้าได้รับความเสียหายจากไฟสงครามเมื่อแมนจูเข้ายึด ปัจจุบันมีการจำลองขึ้นใหม่จนใช้การได้จริง จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอและงานปักสูจิ่นเมืองเฉิงตู (Chengdu Shu Brocade And Embroidery Museum) (ดูรูปประกอบ 2) นอกจากนี้ยังมีการขุดพบผ้าไหมทอลายสูจิ่นในพื้นที่แถบซินเกียงที่สะท้อนถึงความสามารถในการทอผ้าลายซับซ้อนในสมัยฮั่น โดยผลงานที่โด่งดังมากที่สุดคือผ้าหุ้มข้อมือที่มีชื่อเรียกว่า ‘อู่ซิงชูตงฟางลี่จงกั๋ว’ (五星出东方利中国/ Five Stars Rising in the East) ผ้าผืนนี้มีสีสันสดใสโดยเน้นสีที่เป็นตัวแทนของห้าดาว (ห้าธาตุ) มีลายสัตว์มงคลและตัวอักษร ‘อู่ซิงชูตงฟางลี่ตงกั๋ว’ และเนื่องด้วยมีการค้นพบเศษผ้าอื่นที่มีลายต่อเนื่องกัน ผู้เชี่ยวชาญจึงวิเคราะห์ไว้ว่าผ้าผืนเต็มประกอบด้วยตัวอักษรยี่สิบอักษร เป็นผ้าทอเนื้อละเอียดมาก ภายในผ้าหนึ่งตารางเซ็นติเมตรมีด้ายยืนทับซ้อนกันทั้งสิ้นกว่า 200 เส้น! ต่อมาในสมัยถังและซ่ง เครื่องทอผ้าถูกพัฒนาให้ทอลายที่หลากหลายได้มากยิ่งขึ้นและมีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น โดยมีการบรรยายลักษณะไว้ในบันทึก ‘เทียนกงคายอู้’ (天工开物 /The Exploitation of the Works of Nature) ซึ่งเป็นหนังสือสมัยหมิงจัดทำขึ้นโดยซ่งอิงซิงเมื่อปีค.ศ. 1637 เพื่อบันทึกถึงกว่า 300 อาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง (ดูรูปประกอบ 3) ปัจจุบันมีเครื่องโบราณจริงจากสมัยชิงแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอและงานปักสูจิ่นเมืองเฉิงตู เครื่องทอที่ว่านี้ต้องใช้ช่างทอสองคนพร้อมกัน คนหนึ่งนั่งข้างบนบังคับกลุ่มเส้นไหมเพื่อจัดลายทอ อีกคนหนึ่งนั่งข้างล่างทำหน้าที่ทอและดูแลเรื่องเฉดสี รวมแล้วมีเส้นไหมกว่าหมื่นเส้นที่ต้องบังคับ มีขนาดเล็กคือ ‘เสี่ยวฮวาโหลว’ และขนาดใหญ่คือ ‘ต้าฮวาโหลว’ โดยต้าฮวาโหลวมีความสูงถึงห้าเมตร แม้แต่อาจารย์ผู้มีประสบการณ์มาหลายสิบปียังสามารถทอได้เพียงไม่เกินสิบเซ็นติเมตรต่อวันด้วยมันต้องใช้แรงและโฟกัสมาก และความยากที่สุดของการทอผ้าไหมสูจิ่นด้วยเครื่องอย่างนี้คือการเอาลายที่ดีไซน์บนภาพวาดแปลงออกมาเป็นการเรียงเส้นไหมนั่งเอง เล่าอย่างนี้อาจนึกภาพไม่ออก เพื่อนเพจลองดูคลิปสั้นนี้ก็จะพอเห็นภาพค่ะ https://www.youtube.com/shorts/fPzQzevjD2M และหากใครพอมีเวลาก็ลองดูสาระคดียาวประมาณ 15 นาทีมีซับภาษาอังกฤษ ก็จะเห็นความซับซ้อนของการทอผ้าสูจิ่นอย่างเต็มรูปแบบ... https://www.youtube.com/watch?v=uYHbELbospQ&t=609s เอกลักษณ์ของผ้าสูจิ่นคือลายทอพื้นเมือง เทคนิคการทอลายทับซ้อนได้หลายชั้นและมีสีสันที่สดใส โดยมีชื่อเรียกจำแนกชนิดย่อยไปได้อีกตามลายทอ อธิบายเช่นนี้ก็คงจะยังไม่ค่อยเห็นความแตกต่าง แต่ในรูปประกอบ 1 ก็พอจะเห็นบางส่วนของลายทอต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในซีรีส์ <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://m.bjnews.com.cn/detail/1732938607168793.html https://www.facebook.com/permalink.php/?story_fbid=1083381463798209&id=100063790956424 https://j.021east.com/p/1652758642049238 https://sichuan.scol.com.cn/ggxw/202102/58058065.html https://www.ccmapp.cn/news/detail?id=bd8d36d9-2b59-4fa0-b8e9-7d8b65852db3&categoryid=&categoryname=最新资讯 https://www.chinasilkmuseum.com/cs/info_164.aspx?itemid=26725 https://www.researchgate.net/figure/Traditional-Chinese-drawbar-silk-loom-Roads-to-Zanadu_fig4_284551990 https://news.qq.com/rain/a/20241229A059DQ00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.youtube.com/shorts/fPzQzevjD2M https://www.youtube.com/watch?v=uYHbELbospQ&t=609s https://www.youtube.com/watch?v=1zNDpGNh_Z4&t=1197s https://sichuan.scol.com.cn/ggxw/202102/58058065.html #ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ #ผ้าไหมจีน #ผ้าไหมจิ่น #สูจิ่น #เฉิงตู #สามก๊ก #สี่สุดยอดผ้าไหมจีน #เครื่องทอผ้าจีนโบราณ #สาระจีน
    3 Comments 0 Shares 609 Views 0 Reviews
  • Tatler Taiwan | ปกฉบับเดือนมีนาคม: เจย์ โจว และเฟอร์รารี่
    ร่วมกันสร้างซูเปอร์คาร์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

    เจย์ โจว 周杰倫 Jay Chou ศิลปินระดับตำนานแห่งเอเชีย ไม่เพียงแต่มีพรสวรรค์ด้านดนตรีที่โด่งดังไปทั่วโลก แต่ยังเป็นคนที่หลงใหลในซูเปอร์คาร์เป็นอย่างมาก

    เราถามเขาว่าเขารักรถมากแค่ไหน? เขาตอบว่า :
    “แฟนๆ ของผมรู้ดีว่าภาพยนตร์เรื่องแรกที่ผมแสดง Initial D มีธีมเกี่ยวกับการแข่งรถ อีกทั้งฉากเปิดของภาพยนตร์ The Green Hornet ก็มีรถ The Black Beauty ปรากฏในภาพยนตร์แบบเต็มๆ และที่จริงแล้ว ผมอยากให้ทุกคนสัมผัสถึงความรักของผมที่มีต่อรถผ่านผลงานเหล่านี้”

    ในฐานะนักสะสมซูเปอร์คาร์ โรงเก็บรถของเจย์ โจว เปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์ศิลปะยานยนต์ ตั้งแต่ Ferrari F12tdf รุ่นคลาสสิกไปจนถึง LaFerrari Aperta รุ่นลิมิเต็ดอิดิชั่น ทุกคันสะท้อนถึงรสนิยมเฉพาะตัวและความหลงใหลในความเร็วของเขา เจย์กล่าวต่อว่า :

    “ความรู้สึกของการขับรถที่แรงและเร็ว มันเหมือนกับการแสดงบนเวที เต็มไปด้วยอารมณ์และพลังแห่งการควบคุม”
    ความหลงใหลในความเร็วและพลังของเครื่องยนต์นี้ ไม่เพียงแต่สะท้อนผ่านชีวิตประจำวันของเขา แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจในงานสร้างสรรค์ของเขาด้วย

    การร่วมมือกับแบรนด์ Ferrari ครั้งนี้เป็นการจับคู่ที่ลงตัวอย่างแท้จริง เจย์ ได้เข้าร่วมในทุกขั้นตอนของการออกแบบรถรุ่นพิเศษ ตั้งแต่การเลือกวัสดุ การตกแต่งภายใน ไปจนถึงสีของตัวรถ ทุกองค์ประกอบสะท้อนเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเขา สร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะที่ไม่เหมือนใคร
    เขาบอกกับเราว่า :

    “ศิลปะและดนตรีคือช่องทางที่เชื่อมโยงจิตวิญญาณของผม ดนตรีป๊อปคือเวทีของผม ส่วนการสะสมงานศิลปะคืออีกหนึ่งรูปแบบของความหลงใหล แม้ว่าทั้งสองอย่างจะดูแตกต่างกัน แต่สำหรับผม ทั้งคู่ล้วนเป็นการแสวงหาความงามในแบบของตัวเอง นั้นแหละคือตัวผม”

    Talent / Jay Chou
    Editor / Huan Chen and Maosheng Qi
    Photography / Andrea Frazzetta
    Style / Ferrari Style

