• เรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> เป็นเรื่องที่ใส่รายละเอียดทางประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ถังไว้มากพอสมควร แต่ Storyฯ รู้สึกสะดุดตาอย่างมากกับลักษณะการเสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมของตัวละครเอกคนหนึ่งคือ หลี่ปี้

    ความ ‘เอ๊ะ’ คือว่า ทำไมเขาถึงเสียบปิ่นของมงกฎครอบมวยผมในแนวตรง คือจากหลังมาหน้า (ดูรูปกลางสี่เหลี่ยม) ในขณะที่ตัวละครอื่นเสียบปิ่นในแนวขวางจากขวาไปซ้ายเหมือนกับที่เราเห็นในละครจีนโบราณเรื่องอื่นๆ (ดูเปรียบเทียบตัวละครจากเรื่องเดียวกันในรูปวงกลม)

    ไปทำการบ้านมาค่ะ เลยพบว่ามีคนเขียนชมละครเรื่องนี้ว่ามีความพยายามทำให้ใกล้เคียงประวัติศาสตร์จริงมากในเรื่องการแต่งกาย ซึ่งสาเหตุที่หลี่ปี้เสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมในแนวตรงนั้น เป็นเพราะว่าเขาเป็นนักพรต

    แต่มันแตกต่างจากเรื่องอื่นที่เราเห็นนักพรตปักปิ่นในแนวขวาง Storyฯ เลยเอารูปวาดโบราณมาเปรียบเทียบให้ดู (ดูภาพเปรียบเทียบในรูปสี่เหลี่ยมที่แปะมา) ก็จะเห็นว่านักพรตในลัทธิเต๋าในช่วงยุคสมัยรัชวงศ์ถังนั้นปักปิ่นในแนวตรงจริงๆ โดยวิธีเสียบปิ่นคือจากข้างหลังมาข้างหน้า หรือที่เรียกว่า ‘จื๋ออู่จ๊าน’ (子午簪)

    ดูภาพจากละครจะเห็นว่ามงกฎครอบผมของหลี่ปี้มีสองแบบ มันคือแบบลายดอกพุดตานที่มีกลีบใหญ่ชูเด่น และแบบลายดอกบัว เดิมเรียกแยกสองแบบอย่างนี้ ต่อมาการเวลาผ่านไปถูกเรียกรวมเป็นลายดอกบัว มีเฉพาะนักพรตที่มีระดับสูงจึงจะใช้ได้

    จากข้อมูลที่หาได้ ในสมัยราชวงศ์ถังนั้น นักพรตเต๋ามีเจ็ดระดับ สูงสุดคือระดับเจ็ด มีระเบียบกำหนดเรื่องการแต่งกายไว้อย่างเคร่งครัด แตกต่างกันไปทั้งเนื้อผ้าสีผ้าของชุดและมงกุฎครอบผมตามแต่ละระดับ ตัวอย่างเช่น นักพรตระดับที่ห้า มงกฎครอบผมสีน้ำตาลเข้มรูปทรงดอกบัวกลีบสองชั้นทั้งสี่ด้าน ชุดสีเหลือง ฯลฯ นักพรตระดับที่หก มงกฎครอบผมรูปทรงดอกบัวกลีบสามชั้นทั้งสี่ด้าน ชุดสีเขียวฟ้ากระจ่าง ผ้าพาดบ่าสีม่วง ฯลฯ

    ในเนื้อเรื่องของละคร <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> Storyฯ ไม่เห็นมีข้อมูลว่าหลี่ปี้เป็นนักพรตระดับใด Storyฯ เองก็ไม่แน่ใจว่ารายละเอียดการแต่งกายในละครถูกต้องหรือไม่ มีบางเพจเขียนว่าปิ่นของหลี่ปี้สั้นไป แต่ที่ดูจะถูกต้องแน่นอนคือวิธีการเสียบปิ่นของหลี่ปี้

    แล้วที่เราเห็นในละครเรื่องอื่นที่นักพรตเสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมแนวขวางล่ะ?

    จากข้อมูลที่ Storyฯ หาเจอ วิธีเสียบปิ่นตามแนวตรงข้างต้นเป็นไปจนสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่จากสมัยราชวงศ์หมิงจนถึงราชวงศ์ชิง มีนักพรตเสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมแนวขวาง แต่มีจุดสังเกตคือจะต้องเป็นการเสียบจากซ้ายไปขวา ไม่ใช่ขวาไปซ้ายแบบคนทั่วไป และแบบแนวตรงก็ยังคงมีใช้อยู่ ซึ่งที่มาคือแนวคิดที่ว่า แนวตรงคือการแบ่งแยกหยินหยาง แนวขวางจากซ้ายคือการเกิดไปสู่ขวาคือความตาย

    แต่คนธรรมดาทั่วไปจะปักปิ่นจากขวาไปซ้ายเป็นส่วนใหญ่เพราะหลายคนถนัดขวา มีเพจหนึ่งที่อ่านเจอเขียนว่า หากคนธรรมดาปักปิ่นจากซ้ายไปขวาแสดงว่าอยู่ในระหว่างไว้ทุกข์ แต่ข้อมูลนี้ Storyฯ ไม่ได้ไปค้นหาต่อว่าใช่หรือไม่

    ต่อมามงกฎทรงดอกบัวถูกนำมาใช้สำหรับสตรีสูงศักดิ์ในวังด้วย แต่ความแตกต่างอยู่ที่ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นมงกุฎ เป็นทองคำลวดลายวิจิตรและมีการประดับหินและพลอยให้ดูอลังการ และไม่มีปิ่นปักกลางไว้ยึดผมเหมือนมงกุฎครอบมวยผมนักพรต

    ท่านใดที่ชอบละครเรื่องนี้ ลองดูลิ้งค์ที่แปะมาบางลิ้งค์ด้านล่างจะเห็นการเปรียบเทียบว่ามีการอิงประวัติศาสตร์จริงอย่างไร (อ่านไม่ออกก็ดูรูปได้) อย่างเช่นการวาดคิ้วสมัยราชวงศ์ถังแบบต่างๆ ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อหลายเดือนก่อน ก็มีปรากฎให้เห็นในบรรดาชาวบ้านที่แต่งตัวกันออกมาเที่ยวเทศกาลในเรื่องนี้ด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจากในละครและจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/72817310
    https://new.qq.com/omn/20190716/20190716A0SOED00.html?pc
    https://www.behance.net/gallery/84983593/The-Longest-Day-In-Changan-Posters
    http://www.xinhuanet.com/ent/2019-07/02/c_1124697419.htm

