• 34 ปี ตรวจสอบทรัพย์สิน "10 รัฐมนตรี" จากยึดทรัพย์สู่พฤษภาทมิฬ! ศาลฎีกาสั่งเพิกถอน... คำสั่งยึดทรัพย์

    📌 ย้อนรอยประวัติศาสตร์การเมืองไทยเมื่อ 34 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้ออกคำสั่งจัดตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) ภายใต้การนำของ พลเอกสิทธิ จิรโรจน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมีเป้าหมาย เพื่อตรวจสอบทรัพย์สินของนักการเมือง ในรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ว่ามีการร่ำรวยผิดปกติหรือไม่

    🚨 ผลจากการตรวจสอบ รสช. ได้มีคำสั่ง ยึดทรัพย์รัฐมนตรี 10 ราย ซึ่งกลายเป็นเหตุการณ์สำคัญ ที่เชื่อมโยงไปสู่ความไม่พอใจ ของประชาชน จนกระทั่งนำไปสู่ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และการฟ้องร้องในศาลฎีกา ในเวลาต่อมา

    🔍 การตรวจสอบทรัพย์สินนักการเมือง ในปี 2534
    📅 เหตุการณ์สำคัญ
    วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 รสช. ก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
    วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2534 รสช. แต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) โดย คตส. ตรวจสอบนักการเมือง 25 ราย และมีคำสั่ง ยึดทรัพย์ 10 ราย

    🏛️ รายชื่อรัฐมนตรีที่ถูกยึดทรัพย์
    1️⃣ นายเสนาะ เทียนทอง 62.7 ล้านบาท
    2️⃣ นายมนตรี พงษ์พานิช
    3️⃣ นายบรรหาร ศิลปอาชา
    4️⃣ นายณรงค์ วงศ์วรรณ
    5️⃣ พล.ต.ท. วิโรจน์ เปาอินทร์
    6️⃣ นายสุธี อากาศฤกษ์
    7️⃣ พล.อ. เหรียญ ดิษฐบรรจง
    8️⃣ นายชัยเชต สุนทรพิพิธ
    9️⃣ นายอำนวย วงศ์วิเชียร
    🔟 นายไพศาล กุมาลย์วิสัย

    💬 แม้ว่านักการเมืองบางราย จะพยายามต่อสู้เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ แต่กระบวนการยึดทรัพย์ ก็สร้าง ผลกระทบต่อชื่อเสียง และภาพลักษณ์เป็นอย่างมาก

    🏛️ คำให้การจากป๋าเหนาะ "เสนาะ เทียนทอง" หนึ่งในผู้ถูกยึดทรัพย์
    📌 ป๋าเหนาะเป็นหนึ่งในนักการเมือง ที่ถูกยึดทรัพย์ 62.7 ล้านบาท เจ้าตัวเล่าว่าไม่ได้พยายาม "วิ่งเต้น" เพื่อให้พ้นข้อกล่าวหา และเลือกที่จะต่อสู้ตามกระบวนการ

    🗣️ “ตอนนั้นผมมีเงินแค่ 30 ล้าน และเป็นเงินเก่าของผมเอง ไม่ได้ร่ำรวยผิดปกติ”

    🗣️ “แม้จะถูกแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี แต่ผมไม่ได้เซ็นหนังสืออะไรเลย เพราะผมมองว่ารัฐบาลนี้ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง”

    ⚖️ จากการยึดทรัพย์ สู่ พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535
    🔥 เหตุการณ์บานปลาย จากความไม่พอใจของประชาชน ต่อรัฐบาล พลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำ รสช.

    📌 เหตุการณ์สำคัญ:
    เมษายน 2535 รัฐบาลประกาศให้ พลเอกสุจินดา เป็นนายกรัฐมนตรี
    17 พฤษภาคม 2535 ประชาชนเดินขบวนต่อต้าน เกิดการสลายการชุมนุมรุนแรง
    พฤษภาทมิฬ 2535 มีผู้เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก

    🎤 พลเอก สุจินดา ออกมาประกาศ "ยอมเสียสัตย์เพื่อชาติ" และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

    ⚖️ ศาลฎีกาสั่งเพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์ พ.ศ. 2536
    📌 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ นักการเมืองที่ถูกยึดทรัพย์ ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกา เพื่อให้พิจารณาว่าคำสั่งของ รสช. และ คตส. เป็นไปตามกฎหมายหรือไม่

    ⚖️ วันที่ 26 มีนาคม 2536 ศาลฎีกาตัดสินว่า
    ✅ คำสั่งยึดทรัพย์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
    ✅ ให้ เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์ และคืนทรัพย์สินทั้งหมด ให้กับผู้ถูกกล่าวหา

    📌 ผลกระทบของคำตัดสิน สะท้อนให้เห็นถึงการใช้อำนาจของ รสช. ที่อาจเกินขอบเขต ทำให้รัฐประหาร และการใช้อำนาจยึดทรัพย์ กลายเป็นข้อถกเถียงทางกฎหมาย และสิทธิประชาชน

    🔎 บทเรียนจากอดีต สู่อนาคตการเมืองไทย
    📢 3 ประเด็นที่ต้องเรียนรู้จากเหตุการณ์นี้
    1️⃣ "อำนาจ" ต้องมาพร้อม "ความชอบธรรม" การใช้กฎหมายตรวจสอบนักการเมือง เป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องโปร่งใสและยุติธรรม

