สถานีต่อไป กรุงเทพอภิวัฒน์ - KL Sentral
การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของนายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย เข้าพบ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา มีรายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ของมาเลเซีย จะร่วมกันกลับมาเปิดให้บริการรถไฟ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ปาดังเบซาร์-บัตเตอร์เวิร์ธ รัฐปีนัง ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อม คาดว่าจะเปิดให้บริการเที่ยวแรกภายในเดือน ก.ค. 2568 เป็นผลมาจากการประชุมร่วมระหว่าง ร.ฟ.ท. และ KTM Berhad ครั้งที่ 42 (KTMB-SRT Joint Conference) เมื่อเดือน ส.ค.2567
ถือเป็นการฟื้นการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปีนัง กลับมาอีกครั้ง หลังเคยเปิดการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.2465 เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 94 ปี ก่อนยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.2559 เป็นต้นมา หลังจากประเทศมาเลเซียได้ปรับปรุงทางรถไฟทางคู่ระบบปิด ก่อนให้บริการรถไฟแบบ ETS ซึ่งเป็นรถไฟด่วนพิเศษ และ KTM Komuter ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ขบวนรถที่ 45/46 จากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ปลายทางของรถไฟทางไกลในปัจจุบัน ไปยังสถานีปลายทางปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส เท่านั้น
ที่น่าสนใจก็คือ รายงานข่าวจากสำนักข่าวเบอร์นามา (Bernama) ของมาเลเซีย นายโลค เปิดเผยว่า มีแผนจะกลับมาเปิดให้บริการรถไฟทางไกล ระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กับกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย อีกครั้งในปี 2568 ซึ่ง KTM Berhad และ ร.ฟ.ท. จะใช้เวลาเตรียมการเบื้องต้น 3 เดือน แม้การดำเนินการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องสร้างเส้นทางรถไฟใหม่ แต่จำเป็นต้องมีการประสานงาน การทำการตลาดร่วมกัน และการออกตั๋วโดยสารร่วมกันระหว่างสองประเทศ
ขณะเดียวกัน ฝ่ายไทยได้เสนอให้ขยายบริการรถไฟทางไกล จากสถานีสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ไปยังเมืองรันเตาปันยัง (Rantau Panjang) และเมืองปาเซร์มัส (Pasir Mas) รัฐกลันตันในมาเลเซีย ซึ่งตนยินดีรับข้อเสนอนี้ เนื่องจากถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่มีศักยภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น และปรับปรุงคุณภาพชีวิตในพื้นที่ชายแดน แต่จะต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมเพื่อฟื้นฟูเส้นทางรถไฟระหว่างสุไหงโก-ลก รันเตาปันยัง และปาเซร์มัส เนื่องจากต้องมีการบูรณะรางรถไฟที่ไม่ได้ใช้งานมานานในเมืองรันเตาปันยังและสุไหงโก-ลก
ปัจจุบัน สถานีปาดังเบซาร์ ประเทศมาเลเซีย มีบริการรถไฟ ETS (Electric Train Service) ไปยังสถานี KL Sentral กรุงกัวลาลัมเปอร์ วันละ 5 ขบวน ปลายทางไกลที่สุดคือสถานีเซกามัต (Segamat) รัฐยะโฮร์
#Newskit
หมายเหตุ : ลงวันที่ล่วงหน้า เพราะจะเผยแพร่ทาง Facebook และ Instagram วันที่ 12 พ.ค. 2568
การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของนายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย เข้าพบ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา มีรายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ของมาเลเซีย จะร่วมกันกลับมาเปิดให้บริการรถไฟ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ปาดังเบซาร์-บัตเตอร์เวิร์ธ รัฐปีนัง ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อม คาดว่าจะเปิดให้บริการเที่ยวแรกภายในเดือน ก.ค. 2568 เป็นผลมาจากการประชุมร่วมระหว่าง ร.ฟ.ท. และ KTM Berhad ครั้งที่ 42 (KTMB-SRT Joint Conference) เมื่อเดือน ส.ค.2567
ถือเป็นการฟื้นการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปีนัง กลับมาอีกครั้ง หลังเคยเปิดการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.2465 เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 94 ปี ก่อนยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.2559 เป็นต้นมา หลังจากประเทศมาเลเซียได้ปรับปรุงทางรถไฟทางคู่ระบบปิด ก่อนให้บริการรถไฟแบบ ETS ซึ่งเป็นรถไฟด่วนพิเศษ และ KTM Komuter ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ขบวนรถที่ 45/46 จากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ปลายทางของรถไฟทางไกลในปัจจุบัน ไปยังสถานีปลายทางปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส เท่านั้น