    #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #หลี่ปี้ #ปิ่นปักผมจีน #วัฒนธรรมจีนโบราณ StoryfromStory
    เรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> เป็นเรื่องที่ใส่รายละเอียดทางประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ถังไว้มากพอสมควร แต่ Storyฯ รู้สึกสะดุดตาอย่างมากกับลักษณะการเสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมของตัวละครเอกคนหนึ่งคือ หลี่ปี้ ความ ‘เอ๊ะ’ คือว่า ทำไมเขาถึงเสียบปิ่นของมงกฎครอบมวยผมในแนวตรง คือจากหลังมาหน้า (ดูรูปกลางสี่เหลี่ยม) ในขณะที่ตัวละครอื่นเสียบปิ่นในแนวขวางจากขวาไปซ้ายเหมือนกับที่เราเห็นในละครจีนโบราณเรื่องอื่นๆ (ดูเปรียบเทียบตัวละครจากเรื่องเดียวกันในรูปวงกลม) ไปทำการบ้านมาค่ะ เลยพบว่ามีคนเขียนชมละครเรื่องนี้ว่ามีความพยายามทำให้ใกล้เคียงประวัติศาสตร์จริงมากในเรื่องการแต่งกาย ซึ่งสาเหตุที่หลี่ปี้เสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมในแนวตรงนั้น เป็นเพราะว่าเขาเป็นนักพรต แต่มันแตกต่างจากเรื่องอื่นที่เราเห็นนักพรตปักปิ่นในแนวขวาง Storyฯ เลยเอารูปวาดโบราณมาเปรียบเทียบให้ดู (ดูภาพเปรียบเทียบในรูปสี่เหลี่ยมที่แปะมา) ก็จะเห็นว่านักพรตในลัทธิเต๋าในช่วงยุคสมัยรัชวงศ์ถังนั้นปักปิ่นในแนวตรงจริงๆ โดยวิธีเสียบปิ่นคือจากข้างหลังมาข้างหน้า หรือที่เรียกว่า ‘จื๋ออู่จ๊าน’ (子午簪) ดูภาพจากละครจะเห็นว่ามงกฎครอบผมของหลี่ปี้มีสองแบบ มันคือแบบลายดอกพุดตานที่มีกลีบใหญ่ชูเด่น และแบบลายดอกบัว เดิมเรียกแยกสองแบบอย่างนี้ ต่อมาการเวลาผ่านไปถูกเรียกรวมเป็นลายดอกบัว มีเฉพาะนักพรตที่มีระดับสูงจึงจะใช้ได้ จากข้อมูลที่หาได้ ในสมัยราชวงศ์ถังนั้น นักพรตเต๋ามีเจ็ดระดับ สูงสุดคือระดับเจ็ด มีระเบียบกำหนดเรื่องการแต่งกายไว้อย่างเคร่งครัด แตกต่างกันไปทั้งเนื้อผ้าสีผ้าของชุดและมงกุฎครอบผมตามแต่ละระดับ ตัวอย่างเช่น นักพรตระดับที่ห้า มงกฎครอบผมสีน้ำตาลเข้มรูปทรงดอกบัวกลีบสองชั้นทั้งสี่ด้าน ชุดสีเหลือง ฯลฯ นักพรตระดับที่หก มงกฎครอบผมรูปทรงดอกบัวกลีบสามชั้นทั้งสี่ด้าน ชุดสีเขียวฟ้ากระจ่าง ผ้าพาดบ่าสีม่วง ฯลฯ ในเนื้อเรื่องของละคร <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> Storyฯ ไม่เห็นมีข้อมูลว่าหลี่ปี้เป็นนักพรตระดับใด Storyฯ เองก็ไม่แน่ใจว่ารายละเอียดการแต่งกายในละครถูกต้องหรือไม่ มีบางเพจเขียนว่าปิ่นของหลี่ปี้สั้นไป แต่ที่ดูจะถูกต้องแน่นอนคือวิธีการเสียบปิ่นของหลี่ปี้ แล้วที่เราเห็นในละครเรื่องอื่นที่นักพรตเสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมแนวขวางล่ะ? จากข้อมูลที่ Storyฯ หาเจอ วิธีเสียบปิ่นตามแนวตรงข้างต้นเป็นไปจนสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่จากสมัยราชวงศ์หมิงจนถึงราชวงศ์ชิง มีนักพรตเสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมแนวขวาง แต่มีจุดสังเกตคือจะต้องเป็นการเสียบจากซ้ายไปขวา ไม่ใช่ขวาไปซ้ายแบบคนทั่วไป และแบบแนวตรงก็ยังคงมีใช้อยู่ ซึ่งที่มาคือแนวคิดที่ว่า แนวตรงคือการแบ่งแยกหยินหยาง แนวขวางจากซ้ายคือการเกิดไปสู่ขวาคือความตาย แต่คนธรรมดาทั่วไปจะปักปิ่นจากขวาไปซ้ายเป็นส่วนใหญ่เพราะหลายคนถนัดขวา มีเพจหนึ่งที่อ่านเจอเขียนว่า หากคนธรรมดาปักปิ่นจากซ้ายไปขวาแสดงว่าอยู่ในระหว่างไว้ทุกข์ แต่ข้อมูลนี้ Storyฯ ไม่ได้ไปค้นหาต่อว่าใช่หรือไม่ ต่อมามงกฎทรงดอกบัวถูกนำมาใช้สำหรับสตรีสูงศักดิ์ในวังด้วย แต่ความแตกต่างอยู่ที่ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นมงกุฎ เป็นทองคำลวดลายวิจิตรและมีการประดับหินและพลอยให้ดูอลังการ และไม่มีปิ่นปักกลางไว้ยึดผมเหมือนมงกุฎครอบมวยผมนักพรต ท่านใดที่ชอบละครเรื่องนี้ ลองดูลิ้งค์ที่แปะมาบางลิ้งค์ด้านล่างจะเห็นการเปรียบเทียบว่ามีการอิงประวัติศาสตร์จริงอย่างไร (อ่านไม่ออกก็ดูรูปได้) อย่างเช่นการวาดคิ้วสมัยราชวงศ์ถังแบบต่างๆ ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อหลายเดือนก่อน ก็มีปรากฎให้เห็นในบรรดาชาวบ้านที่แต่งตัวกันออกมาเที่ยวเทศกาลในเรื่องนี้ด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/72817310 https://new.qq.com/omn/20190716/20190716A0SOED00.html?pc https://www.behance.net/gallery/84983593/The-Longest-Day-In-Changan-Posters http://www.xinhuanet.com/ent/2019-07/02/c_1124697419.htm #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #หลี่ปี้ #ปิ่นปักผมจีน #วัฒนธรรมจีนโบราณ StoryfromStory
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 387 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มีเกร็ดเล็กๆ จากละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> มาคุยให้ฟัง (ก่อนที่ Storyฯ จะมูฟออนไปดูละครเรื่องอื่น)