    2️⃣ ประชาชนคือพลังขับเคลื่อนประชาธิปไตย การลุกขึ้นต่อต้าน ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ สะท้อนพลังของประชาชน ในการปกป้องสิทธิของตนเอง

    3️⃣ การเมืองไทยต้องก้าวข้ามวังวนอำนาจ หากการเมืองไทยยังคงมีการรัฐประหาร และใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม ก็อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในอนาคตอีกครั้ง

    📌 34 ปี แห่งบทเรียนทางการเมืองไทย
    📍 การตรวจสอบทรัพย์สินในปี 2534 เป็นจุดเริ่มต้นของ "เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ" และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ครั้งสำคัญ
    📍 แม้สุดท้ายศาลฎีกา จะสั่งเพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์ แต่บทเรียนจากอดีต ยังคงส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน
    📍 ประชาชนต้องตื่นตัว และตรวจสอบอำนาจรัฐเสมอ เพื่อป้องกันประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 251309 ก.พ. 2568

    🔗 #ประวัติศาสตร์การเมืองไทย #พฤษภาทมิฬ #รัฐประหาร2534 #ตรวจสอบทรัพย์สิน #เสนาะเทียนทอง #ยึดทรัพย์รัฐมนตรี #ศาลฎีกา #ประชาธิปไตยไทย #รสช #สุจินดาคราประยูร
    34 ปี ตรวจสอบทรัพย์สิน "10 รัฐมนตรี" จากยึดทรัพย์สู่พฤษภาทมิฬ! ศาลฎีกาสั่งเพิกถอน... คำสั่งยึดทรัพย์ 📌 ย้อนรอยประวัติศาสตร์การเมืองไทยเมื่อ 34 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้ออกคำสั่งจัดตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) ภายใต้การนำของ พลเอกสิทธิ จิรโรจน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมีเป้าหมาย เพื่อตรวจสอบทรัพย์สินของนักการเมือง ในรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ว่ามีการร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ 🚨 ผลจากการตรวจสอบ รสช. ได้มีคำสั่ง ยึดทรัพย์รัฐมนตรี 10 ราย ซึ่งกลายเป็นเหตุการณ์สำคัญ ที่เชื่อมโยงไปสู่ความไม่พอใจ ของประชาชน จนกระทั่งนำไปสู่ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และการฟ้องร้องในศาลฎีกา ในเวลาต่อมา 🔍 การตรวจสอบทรัพย์สินนักการเมือง ในปี 2534 📅 เหตุการณ์สำคัญ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 รสช. ก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2534 รสช. แต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) โดย คตส. ตรวจสอบนักการเมือง 25 ราย และมีคำสั่ง ยึดทรัพย์ 10 ราย 🏛️ รายชื่อรัฐมนตรีที่ถูกยึดทรัพย์ 1️⃣ นายเสนาะ เทียนทอง 62.7 ล้านบาท 2️⃣ นายมนตรี พงษ์พานิช 3️⃣ นายบรรหาร ศิลปอาชา 4️⃣ นายณรงค์ วงศ์วรรณ 5️⃣ พล.ต.ท. วิโรจน์ เปาอินทร์ 6️⃣ นายสุธี อากาศฤกษ์ 7️⃣ พล.อ. เหรียญ ดิษฐบรรจง 8️⃣ นายชัยเชต สุนทรพิพิธ 9️⃣ นายอำนวย วงศ์วิเชียร 🔟 นายไพศาล กุมาลย์วิสัย 💬 แม้ว่านักการเมืองบางราย จะพยายามต่อสู้เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ แต่กระบวนการยึดทรัพย์ ก็สร้าง ผลกระทบต่อชื่อเสียง และภาพลักษณ์เป็นอย่างมาก 🏛️ คำให้การจากป๋าเหนาะ "เสนาะ เทียนทอง" หนึ่งในผู้ถูกยึดทรัพย์ 📌 ป๋าเหนาะเป็นหนึ่งในนักการเมือง ที่ถูกยึดทรัพย์ 62.7 ล้านบาท เจ้าตัวเล่าว่าไม่ได้พยายาม "วิ่งเต้น" เพื่อให้พ้นข้อกล่าวหา และเลือกที่จะต่อสู้ตามกระบวนการ 🗣️ “ตอนนั้นผมมีเงินแค่ 30 ล้าน และเป็นเงินเก่าของผมเอง ไม่ได้ร่ำรวยผิดปกติ” 🗣️ “แม้จะถูกแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี แต่ผมไม่ได้เซ็นหนังสืออะไรเลย เพราะผมมองว่ารัฐบาลนี้ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง” ⚖️ จากการยึดทรัพย์ สู่ พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 🔥 เหตุการณ์บานปลาย จากความไม่พอใจของประชาชน ต่อรัฐบาล พลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำ รสช. 📌 เหตุการณ์สำคัญ: เมษายน 2535 รัฐบาลประกาศให้ พลเอกสุจินดา เป็นนายกรัฐมนตรี 17 พฤษภาคม 2535 ประชาชนเดินขบวนต่อต้าน เกิดการสลายการชุมนุมรุนแรง พฤษภาทมิฬ 2535 มีผู้เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก 🎤 พลเอก สุจินดา ออกมาประกาศ "ยอมเสียสัตย์เพื่อชาติ" และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ⚖️ ศาลฎีกาสั่งเพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์ พ.ศ. 2536 📌 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ นักการเมืองที่ถูกยึดทรัพย์ ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกา เพื่อให้พิจารณาว่าคำสั่งของ รสช. และ คตส. เป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ ⚖️ วันที่ 26 มีนาคม 2536 ศาลฎีกาตัดสินว่า ✅ คำสั่งยึดทรัพย์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ✅ ให้ เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์ และคืนทรัพย์สินทั้งหมด ให้กับผู้ถูกกล่าวหา 📌 ผลกระทบของคำตัดสิน สะท้อนให้เห็นถึงการใช้อำนาจของ รสช. ที่อาจเกินขอบเขต ทำให้รัฐประหาร และการใช้อำนาจยึดทรัพย์ กลายเป็นข้อถกเถียงทางกฎหมาย และสิทธิประชาชน 🔎 บทเรียนจากอดีต สู่อนาคตการเมืองไทย 📢 3 ประเด็นที่ต้องเรียนรู้จากเหตุการณ์นี้ 1️⃣ "อำนาจ" ต้องมาพร้อม "ความชอบธรรม" การใช้กฎหมายตรวจสอบนักการเมือง เป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องโปร่งใสและยุติธรรม 2️⃣ ประชาชนคือพลังขับเคลื่อนประชาธิปไตย การลุกขึ้นต่อต้าน ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ สะท้อนพลังของประชาชน ในการปกป้องสิทธิของตนเอง 3️⃣ การเมืองไทยต้องก้าวข้ามวังวนอำนาจ หากการเมืองไทยยังคงมีการรัฐประหาร และใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม ก็อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในอนาคตอีกครั้ง 📌 34 ปี แห่งบทเรียนทางการเมืองไทย 📍 การตรวจสอบทรัพย์สินในปี 2534 เป็นจุดเริ่มต้นของ "เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ" และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ครั้งสำคัญ 📍 แม้สุดท้ายศาลฎีกา จะสั่งเพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์ แต่บทเรียนจากอดีต ยังคงส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน 📍 ประชาชนต้องตื่นตัว และตรวจสอบอำนาจรัฐเสมอ เพื่อป้องกันประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 251309 ก.พ. 2568 🔗 #ประวัติศาสตร์การเมืองไทย #พฤษภาทมิฬ #รัฐประหาร2534 #ตรวจสอบทรัพย์สิน #เสนาะเทียนทอง #ยึดทรัพย์รัฐมนตรี #ศาลฎีกา #ประชาธิปไตยไทย #รสช #สุจินดาคราประยูร
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 222 มุมมอง 0 รีวิว
  • 27 กันยายน 2567 -เปลว สีเงิน ผู้เขียนคอลัมน์”คนปลายซอย“ วิพากษ์วิจารณ์ ”พริษฐ วัชรสินธุ“'สส.พรรคประชาชน ที่เสนอ ๗ แพ็กเกจ" แก้รัฐธรรมนูญ เตือนอย่าบ้า "ประชาธิปไตย-เผด็จการ" โดยไม่รู้จักแยกแยะด้วยเหตุและผลให้มากนัก เนื้อหาในบทความระบุว่า

