ทักษิณขออภัยกรณีตากใบ อ้างทำงานผิดพลาด
นับเป็นการลงพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในรอบประมาณ 20 ปี สำหรับนายทักษิณ ชินวัตร ที่ปรึกษานายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธานอาเซียน เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2568 นายทักษิณพร้อมด้วย นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และคณะ เดินทางมายังโรงเรียนสัมพันธ์วิทยา อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส
ช่วงหนึ่งนายทักษิณได้กล่าวกับคณะครูและประชาชนที่มาต้อนรับว่า ขออภัยต่อความผิดพลาดในเหตุการณ์ตากใบ แล้วต่อมานายทักษิณให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า "เรื่องตากใบ ตอนผมเป็นนายกฯ ผมมีความตั้งใจห่วงใยพี่น้อง 100% แต่การทำงานมีความผิดพลาดได้บ้าง ถ้าผมมีอะไรผิดพลาด ที่ไม่เป็นที่พอใจ ก็ขออภัยด้วย เพื่อเราจะได้หันกลับมาช่วยกันแก้ปัญหาด้วยกัน พี่น้องมุสลิมมีสิ่งที่สำคัญมาก ถูกสอนมาว่า ความเข้าใจ เกรงใจ รักสันติสุข การให้อภัย เพราะฉะนั้นเมื่อเราขออภัยในสิ่งที่ผมอาจจะทำสิ่งที่ไม่ถูกใจหรือผิดพลาดบ้าง ผมต้องขออภัยด้วย"
สำหรับเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่สถานีตำรวจภูธรตากใบ จ.นราธิวาส เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2547 ชาวบ้านกว่า 2,000 คน รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวมุสลิม 6 คน ที่ถูกควบคุมตัวโดยกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปล้นปืนและก่อความไม่สงบ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะสลายการชุมนุม ผู้ชุมนุมเสียชีวิตทันที 5 คน ที่เหลือนอนทับซ้อนกันในรถบรรทุกทหารไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี ห่างออกไป 150 กิโลเมตร มีผู้ชุมนุมขาดอากาศหายใจ เสียชีวิต 78 คน บาดเจ็บและพิการอีกมาก
สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีการตั้ง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เป็นคณะกรรมการเยียวยาฯ และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. จ่ายเงินเยียวยากว่า 641 ล้านบาท ผู้เสียชีวิตจ่ายรายละ 7.5 ล้านบาท ผู้บาดเจ็บ ผู้พิการได้รับลดหลั่นกันไป แต่ต่อมาในปี 2567 มีครอบครัวผู้เสียชีวิต 48 รายพร้อมญาติยื่นฟ้องคดีด้วยเอง ศาลประทับรับฟ้องเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2567 และออกหมายจับผู้ต้องหา 7 คน พบว่าแต่ละคนหลบหนี โดยเฉพาะ พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 อดีต สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ยื่นใบลาออกจาก สส. กระทั่งคดีขาดอายุความ หลังเที่ยงคืนวันที่ 26 ต.ค. 2567 ที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ไปสัมภาษณ์ครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บกรณีตากใบ ระบุว่า พวกเขาต้องการได้ยินคำขอโทษจากนายทักษิณ และทวงถามความยุติธรรม แม้คดีขาดอายุความไปแล้ว
#Newskit
นับเป็นการลงพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในรอบประมาณ 20 ปี สำหรับนายทักษิณ ชินวัตร ที่ปรึกษานายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธานอาเซียน เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2568 นายทักษิณพร้อมด้วย นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และคณะ เดินทางมายังโรงเรียนสัมพันธ์วิทยา อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส
ช่วงหนึ่งนายทักษิณได้กล่าวกับคณะครูและประชาชนที่มาต้อนรับว่า ขออภัยต่อความผิดพลาดในเหตุการณ์ตากใบ แล้วต่อมานายทักษิณให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า "เรื่องตากใบ ตอนผมเป็นนายกฯ ผมมีความตั้งใจห่วงใยพี่น้อง 100% แต่การทำงานมีความผิดพลาดได้บ้าง ถ้าผมมีอะไรผิดพลาด ที่ไม่เป็นที่พอใจ ก็ขออภัยด้วย เพื่อเราจะได้หันกลับมาช่วยกันแก้ปัญหาด้วยกัน พี่น้องมุสลิมมีสิ่งที่สำคัญมาก ถูกสอนมาว่า ความเข้าใจ เกรงใจ รักสันติสุข การให้อภัย เพราะฉะนั้นเมื่อเราขออภัยในสิ่งที่ผมอาจจะทำสิ่งที่ไม่ถูกใจหรือผิดพลาดบ้าง ผมต้องขออภัยด้วย"
สำหรับเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่สถานีตำรวจภูธรตากใบ จ.นราธิวาส เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2547 ชาวบ้านกว่า 2,000 คน รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวมุสลิม 6 คน ที่ถูกควบคุมตัวโดยกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปล้นปืนและก่อความไม่สงบ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะสลายการชุมนุม ผู้ชุมนุมเสียชีวิตทันที 5 คน ที่เหลือนอนทับซ้อนกันในรถบรรทุกทหารไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี ห่างออกไป 150 กิโลเมตร มีผู้ชุมนุมขาดอากาศหายใจ เสียชีวิต 78 คน บาดเจ็บและพิการอีกมาก
สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีการตั้ง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เป็นคณะกรรมการเยียวยาฯ และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. จ่ายเงินเยียวยากว่า 641 ล้านบาท ผู้เสียชีวิตจ่ายรายละ 7.5 ล้านบาท ผู้บาดเจ็บ ผู้พิการได้รับลดหลั่นกันไป แต่ต่อมาในปี 2567 มีครอบครัวผู้เสียชีวิต 48 รายพร้อมญาติยื่นฟ้องคดีด้วยเอง ศาลประทับรับฟ้องเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2567 และออกหมายจับผู้ต้องหา 7 คน พบว่าแต่ละคนหลบหนี โดยเฉพาะ พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 อดีต สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ยื่นใบลาออกจาก สส. กระทั่งคดีขาดอายุความ หลังเที่ยงคืนวันที่ 26 ต.ค. 2567 ที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ไปสัมภาษณ์ครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บกรณีตากใบ ระบุว่า พวกเขาต้องการได้ยินคำขอโทษจากนายทักษิณ และทวงถามความยุติธรรม แม้คดีขาดอายุความไปแล้ว
#Newskit
ทักษิณขออภัยกรณีตากใบ อ้างทำงานผิดพลาด
นับเป็นการลงพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในรอบประมาณ 20 ปี สำหรับนายทักษิณ ชินวัตร ที่ปรึกษานายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธานอาเซียน เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2568 นายทักษิณพร้อมด้วย นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และคณะ เดินทางมายังโรงเรียนสัมพันธ์วิทยา อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส
ช่วงหนึ่งนายทักษิณได้กล่าวกับคณะครูและประชาชนที่มาต้อนรับว่า ขออภัยต่อความผิดพลาดในเหตุการณ์ตากใบ แล้วต่อมานายทักษิณให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า "เรื่องตากใบ ตอนผมเป็นนายกฯ ผมมีความตั้งใจห่วงใยพี่น้อง 100% แต่การทำงานมีความผิดพลาดได้บ้าง ถ้าผมมีอะไรผิดพลาด ที่ไม่เป็นที่พอใจ ก็ขออภัยด้วย เพื่อเราจะได้หันกลับมาช่วยกันแก้ปัญหาด้วยกัน พี่น้องมุสลิมมีสิ่งที่สำคัญมาก ถูกสอนมาว่า ความเข้าใจ เกรงใจ รักสันติสุข การให้อภัย เพราะฉะนั้นเมื่อเราขออภัยในสิ่งที่ผมอาจจะทำสิ่งที่ไม่ถูกใจหรือผิดพลาดบ้าง ผมต้องขออภัยด้วย"
สำหรับเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่สถานีตำรวจภูธรตากใบ จ.นราธิวาส เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2547 ชาวบ้านกว่า 2,000 คน รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวมุสลิม 6 คน ที่ถูกควบคุมตัวโดยกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปล้นปืนและก่อความไม่สงบ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะสลายการชุมนุม ผู้ชุมนุมเสียชีวิตทันที 5 คน ที่เหลือนอนทับซ้อนกันในรถบรรทุกทหารไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี ห่างออกไป 150 กิโลเมตร มีผู้ชุมนุมขาดอากาศหายใจ เสียชีวิต 78 คน บาดเจ็บและพิการอีกมาก
สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีการตั้ง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เป็นคณะกรรมการเยียวยาฯ และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. จ่ายเงินเยียวยากว่า 641 ล้านบาท ผู้เสียชีวิตจ่ายรายละ 7.5 ล้านบาท ผู้บาดเจ็บ ผู้พิการได้รับลดหลั่นกันไป แต่ต่อมาในปี 2567 มีครอบครัวผู้เสียชีวิต 48 รายพร้อมญาติยื่นฟ้องคดีด้วยเอง ศาลประทับรับฟ้องเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2567 และออกหมายจับผู้ต้องหา 7 คน พบว่าแต่ละคนหลบหนี โดยเฉพาะ พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 อดีต สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ยื่นใบลาออกจาก สส. กระทั่งคดีขาดอายุความ หลังเที่ยงคืนวันที่ 26 ต.ค. 2567 ที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ไปสัมภาษณ์ครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บกรณีตากใบ ระบุว่า พวกเขาต้องการได้ยินคำขอโทษจากนายทักษิณ และทวงถามความยุติธรรม แม้คดีขาดอายุความไปแล้ว
#Newskit
0 Comments
0 Shares
21 Views
0 Reviews