    เพื่อนเพจที่ได้เคยดูละครเรื่องนี้จะคุ้นตากับหลายฉากที่หนึ่งในตัวละครเอก ซ่งอิ่นจาง บรรเลงผีผาจนผู้คนเคลิบเคลิ้ม และจะมีอยู่เพลงหนึ่งที่ทุกคนพูดถึงราวกับว่ามันเป็นเพลงที่ทุกคนรู้จักดีและบรรเลงยากยิ่งนัก ในละครเรียกว่า ‘เพลงหมิงเฟย’ หรือ ‘หมิงเฟยฉวี่’ (明妃曲)

    ในละครมีลูกค้าของโรงน้ำชาคนหนึ่งบรรยายไว้เกี่ยวกับสไตล์การบรรเลงเพลงนี้ไว้ดังนี้
    “ในทีแรกหมิงเฟยถูกส่งตัวไปชายแดน นั่นก็เพื่อประเทศชาติ จะสื่อถึงจิตใจของผู้หญิงตัวเล็กๆ อย่างเดียวได้อย่างไร ชั้นที่หนึ่งเสียงสูงต่ำต่อเนื่องกัน ชั้นที่สองเป็นความทุกข์ที่ประสบในชีวิต ชั้นที่สามเป็นความคิดถึงบ้านเกิด ส่วนชั้นที่สี่กลับมีความเป็นดนตรีชั้นสูง ตื่นเต้นฮึกเหิมไพเราะโดดเด่น เล่าถึงปณิธานอันยิ่งใหญ่ของหมิงเฟยในการต่อสู่เพื่อราชวงศ์ฮั่นที่ชายแดน” (หมายเหตุ ถอดความจากซับไทยของละคร)

    หมิงเฟยฉวี่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ แต่... ชื่อเรียกว่า ‘เพลง’ ทว่าจริงแล้วหมิงเฟยฉวี่เป็นบทกวีค่ะ

    บทกวีหมิงเฟยฉวี่มีทั้งหมดสองบท (ดูรูปสอง) รวม 32 วรรค ‘หมิงเฟย’ ที่กล่าวถึงก็คือหวางเจาจวินนั่นเอง บทแรกบรรยายถึงช่วงเวลาที่หวางเจาจวินต้องจากลาราชสำนักฮั่นเพื่อแต่งงานไปเผ่าซงหนูทางเหนือ จากบทกวีนี้เองที่เราทราบถึงตำนานที่ว่าช่างวาดภาพหลวงรับสินบนจากนางในแต่ไม่เคยได้จากหวางเจาจวิน จึงวาดภาพของนางออกมาขี้เหร่ องค์หยวนตี้ (ราชวงศ์ฮั่น) ทรงเห็นโฉมหน้านางครั้งแรกก็วันที่นางมาทูลลาเพื่อออกเดินทาง ทรงรู้สึกเสียดายนางมากและสั่งประหารช่างวาดภาพนี้ด้วยความโกรธ บทกวียังบรรยายถึงความโศกเศร้าที่นางต้องจากบ้านเกิดเมืองนอน ต้องทนอยู่กับความเหงาความคิดถึงบ้านเกิดด้วยการบรรเลงผีผา ทำทุกอย่างเพื่อความสงบของสองเมือง สุดท้ายต้องตายอยู่ต่างแดน เป็นบทกวีที่ยกย่องว่าเพราะนาง ฮั่น-ซงหนู จึงไม่ทำสงครามต่อกันยาวนานเป็นร้อยปี

    หมิงเฟยฉวี่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นบทกวีที่ยกย่องหวางเจาจวินที่ดีที่สุด เป็นบทประพันธ์ของ ‘หวางอานสือ’ (ค.ศ. 1021-1086 รูปวาดเหมือนขวาสุดของภาพแรก)

    หวางอานสือเป็นขุนนางในรัชสมัยขององค์ซ่งเหรินจงแห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ ผ่านมาหลายตำแหน่งและสูงสุดเป็นถึงอัครเสนาบดี ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในแปดกวีเอกของสมัยถัง-ซ่ง เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในการพยายามผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบอบการปกครองและเศรษฐกิจผ่านบทกฏหมายหลายฉบับ เช่น ด้านการเงินการคลัง การให้สวัสดิการรัฐ การยกเลิกการผูกขาดทางการค้า ระบบราชการแบบเครือญาติ การจัดการที่ดินและภาษี เป็นต้น แต่สุดท้ายต้านทานแรงต้านจะขุนนางอื่นที่คัดค้านแนวคิดใหม่เหล่านี้ไม่ไหว ต้องลาออกจากราชการไปในปีค.ศ. 1076

    บทเพลงที่เกี่ยวกับหวางเจาจวินมีหลายเพลงที่โด่งดัง Storyฯ ลองหาดูว่ามีบทเพลงที่มีชื่อว่าหมิงเฟยฉวี่ด้วยหรือไม่ แต่หาไม่พบ ได้ยินมาว่าเวอร์ชั่นที่บรรเลงในละครเรื่องสามบุปผาฯ ดัดแปลงจากทำนองเพลงตอนท้ายเรื่อง แต่ Storyฯ ก็ไม่ได้ไปฟังเปรียบเทียบเพิ่มเติม เพื่อนเพจท่านใดลองเปรียบเทียบดูแล้วมาเล่าสู่กันฟังได้ก็ดีนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://ent.ifeng.com/c/8H7x6pkC0rk#p=1
    https://adlovejyxg.exblog.jp/18806203/
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/234876433
    https://www.baike.com/wiki/%E7%8E%8B%E5%AE%89%E7%9F%B3?view_id=2rfylzysqee000
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/王安石/127359
    https://baike.baidu.com/item/明妃曲二首/2941120
    https://m.thepaper.cn/rss_newsDetail_14968634?from=
    https://www.163.com/dy/article/E8B57R4D05372TL1.html

