• แอร์เอเชียจากแม่สู่ลูก

    แคปิตอล เอ (Capital A) หรือกลุ่มแอร์เอเชียเดิม ผู้ก่อตั้งสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติมาเลเซีย กำลังปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ หลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และถูกตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย (Bursa Malaysia) จัดให้หุ้น CAPI อยู่ในสถานะ "PN17" หรือมีปัญหาทางการเงิน มาตั้งแต่ปี 2565 ล่าสุดได้รับอนุมัติแผนการปรับปรุงบริษัทฯ เมื่อวันที่ 7 มี.ค.

    โทนี่ เฟอร์นันเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแคปิตอล เอ เปิดเผยว่า จะเรียกประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งพิเศษ (EGM) ในเดือน เม.ย. เพื่อขออนุมัติแผน ก่อนยื่นเรื่องไปที่ศาลสูงเพื่อขออนุมัติแผนลดทุนจดทะเบียน ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการขายหุ้น แอร์เอเชีย เอวิเอชั่น กรุ๊ป (AAAGL) และมุ่งเน้นทำธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบิน หากปลดล็อกสถานะ PN17 ได้ จะสร้างโอกาสการเติบโตใหม่ๆ และเข้าถึงตลาดทุนมากขึ้น

    อีกด้านหนึ่ง โทนี่ยังได้เสนอขายหุ้นแบบส่วนตัว มูลค่า 1,000 ล้านริงกิต (7,700 ล้านบาท) เพื่อระดมทุนในกลุ่มบริษัทฯ ล่าสุดถือว่าเสร็จสิ้นแล้ว แต่ปฎิเสธข่าวกองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะของซาอุดิอาระเบีย (PIF) มีแผนที่ลงทุนในกลุ่มบริษัทฯ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และไม่ระบุว่าได้จองซื้อหุ้นจากการเสนอขายแบบส่วนตัวหรือไม่

    เมื่อปีที่แล้ว แคปิตอล เอ ประกาศว่าจะขายธุรกิจการบินแอร์เอเชียให้กับ แอร์เอเชีย เอ็กซ์ (Airasia X หรือหุ้น AIRX) ซึ่งแยกบริษัทออกมาทำธุรกิจการบินระยะไกล (มากกว่า 4 ชั่วโมง) ก่อนหน้านี้ ด้วยมูลค่า 6,800 ล้านริงกิต (52,000 ล้านบาท) และจะรวมแบรนด์แอร์เอเชีย เอ็กซ์ กับแอร์เอเชีย ภายใต้ชื่อ AirAsia เพียงแบรนด์เดียว

    ส่วนแคปิตอล เอ จะลดทุนจดทะเบียนเพื่อชดเชยการขาดทุนสะสม และปรับโครงสร้างธุรกิจเหลือเพียง 6 ธุรกิจหลัก ได้แก่ 1. ธุรกิจซ่อมบํารุงเครื่องบิน Asia Digital Engineering (ADE) สัดส่วนรายได้ 23% 2. ธุรกิจขนส่งสินค้า Teleport สัดส่วนรายได้ 40% 3. ธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล AirAsia MOVE สัดส่วนรายได้ 19% 4. ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มบนเครื่องบิน Santan 5. ธุรกิจฟินเทค BigPay 6. ธุรกิจบริหารจัดการแบรนด์แอร์เอเชีย Abc. International เป็นต้น

    ก่อนหน้านี้สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า แคปิตอล เอ เปิดเผยผลประกอบการปี 2567 พบว่าขาดทุนสุทธิ 475.1 ล้านริงกิต (3,632 ล้านบาท) จากปี 2566 มีกำไร 255.3 ล้านริงกิต (1,952 ล้านบาท) ส่วนใหญ่ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 1,400 ล้านริงกิต (10,700 ล้านบาท) โดยเฉพาะธุรกิจการบิน ทำให้ไตรมาสที่ 4 ขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็น 1,570 ล้านริงกิต (12,000 ล้านบาท) จาก 345.3 ล้านริงกิต (2,640 ล้านบาท) เมื่อปีก่อน

