• หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 2 ‘เยวี่ย’

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึง ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะที่สุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์พึงมี (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数)

    สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องทักษะแรกคือห้าพิธีการ วันนี้คุยกันต่อถึงทักษะที่สองคือ ‘เยวี่ย’ เรียกรวมกว่าหกดนตรี ซึ่ง Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจหลายคนคงเข้าใจผิดเหมือน Storyฯ ว่ามันหมายถึงการเล่นดนตรี และภาพที่ลอยมาในหัวคือคุณชายดีดพิณหรือเป่าขลุ่ย

    แต่จริงๆ แล้ว ‘เยวี่ย’ ในบริบทของหกทักษะของสุภาพบุรุษนี้หมายถึงการเต้นรำ

    ใช่ค่ะ สุภาพบุรุษโบราณต้องเรียนรู้ที่จะเต้นรำ แต่มันไม่ใช่การเต้นรำทั่วไป หากแต่หมายถึงการเต้นรำหมู่ของบุรุษประกอบการบวงสรวงหรืองานสำคัญ ซึ่งเราไม่ค่อยเห็นในซีรีส์

    ‘ลิ่วเยวี่ย’ หรือหกดนตรี คือคำเรียกย่อของระบำหกยุคสมัย ‘ลิ่วไต้เยวี่ยอู่’ (六代乐舞) ซึ่งมีมาแต่หกยุคสมัยจีนโบราณบรรพกาล ประกอบด้วย
    (1) ‘อวิ๋นเหมินต้าเจวี้ยน’ (云门大卷/ระบำประตูเมฆ) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘อวิ๋นเหมิน’ เป็นการงานเฉลิมฉลองร่วมกับประชาชนในสมัยของจักรพรรดิเหลือง (หวงตี้ ประมาณสองพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเป็นการแซ่ซ้องคุณงามความดีและความเรืองรองของรัชสมัย จากรูปวาดโบราณจะเห็นว่าเป็นการเล่นเครื่องดนตรีบางชนิดไปพร้อมกับเดินเต้นไปด้วย ระบำนี้ในยุคสมัยโจวถูกใช้เป็นระบำหลักในการบวงสรวงฟ้าและเทพยดา
    (2) ‘เสียนฉือ’ (咸池) หรือ ‘ต้าเสียน’ (大咸) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิเหยา (ประมาณสองพันสามร้อยปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งคำว่าเสียนฉือเป็นชื่อเรียกเดิมของทิศพยัคฆ์ขาวหรือทิศตะวันตก ระบำเสียนฉือจึงถูกนำมาใช้เป็นระบำสักการะดินและเทพเจ้าแห่งผืนดิน
    (3) ‘ต้าสาว’ (大韶) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิซุ่น (ประมาณสองพันสองร้อยปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่เชิดชูความงดงามของธรรมชาติรอบกาย ผสมผสานบทกลอน ดนตรี และระบำเข้าด้วยกัน กล่าวคือมีคนอ่านกลอนเป็นท่วงทำนอง มีเสียงเครื่องดนตรีนับสิบชนิดบรรเลงประกอบโดยเน้นเสียงขลุ่ยเซียวเป็นหลัก และมีคนสวมหน้ากากแสดงเป็นเหล่าปักษาและนกเฟิ่งหวงฟ้อนรำ ถูกใช้เป็นระบำบวงสรวงสี่ทิศ
    (4) ‘ต้าเซี่ย’ (大夏) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์เซี่ย (ประมาณสองพันปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ต้าสู่แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ถูกใช้เป็นระบำสักการะขุนเขาและสายน้ำ เป็นระบำโบราณเดียวที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันแม้ว่าจะผ่านการเปลี่ยนแปลงมาไม่น้อย(ดูรูปประกอบ)
    (5) ‘ต้าฮู่’ (大濩) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณหนึ่งพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์เซี่ยสำเร็จ ใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษ
    (6) ‘ต้าอู่’ (大武) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์โจว เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์ซางสำเร็จ ถูกใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษเช่นกัน