    #สามบุปผา #เพลงหมิงเฟย #หมิงเฟยฉวี่ #หวางเจาจวิน #หมิงเฟย #หวางอานสือ
    วันนี้มีเกร็ดเล็กๆ จากละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> มาคุยให้ฟัง (ก่อนที่ Storyฯ จะมูฟออนไปดูละครเรื่องอื่น) เพื่อนเพจที่ได้เคยดูละครเรื่องนี้จะคุ้นตากับหลายฉากที่หนึ่งในตัวละครเอก ซ่งอิ่นจาง บรรเลงผีผาจนผู้คนเคลิบเคลิ้ม และจะมีอยู่เพลงหนึ่งที่ทุกคนพูดถึงราวกับว่ามันเป็นเพลงที่ทุกคนรู้จักดีและบรรเลงยากยิ่งนัก ในละครเรียกว่า ‘เพลงหมิงเฟย’ หรือ ‘หมิงเฟยฉวี่’ (明妃曲) ในละครมีลูกค้าของโรงน้ำชาคนหนึ่งบรรยายไว้เกี่ยวกับสไตล์การบรรเลงเพลงนี้ไว้ดังนี้ “ในทีแรกหมิงเฟยถูกส่งตัวไปชายแดน นั่นก็เพื่อประเทศชาติ จะสื่อถึงจิตใจของผู้หญิงตัวเล็กๆ อย่างเดียวได้อย่างไร ชั้นที่หนึ่งเสียงสูงต่ำต่อเนื่องกัน ชั้นที่สองเป็นความทุกข์ที่ประสบในชีวิต ชั้นที่สามเป็นความคิดถึงบ้านเกิด ส่วนชั้นที่สี่กลับมีความเป็นดนตรีชั้นสูง ตื่นเต้นฮึกเหิมไพเราะโดดเด่น เล่าถึงปณิธานอันยิ่งใหญ่ของหมิงเฟยในการต่อสู่เพื่อราชวงศ์ฮั่นที่ชายแดน” (หมายเหตุ ถอดความจากซับไทยของละคร) หมิงเฟยฉวี่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ แต่... ชื่อเรียกว่า ‘เพลง’ ทว่าจริงแล้วหมิงเฟยฉวี่เป็นบทกวีค่ะ บทกวีหมิงเฟยฉวี่มีทั้งหมดสองบท (ดูรูปสอง) รวม 32 วรรค ‘หมิงเฟย’ ที่กล่าวถึงก็คือหวางเจาจวินนั่นเอง บทแรกบรรยายถึงช่วงเวลาที่หวางเจาจวินต้องจากลาราชสำนักฮั่นเพื่อแต่งงานไปเผ่าซงหนูทางเหนือ จากบทกวีนี้เองที่เราทราบถึงตำนานที่ว่าช่างวาดภาพหลวงรับสินบนจากนางในแต่ไม่เคยได้จากหวางเจาจวิน จึงวาดภาพของนางออกมาขี้เหร่ องค์หยวนตี้ (ราชวงศ์ฮั่น) ทรงเห็นโฉมหน้านางครั้งแรกก็วันที่นางมาทูลลาเพื่อออกเดินทาง ทรงรู้สึกเสียดายนางมากและสั่งประหารช่างวาดภาพนี้ด้วยความโกรธ บทกวียังบรรยายถึงความโศกเศร้าที่นางต้องจากบ้านเกิดเมืองนอน ต้องทนอยู่กับความเหงาความคิดถึงบ้านเกิดด้วยการบรรเลงผีผา ทำทุกอย่างเพื่อความสงบของสองเมือง สุดท้ายต้องตายอยู่ต่างแดน เป็นบทกวีที่ยกย่องว่าเพราะนาง ฮั่น-ซงหนู จึงไม่ทำสงครามต่อกันยาวนานเป็นร้อยปี หมิงเฟยฉวี่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นบทกวีที่ยกย่องหวางเจาจวินที่ดีที่สุด เป็นบทประพันธ์ของ ‘หวางอานสือ’ (ค.ศ. 1021-1086 รูปวาดเหมือนขวาสุดของภาพแรก) หวางอานสือเป็นขุนนางในรัชสมัยขององค์ซ่งเหรินจงแห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ ผ่านมาหลายตำแหน่งและสูงสุดเป็นถึงอัครเสนาบดี ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในแปดกวีเอกของสมัยถัง-ซ่ง เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในการพยายามผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบอบการปกครองและเศรษฐกิจผ่านบทกฏหมายหลายฉบับ เช่น ด้านการเงินการคลัง การให้สวัสดิการรัฐ การยกเลิกการผูกขาดทางการค้า ระบบราชการแบบเครือญาติ การจัดการที่ดินและภาษี เป็นต้น แต่สุดท้ายต้านทานแรงต้านจะขุนนางอื่นที่คัดค้านแนวคิดใหม่เหล่านี้ไม่ไหว ต้องลาออกจากราชการไปในปีค.ศ. 1076 บทเพลงที่เกี่ยวกับหวางเจาจวินมีหลายเพลงที่โด่งดัง Storyฯ ลองหาดูว่ามีบทเพลงที่มีชื่อว่าหมิงเฟยฉวี่ด้วยหรือไม่ แต่หาไม่พบ ได้ยินมาว่าเวอร์ชั่นที่บรรเลงในละครเรื่องสามบุปผาฯ ดัดแปลงจากทำนองเพลงตอนท้ายเรื่อง แต่ Storyฯ ก็ไม่ได้ไปฟังเปรียบเทียบเพิ่มเติม เพื่อนเพจท่านใดลองเปรียบเทียบดูแล้วมาเล่าสู่กันฟังได้ก็ดีนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://ent.ifeng.com/c/8H7x6pkC0rk#p=1 https://adlovejyxg.exblog.jp/18806203/ https://zhuanlan.zhihu.com/p/234876433 https://www.baike.com/wiki/%E7%8E%8B%E5%AE%89%E7%9F%B3?view_id=2rfylzysqee000 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/王安石/127359 https://baike.baidu.com/item/明妃曲二首/2941120 https://m.thepaper.cn/rss_newsDetail_14968634?from= https://www.163.com/dy/article/E8B57R4D05372TL1.html #สามบุปผา #เพลงหมิงเฟย #หมิงเฟยฉวี่ #หวางเจาจวิน #หมิงเฟย #หวางอานสือ
    ENT.IFENG.COM
    林允晒《梦华录》宋引章造型 低头抚琴温婉可人
    林允晒《梦华录》宋引章造型 低头抚琴温婉可人
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 710 มุมมอง 0 รีวิว
  • เกาะเกร็ด
    สีจากกาแฟ
    size A4
    ใบละ 250
    #Decoration
    #รูปวาด
    #ของแต่งบ้าน
    #AbstractArt
    เกาะเกร็ด สีจากกาแฟ size A4 ใบละ 250 #Decoration #รูปวาด #ของแต่งบ้าน #AbstractArt
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 844 มุมมอง 0 รีวิว
  • dirty coffee snake 1
    size A4 /250b.
    #สีจากกาแฟ
    #สีจากธรรมชาติ
    #AbstractArt
    #Art
    #รูปวาด
    #ของแต่งบ้าน
    #กาแฟ
    #coffee
    #Art
    #decoration
    dirty coffee snake 1 size A4 /250b. #สีจากกาแฟ #สีจากธรรมชาติ #AbstractArt #Art #รูปวาด #ของแต่งบ้าน #กาแฟ #coffee #Art #decoration
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 987 มุมมอง 0 รีวิว
  • มะเส็ง no.2
    A4
    ราคา 500-.