    #TatlerTaiwan #TatlerPeople #TatlerCover #CoverStory

    #jaychou #周杰伦 #周杰倫
    #เจย์โจว #โจวเจี๋ยหลุน
    #jaychouthailand
    Tatler Taiwan | ปกฉบับเดือนมีนาคม: เจย์ โจว และเฟอร์รารี่ ร่วมกันสร้างซูเปอร์คาร์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เจย์ โจว 周杰倫 Jay Chou ศิลปินระดับตำนานแห่งเอเชีย ไม่เพียงแต่มีพรสวรรค์ด้านดนตรีที่โด่งดังไปทั่วโลก แต่ยังเป็นคนที่หลงใหลในซูเปอร์คาร์เป็นอย่างมาก เราถามเขาว่าเขารักรถมากแค่ไหน? เขาตอบว่า : “แฟนๆ ของผมรู้ดีว่าภาพยนตร์เรื่องแรกที่ผมแสดง Initial D มีธีมเกี่ยวกับการแข่งรถ อีกทั้งฉากเปิดของภาพยนตร์ The Green Hornet ก็มีรถ The Black Beauty ปรากฏในภาพยนตร์แบบเต็มๆ และที่จริงแล้ว ผมอยากให้ทุกคนสัมผัสถึงความรักของผมที่มีต่อรถผ่านผลงานเหล่านี้” ในฐานะนักสะสมซูเปอร์คาร์ โรงเก็บรถของเจย์ โจว เปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์ศิลปะยานยนต์ ตั้งแต่ Ferrari F12tdf รุ่นคลาสสิกไปจนถึง LaFerrari Aperta รุ่นลิมิเต็ดอิดิชั่น ทุกคันสะท้อนถึงรสนิยมเฉพาะตัวและความหลงใหลในความเร็วของเขา เจย์กล่าวต่อว่า : “ความรู้สึกของการขับรถที่แรงและเร็ว มันเหมือนกับการแสดงบนเวที เต็มไปด้วยอารมณ์และพลังแห่งการควบคุม” ความหลงใหลในความเร็วและพลังของเครื่องยนต์นี้ ไม่เพียงแต่สะท้อนผ่านชีวิตประจำวันของเขา แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจในงานสร้างสรรค์ของเขาด้วย การร่วมมือกับแบรนด์ Ferrari ครั้งนี้เป็นการจับคู่ที่ลงตัวอย่างแท้จริง เจย์ ได้เข้าร่วมในทุกขั้นตอนของการออกแบบรถรุ่นพิเศษ ตั้งแต่การเลือกวัสดุ การตกแต่งภายใน ไปจนถึงสีของตัวรถ ทุกองค์ประกอบสะท้อนเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเขา สร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะที่ไม่เหมือนใคร เขาบอกกับเราว่า : “ศิลปะและดนตรีคือช่องทางที่เชื่อมโยงจิตวิญญาณของผม ดนตรีป๊อปคือเวทีของผม ส่วนการสะสมงานศิลปะคืออีกหนึ่งรูปแบบของความหลงใหล แม้ว่าทั้งสองอย่างจะดูแตกต่างกัน แต่สำหรับผม ทั้งคู่ล้วนเป็นการแสวงหาความงามในแบบของตัวเอง นั้นแหละคือตัวผม” Talent / Jay Chou Editor / Huan Chen and Maosheng Qi Photography / Andrea Frazzetta Style / Ferrari Style #TatlerTaiwan #TatlerPeople #TatlerCover #CoverStory #jaychou #周杰伦 #周杰倫 #เจย์โจว #โจวเจี๋ยหลุน #jaychouthailand
    0 Comments 0 Shares 436 Views 0 Reviews
  • แม้วันเวลาจะผ่านไปกว่า 32 ปีแล้วก็ตาม แต่คดี เพชรซาอุฯ ก็ยังถูกกลับเอามาเล่าขานกันอีกครั้ง
    .
    ตำนานเครื่องเพชรที่ถูกพูดถึงมากเรื่องหนึ่งในสังคมไทยโดย คดี เพชรซาอุฯ นั้นเกิดขึ้นครั้งแรกเกิดปี พ.ศ. 2532 นายเกรียงไกร เตชะโม่ง คนงานทำความสะอาดในพระราชวังของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด ได้โจรกรรมเพชร ทอง และอัญมณี ที่ถูกวางไว้อย่างไม่เป็นที่เป็นทาง จากพระราชวัง โดยอาศัยช่วงเวลาที่เจ้าชายแปรพระราชฐานไปต่างประเทศ แอบนำถุงกระสอบขนาดใหญ่เข้าไปในพระราชวัง ซ่อนตัวอยู่ภายในพระราชวังจนถึงเวลากลางคืน แล้วจึงทำการขโมยเครื่องเพชรใส่ถุงกระสอบแล้วโยนถุงกระสอบลงมาออกนอกกำแพงพระราชวัง จากนั้นนำส่งประเทศไทยโดยการส่งปะปนมากับเสื้อผ้าเครื่องใช้ส่วนตัว ทำให้ ยากจะตรวจสอบได้
    .
    แต่สุดท้าย นายเกรียงไกร เตชะโม่ง ได้ถูก ตำรวจจับกุมได้ในเวลาต่อมา โดย ชุดจับกุมของ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ และยอมรับสารภาพทุกข้อกล่าวหา พร้อมช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการตามเพชรทั้งหมดกลับคืนอีกด้วย
    .
    ---------------
    ไม่เคยมี "เพชรสีน้ำเงินมาแต่แรก"
    ---------------
    .
    อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เริ่มมี "คดีเพชรซาอุ" มีการพูดถึง เครื่องเพชร ชุดหนึ่ง คือ "เพชรสีน้ำเงิน"( เครื่องเพชรบลูไดมอนด์) ซึ่งแท้จริงแล้วมีปรากฎแต่ในการนำเสนอข่าวภายในประเทศไทยเท่านั้น ที่แม้แต่ พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรัตน์ ผช.อตร. เจ้าของคดี ยังถามถามสื่อมวลชนเองว่า "ไปเอาเรื่องนี้มาจากไหน ตนไม่เคยได้ยิน หรือเห็นมาก่อนเลย" จากนั้นก็มีการไปเอารูปภริยาอธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น พล.ต.อ. แสวง ธีระสวัสดิ์ ภาพใน น.ส.พ. ฉบับหนึ่ง ผู้หญิงสวมสร้อยคอที่มีจี้เป็นอัญมณีสีน้ำเงินล้อมเพชรและทอง ปรากฏตัวในงานเลี้ยงงานหนึ่ง ใช้ชื่อ "งานเลี้ยงบลูไดมอนด์" แล้วก็ลือกันตามมาว่าเป็นเพชรบลูไดมอนด์ของเจ้าฟ้าชายไฟซาล เรื่องราวนี้ดังไปถึงหู ทางการของประเทศซาอุฯ เลยส่งสายสืบลับของซาอุฯมาตรวจสอบเพิ่มเติม จนพบว่า ในความเป็นจริงแล้วเพชรบลูไดมอนด์ ในข่าวเป็นเพียง วัตถุที่ทำด้วยผ้ากำมะหยี่สีน้ำเงินเข้มที่นำมาประดิษฐ์เข้าคู่กับเพชรและทอง เท่านั้น คดีเพชรบลูไดมอนด์จึงจบไป...
    .
    ส่วน นายเกรียงไกร เตชะโม่ง จำเลยได้สารภาพว่า ได้แบ่งเครื่องเพชรให้กับเพื่อนที่มีส่วนรู้เห็นโดยไม่ได้แยกแยะ ชนิดสี ประเภทใดๆก่อนที่จะเดินทางกลับประเทศไทย โดยแยกทองและหินออกจากกัน เนื่องจาก นาย เกรียงไกร ทราบมูลค่าของทองดีแต่ไม่ทราบมูลของเพชรพลอยที่ประดับ หินบางส่วนถูกทุบให้แตกเพื่อแยกประเภทคร่าวๆตามความเข้าใจว่าเพชรเป็นของแข็ง หากไม่แตกก็จะเก็บเอาไว้ขายนั้นเอง จากนั้นจึงนำไปขายให้พ่อค้าเพชรและทองตามลำดับ
    .
    ในช่วงเวลาระหว่างการดำเนินคดี นายเกรียงไกร เตชะโม่ง จำเลยในคดีลักเพชรของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด อธิบดีกรมตำรวจ พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบคือ (สิงเหนือ ) พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ ออกติดตามเครื่องเพชรคืนให้แก่รัฐบาลซาอุดิอาระเบีย โดยตามหาและส่งคืนกลับไปทั้งหมด ผลงานของ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศในครั้งนั้นสร้างชื่อเสียงมากจนได้รับการยกย่องจากประเทศซาอุดิอาระเบีย ให้เป็นแขกพิเศษ
    .
    อย่างไรก็ตามมีประเด็นต่อมา คือการส่งคืนเครื่องเพชรจำนวนมากในครั้งนั้นกลับไม่ครบ-และบางส่วนปลอม เลยมีการรื้อคดีกลับมาตรวจสอบอีกครั้ง จากคำให้การของนายเกรียงไกร ที่บอกว่า ได้โจรกรรมเครื่องเพชรของเจ้าชายไฟซาล แล้วนำเข้ามาขายในประเทศไทย โดยขายให้ นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ จึงพุ่งเป้าไปที่ นายสันติ เพื่อตามทวงคืน เครื่องเพชรส่วนที่เหลือ แต่นายสันติ ได้ปฎิเสธ พล.ต.ท.ชลอจึงจับลูกและภารยาของนายสันติ เป็นตัวประกันเพื่อบีบบังคับให้ นายสันติบอกที่ซ่อนของเพชรที่เหลือ แต่ก็ไม่เป็นผล ...ประจวบกับเหตุการณ์เวลานั้นมีการคุกคามตัวประกัน จึงมีการสังหารตัวประกันแล้วจัดฉากให้เป็นอุบัติเหตุ แต่ในภายหลัง พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศถูกจับกุมในคดี สังหาร ครอบครัว ศรีธนะขัณฑ์ เลยได้รับโทษประหารชีวิต ...(ซึ่งปัจจุบัน ได้รับการปล่อยตัวหลังจากที่จำคุกมาได้ 19ปี)
    .
    เมื่อมีการพยายามพูดถึง เพชรบลูไดมอนด์และเพชรที่เหลือจากซาอุฯ อีกครั้ง มีการตรวจสอบ ย้อนกลับซ้ำอีกครั้ง จึงพบว่า ทางซาอุฯไม่สามารถระบุรูปลักษณ์ของ เพชรบลูไดมอนด์ และไม่มีใครทั้ง นายเกรียงไกร เตชะโม่ง ,นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ และเจ้าหน้าที่ทางการไทย ต่างไม่เคยพบเห็นเพชรบลูไดมอนด์ เลยจึงได้ข้อสรุปว่าเพชรบลูไดมอนด์ ไม่เคยอยู่ในประเทศไทย
    .
    เรื่องราว เพชรซาอุฯ มีข้อเท็จจริงแต่เพียงเท่านี้...
    .
    ------------------------
    กำเนิดข่าวลือเพชรซาอุรอบที่สอง
    ------------------------
    .
    อย่างไรก็ตาม ในปี2551 ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง มีการยกเรื่อง เพชรสีน้ำเงิน เอาขึ้นมาอีกครั้ง บนเวทีสนามหลวง เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2551
    .
    ทั้งบนเวที และ ในลักษณะข่าวลือ โดยบนเวทีชุมนุมนั้นจะปรากฎ ภาพ แหวนเพชรสีน้ำเงินถูกสวมอยู่ในอุ้งเท้าไดโนเสาร์ ซึ่งในการชุมนุมครั้งนั้น มี หนึ่งในผู้ปราศรัย คือ(เสือใต้) พล.ต.อ สล้าง บุนนาค นายตำรวจยุคเดียวกับ (สิงเหนือ)พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ
    .
    ส่วนข่าวลือและภาพที่ถูกแชร์กันใส่สังคมออนไลน์ในช่วงปี 2553 คือภาพ เพชรสีน้ำเงิน หน้าต่างๆกันออกไปทั้งแบบที่เป็นแหวนเพชร และ สร้อยคอ โดยมีการระบุในข่าวลือว่าเป็น เพชรบลูไดมอนด์จากคดีเพชรซาอุฯ โดยมีการนำเอาภาพของสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่9 ทรงพระศอประดับอัญมณีสีฟ้าในการแชร์พร้อมเรื่องราวข่าวเท็จเกี่ยวกับการขโมยเพชรสีน้ำเงินจากราชวงศ์ซาอุฯ จนกลายเป็นข่าวลือให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแยบยล
    .
    ในความเป็นจริงแล้วไม่เคยมีใครเคยเห็น เพชรบลูไดมอนด์ ว่าอยู่ในสภาพแหวนหรือสอยคอ และมีจำนวนกี่เม็ดกันแน่
    .
    หากพิจารณาภาพเพชรสีน้ำเงินที่เผยแพร่ในช่วงนี้ก็จะพบว่าเป็นเพียงการนำภาพ เครื่องเพชรที่มีลักษณะใกล้เคียงมาตัดต่อพร้อมประกอบกับเรื่องราวข่าวลือเท่านั้น โดยภาพที่ปรากฏประจำคือ Hope Diamond ของฝรั่งเศส ทั้งนี้ Hope Diamond มีประวัติน่าสนใจมาก เพราะ เป็นเพชรสีน้ำเงินที่ถูกตัดออกมาจาก เพชรเม็ดยักของ ราชวงศ์ฝรั่งเศส ที่ชื่อว่า French Blue (Le bleu de France) ตั้งแต่สมัยปฎิวัติฝรั่งเศส โดยแหล่งกำเนิดของ French Blue (Le bleu de France) นั้นมาจากเหมืองในเมืองกอลคอนดา (Golconda) ในประเทศอินเดีย ตั้งแต่ ปี 1664
    .
    แต่ด้วยประวัติของผู้ครอบครองเพชรสีน้ำเงิน ที่ล้วนเป็นคนใหญ่คนโต และเสียชีวิตฉับพลันจึงทำให้กลายเป็นตำนานเพชรต้องสาป ซึ่งปัจจุบัน เพชรเม็ดนี้ อยู่ในพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน
    .
    ส่วนอีกภาพที่นิยมแชร์พร้อมกับข่าวลือคำสาปเพชรซาอุฯ คือภาพของ "Heart of the Ocean" หรือในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า "Le Cœur de la Mer" เพชรสีน้ำเงินรูปทรงหัวใจ เป็นเครืองประดับที่สวยงามมาก แต่น่าเสียดายว่า แท้จริงแล้ว"Heart of the Ocean"เป็นเพชรที่เกิดมาจาก การจินตนาการของผู้กำกับภาพยนต์ ไททานิค โดย "Heart of the Ocean" นั้นถูกจินตนาการขึ้นโดยอ้างอิง ประวัติ Hope Diamond ของฝรั่งเศส และถูกจินตนาการไปถึงการเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุการจมเรือในภาพยนตร์ไททานิค
    .
    ส่วนภาพสำคัญและมักถูกตกเป็นเป้าโจมตีของข่าวเท็จก็คือภาพของ สมเด็จพระราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ทรง พระศอไพลินสีน้ำเงิน(ไม่ใช่เพชร) เป็นภาพตั้งแต่ ปี 2500 ขณะทรงเยือนสหรัฐอเมริกา ซึ่งพระศอไพลินสีน้ำเงินนั้นเป็นมรดกตกทอดมาจากสมเด็จพระพันปีหลวง
    .
    และ แน่นอนว่า ภาพของ สมเด็จพระราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ทรง พระศอไพลินสีน้ำเงิน เป็นภาพที่เกิดขึ้นก่อน คดีเพชรซาอุฯ ถึง 32 ปี
    .
    ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ ที่ เพชรบลูไดมอนด์ จากคดีเพชรซาอุฯปี 2532 จะย้อน เวลาไปปรากฎในปี 2500 ได้โดยเด็ดขาด
    ---------------------------------
    แหล่งข้อมูล
    - https://www.git.or.th/g20130410.html
    - http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=3585&read=true&count=true
    - https://www.facebook.com/siamgreatwarriors/posts/1591058431203175?
    - https://www.facebook.com/boraannaanma/photos/a.1721168658137287/2367376280183185/?type=3&theater
    - https://th.wikipedia.org/wiki/เพชรโฮป
    - https://www.facebook.com/726502237386172/posts/3507440415958993/
    -------------------------------
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
    Website : http://www.thailandvision.co
    Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
    Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
    Youtube : https://www.youtube.com/c/Thailandvision
    แม้วันเวลาจะผ่านไปกว่า 32 ปีแล้วก็ตาม แต่คดี เพชรซาอุฯ ก็ยังถูกกลับเอามาเล่าขานกันอีกครั้ง . ตำนานเครื่องเพชรที่ถูกพูดถึงมากเรื่องหนึ่งในสังคมไทยโดย คดี เพชรซาอุฯ นั้นเกิดขึ้นครั้งแรกเกิดปี พ.ศ. 2532 นายเกรียงไกร เตชะโม่ง คนงานทำความสะอาดในพระราชวังของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด ได้โจรกรรมเพชร ทอง และอัญมณี ที่ถูกวางไว้อย่างไม่เป็นที่เป็นทาง จากพระราชวัง โดยอาศัยช่วงเวลาที่เจ้าชายแปรพระราชฐานไปต่างประเทศ แอบนำถุงกระสอบขนาดใหญ่เข้าไปในพระราชวัง ซ่อนตัวอยู่ภายในพระราชวังจนถึงเวลากลางคืน แล้วจึงทำการขโมยเครื่องเพชรใส่ถุงกระสอบแล้วโยนถุงกระสอบลงมาออกนอกกำแพงพระราชวัง จากนั้นนำส่งประเทศไทยโดยการส่งปะปนมากับเสื้อผ้าเครื่องใช้ส่วนตัว ทำให้ ยากจะตรวจสอบได้ . แต่สุดท้าย นายเกรียงไกร เตชะโม่ง ได้ถูก ตำรวจจับกุมได้ในเวลาต่อมา โดย ชุดจับกุมของ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ และยอมรับสารภาพทุกข้อกล่าวหา พร้อมช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการตามเพชรทั้งหมดกลับคืนอีกด้วย . --------------- ไม่เคยมี "เพชรสีน้ำเงินมาแต่แรก" --------------- . อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เริ่มมี "คดีเพชรซาอุ" มีการพูดถึง เครื่องเพชร ชุดหนึ่ง คือ "เพชรสีน้ำเงิน"( เครื่องเพชรบลูไดมอนด์) ซึ่งแท้จริงแล้วมีปรากฎแต่ในการนำเสนอข่าวภายในประเทศไทยเท่านั้น ที่แม้แต่ พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรัตน์ ผช.อตร. เจ้าของคดี ยังถามถามสื่อมวลชนเองว่า "ไปเอาเรื่องนี้มาจากไหน ตนไม่เคยได้ยิน หรือเห็นมาก่อนเลย" จากนั้นก็มีการไปเอารูปภริยาอธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น พล.ต.อ. แสวง ธีระสวัสดิ์ ภาพใน น.ส.พ. ฉบับหนึ่ง ผู้หญิงสวมสร้อยคอที่มีจี้เป็นอัญมณีสีน้ำเงินล้อมเพชรและทอง ปรากฏตัวในงานเลี้ยงงานหนึ่ง ใช้ชื่อ "งานเลี้ยงบลูไดมอนด์" แล้วก็ลือกันตามมาว่าเป็นเพชรบลูไดมอนด์ของเจ้าฟ้าชายไฟซาล เรื่องราวนี้ดังไปถึงหู ทางการของประเทศซาอุฯ เลยส่งสายสืบลับของซาอุฯมาตรวจสอบเพิ่มเติม จนพบว่า ในความเป็นจริงแล้วเพชรบลูไดมอนด์ ในข่าวเป็นเพียง วัตถุที่ทำด้วยผ้ากำมะหยี่สีน้ำเงินเข้มที่นำมาประดิษฐ์เข้าคู่กับเพชรและทอง เท่านั้น คดีเพชรบลูไดมอนด์จึงจบไป... . ส่วน นายเกรียงไกร เตชะโม่ง จำเลยได้สารภาพว่า ได้แบ่งเครื่องเพชรให้กับเพื่อนที่มีส่วนรู้เห็นโดยไม่ได้แยกแยะ ชนิดสี ประเภทใดๆก่อนที่จะเดินทางกลับประเทศไทย โดยแยกทองและหินออกจากกัน เนื่องจาก นาย เกรียงไกร ทราบมูลค่าของทองดีแต่ไม่ทราบมูลของเพชรพลอยที่ประดับ หินบางส่วนถูกทุบให้แตกเพื่อแยกประเภทคร่าวๆตามความเข้าใจว่าเพชรเป็นของแข็ง หากไม่แตกก็จะเก็บเอาไว้ขายนั้นเอง จากนั้นจึงนำไปขายให้พ่อค้าเพชรและทองตามลำดับ . ในช่วงเวลาระหว่างการดำเนินคดี นายเกรียงไกร เตชะโม่ง จำเลยในคดีลักเพชรของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด อธิบดีกรมตำรวจ พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบคือ (สิงเหนือ ) พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ ออกติดตามเครื่องเพชรคืนให้แก่รัฐบาลซาอุดิอาระเบีย โดยตามหาและส่งคืนกลับไปทั้งหมด ผลงานของ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศในครั้งนั้นสร้างชื่อเสียงมากจนได้รับการยกย่องจากประเทศซาอุดิอาระเบีย ให้เป็นแขกพิเศษ . อย่างไรก็ตามมีประเด็นต่อมา คือการส่งคืนเครื่องเพชรจำนวนมากในครั้งนั้นกลับไม่ครบ-และบางส่วนปลอม เลยมีการรื้อคดีกลับมาตรวจสอบอีกครั้ง จากคำให้การของนายเกรียงไกร ที่บอกว่า ได้โจรกรรมเครื่องเพชรของเจ้าชายไฟซาล แล้วนำเข้ามาขายในประเทศไทย โดยขายให้ นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ จึงพุ่งเป้าไปที่ นายสันติ เพื่อตามทวงคืน เครื่องเพชรส่วนที่เหลือ แต่นายสันติ ได้ปฎิเสธ พล.ต.ท.ชลอจึงจับลูกและภารยาของนายสันติ เป็นตัวประกันเพื่อบีบบังคับให้ นายสันติบอกที่ซ่อนของเพชรที่เหลือ แต่ก็ไม่เป็นผล ...ประจวบกับเหตุการณ์เวลานั้นมีการคุกคามตัวประกัน จึงมีการสังหารตัวประกันแล้วจัดฉากให้เป็นอุบัติเหตุ แต่ในภายหลัง พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศถูกจับกุมในคดี สังหาร ครอบครัว ศรีธนะขัณฑ์ เลยได้รับโทษประหารชีวิต ...(ซึ่งปัจจุบัน ได้รับการปล่อยตัวหลังจากที่จำคุกมาได้ 19ปี) . เมื่อมีการพยายามพูดถึง เพชรบลูไดมอนด์และเพชรที่เหลือจากซาอุฯ อีกครั้ง มีการตรวจสอบ ย้อนกลับซ้ำอีกครั้ง จึงพบว่า ทางซาอุฯไม่สามารถระบุรูปลักษณ์ของ เพชรบลูไดมอนด์ และไม่มีใครทั้ง นายเกรียงไกร เตชะโม่ง ,นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ และเจ้าหน้าที่ทางการไทย ต่างไม่เคยพบเห็นเพชรบลูไดมอนด์ เลยจึงได้ข้อสรุปว่าเพชรบลูไดมอนด์ ไม่เคยอยู่ในประเทศไทย . เรื่องราว เพชรซาอุฯ มีข้อเท็จจริงแต่เพียงเท่านี้... . ------------------------ กำเนิดข่าวลือเพชรซาอุรอบที่สอง ------------------------ . อย่างไรก็ตาม ในปี2551 ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง มีการยกเรื่อง เพชรสีน้ำเงิน เอาขึ้นมาอีกครั้ง บนเวทีสนามหลวง เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2551 . ทั้งบนเวที และ ในลักษณะข่าวลือ โดยบนเวทีชุมนุมนั้นจะปรากฎ ภาพ แหวนเพชรสีน้ำเงินถูกสวมอยู่ในอุ้งเท้าไดโนเสาร์ ซึ่งในการชุมนุมครั้งนั้น มี หนึ่งในผู้ปราศรัย คือ(เสือใต้) พล.ต.อ สล้าง บุนนาค นายตำรวจยุคเดียวกับ (สิงเหนือ)พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ . ส่วนข่าวลือและภาพที่ถูกแชร์กันใส่สังคมออนไลน์ในช่วงปี 2553 คือภาพ เพชรสีน้ำเงิน หน้าต่างๆกันออกไปทั้งแบบที่เป็นแหวนเพชร และ สร้อยคอ โดยมีการระบุในข่าวลือว่าเป็น เพชรบลูไดมอนด์จากคดีเพชรซาอุฯ โดยมีการนำเอาภาพของสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่9 ทรงพระศอประดับอัญมณีสีฟ้าในการแชร์พร้อมเรื่องราวข่าวเท็จเกี่ยวกับการขโมยเพชรสีน้ำเงินจากราชวงศ์ซาอุฯ จนกลายเป็นข่าวลือให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแยบยล . ในความเป็นจริงแล้วไม่เคยมีใครเคยเห็น เพชรบลูไดมอนด์ ว่าอยู่ในสภาพแหวนหรือสอยคอ และมีจำนวนกี่เม็ดกันแน่ . หากพิจารณาภาพเพชรสีน้ำเงินที่เผยแพร่ในช่วงนี้ก็จะพบว่าเป็นเพียงการนำภาพ เครื่องเพชรที่มีลักษณะใกล้เคียงมาตัดต่อพร้อมประกอบกับเรื่องราวข่าวลือเท่านั้น โดยภาพที่ปรากฏประจำคือ Hope Diamond ของฝรั่งเศส ทั้งนี้ Hope Diamond มีประวัติน่าสนใจมาก เพราะ เป็นเพชรสีน้ำเงินที่ถูกตัดออกมาจาก เพชรเม็ดยักของ ราชวงศ์ฝรั่งเศส ที่ชื่อว่า French Blue (Le bleu de France) ตั้งแต่สมัยปฎิวัติฝรั่งเศส โดยแหล่งกำเนิดของ French Blue (Le bleu de France) นั้นมาจากเหมืองในเมืองกอลคอนดา (Golconda) ในประเทศอินเดีย ตั้งแต่ ปี 1664 . แต่ด้วยประวัติของผู้ครอบครองเพชรสีน้ำเงิน ที่ล้วนเป็นคนใหญ่คนโต และเสียชีวิตฉับพลันจึงทำให้กลายเป็นตำนานเพชรต้องสาป ซึ่งปัจจุบัน เพชรเม็ดนี้ อยู่ในพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน . ส่วนอีกภาพที่นิยมแชร์พร้อมกับข่าวลือคำสาปเพชรซาอุฯ คือภาพของ "Heart of the Ocean" หรือในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า "Le Cœur de la Mer" เพชรสีน้ำเงินรูปทรงหัวใจ เป็นเครืองประดับที่สวยงามมาก แต่น่าเสียดายว่า แท้จริงแล้ว"Heart of the Ocean"เป็นเพชรที่เกิดมาจาก การจินตนาการของผู้กำกับภาพยนต์ ไททานิค โดย "Heart of the Ocean" นั้นถูกจินตนาการขึ้นโดยอ้างอิง ประวัติ Hope Diamond ของฝรั่งเศส และถูกจินตนาการไปถึงการเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุการจมเรือในภาพยนตร์ไททานิค . ส่วนภาพสำคัญและมักถูกตกเป็นเป้าโจมตีของข่าวเท็จก็คือภาพของ สมเด็จพระราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ทรง พระศอไพลินสีน้ำเงิน(ไม่ใช่เพชร) เป็นภาพตั้งแต่ ปี 2500 ขณะทรงเยือนสหรัฐอเมริกา ซึ่งพระศอไพลินสีน้ำเงินนั้นเป็นมรดกตกทอดมาจากสมเด็จพระพันปีหลวง . และ แน่นอนว่า ภาพของ สมเด็จพระราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ทรง พระศอไพลินสีน้ำเงิน เป็นภาพที่เกิดขึ้นก่อน คดีเพชรซาอุฯ ถึง 32 ปี . ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ ที่ เพชรบลูไดมอนด์ จากคดีเพชรซาอุฯปี 2532 จะย้อน เวลาไปปรากฎในปี 2500 ได้โดยเด็ดขาด --------------------------------- แหล่งข้อมูล - https://www.git.or.th/g20130410.html - http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=3585&read=true&count=true - https://www.facebook.com/siamgreatwarriors/posts/1591058431203175? - https://www.facebook.com/boraannaanma/photos/a.1721168658137287/2367376280183185/?type=3&theater - https://th.wikipedia.org/wiki/เพชรโฮป - https://www.facebook.com/726502237386172/posts/3507440415958993/ ------------------------------- ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่ Website : http://www.thailandvision.co Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision Youtube : https://www.youtube.com/c/Thailandvision
    0 Comments 0 Shares 688 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติเพราะ Storyฯ จะไปเที่ยววีคเอนด์นี้ เลยรีบมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากละครจีนโบราณเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีเรื่องราวให้พูดคุยเกี่ยวกับวัฒนธรรมไม่น้อย มีตอนหนึ่งที่หนึ่งในตัวละครสมทบคือซูวุ่ยถูกกักบริเวณโดยแม่ของนาง และจะสามารถก้าวเท้าออกจากบ้านได้ก็ต่อเมื่อนางเรียนงานปัก ‘เปี้ยนซิ่ว’ ได้สำเร็จ สร้างความหนักใจให้แก่นางนัก เป็นการบอกเล่าให้พวกเราทราบได้ว่า งานปักชนิดนี้ยากนักหนา

    ‘เปี้ยนซิ่ว’ (汴绣)คืออะไร? มันคือสไตล์การปักที่มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ มีชื่อมาจากเมืองหลวงเปี้ยนจิง (หรือที่เราคุ้นหูว่าตงจิง) บ้างเรียกว่า ‘ซ่งซิ่ว’ (宋绣) บ้างจำแนกละเอียดกว่านั้นว่า เปี้ยนซิ่วเป็นงานชาววังในขณะที่ซ่งซิ่วเป็นงานของชาวบ้านทั่วไป

    Storyฯ ลองไปหาข้อมูลดูเลยพบเจอคลิปวีดีโอนี้ https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk เลยอยากให้เพื่อนๆ ได้ลองดูกัน อาจจะยาวสักนิด แต่จะเห็นภาพได้ดีถึงขั้นตอนการทำต่างๆ ตั้งแต่เลือกผ้าจนปลดออกจากสะดึง และที่สำคัญมีการซูมให้ดูถึงรายละเอียดของงานปักที่ทำเอา Storyฯ รู้สึกทึ่งไม่น้อย

    งานปักจีนโบราณพัฒนาขึ้นมากในสมัยถังแต่ในสมัยนั้นยังมีเทคนิคการปักไม่กี่แบบ และเมื่อมาถึงสมัยซ่งก็ได้รับการพัฒนายิ่งขึ้นไปอีกเป็นกว่ายี่สิบเทคนิค จากบันทึกโบราณพบว่างานปักเปี้ยนซิ่วโดยหลักเกิดขึ้นจากในวัง เรียกได้ว่าเป็นงานปักชาววัง รับผิดชอบงานฉลองพระองค์และของใช้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในวัง ความนิยมและเทคนิคการปักได้รับความสำคัญจนถึงกับมีการก่อตั้งวิทยาลัยเฉพาะทาง (เหวินซิ่วย่วน / 文绣院) ขึ้นเมื่อปี 1005 มีช่างปักกว่าสามร้อยคน

    เปี้ยนซิ่วถูกหลงลืมไปตามกาลเวลาจนแทบจะสูญหาย มีไม่กี่คนที่ยังสืบทอดมาภายหลังจากสิ้นราชวงศ์ งานเปี้ยนซิ่วรับการฟื้นฟูเมื่อมีผู้ที่สืบทอดเอาผลงานเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองครบสิบปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปีค.ศ. 1959 โดยผลงานที่สร้างชื่อเสียงชิ้นนี้ก็คืองานปัก <ชิงหมิงซ่างเหอถู> เป็นผลงานที่ได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมากจากประธานเหมา และปัจจุบันถูกจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม (ดูได้จากรูป 1 และรูป 2 บน และจากคลิปวีดีโอที่เป็นการสาธิตการปัก) ต่อมาเปี้ยนซิ่วถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในห้าของสไตล์การปักที่โด่งดังที่สุดของจีน จัดเป็นศิลปะแห่งชาติแขนงหนึ่ง มีการสืบทอดอย่างเป็นทางการ

    เอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วคืออะไร?

    เปี้ยนซิ่วขึ้นชื่อว่าเป็นงานละเอียด ใช้เส้นด้ายเพียงหนึ่งหรือสองเส้นเท่านั้น (หมายเหตุ หากสังเกตดีๆ ไหมปักที่เราใช้ทั่วไปปัจจุบันนี้เป็นเกลียวที่ประกอบขึ้นจากด้ายปักหลายเส้น) นำมาปักจนทึบโดยไม่เห็นรอยช่องไฟใดๆ ริมขอบลายปักเลย และอาศัยเทคนิคการปักต่างๆ ไม่ว่าจะความหนานูน ทิศทางของฝีเข็มที่แตกต่าง หรือการคัดสีไหม เพื่อสร้างมิติให้แก่ภาพปัก เพราะเอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วนี้คือการนำงานศิลปะภาพวาดพู่กันจีนมาถ่ายทอดลงบนผืนผ้า ไม่ว่าจะเป็นลายภูผาวารี นก ดอกไม้ คนและสัตว์ รวมถึงบทกวีโคลงกลอนด้วย (ดูตัวอย่างได้ในรูป 2) เรียกได้ว่า งานปักสมัยซ่งนี้ ไม่เพียงปักสิ่งของใช้สอย แต่เป็นงานศิลปะที่มีไว้ชมอีกด้วย (เช่นภาพติดผนัง ภาพติดฉากกั้น ฯลฯ) นอกจากนี้ ยังมีการปักแบบสองด้าน ไม่แพ้งานปักสไตล์ชื่อดังอื่นๆ ของจีนที่เราอาจเคยผ่านตากันมา

