• พังงา - เมียเจ้าของเรือเครียด ปิดปากเงียบไม่ขอพูดอะไร กลัวพม่าเคืองไม่ปล่อยตัวสามีและลูกเรือกลับบ้าน ด้านลูกน้องเฝ้ารอเมื่อไหร่จะได้กลับมาออกเรือ

    จากกรณีทหารเรือพม่าไล่ยิงเรือประมงไทย และจับเรือประมงไทย จำนวน 1 ลำ พร้อมไต๋เรือ และลูกเรือประมง รวม 31 คน โดยในจำนวนนั้นมีคนไทยอยู่ด้วย 4 คน เหตุเกิดเมื่อวันที่ 30 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อวานนี้ (16 ธ.ค.) มีรายงานว่าศาลเกาะสอง ประเทศพม่าได้ตัดสินจำคุกเจ้าของเรือประมง รวม 6 ปี และลูกเรือคนไทย คนละ 4 ปี ในความผิดหลายข้อหาหนัก รุกล้ำน่านน้ำ ทำประมงและลักลอบเข้าประเทศ และลดโทษเหลือเพียงรอลงอาญา จะปล่อยตัวคนไทยกลับหลังปีใหม่

    ล่าสุด เมื่อเช้าวันนี้ (17 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่แพปลา ส.ธนาพร บ้านน้ำเค็ม หมู่ที่ 2 ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า ลูกเรือประมงที่ถุกทางการพม่าจับ มานั่งรอการกลับมาของนายจ้าง คือ นายวิโรจน์ สะพานทอง ณ นคร อายุ 69 ปี เจ้าของเรือ ส.เจริญชัย 8 พร้อมลูกเรือชาวไทยและ ลูกเรือพม่า

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/south/detail/9670000120980

    #MGROnline #พังงา #ทหารเรือพม่า #ไล่ยิง #เรือประมงไทย #จับเรือประมงไทย #รุกล้ำน่านน้ำ #ทำประมง #ลักลอบเข้าประเทศ
    พังงา - เมียเจ้าของเรือเครียด ปิดปากเงียบไม่ขอพูดอะไร กลัวพม่าเคืองไม่ปล่อยตัวสามีและลูกเรือกลับบ้าน ด้านลูกน้องเฝ้ารอเมื่อไหร่จะได้กลับมาออกเรือ • จากกรณีทหารเรือพม่าไล่ยิงเรือประมงไทย และจับเรือประมงไทย จำนวน 1 ลำ พร้อมไต๋เรือ และลูกเรือประมง รวม 31 คน โดยในจำนวนนั้นมีคนไทยอยู่ด้วย 4 คน เหตุเกิดเมื่อวันที่ 30 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อวานนี้ (16 ธ.ค.) มีรายงานว่าศาลเกาะสอง ประเทศพม่าได้ตัดสินจำคุกเจ้าของเรือประมง รวม 6 ปี และลูกเรือคนไทย คนละ 4 ปี ในความผิดหลายข้อหาหนัก รุกล้ำน่านน้ำ ทำประมงและลักลอบเข้าประเทศ และลดโทษเหลือเพียงรอลงอาญา จะปล่อยตัวคนไทยกลับหลังปีใหม่ • ล่าสุด เมื่อเช้าวันนี้ (17 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่แพปลา ส.ธนาพร บ้านน้ำเค็ม หมู่ที่ 2 ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า ลูกเรือประมงที่ถุกทางการพม่าจับ มานั่งรอการกลับมาของนายจ้าง คือ นายวิโรจน์ สะพานทอง ณ นคร อายุ 69 ปี เจ้าของเรือ ส.เจริญชัย 8 พร้อมลูกเรือชาวไทยและ ลูกเรือพม่า • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/south/detail/9670000120980 • #MGROnline #พังงา #ทหารเรือพม่า #ไล่ยิง #เรือประมงไทย #จับเรือประมงไทย #รุกล้ำน่านน้ำ #ทำประมง #ลักลอบเข้าประเทศ
    Sad
    1
    0 Comments 0 Shares 211 Views 0 Reviews
  • จำคุก4ลูกเรือไทย รุกล้ำน่านน้ำ-ลอบเข้าประเทศเมียนมาร์ (16/12/67) #news1 #จำคุก4ลูกเรือไทย #รุกล้ำน่านน้ำ
    จำคุก4ลูกเรือไทย รุกล้ำน่านน้ำ-ลอบเข้าประเทศเมียนมาร์ (16/12/67) #news1 #จำคุก4ลูกเรือไทย #รุกล้ำน่านน้ำ
    Like
    Angry
    8
    0 Comments 0 Shares 681 Views 30 0 Reviews
  • ศาลเกาะสอง ประเทศเมียนมา ตัดสินจำคุกเจ้าของเรือประมง รวม 6 ปี และ ลูกเรือคนไทย คนละ 4 ปี มีความผิดหลายข้อหาหนัก รุกล้ำน่านน้ำ ทำประมง-ลอบเข้าประเทศ

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000120676

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ศาลเกาะสอง ประเทศเมียนมา ตัดสินจำคุกเจ้าของเรือประมง รวม 6 ปี และ ลูกเรือคนไทย คนละ 4 ปี มีความผิดหลายข้อหาหนัก รุกล้ำน่านน้ำ ทำประมง-ลอบเข้าประเทศ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000120676 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Sad
    8
    0 Comments 0 Shares 684 Views 0 Reviews
  • #ยกเลิก #MOU2544 #JC2544 เร็วที่สุด
    ถ้าโดน #กฎหมายปิดปาก แบบเดิม #ไทย ก็ #เสียดินแดน เสีย #พื้นที่ #ทะเล เสีย #ทรัพยากร ทางทะเลทั้งหมด ทั้ง #อาหารทะเล #น้ำมัน #แร่ธาตุ #พืชน้ำสัตว์น้ำ ฯลฯ

    #ประเทศไทย เคยเสีย #ดินแดน #อาณาเขต #อธิปไตย #เขาพระวิหาร เพราะ กฎหมายปิดปาก คือ การ #เงียบเฉย #ปล่อย และ #ไม่ปฏิเสธ #เส้นแบ่งเขต #พื้นที่ของไทย ที่ #เพื่อนบ้าน #รุกล้ำ เข้ามา #ศาลโลก ตัดสินว่า นั่นคือการ #ยอมรับ แล้ว ทำให้พื้นที่ที่โดนรุกตกเป็นของเพื่อนบ้านไปเลย … ในครั้งนี้ #เขมร กำลังทำแบบเดิม

    ขอถาม #ประชาชน #คนไทย #ทหาร #กองทัพ #กระทรวงการต่างประเทศ จะยังเฉย ยังปล่อย ไม่ยุ่ง ไม่เกี่ยว ไม่สนใจ เอาตัวรอด ก้มหน้าทำมาหากินแต่ตัวเอง แบบเดิมๆ อีกไหม?
    #ยกเลิก #MOU2544 #JC2544 เร็วที่สุด ถ้าโดน #กฎหมายปิดปาก แบบเดิม #ไทย ก็ #เสียดินแดน เสีย #พื้นที่ #ทะเล เสีย #ทรัพยากร ทางทะเลทั้งหมด ทั้ง #อาหารทะเล #น้ำมัน #แร่ธาตุ #พืชน้ำสัตว์น้ำ ฯลฯ #ประเทศไทย เคยเสีย #ดินแดน #อาณาเขต #อธิปไตย #เขาพระวิหาร เพราะ กฎหมายปิดปาก คือ การ #เงียบเฉย #ปล่อย และ #ไม่ปฏิเสธ #เส้นแบ่งเขต #พื้นที่ของไทย ที่ #เพื่อนบ้าน #รุกล้ำ เข้ามา #ศาลโลก ตัดสินว่า นั่นคือการ #ยอมรับ แล้ว ทำให้พื้นที่ที่โดนรุกตกเป็นของเพื่อนบ้านไปเลย … ในครั้งนี้ #เขมร กำลังทำแบบเดิม ขอถาม #ประชาชน #คนไทย #ทหาร #กองทัพ #กระทรวงการต่างประเทศ จะยังเฉย ยังปล่อย ไม่ยุ่ง ไม่เกี่ยว ไม่สนใจ เอาตัวรอด ก้มหน้าทำมาหากินแต่ตัวเอง แบบเดิมๆ อีกไหม?
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 356 Views 0 Reviews
  • ไทเปกล่าวหาจีนขยายการซ้อมรบรอบไต้หวันในเวลานี้ เพื่อขีด “เส้นแดง” ห้ามเข้ามายุ่งเกี่ยว เป็นการต้อนรับว่าที่ประธานาธิบดีใหม่ของอเมริกา พร้อมตราหน้าปักกิ่งเป็น “ตัวก่อปัญหา” ขณะที่จีนฟาดกลับ บอก “คนนอก” และ “พวกแบ่งแยกดินแดน” กำลังบ่อนทำลายเสถียรภาพช่องแคบไต้หวัน ย้ำพร้อมทำทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ
    .
    ไต้หวันกำลังเร่งออกมากล่าวหาว่า จีนกำลังซ้อมรบทางทะเลครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายปี โดยมีการจำลองสถานการณ์ทั้งการโจมตีเรือต่างชาติเพื่อไม่ให้ล่วงล้ำเข้ามาแทรกแซง และการปิดเส้นทางเดินเรือรอบเกาะไต้หวัน
    .
    กระทรวงการต่างประเทศไต้หวันแถลงเมื่อวันพุธ (11 ธ.ค.)ว่า การที่จีนเพิ่มกิจกรรมทางทหารรอบเกาะไต้หวันเช่นนี้เป็นหลักฐานชัดเจนว่า ปักกิ่งเป็น “ตัวก่อปัญหา”
    .
    ส่วนเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านความมั่นคงแห่งชาติคนหนึ่งของไต้หวันกล่าวในการแถลงข่าวเมื่อวันพุธ เช่นกันว่า จีนเริ่มวางแผนการซ้อมรบนี้มาตั้งแต่เดือนตุลาคม โดยมีเป้าหมายเพื่อโชว์ว่า จีนสามารถปิดล้อมไต้หวันและ “ขีดเส้นแดง” ห้ามชาติภายนอกเข้ามาล่วงล้ำแทรกแซง ก่อนหน้าที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต้นปีหน้า
    .
    เจ้าหน้าที่อาวุโสไต้หวันผู้นี้อธิบายว่า ในการซ้อมรบคราวนี้ เรือของกองทัพจีนได้ฝึกซ้อมจำลองการโจมตีเรือต่างชาติที่จะรุกล้ำเข้ามา ขณะที่เรือหน่วยยามฝั่งฝึกการสกัดเรือสินค้า และขัดขวางและปิดกั้นเส้นทางเดินเรือ นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่ผู้นี้สำทับว่า จีนยังได้ร่วมซ้อมรบกับรัสเซียเมื่อเดือนที่แล้ว
    .
    ไทเประบุว่า การซ้อมรบทางทะเลครั้งนี้ใหญ่กว่าเมื่อปี 2022 ที่ปักกิ่งตอบโต้การเยือนไต้หวันของแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ในขณะนั้น ซึ่งถือเป็นการซ้อมรบใหญ่ที่สุดของจีนรอบเกาะไต้หวัน
    .
    ด้าน ชู เสี่ยวหวง นักวิเคราะห์ทางการทหารในไทเป ชี้ว่า การซ้อมรบของจีนเป็นการประกาศความพร้อมในการสู้รบอย่างแท้จริง โดยในทะเลจีนตะวันออกนั้น ดูเหมือนจีนกำลังเตรียมปฏิบัติการทางอากาศขนาดใหญ่เพื่อเผชิญหน้ากับกองทัพเรืออเมริกา ขณะที่การเคลื่อนกองเรือขนาดใหญ่เข้ามาทางตะวันออกของไต้หวัน บ่งชี้ยุทธศาสตร์การปิดล้อมเกาะ ตัดขาดชีพจรทางเศรษฐกิจและทรัพยากรสำคัญ
    .
    กระนั้น เจ้าหน้าที่ทหารคนหนึ่งของอเมริกา กล่าวว่า เวลานี้จีนเพิ่มการเคลื่อนพลเข้ามาในทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้จริงๆ แต่ยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับการซ้อมรบใหญ่หลายครั้งที่ผ่านมา
    .
    เห็นกันว่าการเยือนประเทศในแถบแปซิฟิกของประธานาธิบดีไล่ ชิงเต๋อ ของไต้หวันก่อนหน้านี้ ที่มีการแวะที่ฮาวายและเกาะกวมของสหรัฐฯ ก็เป็นเรื่องที่สร้างความเดือดดาลให้ปักกิ่งที่อ้ากรรมสิทธิ์เหนือไต้หวัน
    .
    อย่างไรก็ดี สำหรับฝ่ายปักกิ่งเองนั้น จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการประกาศจากกองทัพจีนหรือสื่อของทางการปักกิ่ง เกี่ยวกับการเพิ่มกิจกรรมทางทหารอย่างคึกคัก ทั้งในทะเลจีนตะวันออก ช่องแคบไต้หวัน ทะเลจีนใต้ หรือมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกคราวนี้
    .
    ปกติแล้วจีนมักประกาศแจ้งล่วงหน้าเรื่องการซ้อมรบ แต่เจ้าหน้าที่ไต้หวันอธิบายว่า การที่ปักกิ่งนิ่งเงียบในครั้งนี้อาจเนื่องมาจากไม่ต้องการบดบังความสำคัญของการประชุมทบทวนผลงานทางเศรษฐกิจประจำปี ซึ่งเป็นการประชุมแบบปิดลับของพวกผู้นำจีนที่กำหนดจัดขึ้นในวันพุธ (11 )
    .
    สำหรับปฏิกิริยาอย่างเป็นทางการของปักกิ่งนั้น เหมา หนิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวในการแถลงข่าวตามปกติเมื่อวันพุธว่า การก่อกวนสันติภาพและเสถียรภาพช่องแคบไต้หวันเป็นงานของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในไต้หวันที่ได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติ
    .
    เมื่อถูกถามว่า การซ้อมรบเป็นการขีดเส้นแดงก่อนที่ทรัมป์จะกลับสู่ทำเนียบขาวหรือไม่ เหมาตอบว่า ประเด็นไต้หวันถือเป็นเส้นตายในความสัมพันธ์ปักกิ่ง-วอชิงตันที่ไม่ควรก้าวล่วงอยู่แล้ว และเป็นจุดยืนอันถาวรของจีน
    .
    วันเดียวกันนั้น ทางด้าน จู เฟิ่งเหลียน โฆษกสำนักงานกิจการไต้หวันของจีน เมื่อถูกถามเกี่ยวกับกิจกรรมทางทหารที่เพิ่มขึ้นในระยะนี้ ได้กล่าวตอบว่า จีนจะดำเนินมาตรการทั้งหมดที่จำเป็นเพื่อปกป้องอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศ และสำทับว่า รัฐบาลจีนเพิ่มการเฝ้าระวังแนวโน้มที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในไต้หวันกำลังสมคบคิดกับต่างชาติ
    .
    ไต้หวันระบุว่า จีนเวลานี้กำลังซ้อมรบทางทะเลครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปี โดยมีการระดมเรือจากองทัพเรือจำนวน 60 ลำและเรือของหน่วยยามฝั่งอีก 30 ลำ เคลื่อนเข้ามาใกล้แนว “ห่วงโซ่เกาะชั้นที่หนึ่ง” ตั้งแต่หมู่เกาะทางใต้ของญี่ปุ่น ลงมาจนถึงทะเลจีนใต้
    .
    ขณะที่กระทรวงกลาโหมไต้หวัน แถลงว่า ในวันพุธได้ตรวจพบเครื่องบินจีนรอบเกาะไต้หวัน 53 ลำ เพิ่มขึ้นจาก 47 ลำเมื่อวันอังคาร
    .
    คาเรน กัว โฆษกสำนักงานประธานาธิบดีไต้หวัน แถลงว่า กิจกรรมทางทหารของจีนเป็นอุปสรรคต่อเสถียรภาพในภูมิภาคอย่างโจ่งแจ้ง และปักกิ่งควรยุติการยั่วยุทั้งหมดทันที พร้อมย้ำว่า การเดินทางไปต่างประเทศของประธานาธิบดีไต้หวันเป็นธรรมเนียมปกติ และจีนไม่ควรใช้เป็นข้ออ้างในการยั่วยุ
    .
    วันเดียวกันนั้น ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวกับผู้สื่อข่าวจากฐานทัพอเมริกันในญี่ปุ่นว่า อเมริกากำลังจับตากิจกรรมล่าสุดของจีน และรับประกันว่า จะไม่มีใครทำอะไรที่ทำให้สถานะดั้งเดิมในช่องแคบไต้หวันเปลี่ยนแปลง รวมทั้งจะทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อช่วยให้ไต้หวันสามารถป้องกันตนเอง
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000119170
    ..............
    Sondhi X
    ไทเปกล่าวหาจีนขยายการซ้อมรบรอบไต้หวันในเวลานี้ เพื่อขีด “เส้นแดง” ห้ามเข้ามายุ่งเกี่ยว เป็นการต้อนรับว่าที่ประธานาธิบดีใหม่ของอเมริกา พร้อมตราหน้าปักกิ่งเป็น “ตัวก่อปัญหา” ขณะที่จีนฟาดกลับ บอก “คนนอก” และ “พวกแบ่งแยกดินแดน” กำลังบ่อนทำลายเสถียรภาพช่องแคบไต้หวัน ย้ำพร้อมทำทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ . ไต้หวันกำลังเร่งออกมากล่าวหาว่า จีนกำลังซ้อมรบทางทะเลครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายปี โดยมีการจำลองสถานการณ์ทั้งการโจมตีเรือต่างชาติเพื่อไม่ให้ล่วงล้ำเข้ามาแทรกแซง และการปิดเส้นทางเดินเรือรอบเกาะไต้หวัน . กระทรวงการต่างประเทศไต้หวันแถลงเมื่อวันพุธ (11 ธ.ค.)ว่า การที่จีนเพิ่มกิจกรรมทางทหารรอบเกาะไต้หวันเช่นนี้เป็นหลักฐานชัดเจนว่า ปักกิ่งเป็น “ตัวก่อปัญหา” . ส่วนเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านความมั่นคงแห่งชาติคนหนึ่งของไต้หวันกล่าวในการแถลงข่าวเมื่อวันพุธ เช่นกันว่า จีนเริ่มวางแผนการซ้อมรบนี้มาตั้งแต่เดือนตุลาคม โดยมีเป้าหมายเพื่อโชว์ว่า จีนสามารถปิดล้อมไต้หวันและ “ขีดเส้นแดง” ห้ามชาติภายนอกเข้ามาล่วงล้ำแทรกแซง ก่อนหน้าที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต้นปีหน้า . เจ้าหน้าที่อาวุโสไต้หวันผู้นี้อธิบายว่า ในการซ้อมรบคราวนี้ เรือของกองทัพจีนได้ฝึกซ้อมจำลองการโจมตีเรือต่างชาติที่จะรุกล้ำเข้ามา ขณะที่เรือหน่วยยามฝั่งฝึกการสกัดเรือสินค้า และขัดขวางและปิดกั้นเส้นทางเดินเรือ นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่ผู้นี้สำทับว่า จีนยังได้ร่วมซ้อมรบกับรัสเซียเมื่อเดือนที่แล้ว . ไทเประบุว่า การซ้อมรบทางทะเลครั้งนี้ใหญ่กว่าเมื่อปี 2022 ที่ปักกิ่งตอบโต้การเยือนไต้หวันของแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ในขณะนั้น ซึ่งถือเป็นการซ้อมรบใหญ่ที่สุดของจีนรอบเกาะไต้หวัน . ด้าน ชู เสี่ยวหวง นักวิเคราะห์ทางการทหารในไทเป ชี้ว่า การซ้อมรบของจีนเป็นการประกาศความพร้อมในการสู้รบอย่างแท้จริง โดยในทะเลจีนตะวันออกนั้น ดูเหมือนจีนกำลังเตรียมปฏิบัติการทางอากาศขนาดใหญ่เพื่อเผชิญหน้ากับกองทัพเรืออเมริกา ขณะที่การเคลื่อนกองเรือขนาดใหญ่เข้ามาทางตะวันออกของไต้หวัน บ่งชี้ยุทธศาสตร์การปิดล้อมเกาะ ตัดขาดชีพจรทางเศรษฐกิจและทรัพยากรสำคัญ . กระนั้น เจ้าหน้าที่ทหารคนหนึ่งของอเมริกา กล่าวว่า เวลานี้จีนเพิ่มการเคลื่อนพลเข้ามาในทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้จริงๆ แต่ยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับการซ้อมรบใหญ่หลายครั้งที่ผ่านมา . เห็นกันว่าการเยือนประเทศในแถบแปซิฟิกของประธานาธิบดีไล่ ชิงเต๋อ ของไต้หวันก่อนหน้านี้ ที่มีการแวะที่ฮาวายและเกาะกวมของสหรัฐฯ ก็เป็นเรื่องที่สร้างความเดือดดาลให้ปักกิ่งที่อ้ากรรมสิทธิ์เหนือไต้หวัน . อย่างไรก็ดี สำหรับฝ่ายปักกิ่งเองนั้น จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการประกาศจากกองทัพจีนหรือสื่อของทางการปักกิ่ง เกี่ยวกับการเพิ่มกิจกรรมทางทหารอย่างคึกคัก ทั้งในทะเลจีนตะวันออก ช่องแคบไต้หวัน ทะเลจีนใต้ หรือมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกคราวนี้ . ปกติแล้วจีนมักประกาศแจ้งล่วงหน้าเรื่องการซ้อมรบ แต่เจ้าหน้าที่ไต้หวันอธิบายว่า การที่ปักกิ่งนิ่งเงียบในครั้งนี้อาจเนื่องมาจากไม่ต้องการบดบังความสำคัญของการประชุมทบทวนผลงานทางเศรษฐกิจประจำปี ซึ่งเป็นการประชุมแบบปิดลับของพวกผู้นำจีนที่กำหนดจัดขึ้นในวันพุธ (11 ) . สำหรับปฏิกิริยาอย่างเป็นทางการของปักกิ่งนั้น เหมา หนิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวในการแถลงข่าวตามปกติเมื่อวันพุธว่า การก่อกวนสันติภาพและเสถียรภาพช่องแคบไต้หวันเป็นงานของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในไต้หวันที่ได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติ . เมื่อถูกถามว่า การซ้อมรบเป็นการขีดเส้นแดงก่อนที่ทรัมป์จะกลับสู่ทำเนียบขาวหรือไม่ เหมาตอบว่า ประเด็นไต้หวันถือเป็นเส้นตายในความสัมพันธ์ปักกิ่ง-วอชิงตันที่ไม่ควรก้าวล่วงอยู่แล้ว และเป็นจุดยืนอันถาวรของจีน . วันเดียวกันนั้น ทางด้าน จู เฟิ่งเหลียน โฆษกสำนักงานกิจการไต้หวันของจีน เมื่อถูกถามเกี่ยวกับกิจกรรมทางทหารที่เพิ่มขึ้นในระยะนี้ ได้กล่าวตอบว่า จีนจะดำเนินมาตรการทั้งหมดที่จำเป็นเพื่อปกป้องอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศ และสำทับว่า รัฐบาลจีนเพิ่มการเฝ้าระวังแนวโน้มที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในไต้หวันกำลังสมคบคิดกับต่างชาติ . ไต้หวันระบุว่า จีนเวลานี้กำลังซ้อมรบทางทะเลครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปี โดยมีการระดมเรือจากองทัพเรือจำนวน 60 ลำและเรือของหน่วยยามฝั่งอีก 30 ลำ เคลื่อนเข้ามาใกล้แนว “ห่วงโซ่เกาะชั้นที่หนึ่ง” ตั้งแต่หมู่เกาะทางใต้ของญี่ปุ่น ลงมาจนถึงทะเลจีนใต้ . ขณะที่กระทรวงกลาโหมไต้หวัน แถลงว่า ในวันพุธได้ตรวจพบเครื่องบินจีนรอบเกาะไต้หวัน 53 ลำ เพิ่มขึ้นจาก 47 ลำเมื่อวันอังคาร . คาเรน กัว โฆษกสำนักงานประธานาธิบดีไต้หวัน แถลงว่า กิจกรรมทางทหารของจีนเป็นอุปสรรคต่อเสถียรภาพในภูมิภาคอย่างโจ่งแจ้ง และปักกิ่งควรยุติการยั่วยุทั้งหมดทันที พร้อมย้ำว่า การเดินทางไปต่างประเทศของประธานาธิบดีไต้หวันเป็นธรรมเนียมปกติ และจีนไม่ควรใช้เป็นข้ออ้างในการยั่วยุ . วันเดียวกันนั้น ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวกับผู้สื่อข่าวจากฐานทัพอเมริกันในญี่ปุ่นว่า อเมริกากำลังจับตากิจกรรมล่าสุดของจีน และรับประกันว่า จะไม่มีใครทำอะไรที่ทำให้สถานะดั้งเดิมในช่องแคบไต้หวันเปลี่ยนแปลง รวมทั้งจะทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อช่วยให้ไต้หวันสามารถป้องกันตนเอง . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000119170 .............. Sondhi X
    Like
    Yay
    4
    0 Comments 0 Shares 679 Views 0 Reviews
  • ต้องปลดแอกจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสกฤษฎีกากัมพูชาที่เกี่ยวข้องกับเขตแดนในทะเล มีสองฉบับ**หนึ่ง กฤษฎีกาเลขที่ 439/72/PRK ที่กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีป**สอง กฤษฎีกาเลขที่ 518/72/PRK ที่กำหนดทะเลอาณาเขตปรากฏว่าทั้งสองฉบับรุกล้ำทะเลอาณาเขตของไทยโดยอ้างสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส คศ 1907 ##กรณีเส้นเขตไหล่ทวีปรูป 1 จากเพจปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ กัมพูชาประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปครั้งแรกปี 2513 ผ่านเกาะกูดเต็มที่รูป 2 ต่อมาเปลี่ยนเป็นกฤษฎีกาเลขที่ 439/72/PRK เกาะกูดอยู่ที่ปลายลูกศรสีแดง กลับเขียนเกาะกูดมีเส้นขยุกขยิก ทำให้ไม่ชัดเจนว่าเส้นผ่านเกาะกูดหรือไม่รูป 3 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เขียนเอกสารวิชาการว่า เส้นไม่ได้ผ่านเกาะกูด แต่มาจรดชายฝั่งสองด้าน รูป 4 คือล้ำเข้ามาในทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของไทย วงกลมสีเหลือง##กรณีทะเลอาณาเขตรูป 5 ดร.สุรเกียรติ์ แสดงแผนที่ในกฤษฎีกาเลขที่ 518/72/PRK ปรากฏว่ากัมพูชาลากเส้นทะเลอาณาเขต จากหมุด 73 บนชายฝั่งมาจรดเกาะกูด แล้วหักลงใต้ผมค้นหากฤษฎีกาเลขที่ 518/72/PRK ในกูเกิ้ล ไม่พบเลย จึงขอเรียกร้องให้กระทรวงต่างประเทศเอาเอกสารสำคัญทั้งหมดเผยแพร่ในเว็บไซต์รูป 6 เส้นทะเลอาณาเขตของกัมพูชาก็รุกล้ำเข้ามาในทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของไทยอีกเช่นกัน วงกลมสีเหลืองรูป 7 จากเว็บไซต์ CIA สถานฑูตในกรุงพนมเปญรายงานว่า กัมพูชาตราเส้นทะเลอาณาเขตเกินระยะทาง 12 ไมล์ทะเลมาประชิดเกาะกูด ก็โดยอ้างอิงสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส คศ 1907ผมให้ข้อมูลดังนี้:-หนึ่ง เส้นเขตไหล่ทวีปที่ประชิดเกาะกูดสองด้านนั้น อ้างพื้นฐานมาจากเส้นทะเลอาณาเขตเกินระยะทาง 12 ไมล์ทะเลที่กัมพูชาลากมาประชิดเกาะกูดนั่นเองสอง กัมพูชาลากเส้นทะเลอาณาเขตมาประชิดเกาะกูด เป็นการรุกล้ำเขตอธิปไตยของประเทศไทย(เขตอธิปไตยของประเทศไทยซึ่งกองทัพไทยมีหน้าที่ต้องปกป้องทันทีถ้ามีการรุกราน ไม่ว่าทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ คือผืนแผ่นดินไทยซึ่งบวกกับทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเล)สาม MOU44 มีการแสดงเส้นเขตไหล่ทวีปที่มีพื้นฐานมาจากเส้นทะเลอาณาเขต จึงเป็นการรับรู้ว่า กัมพูชาลากเส้นทะเลอาณาเขตรุกล้ำเข้ามาในเขตอธิปไตยของประเทศไทยพูดแบบชาวบ้าน เป็นการไปรับรู้ว่า อาณาเขตทางทะเลของกัมพูชา กินแดนเข้ามาในอาณาเขตทางทะเลของไทยสี่ กัมพูชาอ้างสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส คศ 1907 บิดเบือน เพราะสนธิสัญญาฯพูดถึงการแบ่งเขตบนชายฝั่ง ไม่ใช่ในทะเลห้า เส้นเขตไหล่ทวีปที่ประชิดเกาะกูดสองด้านนั้น ไม่ถูกต้องตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป เพราะอนุสัญญาใช้สำหรับเล็งเส้นในทะเล ไม่ใช่เล็งเส้นผ่านพื้นที่บนบกและอนุสัญญาฯไม่ได้ยอมให้อ้างอิงสิทธิทางประวัติศาสตร์กล่าวโดยสรุป เหตุผลสนับสนุนยกเลิก MOU44 อีกประการหนึ่งคือ MOU44 ไปรับรู้ ทั้งเส้นเขตไหล่ทวีป และเส้นทะเลอาณาเขตของกัมพูชา รับรู้ว่าทั้งสองเส้นรุกล้ำเข้ามาในเขตอธิปไตยของประเทศไทยวันที่ 6 ธันวาคม 2567นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
    ต้องปลดแอกจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสกฤษฎีกากัมพูชาที่เกี่ยวข้องกับเขตแดนในทะเล มีสองฉบับ**หนึ่ง กฤษฎีกาเลขที่ 439/72/PRK ที่กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีป**สอง กฤษฎีกาเลขที่ 518/72/PRK ที่กำหนดทะเลอาณาเขตปรากฏว่าทั้งสองฉบับรุกล้ำทะเลอาณาเขตของไทยโดยอ้างสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส คศ 1907 ##กรณีเส้นเขตไหล่ทวีปรูป 1 จากเพจปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ กัมพูชาประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปครั้งแรกปี 2513 ผ่านเกาะกูดเต็มที่รูป 2 ต่อมาเปลี่ยนเป็นกฤษฎีกาเลขที่ 439/72/PRK เกาะกูดอยู่ที่ปลายลูกศรสีแดง กลับเขียนเกาะกูดมีเส้นขยุกขยิก ทำให้ไม่ชัดเจนว่าเส้นผ่านเกาะกูดหรือไม่รูป 3 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เขียนเอกสารวิชาการว่า เส้นไม่ได้ผ่านเกาะกูด แต่มาจรดชายฝั่งสองด้าน รูป 4 คือล้ำเข้ามาในทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของไทย วงกลมสีเหลือง##กรณีทะเลอาณาเขตรูป 5 ดร.สุรเกียรติ์ แสดงแผนที่ในกฤษฎีกาเลขที่ 518/72/PRK ปรากฏว่ากัมพูชาลากเส้นทะเลอาณาเขต จากหมุด 73 บนชายฝั่งมาจรดเกาะกูด แล้วหักลงใต้ผมค้นหากฤษฎีกาเลขที่ 518/72/PRK ในกูเกิ้ล ไม่พบเลย จึงขอเรียกร้องให้กระทรวงต่างประเทศเอาเอกสารสำคัญทั้งหมดเผยแพร่ในเว็บไซต์รูป 6 เส้นทะเลอาณาเขตของกัมพูชาก็รุกล้ำเข้ามาในทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของไทยอีกเช่นกัน วงกลมสีเหลืองรูป 7 จากเว็บไซต์ CIA สถานฑูตในกรุงพนมเปญรายงานว่า กัมพูชาตราเส้นทะเลอาณาเขตเกินระยะทาง 12 ไมล์ทะเลมาประชิดเกาะกูด ก็โดยอ้างอิงสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส คศ 1907ผมให้ข้อมูลดังนี้:-หนึ่ง เส้นเขตไหล่ทวีปที่ประชิดเกาะกูดสองด้านนั้น อ้างพื้นฐานมาจากเส้นทะเลอาณาเขตเกินระยะทาง 12 ไมล์ทะเลที่กัมพูชาลากมาประชิดเกาะกูดนั่นเองสอง กัมพูชาลากเส้นทะเลอาณาเขตมาประชิดเกาะกูด เป็นการรุกล้ำเขตอธิปไตยของประเทศไทย(เขตอธิปไตยของประเทศไทยซึ่งกองทัพไทยมีหน้าที่ต้องปกป้องทันทีถ้ามีการรุกราน ไม่ว่าทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ คือผืนแผ่นดินไทยซึ่งบวกกับทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเล)สาม MOU44 มีการแสดงเส้นเขตไหล่ทวีปที่มีพื้นฐานมาจากเส้นทะเลอาณาเขต จึงเป็นการรับรู้ว่า กัมพูชาลากเส้นทะเลอาณาเขตรุกล้ำเข้ามาในเขตอธิปไตยของประเทศไทยพูดแบบชาวบ้าน เป็นการไปรับรู้ว่า อาณาเขตทางทะเลของกัมพูชา กินแดนเข้ามาในอาณาเขตทางทะเลของไทยสี่ กัมพูชาอ้างสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส คศ 1907 บิดเบือน เพราะสนธิสัญญาฯพูดถึงการแบ่งเขตบนชายฝั่ง ไม่ใช่ในทะเลห้า เส้นเขตไหล่ทวีปที่ประชิดเกาะกูดสองด้านนั้น ไม่ถูกต้องตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป เพราะอนุสัญญาใช้สำหรับเล็งเส้นในทะเล ไม่ใช่เล็งเส้นผ่านพื้นที่บนบกและอนุสัญญาฯไม่ได้ยอมให้อ้างอิงสิทธิทางประวัติศาสตร์กล่าวโดยสรุป เหตุผลสนับสนุนยกเลิก MOU44 อีกประการหนึ่งคือ MOU44 ไปรับรู้ ทั้งเส้นเขตไหล่ทวีป และเส้นทะเลอาณาเขตของกัมพูชา รับรู้ว่าทั้งสองเส้นรุกล้ำเข้ามาในเขตอธิปไตยของประเทศไทยวันที่ 6 ธันวาคม 2567นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
    1 Comments 0 Shares 338 Views 0 Reviews
  • 4/12/67

