• เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นหูคุ้นตากับ ‘คทาหรูอี้’ (หรูอี้/如意 แปลตรงตัวได้ว่า สมดังปรารถนา) บริบทที่เรามักเห็นในนิยาย/ละครจีนบ่อยๆ คือ ฮ่องเต้พระราชทานคทาหรูอี้หยกให้เป็นรางวัลต่อขุนนาง หรือบุรุษสูงศักดิ์มอบคทาหรูอี้ให้สตรีที่ถูกเลือกเป็นภรรยา อย่างเช่นตัวอย่างภาพประกอบยกมาจากละคร <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ตอนที่องค์ชายหงอี้ทรงเลือกชิงอิงเป็นพระชายา (รูปประกอบ1 ซ้าย) หรือเป็นวัตถุมงคลเหมาะกับการมอบให้เป็นของขวัญ

    เคยมีคนเขียนถึงคทาหรูอี้มาแล้วบ้าง ด้วยความหมายที่กล่าวถึงข้างต้น และเพื่อนเพจอาจเคยคุ้นกับการที่มีคทาหรูอี้ปรากฏในรูปภาพและรูปปั้นเทพเจ้าจีน และนักบวชนิยมถือคทาหรูอี้ยามสวดมนต์ ว่ากันว่าการใช้คทาหรูอี้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนานั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโบราณ

    แต่วันนี้ Storyฯ มาคุยเกี่ยวกับคทาหรูอี้ในอีกแง่มุมหนึ่ง... เพื่อนเพจเคยสงสัยเหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า เข้าใจล่ะว่าชื่อเป็นมงคล แต่คทาหรูอี้ออกจะเทอะทะ... มันไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากตั้งโชว์หรือถือไว้เท่ๆ เลยหรือ?

    จากภาพวาดโบราณ (รูปประกอบ 1 ขวา) จะเห็นว่าคทาหรูอี้เป็นของใช้ติดมือของชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้แก่ผู้เฒ่า... แสดงว่ามันต้องมีประโยชน์สิน่ะ เพื่อนเพจพอจะเดากันออกหรือไม่?

    จากข้อมูลที่ทางพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามรวบรวมได้ คทาหรูอี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 206 ก่อนคริสตศักราช - ปีค.ศ. 220) เดิมถูกใช้เป็นไม้เกาหลัง เรียกว่า ‘หรูอี้’ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘ไม่ง้อใคร’ (不求人/ปู้ฉิวเหริน) แรกเริ่มมีรูปทรงคล้ายมือ โดยในบันทึกสมัยราชวงศ์ชิง (事物异名录/ซื่ออู้อี้หมิงลู่) ได้เขียนไว้ว่า “หรูอี้นั้นไซร้ เป็นไม้กรงเล็บ”

    นอกจากนี้ ยังมีบทความสมัยราชวงศ์เหนือใต้ว่ามีการใช้คทาหรูอี้เป็นไม้ส่งสัญญาณเคลื่อนทัพในยามศึก นัยว่าเพื่อให้ชนะศึกได้ดังใจหมาย

    คทาหรูอี้กลายเป็นวัตถุประจำตัวที่คนนิยมพกพาเพราะชื่อเป็นมงคลและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวก็ได้ จึงพัฒนารูปแบบให้สวยงามมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นั้นใช้กันแพร่หลายในหลายแคว้นทั้งในวังและนอกวัง โดยสมัยนั้นนิยมให้ด้ามจับโค้งเป็นทรงกลุ่มดาวจระเข้ ตัวด้ามกลมมนเพื่อให้จับถนัดมือ ทำจากไม้ ไม้ไผ่หรือโลหะ มีใช้กันตั้งแต่ในวังยันชาวบ้านธรรมดานอกวัง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังจึงทำด้ามจับให้แบนลงและเป็นเส้นตรง โค้งที่ปลายหัว

    นานวันเข้า เมื่อถึงสมัยหมิงและชิง คทาหรูอี้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในฐานะวัตถุมงคลที่ใช้ประดับบ้านเรือนหรือของขวัญ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรมีในสินสอดของหมั้นของแต่งงาน จึงมีรูปแบบที่วิจิตรขึ้น รูปทรงที่เราคุ้นตาคือหัวเป็นทรงเห็ดหลินจือ โดยเฉพาะในยุคสมัยชิงนั้น คทาหรูอี้เป็นที่นิยมมากในวัง ไม่ว่าจะในงานราชประเพณี การแต่งตั้งขุนนาง การรับทูตจากต่างแดน ฯลฯ ล้วนต้องมีการถือคทาหรูอี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล

    ปัจจุบันในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามมีการเก็บรักษาคทาหรูอี้โบราณไว้กว่าสองพันชิ้นโดยส่วนใหญ่เป็นของสมัยชิง วัสดุที่ใช้ทำคทาหรูอี้นั้นหลากหลาย มีทั้งหยกชนิดต่างๆ ปะการัง ทองคำ เงิน ทองเหลือง งาช้าง ไม้ไผ่และไม้ชนิดต่างๆ และมีการแกะสลักลวดลายมากมายลงบนคทา

    Storyฯ เคยไปเที่ยวเมื่อนานมากแล้ว จำไม่ได้เลยว่าได้เคยเห็นอะไรในพิพิธภัณฑ์นี้บ้าง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.jianshu.com/p/faa99f5d9868
    https://new.qq.com/rain/a/20211210A027EU00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.mct.gov.cn/whzx/zsdw/ggbwy/202102/t20210210_921534.htm
    https://www.sohu.com/a/508658629_322551
    https://baike.baidu.com/item/如意/254746
    https://new.qq.com/rain/a/20220728A054CG00

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #คทาหรูอี้ #วัตถุมงคลจีน #ไม้เกาหลัง
    เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นหูคุ้นตากับ ‘คทาหรูอี้’ (หรูอี้/如意 แปลตรงตัวได้ว่า สมดังปรารถนา) บริบทที่เรามักเห็นในนิยาย/ละครจีนบ่อยๆ คือ ฮ่องเต้พระราชทานคทาหรูอี้หยกให้เป็นรางวัลต่อขุนนาง หรือบุรุษสูงศักดิ์มอบคทาหรูอี้ให้สตรีที่ถูกเลือกเป็นภรรยา อย่างเช่นตัวอย่างภาพประกอบยกมาจากละคร <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ตอนที่องค์ชายหงอี้ทรงเลือกชิงอิงเป็นพระชายา (รูปประกอบ1 ซ้าย) หรือเป็นวัตถุมงคลเหมาะกับการมอบให้เป็นของขวัญ เคยมีคนเขียนถึงคทาหรูอี้มาแล้วบ้าง ด้วยความหมายที่กล่าวถึงข้างต้น และเพื่อนเพจอาจเคยคุ้นกับการที่มีคทาหรูอี้ปรากฏในรูปภาพและรูปปั้นเทพเจ้าจีน และนักบวชนิยมถือคทาหรูอี้ยามสวดมนต์ ว่ากันว่าการใช้คทาหรูอี้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนานั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโบราณ แต่วันนี้ Storyฯ มาคุยเกี่ยวกับคทาหรูอี้ในอีกแง่มุมหนึ่ง... เพื่อนเพจเคยสงสัยเหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า เข้าใจล่ะว่าชื่อเป็นมงคล แต่คทาหรูอี้ออกจะเทอะทะ... มันไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากตั้งโชว์หรือถือไว้เท่ๆ เลยหรือ? จากภาพวาดโบราณ (รูปประกอบ 1 ขวา) จะเห็นว่าคทาหรูอี้เป็นของใช้ติดมือของชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้แก่ผู้เฒ่า... แสดงว่ามันต้องมีประโยชน์สิน่ะ เพื่อนเพจพอจะเดากันออกหรือไม่? จากข้อมูลที่ทางพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามรวบรวมได้ คทาหรูอี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 206 ก่อนคริสตศักราช - ปีค.ศ. 220) เดิมถูกใช้เป็นไม้เกาหลัง เรียกว่า ‘หรูอี้’ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘ไม่ง้อใคร’ (不求人/ปู้ฉิวเหริน) แรกเริ่มมีรูปทรงคล้ายมือ โดยในบันทึกสมัยราชวงศ์ชิง (事物异名录/ซื่ออู้อี้หมิงลู่) ได้เขียนไว้ว่า “หรูอี้นั้นไซร้ เป็นไม้กรงเล็บ” นอกจากนี้ ยังมีบทความสมัยราชวงศ์เหนือใต้ว่ามีการใช้คทาหรูอี้เป็นไม้ส่งสัญญาณเคลื่อนทัพในยามศึก นัยว่าเพื่อให้ชนะศึกได้ดังใจหมาย คทาหรูอี้กลายเป็นวัตถุประจำตัวที่คนนิยมพกพาเพราะชื่อเป็นมงคลและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวก็ได้ จึงพัฒนารูปแบบให้สวยงามมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นั้นใช้กันแพร่หลายในหลายแคว้นทั้งในวังและนอกวัง โดยสมัยนั้นนิยมให้ด้ามจับโค้งเป็นทรงกลุ่มดาวจระเข้ ตัวด้ามกลมมนเพื่อให้จับถนัดมือ ทำจากไม้ ไม้ไผ่หรือโลหะ มีใช้กันตั้งแต่ในวังยันชาวบ้านธรรมดานอกวัง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังจึงทำด้ามจับให้แบนลงและเป็นเส้นตรง โค้งที่ปลายหัว นานวันเข้า เมื่อถึงสมัยหมิงและชิง คทาหรูอี้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในฐานะวัตถุมงคลที่ใช้ประดับบ้านเรือนหรือของขวัญ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรมีในสินสอดของหมั้นของแต่งงาน จึงมีรูปแบบที่วิจิตรขึ้น รูปทรงที่เราคุ้นตาคือหัวเป็นทรงเห็ดหลินจือ โดยเฉพาะในยุคสมัยชิงนั้น คทาหรูอี้เป็นที่นิยมมากในวัง ไม่ว่าจะในงานราชประเพณี การแต่งตั้งขุนนาง การรับทูตจากต่างแดน ฯลฯ ล้วนต้องมีการถือคทาหรูอี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล ปัจจุบันในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามมีการเก็บรักษาคทาหรูอี้โบราณไว้กว่าสองพันชิ้นโดยส่วนใหญ่เป็นของสมัยชิง วัสดุที่ใช้ทำคทาหรูอี้นั้นหลากหลาย มีทั้งหยกชนิดต่างๆ ปะการัง ทองคำ เงิน ทองเหลือง งาช้าง ไม้ไผ่และไม้ชนิดต่างๆ และมีการแกะสลักลวดลายมากมายลงบนคทา Storyฯ เคยไปเที่ยวเมื่อนานมากแล้ว จำไม่ได้เลยว่าได้เคยเห็นอะไรในพิพิธภัณฑ์นี้บ้าง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.jianshu.com/p/faa99f5d9868 https://new.qq.com/rain/a/20211210A027EU00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.mct.gov.cn/whzx/zsdw/ggbwy/202102/t20210210_921534.htm https://www.sohu.com/a/508658629_322551 https://baike.baidu.com/item/如意/254746 https://new.qq.com/rain/a/20220728A054CG00 #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #คทาหรูอี้ #วัตถุมงคลจีน #ไม้เกาหลัง
    WWW.JIANSHU.COM
    【如懿传|如懿】年少情深,也可以走到相看两厌
    一出墙头马上,两心相许。山河依旧,唯人兰因絮果。 如懿的一生都把真心付给了自己的少年郎,年少时的扶持,无人之巅的陪伴,病榻前的守护,相比于甄嬛,她更加令人心疼。 执着勇敢是她...
    Like
    1
    2 Comments 0 Shares 151 Views 0 Reviews
  • ♣ ชยพล - สหัสวัต พรรคพม่า กร่างใส รปภ. หลังโดนห้ามเอารถเข้าเขตหวงห้ามบริเวณตึกสตง.ถล่ม ไม่วายก้าวล่วง ว่า ต้องเป็นรถโรงครัวพระราชทานใช่ไหมถึงเข้าได้
    #7ดอกจิก
    #ชยพล
    #สหัสวัต
    ♣ ชยพล - สหัสวัต พรรคพม่า กร่างใส รปภ. หลังโดนห้ามเอารถเข้าเขตหวงห้ามบริเวณตึกสตง.ถล่ม ไม่วายก้าวล่วง ว่า ต้องเป็นรถโรงครัวพระราชทานใช่ไหมถึงเข้าได้ #7ดอกจิก #ชยพล #สหัสวัต
    Angry
    1
    0 Comments 0 Shares 76 Views 0 Reviews
  • 31 มีนา “วันเจษฎาบดินทร์” ระลึกพระนั่งเกล้าฯ ผู้ให้กำเนิด "เงินถุงแดง" ไถ่บ้านไถ่เมือง

    ✨ วันแห่งประวัติศาสตร์ไทย ที่ไม่ควรลืม ✨ วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี ได้รับการประกาศจากคณะรัฐมนตรีให้เป็น “วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” หรือเรียกกันว่า “วันเจษฎาบดินทร์” 💛

    เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้วางรากฐานสำคัญให้กับการค้า การป้องกันประเทศ การทำนุบำรุงศาสนา และเป็นผู้นำแนวคิดการเก็บออม ไว้ให้ชาติบ้านเมืองในยามคับขัน ที่รู้จักกันในนาม “เงินถุงแดง” 💰

    🏯 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 กับสมเด็จพระศรีสุลาลัย หรือเจ้าจอมมารดาเรียม ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2331 ที่พระราชวังเดิม ธนบุรี 🏰

    พระองค์มีพระนามเดิมว่า “หม่อมเจ้าชายทับ” ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” และขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ทรงมีพระชนมพรรษา 37 ปี

    ตลอดรัชสมัยกว่า 27 ปี พระองค์ทรงใช้พระปรีชาญาณ ในการบริหารบ้านเมืองอย่างรอบคอบ ทรงวางระบบเศรษฐกิจ 📈 ขยายเส้นทางการค้า 🌏 และจัดสรรรายได้แผ่นดินอย่างเป็นระบบ เพื่อความมั่นคงในอนาคต 🇹🇭

    👑 จุดเริ่มต้นของคำว่า “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามใหม่อย่างย่อว่า “พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว”

    โดยคำว่า “เจษฎา” หมายถึง เลิศล้ำ ยอดเยี่ยม และ “บดินทร์” หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน ดังนั้น “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” จึงหมายถึง “พระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่และเป็นเลิศ” ✨

    🧭 รัชสมัยแห่งความมั่นคงและเจริญรุ่งเรือง พระองค์ทรงส่งเสริมการค้าขายกับต่างชาติ โดยเฉพาะกับจีน และประเทศทางตะวันตก อย่างอังกฤษและสหรัฐฯ มีการลงนามในสนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ. 2369 และสนธิสัญญากับอเมริกาใน พ.ศ. 2375 ซึ่งเป็นสนธิสัญญาฉบับแรก ระหว่างสหรัฐอเมริกา กับประเทศในเอเชียตะวันออก 🌐

    พระองค์ทรงวางรากฐานเศรษฐกิจการค้า เสริมสร้างรายได้แผ่นดิน โดยมีระบบภาษีใหม่ถึง 38 รายการ และทรงปกครองด้วยพระปรีชาญาณอย่างเด็ดขาด รวมถึงการสร้างคลอง เพื่อใช้ในสงครามและการพาณิชย์ เช่น คลองบางขุนเทียน คลองหมาหอน 🚤

    📚 “เงินถุงแดง” ตำนานที่กลายเป็นจริง หนึ่งในมรดกที่สำคัญที่สุ ดจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ เงินถุงแดง หรือ “พระคลังข้างที่” 💼

    📌 พระคลังข้างที่ คือ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ที่สะสมไว้ใช้ในยามจำเป็นของแผ่นดิน พระองค์ทรงประหยัดมัธยัสถ์ และตั้งพระราชดำริว่า “เก็บไว้เพื่อไถ่บ้านไถ่เมือง” ในยามเกิดภัยพิบัติหรือสงคราม

    ต่อมาในเหตุการณ์ ร.ศ. 112 หรือ พ.ศ. 2436 เมื่อฝรั่งเศสบุกเรือรบ เข้ายึดดินแดนของไทย และเรียกร้องค่าปรับสงคราม 3,000,000 ฟรังก์ รัฐบาลสยามจึงได้นำเงินถุงแดง ออกมาใช้ในการไถ่แผ่นดิน 💸

    📆 เหตุการณ์ ร.ศ.112 และการใช้ “เงินถุงแดง” ไถ่ชาติ

    🔥 ความขัดแย้งไทย - ฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสกล่าวหาไทย ว่าเป็นฝ่ายเริ่มต้นสงคราม โดยอ้างเหตุการณ์ที่แม่น้ำโขง ที่กองกำลังไทยสังหารทหารฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสส่งเรือรบ เข้าปิดล้อมแม่น้ำเจ้าพระยา

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต้องเผชิญกับสถานการณ์อันตึงเครียด ในระดับที่ชาติอาจล่มสลาย 💣 ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทยจ่ายค่าปรับ และยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง

    🧾 ตัวเลขที่มากมาย
    ค่าเสียหายที่เรียกร้อง = 2,000,000 ฟรังก์
    เงินมัดจำเพิ่มเติม = 1,000,000 ฟรังก์
    รวมเป็น 3,000,000 ฟรังก์ ประมาณ 1.6 ล้านบาท ในขณะนั้น

    📤 แหล่งเงินสำคัญ เงินที่นำมาใช้จ่ายครั้งนั้น มาจาก “พระคลังข้างที่” ซึ่งเป็นเงินส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 3 ที่ถูกเก็บไว้ในถุงแดงอย่างเงียบงัน 😌

    🧠 ข้อเท็จจริงหรือแค่ตำนาน? เงินถุงแดงมีจริงหรือไม่ 🤔 มีบางความเห็นในยุคปัจจุบัน ที่ตั้งข้อสังเกตว่า “เงินถุงแดง” อาจไม่มีอยู่จริง และเป็นแค่เรื่องเล่าขาน แต่เมื่อพิจารณาหลักฐานจากหลายแหล่ง ทั้ง

    📖 หนังสือพิมพ์ Le Monde Illustré ของฝรั่งเศส
    📚 หนังสือ “เหตุการณ์ ร.ศ.112 และเรื่องเสียเขตแดนใน ร.5”
    📜 พระราชนิพนธ์ และคำกราบบังคมทูล ของกรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์

    ต่างยืนยันว่า มีการชำระเงินมัดจำด้วยเหรียญเม็กซิกัน จำนวนกว่า 800,000 เหรียญ หรือประมาณ 23 ตัน ที่ขนส่งออกไปจากกรุงเทพฯ 🚢

    🔍 วิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ เงินถุงแดงสะท้อนอะไร? เงินถุงแดงไม่เพียงเป็นสัญลักษณ์ ของความสามารถในการบริหารเศรษฐกิจ ของรัชกาลที่ 3 แต่ยังสะท้อนถึงแนวคิด “เงินสำรองแผ่นดิน” ซึ่งในภายหลัง ก็กลายเป็นแนวคิดตั้งต้นของ “ทุนสำรองระหว่างประเทศ” ในรูปแบบที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ 🌎💹

    📖 พระราชสมัญญา แห่งพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ต่อมาใน พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พระราชทานพระราชสมัญญา “พระมหาเจษฎาราชเจ้า”

    ตามมาด้วยใน พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2558 ได้มีการถวายพระราชสมัญญาเพิ่มเติม ได้แก่
    - พระบิดาแห่งการค้าไทย 🛍
    - พระบิดาแห่งการพาณิชย์นาวีไทย 🚢
    - พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย 🌿

    🧡 วันเจษฎาบดินทร์ 31 มีนาคม วันแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี เป็น “วันเจษฎาบดินทร์” เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ แห่งรัชกาลที่ 3 แม้ไม่ใช่วันหยุดราชการ แต่ถือเป็น วันสำคัญของชาติไทย 🗓🇹🇭

    💬 รัชกาลที่ 3 กับมรดกที่คนไทยไม่ควรลืม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงเป็นกษัตริย์ ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ด้านการค้าและเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังทรงเป็นกษัตริย์ที่ “เตรียมพร้อม” รับสถานการณ์ล่วงหน้าอย่างชาญฉลาด 💼💪

    “เงินถุงแดง” คือสัญลักษณ์ของ วินัยทางการเงินระดับชาติ และความห่วงใยต่อแผ่นดิน ของพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 310848 มี.ค. 2568

    📌 #วันเจษฎาบดินทร์ #พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว #เงินถุงแดง #ราชวงศ์จักรี #ประวัติศาสตร์ไทย #รัชกาลที่3 #รศ112 #บทเรียนจากอดีต #พระมหาเจษฎาราชเจ้า #อธิปไตยไทย
    31 มีนา “วันเจษฎาบดินทร์” ระลึกพระนั่งเกล้าฯ ผู้ให้กำเนิด "เงินถุงแดง" ไถ่บ้านไถ่เมือง ✨ วันแห่งประวัติศาสตร์ไทย ที่ไม่ควรลืม ✨ วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี ได้รับการประกาศจากคณะรัฐมนตรีให้เป็น “วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” หรือเรียกกันว่า “วันเจษฎาบดินทร์” 💛 เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้วางรากฐานสำคัญให้กับการค้า การป้องกันประเทศ การทำนุบำรุงศาสนา และเป็นผู้นำแนวคิดการเก็บออม ไว้ให้ชาติบ้านเมืองในยามคับขัน ที่รู้จักกันในนาม “เงินถุงแดง” 💰 🏯 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 กับสมเด็จพระศรีสุลาลัย หรือเจ้าจอมมารดาเรียม ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2331 ที่พระราชวังเดิม ธนบุรี 🏰 พระองค์มีพระนามเดิมว่า “หม่อมเจ้าชายทับ” ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” และขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ทรงมีพระชนมพรรษา 37 ปี ตลอดรัชสมัยกว่า 27 ปี พระองค์ทรงใช้พระปรีชาญาณ ในการบริหารบ้านเมืองอย่างรอบคอบ ทรงวางระบบเศรษฐกิจ 📈 ขยายเส้นทางการค้า 🌏 และจัดสรรรายได้แผ่นดินอย่างเป็นระบบ เพื่อความมั่นคงในอนาคต 🇹🇭 👑 จุดเริ่มต้นของคำว่า “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามใหม่อย่างย่อว่า “พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว” โดยคำว่า “เจษฎา” หมายถึง เลิศล้ำ ยอดเยี่ยม และ “บดินทร์” หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน ดังนั้น “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” จึงหมายถึง “พระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่และเป็นเลิศ” ✨ 🧭 รัชสมัยแห่งความมั่นคงและเจริญรุ่งเรือง พระองค์ทรงส่งเสริมการค้าขายกับต่างชาติ โดยเฉพาะกับจีน และประเทศทางตะวันตก อย่างอังกฤษและสหรัฐฯ มีการลงนามในสนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ. 2369 และสนธิสัญญากับอเมริกาใน พ.ศ. 2375 ซึ่งเป็นสนธิสัญญาฉบับแรก ระหว่างสหรัฐอเมริกา กับประเทศในเอเชียตะวันออก 🌐 พระองค์ทรงวางรากฐานเศรษฐกิจการค้า เสริมสร้างรายได้แผ่นดิน โดยมีระบบภาษีใหม่ถึง 38 รายการ และทรงปกครองด้วยพระปรีชาญาณอย่างเด็ดขาด รวมถึงการสร้างคลอง เพื่อใช้ในสงครามและการพาณิชย์ เช่น คลองบางขุนเทียน คลองหมาหอน 🚤 📚 “เงินถุงแดง” ตำนานที่กลายเป็นจริง หนึ่งในมรดกที่สำคัญที่สุ ดจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ เงินถุงแดง หรือ “พระคลังข้างที่” 💼 📌 พระคลังข้างที่ คือ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ที่สะสมไว้ใช้ในยามจำเป็นของแผ่นดิน พระองค์ทรงประหยัดมัธยัสถ์ และตั้งพระราชดำริว่า “เก็บไว้เพื่อไถ่บ้านไถ่เมือง” ในยามเกิดภัยพิบัติหรือสงคราม ต่อมาในเหตุการณ์ ร.ศ. 112 หรือ พ.ศ. 2436 เมื่อฝรั่งเศสบุกเรือรบ เข้ายึดดินแดนของไทย และเรียกร้องค่าปรับสงคราม 3,000,000 ฟรังก์ รัฐบาลสยามจึงได้นำเงินถุงแดง ออกมาใช้ในการไถ่แผ่นดิน 💸 📆 เหตุการณ์ ร.ศ.112 และการใช้ “เงินถุงแดง” ไถ่ชาติ 🔥 ความขัดแย้งไทย - ฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสกล่าวหาไทย ว่าเป็นฝ่ายเริ่มต้นสงคราม โดยอ้างเหตุการณ์ที่แม่น้ำโขง ที่กองกำลังไทยสังหารทหารฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสส่งเรือรบ เข้าปิดล้อมแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต้องเผชิญกับสถานการณ์อันตึงเครียด ในระดับที่ชาติอาจล่มสลาย 💣 ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทยจ่ายค่าปรับ และยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง 🧾 ตัวเลขที่มากมาย ค่าเสียหายที่เรียกร้อง = 2,000,000 ฟรังก์ เงินมัดจำเพิ่มเติม = 1,000,000 ฟรังก์ รวมเป็น 3,000,000 ฟรังก์ ประมาณ 1.6 ล้านบาท ในขณะนั้น 📤 แหล่งเงินสำคัญ เงินที่นำมาใช้จ่ายครั้งนั้น มาจาก “พระคลังข้างที่” ซึ่งเป็นเงินส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 3 ที่ถูกเก็บไว้ในถุงแดงอย่างเงียบงัน 😌 🧠 ข้อเท็จจริงหรือแค่ตำนาน? เงินถุงแดงมีจริงหรือไม่ 🤔 มีบางความเห็นในยุคปัจจุบัน ที่ตั้งข้อสังเกตว่า “เงินถุงแดง” อาจไม่มีอยู่จริง และเป็นแค่เรื่องเล่าขาน แต่เมื่อพิจารณาหลักฐานจากหลายแหล่ง ทั้ง 📖 หนังสือพิมพ์ Le Monde Illustré ของฝรั่งเศส 📚 หนังสือ “เหตุการณ์ ร.ศ.112 และเรื่องเสียเขตแดนใน ร.5” 📜 พระราชนิพนธ์ และคำกราบบังคมทูล ของกรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ต่างยืนยันว่า มีการชำระเงินมัดจำด้วยเหรียญเม็กซิกัน จำนวนกว่า 800,000 เหรียญ หรือประมาณ 23 ตัน ที่ขนส่งออกไปจากกรุงเทพฯ 🚢 🔍 วิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ เงินถุงแดงสะท้อนอะไร? เงินถุงแดงไม่เพียงเป็นสัญลักษณ์ ของความสามารถในการบริหารเศรษฐกิจ ของรัชกาลที่ 3 แต่ยังสะท้อนถึงแนวคิด “เงินสำรองแผ่นดิน” ซึ่งในภายหลัง ก็กลายเป็นแนวคิดตั้งต้นของ “ทุนสำรองระหว่างประเทศ” ในรูปแบบที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ 🌎💹 📖 พระราชสมัญญา แห่งพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ต่อมาใน พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พระราชทานพระราชสมัญญา “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” ตามมาด้วยใน พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2558 ได้มีการถวายพระราชสมัญญาเพิ่มเติม ได้แก่ - พระบิดาแห่งการค้าไทย 🛍 - พระบิดาแห่งการพาณิชย์นาวีไทย 🚢 - พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย 🌿 🧡 วันเจษฎาบดินทร์ 31 มีนาคม วันแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี เป็น “วันเจษฎาบดินทร์” เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ แห่งรัชกาลที่ 3 แม้ไม่ใช่วันหยุดราชการ แต่ถือเป็น วันสำคัญของชาติไทย 🗓🇹🇭 💬 รัชกาลที่ 3 กับมรดกที่คนไทยไม่ควรลืม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงเป็นกษัตริย์ ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ด้านการค้าและเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังทรงเป็นกษัตริย์ที่ “เตรียมพร้อม” รับสถานการณ์ล่วงหน้าอย่างชาญฉลาด 💼💪 “เงินถุงแดง” คือสัญลักษณ์ของ วินัยทางการเงินระดับชาติ และความห่วงใยต่อแผ่นดิน ของพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 310848 มี.ค. 2568 📌 #วันเจษฎาบดินทร์ #พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว #เงินถุงแดง #ราชวงศ์จักรี #ประวัติศาสตร์ไทย #รัชกาลที่3 #รศ112 #บทเรียนจากอดีต #พระมหาเจษฎาราชเจ้า #อธิปไตยไทย
    0 Comments 0 Shares 183 Views 0 Reviews
  • เหรียญหลวงพ่อดี วัดสังฆสิทธาราม จ.นราธิวาส
    เหรียญหลวงพ่อดี วาจาสิทธิ์ วัดสังฆสิทธาราม ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จ.นราธิวาส ปี2518 //พระดีพิธีใหญ่ พิธีเข้มขลัง ศิษย์สายหลวงพ่อครน สุดยอดประสบการณ์ หายาก จัดสร้าง ประมาณ 5000 เหรียญ // พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากก พระสถาพใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** เหรียญมหาอุตย์ ฟันไม่เข้า ยิงไม่ออก อยู่ยงคงกระพัน มีเมตตามหานิยม ป้องกันภูตผีปีศาจและโรคภัยไข้เจ็บ แคล้วคลาดอันตราย ความศักดิ์สิทธิ์ทางทางป้องกันอาวุธและทางเมตตามหานิยม >>

    ** หลวงพ่อดีท่านเป็นศิษย์สายหลวงพ่อครน***วัดสังฆสิทธาราม ได้สร้างขึ้นเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2481 เดิมมีนามว่า “ วัดตันหยงมัส ” ได้เปลี่ยนนามวัดเมื่อ พ.ศ. 2482 เป็นวัดสังฆสิทธาราม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2492 หลวงพ่อดีวาจาสิทธิ์ ได้รับฉายาว่า พระครูการุญญโสภณ เป็นเจ้าอาวาส องค์แรก ได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ณ วัดพระพุทธ ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ก่อนที่หลวงพ่อดีวาจาสิทธิ์จะย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสังฆสิทธิธาราม หลวงพ่อดีวาจาสิทธิ์ ได้ย้ายไปอยู่วัดต่าง ๆ ดังนี้ 1.มิถุนายน พ.ศ. 2477 ย้ายไปอยู่ที่วัดราษฎร์สโมสร อ.รือเสาะ 2.สิงหาคม พ.ศ. 2479 ย้ายไปอยู่ที่วัดปริมังคลาวาส อ.สุไหงปาดี 3.กรกฎาคม พ.ศ.2480 ย้ายเป็นเจ้าอาวาสวัดลอยประดิษฐ์ อ.สุไหงปาดี 4.สิงหาคม พ.ศ. 2483 ย้ายเป็นเจ้าอาวาสวัดสังฆสิทธิธาราม อ.ระแงะ หลวงพ่อดีวาจาสิทธิ์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูการุญญโสภณ ( ไม่ปรากกฏหลักฐานเมื่อไร ) พร้อมทั้งได้รับตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอระแงะ จนกระทั่งได้ถึงแก่มรณภาพ อาพาธด้วยโรคชรา เมื่อ พ.ศ. 2518 รวมศิริอายุได้ 82 ปี 60 พรรษา เหตุผลที่หลวงพ่อดีวาจาสิทธิ์ เป็นที่กล่าวขานและนับถือของชาวบ้านและประชาชนทั่วไปว่า หลวงพ่อดีมีวาจาสิทธิ์ เพราะลิ้นของหลวงพ่อดีมีปานดำในอุ้งปากมาแต่กำเนิด ชาวบ้านจึงมีความเชื่อว่าผู้ที่มีลิ้นดำเวลาพูดอะไรออกไปแล้วจะเป็นดังคำที่พูด เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวบ้าน >>


    ** พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากก พระสถาพใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    เหรียญหลวงพ่อดี วัดสังฆสิทธาราม จ.นราธิวาส เหรียญหลวงพ่อดี วาจาสิทธิ์ วัดสังฆสิทธาราม ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จ.นราธิวาส ปี2518 //พระดีพิธีใหญ่ พิธีเข้มขลัง ศิษย์สายหลวงพ่อครน สุดยอดประสบการณ์ หายาก จัดสร้าง ประมาณ 5000 เหรียญ // พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากก พระสถาพใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** เหรียญมหาอุตย์ ฟันไม่เข้า ยิงไม่ออก อยู่ยงคงกระพัน มีเมตตามหานิยม ป้องกันภูตผีปีศาจและโรคภัยไข้เจ็บ แคล้วคลาดอันตราย ความศักดิ์สิทธิ์ทางทางป้องกันอาวุธและทางเมตตามหานิยม >> ** หลวงพ่อดีท่านเป็นศิษย์สายหลวงพ่อครน***วัดสังฆสิทธาราม ได้สร้างขึ้นเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2481 เดิมมีนามว่า “ วัดตันหยงมัส ” ได้เปลี่ยนนามวัดเมื่อ พ.ศ. 2482 เป็นวัดสังฆสิทธาราม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2492 หลวงพ่อดีวาจาสิทธิ์ ได้รับฉายาว่า พระครูการุญญโสภณ เป็นเจ้าอาวาส องค์แรก ได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ณ วัดพระพุทธ ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ก่อนที่หลวงพ่อดีวาจาสิทธิ์จะย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสังฆสิทธิธาราม หลวงพ่อดีวาจาสิทธิ์ ได้ย้ายไปอยู่วัดต่าง ๆ ดังนี้ 1.มิถุนายน พ.ศ. 2477 ย้ายไปอยู่ที่วัดราษฎร์สโมสร อ.รือเสาะ 2.สิงหาคม พ.ศ. 2479 ย้ายไปอยู่ที่วัดปริมังคลาวาส อ.สุไหงปาดี 3.กรกฎาคม พ.ศ.2480 ย้ายเป็นเจ้าอาวาสวัดลอยประดิษฐ์ อ.สุไหงปาดี 4.สิงหาคม พ.ศ. 2483 ย้ายเป็นเจ้าอาวาสวัดสังฆสิทธิธาราม อ.ระแงะ หลวงพ่อดีวาจาสิทธิ์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูการุญญโสภณ ( ไม่ปรากกฏหลักฐานเมื่อไร ) พร้อมทั้งได้รับตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอระแงะ จนกระทั่งได้ถึงแก่มรณภาพ อาพาธด้วยโรคชรา เมื่อ พ.ศ. 2518 รวมศิริอายุได้ 82 ปี 60 พรรษา เหตุผลที่หลวงพ่อดีวาจาสิทธิ์ เป็นที่กล่าวขานและนับถือของชาวบ้านและประชาชนทั่วไปว่า หลวงพ่อดีมีวาจาสิทธิ์ เพราะลิ้นของหลวงพ่อดีมีปานดำในอุ้งปากมาแต่กำเนิด ชาวบ้านจึงมีความเชื่อว่าผู้ที่มีลิ้นดำเวลาพูดอะไรออกไปแล้วจะเป็นดังคำที่พูด เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวบ้าน >> ** พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากก พระสถาพใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 Comments 0 Shares 188 Views 0 Reviews
  • เหรียญท้าวกุเวรมหาราช รุ่นกฐินพระราชทาน วัดมัชฌิมาวาส วัดกลาง จ.สงขลา
    เหรียญท้าวกุเวรมหาราช รุ่นกฐินพระราชทาน วัดมัชฌิมาวาส วัดกลาง จ.สงขลา // พระดีพิธีใหญ่ เทพผู้บันดาลความมั่งคั่ง ร่ำรวย ทรัพย์สมบัติเงินทองและโชคลาภ //พระสถาพสวยมาก ผิวหิ้ง พระดูง่าย หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ //

    ** พุทธคุณในด้านบันดาลความร่ำรวยและโชคลาภ อุดมโภคทรัพย์ เจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา เสริมโชคเสริมลาภ ช่วยปกป้องคุ้มครอง จากสิ่งชั่วร้าย ภูตผีปีศาจ มนตร์ดําต่างๆ >>>ผู้ใด ที่มี ท้าวกุเวร ไว้สักการะบูชา มักจะเกิดความร่ำรวยมีลาภทันตาเห็น >>

    ** วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่คู่เมืองสงขลามาช้านานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งชาวสงขลาจะเรียกกันติดปากว่า"วัดกลาง" เป็นที่ประดิษฐานของท้าวกุเวรมหาราชอันเป็นเป้าหมายของฉันในการไปสักการะในครั้งนี้ ฉันไปถึงวัดในช่วงเย็น จอดรถด้านนอกบริเวณกำแพงวัดแล้วจึงเดินเข้าไปในวัด แดดร่มลมตก อากาศกำลังดี จึงเดินทอดน่องชื่นชมทัศนียภาพภายในวัดไปด้วย >>


    ** พระสถาพสวยมาก ผิวหิ้ง พระดูง่าย หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    เหรียญท้าวกุเวรมหาราช รุ่นกฐินพระราชทาน วัดมัชฌิมาวาส วัดกลาง จ.สงขลา เหรียญท้าวกุเวรมหาราช รุ่นกฐินพระราชทาน วัดมัชฌิมาวาส วัดกลาง จ.สงขลา // พระดีพิธีใหญ่ เทพผู้บันดาลความมั่งคั่ง ร่ำรวย ทรัพย์สมบัติเงินทองและโชคลาภ //พระสถาพสวยมาก ผิวหิ้ง พระดูง่าย หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ // ** พุทธคุณในด้านบันดาลความร่ำรวยและโชคลาภ อุดมโภคทรัพย์ เจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา เสริมโชคเสริมลาภ ช่วยปกป้องคุ้มครอง จากสิ่งชั่วร้าย ภูตผีปีศาจ มนตร์ดําต่างๆ >>>ผู้ใด ที่มี ท้าวกุเวร ไว้สักการะบูชา มักจะเกิดความร่ำรวยมีลาภทันตาเห็น >> ** วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่คู่เมืองสงขลามาช้านานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งชาวสงขลาจะเรียกกันติดปากว่า"วัดกลาง" เป็นที่ประดิษฐานของท้าวกุเวรมหาราชอันเป็นเป้าหมายของฉันในการไปสักการะในครั้งนี้ ฉันไปถึงวัดในช่วงเย็น จอดรถด้านนอกบริเวณกำแพงวัดแล้วจึงเดินเข้าไปในวัด แดดร่มลมตก อากาศกำลังดี จึงเดินทอดน่องชื่นชมทัศนียภาพภายในวัดไปด้วย >> ** พระสถาพสวยมาก ผิวหิ้ง พระดูง่าย หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 Comments 0 Shares 209 Views 0 Reviews
  • เหรียญพิทักษ์เสรีชน ปี2512
    เหรียญพิทักษ์เสรีชน "อสาธุํ สาธุนา ชิเน" ปี2512 // พระราชทานแก่ผู้ที่กระทำการปราบปรามผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์ // พระสถาพสวย ผิวหิ้ง พระดูง่าย เนื้อแห้ง หายากกครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณ แคล้วคลาดปลอดภัย มหาอุด ทั้งคงกระพันชาตรี เจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง การเงิน โชคลาภค้าขาย เรียกทรัพย์ เมตตามหานิยม ประสบการณ์มากมาย รวมทั้งไล่ภูตผี และใช้กันเสนียดจัญไรได้อีกด้วย >>

    ** เหรียญพิทักษ์เสรีชน (ส.ช.) ชั้นที่1 "อสาธุํ สาธุนา ชิเน" ปี ๒๕๑๒ เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จกล้าหาญ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญนี้ขึ้นสำหรับ พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ และราษฎร ซึ่งได้ปฏิบัติการสู้รบกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ด้วยความกล้าหาญ หรือได้รับบาดเจ็บ หรือตายในการสู้รบ และการสู้รบนั้นได้ก่อให้เกิดผลดีแก่การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ สมควรให้มีเหรียญพิทักษ์เสรีชน สำหรับพระราชทานแก่บุคคลดังกล่าว เพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล โดยตรา พระราชบัญญัติเหรียญพิทักษ์เสรีชน พ.ศ. ๒๕๑๒ >>


    ** พระสถาพสวย ผิวหิ้ง พระดูง่าย เนื้อแห้ง หายากกครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    เหรียญพิทักษ์เสรีชน ปี2512 เหรียญพิทักษ์เสรีชน "อสาธุํ สาธุนา ชิเน" ปี2512 // พระราชทานแก่ผู้ที่กระทำการปราบปรามผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์ // พระสถาพสวย ผิวหิ้ง พระดูง่าย เนื้อแห้ง หายากกครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณ แคล้วคลาดปลอดภัย มหาอุด ทั้งคงกระพันชาตรี เจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง การเงิน โชคลาภค้าขาย เรียกทรัพย์ เมตตามหานิยม ประสบการณ์มากมาย รวมทั้งไล่ภูตผี และใช้กันเสนียดจัญไรได้อีกด้วย >> ** เหรียญพิทักษ์เสรีชน (ส.ช.) ชั้นที่1 "อสาธุํ สาธุนา ชิเน" ปี ๒๕๑๒ เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จกล้าหาญ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญนี้ขึ้นสำหรับ พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ และราษฎร ซึ่งได้ปฏิบัติการสู้รบกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ด้วยความกล้าหาญ หรือได้รับบาดเจ็บ หรือตายในการสู้รบ และการสู้รบนั้นได้ก่อให้เกิดผลดีแก่การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ สมควรให้มีเหรียญพิทักษ์เสรีชน สำหรับพระราชทานแก่บุคคลดังกล่าว เพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล โดยตรา พระราชบัญญัติเหรียญพิทักษ์เสรีชน พ.ศ. ๒๕๑๒ >> ** พระสถาพสวย ผิวหิ้ง พระดูง่าย เนื้อแห้ง หายากกครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 Comments 0 Shares 238 Views 0 Reviews
  • 199 ปี ทัพลาวพ่าย ถอยร่นจากโคราช ย่าโมตั้งการ์ดสู้ เจ้าอนุวงศ์เผ่นกระเจิง

    ย้อนรอยศึกสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ไทย-ลาว กับเรื่องราววีรกรรมของท้าวสุรนารี และบทสรุปของการปะทะ ที่ยังคงถกเถียงถึงทุกวันนี้ ⚔️

    📝 ย้อนไปเมื่อ 199 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 เหตุการณ์ "สงครามปราบเจ้าอนุวงศ์" หรือที่รู้จักกันว่า "วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์" นำโดย "ท้าวสุรนารี" หรือ "คุณหญิงโม" วีรสตรีแห่งเมืองโคราช ที่ถูกยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ และการเสียสละของหญิงไทย ในการปกป้องบ้านเมืองจากการรุกรานของกองทัพเวียงจันทน์ ภายใต้การนำของเจ้าอนุวงศ์ พระมหากษัตริย์นครเวียงจันทน์องค์สุดท้าย

    📜 แต่เบื้องหลังเรื่องเล่าแห่งวีรกรรมครั้งนี้ ยังมีหลายแง่มุมที่ซับซ้อน ทั้งในมิติประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการเมือง ทั้งในสายตาของไทยและลาว

    🌾 บริบททางประวัติศาสตร์ ชนวนเหตุความขัดแย้ง สถานการณ์บ้านเมืองก่อนสงคราม ช่วงปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ราชอาณาจักรสยาม กำลังเผชิญปัญหาภายในหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความไม่สงบ ในหัวเมืองทางเหนือและอีสาน รวมถึงภัยคุกคามจากจักรวรรดิอังกฤษ ที่กำลังแผ่อิทธิพลเข้ามา ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ในปี พ.ศ. 2367 รัชกาลที่ 2 สวรรคต กองทัพและระบบการปกครองสยาม กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านอำนาจ ไปสู่รัชสมัยของรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ ซึ่งเคยมีความสัมพันธ์อันดี ในฐานะประเทศราช กลับรู้สึกไม่พอใจ ที่คำขอส่งตัวชาวลาวและเชลยศึก ที่ถูกกวาดต้อนในอดีตไม่เป็นผล จึงมองเห็นโอกาส ในการกอบกู้เอกราชของนครเวียงจันทน์

    เป้าหมายของเจ้าอนุวงศ์ มีพระราชปณิธานแน่วแน่ ที่จะปลดปล่อยนครเวียงจันทน์ จากการเป็นประเทศราชของสยาม โดยเชื่อว่าช่วงเปลี่ยนผ่านรัชสมัยนี้ สยามจะอ่อนแอลง นำมาสู่แผนการยกทัพมาตีเมืองนครราชสีมา และกรุงเทพมหานครในที่สุด 🚩

    ⚔️ ศึกทุ่งสัมฤทธิ์ บทบาทของท้าวสุรนารี กองทัพลาวยึดเมืองนครราชสีมา วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ายึดเมืองนครราชสีมาโดยง่าย เนื่องจากพระยาปลัดทองคำ ผู้รักษาเมืองไม่อยู่ ชาวเมืองถูกกวาดต้อนเป็นเชลย รวมถึงคุณหญิงโม และราชบริพาร ถูกนำไปยังเวียงจันทน์ ผ่านเส้นทางเมืองพิมาย

    แผนปลดแอกของคุณหญิงโม วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 ระหว่างการเดินทาง คุณหญิงโมร่วมมือกับนางสาวบุญเหลือ และชาวบ้านคิดแผนปลดแอก โดยหลอกล่อให้ทหารลาวประมาท จนในคืนวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2369 ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงพิมาย ชาวนครราชสีมาร่วมกันลุกฮือยึดอาวุธ ทำให้กองทัพลาวแตกพ่าย

    🔥 จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้น เมื่อนางสาวบุญเหลือ จุดไฟเผากองเกวียนที่บรรทุกดินปืน ส่งผลให้เกิดระเบิดครั้งใหญ่ ทำให้เพี้ยรามพิชัยและทหารลาว เสียชีวิตจำนวนมาก สถานที่นี้จึงถูกเรียกว่า "หนองหัวลาว" จวบจนปัจจุบัน

    🏹 เจ้าอนุวงศ์ถอยทัพ ผลกระทบในระดับภูมิภาค การถอยร่นของเจ้าอนุวงศ์ เมื่อกองทัพจากกรุงเทพฯ นำโดย กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ เดินทัพถึงนครราชสีมา เจ้าอนุวงศ์จึงตัดสินใจ ถอนกำลังกลับนครเวียงจันทน์ ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 เพราะเกรงว่าศึกนี้จะยืดเยื้อ จนไม่สามารถรับมือกับกองทัพสยาม ที่กำลังมุ่งหน้ามา

    ผลลัพธ์ของสงคราม ภายหลังการถอยทัพ เจ้าอนุวงศ์และราชวงศ์เวียงจันทน์ ไม่สามารถตั้งตัวรับมือศึกได้ กองทัพสยามตีเวียงจันทน์แตก และอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ อาทิ พระบาง, พระแซกคำ, พระสุก, พระใส มายังกรุงเทพฯ 🏯

    นครเวียงจันทน์สิ้นสุดความเป็นอิสระ และถูกลดฐานะ เป็นหัวเมืองประเทศราชของสยาม

    🌸 ยกย่องวีรกรรมของท้าวสุรนารี ท้าวสุรนารีได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้คุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2370 พร้อมพระราชทานเครื่องยศทองคำ 👑 ได้รับการยกย่องให้เป็นวีรสตรีปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน

    สร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ในปี พ.ศ. 2477 ชาวนครราชสีมาได้ร่วมใจกันสร้าง อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ที่ประตูชุมพล พร้อมนำอัฐิประดิษฐาน ที่ฐานอนุสาวรีย์ อนุสาวรีย์นี้กลายเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของคนโคราชจนถึงปัจจุบัน

    📚 ประเด็นข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์ มุมมองของนักประวัติศาสตร์ แม้ตำนานท้าวสุรนารี จะเป็นที่ยอมรับในไทย แต่เอกสารลาว กลับไม่มีบันทึกเรื่องทุ่งสัมฤทธิ์ หรือการกระทำของท้าวสุรนารี กับนางสาวบุญเหลือ ก่อนปี พ.ศ. 2475 นักวิชาการบางคนตั้งข้อสงสัยว่า วีรกรรมนี้อาจเกิดขึ้นจริง แต่ถูกขยายความ เพื่อประโยชน์ทางการเมืองในภายหลัง

    วีรกรรมหรือภาพสร้าง? หนังสือการเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี โดย "สายพิน แก้วงามประเสริฐ" ได้ตั้งคำถาม ต่อบทบาทของท้าวสุรนารี ว่าถูกนำมาใช้เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ชาติ และการเมืองในยุคสมัยหนึ่ง 🎭

    แต่ไม่ว่าอย่างไร ท้าวสุรนารีก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ และการเสียสละ

    🔮 เจ้าอนุวงศ์ในสายตาประวัติศาสตร์ลาว ในสายตาชาวลาว "เจ้าอนุวงศ์" ถือเป็นมหาวีรกษัตริย์ ผู้พยายามกอบกู้เอกราชจากสยาม แม้จะพ่ายแพ้ แต่พระองค์ยังได้รับการยกย่อง ในฐานะนักสู้เพื่อเสรีภาพของลาว 🇱🇦

    ทว่าการมองต่างมุมของทั้งสองฝ่าย แสดงถึงความซับซ้อนของประวัติศาสตร์ ที่ถูกเล่าและจดจำแตกต่างกัน

    🏛️ เหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2369 ไม่ใช่เพียงแค่สงครามแย่งชิงอำนาจ แต่สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของภูมิภาคอีสานและลุ่มแม่น้ำโขง ประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนนี้สอนให้เราเข้าใจว่า "ผู้ชนะ" ไม่ได้เป็นเพียงคนที่รอด แต่เป็นผู้ที่เขียนเรื่องเล่า ในประวัติศาสตร์ด้วย

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 231634 มี.ค. 2568

    📱 #ท้าวสุรนารี #ย่าโมโคราช #วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ #ประวัติศาสตร์ไทย #เจ้าอนุวงศ์ #สงครามไทยลาว #โคราชต้องรู้ #อนุสาวรีย์ย่าโม #เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ #199ปีทุ่งสัมฤทธิ์
    199 ปี ทัพลาวพ่าย ถอยร่นจากโคราช ย่าโมตั้งการ์ดสู้ เจ้าอนุวงศ์เผ่นกระเจิง ย้อนรอยศึกสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ไทย-ลาว กับเรื่องราววีรกรรมของท้าวสุรนารี และบทสรุปของการปะทะ ที่ยังคงถกเถียงถึงทุกวันนี้ ⚔️ 📝 ย้อนไปเมื่อ 199 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 เหตุการณ์ "สงครามปราบเจ้าอนุวงศ์" หรือที่รู้จักกันว่า "วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์" นำโดย "ท้าวสุรนารี" หรือ "คุณหญิงโม" วีรสตรีแห่งเมืองโคราช ที่ถูกยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ และการเสียสละของหญิงไทย ในการปกป้องบ้านเมืองจากการรุกรานของกองทัพเวียงจันทน์ ภายใต้การนำของเจ้าอนุวงศ์ พระมหากษัตริย์นครเวียงจันทน์องค์สุดท้าย 📜 แต่เบื้องหลังเรื่องเล่าแห่งวีรกรรมครั้งนี้ ยังมีหลายแง่มุมที่ซับซ้อน ทั้งในมิติประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการเมือง ทั้งในสายตาของไทยและลาว 🌾 บริบททางประวัติศาสตร์ ชนวนเหตุความขัดแย้ง สถานการณ์บ้านเมืองก่อนสงคราม ช่วงปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ราชอาณาจักรสยาม กำลังเผชิญปัญหาภายในหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความไม่สงบ ในหัวเมืองทางเหนือและอีสาน รวมถึงภัยคุกคามจากจักรวรรดิอังกฤษ ที่กำลังแผ่อิทธิพลเข้ามา ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2367 รัชกาลที่ 2 สวรรคต กองทัพและระบบการปกครองสยาม กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านอำนาจ ไปสู่รัชสมัยของรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ ซึ่งเคยมีความสัมพันธ์อันดี ในฐานะประเทศราช กลับรู้สึกไม่พอใจ ที่คำขอส่งตัวชาวลาวและเชลยศึก ที่ถูกกวาดต้อนในอดีตไม่เป็นผล จึงมองเห็นโอกาส ในการกอบกู้เอกราชของนครเวียงจันทน์ เป้าหมายของเจ้าอนุวงศ์ มีพระราชปณิธานแน่วแน่ ที่จะปลดปล่อยนครเวียงจันทน์ จากการเป็นประเทศราชของสยาม โดยเชื่อว่าช่วงเปลี่ยนผ่านรัชสมัยนี้ สยามจะอ่อนแอลง นำมาสู่แผนการยกทัพมาตีเมืองนครราชสีมา และกรุงเทพมหานครในที่สุด 🚩 ⚔️ ศึกทุ่งสัมฤทธิ์ บทบาทของท้าวสุรนารี กองทัพลาวยึดเมืองนครราชสีมา วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ายึดเมืองนครราชสีมาโดยง่าย เนื่องจากพระยาปลัดทองคำ ผู้รักษาเมืองไม่อยู่ ชาวเมืองถูกกวาดต้อนเป็นเชลย รวมถึงคุณหญิงโม และราชบริพาร ถูกนำไปยังเวียงจันทน์ ผ่านเส้นทางเมืองพิมาย แผนปลดแอกของคุณหญิงโม วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 ระหว่างการเดินทาง คุณหญิงโมร่วมมือกับนางสาวบุญเหลือ และชาวบ้านคิดแผนปลดแอก โดยหลอกล่อให้ทหารลาวประมาท จนในคืนวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2369 ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงพิมาย ชาวนครราชสีมาร่วมกันลุกฮือยึดอาวุธ ทำให้กองทัพลาวแตกพ่าย 🔥 จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้น เมื่อนางสาวบุญเหลือ จุดไฟเผากองเกวียนที่บรรทุกดินปืน ส่งผลให้เกิดระเบิดครั้งใหญ่ ทำให้เพี้ยรามพิชัยและทหารลาว เสียชีวิตจำนวนมาก สถานที่นี้จึงถูกเรียกว่า "หนองหัวลาว" จวบจนปัจจุบัน 🏹 เจ้าอนุวงศ์ถอยทัพ ผลกระทบในระดับภูมิภาค การถอยร่นของเจ้าอนุวงศ์ เมื่อกองทัพจากกรุงเทพฯ นำโดย กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ เดินทัพถึงนครราชสีมา เจ้าอนุวงศ์จึงตัดสินใจ ถอนกำลังกลับนครเวียงจันทน์ ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 เพราะเกรงว่าศึกนี้จะยืดเยื้อ จนไม่สามารถรับมือกับกองทัพสยาม ที่กำลังมุ่งหน้ามา ผลลัพธ์ของสงคราม ภายหลังการถอยทัพ เจ้าอนุวงศ์และราชวงศ์เวียงจันทน์ ไม่สามารถตั้งตัวรับมือศึกได้ กองทัพสยามตีเวียงจันทน์แตก และอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ อาทิ พระบาง, พระแซกคำ, พระสุก, พระใส มายังกรุงเทพฯ 🏯 นครเวียงจันทน์สิ้นสุดความเป็นอิสระ และถูกลดฐานะ เป็นหัวเมืองประเทศราชของสยาม 🌸 ยกย่องวีรกรรมของท้าวสุรนารี ท้าวสุรนารีได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้คุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2370 พร้อมพระราชทานเครื่องยศทองคำ 👑 ได้รับการยกย่องให้เป็นวีรสตรีปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน สร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ในปี พ.ศ. 2477 ชาวนครราชสีมาได้ร่วมใจกันสร้าง อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ที่ประตูชุมพล พร้อมนำอัฐิประดิษฐาน ที่ฐานอนุสาวรีย์ อนุสาวรีย์นี้กลายเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของคนโคราชจนถึงปัจจุบัน 📚 ประเด็นข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์ มุมมองของนักประวัติศาสตร์ แม้ตำนานท้าวสุรนารี จะเป็นที่ยอมรับในไทย แต่เอกสารลาว กลับไม่มีบันทึกเรื่องทุ่งสัมฤทธิ์ หรือการกระทำของท้าวสุรนารี กับนางสาวบุญเหลือ ก่อนปี พ.ศ. 2475 นักวิชาการบางคนตั้งข้อสงสัยว่า วีรกรรมนี้อาจเกิดขึ้นจริง แต่ถูกขยายความ เพื่อประโยชน์ทางการเมืองในภายหลัง วีรกรรมหรือภาพสร้าง? หนังสือการเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี โดย "สายพิน แก้วงามประเสริฐ" ได้ตั้งคำถาม ต่อบทบาทของท้าวสุรนารี ว่าถูกนำมาใช้เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ชาติ และการเมืองในยุคสมัยหนึ่ง 🎭 แต่ไม่ว่าอย่างไร ท้าวสุรนารีก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ และการเสียสละ 🔮 เจ้าอนุวงศ์ในสายตาประวัติศาสตร์ลาว ในสายตาชาวลาว "เจ้าอนุวงศ์" ถือเป็นมหาวีรกษัตริย์ ผู้พยายามกอบกู้เอกราชจากสยาม แม้จะพ่ายแพ้ แต่พระองค์ยังได้รับการยกย่อง ในฐานะนักสู้เพื่อเสรีภาพของลาว 🇱🇦 ทว่าการมองต่างมุมของทั้งสองฝ่าย แสดงถึงความซับซ้อนของประวัติศาสตร์ ที่ถูกเล่าและจดจำแตกต่างกัน 🏛️ เหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2369 ไม่ใช่เพียงแค่สงครามแย่งชิงอำนาจ แต่สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของภูมิภาคอีสานและลุ่มแม่น้ำโขง ประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนนี้สอนให้เราเข้าใจว่า "ผู้ชนะ" ไม่ได้เป็นเพียงคนที่รอด แต่เป็นผู้ที่เขียนเรื่องเล่า ในประวัติศาสตร์ด้วย ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 231634 มี.ค. 2568 📱 #ท้าวสุรนารี #ย่าโมโคราช #วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ #ประวัติศาสตร์ไทย #เจ้าอนุวงศ์ #สงครามไทยลาว #โคราชต้องรู้ #อนุสาวรีย์ย่าโม #เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ #199ปีทุ่งสัมฤทธิ์
    0 Comments 0 Shares 521 Views 0 Reviews
  • ทรงพระเจริญ 🙏🏻ในหลวงฯ พระราชทานค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเสียหายด้านครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม อุบลราชธานี 29,154,335.92 บาท
    ทรงพระเจริญ 🙏🏻ในหลวงฯ พระราชทานค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเสียหายด้านครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม อุบลราชธานี 29,154,335.92 บาท
    Love
    Like
    3
    0 Comments 0 Shares 392 Views 0 Reviews
  • ในหลวงพระราชทานเงินส่วนพระองค์ 29,154,335.92 บาท (29 ล้านบาทกว่า) เพื่อนำไปซ่อมแซมส่วนเสียหาย รพ.สมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จ.อุบลราชธานี เหตุไฟไหม้เมื่อ 31 ม.ค.2568
    ในหลวงพระราชทานเงินส่วนพระองค์ 29,154,335.92 บาท (29 ล้านบาทกว่า) เพื่อนำไปซ่อมแซมส่วนเสียหาย รพ.สมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จ.อุบลราชธานี เหตุไฟไหม้เมื่อ 31 ม.ค.2568
    Love
    Like
    6
    0 Comments 0 Shares 377 Views 0 Reviews
  • 20 ปี สิ้น “สาวสองพันปี” เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ ✨ เจ้าแม่แห่งการตัดริบบิ้น 🟣 ผู้นำเทรนด์ม่วงหัวจรดเท้า สาวเปรี้ยวแห่งยุค

    ย้อนตำนานเจ้าแม่ตัดริบบิ้น เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ หญิงสาวผู้เปลี่ยนทุกเวที ให้กลายเป็นรันเวย์แฟชั่นสีม่วง ตลอด 69 ปีเต็มของชีวิต ตัวแทนความเปรี้ยว และกล้าฉีกกฎยุคสมัยอย่างแท้จริง

    เสน่ห์ที่ไม่มีวันลบเลือน วงสังคมไฮโซไทย 🌟 ถ้าจะกล่าวถึงผู้หญิง ที่ไม่เคยปล่อยให้ตัวเองจางหาย จากความสนใจของผู้คน ชื่อของ “เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่” หรือที่เรียกขานกันว่า "เจ้าป้า" ต้องโผล่มาในใจคนรุ่นเก่าและใหม่เสมอ 🟣 เจ้าป้าคือ "สาวสองพันปี" ตำนานแฟชั่นม่วง ที่กลายเป็นไอคอนของความเปรี้ยว ความมั่นใจ และความโดดเด่นเหนือใคร ✨

    ตลอด 69 ปีของชีวิต เจ้ากอแก้วได้สร้างตำนานในหลายบท ทั้งในฐานะลูกหลานเจ้านายฝ่ายเหนือแห่งเชียงใหม่ 🏯 นักเรียนที่มีการศึกษาระดับสากล 📚 ผู้นำแฟชั่นที่ไม่กลัวคำครหา 👜 และ "เจ้าแม่แห่งการตัดริบบิ้น" ✂️ ที่ไม่เคยปล่อยให้เวทีไหนเงียบเหงา ❤️

    👑 เชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ อดีตผู้ครองนครเชียงใหม่ เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 ในตระกูล "ณ เชียงใหม่" อันทรงเกียรติ เป็นธิดาคนสุดท้องของเจ้ากาวิละวงศ์ กับเจ้าศิริประกาย ณ เชียงใหม่ 🌸 เป็นหลานสาวของเจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย

    ชื่อที่มีความหมาย และเรื่องราวที่น่าจดจำ เมื่อแรกเกิด ได้รับพระราชทานชื่อ "ประกายกาวิล" จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐกาลที่ 7 ต่อมาเมื่อหม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา ขอเป็นแม่อุปถัมภ์ ได้ไปที่เชียงใหม่ และไปเฝ้าเจ้าตาขอให้ตั้งชื่อหลานสาวว่า “กอบแก้ว” แต่ตัว บ.ใบไม้หายไป จึงกลายเป็น “กอแก้ว” 🎉

    ✈️ เจ้ากอแก้วได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นย้ายไปเรียนที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย กรุงเทพฯ ก่อนจะเดินทางไปศึกษาต่อ ที่ประเทศอังกฤษ 🇬🇧 และฝรั่งเศส 🇫🇷

    - Raven's Croft ในอีสต์บอร์น
    - Southampton Technical College
    - เรียนพิมพ์ดีดและเลขานุการที่ Pitman College กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
    - ฝึกมารยาทและการเข้าสังคมที่ Lucy Clayton
    - เรียนภาษาและมารยาททางสังคมที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส🇫🇷

    ภายหลัง เจ้ากอแก้วสามารถใช้ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศสได้อย่างคล่องแคล่ว ✍️

    เจ้ากอแก้ว เจ้าแม่แฟชั่นแห่งยุคที่ไม่เคยตกเทรนด์ 💄👠 สีม่วง เอกลักษณ์ที่กลายเป็นตำนาน ไม่ว่าจะผ่านมากี่ทศวรรษ สีม่วงก็ยังเป็นสีประจำตัวของเจ้าป้าคนนี้ 🔮 เจ้าป้าย้อมผมเป็นสีม่วงเข้ม ฟูฟ่องตั้งแต่รากจรดปลาย และเลือกเครื่องแต่งกายทุกชิ้น ตั้งแต่หมวก 🧢 เสื้อผ้า 👗 กระเป๋า 👜 รองเท้า 👠 ไปจนถึงต่างหู 💎 ให้เป็นสีม่วงตั้งแต่หัวจรดเท้า

    เจ้าป้าเคยกล่าวขำๆ ว่า... “ทีแรกเลย ป้าต้องการสีเปลือกมังคุด แต่ไม่รู้ว่าช่างเขาผสมยังไง ผสมไปผสมมามันก็กลายเป็นสีนี้ไปได้ พอออกมาอย่างนี้เราก็เออ สวยดีแฮะ ก็เลยเอาสีนี้ก็สีนี้แหละชอบ” 😄

    ตำนานการตัดริบบิ้นที่ไม่มีใครเทียบ เจ้าป้าได้รับฉายา "เจ้าแม่แห่งการตัดริบบิ้น" ✂️ เพราะการปรากฏตัวที่งานเปิดตัวต่างๆ มักนำมาซึ่งโชคลาภ และความสำเร็จแก่เจ้าของกิจการ 🏢 เคยสร้างสถิติตัดริบบิ้น 8 งานในวันเดียว! เจ้าป้ามีเทคนิคเฉพาะในการ "จรดกรรไกร" ให้นักข่าวถ่ายภาพได้มุมเป๊ะทุกครั้ง 📸

    ความเปรี้ยวที่เหนือกาลเวลา 🕶 เจ้ากอแก้วเริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ 14 ปี 🚬 ใส่เสื้อเกาะอกตั้งแต่อายุ 20 ปี 👗 และชอบดื่มไวน์ 🍷 พร้อมแต่งหน้าเข้ม ตั้งแต่ยุคที่ผู้หญิงไทยยังนิยมเรียบร้อย เจ้าป้าไม่เคยกลัวคำวิจารณ์ แต่กลับเห็นว่าเป็นสีสันของชีวิต 🖌️

    ถ้อยคำอมตะของสาวสองพันปี "คนมอง ก็อยากมองเอง ช่วยอะไรไม่ได้ เราบังคับเขาไม่ได้ แม้ว่าเขาจะเห็นเราตลก เอาเราไปล้อเลียนก็เถอะ แต่เราถือว่าเขาให้เกียรติเรา" 🌟

    ❤️ เจ้ากอแก้วสมรสครั้งแรกกับ พลตำรวจโท ทิพย์ อัศวรักษ์ มีบุตรชาย 1 คน คือ ทินกร อัศวรักษ์ หรือกุ๊กกี้ ต่อมาหย่าขาดกัน และใช้ชีวิตคู่กับเรืออากาศเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช อีก 6 ปี ก่อนลงเอยกับเอดิลเบอร์โต้ โรเมโร ชาวฟิลิปปินส์ แม้ไม่มีบุตรร่วมกัน แต่ก็มีช่วงเวลาคู่ชีวิตที่มีค่า 💞

    ผลงานและหน้าที่การงานที่น่าประทับใจ 💼
    - บริษัท CTO. Lines
    - เลขานุการและมัคคุเทศก์ บริษัทซีต้า แทรเวล
    - ประชาสัมพันธ์โรงแรมชวลิต หรือแอมบาสซาเดอร์ในปัจจุบัน
    - ประชาสัมพันธ์ ศูนย์บริหารร่างกายโจแอนดรูว์
    - ที่ปรึกษาการตลาด บริษัทเดอะมอลล์กรุ๊ป

    💐 เจ้ากอแก้วประกายกาวิลเสียชีวิต เมื่อช่วงสายวันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 เวลา 10.30 น. ด้วยวัย 69 ปี สิ้นสุดตำนาน "สาวสองพันปี" ณ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานหีบทองทึบ และรับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ที่วัดธาตุทอง ✨ พิธีพระราชทานเพลิงศพ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2548

    ตำนานที่ยังคงอยู่ในใจผู้คน 🕊️ 20 ปีผ่านไป ชื่อของเจ้ากอแก้วประกายกาวิล ยังไม่จางหาย เจ้าป้าคือแรงบันดาลใจ ให้คนรุ่นใหม่ที่กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก และกล้าที่จะเป็นตัวของตัวเอง 💜

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 131110 มี.ค. 2568

    #เจ้ากอแก้วประกายกาวิล #สาวสองพันปี #เจ้าแม่ตัดริบบิ้น #แฟชั่นสีม่วง #ไฮโซเชียงใหม่ #ตำนานสังคมไทย #สาวเปรี้ยวแห่งยุค #กอแก้วประกายกาวิล #ChiangMaiLegend #PurpleIcon
    20 ปี สิ้น “สาวสองพันปี” เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ ✨ เจ้าแม่แห่งการตัดริบบิ้น 🟣 ผู้นำเทรนด์ม่วงหัวจรดเท้า สาวเปรี้ยวแห่งยุค ย้อนตำนานเจ้าแม่ตัดริบบิ้น เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ หญิงสาวผู้เปลี่ยนทุกเวที ให้กลายเป็นรันเวย์แฟชั่นสีม่วง ตลอด 69 ปีเต็มของชีวิต ตัวแทนความเปรี้ยว และกล้าฉีกกฎยุคสมัยอย่างแท้จริง เสน่ห์ที่ไม่มีวันลบเลือน วงสังคมไฮโซไทย 🌟 ถ้าจะกล่าวถึงผู้หญิง ที่ไม่เคยปล่อยให้ตัวเองจางหาย จากความสนใจของผู้คน ชื่อของ “เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่” หรือที่เรียกขานกันว่า "เจ้าป้า" ต้องโผล่มาในใจคนรุ่นเก่าและใหม่เสมอ 🟣 เจ้าป้าคือ "สาวสองพันปี" ตำนานแฟชั่นม่วง ที่กลายเป็นไอคอนของความเปรี้ยว ความมั่นใจ และความโดดเด่นเหนือใคร ✨ ตลอด 69 ปีของชีวิต เจ้ากอแก้วได้สร้างตำนานในหลายบท ทั้งในฐานะลูกหลานเจ้านายฝ่ายเหนือแห่งเชียงใหม่ 🏯 นักเรียนที่มีการศึกษาระดับสากล 📚 ผู้นำแฟชั่นที่ไม่กลัวคำครหา 👜 และ "เจ้าแม่แห่งการตัดริบบิ้น" ✂️ ที่ไม่เคยปล่อยให้เวทีไหนเงียบเหงา ❤️ 👑 เชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ อดีตผู้ครองนครเชียงใหม่ เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 ในตระกูล "ณ เชียงใหม่" อันทรงเกียรติ เป็นธิดาคนสุดท้องของเจ้ากาวิละวงศ์ กับเจ้าศิริประกาย ณ เชียงใหม่ 🌸 เป็นหลานสาวของเจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ชื่อที่มีความหมาย และเรื่องราวที่น่าจดจำ เมื่อแรกเกิด ได้รับพระราชทานชื่อ "ประกายกาวิล" จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐกาลที่ 7 ต่อมาเมื่อหม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา ขอเป็นแม่อุปถัมภ์ ได้ไปที่เชียงใหม่ และไปเฝ้าเจ้าตาขอให้ตั้งชื่อหลานสาวว่า “กอบแก้ว” แต่ตัว บ.ใบไม้หายไป จึงกลายเป็น “กอแก้ว” 🎉 ✈️ เจ้ากอแก้วได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นย้ายไปเรียนที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย กรุงเทพฯ ก่อนจะเดินทางไปศึกษาต่อ ที่ประเทศอังกฤษ 🇬🇧 และฝรั่งเศส 🇫🇷 - Raven's Croft ในอีสต์บอร์น - Southampton Technical College - เรียนพิมพ์ดีดและเลขานุการที่ Pitman College กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ - ฝึกมารยาทและการเข้าสังคมที่ Lucy Clayton - เรียนภาษาและมารยาททางสังคมที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส🇫🇷 ภายหลัง เจ้ากอแก้วสามารถใช้ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศสได้อย่างคล่องแคล่ว ✍️ เจ้ากอแก้ว เจ้าแม่แฟชั่นแห่งยุคที่ไม่เคยตกเทรนด์ 💄👠 สีม่วง เอกลักษณ์ที่กลายเป็นตำนาน ไม่ว่าจะผ่านมากี่ทศวรรษ สีม่วงก็ยังเป็นสีประจำตัวของเจ้าป้าคนนี้ 🔮 เจ้าป้าย้อมผมเป็นสีม่วงเข้ม ฟูฟ่องตั้งแต่รากจรดปลาย และเลือกเครื่องแต่งกายทุกชิ้น ตั้งแต่หมวก 🧢 เสื้อผ้า 👗 กระเป๋า 👜 รองเท้า 👠 ไปจนถึงต่างหู 💎 ให้เป็นสีม่วงตั้งแต่หัวจรดเท้า เจ้าป้าเคยกล่าวขำๆ ว่า... “ทีแรกเลย ป้าต้องการสีเปลือกมังคุด แต่ไม่รู้ว่าช่างเขาผสมยังไง ผสมไปผสมมามันก็กลายเป็นสีนี้ไปได้ พอออกมาอย่างนี้เราก็เออ สวยดีแฮะ ก็เลยเอาสีนี้ก็สีนี้แหละชอบ” 😄 ตำนานการตัดริบบิ้นที่ไม่มีใครเทียบ เจ้าป้าได้รับฉายา "เจ้าแม่แห่งการตัดริบบิ้น" ✂️ เพราะการปรากฏตัวที่งานเปิดตัวต่างๆ มักนำมาซึ่งโชคลาภ และความสำเร็จแก่เจ้าของกิจการ 🏢 เคยสร้างสถิติตัดริบบิ้น 8 งานในวันเดียว! เจ้าป้ามีเทคนิคเฉพาะในการ "จรดกรรไกร" ให้นักข่าวถ่ายภาพได้มุมเป๊ะทุกครั้ง 📸 ความเปรี้ยวที่เหนือกาลเวลา 🕶 เจ้ากอแก้วเริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ 14 ปี 🚬 ใส่เสื้อเกาะอกตั้งแต่อายุ 20 ปี 👗 และชอบดื่มไวน์ 🍷 พร้อมแต่งหน้าเข้ม ตั้งแต่ยุคที่ผู้หญิงไทยยังนิยมเรียบร้อย เจ้าป้าไม่เคยกลัวคำวิจารณ์ แต่กลับเห็นว่าเป็นสีสันของชีวิต 🖌️ ถ้อยคำอมตะของสาวสองพันปี "คนมอง ก็อยากมองเอง ช่วยอะไรไม่ได้ เราบังคับเขาไม่ได้ แม้ว่าเขาจะเห็นเราตลก เอาเราไปล้อเลียนก็เถอะ แต่เราถือว่าเขาให้เกียรติเรา" 🌟 ❤️ เจ้ากอแก้วสมรสครั้งแรกกับ พลตำรวจโท ทิพย์ อัศวรักษ์ มีบุตรชาย 1 คน คือ ทินกร อัศวรักษ์ หรือกุ๊กกี้ ต่อมาหย่าขาดกัน และใช้ชีวิตคู่กับเรืออากาศเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช อีก 6 ปี ก่อนลงเอยกับเอดิลเบอร์โต้ โรเมโร ชาวฟิลิปปินส์ แม้ไม่มีบุตรร่วมกัน แต่ก็มีช่วงเวลาคู่ชีวิตที่มีค่า 💞 ผลงานและหน้าที่การงานที่น่าประทับใจ 💼 - บริษัท CTO. Lines - เลขานุการและมัคคุเทศก์ บริษัทซีต้า แทรเวล - ประชาสัมพันธ์โรงแรมชวลิต หรือแอมบาสซาเดอร์ในปัจจุบัน - ประชาสัมพันธ์ ศูนย์บริหารร่างกายโจแอนดรูว์ - ที่ปรึกษาการตลาด บริษัทเดอะมอลล์กรุ๊ป 💐 เจ้ากอแก้วประกายกาวิลเสียชีวิต เมื่อช่วงสายวันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 เวลา 10.30 น. ด้วยวัย 69 ปี สิ้นสุดตำนาน "สาวสองพันปี" ณ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานหีบทองทึบ และรับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ที่วัดธาตุทอง ✨ พิธีพระราชทานเพลิงศพ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ตำนานที่ยังคงอยู่ในใจผู้คน 🕊️ 20 ปีผ่านไป ชื่อของเจ้ากอแก้วประกายกาวิล ยังไม่จางหาย เจ้าป้าคือแรงบันดาลใจ ให้คนรุ่นใหม่ที่กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก และกล้าที่จะเป็นตัวของตัวเอง 💜 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 131110 มี.ค. 2568 #เจ้ากอแก้วประกายกาวิล #สาวสองพันปี #เจ้าแม่ตัดริบบิ้น #แฟชั่นสีม่วง #ไฮโซเชียงใหม่ #ตำนานสังคมไทย #สาวเปรี้ยวแห่งยุค #กอแก้วประกายกาวิล #ChiangMaiLegend #PurpleIcon
    0 Comments 0 Shares 827 Views 0 Reviews
  • เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยจำได้ว่า Storyฯ เคยเขียนว่าพระเอกในเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> ‘ลู่อี้’ นั้นมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ วันนี้มาคุยกันกับเกร็ดประวัติศาสตร์จากละครเรื่องนี้ที่ Storyฯ เพิ่งได้กลับมาตั้งใจดูอีกครั้งและพบว่าตัวเองตกหล่นรายละเอียดไปไม่น้อย

    เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่าในเนื้อเรื่องมีตัวร้ายคือ ‘เหยียนซื่อฟาน’ ซึ่งเป็นลูกชายของขุนนางตัวโกงนาม ‘เหยียนซง’ ซึ่งทั้งสองคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในรัชสมัยขององค์หมิงซื่อจงแห่งราชวง์หมิง โดยเหยียนซงรับตำแหน่งหัวหน้าของคณะขุนนางสูงสุดหรือที่เรียกว่า ‘เน่ยเก๋อ’ (内阁 จึงเป็นที่มาของการเรียกขาน เหยียนซื่อฟานว่า ‘เสี่ยวเก๋อเหล่า’) ในละครมีฉากที่เหยียนซื่อฟานได้ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาและมีการถกกันว่าเป็นภาพของแท้หรือไม่

    Storyฯ เคยเขียนถึงภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาแล้วตอนที่คุยกันเกี่ยวกับละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> แต่วันนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติม ขอถอดบทสนทนาจากในละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> มาดังนี้
    ... “ได้ยินมาว่าจางเจ๋อตวนใช้เวลาหนึ่งปีก็วาดภาพม้วนยาวนี้เสร็จ นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถหายาก... ท่านใต้เท่าสวี่... เชิญท่านลองคุยๆ ดูภาพนี้จริงปลอมหรือไม่อย่างไร” เหยียนซงกล่าว
    ใต้เท้าสวี่เอ่ย “...ตามที่ข้าน้อยทราบมา ภาพนี้ควรมีลายพระอักษรรูปแบบโซ่วจินขององค์ซ่งฮุยจงเป็นคำว่า ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ห้าอักษร... และมีตราประทับมังกรคู่ อีกทั้งมีบทกลอนนำ ภาพนี้ดูแล้วไม่คล้ายเป็นภาพวาดเลียนแบบ” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ยาว 528 ซม. สูง 24.8 ซม. เป็นหนึ่งในสิบของภาพโบราณที่มีค่าที่สุดของจีน ถูกวาดขึ้นโดยจางเจ๋อตวน เขาใช้เวลาหนึ่งปีในการวาดภาพนี้จริงหรือไม่ ไม่ปรากฏหลักฐานหรือบันทึกใดกล่าวชัด แต่ภาพนี้เคยตกอยู่ในมือของเหยียนซงจริง! ตอนที่ตระกูลเหยียนถูกลงทัณฑ์และยึดสมบัตินั้น รายชื่อของสมบัติที่ริบได้นั้นยาวถึง 140 หน้ากระดาษและหนึ่งในนั้นก็คือ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ นี้

    จากบันทึกที่พอแกะรอยกันได้ ว่ากันว่าภาพนี้แรกเริ่มถูกนำถวายองค์ซ่งฮุยจง (ค.ศ. 1522-1566) และพระองค์ทรงเขียนชื่อ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ขึ้นบนภาพด้วยอักษรในรูปแบบ ‘โซ่วจิน’ ซึ่งเป็นรูปแบบอักษรที่ทรงคิดประดิษฐ์ขึ้นเอง (ดูตัวอย่างจากรูป2 ขวา) เป็นที่ถกเถียงกันต่อมาว่าทรงโปรดภาพนี้หรือไม่เพราะมันไม่ได้ถูกเก็บไว้ในท้องพระคลังแต่ถูกพระราชทานให้ขุนนาง

    หลังจากนั้น ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ผ่านการเดินทางอย่างโชกโชน ในช่วงที่ราชวงศ์จินยึดแผ่นดินซ่งได้สำเร็จนั้น ว่ากันว่ามันถูกเก็บเข้าท้องพระคลังและถูกยักยอกออกมาขายทอดตลาด เป็นช่วงที่มีการเขียนบทนำลงไปหน้าภาพ ต่อมาในสมัยหยวนก็ถูกซื้อเก็บเข้าท้องพระคลังอีกครั้งและถูกยักยอกออกมาขายอีก มีการเสาะหามันเรื่อยมาจนตกมาอยู่ในมือของเหยียนซงในสมัยหมิง โดยที่ก่อนหน้านั้นปรากฏงานลอกเลียนแบบออกมาจำนวนไม่น้อย ต่อมามันถูกริบเป็นสมบัติหลวงอีกครั้งโดยมีการลบตราประทับที่แสดงความเป็นเจ้าของของตระกูลเหยียนออกจากภาพ หลังจากนั้นมันถูกเปลี่ยนมือไปมาในแวดวงขุนนาง โดยไม่แน่ว่าเป็นการได้รับพระราชทานหรือยักยอก และปรากฏบทความนำหน้าภาพขึ้นมาเพิ่มอีก โดยที่ลายพระหัตถ์ขององค์หมิงซื่อจงไม่ทราบว่าหายไปจากภาพตั้งแต่เมื่อใด ผู้ที่ถือครองครั้งสุดท้ายว่ากันว่าคือขันทีนามว่า ‘เฝิงเป่า’ ซึ่งต่อมาถูกลงทัณฑ์ริบสมบัติ

    ภาพนี้หายสาบสูญไปนานกว่าสองร้อยปี แน่นอนว่ามีภาพปลอมจำนวนไม่น้อยปรากฏขึ้น และภาพที่เชื่อว่าเป็นฉบับจริงนี้ปรากฏในตลาดและมาถึงมือของพิพิธภัณฑ์มณฑลเหลียวหนิงในปีค.ศ. 1950 ปัจจุบันถูกเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับลู่อี้: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0QA8xxCRgWSD6jP6PexAdnrZmEdGAHVxGTu3UXj3CpZfkovdY37ft9rQbauD6KfQzl
    บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับชิงหมิงซ่างเหอถู: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid01MbyBtawx6X9xEHogRvHY8NesM2MVWHUBgYeuujQnFrPFA39dgddSihm4jjXrfiPl

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://www.zgsshh.com/Works_body.asp?id=1190&amp;qx=137
    http://www.fengxuelin.com/tougao/16546.html
    http://ent.sina.com.cn/v/m/2017-10-12/doc-ifymviyp0369720.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2010/06-21/2352544.shtml
    http://collection.sina.com.cn/jczs/2016-10-26/doc-ifxwztrt0466746.shtml
    https://baike.baidu.com/item/瘦金体/884949

    #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ชิงหมิงซ่างเหอถู #เหยียนซื่อฟาน #ซ่งฮุยจง #อักษรโซ่วจิน
    เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยจำได้ว่า Storyฯ เคยเขียนว่าพระเอกในเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> ‘ลู่อี้’ นั้นมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ วันนี้มาคุยกันกับเกร็ดประวัติศาสตร์จากละครเรื่องนี้ที่ Storyฯ เพิ่งได้กลับมาตั้งใจดูอีกครั้งและพบว่าตัวเองตกหล่นรายละเอียดไปไม่น้อย เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่าในเนื้อเรื่องมีตัวร้ายคือ ‘เหยียนซื่อฟาน’ ซึ่งเป็นลูกชายของขุนนางตัวโกงนาม ‘เหยียนซง’ ซึ่งทั้งสองคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในรัชสมัยขององค์หมิงซื่อจงแห่งราชวง์หมิง โดยเหยียนซงรับตำแหน่งหัวหน้าของคณะขุนนางสูงสุดหรือที่เรียกว่า ‘เน่ยเก๋อ’ (内阁 จึงเป็นที่มาของการเรียกขาน เหยียนซื่อฟานว่า ‘เสี่ยวเก๋อเหล่า’) ในละครมีฉากที่เหยียนซื่อฟานได้ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาและมีการถกกันว่าเป็นภาพของแท้หรือไม่ Storyฯ เคยเขียนถึงภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ มาแล้วตอนที่คุยกันเกี่ยวกับละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> แต่วันนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติม ขอถอดบทสนทนาจากในละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> มาดังนี้ ... “ได้ยินมาว่าจางเจ๋อตวนใช้เวลาหนึ่งปีก็วาดภาพม้วนยาวนี้เสร็จ นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถหายาก... ท่านใต้เท่าสวี่... เชิญท่านลองคุยๆ ดูภาพนี้จริงปลอมหรือไม่อย่างไร” เหยียนซงกล่าว ใต้เท้าสวี่เอ่ย “...ตามที่ข้าน้อยทราบมา ภาพนี้ควรมีลายพระอักษรรูปแบบโซ่วจินขององค์ซ่งฮุยจงเป็นคำว่า ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ห้าอักษร... และมีตราประทับมังกรคู่ อีกทั้งมีบทกลอนนำ ภาพนี้ดูแล้วไม่คล้ายเป็นภาพวาดเลียนแบบ” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ภาพวาด ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ยาว 528 ซม. สูง 24.8 ซม. เป็นหนึ่งในสิบของภาพโบราณที่มีค่าที่สุดของจีน ถูกวาดขึ้นโดยจางเจ๋อตวน เขาใช้เวลาหนึ่งปีในการวาดภาพนี้จริงหรือไม่ ไม่ปรากฏหลักฐานหรือบันทึกใดกล่าวชัด แต่ภาพนี้เคยตกอยู่ในมือของเหยียนซงจริง! ตอนที่ตระกูลเหยียนถูกลงทัณฑ์และยึดสมบัตินั้น รายชื่อของสมบัติที่ริบได้นั้นยาวถึง 140 หน้ากระดาษและหนึ่งในนั้นก็คือ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ นี้ จากบันทึกที่พอแกะรอยกันได้ ว่ากันว่าภาพนี้แรกเริ่มถูกนำถวายองค์ซ่งฮุยจง (ค.ศ. 1522-1566) และพระองค์ทรงเขียนชื่อ ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ขึ้นบนภาพด้วยอักษรในรูปแบบ ‘โซ่วจิน’ ซึ่งเป็นรูปแบบอักษรที่ทรงคิดประดิษฐ์ขึ้นเอง (ดูตัวอย่างจากรูป2 ขวา) เป็นที่ถกเถียงกันต่อมาว่าทรงโปรดภาพนี้หรือไม่เพราะมันไม่ได้ถูกเก็บไว้ในท้องพระคลังแต่ถูกพระราชทานให้ขุนนาง หลังจากนั้น ‘ชิงหมิงซ่างเหอถู’ ผ่านการเดินทางอย่างโชกโชน ในช่วงที่ราชวงศ์จินยึดแผ่นดินซ่งได้สำเร็จนั้น ว่ากันว่ามันถูกเก็บเข้าท้องพระคลังและถูกยักยอกออกมาขายทอดตลาด เป็นช่วงที่มีการเขียนบทนำลงไปหน้าภาพ ต่อมาในสมัยหยวนก็ถูกซื้อเก็บเข้าท้องพระคลังอีกครั้งและถูกยักยอกออกมาขายอีก มีการเสาะหามันเรื่อยมาจนตกมาอยู่ในมือของเหยียนซงในสมัยหมิง โดยที่ก่อนหน้านั้นปรากฏงานลอกเลียนแบบออกมาจำนวนไม่น้อย ต่อมามันถูกริบเป็นสมบัติหลวงอีกครั้งโดยมีการลบตราประทับที่แสดงความเป็นเจ้าของของตระกูลเหยียนออกจากภาพ หลังจากนั้นมันถูกเปลี่ยนมือไปมาในแวดวงขุนนาง โดยไม่แน่ว่าเป็นการได้รับพระราชทานหรือยักยอก และปรากฏบทความนำหน้าภาพขึ้นมาเพิ่มอีก โดยที่ลายพระหัตถ์ขององค์หมิงซื่อจงไม่ทราบว่าหายไปจากภาพตั้งแต่เมื่อใด ผู้ที่ถือครองครั้งสุดท้ายว่ากันว่าคือขันทีนามว่า ‘เฝิงเป่า’ ซึ่งต่อมาถูกลงทัณฑ์ริบสมบัติ ภาพนี้หายสาบสูญไปนานกว่าสองร้อยปี แน่นอนว่ามีภาพปลอมจำนวนไม่น้อยปรากฏขึ้น และภาพที่เชื่อว่าเป็นฉบับจริงนี้ปรากฏในตลาดและมาถึงมือของพิพิธภัณฑ์มณฑลเหลียวหนิงในปีค.ศ. 1950 ปัจจุบันถูกเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับลู่อี้: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0QA8xxCRgWSD6jP6PexAdnrZmEdGAHVxGTu3UXj3CpZfkovdY37ft9rQbauD6KfQzl บทความของ Storyฯ เกี่ยวกับชิงหมิงซ่างเหอถู: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid01MbyBtawx6X9xEHogRvHY8NesM2MVWHUBgYeuujQnFrPFA39dgddSihm4jjXrfiPl Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://www.zgsshh.com/Works_body.asp?id=1190&amp;qx=137 http://www.fengxuelin.com/tougao/16546.html http://ent.sina.com.cn/v/m/2017-10-12/doc-ifymviyp0369720.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2010/06-21/2352544.shtml http://collection.sina.com.cn/jczs/2016-10-26/doc-ifxwztrt0466746.shtml https://baike.baidu.com/item/瘦金体/884949 #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ชิงหมิงซ่างเหอถู #เหยียนซื่อฟาน #ซ่งฮุยจง #อักษรโซ่วจิน
    0 Comments 0 Shares 606 Views 0 Reviews
  • เหรียญเม็ดแตงหลวงพ่อบุญ วัดสารวัน จ.ปัตตานี ปี2535
    เหรียญเม็ดแตงหลวงพ่อบุญ วัดสารวัน อำเภอไม้แก่น จ.ปัตตานี ปี2535 //พระเกจิ ปลายด้ามขวาน ที่ศพแข็งเหมือนหิน พระดีมีประสบการณ์มาก //พระสถาพสวย ผิวหิ้ง พระดูง่าย หายากกครับ >> รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง การเงิน โชคลาภค้าขาย เรียกทรัพย์ เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย มหาอุด ไล่ภูตผี และใช้กันเสนียดจัญไรได้อีกด้วย >>

    ** หลวงพ่อบุญ ติสสโร เป็นพระภิกษุที่ประพฤติปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นแบบอย่างที่ดีของพระสงฆ์ และท่านทบทวนบทสวดมนต์สม่ำเสมอ โดยใช้เวลานั่งสวดมนต์หน้าพระประธานบนกุฏิหลังใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมท่านพระครูบุณยโสภณ และสนทนาธรรม พระองค์มีความเลื่อมใส ในการปฏิบัติธรรมของ ท่านพระครูบุณยโสภณ จึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นค่าภัตตาหารประจำทุกปีๆ ละ 10,000 บาท

    เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2536 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จวันสารวัน และมีกระแสรับสั่งผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นายพลากร สุวรรณรัฐ และท่านเจ้าคุณสุนทรราชมานิตเถระวัดในวัง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ให้ฌาปนกิจศพท่าน พระครูบุณยโสภณ ซึ่งญาติโยมไม่กล้าทำพิธีฌาปนกิจ เพราะศพท่านมีลักษณะ แข็งเหมือนหิน ไม่เน่าเปื่อย เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ควรเก็บไว้บูชาต่อไป หลังจากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ได้ประชุมชี้แจงชาวบ้านญาติโยมสารวัน จนเป็นที่เข้าใจตรงกันในพระมหากรุณาธิคุณ และท่านเจ้าคุณสุนทรราชมานิตเถระได้ประชุมชาวบ้านสารวันและใกล้เคียง แล้วกำหนดวัน พระราชทานเพิลงศพท่านพระครูบุณยโสภณ ตรงกับวันที่ 10 เมษายน 2537 >>