    Storyฯ รู้สึกว่า เขียนอย่างไรก็บรรยายความงามของเปี้ยนซิ่วออกมาไม่ได้เพียงพอ ยังอยากให้เพื่อนเพจเข้าไปดูคลิปวีดิโอตามคลิปข้างบน ชอบไม่ชอบอะไรมาเม้นท์ให้ฟังกันบ้างนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://baike.baidu.com/item/雁归西窗月
    https://www.tvzn.com/15774/role/226234.html
    https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk
    http://m.news.xixik.com/content/55c6bf156997ce9f/
    http://5b0988e595225.cdn.sohucs.com/images/20190514/7e22d3dd9d0244ddada007df51228ee0.jpeg
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.yxhenan.com/info/kf/scyjl_13025_1289.html
    https://kknews.cc/collect/4xyn5m2.html
    https://baike.baidu.com/item/汴绣/1124193
    #ดุจฝันบันดาลใจ #เปี้ยนซิ่ว #ซ่งซิ่ว #งานปักจีนโบราณ #ชิงหมิงซ่างเหอถู
    สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติเพราะ Storyฯ จะไปเที่ยววีคเอนด์นี้ เลยรีบมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากละครจีนโบราณเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีเรื่องราวให้พูดคุยเกี่ยวกับวัฒนธรรมไม่น้อย มีตอนหนึ่งที่หนึ่งในตัวละครสมทบคือซูวุ่ยถูกกักบริเวณโดยแม่ของนาง และจะสามารถก้าวเท้าออกจากบ้านได้ก็ต่อเมื่อนางเรียนงานปัก ‘เปี้ยนซิ่ว’ ได้สำเร็จ สร้างความหนักใจให้แก่นางนัก เป็นการบอกเล่าให้พวกเราทราบได้ว่า งานปักชนิดนี้ยากนักหนา ‘เปี้ยนซิ่ว’ (汴绣)คืออะไร? มันคือสไตล์การปักที่มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ มีชื่อมาจากเมืองหลวงเปี้ยนจิง (หรือที่เราคุ้นหูว่าตงจิง) บ้างเรียกว่า ‘ซ่งซิ่ว’ (宋绣) บ้างจำแนกละเอียดกว่านั้นว่า เปี้ยนซิ่วเป็นงานชาววังในขณะที่ซ่งซิ่วเป็นงานของชาวบ้านทั่วไป Storyฯ ลองไปหาข้อมูลดูเลยพบเจอคลิปวีดีโอนี้ https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk เลยอยากให้เพื่อนๆ ได้ลองดูกัน อาจจะยาวสักนิด แต่จะเห็นภาพได้ดีถึงขั้นตอนการทำต่างๆ ตั้งแต่เลือกผ้าจนปลดออกจากสะดึง และที่สำคัญมีการซูมให้ดูถึงรายละเอียดของงานปักที่ทำเอา Storyฯ รู้สึกทึ่งไม่น้อย งานปักจีนโบราณพัฒนาขึ้นมากในสมัยถังแต่ในสมัยนั้นยังมีเทคนิคการปักไม่กี่แบบ และเมื่อมาถึงสมัยซ่งก็ได้รับการพัฒนายิ่งขึ้นไปอีกเป็นกว่ายี่สิบเทคนิค จากบันทึกโบราณพบว่างานปักเปี้ยนซิ่วโดยหลักเกิดขึ้นจากในวัง เรียกได้ว่าเป็นงานปักชาววัง รับผิดชอบงานฉลองพระองค์และของใช้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในวัง ความนิยมและเทคนิคการปักได้รับความสำคัญจนถึงกับมีการก่อตั้งวิทยาลัยเฉพาะทาง (เหวินซิ่วย่วน / 文绣院) ขึ้นเมื่อปี 1005 มีช่างปักกว่าสามร้อยคน เปี้ยนซิ่วถูกหลงลืมไปตามกาลเวลาจนแทบจะสูญหาย มีไม่กี่คนที่ยังสืบทอดมาภายหลังจากสิ้นราชวงศ์ งานเปี้ยนซิ่วรับการฟื้นฟูเมื่อมีผู้ที่สืบทอดเอาผลงานเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองครบสิบปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปีค.ศ. 1959 โดยผลงานที่สร้างชื่อเสียงชิ้นนี้ก็คืองานปัก <ชิงหมิงซ่างเหอถู> เป็นผลงานที่ได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมากจากประธานเหมา และปัจจุบันถูกจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม (ดูได้จากรูป 1 และรูป 2 บน และจากคลิปวีดีโอที่เป็นการสาธิตการปัก) ต่อมาเปี้ยนซิ่วถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในห้าของสไตล์การปักที่โด่งดังที่สุดของจีน จัดเป็นศิลปะแห่งชาติแขนงหนึ่ง มีการสืบทอดอย่างเป็นทางการ เอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วคืออะไร? เปี้ยนซิ่วขึ้นชื่อว่าเป็นงานละเอียด ใช้เส้นด้ายเพียงหนึ่งหรือสองเส้นเท่านั้น (หมายเหตุ หากสังเกตดีๆ ไหมปักที่เราใช้ทั่วไปปัจจุบันนี้เป็นเกลียวที่ประกอบขึ้นจากด้ายปักหลายเส้น) นำมาปักจนทึบโดยไม่เห็นรอยช่องไฟใดๆ ริมขอบลายปักเลย และอาศัยเทคนิคการปักต่างๆ ไม่ว่าจะความหนานูน ทิศทางของฝีเข็มที่แตกต่าง หรือการคัดสีไหม เพื่อสร้างมิติให้แก่ภาพปัก เพราะเอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วนี้คือการนำงานศิลปะภาพวาดพู่กันจีนมาถ่ายทอดลงบนผืนผ้า ไม่ว่าจะเป็นลายภูผาวารี นก ดอกไม้ คนและสัตว์ รวมถึงบทกวีโคลงกลอนด้วย (ดูตัวอย่างได้ในรูป 2) เรียกได้ว่า งานปักสมัยซ่งนี้ ไม่เพียงปักสิ่งของใช้สอย แต่เป็นงานศิลปะที่มีไว้ชมอีกด้วย (เช่นภาพติดผนัง ภาพติดฉากกั้น ฯลฯ) นอกจากนี้ ยังมีการปักแบบสองด้าน ไม่แพ้งานปักสไตล์ชื่อดังอื่นๆ ของจีนที่เราอาจเคยผ่านตากันมา Storyฯ รู้สึกว่า เขียนอย่างไรก็บรรยายความงามของเปี้ยนซิ่วออกมาไม่ได้เพียงพอ ยังอยากให้เพื่อนเพจเข้าไปดูคลิปวีดิโอตามคลิปข้างบน ชอบไม่ชอบอะไรมาเม้นท์ให้ฟังกันบ้างนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://baike.baidu.com/item/雁归西窗月 https://www.tvzn.com/15774/role/226234.html https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk http://m.news.xixik.com/content/55c6bf156997ce9f/ http://5b0988e595225.cdn.sohucs.com/images/20190514/7e22d3dd9d0244ddada007df51228ee0.jpeg Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.yxhenan.com/info/kf/scyjl_13025_1289.html https://kknews.cc/collect/4xyn5m2.html https://baike.baidu.com/item/汴绣/1124193 #ดุจฝันบันดาลใจ #เปี้ยนซิ่ว #ซ่งซิ่ว #งานปักจีนโบราณ #ชิงหมิงซ่างเหอถู
    0 Comments 0 Shares 516 Views 0 Reviews
  • เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยจำได้ว่า Storyฯ เคยเขียนว่าพระเอกในเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> ‘ลู่อี้’ นั้นมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ วันนี้มาคุยกันกับเกร็ดประวัติศาสตร์จากละครเรื่องนี้ที่ Storyฯ เพิ่งได้กลับมาตั้งใจดูอีกครั้งและพบว่าตัวเองตกหล่นรายละเอียดไปไม่น้อย

    เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่าในเนื้อเรื่องมีตัวร้ายคือ ‘เหยียนซื่อฟาน’ ซึ่งเป็นลูกชายของขุนนางตัวโกงนาม ‘เหยียนซง’ ซึ่งทั้งสองคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในรัชสมัยขององค์หมิงซื่อจงแห่งราชวง์หมิง โดยเหยียนซงรับตำแหน่งหัวหน้าของคณะขุนนางสูงสุดหรือที่เรียกว่า ‘เน่ยเก๋อ’ (内阁 จึงเป็นที่มาของการเรียกขาน เหยียนซื่อฟานว่า ‘เสี่ยวเก๋อเหล่า’) ในละครมีฉากที่เหยียนซื่อฟานได้ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาและมีการถกกันว่าเป็นภาพของแท้หรือไม่

    Storyฯ เคยเขียนถึงภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาแล้วตอนที่คุยกันเกี่ยวกับละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> แต่วันนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติม ขอถอดบทสนทนาจากในละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> มาดังนี้
    ... “ได้ยินมาว่าจางเจ๋อตวนใช้เวลาหนึ่งปีก็วาดภาพม้วนยาวนี้เสร็จ นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถหายาก... ท่านใต้เท่าสวี่... เชิญท่านลองคุยๆ ดูภาพนี้จริงปลอมหรือไม่อย่างไร” เหยียนซงกล่าว
    ใต้เท้าสวี่เอ่ย “...ตามที่ข้าน้อยทราบมา ภาพนี้ควรมีลายพระอักษรรูปแบบโซ่วจินขององค์ซ่งฮุยจงเป็นคำว่า ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ห้าอักษร... และมีตราประทับมังกรคู่ อีกทั้งมีบทกลอนนำ ภาพนี้ดูแล้วไม่คล้ายเป็นภาพวาดเลียนแบบ” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ยาว 528 ซม. สูง 24.8 ซม. เป็นหนึ่งในสิบของภาพโบราณที่มีค่าที่สุดของจีน ถูกวาดขึ้นโดยจางเจ๋อตวน เขาใช้เวลาหนึ่งปีในการวาดภาพนี้จริงหรือไม่ ไม่ปรากฏหลักฐานหรือบันทึกใดกล่าวชัด แต่ภาพนี้เคยตกอยู่ในมือของเหยียนซงจริง! ตอนที่ตระกูลเหยียนถูกลงทัณฑ์และยึดสมบัตินั้น รายชื่อของสมบัติที่ริบได้นั้นยาวถึง 140 หน้ากระดาษและหนึ่งในนั้นก็คือ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ นี้

    จากบันทึกที่พอแกะรอยกันได้ ว่ากันว่าภาพนี้แรกเริ่มถูกนำถวายองค์ซ่งฮุยจง (ค.ศ. 1522-1566) และพระองค์ทรงเขียนชื่อ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ขึ้นบนภาพด้วยอักษรในรูปแบบ ‘โซ่วจิน’ ซึ่งเป็นรูปแบบอักษรที่ทรงคิดประดิษฐ์ขึ้นเอง (ดูตัวอย่างจากรูป2 ขวา) เป็นที่ถกเถียงกันต่อมาว่าทรงโปรดภาพนี้หรือไม่เพราะมันไม่ได้ถูกเก็บไว้ในท้องพระคลังแต่ถูกพระราชทานให้ขุนนาง

    หลังจากนั้น ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ผ่านการเดินทางอย่างโชกโชน ในช่วงที่ราชวงศ์จินยึดแผ่นดินซ่งได้สำเร็จนั้น ว่ากันว่ามันถูกเก็บเข้าท้องพระคลังและถูกยักยอกออกมาขายทอดตลาด เป็นช่วงที่มีการเขียนบทนำลงไปหน้าภาพ ต่อมาในสมัยหยวนก็ถูกซื้อเก็บเข้าท้องพระคลังอีกครั้งและถูกยักยอกออกมาขายอีก มีการเสาะหามันเรื่อยมาจนตกมาอยู่ในมือของเหยียนซงในสมัยหมิง โดยที่ก่อนหน้านั้นปรากฏงานลอกเลียนแบบออกมาจำนวนไม่น้อย ต่อมามันถูกริบเป็นสมบัติหลวงอีกครั้งโดยมีการลบตราประทับที่แสดงความเป็นเจ้าของของตระกูลเหยียนออกจากภาพ หลังจากนั้นมันถูกเปลี่ยนมือไปมาในแวดวงขุนนาง โดยไม่แน่ว่าเป็นการได้รับพระราชทานหรือยักยอก และปรากฏบทความนำหน้าภาพขึ้นมาเพิ่มอีก โดยที่ลายพระหัตถ์ขององค์หมิงซื่อจงไม่ทราบว่าหายไปจากภาพตั้งแต่เมื่อใด ผู้ที่ถือครองครั้งสุดท้ายว่ากันว่าคือขันทีนามว่า ‘เฝิงเป่า’ ซึ่งต่อมาถูกลงทัณฑ์ริบสมบัติ

    ภาพนี้หายสาบสูญไปนานกว่าสองร้อยปี แน่นอนว่ามีภาพปลอมจำนวนไม่น้อยปรากฏขึ้น และภาพที่เชื่อว่าเป็นฉบับจริงนี้ปรากฏในตลาดและมาถึงมือของพิพิธภัณฑ์มณฑลเหลียวหนิงในปีค.ศ. 1950 ปัจจุบันถูกเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับลู่อี้: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0QA8xxCRgWSD6jP6PexAdnrZmEdGAHVxGTu3UXj3CpZfkovdY37ft9rQbauD6KfQzl
    บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับชิงหมิงซ่างเหอถู: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid01MbyBtawx6X9xEHogRvHY8NesM2MVWHUBgYeuujQnFrPFA39dgddSihm4jjXrfiPl

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://www.zgsshh.com/Works_body.asp?id=1190&amp;qx=137
    http://www.fengxuelin.com/tougao/16546.html
    http://ent.sina.com.cn/v/m/2017-10-12/doc-ifymviyp0369720.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2010/06-21/2352544.shtml
    http://collection.sina.com.cn/jczs/2016-10-26/doc-ifxwztrt0466746.shtml
    https://baike.baidu.com/item/瘦金体/884949

    #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ชิงหมิงซ่างเหอถู #เหยียนซื่อฟาน #ซ่งฮุยจง #อักษรโซ่วจิน
    เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยจำได้ว่า Storyฯ เคยเขียนว่าพระเอกในเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> ‘ลู่อี้’ นั้นมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ วันนี้มาคุยกันกับเกร็ดประวัติศาสตร์จากละครเรื่องนี้ที่ Storyฯ เพิ่งได้กลับมาตั้งใจดูอีกครั้งและพบว่าตัวเองตกหล่นรายละเอียดไปไม่น้อย เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่าในเนื้อเรื่องมีตัวร้ายคือ ‘เหยียนซื่อฟาน’ ซึ่งเป็นลูกชายของขุนนางตัวโกงนาม ‘เหยียนซง’ ซึ่งทั้งสองคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในรัชสมัยขององค์หมิงซื่อจงแห่งราชวง์หมิง โดยเหยียนซงรับตำแหน่งหัวหน้าของคณะขุนนางสูงสุดหรือที่เรียกว่า ‘เน่ยเก๋อ’ (内阁 จึงเป็นที่มาของการเรียกขาน เหยียนซื่อฟานว่า ‘เสี่ยวเก๋อเหล่า’) ในละครมีฉากที่เหยียนซื่อฟานได้ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาและมีการถกกันว่าเป็นภาพของแท้หรือไม่ Storyฯ เคยเขียนถึงภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาแล้วตอนที่คุยกันเกี่ยวกับละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> แต่วันนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติม ขอถอดบทสนทนาจากในละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> มาดังนี้ ... “ได้ยินมาว่าจางเจ๋อตวนใช้เวลาหนึ่งปีก็วาดภาพม้วนยาวนี้เสร็จ นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถหายาก... ท่านใต้เท่าสวี่... เชิญท่านลองคุยๆ ดูภาพนี้จริงปลอมหรือไม่อย่างไร” เหยียนซงกล่าว ใต้เท้าสวี่เอ่ย “...ตามที่ข้าน้อยทราบมา ภาพนี้ควรมีลายพระอักษรรูปแบบโซ่วจินขององค์ซ่งฮุยจงเป็นคำว่า ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ห้าอักษร... และมีตราประทับมังกรคู่ อีกทั้งมีบทกลอนนำ ภาพนี้ดูแล้วไม่คล้ายเป็นภาพวาดเลียนแบบ” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ยาว 528 ซม. สูง 24.8 ซม. เป็นหนึ่งในสิบของภาพโบราณที่มีค่าที่สุดของจีน ถูกวาดขึ้นโดยจางเจ๋อตวน เขาใช้เวลาหนึ่งปีในการวาดภาพนี้จริงหรือไม่ ไม่ปรากฏหลักฐานหรือบันทึกใดกล่าวชัด แต่ภาพนี้เคยตกอยู่ในมือของเหยียนซงจริง! ตอนที่ตระกูลเหยียนถูกลงทัณฑ์และยึดสมบัตินั้น รายชื่อของสมบัติที่ริบได้นั้นยาวถึง 140 หน้ากระดาษและหนึ่งในนั้นก็คือ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ นี้ จากบันทึกที่พอแกะรอยกันได้ ว่ากันว่าภาพนี้แรกเริ่มถูกนำถวายองค์ซ่งฮุยจง (ค.ศ. 1522-1566) และพระองค์ทรงเขียนชื่อ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ขึ้นบนภาพด้วยอักษรในรูปแบบ ‘โซ่วจิน’ ซึ่งเป็นรูปแบบอักษรที่ทรงคิดประดิษฐ์ขึ้นเอง (ดูตัวอย่างจากรูป2 ขวา) เป็นที่ถกเถียงกันต่อมาว่าทรงโปรดภาพนี้หรือไม่เพราะมันไม่ได้ถูกเก็บไว้ในท้องพระคลังแต่ถูกพระราชทานให้ขุนนาง หลังจากนั้น ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ผ่านการเดินทางอย่างโชกโชน ในช่วงที่ราชวงศ์จินยึดแผ่นดินซ่งได้สำเร็จนั้น ว่ากันว่ามันถูกเก็บเข้าท้องพระคลังและถูกยักยอกออกมาขายทอดตลาด เป็นช่วงที่มีการเขียนบทนำลงไปหน้าภาพ ต่อมาในสมัยหยวนก็ถูกซื้อเก็บเข้าท้องพระคลังอีกครั้งและถูกยักยอกออกมาขายอีก มีการเสาะหามันเรื่อยมาจนตกมาอยู่ในมือของเหยียนซงในสมัยหมิง โดยที่ก่อนหน้านั้นปรากฏงานลอกเลียนแบบออกมาจำนวนไม่น้อย ต่อมามันถูกริบเป็นสมบัติหลวงอีกครั้งโดยมีการลบตราประทับที่แสดงความเป็นเจ้าของของตระกูลเหยียนออกจากภาพ หลังจากนั้นมันถูกเปลี่ยนมือไปมาในแวดวงขุนนาง โดยไม่แน่ว่าเป็นการได้รับพระราชทานหรือยักยอก และปรากฏบทความนำหน้าภาพขึ้นมาเพิ่มอีก โดยที่ลายพระหัตถ์ขององค์หมิงซื่อจงไม่ทราบว่าหายไปจากภาพตั้งแต่เมื่อใด ผู้ที่ถือครองครั้งสุดท้ายว่ากันว่าคือขันทีนามว่า ‘เฝิงเป่า’ ซึ่งต่อมาถูกลงทัณฑ์ริบสมบัติ ภาพนี้หายสาบสูญไปนานกว่าสองร้อยปี แน่นอนว่ามีภาพปลอมจำนวนไม่น้อยปรากฏขึ้น และภาพที่เชื่อว่าเป็นฉบับจริงนี้ปรากฏในตลาดและมาถึงมือของพิพิธภัณฑ์มณฑลเหลียวหนิงในปีค.ศ. 1950 ปัจจุบันถูกเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับลู่อี้: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0QA8xxCRgWSD6jP6PexAdnrZmEdGAHVxGTu3UXj3CpZfkovdY37ft9rQbauD6KfQzl บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับชิงหมิงซ่างเหอถู: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid01MbyBtawx6X9xEHogRvHY8NesM2MVWHUBgYeuujQnFrPFA39dgddSihm4jjXrfiPl Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://www.zgsshh.com/Works_body.asp?id=1190&amp;qx=137 http://www.fengxuelin.com/tougao/16546.html http://ent.sina.com.cn/v/m/2017-10-12/doc-ifymviyp0369720.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2010/06-21/2352544.shtml http://collection.sina.com.cn/jczs/2016-10-26/doc-ifxwztrt0466746.shtml https://baike.baidu.com/item/瘦金体/884949 #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ชิงหมิงซ่างเหอถู #เหยียนซื่อฟาน #ซ่งฮุยจง #อักษรโซ่วจิน
    0 Comments 0 Shares 629 Views 0 Reviews
  • ตามรอยเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านเส้นทางสายไหม

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> คงจำได้ว่าฉากหลังของเรื่องคือการค้าอัญมณีในสมัยถัง ซึ่งเส้นทางการเดินทางมีทั้งการเดินเรือทะเลและข้ามทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ ชวนให้ Storyฯ งงไม่น้อยเลยลองไปหาข้อมูลดู

    มีบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเหอหนานกล่าวไว้ว่าจริงๆ แล้วซีรีส์เรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> นี้คือการเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งก็ตรงกับตอนจบของเรื่องที่กล่าวถึงการพัฒนาด้านการค้าผ่านเส้นทางสายไหม

    Storyฯ เลยลองเอาการเดินทางของพระเอกนางเอกจากในซีรีส์มาปักหมุดลง เราลองมาดูกันค่ะ

    มีบทความและแผนที่เกี่ยวกับเส้นทางสายไหมจำนวนไม่น้อยในหลากหลายภาษา ดังนั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด แต่จากการเปรียบเทียบดู Storyฯ พบว่ามีความแตกต่างกันบ้าง จึงขอใช้เวอร์ชั่นที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์หนิงเซี่ยกู้หยวนเป็นหลักเพราะถือว่าเป็นไปตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่จีนบันทึกเอง (ดูรูปประกอบ 2) เราจะเห็นว่าเส้นทางสายไหมมีเส้นทางบกและเส้นทางทะเล และเส้นทางบกไม่ได้จบลงที่เมืองฉางอัน (ซีอันปัจจุบัน) อย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่มีการเชื่อมต่อไปจรดทะเลเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางทะเล

    Storyฯ ลองใส่ข้อมูลอื่นเพิ่มเข้าไปในแผนที่เต็มนี้ (ดูรูปประกอบ 1) ก่อนอื่นคือใส่แผนที่ของราชวงศ์ถังซ้อนลงไปเพื่อให้เห็นภาพอาณาเขตโดยคร่าว ทั้งนี้ตลอดสามร้อยกว่าปีการปกครองของถังในเขตซีอวี้ (ซินเกียงปัจจุบัน) แตกต่างกันไป เลยลองใช้แผนที่ของช่วงประมาณปีค.ศ. 700 ก็จะเห็นเขตพื้นที่ซีอวี้ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่มีเมืองตุนหวงเป็นเสมือนประตูทางผ่าน จากนั้นใส่เขตพื้นที่มณฑลหยางโจวในสมัยนั้นซึ่งอยู่ทางใต้ของแผนที่ติดทะเล (คือเส้นประเล็กๆ) (หมายเหตุ เส้นขอบทั้งหมดอาจไม่เป๊ะด้วยข้อจำกัดการวาดของ Storyฯ เอง)

    เมื่อใส่เสร็จแล้วก็เห็นได้เลยว่าตวนอู่และเยี่ยจื่อจิงของเราในเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> เขาเดินทางตามเส้นทางสายใหม่จริงๆ

    เริ่มกันที่ด้านล่างของแผนที่ซึ่งเป็นแถบพื้นที่เหอผู่อันเป็นแหล่งเก็บมุกทะเล (ปัจจุบันเรียกเป๋ยไห่ คือพื้นที่สีแดง) ที่นี่เป็นฉากเริ่มต้นของเรื่อง (ย้อนอ่านเรื่องการเก็บมุกได้จากบทความสัปดาห์ที่แล้ว) จากนั้นเดินทางผ่านกวางเจาขึ้นเหนือและสู้รบปรบมือกับคนตระกูลชุยและศัตรูอื่นเป็นระยะตั้งแต่เมืองซ่าวโจวถึงเมืองอู่หลิง จากนั้นเดินทางเรื่อยขึ้นไปจนถึงเมืองเปี้ยนโจวซึ่งคือเมืองไคฟงปัจจุบัน แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านนครฉางอัน ข้ามเขตทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ซึ่งการเข้าเขตซีอวี้ในสมัยนั้นจะผ่านเมืองตุนหวง ณ จุดนี้ เรื่องราวผ่านไปแล้วประมาณ 1/3 ของเรื่อง

    หลังจากนั้นเหล่าตัวละครกลับมาจากซีอวี้แล้วเดินทางมาถึงเมืองหยางโจวข้ามผ่านระยะทางอย่างไกลได้อย่างไรไม่ทราบได้ Storyฯ ดูจากแผนที่แล้วน่าจะย้อนกลับมาทางเมืองเปี้ยนเฉิงและจากจุดนั้นมีเส้นทาง (ที่ไม่ใช่เส้นทางสายไหมและไม่ได้วาดไว้ในรูปประกอบ) เชื่อมลงมายังเมืองหยางโจว ซึ่งมีทั้งเส้นทางบกและเส้นทางคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่สามารถใช้ได้ (หมายเหตุ เส้นทางต้าอวิ้นเหอมีการเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยหมิงเป็นต้นมา) และเรื่องราวที่เหลือของเรื่องก็จะมีฉากหลังอยู่ที่การค้าอัญมณีที่เมืองหยางโจวนี้

    ในเรื่องมีกล่าวถึงอัญมณีหนึ่งที่น่าสนใจชื่อว่า ‘เซ่อเซ่อ’ (瑟瑟 ไม่แน่ใจว่าแปลซับไทยไว้ว่าอย่างไร) ซึ่งเป็นพลอยประเภท Beryl Stone มีสีเขียวฟ้าและฟ้า บอกว่าเป็นพลอยที่มีค่าหายากมาก ในความเป็นจริง Beryl Stone แบ่งเป็นประเภทย่อยอีกตามสี แต่เรามักเรียกรวมพลอยสีฟ้าเขียวว่าพลอยอะความารีน (Aquamarine) และในละครมีการกล่าวว่าพลอยเซ่อเซ่อเกรดดีส่วนใหญ่มาจากเขตซีอวี้ แต่แถวหยางโจวก็พอให้หาซื้อได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจริงตามประวัติศาสตร์ เพราะพลอยเซ่อเซ่อในจีนหาได้ในสามพื้นที่หลักคือซินเกียง (ซีอวี้) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ และที่ยูนนานและหูเป่ย (ไม่ไกลจากเมืองอู่หลิงในภาพ ซึ่งเป็นจุดที่น้องชุยสือจิ่วของเราถูกจับขังในเหมือง)

    เมืองหยางโจวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางเรือของจีนโบราณ จึงไม่แปลกที่เรามักเห็นในซีรีส์และนิยายจีนโบราณกล่าวถึงหยางโจวว่าเป็นเขตค้าขายมีตระกูลพ่อค้าร่ำรวย ที่นี่ไม่เพียงเป็นจุดเชื่อมเส้นทางสายไหมทางบกและทะเลโดยผ่านแม่น้ำแยงซีเกียง และยังมีคลองต้าอวิ้นเหอเชื่อมขึ้นเหนือ ในสมัยถังที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้าเสบียงอาหาร เกลือและเหล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจีน อีกทั้งค้าขายส่งออกผ้าไหมและงานกระเบื้องรวมถึงนำเข้าสินค้าหลากชนิดผ่านเส้นทางบกและเรือ นอกจากนี้ที่นี่ยังขึ้นชื่อเรื่องงานช่างงานฝีมือและมีการพบเจอซากเรือสมัยถังพร้อมเครื่องประดับมากมายที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยถังมีการค้าขายเครื่องประดับด้วยเช่นกัน

    หวังว่าเพื่อนเพจจะเห็นภาพแล้วว่าการเดินเรื่องของ <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านพื้นที่ไหนบ้าง และทำไมเหล่าคู่อริทางการค้าจึงพบหน้ากันบ่อย... เพราะทุกคนล้วนค้าขายและใช้เส้นทางสายไหมกันนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://m.bjnews.com.cn/detail/1730788116168379.html
    https://www.chinadiscovery.com/assets/images/silk-road/history/tang-silk-road-map-llsboc-qunar.jpg
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/JG5GE87L0512D3VJ.html
    https://www.163.com/dy/article/JGCT7TAP0530WJTO.html
    https://baike.baidu.com/item/扬州市
    https://turnstone.ca/rom186be.htm

    #ม่านมุกม่านหยก #เส้นทางสายไหม #พลอยจีน #หยางโจว #สาระจีน
    ตามรอยเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านเส้นทางสายไหม สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> คงจำได้ว่าฉากหลังของเรื่องคือการค้าอัญมณีในสมัยถัง ซึ่งเส้นทางการเดินทางมีทั้งการเดินเรือทะเลและข้ามทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ ชวนให้ Storyฯ งงไม่น้อยเลยลองไปหาข้อมูลดู มีบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเหอหนานกล่าวไว้ว่าจริงๆ แล้วซีรีส์เรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> นี้คือการเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งก็ตรงกับตอนจบของเรื่องที่กล่าวถึงการพัฒนาด้านการค้าผ่านเส้นทางสายไหม Storyฯ เลยลองเอาการเดินทางของพระเอกนางเอกจากในซีรีส์มาปักหมุดลง เราลองมาดูกันค่ะ มีบทความและแผนที่เกี่ยวกับเส้นทางสายไหมจำนวนไม่น้อยในหลากหลายภาษา ดังนั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด แต่จากการเปรียบเทียบดู Storyฯ พบว่ามีความแตกต่างกันบ้าง จึงขอใช้เวอร์ชั่นที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์หนิงเซี่ยกู้หยวนเป็นหลักเพราะถือว่าเป็นไปตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่จีนบันทึกเอง (ดูรูปประกอบ 2) เราจะเห็นว่าเส้นทางสายไหมมีเส้นทางบกและเส้นทางทะเล และเส้นทางบกไม่ได้จบลงที่เมืองฉางอัน (ซีอันปัจจุบัน) อย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่มีการเชื่อมต่อไปจรดทะเลเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางทะเล Storyฯ ลองใส่ข้อมูลอื่นเพิ่มเข้าไปในแผนที่เต็มนี้ (ดูรูปประกอบ 1) ก่อนอื่นคือใส่แผนที่ของราชวงศ์ถังซ้อนลงไปเพื่อให้เห็นภาพอาณาเขตโดยคร่าว ทั้งนี้ตลอดสามร้อยกว่าปีการปกครองของถังในเขตซีอวี้ (ซินเกียงปัจจุบัน) แตกต่างกันไป เลยลองใช้แผนที่ของช่วงประมาณปีค.ศ. 700 ก็จะเห็นเขตพื้นที่ซีอวี้ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่มีเมืองตุนหวงเป็นเสมือนประตูทางผ่าน จากนั้นใส่เขตพื้นที่มณฑลหยางโจวในสมัยนั้นซึ่งอยู่ทางใต้ของแผนที่ติดทะเล (คือเส้นประเล็กๆ) (หมายเหตุ เส้นขอบทั้งหมดอาจไม่เป๊ะด้วยข้อจำกัดการวาดของ Storyฯ เอง) เมื่อใส่เสร็จแล้วก็เห็นได้เลยว่าตวนอู่และเยี่ยจื่อจิงของเราในเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> เขาเดินทางตามเส้นทางสายใหม่จริงๆ เริ่มกันที่ด้านล่างของแผนที่ซึ่งเป็นแถบพื้นที่เหอผู่อันเป็นแหล่งเก็บมุกทะเล (ปัจจุบันเรียกเป๋ยไห่ คือพื้นที่สีแดง) ที่นี่เป็นฉากเริ่มต้นของเรื่อง (ย้อนอ่านเรื่องการเก็บมุกได้จากบทความสัปดาห์ที่แล้ว) จากนั้นเดินทางผ่านกวางเจาขึ้นเหนือและสู้รบปรบมือกับคนตระกูลชุยและศัตรูอื่นเป็นระยะตั้งแต่เมืองซ่าวโจวถึงเมืองอู่หลิง จากนั้นเดินทางเรื่อยขึ้นไปจนถึงเมืองเปี้ยนโจวซึ่งคือเมืองไคฟงปัจจุบัน แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านนครฉางอัน ข้ามเขตทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ซึ่งการเข้าเขตซีอวี้ในสมัยนั้นจะผ่านเมืองตุนหวง ณ จุดนี้ เรื่องราวผ่านไปแล้วประมาณ 1/3 ของเรื่อง หลังจากนั้นเหล่าตัวละครกลับมาจากซีอวี้แล้วเดินทางมาถึงเมืองหยางโจวข้ามผ่านระยะทางอย่างไกลได้อย่างไรไม่ทราบได้ Storyฯ ดูจากแผนที่แล้วน่าจะย้อนกลับมาทางเมืองเปี้ยนเฉิงและจากจุดนั้นมีเส้นทาง (ที่ไม่ใช่เส้นทางสายไหมและไม่ได้วาดไว้ในรูปประกอบ) เชื่อมลงมายังเมืองหยางโจว ซึ่งมีทั้งเส้นทางบกและเส้นทางคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่สามารถใช้ได้ (หมายเหตุ เส้นทางต้าอวิ้นเหอมีการเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยหมิงเป็นต้นมา) และเรื่องราวที่เหลือของเรื่องก็จะมีฉากหลังอยู่ที่การค้าอัญมณีที่เมืองหยางโจวนี้ ในเรื่องมีกล่าวถึงอัญมณีหนึ่งที่น่าสนใจชื่อว่า ‘เซ่อเซ่อ’ (瑟瑟 ไม่แน่ใจว่าแปลซับไทยไว้ว่าอย่างไร) ซึ่งเป็นพลอยประเภท Beryl Stone มีสีเขียวฟ้าและฟ้า บอกว่าเป็นพลอยที่มีค่าหายากมาก ในความเป็นจริง Beryl Stone แบ่งเป็นประเภทย่อยอีกตามสี แต่เรามักเรียกรวมพลอยสีฟ้าเขียวว่าพลอยอะความารีน (Aquamarine) และในละครมีการกล่าวว่าพลอยเซ่อเซ่อเกรดดีส่วนใหญ่มาจากเขตซีอวี้ แต่แถวหยางโจวก็พอให้หาซื้อได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจริงตามประวัติศาสตร์ เพราะพลอยเซ่อเซ่อในจีนหาได้ในสามพื้นที่หลักคือซินเกียง (ซีอวี้) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ และที่ยูนนานและหูเป่ย (ไม่ไกลจากเมืองอู่หลิงในภาพ ซึ่งเป็นจุดที่น้องชุยสือจิ่วของเราถูกจับขังในเหมือง) เมืองหยางโจวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางเรือของจีนโบราณ จึงไม่แปลกที่เรามักเห็นในซีรีส์และนิยายจีนโบราณกล่าวถึงหยางโจวว่าเป็นเขตค้าขายมีตระกูลพ่อค้าร่ำรวย ที่นี่ไม่เพียงเป็นจุดเชื่อมเส้นทางสายไหมทางบกและทะเลโดยผ่านแม่น้ำแยงซีเกียง และยังมีคลองต้าอวิ้นเหอเชื่อมขึ้นเหนือ ในสมัยถังที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้าเสบียงอาหาร เกลือและเหล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจีน อีกทั้งค้าขายส่งออกผ้าไหมและงานกระเบื้องรวมถึงนำเข้าสินค้าหลากชนิดผ่านเส้นทางบกและเรือ นอกจากนี้ที่นี่ยังขึ้นชื่อเรื่องงานช่างงานฝีมือและมีการพบเจอซากเรือสมัยถังพร้อมเครื่องประดับมากมายที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยถังมีการค้าขายเครื่องประดับด้วยเช่นกัน หวังว่าเพื่อนเพจจะเห็นภาพแล้วว่าการเดินเรื่องของ <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านพื้นที่ไหนบ้าง และทำไมเหล่าคู่อริทางการค้าจึงพบหน้ากันบ่อย... เพราะทุกคนล้วนค้าขายและใช้เส้นทางสายไหมกันนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://m.bjnews.com.cn/detail/1730788116168379.html https://www.chinadiscovery.com/assets/images/silk-road/history/tang-silk-road-map-llsboc-qunar.jpg Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/JG5GE87L0512D3VJ.html https://www.163.com/dy/article/JGCT7TAP0530WJTO.html https://baike.baidu.com/item/扬州市 https://turnstone.ca/rom186be.htm #ม่านมุกม่านหยก #เส้นทางสายไหม #พลอยจีน #หยางโจว #สาระจีน
    M.BJNEWS.COM.CN
    赵露思、刘宇宁新剧《珠帘玉幕》今日卫视开播
    赵露思、刘宇宁新剧《珠帘玉幕》今日卫视开播
    0 Comments 0 Shares 722 Views 0 Reviews
  • หลวงพ่อเพชรสุรินทร์หลังหลวงปู่หงษ์ ปี2548
    หลวงพ่อเพชรสุรินทร์หลังหลวงปู่หงษ์ สุสานทุ่งมน (วัดเพชรบุรี) อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ปี2548 // รุ่นสร้างอุโบสถ วัดเจ้าคุณสามราษฎร์นุกุล สุรินทร์ // พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณเด่นด้านเมตตาโชคลาภ และแคล้วคลาด ค้าขายก็ดี เมตตามหานิยม มากประสบการณ์

    ** หลวงปู่หงษ์ ยอดเกจิอาจารย์สายอิทธิฤทธิ์ดังในดินแดนอีสานใต้ ผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตาบารมี มีชื่อเสียงไม่เป็นรองใครในด้านสรรพวิชาอาคม วัตถุมงคล ของขลัง หลวงปู่หงษ์มีลูกศิษย์ ลูกหามากมายไม่เพียงแค่ในประเทศ แต่กระจายไปทั้งกัมพูชา มาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่แห่แหนกันไปสักการะบูชาเสริมสิริมงคลกันที่ ปราสาทเพชร พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ

    ** พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    หลวงพ่อเพชรสุรินทร์หลังหลวงปู่หงษ์ ปี2548 หลวงพ่อเพชรสุรินทร์หลังหลวงปู่หงษ์ สุสานทุ่งมน (วัดเพชรบุรี) อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ปี2548 // รุ่นสร้างอุโบสถ วัดเจ้าคุณสามราษฎร์นุกุล สุรินทร์ // พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณเด่นด้านเมตตาโชคลาภ และแคล้วคลาด ค้าขายก็ดี เมตตามหานิยม มากประสบการณ์ ** หลวงปู่หงษ์ ยอดเกจิอาจารย์สายอิทธิฤทธิ์ดังในดินแดนอีสานใต้ ผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตาบารมี มีชื่อเสียงไม่เป็นรองใครในด้านสรรพวิชาอาคม วัตถุมงคล ของขลัง หลวงปู่หงษ์มีลูกศิษย์ ลูกหามากมายไม่เพียงแค่ในประเทศ แต่กระจายไปทั้งกัมพูชา มาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่แห่แหนกันไปสักการะบูชาเสริมสิริมงคลกันที่ ปราสาทเพชร พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ ** พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 Comments 0 Shares 248 Views 0 Reviews
  • และแล้วเราก็คุยกันมาถึงภาพสุดท้ายของสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี

    ภาพที่จะกล่าวถึงในวันนี้เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปยังพระตำหนักจิ่งเหรินกง ดูจากไทม์ไลน์แล้วน่าจะเป็นที่ประทับของฉุนเฟย แต่ในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฉุนเฟยประทับที่พระตำหนักจงชุ่ยกง ภาพนี้มีชื่อว่า ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ (燕姞梦兰图) หน้าตาแท้จริงเป็นอย่างไรไม่ทราบได้ เพราะว่าสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพวาดโดยจิตรกรญี่ปุ่น

    เรื่องราวของภาพคือเรื่องของเยี่ยนจี๋ อนุภรรยาของเจิ้งเหวินกง เจ้าผู้ปกครองแคว้นเจิ้งในยุคสมัยชุนชิว (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความ) นางฝันว่ามีเทพธิดานำดอกหลันฮวามามอบให้และบอกว่าดอกไม้นี้จะทำให้นางได้รับความรักจากเจิ้งเหวินกงและจะได้บุตรที่โดดเด่นมาเป็นผู้สืบทอดแผ่นดินต่อไป และวลี ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ ต่อมาถูกใช้เปรียบเปรยถึงความรักที่ออกดอกออกผลเป็นลูกหลาน และสะท้อนความนัยว่า ฝันที่ดีนำมาซึ่งเรื่องราวดีๆ และภาพนี้ถูกตีความว่า หมายถึงการทำสิ่งที่ฝันให้เป็นจริง

    เรื่องนี้คุ้นหูกันบ้างไหม? Storyฯ เคยเล่าถึงเรื่องนี้แล้วตอนที่คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ ลองกลับไปอ่านดูกันนะคะ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/731814662280162)

    ป้ายที่พระราชทานคู่กับภาพนี้คือ ‘จ้านเต๋อกงเหวย’ (赞德宫闱) แปลได้ประมาณว่า ศีลธรรมดีงามได้รับการยกย่องไปทั่วพระราชฐานนางใน

    จบแล้วกับสิบสองภาพวาด Storyฯ นำมาเรียบเรียงอีกครั้ง โดยเรียงลำดับจากพระตำหนักที่อยู่ใกล้พระที่นั่งหยั่งซินเตี้ยน (ที่ประทับฮ่องเต้) ตามนี้ค่ะ

    1. ตำหนักฉี่เสียงกง หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ไท่จี๋เตี้ยน (Hall of Supreme Principle) ภาพ ‘เจียงโฮ่วทัวจาน’ (姜后脱簪 / มเหสีเจียงปลดปิ่น) ความหมายคือคล้อยตามสามี ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/791887496272878)
    2. ตำหนักฉางชุนกง (Palace of Eternal Spring) ภาพ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร) ความหมายคือ สั่งสอนบุตร ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/746257530835875)
    3. ตำหนักหย่งโซ่วกง (Palace of Eternal Longevity) ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (班姬辞辇图 / ปันจีผู้งามมารยาท) ความหมายคือ รู้มารยาทและพิธีการ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/750792533715708)
    4. ตำหนักอี้คุนกง (Palace of Earthly Honor) ภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图 / จาวหรงตัดสินบทกวี) ความหมายคือ การศึกษา ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/764297899031838)
    5. ตำหนักเสียนฝูกง (Palace of Universal Happiness) ภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ (婕妤当熊图 / เจี๋ยอวี๋ขวางหมี) ความหมายคือ กล้าหาญ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/768864935241801)
    6. ตำหนักฉู่ซิ่วกง (Palace of Gathered Elegance) ภาพ ‘ซีหลิงเจียวฉาน’ (西陵教蚕图 /ซีหลิงสอนเลี้ยงไหม) ความหมายคือ นวัตกรรม ภาพจริงสูญหายไปแล้ว(https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/754042176724077)
    7. ตำหนักจิ่งเหรินกง (Palace of Great Benevolence) ภาพ ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ (燕姞梦兰 / เยี่ยนจี๋ฝันถึงหลันฮวา) ความหมายคือ วิสัยทัศน์ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ก็คือบทความที่เล่าถึงข้างต้นในวันนี้
    8. ตำหนักเฉินเฉียนกง (Palace of Celestial Favor) ภาพ ‘สวีเฟยจื๋อเจี้ยน’ (徐妃直谏 / สวีเฟยวิพากษ์) ความหมายคือ จงรักภักดีตรงไปตรงมา ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/759313216196973)
    9. ตำหนักจงชุ่ยกง (Palace of Accumulated Purity) ภาพ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้าน’ (许后奉案/ สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร) ความหมายคือ เคารพผู้อาวุโส ภาพจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้พระราชวังต้องห้าม (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/773395164788778)
    10. ตำหนักจิ่งหยางกง (Palace of Great Brilliance) ภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣图 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) ความหมายคือ มัธยัสถ์ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://web.facebook.com/StoryfromStory/posts/797174585744169)
    11. ตำหนักหย่งเหอกง (Palace of Eternal Harmony) ภาพ ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ (樊姬谏猎 / ฝานจีเตือนสติให้หยุดล่าสัตว์) ความหมายคือเตือนสติ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/786677160127245)
    12. ตำหนักเหยียนสี่กง (Palace of Prolonging Happiness) ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) ความหมายคือ ขยันขันแข็ง ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/777707414357553)

    สรุปว่าในบรรดาสิบสองภาพวาดนี้ เหลือของจริงอยู่เพียงภาพเดียวคือ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้าน’ ภาพจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้กง Storyฯ อาจเล่าสะเปะสะปะไปหน่อยและใช้เวลาเล่านานกว่าจะจบครบสิบสองภาพ หวังว่าเรื่องราวในภาพวาดกงซวิ่นถูจะเป็นที่เพลิดเพลินของเพื่อนเพจไม่มากก็น้อย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
    (ป.ล. 2 ชื่อพระตำหนัก Storyฯ แปลเป็นไทยแล้วรู้สึกว่าจั๊กจี้ เลยเอาเป็นคำแปลภาษาอังกฤษมาฝากแทน)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.baike.com/wikiid/2576687878101900972?view_id=y3t51nqv02o00
    Metropolitan Museum of Arts
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/G0GD3GUH0537ML11.html
    https://www.xiumu.cn/ts/2018/0824/4278239.html
    https://www.travelchinaguide.com/attraction/beijing/forbidden/six_eastern.htm
    https://www.travelchinaguide.com/attraction/beijing/forbidden/six_western.htm

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เยี่ยนจี๋ #เจิ้งเหวินกง #เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน #หลันอินซวี่กั่ว #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    และแล้วเราก็คุยกันมาถึงภาพสุดท้ายของสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี ภาพที่จะกล่าวถึงในวันนี้เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปยังพระตำหนักจิ่งเหรินกง ดูจากไทม์ไลน์แล้วน่าจะเป็นที่ประทับของฉุนเฟย แต่ในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฉุนเฟยประทับที่พระตำหนักจงชุ่ยกง ภาพนี้มีชื่อว่า ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ (燕姞梦兰图) หน้าตาแท้จริงเป็นอย่างไรไม่ทราบได้ เพราะว่าสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพวาดโดยจิตรกรญี่ปุ่น เรื่องราวของภาพคือเรื่องของเยี่ยนจี๋ อนุภรรยาของเจิ้งเหวินกง เจ้าผู้ปกครองแคว้นเจิ้งในยุคสมัยชุนชิว (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความ) นางฝันว่ามีเทพธิดานำดอกหลันฮวามามอบให้และบอกว่าดอกไม้นี้จะทำให้นางได้รับความรักจากเจิ้งเหวินกงและจะได้บุตรที่โดดเด่นมาเป็นผู้สืบทอดแผ่นดินต่อไป และวลี ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ ต่อมาถูกใช้เปรียบเปรยถึงความรักที่ออกดอกออกผลเป็นลูกหลาน และสะท้อนความนัยว่า ฝันที่ดีนำมาซึ่งเรื่องราวดีๆ และภาพนี้ถูกตีความว่า หมายถึงการทำสิ่งที่ฝันให้เป็นจริง เรื่องนี้คุ้นหูกันบ้างไหม? Storyฯ เคยเล่าถึงเรื่องนี้แล้วตอนที่คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ ลองกลับไปอ่านดูกันนะคะ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/731814662280162) ป้ายที่พระราชทานคู่กับภาพนี้คือ ‘จ้านเต๋อกงเหวย’ (赞德宫闱) แปลได้ประมาณว่า ศีลธรรมดีงามได้รับการยกย่องไปทั่วพระราชฐานนางใน จบแล้วกับสิบสองภาพวาด Storyฯ นำมาเรียบเรียงอีกครั้ง โดยเรียงลำดับจากพระตำหนักที่อยู่ใกล้พระที่นั่งหยั่งซินเตี้ยน (ที่ประทับฮ่องเต้) ตามนี้ค่ะ 1. ตำหนักฉี่เสียงกง หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ไท่จี๋เตี้ยน (Hall of Supreme Principle) ภาพ ‘เจียงโฮ่วทัวจาน’ (姜后脱簪 / มเหสีเจียงปลดปิ่น) ความหมายคือคล้อยตามสามี ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/791887496272878) 2. ตำหนักฉางชุนกง (Palace of Eternal Spring) ภาพ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร) ความหมายคือ สั่งสอนบุตร ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/746257530835875) 3. ตำหนักหย่งโซ่วกง (Palace of Eternal Longevity) ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (班姬辞辇图 / ปันจีผู้งามมารยาท) ความหมายคือ รู้มารยาทและพิธีการ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/750792533715708) 4. ตำหนักอี้คุนกง (Palace of Earthly Honor) ภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图 / จาวหรงตัดสินบทกวี) ความหมายคือ การศึกษา ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/764297899031838) 5. ตำหนักเสียนฝูกง (Palace of Universal Happiness) ภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ (婕妤当熊图 / เจี๋ยอวี๋ขวางหมี) ความหมายคือ กล้าหาญ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/768864935241801) 6. ตำหนักฉู่ซิ่วกง (Palace of Gathered Elegance) ภาพ ‘ซีหลิงเจียวฉาน’ (西陵教蚕图 /ซีหลิงสอนเลี้ยงไหม) ความหมายคือ นวัตกรรม ภาพจริงสูญหายไปแล้ว(https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/754042176724077) 7. ตำหนักจิ่งเหรินกง (Palace of Great Benevolence) ภาพ ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ (燕姞梦兰 / เยี่ยนจี๋ฝันถึงหลันฮวา) ความหมายคือ วิสัยทัศน์ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ก็คือบทความที่เล่าถึงข้างต้นในวันนี้ 8. ตำหนักเฉินเฉียนกง (Palace of Celestial Favor) ภาพ ‘สวีเฟยจื๋อเจี้ยน’ (徐妃直谏 / สวีเฟยวิพากษ์) ความหมายคือ จงรักภักดีตรงไปตรงมา ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/759313216196973) 9. ตำหนักจงชุ่ยกง (Palace of Accumulated Purity) ภาพ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้าน’ (许后奉案/ สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร) ความหมายคือ เคารพผู้อาวุโส ภาพจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้พระราชวังต้องห้าม (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/773395164788778) 10. ตำหนักจิ่งหยางกง (Palace of Great Brilliance) ภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣图 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) ความหมายคือ มัธยัสถ์ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://web.facebook.com/StoryfromStory/posts/797174585744169) 11. ตำหนักหย่งเหอกง (Palace of Eternal Harmony) ภาพ ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ (樊姬谏猎 / ฝานจีเตือนสติให้หยุดล่าสัตว์) ความหมายคือเตือนสติ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/786677160127245) 12. ตำหนักเหยียนสี่กง (Palace of Prolonging Happiness) ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) ความหมายคือ ขยันขันแข็ง ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/777707414357553) สรุปว่าในบรรดาสิบสองภาพวาดนี้ เหลือของจริงอยู่เพียงภาพเดียวคือ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้าน’ ภาพจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้กง Storyฯ อาจเล่าสะเปะสะปะไปหน่อยและใช้เวลาเล่านานกว่าจะจบครบสิบสองภาพ หวังว่าเรื่องราวในภาพวาดกงซวิ่นถูจะเป็นที่เพลิดเพลินของเพื่อนเพจไม่มากก็น้อย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) (ป.ล. 2 ชื่อพระตำหนัก Storyฯ แปลเป็นไทยแล้วรู้สึกว่าจั๊กจี้ เลยเอาเป็นคำแปลภาษาอังกฤษมาฝากแทน) Credit รูปภาพจาก: https://www.baike.com/wikiid/2576687878101900972?view_id=y3t51nqv02o00 Metropolitan Museum of Arts Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/G0GD3GUH0537ML11.html https://www.xiumu.cn/ts/2018/0824/4278239.html https://www.travelchinaguide.com/attraction/beijing/forbidden/six_eastern.htm https://www.travelchinaguide.com/attraction/beijing/forbidden/six_western.htm #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เยี่ยนจี๋ #เจิ้งเหวินกง #เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน #หลันอินซวี่กั่ว #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 Comments 0 Shares 708 Views 0 Reviews
  • เที่ยว #ตุรกี🪂
    ดินแดน 2 ทวีป 😱🔥