    ทั้งนี้ ระบำสี่แบบแรกเป็นแบบที่เรียกว่า ‘เหวิน’ (หรือบุ๋น) แต่ระบำสองแบบสุดท้ายเป็นแบบที่เรียกว่า ‘อู่’ (หรือบู๊) ซึ่งเป็นการแสดงออกแนวฮึกเหิม นักแสดงถือโล่และอาวุธเช่นขวาน (แต่ไม่ได้ถอดเสื้อเหมือนใน <กำเนิดเทพเจ้า 1 อาณาจักรแห่งพายุ> นะ) ทั้งหมดนี้มีการกำหนดจัดเรียงแถวอย่างชัดเจน รวมแปดแถว แต่ละแถวแปดคน รวมหกสิบสี่คน และในงานใหญ่อาจมีการจัดการรำหลายแบบพร้อมกันบนลานกว้าง

    นอกจากนี้ ในงานใหญ่ยังมีการรำเสริมโดยเหล่าราชนิกุลชาย โดยกำหนดเป็นการรำอีกหกรูปแบบเรียกเป็น ‘รำเล็ก’ เพราะเป็นการรำเดี่ยวหรือกลุ่มเล็ก แต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดในชนิดของระบำ ทั้งนี้ ราชนิกุลชายในยุคราชวงศ์โจวเมื่ออายุสิบสามปีก็จะเริ่มเรียน ‘รำเล็ก’ อายุสิบห้าเรียนรำอาวุธ และเมื่ออายุได้ยี่สิบก็เรียน ‘รำใหญ่’ สำหรับพิธีบวงสรวงซึ่งก็คือหกระบำที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง และเมื่อสำเร็จการเรียนรู้ระบำต่างๆ เหล่านี้แล้วจึงเข้ารับราชการบรรจุเป็นขุนนางได้

    ทักษะด้านการรำนี้ ถูกใช้สอนในเรื่องของความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และช่วยปรับท่าทางการเดินเหินให้สง่าผึ่งผาย รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับงานสักการะต่างๆ แน่นอนว่าสุภาพบุรุษต้องเรียนรู้การเล่นดนตรี เพียงแต่มันได้ถูกระบุเป็นหกทักษะของสุภาพบุรุษเท่านั้นเอง

    สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://app.xinhuanet.com/news/article.html?articleId=1e283da99d5077df8508b27c88bfaeae
    https://chinakongzi.org/zt/2021jikong/yange/202109/t20210922_521023.htm https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    https://m.jiemian.com/article/1154435.html
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083
    https://h.bkzx.cn/knowledge/1733