    #coffeepainting
    #coffee
    #สีจากธรรมชาติ
    #Art
    #Decoration
    #ของตกแต่ง
    #บ้าน
    #รูปวาด
    มะเส็ง no.2 A4 ราคา 500-. #coffeepainting #coffee #สีจากธรรมชาติ #Art #Decoration #ของตกแต่ง #บ้าน #รูปวาด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 898 มุมมอง 0 รีวิว
  • ชอบรูปวาดคุณสนธิกับอาจารย์ปานเทพ คุณบัญชา-คามิน วาดได้น่ารักและเหมือนมากค่ะ
    ชอบรูปวาดคุณสนธิกับอาจารย์ปานเทพ คุณบัญชา-คามิน วาดได้น่ารักและเหมือนมากค่ะ 😆
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 321 มุมมอง 0 รีวิว
  • หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 2 ‘เยวี่ย’

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึง ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะที่สุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์พึงมี (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数)

    สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องทักษะแรกคือห้าพิธีการ วันนี้คุยกันต่อถึงทักษะที่สองคือ ‘เยวี่ย’ เรียกรวมกว่าหกดนตรี ซึ่ง Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจหลายคนคงเข้าใจผิดเหมือน Storyฯ ว่ามันหมายถึงการเล่นดนตรี และภาพที่ลอยมาในหัวคือคุณชายดีดพิณหรือเป่าขลุ่ย

    แต่จริงๆ แล้ว ‘เยวี่ย’ ในบริบทของหกทักษะของสุภาพบุรุษนี้หมายถึงการเต้นรำ

    ใช่ค่ะ สุภาพบุรุษโบราณต้องเรียนรู้ที่จะเต้นรำ แต่มันไม่ใช่การเต้นรำทั่วไป หากแต่หมายถึงการเต้นรำหมู่ของบุรุษประกอบการบวงสรวงหรืองานสำคัญ ซึ่งเราไม่ค่อยเห็นในซีรีส์

    ‘ลิ่วเยวี่ย’ หรือหกดนตรี คือคำเรียกย่อของระบำหกยุคสมัย ‘ลิ่วไต้เยวี่ยอู่’ (六代乐舞) ซึ่งมีมาแต่หกยุคสมัยจีนโบราณบรรพกาล ประกอบด้วย
    (1) ‘อวิ๋นเหมินต้าเจวี้ยน’ (云门大卷/ระบำประตูเมฆ) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘อวิ๋นเหมิน’ เป็นการงานเฉลิมฉลองร่วมกับประชาชนในสมัยของจักรพรรดิเหลือง (หวงตี้ ประมาณสองพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเป็นการแซ่ซ้องคุณงามความดีและความเรืองรองของรัชสมัย จากรูปวาดโบราณจะเห็นว่าเป็นการเล่นเครื่องดนตรีบางชนิดไปพร้อมกับเดินเต้นไปด้วย ระบำนี้ในยุคสมัยโจวถูกใช้เป็นระบำหลักในการบวงสรวงฟ้าและเทพยดา
    (2) ‘เสียนฉือ’ (咸池) หรือ ‘ต้าเสียน’ (大咸) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิเหยา (ประมาณสองพันสามร้อยปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งคำว่าเสียนฉือเป็นชื่อเรียกเดิมของทิศพยัคฆ์ขาวหรือทิศตะวันตก ระบำเสียนฉือจึงถูกนำมาใช้เป็นระบำสักการะดินและเทพเจ้าแห่งผืนดิน
    (3) ‘ต้าสาว’ (大韶) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิซุ่น (ประมาณสองพันสองร้อยปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่เชิดชูความงดงามของธรรมชาติรอบกาย ผสมผสานบทกลอน ดนตรี และระบำเข้าด้วยกัน กล่าวคือมีคนอ่านกลอนเป็นท่วงทำนอง มีเสียงเครื่องดนตรีนับสิบชนิดบรรเลงประกอบโดยเน้นเสียงขลุ่ยเซียวเป็นหลัก และมีคนสวมหน้ากากแสดงเป็นเหล่าปักษาและนกเฟิ่งหวงฟ้อนรำ ถูกใช้เป็นระบำบวงสรวงสี่ทิศ
    (4) ‘ต้าเซี่ย’ (大夏) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์เซี่ย (ประมาณสองพันปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ต้าสู่แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ถูกใช้เป็นระบำสักการะขุนเขาและสายน้ำ เป็นระบำโบราณเดียวที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันแม้ว่าจะผ่านการเปลี่ยนแปลงมาไม่น้อย(ดูรูปประกอบ)
    (5) ‘ต้าฮู่’ (大濩) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณหนึ่งพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์เซี่ยสำเร็จ ใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษ
    (6) ‘ต้าอู่’ (大武) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์โจว เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์ซางสำเร็จ ถูกใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษเช่นกัน