    MOU 2544 นั้นทำให้ประเทศไทย ”ไม่ปฏิเสธ“ เส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะ

    1.เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชารุกล้ำ ”ทะเลภายใน“ คือพื้นที่ทิศเหนือเส้นฐานตรงจากหลักเขตที่ 73 ถึงทิศใต้สุดของเกาะกูด จึงเท่ากับรุกล้ำดินแดนของราชอาณาจักรไทย ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล
    2.รุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเล รอบเกาะกูด จึงเท่ากับรุกล้ำอธิปไตยไทย ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล
    3.รุกล้ำเขตต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด จึงเท่ากับรุกล้ำอธิปไตยไทย ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล
    4.รุกล้ำเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทย ไม่สนใจเส้นมัธยะฐานแบ่งเกาะกูดกับเกาะกง จึงไม่เป็นปตามกฎหมายทะเลสากล

    การเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ภายใต้ MOU2544 จึงขัดต่อพระบรมราชโองการ พ.ศ. 2516 ในสมัยรัชกาลที่ 9 ซึ่งกำหนดวิธีการเจรจาให้อยู่บนมูลฐานของกฎหมายทะเลสากลเท่านั้น การเจรจาภายใต้ MOU2544 จึงขัดต่อพระบรมราชโองการ และเมื่อไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ จึงย่อมเป็นโมฆะ หากยังฝืนเจรจาต่อไปย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

    ด้วยความปรารถนาดี
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    28 พฤศจิกายน 2567

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1103720854454947/?
    4/12/67 MOU 2544 นั้นทำให้ประเทศไทย ”ไม่ปฏิเสธ“ เส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะ 1.เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชารุกล้ำ ”ทะเลภายใน“ คือพื้นที่ทิศเหนือเส้นฐานตรงจากหลักเขตที่ 73 ถึงทิศใต้สุดของเกาะกูด จึงเท่ากับรุกล้ำดินแดนของราชอาณาจักรไทย ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล 2.รุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเล รอบเกาะกูด จึงเท่ากับรุกล้ำอธิปไตยไทย ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล 3.รุกล้ำเขตต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด จึงเท่ากับรุกล้ำอธิปไตยไทย ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล 4.รุกล้ำเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทย ไม่สนใจเส้นมัธยะฐานแบ่งเกาะกูดกับเกาะกง จึงไม่เป็นปตามกฎหมายทะเลสากล การเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ภายใต้ MOU2544 จึงขัดต่อพระบรมราชโองการ พ.ศ. 2516 ในสมัยรัชกาลที่ 9 ซึ่งกำหนดวิธีการเจรจาให้อยู่บนมูลฐานของกฎหมายทะเลสากลเท่านั้น การเจรจาภายใต้ MOU2544 จึงขัดต่อพระบรมราชโองการ และเมื่อไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ จึงย่อมเป็นโมฆะ หากยังฝืนเจรจาต่อไปย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ด้วยความปรารถนาดี ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 28 พฤศจิกายน 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1103720854454947/?
    0 Comments 0 Shares 277 Views 0 Reviews
  • ไม่มีการเจรจาครั้งใดในประวัติศาสตร์ที่ไทยมีแต่เสียเปรียบกัมพูชามากขนาดนี้ ภาพแรก ด้านซ้ายมือสุด เป็นพื้นที่ตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศเขตไหล่ทวีปตามกฎหมายทะเลสากลโดยลากจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของไทยและ เกาะกงของกัมพูชา ก่อให้เกิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะในอ่าวไทย 88,194 ตารางกิโลเมตร หรือ 55 ล้านไร่ เป็นของประเทศไทยประเทศเดียว ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อน สามารถใช้สิทธิทางทะเล ทั้งอ่าวไทย การท่องเที่ยว การทหาร และทรัพยากรโดยไม่เคยถูกรุกล้ำทางกายภาพจากกัมพูชาเลยแม้แต่ครั้งเดียวภาพที่สอง เป็นภาพ MOU 2544 พื้นที่เศรษฐกิจจำเพาะของไทยตามพระบรมราชโองการ 88,194 ตารางกิโลเมตร กลับหายไปประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร โดยแบ่งเป็นพี้นที่เหนือละติจูดองศาเหนือขึ้นไปประมาณ 10,000 ตารางกิโลเมตร ให้เจรจาแบ่งเขตแดน ส่วนพื้นที่ใต้ละติจูดองศาเหนือลงมา 16,000 ตารางกิโลเมตร ให้แบ่งผลประโยชน์กันระหว่างไทยกัมพูชา ทั้งๆที่เคยเป็นพื้นที่ของประเทศไทยทั้งหมด ทั้งตามกายภาพ ตามกฎหมายทะเลสากล และตามพระบรมราชโองการภาพที่สาม เป็นภาพ MOU2544 ภาพที่ 3 เป็นสมมุติฐานว่ากัมพูชาได้รับผลการเจรจาได้พื้นที่ทางทะเลมากที่สุด ไทยจะสูญเสียพื้นที่ทางทะเลเหนือละติจูด 11 องศาเหนือขึ้นไป จำนวน 10,000 ตารางกิโลเมตรตกเป็นของกัมพูชา ส่วนพื้นที่ด้านใต้ละติจูด 11 องศาเหนือลงมาจำนวน 16,000 ตารางกิโลเมตร กลายเป็นพื้นที่แบ่งผลประโยชน์กันในการพัฒนาร่วมระหว่างไทยกัมพูชา ทั้งๆที่เคยเป็นพื้นที่ของประเทศไทยทั้งหมด ทั้งตามกายภาพ ตามกฎหมายทะเลสากล และตามพระบรมราชโองการภาพที่สี่ เป็นภาพ MOU2544 ภาพขวาสุด เป็นสมมุติฐานว่าฝ่ายไทยได้รับผลการเจรจาได้พื้นที่ทางทะเลมากที่สุดตาม MOU 2544 ไทยจะได้เพื้นที่ทางทะเลเหนือละติจูด 11 องศาเหนือขึ้นไป จำนวน 10,000 ตารางกิโลเมตรทั้งๆที่เป็นของไทยตามกฎหมายทะเลสากลอยู่แล้ว ส่วนพื้นที่ด้านใต้ละติจูด 11 องศาเหนือลงมาจำนวน 16,000 ตารางกิโลเมตร กลายเป็นพื้นที่แบ่งผลประโยชน์กันในการพัฒนาร่วมระหว่างไทยกัมพูชา ทั้งๆที่เคยเป็นพื้นที่ของประเทศไทยทั้งหมด ทั้งตามกายภาพ ตามกฎหมายทะเลสากล และตามพระบรมราชโองการจะมีการเจรจาครั้งใดในประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรไทยที่เปลี่ยนหลักการ “สิทธิอธิปไตย” ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยที่เสียเปรียบและแตกต่างจากพระบรมราชโองการจนเสียเปรียบขนาดนี้ โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ไม่สนใจแผนที่ตามพระบรมราชโองการอีกด้วยถึงเวลาต้องเพิกถอน MOU2544 และ JC2544 แล้วหรือยัง? ขอเชิญทุกท่านร่วมลงนามถึงนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีแก้ไขการเสียเปรียบของชาติในครั้งนี้ ในเช้าวันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2567 เวลา 9.00 น. ณ โรงอาหารศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ของทำเนียบรัฐบาล (กพ.) และยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เวลา 10.00 น.ด้วยจิตคารวะปานเทพ พัวพงษ์พันธ์คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 2 ธันวาคม 2567https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1106546160839083/?
    ไม่มีการเจรจาครั้งใดในประวัติศาสตร์ที่ไทยมีแต่เสียเปรียบกัมพูชามากขนาดนี้ ภาพแรก ด้านซ้ายมือสุด เป็นพื้นที่ตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศเขตไหล่ทวีปตามกฎหมายทะเลสากลโดยลากจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของไทยและ เกาะกงของกัมพูชา ก่อให้เกิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะในอ่าวไทย 88,194 ตารางกิโลเมตร หรือ 55 ล้านไร่ เป็นของประเทศไทยประเทศเดียว ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อน สามารถใช้สิทธิทางทะเล ทั้งอ่าวไทย การท่องเที่ยว การทหาร และทรัพยากรโดยไม่เคยถูกรุกล้ำทางกายภาพจากกัมพูชาเลยแม้แต่ครั้งเดียวภาพที่สอง เป็นภาพ MOU 2544 พื้นที่เศรษฐกิจจำเพาะของไทยตามพระบรมราชโองการ 88,194 ตารางกิโลเมตร กลับหายไปประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร โดยแบ่งเป็นพี้นที่เหนือละติจูดองศาเหนือขึ้นไปประมาณ 10,000 ตารางกิโลเมตร ให้เจรจาแบ่งเขตแดน ส่วนพื้นที่ใต้ละติจูดองศาเหนือลงมา 16,000 ตารางกิโลเมตร ให้แบ่งผลประโยชน์กันระหว่างไทยกัมพูชา ทั้งๆที่เคยเป็นพื้นที่ของประเทศไทยทั้งหมด ทั้งตามกายภาพ ตามกฎหมายทะเลสากล และตามพระบรมราชโองการภาพที่สาม เป็นภาพ MOU2544 ภาพที่ 3 เป็นสมมุติฐานว่ากัมพูชาได้รับผลการเจรจาได้พื้นที่ทางทะเลมากที่สุด ไทยจะสูญเสียพื้นที่ทางทะเลเหนือละติจูด 11 องศาเหนือขึ้นไป จำนวน 10,000 ตารางกิโลเมตรตกเป็นของกัมพูชา ส่วนพื้นที่ด้านใต้ละติจูด 11 องศาเหนือลงมาจำนวน 16,000 ตารางกิโลเมตร กลายเป็นพื้นที่แบ่งผลประโยชน์กันในการพัฒนาร่วมระหว่างไทยกัมพูชา ทั้งๆที่เคยเป็นพื้นที่ของประเทศไทยทั้งหมด ทั้งตามกายภาพ ตามกฎหมายทะเลสากล และตามพระบรมราชโองการภาพที่สี่ เป็นภาพ MOU2544 ภาพขวาสุด เป็นสมมุติฐานว่าฝ่ายไทยได้รับผลการเจรจาได้พื้นที่ทางทะเลมากที่สุดตาม MOU 2544 ไทยจะได้เพื้นที่ทางทะเลเหนือละติจูด 11 องศาเหนือขึ้นไป จำนวน 10,000 ตารางกิโลเมตรทั้งๆที่เป็นของไทยตามกฎหมายทะเลสากลอยู่แล้ว ส่วนพื้นที่ด้านใต้ละติจูด 11 องศาเหนือลงมาจำนวน 16,000 ตารางกิโลเมตร กลายเป็นพื้นที่แบ่งผลประโยชน์กันในการพัฒนาร่วมระหว่างไทยกัมพูชา ทั้งๆที่เคยเป็นพื้นที่ของประเทศไทยทั้งหมด ทั้งตามกายภาพ ตามกฎหมายทะเลสากล และตามพระบรมราชโองการจะมีการเจรจาครั้งใดในประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรไทยที่เปลี่ยนหลักการ “สิทธิอธิปไตย” ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยที่เสียเปรียบและแตกต่างจากพระบรมราชโองการจนเสียเปรียบขนาดนี้ โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ไม่สนใจแผนที่ตามพระบรมราชโองการอีกด้วยถึงเวลาต้องเพิกถอน MOU2544 และ JC2544 แล้วหรือยัง? ขอเชิญทุกท่านร่วมลงนามถึงนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีแก้ไขการเสียเปรียบของชาติในครั้งนี้ ในเช้าวันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2567 เวลา 9.00 น. ณ โรงอาหารศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ของทำเนียบรัฐบาล (กพ.) และยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เวลา 10.00 น.ด้วยจิตคารวะปานเทพ พัวพงษ์พันธ์คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 2 ธันวาคม 2567https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1106546160839083/?
    Love
    2
    0 Comments 0 Shares 423 Views 0 Reviews
  • นายกฯ ​บอกยังไม่สรุปสาเหตุเรือประมงไทยรุกล้ำน่านน้ำเมียนมาหรือไม่​ ด้าน"ภูมิธรรม" เผย กรรมการ​ TBC ทำหนังสือท้วงปมใช้ความรุนแรงแล้ว​ จี้หาสาเหตุ​-คืนเรือปล่อยคนไทยด่วน​ ขณะ​ "มาริษ" เชิญทูตพม่าคุยพรุ่งนี้​ ยัน​ 4 ตัวประกันยังปลอดภัยดี มีสัญญาณบวกหลังเจรจาปล่อยตัว​