    "นายพริษฐ์ วัชรสินธุ" ที่แสนจะน่าระอา

    ถ้าเป็นดอกไม้ ก็เป็นดอกไม้พลาสติก มีสี มีฟอร์ม

    แต่...ไม่มีกลิ่น!

    จึงแห้งแล้ง ไม่มีเสน่ห์ ไร้ราคา ค่าแค่มาลัยพลาสติกสวมจอมปลวก ไม่มีวาสนาขึ้นหิ้งบูชาพระ หรืองามสง่าคู่แจกันห้องรับแขก

    หรือถ้าเป็นม้าแข่ง

    ก็เป็น "ม้าพันทาง" วิชาความรู้ปรัชญาการเมืองตามกากตำราฝรั่งเป็น "กะบังตา" สวม

    ก็ไม่เห็นซ้าย-ไม่เห็นขวา เข้าใจว่า โลกนี้ มีแต่ข้างหน้า เป็นทางไปทางเดียวตามตำราบอก ก็วิ่งทื่อตะบึงตรงไป

    หมายถึงว่า อะไรที่ผิดไปจากตำรากูเรียน มันไม่ใช่...มันต้องผิดไปทั้งหมด!

    ดูๆ ไปก็น่าเวทนา...

    ยิ่งเห็นออกมายืนตาแข็งเหมือนตาปลาแช่น้ำยาตามห้องเย็น ท่องตำราประชาธิปไตยว่ากล่าว

    เสนอ "๗ แพ็กเกจ" แก้รัฐธรรมนูญเมื่อวาน (๒๖ ก.ย.๖๗) นี้ด้วยแล้ว

    ต้องร้องว่า...เฮ้อ!

    เป็นอะไรมากมั้ย คุณไอติม ถ้าไม่ไหวกับการแบกตำราละก็ ดื่มนม แล้วกินยานอนพักซะบ้างก็ดีนะ

    คุณตั้งค่ามาตรฐานว่า กฎหมายที่มาจาก สส.-สว. "ระบบรัฐสภา" เท่านั้นที่เป็น "ประชาธิปไตย" ยึดโยงประชาชน

    นอกนั้น ไม่ใช่...ไม่เป็นประชาธิปไตย

    เช่น กฎหมายยุค คสช.หรือยุครัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

    คุณปฏิเสธ "รังเกียจ-ไม่ยอมรับ" ทั้งหมด!

