• รฟม. x กรุงไทย จะมีบัตร EMV ของตัวเอง

    การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ครบรอบ 1 ปี พบว่าผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17.70% อยู่ที่ 66,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน สถานีที่ผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เตาปูน ตลาดบางใหญ่ ศูนย์ราชการนนทบุรี บางซ่อน คลองบางไผ่ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณผู้โดยสารให้กับรถไฟฟ้าสายอื่น เช่น รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เพิ่มขึ้น 11.92% อยู่ที่ 420,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน

    ล่าสุด รฟม. ได้ร่วมมือกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พัฒนาบัตรโดยสารชนิด EMV Contactless รองรับการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบครอบคลุมรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้ทุกเส้นทาง สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ อีกทั้งยังใช้โดยสารระบบขนส่งอื่นที่รองรับบัตร EMV Contactless เช่น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถโดยสารประจำทาง ขสมก. เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ใช้บริการร่วมด้วย

    ก่อนหน้านี้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ได้จำหน่ายบัตรโดยสาร MRT EMV Card ครบทุกประเภท เพื่อทดแทนบัตรรุ่นเก่า มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 ซี่งพัฒนาร่วมกับ บริษัท ทีทูพี จำกัด ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ Deep Pocket มีค่าธรรมเนียมออกบัตร 250 บาท วงเงินในบัตร 100 บาท สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok MRT

    ขณะที่ธนาคารกรุงไทย ได้ออกบัตรเดบิต Krungthai Tranxit สำหรับแตะจ่ายการเดินทางพ่วงประกันอุบัติเหตุ ความคุ้มครอง 30,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ 1,000 บาทต่อครั้ง และบัตรพรีเพด PaotangPay Play Card ผูกกับเงินอิเล็กทรอนิกส์เป๋าตังเปย์ บนแอปฯ เป๋าตัง เมื่อปี 2565 โดยมีภารกิจรับรางวัล สำหรับใช้จ่ายในหมวดการเดินทางสะสมตามที่กำหนด

    ต้องดูว่าบัตรโดยสาร MRT ของ รฟม. ที่ผูกกับแอปฯ เป๋าตัง ซึ่งเป็น Thailand Open Digital Platform ที่มีผู้ใช้งานกว่า 40 ล้านราย หน้าตาจะเป็นอย่างไร แม้ว่าการออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้ามีลักษณะต่างคนต่างทำ โดยที่ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาก็ตาม ขณะที่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะบางรายยังคงใช้ระบบของตัวเองเป็นหลัก เช่น Rabbit ของกลุ่มบีทีเอส, บัตรแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ Hop Card ของกลุ่มไทยสมายล์บัส เป็นต้น