    ทั้งนี้ ระบำสี่แบบแรกเป็นแบบที่เรียกว่า ‘เหวิน’ (หรือบุ๋น) แต่ระบำสองแบบสุดท้ายเป็นแบบที่เรียกว่า ‘อู่’ (หรือบู๊) ซึ่งเป็นการแสดงออกแนวฮึกเหิม นักแสดงถือโล่และอาวุธเช่นขวาน (แต่ไม่ได้ถอดเสื้อเหมือนใน <กำเนิดเทพเจ้า 1 อาณาจักรแห่งพายุ> นะ) ทั้งหมดนี้มีการกำหนดจัดเรียงแถวอย่างชัดเจน รวมแปดแถว แต่ละแถวแปดคน รวมหกสิบสี่คน และในงานใหญ่อาจมีการจัดการรำหลายแบบพร้อมกันบนลานกว้าง

    นอกจากนี้ ในงานใหญ่ยังมีการรำเสริมโดยเหล่าราชนิกุลชาย โดยกำหนดเป็นการรำอีกหกรูปแบบเรียกเป็น ‘รำเล็ก’ เพราะเป็นการรำเดี่ยวหรือกลุ่มเล็ก แต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดในชนิดของระบำ ทั้งนี้ ราชนิกุลชายในยุคราชวงศ์โจวเมื่ออายุสิบสามปีก็จะเริ่มเรียน ‘รำเล็ก’ อายุสิบห้าเรียนรำอาวุธ และเมื่ออายุได้ยี่สิบก็เรียน ‘รำใหญ่’ สำหรับพิธีบวงสรวงซึ่งก็คือหกระบำที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง และเมื่อสำเร็จการเรียนรู้ระบำต่างๆ เหล่านี้แล้วจึงเข้ารับราชการบรรจุเป็นขุนนางได้

    ทักษะด้านการรำนี้ ถูกใช้สอนในเรื่องของความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และช่วยปรับท่าทางการเดินเหินให้สง่าผึ่งผาย รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับงานสักการะต่างๆ แน่นอนว่าสุภาพบุรุษต้องเรียนรู้การเล่นดนตรี เพียงแต่มันได้ถูกระบุเป็นหกทักษะของสุภาพบุรุษเท่านั้นเอง

    สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://app.xinhuanet.com/news/article.html?articleId=1e283da99d5077df8508b27c88bfaeae
    https://chinakongzi.org/zt/2021jikong/yange/202109/t20210922_521023.htm https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    https://m.jiemian.com/article/1154435.html
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083
    https://h.bkzx.cn/knowledge/1733

    #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 2 ‘เยวี่ย’ สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึง ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะที่สุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์พึงมี (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数) สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องทักษะแรกคือห้าพิธีการ วันนี้คุยกันต่อถึงทักษะที่สองคือ ‘เยวี่ย’ เรียกรวมกว่าหกดนตรี ซึ่ง Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจหลายคนคงเข้าใจผิดเหมือน Storyฯ ว่ามันหมายถึงการเล่นดนตรี และภาพที่ลอยมาในหัวคือคุณชายดีดพิณหรือเป่าขลุ่ย แต่จริงๆ แล้ว ‘เยวี่ย’ ในบริบทของหกทักษะของสุภาพบุรุษนี้หมายถึงการเต้นรำ ใช่ค่ะ สุภาพบุรุษโบราณต้องเรียนรู้ที่จะเต้นรำ แต่มันไม่ใช่การเต้นรำทั่วไป หากแต่หมายถึงการเต้นรำหมู่ของบุรุษประกอบการบวงสรวงหรืองานสำคัญ ซึ่งเราไม่ค่อยเห็นในซีรีส์ ‘ลิ่วเยวี่ย’ หรือหกดนตรี คือคำเรียกย่อของระบำหกยุคสมัย ‘ลิ่วไต้เยวี่ยอู่’ (六代乐舞) ซึ่งมีมาแต่หกยุคสมัยจีนโบราณบรรพกาล ประกอบด้วย (1) ‘อวิ๋นเหมินต้าเจวี้ยน’ (云门大卷/ระบำประตูเมฆ) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘อวิ๋นเหมิน’ เป็นการงานเฉลิมฉลองร่วมกับประชาชนในสมัยของจักรพรรดิเหลือง (หวงตี้ ประมาณสองพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเป็นการแซ่ซ้องคุณงามความดีและความเรืองรองของรัชสมัย จากรูปวาดโบราณจะเห็นว่าเป็นการเล่นเครื่องดนตรีบางชนิดไปพร้อมกับเดินเต้นไปด้วย ระบำนี้ในยุคสมัยโจวถูกใช้เป็นระบำหลักในการบวงสรวงฟ้าและเทพยดา (2) ‘เสียนฉือ’ (咸池) หรือ ‘ต้าเสียน’ (大咸) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิเหยา (ประมาณสองพันสามร้อยปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งคำว่าเสียนฉือเป็นชื่อเรียกเดิมของทิศพยัคฆ์ขาวหรือทิศตะวันตก ระบำเสียนฉือจึงถูกนำมาใช้เป็นระบำสักการะดินและเทพเจ้าแห่งผืนดิน (3) ‘ต้าสาว’ (大韶) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิซุ่น (ประมาณสองพันสองร้อยปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่เชิดชูความงดงามของธรรมชาติรอบกาย ผสมผสานบทกลอน ดนตรี และระบำเข้าด้วยกัน กล่าวคือมีคนอ่านกลอนเป็นท่วงทำนอง มีเสียงเครื่องดนตรีนับสิบชนิดบรรเลงประกอบโดยเน้นเสียงขลุ่ยเซียวเป็นหลัก และมีคนสวมหน้ากากแสดงเป็นเหล่าปักษาและนกเฟิ่งหวงฟ้อนรำ ถูกใช้เป็นระบำบวงสรวงสี่ทิศ (4) ‘ต้าเซี่ย’ (大夏) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์เซี่ย (ประมาณสองพันปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ต้าสู่แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ถูกใช้เป็นระบำสักการะขุนเขาและสายน้ำ เป็นระบำโบราณเดียวที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันแม้ว่าจะผ่านการเปลี่ยนแปลงมาไม่น้อย(ดูรูปประกอบ) (5) ‘ต้าฮู่’ (大濩) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณหนึ่งพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์เซี่ยสำเร็จ ใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษ (6) ‘ต้าอู่’ (大武) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์โจว เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์ซางสำเร็จ ถูกใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษเช่นกัน ทั้งนี้ ระบำสี่แบบแรกเป็นแบบที่เรียกว่า ‘เหวิน’ (หรือบุ๋น) แต่ระบำสองแบบสุดท้ายเป็นแบบที่เรียกว่า ‘อู่’ (หรือบู๊) ซึ่งเป็นการแสดงออกแนวฮึกเหิม นักแสดงถือโล่และอาวุธเช่นขวาน (แต่ไม่ได้ถอดเสื้อเหมือนใน <กำเนิดเทพเจ้า 1 อาณาจักรแห่งพายุ> นะ) ทั้งหมดนี้มีการกำหนดจัดเรียงแถวอย่างชัดเจน รวมแปดแถว แต่ละแถวแปดคน รวมหกสิบสี่คน และในงานใหญ่อาจมีการจัดการรำหลายแบบพร้อมกันบนลานกว้าง นอกจากนี้ ในงานใหญ่ยังมีการรำเสริมโดยเหล่าราชนิกุลชาย โดยกำหนดเป็นการรำอีกหกรูปแบบเรียกเป็น ‘รำเล็ก’ เพราะเป็นการรำเดี่ยวหรือกลุ่มเล็ก แต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดในชนิดของระบำ ทั้งนี้ ราชนิกุลชายในยุคราชวงศ์โจวเมื่ออายุสิบสามปีก็จะเริ่มเรียน ‘รำเล็ก’ อายุสิบห้าเรียนรำอาวุธ และเมื่ออายุได้ยี่สิบก็เรียน ‘รำใหญ่’ สำหรับพิธีบวงสรวงซึ่งก็คือหกระบำที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง และเมื่อสำเร็จการเรียนรู้ระบำต่างๆ เหล่านี้แล้วจึงเข้ารับราชการบรรจุเป็นขุนนางได้ ทักษะด้านการรำนี้ ถูกใช้สอนในเรื่องของความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และช่วยปรับท่าทางการเดินเหินให้สง่าผึ่งผาย รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับงานสักการะต่างๆ แน่นอนว่าสุภาพบุรุษต้องเรียนรู้การเล่นดนตรี เพียงแต่มันได้ถูกระบุเป็นหกทักษะของสุภาพบุรุษเท่านั้นเอง สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://app.xinhuanet.com/news/article.html?articleId=1e283da99d5077df8508b27c88bfaeae https://chinakongzi.org/zt/2021jikong/yange/202109/t20210922_521023.htm https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 https://m.jiemian.com/article/1154435.html https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083 https://h.bkzx.cn/knowledge/1733 #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1343 มุมมอง 0 รีวิว
  • Fisherman Ship2
    Water color
    Size A2
    Price 2,500
    #AbstactArt
    #Decoration
    #Watercolor
    #แต่งบ้าน
    #รูปวาด
    #สีน้ำ
    #ศิลปิน
    Fisherman Ship2 Water color Size A2 Price 2,500 #AbstactArt #Decoration #Watercolor #แต่งบ้าน #รูปวาด #สีน้ำ #ศิลปิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 816 มุมมอง 0 รีวิว
  • (Ch024.057) : เดี๋ยวถามพ่อก่อน