    #Newskit
    แอร์เอเชียจากแม่สู่ลูก แคปิตอล เอ (Capital A) หรือกลุ่มแอร์เอเชียเดิม ผู้ก่อตั้งสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติมาเลเซีย กำลังปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ หลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และถูกตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย (Bursa Malaysia) จัดให้หุ้น CAPI อยู่ในสถานะ "PN17" หรือมีปัญหาทางการเงิน มาตั้งแต่ปี 2565 ล่าสุดได้รับอนุมัติแผนการปรับปรุงบริษัทฯ เมื่อวันที่ 7 มี.ค. โทนี่ เฟอร์นันเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแคปิตอล เอ เปิดเผยว่า จะเรียกประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งพิเศษ (EGM) ในเดือน เม.ย. เพื่อขออนุมัติแผน ก่อนยื่นเรื่องไปที่ศาลสูงเพื่อขออนุมัติแผนลดทุนจดทะเบียน ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการขายหุ้น แอร์เอเชีย เอวิเอชั่น กรุ๊ป (AAAGL) และมุ่งเน้นทำธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบิน หากปลดล็อกสถานะ PN17 ได้ จะสร้างโอกาสการเติบโตใหม่ๆ และเข้าถึงตลาดทุนมากขึ้น อีกด้านหนึ่ง โทนี่ยังได้เสนอขายหุ้นแบบส่วนตัว มูลค่า 1,000 ล้านริงกิต (7,700 ล้านบาท) เพื่อระดมทุนในกลุ่มบริษัทฯ ล่าสุดถือว่าเสร็จสิ้นแล้ว แต่ปฎิเสธข่าวกองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะของซาอุดิอาระเบีย (PIF) มีแผนที่ลงทุนในกลุ่มบริษัทฯ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และไม่ระบุว่าได้จองซื้อหุ้นจากการเสนอขายแบบส่วนตัวหรือไม่ เมื่อปีที่แล้ว แคปิตอล เอ ประกาศว่าจะขายธุรกิจการบินแอร์เอเชียให้กับ แอร์เอเชีย เอ็กซ์ (Airasia X หรือหุ้น AIRX) ซึ่งแยกบริษัทออกมาทำธุรกิจการบินระยะไกล (มากกว่า 4 ชั่วโมง) ก่อนหน้านี้ ด้วยมูลค่า 6,800 ล้านริงกิต (52,000 ล้านบาท) และจะรวมแบรนด์แอร์เอเชีย เอ็กซ์ กับแอร์เอเชีย ภายใต้ชื่อ AirAsia เพียงแบรนด์เดียว ส่วนแคปิตอล เอ จะลดทุนจดทะเบียนเพื่อชดเชยการขาดทุนสะสม และปรับโครงสร้างธุรกิจเหลือเพียง 6 ธุรกิจหลัก ได้แก่ 1. ธุรกิจซ่อมบํารุงเครื่องบิน Asia Digital Engineering (ADE) สัดส่วนรายได้ 23% 2. ธุรกิจขนส่งสินค้า Teleport สัดส่วนรายได้ 40% 3. ธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล AirAsia MOVE สัดส่วนรายได้ 19% 4. ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มบนเครื่องบิน Santan 5. ธุรกิจฟินเทค BigPay 6. ธุรกิจบริหารจัดการแบรนด์แอร์เอเชีย Abc. International เป็นต้น ก่อนหน้านี้สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า แคปิตอล เอ เปิดเผยผลประกอบการปี 2567 พบว่าขาดทุนสุทธิ 475.1 ล้านริงกิต (3,632 ล้านบาท) จากปี 2566 มีกำไร 255.3 ล้านริงกิต (1,952 ล้านบาท) ส่วนใหญ่ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 1,400 ล้านริงกิต (10,700 ล้านบาท) โดยเฉพาะธุรกิจการบิน ทำให้ไตรมาสที่ 4 ขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็น 1,570 ล้านริงกิต (12,000 ล้านบาท) จาก 345.3 ล้านริงกิต (2,640 ล้านบาท) เมื่อปีก่อน #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 486 มุมมอง 0 รีวิว
  • แอร์เอเชียร่วมวง e-Money ในไทย

    เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับ "บิ๊กเพย์" (BigPay) ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) รายล่าสุดในไทย จากกลุ่มแคปปิตอล เอ (Capital A) บริษัทแม่ของสายการบินแอร์เอเชีย งานนี้ โทนี เฟอร์นานเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแคปปิตอล เอ เดินทางมาเปิดตัวด้วยตัวเอง พร้อมทั้งอัดงบโฆษณาโปรโมต ผ่านอินฟลูเอนเซอร์สายท่องเที่ยว

    สำหรับแอปพลิเคชัน BigPay มาพร้อมบัตรเสมือน Visa Virtual Card สำหรับใช้จ่ายผ่านร้านค้าออนไลน์ และบัตรพลาสติก Visa Platinum Prepaid Card ที่มีค่าออกบัตร 150 บาทต่อใบ สำหรับใช้จ่ายผ่านร้านค้าทั่วไป และถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ที่ต่างประเทศ พร้อมฟังก์ชัน Stash กระเป๋าเก็บเงินย่อย และ Roundup ฟังก์ชันปัดเศษเงินทอนเพื่อเก็บเงินได้ทันที

    BigPay เปิดให้บริการครั้งแรกในมาเลเซียเมื่อกลางเดือนมกราคม 2561 ปรับปรุงจากผลิตภัณฑ์บัตรเติมเงิน Big Prepaid Mastercard จุดเด่นในขณะนั้นคือ เมื่อซื้อตั๋วเครื่องบินแอร์เอเชียแล้วจ่ายผ่านบัตร BigPay ไม่เสียค่า Processing Fee เมื่อเทียบกับช่องทางอื่น ต่อมาได้ขยายบริการไปยังสิงคโปร์ และล่าสุดให้บริการในประเทศไทยเป็นแห่งที่สาม

    อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการบินแห่งมาเลเซีย (MAVCOM) สั่งห้ามแอร์เอเชียเรียกเก็บค่า Processing Fee แยกจากค่าโดยสารเมื่อปี 2562 ทำให้จุดเด่นตรงนี้หายไป

    ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่ามีผลิตภัณฑ์ e-Money ในประเทศไทย 74 ผลิตภัณฑ์ แต่ที่มีลักษณะคล้ายกัน ได้แก่ ทรูมันนี่วอลเล็ต (TrueMoney Wallet) ดีพ พ็อกเก็ต (DeepPocket) เจ วอลเล็ต (J Wallet) ไว วอลเล็ต (Wi Wallet) เป๋าตังเปย์ (Paotang Pay) ยูทริป (YouTrip) พลาเน็ตเอสซีบี (Planet SCB) และกรุงศรีบอร์ดดิ้งการ์ด (Krungsri Boarding Card) เป็นต้น