    พร้อม "สวมกะบังตา" ฝรั่ง ชี้เป็นทางที่พรรคส้มจะชักลากไปเมื่อวาน ว่า

    "พรรค ปชน.ยืนยันมาตลอดว่า รัฐธรรมนูญปี ๒๕๖๐ มีปัญหาเรื่องความชอบธรรมทางประชาธิปไตย

    ทั้งที่มา กระบวนการ และเนื้อหา

    ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องเดินหน้า ๒ เส้นทางแบบคู่ขนาน นั่นคือ

    -การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุด โดย ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด กับอีกเส้นทาง คือ

    -การแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราในประเด็นที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วน

    พรรค ปชน.จึงนำเสนอแนวคิด, ประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยแบ่งชุดประเด็นออกเป็น ๗ แพ็กเกจ

    แพ็กเกจที่ ๑ “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร

    แพ็กเกจที่ ๒ “ตีกรอบอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ, องค์กรอิสระ

    แพ็กเกจที่ ๓ “เพิ่มกลไกตรวจสอบการทุจริต”

    แพ็กเกจที่ ๔ “คุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน”

    แพ็กเกจที่ ๕ “ปฏิรูปกองทัพ”

    แพ็กเกจที่ ๖ “ยกระดับประสิทธิภาพรัฐสภา”

    แพ็กเกจที่ ๗ “ปรับเกณฑ์เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ”

    ฮึ่ๆ...

    ฟัง "ประชาธิปไตย" ที่พริษฐ์ยกเทิดทูนเป็นประทีปไร้แสงนำทางมืดบอดแล้ว

    นึกถึง "นิทานธรรม" ของหลวงปู่ชา "พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)" วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี

    ท่านพูดฝรั่งไม่ได้ซักคำ....

    แต่ท่านนำพุทธธรรมไปสอนฝรั่งในยุโรป ในสหรัฐฯ ในเอเชีย จนมีคน "ต่างชาติ-ต่างภาษา" ทั้งฝรั่งและคนเอเชีย ขอบวชเป็นพระ

    มีวัดและสำนักสงฆ์ในสายหลวงปู่ชาเกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ แห่ง

    "หลวงปู่ชา" เป็นพระผู้เผยแผ่คำสอนพระพุทธองค์ไปยังตะวันตกเป็นรูปแรกๆ ก็พูดได้เช่นนั้น

    จนทุกวันนี้ พระพุทธศาสนาไปตั้งมั่นในยุโรปชนิด "เคร่งครัด-มั่นคง" ด้านปฏิบัติมุ่งตรง "แก่นพุทธธรรม" ยิ่งกว่าตามวัดในเมืองไทยหลายๆ แห่งด้วยซ้ำ

    เคยมีคนนำเรื่องการเมืองไปถามและแสดงทัศนะเกี่ยวกับประชาธิปไตยกับ "หลวงปู่ชา"

    พุทธศาสนา เป็นศาสนาของคนมีปัญญา

    ฉะนั้น "หลวงปู่ชา" ท่านจะไม่สอนคนตรงๆ แต่จะสอนผ่านอุปมา-อุปไมยเป็น "อุบายธรรม" ให้คนฟังใช้ปัญญาแทงทะลุเอาเอง

    อย่างกรณีโยมผู้นี้....

    เข้าไปกราบหลวงปู่แล้วพูดว่า

    "หลวงพ่อครับ ผมว่ามีประชาธิปไตยก็ดีนะครับ ผู้คนจะได้เคารพในการตัดสินใจของคนหมู่มากเป็นหลัก"

    "มันก็ไม่ถูกต้องเสมอไปหรอกโยม" หลวงปู่ชาท่านว่า โยมก็ย้อนถามว่า "ไม่ถูกต้องยังไงครับ?"

    หลวงปู่ชา ท่านก็กล่าวเป็นอุบายธรรมว่า....

    "ยกตัวอย่างมีแมลงวัน ๒๐ ตัว มีแมลงผึ้ง ๑๐ ตัว แมลงวัน ๒๐ ตัวบอกว่า "อุจจาระหอมหวาน อร่อยดี"

    แต่แมลงผึ้ง ๑๐ ตัว บอกว่า "น้ำผึ้งหอมหวาน อร่อยดี"

    ถ้าพูดตามหลักประชาธิปไตย "แมลงวันชนะ" แมลงผึ้ง เพราะคะแนนเสียง "มากกว่า"

    แมลงผึ้งแพ้ เพราะคะแนนเสียง "น้อยกว่า"

    เราเป็นมนุษย์ ชื่อว่าเป็น "สัตว์ประเสริฐ" มีปัญญามากกว่าสัตว์เหล่านั้น เราควรจะเชื่อใครดี?"

    "นิทานธรรม" เรื่องนี้ มีเผยแพร่ทั่วไป ผู้มีปัญญาก็จะตีความปริศนาธรรมนั้นเข้าใจ ตามที่หลวงปู่ยกเรื่องแมลงวันกับผึ้งเป็นอุปมา-อุปไมย

    หมายถึง "การตัดสินด้วย "หลักประชาธิปไตย" บางครั้งก็ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป ถ้าไม่เอาหลัก "ธรรมาธิปไตย" เข้าไปตัดสิน"

    แล้วพริษฐ์ ....คุณเป็น "ผึ้ง" หรือ "แมลงวัน" ล่ะ?

    ดีกรี "ปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์" เหรียญทอง ออกซฟอร์ด มีปัญญาแยกแยะได้แน่!