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000115494

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    นายกฯ ​บอกยังไม่สรุปสาเหตุเรือประมงไทยรุกล้ำน่านน้ำเมียนมาหรือไม่​ ด้าน"ภูมิธรรม" เผย กรรมการ​ TBC ทำหนังสือท้วงปมใช้ความรุนแรงแล้ว​ จี้หาสาเหตุ​-คืนเรือปล่อยคนไทยด่วน​ ขณะ​ "มาริษ" เชิญทูตพม่าคุยพรุ่งนี้​ ยัน​ 4 ตัวประกันยังปลอดภัยดี มีสัญญาณบวกหลังเจรจาปล่อยตัว​ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000115494 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Angry
    Haha
    7
    0 Comments 0 Shares 1008 Views 0 Reviews
  • เร่งประสานช่วยคนไทย มั่นใจเมียนมาแค่ยิงเตือน เชื่อปัญหาไม่บานปลาย
    .
    เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา ภายหลังศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) เปิดเผยว่า ศรชล.ภาค 3 ได้รับแจ้งข่าวจากเรือประมงชื่อเรือ มหาลาภธนวัฒน์ 4 บริเวณพื้นที่ทับซ้อนไทย-เมียนมา ขณะทำการหาปลากับกลุ่มเรือประมงในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวได้ร้องขอความช่วยเหลือ เนื่องจากถูกเรือรบเมียนมาทำการใช้อาวุธ โดยตัวเรือได้รับความเสียหายน้ำเข้าเรือปริมาณมาก มีผู้เสียชีวิต 2 คน และบาดเจ็บอีก 2 ราย และเรือรบเมียนมาได้เข้าจับกุมเรือประมงไทยจำนวน 1 ลำ คือเรือ ส.เจริญชัย 8 มีลูกเรือจำนวน 31 คน โดยถูกจับกุมไปยังเกาะย่านเชือก ประเทศเมียนมา
    .
    พล.ร.ท.สุวัจ ดอนสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 (ผบ.ทรภ.3) และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 (ผอ.ศรชล.ภาค 3) ได้รับรายงานว่ามีการดำเนินการจับกุมเรือประมงไทยจริง เนื่องจากมีกลุ่มเรือประมงไทยเข้าไปทำการประมงในเขตน่านน้ำลึกเข้าไปในเขตประเทศเมียนมา ประมาณ 4-5.7 ไมล์ และผลจากการประสาน ได้รับแจ้งจาก ผบ.สน.เรือ 58 เกาะย่านเชือก ว่าจะส่งมอบเรือประมงและลูกเรือที่ถูกจับกุมไปยังสถานีประมงเกาะสอง ในอีกประมาณ 2 วันข้างหน้า
    .
    ทั้งนี้ สรุปผลการเข้าให้การช่วยเหลือ เรือดวงทวีผล 333 (เรือในกลุ่มเรือประมงในที่เกิดเหตุ) โดยเรือ ต.274 เข้าทำการค้นหาและช่วยเหลือลูกเรือได้ครบทั้งหมด โดยเสียชีวิต 1 ราย คาดว่าเกิดจากการสำลักน้ำขณะโดดน้ำหนี นอกจากนี้ เรือ ต.274 ได้นำลูกเรือประมงชื่อเรือ มหาลาภธนวัฒน์ 4 จำนวน 2 คน ซึ่งได้รับบาดเจ็บมาส่งท่าเทียบเรือน้ำลึกจังหวัดระนอง นำส่งผู้บาดเจ็บให้กับ รพ.ระนอง เพื่อทำการรักษาต่อ
    .
    พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวว่า กองทัพเรือจะเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงการใช้อาวุธและอำนาจของเมียนมาว่าเกินขอบเขตหรือไม่ และเรามีอำนาจเข้าไปป้องกันมากน้อยเพียงใด ที่สำคัญคือต้องดูว่าพื้นที่เกิดเหตุอยู่ตรงไหน จุดใด มีกฎหมายใดบังคับใช้ เราเข้าไปรุกล้ำเขา หรือเขาเข้ามาใช้อำนาจเกินขอบเขต หากเป็นอย่างหลังจะมีการตอบโต้อย่างชัดเจน
    .
    ด้านนาย​ภูมิธรรม​ เวชย​ชัย​ รองนายก​รัฐมนตรี​และ ​รมว.กลาโหม​ ยอมรับว่า เรือรบเมียนมายิงเรือประมงของไทยจริง​ แต่เป็นการยิงสัญญาณเตือน ไม่ใช่การทำร้าย​ และมีบางส่วนกระเจิดกระเจิง​และตกใจตกน้ำไป​ แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานว่าเหตุการณ์​ดังกล่าวนั้นเป็นเช่นไร​
    .
    "ในเบื้องต้นทางกองทัพเรือได้มีการเจรจากับทางการเมียนมา​ เนื่องจากเจตนาในเบื้องต้นไม่ใช่ต้องการรุกล้ำน่านน้ำแต่อย่างใด​ และจะไม่ลุกลามเป็นปัญหาระหว่างสองประเทศ​ มองว่ายังไม่ถึงขั้นที่ต้องทำหนังสือเตือนระหว่างรัฐบาล" รมว.กลาโหมกล่าว
    .
    พล.ต.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีเรือรบเมียนมายิงเรือประมงไทยว่า มองว่าการกระทำของเรือรบเมียนมา จะต้องมีการประท้วง ตามช่องทางของกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงคณะกรรมการชายแดน หรือ TBC ว่าได้กระทำรุนแรงเกินกว่าเหตุหรือไม่ และเท่าที่ได้รับรายงานเบื้องต้น เรือรบเมียนมา ยิงเข้าไปตัวเรือประมงไทย ไม่ใช่จุดที่เป็นที่อยู่ของลูกเรือ ซึ่งกรณีผู้เสียชีวิต เกิดจากการกระโดดน้ำและจมน้ำเสียชีวิต แต่เรื่องนี้ทางการไทยไม่ยอม จะประท้วงตามช่องทางที่ทำได้ และเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุหรือไม่ต่อไป
    ..................
    Sondhi X
    เร่งประสานช่วยคนไทย มั่นใจเมียนมาแค่ยิงเตือน เชื่อปัญหาไม่บานปลาย . เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา ภายหลังศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) เปิดเผยว่า ศรชล.ภาค 3 ได้รับแจ้งข่าวจากเรือประมงชื่อเรือ มหาลาภธนวัฒน์ 4 บริเวณพื้นที่ทับซ้อนไทย-เมียนมา ขณะทำการหาปลากับกลุ่มเรือประมงในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวได้ร้องขอความช่วยเหลือ เนื่องจากถูกเรือรบเมียนมาทำการใช้อาวุธ โดยตัวเรือได้รับความเสียหายน้ำเข้าเรือปริมาณมาก มีผู้เสียชีวิต 2 คน และบาดเจ็บอีก 2 ราย และเรือรบเมียนมาได้เข้าจับกุมเรือประมงไทยจำนวน 1 ลำ คือเรือ ส.เจริญชัย 8 มีลูกเรือจำนวน 31 คน โดยถูกจับกุมไปยังเกาะย่านเชือก ประเทศเมียนมา . พล.ร.ท.สุวัจ ดอนสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 (ผบ.ทรภ.3) และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 (ผอ.ศรชล.ภาค 3) ได้รับรายงานว่ามีการดำเนินการจับกุมเรือประมงไทยจริง เนื่องจากมีกลุ่มเรือประมงไทยเข้าไปทำการประมงในเขตน่านน้ำลึกเข้าไปในเขตประเทศเมียนมา ประมาณ 4-5.7 ไมล์ และผลจากการประสาน ได้รับแจ้งจาก ผบ.สน.เรือ 58 เกาะย่านเชือก ว่าจะส่งมอบเรือประมงและลูกเรือที่ถูกจับกุมไปยังสถานีประมงเกาะสอง ในอีกประมาณ 2 วันข้างหน้า . ทั้งนี้ สรุปผลการเข้าให้การช่วยเหลือ เรือดวงทวีผล 333 (เรือในกลุ่มเรือประมงในที่เกิดเหตุ) โดยเรือ ต.274 เข้าทำการค้นหาและช่วยเหลือลูกเรือได้ครบทั้งหมด โดยเสียชีวิต 1 ราย คาดว่าเกิดจากการสำลักน้ำขณะโดดน้ำหนี นอกจากนี้ เรือ ต.274 ได้นำลูกเรือประมงชื่อเรือ มหาลาภธนวัฒน์ 4 จำนวน 2 คน ซึ่งได้รับบาดเจ็บมาส่งท่าเทียบเรือน้ำลึกจังหวัดระนอง นำส่งผู้บาดเจ็บให้กับ รพ.ระนอง เพื่อทำการรักษาต่อ . พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวว่า กองทัพเรือจะเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงการใช้อาวุธและอำนาจของเมียนมาว่าเกินขอบเขตหรือไม่ และเรามีอำนาจเข้าไปป้องกันมากน้อยเพียงใด ที่สำคัญคือต้องดูว่าพื้นที่เกิดเหตุอยู่ตรงไหน จุดใด มีกฎหมายใดบังคับใช้ เราเข้าไปรุกล้ำเขา หรือเขาเข้ามาใช้อำนาจเกินขอบเขต หากเป็นอย่างหลังจะมีการตอบโต้อย่างชัดเจน . ด้านนาย​ภูมิธรรม​ เวชย​ชัย​ รองนายก​รัฐมนตรี​และ ​รมว.กลาโหม​ ยอมรับว่า เรือรบเมียนมายิงเรือประมงของไทยจริง​ แต่เป็นการยิงสัญญาณเตือน ไม่ใช่การทำร้าย​ และมีบางส่วนกระเจิดกระเจิง​และตกใจตกน้ำไป​ แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานว่าเหตุการณ์​ดังกล่าวนั้นเป็นเช่นไร​ . "ในเบื้องต้นทางกองทัพเรือได้มีการเจรจากับทางการเมียนมา​ เนื่องจากเจตนาในเบื้องต้นไม่ใช่ต้องการรุกล้ำน่านน้ำแต่อย่างใด​ และจะไม่ลุกลามเป็นปัญหาระหว่างสองประเทศ​ มองว่ายังไม่ถึงขั้นที่ต้องทำหนังสือเตือนระหว่างรัฐบาล" รมว.กลาโหมกล่าว . พล.ต.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีเรือรบเมียนมายิงเรือประมงไทยว่า มองว่าการกระทำของเรือรบเมียนมา จะต้องมีการประท้วง ตามช่องทางของกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงคณะกรรมการชายแดน หรือ TBC ว่าได้กระทำรุนแรงเกินกว่าเหตุหรือไม่ และเท่าที่ได้รับรายงานเบื้องต้น เรือรบเมียนมา ยิงเข้าไปตัวเรือประมงไทย ไม่ใช่จุดที่เป็นที่อยู่ของลูกเรือ ซึ่งกรณีผู้เสียชีวิต เกิดจากการกระโดดน้ำและจมน้ำเสียชีวิต แต่เรื่องนี้ทางการไทยไม่ยอม จะประท้วงตามช่องทางที่ทำได้ และเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุหรือไม่ต่อไป .................. Sondhi X
    Like
    Angry
    Sad
    7
    1 Comments 0 Shares 724 Views 0 Reviews
  • ## เพิกถอน MOU 2544 ยึดมั่นพระบรมราชโองการ ##
    ..
    ..
    โดยหลักการ พื้นที่อ้างสิทธิ์ สามารถทับซ้อนกันได้...
    .
    แต่ถ้ามีพื้นที่อ้างสิทธิ์ ทับซ้อนเกินความเป็นจริงไปมาก ทำให้อีกฝั่ง เสียสิทธิ์ โดยไม่ยึดตามหลักกฎหมายทะเลสากล สิ่งนี้รับไม่ได้...
    .
    MOU44 มีแผนที่แนบท้าย ซึ่งวาดเอาเองตามอำเภอใจ ของ กัมพูชา ตีเส้นผ่านเกาะกูด ทำให้พื้นที่ "น่านน้ำภายในอ่าวไทย" และ “ทะเลอาณาเขต” หายไป รวมทั้ง “เขตต่อเนื่อง” อีกด้วย
    .
    อีกทั้งยังเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพื้นที่อ้างสิทธิ์ที่ถูกต้องไป ทำให้เกิดพื้นที่อ้างสิทธิ์ ซึ่งเกิดการทับซ้อนเกินจริงไปมาก...!!!
    .
    ดังนั้น MOU44 มีโอกาสทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบบนเวทีโลก โดยมี กรณีเข้าพระวิหารเป็นตัวอย่างซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้ว เพียงเพราะแค่ ประเทศไทย ไม่เคยแสดงออก ไม่เคยปฎิเสธ ประเทศไทยก็สูญเสียเขาพระวิหารไปแล้ว สิ่งนี้เขาเรียกว่า “หลักกฎหมายปิดปาก”
    .
    อีกทั้ง MOU44 ซึ่งมีลักษณะ อันอาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐได้ ดังนั้น MOU44 จึงถือเป็นหนังสือสัญญา ที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
    .
    ซึ่ง MOU44 ฉบับนี้ ชัดเจนที่สุดมาก ว่าไม่ได้เคยผ่านความเห็นชอบของสภาเลยแม้แต่นิดเดียว จึงเป็นการ ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
    .
    อีกทั้ง MOU44 ฉบับนี้ มีเนื้อหาขัดต่อ พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป ที่กำหนดวิธีการ ในการเจรจาไว้แล้ว ว่าจะต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายสากลระหว่างประเทศ ว่าด้วยทะเล เท่านั้น
    .
    ดังนั้น ด้วยเหตุผลที่ว่ามาทั้งหมดนี้ MOU44 จึงเป็น “โมฆะ” มาตั้งแต่ต้น มีผลเสมือนไม่เคยเกิดมีขึ้นบนโลกใบนี้มาก่อน ตั้งแต่โบราณกาลจวบกระทั่งอนาคต ตราบชั่วฟ้าดินสลาย...!!!
    ...
    ...
    12 กรกฎาคม 2515 กัมพูชา ประกาศเขตไหล่ทวีป ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 รุกล้ำอธิปไตยไทย รุกล้ำทะเลอาณาเขต รุกล้ำทะเลต่อเนื่องไทย และ รุกล้ำเศรษฐกิจจำเพาะไทย...
    .
    โดยไม่เป็นไปตามหลักกฎหมายสากลว่าด้วยทะเล บทบัญญัติแห่งกรุงเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีป ค.ศ.1958...!!!
    .
    มีการนับโขดหิน ขึ้นมาอ้างเพื่อวาดเส้นไหล่ทวีปนี้ ซึ่งขัดกับ กฎหมาย UNCLOS ล่าสุดข้อหนึ่งที่ว่า ไม่ให้นับรวมโขดหินที่มนุษย์ไม่สามารถใช้ชีวิตอาศัยอยู่ได้ ในการขีดเส้นไหล่ทวีป...
    .
    ย้อนกลับไปในวันที่ 1 กรกฎาคม 2515 พระราชกฤษฎีกากัมพูชา ประกาศไหล่ทวีปฝ่ายเดียวจากหลักเขตที่ 73 อ้อมเกาะกูดของไทยเป็นรูปตัว U ลงนามโดย นายพล ลอนนอน
    .
    ขีดเส้นไหล่ทวีปประชิดเกาะกูด แต่...!!!
    .
    ยอมรับว่า เกาะกูด เป็นของประเทศไทย...!!!
    .
    โดยหลักกหมายสากลทางทะเล ถ้าเกาะกูดเป็นของประเทศไทยจริง...!!!
    .
    เกาะกูดก็ต้องมี...
    .
    1.ทะเลอาณาเขต รอบเกาะกูด (12 ไมล์ทะเล)
    2.ทะเลต่อเนื่องไทย (24 ไมล์ทะเล)
    .
    ดังนั้น ประเทศไทย เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนครั้งที่เสีย ปราสาทพระวิหาร ให้กัมพูชา...
    .
    จึงแก้เกมด้วยการประกาศ พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป ของประเทศไทยด้านอ่าวไทย โดย ในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นพระมหากัตริย์ เป็นพระประมุขแห่งรัฐ เป็นผู้นำสูงสุดแห่งรัฐ
    .
    โดยแผนที่นี้ ขีดเส้นไหล่ทวีปด้วยการ ลากจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเส้นฐานที่ใกล้ที่สุดระหว่าง เกาะกูด และ เกาะกง ลงไป เรียกว่า เส้นมัธยฐาน...
    .
    ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไปตาม หลักกฎหมายทะเลสากล...!!!
    .
    พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป ฉบับบนี้ จึงความหมาย เป็นการ "ปฏิเสธเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย"
    .
    โดยใน พระบรมราชโองการ กำหนดชัดเจนว่า "การใช้สิทธิ์อธิปไตย ในการสำรวจแสวงผลประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย" จึงกำหนดเขตไล่ทวีปขึ้น
    .
    ให้เป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1958 และ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2511
    .
    และ กำหนดวิธีการเจรจาไว้แล้วด้วยว่า ส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียง อันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีป
    .
    จะเป็นไปตามที่ตกลงกัน โดย...!!!
    .
    ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของ อนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1958
    .
    เมื่อประเทศไทย ยึดหลักตามหลักกฎหมายทะเลสากล เส้นไหล่ทวีปที่ยึดจึงต้องเป็น เส้นไหล่ทวีป ที่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดไว้เท่านั้น...!!!
    .
    ดังนั้น เมื่อยึดเขตไหล่ทวีปตามหลักกฎหมายสากลทางทะเล...!!!
    .
    พลังงานภายใต้ แอ่งปัตตานี ตรงนั้น จึงต้องเป็นของประเทศไทย ทั้งหมด ตามกฎหมายสากลระหว่างประเทศว่าด้วยทะเล...!!!
    .
    ไม่จำเป็นต้องแบ่งให้ใครเลย...
    .
    https://www.youtube.com/watch?v=FyksvXqjj1s&t=124s
    ## เพิกถอน MOU 2544 ยึดมั่นพระบรมราชโองการ ## .. .. โดยหลักการ พื้นที่อ้างสิทธิ์ สามารถทับซ้อนกันได้... . แต่ถ้ามีพื้นที่อ้างสิทธิ์ ทับซ้อนเกินความเป็นจริงไปมาก ทำให้อีกฝั่ง เสียสิทธิ์ โดยไม่ยึดตามหลักกฎหมายทะเลสากล สิ่งนี้รับไม่ได้... . MOU44 มีแผนที่แนบท้าย ซึ่งวาดเอาเองตามอำเภอใจ ของ กัมพูชา ตีเส้นผ่านเกาะกูด ทำให้พื้นที่ "น่านน้ำภายในอ่าวไทย" และ “ทะเลอาณาเขต” หายไป รวมทั้ง “เขตต่อเนื่อง” อีกด้วย . อีกทั้งยังเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพื้นที่อ้างสิทธิ์ที่ถูกต้องไป ทำให้เกิดพื้นที่อ้างสิทธิ์ ซึ่งเกิดการทับซ้อนเกินจริงไปมาก...!!! . ดังนั้น MOU44 มีโอกาสทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบบนเวทีโลก โดยมี กรณีเข้าพระวิหารเป็นตัวอย่างซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้ว เพียงเพราะแค่ ประเทศไทย ไม่เคยแสดงออก ไม่เคยปฎิเสธ ประเทศไทยก็สูญเสียเขาพระวิหารไปแล้ว สิ่งนี้เขาเรียกว่า “หลักกฎหมายปิดปาก” . อีกทั้ง MOU44 ซึ่งมีลักษณะ อันอาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐได้ ดังนั้น MOU44 จึงถือเป็นหนังสือสัญญา ที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา . ซึ่ง MOU44 ฉบับนี้ ชัดเจนที่สุดมาก ว่าไม่ได้เคยผ่านความเห็นชอบของสภาเลยแม้แต่นิดเดียว จึงเป็นการ ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ . อีกทั้ง MOU44 ฉบับนี้ มีเนื้อหาขัดต่อ พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป ที่กำหนดวิธีการ ในการเจรจาไว้แล้ว ว่าจะต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายสากลระหว่างประเทศ ว่าด้วยทะเล เท่านั้น . ดังนั้น ด้วยเหตุผลที่ว่ามาทั้งหมดนี้ MOU44 จึงเป็น “โมฆะ” มาตั้งแต่ต้น มีผลเสมือนไม่เคยเกิดมีขึ้นบนโลกใบนี้มาก่อน ตั้งแต่โบราณกาลจวบกระทั่งอนาคต ตราบชั่วฟ้าดินสลาย...!!! ... ... 12 กรกฎาคม 2515 กัมพูชา ประกาศเขตไหล่ทวีป ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 รุกล้ำอธิปไตยไทย รุกล้ำทะเลอาณาเขต รุกล้ำทะเลต่อเนื่องไทย และ รุกล้ำเศรษฐกิจจำเพาะไทย... . โดยไม่เป็นไปตามหลักกฎหมายสากลว่าด้วยทะเล บทบัญญัติแห่งกรุงเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีป ค.ศ.1958...!!! . มีการนับโขดหิน ขึ้นมาอ้างเพื่อวาดเส้นไหล่ทวีปนี้ ซึ่งขัดกับ กฎหมาย UNCLOS ล่าสุดข้อหนึ่งที่ว่า ไม่ให้นับรวมโขดหินที่มนุษย์ไม่สามารถใช้ชีวิตอาศัยอยู่ได้ ในการขีดเส้นไหล่ทวีป... . ย้อนกลับไปในวันที่ 1 กรกฎาคม 2515 พระราชกฤษฎีกากัมพูชา ประกาศไหล่ทวีปฝ่ายเดียวจากหลักเขตที่ 73 อ้อมเกาะกูดของไทยเป็นรูปตัว U ลงนามโดย นายพล ลอนนอน . ขีดเส้นไหล่ทวีปประชิดเกาะกูด แต่...!!! . ยอมรับว่า เกาะกูด เป็นของประเทศไทย...!!! . โดยหลักกหมายสากลทางทะเล ถ้าเกาะกูดเป็นของประเทศไทยจริง...!!! . เกาะกูดก็ต้องมี... . 1.ทะเลอาณาเขต รอบเกาะกูด (12 ไมล์ทะเล) 2.ทะเลต่อเนื่องไทย (24 ไมล์ทะเล) . ดังนั้น ประเทศไทย เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนครั้งที่เสีย ปราสาทพระวิหาร ให้กัมพูชา... . จึงแก้เกมด้วยการประกาศ พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป ของประเทศไทยด้านอ่าวไทย โดย ในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นพระมหากัตริย์ เป็นพระประมุขแห่งรัฐ เป็นผู้นำสูงสุดแห่งรัฐ . โดยแผนที่นี้ ขีดเส้นไหล่ทวีปด้วยการ ลากจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเส้นฐานที่ใกล้ที่สุดระหว่าง เกาะกูด และ เกาะกง ลงไป เรียกว่า เส้นมัธยฐาน... . ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไปตาม หลักกฎหมายทะเลสากล...!!! . พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป ฉบับบนี้ จึงความหมาย เป็นการ "ปฏิเสธเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย" . โดยใน พระบรมราชโองการ กำหนดชัดเจนว่า "การใช้สิทธิ์อธิปไตย ในการสำรวจแสวงผลประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย" จึงกำหนดเขตไล่ทวีปขึ้น . ให้เป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1958 และ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2511 . และ กำหนดวิธีการเจรจาไว้แล้วด้วยว่า ส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียง อันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีป . จะเป็นไปตามที่ตกลงกัน โดย...!!! . ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของ อนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1958 . เมื่อประเทศไทย ยึดหลักตามหลักกฎหมายทะเลสากล เส้นไหล่ทวีปที่ยึดจึงต้องเป็น เส้นไหล่ทวีป ที่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดไว้เท่านั้น...!!! . ดังนั้น เมื่อยึดเขตไหล่ทวีปตามหลักกฎหมายสากลทางทะเล...!!! . พลังงานภายใต้ แอ่งปัตตานี ตรงนั้น จึงต้องเป็นของประเทศไทย ทั้งหมด ตามกฎหมายสากลระหว่างประเทศว่าด้วยทะเล...!!! . ไม่จำเป็นต้องแบ่งให้ใครเลย... . https://www.youtube.com/watch?v=FyksvXqjj1s&t=124s
    0 Comments 1 Shares 516 Views 0 Reviews
  • สนธินัด 2 ธ.ค. ยื่นหนังสือถึงนายกฯ จี้ชี้แจงเอ็มโอยู 44
    .
    สนธิ ลิ้มทองกุล เตรียมยื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาล ให้นายกรัฐมนตรีชี้แจงกรณีเอ็มโอยูไทย-กัมพูชา ปี 2544 ชี้เรื่องนี้เรื่องใหญ่ จ่อสูญเสียอธิปไตยเช่นเดียวกรณีปราสาทพระวิหาร ชี้มีพระบรมราชโองการ รัชกาลที่ 9 ยึดหลักกฎหมายทะเลสากล
    .
    วันนี้ (25 พ.ย.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการ คุยทุกเรื่องกับสนธิ กล่าวในรายการสนธิเล่าเรื่อง ทางยูทูบ Sondhitalk ระบุว่า ในวันจันทร์ที่ 2 ธ.ค. 2567 เวลา 10.30 น. ตนและนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต จะไปยื่นหนังสือถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้นายกฯ ชี้แจงกรณีเอ็มโอยู ไทย-กัมพูชา 2544 ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางทะเล 12 ไมล์ทะเลโดยรอบเกาะกูด จ.ตราด หลังจากที่นายภูมิธรรม เวชยะชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม อ้างว่าเกาะกูดยังเป็นของไทย และเอ็มโอยูไทย-กัมพูชา ปี 2544 ไม่สามารถยกเลิกได้
    .
    โดยนายสนธิเห็นว่าการที่นายภูมิธรรมพูด แสดงว่าไม่เข้าใจว่าเอ็มโอยูเป็นข้อตกลงเบื้องต้น ไม่ใช่สนธิสัญญาใดๆ ทั้งสิ้น เป็นสิทธิของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่หากไม่พอใจข้อตกลงก็สามารถถอนตัวได้ พร้อมกันนี้ ถ้าหากรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยมั่นใจในข้อมูล ก็อยากจะเสนอให้นายภูมิธรรมมาออกรายการโทรทัศน์สาธารณะ ซึ่งฝั่งตนจะอธิบายและคัดค้านด้วยหลักฐานและข้อเท็จจริง นอกจากนี้ตนขอถามว่า การที่ผู้บัญชาการทหารเรือสั่งทหารเรือหยุดลาดตระเวนโดยรอบเกาะกูดเป็นคำสั่งของนายภูมิธรรมหรือไม่ ถ้าสั่งจริงก็เหมือนกับจะยกพื้นที่ให้กับกัมพูชาใช่หรือไม่
    .
    สำหรับที่มาที่ไปของเอ็มโอยู 2544 คนที่ลงนามเป็นคนแรกคือ นายสุรเกียรติ เสถียรไทย รมว.ต่างประเทศในขณะนั้น โดยมีนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นผู้รับรอง เคยมีความพยายามยกเลิกในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่ไม่ทันนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา กระทั่งสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการนำเรื่องเอ็มโอยู 2544 ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง โดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในขณะนั้น การที่ยอมรับเอ็มโอยู 2544 เท่ากับเป็นการยอมรับกัมพูชาลากเส้นทางทะเลรุกล้ำเขตแดนฝั่งไทย ทั้งที่สมัยรัชกาลที่ 9 เคยมีพระบรมราชโองการและหลักฐานชัดเจนว่าถ้าจะมีการเจรจาให้ยึดกฎหมายทะเลสากลเป็นหลัก แต่ไม่มีใครพูดถึง
    .
    “เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องของการสูญเสียอธิปไตยไป เราสูญเสียเขาพระวิหารให้เขมรแล้ว ยุคนั้นเขมรไปฟ้องศาลโลก เราเตือนรัฐบาลนายอภิสิทธิ์แล้วว่าอย่าไป เพราะเราไม่ยอมรับศาลโลก แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์แสดงว่ายอมรับความเป็นสากล ผลปรากฎว่าเราแพ้ วันนี้เราใช้กฎหมายทะเลสากล เขมรก็ไม่ยอมรับตรงนี้ แต่กลับกันสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์กลับยอมรับศาลโลกได้ มันเป็นความขัดแย้งที่เลวร้ายมาก คนๆ หนึ่งจะตัดสินใจคนละแบบได้อย่างไร ถ้าเราจะเจรจากับเขมรด้วยหลักการเอ็มโอยู 2544 เราจะสูญเสียอธิปไตยอย่างแน่นอน ประชาชนรับได้หรือไม่ที่นายทักษิณพูดว่า ช่างมันเถอะ แบ่งผลประโยชน์กัน 50-50 คุณทักษิณพูดแต่เรื่องผลประโยชน์ แต่ไม่พูดเรื่องอธิปไตยของชาติ“ นายสนธิ กล่าว
    .
    นายสนธิ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ นายภูมิธรรม รวมทั้งนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ไม่พูดถึงพระบรมราชโองการของรัฐบาลที่ 9 ซึ่งประกาศออกมาในปี 2516 ว่ามีหลักการแบบนี้ แต่ไม่มีใครกล้าพูด เพราะพระบรมราชโองการเมื่อประกาศออกมาแล้ว ถือว่าเป็นคำสั่งของจอมทัพ ของประมุขประเทศ คนอื่นจะไปทำเป็นอย่างอื่นย่อมทำไม่ได้อยู่แล้ว เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กแล้ว เป็นเรื่องใหญ่
    ........
    Sondhi X
    สนธินัด 2 ธ.ค. ยื่นหนังสือถึงนายกฯ จี้ชี้แจงเอ็มโอยู 44 . สนธิ ลิ้มทองกุล เตรียมยื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาล ให้นายกรัฐมนตรีชี้แจงกรณีเอ็มโอยูไทย-กัมพูชา ปี 2544 ชี้เรื่องนี้เรื่องใหญ่ จ่อสูญเสียอธิปไตยเช่นเดียวกรณีปราสาทพระวิหาร ชี้มีพระบรมราชโองการ รัชกาลที่ 9 ยึดหลักกฎหมายทะเลสากล . วันนี้ (25 พ.ย.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการ คุยทุกเรื่องกับสนธิ กล่าวในรายการสนธิเล่าเรื่อง ทางยูทูบ Sondhitalk ระบุว่า ในวันจันทร์ที่ 2 ธ.ค. 2567 เวลา 10.30 น. ตนและนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต จะไปยื่นหนังสือถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้นายกฯ ชี้แจงกรณีเอ็มโอยู ไทย-กัมพูชา 2544 ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางทะเล 12 ไมล์ทะเลโดยรอบเกาะกูด จ.ตราด หลังจากที่นายภูมิธรรม เวชยะชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม อ้างว่าเกาะกูดยังเป็นของไทย และเอ็มโอยูไทย-กัมพูชา ปี 2544 ไม่สามารถยกเลิกได้ . โดยนายสนธิเห็นว่าการที่นายภูมิธรรมพูด แสดงว่าไม่เข้าใจว่าเอ็มโอยูเป็นข้อตกลงเบื้องต้น ไม่ใช่สนธิสัญญาใดๆ ทั้งสิ้น เป็นสิทธิของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่หากไม่พอใจข้อตกลงก็สามารถถอนตัวได้ พร้อมกันนี้ ถ้าหากรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยมั่นใจในข้อมูล ก็อยากจะเสนอให้นายภูมิธรรมมาออกรายการโทรทัศน์สาธารณะ ซึ่งฝั่งตนจะอธิบายและคัดค้านด้วยหลักฐานและข้อเท็จจริง นอกจากนี้ตนขอถามว่า การที่ผู้บัญชาการทหารเรือสั่งทหารเรือหยุดลาดตระเวนโดยรอบเกาะกูดเป็นคำสั่งของนายภูมิธรรมหรือไม่ ถ้าสั่งจริงก็เหมือนกับจะยกพื้นที่ให้กับกัมพูชาใช่หรือไม่ . สำหรับที่มาที่ไปของเอ็มโอยู 2544 คนที่ลงนามเป็นคนแรกคือ นายสุรเกียรติ เสถียรไทย รมว.ต่างประเทศในขณะนั้น โดยมีนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นผู้รับรอง เคยมีความพยายามยกเลิกในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่ไม่ทันนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา กระทั่งสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการนำเรื่องเอ็มโอยู 2544 ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง โดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในขณะนั้น การที่ยอมรับเอ็มโอยู 2544 เท่ากับเป็นการยอมรับกัมพูชาลากเส้นทางทะเลรุกล้ำเขตแดนฝั่งไทย ทั้งที่สมัยรัชกาลที่ 9 เคยมีพระบรมราชโองการและหลักฐานชัดเจนว่าถ้าจะมีการเจรจาให้ยึดกฎหมายทะเลสากลเป็นหลัก แต่ไม่มีใครพูดถึง . “เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องของการสูญเสียอธิปไตยไป เราสูญเสียเขาพระวิหารให้เขมรแล้ว ยุคนั้นเขมรไปฟ้องศาลโลก เราเตือนรัฐบาลนายอภิสิทธิ์แล้วว่าอย่าไป เพราะเราไม่ยอมรับศาลโลก แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์แสดงว่ายอมรับความเป็นสากล ผลปรากฎว่าเราแพ้ วันนี้เราใช้กฎหมายทะเลสากล เขมรก็ไม่ยอมรับตรงนี้ แต่กลับกันสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์กลับยอมรับศาลโลกได้ มันเป็นความขัดแย้งที่เลวร้ายมาก คนๆ หนึ่งจะตัดสินใจคนละแบบได้อย่างไร ถ้าเราจะเจรจากับเขมรด้วยหลักการเอ็มโอยู 2544 เราจะสูญเสียอธิปไตยอย่างแน่นอน ประชาชนรับได้หรือไม่ที่นายทักษิณพูดว่า ช่างมันเถอะ แบ่งผลประโยชน์กัน 50-50 คุณทักษิณพูดแต่เรื่องผลประโยชน์ แต่ไม่พูดเรื่องอธิปไตยของชาติ“ นายสนธิ กล่าว . นายสนธิ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ นายภูมิธรรม รวมทั้งนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ไม่พูดถึงพระบรมราชโองการของรัฐบาลที่ 9 ซึ่งประกาศออกมาในปี 2516 ว่ามีหลักการแบบนี้ แต่ไม่มีใครกล้าพูด เพราะพระบรมราชโองการเมื่อประกาศออกมาแล้ว ถือว่าเป็นคำสั่งของจอมทัพ ของประมุขประเทศ คนอื่นจะไปทำเป็นอย่างอื่นย่อมทำไม่ได้อยู่แล้ว เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กแล้ว เป็นเรื่องใหญ่ ........ Sondhi X
    Like
    Love
    Wow
    12
    1 Comments 0 Shares 1212 Views 0 Reviews
  • โฉมหน้าเจ้าตัวร้าย
    “กฤษฎีกากัมพูชา 1972”
    รุกล้ำอธิปไตยเกาะ/น่านน้ำไทย !
    ________
    .
    ใครที่บอกว่ากัมพูชาไม่เคย ”พูด“ อ้างกรรมสิทธิเหนือเกาะกูด และบรรดาคนไทยที่นำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นคือพวกคลั่งชาติ ลองพิจารณาอ่านเรื่องนี้สักนิด…
    .
    กัมพูชาอาจจะไม่เคย ”พูด“ อย่างเป็นทางการในนามรัฐบาล ไม่ว่าในยุคไหนระบอบอะไร แต่กัมพูชาลงมือ “ทำ” เลยอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยเมื่อ 52 ปีก่อนในช่วงสั้น ๆ ของรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐ
    .
    และ “ผลแห่งการกระทำ” นั้นยังคงอยู่ !
    .
    “กฤษฎีกาที่ 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972”
    .
    วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972
    .
    จอมพลลอนนอลลงนามในฐานะประธานาธิบดีสาธารณรัฐกัมพูชา หลังรัฐประหารโค่นล้มระบอบกษัตริย์ 2 ปี และก่อนพนมเปญแตกพ่ายแพ้ต่อคอมมิวนิสต์เขมรแดง 3 ปี
    .
    สารัตถะสำคัญอยู่ในมาตราแรก (Article Premier) ผมสรุปมาจากที่ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์เขียนไว้ในบทความของท่านเมื่อปี 2554 รวมทั้งการเสวนาที่สยามสมาคมในปีเดียวกันนั้น
    .
    วรรคแรกเป็นการอ้างฐานทางกฎหมาย
    .
    (1) อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีปลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958
    .
    (2) สนธิสัญญาสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และ…
    .
    (3) บันทึกการปักปันเขตแดนสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1908 รวมทั้ง…
    .
    (4) แผนที่เดินเรือของฝรั่งเศส 1972 มาตราส่วน 1:1,096,000
    .
    กฤษฎีกา 1972 ระบุพิกัดของเขตไหล่ทวีปตามจุดอ้างอิงที่เกี่ยวกับ “เกาะกูด” รวมทั้ง “ทะเลอาณาเขต(ของไทย)“ โดยตรง
    .
    โดยในวรรคสอง (ย่อหน้าล่างสุดของกฤษฎีกาหน้าแรก) กล่าวว่าได้มีการปักปันเขตไหล่ทวีประหว่างไทยกับฝรั่งเศสแล้ว โดยทางทิศเหนือ ใช้เส้นตรงเชื่อมจุดชายแดนแผ่นดินที่จุด “A” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นที่ตั้งหลักเขตที่ 73) มายังจุดสูงสุดบนเกาะกูดที่เรียกว่าจุด “S” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการอ้างอิงจากหนังสือแนบท้ายสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 1) และลากต่อออกทะเลไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่เรียกว่าจุด “P”
    .
    โดยในตารางท้ายมาตราแรก (อยู่ตอนต้นของกฤษฎีกาหน้า 2) ได้กำหนดรายละเอียดของจุด “A“ และ “P” ไว้
    .
    จุด ”A” คือจุดใต้สุดของการแบ่งเขตแดนทางบกตามสนธิสัญญาค.ศ. 1907 ก็คือหลักเขตที่ 73 นั่นเอง
    .
    จุด “P” กึ่งกลางอ่าวไทยนั้น กฤษฎีการะบุว่าเป็นจุดมัธยะ (หรือกึ่งกลาง) ระหว่างไหล่ทวีปของกัมพูชากับไทย
    .
    มาตราแรกโดยเฉพาะวรรคสองนี่แหละ “เท็จ” โดยสิ้นเชิง
    .
    เพราะไม่เคยมีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสกันมาก่อน โดยเฉพาะในช่วงค.ศ. 1907 หรือ 1908 ไม่เคยมีสนธิสัญญาเกี่ยวกับการนี้ ประวัติศาสตร์ฉบับไหนก็ไม่เคยระบุ กฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับอาณาเขตทางทะเลที่นานาชาติยึดถือกันเมื่อ 127 ปีก่อนก็ต่างกับปัจจุบัน ยุคนั้นยังไม่มีสิ่งที่นานาชาติกำหนดอาณาเขตทางทะเลขึ้นมาให้รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตยเหนือแล้วเรียกว่า “ไหล่ทวีป” เสียด้วยซ้ำ ไม่มีเขตต่อเนื่อง ไม่มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะ มีแค่ทะเลอาณาเขตระยะ 3 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง พ้นออกมาเป็นเขตทะเลหลวงที่เป็นเขตทะเลเสรีไม่มีประเทศใดมีสิทธิถือครองเป็นเจ้าของได้
    .
    แต่สมมติแม้จะยึดกฎเกณฑ์ในยุคสมัยค.ศ. 1907 หากจะปักปันเขตแดนทางทะเลกัน การขีดเส้นแนว “A-S-P” เป็นอาณาเขตทางทะเลของอินโดจีนฝรั่งเศสก็ไม่ถูกและไม่มีกฎเกณฑ์ใดรองรับอยู่ดี เพราะระยะทางจากชายฝั่งถึงเกาะกูดประมาณ 19 ไมล์ทะเล เกิน 3 ไมล์ทะเลตั้งเยอะ อินโดจีนฝรั่งเศสจะไปถือสิทธิครอบครองเขตทะเลหลวงได้อย่างไร
    .
    การจงใจระบุพิกัดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อค.ศ. 1972 เช่นนี้คือการกระทำที่ละเมิดอธิปไตยไทยเหนือเกาะกูด ทั้งตัวเกาะ และทะเลอาณาเขต
    .
    ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์ กล่าวไว้ในงานเขียนของท่านว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการแบ่งเขตไหล่ทวีปโดยเส้นผ่าเกาะกูดซึ่งเป็นดินแดนทางบก เพราะไหล่ทวีปหมายถึงพื้นดินใต้ทะเลและใต้พื้นดินใต้ทะเล
    .
    ดังนั้น โอกาสที่แนว “A-S-P” จะถูกต้องมีอยู่เงื่อนไขเดียวเท่านั้น…
    .
    คือตัวเกาะกูดต้องเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่ง !
    .
    ขอย้ำอีกครั้งว่า แนว “A-S-P” อันเป็นเส้นเขตไหล่ทวีปด้านเหนือของกัมพูชาตามกฤษฎีกา 1972 จะถูกต้องก็ต่อเมื่อตัวเกาะกูดเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่งเท่านั้น !!
    .
    แล้วประเทศไทยผู้ถูกรุกล้ำอธิปไตยจะ “ยอมรับ” ได้อย่างไร ?
    .
    แม้จะไม่ใช่การยอมรับใน “ความถูกต้อง” แค่ยอมรับ “การมีอยู่”, “การคงอยู่” เพื่อเป็นเพียง “กรอบ” ในการ “เจรจาเรื่องอื่น” ก็เถอะ !!
    .
    ตรงนี้จำเป็นต้องมีการพูดถึงแผนที่หรือแผนผัง 2 (+1) ฉบับที่นำมาลงเป็นภาพประกอบไว้
    .
    ฉบับที่ 1 คือแผนที่เดินเรือฝรั่งเศสที่ใช้แนบท้ายกฤษฎีกา 1972 ไม่ได้มีการเขียนลากเส้นบนแผนที่พาดผ่านตัวเกาะกูดโดยตรง หากแต่ลากเป็นเส้นตรงออกมาจากชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดสุดเขตแดนทางบกของไทยกับกัมพูชามาหยุดที่ตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันออก แล้วลากเส้นตรงใหม่จากตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันตกตรงไปกลางอ่าวไทย แผนที่ทำนองนี้โดยทั่วไปเป็นแผนที่ใช้สำหรับกิจการในกองทัพเรือรวมถึงการเดินเรือไม่ใช่แผนที่แสดงเขตแดนใด ๆ ทั้งสิ้น เส้นตรงที่ลากผ่านเกาะกูดไปยังกลางอ่าวไทยในแผนที่นี้ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเส้นอะไร แต่กระนั้นตรงชื่อเกาะกูด (Koh Kut) ก็ยังมีวงเล็บต่อท้ายว่า “(Siam)” อย่างที่พอเห็นได้ จึงแสดงให้เห็นว่าในปีค.ศ. 1907 จนกระทั่งถึงวันคืนเอกราชให้ 3 ประเทศอินโดจีน ฝรั่งเศสไม่ได้มีความพยายาม “เคลม” กรรมสิทธิ์เหนือเกาะกูดแต่ประการใด เพราะในสนธิสัญญา 1907 ข้อ 2 อันเป็นสัญญาหลัก ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าเขายกให้เรา แลกกับ 3 มณฑลใหญ่ของกัมพูชาดังที่ทราบกันดี
    .
    ฉบับที่ 2 เป็นแผนที่ที่กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นแจกแก่ผู้สื่อข่าวเพื่อชี้แจงกฤษฎีกา 1972 ให้ชัดเจนขึ้น คราวนี้นอกจากตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อขับเน้นเฉพาะเส้นที่เสกสรรค์ปั้นแต่งว่าเป็นเขตไหล่ทวีปของตนแล้ว ยังเขียนเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรง
    .
    แผนที่ฉบับหลังนี้เข้าใจว่าเมื่อกระทรวงการต่างประเทศไทยได้รับ ก็นำมาทำใหม่เพื่อประกอบการศึกษาภายใน มีภาษาไทยกำกับ ยังคงแสดงเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรงตามเจตนาของต้นฉบับที่ฝ่ายกันพูชาจัดทำ
    .
    เช่นนี้แล้ว ใครที่ออกตัวรับรองว่ากัมพูชาไม่เคย “พูด” ไม่เคยอ้างสิทธิเหนือเกาะกูดน่ะจะว่าอย่างไร ?
    .
    เพราะการที่กัมพูชาลงมือ “ทำ” โดยกฤษฎีกา 1972 ตามที่เล่ามานี้มันยิ่งกว่า “พูด” เสียอีก !
    .
    ไม่เคยได้ยินภาษิตที่ว่า “การกระทำดังกว่าคำพูด” หรือ ?!!
    .
    ณ ปีค.ศ. 1907 มีแต่การปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส
    .
    แต่แน่ละ มีการกล่าวถึงเกาะกูดไว้ในหนังสือติดท้ายสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 ข้อ 1 จริง แต่ก็เพียงเพื่อใช้เป็นจุดเล็งไปยังจุดใดจุดหนึ่งบนแผ่นดินชายหาดที่จะกำหนดให้ป็นหลักเขตที่ 73 เพราะบนแผ่นดินชายหาดบริเวณนั้นไม่มีภูมิประเทศใดที่ยั่งยืนพอให้เป็นที่สังเกตได้
    .
    “เขตแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามกับยอดเขาสูงที่สุดของเกาะกูดเป็นหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวาน….“
    .
    แค่ข้อความที่ระบุว่า “ตั้งแต่ชายทะเล…” วิญญูชนย่อมเข้าใจได้ว่าหมายถึงแผ่นดิน-ไม่ใช่ทะเล แต่กัมพูชาในยุคจอมพลลอนนอลในปีค.ศ. 1972 ไปตีขลุมว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลแล้วในอดีต แล้วก็ตีเส้นตามอำเภอใจ เพื่อตีกินพื้นที่ทรัพยากรในอ่าวไทย
    .
    โดยในอีกทางหนึ่งก็ไปหยิบเอา ”เส้นประ“ (- - - - - - -) ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายหาดจังหวัดตราดในแผนที่ประกอบหนังสือติดท้ายสนธิสัญญาค.ศ. 1907 มาเป็นประเด็นอธิบายการแถระดับโลกของตัวเอง
    .
    หากดูภาพสุดท้ายจะพบมีเส้น ++++++ อันเป็นสัญลักษณ์สากลของเส้นแบ่งเขตแดน (boundary line) ตลอดแนวเขตแดนทางบกไทยกัมพูชา ขณะที่เส้นประ (dotted line) - - - - - - มีอยู่เพียงสั้น ๆ ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายทะเลจังหวัดตราดเท่านั้น ซึ่งเมื่อดูในบริบทของสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 วิญญูชนก็ย่อมเข้าใจได้ไม่ยากอีกเช่นกันว่าเป็นการแสดงจุดเล็งไปยังแผ่นดินเพื่อหาจุดที่ตั้งหลักเขตที่ 73
    .
    การแถดังกล่าวกลายเป็นกรณีศึกษาทางวิชาการกันพอสมควรหลังปีค.ศ. 1972 และก็มีการยืนยันในข้อเท็จจริงแล้วอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากบุคคลระดับชนชั้นนำของกัมพูชาเอง
    .
    ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่ากฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชานี้ยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ในฐานะที่เป็นประกาศของประมุขแห่งรัฐ
    .
    การที่แผนผังแนบท้าย MOU 2544 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ คือเส้นแนว “A-S-P” กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านบนของกัมพูชาไม่ได้เขียนแบบลากพาดผ่าน หรือเขียนแบบหยุดเว้นตัวเกาะ แต่เขียนประชิดติดตัวเกาะเว้าเป็นรูปตัว ”U” ทางทิศใต้แล้วก็ตาม นั่นหาเป็นผลแปรเปลี่ยนใด ๆ ไม่ เพราะด้านหนึ่งตัวกฤษฎีกา 1972 ยังคงอยู่ อีกด้านหนึ่งแนวเส้น “A-S-P” ยังคงอยู่ การละเมิดอธิปไตยเหนือตัวเกาะกูดและทะเลอาณาเขตของไทยยังคงอยู่
    .
    มีหนำซ้ำเนื้อหาใน MOU 2544 ข้อ 5 ก็ระบุไว้ว่าการตกลงใด ๆ หากจะมีขึ้นไม่กระทบกระเทือนการอ้างสิทธิของแต่ละฝ่าย
    .
    พระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณต่อคนไทยจังหวัดจันทบุรีและตราดในองค์พระปิยมหาราชเจ้าช่วงวิกฤตกับฝรั่งเศสระหว่าง ร.ศ. 112 - 125 ทำให้ประเทศไทย ณ วันนี้มีฝั่งทะเลตะวันออกด้านอ่าวไทยยาวเหยียดจนแทบจะโอบล้อมแหล่งทรัพยากรไว้ได้ทั้งหมด - คนไทยต้องรักษาไว้
    .
    ประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ของล้นเกล้าฯในหลวงรัชกาลที่ 9 สืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระอัยกา - คนไทยต้องรักษาไว้
    .
    .
    คำนูณ สิทธิสมาน
    4 พฤศจิกายน 2567