    #Newskit #BigPay #เงินอิเล็กทรอนิกส์
    แอร์เอเชียร่วมวง e-Money ในไทย เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับ "บิ๊กเพย์" (BigPay) ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) รายล่าสุดในไทย จากกลุ่มแคปปิตอล เอ (Capital A) บริษัทแม่ของสายการบินแอร์เอเชีย งานนี้ โทนี เฟอร์นานเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแคปปิตอล เอ เดินทางมาเปิดตัวด้วยตัวเอง พร้อมทั้งอัดงบโฆษณาโปรโมต ผ่านอินฟลูเอนเซอร์สายท่องเที่ยว สำหรับแอปพลิเคชัน BigPay มาพร้อมบัตรเสมือน Visa Virtual Card สำหรับใช้จ่ายผ่านร้านค้าออนไลน์ และบัตรพลาสติก Visa Platinum Prepaid Card ที่มีค่าออกบัตร 150 บาทต่อใบ สำหรับใช้จ่ายผ่านร้านค้าทั่วไป และถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ที่ต่างประเทศ พร้อมฟังก์ชัน Stash กระเป๋าเก็บเงินย่อย และ Roundup ฟังก์ชันปัดเศษเงินทอนเพื่อเก็บเงินได้ทันที BigPay เปิดให้บริการครั้งแรกในมาเลเซียเมื่อกลางเดือนมกราคม 2561 ปรับปรุงจากผลิตภัณฑ์บัตรเติมเงิน Big Prepaid Mastercard จุดเด่นในขณะนั้นคือ เมื่อซื้อตั๋วเครื่องบินแอร์เอเชียแล้วจ่ายผ่านบัตร BigPay ไม่เสียค่า Processing Fee เมื่อเทียบกับช่องทางอื่น ต่อมาได้ขยายบริการไปยังสิงคโปร์ และล่าสุดให้บริการในประเทศไทยเป็นแห่งที่สาม อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการบินแห่งมาเลเซีย (MAVCOM) สั่งห้ามแอร์เอเชียเรียกเก็บค่า Processing Fee แยกจากค่าโดยสารเมื่อปี 2562 ทำให้จุดเด่นตรงนี้หายไป ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่ามีผลิตภัณฑ์ e-Money ในประเทศไทย 74 ผลิตภัณฑ์ แต่ที่มีลักษณะคล้ายกัน ได้แก่ ทรูมันนี่วอลเล็ต (TrueMoney Wallet) ดีพ พ็อกเก็ต (DeepPocket) เจ วอลเล็ต (J Wallet) ไว วอลเล็ต (Wi Wallet) เป๋าตังเปย์ (Paotang Pay) ยูทริป (YouTrip) พลาเน็ตเอสซีบี (Planet SCB) และกรุงศรีบอร์ดดิ้งการ์ด (Krungsri Boarding Card) เป็นต้น #Newskit #BigPay #เงินอิเล็กทรอนิกส์
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 968 มุมมอง 0 รีวิว
  • Digital Token แบงก์สิงคโปร์ใช้แทน OTP

    ขณะที่การช้อปออนไลน์ หรือทำธุรกรรมการเงินในประเทศไทยยังคงใช้ SMS OTP ยืนยันการทำรายการเป็นหลัก ซึ่งในยุคนี้มีความเสี่ยงจากการถูกมิจฉาชีพทำฟิชชิ่ง (Phising) เพื่อหลอกขอข้อมูล ธนาคารกลางสิงคโปร์ และสมาคมธนาคารสิงคโปร์ ก็ประกาศว่าแต่ละธนาคารจะค่อยๆ เลิกใช้รหัส OTP ในอีก 3 เดือนข้างหน้า แล้วเปลี่ยนมาใช้ ดิจิทัล โทเคน (Digital Token) แทน

    รูปแบบของดิจิทัล โทเคน ของธนาคารในสิงคโปร์ ส่วนใหญ่มักมาในรูปแบบข้อความแจ้งเตือนแบบพุช (Push Notification) เมื่อทำธุรกรรมทางการเงิน หรือเมื่อช้อปออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต จะแจ้งเตือนว่าทำรายการดังกล่าวด้วยจำนวนเงินเท่าใด หากทำรายการเองและถูกต้องให้กดยืนยัน แทนการส่ง OTP หรือ One Time Password/PIN แบบเดิม

    ธนาคารกลางสิงคโปร์ให้เหตุผลว่า OTP ถูกนำมาใช้ในสิงคโปร์เมื่อปี 2543 หรือเมื่อ 24 ปีก่อน แต่เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนไป มิจฉาชีพหลอกลวงโดยใช้หลักวิศวกรรมสังคม (Social Engineering) ที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น ทำเว็บไซต์ปลอมเลียนแบบธนาคาร

    มาตรการนี้ช่วยให้ลูกค้าป้องกันการเข้าถึงบัญชีธนาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ว่าอาจทำให้เกิดความไม่สะดวก แต่จำเป็นต้องทำเพื่อช่วยป้องกันกลโกงและปกป้องลูกค้า ซึ่งธนาคารแต่ละแห่งยังคงทำงานอย่างใกล้ชิดกับธนาคารกลางสิงคโปร์ และกองกำลังตำรวจสิงคโปร์ เพื่อหาแนวทางต่อต้านการทุจริตทางการเงินที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

    สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันธนาคารและผู้ให้บริการบัตรเครดิตส่วนใหญ่ ยังคงใช้วิธีส่ง SMS OTP มีเพียงบัตรทราเวลการ์ดที่ชื่อว่า YouTrip (ยูทริป) ที่ออกบัตรโดยธนาคารกสิกรไทย ใช้ระบบ 3DS 2.0 แจ้งเตือนให้เข้าไปอนุมัติรายการในแอปพลิเคชัน เช่นเดียวกับบัตรพรีเพดการ์ด BigPay (บิ๊กเพย์) ของกลุ่มแอร์เอเชียที่มีลักษณะคล้ายกัน

    #Newskit #DigitalToken #MobileBanking
    Digital Token แบงก์สิงคโปร์ใช้แทน OTP ขณะที่การช้อปออนไลน์ หรือทำธุรกรรมการเงินในประเทศไทยยังคงใช้ SMS OTP ยืนยันการทำรายการเป็นหลัก ซึ่งในยุคนี้มีความเสี่ยงจากการถูกมิจฉาชีพทำฟิชชิ่ง (Phising) เพื่อหลอกขอข้อมูล ธนาคารกลางสิงคโปร์ และสมาคมธนาคารสิงคโปร์ ก็ประกาศว่าแต่ละธนาคารจะค่อยๆ เลิกใช้รหัส OTP ในอีก 3 เดือนข้างหน้า แล้วเปลี่ยนมาใช้ ดิจิทัล โทเคน (Digital Token) แทน รูปแบบของดิจิทัล โทเคน ของธนาคารในสิงคโปร์ ส่วนใหญ่มักมาในรูปแบบข้อความแจ้งเตือนแบบพุช (Push Notification) เมื่อทำธุรกรรมทางการเงิน หรือเมื่อช้อปออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต จะแจ้งเตือนว่าทำรายการดังกล่าวด้วยจำนวนเงินเท่าใด หากทำรายการเองและถูกต้องให้กดยืนยัน แทนการส่ง OTP หรือ One Time Password/PIN แบบเดิม ธนาคารกลางสิงคโปร์ให้เหตุผลว่า OTP ถูกนำมาใช้ในสิงคโปร์เมื่อปี 2543 หรือเมื่อ 24 ปีก่อน แต่เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนไป มิจฉาชีพหลอกลวงโดยใช้หลักวิศวกรรมสังคม (Social Engineering) ที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น ทำเว็บไซต์ปลอมเลียนแบบธนาคาร มาตรการนี้ช่วยให้ลูกค้าป้องกันการเข้าถึงบัญชีธนาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ว่าอาจทำให้เกิดความไม่สะดวก แต่จำเป็นต้องทำเพื่อช่วยป้องกันกลโกงและปกป้องลูกค้า ซึ่งธนาคารแต่ละแห่งยังคงทำงานอย่างใกล้ชิดกับธนาคารกลางสิงคโปร์ และกองกำลังตำรวจสิงคโปร์ เพื่อหาแนวทางต่อต้านการทุจริตทางการเงินที่เกิดขึ้นตลอดเวลา สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันธนาคารและผู้ให้บริการบัตรเครดิตส่วนใหญ่ ยังคงใช้วิธีส่ง SMS OTP มีเพียงบัตรทราเวลการ์ดที่ชื่อว่า YouTrip (ยูทริป) ที่ออกบัตรโดยธนาคารกสิกรไทย ใช้ระบบ 3DS 2.0 แจ้งเตือนให้เข้าไปอนุมัติรายการในแอปพลิเคชัน เช่นเดียวกับบัตรพรีเพดการ์ด BigPay (บิ๊กเพย์) ของกลุ่มแอร์เอเชียที่มีลักษณะคล้ายกัน #Newskit #DigitalToken #MobileBanking
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 767 มุมมอง 0 รีวิว