    แต่ในการแยกแยะ ก่อนอื่น ต้องเข้าใจ "สถานะ" ให้ชัด ว่าเราเป็นแมลงวันหรือผึ้ง

    หรือเป็นคนใน "สถานะมนุษย์"?

    เมื่อรู้สถานะ พริษฐ์ ก็คือ "สัตว์ประเสริฐ" ต้องมีปัญญามากกว่าสัตว์แน่นอน

    ฉะนั้น ไหน "ประชาธิปไตย" หรือ "ไม่ประชาธิปไตย" ต้องเข้าใจว่าจะชี้ขาดด้วยมือในระบบรัฐสภา "ประชาธิปไตยเลือกตั้ง" หรือในระบบ "เผด็จการประชาธิปไตย" ตายตัวไม่ได้

    ต้องใช้ "ธรรมาธิปไตย" เป็นเครื่องตัดสินชี้ขาด!

    นี่ไม่ใช่เอะอะ ผมลากเข้าวัดนะ

    ต้องเข้าใจ "ธรรมะ" คือธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ไม่มีอะไร "เป็นอยู่อย่างนั้นนิรันดร์"

    หรือพูดอีกที "ความหมุนเวียน-เปลี่ยนแปลง" นั่นแหละนิรันดร์

    ทุกสิ่ง ประกอบด้วยกาล ด้วยเวลา ด้วยสถานะ เมื่อถึงพร้อมแล้ว มันหมุนเวียน-เปลี่ยนผัน จากรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่ง ตามเหตุ-ปัจจัย ที่มันต้องเป็นด้วยตัวของมันเอง

    พริษฐ์ไม่ต้องเป็น "จอห์น ล็อก" บิดาแห่งประชาธิปไตยในศตวรรษที่ ๒๑ หรอก

    เป็นแฟน "ออนล็อกหยุ่น" ดีกว่า....

    ไปนั่งกิน breakfast ที่นั่นบ่อยๆ จะเป็นหนทางสร้างสมประสบการณ์ประชาธิปไตย จาก "หลายชีวิต-หลากรุ่น"

    บางที การได้สัมผัสวิถีประชาธิปไตยไทยแท้ๆ อาจทำให้ "ดอกไม้พลาสติก" มีกลิ่นหอมขึ้นมาก็ได้

    ทฤษฎี-หลักการตามตำรา นำมาชี้ขาด "ประชาธิปไตย-เผด็จการ" โดดๆ ไม่ได้หรอก

    มันต้องประกอบด้วย "ประสบการณ์" เพราะสังคมหนึ่งๆ มีทั้งประชาชนผึ้ง ทั้งประชาชนแมลงวัน

    ฉะนั้น บางเรื่องจะใช้ "จำนวนมาก" ถือเป็นประชาธิปไตย

    นั่นมันหลักการ "พลเมืองแมลง"

    มันไม่ถูก-ไม่ชอบธรรมตามหลัก "พลเมืองมนุษย์"

    อย่างจะเขียนกฎหมายให้ง่ายต่อการแยก "ราชอาณาจักร" ไปเป็นสาธารณรัฐ

    เขียนกฎหมาย ไม่เน้น "ศีลธรรม-จริยธรรม" ให้เข้าง่าย กินง่าย-โกงง่าย-อยู่ง่าย

    แค่ "มือมาก" ในระบบสภายกให้ ก็หมายความว่า เหล่านั้น เป็นประชาธิปไตยถูกต้องแล้ว

    ถูกตามประชาธิปไตยแมลงวันละก็ใช่

    แต่มัน "ไม่ถูกต้อง-ไม่ชอบธรรม" ตามประชาธิปไตยมนุษย์ ที่ต้องมี "ธรรม" เป็นแกนในกฎ-กติกาสังคม

    พริษฐ์ ว่า "กฎหมายที่มีขณะนี้ "คสช.เขียน" ไม่เป็นประชาธิปไตย ต้องรื้อทิ้งทั้งหมด"

    ถ้าอย่างนั้น.....

    ระบอบประชาธิปไตยที่ "คณะราษฎร" สถาปนาเมื่อ ปี ๒๔๗๕ ก็ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประชาธิปไตย ต้องรื้อทิ้ง เพราะไม่ได้มาตามระบบรัฐสภา

    หากแต่มาจาก "คณะราษฎร" ใช้กำลังไปปล้นพระราชอำนาจจาก "พระมหากษัตริย์" มา

    นั่นเท่ากับคณะราษฎร เป็นเผด็จการ!

    และที่พริษฐ์บอก "รังเกียจ-ปฏิเสธ" ทุกกฎหมาย-ทุกคำสั่งของ คสช.ต้องยกเลิก เพราะไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่ยึดโยงประชาชน

    งั้น พริษฐ์และพรรคส้ม ต้องพ้นสภาพ สส.ไปวันนี้เลย

    เพราะ พวกคุณทุกคน ถือกำเนิดมาจากรัฐธรรมนูญเผด็จการ ที่ให้มีเลือกตั้ง เมื่อรังเกียจ ให้ยกเลิกกฎหมายนั้น

    สส.พวกคุณและพรรคส้ม ก็ไม่มีกฎหมายรองรับ เป็น สส.ไม่ได้แล้ว!