    #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 2 ‘เยวี่ย’ สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึง ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะที่สุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์พึงมี (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数) สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องทักษะแรกคือห้าพิธีการ วันนี้คุยกันต่อถึงทักษะที่สองคือ ‘เยวี่ย’ เรียกรวมกว่าหกดนตรี ซึ่ง Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจหลายคนคงเข้าใจผิดเหมือน Storyฯ ว่ามันหมายถึงการเล่นดนตรี และภาพที่ลอยมาในหัวคือคุณชายดีดพิณหรือเป่าขลุ่ย แต่จริงๆ แล้ว ‘เยวี่ย’ ในบริบทของหกทักษะของสุภาพบุรุษนี้หมายถึงการเต้นรำ ใช่ค่ะ สุภาพบุรุษโบราณต้องเรียนรู้ที่จะเต้นรำ แต่มันไม่ใช่การเต้นรำทั่วไป หากแต่หมายถึงการเต้นรำหมู่ของบุรุษประกอบการบวงสรวงหรืองานสำคัญ ซึ่งเราไม่ค่อยเห็นในซีรีส์ ‘ลิ่วเยวี่ย’ หรือหกดนตรี คือคำเรียกย่อของระบำหกยุคสมัย ‘ลิ่วไต้เยวี่ยอู่’ (六代乐舞) ซึ่งมีมาแต่หกยุคสมัยจีนโบราณบรรพกาล ประกอบด้วย (1) ‘อวิ๋นเหมินต้าเจวี้ยน’ (云门大卷/ระบำประตูเมฆ) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘อวิ๋นเหมิน’ เป็นการงานเฉลิมฉลองร่วมกับประชาชนในสมัยของจักรพรรดิเหลือง (หวงตี้ ประมาณสองพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเป็นการแซ่ซ้องคุณงามความดีและความเรืองรองของรัชสมัย จากรูปวาดโบราณจะเห็นว่าเป็นการเล่นเครื่องดนตรีบางชนิดไปพร้อมกับเดินเต้นไปด้วย ระบำนี้ในยุคสมัยโจวถูกใช้เป็นระบำหลักในการบวงสรวงฟ้าและเทพยดา (2) ‘เสียนฉือ’ (咸池) หรือ ‘ต้าเสียน’ (大咸) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิเหยา (ประมาณสองพันสามร้อยปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งคำว่าเสียนฉือเป็นชื่อเรียกเดิมของทิศพยัคฆ์ขาวหรือทิศตะวันตก ระบำเสียนฉือจึงถูกนำมาใช้เป็นระบำสักการะดินและเทพเจ้าแห่งผืนดิน (3) ‘ต้าสาว’ (大韶) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิซุ่น (ประมาณสองพันสองร้อยปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่เชิดชูความงดงามของธรรมชาติรอบกาย ผสมผสานบทกลอน ดนตรี และระบำเข้าด้วยกัน กล่าวคือมีคนอ่านกลอนเป็นท่วงทำนอง มีเสียงเครื่องดนตรีนับสิบชนิดบรรเลงประกอบโดยเน้นเสียงขลุ่ยเซียวเป็นหลัก และมีคนสวมหน้ากากแสดงเป็นเหล่าปักษาและนกเฟิ่งหวงฟ้อนรำ ถูกใช้เป็นระบำบวงสรวงสี่ทิศ (4) ‘ต้าเซี่ย’ (大夏) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์เซี่ย (ประมาณสองพันปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ต้าสู่แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ถูกใช้เป็นระบำสักการะขุนเขาและสายน้ำ เป็นระบำโบราณเดียวที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันแม้ว่าจะผ่านการเปลี่ยนแปลงมาไม่น้อย(ดูรูปประกอบ) (5) ‘ต้าฮู่’ (大濩) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณหนึ่งพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์เซี่ยสำเร็จ ใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษ (6) ‘ต้าอู่’ (大武) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์โจว เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์ซางสำเร็จ ถูกใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษเช่นกัน ทั้งนี้ ระบำสี่แบบแรกเป็นแบบที่เรียกว่า ‘เหวิน’ (หรือบุ๋น) แต่ระบำสองแบบสุดท้ายเป็นแบบที่เรียกว่า ‘อู่’ (หรือบู๊) ซึ่งเป็นการแสดงออกแนวฮึกเหิม นักแสดงถือโล่และอาวุธเช่นขวาน (แต่ไม่ได้ถอดเสื้อเหมือนใน <กำเนิดเทพเจ้า 1 อาณาจักรแห่งพายุ> นะ) ทั้งหมดนี้มีการกำหนดจัดเรียงแถวอย่างชัดเจน รวมแปดแถว แต่ละแถวแปดคน รวมหกสิบสี่คน และในงานใหญ่อาจมีการจัดการรำหลายแบบพร้อมกันบนลานกว้าง นอกจากนี้ ในงานใหญ่ยังมีการรำเสริมโดยเหล่าราชนิกุลชาย โดยกำหนดเป็นการรำอีกหกรูปแบบเรียกเป็น ‘รำเล็ก’ เพราะเป็นการรำเดี่ยวหรือกลุ่มเล็ก แต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดในชนิดของระบำ ทั้งนี้ ราชนิกุลชายในยุคราชวงศ์โจวเมื่ออายุสิบสามปีก็จะเริ่มเรียน ‘รำเล็ก’ อายุสิบห้าเรียนรำอาวุธ และเมื่ออายุได้ยี่สิบก็เรียน ‘รำใหญ่’ สำหรับพิธีบวงสรวงซึ่งก็คือหกระบำที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง และเมื่อสำเร็จการเรียนรู้ระบำต่างๆ เหล่านี้แล้วจึงเข้ารับราชการบรรจุเป็นขุนนางได้ ทักษะด้านการรำนี้ ถูกใช้สอนในเรื่องของความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และช่วยปรับท่าทางการเดินเหินให้สง่าผึ่งผาย รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับงานสักการะต่างๆ แน่นอนว่าสุภาพบุรุษต้องเรียนรู้การเล่นดนตรี เพียงแต่มันได้ถูกระบุเป็นหกทักษะของสุภาพบุรุษเท่านั้นเอง สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://app.xinhuanet.com/news/article.html?articleId=1e283da99d5077df8508b27c88bfaeae https://chinakongzi.org/zt/2021jikong/yange/202109/t20210922_521023.htm https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 https://m.jiemian.com/article/1154435.html https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083 https://h.bkzx.cn/knowledge/1733 #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 264 มุมมอง 0 รีวิว
  • Fisherman Ship2
    Water color
    Size A2
    Price 2,500
    #AbstactArt
    #Decoration
    #Watercolor
    #แต่งบ้าน
    #รูปวาด
    #สีน้ำ
    #ศิลปิน
    Fisherman Ship2 Water color Size A2 Price 2,500 #AbstactArt #Decoration #Watercolor #แต่งบ้าน #รูปวาด #สีน้ำ #ศิลปิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 145 มุมมอง 0 รีวิว
  • (Ch024.057) : เดี๋ยวถามพ่อก่อน