    🗓 จำนวนวัน 9 วัน 7 คืน
    ✈ T5-เติร์กเมนิสถาน แอร์ไลน์
    🏨 พักโรงแรม ⭐⭐⭐

    📍 สุเหร่าสีน้ำเงิน
    📍 ฮิปโปโดรม
    📍 ม้าไม้ทรอย
    📍 เฮียราโพลิส
    📍 ปราสาทปุยฝ้าย
    📍 พิพิธภัณฑ์เมฟลานา
    📍 คาราวานซาราย
    📍 คัปปาโดเกีย
    📍 เกอเรเม่
    📍 หุบเขานกพิราบ
    📍 หุบเขาอุชิซาร์
    📍 นครใต้ดินซาดัค
    📍 ทะเลสาบเกลือ
    📍 อตาเติร์ก
    📍 ซาฟรานโบลู
    📍 ตลาดสไปร์ท
    📍 จัตุรัสทักซิม
    📍 ย่านบาลัท
    📍 หอคอยกาลาตา

    รวมทัวร์ไฟไหม้ ทัวร์หลุดจอง โปรพักเดี่ยว ลดเยอะสุด by 21ปี https://eTravelWay.com🔥
    ⭕️ เข้ากลุ่มลับ Facebook โปรเพียบบบบ : https://78s.me/e86e1a
    ⭕️ เข้ากลุ่มลับ LINE openchat ทัวร์ที่หลุด คลิก https://78s.me/501ad8

    LINE ID: @etravelway.fire
    https://78s.me/e58a3f
    Facebook: etravelway.fire https://78s.me/317663
    Instagram: etravelway.fire https://78s.me/d43626
    Tiktok : https://78s.me/903597
    ☎️: 021166395

    #ทัวร์ตุรกี #ทัวร์ตุรเคีย #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ราคาถูก #etravelwayfire #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    เที่ยว #ตุรกี🪂 ดินแดน 2 ทวีป 😱🔥 🗓 จำนวนวัน 9 วัน 7 คืน ✈ T5-เติร์กเมนิสถาน แอร์ไลน์ 🏨 พักโรงแรม ⭐⭐⭐ 📍 สุเหร่าสีน้ำเงิน 📍 ฮิปโปโดรม 📍 ม้าไม้ทรอย 📍 เฮียราโพลิส 📍 ปราสาทปุยฝ้าย 📍 พิพิธภัณฑ์เมฟลานา 📍 คาราวานซาราย 📍 คัปปาโดเกีย 📍 เกอเรเม่ 📍 หุบเขานกพิราบ 📍 หุบเขาอุชิซาร์ 📍 นครใต้ดินซาดัค 📍 ทะเลสาบเกลือ 📍 อตาเติร์ก 📍 ซาฟรานโบลู 📍 ตลาดสไปร์ท 📍 จัตุรัสทักซิม 📍 ย่านบาลัท 📍 หอคอยกาลาตา รวมทัวร์ไฟไหม้ ทัวร์หลุดจอง โปรพักเดี่ยว ลดเยอะสุด by 21ปี https://eTravelWay.com🔥 ⭕️ เข้ากลุ่มลับ Facebook โปรเพียบบบบ : https://78s.me/e86e1a ⭕️ เข้ากลุ่มลับ LINE openchat ทัวร์ที่หลุด คลิก https://78s.me/501ad8 LINE ID: @etravelway.fire https://78s.me/e58a3f Facebook: etravelway.fire https://78s.me/317663 Instagram: etravelway.fire https://78s.me/d43626 Tiktok : https://78s.me/903597 ☎️: 021166395 #ทัวร์ตุรกี #ทัวร์ตุรเคีย #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ราคาถูก #etravelwayfire #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    0 Comments 0 Shares 662 Views 17 0 Reviews
  • วันนี้ยังคงคุยกันเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ซึ่งก่อนหน้านี้ Storyฯ เคยคุยถึงภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ แห่งพระตำหนักหย่งโซ่วกงว่าเป็นภาพตอนหนึ่งของภาพม้วนยาวที่มีชื่อเรียกว่าภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ (女史箴图 / ข้าราชสำนักหญิงเตือนสติ)

    ภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ เป็นผลงานของกู้ข่ายจือ ซึ่งเดิมมี 12 ตอนแต่สูญหายไปแล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงฉบับคัดลอก 9 ตอน มีความยาวเกือบ 3.5 เมตร มีเนื้อหาเป็นเรื่องเล่าในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 52-7 ก่อนคริสตกาล) โดยภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ นั้นกล่าวถึงเมื่อครั้งฮั่นเฉิงตี้เสด็จประพาสทอดพระเนตรสัตว์สู้กัน โดยมีนางในและพระโอรสตามเสด็จ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/750792533715708)

    วันนี้คุยกันถึงอีกภาพที่เกี่ยวข้องกัน คือภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ (婕妤当熊图 / เจี๋ยอวี๋ขวางหมี) เป็นภาพที่แขวนไว้ที่พระตำหนักเสียนฝูกง ดูเหมือนในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> จะไม่ได้บอกไว้ว่าใครประทับอยู่ที่พระตำหนักนี้ แต่ในประวัติศาสตร์จริง สมัยองค์เฉียนหลงนั้น พระตำหนักเสียนฝูกงนี้เคยถูกใช้เป็นที่ประทับขององค์เฉียนหลงก่อนที่ต่อมาจะย้ายไปประทับที่พระที่นั่งหยั่งซินเตี้ยน

    หน้าตาของภาพนี้เป็นอย่างไร Storyฯ ก็หาไม่พบ ภาพที่นำมาให้ดูในรูปประกอบ 1(กลาง) เป็นภาพที่วาดขึ้นในสมัยองค์คังซีโดยช่างวาดหลวงจินคุน ส่วนภาพที่วาดขึ้นในสมัยขององค์เฉียนหลงนั้น คือรูปประกอบ 1(ขวา) ซึ่งทรงให้ช่างวาดหลวงวาดขึ้นใหม่เมื่อปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 30 ภายหลังจากเกิดเรื่องราวของฮองเฮาอูลาน่าลาตัดผม (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์)

    แต่ก่อนจะคุยเรื่องภาพวาด ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ สองภาพในสมัยเฉียนหลง คงต้องคุยเกี่ยวกับเรื่องราวที่กล่าวถึงในภาพเสียก่อน ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวมีต้นตอมาจากอีกตอนหนึ่งของภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ (ดูรูปประกอบ 2)

    เจี๋ยอวี๋เป็นตำแหน่งพระสนม แล้วเจี๋ยอวี๋ที่กล่าวถึงในภาพคือใคร?

    นางคือเฝิงเจี๋ยอวี๋ เป็นพระสนมในองค์ฮั่นหยวนตี้ (ครองราชย์ปี 48-33 ก่อนคริสตกาล คือพระบิดาขององค์ฮั่นเฉิงตี้ที่กล่าวถึงในภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’) นามเดิมว่าเฝิงเยวี่ยน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นจาวอี๋ บันทึกเกี่ยวกับฮั่นหยวนตี้มีไม่มากเพราะไม่ได้มีผลงานสร้างชื่ออะไรมาก ที่เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินถึงก็คือทรงส่งหวางเจาจวินไปแต่งงานเพื่อผูกมิตรกับเผ่าซวงหนู และชีวประวัติเกี่ยวกับเฝิงเจี๋ยอวี๋เองก็มีไม่มาก นอกจากกล่าวไว้ว่ามาจากตระกูลเฝิงซึ่งเป็นตระกูลขุนนางที่มากด้วยความสามารถและอำนาจ ตัวพระนางเองก็เป็นที่โปรดปรานนักขององค์ฮั่นหยวนตี้ ต่อมาบุตรชายเป็นอ๋องครองแคว้นจงซาน พระนางดำรงพระยศไทเฮาแห่งแคว้นจงซาน

    เรื่องราวที่กล่าวถึงในภาพนั้น คือเหตุการณ์ที่ฮั่นหยวนตี้ไปดูสัตว์สู้กัน (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) จู่ๆ มีหมีดำโผล่มาและทำท่าว่าจะจู่โจมถึงที่ประทับของฮั่นหยวนตี้ นอกเหนือจากราชองครักษ์แล้ว ผู้ที่ตามเสด็จล้วนพยายามหนีตาย แต่เฝิงเจี๋ยอวี๋กลับถลันขึ้นหน้าเอาตัวเองไปขวางไว้ระหว่างองค์ฮั่นหยวนตี้กับหมีดำ สุดท้ายนางไม่ได้รับอันตรายใดๆ เพราะว่าราชองครักษ์ฆ่าหมีได้สำเร็จ ครั้นฮั่นหยวนตี้ถามว่าทำไมนางถึงไม่กลัวหมี นางตอบว่า หมีเมื่อจับได้คนหนึ่งคนก็จะไม่จู่โจมคนอื่น นางกลัวว่าหมีจะจู่โจมถึงตัวฮั่นหยวนตี้ จึงคิดพลีชีพเป็นเหยื่อล่อหมีแทน เรื่องนี้ทำให้ฮั่นหยวนตี้รักนางมากขึ้นกว่าเดิมและยิ่งทำให้นางเป็นที่เกลียดชังของคู่แข่งในวังหลังยิ่งขึ้นไปอีก กลายเป็นเรื่องราวความกล้าหาญและความจงรักภักดีที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์

    ความนัยที่แฝงไว้ในภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ ขององค์เฉียนหลงนี้ก็คือความกล้าหาญ และป้ายอักษรที่คู่กันกับภาพนี้คือ ‘เน่ยจื๋อชินเฟิ่ง’ (内职钦奉) แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมยกย่องฝ่ายใน

    แต่... อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น เมื่อปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 30 ภายหลังจากเหตุการณ์ฮองเฮาสกุลอูลาน่าลาตัดผม องค์เฉียนหลงได้ให้ช่างวาดหลวงจินถิงเปียววาดภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ ขึ้นอีกภาพหนึ่ง มีการเล่าขานกันต่อมาว่า จากที่เดิมองค์เฉียนหลงยกย่องเฝิงเจี๋ยอวี๋ว่ากล้าหาญ กลับกลายเป็นดูถูกเสียดสีว่า เฝิงเจี๋ยอวี๋ไม่เจียมตัว ไม่มีความสามารถก็ยังจะรนหาที่ตาย เป็นการเสียสละแบบโง่ๆ เพื่อสร้างความเด่นความดีให้กับตนเอง ควรเป็นที่น่าละอายของราชสกุล โดยประพันธ์ขึ้นเป็นบทกวีและให้ช่างวาดวาดขึ้นใหม่ให้ได้อารมณ์ตามบทกวีนี้

    ว่ากันว่าภาพเดิมที่วาดขึ้นในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6 พร้อมกับภาพกงซวิ่นถูอื่นนั้น สะท้อนความองอาจกล้าหาญของเฝิงเยวี่ยน (ให้อารมณ์คล้ายคลึงกับภาพ ‘เฝิงเยวี่ยนขวางหมี’ ที่เป็นผลงานเก่าในสมัยองค์คังซีที่ Storyฯ แปะมาให้ดู) แต่ภาพใหม่ให้ความรู้สึกว่าเฝิงเยวี่ยนดูบอบบางไร้ความน่าเกรงขาม สะท้อนถึงความรนหาที่ตายอย่างโง่ๆ ตามบทกวี ภาพใหม่นี้วาดเสร็จในปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 31 ปัจจุบันเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม

    ข้อเท็จจริงเบื้องหลังภาพที่วาดขึ้นใหม่เป็นเช่นนี้หรือไม่ Storyฯ ก็ไม่ทราบแน่ชัด แต่เรื่องของเฝิงเยวี่ยนที่ใช้ตัวเองมาขวางหมีไว้ยังคงเป็นเรื่องเล่าขานกันต่อมาในแง่ความกล้าหาญและความจงรักภักดี

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://ent.sina.com.cn/v/m/2018-08-10/doc-ihhnunsq6262060.shtml
    https://topimage.design/images/5f2ec355ccb56d496c4eeaa4.html
    https://baike.baidu.com/item/女史箴图
    https://www.tongyangapp.com/standard/sdetail?id=7056912
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/冯媛/3311193
    https://new.qq.com/rain/a/20210618A034TY00
    https://www.youtube.com/watch?v=SsSfNW9c2mM

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เฝิงเจี๋ยอวี๋ #เฝิงเยวี่ยน #ฮั่นหยวนตี้ #เฝิงเจี๋ยอวี๋ขวางหมี #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    วันนี้ยังคงคุยกันเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ซึ่งก่อนหน้านี้ Storyฯ เคยคุยถึงภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ แห่งพระตำหนักหย่งโซ่วกงว่าเป็นภาพตอนหนึ่งของภาพม้วนยาวที่มีชื่อเรียกว่าภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ (女史箴图 / ข้าราชสำนักหญิงเตือนสติ) ภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ เป็นผลงานของกู้ข่ายจือ ซึ่งเดิมมี 12 ตอนแต่สูญหายไปแล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงฉบับคัดลอก 9 ตอน มีความยาวเกือบ 3.5 เมตร มีเนื้อหาเป็นเรื่องเล่าในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 52-7 ก่อนคริสตกาล) โดยภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ นั้นกล่าวถึงเมื่อครั้งฮั่นเฉิงตี้เสด็จประพาสทอดพระเนตรสัตว์สู้กัน โดยมีนางในและพระโอรสตามเสด็จ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/750792533715708) วันนี้คุยกันถึงอีกภาพที่เกี่ยวข้องกัน คือภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ (婕妤当熊图 / เจี๋ยอวี๋ขวางหมี) เป็นภาพที่แขวนไว้ที่พระตำหนักเสียนฝูกง ดูเหมือนในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> จะไม่ได้บอกไว้ว่าใครประทับอยู่ที่พระตำหนักนี้ แต่ในประวัติศาสตร์จริง สมัยองค์เฉียนหลงนั้น พระตำหนักเสียนฝูกงนี้เคยถูกใช้เป็นที่ประทับขององค์เฉียนหลงก่อนที่ต่อมาจะย้ายไปประทับที่พระที่นั่งหยั่งซินเตี้ยน หน้าตาของภาพนี้เป็นอย่างไร Storyฯ ก็หาไม่พบ ภาพที่นำมาให้ดูในรูปประกอบ 1(กลาง) เป็นภาพที่วาดขึ้นในสมัยองค์คังซีโดยช่างวาดหลวงจินคุน ส่วนภาพที่วาดขึ้นในสมัยขององค์เฉียนหลงนั้น คือรูปประกอบ 1(ขวา) ซึ่งทรงให้ช่างวาดหลวงวาดขึ้นใหม่เมื่อปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 30 ภายหลังจากเกิดเรื่องราวของฮองเฮาอูลาน่าลาตัดผม (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) แต่ก่อนจะคุยเรื่องภาพวาด ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ สองภาพในสมัยเฉียนหลง คงต้องคุยเกี่ยวกับเรื่องราวที่กล่าวถึงในภาพเสียก่อน ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวมีต้นตอมาจากอีกตอนหนึ่งของภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ (ดูรูปประกอบ 2) เจี๋ยอวี๋เป็นตำแหน่งพระสนม แล้วเจี๋ยอวี๋ที่กล่าวถึงในภาพคือใคร? นางคือเฝิงเจี๋ยอวี๋ เป็นพระสนมในองค์ฮั่นหยวนตี้ (ครองราชย์ปี 48-33 ก่อนคริสตกาล คือพระบิดาขององค์ฮั่นเฉิงตี้ที่กล่าวถึงในภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’) นามเดิมว่าเฝิงเยวี่ยน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นจาวอี๋ บันทึกเกี่ยวกับฮั่นหยวนตี้มีไม่มากเพราะไม่ได้มีผลงานสร้างชื่ออะไรมาก ที่เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินถึงก็คือทรงส่งหวางเจาจวินไปแต่งงานเพื่อผูกมิตรกับเผ่าซวงหนู และชีวประวัติเกี่ยวกับเฝิงเจี๋ยอวี๋เองก็มีไม่มาก นอกจากกล่าวไว้ว่ามาจากตระกูลเฝิงซึ่งเป็นตระกูลขุนนางที่มากด้วยความสามารถและอำนาจ ตัวพระนางเองก็เป็นที่โปรดปรานนักขององค์ฮั่นหยวนตี้ ต่อมาบุตรชายเป็นอ๋องครองแคว้นจงซาน พระนางดำรงพระยศไทเฮาแห่งแคว้นจงซาน เรื่องราวที่กล่าวถึงในภาพนั้น คือเหตุการณ์ที่ฮั่นหยวนตี้ไปดูสัตว์สู้กัน (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) จู่ๆ มีหมีดำโผล่มาและทำท่าว่าจะจู่โจมถึงที่ประทับของฮั่นหยวนตี้ นอกเหนือจากราชองครักษ์แล้ว ผู้ที่ตามเสด็จล้วนพยายามหนีตาย แต่เฝิงเจี๋ยอวี๋กลับถลันขึ้นหน้าเอาตัวเองไปขวางไว้ระหว่างองค์ฮั่นหยวนตี้กับหมีดำ สุดท้ายนางไม่ได้รับอันตรายใดๆ เพราะว่าราชองครักษ์ฆ่าหมีได้สำเร็จ ครั้นฮั่นหยวนตี้ถามว่าทำไมนางถึงไม่กลัวหมี นางตอบว่า หมีเมื่อจับได้คนหนึ่งคนก็จะไม่จู่โจมคนอื่น นางกลัวว่าหมีจะจู่โจมถึงตัวฮั่นหยวนตี้ จึงคิดพลีชีพเป็นเหยื่อล่อหมีแทน เรื่องนี้ทำให้ฮั่นหยวนตี้รักนางมากขึ้นกว่าเดิมและยิ่งทำให้นางเป็นที่เกลียดชังของคู่แข่งในวังหลังยิ่งขึ้นไปอีก กลายเป็นเรื่องราวความกล้าหาญและความจงรักภักดีที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ ความนัยที่แฝงไว้ในภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ ขององค์เฉียนหลงนี้ก็คือความกล้าหาญ และป้ายอักษรที่คู่กันกับภาพนี้คือ ‘เน่ยจื๋อชินเฟิ่ง’ (内职钦奉) แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมยกย่องฝ่ายใน แต่... อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น เมื่อปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 30 ภายหลังจากเหตุการณ์ฮองเฮาสกุลอูลาน่าลาตัดผม องค์เฉียนหลงได้ให้ช่างวาดหลวงจินถิงเปียววาดภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ ขึ้นอีกภาพหนึ่ง มีการเล่าขานกันต่อมาว่า จากที่เดิมองค์เฉียนหลงยกย่องเฝิงเจี๋ยอวี๋ว่ากล้าหาญ กลับกลายเป็นดูถูกเสียดสีว่า เฝิงเจี๋ยอวี๋ไม่เจียมตัว ไม่มีความสามารถก็ยังจะรนหาที่ตาย เป็นการเสียสละแบบโง่ๆ เพื่อสร้างความเด่นความดีให้กับตนเอง ควรเป็นที่น่าละอายของราชสกุล โดยประพันธ์ขึ้นเป็นบทกวีและให้ช่างวาดวาดขึ้นใหม่ให้ได้อารมณ์ตามบทกวีนี้ ว่ากันว่าภาพเดิมที่วาดขึ้นในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6 พร้อมกับภาพกงซวิ่นถูอื่นนั้น สะท้อนความองอาจกล้าหาญของเฝิงเยวี่ยน (ให้อารมณ์คล้ายคลึงกับภาพ ‘เฝิงเยวี่ยนขวางหมี’ ที่เป็นผลงานเก่าในสมัยองค์คังซีที่ Storyฯ แปะมาให้ดู) แต่ภาพใหม่ให้ความรู้สึกว่าเฝิงเยวี่ยนดูบอบบางไร้ความน่าเกรงขาม สะท้อนถึงความรนหาที่ตายอย่างโง่ๆ ตามบทกวี ภาพใหม่นี้วาดเสร็จในปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 31 ปัจจุบันเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม ข้อเท็จจริงเบื้องหลังภาพที่วาดขึ้นใหม่เป็นเช่นนี้หรือไม่ Storyฯ ก็ไม่ทราบแน่ชัด แต่เรื่องของเฝิงเยวี่ยนที่ใช้ตัวเองมาขวางหมีไว้ยังคงเป็นเรื่องเล่าขานกันต่อมาในแง่ความกล้าหาญและความจงรักภักดี (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://ent.sina.com.cn/v/m/2018-08-10/doc-ihhnunsq6262060.shtml https://topimage.design/images/5f2ec355ccb56d496c4eeaa4.html https://baike.baidu.com/item/女史箴图 https://www.tongyangapp.com/standard/sdetail?id=7056912 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/冯媛/3311193 https://new.qq.com/rain/a/20210618A034TY00 https://www.youtube.com/watch?v=SsSfNW9c2mM #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เฝิงเจี๋ยอวี๋ #เฝิงเยวี่ยน #ฮั่นหยวนตี้ #เฝิงเจี๋ยอวี๋ขวางหมี #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 Comments 0 Shares 585 Views 0 Reviews
  • พิพิธภัณฑ์​ของเก่า​ @โรงนาป่าพฤกษ์​ อ.บางปลาม้า​
    พิพิธภัณฑ์​ของเก่า​ @โรงนาป่าพฤกษ์​ อ.บางปลาม้า​
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 81 Views 0 Reviews
  • #นอกเรื่อง
    #โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ
    #วิทยากร