    #Newskit #EMVContactless #MRTA
    รฟม. x กรุงไทย จะมีบัตร EMV ของตัวเอง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ครบรอบ 1 ปี พบว่าผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17.70% อยู่ที่ 66,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน สถานีที่ผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เตาปูน ตลาดบางใหญ่ ศูนย์ราชการนนทบุรี บางซ่อน คลองบางไผ่ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณผู้โดยสารให้กับรถไฟฟ้าสายอื่น เช่น รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เพิ่มขึ้น 11.92% อยู่ที่ 420,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน ล่าสุด รฟม. ได้ร่วมมือกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พัฒนาบัตรโดยสารชนิด EMV Contactless รองรับการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบครอบคลุมรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้ทุกเส้นทาง สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ อีกทั้งยังใช้โดยสารระบบขนส่งอื่นที่รองรับบัตร EMV Contactless เช่น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถโดยสารประจำทาง ขสมก. เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ใช้บริการร่วมด้วย ก่อนหน้านี้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ได้จำหน่ายบัตรโดยสาร MRT EMV Card ครบทุกประเภท เพื่อทดแทนบัตรรุ่นเก่า มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 ซี่งพัฒนาร่วมกับ บริษัท ทีทูพี จำกัด ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ Deep Pocket มีค่าธรรมเนียมออกบัตร 250 บาท วงเงินในบัตร 100 บาท สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok MRT ขณะที่ธนาคารกรุงไทย ได้ออกบัตรเดบิต Krungthai Tranxit สำหรับแตะจ่ายการเดินทางพ่วงประกันอุบัติเหตุ ความคุ้มครอง 30,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ 1,000 บาทต่อครั้ง และบัตรพรีเพด PaotangPay Play Card ผูกกับเงินอิเล็กทรอนิกส์เป๋าตังเปย์ บนแอปฯ เป๋าตัง เมื่อปี 2565 โดยมีภารกิจรับรางวัล สำหรับใช้จ่ายในหมวดการเดินทางสะสมตามที่กำหนด ต้องดูว่าบัตรโดยสาร MRT ของ รฟม. ที่ผูกกับแอปฯ เป๋าตัง ซึ่งเป็น Thailand Open Digital Platform ที่มีผู้ใช้งานกว่า 40 ล้านราย หน้าตาจะเป็นอย่างไร แม้ว่าการออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้ามีลักษณะต่างคนต่างทำ โดยที่ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาก็ตาม ขณะที่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะบางรายยังคงใช้ระบบของตัวเองเป็นหลัก เช่น Rabbit ของกลุ่มบีทีเอส, บัตรแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ Hop Card ของกลุ่มไทยสมายล์บัส เป็นต้น #Newskit #EMVContactless #MRTA
    Like
    Wow
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 646 มุมมอง 0 รีวิว
  • #ไต้หวันก็เผชิญกับสถานการณ์เดียวกันกับประเทศไทย
    แต่มีการดำเนินการทางก-ฏ-ห-ม-า-ย-แล้ว
    รายละเอียดดังนี้
    ------------------------------------