    ** พระสถาพสวย ผิวหิ้ง พระดูง่าย หายากกครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    เหรียญเม็ดแตงหลวงพ่อบุญ วัดสารวัน จ.ปัตตานี ปี2535 เหรียญเม็ดแตงหลวงพ่อบุญ วัดสารวัน อำเภอไม้แก่น จ.ปัตตานี ปี2535 //พระเกจิ ปลายด้ามขวาน ที่ศพแข็งเหมือนหิน พระดีมีประสบการณ์มาก //พระสถาพสวย ผิวหิ้ง พระดูง่าย หายากกครับ >> รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง การเงิน โชคลาภค้าขาย เรียกทรัพย์ เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย มหาอุด ไล่ภูตผี และใช้กันเสนียดจัญไรได้อีกด้วย >> ** หลวงพ่อบุญ ติสสโร เป็นพระภิกษุที่ประพฤติปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นแบบอย่างที่ดีของพระสงฆ์ และท่านทบทวนบทสวดมนต์สม่ำเสมอ โดยใช้เวลานั่งสวดมนต์หน้าพระประธานบนกุฏิหลังใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมท่านพระครูบุณยโสภณ และสนทนาธรรม พระองค์มีความเลื่อมใส ในการปฏิบัติธรรมของ ท่านพระครูบุณยโสภณ จึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นค่าภัตตาหารประจำทุกปีๆ ละ 10,000 บาท เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2536 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จวันสารวัน และมีกระแสรับสั่งผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นายพลากร สุวรรณรัฐ และท่านเจ้าคุณสุนทรราชมานิตเถระวัดในวัง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ให้ฌาปนกิจศพท่าน พระครูบุณยโสภณ ซึ่งญาติโยมไม่กล้าทำพิธีฌาปนกิจ เพราะศพท่านมีลักษณะ แข็งเหมือนหิน ไม่เน่าเปื่อย เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ควรเก็บไว้บูชาต่อไป หลังจากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ได้ประชุมชี้แจงชาวบ้านญาติโยมสารวัน จนเป็นที่เข้าใจตรงกันในพระมหากรุณาธิคุณ และท่านเจ้าคุณสุนทรราชมานิตเถระได้ประชุมชาวบ้านสารวันและใกล้เคียง แล้วกำหนดวัน พระราชทานเพิลงศพท่านพระครูบุณยโสภณ ตรงกับวันที่ 10 เมษายน 2537 >> ** พระสถาพสวย ผิวหิ้ง พระดูง่าย หายากกครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 Comments 0 Shares 413 Views 0 Reviews
  • ในการที่ พระบาทสมเด็จพระเจัาอยู่หัว
    และ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี
    เสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานกระบี่และปริญญาบัตร
    แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

    ประจำปีการศึกษา2566 ณ หอประชุมชุณหวัณ
    วันอาทิตย์ ที่ 9 มีนาคม 2568
    โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน จ.นครปฐม

    #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
    ในการที่ พระบาทสมเด็จพระเจัาอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานกระบี่และปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ประจำปีการศึกษา2566 ณ หอประชุมชุณหวัณ วันอาทิตย์ ที่ 9 มีนาคม 2568 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน จ.นครปฐม #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
    Love
    2
    0 Comments 0 Shares 297 Views 0 Reviews
  • ในการที่ พระบาทสมเด็จพระเจัาอยู่หัว
    และ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี
    เสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานกระบี่และปริญญาบัตร
    แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

    ประจำปีการศึกษา2566 ณ หอประชุมชุณหวัณ
    วันอาทิตย์ ที่ 9 มีนาคม 2568
    โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน จ.นครปฐม

    #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
    ในการที่ พระบาทสมเด็จพระเจัาอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานกระบี่และปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ประจำปีการศึกษา2566 ณ หอประชุมชุณหวัณ วันอาทิตย์ ที่ 9 มีนาคม 2568 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน จ.นครปฐม #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
    0 Comments 0 Shares 249 Views 0 Reviews
  • "ประชาไท...กับการแทรกแซงสถาบันฯ โดยไร้ความเข้าใจ"

    นับเป็นอีกครั้งที่ "ประชาไท" ก้าวล้ำเส้นแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ จนกลายเป็นการแทรกแซงพระราชอำนาจอย่างไม่เหมาะสม ภายใต้หน้ากากสื่อเสรีนิยม ที่อ้างตนว่าทำหน้าที่ตรวจสอบ แต่แท้จริงแล้วกลับละเมิดหลักการพื้นฐานของกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เสียเอง

    กรณีการนำเสนอข่าวพระราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศทางทหารแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พร้อมตั้งข้อสงสัยถึงความถูกต้องชอบธรรม เพราะไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนั้น เป็นตัวอย่างชัดเจนของความเขลาในกฎหมาย หรืออาจมากกว่านั้นคือเจตนาเบี่ยงเบนประเด็นสู่การลดทอนความศักดิ์สิทธิ์ของพระราชอำนาจ

    ในเมื่อรัฐธรรมนูญปี 2560 ได้แบ่งแยกอำนาจไว้อย่างชัดเจนว่า "ราชการแผ่นดิน" (government affair) ต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการตามมาตรา 182 แต่ "ราชการส่วนพระองค์" (royal affair) ซึ่งรวมถึงการพระราชทานยศ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือการแต่งตั้งในพระบรมราชสำนัก ตามมาตรา 15 ไม่จำเป็นต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

    การที่ประชาไทนำเรื่องนี้มาวิพากษ์วิจารณ์ จึงไม่ใช่เพียงความผิดพลาดทางข้อเท็จจริง แต่ยังสะท้อนท่าทีอันอันตรายของ "วาระซ่อนเร้น" ในการบ่อนเซาะความมั่นคงของสถาบันหลักของประเทศด้วยการสร้างความสับสนแก่ประชาชน เสมือนจงใจปลูกฝังความเข้าใจผิดว่า สถาบันฯ กระทำสิ่งใดโดยปราศจากกลไกตรวจสอบ ทั้งที่ในความเป็นจริง กลไกต่าง ๆ ถูกออกแบบไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างรัดกุมและแยบยล

    คำถามคือ... หากประชาไทมีความเข้าใจในรัฐธรรมนูญจริง เหตุใดจึงเสนอข่าวในลักษณะที่บิดเบือน? หรือแท้จริงแล้วนี่คือแผนปฏิบัติการ "ทำลายศรัทธา" ผ่านเครื่องมือสื่อ โดยการใช้วาทกรรมกึ่งกฎหมายมาห่มคลุมเจตนาทางการเมือง
    และท้ายที่สุด การกระทำเช่นนี้ ย่อมไม่ใช่เสรีภาพในการสื่อสาร หากแต่เป็นการใช้เสรีภาพอย่างเกินขอบเขต จนกลายเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยและมั่นคงของชาติ

    บางครั้งการ "ไม่รู้" อาจให้อภัยได้ แต่การ "แกล้งไม่รู้" เพื่อละเมิด...สังคมย่อมต้องพิจารณาอย่างจริงจังว่า ยังควรปล่อยผ่านหรือไม่

    .
    https://web.facebook.com/share/p/198SXPzwkk/
    "ประชาไท...กับการแทรกแซงสถาบันฯ โดยไร้ความเข้าใจ" นับเป็นอีกครั้งที่ "ประชาไท" ก้าวล้ำเส้นแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ จนกลายเป็นการแทรกแซงพระราชอำนาจอย่างไม่เหมาะสม ภายใต้หน้ากากสื่อเสรีนิยม ที่อ้างตนว่าทำหน้าที่ตรวจสอบ แต่แท้จริงแล้วกลับละเมิดหลักการพื้นฐานของกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เสียเอง กรณีการนำเสนอข่าวพระราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศทางทหารแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พร้อมตั้งข้อสงสัยถึงความถูกต้องชอบธรรม เพราะไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนั้น เป็นตัวอย่างชัดเจนของความเขลาในกฎหมาย หรืออาจมากกว่านั้นคือเจตนาเบี่ยงเบนประเด็นสู่การลดทอนความศักดิ์สิทธิ์ของพระราชอำนาจ ในเมื่อรัฐธรรมนูญปี 2560 ได้แบ่งแยกอำนาจไว้อย่างชัดเจนว่า "ราชการแผ่นดิน" (government affair) ต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการตามมาตรา 182 แต่ "ราชการส่วนพระองค์" (royal affair) ซึ่งรวมถึงการพระราชทานยศ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือการแต่งตั้งในพระบรมราชสำนัก ตามมาตรา 15 ไม่จำเป็นต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ การที่ประชาไทนำเรื่องนี้มาวิพากษ์วิจารณ์ จึงไม่ใช่เพียงความผิดพลาดทางข้อเท็จจริง แต่ยังสะท้อนท่าทีอันอันตรายของ "วาระซ่อนเร้น" ในการบ่อนเซาะความมั่นคงของสถาบันหลักของประเทศด้วยการสร้างความสับสนแก่ประชาชน เสมือนจงใจปลูกฝังความเข้าใจผิดว่า สถาบันฯ กระทำสิ่งใดโดยปราศจากกลไกตรวจสอบ ทั้งที่ในความเป็นจริง กลไกต่าง ๆ ถูกออกแบบไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างรัดกุมและแยบยล คำถามคือ... หากประชาไทมีความเข้าใจในรัฐธรรมนูญจริง เหตุใดจึงเสนอข่าวในลักษณะที่บิดเบือน? หรือแท้จริงแล้วนี่คือแผนปฏิบัติการ "ทำลายศรัทธา" ผ่านเครื่องมือสื่อ โดยการใช้วาทกรรมกึ่งกฎหมายมาห่มคลุมเจตนาทางการเมือง และท้ายที่สุด การกระทำเช่นนี้ ย่อมไม่ใช่เสรีภาพในการสื่อสาร หากแต่เป็นการใช้เสรีภาพอย่างเกินขอบเขต จนกลายเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยและมั่นคงของชาติ บางครั้งการ "ไม่รู้" อาจให้อภัยได้ แต่การ "แกล้งไม่รู้" เพื่อละเมิด...สังคมย่อมต้องพิจารณาอย่างจริงจังว่า ยังควรปล่อยผ่านหรือไม่ . https://web.facebook.com/share/p/198SXPzwkk/
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 412 Views 0 Reviews
  • 7 มีนาคม 2568-เมื่อเวลา 08.55 น.วันที่ 7 มีนาคม 2568 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในฉลองพระองค์ชุดนักบิน เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ไปทอดพระเนตรการแสดงการบิน เนื่องในโอกาสครบ 88 ปี กองทัพอากาศ ณ ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 กองทัพอากาศ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานครเมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก เสกสรร คันธา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ ประธานจัดงานการแสดงการบินเนื่องในโอกาสครบ 88 ปี กองทัพอากาศ พร้อมด้วยนายทหารชั้นผู้ใหญ่ และข้าราชการทหารอากาศ เฝ้าฯ รับเสด็จจากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ประทับหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พร้อมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพอากาศ แล้วพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลอากาศเอก คิดควร สดับ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ และนางวริสรา สดับ ภริยา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตร แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสร็จแล้ว ผู้บัญชาการทหารอากาศ กราบบังคมทูลรายงานการจัดการแสดงการบินเนื่องในโอกาสครบ 88 ปี กองทัพอากาศจากนั้น ทอดพระเนตรการแสดงการบิน ชุดที่ 1 ประกอบด้วย “การบินฟอร์เมชัน ดิสเพลย์ วิธ เนชันแนล คัลเลอร์ส สโมค” (Formation Display with National Colors Smoke) โดยเครื่องบิน AU-23, T-50TH และเครื่องบิน F-16MLU จากกองทัพอากาศไทย “การบินกริพเพน เดโม” (Gripen Demo) จากกองทัพอากาศไทย “การบินออกัสท์ เฟิร์ธ” (August 1ST) โดยเครื่องบิน J-10C จากกองทัพอากาศสาธารณรัฐประชาชนจีน และ “การบินเอฟ-35เอ เดโม” (F-35A Demo) จากกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาภายหลังจบการแสดงการบินชุดที่ 1 แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จเข้าภายในอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ และภริยา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายของที่ระลึกจากนั้น ทอดพระเนตรนิทรรศการและวีดิทัศน์ภารกิจเครื่องบิน “กริพเพน” (Gripen) บินลงจอดบนถนนในพื้นที่จังหวัดสงขลา ซึ่งทำการวิ่งขึ้นจาก สนามบินหาดใหญ่บินไปตามจุดที่กำหนดเพื่อทำการลงสนามแบบ Straight in approach โดยในเที่ยวแรกได้ทำ Low approach เพื่อทำความคุ้นเคยและในเที่ยวบินที่2 จึงทำการลงสนามจริง นิทรรศการพระมหากษัตริย์นักบินแห่งราชวงศ์จักรี ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัย และทรงพระปรีชาสามารถด้านการบินทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเชี่ยวชาญ หลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาทางการทหารเมื่อพุทธศักราช 2522 ทรงเริ่มเข้ารับการฝึกบินหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธ (Gunship) ของกองทัพบก เมื่อพุทธศักราช 2523 และทรงฝึกบินหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพอากาศ ทรงสำเร็จตามหลักสูตร เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2523 และได้ทรงบินเฮลิคอปเตอร์ด้วยพระองค์เอง เสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงเรียนนายเรืออากาศ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2523 ซึ่งปัจจุบันคือโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และทรงรับพระราชทานประดับเครื่องหมายแสดงความสามารถในการบินของกองทัพอากาศ จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อันเป็นความภูมิใจของกำลังพลของกองทัพอากาศ และพสกนิกรชาวไทยที่ได้มีพระมหากษัตริย์นักบิน เป็นมิ่งขวัญของแผ่นดินภายหลังจากทอดพระเนตรนิทรรศการเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี เสด็จฯ ไปยังหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ทอดพระเนตรเครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบ เอฟ-5อี (F-5E) และทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์กับเครื่องบิน ที-50 อากาศยานไอพ่นความเร็วเหนือเสียง และเป็นอากาศยานโจมตี จากกองบิน 4 ตาคลี จ.นครสวรรค์ด้วยพระราชปณิธานในการเป็นนักบิน ทรงเข้ารับการถวายการฝึกบินกับอากาศยานปีกตรึงโดยกองทัพอากาศ และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาเทคนิคการบินจากฐานทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ฐานทัพอากาศเล็คแลนด์ เมืองแซนเอนโทนิโอ รัฐเท็กซัส ทรงจบหลักสูตรการบินขับไล่ไอพ่น ยุทธวิธีขั้นพื้นฐานจากฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 425 ฐานบินวิลเลียมส์ รัฐแอริโซนา ทรงเข้าศึกษาฝึกบินกับเครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบ เอฟ-5อี (F-5E) ในหลักสูตรการบินขับไล่ไอพ่นทางยุทธวิธีชั้นสูง ทรงเข้าประจำการ ณ กองปฏิบัติการทางอากาศพิเศษ การทำลายและยุทธวิธีรบนอกแบบ กับทรงศึกษาหลักสูตรทางทหารเพิ่มเติม เช่น หลักสูตรต้นหนชั้นสูง การลาดตระเวน หลักสูตรส่งทางอากาศ หลักสูตรการบิ เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ยูเอช-1เอช (UH-1H) ของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา ณ ฟอร์ท แบรกก์ รัฐนอร์ธ แคโรไลนา และหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธแบบ เอเอช-1เอส คอบรา (AH-1S COBRA) ทรงฝึกฝนการบินอย่างสม่ำเสมอ และยังได้ทรงเข้าร่วมการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีของกองทัพอากาศที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยทรงเข้าร่วมแข่งขันระหว่างพุทธศักราช 2526 ถึง 2530 ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จ.ลพบุรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักบินขับไล่ไอพ่นพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี ที่ทรงทำการบินกับเครื่องบินกองทัพอากาศได้เกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นอากาศยานปีกหมุน อากาศยานปีกตรึงแบบใบพัด และเครื่องยนต์ไอพ่น และด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเป็นนักบินขับไล่ที่มีชั่วโมงบินต่อเนื่องมากกว่า 2,800 ชั่วโมงบิน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ยากยิ่งสำหรับนักบินขับไล่ทั่วโลกที่จะทำได้ และด้วยพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา ทรงถ่ายทอดประสบการณ์ที่ทรงมี ปฏิบัติหน้าที่ครูการบิน พระราชทานการฝึกสอนทั้งวิชาการภาคพื้นและการฝึกบินให้แก่นักบินขับไล่ของกองทัพอากาศ แสดงถึงพระปรีชาสามารถที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยพัฒนาและยกระดับการบินของชาติให้ทัดเทียมนานาประเทศ ทรงอุปถัมภ์งานด้านการบินอย่างต่อเนื่อง นับเป็นคุณูปการแก่กองทัพอากาศไทย และกิจการการบินของประเทศเป็นอย่างยิ่งจากนั้นทอดพระเนตรนิทรรศการเครื่องบินฝึกจำลอง (Gripen E/F Simulator) ของเครื่องบิน Gripen ด้วยความสนพระราชหฤทัย ในโอกาสนี้ มีพระราชปฏิสันถารกับนักบินในฝูงบินจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และสหรัฐอเมริกาเสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ประทับหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ทอดพระเนตรการแสดงการบิน ชุดที่ 2 “การบินสูรยกิรัณ” (Suryakiran) จากกองทัพอากาศสาธารณรัฐอินเดีย ภายหลังจบการแสดงการบิน เสด็จออกจากที่ประทับหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับกองทัพอากาศ จัดการแสดงการบินเนื่องในโอกาสครบ 88 ปี เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในวาระที่กระทรวงกลาโหมได้ยกฐานะกรมทหารอากาศ ขึ้นเป็นกองทัพอากาศ ตั้งแต่พุทธศักราช 2480 ซึ่งปฏิบัติภารกิจอย่างมุ่งมั่นเพื่อรักษาความมั่นคง ของชาติ และดํารงความพร้อมของกําลังทางอากาศ เพื่อรับมือกับภัยคุกคาม ทุกรูปแบบ รวมทั้งการใช้ขีดความสามารถของ กองทัพอากาศทุกมิติ เพื่อช่วยเหลือ ประชาชนอย่างเต็มความสามารถตลอด 88 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น จึงจัดงานขึ้นภายใต้แนวคิด “AIR SOVEREIGNTY THROUGH UNBEATABLE COLLABORATION” หรือ “อธิปไตยเหนือน่านฟ้า ผ่านความร่วมมืออันแข็งแกร่ง” เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงเกียรติประวัติความภาคภูมิใจ ในเกียรติภูมิของกองทัพอากาศ และแสดงถึงขีดความสามารถของ กองทัพอากาศ ในการปฏิบัติภารกิจด้านความมั่นคง การสนับสนุนหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน การใช้ขีดความสามารถในทุกด้านเพื่อช่วยเหลือประชาชน ตลอดจนแสดงถึงแผนการพัฒนากองทัพอากาศในอนาคต แสดงถึงความพร้อมของกองทัพอากาศ ในด้านการส่งเสริม ภาคอุตสาหกรรมการบิน และภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อันนำไปสู่ การเป็นศูนย์กลางทางการบินในภูมิภาคตามนโยบายรัฐบาล ที่ส่งเสริมและกระชับความร่วมมือภายในประเทศ และเสริมสร้างมิตรภาพความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกองทัพอากาศ กับกองทัพอากาศมิตรประเทศโดยปีนี้ได้จัดแสดงอากาศยานของกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศมิตรประเทศ ทั้ง 3 ประเทศด้วยกัน ประกอบด้วย กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา , กองทัพอากาศสาธารณรัฐอินเดีย และกองทัพอากาศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 7 - 8 มีนาคม ณ กองบิน 6 ท่าอากาศยานทหารดอนเมือง
    7 มีนาคม 2568-เมื่อเวลา 08.55 น.วันที่ 7 มีนาคม 2568 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในฉลองพระองค์ชุดนักบิน เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ไปทอดพระเนตรการแสดงการบิน เนื่องในโอกาสครบ 88 ปี กองทัพอากาศ ณ ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 กองทัพอากาศ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานครเมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก เสกสรร คันธา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ ประธานจัดงานการแสดงการบินเนื่องในโอกาสครบ 88 ปี กองทัพอากาศ พร้อมด้วยนายทหารชั้นผู้ใหญ่ และข้าราชการทหารอากาศ เฝ้าฯ รับเสด็จจากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ประทับหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พร้อมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพอากาศ แล้วพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลอากาศเอก คิดควร สดับ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ และนางวริสรา สดับ ภริยา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตร แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสร็จแล้ว ผู้บัญชาการทหารอากาศ กราบบังคมทูลรายงานการจัดการแสดงการบินเนื่องในโอกาสครบ 88 ปี กองทัพอากาศจากนั้น ทอดพระเนตรการแสดงการบิน ชุดที่ 1 ประกอบด้วย “การบินฟอร์เมชัน ดิสเพลย์ วิธ เนชันแนล คัลเลอร์ส สโมค” (Formation Display with National Colors Smoke) โดยเครื่องบิน AU-23, T-50TH และเครื่องบิน F-16MLU จากกองทัพอากาศไทย “การบินกริพเพน เดโม” (Gripen Demo) จากกองทัพอากาศไทย “การบินออกัสท์ เฟิร์ธ” (August 1ST) โดยเครื่องบิน J-10C จากกองทัพอากาศสาธารณรัฐประชาชนจีน และ “การบินเอฟ-35เอ เดโม” (F-35A Demo) จากกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาภายหลังจบการแสดงการบินชุดที่ 1 แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จเข้าภายในอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ และภริยา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายของที่ระลึกจากนั้น ทอดพระเนตรนิทรรศการและวีดิทัศน์ภารกิจเครื่องบิน “กริพเพน” (Gripen) บินลงจอดบนถนนในพื้นที่จังหวัดสงขลา ซึ่งทำการวิ่งขึ้นจาก สนามบินหาดใหญ่บินไปตามจุดที่กำหนดเพื่อทำการลงสนามแบบ Straight in approach โดยในเที่ยวแรกได้ทำ Low approach เพื่อทำความคุ้นเคยและในเที่ยวบินที่2 จึงทำการลงสนามจริง นิทรรศการพระมหากษัตริย์นักบินแห่งราชวงศ์จักรี ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัย และทรงพระปรีชาสามารถด้านการบินทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเชี่ยวชาญ หลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาทางการทหารเมื่อพุทธศักราช 2522 ทรงเริ่มเข้ารับการฝึกบินหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธ (Gunship) ของกองทัพบก เมื่อพุทธศักราช 2523 และทรงฝึกบินหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพอากาศ ทรงสำเร็จตามหลักสูตร เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2523 และได้ทรงบินเฮลิคอปเตอร์ด้วยพระองค์เอง เสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงเรียนนายเรืออากาศ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2523 ซึ่งปัจจุบันคือโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และทรงรับพระราชทานประดับเครื่องหมายแสดงความสามารถในการบินของกองทัพอากาศ จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อันเป็นความภูมิใจของกำลังพลของกองทัพอากาศ และพสกนิกรชาวไทยที่ได้มีพระมหากษัตริย์นักบิน เป็นมิ่งขวัญของแผ่นดินภายหลังจากทอดพระเนตรนิทรรศการเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี เสด็จฯ ไปยังหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ทอดพระเนตรเครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบ เอฟ-5อี (F-5E) และทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์กับเครื่องบิน ที-50 อากาศยานไอพ่นความเร็วเหนือเสียง และเป็นอากาศยานโจมตี จากกองบิน 4 ตาคลี จ.นครสวรรค์ด้วยพระราชปณิธานในการเป็นนักบิน ทรงเข้ารับการถวายการฝึกบินกับอากาศยานปีกตรึงโดยกองทัพอากาศ และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาเทคนิคการบินจากฐานทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ฐานทัพอากาศเล็คแลนด์ เมืองแซนเอนโทนิโอ รัฐเท็กซัส ทรงจบหลักสูตรการบินขับไล่ไอพ่น ยุทธวิธีขั้นพื้นฐานจากฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 425 ฐานบินวิลเลียมส์ รัฐแอริโซนา ทรงเข้าศึกษาฝึกบินกับเครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบ เอฟ-5อี (F-5E) ในหลักสูตรการบินขับไล่ไอพ่นทางยุทธวิธีชั้นสูง ทรงเข้าประจำการ ณ กองปฏิบัติการทางอากาศพิเศษ การทำลายและยุทธวิธีรบนอกแบบ กับทรงศึกษาหลักสูตรทางทหารเพิ่มเติม เช่น หลักสูตรต้นหนชั้นสูง การลาดตระเวน หลักสูตรส่งทางอากาศ หลักสูตรการบิ เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ยูเอช-1เอช (UH-1H) ของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา ณ ฟอร์ท แบรกก์ รัฐนอร์ธ แคโรไลนา และหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธแบบ เอเอช-1เอส คอบรา (AH-1S COBRA) ทรงฝึกฝนการบินอย่างสม่ำเสมอ และยังได้ทรงเข้าร่วมการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีของกองทัพอากาศที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยทรงเข้าร่วมแข่งขันระหว่างพุทธศักราช 2526 ถึง 2530 ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จ.ลพบุรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักบินขับไล่ไอพ่นพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี ที่ทรงทำการบินกับเครื่องบินกองทัพอากาศได้เกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นอากาศยานปีกหมุน อากาศยานปีกตรึงแบบใบพัด และเครื่องยนต์ไอพ่น และด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเป็นนักบินขับไล่ที่มีชั่วโมงบินต่อเนื่องมากกว่า 2,800 ชั่วโมงบิน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ยากยิ่งสำหรับนักบินขับไล่ทั่วโลกที่จะทำได้ และด้วยพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา ทรงถ่ายทอดประสบการณ์ที่ทรงมี ปฏิบัติหน้าที่ครูการบิน พระราชทานการฝึกสอนทั้งวิชาการภาคพื้นและการฝึกบินให้แก่นักบินขับไล่ของกองทัพอากาศ แสดงถึงพระปรีชาสามารถที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยพัฒนาและยกระดับการบินของชาติให้ทัดเทียมนานาประเทศ ทรงอุปถัมภ์งานด้านการบินอย่างต่อเนื่อง นับเป็นคุณูปการแก่กองทัพอากาศไทย และกิจการการบินของประเทศเป็นอย่างยิ่งจากนั้นทอดพระเนตรนิทรรศการเครื่องบินฝึกจำลอง (Gripen E/F Simulator) ของเครื่องบิน Gripen ด้วยความสนพระราชหฤทัย ในโอกาสนี้ มีพระราชปฏิสันถารกับนักบินในฝูงบินจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และสหรัฐอเมริกาเสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ประทับหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ทอดพระเนตรการแสดงการบิน ชุดที่ 2 “การบินสูรยกิรัณ” (Suryakiran) จากกองทัพอากาศสาธารณรัฐอินเดีย ภายหลังจบการแสดงการบิน เสด็จออกจากที่ประทับหน้าอาคารท่าอากาศยานทหาร 2 ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับกองทัพอากาศ จัดการแสดงการบินเนื่องในโอกาสครบ 88 ปี เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในวาระที่กระทรวงกลาโหมได้ยกฐานะกรมทหารอากาศ ขึ้นเป็นกองทัพอากาศ ตั้งแต่พุทธศักราช 2480 ซึ่งปฏิบัติภารกิจอย่างมุ่งมั่นเพื่อรักษาความมั่นคง ของชาติ และดํารงความพร้อมของกําลังทางอากาศ เพื่อรับมือกับภัยคุกคาม ทุกรูปแบบ รวมทั้งการใช้ขีดความสามารถของ กองทัพอากาศทุกมิติ เพื่อช่วยเหลือ ประชาชนอย่างเต็มความสามารถตลอด 88 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น จึงจัดงานขึ้นภายใต้แนวคิด “AIR SOVEREIGNTY THROUGH UNBEATABLE COLLABORATION” หรือ “อธิปไตยเหนือน่านฟ้า ผ่านความร่วมมืออันแข็งแกร่ง” เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงเกียรติประวัติความภาคภูมิใจ ในเกียรติภูมิของกองทัพอากาศ และแสดงถึงขีดความสามารถของ กองทัพอากาศ ในการปฏิบัติภารกิจด้านความมั่นคง การสนับสนุนหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน การใช้ขีดความสามารถในทุกด้านเพื่อช่วยเหลือประชาชน ตลอดจนแสดงถึงแผนการพัฒนากองทัพอากาศในอนาคต แสดงถึงความพร้อมของกองทัพอากาศ ในด้านการส่งเสริม ภาคอุตสาหกรรมการบิน และภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อันนำไปสู่ การเป็นศูนย์กลางทางการบินในภูมิภาคตามนโยบายรัฐบาล ที่ส่งเสริมและกระชับความร่วมมือภายในประเทศ และเสริมสร้างมิตรภาพความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกองทัพอากาศ กับกองทัพอากาศมิตรประเทศโดยปีนี้ได้จัดแสดงอากาศยานของกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศมิตรประเทศ ทั้ง 3 ประเทศด้วยกัน ประกอบด้วย กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา , กองทัพอากาศสาธารณรัฐอินเดีย และกองทัพอากาศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 7 - 8 มีนาคม ณ กองบิน 6 ท่าอากาศยานทหารดอนเมือง
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 677 Views 0 Reviews
  • ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศทหาร พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เป็น พลเรือเอกหญิง และพลอากาศเอกหญิงวันที่ 7 มีนาคม 2568 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ว่าด้วยเรื่อง พระราชทานพระยศทหาร โดยเนื้อความในประกาศระบุว่าพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระยศทหารอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกอบมาตรา 4 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 มาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 มาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 มาตรา 5 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติยศทหาร พุทธศักราช 2479จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระยศทหาร พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เป็น พลเรือเอกหญิง และพลอากาศเอกหญิงทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พุทธศักราช 2568 เป็นปีที่ 10 ในรัชกาลปัจจุบัน
    ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศทหาร พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เป็น พลเรือเอกหญิง และพลอากาศเอกหญิงวันที่ 7 มีนาคม 2568 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ว่าด้วยเรื่อง พระราชทานพระยศทหาร โดยเนื้อความในประกาศระบุว่าพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระยศทหารอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกอบมาตรา 4 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 มาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 มาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 มาตรา 5 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติยศทหาร พุทธศักราช 2479จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระยศทหาร พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เป็น พลเรือเอกหญิง และพลอากาศเอกหญิงทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พุทธศักราช 2568 เป็นปีที่ 10 ในรัชกาลปัจจุบัน
    0 Comments 0 Shares 281 Views 0 Reviews
  • และแล้วเราก็คุยกันมาถึงภาพสุดท้ายของสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี

    ภาพที่จะกล่าวถึงในวันนี้เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปยังพระตำหนักจิ่งเหรินกง ดูจากไทม์ไลน์แล้วน่าจะเป็นที่ประทับของฉุนเฟย แต่ในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฉุนเฟยประทับที่พระตำหนักจงชุ่ยกง ภาพนี้มีชื่อว่า ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ (燕姞梦兰图) หน้าตาแท้จริงเป็นอย่างไรไม่ทราบได้ เพราะว่าสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพวาดโดยจิตรกรญี่ปุ่น