    เมื่อเร็วๆนี้ เราสองคนได้รับเชิญไปเป็นวิทยากร โดยการแนะนำจากเพื่อน มีอยู่วันหนึ่ง แอน เพื่อนสมัยประถมที่เราติดต่อกันอยู่เรื่อย ๆ โทรหาส้มว่าจะเชิญไปเป็นวิทยากร 2 หัวข้อ คือ การประชาสัมพันธ์และการใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อการท่องเที่ยวและกีฬาในชุมชน และหัวข้อการเป็นเจ้าบ้านที่ดี บอกกับแอนตรง ๆ ว่า แอนคิดว่าได้หรอ แอนบอกว่า ได้ ส้มกับโจ ทำจริง ๆ แต่ เอาก็เอา เพื่อนมั่นใจ ก็อย่าทำให้ผิดหวัง

    แล้ววันอบรมก็มาถึง เราสลับคิวพูดกัน โดยโจพูดเรื่อง การเป็นเจ้าบ้านที่ดีก่อน แล้วส้มค่อยพูดต่อเรื่อง แอพพลเคชั่นที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ปิดจบด้วยการทำเวิร์คชอป ให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ จับกลุ่มตามอำเภอ แล้วส่งตัวแทนมานำเสนอว่า ของดีอะไรที่ทำให้นักท่องเที่ยวต้องมาเยือนอำเภอของพี่ โดยเราให้หลักในการแบ่งความน่าสนใจไปในส่วนต่าง ๆ ตอนบรรยาย

    บรรยากาศการจับกลุ่มทำงาน การออกมานำเสนอหน้าห้อง เริ่มด้วย บางเสาธง ที่มากลุ่มใหญ่ ต่อมา จนถึงบางบ่อ ทุกคนเริ่มเห็นภาพ วันนี้เลยขอนำภาพบางส่วนมาลง ขอบคุณคุณกฤษณ์ และน้องเมษ์ ที่ดูแลเราอย่างดีรวมถึงผู้บริหารหลาย ๆ ท่าน

    ท้ายสุดขอบคุณเพื่อนแอน ที่ทำให้เราได้มีโอกาสตรงนี้ ส้มมีบอกบางท่านไปว่า ส้มคิดจะทำอะไรกับสมุทรปราการอยู่แล้วในปีนี้ ไม่ว่าจะประเพณีรับบัว หรือพาไปกราบสักการะที่วัดอโศกราม ไปพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น หวังว่าพวกเราจะได้ไปพบพี่ ๆ ในปีนี้นะคะ

    #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    #นอกเรื่อง #โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ #วิทยากร เมื่อเร็วๆนี้ เราสองคนได้รับเชิญไปเป็นวิทยากร โดยการแนะนำจากเพื่อน มีอยู่วันหนึ่ง แอน เพื่อนสมัยประถมที่เราติดต่อกันอยู่เรื่อย ๆ โทรหาส้มว่าจะเชิญไปเป็นวิทยากร 2 หัวข้อ คือ การประชาสัมพันธ์และการใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อการท่องเที่ยวและกีฬาในชุมชน และหัวข้อการเป็นเจ้าบ้านที่ดี บอกกับแอนตรง ๆ ว่า แอนคิดว่าได้หรอ แอนบอกว่า ได้ ส้มกับโจ ทำจริง ๆ แต่ เอาก็เอา เพื่อนมั่นใจ ก็อย่าทำให้ผิดหวัง แล้ววันอบรมก็มาถึง เราสลับคิวพูดกัน โดยโจพูดเรื่อง การเป็นเจ้าบ้านที่ดีก่อน แล้วส้มค่อยพูดต่อเรื่อง แอพพลเคชั่นที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ปิดจบด้วยการทำเวิร์คชอป ให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ จับกลุ่มตามอำเภอ แล้วส่งตัวแทนมานำเสนอว่า ของดีอะไรที่ทำให้นักท่องเที่ยวต้องมาเยือนอำเภอของพี่ โดยเราให้หลักในการแบ่งความน่าสนใจไปในส่วนต่าง ๆ ตอนบรรยาย บรรยากาศการจับกลุ่มทำงาน การออกมานำเสนอหน้าห้อง เริ่มด้วย บางเสาธง ที่มากลุ่มใหญ่ ต่อมา จนถึงบางบ่อ ทุกคนเริ่มเห็นภาพ วันนี้เลยขอนำภาพบางส่วนมาลง ขอบคุณคุณกฤษณ์ และน้องเมษ์ ที่ดูแลเราอย่างดีรวมถึงผู้บริหารหลาย ๆ ท่าน ท้ายสุดขอบคุณเพื่อนแอน ที่ทำให้เราได้มีโอกาสตรงนี้ ส้มมีบอกบางท่านไปว่า ส้มคิดจะทำอะไรกับสมุทรปราการอยู่แล้วในปีนี้ ไม่ว่าจะประเพณีรับบัว หรือพาไปกราบสักการะที่วัดอโศกราม ไปพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น หวังว่าพวกเราจะได้ไปพบพี่ ๆ ในปีนี้นะคะ #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    0 Comments 0 Shares 724 Views 0 Reviews
  • วันนี้มาคุยกันต่อถึงสิบสองภาพวาดที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดามเหสี เรียกรวมว่า ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) พร้อมป้ายอักษรอันเป็นตัวแทนของบทกวี ‘กงซวิ่นซือ’ (宫训诗 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+บทกวี) ภาพเหล่านี้ล้วนเป็นภาพฮองเฮา / มเหสี / พระชายาที่มีชื่อในประวัติศาสตร์ว่ามีคุณงามความดี

    สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงภาพแรกคือภาพ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ ที่ทรงพระราชทานให้ฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุน (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0Ery63dJM9QctgcUQWchqzEPMugvq12HANhduAUpojWfR2GjQctaJRpxAjBzsD6NWl)

    แต่พอ Storyฯ จะเขียนถึงภาพถัดไปก็เริ่มเกิดความยาก... ปัญหาคือว่า ละครเรื่องนี้แม้อ้างอิงจากเรื่องจริงแต่ตัวละครและชื่อตำหนักที่ประทับได้ถูกปรับเปลี่ยนไปบ้าง และข้อมูลเกี่ยวกับภาพวาดที่ Storyฯ หาเจอจะอิงตามชื่อตำหนัก

    Storyฯ เลยคิดว่า ก่อนจะไปกันต่อ เอาภาพมาให้เพื่อนเพจดูกันก่อนว่าพระราชวังต่างๆ ตั้งอยู่ที่ไหนกันบ้าง (ดูรูปประกอบ3) ซึ่งที่บอกว่าฮองเฮากุมอำนาจหกวังหรือ ‘ลิ่วกง’ แห่งวังหลังนั้น ‘หกวัง’ นั้นจริงๆ หมายถึงสิบสองวังหรือตำหนัก แบ่งเป็นหกตำหนักฝั่งตะวันออกและหกตำหนักตะวันตก ตรงกลางของวังหลังคือพระตำหนักเฉียนชิงกง ซึ่งเป็นที่ประทับและทรงงานของฮ่องเต้ (แต่ตั้งแต่รัชสมัยของยงเจิ้งเป็นต้นมา ฮ่องเต้จะเสด็จไปบรรทมที่พระที่นั่งหยั่งซินแทน) ตำหนักไหนอยู่ตรงไหนดูจากภาพประกอบกันได้เลยนะคะ

    วันนี้คุยกันเรื่องภาพที่สอง คือภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (班姬辞辇图 ) แปลได้ว่าประมาณว่า ปันจีผู้งามมารยาท ภาพนี้ในนิยายต้นฉบับของ <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ได้ถูกพระราชทานไปให้เกากุ้ยเฟย (ในนิยายคือฮุ่ยกุ้ยเฟย) ที่พระตำหนักฉู่ซิ่วกง (ในซีรีย์บอกเป็นอีกภาพหนึ่ง) แต่ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> เกากุ้ยเฟยประทับที่พระตำหนักเสียนฝูกง ท่ามกลางความสับสนของชื่อภาพและชื่อพระตำหนักนี้ Storyฯ ยึดตามที่มีกล่าวถึงจากข้อมูลที่หาได้ว่า ภาพนี้ถูกแขวนไว้ที่พระตำหนักหย่งโซ่วกง (พระตำหนักของพระนางฮุ่ยเสียนหวงกุ้ยเฟย ผู้ซึ่งว่ากันว่าเป็นต้นแบบของเกากุ้ยเฟยในละคร)

    ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ ที่องค์เฉียนหลงทรงให้จัดวาดขึ้นนั้นหน้าตาที่แท้จริงเป็นอย่างไร Storyฯ ก็หาไม่พบ พบแต่ภาพดั้งเดิมของเรื่อง ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (ดูรูปประกอบ1) ซึ่งเป็นตอนหนึ่งของภาพม้วนยาวที่มีชื่อเรียกว่าภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ (女史箴图 / ข้าราชสำนักหญิงเตือนสติ ดูรูปประกอบ2) อันเป็นผลงานของกู้ข่ายจือ ซึ่งเดิมมี 12 ตอนแต่สูญหายไปแล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงฉบับคัดลอก 9 ตอนสองชุด ชุดหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม เป็นภาพที่จัดทำขึ้นสมัยซ่ง และอีกชุดหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติช (British Museum) เป็นภาพที่จัดทำในสมัยถัง ภาพทั้งสองมีความยาวเกือบ 3.5 เมตร เป็นภาพที่ถูกยกย่องว่านำเสนอวิถีชีวิตเหล่านางในตำแหน่งต่างๆ ออกมาได้ดี ไม่ว่าจะการวางตัวหรือสีหน้าสีตา

    ทั้งนี้ ภาพเต็ม ‘หนีว์สื่อเจิน’ เป็นภาพที่วาดขึ้นในสมัยราชวงศ์จิ้น โดยมีเนื้อหาเป็นเรื่องเล่าในรัชสมัยฮั่นเฉิงตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 52-7 ก่อนคริสตกาล) กล่าวถึงเมื่อครั้งฮั่นเฉิงตี้เสด็จประพาสทอดพระเนตรสัตว์สู้กัน โดยมีนางในและพระโอรสตามเสด็จ

    ‘ปันจี’ คือใคร? นางคือพระนางปันเจี๋ยอวี๋ (หมายเหตุ ตำแหน่งเจี๋ยอวี๋นี้ บางคนเคยแปลว่าอัครเทวี บางคนแปลว่าราชเทวี Storyฯ ก็ไม่สันทัดว่าควรเรียกว่าอย่างไรจึงจะถูกต้อง) ชื่อเดิมว่า ‘ปันเถียน’ เริ่มเข้าวังทำหน้าที่เป็นข้าราชสำนักหญิงหรือที่เรียกว่าตำแหน่ง ‘หนีว์สื่อ’ มีหน้าที่ถวายงานด้านอักษรให้แก่ฮองเฮา รวมถึงงานบันทึกผลงานและความผิดของสตรีฝ่ายในและงานด้านพิธีการฝ่ายใน ต่อมาได้เป็นสนมรับใช้ฮั่นเฉิงตี้และสุดท้ายได้รับตำแหน่งเจี๋ยอวี๋ นางถูกจารึกไว้ว่าเป็นกวีและนักอักษรศาสตร์ที่เลื่องชื่อ มีผลงานตกทอดมาจนปัจจุบันหลายชิ้น

    ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ นี้เป็นตอนที่สองของภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ เป็นเรื่องราวสมัยที่พระนางยังเป็นที่โปรดปรานของฮั่นเฉิงตี้ ใจความคือองค์ฮั่นเฉิงตี้ทรงโปรดให้ใช้พระราชรถม้าขนาดใหญ่มากในการประพาสครั้งนี้เพื่อจะได้ให้พระนางปันโดยเสด็จด้วยบนรถ แต่พระนางทรงปฏิเสธ โดยอธิบายว่าแต่ไหนแต่ไรมา คนอื่นๆ ต้องเดินตามเสด็จอยู่ด้านข้างขบวน และในประวัติศาสตร์แม้มีกษัตริย์บางพระองค์ที่ให้พระภรรยาหรือสนมประทับร่วมบนพระราชรถ แต่กษัตริย์เหล่านั้นสุดท้ายล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ทำให้ราชวงศ์ล่มสลาย พระนางทรงไม่ต้องการให้ผู้ใดไปเล่ากันต่อในทางที่ไม่ดีว่าองค์ฮั่นเฉิงตี้มัวเมาในสตรีจนอาจเป็นเหตุให้บ้านเมืองต้องอับจนในอนาคต เหตุการณ์นี้ทำให้พระนางถูกยกย่องว่าเป็นคนที่สงบเสงี่ยมแม้จะได้รับความโปรดปรานจากองค์ฮ่องเต้ วางพระองค์ได้ดี รู้ขนบทำเนียมหน้าที่และรู้ว่าอะไรควรไม่ควร

    ภาพนี้ถูกชื่นชมว่าสามารถบรรยายความรู้สึกหลากหลายออกมาได้ดี ไม่ว่าจะเป็นความไม่พอพระทัยแต่จำยอมขององค์ฮั่นเฉิงตี้หรือการเบือนพักตร์ลอบไม่พอพระทัยของฮองเฮา โดยฉพาะภาพลักษณ์ของปันเจี๋ยอวี๋ในภาพนี้ ดูสูงส่งเรียบร้อย สมกับที่พระนางถูกยกย่องให้เป็นแบบอย่างแห่งสตรีผู้มีจริยวัตรงดงาม

    ส่วนป้ายอักษรที่องค์เฉียนหลงทรงพระราชทานคู่กับป้ายนี้คือ ‘ลิ่งอี๋ซูเต๋อ’ (令仪淑德) แปลได้ประมาณว่า เคารพพิธีการและวางตนให้ดีมีจริยวัตรงดงาม

    ในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นี้ เกากุ้ยเฟยตีความจากภาพนี้ว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงตำหนิที่นางวางองค์ไม่ดีจึงทรงพระราชทานภาพนี้มาเตือนสติ แต่เจียผินปลอบพระนางว่า จริงๆ แล้วภาพทั้งสิบสองสะท้อนถึงคุณสมบัติที่เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงคาดหวังจากเหล่ามเหสีและสนมทั้งหมด เพื่อนเพจคิดว่าไงคะ?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/242329927_100034915
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/44523682
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=5c29a1b9368965f14d877c95
    http://www.obj.cc/thread-69013-1-1.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    https://baike.baidu.com/item/女史箴图
    https://baike.baidu.com/item/班姬辞辇/360901

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เกากุ้ยเฟย #ปันจีฉือเหนี่ยน #ปันเจวี๋ยอี๋ #กงซวิ่นถู #หกตำหนักวังหลัง #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    วันนี้มาคุยกันต่อถึงสิบสองภาพวาดที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดามเหสี เรียกรวมว่า ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) พร้อมป้ายอักษรอันเป็นตัวแทนของบทกวี ‘กงซวิ่นซือ’ (宫训诗 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+บทกวี) ภาพเหล่านี้ล้วนเป็นภาพฮองเฮา / มเหสี / พระชายาที่มีชื่อในประวัติศาสตร์ว่ามีคุณงามความดี สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงภาพแรกคือภาพ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ ที่ทรงพระราชทานให้ฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุน (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0Ery63dJM9QctgcUQWchqzEPMugvq12HANhduAUpojWfR2GjQctaJRpxAjBzsD6NWl) แต่พอ Storyฯ จะเขียนถึงภาพถัดไปก็เริ่มเกิดความยาก... ปัญหาคือว่า ละครเรื่องนี้แม้อ้างอิงจากเรื่องจริงแต่ตัวละครและชื่อตำหนักที่ประทับได้ถูกปรับเปลี่ยนไปบ้าง และข้อมูลเกี่ยวกับภาพวาดที่ Storyฯ หาเจอจะอิงตามชื่อตำหนัก Storyฯ เลยคิดว่า ก่อนจะไปกันต่อ เอาภาพมาให้เพื่อนเพจดูกันก่อนว่าพระราชวังต่างๆ ตั้งอยู่ที่ไหนกันบ้าง (ดูรูปประกอบ3) ซึ่งที่บอกว่าฮองเฮากุมอำนาจหกวังหรือ ‘ลิ่วกง’ แห่งวังหลังนั้น ‘หกวัง’ นั้นจริงๆ หมายถึงสิบสองวังหรือตำหนัก แบ่งเป็นหกตำหนักฝั่งตะวันออกและหกตำหนักตะวันตก ตรงกลางของวังหลังคือพระตำหนักเฉียนชิงกง ซึ่งเป็นที่ประทับและทรงงานของฮ่องเต้ (แต่ตั้งแต่รัชสมัยของยงเจิ้งเป็นต้นมา ฮ่องเต้จะเสด็จไปบรรทมที่พระที่นั่งหยั่งซินแทน) ตำหนักไหนอยู่ตรงไหนดูจากภาพประกอบกันได้เลยนะคะ วันนี้คุยกันเรื่องภาพที่สอง คือภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (班姬辞辇图 ) แปลได้ว่าประมาณว่า ปันจีผู้งามมารยาท ภาพนี้ในนิยายต้นฉบับของ <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ได้ถูกพระราชทานไปให้เกากุ้ยเฟย (ในนิยายคือฮุ่ยกุ้ยเฟย) ที่พระตำหนักฉู่ซิ่วกง (ในซีรีย์บอกเป็นอีกภาพหนึ่ง) แต่ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> เกากุ้ยเฟยประทับที่พระตำหนักเสียนฝูกง ท่ามกลางความสับสนของชื่อภาพและชื่อพระตำหนักนี้ Storyฯ ยึดตามที่มีกล่าวถึงจากข้อมูลที่หาได้ว่า ภาพนี้ถูกแขวนไว้ที่พระตำหนักหย่งโซ่วกง (พระตำหนักของพระนางฮุ่ยเสียนหวงกุ้ยเฟย ผู้ซึ่งว่ากันว่าเป็นต้นแบบของเกากุ้ยเฟยในละคร) ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ ที่องค์เฉียนหลงทรงให้จัดวาดขึ้นนั้นหน้าตาที่แท้จริงเป็นอย่างไร Storyฯ ก็หาไม่พบ พบแต่ภาพดั้งเดิมของเรื่อง ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (ดูรูปประกอบ1) ซึ่งเป็นตอนหนึ่งของภาพม้วนยาวที่มีชื่อเรียกว่าภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ (女史箴图 / ข้าราชสำนักหญิงเตือนสติ ดูรูปประกอบ2) อันเป็นผลงานของกู้ข่ายจือ ซึ่งเดิมมี 12 ตอนแต่สูญหายไปแล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงฉบับคัดลอก 9 ตอนสองชุด ชุดหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม เป็นภาพที่จัดทำขึ้นสมัยซ่ง และอีกชุดหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติช (British Museum) เป็นภาพที่จัดทำในสมัยถัง ภาพทั้งสองมีความยาวเกือบ 3.5 เมตร เป็นภาพที่ถูกยกย่องว่านำเสนอวิถีชีวิตเหล่านางในตำแหน่งต่างๆ ออกมาได้ดี ไม่ว่าจะการวางตัวหรือสีหน้าสีตา ทั้งนี้ ภาพเต็ม ‘หนีว์สื่อเจิน’ เป็นภาพที่วาดขึ้นในสมัยราชวงศ์จิ้น โดยมีเนื้อหาเป็นเรื่องเล่าในรัชสมัยฮั่นเฉิงตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 52-7 ก่อนคริสตกาล) กล่าวถึงเมื่อครั้งฮั่นเฉิงตี้เสด็จประพาสทอดพระเนตรสัตว์สู้กัน โดยมีนางในและพระโอรสตามเสด็จ ‘ปันจี’ คือใคร? นางคือพระนางปันเจี๋ยอวี๋ (หมายเหตุ ตำแหน่งเจี๋ยอวี๋นี้ บางคนเคยแปลว่าอัครเทวี บางคนแปลว่าราชเทวี Storyฯ ก็ไม่สันทัดว่าควรเรียกว่าอย่างไรจึงจะถูกต้อง) ชื่อเดิมว่า ‘ปันเถียน’ เริ่มเข้าวังทำหน้าที่เป็นข้าราชสำนักหญิงหรือที่เรียกว่าตำแหน่ง ‘หนีว์สื่อ’ มีหน้าที่ถวายงานด้านอักษรให้แก่ฮองเฮา รวมถึงงานบันทึกผลงานและความผิดของสตรีฝ่ายในและงานด้านพิธีการฝ่ายใน ต่อมาได้เป็นสนมรับใช้ฮั่นเฉิงตี้และสุดท้ายได้รับตำแหน่งเจี๋ยอวี๋ นางถูกจารึกไว้ว่าเป็นกวีและนักอักษรศาสตร์ที่เลื่องชื่อ มีผลงานตกทอดมาจนปัจจุบันหลายชิ้น ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ นี้เป็นตอนที่สองของภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ เป็นเรื่องราวสมัยที่พระนางยังเป็นที่โปรดปรานของฮั่นเฉิงตี้ ใจความคือองค์ฮั่นเฉิงตี้ทรงโปรดให้ใช้พระราชรถม้าขนาดใหญ่มากในการประพาสครั้งนี้เพื่อจะได้ให้พระนางปันโดยเสด็จด้วยบนรถ แต่พระนางทรงปฏิเสธ โดยอธิบายว่าแต่ไหนแต่ไรมา คนอื่นๆ ต้องเดินตามเสด็จอยู่ด้านข้างขบวน และในประวัติศาสตร์แม้มีกษัตริย์บางพระองค์ที่ให้พระภรรยาหรือสนมประทับร่วมบนพระราชรถ แต่กษัตริย์เหล่านั้นสุดท้ายล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ทำให้ราชวงศ์ล่มสลาย พระนางทรงไม่ต้องการให้ผู้ใดไปเล่ากันต่อในทางที่ไม่ดีว่าองค์ฮั่นเฉิงตี้มัวเมาในสตรีจนอาจเป็นเหตุให้บ้านเมืองต้องอับจนในอนาคต เหตุการณ์นี้ทำให้พระนางถูกยกย่องว่าเป็นคนที่สงบเสงี่ยมแม้จะได้รับความโปรดปรานจากองค์ฮ่องเต้ วางพระองค์ได้ดี รู้ขนบทำเนียมหน้าที่และรู้ว่าอะไรควรไม่ควร ภาพนี้ถูกชื่นชมว่าสามารถบรรยายความรู้สึกหลากหลายออกมาได้ดี ไม่ว่าจะเป็นความไม่พอพระทัยแต่จำยอมขององค์ฮั่นเฉิงตี้หรือการเบือนพักตร์ลอบไม่พอพระทัยของฮองเฮา โดยฉพาะภาพลักษณ์ของปันเจี๋ยอวี๋ในภาพนี้ ดูสูงส่งเรียบร้อย สมกับที่พระนางถูกยกย่องให้เป็นแบบอย่างแห่งสตรีผู้มีจริยวัตรงดงาม ส่วนป้ายอักษรที่องค์เฉียนหลงทรงพระราชทานคู่กับป้ายนี้คือ ‘ลิ่งอี๋ซูเต๋อ’ (令仪淑德) แปลได้ประมาณว่า เคารพพิธีการและวางตนให้ดีมีจริยวัตรงดงาม ในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นี้ เกากุ้ยเฟยตีความจากภาพนี้ว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงตำหนิที่นางวางองค์ไม่ดีจึงทรงพระราชทานภาพนี้มาเตือนสติ แต่เจียผินปลอบพระนางว่า จริงๆ แล้วภาพทั้งสิบสองสะท้อนถึงคุณสมบัติที่เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงคาดหวังจากเหล่ามเหสีและสนมทั้งหมด เพื่อนเพจคิดว่าไงคะ? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/242329927_100034915 https://zhuanlan.zhihu.com/p/44523682 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=5c29a1b9368965f14d877c95 http://www.obj.cc/thread-69013-1-1.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html https://baike.baidu.com/item/女史箴图 https://baike.baidu.com/item/班姬辞辇/360901 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เกากุ้ยเฟย #ปันจีฉือเหนี่ยน #ปันเจวี๋ยอี๋ #กงซวิ่นถู #หกตำหนักวังหลัง #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 Comments 0 Shares 776 Views 0 Reviews
  • วางแผนการเดิน "พระราชวังต้องห้าม" (ปักกิ่ง) ในวันเดียว