ที่น่าสนใจก็คือ รายงานข่าวจากสำนักข่าวเบอร์นามา (Bernama) ของมาเลเซีย นายโลค เปิดเผยว่า มีแผนจะกลับมาเปิดให้บริการรถไฟทางไกล ระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กับกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย อีกครั้งในปี 2568 ซึ่ง KTM Berhad และ ร.ฟ.ท. จะใช้เวลาเตรียมการเบื้องต้น 3 เดือน แม้การดำเนินการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องสร้างเส้นทางรถไฟใหม่ แต่จำเป็นต้องมีการประสานงาน การทำการตลาดร่วมกัน และการออกตั๋วโดยสารร่วมกันระหว่างสองประเทศ
ขณะเดียวกัน ฝ่ายไทยได้เสนอให้ขยายบริการรถไฟทางไกล จากสถานีสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ไปยังเมืองรันเตาปันยัง (Rantau Panjang) และเมืองปาเซร์มัส (Pasir Mas) รัฐกลันตันในมาเลเซีย ซึ่งตนยินดีรับข้อเสนอนี้ เนื่องจากถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่มีศักยภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น และปรับปรุงคุณภาพชีวิตในพื้นที่ชายแดน แต่จะต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมเพื่อฟื้นฟูเส้นทางรถไฟระหว่างสุไหงโก-ลก รันเตาปันยัง และปาเซร์มัส เนื่องจากต้องมีการบูรณะรางรถไฟที่ไม่ได้ใช้งานมานานในเมืองรันเตาปันยังและสุไหงโก-ลก
ปัจจุบัน สถานีปาดังเบซาร์ ประเทศมาเลเซีย มีบริการรถไฟ ETS (Electric Train Service) ไปยังสถานี KL Sentral กรุงกัวลาลัมเปอร์ วันละ 5 ขบวน ปลายทางไกลที่สุดคือสถานีเซกามัต (Segamat) รัฐยะโฮร์
#Newskit
หมายเหตุ : ลงวันที่ล่วงหน้า เพราะจะเผยแพร่ทาง Facebook และ Instagram วันที่ 12 พ.ค. 2568
สถานีต่อไป กรุงเทพอภิวัฒน์ - KL Sentral
การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของนายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย เข้าพบ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา มีรายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ของมาเลเซีย จะร่วมกันกลับมาเปิดให้บริการรถไฟ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ปาดังเบซาร์-บัตเตอร์เวิร์ธ รัฐปีนัง ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อม คาดว่าจะเปิดให้บริการเที่ยวแรกภายในเดือน ก.ค. 2568 เป็นผลมาจากการประชุมร่วมระหว่าง ร.ฟ.ท. และ KTM Berhad ครั้งที่ 42 (KTMB-SRT Joint Conference) เมื่อเดือน ส.ค.2567
ถือเป็นการฟื้นการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปีนัง กลับมาอีกครั้ง หลังเคยเปิดการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.2465 เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 94 ปี ก่อนยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.2559 เป็นต้นมา หลังจากประเทศมาเลเซียได้ปรับปรุงทางรถไฟทางคู่ระบบปิด ก่อนให้บริการรถไฟแบบ ETS ซึ่งเป็นรถไฟด่วนพิเศษ และ KTM Komuter ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ขบวนรถที่ 45/46 จากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ปลายทางของรถไฟทางไกลในปัจจุบัน ไปยังสถานีปลายทางปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส เท่านั้น
ที่น่าสนใจก็คือ รายงานข่าวจากสำนักข่าวเบอร์นามา (Bernama) ของมาเลเซีย นายโลค เปิดเผยว่า มีแผนจะกลับมาเปิดให้บริการรถไฟทางไกล ระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กับกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย อีกครั้งในปี 2568 ซึ่ง KTM Berhad และ ร.ฟ.ท. จะใช้เวลาเตรียมการเบื้องต้น 3 เดือน แม้การดำเนินการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องสร้างเส้นทางรถไฟใหม่ แต่จำเป็นต้องมีการประสานงาน การทำการตลาดร่วมกัน และการออกตั๋วโดยสารร่วมกันระหว่างสองประเทศ
ขณะเดียวกัน ฝ่ายไทยได้เสนอให้ขยายบริการรถไฟทางไกล จากสถานีสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ไปยังเมืองรันเตาปันยัง (Rantau Panjang) และเมืองปาเซร์มัส (Pasir Mas) รัฐกลันตันในมาเลเซีย ซึ่งตนยินดีรับข้อเสนอนี้ เนื่องจากถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่มีศักยภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น และปรับปรุงคุณภาพชีวิตในพื้นที่ชายแดน แต่จะต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมเพื่อฟื้นฟูเส้นทางรถไฟระหว่างสุไหงโก-ลก รันเตาปันยัง และปาเซร์มัส เนื่องจากต้องมีการบูรณะรางรถไฟที่ไม่ได้ใช้งานมานานในเมืองรันเตาปันยังและสุไหงโก-ลก
ปัจจุบัน สถานีปาดังเบซาร์ ประเทศมาเลเซีย มีบริการรถไฟ ETS (Electric Train Service) ไปยังสถานี KL Sentral กรุงกัวลาลัมเปอร์ วันละ 5 ขบวน ปลายทางไกลที่สุดคือสถานีเซกามัต (Segamat) รัฐยะโฮร์
#Newskit
หมายเหตุ : ลงวันที่ล่วงหน้า เพราะจะเผยแพร่ทาง Facebook และ Instagram วันที่ 12 พ.ค. 2568
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
33 มุมมอง
0 รีวิว