    "มีคู่สามีภรรยาคู่หนึ่งในไต้หวัน ได้ใช้ Sh..p..e หาลูกค้าเพื่อทำธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินใต้ดินที่ผิ-ด-ก-ฎ-ห-ม-า-ยระหว่างไต้หวันและจีน โดยพวกเขาเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการทำธุรกรรมนี้ วิธีการคือ เมื่อลูกค้าสั่งซื้อและชำระเงินด้วยเงินดอลลาร์ไต้หวัน คู่สามีภรรยานี้จะเติม "เหรียญ D-o--u-y-i-n" ให้กับลูกค้าตามเรทแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันไว้ ในระยะเวลา 3 ปี พวกเขาฟอกรวมมูลค่าสูงถึง 170 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน ศ-า-ลชั้นต้นได้ตั-ดสิ-นให้สามีรับโทษจำ 7 ปีครึ่ง และภรรยา 4 ปี ทั้งสองสามารถอุทธรณ์ได้ โดยคดีนี้ถือเป็นกรณีแรกในไต้หวันที่มีการใช้เหรียญ D-o--u-y-i-n ในการฟอกและถูกตั-ด-สิ-น-ล-งโ-ท-ษ
    ใน D-o--u-y-i-n (TT) ผู้ใช้ไม่เพียงแค่สามารถดูวิดีโอ แต่ยังสามารถชมการถ่ายทอดสดได้
    #หากใช้เงินเติมเหรียญก็สามารถแลกเป็นของขวัญเสมือนจริงได้ เช่น "ส่งดอกไม้ ส่งรถสปอร์ต" เพื่อสนับสนุนผู้ที่ถ่ายทอดสดและมีปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบอื่น
    ผู้ถ่ายทอดสดประเภทการดูดวง Abby อธิบายว่า "ผู้ชมอาจรู้สึกว่าฉันพูดได้แม่นยำ จึงมีความรู้สึกพิเศษ และส่งของขวัญเสมือนจริงได้ เหรียญเสมือนนี้สามารถใช้ในการ #ให้ของขวัญหรือถอนออกมาเป็นเงินสดได้"
    #การให้ของขวัญในห้องถ่ายทอดสดไม่เพียงแต่สนับสนุนผู้ถ่ายทอดสด
    #แต่ยังสามารถเปลี่ยนเป็นรายได้จริงได้
    อย่างไรก็ตาม มีการเปิดเผยกรณีแรกที่มีการใช้D-o--u-y-i-nในการฟ-อ-ก-โดยผู้กระทำความผิดถูกตั-ด-สิ-น-ล-ง-โท-ษ-จา-ก-ศ-า-ล
    เมื่อค้นหาคำว่า "บริการจัดซื้อ สอนการเติมเงิน" จะพบข้อมูลมากมาย คู่สามีภรรยาที่มีนามสกุล Yuan ได้ใช้ Sh..p..e โฆษณาในลักษณะนี้ และให้บริการแลกเปลี่ยนเงินให้กับลูกค้าที่ต้องการเปลี่ยนเงินหยวน โดยให้ลูกค้าสั่งซื้อและจ่ายเงินด้วยดอลลาร์ไต้หวัน จากนั้นจะทำการเติมเหรียญ D-o--u-y-i-n ในบัญชี D-o--u-y-i-n ของลูกค้า หรือเติมคะแนนในกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์เช่น W-e-C-h-a-t หรือ A-l-i-p-a-y ตามเรทที่ตกลงกัน
    ศ-า-ลได้ตัดสินว่าทั้งคู่มีการดำเนินธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินใ--ต้-ดิ-น โดยในระยะเวลา 3 ปี ฟอกรวมมูลค่า 170 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน และค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บก็เกิน 3.31 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน
    ประธานแผนกอ-า-ญ-าศ-าล-สู-งสุ-ดนิวไทเป Chen Zhengwei กล่าวว่าผู้ใช้เหรียญ D-o--u-y-i-n สามารถใช้ในการสนับสนุนผู้ถ่ายทอดสดได้ แม้ว่าจะไม่ใช่สกุลเงินที่ถูกกฎหมาย แต่การแลกเปลี่ยนเหรียญ D-o--u-y-i-nเป็นเงินหยวนนั้นไม่มีความแตกต่างจากการแลกเงินดอลลาร์ไต้หวันเป็นเงินหยวนในรูปแบบปกติ
    แม้ว่าสามีจะแก้ต่างว่าเป็นเพียงการทำธุรกรรมปกติ และภรรยาก็กล่าวว่าไม่ทราบเรื่อง แต่-ศา-ลไม่ให้ความเชื่อถือ และตัดสินว่าการกระทำของทั้งคู่ได้ทำให้ทรัพย์สินของประชาชนถูกโอนออกไป โดยศ-า-ลชั้นต้นตั-ด-สิ-นให้สามี 7 ปีครึ่ง และภรรยา 4 ปี
    -------------------------------------------------
    เมกา ตุรกี ไต้หวัน เดี๋ยวเปิดของจีน
    ส่วนไทย เร็วๆนี้