    ประวัติ "พระราชวังต้องห้าม" “จื่อจิ้นเฉิง”(紫禁城)
    ‘จื่อ’ (紫)แปลว่า สีม่วง ในวัฒนธรรมจีน หมายถึง ความศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงฐานะอันสูงส่งของฮ่องเต้ อย่างเช่นเวลาที่ฮ่องเต้เสด็จ ราชรถก็จะชูธงสีม่วงขึ้น ดังนั้น สีม่วงจึงใช้เป็นสัญลักษณ์ของราชสำนักอีกด้วย

    ‘จื่อ’ (紫) จากคำว่า จื่อจิ้นเฉิง(紫禁城) มาจาก จื่อเวยซิง(紫薇星)ที่เป็นชื่อดาวเหนือ เป็นเหมือนดาวพระราชา ดังนั้นเลยสื่อได้ว่า คนจีนในสมัยก่อนมองว่า จื่อจิ้นเฉิง หรือ พระราชวังต้องห้าม ถือเป็นศูนย์กลางของโลก และภายหลังจึงเปลี่ยนมาเรียก กู้กง(故宫) ที่มาจากคำว่า 故宫博物馆 หรือแปลว่า พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามนั่นเอง

    พระราชวังต้องห้ามสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1368 ตรงกับสมัยจักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์หมิง หรือจักรพรรดิหย่งเล่อ(永乐)ในตอนนั้นเมืองหลวงของจีนอยู่ที่เมืองหนานจิง(南京)หรือที่เรารู้จักกันว่านานกิง แต่ตอนนั้นฮ่องเต้ต้องการจะย้ายเมืองหลวงมาไว้ที่ปักกิ่ง(北京)

    สาเหตุก็เพราะต้องการถอนรากถอนโคนอำนาจเดิม เลยสร้างพระราชวังนี้ขึ้นมาในเมืองหลวงใหม่อย่างปักกิ่ง เพื่อใช้เป็นที่ประทับของราชวงศ์เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ประชาชนคนนอกเข้ามาได้ และนี่ก็เลยเป็นที่มาของคำว่า ‘ต้องห้าม’ ในพระราชวังต้องห้ามนั่นเอง

    ในส่วนของตัวพระราชวังต้องห้าม พระราชวังต้องห้ามถือว่าเป็นหนึ่งในพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในโลก โครงสร้างจะแบ่งเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นป้อมปราการที่มีกำแพงสูงกั้นไว้ ชั้นพระราชฐานชั้นนอกที่ฮ่องเต้ใช้ประกอบพิธีต่าง ๆ และสุดท้ายจะเป็นพระราชฐานชั้นใน เป็นที่ประทับของฮ่องเต้และเหล่าสนม

    นางกำนัล รวมแล้ว 9,000 คนและขันทีอีก 70,000 คน เรียกได้ว่าแม้จะพูดว่าห้ามคนนอกเข้า แต่ข้างในก็คนเยอะมาก

    ต่อมาสมัยราชวงศ์ชิง จริง ๆ ราชวงศ์หมิงสร้างพระราชวังต้องห้ามได้อย่างอลังการมากจนภายหลังราชวงศ์ชิงสามารถเข้าไปใช้ต่อได้เลย แต่กับฮ่องเต้บางพระองค์ก็จะไม่ค่อยประทับที่พระราชวังต้องห้าม เพราะราชวงศ์ชิงเป็นชาวแมนจู ซึ่งเป็นชนเผ่าที่อาศัยตามทุ่งหญ้าและป่าเขา ชอบขี่ม้า เลี้ยงสัตว์ พอมาอยู่ในพระราชวังต้องห้ามก็รู้สึกอึดอัด จนต้องไปสร้างพระราชวัง หรือ อุทยานอื่นในการประทับอยู่แทน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่จะอยู่ที่พระราชวังต้องห้ามแห่งนี้กัน

    สมัยชิงสามารถยกให้เป็นสมัยแห่งการต่อเติมพระราชวังต้องห้ามให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิมได้เลย ที่เด่น ๆ จะเป็นสมัยของฮ่องเต้เฉียนหลง (ในเรื่องหรูอี้แหละ ยุคนั้น) ที่มีการสร้างอุทยานหนิงโซ่วกง (寧壽宮) หรือที่เราเรียกกันว่า สวนเฉียนหลง ไว้ทางตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวังต้องห้าม เพื่อใช้ประทับยามชรา
    เป็นอุทยานที่มีเอกลักษณ์มาก ๆ เพราะทุกอาคารเชื่อมถึงกัน มีภูเขาจำลองที่ประกอบไปด้วยทิวทัศน์ของต้นสน ต้นไผ่ ต้นเหมย อันเป็นสัญลักษณ์ของความสันโดษ ที่พระองค์ตั้งให้เป็นเหมือนแนวคิดหลักของอุทยานแห่งนี้ค่ะ (และนี่จะโยงกับเรื่องที่ว่าทำไมฝรั่งไม่เผาพระราชวังต้องห้าม)

    ไฮไลท์ อื่น ๆ ของพระราชวังต้องห้ามที่ไม่ควรพลาด ได้แก่ ประตูอู่เหมิน(午门)เป็นประตูที่ใหญ่ที่สุดในพระราชวังต้องห้าม ในอดีตที่ประตูนี้เป็นที่รวมตัวกันของข้าราชการฝ่ายพลเรือนและทหารเพื่อฟังพระราชโองการหรือประกาศกำหนดการณ์ต่างๆ

    พระที่นั่งไท่เหอ(太和殿)โด่งดังมาก เพราะถือเป็นพระที่นั่งที่ใหญ่ที่สุดในพระราชวังต้องห้าม เป็นจุดศูนย์กลางและเป็นจุดสูงสุดของพระราชวังแห่งนี้เลย และยังมีอาคารไม้ที่ใหญ่ที่สุดในจีนอีกด้วย พระที่นั่งไท่เหอจะใช้ในงานพระราชพิธีสำคัญของราชสำนัก

    จัตุรัสเทียนอันเหมิน(天安门)อยู่ทางทิศเหนือของเขตพระราชวังต้องห้าม (ถ้าเข้าทางประตูอู่เหมินจะเจอเทียนอันเหมินก่อน) จะเห็นได้จากอนุสรณ์สถานประธานเหมาที่ตั้งอยู่อย่างเป็นเอกลักษณ์ในจัตุรัสแห่งนี้ ซึ่งเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นสถานที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองของจีนมากทีเดียว เพราะเป็นอนุสรณ์ถึงความเสียสละเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย


    วางแผนการเดิน "พระราชวังต้องห้าม" (ปักกิ่ง) ในวันเดียว ประวัติ "พระราชวังต้องห้าม" “จื่อจิ้นเฉิง”(紫禁城) ‘จื่อ’ (紫)แปลว่า สีม่วง ในวัฒนธรรมจีน หมายถึง ความศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงฐานะอันสูงส่งของฮ่องเต้ อย่างเช่นเวลาที่ฮ่องเต้เสด็จ ราชรถก็จะชูธงสีม่วงขึ้น ดังนั้น สีม่วงจึงใช้เป็นสัญลักษณ์ของราชสำนักอีกด้วย ‘จื่อ’ (紫) จากคำว่า จื่อจิ้นเฉิง(紫禁城) มาจาก จื่อเวยซิง(紫薇星)ที่เป็นชื่อดาวเหนือ เป็นเหมือนดาวพระราชา ดังนั้นเลยสื่อได้ว่า คนจีนในสมัยก่อนมองว่า จื่อจิ้นเฉิง หรือ พระราชวังต้องห้าม ถือเป็นศูนย์กลางของโลก และภายหลังจึงเปลี่ยนมาเรียก กู้กง(故宫) ที่มาจากคำว่า 故宫博物馆 หรือแปลว่า พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามนั่นเอง พระราชวังต้องห้ามสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1368 ตรงกับสมัยจักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์หมิง หรือจักรพรรดิหย่งเล่อ(永乐)ในตอนนั้นเมืองหลวงของจีนอยู่ที่เมืองหนานจิง(南京)หรือที่เรารู้จักกันว่านานกิง แต่ตอนนั้นฮ่องเต้ต้องการจะย้ายเมืองหลวงมาไว้ที่ปักกิ่ง(北京) สาเหตุก็เพราะต้องการถอนรากถอนโคนอำนาจเดิม เลยสร้างพระราชวังนี้ขึ้นมาในเมืองหลวงใหม่อย่างปักกิ่ง เพื่อใช้เป็นที่ประทับของราชวงศ์เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ประชาชนคนนอกเข้ามาได้ และนี่ก็เลยเป็นที่มาของคำว่า ‘ต้องห้าม’ ในพระราชวังต้องห้ามนั่นเอง ในส่วนของตัวพระราชวังต้องห้าม พระราชวังต้องห้ามถือว่าเป็นหนึ่งในพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในโลก โครงสร้างจะแบ่งเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นป้อมปราการที่มีกำแพงสูงกั้นไว้ ชั้นพระราชฐานชั้นนอกที่ฮ่องเต้ใช้ประกอบพิธีต่าง ๆ และสุดท้ายจะเป็นพระราชฐานชั้นใน เป็นที่ประทับของฮ่องเต้และเหล่าสนม นางกำนัล รวมแล้ว 9,000 คนและขันทีอีก 70,000 คน เรียกได้ว่าแม้จะพูดว่าห้ามคนนอกเข้า แต่ข้างในก็คนเยอะมาก ต่อมาสมัยราชวงศ์ชิง จริง ๆ ราชวงศ์หมิงสร้างพระราชวังต้องห้ามได้อย่างอลังการมากจนภายหลังราชวงศ์ชิงสามารถเข้าไปใช้ต่อได้เลย แต่กับฮ่องเต้บางพระองค์ก็จะไม่ค่อยประทับที่พระราชวังต้องห้าม เพราะราชวงศ์ชิงเป็นชาวแมนจู ซึ่งเป็นชนเผ่าที่อาศัยตามทุ่งหญ้าและป่าเขา ชอบขี่ม้า เลี้ยงสัตว์ พอมาอยู่ในพระราชวังต้องห้ามก็รู้สึกอึดอัด จนต้องไปสร้างพระราชวัง หรือ อุทยานอื่นในการประทับอยู่แทน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่จะอยู่ที่พระราชวังต้องห้ามแห่งนี้กัน สมัยชิงสามารถยกให้เป็นสมัยแห่งการต่อเติมพระราชวังต้องห้ามให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิมได้เลย ที่เด่น ๆ จะเป็นสมัยของฮ่องเต้เฉียนหลง (ในเรื่องหรูอี้แหละ ยุคนั้น) ที่มีการสร้างอุทยานหนิงโซ่วกง (寧壽宮) หรือที่เราเรียกกันว่า สวนเฉียนหลง ไว้ทางตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวังต้องห้าม เพื่อใช้ประทับยามชรา เป็นอุทยานที่มีเอกลักษณ์มาก ๆ เพราะทุกอาคารเชื่อมถึงกัน มีภูเขาจำลองที่ประกอบไปด้วยทิวทัศน์ของต้นสน ต้นไผ่ ต้นเหมย อันเป็นสัญลักษณ์ของความสันโดษ ที่พระองค์ตั้งให้เป็นเหมือนแนวคิดหลักของอุทยานแห่งนี้ค่ะ (และนี่จะโยงกับเรื่องที่ว่าทำไมฝรั่งไม่เผาพระราชวังต้องห้าม) ไฮไลท์ อื่น ๆ ของพระราชวังต้องห้ามที่ไม่ควรพลาด ได้แก่ ประตูอู่เหมิน(午门)เป็นประตูที่ใหญ่ที่สุดในพระราชวังต้องห้าม ในอดีตที่ประตูนี้เป็นที่รวมตัวกันของข้าราชการฝ่ายพลเรือนและทหารเพื่อฟังพระราชโองการหรือประกาศกำหนดการณ์ต่างๆ พระที่นั่งไท่เหอ(太和殿)โด่งดังมาก เพราะถือเป็นพระที่นั่งที่ใหญ่ที่สุดในพระราชวังต้องห้าม เป็นจุดศูนย์กลางและเป็นจุดสูงสุดของพระราชวังแห่งนี้เลย และยังมีอาคารไม้ที่ใหญ่ที่สุดในจีนอีกด้วย พระที่นั่งไท่เหอจะใช้ในงานพระราชพิธีสำคัญของราชสำนัก จัตุรัสเทียนอันเหมิน(天安门)อยู่ทางทิศเหนือของเขตพระราชวังต้องห้าม (ถ้าเข้าทางประตูอู่เหมินจะเจอเทียนอันเหมินก่อน) จะเห็นได้จากอนุสรณ์สถานประธานเหมาที่ตั้งอยู่อย่างเป็นเอกลักษณ์ในจัตุรัสแห่งนี้ ซึ่งเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นสถานที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองของจีนมากทีเดียว เพราะเป็นอนุสรณ์ถึงความเสียสละเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย
    0 Comments 0 Shares 529 Views 0 Reviews

  • #วัดหนองป่าพง
    #อุบลราชธานี

    วัดหนองป่าพง – ย้อนรำลึกความหลัง เมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน ผมได้มีโอกาสสัมผัส วัดหนองป่าพง ด้วยความไม่รู้ และไม่ลึกซึ้งถึงแวดวงพระพุทธศาสนา เลยทำให้การไปวัดหนองป่าพง ครั้งแรก ผมไม่ได้อะไรติดมือติดใจกลับมาเป็นวิทยาทานเลย จนเมื่อครั้งล่าสุดที่ไป ชีวิตมีประสบการณ์ และพอมีพื้นฐานพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นบ้าง ครั้งนี้ เป็นการใช้เวลาอยู่ที่วัดนานขึ้น พร้อมพกพาความรู้สึก ความประทับใจที่ต่างออกไป กลับออกมาด้วยอย่างปลื้มอกปลื้มใจ ล้อมวงมาฟังกันครับ วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี (ยาวสักหน่อยนะครับ)

    คงจะไม่ถูกต้อง ถ้าจะกล่าวถึงวัดหนองป่าพง โดยไม่กล่าวถึง หลวงปู่ชา

    หลวงปู่ชา พระสำคัญผู้ก่อตั้งวัดแห่งนี้ ให้สามารถไปเผยแพร่พุทธศาสนาได้กว้างไกล ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย หากแต่ไปไกลถึงสิบกว่าประเทศทั่วโลก หลวงปู่ชา พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ต้นแบบของพระป่าทั่วโลก ด้วยวัตรปฎิบัติที่เคร่งครัดสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีต้นแบบจาก"พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต"

    หลวงปู่ชา หรือ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เกิดเมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน ในวัยเด็ก หลวงปู่ชาเรียนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถม 1 จึงขอลาออกเพื่อมาบวชเรียนตามความสนใจของตนเอง โดยช่วงอายุ 13 ปี หลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษา โยมบิดาได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาสเพื่อเรียนรู้บุพกิจเบื้องต้นเกี่ยวกับบรรพชาวิธี จึงได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็น “สามเณรชา โชติช่วง” จนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์ เป็นเวลา 3 ปี ได้แล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา แต่ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในทางธรรม เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงลาพ่อแม่มาบวชเป็นพระ โดยอุปสมบทเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 เวลา 13.55 น. ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี พระชา สุภทฺโท ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดก่อนอก 2 พรรษา ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม ทั้งจากตำรับตำราและจากครูอาจารย์ จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสำนักวัดแห่งนี้ แต่โชคร้าย ช่วงนั้น หลวงพ่อชา ได้ว่างเว้นจากการศึกษา เพื่อไปดูแลโยมบิดาที่ป่วย แม้หลวงพ่อชา ก็เกิดความลังเลใจ พะว้าพะวง ห่วงการศึกษาก็ห่วง ห่วงโยมบิดาก็ห่วง แต่ความห่วงผู้บังเกิดเกล้ามีน้ำหนักมากกว่า เพราะโยมบิดาเป็นผู้มีพระคุณอย่างเหลือล้น หลวงปู่จึงตัดสินใจกลับไปดูแลโยมพ่อทั้งที่วันสอบนักธรรมก็ใกล้เข้ามาทุกที แต่ก็เลือกที่จะเดินในเส้นทางสายกตัญญุตา โดยที่สุด มาอยู่เฝ้าดูแลอาการป่วยของโยมพ่อนับเป็นเวลา 13 วัน โยมพ่อจึงได้ถึงแก่กรรม (ปี 2483)

    หลังจากนั้น หลวงปู่ชา ก็ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนยังที่ต่างๆ เช่น ที่สำนักของหลวงพ่อเภา วัดเขาวงกฏ จ.ลพบุรี และพระอาจารย์ชาวกัมพูชาที่เป็นพระธุดงค์ซึ่งได้พบกันที่วัดเขาวงกฏ หลวงปู่กินรี อาจารย์คำดี หลวงปู่ทองรัตน์ พระอาจารย์มั่น เป็นต้น พออินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อยๆ โดยยังดำรงสมณเพศเป็นพระมหานิกายอยู่ตลอดเวลา

    กิจที่หลวงปู่ฯ โปรดปราน คือการได้ธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อโปรดสานุศิษย์และเผยแพร่พุทธศาสนา จนที่สุดเมื่อคณะศิษย์ และหลวงพ่อได้เดินทางมาถึงชายดงป่าพง ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 พอเช้าวันที่ 9 มีนาคม 2497 จึงได้พากันเข้าสำรวจ สถานที่พักในดงป่านี้ และได้ช่วยกันดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเรารู้จักในปัจจุบัน คือ “วัดหนองป่าพง”

    จนภายหลังมีสานุศิษย์มากมายทั้งไทยและเทศ ขยายไปหลายสาขา ดังที่กล่าวไปข้างต้น และท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอด และถึงแก่มรณภาพเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เวลา 05.20 น. ที่ วัดหนองป่าพง อย่างสงบท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศทั่วโลก ด้วยความที่วัดหนองป่าพง มีพระสงฆ์ต่างชาติ เป็นจำนวนมาก เคยมีคนไปถามหลวงปู่ว่า พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แล้วจะสอนชาวต่างชาติได้อย่างไร หลวงปู่ท่านเมตตาตอบว่า น้ำร้อน ที่ฝรั่งว่ากันว่า ฮ๊อตวอเตอร์ เอามือลงไปสัมผัส ทุกชาติก็รู้ว่าร้อน ไม่เห็นต้องรู้ภาษาก่อนเลย นัยว่า ธรรมะ เรียนรู้ได้จากการสัมผัส การปฏิบัติ มิใช่การอ่านเขียนเท่านั้น

    ปัจจุบัน แม้หลวงปู่ชาฯ จะละสังขารไปแล้วกว่าสามสิบปีกว่าปี คำสอนและวัตรปฏิบัติอันดีงาม ก็ยังอยู่ในความทรงจำสานุศิษย์ทั้งหลาย เห็นได้จากการที่กลับไปสัมผัส วัดหนองป่าพง อีกครั้ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ ความสงบ และ ความเคร่งครัด แบบพระป่า ยังคงมีให้เห็นและสัมผัสได้ มีโอกาสได้แวะเข้าไปชม พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) โดยจะจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ชา สุภัทโท มีเครื่องทองเหลือง พระพุทธรูป และ เจดีย์ศรีโพธิญาณ เป็นสถานที่พระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ชาอีกด้วย จุดเด่นที่ประทับใจ คือ ป้าย คำสอนต่าง ๆ ที่ติดไว้ตามต้นไม้ อ่านแล้วทำให้เราได้นึกทบทวนชีวิตเราไปด้วยขณะเดินชมไปเงียบ ๆ นอกจากนี้ ได้มีโอกาสเข้าไปที่ อุโบสถด้านใน ทางเข้าเขตสังฆาวาส ที่พระสงฆ์ใช้ทำวัด ทำให้พอนึกเห็นภาพบรรยากาศเมื่อสมัยก่อน ที่หลวงปู่ ลงมาเทศนาธรรม

    รวม ๆ แล้วประทับใจมาก ครับ ผมกราบเรียนเชิญ ท่านที่มีโอกาสไป อุบลราชธานี อยากให้ไปสัมผัส วัดหนองป่าพง สักครั้งครับ