    เห็นมั้ย พริษฐ์..."ความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด" การพูดเอาเท่ ขาดประสบการณ์โลกจริง แยกเหตุ-แยกผล ไม่ได้ ก็ฉิบหายตัวเอง

    อย่าคิดต่ำกว่าหนอนในถังขี้เลย...พริษฐ์

    หนอน กินขี้เลี้ยงชีวิต มันรู้บุญคุณ มันไม่เคยเนรคุณถังขี้

    แต่พริษฐ์ เป็นมนุษย์ มีสมองคิดด้วยจิตสำนึกเหนือหนอน ฉะนั้น อย่าบ้า "ประชาธิปไตย-เผด็จการ" โดยไม่รู้จักแยกแยะด้วยเหตุและผลให้มากนัก

    จะปฏิรูปกองทัพ เลิกเกณฑ์ทหาร มีสงครามค่อยเกณฑ์

    พริษฐ์...หิวข้าวตอนไหน ค่อยไปทำตอนนั้น อย่างนั้นหรือ?

    นี่ถ้าวันนี้ไม่มีทหารละก็นะ

    พริษฐ์และคณะส้มต้องไปโกยเลนให้ชาวบ้านที่แม่สายแทน...เอามั้ย?

    กลับบ้าน อาบน้ำ ประแป้ง แล้วกินนมนอน ซะไป...พริษฐ์?!