    #คิงส์โพธิ์แดง-สำรอง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    #ไต้หวันก็เผชิญกับสถานการณ์เดียวกันกับประเทศไทย แต่มีการดำเนินการทางก-ฏ-ห-ม-า-ย-แล้ว รายละเอียดดังนี้ ------------------------------------ "มีคู่สามีภรรยาคู่หนึ่งในไต้หวัน ได้ใช้ Sh..p..e หาลูกค้าเพื่อทำธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินใต้ดินที่ผิ-ด-ก-ฎ-ห-ม-า-ยระหว่างไต้หวันและจีน โดยพวกเขาเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการทำธุรกรรมนี้ วิธีการคือ เมื่อลูกค้าสั่งซื้อและชำระเงินด้วยเงินดอลลาร์ไต้หวัน คู่สามีภรรยานี้จะเติม "เหรียญ D-o--u-y-i-n" ให้กับลูกค้าตามเรทแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันไว้ ในระยะเวลา 3 ปี พวกเขาฟอกรวมมูลค่าสูงถึง 170 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน ศ-า-ลชั้นต้นได้ตั-ดสิ-นให้สามีรับโทษจำ 7 ปีครึ่ง และภรรยา 4 ปี ทั้งสองสามารถอุทธรณ์ได้ โดยคดีนี้ถือเป็นกรณีแรกในไต้หวันที่มีการใช้เหรียญ D-o--u-y-i-n ในการฟอกและถูกตั-ด-สิ-น-ล-งโ-ท-ษ ใน D-o--u-y-i-n (TT) ผู้ใช้ไม่เพียงแค่สามารถดูวิดีโอ แต่ยังสามารถชมการถ่ายทอดสดได้ #หากใช้เงินเติมเหรียญก็สามารถแลกเป็นของขวัญเสมือนจริงได้ เช่น "ส่งดอกไม้ ส่งรถสปอร์ต" เพื่อสนับสนุนผู้ที่ถ่ายทอดสดและมีปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบอื่น ผู้ถ่ายทอดสดประเภทการดูดวง Abby อธิบายว่า "ผู้ชมอาจรู้สึกว่าฉันพูดได้แม่นยำ จึงมีความรู้สึกพิเศษ และส่งของขวัญเสมือนจริงได้ เหรียญเสมือนนี้สามารถใช้ในการ #ให้ของขวัญหรือถอนออกมาเป็นเงินสดได้" #การให้ของขวัญในห้องถ่ายทอดสดไม่เพียงแต่สนับสนุนผู้ถ่ายทอดสด #แต่ยังสามารถเปลี่ยนเป็นรายได้จริงได้ อย่างไรก็ตาม มีการเปิดเผยกรณีแรกที่มีการใช้D-o--u-y-i-nในการฟ-อ-ก-โดยผู้กระทำความผิดถูกตั-ด-สิ-น-ล-ง-โท-ษ-จา-ก-ศ-า-ล เมื่อค้นหาคำว่า "บริการจัดซื้อ สอนการเติมเงิน" จะพบข้อมูลมากมาย คู่สามีภรรยาที่มีนามสกุล Yuan ได้ใช้ Sh..p..e โฆษณาในลักษณะนี้ และให้บริการแลกเปลี่ยนเงินให้กับลูกค้าที่ต้องการเปลี่ยนเงินหยวน โดยให้ลูกค้าสั่งซื้อและจ่ายเงินด้วยดอลลาร์ไต้หวัน จากนั้นจะทำการเติมเหรียญ D-o--u-y-i-n ในบัญชี D-o--u-y-i-n ของลูกค้า หรือเติมคะแนนในกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์เช่น W-e-C-h-a-t หรือ A-l-i-p-a-y ตามเรทที่ตกลงกัน ศ-า-ลได้ตัดสินว่าทั้งคู่มีการดำเนินธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินใ--ต้-ดิ-น โดยในระยะเวลา 3 ปี ฟอกรวมมูลค่า 170 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน และค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บก็เกิน 3.31 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน ประธานแผนกอ-า-ญ-าศ-าล-สู-งสุ-ดนิวไทเป Chen Zhengwei กล่าวว่าผู้ใช้เหรียญ D-o--u-y-i-n สามารถใช้ในการสนับสนุนผู้ถ่ายทอดสดได้ แม้ว่าจะไม่ใช่สกุลเงินที่ถูกกฎหมาย แต่การแลกเปลี่ยนเหรียญ D-o--u-y-i-nเป็นเงินหยวนนั้นไม่มีความแตกต่างจากการแลกเงินดอลลาร์ไต้หวันเป็นเงินหยวนในรูปแบบปกติ แม้ว่าสามีจะแก้ต่างว่าเป็นเพียงการทำธุรกรรมปกติ และภรรยาก็กล่าวว่าไม่ทราบเรื่อง แต่-ศา-ลไม่ให้ความเชื่อถือ และตัดสินว่าการกระทำของทั้งคู่ได้ทำให้ทรัพย์สินของประชาชนถูกโอนออกไป โดยศ-า-ลชั้นต้นตั-ด-สิ-นให้สามี 7 ปีครึ่ง และภรรยา 4 ปี ------------------------------------------------- เมกา ตุรกี ไต้หวัน เดี๋ยวเปิดของจีน ส่วนไทย เร็วๆนี้ #คิงส์โพธิ์แดง-สำรอง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    Like
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1656 มุมมอง 1 รีวิว
  • แอร์เอเชียร่วมวง e-Money ในไทย

    เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับ "บิ๊กเพย์" (BigPay) ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) รายล่าสุดในไทย จากกลุ่มแคปปิตอล เอ (Capital A) บริษัทแม่ของสายการบินแอร์เอเชีย งานนี้ โทนี เฟอร์นานเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแคปปิตอล เอ เดินทางมาเปิดตัวด้วยตัวเอง พร้อมทั้งอัดงบโฆษณาโปรโมต ผ่านอินฟลูเอนเซอร์สายท่องเที่ยว

    สำหรับแอปพลิเคชัน BigPay มาพร้อมบัตรเสมือน Visa Virtual Card สำหรับใช้จ่ายผ่านร้านค้าออนไลน์ และบัตรพลาสติก Visa Platinum Prepaid Card ที่มีค่าออกบัตร 150 บาทต่อใบ สำหรับใช้จ่ายผ่านร้านค้าทั่วไป และถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ที่ต่างประเทศ พร้อมฟังก์ชัน Stash กระเป๋าเก็บเงินย่อย และ Roundup ฟังก์ชันปัดเศษเงินทอนเพื่อเก็บเงินได้ทันที

    BigPay เปิดให้บริการครั้งแรกในมาเลเซียเมื่อกลางเดือนมกราคม 2561 ปรับปรุงจากผลิตภัณฑ์บัตรเติมเงิน Big Prepaid Mastercard จุดเด่นในขณะนั้นคือ เมื่อซื้อตั๋วเครื่องบินแอร์เอเชียแล้วจ่ายผ่านบัตร BigPay ไม่เสียค่า Processing Fee เมื่อเทียบกับช่องทางอื่น ต่อมาได้ขยายบริการไปยังสิงคโปร์ และล่าสุดให้บริการในประเทศไทยเป็นแห่งที่สาม

    อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการบินแห่งมาเลเซีย (MAVCOM) สั่งห้ามแอร์เอเชียเรียกเก็บค่า Processing Fee แยกจากค่าโดยสารเมื่อปี 2562 ทำให้จุดเด่นตรงนี้หายไป

    ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่ามีผลิตภัณฑ์ e-Money ในประเทศไทย 74 ผลิตภัณฑ์ แต่ที่มีลักษณะคล้ายกัน ได้แก่ ทรูมันนี่วอลเล็ต (TrueMoney Wallet) ดีพ พ็อกเก็ต (DeepPocket) เจ วอลเล็ต (J Wallet) ไว วอลเล็ต (Wi Wallet) เป๋าตังเปย์ (Paotang Pay) ยูทริป (YouTrip) พลาเน็ตเอสซีบี (Planet SCB) และกรุงศรีบอร์ดดิ้งการ์ด (Krungsri Boarding Card) เป็นต้น