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/15CSsZXGkk/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    โฉมหน้าเจ้าตัวร้าย “กฤษฎีกากัมพูชา 1972” รุกล้ำอธิปไตยเกาะ/น่านน้ำไทย ! ________ . ใครที่บอกว่ากัมพูชาไม่เคย ”พูด“ อ้างกรรมสิทธิเหนือเกาะกูด และบรรดาคนไทยที่นำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นคือพวกคลั่งชาติ ลองพิจารณาอ่านเรื่องนี้สักนิด… . กัมพูชาอาจจะไม่เคย ”พูด“ อย่างเป็นทางการในนามรัฐบาล ไม่ว่าในยุคไหนระบอบอะไร แต่กัมพูชาลงมือ “ทำ” เลยอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยเมื่อ 52 ปีก่อนในช่วงสั้น ๆ ของรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐ . และ “ผลแห่งการกระทำ” นั้นยังคงอยู่ ! . “กฤษฎีกาที่ 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972” . วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 . จอมพลลอนนอลลงนามในฐานะประธานาธิบดีสาธารณรัฐกัมพูชา หลังรัฐประหารโค่นล้มระบอบกษัตริย์ 2 ปี และก่อนพนมเปญแตกพ่ายแพ้ต่อคอมมิวนิสต์เขมรแดง 3 ปี . สารัตถะสำคัญอยู่ในมาตราแรก (Article Premier) ผมสรุปมาจากที่ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์เขียนไว้ในบทความของท่านเมื่อปี 2554 รวมทั้งการเสวนาที่สยามสมาคมในปีเดียวกันนั้น . วรรคแรกเป็นการอ้างฐานทางกฎหมาย . (1) อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีปลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 . (2) สนธิสัญญาสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และ… . (3) บันทึกการปักปันเขตแดนสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1908 รวมทั้ง… . (4) แผนที่เดินเรือของฝรั่งเศส 1972 มาตราส่วน 1:1,096,000 . กฤษฎีกา 1972 ระบุพิกัดของเขตไหล่ทวีปตามจุดอ้างอิงที่เกี่ยวกับ “เกาะกูด” รวมทั้ง “ทะเลอาณาเขต(ของไทย)“ โดยตรง . โดยในวรรคสอง (ย่อหน้าล่างสุดของกฤษฎีกาหน้าแรก) กล่าวว่าได้มีการปักปันเขตไหล่ทวีประหว่างไทยกับฝรั่งเศสแล้ว โดยทางทิศเหนือ ใช้เส้นตรงเชื่อมจุดชายแดนแผ่นดินที่จุด “A” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นที่ตั้งหลักเขตที่ 73) มายังจุดสูงสุดบนเกาะกูดที่เรียกว่าจุด “S” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการอ้างอิงจากหนังสือแนบท้ายสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 1) และลากต่อออกทะเลไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่เรียกว่าจุด “P” . โดยในตารางท้ายมาตราแรก (อยู่ตอนต้นของกฤษฎีกาหน้า 2) ได้กำหนดรายละเอียดของจุด “A“ และ “P” ไว้ . จุด ”A” คือจุดใต้สุดของการแบ่งเขตแดนทางบกตามสนธิสัญญาค.ศ. 1907 ก็คือหลักเขตที่ 73 นั่นเอง . จุด “P” กึ่งกลางอ่าวไทยนั้น กฤษฎีการะบุว่าเป็นจุดมัธยะ (หรือกึ่งกลาง) ระหว่างไหล่ทวีปของกัมพูชากับไทย . มาตราแรกโดยเฉพาะวรรคสองนี่แหละ “เท็จ” โดยสิ้นเชิง . เพราะไม่เคยมีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสกันมาก่อน โดยเฉพาะในช่วงค.ศ. 1907 หรือ 1908 ไม่เคยมีสนธิสัญญาเกี่ยวกับการนี้ ประวัติศาสตร์ฉบับไหนก็ไม่เคยระบุ กฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับอาณาเขตทางทะเลที่นานาชาติยึดถือกันเมื่อ 127 ปีก่อนก็ต่างกับปัจจุบัน ยุคนั้นยังไม่มีสิ่งที่นานาชาติกำหนดอาณาเขตทางทะเลขึ้นมาให้รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตยเหนือแล้วเรียกว่า “ไหล่ทวีป” เสียด้วยซ้ำ ไม่มีเขตต่อเนื่อง ไม่มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะ มีแค่ทะเลอาณาเขตระยะ 3 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง พ้นออกมาเป็นเขตทะเลหลวงที่เป็นเขตทะเลเสรีไม่มีประเทศใดมีสิทธิถือครองเป็นเจ้าของได้ . แต่สมมติแม้จะยึดกฎเกณฑ์ในยุคสมัยค.ศ. 1907 หากจะปักปันเขตแดนทางทะเลกัน การขีดเส้นแนว “A-S-P” เป็นอาณาเขตทางทะเลของอินโดจีนฝรั่งเศสก็ไม่ถูกและไม่มีกฎเกณฑ์ใดรองรับอยู่ดี เพราะระยะทางจากชายฝั่งถึงเกาะกูดประมาณ 19 ไมล์ทะเล เกิน 3 ไมล์ทะเลตั้งเยอะ อินโดจีนฝรั่งเศสจะไปถือสิทธิครอบครองเขตทะเลหลวงได้อย่างไร . การจงใจระบุพิกัดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อค.ศ. 1972 เช่นนี้คือการกระทำที่ละเมิดอธิปไตยไทยเหนือเกาะกูด ทั้งตัวเกาะ และทะเลอาณาเขต . ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์ กล่าวไว้ในงานเขียนของท่านว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการแบ่งเขตไหล่ทวีปโดยเส้นผ่าเกาะกูดซึ่งเป็นดินแดนทางบก เพราะไหล่ทวีปหมายถึงพื้นดินใต้ทะเลและใต้พื้นดินใต้ทะเล . ดังนั้น โอกาสที่แนว “A-S-P” จะถูกต้องมีอยู่เงื่อนไขเดียวเท่านั้น… . คือตัวเกาะกูดต้องเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่ง ! . ขอย้ำอีกครั้งว่า แนว “A-S-P” อันเป็นเส้นเขตไหล่ทวีปด้านเหนือของกัมพูชาตามกฤษฎีกา 1972 จะถูกต้องก็ต่อเมื่อตัวเกาะกูดเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่งเท่านั้น !! . แล้วประเทศไทยผู้ถูกรุกล้ำอธิปไตยจะ “ยอมรับ” ได้อย่างไร ? . แม้จะไม่ใช่การยอมรับใน “ความถูกต้อง” แค่ยอมรับ “การมีอยู่”, “การคงอยู่” เพื่อเป็นเพียง “กรอบ” ในการ “เจรจาเรื่องอื่น” ก็เถอะ !! . ตรงนี้จำเป็นต้องมีการพูดถึงแผนที่หรือแผนผัง 2 (+1) ฉบับที่นำมาลงเป็นภาพประกอบไว้ . ฉบับที่ 1 คือแผนที่เดินเรือฝรั่งเศสที่ใช้แนบท้ายกฤษฎีกา 1972 ไม่ได้มีการเขียนลากเส้นบนแผนที่พาดผ่านตัวเกาะกูดโดยตรง หากแต่ลากเป็นเส้นตรงออกมาจากชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดสุดเขตแดนทางบกของไทยกับกัมพูชามาหยุดที่ตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันออก แล้วลากเส้นตรงใหม่จากตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันตกตรงไปกลางอ่าวไทย แผนที่ทำนองนี้โดยทั่วไปเป็นแผนที่ใช้สำหรับกิจการในกองทัพเรือรวมถึงการเดินเรือไม่ใช่แผนที่แสดงเขตแดนใด ๆ ทั้งสิ้น เส้นตรงที่ลากผ่านเกาะกูดไปยังกลางอ่าวไทยในแผนที่นี้ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเส้นอะไร แต่กระนั้นตรงชื่อเกาะกูด (Koh Kut) ก็ยังมีวงเล็บต่อท้ายว่า “(Siam)” อย่างที่พอเห็นได้ จึงแสดงให้เห็นว่าในปีค.ศ. 1907 จนกระทั่งถึงวันคืนเอกราชให้ 3 ประเทศอินโดจีน ฝรั่งเศสไม่ได้มีความพยายาม “เคลม” กรรมสิทธิ์เหนือเกาะกูดแต่ประการใด เพราะในสนธิสัญญา 1907 ข้อ 2 อันเป็นสัญญาหลัก ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าเขายกให้เรา แลกกับ 3 มณฑลใหญ่ของกัมพูชาดังที่ทราบกันดี . ฉบับที่ 2 เป็นแผนที่ที่กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นแจกแก่ผู้สื่อข่าวเพื่อชี้แจงกฤษฎีกา 1972 ให้ชัดเจนขึ้น คราวนี้นอกจากตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อขับเน้นเฉพาะเส้นที่เสกสรรค์ปั้นแต่งว่าเป็นเขตไหล่ทวีปของตนแล้ว ยังเขียนเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรง . แผนที่ฉบับหลังนี้เข้าใจว่าเมื่อกระทรวงการต่างประเทศไทยได้รับ ก็นำมาทำใหม่เพื่อประกอบการศึกษาภายใน มีภาษาไทยกำกับ ยังคงแสดงเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรงตามเจตนาของต้นฉบับที่ฝ่ายกันพูชาจัดทำ . เช่นนี้แล้ว ใครที่ออกตัวรับรองว่ากัมพูชาไม่เคย “พูด” ไม่เคยอ้างสิทธิเหนือเกาะกูดน่ะจะว่าอย่างไร ? . เพราะการที่กัมพูชาลงมือ “ทำ” โดยกฤษฎีกา 1972 ตามที่เล่ามานี้มันยิ่งกว่า “พูด” เสียอีก ! . ไม่เคยได้ยินภาษิตที่ว่า “การกระทำดังกว่าคำพูด” หรือ ?!! . ณ ปีค.ศ. 1907 มีแต่การปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส . แต่แน่ละ มีการกล่าวถึงเกาะกูดไว้ในหนังสือติดท้ายสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 ข้อ 1 จริง แต่ก็เพียงเพื่อใช้เป็นจุดเล็งไปยังจุดใดจุดหนึ่งบนแผ่นดินชายหาดที่จะกำหนดให้ป็นหลักเขตที่ 73 เพราะบนแผ่นดินชายหาดบริเวณนั้นไม่มีภูมิประเทศใดที่ยั่งยืนพอให้เป็นที่สังเกตได้ . “เขตแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามกับยอดเขาสูงที่สุดของเกาะกูดเป็นหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวาน….“ . แค่ข้อความที่ระบุว่า “ตั้งแต่ชายทะเล…” วิญญูชนย่อมเข้าใจได้ว่าหมายถึงแผ่นดิน-ไม่ใช่ทะเล แต่กัมพูชาในยุคจอมพลลอนนอลในปีค.ศ. 1972 ไปตีขลุมว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลแล้วในอดีต แล้วก็ตีเส้นตามอำเภอใจ เพื่อตีกินพื้นที่ทรัพยากรในอ่าวไทย . โดยในอีกทางหนึ่งก็ไปหยิบเอา ”เส้นประ“ (- - - - - - -) ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายหาดจังหวัดตราดในแผนที่ประกอบหนังสือติดท้ายสนธิสัญญาค.ศ. 1907 มาเป็นประเด็นอธิบายการแถระดับโลกของตัวเอง . หากดูภาพสุดท้ายจะพบมีเส้น ++++++ อันเป็นสัญลักษณ์สากลของเส้นแบ่งเขตแดน (boundary line) ตลอดแนวเขตแดนทางบกไทยกัมพูชา ขณะที่เส้นประ (dotted line) - - - - - - มีอยู่เพียงสั้น ๆ ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายทะเลจังหวัดตราดเท่านั้น ซึ่งเมื่อดูในบริบทของสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 วิญญูชนก็ย่อมเข้าใจได้ไม่ยากอีกเช่นกันว่าเป็นการแสดงจุดเล็งไปยังแผ่นดินเพื่อหาจุดที่ตั้งหลักเขตที่ 73 . การแถดังกล่าวกลายเป็นกรณีศึกษาทางวิชาการกันพอสมควรหลังปีค.ศ. 1972 และก็มีการยืนยันในข้อเท็จจริงแล้วอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากบุคคลระดับชนชั้นนำของกัมพูชาเอง . ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่ากฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชานี้ยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ในฐานะที่เป็นประกาศของประมุขแห่งรัฐ . การที่แผนผังแนบท้าย MOU 2544 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ คือเส้นแนว “A-S-P” กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านบนของกัมพูชาไม่ได้เขียนแบบลากพาดผ่าน หรือเขียนแบบหยุดเว้นตัวเกาะ แต่เขียนประชิดติดตัวเกาะเว้าเป็นรูปตัว ”U” ทางทิศใต้แล้วก็ตาม นั่นหาเป็นผลแปรเปลี่ยนใด ๆ ไม่ เพราะด้านหนึ่งตัวกฤษฎีกา 1972 ยังคงอยู่ อีกด้านหนึ่งแนวเส้น “A-S-P” ยังคงอยู่ การละเมิดอธิปไตยเหนือตัวเกาะกูดและทะเลอาณาเขตของไทยยังคงอยู่ . มีหนำซ้ำเนื้อหาใน MOU 2544 ข้อ 5 ก็ระบุไว้ว่าการตกลงใด ๆ หากจะมีขึ้นไม่กระทบกระเทือนการอ้างสิทธิของแต่ละฝ่าย . พระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณต่อคนไทยจังหวัดจันทบุรีและตราดในองค์พระปิยมหาราชเจ้าช่วงวิกฤตกับฝรั่งเศสระหว่าง ร.ศ. 112 - 125 ทำให้ประเทศไทย ณ วันนี้มีฝั่งทะเลตะวันออกด้านอ่าวไทยยาวเหยียดจนแทบจะโอบล้อมแหล่งทรัพยากรไว้ได้ทั้งหมด - คนไทยต้องรักษาไว้ . ประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ของล้นเกล้าฯในหลวงรัชกาลที่ 9 สืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระอัยกา - คนไทยต้องรักษาไว้ . . คำนูณ สิทธิสมาน 4 พฤศจิกายน 2567 ที่มา https://www.facebook.com/share/p/15CSsZXGkk/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    Sad
    5
    0 Comments 1 Shares 1392 Views 0 Reviews
  • ทำไมกระทรวงการต่างประเทศ ถึงบังอาจแถลงข่าวตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9?/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    จากเอกสารของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ในประเด็นพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน

    น่าประหลาดใจตรงที่มีการนำเสนอสไลด์ลำดับที่ 12 ในหัวข้อภาพว่า “พระบรมราชโองการการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516“

    โดยทั้งข้อความมีการขีดเส้นว่า “สิทธิอธิปไตย” ในตอนต้นของพระบรมราชโองการ และมีการนำเสนอพระบรมราชโองการย่อหน้าที่ 3 โดยการ “เน้น”เป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงว่า “จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน“

    อีกทั้งยังได้มีแถบไฮไลท์สีเหลืองเพื่อเน้นย้ำว่า “เป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน”ด้วย

    การเขียนข้อความดังกล่าวอาจทำให้สังคมหรือคณะรัฐมนตรี “หลงประเด็น“ไปว่า พระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปอาจเปิดทางให้ตกลงกันอย่างไรก็ได้ อันเป็นการดำเนินการตามในรูปแบบของ MOU 2544 ก็ได้

    แต่ความจริงแล้วการนำเสนอของกระทรวงการต่างประเทศในภาพนี้ มีเจตนานำเสนอ ”เน้นไม่ครบคำ“ ตามพระบรมราชโองการที่มีข้อความในฉบับเต็มว่า

    ”จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“

    ดังนั้นพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 จึงมีความหมายคือ

    1.ราชอาณาจักรไทย “ปฏิเสธ” การประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ไม่ได้ยึดกฎหมายทะเลสากล เพราะรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย รุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และรุกล้ำเส้นมัธยะ (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    2.ราชอาณาจักรไทย ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดกฎหมายทะเลสากลในเวลานั้นคือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งราชอาณาจักรไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511

    3.หาก “จะ” มีการเจรจาเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีปกับประเทศใกล้เคียงใน “อนาคต” จะต้องยึดมูลฐานจากฎหมายทะเลสากลเท่านั้น คือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และย่อมไม่ใช่การเส้นเขตแดนตามประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2515

    และมีความหมายด้วยว่าไม่ได้เปิดโอกาสให้นักการเมืองไปเจรจากับชาติใดตามอำเภอใจ โดยไม่ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    การลงนามใน MOU 2544 จึงแตกต่างจาก 3 หลักการเดิมของพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 ดังนี้

    1.MOU 2544 ได้ทำให้พื้นที่ซึ่งเป็นของราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ปี 2516 ซึ่ง “เคยปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ให้กลายเป็น “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ใน MOU 2544 ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเกินจริงไปอย่างมหาศาล และเท่ากับ

    1.1 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย “รับรู้”และ“ไม่ปฏิเสธ”การรุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำเส้นกลาง (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา

    1.2 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การขีดเส้นของกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    2. ราชอาณาจักรไทย เปลี่ยนหลักการใหญ่ ให้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เป็นมูลฐานเดียวในการเจรจา ให้กลายเป็น “มูลฐานอื่น” ที่ใช้การเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ตาม MOU 2544 ที่มีการขีดเส้นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเกินจริง จึงไม่เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    ต่างชาติพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลไทย-มาเลเซีย ที่ต่างเคารพการอ้างอนุสัญญาด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 จึงเป็นการอ้างสิทธิทับซ้อนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ส่งผลทำให้มีการตกลงกำหนดให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกับไทย-มาเลเซียเป็นผลสำเร็จ

    ส่งผลทำให้พื้นที่ซึ่งแน่ชัดตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ว่าเป็น ทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย เขตทะเลต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นของราชอาณาจักรไทยหรือกัมพูชา มีจำนวนมากถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงสิทธิการประมง สิทธิการเดินทาง และการสำรวจและการแสวงหาใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่เคยเป็นของไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งของไทยหรือกัมพูชา หรือไม่ก็ให้ถอยออกจากพื้นที่ทั้ง 2 ประเทศ

    การขีดเส้นแบบนี้ โดยรับรู้และไม่ปฏิเสธ แม้อ้างว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่ต่อไปใครไปนั่งที่ด้านทิศใต้เกาะกูด ใครเอาเท้าจุ่มในทะเล ก็จะเกิดข้อพิพาทว่าที่เท้าจุ่มลงไปนั้น อยู่ในทะเลไทยหรือทะเลกัมพูชา

    จนเกิดข้อสงสัยว่าภาพแถลงกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ บังอาจแถลงข่าวเน้นตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9 นั้น กำลังทำตัวเป็นกรมสนธิสัญญาเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลชาติใดกันแน่?

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    5 พฤศจิกายน 2567

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1088203086006724/?
    ทำไมกระทรวงการต่างประเทศ ถึงบังอาจแถลงข่าวตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9?/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ จากเอกสารของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ในประเด็นพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน น่าประหลาดใจตรงที่มีการนำเสนอสไลด์ลำดับที่ 12 ในหัวข้อภาพว่า “พระบรมราชโองการการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516“ โดยทั้งข้อความมีการขีดเส้นว่า “สิทธิอธิปไตย” ในตอนต้นของพระบรมราชโองการ และมีการนำเสนอพระบรมราชโองการย่อหน้าที่ 3 โดยการ “เน้น”เป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงว่า “จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน“ อีกทั้งยังได้มีแถบไฮไลท์สีเหลืองเพื่อเน้นย้ำว่า “เป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน”ด้วย การเขียนข้อความดังกล่าวอาจทำให้สังคมหรือคณะรัฐมนตรี “หลงประเด็น“ไปว่า พระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปอาจเปิดทางให้ตกลงกันอย่างไรก็ได้ อันเป็นการดำเนินการตามในรูปแบบของ MOU 2544 ก็ได้ แต่ความจริงแล้วการนำเสนอของกระทรวงการต่างประเทศในภาพนี้ มีเจตนานำเสนอ ”เน้นไม่ครบคำ“ ตามพระบรมราชโองการที่มีข้อความในฉบับเต็มว่า ”จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ ดังนั้นพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 จึงมีความหมายคือ 1.ราชอาณาจักรไทย “ปฏิเสธ” การประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ไม่ได้ยึดกฎหมายทะเลสากล เพราะรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย รุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และรุกล้ำเส้นมัธยะ (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 2.ราชอาณาจักรไทย ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดกฎหมายทะเลสากลในเวลานั้นคือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งราชอาณาจักรไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 3.หาก “จะ” มีการเจรจาเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีปกับประเทศใกล้เคียงใน “อนาคต” จะต้องยึดมูลฐานจากฎหมายทะเลสากลเท่านั้น คือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และย่อมไม่ใช่การเส้นเขตแดนตามประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2515 และมีความหมายด้วยว่าไม่ได้เปิดโอกาสให้นักการเมืองไปเจรจากับชาติใดตามอำเภอใจ โดยไม่ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 การลงนามใน MOU 2544 จึงแตกต่างจาก 3 หลักการเดิมของพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 ดังนี้ 1.MOU 2544 ได้ทำให้พื้นที่ซึ่งเป็นของราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ปี 2516 ซึ่ง “เคยปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ให้กลายเป็น “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ใน MOU 2544 ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเกินจริงไปอย่างมหาศาล และเท่ากับ 1.1 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย “รับรู้”และ“ไม่ปฏิเสธ”การรุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำเส้นกลาง (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา 1.2 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การขีดเส้นของกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 2. ราชอาณาจักรไทย เปลี่ยนหลักการใหญ่ ให้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เป็นมูลฐานเดียวในการเจรจา ให้กลายเป็น “มูลฐานอื่น” ที่ใช้การเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ตาม MOU 2544 ที่มีการขีดเส้นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเกินจริง จึงไม่เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ต่างชาติพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลไทย-มาเลเซีย ที่ต่างเคารพการอ้างอนุสัญญาด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 จึงเป็นการอ้างสิทธิทับซ้อนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ส่งผลทำให้มีการตกลงกำหนดให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกับไทย-มาเลเซียเป็นผลสำเร็จ ส่งผลทำให้พื้นที่ซึ่งแน่ชัดตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ว่าเป็น ทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย เขตทะเลต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นของราชอาณาจักรไทยหรือกัมพูชา มีจำนวนมากถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงสิทธิการประมง สิทธิการเดินทาง และการสำรวจและการแสวงหาใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่เคยเป็นของไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งของไทยหรือกัมพูชา หรือไม่ก็ให้ถอยออกจากพื้นที่ทั้ง 2 ประเทศ การขีดเส้นแบบนี้ โดยรับรู้และไม่ปฏิเสธ แม้อ้างว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่ต่อไปใครไปนั่งที่ด้านทิศใต้เกาะกูด ใครเอาเท้าจุ่มในทะเล ก็จะเกิดข้อพิพาทว่าที่เท้าจุ่มลงไปนั้น อยู่ในทะเลไทยหรือทะเลกัมพูชา จนเกิดข้อสงสัยว่าภาพแถลงกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ บังอาจแถลงข่าวเน้นตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9 นั้น กำลังทำตัวเป็นกรมสนธิสัญญาเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลชาติใดกันแน่? ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 5 พฤศจิกายน 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1088203086006724/?
    Like
    Love
    12
    0 Comments 1 Shares 780 Views 0 Reviews
  • ณ บ้านพระอาทิตย์
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516



    นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย

    โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้

    1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line)

    อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา

    โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

    “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์”

    พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้

    “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้

    พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย

    มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ”

    ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้

    ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า



    “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“

    อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์

    ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย

    ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน

    ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย

    ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า

    “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511”

    แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน

    ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น

    ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า

    “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“



    หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น

    ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด

    แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516

    ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย

    แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี

    แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล

    ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล

    การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย

    MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“

    เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่?

    ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน

    จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า

    “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ

    จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป”

    โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ

    จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น

    ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่?

    ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย

    สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

    https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530

    #Thaitimes
    ณ บ้านพระอาทิตย์ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย โดยมีรายละเอียด ดังนี้ พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้ 1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line) อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์” พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้ “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ” ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้ ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์ ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511” แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“ เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่? ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป” โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่? ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่ ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530 #Thaitimes
    Like
    Love
    8
    0 Comments 1 Shares 1115 Views 0 Reviews
  • พระบรมราชโองการณ์ทางราชการพระมหากษัตริย์ในหลวงรัชกาลที่9"เป็นที่แน่ชัดเกาะกูดเป็นของไทยโดยสมบูรณ์ล้าน%โดยกฎหมายสากล"..ไม่มีไหล่ทวีปเขตทับซ้อนแต่อย่างใด Mou44"ผ่านความเห็นชอบจากสภาหรือ?แล้วลากเส้นใหม่มีสิ่งก่อสร้างรุกล้ำเข้ามาในเขตอ่าวไทยต้องรื้อออกอย่างเดียวไม่มีความจำเป็นใดๆต้องเจรจา รบ.ไทยเร่งรีบทำทั้งที่กัมพูชาและหนังสือพิมพ์ของจีนก็บอกแล้วว่าทางเขาไม่ได้มีปัญหาอะไร ไทยเองที่เร่งรัด เพื่ออะไรคะ?จุดประสงค์🤔จะชักศึกเขาบ้านหรือๆต้องการให้🦅มาตั้งฐานทัพเผชิญหน้ากับจีนอยากเป็นแบบยูเครนเหรอ🔥!!!!!!🔊คนไทย🇹🇭ยอมงั้นหรือสงครามตัวแทนบ้านเราที่ร่มเย็นจะหมดไปเลยนะ จะเป็นดินแดนกระสุนตก💣💣💣💣💀💀💀💀
    พระบรมราชโองการณ์ทางราชการพระมหากษัตริย์ในหลวงรัชกาลที่9"เป็นที่แน่ชัดเกาะกูดเป็นของไทยโดยสมบูรณ์ล้าน%โดยกฎหมายสากล"..ไม่มีไหล่ทวีปเขตทับซ้อนแต่อย่างใด Mou44"ผ่านความเห็นชอบจากสภาหรือ?แล้วลากเส้นใหม่มีสิ่งก่อสร้างรุกล้ำเข้ามาในเขตอ่าวไทยต้องรื้อออกอย่างเดียวไม่มีความจำเป็นใดๆต้องเจรจา รบ.ไทยเร่งรีบทำทั้งที่กัมพูชาและหนังสือพิมพ์ของจีนก็บอกแล้วว่าทางเขาไม่ได้มีปัญหาอะไร ไทยเองที่เร่งรัด เพื่ออะไรคะ?จุดประสงค์🤔จะชักศึกเขาบ้านหรือๆต้องการให้🦅มาตั้งฐานทัพเผชิญหน้ากับจีนอยากเป็นแบบยูเครนเหรอ🔥!!!!!!🔊คนไทย🇹🇭ยอมงั้นหรือสงครามตัวแทนบ้านเราที่ร่มเย็นจะหมดไปเลยนะ จะเป็นดินแดนกระสุนตก💣💣💣💣💀💀💀💀
    Like
    Angry
    2
    0 Comments 0 Shares 400 Views 52 0 Reviews
  • ตำรวจสอบสวนกลาง ร่วมกับ DSI และชุดปฏิบัติการพิเศษสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) นำกำลังลงพื้นที่ตรวจสอบที่ดินแปลงสวยพื้นที่ 7 ไร่ ท่ามกลางธรรมชาติรายล้อมด้วยภูเขาและลำน้ำในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ของ “บอสกันต์” ผู้ต้องหารายสำคัญในคดีแชร์ลูกโซ่ “ดิไอคอน” หลังโซเชียลแห่ชี้เป้ามีการประกาศขายตั้งราคา 40 ล้านบาท เบื้องต้นพบมีโฉนดถูกต้องและไม่ได้รุกล้ำเขตป่า โดย “บอสกันต์” ซื้อไว้เมื่อปี 2561 ปรากฏราคาตามสัญญาซื้อขายฉบับสำนักงานที่ดินอยู่ที่ 2.5 ล้านบาท

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000101538

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ตำรวจสอบสวนกลาง ร่วมกับ DSI และชุดปฏิบัติการพิเศษสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) นำกำลังลงพื้นที่ตรวจสอบที่ดินแปลงสวยพื้นที่ 7 ไร่ ท่ามกลางธรรมชาติรายล้อมด้วยภูเขาและลำน้ำในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ของ “บอสกันต์” ผู้ต้องหารายสำคัญในคดีแชร์ลูกโซ่ “ดิไอคอน” หลังโซเชียลแห่ชี้เป้ามีการประกาศขายตั้งราคา 40 ล้านบาท เบื้องต้นพบมีโฉนดถูกต้องและไม่ได้รุกล้ำเขตป่า โดย “บอสกันต์” ซื้อไว้เมื่อปี 2561 ปรากฏราคาตามสัญญาซื้อขายฉบับสำนักงานที่ดินอยู่ที่ 2.5 ล้านบาท อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000101538 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    Haha
    14
    0 Comments 0 Shares 1769 Views 0 Reviews
  • เปียงยางระเบิดถนนและทางรถไฟเชื่อมต่อสองเกาหลีในฝั่งของตน ขณะที่คิม โยจอง น้องสาวผู้ทรงอิทธิพลของผู้นำคิม ยันมีหลักฐานชัดเจนว่า กองทัพเกาหลีใต้อยู่เบื้องหลังการส่งโดรนรุกล้ำไปถึงเมืองหลวงเกาหลีเหนือเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พร้อมประกาศว่าผู้ยั่วยุจะต้องจ่ายราคาแพงมาก ด้านจีนเรียกร้องทุกฝ่ายหลีกเลี่ยงการทำให้ความขัดแย้งลุกลาม
    .
    คณะเสนาธิการทหารร่วมของเกาหลีใต้ (เจซีเอส) แถลงในวันอังคาร (15 ต.ค.) ว่า เกาหลีเหนือระเบิดทำลายถนนและทางรถไฟบางส่วนที่เชื่อมต่อกับเกาหลีใต้เมื่อราวเที่ยงวันเดียวกัน และกองทัพเกาหลีใต้ได้ยิงเตือนจากบริเวณเส้นแบ่งเขตแดนทางทหารในฝั่งของตนเพื่อเป็นการตอบโต้ แม้การระเบิดดังกล่าวไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายในฝั่งโสมขาวก็ตาม
    .
    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากสัปดาห์ที่แล้วเปียงยางประกาศจะตัดขาดถนนและทางรถไฟทุกสายที่เชื่อมต่อระหว่างสองเกาหลี และสร้างกำแพงตลอดแนวพรมแดน จากนั้นเกาหลีใต้เตือนเมื่อวันจันทร์ (14) ว่า เกาหลีเหนือพร้อมระเบิดถนนและทางรถไฟแล้ว
    .
    เจซีเอสเสริมว่า เกาหลีเหนือยังฝังทุ่นระเบิดและสร้างแนวเครื่องกีดขวางรถถังตลอดชายแดน และจากการสังเกตการณ์เมื่อวันจันทร์พบว่า เปียงยางติดตั้งอุปกรณ์หนักเพิ่มเติมที่แนวป้องกันดังกล่าว ขณะที่เกาหลีใต้ก็ได้ยกระดับการเฝ้าระวังและการเตรียมพร้อมสำหรับรับมือกับความเคลื่อนไหวล่าสุดของเปียงยางแล้ว
    .
    เวลาเดียวกัน กระทรวงรวมชาติของเกาหลีใต้ได้แถลงประณามการกระทำล่าสุดของเปียงยางว่า เป็นการยั่วยุที่ผิดปกติมาก และสำทับว่า เกาหลีใต้หมดเงินหลายล้านดอลลาร์กับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ และทางเกาหลีเหนือยังคงต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนี้ในส่วนของพวกเขาเอง
    .
    ปัจจุบันทั้งเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ในทางเทคนิคแล้วยังคงถือว่าอยู่ในภาวะทำสงครามกัน เนื่องจากสงครามเกาหลีในช่วงระหว่างปี 1950-1953 สิ้นสุดลงด้วยการทำข้อตกลงหยุดยิง แต่ยังไม่มีการทำสนธิสัญญาสันติภาพ
    .
    เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเปียงยางกล่าวหาโซลส่งโดรนไปปล่อยใบปลิวโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านตนถึงในกรุงเปียงยางมาแล้วหลายครั้ง และผู้นำคิม จองอึน เรียกประชุมฝ่ายความมั่นคงเพื่อบัญชาการแผนการทางทหารเพื่อตอบโต้
    .
    ทางด้านกองทัพเกาหลีใต้นั้นแรกเริ่มได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว แต่ต่อมาก็งดแสดงความคิดเห็น แม้กระทั่งเมื่อเปียงยางเตือนสำทับว่า หากยังพบโดรนรุกล้ำเข้าไปอีก จะถือเป็นการประกาศสงคราม
    .
    ในวันอังคาร (15) คิม โยจอง น้องสาวผู้ทรงอิทธิพลของผู้นำคิม ยังได้ออกคำแถลงระบุว่า มีหลักฐานชัดเจนว่ากองทัพเกาหลีใต้คืออยู่เบื้องหลังการส่งโดรนรุกล้ำไปถึงเปียงยาง พร้อมกับบอกว่าผู้ยั่วยุจะต้องจ่ายราคาแพงมาก
    .
    ที่ผ่านมา กลุ่มนักเคลื่อนไหวในเกาหลีใต้มักส่งบอลลูนไปปล่อยใบปลิวโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านผู้นำเกาหลีเหนือและเนื้อหาอื่นๆ รวมถึงอุปกรณ์ยูเอสบีที่บรรจุเพลงเค-ป็อป และซีรีส์เกาหลีเข้าไปในแดนโสมแดง อย่างไรก็ดี เป็นที่รับรู้ว่า มีนักเคลื่อนไหวหัวรุนแรงบางคนเคยส่งโดรนขนาดเล็กที่ทำจากเอ็กซ์แพนด์โพลีโพรพีลีน ซึ่งทำให้ตรวจจับได้ยาก เข้าไปในเกาหลีเหนือเช่นกัน
    .
    สำนักข่าวเคซีเอ็นเอของทางการเปียงยางรายงานว่า ในการประชุมฝ่ายความมั่นคงเมื่อวันจันทร์ มีการรายงานเกี่ยวกับการยั่วยุอันตรายของศัตรู และผู้นำคิมแสดงจุดยืนทางการเมืองและการทหารอย่างแข็งกร้าว
    .
    เกาหลีเหนือยังระบุว่า อเมริกาที่เป็นพันธมิตรทางการทหารกับเกาหลีใต้ ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย
    .
    เปียงยางเองเคยส่งโดรน 5 ลำเข้าไปในเกาหลีใต้ในปี 2022 ทำให้กองทัพเกาหลีใต้ยิงเตือนและส่งเครื่องบินขับไล่ขึ้นไปสกัด แต่ไม่สามารถยิงโดรนเหล่านั้นได้
    .
    กระทั่งในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โซลประกาศว่า ภายในปีนี้จะใช้ระบบเลเซอร์ทำลายโดรน ซึ่งมีชื่อว่า “โครงการสตาร์วอร์” ยิงลำแสงที่มองไม่เห็นและไม่มีเสียง โจมตีโดรนให้ระเบิด โดยใช้ต้นทุนต่ำมากเพียง 1.45 ดอลลาร์ต่อการใช้งานหนึ่งครั้ง และสำทับว่า ด้วยระบบเช่นนี้ ศักยภาพของโซลในการตอบโต้การยั่วยุจะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
    .
    ทางด้าน ชอง ซองชาง จากสถาบันเซจอง ในเกาหลีใต้ ชี้ว่า ภายหลังการประชุมของผู้นำคิม ความสนใจได้โฟกัสไปยังเรื่องที่ว่า เกาหลีเหนือจะตอบโต้ด้วยการส่งโดรนเข้าไปในเกาหลีใต้ หรือใช้มาตรการแข็งกร้าวหากโดรนจากเกาหลีใต้ยังรุกล้ำเข้าไปอีก
    .
    ส่วนที่ปักกิ่ง เหมา หนิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวระหว่างแถลงข่าวประจำวันตามปกติในวันอังคารว่า ความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีไม่ได้เป็นประโยชน์กับฝ่ายใด สิ่งสำคัญที่สุดคือหลีกเลี่ยงการทำให้ความขัดแย้งลุกลาม และย้ำว่า จุดยืนของจีนคือการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคดังกล่าว รวมทั้งส่งเสริมการแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางการเมือง และหวังว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้เช่นเดียวกัน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000099598
    ..............
    Sondhi X
    เปียงยางระเบิดถนนและทางรถไฟเชื่อมต่อสองเกาหลีในฝั่งของตน ขณะที่คิม โยจอง น้องสาวผู้ทรงอิทธิพลของผู้นำคิม ยันมีหลักฐานชัดเจนว่า กองทัพเกาหลีใต้อยู่เบื้องหลังการส่งโดรนรุกล้ำไปถึงเมืองหลวงเกาหลีเหนือเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พร้อมประกาศว่าผู้ยั่วยุจะต้องจ่ายราคาแพงมาก ด้านจีนเรียกร้องทุกฝ่ายหลีกเลี่ยงการทำให้ความขัดแย้งลุกลาม . คณะเสนาธิการทหารร่วมของเกาหลีใต้ (เจซีเอส) แถลงในวันอังคาร (15 ต.ค.) ว่า เกาหลีเหนือระเบิดทำลายถนนและทางรถไฟบางส่วนที่เชื่อมต่อกับเกาหลีใต้เมื่อราวเที่ยงวันเดียวกัน และกองทัพเกาหลีใต้ได้ยิงเตือนจากบริเวณเส้นแบ่งเขตแดนทางทหารในฝั่งของตนเพื่อเป็นการตอบโต้ แม้การระเบิดดังกล่าวไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายในฝั่งโสมขาวก็ตาม . เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากสัปดาห์ที่แล้วเปียงยางประกาศจะตัดขาดถนนและทางรถไฟทุกสายที่เชื่อมต่อระหว่างสองเกาหลี และสร้างกำแพงตลอดแนวพรมแดน จากนั้นเกาหลีใต้เตือนเมื่อวันจันทร์ (14) ว่า เกาหลีเหนือพร้อมระเบิดถนนและทางรถไฟแล้ว . เจซีเอสเสริมว่า เกาหลีเหนือยังฝังทุ่นระเบิดและสร้างแนวเครื่องกีดขวางรถถังตลอดชายแดน และจากการสังเกตการณ์เมื่อวันจันทร์พบว่า เปียงยางติดตั้งอุปกรณ์หนักเพิ่มเติมที่แนวป้องกันดังกล่าว ขณะที่เกาหลีใต้ก็ได้ยกระดับการเฝ้าระวังและการเตรียมพร้อมสำหรับรับมือกับความเคลื่อนไหวล่าสุดของเปียงยางแล้ว . เวลาเดียวกัน กระทรวงรวมชาติของเกาหลีใต้ได้แถลงประณามการกระทำล่าสุดของเปียงยางว่า เป็นการยั่วยุที่ผิดปกติมาก และสำทับว่า เกาหลีใต้หมดเงินหลายล้านดอลลาร์กับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ และทางเกาหลีเหนือยังคงต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนี้ในส่วนของพวกเขาเอง . ปัจจุบันทั้งเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ในทางเทคนิคแล้วยังคงถือว่าอยู่ในภาวะทำสงครามกัน เนื่องจากสงครามเกาหลีในช่วงระหว่างปี 1950-1953 สิ้นสุดลงด้วยการทำข้อตกลงหยุดยิง แต่ยังไม่มีการทำสนธิสัญญาสันติภาพ . เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเปียงยางกล่าวหาโซลส่งโดรนไปปล่อยใบปลิวโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านตนถึงในกรุงเปียงยางมาแล้วหลายครั้ง และผู้นำคิม จองอึน เรียกประชุมฝ่ายความมั่นคงเพื่อบัญชาการแผนการทางทหารเพื่อตอบโต้ . ทางด้านกองทัพเกาหลีใต้นั้นแรกเริ่มได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว แต่ต่อมาก็งดแสดงความคิดเห็น แม้กระทั่งเมื่อเปียงยางเตือนสำทับว่า หากยังพบโดรนรุกล้ำเข้าไปอีก จะถือเป็นการประกาศสงคราม . ในวันอังคาร (15) คิม โยจอง น้องสาวผู้ทรงอิทธิพลของผู้นำคิม ยังได้ออกคำแถลงระบุว่า มีหลักฐานชัดเจนว่ากองทัพเกาหลีใต้คืออยู่เบื้องหลังการส่งโดรนรุกล้ำไปถึงเปียงยาง พร้อมกับบอกว่าผู้ยั่วยุจะต้องจ่ายราคาแพงมาก . ที่ผ่านมา กลุ่มนักเคลื่อนไหวในเกาหลีใต้มักส่งบอลลูนไปปล่อยใบปลิวโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านผู้นำเกาหลีเหนือและเนื้อหาอื่นๆ รวมถึงอุปกรณ์ยูเอสบีที่บรรจุเพลงเค-ป็อป และซีรีส์เกาหลีเข้าไปในแดนโสมแดง อย่างไรก็ดี เป็นที่รับรู้ว่า มีนักเคลื่อนไหวหัวรุนแรงบางคนเคยส่งโดรนขนาดเล็กที่ทำจากเอ็กซ์แพนด์โพลีโพรพีลีน ซึ่งทำให้ตรวจจับได้ยาก เข้าไปในเกาหลีเหนือเช่นกัน . สำนักข่าวเคซีเอ็นเอของทางการเปียงยางรายงานว่า ในการประชุมฝ่ายความมั่นคงเมื่อวันจันทร์ มีการรายงานเกี่ยวกับการยั่วยุอันตรายของศัตรู และผู้นำคิมแสดงจุดยืนทางการเมืองและการทหารอย่างแข็งกร้าว . เกาหลีเหนือยังระบุว่า อเมริกาที่เป็นพันธมิตรทางการทหารกับเกาหลีใต้ ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย . เปียงยางเองเคยส่งโดรน 5 ลำเข้าไปในเกาหลีใต้ในปี 2022 ทำให้กองทัพเกาหลีใต้ยิงเตือนและส่งเครื่องบินขับไล่ขึ้นไปสกัด แต่ไม่สามารถยิงโดรนเหล่านั้นได้ . กระทั่งในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โซลประกาศว่า ภายในปีนี้จะใช้ระบบเลเซอร์ทำลายโดรน ซึ่งมีชื่อว่า “โครงการสตาร์วอร์” ยิงลำแสงที่มองไม่เห็นและไม่มีเสียง โจมตีโดรนให้ระเบิด โดยใช้ต้นทุนต่ำมากเพียง 1.45 ดอลลาร์ต่อการใช้งานหนึ่งครั้ง และสำทับว่า ด้วยระบบเช่นนี้ ศักยภาพของโซลในการตอบโต้การยั่วยุจะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน . ทางด้าน ชอง ซองชาง จากสถาบันเซจอง ในเกาหลีใต้ ชี้ว่า ภายหลังการประชุมของผู้นำคิม ความสนใจได้โฟกัสไปยังเรื่องที่ว่า เกาหลีเหนือจะตอบโต้ด้วยการส่งโดรนเข้าไปในเกาหลีใต้ หรือใช้มาตรการแข็งกร้าวหากโดรนจากเกาหลีใต้ยังรุกล้ำเข้าไปอีก . ส่วนที่ปักกิ่ง เหมา หนิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวระหว่างแถลงข่าวประจำวันตามปกติในวันอังคารว่า ความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีไม่ได้เป็นประโยชน์กับฝ่ายใด สิ่งสำคัญที่สุดคือหลีกเลี่ยงการทำให้ความขัดแย้งลุกลาม และย้ำว่า จุดยืนของจีนคือการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคดังกล่าว รวมทั้งส่งเสริมการแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางการเมือง และหวังว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้เช่นเดียวกัน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000099598 .............. Sondhi X
    Like
    Wow
    4
    0 Comments 0 Shares 1143 Views 0 Reviews
  • รีโพสต์จากเฟซบุ๊ก Nat MJ
    “ น้ำท่วมเชียงใหม่ปีนี้ หนักกว่า 54 คิดเป็นระดับน้ำท่วมที่รอบ 200 ปี เลยทีเดียว แต่ทำไมคลื่นน้ำท่วม 54 มากกว่า ปี 67 นี้ ??

    จากฝนที่ตกหนักในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเกิดคลื่นน้ำท่วมลงมาที่เชียงใหม่ติดๆ กัน 2 ครั้ง และในครั้งหลังซึ่งกำลังไหลเข้าท่วมเมืองเชียงใหม่ เหมือนอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อนนั้น หลายคนบอกว่าหนักกว่าปี 54 อีก ซึ่งมาจากปริมาณฝนที่มากรวมกับสภาพพื้นที่ที่มีความชื้นในดินสูงและอิ่มตัวด้วยน้ำ ทำให้ฝนที่ตกลงมาเกิดเป็นน้ำท่าจำนวนมาก

    ซึ่งตรงนี้เป็นที่น่าสนใจคือ จากรูปที่ 1 (ล่าง) ถ้าเทียบอัตราการไหลของปี 2567 กับ ปี 2554 พบกว่า ปีนี้ 2567 อัตราการไหลสูงสุด คือ 656 ลบ.ม./วิ. ซึ่ง "น้อยกว่า" ปี 2554 ซึ่งมีมากถึง 816.8 ลบ.ม./วิ. แต่เมื่อเทียบระดับน้ำสูงสุด พบกว่า ปี 2567 อยู่ที่ 305.80 ม.รทก. ซึ่ง "มากกว่า" ปี 2554 ที่ 305.44 ม.รทก.

    ตรงนี้เองที่ทำให้หลายคนบอกว่าปีนี้ 2567 ท่วมหนักกว่า 2554 เพราะระดับน้ำนั้นสูงมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแสดงว่า ความสามารถในการไหลของน้ำของแม่น้ำปิงที่ผ่านตัวเมืองเชียงใหม่นั้นลดลงอย่างมาก คือ ที่ระดับน้ำเดียวกันมีความสามารถในการไหลผ่านน้อยกว่ามาก ซึ่งตรงนี้เป็นไปได้ทั้งในแง่ของทางน้ำที่ถูกบีบแคบลงเนื่องจากการรุกล้ำทางน้ำ หรือการตกทับถมของตะกอนตามท้องลำน้ำ หรือมีสิ่งกีดขวางการไหลของน้ำตามจุดต่างๆ รวมทั้งสิ่งอื่นๆ ที่กระทบต่อการระบายน้ำของแม่น้ำปิง ซึ่งสิ่งต่างๆ นั้นเกิดขึ้นได้ทั้งจากธรรมชาติและมนุษย์มีส่วนร่วมทำให้เกิดขึ้นด้วย

    ถ้ามาดูรูปที่ 2 (ภาพบน) ระดับน้ำสูงสุดชั่วขณะรายปีนั้นมีค่าแตกต่างเพิ่มขึ้นจากอดีตถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้มความแตกต่างที่มากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ รูปที่ 2 (ภาพล่าง) อัตราการไหลสูงสุดรายปีที่แตกต่างกันจากอดีตเพิ่มขึ้นมา และเริ่มคงที่ในช่วงท้าย ซึ่งนั่นหมายถึง ลักษณะทางกายภาพของลำน้ำปิงที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ส่งผลทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำปิงสูงขึ้นจากเดิมโดยที่ฝนหรือน้ำท่วมที่ไหลลงมาอาจจะไม่ได้เพิ่มขึ้นจากเดิมได้

    และสุดท้าย รูปที่ 3 เมื่อเอาค่าอัตราการไหลสูงสุดและระดับน้ำสูงสุดของปี 2554 และ 2567 ที่กำลังเกิดขึ้นมาคำนวณเป็นรอบปีการเกิดซ้ำ จะได้ว่า

    - ระดับน้ำสูงสุด ปี 2567 = 305.8 ม.รทก. ที่รอบปี 200 ปี !!
    - ระดับน้ำสูงสุด ปี 2554 = 305.44 ม.รทก. ที่รอบปี 46 ปี

    แต่อัตราการไหลจะสลับกัน คือ

    - อัตราการไหลสูงสุด ปี 2567 = 656.0 ลบ.ม./วิ. ที่รอบปี 17 ปี เท่านั้น !!
    - อัตราการไหลสูงสุด ปี 2554 = 816.8 ลบ.ม./วิ. ที่รอบปี 62 ปี เท่านั้น !!