    อยู่มาวันหนึ่งสัตว์ก็ขับไล่คนออกไปจากฟาร์มได้สำเร็จ
    และตั้งกฎขึ้นมาใหม่

    1.อะไรที่เดินด้วยสองขาคือศัตรู
    และมีกฎอีกหลายข้อ

    ผมจำได้ว่าเจอชื่อหนังสือเล่มนี้ในหิ้งหนังสือของพ่อ แต่หน้าปกเป็นรูปวาดด้วยมือของกราฟฟิกยุคเก่าสมัยก่อน

    จะกี่ปีผ่านไปเนื้อหาและการสื่อความยังร่วมสมัย

    ไม่ต้องรอถามพ่อ
    (Ch024.057) : เดี๋ยวถามพ่อก่อน อยู่มาวันหนึ่งสัตว์ก็ขับไล่คนออกไปจากฟาร์มได้สำเร็จ และตั้งกฎขึ้นมาใหม่ 1.อะไรที่เดินด้วยสองขาคือศัตรู และมีกฎอีกหลายข้อ ผมจำได้ว่าเจอชื่อหนังสือเล่มนี้ในหิ้งหนังสือของพ่อ แต่หน้าปกเป็นรูปวาดด้วยมือของกราฟฟิกยุคเก่าสมัยก่อน จะกี่ปีผ่านไปเนื้อหาและการสื่อความยังร่วมสมัย ไม่ต้องรอถามพ่อ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 198 มุมมอง 0 รีวิว
  • Name: สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
    Size: A4
    Technique: Coffee,Watercolor
    สีจากกาแฟ