    #Newskit #BigPay #เงินอิเล็กทรอนิกส์
    แอร์เอเชียร่วมวง e-Money ในไทย เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับ "บิ๊กเพย์" (BigPay) ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) รายล่าสุดในไทย จากกลุ่มแคปปิตอล เอ (Capital A) บริษัทแม่ของสายการบินแอร์เอเชีย งานนี้ โทนี เฟอร์นานเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแคปปิตอล เอ เดินทางมาเปิดตัวด้วยตัวเอง พร้อมทั้งอัดงบโฆษณาโปรโมต ผ่านอินฟลูเอนเซอร์สายท่องเที่ยว สำหรับแอปพลิเคชัน BigPay มาพร้อมบัตรเสมือน Visa Virtual Card สำหรับใช้จ่ายผ่านร้านค้าออนไลน์ และบัตรพลาสติก Visa Platinum Prepaid Card ที่มีค่าออกบัตร 150 บาทต่อใบ สำหรับใช้จ่ายผ่านร้านค้าทั่วไป และถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ที่ต่างประเทศ พร้อมฟังก์ชัน Stash กระเป๋าเก็บเงินย่อย และ Roundup ฟังก์ชันปัดเศษเงินทอนเพื่อเก็บเงินได้ทันที BigPay เปิดให้บริการครั้งแรกในมาเลเซียเมื่อกลางเดือนมกราคม 2561 ปรับปรุงจากผลิตภัณฑ์บัตรเติมเงิน Big Prepaid Mastercard จุดเด่นในขณะนั้นคือ เมื่อซื้อตั๋วเครื่องบินแอร์เอเชียแล้วจ่ายผ่านบัตร BigPay ไม่เสียค่า Processing Fee เมื่อเทียบกับช่องทางอื่น ต่อมาได้ขยายบริการไปยังสิงคโปร์ และล่าสุดให้บริการในประเทศไทยเป็นแห่งที่สาม อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการบินแห่งมาเลเซีย (MAVCOM) สั่งห้ามแอร์เอเชียเรียกเก็บค่า Processing Fee แยกจากค่าโดยสารเมื่อปี 2562 ทำให้จุดเด่นตรงนี้หายไป ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่ามีผลิตภัณฑ์ e-Money ในประเทศไทย 74 ผลิตภัณฑ์ แต่ที่มีลักษณะคล้ายกัน ได้แก่ ทรูมันนี่วอลเล็ต (TrueMoney Wallet) ดีพ พ็อกเก็ต (DeepPocket) เจ วอลเล็ต (J Wallet) ไว วอลเล็ต (Wi Wallet) เป๋าตังเปย์ (Paotang Pay) ยูทริป (YouTrip) พลาเน็ตเอสซีบี (Planet SCB) และกรุงศรีบอร์ดดิ้งการ์ด (Krungsri Boarding Card) เป็นต้น #Newskit #BigPay #เงินอิเล็กทรอนิกส์
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 779 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทุกวันศุกร์ รัฐบาลปีนังไร้เงินสด

    รัฐบาลปีนังรณรงค์วันไร้เงินสด โดยให้ประชาชนชำระเงินผ่านระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (อี-เพย์เมนต์) เมื่อทำธุรกรรมตามหน่วยงานของรัฐทุกวันศุกร์ เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงตุลาคม 2567 เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านธุรกรรมการเงิน จากเงินสดไปยังระบบอี-เพย์เมนต์ เพิ่มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล และกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐปีนังโดยรวม

    โดยทุกวันศุกร์ ประชาชนที่ติดต่อธุรกรรมผ่านเคาน์เตอร์ ในสำนักงานของหน่วยงานของรัฐปีนัง จะต้องขำระเงินผ่านระบบอี-เพย์เมนต์เท่านั้น ได้แก่ อี-วอลเล็ต DuitNow QR แอปพลิเคชันธนาคาร บัตรเครดิต บัตรเดบิต รวมทั้งสามารถชำระเงินผ่านเครื่องคีออส และเว็บไซต์ที่เชื่อมกับระบบของรัฐ เช่น e-Bayar Aspire MBSPPay Cyber ​​Counter และอื่นๆ

    พร้อมกันนี้ บริษัทเพย์เน็ต (PayNet) ผู้ให้บริการเครือข่ายการชำระเงินในมาเลเซีย ได้มอบเงิน 500,000 ริงกิต (ประมาณ 3.85 ล้านบาท) แก่รัฐบาลปีนัง เพื่อนำไปจัดสรรเงินรางวัลให้กับแผนกของรัฐบาลปีนัง ที่มีธุรกรรมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด เพื่อจูงใจให้ทุกหน่วยงานและตัวแทนของรัฐ รณรงค์ให้ประชาชนชำระเงินในหน่วยงานของตนผ่านระบบอี-เพย์เมนต์