    ซึ่งแสดงให้เห็นถึงธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา และส่งผลกระทบกับคนในพื้นที่โดยตรง”

    ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/Er32UGx7FbUzZGtb/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    รีโพสต์จากเฟซบุ๊ก Nat MJ “ น้ำท่วมเชียงใหม่ปีนี้ หนักกว่า 54 คิดเป็นระดับน้ำท่วมที่รอบ 200 ปี เลยทีเดียว แต่ทำไมคลื่นน้ำท่วม 54 มากกว่า ปี 67 นี้ ?? จากฝนที่ตกหนักในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเกิดคลื่นน้ำท่วมลงมาที่เชียงใหม่ติดๆ กัน 2 ครั้ง และในครั้งหลังซึ่งกำลังไหลเข้าท่วมเมืองเชียงใหม่ เหมือนอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อนนั้น หลายคนบอกว่าหนักกว่าปี 54 อีก ซึ่งมาจากปริมาณฝนที่มากรวมกับสภาพพื้นที่ที่มีความชื้นในดินสูงและอิ่มตัวด้วยน้ำ ทำให้ฝนที่ตกลงมาเกิดเป็นน้ำท่าจำนวนมาก ซึ่งตรงนี้เป็นที่น่าสนใจคือ จากรูปที่ 1 (ล่าง) ถ้าเทียบอัตราการไหลของปี 2567 กับ ปี 2554 พบกว่า ปีนี้ 2567 อัตราการไหลสูงสุด คือ 656 ลบ.ม./วิ. ซึ่ง "น้อยกว่า" ปี 2554 ซึ่งมีมากถึง 816.8 ลบ.ม./วิ. แต่เมื่อเทียบระดับน้ำสูงสุด พบกว่า ปี 2567 อยู่ที่ 305.80 ม.รทก. ซึ่ง "มากกว่า" ปี 2554 ที่ 305.44 ม.รทก. ตรงนี้เองที่ทำให้หลายคนบอกว่าปีนี้ 2567 ท่วมหนักกว่า 2554 เพราะระดับน้ำนั้นสูงมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแสดงว่า ความสามารถในการไหลของน้ำของแม่น้ำปิงที่ผ่านตัวเมืองเชียงใหม่นั้นลดลงอย่างมาก คือ ที่ระดับน้ำเดียวกันมีความสามารถในการไหลผ่านน้อยกว่ามาก ซึ่งตรงนี้เป็นไปได้ทั้งในแง่ของทางน้ำที่ถูกบีบแคบลงเนื่องจากการรุกล้ำทางน้ำ หรือการตกทับถมของตะกอนตามท้องลำน้ำ หรือมีสิ่งกีดขวางการไหลของน้ำตามจุดต่างๆ รวมทั้งสิ่งอื่นๆ ที่กระทบต่อการระบายน้ำของแม่น้ำปิง ซึ่งสิ่งต่างๆ นั้นเกิดขึ้นได้ทั้งจากธรรมชาติและมนุษย์มีส่วนร่วมทำให้เกิดขึ้นด้วย ถ้ามาดูรูปที่ 2 (ภาพบน) ระดับน้ำสูงสุดชั่วขณะรายปีนั้นมีค่าแตกต่างเพิ่มขึ้นจากอดีตถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้มความแตกต่างที่มากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ รูปที่ 2 (ภาพล่าง) อัตราการไหลสูงสุดรายปีที่แตกต่างกันจากอดีตเพิ่มขึ้นมา และเริ่มคงที่ในช่วงท้าย ซึ่งนั่นหมายถึง ลักษณะทางกายภาพของลำน้ำปิงที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ส่งผลทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำปิงสูงขึ้นจากเดิมโดยที่ฝนหรือน้ำท่วมที่ไหลลงมาอาจจะไม่ได้เพิ่มขึ้นจากเดิมได้ และสุดท้าย รูปที่ 3 เมื่อเอาค่าอัตราการไหลสูงสุดและระดับน้ำสูงสุดของปี 2554 และ 2567 ที่กำลังเกิดขึ้นมาคำนวณเป็นรอบปีการเกิดซ้ำ จะได้ว่า - ระดับน้ำสูงสุด ปี 2567 = 305.8 ม.รทก. ที่รอบปี 200 ปี !! - ระดับน้ำสูงสุด ปี 2554 = 305.44 ม.รทก. ที่รอบปี 46 ปี แต่อัตราการไหลจะสลับกัน คือ - อัตราการไหลสูงสุด ปี 2567 = 656.0 ลบ.ม./วิ. ที่รอบปี 17 ปี เท่านั้น !! - อัตราการไหลสูงสุด ปี 2554 = 816.8 ลบ.ม./วิ. ที่รอบปี 62 ปี เท่านั้น !! ซึ่งแสดงให้เห็นถึงธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา และส่งผลกระทบกับคนในพื้นที่โดยตรง” ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/Er32UGx7FbUzZGtb/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 655 Views 0 Reviews
  • 🇰🇵🇰🇷 คิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือกล่าวว่า เกาหลีเหนือจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ หากเกาหลีใต้โจมตี

    “คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือกล่าวว่า ประเทศจะไม่ลังเลที่จะใช้กำลังรุกทุกรูปแบบ รวมทั้งอาวุธนิวเคลียร์ หากศัตรูพยายามใช้กำลังรุกล้ำอธิปไตยของเกาหลีเหนือ”
    .
    JUST IN: 🇰🇵🇰🇷 Kim Jong Un says North Korea will use nuclear weapons if South Korea attacks.

    "North Korean leader Kim Jong Un said the country would not hesitate to use all available offensive forces including nuclear weapons if the enemy attempted to use force to encroach on its sovereignty"
    .
    8:43 PM · Oct 4, 2024 · 29.1K Views
    https://x.com/BRICSinfo/status/1842198947391033799
    🇰🇵🇰🇷 คิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือกล่าวว่า เกาหลีเหนือจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ หากเกาหลีใต้โจมตี “คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือกล่าวว่า ประเทศจะไม่ลังเลที่จะใช้กำลังรุกทุกรูปแบบ รวมทั้งอาวุธนิวเคลียร์ หากศัตรูพยายามใช้กำลังรุกล้ำอธิปไตยของเกาหลีเหนือ” . JUST IN: 🇰🇵🇰🇷 Kim Jong Un says North Korea will use nuclear weapons if South Korea attacks. "North Korean leader Kim Jong Un said the country would not hesitate to use all available offensive forces including nuclear weapons if the enemy attempted to use force to encroach on its sovereignty" . 8:43 PM · Oct 4, 2024 · 29.1K Views https://x.com/BRICSinfo/status/1842198947391033799
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 59 Views 0 Reviews
  • อิหร่านประกาศว่าการโจมตีอิสราเอล ซึ่งถือเป็นการโจมตีทางทหารครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ ได้จบลงแล้ว เว้นแต่จะถูกยั่วยุอีก แต่อิสราเอลและอเมริกาเผยเตรียมล้างแค้นอย่างสาสม โหมกระพือความกังวลว่า ตะวันออกกลางกำลังจะลุกเป็นไฟ ล่าสุดกองทัพยิวยังส่งทหารราบและหน่วยยานเกราะร่วมปฏิบัติการบุกภาคพื้นดินทางใต้ของเลบานอนเพื่อเพิ่มความกดดันต่อฮิซบอลเลาะห์
    .
    การประกาศเมื่อวันพุธ (2 ต.ค.) เกี่ยวกับการเพิ่มทหารราบและหน่วยยานเกราะจากกองพลที่ 36 บ่งชี้ว่า ปฏิบัติการของอิสราเอลไปไกลกว่าการบุกแบบจำกัดของหน่วยคอมมานโด อย่างไรก็ดี กองทัพอิสราเอลระบุว่า ปฏิบัติการภาคพื้นดินมุ่งทำลายอุโมงค์และโครงสร้างพื้นฐานบริเวณชายแดนเป็นหลัก และไม่มีแผนขยายเป้าหมายไปยังกรุงเบรุตหรือเมืองใหญ่อื่นๆ ทางใต้ของเลบานอน
    .
    ท่ามกลางการเรียกร้องหยุดยิงจากสหประชาชาติ (ยูเอ็น) อเมริกา และสหภาพยุโรป (อียู) อิสราเอลยังคงสู้รบกับฮิซบอลเลาะห์ที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน รวมทั้งทิ้งระเบิดถล่มชานเมืองด้านใต้ของเบรุต ซึ่งเป็นที่มั่นของกลุ่มติดอาวุธกลุ่มนี้ และออกคำสั่งอพยพใหม่ในบริเณดังกล่าว
    .
    จากข้อมูลของรัฐบาลเลบานอนเมื่อวันอังคาร (1 ต.ค.) มีผู้เสียชีวิตเกือบ 1,900 คน และบาดเจ็บกว่า 9,000 คนจากการสู้รบข้ามพรมแดนที่ดำเนินมาเกือบปี โดยการสูญเสียส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
    .
    ทางด้านฮิซบอลเลาะห์เผยว่า ได้เผชิญหน้าและผลักดันกองกำลังอิสราเอลที่พยายามรุกล้ำออกจากเมืองอะเดสเซห์เมื่อเช้าวันพุธ
    .
    เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นหลังจากเมื่อวันอังคารเตหะรานยิงขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกฟัตตาห์ระลอกใหญ่โจมตีอิสราเอล ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งโจมตีที่ตั้งทางทหารเพื่อตอบโต้ที่อิสราเอลสังหารผู้นำกลุ่มติดอาวุธหลายคน ซึ่งรวมถึงฮัสซัน นาสรัลเลาะห์ ผู้นำกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ อีกทั้งยังรุกรานเลบานอนและกาซา โดยสำนักข่าวของทางการอิหร่านรายงานว่า เตหะรานล็อกเป้าโจมตีฐานทัพ 3 แห่งของอิสราเอล ทั้งนี้ กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติของอิหร่านอวดอ้างว่า ขีปนาวุธ 90 โจมตีเป้าหมายสำเร็จ
    .
    อับบาส อารากชี รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์เมื่อเช้าวันพุธว่า การดำเนินการของเตหะรานสิ้นสุดลงแล้ว เว้นแต่อิสราเอลตัดสินใจยั่วยุอีก ซึ่งอิหร่านจะตอบโต้รุนแรงขึ้นกว่าเดิม
    .
    นอกจากนั้นเสนาธิการกองทัพบกอิหร่านยังออกแถลงการณ์เตือนว่า หากถูกตอบโต้ เตหะรานจะทำลายโครงสร้างพื้นฐานของอิสราเอล รวมถึงผลประโยชน์ของพันธมิตรของอิสราเอลที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่อยู่ในตะวันออกกลาง
    .
    ด้านนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ประกาศว่า อิสราเอลจะเอาคืนและเตือนว่า อิหร่านจะต้องจ่ายราคาแพง ขณะที่วอชิงตันขานรับว่า จะร่วมกับอิสราเอลที่เป็นพันธมิตรเก่าแก่เพื่อให้แน่ใจว่า อิหร่านจะเผชิญผลลัพธ์รุนแรงจากการโจมตีเมื่อวันอังคาร ซึ่งอิสราเอลระบุว่า มีการใช้ขีปนาวุธทิ้งตัวมากกว่า 180 ลูก
    .
    ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ หารือกับโยอาฟ กัลแลนต์ รัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอล เมื่อคืนวันอังคาร และเผยว่า วอชิงตันพร้อมปกป้องผลประโยชน์ของอเมริกาในตะวันออกกลาง ขณะที่เพนตากอนระบุว่า การโจมตีเมื่อวันอังคารมีขนาดใหญ่กว่าเมื่อครั้งที่อิหร่านโจมตีอิสราเอลในเดือนเมษายน
    .
    พลเรือตรีแดเนียล ฮาการีของอิสราเอล โพสต์บนเอ็กซ์ว่า อิสราเอลเปิดใช้งานระบบต่อต้านการโจมตีทางอากาศต่อการระดมโจมตีของอิหร่านเมื่อวันอังคาร และแนวร่วมป้องกันระหว่างอิสราเอลกับอเมริกาสามารถสกัดขีปนาวุธส่วนใหญ่ได้ ก่อนสำทับว่า การโจมตีของอิสราเอลทำให้สถานการณ์ลุกลามอันตรายอย่างยิ่ง
    .
    แอกซิออส เว็บไซต์ข่าวออนไลน์ของอเมริกา รายงานเมื่อวันพุธโดยอ้างอิงการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่อิสราเอลว่า อิสราเอลจะตอบโต้อย่างรุนแรงภายในไม่กี่วันโดยพุ่งเป้าที่สถานที่ผลิตน้ำมันภายในอิหร่าน รวมถึงที่ตั้งทางยุทธศาสตร์อื่นๆ
    .
    ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประกาศสนับสนุนอิสราเอลเต็มที่ และวิจารณ์ว่า การโจมตีของอิหร่าน “ไร้น้ำยา” ขณะที่รองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส ตัวแทนพรรคเดโมแครตในการเลือกตั้งประธานาธิบดี สนับสนุนจุดยืนของไบเดน และเสริมว่า อเมริกาจะไม่ลังเลเลยในการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศจากการโจมตีของอิหร่าน
    .
    ทั้งนี้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งยูเอ็นกำหนดประชุมเกี่ยวกับความขัดแย้งในตะวันออกกลางในวันพุธ และอียูเรียกร้องให้หยุดยิงทันที
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000093355
    ..................
    Sondhi X
    อิหร่านประกาศว่าการโจมตีอิสราเอล ซึ่งถือเป็นการโจมตีทางทหารครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ ได้จบลงแล้ว เว้นแต่จะถูกยั่วยุอีก แต่อิสราเอลและอเมริกาเผยเตรียมล้างแค้นอย่างสาสม โหมกระพือความกังวลว่า ตะวันออกกลางกำลังจะลุกเป็นไฟ ล่าสุดกองทัพยิวยังส่งทหารราบและหน่วยยานเกราะร่วมปฏิบัติการบุกภาคพื้นดินทางใต้ของเลบานอนเพื่อเพิ่มความกดดันต่อฮิซบอลเลาะห์ . การประกาศเมื่อวันพุธ (2 ต.ค.) เกี่ยวกับการเพิ่มทหารราบและหน่วยยานเกราะจากกองพลที่ 36 บ่งชี้ว่า ปฏิบัติการของอิสราเอลไปไกลกว่าการบุกแบบจำกัดของหน่วยคอมมานโด อย่างไรก็ดี กองทัพอิสราเอลระบุว่า ปฏิบัติการภาคพื้นดินมุ่งทำลายอุโมงค์และโครงสร้างพื้นฐานบริเวณชายแดนเป็นหลัก และไม่มีแผนขยายเป้าหมายไปยังกรุงเบรุตหรือเมืองใหญ่อื่นๆ ทางใต้ของเลบานอน . ท่ามกลางการเรียกร้องหยุดยิงจากสหประชาชาติ (ยูเอ็น) อเมริกา และสหภาพยุโรป (อียู) อิสราเอลยังคงสู้รบกับฮิซบอลเลาะห์ที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน รวมทั้งทิ้งระเบิดถล่มชานเมืองด้านใต้ของเบรุต ซึ่งเป็นที่มั่นของกลุ่มติดอาวุธกลุ่มนี้ และออกคำสั่งอพยพใหม่ในบริเณดังกล่าว . จากข้อมูลของรัฐบาลเลบานอนเมื่อวันอังคาร (1 ต.ค.) มีผู้เสียชีวิตเกือบ 1,900 คน และบาดเจ็บกว่า 9,000 คนจากการสู้รบข้ามพรมแดนที่ดำเนินมาเกือบปี โดยการสูญเสียส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา . ทางด้านฮิซบอลเลาะห์เผยว่า ได้เผชิญหน้าและผลักดันกองกำลังอิสราเอลที่พยายามรุกล้ำออกจากเมืองอะเดสเซห์เมื่อเช้าวันพุธ . เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นหลังจากเมื่อวันอังคารเตหะรานยิงขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกฟัตตาห์ระลอกใหญ่โจมตีอิสราเอล ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งโจมตีที่ตั้งทางทหารเพื่อตอบโต้ที่อิสราเอลสังหารผู้นำกลุ่มติดอาวุธหลายคน ซึ่งรวมถึงฮัสซัน นาสรัลเลาะห์ ผู้นำกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ อีกทั้งยังรุกรานเลบานอนและกาซา โดยสำนักข่าวของทางการอิหร่านรายงานว่า เตหะรานล็อกเป้าโจมตีฐานทัพ 3 แห่งของอิสราเอล ทั้งนี้ กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติของอิหร่านอวดอ้างว่า ขีปนาวุธ 90 โจมตีเป้าหมายสำเร็จ . อับบาส อารากชี รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์เมื่อเช้าวันพุธว่า การดำเนินการของเตหะรานสิ้นสุดลงแล้ว เว้นแต่อิสราเอลตัดสินใจยั่วยุอีก ซึ่งอิหร่านจะตอบโต้รุนแรงขึ้นกว่าเดิม . นอกจากนั้นเสนาธิการกองทัพบกอิหร่านยังออกแถลงการณ์เตือนว่า หากถูกตอบโต้ เตหะรานจะทำลายโครงสร้างพื้นฐานของอิสราเอล รวมถึงผลประโยชน์ของพันธมิตรของอิสราเอลที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่อยู่ในตะวันออกกลาง . ด้านนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ประกาศว่า อิสราเอลจะเอาคืนและเตือนว่า อิหร่านจะต้องจ่ายราคาแพง ขณะที่วอชิงตันขานรับว่า จะร่วมกับอิสราเอลที่เป็นพันธมิตรเก่าแก่เพื่อให้แน่ใจว่า อิหร่านจะเผชิญผลลัพธ์รุนแรงจากการโจมตีเมื่อวันอังคาร ซึ่งอิสราเอลระบุว่า มีการใช้ขีปนาวุธทิ้งตัวมากกว่า 180 ลูก . ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ หารือกับโยอาฟ กัลแลนต์ รัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอล เมื่อคืนวันอังคาร และเผยว่า วอชิงตันพร้อมปกป้องผลประโยชน์ของอเมริกาในตะวันออกกลาง ขณะที่เพนตากอนระบุว่า การโจมตีเมื่อวันอังคารมีขนาดใหญ่กว่าเมื่อครั้งที่อิหร่านโจมตีอิสราเอลในเดือนเมษายน . พลเรือตรีแดเนียล ฮาการีของอิสราเอล โพสต์บนเอ็กซ์ว่า อิสราเอลเปิดใช้งานระบบต่อต้านการโจมตีทางอากาศต่อการระดมโจมตีของอิหร่านเมื่อวันอังคาร และแนวร่วมป้องกันระหว่างอิสราเอลกับอเมริกาสามารถสกัดขีปนาวุธส่วนใหญ่ได้ ก่อนสำทับว่า การโจมตีของอิสราเอลทำให้สถานการณ์ลุกลามอันตรายอย่างยิ่ง . แอกซิออส เว็บไซต์ข่าวออนไลน์ของอเมริกา รายงานเมื่อวันพุธโดยอ้างอิงการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่อิสราเอลว่า อิสราเอลจะตอบโต้อย่างรุนแรงภายในไม่กี่วันโดยพุ่งเป้าที่สถานที่ผลิตน้ำมันภายในอิหร่าน รวมถึงที่ตั้งทางยุทธศาสตร์อื่นๆ . ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประกาศสนับสนุนอิสราเอลเต็มที่ และวิจารณ์ว่า การโจมตีของอิหร่าน “ไร้น้ำยา” ขณะที่รองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส ตัวแทนพรรคเดโมแครตในการเลือกตั้งประธานาธิบดี สนับสนุนจุดยืนของไบเดน และเสริมว่า อเมริกาจะไม่ลังเลเลยในการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศจากการโจมตีของอิหร่าน . ทั้งนี้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งยูเอ็นกำหนดประชุมเกี่ยวกับความขัดแย้งในตะวันออกกลางในวันพุธ และอียูเรียกร้องให้หยุดยิงทันที . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000093355 .................. Sondhi X
    Like
    Sad
    Haha
    7
    0 Comments 0 Shares 1370 Views 0 Reviews
  • 🤠#เบื้องหลังทำไมชววอินเดียมีหลากสีผิว ตอน 02.🤠

    🤯3. ภายใต้การปกครองอาณานิคมของอังกฤษ🤯

    ในศตวรรษที่ 17 อินเดียได้รับการสนับสนุนจากชาวอังกฤษผิวขาว

    บริเตนเคยเป็นที่รู้จักในนามจักรวรรดิที่ดวงอาทิตย์ไม่เคยตกดิน เพราะกษัตริย์พระองค์หนึ่งของเขาตรัสว่า ที่ใดดวงอาทิตย์ส่องแสงไปถึง ที่นั่นก็มีที่ดินอยู่ภายใต้เขตอำนาจของอังกฤษ

    โดยผ่านการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกและการปฏิรูปสังคม สหราชอาณาจักรเติบโตอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นประเทศที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก และเริ่มขยายอาณานิคมไปทั่วโลก

    การขับเคลื่อนเป็นพลังช่วยด้วยสถานะระหว่างประเทศที่เข้มแข็งและการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก อังกฤษเปิดฉากสงครามกับอินเดียครั้งแรกในปี ค.ศ. 1757 ด้วยการใช้ยุทโธปกรณ์ทางทหารขั้นสูงและติดสินบนเจ้าหน้าที่อินเดียด้วยเงินจำนวนมาก อังกฤษจึงเข้ายึดครองแคว้นเบงกอลของอินเดียโดยใช้กองกำลังจำนวนน้อยมาก

    แม้ว่าอินเดียจะเป็นประเทศอารยธรรมโบราณ แต่อยู่ในภาวะแบ่งแยกมาเป็นเวลาช้านานแล้ว โดยมีประเทศเล็กๆ จำนวนมากอยู่ภายในขอบเขตของตน ประเทศเล็กๆ เหล่านี้ยังคงดำเนินกิจการปกครองอย่างเป็นอิสระ และสงครามก็ปะทุขึ้นเป็นครั้งคราว ดังนั้น พวกเขาจึงไม่สามารถรวมพลังเป็นเอกภาพได้เลย

    หลังจากที่เจ้าอาณานิคมอังกฤษเข้าสู่อินเดีย ต่างจากชาวอารยันผู้โหดร้ายรุนแรง ไม่มีการเร่งรีบที่จะรวมชาวอินเดียเข้าด้วยกัน พวกเขากลับไปเยือนประเทศต่างๆ ด้วยทัศนคติที่เป็นมิตร และใช้เส้นทางวิธีแห่งการติดสินบน การแบ่งแยก และการโจมตี

    ในตอนแรกพวกเขาสร้างพันธมิตรกับกองกำลังอินเดียที่ทรงอำนาจมากกว่า จากนั้นเอาชนะกองกำลังอินเดียที่อ่อนแอกว่า และยังคงสร้างความขัดแย้งเพื่อให้กองกำลังอินเดียในท้องถิ่นโจมตีกันเอง ในขณะเดียวกันก็เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ตามไปด้วยไปด้วย

    ภายใต้ระบบวรรณะดั้งเดิมของอินเดีย ผู้คนในวรรณะ ศูทร จะไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นทหาร ส่งผลให้อินเดียมีกำลังทหารที่อ่อนแอ

    เพื่อเสริมสร้างการปกครองทางทหารในอินเดีย อังกฤษได้ยกเว้นและรวมคนวรรณะ ศูทร เหล่านี้เข้าในกองทัพ เพื่อเพิ่มขนาดของกองทัพ ด้วยความแข็งแกร่งทางศักยภาพการทหารที่เข้มแข็งและวิถีทางทางการเมืองที่ยืดหยุ่น โดยมีบริษัทอินเดียตะวันออกเป็นกำลังหลัก จึงค่อย ๆ รุกล้ำเข้าไปในหลายภูมิภาคในอินเดีย

    จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1858 สหราชอาณาจักรได้จำแนกอินเดียเป็นอาณานิคมของอังกฤษโดยสมบูรณ์ ซึ่งใช้เวลาเกือบร้อยปี

    การปกครองอาณานิคมของอังกฤษในอินเดียมีไว้เพื่อพัฒนาทรัพยากรในท้องถิ่นและอำนวยความสะดวกทางการค้าเท่านั้น พวกเขาไม่ต้องการให้ความรู้แก่ประชาชน และไม่ต้องการครอบครองพื้นที่ขนาดใหญ่ พวกเขาเพียงแค่สร้างระบบบางอย่างและสร้างสภาพแวดล้อมการค้าขายที่มีคุณภาพสูง

    เนื่องจากอินเดียถูกปกครองโดยชาวอารยัน และจากนั้นก็ถูกพิชิตและปกครองโดยชาวกรีกและมองโกลที่มีอำนาจอย่างต่อเนื่อง กระดูกสันหลังรากเหง้าของชาติเผ่าพันธุ์ถูกทำลายไปนานแล้ว โดยได้ปรับตัวให้เข้ากับการปกครองของอังกฤษอย่างรวดเร็วและไม่มีความรู้สึกต่อต้านเลย

    รวมทั้งเมื่อประกอบกับศาสนาที่หลากหลาย พวกเขาเผยแพร่ลัทธิเวรกรรมของการกลับชาติมาเกิด ทำให้ผู้คนสามารถอดทนต่อความทุกข์ทรมานของชีวิตนี้ได้อย่างมีสติ และตั้งตารอชีวิตที่ไร้สาระและมีความสุขในชีวิตหน้า ผู้คนถูกผูกมัดความคิดที่ต่อต้านจากภายนอกด้วยศาสนาเอาไว้ และไม่สนใจการเมืองที่เป็นอยู่ในมือ ซึ่งก็ไม่ต้องพูดถึงการพัฒนาเศรษฐกิจเลย

    คนผิวขาวส่วนใหญ่ในอินเดียมาจากวรรณะบน และพวกเขามีความเคารพอย่างลึกซึ้งและการเชื่อฟังต่อชาวอังกฤษซึ่งเป็นคนผิวขาวเช่นกัน