    #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    #วัดหนองป่าพง #อุบลราชธานี วัดหนองป่าพง – ย้อนรำลึกความหลัง เมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน ผมได้มีโอกาสสัมผัส วัดหนองป่าพง ด้วยความไม่รู้ และไม่ลึกซึ้งถึงแวดวงพระพุทธศาสนา เลยทำให้การไปวัดหนองป่าพง ครั้งแรก ผมไม่ได้อะไรติดมือติดใจกลับมาเป็นวิทยาทานเลย จนเมื่อครั้งล่าสุดที่ไป ชีวิตมีประสบการณ์ และพอมีพื้นฐานพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นบ้าง ครั้งนี้ เป็นการใช้เวลาอยู่ที่วัดนานขึ้น พร้อมพกพาความรู้สึก ความประทับใจที่ต่างออกไป กลับออกมาด้วยอย่างปลื้มอกปลื้มใจ ล้อมวงมาฟังกันครับ วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี (ยาวสักหน่อยนะครับ) คงจะไม่ถูกต้อง ถ้าจะกล่าวถึงวัดหนองป่าพง โดยไม่กล่าวถึง หลวงปู่ชา หลวงปู่ชา พระสำคัญผู้ก่อตั้งวัดแห่งนี้ ให้สามารถไปเผยแพร่พุทธศาสนาได้กว้างไกล ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย หากแต่ไปไกลถึงสิบกว่าประเทศทั่วโลก หลวงปู่ชา พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ต้นแบบของพระป่าทั่วโลก ด้วยวัตรปฎิบัติที่เคร่งครัดสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีต้นแบบจาก"พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต" หลวงปู่ชา หรือ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เกิดเมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน ในวัยเด็ก หลวงปู่ชาเรียนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถม 1 จึงขอลาออกเพื่อมาบวชเรียนตามความสนใจของตนเอง โดยช่วงอายุ 13 ปี หลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษา โยมบิดาได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาสเพื่อเรียนรู้บุพกิจเบื้องต้นเกี่ยวกับบรรพชาวิธี จึงได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็น “สามเณรชา โชติช่วง” จนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์ เป็นเวลา 3 ปี ได้แล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา แต่ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในทางธรรม เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงลาพ่อแม่มาบวชเป็นพระ โดยอุปสมบทเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 เวลา 13.55 น. ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี พระชา สุภทฺโท ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดก่อนอก 2 พรรษา ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม ทั้งจากตำรับตำราและจากครูอาจารย์ จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสำนักวัดแห่งนี้ แต่โชคร้าย ช่วงนั้น หลวงพ่อชา ได้ว่างเว้นจากการศึกษา เพื่อไปดูแลโยมบิดาที่ป่วย แม้หลวงพ่อชา ก็เกิดความลังเลใจ พะว้าพะวง ห่วงการศึกษาก็ห่วง ห่วงโยมบิดาก็ห่วง แต่ความห่วงผู้บังเกิดเกล้ามีน้ำหนักมากกว่า เพราะโยมบิดาเป็นผู้มีพระคุณอย่างเหลือล้น หลวงปู่จึงตัดสินใจกลับไปดูแลโยมพ่อทั้งที่วันสอบนักธรรมก็ใกล้เข้ามาทุกที แต่ก็เลือกที่จะเดินในเส้นทางสายกตัญญุตา โดยที่สุด มาอยู่เฝ้าดูแลอาการป่วยของโยมพ่อนับเป็นเวลา 13 วัน โยมพ่อจึงได้ถึงแก่กรรม (ปี 2483) หลังจากนั้น หลวงปู่ชา ก็ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนยังที่ต่างๆ เช่น ที่สำนักของหลวงพ่อเภา วัดเขาวงกฏ จ.ลพบุรี และพระอาจารย์ชาวกัมพูชาที่เป็นพระธุดงค์ซึ่งได้พบกันที่วัดเขาวงกฏ หลวงปู่กินรี อาจารย์คำดี หลวงปู่ทองรัตน์ พระอาจารย์มั่น เป็นต้น พออินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อยๆ โดยยังดำรงสมณเพศเป็นพระมหานิกายอยู่ตลอดเวลา กิจที่หลวงปู่ฯ โปรดปราน คือการได้ธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อโปรดสานุศิษย์และเผยแพร่พุทธศาสนา จนที่สุดเมื่อคณะศิษย์ และหลวงพ่อได้เดินทางมาถึงชายดงป่าพง ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 พอเช้าวันที่ 9 มีนาคม 2497 จึงได้พากันเข้าสำรวจ สถานที่พักในดงป่านี้ และได้ช่วยกันดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเรารู้จักในปัจจุบัน คือ “วัดหนองป่าพง” จนภายหลังมีสานุศิษย์มากมายทั้งไทยและเทศ ขยายไปหลายสาขา ดังที่กล่าวไปข้างต้น และท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอด และถึงแก่มรณภาพเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เวลา 05.20 น. ที่ วัดหนองป่าพง อย่างสงบท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศทั่วโลก ด้วยความที่วัดหนองป่าพง มีพระสงฆ์ต่างชาติ เป็นจำนวนมาก เคยมีคนไปถามหลวงปู่ว่า พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แล้วจะสอนชาวต่างชาติได้อย่างไร หลวงปู่ท่านเมตตาตอบว่า น้ำร้อน ที่ฝรั่งว่ากันว่า ฮ๊อตวอเตอร์ เอามือลงไปสัมผัส ทุกชาติก็รู้ว่าร้อน ไม่เห็นต้องรู้ภาษาก่อนเลย นัยว่า ธรรมะ เรียนรู้ได้จากการสัมผัส การปฏิบัติ มิใช่การอ่านเขียนเท่านั้น ปัจจุบัน แม้หลวงปู่ชาฯ จะละสังขารไปแล้วกว่าสามสิบปีกว่าปี คำสอนและวัตรปฏิบัติอันดีงาม ก็ยังอยู่ในความทรงจำสานุศิษย์ทั้งหลาย เห็นได้จากการที่กลับไปสัมผัส วัดหนองป่าพง อีกครั้ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ ความสงบ และ ความเคร่งครัด แบบพระป่า ยังคงมีให้เห็นและสัมผัสได้ มีโอกาสได้แวะเข้าไปชม พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) โดยจะจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ชา สุภัทโท มีเครื่องทองเหลือง พระพุทธรูป และ เจดีย์ศรีโพธิญาณ เป็นสถานที่พระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ชาอีกด้วย จุดเด่นที่ประทับใจ คือ ป้าย คำสอนต่าง ๆ ที่ติดไว้ตามต้นไม้ อ่านแล้วทำให้เราได้นึกทบทวนชีวิตเราไปด้วยขณะเดินชมไปเงียบ ๆ นอกจากนี้ ได้มีโอกาสเข้าไปที่ อุโบสถด้านใน ทางเข้าเขตสังฆาวาส ที่พระสงฆ์ใช้ทำวัด ทำให้พอนึกเห็นภาพบรรยากาศเมื่อสมัยก่อน ที่หลวงปู่ ลงมาเทศนาธรรม รวม ๆ แล้วประทับใจมาก ครับ ผมกราบเรียนเชิญ ท่านที่มีโอกาสไป อุบลราชธานี อยากให้ไปสัมผัส วัดหนองป่าพง สักครั้งครับ #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    0 Comments 0 Shares 1263 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์ที่แล้วพูดถึงภาพวาดโบราณที่ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสิบที่ล้ำค่าที่สุดของจีน วันนี้มาคุยกันสั้นๆ ถึงภาพวาดที่ปรากฏในละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>

    ละครเปิดฉากมาที่ร้านชาในเจียงหนานของนางเอกจ้าวพ่านเอ๋อร์ เพื่อนเพจที่ได้ดูละครอาจมัวแต่เพลินกับความสวยของนางเอกและวิวทิวทัศน์จนไม่ทันสังเกตว่าผนังร้านมีภาพวาดแขวนเต็มไปหมด

    Storyฯ จะบอกว่ามันคือแกลเลอรี่ดีๆ นี่เอง เพราะภาพที่โชว์อยู่ตามผนังเป็นภาพเหมือนของภาพวาดโบราณที่มีชื่อเสียงจัดเป็นสมบัติชาติของจีน ซึ่งในหลายฉากอื่นในละครก็มีภาพวาดโบราณเหล่านี้ให้ดูอีก วันนี้ยกตัวอย่างมาให้ดูกันสามภาพ

    ภาพแรกคือภาพ ‘เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว’ (莲池水禽图 แปลได้ว่าภาพสัตว์น้ำในสระปทุม ดูรูปประกอบ1) ภาพนี้เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ เป็นภาพคู่ วาดขึ้นบนผ้าไหมหรือที่เรียกว่า ‘เจวี้ยนเปิ่น’ (绢本/silk scroll) ขนาดประมาณของภาพแต่ละผืนคือ 106 x 91ซม. วาดโดยกู้เต๋อเชียนซึ่งมีพื้นเพอยู่เจียงหนาน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว

    ภาพต่อมาคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图 แปลได้ว่าภาพการท่องไปตามภูเขาลำธาร ดูรูปประกอบ2) ภาพนี้วาดโดยฟ่านควน จิตรกรสมัยซ่งเหนือ วาดขึ้นบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 206 x 103ซม. เป็นสมบัติในวังหลวงสืบทอดกันมา (มีตราประทับห้องทรงพระอักษรสมัยหมิงและชิงอยู่ที่ขอบรูปจริง) ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม

    ภาพที่สามคือภาพ ‘ชิวซานเวิ่นเต้า’ (秋山问道图 แปลได้ประมาณว่าภาพการแสวงหาทางธรรมกลางภูผาในสารทฤดู) เป็นภาพสมัยปลายห้าราชวงศ์-ต้นซ่ง ผู้วาดเป็นนักบวชนามว่าจวี้หรัน เป็นภาพวาดบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 165 x 77ซม. ปัจจุบันภาพที่จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามเช่นกัน

    พูดถึงภาพจริงกันไปแล้วพอหอมปากหอมคอ แน่นอนว่าในละครยังมีอีกหลายภาพ ใครที่ยังดูละครเรื่องนี้อยู่อย่ามัวแต่เพลินตากับพระนางนะคะ ดูอาร์ตแกเลอรี่ที่เขาใส่มาให้ในละครด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจากในละครและจาก:
    https://www.163.com/dy/article/HBHTPUAG055226SD.html
    https://news.yangtse.com/content/1470761.html
    http://www.chinashj.com/sh-gdhh-wd/502.html
    https://baike.baidu.com/item/秋山问道图/2237166
    https://baike.baidu.com/item/溪山行旅图/1775752

    #สามบุปผาลิขิตฝัน #ซีซันหลี่ว์สิง #เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว #ชิวซานเวิ่นเต้า #ภาพวาดจีนโบราณ
    สัปดาห์ที่แล้วพูดถึงภาพวาดโบราณที่ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสิบที่ล้ำค่าที่สุดของจีน วันนี้มาคุยกันสั้นๆ ถึงภาพวาดที่ปรากฏในละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ละครเปิดฉากมาที่ร้านชาในเจียงหนานของนางเอกจ้าวพ่านเอ๋อร์ เพื่อนเพจที่ได้ดูละครอาจมัวแต่เพลินกับความสวยของนางเอกและวิวทิวทัศน์จนไม่ทันสังเกตว่าผนังร้านมีภาพวาดแขวนเต็มไปหมด Storyฯ จะบอกว่ามันคือแกลเลอรี่ดีๆ นี่เอง เพราะภาพที่โชว์อยู่ตามผนังเป็นภาพเหมือนของภาพวาดโบราณที่มีชื่อเสียงจัดเป็นสมบัติชาติของจีน ซึ่งในหลายฉากอื่นในละครก็มีภาพวาดโบราณเหล่านี้ให้ดูอีก วันนี้ยกตัวอย่างมาให้ดูกันสามภาพ ภาพแรกคือภาพ ‘เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว’ (莲池水禽图 แปลได้ว่าภาพสัตว์น้ำในสระปทุม ดูรูปประกอบ1) ภาพนี้เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ เป็นภาพคู่ วาดขึ้นบนผ้าไหมหรือที่เรียกว่า ‘เจวี้ยนเปิ่น’ (绢本/silk scroll) ขนาดประมาณของภาพแต่ละผืนคือ 106 x 91ซม. วาดโดยกู้เต๋อเชียนซึ่งมีพื้นเพอยู่เจียงหนาน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว ภาพต่อมาคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图 แปลได้ว่าภาพการท่องไปตามภูเขาลำธาร ดูรูปประกอบ2) ภาพนี้วาดโดยฟ่านควน จิตรกรสมัยซ่งเหนือ วาดขึ้นบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 206 x 103ซม. เป็นสมบัติในวังหลวงสืบทอดกันมา (มีตราประทับห้องทรงพระอักษรสมัยหมิงและชิงอยู่ที่ขอบรูปจริง) ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม ภาพที่สามคือภาพ ‘ชิวซานเวิ่นเต้า’ (秋山问道图 แปลได้ประมาณว่าภาพการแสวงหาทางธรรมกลางภูผาในสารทฤดู) เป็นภาพสมัยปลายห้าราชวงศ์-ต้นซ่ง ผู้วาดเป็นนักบวชนามว่าจวี้หรัน เป็นภาพวาดบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 165 x 77ซม. ปัจจุบันภาพที่จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามเช่นกัน พูดถึงภาพจริงกันไปแล้วพอหอมปากหอมคอ แน่นอนว่าในละครยังมีอีกหลายภาพ ใครที่ยังดูละครเรื่องนี้อยู่อย่ามัวแต่เพลินตากับพระนางนะคะ ดูอาร์ตแกเลอรี่ที่เขาใส่มาให้ในละครด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจากในละครและจาก: https://www.163.com/dy/article/HBHTPUAG055226SD.html https://news.yangtse.com/content/1470761.html http://www.chinashj.com/sh-gdhh-wd/502.html https://baike.baidu.com/item/秋山问道图/2237166 https://baike.baidu.com/item/溪山行旅图/1775752 #สามบุปผาลิขิตฝัน #ซีซันหลี่ว์สิง #เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว #ชิวซานเวิ่นเต้า #ภาพวาดจีนโบราณ
    《梦华录》中的挂画,惊现国宝《溪山行旅图》!
    《梦华录》中的挂画,惊现国宝《溪山行旅图》!,溪山行旅图,梦华录,范宽,董其昌,挂画,画家
    0 Comments 0 Shares 519 Views 0 Reviews
  • เที่ยว #เซี่ยงไฮ้ มีนาคม 68 🔥🔥

    🗓 จำนวนวัน 5 วัน 3 คืน
    ✈ Vietjet Air (VZ)
    🏨 พักโรงแรม ⭐⭐⭐

    📍 อิสระฟรีเดย์ 1 วัน
    📍 วัดพระหยกขาว
    📍 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติเซี่ยงไฮ้
    📍 หมู่บ้านโบราณผานหลง
    📍 ตลาดร้อยปีเฉินหวังเมี่ยว
    📍 หาดไว่ทาน
    📍 ล่องเรือชมแสงสีกลางคืนเซี่ยงไฮ้
    📍 ชมตึกหอไข่มุก
    📍 The street of 1,000 red jars
    📍 ตึกสตาร์บัค
    📍 Florentia Village Outlet

    รวมทัวร์ไฟไหม้ ทัวร์หลุดจอง โปรพักเดี่ยว ลดเยอะสุด by 21ปี https://eTravelWay.com🔥
    ⭕️ เข้ากลุ่มลับ Facebook โปรเพียบบบบ : https://78s.me/e86e1a
    ⭕️ เข้ากลุ่มลับ LINE openchat ทัวร์ที่หลุด คลิก https://78s.me/501ad8

    LINE ID: @etravelway.fire
    https://78s.me/e58a3f
    Facebook: etravelway.fire https://78s.me/317663
    Instagram: etravelway.fire https://78s.me/d43626
    Tiktok : https://78s.me/903597
    ☎️: 021166395

    #ทัวร์จีน #ทัวร์เซี่ยงไฮ้ #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ราคาถูก #etravelwayfire #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    เที่ยว #เซี่ยงไฮ้ มีนาคม 68 🔥🔥 🗓 จำนวนวัน 5 วัน 3 คืน ✈ Vietjet Air (VZ) 🏨 พักโรงแรม ⭐⭐⭐ 📍 อิสระฟรีเดย์ 1 วัน 📍 วัดพระหยกขาว 📍 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติเซี่ยงไฮ้ 📍 หมู่บ้านโบราณผานหลง 📍 ตลาดร้อยปีเฉินหวังเมี่ยว 📍 หาดไว่ทาน 📍 ล่องเรือชมแสงสีกลางคืนเซี่ยงไฮ้ 📍 ชมตึกหอไข่มุก 📍 The street of 1,000 red jars 📍 ตึกสตาร์บัค 📍 Florentia Village Outlet รวมทัวร์ไฟไหม้ ทัวร์หลุดจอง โปรพักเดี่ยว ลดเยอะสุด by 21ปี https://eTravelWay.com🔥 ⭕️ เข้ากลุ่มลับ Facebook โปรเพียบบบบ : https://78s.me/e86e1a ⭕️ เข้ากลุ่มลับ LINE openchat ทัวร์ที่หลุด คลิก https://78s.me/501ad8 LINE ID: @etravelway.fire https://78s.me/e58a3f Facebook: etravelway.fire https://78s.me/317663 Instagram: etravelway.fire https://78s.me/d43626 Tiktok : https://78s.me/903597 ☎️: 021166395 #ทัวร์จีน #ทัวร์เซี่ยงไฮ้ #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ราคาถูก #etravelwayfire #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    0 Comments 0 Shares 742 Views 6 0 Reviews
  • พาสปอร์ตรถไฟไทย นักเดินทางของมันต้องมี

    หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้จัดทำตราประทับของแต่ละสถานี พร้อมข้อความ "ตรวจสอบความถูกต้อง" ประทับบนตั๋วโดยสาร เพื่อยืนยันว่าตั๋วโดยสารที่ซื้อจากสถานีรถไฟนั้นๆ ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว โดยพบว่าแต่ละสถานีออกแบบโดยนำเอกลักษณ์ ศิลปะ วัฒนธรรม และสถานที่สำคัญในพื้นที่ของแต่ละสถานีมาเป็นลวดลายบนตราประทับดังกล่าว ทำให้เริ่มมีผู้โดยสารนิยมสะสมตราประทับของแต่ละสถานี เพื่อบันทึกความทรงจำในการเดินทางด้วยรถไฟ

    ก่อนหน้านี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดทำหนังสือเดินทางท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ (Passport to Thailand National Park) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ 156 แห่งทั่วประเทศ มีรางวัลแก่ผู้ที่สะสมตราประทับครบทุกแห่ง ด้วยการให้สิทธิ์เข้าอุทยานแห่งชาติฟรี 1 ปี และพักฟรี 2 ครั้ง แต่เนื่องจากอินฟลูเอนเซอร์ดัง "พี่จอง คัลเลน" นำหนังสือเดินทางท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติมาโชว์ในคลิป ทำให้ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวอย่างมาก

    มาถึงการเดินทางด้วยรถไฟ เมื่อมีนักท่องเที่ยวและนักเดินทางสนใจตราประทับของแต่ละสถานี จึงเริ่มมีผู้สะสมตราประทับ และเริ่มมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับรถไฟจัดทำหนังสือเดินทางขึ้น

    เริ่มจากพิพิธภัณฑ์รถไฟไทย โดยมูลนิธิรถไฟไทย จัดทำหนังสือเดินทางรถไฟไทย (Thailand Railway Passport) ปกสีน้ำตาล คล้ายหนังสือเดินทางประเทศไทย จำหน่ายในราคาเล่มละ 120 บาท ซื้อได้ที่พิพิธภัณฑ์รถไฟไทย ด้านหน้าสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เปิดทำการ วันอังคาร-วันเสาร์ เวลา 10.00-18.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ซึ่งที่ผ่านมามีผู้สนใจสั่งซื้อจำนวนมากนับพันเล่ม จึงทำให้ต้องมีการลงชื่อสั่งจองล่วงหน้า และจำกัดการซื้อเฉพาะวอล์กอินจากต่างจังหวัดคนละ 1 เล่ม

    ด้านบุรฉัตรมูลนิธิ และฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ ร.ฟ.ท. ได้จัดทำหนังสือเดินทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (Thailand Railway Passport) ลวดลายประเทศไทย ธงชาติ ปกสีครีม จำหน่ายในราคาเล่มละ 100 บาท ซื้อได้ที่ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ หรือศูนย์ประชาสัมพันธ์ ตึกบัญชาการรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย ตรงข้ามโรงเรียนเทพศิรินทร์ หรือสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ บริเวณห้องจำหน่ายตั๋ว และต่างจังหวัดติดต่อได้ที่สถานีรถไฟต่างๆ ทั่วประเทศ

    สิ่งที่ต้องระวังสำหรับนักท่องเที่ยวและนักเดินทาง หากเผลอนำตราประทับของสถานีรถไฟ ประทับลงในหนังสือเดินทาง "ฉบับจริง" ที่ยังไม่หมดอายุ หรือยังไม่ได้ยกเลิกใช้งาน ถือว่า "หนังสือเดินทางชำรุด" ต้องทำเล่มใหม่ ไม่เช่นนั้นอาจถูกประเทศหรือดินแดนปลายทางปฎิเสธเข้าประเทศ

    #Newskit
    พาสปอร์ตรถไฟไทย นักเดินทางของมันต้องมี หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้จัดทำตราประทับของแต่ละสถานี พร้อมข้อความ "ตรวจสอบความถูกต้อง" ประทับบนตั๋วโดยสาร เพื่อยืนยันว่าตั๋วโดยสารที่ซื้อจากสถานีรถไฟนั้นๆ ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว โดยพบว่าแต่ละสถานีออกแบบโดยนำเอกลักษณ์ ศิลปะ วัฒนธรรม และสถานที่สำคัญในพื้นที่ของแต่ละสถานีมาเป็นลวดลายบนตราประทับดังกล่าว ทำให้เริ่มมีผู้โดยสารนิยมสะสมตราประทับของแต่ละสถานี เพื่อบันทึกความทรงจำในการเดินทางด้วยรถไฟ ก่อนหน้านี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดทำหนังสือเดินทางท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ (Passport to Thailand National Park) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ 156 แห่งทั่วประเทศ มีรางวัลแก่ผู้ที่สะสมตราประทับครบทุกแห่ง ด้วยการให้สิทธิ์เข้าอุทยานแห่งชาติฟรี 1 ปี และพักฟรี 2 ครั้ง แต่เนื่องจากอินฟลูเอนเซอร์ดัง "พี่จอง คัลเลน" นำหนังสือเดินทางท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติมาโชว์ในคลิป ทำให้ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวอย่างมาก มาถึงการเดินทางด้วยรถไฟ เมื่อมีนักท่องเที่ยวและนักเดินทางสนใจตราประทับของแต่ละสถานี จึงเริ่มมีผู้สะสมตราประทับ และเริ่มมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับรถไฟจัดทำหนังสือเดินทางขึ้น เริ่มจากพิพิธภัณฑ์รถไฟไทย โดยมูลนิธิรถไฟไทย จัดทำหนังสือเดินทางรถไฟไทย (Thailand Railway Passport) ปกสีน้ำตาล คล้ายหนังสือเดินทางประเทศไทย จำหน่ายในราคาเล่มละ 120 บาท ซื้อได้ที่พิพิธภัณฑ์รถไฟไทย ด้านหน้าสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เปิดทำการ วันอังคาร-วันเสาร์ เวลา 10.00-18.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ซึ่งที่ผ่านมามีผู้สนใจสั่งซื้อจำนวนมากนับพันเล่ม จึงทำให้ต้องมีการลงชื่อสั่งจองล่วงหน้า และจำกัดการซื้อเฉพาะวอล์กอินจากต่างจังหวัดคนละ 1 เล่ม ด้านบุรฉัตรมูลนิธิ และฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ ร.ฟ.ท. ได้จัดทำหนังสือเดินทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (Thailand Railway Passport) ลวดลายประเทศไทย ธงชาติ ปกสีครีม จำหน่ายในราคาเล่มละ 100 บาท ซื้อได้ที่ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ หรือศูนย์ประชาสัมพันธ์ ตึกบัญชาการรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย ตรงข้ามโรงเรียนเทพศิรินทร์ หรือสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ บริเวณห้องจำหน่ายตั๋ว และต่างจังหวัดติดต่อได้ที่สถานีรถไฟต่างๆ ทั่วประเทศ สิ่งที่ต้องระวังสำหรับนักท่องเที่ยวและนักเดินทาง หากเผลอนำตราประทับของสถานีรถไฟ ประทับลงในหนังสือเดินทาง "ฉบับจริง" ที่ยังไม่หมดอายุ หรือยังไม่ได้ยกเลิกใช้งาน ถือว่า "หนังสือเดินทางชำรุด" ต้องทำเล่มใหม่ ไม่เช่นนั้นอาจถูกประเทศหรือดินแดนปลายทางปฎิเสธเข้าประเทศ #Newskit
    Like
    5
    0 Comments 0 Shares 756 Views 0 Reviews
More Results