    ก่อนหน้านี้ รัฐบาลปีนังได้รับการยอมรับให้เป็นรัฐไร้เงินสดของมาเลเซียในปี 2567 หลังจากประสบความสำเร็จในการทำธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลมากกว่า 95% โดยตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงพฤษภาคม 2567 จัดเก็บรายได้ผ่านระบบอี-เพย์เมนต์ทั้งหมด 5.49 ล้านรายการ คิดเป็น 95.31% ของธุรกรรมทั้งหมด

    ทั้งนี้ กระทรวงการคลังของรัฐบาลกลางมาเลเซีย และเพย์เน็ตกำหนดไว้ว่า แต่ละรัฐจะต้องมีอัตราการทำธุรกรรมดิจิทัลมากกว่า 95% ขึ้นไป จึงจะได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐไร้เงินสด

    #Newskit #Penang #CashlessSociety
    ทุกวันศุกร์ รัฐบาลปีนังไร้เงินสด รัฐบาลปีนังรณรงค์วันไร้เงินสด โดยให้ประชาชนชำระเงินผ่านระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (อี-เพย์เมนต์) เมื่อทำธุรกรรมตามหน่วยงานของรัฐทุกวันศุกร์ เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงตุลาคม 2567 เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านธุรกรรมการเงิน จากเงินสดไปยังระบบอี-เพย์เมนต์ เพิ่มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล และกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐปีนังโดยรวม โดยทุกวันศุกร์ ประชาชนที่ติดต่อธุรกรรมผ่านเคาน์เตอร์ ในสำนักงานของหน่วยงานของรัฐปีนัง จะต้องขำระเงินผ่านระบบอี-เพย์เมนต์เท่านั้น ได้แก่ อี-วอลเล็ต DuitNow QR แอปพลิเคชันธนาคาร บัตรเครดิต บัตรเดบิต รวมทั้งสามารถชำระเงินผ่านเครื่องคีออส และเว็บไซต์ที่เชื่อมกับระบบของรัฐ เช่น e-Bayar Aspire MBSPPay Cyber ​​Counter และอื่นๆ พร้อมกันนี้ บริษัทเพย์เน็ต (PayNet) ผู้ให้บริการเครือข่ายการชำระเงินในมาเลเซีย ได้มอบเงิน 500,000 ริงกิต (ประมาณ 3.85 ล้านบาท) แก่รัฐบาลปีนัง เพื่อนำไปจัดสรรเงินรางวัลให้กับแผนกของรัฐบาลปีนัง ที่มีธุรกรรมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด เพื่อจูงใจให้ทุกหน่วยงานและตัวแทนของรัฐ รณรงค์ให้ประชาชนชำระเงินในหน่วยงานของตนผ่านระบบอี-เพย์เมนต์ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลปีนังได้รับการยอมรับให้เป็นรัฐไร้เงินสดของมาเลเซียในปี 2567 หลังจากประสบความสำเร็จในการทำธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลมากกว่า 95% โดยตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงพฤษภาคม 2567 จัดเก็บรายได้ผ่านระบบอี-เพย์เมนต์ทั้งหมด 5.49 ล้านรายการ คิดเป็น 95.31% ของธุรกรรมทั้งหมด ทั้งนี้ กระทรวงการคลังของรัฐบาลกลางมาเลเซีย และเพย์เน็ตกำหนดไว้ว่า แต่ละรัฐจะต้องมีอัตราการทำธุรกรรมดิจิทัลมากกว่า 95% ขึ้นไป จึงจะได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐไร้เงินสด #Newskit #Penang #CashlessSociety
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 627 มุมมอง 0 รีวิว