    อังกฤษปกครองอินเดียโดยได้รับเครื่องเทศ ยางไม้ น้ำตาล และทรัพยากรอื่นๆ จากอินเดียอย่างง่ายดายและต่อเนื่อง ต่อมาพวกเขาได้พัฒนาอินเดียให้เป็นอุตสาหกรรมและได้รับทรัพยากรทางอุตสาหกรรมจำนวนมาก

    🤯4. จำนวนคนผิวขาวยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง🤯

    ด้วยการปกครองของอังกฤษในอินเดียคนผิวขาวเข้ามาในประเทศอินเดียมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดคลื่นลูกใหม่ของคนผิวขาวและเพิ่มการบูรณาการทางเชื้อชาติ

    อาณานิคมของอังกฤษตระหนักดีถึงระบบเชื้อชาติของอินเดีย ซึ่งเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ละเลยซึ่งกันและกัน และความมั่งคั่งและเสียงส่วนใหญ่อยู่ในมือของคนที่มีวรรณะสูง ตราบใดที่วรรณะบนสนับสนุนการปกครองของตน วรรณะอื่นๆ ก็จะปฏิบัติตาม

    ดังนั้น ในระหว่างการปกครองในอินเดีย ชาวอังกฤษจึงให้การปฏิบัติอันเป็นที่ชื่นชอบแก่คนวรรณะสูงมากมาย และสร้างพันธมิตรที่เป็นมิตรกับพวกเขา

    เพื่อแสดงความเคารพต่อคนวรรณะสูงของอังกฤษ เจ้าหน้าที่อาวุโสของอังกฤษบางคนจะแต่งงานกับผู้หญิงอินเดียวรรณะสูงเป็นภรรยา ด้วยเหตุนี้จึงบรรลุความร่วมมือกับวรรณะบนและบรรลุผลประโยชน์ที่มากขึ้น

    คนอังกฤษซึ่งฐานะเป็นผู้ปกครองหลังจากเข้าสู่อินเดียจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มวรรณะสูงโดยอัตโนมัติ ผู้สูงศักดิ์อินเดียก็มีความยินดีที่ได้แต่งงานกับพวกเขาเช่นกัน การแต่งงานระหว่างเจ้าหน้าที่อังกฤษและผู้สูงศักดิ์อินเดียในลักษณะนี้ ส่วนผสมของเลือดของชาวอินเดียมีเพิ่มมากขึ้น ช่วยเพิ่มการผสมผสานระหว่างสายเลือดของชาวอินเดียอย่างมาก และยังช่วยยกสถานะของอินเดียนผิวขาวด้วย

    นักธุรกิจชาวอังกฤษผู้มีอิทธิพลบางคนเห็นเจ้าหน้าที่ข้าราชการแต่งงานกับผู้หญิงอินเดียเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและชีวิตความเป็นอยู่ พวกเขาจึงปฏิบัติทำตามและแต่งงานกับผู้หญิงอินเดียในท้องถิ่นและมีลูกหลาน

    นอกจากนี้ยังมีชาวอังกฤษบางคนที่อาศัยสถานะของตนในฐานะชาวอาณานิคมมีชีวิตในอินเดียแย่มาก จะเลี้ยงดูผู้หญิงอินเดียที่สวยงามไว้บางคน

    แม้ว่าชาวอังกฤษจะเป็นคนผิวขาวเช่นกัน แต่ไม่เหมือนชาวอารยันซึ่งมีความรู้สึกที่แข็งแกร่งเข้มงวดในเรื่องของสายเลือด มองการแต่งงานกับคนอินเดียเป็นการทรยศชั่วร้าย ในทางตรงกันข้าม รู้สึกว่าการแต่งงานกับคนอินเดียเป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรมแบบหนึ่ง

    ในช่วง 200 ปีแห่งการปกครองอาณานิคมของอังกฤษ ชาวอินเดียยังคงผสมกันในสายเลือดกับชาวอังกฤษผิวขาวอยู่ไม่ขาด และเด็กผสมเชื้อชาติผิวขาวจำนวนมากก็ปรากฏตัวขึ้น

    อินเดียได้รับความนิยมมากกว่าในประเทศตะวันตก สาเหตุส่วนใหญ่เป็นเพราะว่าพวกเขาเชื่อว่าชาวอินเดียมีสายเลือดคนผิวขาวอยู่ในร่างกาย จึงมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับพวกเขา

    เนื่องจากมีเชื้อสายยุโรปจึงมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างชาวอินเดียกับผู้คนจากประเทศในเอเชียตะวันออก แม้ว่าผมของพวกเขาจะเป็นสีดำ แต่ใบหน้าของพวกเขามีมิติมากกว่า โดยส่วนใหญ่เป็นสันจมูกตรงและตาโต

    บางครั้งเมื่อคุณเห็นคนผิวขาวในอินเดีย คุณอาจคิดว่าพวกเขาเป็นคนยุโรป แต่จริงๆ แล้วพวกเขาเป็นเพียงอินเดียวรรณะพราหมณ์และกษัตริย์ที่มีผิวขาวเท่านั้น

    แต่ไม่ใช่ว่าคนผิวขาวทุกคนจะมีวรรณะสูง เด็กลูกผสมบางคนเกิดจากคู่รักชาวอังกฤษและอินเดีย แม้ว่าเด็กเหล่านี้จะเป็นคนผิวขาว แต่ก็เป็นเพียงลูกนอกสมรสชนชั้นต่ำเท่านั้น

    เด็กเชื้อชาติผสมผิวขาววรรณะต่ำเหล่านี้ไม่เพียงแต่ไม่มีสิทธิในการรับมรดกตามกฎหมาย แต่ยังถูกเลือกปฏิบัติในสังคมด้วย เนื่องจากการศึกษาที่พวกเขาได้รับแตกต่างจากการศึกษาในท้องถิ่น

    เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง อินเดียประกาศอิสรภาพ และอังกฤษก็ถอนตัวออกจากอินเดีย เด็กอินเดียผิวขาวที่เหลือไม่สามารถกลับไปอังกฤษเพื่อมีอัตลักษณ์ของอังกฤษได้ และไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมอินเดียซึ่งมีวัฒนธรรมดั้งเดิมที่เข้มแข็ง มาเป็นแพะรับบาปให้กับอินเดียเพื่อระบายความอัปยศอดสูและความสิ้นหวังในประวัติศาสตร์ของตัวเอง

    โลกอันกว้างใหญ่ไพศาลมีชีวิตอกำเนิดขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แม่น้ำแห่งประวัติศาสตร์ที่ทอดยาวไหลไปข้างหน้า การแลกเปลี่ยนและการบูรณาการระหว่างเชื้อชาติไม่เพียงแต่มีด้านที่โหดร้ายเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมความมั่งคั่งร่ำรวยและความหลากหลายของอารยธรรมอีกด้วย

    ปัจจุบันอินเดียเป็นประเทศที่มีหลายเชื้อชาติรวมเป็นเอกภาพซึ่งคนผิวเหลือง คนผิวดำ และคนผิวขาวจำนวนมากจากทั่วทุกมุมโลกจะไปที่นั่นเพื่อพัฒนา

    เมื่อเดินไปตามถนนหนทางจะไม่มีใครรู้สึกแปลกใจเมื่อเห็นคนผิวสีต่างๆอีกต่อไป

    แม้ว่าด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ คนผิวขาวส่วนใหญ่ในอินเดียยังคงมีสภาพเศรษฐกิจที่ค่อนข้างดีแต่ผู้คนกลับไม่มองว่าสีผิวเป็นสิ่งซึ่งใช้ในการโอ่อวดอีกต่อไป

    ด้วยความก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องของอารยธรรม ประเพณีพื้นบ้านมีความเป็นอารยะมากขึ้น และทุกคนก็มีสติสัมปชัญญะสำนึกในเหตุผลมากขึ้นพวกเขาไม่ตัดสินคนจากสีผิวอีกต่อไป ผู้คนทุกสีผิวจะต้องทำงานหนักเพื่อที่จะกลายเป็นชนชั้นสูงของสังคม

    ต้องรู้ว่าทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันและไม่สามารถแยกแยะตามสีผิว ชาติพันธุ์ เพศ หรือความเชื่อได้ ควรปฏิบัติต่อทุกสิ่งด้วยทัศนคติที่ไม่แบ่งแยก

    🥳โปรดติดตามบทความที่น่าสนใจต่อไป.ในโอกาสหน้า🥳

    🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    🤠#เบื้องหลังทำไมชววอินเดียมีหลากสีผิว ตอน 02.🤠 🤯3. ภายใต้การปกครองอาณานิคมของอังกฤษ🤯 ในศตวรรษที่ 17 อินเดียได้รับการสนับสนุนจากชาวอังกฤษผิวขาว บริเตนเคยเป็นที่รู้จักในนามจักรวรรดิที่ดวงอาทิตย์ไม่เคยตกดิน เพราะกษัตริย์พระองค์หนึ่งของเขาตรัสว่า ที่ใดดวงอาทิตย์ส่องแสงไปถึง ที่นั่นก็มีที่ดินอยู่ภายใต้เขตอำนาจของอังกฤษ โดยผ่านการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกและการปฏิรูปสังคม สหราชอาณาจักรเติบโตอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นประเทศที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก และเริ่มขยายอาณานิคมไปทั่วโลก การขับเคลื่อนเป็นพลังช่วยด้วยสถานะระหว่างประเทศที่เข้มแข็งและการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก อังกฤษเปิดฉากสงครามกับอินเดียครั้งแรกในปี ค.ศ. 1757 ด้วยการใช้ยุทโธปกรณ์ทางทหารขั้นสูงและติดสินบนเจ้าหน้าที่อินเดียด้วยเงินจำนวนมาก อังกฤษจึงเข้ายึดครองแคว้นเบงกอลของอินเดียโดยใช้กองกำลังจำนวนน้อยมาก แม้ว่าอินเดียจะเป็นประเทศอารยธรรมโบราณ แต่อยู่ในภาวะแบ่งแยกมาเป็นเวลาช้านานแล้ว โดยมีประเทศเล็กๆ จำนวนมากอยู่ภายในขอบเขตของตน ประเทศเล็กๆ เหล่านี้ยังคงดำเนินกิจการปกครองอย่างเป็นอิสระ และสงครามก็ปะทุขึ้นเป็นครั้งคราว ดังนั้น พวกเขาจึงไม่สามารถรวมพลังเป็นเอกภาพได้เลย หลังจากที่เจ้าอาณานิคมอังกฤษเข้าสู่อินเดีย ต่างจากชาวอารยันผู้โหดร้ายรุนแรง ไม่มีการเร่งรีบที่จะรวมชาวอินเดียเข้าด้วยกัน พวกเขากลับไปเยือนประเทศต่างๆ ด้วยทัศนคติที่เป็นมิตร และใช้เส้นทางวิธีแห่งการติดสินบน การแบ่งแยก และการโจมตี ในตอนแรกพวกเขาสร้างพันธมิตรกับกองกำลังอินเดียที่ทรงอำนาจมากกว่า จากนั้นเอาชนะกองกำลังอินเดียที่อ่อนแอกว่า และยังคงสร้างความขัดแย้งเพื่อให้กองกำลังอินเดียในท้องถิ่นโจมตีกันเอง ในขณะเดียวกันก็เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ตามไปด้วยไปด้วย ภายใต้ระบบวรรณะดั้งเดิมของอินเดีย ผู้คนในวรรณะ ศูทร จะไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นทหาร ส่งผลให้อินเดียมีกำลังทหารที่อ่อนแอ เพื่อเสริมสร้างการปกครองทางทหารในอินเดีย อังกฤษได้ยกเว้นและรวมคนวรรณะ ศูทร เหล่านี้เข้าในกองทัพ เพื่อเพิ่มขนาดของกองทัพ ด้วยความแข็งแกร่งทางศักยภาพการทหารที่เข้มแข็งและวิถีทางทางการเมืองที่ยืดหยุ่น โดยมีบริษัทอินเดียตะวันออกเป็นกำลังหลัก จึงค่อย ๆ รุกล้ำเข้าไปในหลายภูมิภาคในอินเดีย จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1858 สหราชอาณาจักรได้จำแนกอินเดียเป็นอาณานิคมของอังกฤษโดยสมบูรณ์ ซึ่งใช้เวลาเกือบร้อยปี การปกครองอาณานิคมของอังกฤษในอินเดียมีไว้เพื่อพัฒนาทรัพยากรในท้องถิ่นและอำนวยความสะดวกทางการค้าเท่านั้น พวกเขาไม่ต้องการให้ความรู้แก่ประชาชน และไม่ต้องการครอบครองพื้นที่ขนาดใหญ่ พวกเขาเพียงแค่สร้างระบบบางอย่างและสร้างสภาพแวดล้อมการค้าขายที่มีคุณภาพสูง เนื่องจากอินเดียถูกปกครองโดยชาวอารยัน และจากนั้นก็ถูกพิชิตและปกครองโดยชาวกรีกและมองโกลที่มีอำนาจอย่างต่อเนื่อง กระดูกสันหลังรากเหง้าของชาติเผ่าพันธุ์ถูกทำลายไปนานแล้ว โดยได้ปรับตัวให้เข้ากับการปกครองของอังกฤษอย่างรวดเร็วและไม่มีความรู้สึกต่อต้านเลย รวมทั้งเมื่อประกอบกับศาสนาที่หลากหลาย พวกเขาเผยแพร่ลัทธิเวรกรรมของการกลับชาติมาเกิด ทำให้ผู้คนสามารถอดทนต่อความทุกข์ทรมานของชีวิตนี้ได้อย่างมีสติ และตั้งตารอชีวิตที่ไร้สาระและมีความสุขในชีวิตหน้า ผู้คนถูกผูกมัดความคิดที่ต่อต้านจากภายนอกด้วยศาสนาเอาไว้ และไม่สนใจการเมืองที่เป็นอยู่ในมือ ซึ่งก็ไม่ต้องพูดถึงการพัฒนาเศรษฐกิจเลย คนผิวขาวส่วนใหญ่ในอินเดียมาจากวรรณะบน และพวกเขามีความเคารพอย่างลึกซึ้งและการเชื่อฟังต่อชาวอังกฤษซึ่งเป็นคนผิวขาวเช่นกัน อังกฤษปกครองอินเดียโดยได้รับเครื่องเทศ ยางไม้ น้ำตาล และทรัพยากรอื่นๆ จากอินเดียอย่างง่ายดายและต่อเนื่อง ต่อมาพวกเขาได้พัฒนาอินเดียให้เป็นอุตสาหกรรมและได้รับทรัพยากรทางอุตสาหกรรมจำนวนมาก 🤯4. จำนวนคนผิวขาวยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง🤯 ด้วยการปกครองของอังกฤษในอินเดียคนผิวขาวเข้ามาในประเทศอินเดียมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดคลื่นลูกใหม่ของคนผิวขาวและเพิ่มการบูรณาการทางเชื้อชาติ อาณานิคมของอังกฤษตระหนักดีถึงระบบเชื้อชาติของอินเดีย ซึ่งเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ละเลยซึ่งกันและกัน และความมั่งคั่งและเสียงส่วนใหญ่อยู่ในมือของคนที่มีวรรณะสูง ตราบใดที่วรรณะบนสนับสนุนการปกครองของตน วรรณะอื่นๆ ก็จะปฏิบัติตาม ดังนั้น ในระหว่างการปกครองในอินเดีย ชาวอังกฤษจึงให้การปฏิบัติอันเป็นที่ชื่นชอบแก่คนวรรณะสูงมากมาย และสร้างพันธมิตรที่เป็นมิตรกับพวกเขา เพื่อแสดงความเคารพต่อคนวรรณะสูงของอังกฤษ เจ้าหน้าที่อาวุโสของอังกฤษบางคนจะแต่งงานกับผู้หญิงอินเดียวรรณะสูงเป็นภรรยา ด้วยเหตุนี้จึงบรรลุความร่วมมือกับวรรณะบนและบรรลุผลประโยชน์ที่มากขึ้น คนอังกฤษซึ่งฐานะเป็นผู้ปกครองหลังจากเข้าสู่อินเดียจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มวรรณะสูงโดยอัตโนมัติ ผู้สูงศักดิ์อินเดียก็มีความยินดีที่ได้แต่งงานกับพวกเขาเช่นกัน การแต่งงานระหว่างเจ้าหน้าที่อังกฤษและผู้สูงศักดิ์อินเดียในลักษณะนี้ ส่วนผสมของเลือดของชาวอินเดียมีเพิ่มมากขึ้น ช่วยเพิ่มการผสมผสานระหว่างสายเลือดของชาวอินเดียอย่างมาก และยังช่วยยกสถานะของอินเดียนผิวขาวด้วย นักธุรกิจชาวอังกฤษผู้มีอิทธิพลบางคนเห็นเจ้าหน้าที่ข้าราชการแต่งงานกับผู้หญิงอินเดียเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและชีวิตความเป็นอยู่ พวกเขาจึงปฏิบัติทำตามและแต่งงานกับผู้หญิงอินเดียในท้องถิ่นและมีลูกหลาน นอกจากนี้ยังมีชาวอังกฤษบางคนที่อาศัยสถานะของตนในฐานะชาวอาณานิคมมีชีวิตในอินเดียแย่มาก จะเลี้ยงดูผู้หญิงอินเดียที่สวยงามไว้บางคน แม้ว่าชาวอังกฤษจะเป็นคนผิวขาวเช่นกัน แต่ไม่เหมือนชาวอารยันซึ่งมีความรู้สึกที่แข็งแกร่งเข้มงวดในเรื่องของสายเลือด มองการแต่งงานกับคนอินเดียเป็นการทรยศชั่วร้าย ในทางตรงกันข้าม รู้สึกว่าการแต่งงานกับคนอินเดียเป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรมแบบหนึ่ง ในช่วง 200 ปีแห่งการปกครองอาณานิคมของอังกฤษ ชาวอินเดียยังคงผสมกันในสายเลือดกับชาวอังกฤษผิวขาวอยู่ไม่ขาด และเด็กผสมเชื้อชาติผิวขาวจำนวนมากก็ปรากฏตัวขึ้น อินเดียได้รับความนิยมมากกว่าในประเทศตะวันตก สาเหตุส่วนใหญ่เป็นเพราะว่าพวกเขาเชื่อว่าชาวอินเดียมีสายเลือดคนผิวขาวอยู่ในร่างกาย จึงมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับพวกเขา เนื่องจากมีเชื้อสายยุโรปจึงมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างชาวอินเดียกับผู้คนจากประเทศในเอเชียตะวันออก แม้ว่าผมของพวกเขาจะเป็นสีดำ แต่ใบหน้าของพวกเขามีมิติมากกว่า โดยส่วนใหญ่เป็นสันจมูกตรงและตาโต บางครั้งเมื่อคุณเห็นคนผิวขาวในอินเดีย คุณอาจคิดว่าพวกเขาเป็นคนยุโรป แต่จริงๆ แล้วพวกเขาเป็นเพียงอินเดียวรรณะพราหมณ์และกษัตริย์ที่มีผิวขาวเท่านั้น แต่ไม่ใช่ว่าคนผิวขาวทุกคนจะมีวรรณะสูง เด็กลูกผสมบางคนเกิดจากคู่รักชาวอังกฤษและอินเดีย แม้ว่าเด็กเหล่านี้จะเป็นคนผิวขาว แต่ก็เป็นเพียงลูกนอกสมรสชนชั้นต่ำเท่านั้น เด็กเชื้อชาติผสมผิวขาววรรณะต่ำเหล่านี้ไม่เพียงแต่ไม่มีสิทธิในการรับมรดกตามกฎหมาย แต่ยังถูกเลือกปฏิบัติในสังคมด้วย เนื่องจากการศึกษาที่พวกเขาได้รับแตกต่างจากการศึกษาในท้องถิ่น เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง อินเดียประกาศอิสรภาพ และอังกฤษก็ถอนตัวออกจากอินเดีย เด็กอินเดียผิวขาวที่เหลือไม่สามารถกลับไปอังกฤษเพื่อมีอัตลักษณ์ของอังกฤษได้ และไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมอินเดียซึ่งมีวัฒนธรรมดั้งเดิมที่เข้มแข็ง มาเป็นแพะรับบาปให้กับอินเดียเพื่อระบายความอัปยศอดสูและความสิ้นหวังในประวัติศาสตร์ของตัวเอง โลกอันกว้างใหญ่ไพศาลมีชีวิตอกำเนิดขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แม่น้ำแห่งประวัติศาสตร์ที่ทอดยาวไหลไปข้างหน้า การแลกเปลี่ยนและการบูรณาการระหว่างเชื้อชาติไม่เพียงแต่มีด้านที่โหดร้ายเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมความมั่งคั่งร่ำรวยและความหลากหลายของอารยธรรมอีกด้วย ปัจจุบันอินเดียเป็นประเทศที่มีหลายเชื้อชาติรวมเป็นเอกภาพซึ่งคนผิวเหลือง คนผิวดำ และคนผิวขาวจำนวนมากจากทั่วทุกมุมโลกจะไปที่นั่นเพื่อพัฒนา เมื่อเดินไปตามถนนหนทางจะไม่มีใครรู้สึกแปลกใจเมื่อเห็นคนผิวสีต่างๆอีกต่อไป แม้ว่าด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ คนผิวขาวส่วนใหญ่ในอินเดียยังคงมีสภาพเศรษฐกิจที่ค่อนข้างดีแต่ผู้คนกลับไม่มองว่าสีผิวเป็นสิ่งซึ่งใช้ในการโอ่อวดอีกต่อไป ด้วยความก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องของอารยธรรม ประเพณีพื้นบ้านมีความเป็นอารยะมากขึ้น และทุกคนก็มีสติสัมปชัญญะสำนึกในเหตุผลมากขึ้นพวกเขาไม่ตัดสินคนจากสีผิวอีกต่อไป ผู้คนทุกสีผิวจะต้องทำงานหนักเพื่อที่จะกลายเป็นชนชั้นสูงของสังคม ต้องรู้ว่าทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันและไม่สามารถแยกแยะตามสีผิว ชาติพันธุ์ เพศ หรือความเชื่อได้ ควรปฏิบัติต่อทุกสิ่งด้วยทัศนคติที่ไม่แบ่งแยก 🥳โปรดติดตามบทความที่น่าสนใจต่อไป.ในโอกาสหน้า🥳 🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    0 Comments 0 Shares 356 Views 0 Reviews
  • ภาพมุมสูงทับลาน
    ชาวบ้านดั้งเดิม 5 หมื่นไร่
    ชาวบ้านรุกล้ำใหม่ 4 หมื่นไร่
    กรมอุทยานและสปก.ดำเนินการแก้ปัญหาให้
    แต่รีสอร์ท นายทุนรุกล้ำ แสนหกหมื่นไร่ สอดไส้ในกฎหมายที่กำลังจะถอนทับลานอย่างหน้าด้ า นๆ
    ถ้ามติครมผ่าน ออกกฏหมายถอนทับลานสำเร็จ
    แสนหกหมื่นไร่ผืนป่า จะเป็นของนายทุนอย่างถูกต้องตามกฏหมายทันที
    ภาพชัดพอมั๊ย อย่าเจาะภาพหมู่บ้านชาวบ้าน
    กล้าๆเอาภาพแสนหกหมื่นไร่ที่นายทุนบุกรุกมาออกบ้าง
    อายเค้า
    หาว่าคนนอกพื้นที่ไม่รู้จริงบ้างแหละ
    แหม่ ด้อมก็เชียร์อวยไส้ปลิ้นไม่ลืมหูลืมตา
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #saveทับลาน
    ภาพมุมสูงทับลาน ชาวบ้านดั้งเดิม 5 หมื่นไร่ ชาวบ้านรุกล้ำใหม่ 4 หมื่นไร่ กรมอุทยานและสปก.ดำเนินการแก้ปัญหาให้ แต่รีสอร์ท นายทุนรุกล้ำ แสนหกหมื่นไร่ สอดไส้ในกฎหมายที่กำลังจะถอนทับลานอย่างหน้าด้ า นๆ ถ้ามติครมผ่าน ออกกฏหมายถอนทับลานสำเร็จ แสนหกหมื่นไร่ผืนป่า จะเป็นของนายทุนอย่างถูกต้องตามกฏหมายทันที ภาพชัดพอมั๊ย อย่าเจาะภาพหมู่บ้านชาวบ้าน กล้าๆเอาภาพแสนหกหมื่นไร่ที่นายทุนบุกรุกมาออกบ้าง อายเค้า หาว่าคนนอกพื้นที่ไม่รู้จริงบ้างแหละ แหม่ ด้อมก็เชียร์อวยไส้ปลิ้นไม่ลืมหูลืมตา #คิงส์โพธิ์แดง #saveทับลาน
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 549 Views 0 Reviews