    อยู่มาวันหนึ่งสัตว์ก็ขับไล่คนออกไปจากฟาร์มได้สำเร็จ
    และตั้งกฎขึ้นมาใหม่

    1.อะไรที่เดินด้วยสองขาคือศัตรู
    และมีกฎอีกหลายข้อ

    ผมจำได้ว่าเจอชื่อหนังสือเล่มนี้ในหิ้งหนังสือของพ่อ แต่หน้าปกเป็นรูปวาดด้วยมือของกราฟฟิกยุคเก่าสมัยก่อน

    จะกี่ปีผ่านไปเนื้อหาและการสื่อความยังร่วมสมัย

    ไม่ต้องรอถามพ่อ
    (Ch024.057) : เดี๋ยวถามพ่อก่อน อยู่มาวันหนึ่งสัตว์ก็ขับไล่คนออกไปจากฟาร์มได้สำเร็จ และตั้งกฎขึ้นมาใหม่ 1.อะไรที่เดินด้วยสองขาคือศัตรู และมีกฎอีกหลายข้อ ผมจำได้ว่าเจอชื่อหนังสือเล่มนี้ในหิ้งหนังสือของพ่อ แต่หน้าปกเป็นรูปวาดด้วยมือของกราฟฟิกยุคเก่าสมัยก่อน จะกี่ปีผ่านไปเนื้อหาและการสื่อความยังร่วมสมัย ไม่ต้องรอถามพ่อ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 387 มุมมอง 0 รีวิว
  • Name: สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
    Size: A4
    Technique: Coffee,Watercolor
    สีจากกาแฟ