    ราคา 500 บาท (500 Baht.)
    #Art
    #Decoration
    #ของแต่งบ้าน
    #รูปวาด
    #ศิลปะ
    #กาแฟ
    #สีน้ำ
    #coffee
    #กาแฟ
    Name: สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี Size: A4 Technique: Coffee,Watercolor สีจากกาแฟ ราคา 500 บาท (500 Baht.) #Art #Decoration #ของแต่งบ้าน #รูปวาด #ศิลปะ #กาแฟ #สีน้ำ #coffee #กาแฟ
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 603 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🇹🇭พิธีเปิดบ่อลูกรังวัดบ่อทอง บุญฤทธิ์ขันน้ำมนต์ปู่หลักเมืองนิมิตรอักขระอักษร "โอม" สัญลักษณ์แห่งความร่ำรวย สัญลักษณ์แห่งความสำเร็จ ขจัดอุปสรรค์ทั้งหลาย และความโชคดี
    🇹🇭คำว่า โอม หมายถึง การเรียกขานพระนามของ 3 มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่
    🇹🇭โอม ยังสามารถแยกออกเป็นคำๆ ซึ่งมีที่มาโดยการเปล่งเสียงแต่ละคำของมหาเทพได้อีก ดังนี้
    1. ตัว อะ ออกจากพระพักตร์ ทางทิศเหนือของมหาเทพ
    2. ตัว อุ ออกจากพระพักตร์ ทางทิศตะวันตกของมหาเทพ
    3. ตัว มะ ออกจากพระพักตร์ ทางทิศใต้ของมหาเทพ
    4. ตัว . (พินทุ) ออกจากพระพักตร์ ทางทิศตะวันออกของมหาเทพ
    5. เสียง นาท (เสียงที่มนุษย์ไม่สามารถได้ยินและเข้าใจได้) ออกจากกลางพระพักตร์ของมหาเทพ
    🇹🇭เมื่อท่านผู้ศรัทธาเดินผ่านเทวาลัย หรือมหาเทพองค์ใดๆ ควรพนมมือขึ้นเพื่อทำความเคารพ และให้เอ่ยคำว่า โอม สั้นๆ เพียงคำเดียว ฉะนั้นในบทสวดมนต์ของเทพทุกองค์ในศาสนาพราหมณ์ จะขึ้นต้นด้วยคำว่า โอม และในรูปวาดมหาเทพเกือบทุกรูป จะปรากฏเครื่องหมาย โอม อยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งในภาพ ซึ่งเครื่องหมาย โอม อันศักดิ์สิทธิ์นี้ ปรากฏคู่กับเครื่องหมาย พินทุ เสมออันจะเป็นเครื่องหมายที่นำความปรารถนา สุขสมหวังมาให้สามารถขจัดอุปสรรคทั้งหลายให้หมดสิ้น และชี้นำเหล่าโยคีไปสู่ปรีชาญาณ
    🇹🇭ข้าพเจ้าขอน้อมสักการะเครื่องหมาย โอม อันศักดิ์สิทธิ์นี้….จะขอพร จะกราบหรือกระทำสิ่งใดก็ตามแต่ ให้เอ่ยคำว่า โอม เสมอหัวใจหลักของศาสนาเลยทีเดียว!!
    🇹🇭อักขระ โอม เกิดจากการเรียกพระนามของพระตรีมูรติทั้ง 3 รวมกันเป็นคำเดียว ซึ่งแยกได้ดังนี้
    - พระศิวะ อะ มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระศิวะ (อะ)
    - พระวิษณุ อุ มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระวิษณุ (อุ)
    - พระพรหม มะ มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระพรหมมะ (มะ)
    🇹🇭อย่างไรก็ตาม ในการใช้ โอม แทนคำว่า สาธุ ก็จะถูกต้องตามหลักศาสนาพุทธ ดังนั้น โอม เป็นพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นคำที่ถูกเอ่ยถี่ที่สุด
    🇹🇭ในการสวดมนต์ทุกบทของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ให้เอ่ยคำว่า โอม