    -เปลว สีเงิน

    ๒๗ กันยายน ๒๕๖๗

    คนปลายซอย

    ที่มา : https://www.thaipost.net/columnist-people/663854/?#m1kerm3y94d8my69xxm

    #Thaitimes
    27 กันยายน 2567 -เปลว สีเงิน ผู้เขียนคอลัมน์”คนปลายซอย“ วิพากษ์วิจารณ์ ”พริษฐ วัชรสินธุ“'สส.พรรคประชาชน ที่เสนอ ๗ แพ็กเกจ" แก้รัฐธรรมนูญ เตือนอย่าบ้า "ประชาธิปไตย-เผด็จการ" โดยไม่รู้จักแยกแยะด้วยเหตุและผลให้มากนัก เนื้อหาในบทความระบุว่า "นายพริษฐ์ วัชรสินธุ" ที่แสนจะน่าระอา ถ้าเป็นดอกไม้ ก็เป็นดอกไม้พลาสติก มีสี มีฟอร์ม แต่...ไม่มีกลิ่น! จึงแห้งแล้ง ไม่มีเสน่ห์ ไร้ราคา ค่าแค่มาลัยพลาสติกสวมจอมปลวก ไม่มีวาสนาขึ้นหิ้งบูชาพระ หรืองามสง่าคู่แจกันห้องรับแขก หรือถ้าเป็นม้าแข่ง ก็เป็น "ม้าพันทาง" วิชาความรู้ปรัชญาการเมืองตามกากตำราฝรั่งเป็น "กะบังตา" สวม ก็ไม่เห็นซ้าย-ไม่เห็นขวา เข้าใจว่า โลกนี้ มีแต่ข้างหน้า เป็นทางไปทางเดียวตามตำราบอก ก็วิ่งทื่อตะบึงตรงไป หมายถึงว่า อะไรที่ผิดไปจากตำรากูเรียน มันไม่ใช่...มันต้องผิดไปทั้งหมด! ดูๆ ไปก็น่าเวทนา... ยิ่งเห็นออกมายืนตาแข็งเหมือนตาปลาแช่น้ำยาตามห้องเย็น ท่องตำราประชาธิปไตยว่ากล่าว เสนอ "๗ แพ็กเกจ" แก้รัฐธรรมนูญเมื่อวาน (๒๖ ก.ย.๖๗) นี้ด้วยแล้ว ต้องร้องว่า...เฮ้อ! เป็นอะไรมากมั้ย คุณไอติม ถ้าไม่ไหวกับการแบกตำราละก็ ดื่มนม แล้วกินยานอนพักซะบ้างก็ดีนะ คุณตั้งค่ามาตรฐานว่า กฎหมายที่มาจาก สส.-สว. "ระบบรัฐสภา" เท่านั้นที่เป็น "ประชาธิปไตย" ยึดโยงประชาชน นอกนั้น ไม่ใช่...ไม่เป็นประชาธิปไตย เช่น กฎหมายยุค คสช.หรือยุครัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง คุณปฏิเสธ "รังเกียจ-ไม่ยอมรับ" ทั้งหมด! พร้อม "สวมกะบังตา" ฝรั่ง ชี้เป็นทางที่พรรคส้มจะชักลากไปเมื่อวาน ว่า "พรรค ปชน.ยืนยันมาตลอดว่า รัฐธรรมนูญปี ๒๕๖๐ มีปัญหาเรื่องความชอบธรรมทางประชาธิปไตย ทั้งที่มา กระบวนการ และเนื้อหา ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องเดินหน้า ๒ เส้นทางแบบคู่ขนาน นั่นคือ -การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุด โดย ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด กับอีกเส้นทาง คือ -การแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราในประเด็นที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วน พรรค ปชน.จึงนำเสนอแนวคิด, ประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยแบ่งชุดประเด็นออกเป็น ๗ แพ็กเกจ แพ็กเกจที่ ๑ “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร แพ็กเกจที่ ๒ “ตีกรอบอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ, องค์กรอิสระ แพ็กเกจที่ ๓ “เพิ่มกลไกตรวจสอบการทุจริต” แพ็กเกจที่ ๔ “คุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน” แพ็กเกจที่ ๕ “ปฏิรูปกองทัพ” แพ็กเกจที่ ๖ “ยกระดับประสิทธิภาพรัฐสภา” แพ็กเกจที่ ๗ “ปรับเกณฑ์เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ฮึ่ๆ... ฟัง "ประชาธิปไตย" ที่พริษฐ์ยกเทิดทูนเป็นประทีปไร้แสงนำทางมืดบอดแล้ว นึกถึง "นิทานธรรม" ของหลวงปู่ชา "พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)" วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี ท่านพูดฝรั่งไม่ได้ซักคำ.... แต่ท่านนำพุทธธรรมไปสอนฝรั่งในยุโรป ในสหรัฐฯ ในเอเชีย จนมีคน "ต่างชาติ-ต่างภาษา" ทั้งฝรั่งและคนเอเชีย ขอบวชเป็นพระ มีวัดและสำนักสงฆ์ในสายหลวงปู่ชาเกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ แห่ง "หลวงปู่ชา" เป็นพระผู้เผยแผ่คำสอนพระพุทธองค์ไปยังตะวันตกเป็นรูปแรกๆ ก็พูดได้เช่นนั้น จนทุกวันนี้ พระพุทธศาสนาไปตั้งมั่นในยุโรปชนิด "เคร่งครัด-มั่นคง" ด้านปฏิบัติมุ่งตรง "แก่นพุทธธรรม" ยิ่งกว่าตามวัดในเมืองไทยหลายๆ แห่งด้วยซ้ำ เคยมีคนนำเรื่องการเมืองไปถามและแสดงทัศนะเกี่ยวกับประชาธิปไตยกับ "หลวงปู่ชา" พุทธศาสนา เป็นศาสนาของคนมีปัญญา ฉะนั้น "หลวงปู่ชา" ท่านจะไม่สอนคนตรงๆ แต่จะสอนผ่านอุปมา-อุปไมยเป็น "อุบายธรรม" ให้คนฟังใช้ปัญญาแทงทะลุเอาเอง อย่างกรณีโยมผู้นี้.... เข้าไปกราบหลวงปู่แล้วพูดว่า "หลวงพ่อครับ ผมว่ามีประชาธิปไตยก็ดีนะครับ ผู้คนจะได้เคารพในการตัดสินใจของคนหมู่มากเป็นหลัก" "มันก็ไม่ถูกต้องเสมอไปหรอกโยม" หลวงปู่ชาท่านว่า โยมก็ย้อนถามว่า "ไม่ถูกต้องยังไงครับ?" หลวงปู่ชา ท่านก็กล่าวเป็นอุบายธรรมว่า.... "ยกตัวอย่างมีแมลงวัน ๒๐ ตัว มีแมลงผึ้ง ๑๐ ตัว แมลงวัน ๒๐ ตัวบอกว่า "อุจจาระหอมหวาน อร่อยดี" แต่แมลงผึ้ง ๑๐ ตัว บอกว่า "น้ำผึ้งหอมหวาน อร่อยดี" ถ้าพูดตามหลักประชาธิปไตย "แมลงวันชนะ" แมลงผึ้ง เพราะคะแนนเสียง "มากกว่า" แมลงผึ้งแพ้ เพราะคะแนนเสียง "น้อยกว่า" เราเป็นมนุษย์ ชื่อว่าเป็น "สัตว์ประเสริฐ" มีปัญญามากกว่าสัตว์เหล่านั้น เราควรจะเชื่อใครดี?" "นิทานธรรม" เรื่องนี้ มีเผยแพร่ทั่วไป ผู้มีปัญญาก็จะตีความปริศนาธรรมนั้นเข้าใจ ตามที่หลวงปู่ยกเรื่องแมลงวันกับผึ้งเป็นอุปมา-อุปไมย หมายถึง "การตัดสินด้วย "หลักประชาธิปไตย" บางครั้งก็ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป ถ้าไม่เอาหลัก "ธรรมาธิปไตย" เข้าไปตัดสิน" แล้วพริษฐ์ ....