• https://youtu.be/-IG3ZFlqHmU?si=FCD81IRIHI1jod1O
    https://youtu.be/-IG3ZFlqHmU?si=FCD81IRIHI1jod1O
    0 Comments 0 Shares 9 Views 0 Reviews
  • 🔥🔥พบปัญหาการขาดทุนอื้อ
    เมื่อผู้ฝากเงินบัญชี FCD (Foreign Currency Deposit)
    เมื่อคิดจะถอนเงินในบัญชีตอนนี้ จะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทันที
    จากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น

    🚩โดยบัญชี FCD (Foreign Currency Deposit) คือ บัญชีเงินฝาก
    สำหรับบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ที่ต้องการฝากเงิน
    เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ, ยูโร, หยวน เป็นต้น

    🚩เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เช่น ณ ปัจจุบัน จะส่งผลให้ ผู้ฝากเงิน
    ที่จะถอนเงินดังกล่าว ในช่วงเวลานี้ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

    🚩ดังนั้น บัญชีเงินฝากแบบ FCD เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
    ที่ผู้ใช้บริการต้องศึกษาให้ดี เพราะข้อดีคือช่วยปิดความเสี่ยง
    จากอัตราแลกเปลี่ยนได้ แล้วมีกำไร แต่ข้อเสียคือ ก็สามารถ
    ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ที่เปลี่ยนแปลงไปได้เช่นเดียวกัน

    ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #FCD #อัตราแลกเปลี่ยน
    #thaitimes
    🔥🔥พบปัญหาการขาดทุนอื้อ เมื่อผู้ฝากเงินบัญชี FCD (Foreign Currency Deposit) เมื่อคิดจะถอนเงินในบัญชีตอนนี้ จะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทันที จากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น 🚩โดยบัญชี FCD (Foreign Currency Deposit) คือ บัญชีเงินฝาก สำหรับบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ที่ต้องการฝากเงิน เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ, ยูโร, หยวน เป็นต้น 🚩เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เช่น ณ ปัจจุบัน จะส่งผลให้ ผู้ฝากเงิน ที่จะถอนเงินดังกล่าว ในช่วงเวลานี้ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 🚩ดังนั้น บัญชีเงินฝากแบบ FCD เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ที่ผู้ใช้บริการต้องศึกษาให้ดี เพราะข้อดีคือช่วยปิดความเสี่ยง จากอัตราแลกเปลี่ยนได้ แล้วมีกำไร แต่ข้อเสียคือ ก็สามารถ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ที่เปลี่ยนแปลงไปได้เช่นเดียวกัน ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #FCD #อัตราแลกเปลี่ยน #thaitimes
    0 Comments 0 Shares 757 Views 0 Reviews
  • ล็อกบัญชี ฟีเจอร์สำหรับนักออม

    ภัยทุจริตทางการเงิน จากการหลอกลวงทางออนไลน์ในปัจจุบัน นอกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะแก้ไขปัญหาและยกระดับมาตรการจัดการ เช่น การกวาดล้างบัญชีม้าในระบบ ด้วยการจัดการทุกบัญชีในทุกธนาคารของเจ้าของบัญชีต้องสงสัย และการเพิ่มความเข้มงวดในการเปิดบัญชีใหม่ให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีพฤติกรรมผิดปกติแล้ว ธนาคารบางแห่งก็เริ่มมีระบบจัดการความปลอดภัยทางบัญชี เพื่อป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพโอนเงินออกจากบัญชี

    เริ่มจาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ออกฟีเจอร์ Lock & Unlock สำหรับลูกค้าที่ใช้บริการโมบายแบงกิ้งจากธนาคารกรุงเทพ โดยลูกค้าบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ และกระแสรายวัน บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ e-Savings และบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) สามารถกด "ล็อกการโอน / เติม / จ่าย ผ่านแอป" เพื้อป้องกันไม่ให้สามารถโอนเงิน เติมเงิน หรือจ่ายเงิน ออกจากบัญชีที่ล็อกไว้ได้ แก้ปัญหากรณีที่มิจฉาชีพใช้แอปฯ ดูดเงินเก็บข้อมูลรหัส PIN

    ถ้าล็อกบัญชีแล้ว แม้ว่ามิจฉาชีพจะรู้รหัส PIN ก็ไม่สามารถผ่านขั้นตอนการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าเพื่อโอนเงินออกจากบัญชีได้ ลูกค้าต้องปลดล็อกด้วยการยืนยันตัวตนผ่านการสแกนใบหน้า แต่ธุรกรรมขาเข้ายังสามารถทำได้ เช่น การรับเงินเข้าบัญชี การรับเงินด้วยคิวอาร์โค้ด การฝากเงินเข้าบัญชีที่ตู้อัตโนมัติหรือสาขา

    ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) เปิดบริการล็อกบัญชีเงินฝาก UOB Money Lock สำหรับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวันสำหรับบุคคลธรรมดาได้ทุกประเภท เมื่อล็อกบัญชีแล้วจะไม่สามารถโอนเงินออกผ่านช่องทางออนไลน์ ลดความเสี่ยงจากมิจฉาชีพ สามารถถอนหรือโอนเงินได้ผ่านช่องทางสาขา หรือใช้บัตรเดบิต แต่ยังคงรับเงินเข้าได้ตามปกติ และสามารถขอปลดล็อกด้วยตนเองโดยการยืนยันตัวตนที่สาขาธนาคารยูโอบีเท่านั้น