    --------------------------------------------------------- #โชคลาภ #พระพิฆเนศ #โอม #บ่อลูกรังวัดบ่อทอง #หลวงพ่อเกตุสุวรรณ #วัดบ่อทอง
    🇹🇭พิธีเปิดบ่อลูกรังวัดบ่อทอง บุญฤทธิ์ขันน้ำมนต์ปู่หลักเมืองนิมิตรอักขระอักษร "โอม" สัญลักษณ์แห่งความร่ำรวย สัญลักษณ์แห่งความสำเร็จ ขจัดอุปสรรค์ทั้งหลาย และความโชคดี 🇹🇭คำว่า โอม หมายถึง การเรียกขานพระนามของ 3 มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ 🇹🇭โอม ยังสามารถแยกออกเป็นคำๆ ซึ่งมีที่มาโดยการเปล่งเสียงแต่ละคำของมหาเทพได้อีก ดังนี้ 1. ตัว อะ ออกจากพระพักตร์ ทางทิศเหนือของมหาเทพ 2. ตัว อุ ออกจากพระพักตร์ ทางทิศตะวันตกของมหาเทพ 3. ตัว มะ ออกจากพระพักตร์ ทางทิศใต้ของมหาเทพ 4. ตัว . (พินทุ) ออกจากพระพักตร์ ทางทิศตะวันออกของมหาเทพ 5. เสียง นาท (เสียงที่มนุษย์ไม่สามารถได้ยินและเข้าใจได้) ออกจากกลางพระพักตร์ของมหาเทพ 🇹🇭เมื่อท่านผู้ศรัทธาเดินผ่านเทวาลัย หรือมหาเทพองค์ใดๆ ควรพนมมือขึ้นเพื่อทำความเคารพ และให้เอ่ยคำว่า โอม สั้นๆ เพียงคำเดียว ฉะนั้นในบทสวดมนต์ของเทพทุกองค์ในศาสนาพราหมณ์ จะขึ้นต้นด้วยคำว่า โอม และในรูปวาดมหาเทพเกือบทุกรูป จะปรากฏเครื่องหมาย โอม อยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งในภาพ ซึ่งเครื่องหมาย โอม อันศักดิ์สิทธิ์นี้ ปรากฏคู่กับเครื่องหมาย พินทุ เสมออันจะเป็นเครื่องหมายที่นำความปรารถนา สุขสมหวังมาให้สามารถขจัดอุปสรรคทั้งหลายให้หมดสิ้น และชี้นำเหล่าโยคีไปสู่ปรีชาญาณ 🇹🇭ข้าพเจ้าขอน้อมสักการะเครื่องหมาย โอม อันศักดิ์สิทธิ์นี้….จะขอพร จะกราบหรือกระทำสิ่งใดก็ตามแต่ ให้เอ่ยคำว่า โอม เสมอหัวใจหลักของศาสนาเลยทีเดียว!! 🇹🇭อักขระ โอม เกิดจากการเรียกพระนามของพระตรีมูรติทั้ง 3 รวมกันเป็นคำเดียว ซึ่งแยกได้ดังนี้ - พระศิวะ อะ มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระศิวะ (อะ) - พระวิษณุ อุ มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระวิษณุ (อุ) - พระพรหม มะ มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระพรหมมะ (มะ) 🇹🇭อย่างไรก็ตาม ในการใช้ โอม แทนคำว่า สาธุ ก็จะถูกต้องตามหลักศาสนาพุทธ ดังนั้น โอม เป็นพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นคำที่ถูกเอ่ยถี่ที่สุด 🇹🇭ในการสวดมนต์ทุกบทของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ให้เอ่ยคำว่า โอม --------------------------------------------------------- #โชคลาภ #พระพิฆเนศ #โอม #บ่อลูกรังวัดบ่อทอง #หลวงพ่อเกตุสุวรรณ #วัดบ่อทอง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 600 มุมมอง 0 รีวิว