คุณเป็น "ผึ้ง" หรือ "แมลงวัน" ล่ะ? ดีกรี "ปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์" เหรียญทอง ออกซฟอร์ด มีปัญญาแยกแยะได้แน่! แต่ในการแยกแยะ ก่อนอื่น ต้องเข้าใจ "สถานะ" ให้ชัด ว่าเราเป็นแมลงวันหรือผึ้ง หรือเป็นคนใน "สถานะมนุษย์"? เมื่อรู้สถานะ พริษฐ์ ก็คือ "สัตว์ประเสริฐ" ต้องมีปัญญามากกว่าสัตว์แน่นอน ฉะนั้น ไหน "ประชาธิปไตย" หรือ "ไม่ประชาธิปไตย" ต้องเข้าใจว่าจะชี้ขาดด้วยมือในระบบรัฐสภา "ประชาธิปไตยเลือกตั้ง" หรือในระบบ "เผด็จการประชาธิปไตย" ตายตัวไม่ได้ ต้องใช้ "ธรรมาธิปไตย" เป็นเครื่องตัดสินชี้ขาด! นี่ไม่ใช่เอะอะ ผมลากเข้าวัดนะ ต้องเข้าใจ "ธรรมะ" คือธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ไม่มีอะไร "เป็นอยู่อย่างนั้นนิรันดร์" หรือพูดอีกที "ความหมุนเวียน-เปลี่ยนแปลง" นั่นแหละนิรันดร์ ทุกสิ่ง ประกอบด้วยกาล ด้วยเวลา ด้วยสถานะ เมื่อถึงพร้อมแล้ว มันหมุนเวียน-เปลี่ยนผัน จากรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่ง ตามเหตุ-ปัจจัย ที่มันต้องเป็นด้วยตัวของมันเอง พริษฐ์ไม่ต้องเป็น "จอห์น ล็อก" บิดาแห่งประชาธิปไตยในศตวรรษที่ ๒๑ หรอก เป็นแฟน "ออนล็อกหยุ่น" ดีกว่า.... ไปนั่งกิน breakfast ที่นั่นบ่อยๆ จะเป็นหนทางสร้างสมประสบการณ์ประชาธิปไตย จาก "หลายชีวิต-หลากรุ่น" บางที การได้สัมผัสวิถีประชาธิปไตยไทยแท้ๆ อาจทำให้ "ดอกไม้พลาสติก" มีกลิ่นหอมขึ้นมาก็ได้ ทฤษฎี-หลักการตามตำรา นำมาชี้ขาด "ประชาธิปไตย-เผด็จการ" โดดๆ ไม่ได้หรอก มันต้องประกอบด้วย "ประสบการณ์" เพราะสังคมหนึ่งๆ มีทั้งประชาชนผึ้ง ทั้งประชาชนแมลงวัน ฉะนั้น บางเรื่องจะใช้ "จำนวนมาก" ถือเป็นประชาธิปไตย นั่นมันหลักการ "พลเมืองแมลง" มันไม่ถูก-ไม่ชอบธรรมตามหลัก "พลเมืองมนุษย์" อย่างจะเขียนกฎหมายให้ง่ายต่อการแยก "ราชอาณาจักร" ไปเป็นสาธารณรัฐ เขียนกฎหมาย ไม่เน้น "ศีลธรรม-จริยธรรม" ให้เข้าง่าย กินง่าย-โกงง่าย-อยู่ง่าย แค่ "มือมาก" ในระบบสภายกให้ ก็หมายความว่า เหล่านั้น เป็นประชาธิปไตยถูกต้องแล้ว ถูกตามประชาธิปไตยแมลงวันละก็ใช่ แต่มัน "ไม่ถูกต้อง-ไม่ชอบธรรม" ตามประชาธิปไตยมนุษย์ ที่ต้องมี "ธรรม" เป็นแกนในกฎ-กติกาสังคม พริษฐ์ ว่า "กฎหมายที่มีขณะนี้ "คสช.เขียน" ไม่เป็นประชาธิปไตย ต้องรื้อทิ้งทั้งหมด" ถ้าอย่างนั้น..... ระบอบประชาธิปไตยที่ "คณะราษฎร" สถาปนาเมื่อ ปี ๒๔๗๕ ก็ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประชาธิปไตย ต้องรื้อทิ้ง เพราะไม่ได้มาตามระบบรัฐสภา หากแต่มาจาก "คณะราษฎร" ใช้กำลังไปปล้นพระราชอำนาจจาก "พระมหากษัตริย์" มา นั่นเท่ากับคณะราษฎร เป็นเผด็จการ! และที่พริษฐ์บอก "รังเกียจ-ปฏิเสธ" ทุกกฎหมาย-ทุกคำสั่งของ คสช.ต้องยกเลิก เพราะไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่ยึดโยงประชาชน งั้น พริษฐ์และพรรคส้ม ต้องพ้นสภาพ สส.ไปวันนี้เลย เพราะ พวกคุณทุกคน ถือกำเนิดมาจากรัฐธรรมนูญเผด็จการ ที่ให้มีเลือกตั้ง เมื่อรังเกียจ ให้ยกเลิกกฎหมายนั้น สส.พวกคุณและพรรคส้ม ก็ไม่มีกฎหมายรองรับ เป็น สส.ไม่ได้แล้ว! เห็นมั้ย พริษฐ์..."ความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด" การพูดเอาเท่ ขาดประสบการณ์โลกจริง แยกเหตุ-แยกผล ไม่ได้ ก็ฉิบหายตัวเอง อย่าคิดต่ำกว่าหนอนในถังขี้เลย...พริษฐ์ หนอน กินขี้เลี้ยงชีวิต มันรู้บุญคุณ มันไม่เคยเนรคุณถังขี้ แต่พริษฐ์ เป็นมนุษย์ มีสมองคิดด้วยจิตสำนึกเหนือหนอน ฉะนั้น อย่าบ้า "ประชาธิปไตย-เผด็จการ" โดยไม่รู้จักแยกแยะด้วยเหตุและผลให้มากนัก จะปฏิรูปกองทัพ เลิกเกณฑ์ทหาร มีสงครามค่อยเกณฑ์ พริษฐ์...หิวข้าวตอนไหน ค่อยไปทำตอนนั้น อย่างนั้นหรือ? นี่ถ้าวันนี้ไม่มีทหารละก็นะ พริษฐ์และคณะส้มต้องไปโกยเลนให้ชาวบ้านที่แม่สายแทน...เอามั้ย? กลับบ้าน อาบน้ำ ประแป้ง แล้วกินนมนอน ซะไป...พริษฐ์?! -เปลว สีเงิน ๒๗ กันยายน ๒๕๖๗ คนปลายซอย ที่มา : https://www.thaipost.net/columnist-people/663854/?#m1kerm3y94d8my69xxm #Thaitimes
    Like
    Love
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1414 มุมมอง 0 รีวิว