    เรื่องราวของภาพคือเรื่องของเยี่ยนจี๋ อนุภรรยาของเจิ้งเหวินกง เจ้าผู้ปกครองแคว้นเจิ้งในยุคสมัยชุนชิว (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความ) นางฝันว่ามีเทพธิดานำดอกหลันฮวามามอบให้และบอกว่าดอกไม้นี้จะทำให้นางได้รับความรักจากเจิ้งเหวินกงและจะได้บุตรที่โดดเด่นมาเป็นผู้สืบทอดแผ่นดินต่อไป และวลี ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ ต่อมาถูกใช้เปรียบเปรยถึงความรักที่ออกดอกออกผลเป็นลูกหลาน และสะท้อนความนัยว่า ฝันที่ดีนำมาซึ่งเรื่องราวดีๆ และภาพนี้ถูกตีความว่า หมายถึงการทำสิ่งที่ฝันให้เป็นจริง

    เรื่องนี้คุ้นหูกันบ้างไหม? Storyฯ เคยเล่าถึงเรื่องนี้แล้วตอนที่คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ ลองกลับไปอ่านดูกันนะคะ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/731814662280162)

    ป้ายที่พระราชทานคู่กับภาพนี้คือ ‘จ้านเต๋อกงเหวย’ (赞德宫闱) แปลได้ประมาณว่า ศีลธรรมดีงามได้รับการยกย่องไปทั่วพระราชฐานนางใน

    จบแล้วกับสิบสองภาพวาด Storyฯ นำมาเรียบเรียงอีกครั้ง โดยเรียงลำดับจากพระตำหนักที่อยู่ใกล้พระที่นั่งหยั่งซินเตี้ยน (ที่ประทับฮ่องเต้) ตามนี้ค่ะ

    1. ตำหนักฉี่เสียงกง หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ไท่จี๋เตี้ยน (Hall of Supreme Principle) ภาพ ‘เจียงโฮ่วทัวจาน’ (姜后脱簪 / มเหสีเจียงปลดปิ่น) ความหมายคือคล้อยตามสามี ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/791887496272878)
    2. ตำหนักฉางชุนกง (Palace of Eternal Spring) ภาพ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร) ความหมายคือ สั่งสอนบุตร ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/746257530835875)
    3. ตำหนักหย่งโซ่วกง (Palace of Eternal Longevity) ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (班姬辞辇图 / ปันจีผู้งามมารยาท) ความหมายคือ รู้มารยาทและพิธีการ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/750792533715708)
    4. ตำหนักอี้คุนกง (Palace of Earthly Honor) ภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图 / จาวหรงตัดสินบทกวี) ความหมายคือ การศึกษา ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/764297899031838)
    5. ตำหนักเสียนฝูกง (Palace of Universal Happiness) ภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ (婕妤当熊图 / เจี๋ยอวี๋ขวางหมี) ความหมายคือ กล้าหาญ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/768864935241801)
    6. ตำหนักฉู่ซิ่วกง (Palace of Gathered Elegance) ภาพ ‘ซีหลิงเจียวฉาน’ (西陵教蚕图 /ซีหลิงสอนเลี้ยงไหม) ความหมายคือ นวัตกรรม ภาพจริงสูญหายไปแล้ว(https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/754042176724077)
    7. ตำหนักจิ่งเหรินกง (Palace of Great Benevolence) ภาพ ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ (燕姞梦兰 / เยี่ยนจี๋ฝันถึงหลันฮวา) ความหมายคือ วิสัยทัศน์ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ก็คือบทความที่เล่าถึงข้างต้นในวันนี้
    8. ตำหนักเฉินเฉียนกง (Palace of Celestial Favor) ภาพ ‘สวีเฟยจื๋อเจี้ยน’ (徐妃直谏 / สวีเฟยวิพากษ์) ความหมายคือ จงรักภักดีตรงไปตรงมา ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/759313216196973)
    9. ตำหนักจงชุ่ยกง (Palace of Accumulated Purity) ภาพ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้าน’ (许后奉案/ สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร) ความหมายคือ เคารพผู้อาวุโส ภาพจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้พระราชวังต้องห้าม (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/773395164788778)
    10. ตำหนักจิ่งหยางกง (Palace of Great Brilliance) ภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣图 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) ความหมายคือ มัธยัสถ์ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://web.facebook.com/StoryfromStory/posts/797174585744169)
    11. ตำหนักหย่งเหอกง (Palace of Eternal Harmony) ภาพ ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ (樊姬谏猎 / ฝานจีเตือนสติให้หยุดล่าสัตว์) ความหมายคือเตือนสติ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/786677160127245)
    12. ตำหนักเหยียนสี่กง (Palace of Prolonging Happiness) ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) ความหมายคือ ขยันขันแข็ง ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/777707414357553)

    สรุปว่าในบรรดาสิบสองภาพวาดนี้ เหลือของจริงอยู่เพียงภาพเดียวคือ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้าน’ ภาพจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้กง Storyฯ อาจเล่าสะเปะสะปะไปหน่อยและใช้เวลาเล่านานกว่าจะจบครบสิบสองภาพ หวังว่าเรื่องราวในภาพวาดกงซวิ่นถูจะเป็นที่เพลิดเพลินของเพื่อนเพจไม่มากก็น้อย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
    (ป.ล. 2 ชื่อพระตำหนัก Storyฯ แปลเป็นไทยแล้วรู้สึกว่าจั๊กจี้ เลยเอาเป็นคำแปลภาษาอังกฤษมาฝากแทน)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.baike.com/wikiid/2576687878101900972?view_id=y3t51nqv02o00
    Metropolitan Museum of Arts
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/G0GD3GUH0537ML11.html
    https://www.xiumu.cn/ts/2018/0824/4278239.html
    https://www.travelchinaguide.com/attraction/beijing/forbidden/six_eastern.htm
    https://www.travelchinaguide.com/attraction/beijing/forbidden/six_western.htm

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เยี่ยนจี๋ #เจิ้งเหวินกง #เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน #หลันอินซวี่กั่ว #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    และแล้วเราก็คุยกันมาถึงภาพสุดท้ายของสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี ภาพที่จะกล่าวถึงในวันนี้เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปยังพระตำหนักจิ่งเหรินกง ดูจากไทม์ไลน์แล้วน่าจะเป็นที่ประทับของฉุนเฟย แต่ในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฉุนเฟยประทับที่พระตำหนักจงชุ่ยกง ภาพนี้มีชื่อว่า ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ (燕姞梦兰图) หน้าตาแท้จริงเป็นอย่างไรไม่ทราบได้ เพราะว่าสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพวาดโดยจิตรกรญี่ปุ่น เรื่องราวของภาพคือเรื่องของเยี่ยนจี๋ อนุภรรยาของเจิ้งเหวินกง เจ้าผู้ปกครองแคว้นเจิ้งในยุคสมัยชุนชิว (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความ) นางฝันว่ามีเทพธิดานำดอกหลันฮวามามอบให้และบอกว่าดอกไม้นี้จะทำให้นางได้รับความรักจากเจิ้งเหวินกงและจะได้บุตรที่โดดเด่นมาเป็นผู้สืบทอดแผ่นดินต่อไป และวลี ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ ต่อมาถูกใช้เปรียบเปรยถึงความรักที่ออกดอกออกผลเป็นลูกหลาน และสะท้อนความนัยว่า ฝันที่ดีนำมาซึ่งเรื่องราวดีๆ และภาพนี้ถูกตีความว่า หมายถึงการทำสิ่งที่ฝันให้เป็นจริง เรื่องนี้คุ้นหูกันบ้างไหม? Storyฯ เคยเล่าถึงเรื่องนี้แล้วตอนที่คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ ลองกลับไปอ่านดูกันนะคะ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/731814662280162) ป้ายที่พระราชทานคู่กับภาพนี้คือ ‘จ้านเต๋อกงเหวย’ (赞德宫闱) แปลได้ประมาณว่า ศีลธรรมดีงามได้รับการยกย่องไปทั่วพระราชฐานนางใน จบแล้วกับสิบสองภาพวาด Storyฯ นำมาเรียบเรียงอีกครั้ง โดยเรียงลำดับจากพระตำหนักที่อยู่ใกล้พระที่นั่งหยั่งซินเตี้ยน (ที่ประทับฮ่องเต้) ตามนี้ค่ะ 1. ตำหนักฉี่เสียงกง หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ไท่จี๋เตี้ยน (Hall of Supreme Principle) ภาพ ‘เจียงโฮ่วทัวจาน’ (姜后脱簪 / มเหสีเจียงปลดปิ่น) ความหมายคือคล้อยตามสามี ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/791887496272878) 2. ตำหนักฉางชุนกง (Palace of Eternal Spring) ภาพ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร) ความหมายคือ สั่งสอนบุตร ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/746257530835875) 3. ตำหนักหย่งโซ่วกง (Palace of Eternal Longevity) ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (班姬辞辇图 / ปันจีผู้งามมารยาท) ความหมายคือ รู้มารยาทและพิธีการ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/750792533715708) 4. ตำหนักอี้คุนกง (Palace of Earthly Honor) ภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图 / จาวหรงตัดสินบทกวี) ความหมายคือ การศึกษา ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/764297899031838) 5. ตำหนักเสียนฝูกง (Palace of Universal Happiness) ภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ (婕妤当熊图 / เจี๋ยอวี๋ขวางหมี) ความหมายคือ กล้าหาญ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/768864935241801) 6. ตำหนักฉู่ซิ่วกง (Palace of Gathered Elegance) ภาพ ‘ซีหลิงเจียวฉาน’ (西陵教蚕图 /ซีหลิงสอนเลี้ยงไหม) ความหมายคือ นวัตกรรม ภาพจริงสูญหายไปแล้ว(https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/754042176724077) 7. ตำหนักจิ่งเหรินกง (Palace of Great Benevolence) ภาพ ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ (燕姞梦兰 / เยี่ยนจี๋ฝันถึงหลันฮวา) ความหมายคือ วิสัยทัศน์ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ก็คือบทความที่เล่าถึงข้างต้นในวันนี้ 8. ตำหนักเฉินเฉียนกง (Palace of Celestial Favor) ภาพ ‘สวีเฟยจื๋อเจี้ยน’ (徐妃直谏 / สวีเฟยวิพากษ์) ความหมายคือ จงรักภักดีตรงไปตรงมา ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/759313216196973) 9. ตำหนักจงชุ่ยกง (Palace of Accumulated Purity) ภาพ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้าน’ (许后奉案/ สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร) ความหมายคือ เคารพผู้อาวุโส ภาพจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้พระราชวังต้องห้าม (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/773395164788778) 10. ตำหนักจิ่งหยางกง (Palace of Great Brilliance) ภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣图 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) ความหมายคือ มัธยัสถ์ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://web.facebook.com/StoryfromStory/posts/797174585744169) 11. ตำหนักหย่งเหอกง (Palace of Eternal Harmony) ภาพ ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ (樊姬谏猎 / ฝานจีเตือนสติให้หยุดล่าสัตว์) ความหมายคือเตือนสติ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/786677160127245) 12. ตำหนักเหยียนสี่กง (Palace of Prolonging Happiness) ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) ความหมายคือ ขยันขันแข็ง ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/777707414357553) สรุปว่าในบรรดาสิบสองภาพวาดนี้ เหลือของจริงอยู่เพียงภาพเดียวคือ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้าน’ ภาพจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้กง Storyฯ อาจเล่าสะเปะสะปะไปหน่อยและใช้เวลาเล่านานกว่าจะจบครบสิบสองภาพ หวังว่าเรื่องราวในภาพวาดกงซวิ่นถูจะเป็นที่เพลิดเพลินของเพื่อนเพจไม่มากก็น้อย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) (ป.ล. 2 ชื่อพระตำหนัก Storyฯ แปลเป็นไทยแล้วรู้สึกว่าจั๊กจี้ เลยเอาเป็นคำแปลภาษาอังกฤษมาฝากแทน) Credit รูปภาพจาก: https://www.baike.com/wikiid/2576687878101900972?view_id=y3t51nqv02o00 Metropolitan Museum of Arts Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/G0GD3GUH0537ML11.html https://www.xiumu.cn/ts/2018/0824/4278239.html https://www.travelchinaguide.com/attraction/beijing/forbidden/six_eastern.htm https://www.travelchinaguide.com/attraction/beijing/forbidden/six_western.htm #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เยี่ยนจี๋ #เจิ้งเหวินกง #เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน #หลันอินซวี่กั่ว #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 Comments 0 Shares 674 Views 0 Reviews
  • วันนี้มาคุยต่อกับสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี

    ภาพที่สิบเอ็ดที่จะคุยกันวันนี้คือภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปที่ตำหนักจิ่งหยางกง ซึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงภายหลังจากการซ่อมแซมปรับปรุงสถานที่โดยองค์คังซีแล้ว ถูกใช้เป็นที่เก็บงานศิลปะ ไม่เคยเป็นที่ประทับของพระสนมหรือมเหสี

    หม่าฮองเฮาที่กล่าวถึงนี้คือ ฮองเฮาหมิงเต๋อ พระมเหสีในองค์หมิงตี้ (ค.ศ. 26-75) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก บิดาของพระนางคือแม่ทัพหม่าหยวน หนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ พระราชบิดาขององค์หมิงตี้

    ไม่ปรากฏนามเดิมของหม่าฮองเฮาในบันทึกประวัติศาสตร์ มีเพียงกล่าวถึงว่า นางเสียบิดาและพี่ชายไปเมื่อยังเยาว์วัยในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ มารดาตรอมใจจนป่วยหนัก นางดูแลเรือนตระกูลหม่าแทนแม่ตั้งแต่อายุได้เพียงสิบขวบ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้)

    พ่อของหม่าฮองเฮาถูกใส่ร้ายป้ายสีหลังจากเสียชีวิตกลางสนามรบ ตระกูลของนางตกต่ำ แต่สุดท้ายพี่ชายของนาง (ลูกของน้าชายของนาง) อาศัยผลงานความดีความชอบและความสัมพันธ์ด้านฝ่ายในของตระกูลหม่าที่มีมาหลายชั่วอายุคน ขอให้กวงอู่ตี้รับหนึ่งในลูกสาวสามคนของแม่ทัพหม่าหยวนเข้าวัง สุดท้ายเป็นลูกสาวคนเล็กที่ได้รับเลือกเข้าไปรับใช้ในพระตำหนักขององค์ชายรัชทายาทโดยไม่ได้มีการแต่งตั้งยศศักดิ์อะไร นางปรนนิบัติหลิวจวงอีกทั้งฮองเฮาและเหล่าพระภรรยาอย่างใกล้ชิดจนได้รับความเอ็นดูเป็นอย่างดี

    เมื่อองค์หลิวจวงขึ้นครองราชย์ นางได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหริน นางไม่มีบุตร แต่เพราะเป็นคนที่นิสัยอ่อนโยนมีการศึกษาดี ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น นางจึงได้รับมอบหมายให้เลี้ยงดูลูกชายจากภรรยาอื่นของฮั่นหมิงตี้คือเด็กชายหลิวต๋า (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮั่นจางตี้) จวบจนสามปีให้หลังจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นฮองเฮาภายใต้การเสนอชื่อของไทเฮา

    เป็นที่กล่าวขานว่านางมีความรู้ความรอบคอบ หลายครั้งที่ฮั่นหมิงตี้ให้นางช่วยดูและให้ความเห็นต่อฎีกา นางก็ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ดี จึงเป็นที่ชื่นชมและโปรดปรานของฮั่นหมิงตี้ ต่อมาในรัชสมัยของฮั่นจางตี้ นางยังคงช่วยให้คำปรึกษาที่ดีต่อฮั่นจางตี้ในเรื่องการบริหารบ้านเมือง

    นางขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในฮองเฮาที่วางตัวได้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีน และไม่เคยใช้อิทธิพลเกื้อหนุนตระกูลหม่า มีตัวอย่างว่า นางได้เสนอให้ลบชื่อพี่ชายของตนออกจากบันทึกคุณงามความดีของข้าราชสำนักเดิมตอนสมัยผัดเปลี่ยนรัชสมัยมาเป็นฮั่นจางตี้ อีกทั้งคัดค้านไม่ให้คนในตระกูลหม่ารับอิสริยยศ โดยให้เหตุผลต่อฮั่นจางตี้ว่า ไม่ต้องการให้ชนรุ่นหลังมองว่าเหล่าขุนนางสูงศักดิ์ที่ล้อมรอบฮั่นจางตี้ล้วนเป็นคนที่เกี่ยวดองกันในวังหลัง นางเตือนสติฮั่นจางตี้ว่า การให้อิสริยยศกับคนต่างสกุลต้องทำด้วยความรอบคอบ ผลงานของเหล่าข้าราชสำนักล้วนเป็นหน้าที่ที่พึงปฏิบัติ ไม่ควรนำมาเป็นเหตุผลให้มีอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่น

    เพราะนาง คนในตระกูลหม่าปฏิเสธที่จะรับยศโหว แม้ที่ได้รับการแต่งตั้งก็ปฏิเสธไม่รับพื้นที่การปกครอง และสุดท้ายก็ลาออกจากตำแหน่งในที่สุด

    หม่าฮองเฮาริเริ่มให้มีการจัดทำบันทึกที่เรียกว่า ‘ฉี่จวีจู้’ (起居注) ซึ่งจริงๆ ก็คือไดอารี่บันทึกกิจวัตรประจำวันของฮ่องเต้ ซึ่งต่อมากลายเป็นต้นแบบหนึ่งของวิธีบันทึกประวัติศาสตร์ในวัง และเป็นเอกสารสำคัญให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา นางจึงถูกยกย่องให้เป็นนักประวัติศาสตร์หญิงคนแรกของจีน

    นอกจากนี้นางยังขึ้นชื่อว่าเป็นคนประหยัด ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นเขียนไว้ว่า เสื้อผ้าของนางล้วนตัดเย็บจากผ้าเนื้อหยาบต้มจนนิ่ม กระโปรงไม่เย็บแถบชาย เป็นการแต่งกายที่ไม่แตกต่างจากชาวบ้านธรรมดา เมื่อสนมนางในถาม นางให้เหตุผลว่าผ้าเนื้อหยาบที่หาได้ง่ายกว่าผ้าไหมและย้อมสีได้ดีกว่า ว่ากันว่า นางคือฮองเฮาคนแรกที่แต่งกายอย่างนี้ และนี่คือเรื่องราวหลังภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (หมายเหตุ ‘เลี่ยนอี’ คือการทำเสื้อผ้าจากผ้าเนื้อหยาบ)

    ภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึง มัธยัสถ์ และป้ายอักษรที่ถูกพระราชทานไปคู่กันเขียนว่า ‘โหรวเจียซู่จิ้ง’ (柔嘉肃静) แปลได้ประมาณว่า อ่อนโยนอ่อนหวาน สุขุมเงียบสงบ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/43223996
    https://www.sohu.com/a/279050528_100018792
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/明德皇后/29800
    https://www.gugong.net/wenhua/40018.html
    http://www.qulishi.com/renwu/mingdemahuanghou/
    https://www.163.com/dy/article/G087N9E10541M2R8.html
    https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100loe0.html

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #หม่าโฮ่ว #ฮั่นหมิงตี้ #หมิงเต๋อหวงโฮ่ว #กงซวิ่นถู
    วันนี้มาคุยต่อกับสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี ภาพที่สิบเอ็ดที่จะคุยกันวันนี้คือภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปที่ตำหนักจิ่งหยางกง ซึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงภายหลังจากการซ่อมแซมปรับปรุงสถานที่โดยองค์คังซีแล้ว ถูกใช้เป็นที่เก็บงานศิลปะ ไม่เคยเป็นที่ประทับของพระสนมหรือมเหสี หม่าฮองเฮาที่กล่าวถึงนี้คือ ฮองเฮาหมิงเต๋อ พระมเหสีในองค์หมิงตี้ (ค.ศ. 26-75) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก บิดาของพระนางคือแม่ทัพหม่าหยวน หนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ พระราชบิดาขององค์หมิงตี้ ไม่ปรากฏนามเดิมของหม่าฮองเฮาในบันทึกประวัติศาสตร์ มีเพียงกล่าวถึงว่า นางเสียบิดาและพี่ชายไปเมื่อยังเยาว์วัยในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ มารดาตรอมใจจนป่วยหนัก นางดูแลเรือนตระกูลหม่าแทนแม่ตั้งแต่อายุได้เพียงสิบขวบ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) พ่อของหม่าฮองเฮาถูกใส่ร้ายป้ายสีหลังจากเสียชีวิตกลางสนามรบ ตระกูลของนางตกต่ำ แต่สุดท้ายพี่ชายของนาง (ลูกของน้าชายของนาง) อาศัยผลงานความดีความชอบและความสัมพันธ์ด้านฝ่ายในของตระกูลหม่าที่มีมาหลายชั่วอายุคน ขอให้กวงอู่ตี้รับหนึ่งในลูกสาวสามคนของแม่ทัพหม่าหยวนเข้าวัง สุดท้ายเป็นลูกสาวคนเล็กที่ได้รับเลือกเข้าไปรับใช้ในพระตำหนักขององค์ชายรัชทายาทโดยไม่ได้มีการแต่งตั้งยศศักดิ์อะไร นางปรนนิบัติหลิวจวงอีกทั้งฮองเฮาและเหล่าพระภรรยาอย่างใกล้ชิดจนได้รับความเอ็นดูเป็นอย่างดี เมื่อองค์หลิวจวงขึ้นครองราชย์ นางได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหริน นางไม่มีบุตร แต่เพราะเป็นคนที่นิสัยอ่อนโยนมีการศึกษาดี ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น นางจึงได้รับมอบหมายให้เลี้ยงดูลูกชายจากภรรยาอื่นของฮั่นหมิงตี้คือเด็กชายหลิวต๋า (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮั่นจางตี้) จวบจนสามปีให้หลังจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นฮองเฮาภายใต้การเสนอชื่อของไทเฮา เป็นที่กล่าวขานว่านางมีความรู้ความรอบคอบ หลายครั้งที่ฮั่นหมิงตี้ให้นางช่วยดูและให้ความเห็นต่อฎีกา นางก็ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ดี จึงเป็นที่ชื่นชมและโปรดปรานของฮั่นหมิงตี้ ต่อมาในรัชสมัยของฮั่นจางตี้ นางยังคงช่วยให้คำปรึกษาที่ดีต่อฮั่นจางตี้ในเรื่องการบริหารบ้านเมือง นางขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในฮองเฮาที่วางตัวได้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีน และไม่เคยใช้อิทธิพลเกื้อหนุนตระกูลหม่า มีตัวอย่างว่า นางได้เสนอให้ลบชื่อพี่ชายของตนออกจากบันทึกคุณงามความดีของข้าราชสำนักเดิมตอนสมัยผัดเปลี่ยนรัชสมัยมาเป็นฮั่นจางตี้ อีกทั้งคัดค้านไม่ให้คนในตระกูลหม่ารับอิสริยยศ โดยให้เหตุผลต่อฮั่นจางตี้ว่า ไม่ต้องการให้ชนรุ่นหลังมองว่าเหล่าขุนนางสูงศักดิ์ที่ล้อมรอบฮั่นจางตี้ล้วนเป็นคนที่เกี่ยวดองกันในวังหลัง นางเตือนสติฮั่นจางตี้ว่า การให้อิสริยยศกับคนต่างสกุลต้องทำด้วยความรอบคอบ ผลงานของเหล่าข้าราชสำนักล้วนเป็นหน้าที่ที่พึงปฏิบัติ ไม่ควรนำมาเป็นเหตุผลให้มีอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่น เพราะนาง คนในตระกูลหม่าปฏิเสธที่จะรับยศโหว แม้ที่ได้รับการแต่งตั้งก็ปฏิเสธไม่รับพื้นที่การปกครอง และสุดท้ายก็ลาออกจากตำแหน่งในที่สุด หม่าฮองเฮาริเริ่มให้มีการจัดทำบันทึกที่เรียกว่า ‘ฉี่จวีจู้’ (起居注) ซึ่งจริงๆ ก็คือไดอารี่บันทึกกิจวัตรประจำวันของฮ่องเต้ ซึ่งต่อมากลายเป็นต้นแบบหนึ่งของวิธีบันทึกประวัติศาสตร์ในวัง และเป็นเอกสารสำคัญให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา นางจึงถูกยกย่องให้เป็นนักประวัติศาสตร์หญิงคนแรกของจีน นอกจากนี้นางยังขึ้นชื่อว่าเป็นคนประหยัด ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นเขียนไว้ว่า เสื้อผ้าของนางล้วนตัดเย็บจากผ้าเนื้อหยาบต้มจนนิ่ม กระโปรงไม่เย็บแถบชาย เป็นการแต่งกายที่ไม่แตกต่างจากชาวบ้านธรรมดา เมื่อสนมนางในถาม นางให้เหตุผลว่าผ้าเนื้อหยาบที่หาได้ง่ายกว่าผ้าไหมและย้อมสีได้ดีกว่า ว่ากันว่า นางคือฮองเฮาคนแรกที่แต่งกายอย่างนี้ และนี่คือเรื่องราวหลังภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (หมายเหตุ ‘เลี่ยนอี’ คือการทำเสื้อผ้าจากผ้าเนื้อหยาบ) ภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึง มัธยัสถ์ และป้ายอักษรที่ถูกพระราชทานไปคู่กันเขียนว่า ‘โหรวเจียซู่จิ้ง’ (柔嘉肃静) แปลได้ประมาณว่า อ่อนโยนอ่อนหวาน สุขุมเงียบสงบ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/43223996 https://www.sohu.com/a/279050528_100018792 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/明德皇后/29800 https://www.gugong.net/wenhua/40018.html http://www.qulishi.com/renwu/mingdemahuanghou/ https://www.163.com/dy/article/G087N9E10541M2R8.html https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100loe0.html #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #หม่าโฮ่ว #ฮั่นหมิงตี้ #หมิงเต๋อหวงโฮ่ว #กงซวิ่นถู
    0 Comments 0 Shares 524 Views 0 Reviews
  • ภาพจาก ดร.เอ้ คุณหมอลาดกระบังรุ่นที่ 1 ก้มกราบมารดา หลังรับพระราชทานปริญญาบัตร https://www.facebook.com/share/p/1Fnny4Uczz/
    ภาพจาก ดร.เอ้ คุณหมอลาดกระบังรุ่นที่ 1 ก้มกราบมารดา หลังรับพระราชทานปริญญาบัตร https://www.facebook.com/share/p/1Fnny4Uczz/
    0 Comments 0 Shares 171 Views 0 Reviews
  • กลับมาคุยกันต่อถึงภาพที่ 9 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี

    ภาพที่เราจะคุยกันในวันนี้มีชื่อว่า ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ (樊姬谏猎 / ฝานจีเตือนสติให้หยุดล่าสัตว์) ถูกพระราชทานไปที่พระตำหนักหย่งเหอกง ภาพจริงหน้าตาอย่างไร Storyฯ หาไม่พบเพราะมันสูญหายไปแล้ว ภาพที่นำมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกัน แต่มีชื่อเรียกว่า ‘ฝานจีก่านจวง’ (ฝานจีดลใจจวงหวาง) ซึ่งเป็นตอนหนึ่งของภาพม้วนยาว ‘หนีว์สื่อเจิน’ (女史箴图 / ข้าราชสำนักหญิงเตือนสติ) ผลงานของกู้ข่ายจือ ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงฉบับคัดลอกที่มี 9 ตอนจากเดิม 12 ตอน

    Storyฯ เคยกล่าวถึงภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ นี้มาบ้างแล้วในบทความก่อนๆ เกี่ยวกับกงซวิ่นถู แต่ไม่ได้เล่าว่า ภาพทั้ง 12 ตอนของ ‘หนีว์สื่อเจิน’ นี้วาดขึ้นตามเนื้อหาจากบันทึก ‘เลี่ยหนี่ว์จ้วน’ (列女传 / บันทึกเรื่องราวสตรีตัวอย่าง) ที่จัดทำขึ้นในสมัยฮั่นตะวันตกโดยหลี่เซี่ยง แบ่งเป็น 7 หมวดรวมเหตุการณ์ที่ถูกยกมาเป็นตัวอย่างของจรรยาที่สตรีพึงมี จัดเป็นงานวรรณกรรมจำพวก ‘เหวินเหยียนเหวิน’ หรืองานวรรณกรรมภาษาโบราณ ปัจจุบันเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้ชนรุ่นหลังเข้าใจมากขึ้นถึงมุมมองของสังคมในสมัยนั้น

    ‘ฝานจี’ ที่กล่าวถึงในภาพ ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ นี้ก็เป็นพระธิดาของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นฝานและเป็นพระภรรยาของฉู่จวงหวาง (จวงอ๋อง) กษัตริย์แห่งแคว้นฉู่ในสมัยชุนชิว (ประมาณ 613-691 ปีก่อนคริสตกาล) จวงหวางแห่งแคว้นฉู่นี้ต่อมาถูกยกย่องเป็นหนึ่งในห้าของผู้ครองแคว้นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุคสมัยชุนชิว หรือที่เรียกว่า ‘ชุนชิวอู่ป้า’ (霸 /ป้า แปลได้ประมาณว่า เจ้าผู้ครองโลก)

    หลี่เซี่ยงเคยเขียนถึงจวงหวางไว้ว่า “ความยิ่งใหญ่ของฉู่จวงหวาง คือผลงานของฝานจี”

    ฝานจีไม่ได้มีความสามารถพิเศษอะไรที่จะช่วยจวงหวางยึดครองอาณาจักร ที่นางได้รับการยกย่องอย่างนี้เป็นเพราะนางคอยเตือนสติให้จวงหวางใส่ใจการบริหารบ้านเมือง ไม่หลงไหลเคลิบเคลิ้มไปกับเรื่องใดหรือใครจนทำให้ละเลยการบริหารบ้านเมือง แม้แต่สนมนางในฝานจีก็เป็นคนคัดเลือกเอง เพราะต้องการให้คนใกล้ชิดจวงหวางล้วนเป็นคนที่มีจรรยาและวางตัวได้ดี ไม่ยั่วยวนฉู่จวงหวางให้ลุ่มหลงมัวเมา (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้)

    มีหลายเหตุการณ์เกี่ยวกับการเตือนสติของฝานจีได้รับการบันทึกไว้และเล่ากันต่อมา แต่ ‘ผลงานสำคัญ’ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอัครมหาเสนาบดีอวี๋ชิวจื่อ เขาเป็นขุนนางที่มีฝีมือและจงรักภักดี เป็นที่เคารพยกย่องและมีอิทธิพลมากในราชสำนัก... ว่ากันว่า มีอยู่ช่วงหนึ่งจวงหวางโปรดปรานอวี๋ชิวจื่อมากจนเสวนาด้วยจนดึกดื่นทุกวัน อยู่มาวันหนึ่งฝานจีเห็นจวงหวางกลับดึกมากจึงถามไถ่สาเหตุ จวงหวางตอบว่าอวี๋ซิวจื่อคนนี้มิเพียงฉลาดปราดเปรื่อง หากยังจงรักภักดี จึงชอบเสวนาด้วย แต่ฝานจีกลับหัวเราะขบขันแล้วยกตัวอย่างว่า ตัวนางเองก็เป็นที่โปรดปรานของจวงหวาง แต่ยังไม่คิดจะเหนี่ยวรั้งจวงหวางไว้กับตนเพียงผู้เดียว หากแต่ยังช่วยสรรหาหญิงที่งามพร้อมจรรยามาช่วยดูแลปรนนิบัติ อวี๋ซิวจื่อผู้นี้แม้ฉลาดปราดเปรื่อง แต่สิบปีที่ผ่านมาไม่เปิดโอกาสให้คนดีมีฝีมือนอกแวดวงของเขาเข้ามารับราชการ เสนอชื่อแต่เพียงคนใกล้ชิดและลูกศิษย์ให้เจริญก้าวหน้าไม่ลงโทษหนักแม้ทำผิด จะเรียกว่าจงรักภักดีทำเพื่อคุณประโยชน์ของประเทศได้อย่างไร?