    สามารถสมัครบริการได้ด้วยตนเองที่สาขาธนาคารยูโอบี บริการ Live Chat บนแอปพลิเคชัน UOB TMRW หรือศูนย์บริการลูกค้ายูโอบี โทร. 0-2285-1555 แต่การขอยกเลิกบริการต้องติดต่อสาขาของธนาคารด้วยตนเองเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของบัญชี โดยจะจะดำเนินการภายในสิ้นวันทำการถัดไป ไม่รวมวันเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือวันหยุดทำการของธนาคาร

    นอกจากนี้ ยังมีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีฟีเจอร์ล็อกบัญชี ผ่านแอปฯ Krungthai NEXT สำหรับคนที่เเยกบัญชีเงินออมหรือคนที่มีบัญชีสำหรับเอาไว้เก็บเงินอย่างเดียว บัญชีที่ไม่ได้ใช้บ่อยๆและไม่ต้องการทำธุรกรรมออนไลน์หรือที่ตู้ ATM หรือผูกบัตร Travel card กับบัญชีนั้นๆ ป้องกันการโอนเงินออกโดยถูกหลอกอีกด้วย

    #Newskit #ล็อกบัญชี #LockAccount
    ล็อกบัญชี ฟีเจอร์สำหรับนักออม ภัยทุจริตทางการเงิน จากการหลอกลวงทางออนไลน์ในปัจจุบัน นอกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะแก้ไขปัญหาและยกระดับมาตรการจัดการ เช่น การกวาดล้างบัญชีม้าในระบบ ด้วยการจัดการทุกบัญชีในทุกธนาคารของเจ้าของบัญชีต้องสงสัย และการเพิ่มความเข้มงวดในการเปิดบัญชีใหม่ให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีพฤติกรรมผิดปกติแล้ว ธนาคารบางแห่งก็เริ่มมีระบบจัดการความปลอดภัยทางบัญชี เพื่อป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพโอนเงินออกจากบัญชี เริ่มจาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ออกฟีเจอร์ Lock & Unlock สำหรับลูกค้าที่ใช้บริการโมบายแบงกิ้งจากธนาคารกรุงเทพ โดยลูกค้าบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ และกระแสรายวัน บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ e-Savings และบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) สามารถกด "ล็อกการโอน / เติม / จ่าย ผ่านแอป" เพื้อป้องกันไม่ให้สามารถโอนเงิน เติมเงิน หรือจ่ายเงิน ออกจากบัญชีที่ล็อกไว้ได้ แก้ปัญหากรณีที่มิจฉาชีพใช้แอปฯ ดูดเงินเก็บข้อมูลรหัส PIN ถ้าล็อกบัญชีแล้ว แม้ว่ามิจฉาชีพจะรู้รหัส PIN ก็ไม่สามารถผ่านขั้นตอนการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าเพื่อโอนเงินออกจากบัญชีได้ ลูกค้าต้องปลดล็อกด้วยการยืนยันตัวตนผ่านการสแกนใบหน้า แต่ธุรกรรมขาเข้ายังสามารถทำได้ เช่น การรับเงินเข้าบัญชี การรับเงินด้วยคิวอาร์โค้ด การฝากเงินเข้าบัญชีที่ตู้อัตโนมัติหรือสาขา ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) เปิดบริการล็อกบัญชีเงินฝาก UOB Money Lock สำหรับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวันสำหรับบุคคลธรรมดาได้ทุกประเภท เมื่อล็อกบัญชีแล้วจะไม่สามารถโอนเงินออกผ่านช่องทางออนไลน์ ลดความเสี่ยงจากมิจฉาชีพ สามารถถอนหรือโอนเงินได้ผ่านช่องทางสาขา หรือใช้บัตรเดบิต แต่ยังคงรับเงินเข้าได้ตามปกติ และสามารถขอปลดล็อกด้วยตนเองโดยการยืนยันตัวตนที่สาขาธนาคารยูโอบีเท่านั้น สามารถสมัครบริการได้ด้วยตนเองที่สาขาธนาคารยูโอบี บริการ Live Chat บนแอปพลิเคชัน UOB TMRW หรือศูนย์บริการลูกค้ายูโอบี โทร. 0-2285-1555 แต่การขอยกเลิกบริการต้องติดต่อสาขาของธนาคารด้วยตนเองเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของบัญชี โดยจะจะดำเนินการภายในสิ้นวันทำการถัดไป ไม่รวมวันเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือวันหยุดทำการของธนาคาร นอกจากนี้ ยังมีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีฟีเจอร์ล็อกบัญชี ผ่านแอปฯ Krungthai NEXT สำหรับคนที่เเยกบัญชีเงินออมหรือคนที่มีบัญชีสำหรับเอาไว้เก็บเงินอย่างเดียว บัญชีที่ไม่ได้ใช้บ่อยๆและไม่ต้องการทำธุรกรรมออนไลน์หรือที่ตู้ ATM หรือผูกบัตร Travel card กับบัญชีนั้นๆ ป้องกันการโอนเงินออกโดยถูกหลอกอีกด้วย #Newskit #ล็อกบัญชี #LockAccount
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 874 Views 0 Reviews