    ราคา 500 บาท (500 Baht.)
    #Art
    #Decoration
    #ของแต่งบ้าน
    #รูปวาด
    #ศิลปะ
    #กาแฟ
    #สีน้ำ
    #coffee
    #กาแฟ
    Name: สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี Size: A4 Technique: Coffee,Watercolor สีจากกาแฟ ราคา 500 บาท (500 Baht.) #Art #Decoration #ของแต่งบ้าน #รูปวาด #ศิลปะ #กาแฟ #สีน้ำ #coffee #กาแฟ
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1304 มุมมอง 0 รีวิว
  • พิธีเปิดบ่อลูกรังวัดบ่อทอง บุญฤทธิ์ขันน้ำมนต์ปู่หลักเมืองนิมิตรอักขระอักษร "โอม" สัญลักษณ์แห่งความร่ำรวย สัญลักษณ์แห่งความสำเร็จ ขจัดอุปสรรค์ทั้งหลาย และความโชคดี
    คำว่า โอม หมายถึง การเรียกขานพระนามของ 3 มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่
    โอม ยังสามารถแยกออกเป็นคำๆ ซึ่งมีที่มาโดยการเปล่งเสียงแต่ละคำของมหาเทพได้อีก ดังนี้
    1. ตัว อะ ออกจากพระพักตร์ ทางทิศเหนือของมหาเทพ
    2. ตัว อุ ออกจากพระพักตร์ ทางทิศตะวันตกของมหาเทพ
    3. ตัว มะ ออกจากพระพักตร์ ทางทิศใต้ของมหาเทพ
    4. ตัว . (พินทุ) ออกจากพระพักตร์ ทางทิศตะวันออกของมหาเทพ
    5. เสียง นาท (เสียงที่มนุษย์ไม่สามารถได้ยินและเข้าใจได้) ออกจากกลางพระพักตร์ของมหาเทพ
    เมื่อท่านผู้ศรัทธาเดินผ่านเทวาลัย หรือมหาเทพองค์ใดๆ ควรพนมมือขึ้นเพื่อทำความเคารพ และให้เอ่ยคำว่า โอม สั้นๆ เพียงคำเดียว ฉะนั้นในบทสวดมนต์ของเทพทุกองค์ในศาสนาพราหมณ์ จะขึ้นต้นด้วยคำว่า โอม และในรูปวาดมหาเทพเกือบทุกรูป จะปรากฏเครื่องหมาย โอม อยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งในภาพ ซึ่งเครื่องหมาย โอม อันศักดิ์สิทธิ์นี้ ปรากฏคู่กับเครื่องหมาย พินทุ เสมออันจะเป็นเครื่องหมายที่นำความปรารถนา สุขสมหวังมาให้สามารถขจัดอุปสรรคทั้งหลายให้หมดสิ้น และชี้นำเหล่าโยคีไปสู่ปรีชาญาณ
    ข้าพเจ้าขอน้อมสักการะเครื่องหมาย โอม อันศักดิ์สิทธิ์นี้….จะขอพร จะกราบหรือกระทำสิ่งใดก็ตามแต่ ให้เอ่ยคำว่า โอม เสมอหัวใจหลักของศาสนาเลยทีเดียว!!
    อักขระ โอม เกิดจากการเรียกพระนามของพระตรีมูรติทั้ง 3 รวมกันเป็นคำเดียว ซึ่งแยกได้ดังนี้
    - พระศิวะ อะ มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระศิวะ (อะ)
    - พระวิษณุ อุ มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระวิษณุ (อุ)
    - พระพรหม มะ มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระพรหมมะ (มะ)
    อย่างไรก็ตาม ในการใช้ โอม แทนคำว่า สาธุ ก็จะถูกต้องตามหลักศาสนาพุทธ ดังนั้น โอม เป็นพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นคำที่ถูกเอ่ยถี่ที่สุด
    ในการสวดมนต์ทุกบทของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ให้เอ่ยคำว่า โอม

    --------------------------------------------------------- #โชคลาภ #พระพิฆเนศ #โอม #บ่อลูกรังวัดบ่อทอง #หลวงพ่อเกตุสุวรรณ #วัดบ่อทอง
    🇹🇭พิธีเปิดบ่อลูกรังวัดบ่อทอง บุญฤทธิ์ขันน้ำมนต์ปู่หลักเมืองนิมิตรอักขระอักษร "โอม" สัญลักษณ์แห่งความร่ำรวย สัญลักษณ์แห่งความสำเร็จ ขจัดอุปสรรค์ทั้งหลาย และความโชคดี 🇹🇭คำว่า โอม หมายถึง การเรียกขานพระนามของ 3 มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ 🇹🇭โอม ยังสามารถแยกออกเป็นคำๆ ซึ่งมีที่มาโดยการเปล่งเสียงแต่ละคำของมหาเทพได้อีก ดังนี้ 1. ตัว อะ ออกจากพระพักตร์ ทางทิศเหนือของมหาเทพ 2. ตัว อุ ออกจากพระพักตร์ ทางทิศตะวันตกของมหาเทพ 3. ตัว มะ ออกจากพระพักตร์ ทางทิศใต้ของมหาเทพ 4. ตัว . (พินทุ) ออกจากพระพักตร์ ทางทิศตะวันออกของมหาเทพ 5. เสียง นาท (เสียงที่มนุษย์ไม่สามารถได้ยินและเข้าใจได้) ออกจากกลางพระพักตร์ของมหาเทพ 🇹🇭เมื่อท่านผู้ศรัทธาเดินผ่านเทวาลัย หรือมหาเทพองค์ใดๆ ควรพนมมือขึ้นเพื่อทำความเคารพ และให้เอ่ยคำว่า โอม สั้นๆ เพียงคำเดียว ฉะนั้นในบทสวดมนต์ของเทพทุกองค์ในศาสนาพราหมณ์ จะขึ้นต้นด้วยคำว่า โอม และในรูปวาดมหาเทพเกือบทุกรูป จะปรากฏเครื่องหมาย โอม อยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งในภาพ ซึ่งเครื่องหมาย โอม อันศักดิ์สิทธิ์นี้ ปรากฏคู่กับเครื่องหมาย พินทุ เสมออันจะเป็นเครื่องหมายที่นำความปรารถนา สุขสมหวังมาให้สามารถขจัดอุปสรรคทั้งหลายให้หมดสิ้น และชี้นำเหล่าโยคีไปสู่ปรีชาญาณ 🇹🇭ข้าพเจ้าขอน้อมสักการะเครื่องหมาย โอม อันศักดิ์สิทธิ์นี้….จะขอพร จะกราบหรือกระทำสิ่งใดก็ตามแต่ ให้เอ่ยคำว่า โอม เสมอหัวใจหลักของศาสนาเลยทีเดียว!! 🇹🇭อักขระ โอม เกิดจากการเรียกพระนามของพระตรีมูรติทั้ง 3 รวมกันเป็นคำเดียว ซึ่งแยกได้ดังนี้ - พระศิวะ อะ มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระศิวะ (อะ) - พระวิษณุ อุ มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระวิษณุ (อุ) - พระพรหม มะ มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระพรหมมะ (มะ) 🇹🇭อย่างไรก็ตาม ในการใช้ โอม แทนคำว่า สาธุ ก็จะถูกต้องตามหลักศาสนาพุทธ ดังนั้น โอม เป็นพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นคำที่ถูกเอ่ยถี่ที่สุด 🇹🇭ในการสวดมนต์ทุกบทของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ให้เอ่ยคำว่า โอม --------------------------------------------------------- #โชคลาภ #พระพิฆเนศ #โอม #บ่อลูกรังวัดบ่อทอง #หลวงพ่อเกตุสุวรรณ #วัดบ่อทอง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1219 มุมมอง 0 รีวิว