    เป็นเรื่องเล่าต่อมาอีกว่า วันรุ่งขึ้นจวงหวางเล่าให้อวี๋ซิวจื่อฟังถึงคำพูดของฝานจี อวี๋ซิวจื่อได้ยินก็ฉุกใจคิดคล้อยตาม รู้สึกละอายใจจนเก็บตัวเงียบหลายวัน หลังจากนั้นเขาสรรหาและคัดเลือกคนดีมีฝีมือใหม่ๆ เข้าราชสำนัก สุดท้ายค้นพบและเสนอชื่อซุนซูเอ้าให้มารับหน้าที่อัครมหาเสนาบดีแทนตน จากนั้นก็ขอเกษียณจากราชการ

    เหตุการณ์นี้อาจเรียกได้ว่าเป็นจุดสำคัญของการเปลี่ยนโฉมแคว้นฉู่ ซุนซูเอ้าผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นหนึ่งในนักการเมืองและอัครมหาเสนาบดีที่เก่งกาจที่สุดในยุคสมัยนั้น เขาวางตนสมถะ ชี้นำให้จวงหวางยึดถือความสุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง ให้คำปรึกษาที่ดีทั้งด้านเศรษฐกิจการเมืองและการทหาร กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้แคว้นฉู่เจริญยิ่งใหญ่จนกลายเป็นหนึ่งในห้าแคว้นที่เข้มแข็งที่สุดในสมัยนั้น

    จึงเป็นที่มาของวลีที่ว่า “ความยิ่งใหญ่ของฉู่จวงหวาง คือผลงานของฝานจี”

    เหตุการณ์ที่เล่าถึงในภาพกงซวิ่นถูนี้ เป็นการกล่าวถึงสมัยที่ฉู่จวงหวางขึ้นครองราชย์แคว้นฉู่ใหม่ๆ หลงรักการล่าสัตว์จนละเลยกิจการบ้านเมือง ฝานจีทั้งเตือนทั้งหว่านล้อมให้รามือหันมาดูแลบ้านเมืองเท่าไหร่ก็ไม่ใส่ใจ สุดท้ายนางจึงงดกินเนื้อสัตว์เป็นการประท้วงจนจวงหวางได้คิด เลิกเห็นการล่าสัตว์เป็นเรื่องบันเทิงและหันกลับมาให้เวลากับการบริหารบ้านเมือง

    ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘อี๋เจาซูเจิ้น’ (仪昭淑慎) แปลได้ประมาณว่า โอบอ้อมอารีมีสติ รักษาไว้ซึ่งจรรยาและพิธีการอันดีงาม Storyฯ เหมือนผ่านตาว่าวรรคนี้มีการพูดถึงและอธิบายไว้ในละครเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> ด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/40578846
    https://kknews.cc/zh-hk/news/m6lqj5g.html#google_vignette
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/列女传/869659
    http://www.guoxue.com/?people=fanji
    https://baike.baidu.com/item/樊姬/10584406
    http://dzrb.dzng.com/articleContent/17_1032125.html
    https://hk.epochtimes.com/news/2018-05-29/28583343
    https://baike.baidu.com/item/孙叔敖/669927

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ฝานจี #ฉู่จวงหวาง #ชุนชิวอู่ป้า #ฝานจีเจี้ยนเลี่ย #หนีว์สื่อเจิน #เลี่ยหนี่ว์จ้วน #หลี่เซี่ยง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    กลับมาคุยกันต่อถึงภาพที่ 9 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี ภาพที่เราจะคุยกันในวันนี้มีชื่อว่า ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ (樊姬谏猎 / ฝานจีเตือนสติให้หยุดล่าสัตว์) ถูกพระราชทานไปที่พระตำหนักหย่งเหอกง ภาพจริงหน้าตาอย่างไร Storyฯ หาไม่พบเพราะมันสูญหายไปแล้ว ภาพที่นำมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกัน แต่มีชื่อเรียกว่า ‘ฝานจีก่านจวง’ (ฝานจีดลใจจวงหวาง) ซึ่งเป็นตอนหนึ่งของภาพม้วนยาว ‘หนีว์สื่อเจิน’ (女史箴图 / ข้าราชสำนักหญิงเตือนสติ) ผลงานของกู้ข่ายจือ ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงฉบับคัดลอกที่มี 9 ตอนจากเดิม 12 ตอน Storyฯ เคยกล่าวถึงภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ นี้มาบ้างแล้วในบทความก่อนๆ เกี่ยวกับกงซวิ่นถู แต่ไม่ได้เล่าว่า ภาพทั้ง 12 ตอนของ ‘หนีว์สื่อเจิน’ นี้วาดขึ้นตามเนื้อหาจากบันทึก ‘เลี่ยหนี่ว์จ้วน’ (列女传 / บันทึกเรื่องราวสตรีตัวอย่าง) ที่จัดทำขึ้นในสมัยฮั่นตะวันตกโดยหลี่เซี่ยง แบ่งเป็น 7 หมวดรวมเหตุการณ์ที่ถูกยกมาเป็นตัวอย่างของจรรยาที่สตรีพึงมี จัดเป็นงานวรรณกรรมจำพวก ‘เหวินเหยียนเหวิน’ หรืองานวรรณกรรมภาษาโบราณ ปัจจุบันเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้ชนรุ่นหลังเข้าใจมากขึ้นถึงมุมมองของสังคมในสมัยนั้น ‘ฝานจี’ ที่กล่าวถึงในภาพ ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ นี้ก็เป็นพระธิดาของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นฝานและเป็นพระภรรยาของฉู่จวงหวาง (จวงอ๋อง) กษัตริย์แห่งแคว้นฉู่ในสมัยชุนชิว (ประมาณ 613-691 ปีก่อนคริสตกาล) จวงหวางแห่งแคว้นฉู่นี้ต่อมาถูกยกย่องเป็นหนึ่งในห้าของผู้ครองแคว้นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุคสมัยชุนชิว หรือที่เรียกว่า ‘ชุนชิวอู่ป้า’ (霸 /ป้า แปลได้ประมาณว่า เจ้าผู้ครองโลก) หลี่เซี่ยงเคยเขียนถึงจวงหวางไว้ว่า “ความยิ่งใหญ่ของฉู่จวงหวาง คือผลงานของฝานจี” ฝานจีไม่ได้มีความสามารถพิเศษอะไรที่จะช่วยจวงหวางยึดครองอาณาจักร ที่นางได้รับการยกย่องอย่างนี้เป็นเพราะนางคอยเตือนสติให้จวงหวางใส่ใจการบริหารบ้านเมือง ไม่หลงไหลเคลิบเคลิ้มไปกับเรื่องใดหรือใครจนทำให้ละเลยการบริหารบ้านเมือง แม้แต่สนมนางในฝานจีก็เป็นคนคัดเลือกเอง เพราะต้องการให้คนใกล้ชิดจวงหวางล้วนเป็นคนที่มีจรรยาและวางตัวได้ดี ไม่ยั่วยวนฉู่จวงหวางให้ลุ่มหลงมัวเมา (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) มีหลายเหตุการณ์เกี่ยวกับการเตือนสติของฝานจีได้รับการบันทึกไว้และเล่ากันต่อมา แต่ ‘ผลงานสำคัญ’ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอัครมหาเสนาบดีอวี๋ชิวจื่อ เขาเป็นขุนนางที่มีฝีมือและจงรักภักดี เป็นที่เคารพยกย่องและมีอิทธิพลมากในราชสำนัก... ว่ากันว่า มีอยู่ช่วงหนึ่งจวงหวางโปรดปรานอวี๋ชิวจื่อมากจนเสวนาด้วยจนดึกดื่นทุกวัน อยู่มาวันหนึ่งฝานจีเห็นจวงหวางกลับดึกมากจึงถามไถ่สาเหตุ จวงหวางตอบว่าอวี๋ซิวจื่อคนนี้มิเพียงฉลาดปราดเปรื่อง หากยังจงรักภักดี จึงชอบเสวนาด้วย แต่ฝานจีกลับหัวเราะขบขันแล้วยกตัวอย่างว่า ตัวนางเองก็เป็นที่โปรดปรานของจวงหวาง แต่ยังไม่คิดจะเหนี่ยวรั้งจวงหวางไว้กับตนเพียงผู้เดียว หากแต่ยังช่วยสรรหาหญิงที่งามพร้อมจรรยามาช่วยดูแลปรนนิบัติ อวี๋ซิวจื่อผู้นี้แม้ฉลาดปราดเปรื่อง แต่สิบปีที่ผ่านมาไม่เปิดโอกาสให้คนดีมีฝีมือนอกแวดวงของเขาเข้ามารับราชการ เสนอชื่อแต่เพียงคนใกล้ชิดและลูกศิษย์ให้เจริญก้าวหน้าไม่ลงโทษหนักแม้ทำผิด จะเรียกว่าจงรักภักดีทำเพื่อคุณประโยชน์ของประเทศได้อย่างไร? เป็นเรื่องเล่าต่อมาอีกว่า วันรุ่งขึ้นจวงหวางเล่าให้อวี๋ซิวจื่อฟังถึงคำพูดของฝานจี อวี๋ซิวจื่อได้ยินก็ฉุกใจคิดคล้อยตาม รู้สึกละอายใจจนเก็บตัวเงียบหลายวัน หลังจากนั้นเขาสรรหาและคัดเลือกคนดีมีฝีมือใหม่ๆ เข้าราชสำนัก สุดท้ายค้นพบและเสนอชื่อซุนซูเอ้าให้มารับหน้าที่อัครมหาเสนาบดีแทนตน จากนั้นก็ขอเกษียณจากราชการ เหตุการณ์นี้อาจเรียกได้ว่าเป็นจุดสำคัญของการเปลี่ยนโฉมแคว้นฉู่ ซุนซูเอ้าผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นหนึ่งในนักการเมืองและอัครมหาเสนาบดีที่เก่งกาจที่สุดในยุคสมัยนั้น เขาวางตนสมถะ ชี้นำให้จวงหวางยึดถือความสุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง ให้คำปรึกษาที่ดีทั้งด้านเศรษฐกิจการเมืองและการทหาร กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้แคว้นฉู่เจริญยิ่งใหญ่จนกลายเป็นหนึ่งในห้าแคว้นที่เข้มแข็งที่สุดในสมัยนั้น จึงเป็นที่มาของวลีที่ว่า “ความยิ่งใหญ่ของฉู่จวงหวาง คือผลงานของฝานจี” เหตุการณ์ที่เล่าถึงในภาพกงซวิ่นถูนี้ เป็นการกล่าวถึงสมัยที่ฉู่จวงหวางขึ้นครองราชย์แคว้นฉู่ใหม่ๆ หลงรักการล่าสัตว์จนละเลยกิจการบ้านเมือง ฝานจีทั้งเตือนทั้งหว่านล้อมให้รามือหันมาดูแลบ้านเมืองเท่าไหร่ก็ไม่ใส่ใจ สุดท้ายนางจึงงดกินเนื้อสัตว์เป็นการประท้วงจนจวงหวางได้คิด เลิกเห็นการล่าสัตว์เป็นเรื่องบันเทิงและหันกลับมาให้เวลากับการบริหารบ้านเมือง ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘อี๋เจาซูเจิ้น’ (仪昭淑慎) แปลได้ประมาณว่า โอบอ้อมอารีมีสติ รักษาไว้ซึ่งจรรยาและพิธีการอันดีงาม Storyฯ เหมือนผ่านตาว่าวรรคนี้มีการพูดถึงและอธิบายไว้ในละครเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> ด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/40578846 https://kknews.cc/zh-hk/news/m6lqj5g.html#google_vignette Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/列女传/869659 http://www.guoxue.com/?people=fanji https://baike.baidu.com/item/樊姬/10584406 http://dzrb.dzng.com/articleContent/17_1032125.html https://hk.epochtimes.com/news/2018-05-29/28583343 https://baike.baidu.com/item/孙叔敖/669927 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ฝานจี #ฉู่จวงหวาง #ชุนชิวอู่ป้า #ฝานจีเจี้ยนเลี่ย #หนีว์สื่อเจิน #เลี่ยหนี่ว์จ้วน #หลี่เซี่ยง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 Comments 0 Shares 664 Views 0 Reviews
  • มาถึงรูปที่ 8 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี วันนี้เราคุยกันถึงภาพที่แขวนในพระตำหนักเหยียนสี่กง

    ในละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่พระทับของลิ่งเฟย (เว่ยอิงหลัว) ซึ่งก็คือฮองเฮาเซี่ยวอี๋ฉุน ฮองเฮาองค์ที่สามของเฉียนหลงฮ่องเต้ แต่... ในปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6 ซึ่งเป็นปีที่จัดทำกงซวิ่นถูกขึ้นนั้น ในละครเว่ยอิงหลัวเพิ่งเข้าวังเป็นนางกำนัลยังไม่ได้เป็นสนม (ในประวัติศาสตร์จริงเชื่อว่านางเข้าถวายตัวเป็นนางกำนัลในช่วงรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6-9 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหรินในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 10)

    Storyฯ หาไม่พบว่าในปีที่จัดทำกงซวิ่นถูนั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่ประทับของพระองค์ใด แต่ภาพที่ถูกพระราชทานมายังพระตำหนักนี้คือภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) แต่ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกันจากสมัยองค์คังซี เป็นผลงานของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจิน มีชื่อว่า ‘จิ้งย่วนจ้งกู่’ (禁苑种谷/ เพาะเมล็ดพืชในพระราชวัง)

    บุคคลที่ถูกกล่าวถึงในภาพก็คือเฉาฮองเฮาในจักรพรรดิซ่งเหรินจง (จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ซ่ง) เพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับเรื่องราวของเฉาฮองเฮาจากละครเรื่อง <วังเดียวดาย> วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับสตรีผู้ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในฮองเฮาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีนคนนี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้)

    เฉาฮองเฮา (ค.ศ. 1016-1079) นามเดิมในละคร <วังเดียวดาย> คือเฉาตานซู แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่พบว่านี่ใช่นามเดิมที่ถูกต้องหรือไม่ ทราบแต่ว่านางมาจากตระกูลเรืองอำนาจ เป็นบุตรีของเฉาฉี่ซึ่งมีตำแหน่งเป็นขุนนางระดับสูงในกรมราชสำนักและเป็นหลานปู่ของแม่ทัพเฉาปินซึ่งเป็นหนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ซ่ง

    ซ่งเหรินจงเดิมทีมีฮองเฮาอยู่แล้วคือกัวฮองเฮา แต่ภายหลังจากหลิวเอ๋อไทเฮาสิ้นชีพลง ซ่งเหรินจงสั่งปลดกัวฮองเฮาด้วยข้ออ้างว่านางไม่สามารถมีบุตรสืบสกุลให้ได้ เหล่าขุนนางจึงเสนอชื่อธิดาสกุลเฉาวัยสิบแปดปีผู้นี้เป็นฮองเฮา ว่ากันว่าซ่งเหรินจงไม่ชอบนาง แต่นางกลับเป็นที่ถูกใจของฮุ่ยหยางไทเฮา เพราะนางไม่สวยเย้ายวน ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ฮ่องเต้มัวเมาจนละเลยหน้าที่การงาน สุดท้ายนางได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮาในปีค.ศ. 1034

    ในบันทึกประวัติศาสตร์ซ่ง (宋史) จารึกถึงนางไว้ว่าเป็นคนมีเมตตาโอบอ้อมอารี ให้ความสำคัญกับการเกษตร มักปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหมในวังเพื่อพัฒนาการเกษตร

    เฉาฮองเฮาถูกยกย่องว่าวางตนได้ดีเยี่ยม และนางระมัดระวังไม่ก้าวก่ายงานราชการ ไม่เคยพบปะกับคนในตระกูลเฉาตามลำพังให้เป็นที่สงสัยหรือเปิดโอกาสให้เป็นครหาได้ว่าตระกูลเฉาใช้อำนาจในทางที่ผิด แม้แต่ญาติของนางบางคนยังถึงขนาดขอลดตำแหน่งราชการลงหรือขอลาออกจากตำแหน่งสำคัญภายหลังจากที่นางได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮองเฮาแล้ว และตลอดเวลาที่นางดำรงตำแหน่งนี้ ตระกูลเฉาพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับตำแหน่งขุนนางระดับสูงใดๆ นอกจากนี้ นางยังวางตัวอย่างสงบในวังหลัง ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับใคร เคร่งครัดเรื่องกฎเกณฑ์ในวัง ฉลาดใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง จึงเป็นที่ยำเกรงและเคารพจากทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน

    ซ่งเหรินจงไม่ได้รักและโปรดปรานนาง และมีหลายครั้งที่คิดจะปลดนางเพื่อยกกุ้ยเฟยคนโปรดขึ้นแทน แต่เพราะนางวางตัวได้ไร้ที่ติ อีกทั้งปกครองวังหลังได้ดี สุดท้ายซ่งเหรินจงจึงไม่ได้ปลดนางและยังต้องให้เกียรตินางเป็นอย่างดีอีกด้วย

    ต่อมาในรัชสมัยของจักรพรรดิซ่งอิงจง ซ่งอิงจงป่วยหนักภายหลังจากขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน นางในฐานะไทเฮาถูกเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนและออกว่าราชการหลังม่าน แต่มักหารือด้วยกับเหล่าขุนนาง ไม่ใช้อำนาจโดยพละการ จนงานราชการผ่านไปได้ด้วยดี หนึ่งปีให้หลังองค์ซ่งอิงจงหายป่วย เฉาไทเฮาก็คืนอำนาจบริหารบ้านเมืองให้ฮ่องเต้ บ้างว่านางเสนอคืนอำนาจเอง บ้างก็ว่านางถูกบีบโดยเหล่าขุนนาง ในรัชสมัยของซ่งอิงจงสี่ปีนี้ แม้ซ่งอิงจงมีความขัดแย้งกับนางมาโดยตลอดแต่ก็ไม่ได้เกิดเรื่องใหญ่จนทำให้สถานะของนางคลอนแคลนหรือความยำเกรงในตัวนางหายไป

    ในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง นางเป็นไทฮองไทเฮาก็ได้รับความเคารพรักอย่างมากจากซ่งเสินจง นางยังคงวางตัวอย่างระมัดระวังเช่นเดิม แต่ในรัชสมัยของซ่งอิงจงนี้ มีเรื่องราวที่นางมีบทบาทต่อชีวิตของคนสองคนในราชสำนักที่เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของจีน

    คนแรกก็คือ อัครมหาเสนาบดีหวางอันสือ เขาคือนักปฏิรูปด้านเศรษฐกิจและการปกครอง แต่แนวทางปฏิรูปของเขาทำไปได้ประมาณ 3-4 ปีก็ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม ว่ากันว่าเฉาไทฮองไทเฮาก็เป็นหนึ่งในฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง แต่นางก็ชื่นชมในความสามารถของหวางอันสือ เมื่อสถานการณ์ราชสำนักตึงเครียดถึงขีดสุด ซ่งเสินจงเองก็หวั่นไหวกับความคิดที่จะล้มเลิกแผนปฏิรูปนี้ นางได้แนะนำซ่งเสินจงว่า หวางอันสือมีศัตรูในราชสำนักมากเกินไป หากต้องการรักษาชีวิตคนผู้นี้ไว้ ควรให้ออกจากราชการไปหลบพายุทางการเมืองสักพักแล้วค่อยกลับมาใหม่ แต่สุดท้ายหวางอันสือเลือกที่จะไม่มารับราชการอีกเลย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องที่เขาแต่งบทกกวี ‘เหมยฮวา’ มาแล้ว อ่านย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/672174234910872)

    อีกบุคคลหนึ่งคือซูซึ หรือซูตงปอ (กวีเอกสมัยนั้น) เขาถูกจำคุกเนื่องจากเขียนบทประพันธ์พาดพิงวิจารณ์เรื่องปฏิรูปข้างต้น ว่ากันว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ชีวิตตกต่ำที่สุดของซูตงปอ ในช่วงเวลานั้น เฉาไทฮองไทเฮาป่วยหนัก ก่อนตายนางได้บอกกับซ่งเสินจงว่า ซูซึผู้นี้ เมื่อครั้งที่สอบราชบัณฑิตในรัชสมัยของซ่งเหรินจง ซ่งเหรินจงเคยบอกว่าเขาผู้นี้มีความสามารถพอที่จะเป็นถึงอัครเสนาบดีในอนาคตได้ และนางไม่อยากให้เขาต้องหมดอนาคตอยู่ในคุกด้วยเรื่องการเมือง สุดท้ายซูตงปอได้รับการปล่อยออกจากคุกและถูกลดตำแหน่งและให้ไปประจำที่เมืองหางโจว เรียกได้ว่า หากไม่ใช่เพราะนาง ชาวจีนอาจไม่มีโอกาสได้เห็นคุณงามความดีของขุนนางที่ชื่อซูซึที่หางโจว หรือผลงานวรรณกรรมอันมีค่าของซูตงปอต่อไปอีกเลย

    เมื่อนางสิ้นชีพลงด้วยวัยหกสิบสี่ปี องค์ซ่งเสินจงเศร้าโศกเป็นอย่างมาก เขาปรับระดับคนจากตระกูลเฉาขึ้นเป็นขุนนางระดับสูงกว่าสี่สิบคน และแต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นฉือเซิ่งกวงเซี่ยนฮองเฮา เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของนาง

    ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ นี้บรรยายถึงกิจกรรมประจำวันของเฉาฮองเฮาตั้งแต่เมื่อครั้งเข้าวังใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเพาะปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหม และภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึงความขยันหมั่นเพียร

    ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘เซิ่นจ้านเวยอิน’ (慎赞徽音) แปลได้ประมาณว่า ความระมัดระวังตนนำมาซึ่งความเคารพยกย่อง เป็นประโยคที่สะท้อนได้ดีถึงชีวิตของสตรีที่อดทนและเฉลียวฉลาดคนนี้... เฉาฮองเฮาไม่ได้รับความรักความโปรดปรานจากสามี ไม่มีลูก และไม่เคยใช้ตระกูลเฉาเป็นฐานอำนาจ แต่ตลอดชีวิตในวังเกือบห้าสิบปีผ่านสามรัชสมัย นางกลับได้รับความเคารพยำเกรงด้วยคุณงามความดีและการวางตัวของนางเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=114318e9a8c1c9eee79397a9
    https://www.sohu.com/a/394407332_100120829
    https://baike.baidu.com/item/清焦秉贞绘禁苑种谷图/386137
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    http://www.guoxue.com/?p=42472
    https://www.duguoxue.com/ershisishi/12686.html
    https://www.soundofhope.org/post/472643?lang=b5
    https://www.silpa-mag.com/history/article_23090#google_vignette

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เฉาฮองเฮา #ซ่งเหรินจง #วังเดียวดาย #หวางอันสือ #ซูตงปอ #เฉาโฮ่วจ้งหนง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    มาถึงรูปที่ 8 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี วันนี้เราคุยกันถึงภาพที่แขวนในพระตำหนักเหยียนสี่กง ในละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่พระทับของลิ่งเฟย (เว่ยอิงหลัว) ซึ่งก็คือฮองเฮาเซี่ยวอี๋ฉุน ฮองเฮาองค์ที่สามของเฉียนหลงฮ่องเต้ แต่... ในปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6 ซึ่งเป็นปีที่จัดทำกงซวิ่นถูกขึ้นนั้น ในละครเว่ยอิงหลัวเพิ่งเข้าวังเป็นนางกำนัลยังไม่ได้เป็นสนม (ในประวัติศาสตร์จริงเชื่อว่านางเข้าถวายตัวเป็นนางกำนัลในช่วงรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6-9 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหรินในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 10) Storyฯ หาไม่พบว่าในปีที่จัดทำกงซวิ่นถูนั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่ประทับของพระองค์ใด แต่ภาพที่ถูกพระราชทานมายังพระตำหนักนี้คือภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) แต่ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกันจากสมัยองค์คังซี เป็นผลงานของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจิน มีชื่อว่า ‘จิ้งย่วนจ้งกู่’ (禁苑种谷/ เพาะเมล็ดพืชในพระราชวัง) บุคคลที่ถูกกล่าวถึงในภาพก็คือเฉาฮองเฮาในจักรพรรดิซ่งเหรินจง (จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ซ่ง) เพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับเรื่องราวของเฉาฮองเฮาจากละครเรื่อง <วังเดียวดาย> วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับสตรีผู้ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในฮองเฮาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีนคนนี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) เฉาฮองเฮา (ค.ศ. 1016-1079) นามเดิมในละคร <วังเดียวดาย> คือเฉาตานซู แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่พบว่านี่ใช่นามเดิมที่ถูกต้องหรือไม่ ทราบแต่ว่านางมาจากตระกูลเรืองอำนาจ เป็นบุตรีของเฉาฉี่ซึ่งมีตำแหน่งเป็นขุนนางระดับสูงในกรมราชสำนักและเป็นหลานปู่ของแม่ทัพเฉาปินซึ่งเป็นหนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ซ่ง ซ่งเหรินจงเดิมทีมีฮองเฮาอยู่แล้วคือกัวฮองเฮา แต่ภายหลังจากหลิวเอ๋อไทเฮาสิ้นชีพลง ซ่งเหรินจงสั่งปลดกัวฮองเฮาด้วยข้ออ้างว่านางไม่สามารถมีบุตรสืบสกุลให้ได้ เหล่าขุนนางจึงเสนอชื่อธิดาสกุลเฉาวัยสิบแปดปีผู้นี้เป็นฮองเฮา ว่ากันว่าซ่งเหรินจงไม่ชอบนาง แต่นางกลับเป็นที่ถูกใจของฮุ่ยหยางไทเฮา เพราะนางไม่สวยเย้ายวน ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ฮ่องเต้มัวเมาจนละเลยหน้าที่การงาน สุดท้ายนางได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮาในปีค.ศ. 1034 ในบันทึกประวัติศาสตร์ซ่ง (宋史) จารึกถึงนางไว้ว่าเป็นคนมีเมตตาโอบอ้อมอารี ให้ความสำคัญกับการเกษตร มักปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหมในวังเพื่อพัฒนาการเกษตร เฉาฮองเฮาถูกยกย่องว่าวางตนได้ดีเยี่ยม และนางระมัดระวังไม่ก้าวก่ายงานราชการ ไม่เคยพบปะกับคนในตระกูลเฉาตามลำพังให้เป็นที่สงสัยหรือเปิดโอกาสให้เป็นครหาได้ว่าตระกูลเฉาใช้อำนาจในทางที่ผิด แม้แต่ญาติของนางบางคนยังถึงขนาดขอลดตำแหน่งราชการลงหรือขอลาออกจากตำแหน่งสำคัญภายหลังจากที่นางได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮองเฮาแล้ว และตลอดเวลาที่นางดำรงตำแหน่งนี้ ตระกูลเฉาพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับตำแหน่งขุนนางระดับสูงใดๆ นอกจากนี้ นางยังวางตัวอย่างสงบในวังหลัง ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับใคร เคร่งครัดเรื่องกฎเกณฑ์ในวัง ฉลาดใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง จึงเป็นที่ยำเกรงและเคารพจากทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน ซ่งเหรินจงไม่ได้รักและโปรดปรานนาง และมีหลายครั้งที่คิดจะปลดนางเพื่อยกกุ้ยเฟยคนโปรดขึ้นแทน แต่เพราะนางวางตัวได้ไร้ที่ติ อีกทั้งปกครองวังหลังได้ดี สุดท้ายซ่งเหรินจงจึงไม่ได้ปลดนางและยังต้องให้เกียรตินางเป็นอย่างดีอีกด้วย ต่อมาในรัชสมัยของจักรพรรดิซ่งอิงจง ซ่งอิงจงป่วยหนักภายหลังจากขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน นางในฐานะไทเฮาถูกเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนและออกว่าราชการหลังม่าน แต่มักหารือด้วยกับเหล่าขุนนาง ไม่ใช้อำนาจโดยพละการ จนงานราชการผ่านไปได้ด้วยดี หนึ่งปีให้หลังองค์ซ่งอิงจงหายป่วย เฉาไทเฮาก็คืนอำนาจบริหารบ้านเมืองให้ฮ่องเต้ บ้างว่านางเสนอคืนอำนาจเอง บ้างก็ว่านางถูกบีบโดยเหล่าขุนนาง ในรัชสมัยของซ่งอิงจงสี่ปีนี้ แม้ซ่งอิงจงมีความขัดแย้งกับนางมาโดยตลอดแต่ก็ไม่ได้เกิดเรื่องใหญ่จนทำให้สถานะของนางคลอนแคลนหรือความยำเกรงในตัวนางหายไป ในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง นางเป็นไทฮองไทเฮาก็ได้รับความเคารพรักอย่างมากจากซ่งเสินจง นางยังคงวางตัวอย่างระมัดระวังเช่นเดิม แต่ในรัชสมัยของซ่งอิงจงนี้ มีเรื่องราวที่นางมีบทบาทต่อชีวิตของคนสองคนในราชสำนักที่เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของจีน คนแรกก็คือ อัครมหาเสนาบดีหวางอันสือ เขาคือนักปฏิรูปด้านเศรษฐกิจและการปกครอง แต่แนวทางปฏิรูปของเขาทำไปได้ประมาณ 3-4 ปีก็ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม ว่ากันว่าเฉาไทฮองไทเฮาก็เป็นหนึ่งในฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง แต่นางก็ชื่นชมในความสามารถของหวางอันสือ เมื่อสถานการณ์ราชสำนักตึงเครียดถึงขีดสุด ซ่งเสินจงเองก็หวั่นไหวกับความคิดที่จะล้มเลิกแผนปฏิรูปนี้ นางได้แนะนำซ่งเสินจงว่า หวางอันสือมีศัตรูในราชสำนักมากเกินไป หากต้องการรักษาชีวิตคนผู้นี้ไว้ ควรให้ออกจากราชการไปหลบพายุทางการเมืองสักพักแล้วค่อยกลับมาใหม่ แต่สุดท้ายหวางอันสือเลือกที่จะไม่มารับราชการอีกเลย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องที่เขาแต่งบทกกวี ‘เหมยฮวา’ มาแล้ว อ่านย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/672174234910872) อีกบุคคลหนึ่งคือซูซึ หรือซูตงปอ (กวีเอกสมัยนั้น) เขาถูกจำคุกเนื่องจากเขียนบทประพันธ์พาดพิงวิจารณ์เรื่องปฏิรูปข้างต้น ว่ากันว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ชีวิตตกต่ำที่สุดของซูตงปอ ในช่วงเวลานั้น เฉาไทฮองไทเฮาป่วยหนัก ก่อนตายนางได้บอกกับซ่งเสินจงว่า ซูซึผู้นี้ เมื่อครั้งที่สอบราชบัณฑิตในรัชสมัยของซ่งเหรินจง ซ่งเหรินจงเคยบอกว่าเขาผู้นี้มีความสามารถพอที่จะเป็นถึงอัครเสนาบดีในอนาคตได้ และนางไม่อยากให้เขาต้องหมดอนาคตอยู่ในคุกด้วยเรื่องการเมือง สุดท้ายซูตงปอได้รับการปล่อยออกจากคุกและถูกลดตำแหน่งและให้ไปประจำที่เมืองหางโจว เรียกได้ว่า หากไม่ใช่เพราะนาง ชาวจีนอาจไม่มีโอกาสได้เห็นคุณงามความดีของขุนนางที่ชื่อซูซึที่หางโจว หรือผลงานวรรณกรรมอันมีค่าของซูตงปอต่อไปอีกเลย เมื่อนางสิ้นชีพลงด้วยวัยหกสิบสี่ปี องค์ซ่งเสินจงเศร้าโศกเป็นอย่างมาก เขาปรับระดับคนจากตระกูลเฉาขึ้นเป็นขุนนางระดับสูงกว่าสี่สิบคน และแต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นฉือเซิ่งกวงเซี่ยนฮองเฮา เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของนาง ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ นี้บรรยายถึงกิจกรรมประจำวันของเฉาฮองเฮาตั้งแต่เมื่อครั้งเข้าวังใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเพาะปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหม และภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึงความขยันหมั่นเพียร ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘เซิ่นจ้านเวยอิน’ (慎赞徽音) แปลได้ประมาณว่า ความระมัดระวังตนนำมาซึ่งความเคารพยกย่อง เป็นประโยคที่สะท้อนได้ดีถึงชีวิตของสตรีที่อดทนและเฉลียวฉลาดคนนี้... เฉาฮองเฮาไม่ได้รับความรักความโปรดปรานจากสามี ไม่มีลูก และไม่เคยใช้ตระกูลเฉาเป็นฐานอำนาจ แต่ตลอดชีวิตในวังเกือบห้าสิบปีผ่านสามรัชสมัย นางกลับได้รับความเคารพยำเกรงด้วยคุณงามความดีและการวางตัวของนางเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=114318e9a8c1c9eee79397a9 https://www.sohu.com/a/394407332_100120829 https://baike.baidu.com/item/清焦秉贞绘禁苑种谷图/386137 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html http://www.guoxue.com/?p=42472 https://www.duguoxue.com/ershisishi/12686.html https://www.soundofhope.org/post/472643?lang=b5 https://www.silpa-mag.com/history/article_23090#google_vignette #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เฉาฮองเฮา #ซ่งเหรินจง #วังเดียวดาย #หวางอันสือ #ซูตงปอ #เฉาโฮ่วจ้งหนง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 Comments 0 Shares 750 Views 0 Reviews
  • ผ่านมาหกสัปดาห์แล้ว วันนี้คุยกันถึงภาพที่ 7 จาก 12 ภาพกงซวิ่นถู (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี

    ภาพที่จะคุยกันในวันนี้คือ ภาพ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้านถู’ หรือ ‘สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร’ <许后奉案图> เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปที่พระตำหนักจงชุ่ยกง ซึ่งในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นที่ประทับของฉุนเฟย ภาพนี้เป็นฝีมือของช่างวาดหลวงร่วมกันจัดทำถึงหกคนนำโดยจินคุน (หมายเหตุ จินคุนเข้ารับราชการเป็นช่างวาดหลวงมาตั้งแต่สมัยองค์คังซี คือคนที่วาดภาพ ‘เฝิงเยวี่ยนขวางหมี’ ถวายองค์คังซีที่ Storyฯ กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นช่างวาดหลวงถึงสามรัชสมัย)

    สวี่ฮองเฮาที่กล่าวถึงในภาพนี้ก็คือ สวี่ผิงจวิน ฮองเฮาในองค์ฮั่นเซวียนตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ครองราชย์ปี 74-48 ก่อนคริสตกาล เป็นพระราชบิดาของฮั่นหยวนตี้ที่กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว) เรื่องราวของพระนางและองค์ฮั่นเซวียนตี้และเกมการเมืองในสมัยนั้นถูกจารึกไว้ค่อนข้างละเอียดใน ‘ฮั่นซู’ (汉书) ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกที่เรียบเรียงและเขียนโดยปันกู้และปันเจาสองพี่น้องในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

    ความรักของสวี่ผิงจวินและองค์ฮั่นเซวียนตี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) เรียกได้ว่ามีจุดกำเนิดที่ ‘เยี่ยถิง’ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในวังหลัง มีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ของเหล่าสนมและนางกำนัล

    ฮั่นเซวียนตี้นั้นตอนเด็กมีนามเดิมว่าหลิวปิ้งอี่เพราะเป็นคนขี้โรค (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นหลิวสวิน) เขาเป็นหลานปู่ทวดของฮั่นอู่ตี้ก็จริง แต่เนื่องจากปู่ของเขาซึ่งเป็นองค์ชายรัชทายาทถูกกล่าวหาว่าใช้ไสยศาสตร์กับตุ๊กตาไม้สาปให้องค์ฮั่นอู่ตี้ล้มป่วยลง สุดท้ายทั้งตระกูลไม่ฆ่าตัวตายก็โดนประหารจนแทบไม่เหลือใคร หลิวปิ้งอี่เวลานั้นมีอายุไม่ถึงขวบถูกจับเข้าคุกพร้อมกับพ่อ โตขึ้นในคุก แต่ยังโชคดีมีคนคอยดูแล จวบจนอายุเจ็ดขวบจึงถูกได้รับการบันทึกชื่อเข้าในพระราชพงศาวลีเป็นลูกหลานในราชสกุลและถูกย้ายไปเลี้ยงในเยี่ยถิงภายใต้การดูแลของผู้กำกับเยี่ยถิงนามว่าจางเฮ่อ

    ส่วนพ่อของสวี่ผิงจวินนั้นเป็นขุนนาง แต่ด้วยมีความบกพร่องในหน้าที่ตอนสืบเรื่องกบฏโดยซ่างกวนเจี๋ยในสมัยฮั่นจาวตี้ (ประมาณปี 80 ก่อนคริสตกาล) จึงถูกลงโทษลดตำแหน่งและโยกไปรับหน้าที่ในเยี่ยถิง ครั้นสวี่ผิงจวินมีอายุได้สิบสี่ปีคู่หมั้นของนางเสียชีวิต จางเฮ่อได้โอกาสจึงไปสู่ขอนางให้กับหลิวปิ้งอี่ สวี่ผิงจวินและหลิวปิ้งอี่มีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนคือหลิวซึ (ซึ่งต่อมาก็คือฮั่นหยวนตี้) ชีวิตความเป็นอยู่มัธยัสถ์ แต่ก็มีความสุขไม่น้อย

    ต่อมาฮั่นจาวตี้สิ้นชีพอย่างกะทันหันโดยไร้การแต่งตั้งองค์ชายรัชทายาท ตอนนั้นตระกูลชุยเรืองอำนาจ มีชุยกวงเป็นต้าซือหม่า (ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในสมัยนั้น) ชุยกวงผลักดันให้หลิวปิ้งอี่ซึ่งมีอายุสิบแปดปีได้เข้าเฝ้าซ่างกวนไทเฮาและได้รับการอวยยศเป็นหยางอู่โหว จุดมุ่งหมายคือให้เพื่อให้ซ่างกวนไทเฮาได้เห็นถึงนิสัยใจคอและการศึกษา จนซ่างกวนไทเฮายอมรับแล้วชุยกวงจึงนำคณะขุนนางเสนอชื่อหลิวปิ่งอี้ขึ้นครองราชย์เป็นองค์ฮั่นเซวียนตี้ แต่ก็เป็นฮ่องเต้ที่ไร้อำนาจ เป็นเพียงหุ่นเชิดให้กับชุยกวง

    ในตอนนั้น สวี่ผิงจวินได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสนมลำดับเจี๋ยอวี๋ และภรรยาของชุยกวงอยากให้ลูกสาวซึ่งก็คือชุยเฉิงจวินได้เป็นฮองเฮา ฮั่นเซวียนตี้ในตอนนั้นไม่รู้ว่าจะปฏิเสธอย่างไร จึงออกพระราชโองการมาฉบับหนึ่ง ใจความว่า เขาคิดถึงกระบี่ที่เคยพกติดกายยามยากจนตกอับ แม้ว่าไม่ใช่กระบี่ที่เลอเลิศมากมาย แต่เป็นกระบี่คู่ใจที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา ฝากให้เหล่าขุนนางช่วยเสาะหากระบี่เล่มนั้นกลับมาให้ด้วย เหล่าขุนนางพอจะตีความนัยออกว่าฮั่นเซวียนตี้ไม่ต้องการทอดทิ้งคนที่เป็นคู่ทุกข์คู่ยาก จึงเข้าชื่อกันเสนอให้แต่งตั้งสวี่ผิงจวินเป็นฮองเฮา เรื่องนี้ถูกเล่าขานกันต่อมากลายเป็นสุภาษิตที่เรียกว่า ‘กู้เจี้ยนฉิงเซิน’ (故剑情深) แปลตรงตัวว่า ‘กระบี่เก่ารักล้ำลึก’ หมายถึงภรรยาที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา

    สามปีให้หลัง สวี่ฮองเฮาป่วยลงหลังเพิ่งคลอดบุตรสาว ฮูหยินชุยใช้หมอหลวงหญิงฉุนอวี๋เหยี่ยนลอบวางยาพิษสวี่ฮองเฮาจนสิ้นชีพด้วยอายุเพียงสิบเก้าปี ฮั่นเซวียนตี้แม้จะพอเดาเรื่องราวได้แต่ก็จนใจไร้อำนาจ หนึ่งปีให้หลังก็ยอมแต่งชุยเฉิงจวินเป็นฮองเฮา หลิวซึซึ่งเป็นลูกของเขาและสวี่ฮองเฮาได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์ชายรัชทายาทและเกือบถูกวางยาพิษโดยแม่ลูกสกุลชุยคู่นี้อีกเช่นกัน ฮั่นเซวียนตี้อดทนมาอีกสามปีจนชุยกวงตายลง ฮั่นเซวียนตี้จึงได้โอกาสปลดฮองเฮาและยึดอำนาจคืน จากนั้นรวบรวมหลักฐานตั้งข้อหากบฏและสั่งประหารตระกูลชุย เหลือเพียงชุยเฉิงจวินที่ถูกจองจำในตำหนักเย็น

    เรื่องราวข้างต้นถูกบันทึกไว้ในบันทึกฮั่นซู และถูกนำมาสร้างเป็นละครหลายครั้ง โดยถูกตีความว่าฮั่นเซวียนตี้รักสวี่ผิงจวินไม่รู้ลืมและแก้แค้นให้นางในภายหลัง ส่วนเรื่องราวเหตุการณ์ภาพวาด ‘สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร’ นี้ เป็นเหตุการณ์ที่สวี่ผิงจวินนำอาหารมาถวายและปรนนิบัติซ่างกวนไทเฮาในวันตรุษจีนด้วยตนเอง เป็นตัวอย่างของความอ่อนน้อมและการเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘ซูซุ่นเวินเหอ’ (淑顺温和) แปลได้ประมาณว่า อ่อนน้อมและอ่อนโยน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sgss8.net/tpdq/6126379/
    https://www.sohu.com/a/137977813_674592
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/故剑情深/3526996
    https://baike.baidu.com/item/许平君/10603114
    https://baike.baidu.com/item/刘询/1129265
    http://www.renwujieshao.com/lishi/hanchao/xupingjun.html

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #สวี่ผิงจวิน #ฮั่นเซวียนตี้ #สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    ผ่านมาหกสัปดาห์แล้ว วันนี้คุยกันถึงภาพที่ 7 จาก 12 ภาพกงซวิ่นถู (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี ภาพที่จะคุยกันในวันนี้คือ ภาพ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้านถู’ หรือ ‘สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร’ <许后奉案图> เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปที่พระตำหนักจงชุ่ยกง ซึ่งในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นที่ประทับของฉุนเฟย ภาพนี้เป็นฝีมือของช่างวาดหลวงร่วมกันจัดทำถึงหกคนนำโดยจินคุน (หมายเหตุ จินคุนเข้ารับราชการเป็นช่างวาดหลวงมาตั้งแต่สมัยองค์คังซี คือคนที่วาดภาพ ‘เฝิงเยวี่ยนขวางหมี’ ถวายองค์คังซีที่ Storyฯ กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นช่างวาดหลวงถึงสามรัชสมัย) สวี่ฮองเฮาที่กล่าวถึงในภาพนี้ก็คือ สวี่ผิงจวิน ฮองเฮาในองค์ฮั่นเซวียนตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ครองราชย์ปี 74-48 ก่อนคริสตกาล เป็นพระราชบิดาของฮั่นหยวนตี้ที่กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว) เรื่องราวของพระนางและองค์ฮั่นเซวียนตี้และเกมการเมืองในสมัยนั้นถูกจารึกไว้ค่อนข้างละเอียดใน ‘ฮั่นซู’ (汉书) ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกที่เรียบเรียงและเขียนโดยปันกู้และปันเจาสองพี่น้องในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ความรักของสวี่ผิงจวินและองค์ฮั่นเซวียนตี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) เรียกได้ว่ามีจุดกำเนิดที่ ‘เยี่ยถิง’ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในวังหลัง มีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ของเหล่าสนมและนางกำนัล ฮั่นเซวียนตี้นั้นตอนเด็กมีนามเดิมว่าหลิวปิ้งอี่เพราะเป็นคนขี้โรค (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นหลิวสวิน) เขาเป็นหลานปู่ทวดของฮั่นอู่ตี้ก็จริง แต่เนื่องจากปู่ของเขาซึ่งเป็นองค์ชายรัชทายาทถูกกล่าวหาว่าใช้ไสยศาสตร์กับตุ๊กตาไม้สาปให้องค์ฮั่นอู่ตี้ล้มป่วยลง สุดท้ายทั้งตระกูลไม่ฆ่าตัวตายก็โดนประหารจนแทบไม่เหลือใคร หลิวปิ้งอี่เวลานั้นมีอายุไม่ถึงขวบถูกจับเข้าคุกพร้อมกับพ่อ โตขึ้นในคุก แต่ยังโชคดีมีคนคอยดูแล จวบจนอายุเจ็ดขวบจึงถูกได้รับการบันทึกชื่อเข้าในพระราชพงศาวลีเป็นลูกหลานในราชสกุลและถูกย้ายไปเลี้ยงในเยี่ยถิงภายใต้การดูแลของผู้กำกับเยี่ยถิงนามว่าจางเฮ่อ ส่วนพ่อของสวี่ผิงจวินนั้นเป็นขุนนาง แต่ด้วยมีความบกพร่องในหน้าที่ตอนสืบเรื่องกบฏโดยซ่างกวนเจี๋ยในสมัยฮั่นจาวตี้ (ประมาณปี 80 ก่อนคริสตกาล) จึงถูกลงโทษลดตำแหน่งและโยกไปรับหน้าที่ในเยี่ยถิง ครั้นสวี่ผิงจวินมีอายุได้สิบสี่ปีคู่หมั้นของนางเสียชีวิต จางเฮ่อได้โอกาสจึงไปสู่ขอนางให้กับหลิวปิ้งอี่ สวี่ผิงจวินและหลิวปิ้งอี่มีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนคือหลิวซึ (ซึ่งต่อมาก็คือฮั่นหยวนตี้) ชีวิตความเป็นอยู่มัธยัสถ์ แต่ก็มีความสุขไม่น้อย ต่อมาฮั่นจาวตี้สิ้นชีพอย่างกะทันหันโดยไร้การแต่งตั้งองค์ชายรัชทายาท ตอนนั้นตระกูลชุยเรืองอำนาจ มีชุยกวงเป็นต้าซือหม่า (ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในสมัยนั้น) ชุยกวงผลักดันให้หลิวปิ้งอี่ซึ่งมีอายุสิบแปดปีได้เข้าเฝ้าซ่างกวนไทเฮาและได้รับการอวยยศเป็นหยางอู่โหว จุดมุ่งหมายคือให้เพื่อให้ซ่างกวนไทเฮาได้เห็นถึงนิสัยใจคอและการศึกษา จนซ่างกวนไทเฮายอมรับแล้วชุยกวงจึงนำคณะขุนนางเสนอชื่อหลิวปิ่งอี้ขึ้นครองราชย์เป็นองค์ฮั่นเซวียนตี้ แต่ก็เป็นฮ่องเต้ที่ไร้อำนาจ เป็นเพียงหุ่นเชิดให้กับชุยกวง ในตอนนั้น สวี่ผิงจวินได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสนมลำดับเจี๋ยอวี๋ และภรรยาของชุยกวงอยากให้ลูกสาวซึ่งก็คือชุยเฉิงจวินได้เป็นฮองเฮา ฮั่นเซวียนตี้ในตอนนั้นไม่รู้ว่าจะปฏิเสธอย่างไร จึงออกพระราชโองการมาฉบับหนึ่ง ใจความว่า เขาคิดถึงกระบี่ที่เคยพกติดกายยามยากจนตกอับ แม้ว่าไม่ใช่กระบี่ที่เลอเลิศมากมาย แต่เป็นกระบี่คู่ใจที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา ฝากให้เหล่าขุนนางช่วยเสาะหากระบี่เล่มนั้นกลับมาให้ด้วย เหล่าขุนนางพอจะตีความนัยออกว่าฮั่นเซวียนตี้ไม่ต้องการทอดทิ้งคนที่เป็นคู่ทุกข์คู่ยาก จึงเข้าชื่อกันเสนอให้แต่งตั้งสวี่ผิงจวินเป็นฮองเฮา เรื่องนี้ถูกเล่าขานกันต่อมากลายเป็นสุภาษิตที่เรียกว่า ‘กู้เจี้ยนฉิงเซิน’ (故剑情深) แปลตรงตัวว่า ‘กระบี่เก่ารักล้ำลึก’ หมายถึงภรรยาที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา สามปีให้หลัง สวี่ฮองเฮาป่วยลงหลังเพิ่งคลอดบุตรสาว ฮูหยินชุยใช้หมอหลวงหญิงฉุนอวี๋เหยี่ยนลอบวางยาพิษสวี่ฮองเฮาจนสิ้นชีพด้วยอายุเพียงสิบเก้าปี ฮั่นเซวียนตี้แม้จะพอเดาเรื่องราวได้แต่ก็จนใจไร้อำนาจ หนึ่งปีให้หลังก็ยอมแต่งชุยเฉิงจวินเป็นฮองเฮา หลิวซึซึ่งเป็นลูกของเขาและสวี่ฮองเฮาได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์ชายรัชทายาทและเกือบถูกวางยาพิษโดยแม่ลูกสกุลชุยคู่นี้อีกเช่นกัน ฮั่นเซวียนตี้อดทนมาอีกสามปีจนชุยกวงตายลง ฮั่นเซวียนตี้จึงได้โอกาสปลดฮองเฮาและยึดอำนาจคืน จากนั้นรวบรวมหลักฐานตั้งข้อหากบฏและสั่งประหารตระกูลชุย เหลือเพียงชุยเฉิงจวินที่ถูกจองจำในตำหนักเย็น เรื่องราวข้างต้นถูกบันทึกไว้ในบันทึกฮั่นซู และถูกนำมาสร้างเป็นละครหลายครั้ง โดยถูกตีความว่าฮั่นเซวียนตี้รักสวี่ผิงจวินไม่รู้ลืมและแก้แค้นให้นางในภายหลัง ส่วนเรื่องราวเหตุการณ์ภาพวาด ‘สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร’ นี้ เป็นเหตุการณ์ที่สวี่ผิงจวินนำอาหารมาถวายและปรนนิบัติซ่างกวนไทเฮาในวันตรุษจีนด้วยตนเอง เป็นตัวอย่างของความอ่อนน้อมและการเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘ซูซุ่นเวินเหอ’ (淑顺温和) แปลได้ประมาณว่า อ่อนน้อมและอ่อนโยน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sgss8.net/tpdq/6126379/ https://www.sohu.com/a/137977813_674592 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/故剑情深/3526996 https://baike.baidu.com/item/许平君/10603114 https://baike.baidu.com/item/刘询/1129265 http://www.renwujieshao.com/lishi/hanchao/xupingjun.html #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #สวี่ผิงจวิน #ฮั่นเซวียนตี้ #สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 Comments 0 Shares 578 Views 0 Reviews
  • วันนี้ยังคงคุยกันเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก ภาพที่จะคุยกันคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ หรือ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ (昭容评诗图) ที่แขวนอยู่ในตำหนักอี้คุนกง ซึ่ง Storyฯ ก็จำไม่ได้แล้วว่าในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นี้ อี้คุนกงเป็นที่ประทับของพระมเหสีองค์ไหน แต่ใน <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> นั้น นี่เป็นพระตำหนักของหรูอี้

    จาวหรงเป็นหนึ่งในตำแหน่งพระสนมเอก แล้วจาวหรงที่กล่าวถึงในภาพนี้คือใคร?

    นางคือซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ (ค.ศ. 664-710) ผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ปราดเปรื่องที่สุดแห่งราชวงศ์ถัง แม้มิได้เป็นขุนนางฝ่ายนอกแต่บทบาทและอิทธิพลทางการเมืองของนางมีไม่น้อย จนได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘จิงกั๋วจ่ายเซี่ยง’ (แปลตรงตัวว่า ผ้าโพกผมสตรี + อัครมหาเสนาบดี หรือหมายความว่า อัครมหาเสนาบดีหญิงนั่นเอง) นางมีผลงานด้านวรรณกรรมมากมายที่ยังสืบทอดมาจนปัจจุบัน เพิ่งมีคนโพสต์เกี่ยวกับเรื่องราวของนางไปเมื่อไม่นานมานี้ (ดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่าง) Storyฯ ก็จะพยายามเล่าให้ไม่ซ้ำกันนะคะ

    ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นหลานปู่ของซ่างกวนอี๋ กวีและอัครเสนาบดีในสมัยถังเกาจง ชีวิตของนางผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย เนื่องจากซ่างกวนอี๋และตระกูลถูกลงโทษโดยพระนางบูเช็กเทียน (สมัยยังเป็นเพียงฮองเฮา) ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ซึ่งอายุเพียงขวบกว่าก็ต้องโทษตามมารดากลายเป็นทาสหลวงรับใช้อยู่ในส่วนของวังหลังที่เรียกว่า ‘เยี่ยถิง’ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลความเป็นอยู่ของเหล่าสนมและนางกำนัล แต่ภายใต้การดูแลสั่งสอนของมารดา ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์อ่านหนังสือนับไม่ถ้วน ทั้งบทกวี บทความ ประวัติศาสตร์และบันทึกงานราชการของฝ่ายใน โตขึ้นเป็นเด็กที่ฉลาดและทำงานคล่องแคล่ว

    ต่อมาพระนางบูเช็กเทียนผ่านตาบทประพันธ์ของนาง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์จึงถูกเรียกให้ไปเข้าเฝ้า ตอนนั้นเป็นรัชสมัยของถังจงจงและพระนางบูเช็กเทียนกุมอำนาจในฐานะไทเฮา ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์มีอายุเพียงสิบสามย่างสิบสี่ปี นางต้องแต่งบทความตอบโจทย์ต่อหน้าพระนางและทำได้อย่างดี ทั้งในแง่เนื้อหาและทักษะภาษา เป็นที่ถูกใจของพระนางบูเช็กเทียน จึงได้รับการปลดสถานะทาสและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชสำนักหญิงรับผิดชอบงานด้านประกาศและพระราชเสาวนีย์ โดยมีตำแหน่งไฉเหริน (แต่ไม่ได้เป็นสนม)

    ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นที่โปรดปรานของพระนางบูเช็กเทียน นางรับผิดชอบงานราชโองการและรับฎีกาของพระนางทั้งหมดภายหลังจากทรงยึดอำนาจตั้งตนเป็นจักรพรรดินี อีกทั้งพระนางยังหารือราชกิจกับนางบ่อยครั้ง แม้มีเหตุการณ์ขัดขืนพระราชโองการอยู่ครั้งหนึ่งแต่ก็ยังได้รับการไว้ชีวิตเพราะพระนางบูเช็กเทียนเสียดายในความรู้ความสามารถของนาง

    ต่อมาองค์ถังจงจงยึดบัลลังก์คืนมาจากบูเช็กเทียนได้ ก็รับซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นพระสนมโดยยังคงรับหน้าที่ยกร่างพระราชโองการและงานราชเลขาเหมือนเดิม เรื่องราวสมัยที่นางเป็นพระสนมก็จะดูจะอีรุงตุงนังไม่แพ้เรื่องเกมการเมืองสมัยบูเช็กเทียน ประวัติศาสตร์จีนบันทึกว่านางสนิทกับอู่ซานซือ (หลานของบูเช็กเทียน) และชักนำให้อู่ซานซือมาเป็นพวกร่วมกับเหวยฮองเฮาและกลายเป็นขุนนางมือขวาของถังจงจง เป็นหนึ่งสายของขุมอำนาจด้านการเมือง แต่บทความต่างประเทศเขียนเจาะจงว่านางเป็นชู้กับอู่ซานซือ และเขาก็เป็นชู้กับเหวยฮองเฮาอีกด้วย ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่ทราบได้ แต่เรื่องราวการชิงอำนาจและตัวละครที่เกี่ยวข้องในยุคสมัยนั้นก็มีมากจนไม่สามารถเอามาเล่าให้ฟังหมด ขอสรุปสั้นๆ เพียงว่า ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ใช้ชีวิตด้วยชั้นเชิงในการรักษาสมดุลและช่วงชิงอำนาจ และสุดท้ายก็จบชีวิตลงด้วยเกมการเมืองดังกล่าว

    ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ไม่เพียงฉลาดแต่ยังโฉมงาม นางจึงเป็นที่โปรดปรานของถังจงจง ได้รับการปรับระดับขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นถึงจาวหรง นางเป็นคนที่คอยชี้นำให้องค์ถังจงจงเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้เข้ามารับใช้ราชสำนักมากขึ้นและส่งเสริมด้านการศึกษาอย่างกว้างขวาง อีกทั้งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้ที่มีอิทธิพลต่อสไตล์ของบทกวีในสมัยนั้น

    ภายใต้บรรยากาศที่ให้ความสำคัญต่อผู้ที่มีความรู้และความสามารถด้านอักษรนี้ องค์ถังจงจงจึงมักจัดงานเลี้ยงขึ้นเพื่อให้ข้าราชสำนักสังสรรค์และแสดงความสามารถกัน และเหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ นี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับหนึ่งในงานเลี้ยงดังกล่าวที่ถูกจัดขึ้นที่สระคุนหมิง มีเหล่าข้าราชสำนักร่วมแต่งบทกวีกว่า 100 บทภายใต้หัวข้อ ‘ชุน’ (วสันต์)

    ในงานเลี้ยงนี้ องค์ถังจงจงให้ซ่างกวนจาวหรงเป็นคนตัดสินคัดเลือกบทกวีที่ดีที่สุด มีการบรรยายฉากนี้ไว้ว่า นางนั่งอ่านบทกวีอยู่บนหอ ข้าราชสำนักรอฟังผลอยู่ข้างล่าง ครั้นเห็นกระดาษโปรยปรายลงมาก็พากันไปตามหาจนได้บทกวีของตัวเองคืนมา เหลืออยู่เพียงสองคนที่หาบทความของตนเองไม่เจอ คือเสิ่นเฉวียนชีและซ่งจือเวิ่น รอกันอีกสักพัก กระดาษแผ่นสุดท้ายก็ปลิวลงมา ปรากฏเป็นผลงานของเสิ่นเฉวียนชี ถือว่าซ่งจือเวิ่นเป็นผู้ชนะ โดยซ่างกวนเจาหรงวิจารณ์ไว้ว่า บทกวีของทั้งสองคนนั้น เนื้อหาใจความสูสีกันเพราะเป็นการบรรยายถึงบรรยากาศของงานเลี้ยงได้อย่างไพเราะและวรรคแรกเปิดตัวได้อย่างงดงามไม่แพ้กัน แต่ของเสิ่นเฉวียนชีนั้น วรรคท้ายใช้ภาษาในเชิงถ่อมตน ทำให้พลังของภาษาหดหาย ในขณะที่วรรคท้ายของซ่งจือเวิ่นนั้น แม้บทกวีจบลงแต่ให้ความหวัง ทำให้พลังของบทความคงอยู่ จึงเหนือชั้นกว่าของเสิ่นเฉวียนซีอยู่หนึ่งขั้น เหตุการณ์ครั้งนี้ได้รับการจดจำในแง่ที่ว่า ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ฉลาดในการวิจารณ์ เข้าใจถึงแก่นความหมายและมีทักษะด้านภาษาอย่างยิ่งยวด

    ผลงานที่โดดเด่นของซ่างกวนหว่านเอ๋อร์คือการเป็นผู้ดูแลและปรับปรุงหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในรัชสมัยของจักรพรรดินีบูเช็กเทียน คือ ‘ซิวเหวินก่วน’ (修文馆 ต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น จาวเหวินก่วน / 昭文馆) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รวบรวมและดูแลหนังสือบันทึกต่างๆ และเป็นสำนักศึกษาหลวงเปิดการเรียนการสอนโดยแต่งตั้งขุนนางที่มีชื่อฝ่ายบุ๋นหลายคนมาเป็นอาจารย์ที่นี่ ภายใต้การดูแลของนาง หน่วยงานนี้จึงมีบทบาทและน้ำหนักในราชสำนักมากขึ้น

    ภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ หรือ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ นี้ ถูกตีความว่า หมายถึงการศึกษา ภาพนี้จริงแท้หน้าแต่เป็นอย่างไร Storyฯ ก็หาไม่พบ ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพวาดเกี่ยวกับเหตุการณ์เดียวกันแต่มีชื่อเรียกว่า ‘หว่านเอ๋อร์ตัดสินบทกวี’ ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปที่อี้คุนกงพร้อมกับภาพนี้เขียนว่า ‘อี้กงหว่านซุ่น’ (懿恭婉顺) แปลได้ประมาณว่า เคารพพระราชเสาวนีย์ คล้อยตามอย่างละมุนละม่อม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://waptv.sogou.com/teleplay/orswyzlqnrqxsxzwgmydsnjzbhi5h3h3xgs4fva.html
    https://kknews.cc/zh-sg/history/4bb8n3x.html#google_vignette

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=abb5f0b7bf81f3dcd9c7745c
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=08b8cb852955ec63d33764ec
    https://baike.baidu.com/item/上官婉儿/26942
    http://collection.sina.com.cn/plfx/20130924/1618128246.shtml
    https://www.sohu.com/a/221802957_752265
    https://www.sohu.com/a/365940296_348930

    บทความเกี่ยวกับซ่างกวนหว่านเอ๋อร์: https://www.facebook.com/groups/288237788323632/permalink/1649073795573351

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ #บูเช็กเทียน #จาวหรงตัดสินบทกวี #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    วันนี้ยังคงคุยกันเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก ภาพที่จะคุยกันคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ หรือ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ (昭容评诗图) ที่แขวนอยู่ในตำหนักอี้คุนกง ซึ่ง Storyฯ ก็จำไม่ได้แล้วว่าในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นี้ อี้คุนกงเป็นที่ประทับของพระมเหสีองค์ไหน แต่ใน <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> นั้น นี่เป็นพระตำหนักของหรูอี้ จาวหรงเป็นหนึ่งในตำแหน่งพระสนมเอก แล้วจาวหรงที่กล่าวถึงในภาพนี้คือใคร? นางคือซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ (ค.ศ. 664-710) ผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ปราดเปรื่องที่สุดแห่งราชวงศ์ถัง แม้มิได้เป็นขุนนางฝ่ายนอกแต่บทบาทและอิทธิพลทางการเมืองของนางมีไม่น้อย จนได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘จิงกั๋วจ่ายเซี่ยง’ (แปลตรงตัวว่า ผ้าโพกผมสตรี + อัครมหาเสนาบดี หรือหมายความว่า อัครมหาเสนาบดีหญิงนั่นเอง) นางมีผลงานด้านวรรณกรรมมากมายที่ยังสืบทอดมาจนปัจจุบัน เพิ่งมีคนโพสต์เกี่ยวกับเรื่องราวของนางไปเมื่อไม่นานมานี้ (ดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่าง) Storyฯ ก็จะพยายามเล่าให้ไม่ซ้ำกันนะคะ ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นหลานปู่ของซ่างกวนอี๋ กวีและอัครเสนาบดีในสมัยถังเกาจง ชีวิตของนางผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย เนื่องจากซ่างกวนอี๋และตระกูลถูกลงโทษโดยพระนางบูเช็กเทียน (สมัยยังเป็นเพียงฮองเฮา) ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ซึ่งอายุเพียงขวบกว่าก็ต้องโทษตามมารดากลายเป็นทาสหลวงรับใช้อยู่ในส่วนของวังหลังที่เรียกว่า ‘เยี่ยถิง’ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลความเป็นอยู่ของเหล่าสนมและนางกำนัล แต่ภายใต้การดูแลสั่งสอนของมารดา ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์อ่านหนังสือนับไม่ถ้วน ทั้งบทกวี บทความ ประวัติศาสตร์และบันทึกงานราชการของฝ่ายใน โตขึ้นเป็นเด็กที่ฉลาดและทำงานคล่องแคล่ว ต่อมาพระนางบูเช็กเทียนผ่านตาบทประพันธ์ของนาง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์จึงถูกเรียกให้ไปเข้าเฝ้า ตอนนั้นเป็นรัชสมัยของถังจงจงและพระนางบูเช็กเทียนกุมอำนาจในฐานะไทเฮา ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์มีอายุเพียงสิบสามย่างสิบสี่ปี นางต้องแต่งบทความตอบโจทย์ต่อหน้าพระนางและทำได้อย่างดี ทั้งในแง่เนื้อหาและทักษะภาษา เป็นที่ถูกใจของพระนางบูเช็กเทียน จึงได้รับการปลดสถานะทาสและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชสำนักหญิงรับผิดชอบงานด้านประกาศและพระราชเสาวนีย์ โดยมีตำแหน่งไฉเหริน (แต่ไม่ได้เป็นสนม) ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นที่โปรดปรานของพระนางบูเช็กเทียน นางรับผิดชอบงานราชโองการและรับฎีกาของพระนางทั้งหมดภายหลังจากทรงยึดอำนาจตั้งตนเป็นจักรพรรดินี อีกทั้งพระนางยังหารือราชกิจกับนางบ่อยครั้ง แม้มีเหตุการณ์ขัดขืนพระราชโองการอยู่ครั้งหนึ่งแต่ก็ยังได้รับการไว้ชีวิตเพราะพระนางบูเช็กเทียนเสียดายในความรู้ความสามารถของนาง ต่อมาองค์ถังจงจงยึดบัลลังก์คืนมาจากบูเช็กเทียนได้ ก็รับซ่างกวนหว่านเอ๋อร์เป็นพระสนมโดยยังคงรับหน้าที่ยกร่างพระราชโองการและงานราชเลขาเหมือนเดิม เรื่องราวสมัยที่นางเป็นพระสนมก็จะดูจะอีรุงตุงนังไม่แพ้เรื่องเกมการเมืองสมัยบูเช็กเทียน ประวัติศาสตร์จีนบันทึกว่านางสนิทกับอู่ซานซือ (หลานของบูเช็กเทียน) และชักนำให้อู่ซานซือมาเป็นพวกร่วมกับเหวยฮองเฮาและกลายเป็นขุนนางมือขวาของถังจงจง เป็นหนึ่งสายของขุมอำนาจด้านการเมือง แต่บทความต่างประเทศเขียนเจาะจงว่านางเป็นชู้กับอู่ซานซือ และเขาก็เป็นชู้กับเหวยฮองเฮาอีกด้วย ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่ทราบได้ แต่เรื่องราวการชิงอำนาจและตัวละครที่เกี่ยวข้องในยุคสมัยนั้นก็มีมากจนไม่สามารถเอามาเล่าให้ฟังหมด ขอสรุปสั้นๆ เพียงว่า ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ใช้ชีวิตด้วยชั้นเชิงในการรักษาสมดุลและช่วงชิงอำนาจ และสุดท้ายก็จบชีวิตลงด้วยเกมการเมืองดังกล่าว ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ไม่เพียงฉลาดแต่ยังโฉมงาม นางจึงเป็นที่โปรดปรานของถังจงจง ได้รับการปรับระดับขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นถึงจาวหรง นางเป็นคนที่คอยชี้นำให้องค์ถังจงจงเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้เข้ามารับใช้ราชสำนักมากขึ้นและส่งเสริมด้านการศึกษาอย่างกว้างขวาง อีกทั้งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้ที่มีอิทธิพลต่อสไตล์ของบทกวีในสมัยนั้น ภายใต้บรรยากาศที่ให้ความสำคัญต่อผู้ที่มีความรู้และความสามารถด้านอักษรนี้ องค์ถังจงจงจึงมักจัดงานเลี้ยงขึ้นเพื่อให้ข้าราชสำนักสังสรรค์และแสดงความสามารถกัน และเหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ นี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับหนึ่งในงานเลี้ยงดังกล่าวที่ถูกจัดขึ้นที่สระคุนหมิง มีเหล่าข้าราชสำนักร่วมแต่งบทกวีกว่า 100 บทภายใต้หัวข้อ ‘ชุน’ (วสันต์) ในงานเลี้ยงนี้ องค์ถังจงจงให้ซ่างกวนจาวหรงเป็นคนตัดสินคัดเลือกบทกวีที่ดีที่สุด มีการบรรยายฉากนี้ไว้ว่า นางนั่งอ่านบทกวีอยู่บนหอ ข้าราชสำนักรอฟังผลอยู่ข้างล่าง ครั้นเห็นกระดาษโปรยปรายลงมาก็พากันไปตามหาจนได้บทกวีของตัวเองคืนมา เหลืออยู่เพียงสองคนที่หาบทความของตนเองไม่เจอ คือเสิ่นเฉวียนชีและซ่งจือเวิ่น รอกันอีกสักพัก กระดาษแผ่นสุดท้ายก็ปลิวลงมา ปรากฏเป็นผลงานของเสิ่นเฉวียนชี ถือว่าซ่งจือเวิ่นเป็นผู้ชนะ โดยซ่างกวนเจาหรงวิจารณ์ไว้ว่า บทกวีของทั้งสองคนนั้น เนื้อหาใจความสูสีกันเพราะเป็นการบรรยายถึงบรรยากาศของงานเลี้ยงได้อย่างไพเราะและวรรคแรกเปิดตัวได้อย่างงดงามไม่แพ้กัน แต่ของเสิ่นเฉวียนชีนั้น วรรคท้ายใช้ภาษาในเชิงถ่อมตน ทำให้พลังของภาษาหดหาย ในขณะที่วรรคท้ายของซ่งจือเวิ่นนั้น แม้บทกวีจบลงแต่ให้ความหวัง ทำให้พลังของบทความคงอยู่ จึงเหนือชั้นกว่าของเสิ่นเฉวียนซีอยู่หนึ่งขั้น เหตุการณ์ครั้งนี้ได้รับการจดจำในแง่ที่ว่า ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ฉลาดในการวิจารณ์ เข้าใจถึงแก่นความหมายและมีทักษะด้านภาษาอย่างยิ่งยวด ผลงานที่โดดเด่นของซ่างกวนหว่านเอ๋อร์คือการเป็นผู้ดูแลและปรับปรุงหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในรัชสมัยของจักรพรรดินีบูเช็กเทียน คือ ‘ซิวเหวินก่วน’ (修文馆 ต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น จาวเหวินก่วน / 昭文馆) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รวบรวมและดูแลหนังสือบันทึกต่างๆ และเป็นสำนักศึกษาหลวงเปิดการเรียนการสอนโดยแต่งตั้งขุนนางที่มีชื่อฝ่ายบุ๋นหลายคนมาเป็นอาจารย์ที่นี่ ภายใต้การดูแลของนาง หน่วยงานนี้จึงมีบทบาทและน้ำหนักในราชสำนักมากขึ้น ภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ หรือ ‘จาวหรงตัดสินบทกวี’ นี้ ถูกตีความว่า หมายถึงการศึกษา ภาพนี้จริงแท้หน้าแต่เป็นอย่างไร Storyฯ ก็หาไม่พบ ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพวาดเกี่ยวกับเหตุการณ์เดียวกันแต่มีชื่อเรียกว่า ‘หว่านเอ๋อร์ตัดสินบทกวี’ ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปที่อี้คุนกงพร้อมกับภาพนี้เขียนว่า ‘อี้กงหว่านซุ่น’ (懿恭婉顺) แปลได้ประมาณว่า เคารพพระราชเสาวนีย์ คล้อยตามอย่างละมุนละม่อม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://waptv.sogou.com/teleplay/orswyzlqnrqxsxzwgmydsnjzbhi5h3h3xgs4fva.html https://kknews.cc/zh-sg/history/4bb8n3x.html#google_vignette Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=abb5f0b7bf81f3dcd9c7745c https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=08b8cb852955ec63d33764ec https://baike.baidu.com/item/上官婉儿/26942 http://collection.sina.com.cn/plfx/20130924/1618128246.shtml https://www.sohu.com/a/221802957_752265 https://www.sohu.com/a/365940296_348930 บทความเกี่ยวกับซ่างกวนหว่านเอ๋อร์: https://www.facebook.com/groups/288237788323632/permalink/1649073795573351 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ซ่างกวนหว่านเอ๋อร์ #บูเช็กเทียน #จาวหรงตัดสินบทกวี #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    《延禧攻略》全集-电视剧-免费在线观看
    电视剧《延禧攻略》高清免费在线播放,延禧攻略是是由惠楷栋;温德光导演,由秦岚,聂远,张嘉倪,吴谨言主演的中国大陆电视剧,剧情:乾隆六年,少女魏璎珞为寻求长姐死亡真相,...
    0 Comments 0 Shares 613 Views 0 Reviews
  • พรุ่งนี้เริ่มหยุดยาว เลยมาอัพบทความเร็วหน่อย วันนี้คุยกันต่อเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก แน่นอนว่าความยากในการหาข้อมูลยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องเพราะสิบสองภาพวาดนี้สูญหายไปเกือบหมดแล้ว และอย่างที่ Storyฯ ได้กล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้ ตำหนักที่ประทับของแต่ละท่านในละครก็ใช่ว่าจะตรงกันกับในประวัติศาสตร์

    ภาพที่จะเล่าถึงกันในวันนี้เป็นอีกหนึ่งภาพที่หาข้อมูลยาก คือภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ (徐妃直谏图) ซึ่งในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ภาพนี้ถูกพระราชทานให้เสียนเฟยที่ตำหนักเฉิงเฉียนกง แต่อย่างที่เพื่อนเพจอาจพอทราบมาบ้าง เสียนเฟย (ซึ่งต่อมาคือฮองเฮาสกุลอูลาน่าลา) ถูกลบเลือนออกไปจากบันทึกต่างๆ มีบางข้อมูลบอกว่าพระนางประทับที่ตำหนักอี้คุนกง และภาพที่ได้รับพระราชทานมาที่ตำหนักอี้คุนกงคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图)

    อย่างไรก็ดี เท่าที่ Storyฯ พอจะหาข้อมูลได้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เคยแขวนอยู่ที่เฉิงเฉียนกง วันนี้เราคุยกันเรื่องภาพนี้

    ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ Storyฯ หาไม่พบว่าจริงแล้วหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะภาพที่ใช้ประกอบในละครนั้น จริงๆ แล้วเป็นหนึ่งในคอลเลคชั่นภาพวาดชีวิตสตรีในตระกูลขุนนางของเจียวปิ่งเจินในสมัยต้นราชวงศ์ชิง (รูปประกอบ1) ส่วนภาพที่เกี่ยวกับสวีเฟยที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนั้น มีชื่อว่า ‘สวีเฟยถวายฎีกา’ (徐惠上疏 รูปประกอบ2) เป็นผลงานของหวางเจิ้งเผิงสมัยราชวงศ์หยวนจากคอลเลคชั่นเกี่ยวกับพระภรรยาที่มีชื่อเสียงด้านคุณงามความดีในประวัติศาสตร์จีน

    ‘สวีเฟย’ คือใคร? นางคือหนึ่งในพระสนมของฮ่องเต้หลี่ซื่อหมินหรือถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง (ขออภัยไม่ใช่ราชาศัพท์) นามเดิมว่า ‘สวีฮุ่ย’ (ค.ศ. 627-650) เป็นบุตรีของอดีตขุนนางระดับสูงของราชวงศ์ใต้ พื้นเพเดิมจากหูโจว มลฑลเจ้อเจียง นางเชี่ยวชาญด้านงานอักษรและบทกวี ว่ากันว่านางสามารถเริ่มเขียนบทความยาวๆ และท่องจำหนังสือปรัชญาของขงจื๊อที่ผู้ใหญ่ใช้เรียนได้ตั้งแต่เมื่ออายุเพียงสี่ขวบ ตอนนางอายุแปดขวบได้แต่งบทกลอนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานชั้นเลิศ โด่งดังไปถึงหูขององค์ถังไท่จงในวังหลวง จนทำให้ถูกรับเข้าวังเป็นสนมเมื่อมีอายุเพียงสิบเอ็ดปี (ตอนนั้นฮ่องเต้อายุสี่สิบปี) ด้วยตำแหน่งไฉเหริน ความสามารถด้านต่างๆ ของนางเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังไท่จงมาก จึงได้รับการปรับตำแหน่งขึ้นเรื่อยมาจนเป็นถึงชงหรง

    เหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยขององค์ถังไท่จง จากที่เคยเป็นฮ่องเต้ที่ใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนและผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พอถึงช่วงปลายรัชสมัยนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ดูจะใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนน้อยลง ประหยัดน้อยลง หาความสำราญส่วนตนมากขึ้น หมดเงินไม่น้อยกับการสร้างพระราชวังใหม่ๆ ไม่หยุดหย่อนเพื่อเป็นที่ระลึกถึงรัชสมัยอันเกรียงไกรของตัวเอง และก่อสงครามใหญ่สองครั้ง ประชาชนเริ่มลำบากยากจน สร้างความกังวลให้กับเหล่าขุนนาง

    สวีเฟยเองแม้อยู่ในวังหลังแต่ใส่ใจเรื่องราวบ้านเมืองและทุกข์สุขของประชาชน ทั้งกังวลทั้งอดรนทนไม่ไหว จึงร่างบทความวิจารณ์ทางการเมืองขึ้นยื่นถวายเป็นฎีกา เนื้อความสรุปโดยคร่าวคือ
    – ขอให้ถังไท่จงอย่าได้ทำตามตัวอย่างกษัตริย์ในอดีตที่ใช้เวลาและทรัพย์สินไปกับการป่าวประกาศคุณงามความดีของตน เพราะเมื่อมีผลงานไม่ต้องโอ้อวด ประชาชนก็สำนึกได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องสร้างพระราชวังหรือวิหารอลังการ ความดีที่ทำก็จะคงอยู่ได้ยาวนานเป็นหมื่นปี
    – สงครามที่ไม่หยุดสิ้น เป็นการสิ้นเปลืองเสบียงอาหารและสร้างความลำบากให้ประชาชน ต้องอดมื้อกินมื้อ ขอองค์ถังไท่จงอย่าได้มัวแต่โหยหาอำนาจจากการขยายอาณาเขตเพิ่มจนสูญเสียไพร่พลคนม้าของตนเองไปโดยไม่รู้ตัว และหลงลืมความเมตตากรุณาอันเป็นคุณสมบัติสำคัญ พร้อมกับยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ทำให้บ้านเมืองต้องล่มจมเพราะความกระหายอำนาจของกษัตริย์
    – การก่อสร้างไม่หยุดหย่อนในสิ่งที่ไม่จำเป็น เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นไม้หรือแรงงาน ต้องเกณฑ์คนมาขนหินขนไม้ สร้างความทุกข์ยากให้ประชาชน แรงของคนควรสงวนไว้เพื่อสิ่งที่จำเป็น ให้เขาได้พักบ้าง เมื่อถึงคราวต้องใช้จึงเป็นคนที่บ้านเมืองพึ่งพาได้
    – ของฟุ่มเฟือยเงินทองมุกหยก ล้วนทำให้เมามายได้ดั่งสุรา แม้ล้วนเป็นสิ่งที่ได้รับมาเป็นเครื่องบรรณาการ แต่การนำมาใช้อย่างมากมายกลับกลายเป็นการสร้างความแตกต่างและระยะห่างระหว่างฮ่องเต้กับประชาชน ดังนั้น แทนที่จะหลงระเริงกับของเหล่านี้ มิสู้ทุ่มแรงใจให้กับการเสริมสร้างความรู้และการศึกษาให้กับคน
    ฯลฯ

    บทความของสวีเฟยนี้ยาวมากจน Storyฯ สรุปให้ไม่ได้หมด ฎีกาฉบับนี้มีชื่อเรียกว่า ‘เจี้ยนไท่จงซี่ปิงป้าอี้ซู’ (谏太宗息兵罢役疏 แปลได้ประมาณว่า ฏีกาตำหนิให้ไท่จงหยุดทหารหยุดทัพ) ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นบทวิจารณ์ทางการเมืองโดยสตรีที่หายาก และแม้ว่าเป็นการตำหนิอย่างตรงไปตรงมา แต่สามารถสื่อออกมาได้อย่างมีเหตุผลและแสดงความเคารพนบนอบ บ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาของนาง และยังเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สมัยถัง เหตุเพราะองค์ถังไท่จงได้รับฟังอย่างจริงจังและเห็นด้วย ไม่เพียงไม่โกรธแต่ยังยกย่องชื่นชมและให้รางวัลนางอีกด้วย

    ว่ากันว่า ในช่วงบั้นปลายชีวิตขององค์ถังไท่จงนั้น นางคือคนที่เขาโปรดปรานที่สุด ต่อมาเมื่อองค์ถังไท่จงเสียชีวิต นางก็ตรอมใจจนตายตามไปด้วย ขณะนั้นอายุนางเพียงยี่สิบสี่ปี ภายหลังได้รับการอวยยศย้อนหลังจากฮ่องเต้หลี่จื้อ (ถังเกาจง) ให้เป็นเสียนเฟย ผลงานที่สืบทอดมาเป็นวรรณกรรมให้ชนรุ่นหลังศึกษามีมากมายหลายชิ้น นับได้ว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ถูกยกย่องด้านความฉลาดและความเชี่ยวชาญด้านงานอักษรของประวัติศาสตร์จีน

    ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ถูกตีความว่าเป็นภาพที่สะท้อนถึงความจงรักภักดีและความตรงไปตรงมา ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปพร้อมกับภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ เขียนว่า ‘เต๋อเฉิงโหรวซุ่น’ (德成柔顺) แปลได้ประมาณว่า เปี่ยมด้วยศีลธรรมและความนอบน้อม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://inmywordz.com/archives/66897
    https://www.duitang.com/blog/?id=1246591620
    https://baike.sogou.com/v74971288.htm

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    https://baike.sogou.com/v74971288.htm
    https://baike.baidu.com/item/徐惠/11444
    https://baike.baidu.com/item/谏太宗息兵罢役疏

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เสียนเฟย #สวีเฟยวิพากษ์ #สวีเฟย #สวีเฟยถวายฎีกา #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    พรุ่งนี้เริ่มหยุดยาว เลยมาอัพบทความเร็วหน่อย วันนี้คุยกันต่อเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก แน่นอนว่าความยากในการหาข้อมูลยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องเพราะสิบสองภาพวาดนี้สูญหายไปเกือบหมดแล้ว และอย่างที่ Storyฯ ได้กล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้ ตำหนักที่ประทับของแต่ละท่านในละครก็ใช่ว่าจะตรงกันกับในประวัติศาสตร์ ภาพที่จะเล่าถึงกันในวันนี้เป็นอีกหนึ่งภาพที่หาข้อมูลยาก คือภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ (徐妃直谏图) ซึ่งในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ภาพนี้ถูกพระราชทานให้เสียนเฟยที่ตำหนักเฉิงเฉียนกง แต่อย่างที่เพื่อนเพจอาจพอทราบมาบ้าง เสียนเฟย (ซึ่งต่อมาคือฮองเฮาสกุลอูลาน่าลา) ถูกลบเลือนออกไปจากบันทึกต่างๆ มีบางข้อมูลบอกว่าพระนางประทับที่ตำหนักอี้คุนกง และภาพที่ได้รับพระราชทานมาที่ตำหนักอี้คุนกงคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图) อย่างไรก็ดี เท่าที่ Storyฯ พอจะหาข้อมูลได้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เคยแขวนอยู่ที่เฉิงเฉียนกง วันนี้เราคุยกันเรื่องภาพนี้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ Storyฯ หาไม่พบว่าจริงแล้วหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะภาพที่ใช้ประกอบในละครนั้น จริงๆ แล้วเป็นหนึ่งในคอลเลคชั่นภาพวาดชีวิตสตรีในตระกูลขุนนางของเจียวปิ่งเจินในสมัยต้นราชวงศ์ชิง (รูปประกอบ1) ส่วนภาพที่เกี่ยวกับสวีเฟยที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนั้น มีชื่อว่า ‘สวีเฟยถวายฎีกา’ (徐惠上疏 รูปประกอบ2) เป็นผลงานของหวางเจิ้งเผิงสมัยราชวงศ์หยวนจากคอลเลคชั่นเกี่ยวกับพระภรรยาที่มีชื่อเสียงด้านคุณงามความดีในประวัติศาสตร์จีน ‘สวีเฟย’ คือใคร? นางคือหนึ่งในพระสนมของฮ่องเต้หลี่ซื่อหมินหรือถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง (ขออภัยไม่ใช่ราชาศัพท์) นามเดิมว่า ‘สวีฮุ่ย’ (ค.ศ. 627-650) เป็นบุตรีของอดีตขุนนางระดับสูงของราชวงศ์ใต้ พื้นเพเดิมจากหูโจว มลฑลเจ้อเจียง นางเชี่ยวชาญด้านงานอักษรและบทกวี ว่ากันว่านางสามารถเริ่มเขียนบทความยาวๆ และท่องจำหนังสือปรัชญาของขงจื๊อที่ผู้ใหญ่ใช้เรียนได้ตั้งแต่เมื่ออายุเพียงสี่ขวบ ตอนนางอายุแปดขวบได้แต่งบทกลอนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานชั้นเลิศ โด่งดังไปถึงหูขององค์ถังไท่จงในวังหลวง จนทำให้ถูกรับเข้าวังเป็นสนมเมื่อมีอายุเพียงสิบเอ็ดปี (ตอนนั้นฮ่องเต้อายุสี่สิบปี) ด้วยตำแหน่งไฉเหริน ความสามารถด้านต่างๆ ของนางเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังไท่จงมาก จึงได้รับการปรับตำแหน่งขึ้นเรื่อยมาจนเป็นถึงชงหรง เหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยขององค์ถังไท่จง จากที่เคยเป็นฮ่องเต้ที่ใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนและผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พอถึงช่วงปลายรัชสมัยนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ดูจะใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนน้อยลง ประหยัดน้อยลง หาความสำราญส่วนตนมากขึ้น หมดเงินไม่น้อยกับการสร้างพระราชวังใหม่ๆ ไม่หยุดหย่อนเพื่อเป็นที่ระลึกถึงรัชสมัยอันเกรียงไกรของตัวเอง และก่อสงครามใหญ่สองครั้ง ประชาชนเริ่มลำบากยากจน สร้างความกังวลให้กับเหล่าขุนนาง สวีเฟยเองแม้อยู่ในวังหลังแต่ใส่ใจเรื่องราวบ้านเมืองและทุกข์สุขของประชาชน ทั้งกังวลทั้งอดรนทนไม่ไหว จึงร่างบทความวิจารณ์ทางการเมืองขึ้นยื่นถวายเป็นฎีกา เนื้อความสรุปโดยคร่าวคือ – ขอให้ถังไท่จงอย่าได้ทำตามตัวอย่างกษัตริย์ในอดีตที่ใช้เวลาและทรัพย์สินไปกับการป่าวประกาศคุณงามความดีของตน เพราะเมื่อมีผลงานไม่ต้องโอ้อวด ประชาชนก็สำนึกได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องสร้างพระราชวังหรือวิหารอลังการ ความดีที่ทำก็จะคงอยู่ได้ยาวนานเป็นหมื่นปี – สงครามที่ไม่หยุดสิ้น เป็นการสิ้นเปลืองเสบียงอาหารและสร้างความลำบากให้ประชาชน ต้องอดมื้อกินมื้อ ขอองค์ถังไท่จงอย่าได้มัวแต่โหยหาอำนาจจากการขยายอาณาเขตเพิ่มจนสูญเสียไพร่พลคนม้าของตนเองไปโดยไม่รู้ตัว และหลงลืมความเมตตากรุณาอันเป็นคุณสมบัติสำคัญ พร้อมกับยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ทำให้บ้านเมืองต้องล่มจมเพราะความกระหายอำนาจของกษัตริย์ – การก่อสร้างไม่หยุดหย่อนในสิ่งที่ไม่จำเป็น เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นไม้หรือแรงงาน ต้องเกณฑ์คนมาขนหินขนไม้ สร้างความทุกข์ยากให้ประชาชน แรงของคนควรสงวนไว้เพื่อสิ่งที่จำเป็น ให้เขาได้พักบ้าง เมื่อถึงคราวต้องใช้จึงเป็นคนที่บ้านเมืองพึ่งพาได้ – ของฟุ่มเฟือยเงินทองมุกหยก ล้วนทำให้เมามายได้ดั่งสุรา แม้ล้วนเป็นสิ่งที่ได้รับมาเป็นเครื่องบรรณาการ แต่การนำมาใช้อย่างมากมายกลับกลายเป็นการสร้างความแตกต่างและระยะห่างระหว่างฮ่องเต้กับประชาชน ดังนั้น แทนที่จะหลงระเริงกับของเหล่านี้ มิสู้ทุ่มแรงใจให้กับการเสริมสร้างความรู้และการศึกษาให้กับคน ฯลฯ บทความของสวีเฟยนี้ยาวมากจน Storyฯ สรุปให้ไม่ได้หมด ฎีกาฉบับนี้มีชื่อเรียกว่า ‘เจี้ยนไท่จงซี่ปิงป้าอี้ซู’ (谏太宗息兵罢役疏 แปลได้ประมาณว่า ฏีกาตำหนิให้ไท่จงหยุดทหารหยุดทัพ) ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นบทวิจารณ์ทางการเมืองโดยสตรีที่หายาก และแม้ว่าเป็นการตำหนิอย่างตรงไปตรงมา แต่สามารถสื่อออกมาได้อย่างมีเหตุผลและแสดงความเคารพนบนอบ บ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาของนาง และยังเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สมัยถัง เหตุเพราะองค์ถังไท่จงได้รับฟังอย่างจริงจังและเห็นด้วย ไม่เพียงไม่โกรธแต่ยังยกย่องชื่นชมและให้รางวัลนางอีกด้วย ว่ากันว่า ในช่วงบั้นปลายชีวิตขององค์ถังไท่จงนั้น นางคือคนที่เขาโปรดปรานที่สุด ต่อมาเมื่อองค์ถังไท่จงเสียชีวิต นางก็ตรอมใจจนตายตามไปด้วย ขณะนั้นอายุนางเพียงยี่สิบสี่ปี ภายหลังได้รับการอวยยศย้อนหลังจากฮ่องเต้หลี่จื้อ (ถังเกาจง) ให้เป็นเสียนเฟย ผลงานที่สืบทอดมาเป็นวรรณกรรมให้ชนรุ่นหลังศึกษามีมากมายหลายชิ้น นับได้ว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ถูกยกย่องด้านความฉลาดและความเชี่ยวชาญด้านงานอักษรของประวัติศาสตร์จีน ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ถูกตีความว่าเป็นภาพที่สะท้อนถึงความจงรักภักดีและความตรงไปตรงมา ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปพร้อมกับภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ เขียนว่า ‘เต๋อเฉิงโหรวซุ่น’ (德成柔顺) แปลได้ประมาณว่า เปี่ยมด้วยศีลธรรมและความนอบน้อม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://inmywordz.com/archives/66897 https://www.duitang.com/blog/?id=1246591620 https://baike.sogou.com/v74971288.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html https://baike.sogou.com/v74971288.htm https://baike.baidu.com/item/徐惠/11444 https://baike.baidu.com/item/谏太宗息兵罢役疏 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เสียนเฟย #สวีเฟยวิพากษ์ #สวีเฟย #สวีเฟยถวายฎีกา #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    INMYWORDZ.COM
    《延禧攻略》最受寵的是令妃,生得最多的是純妃!乾隆為何卻選擇最心狠毒辣嫻妃為繼后?-我們用電影寫日記 - 冒牌生:寫作 • 旅行 • 生活
    而且還是在富察皇后離開後就馬上決定了😱 #延禧攻略 #繼皇后為什麼是她 #皇上考慮的真多 *正文開始 來源:美映椒房 整理:冒牌生 乾隆十三年三月,乾隆皇帝元配富察皇后忍著喪子悲痛,強顏歡笑帶病伺候皇帝和太后東巡,最終病逝於東巡途中。
    0 Comments 0 Shares 734 Views 0 Reviews
More Results