• “บขส.” เผยปชช.แห่เดินทางปีใหม่ 2568 ศุกร์ ธ.ค. นิวไฮ 1.6 แสนคน สูงกว่าคาดการณ์ไว้ 4 หมื่นคน คาดวันนี้ ยังเดินทางต่อเนื่องแตะ 1.1 แสนคน ด้าน “สุรพงษ์” กำชับ รถโดยสารเข้ารับตรงเวลา - ห้ามขายตั๋วแพง – ฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้โดยสาร

    นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ลงพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2567 เวลาประมาณ 23.00 น. เพื่อตรวจการบริหารการจัดรถโดยสารและพนักงาน อำนวยความสะดวกประชาชน ในการเดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่ อย่างต่อเนื่อง เป็นวันที่ 3 หลังจากได้ลงพื้นที่แล้วเมื่อวันที่ 25 - 26 ธันวาคม 2567 โดยกำชับ บขส. จัดรถโดยสารรองรับการเดินทางให้เพียงพอ นำรถเข้ารับผู้โดยสารที่ชานชาลาขาออกให้ตรงเวลา เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ป้องกันการรอคอยรถนาน ดูแลราคาค่าโดยสาร ไม่ขายตั๋วโดยสารเกินราคาที่กำหนด ไม่ฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้โดยสาร ในช่วงเทศกาล เพราะผู้โดยสารไว้วางใจเลือกใช้บริการ ดังนั้นควรจะได้รับบริการที่ดี มีประสิทธิภาพ สะดวก ปลอดภัย และเป็นธรรม

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/business/detail/9670000124682

    #MGROnline #สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ #หมอชิต2
    “บขส.” เผยปชช.แห่เดินทางปีใหม่ 2568 ศุกร์ ธ.ค. นิวไฮ 1.6 แสนคน สูงกว่าคาดการณ์ไว้ 4 หมื่นคน คาดวันนี้ ยังเดินทางต่อเนื่องแตะ 1.1 แสนคน ด้าน “สุรพงษ์” กำชับ รถโดยสารเข้ารับตรงเวลา - ห้ามขายตั๋วแพง – ฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้โดยสาร • นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ลงพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2567 เวลาประมาณ 23.00 น. เพื่อตรวจการบริหารการจัดรถโดยสารและพนักงาน อำนวยความสะดวกประชาชน ในการเดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่ อย่างต่อเนื่อง เป็นวันที่ 3 หลังจากได้ลงพื้นที่แล้วเมื่อวันที่ 25 - 26 ธันวาคม 2567 โดยกำชับ บขส. จัดรถโดยสารรองรับการเดินทางให้เพียงพอ นำรถเข้ารับผู้โดยสารที่ชานชาลาขาออกให้ตรงเวลา เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ป้องกันการรอคอยรถนาน ดูแลราคาค่าโดยสาร ไม่ขายตั๋วโดยสารเกินราคาที่กำหนด ไม่ฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้โดยสาร ในช่วงเทศกาล เพราะผู้โดยสารไว้วางใจเลือกใช้บริการ ดังนั้นควรจะได้รับบริการที่ดี มีประสิทธิภาพ สะดวก ปลอดภัย และเป็นธรรม • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/business/detail/9670000124682 • #MGROnline #สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ #หมอชิต2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 134 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🚌ขสมก. Update เส้นทางรถเมล์
    เชื่อมต่อสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หมอชิต 2 มีสายใดบ้าง รู้ไว้ไม่หลง!

    เพื่อเป็นข้อมูลให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบาย และสามารถใช้บริการรถโดยสารของ ขสมก. ในการเดินทาง จึงประชาสัมพันธ์เส้นทางรถเมล์เชื่อมต่อการเดินทาง ทั้ง 2 แห่ง คือ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จำนวน 14 เส้นทาง และสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หมอชิต 2 จำนวน 15 เส้นทาง โดยระบุสายรถเมล์ที่ผ่าน และต้นทาง - ปลายทางของสายนั้น ๆ ดังนี้
    📌 1. สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จำนวน 14 เส้นทาง
    สาย 3 (2-37), สาย 5, สาย 26 (1-36), สาย 49 (2-43), สาย 96 (1-42), สาย 134 (2-20), สาย 136 (3-47), สาย 138 (4-22E), สาย 145 (3-18), สาย 204 (2-52), สาย 509 (4-60), สาย 536 (3-24E), สาย A1, สาย 3-19E

    📌 2. สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หมอชิต 2 จำนวน 15 เส้นทาง
    สาย 3 (2-37), สาย 5, สาย 26 (1-36), สาย 49 (2-43), สาย 96 (1-42), สาย 134 (2-20), สาย 136 (3-47), สาย 138 (4-22E), สาย 145 (3-18), สาย 204 (2-52), สาย 509 (4-60), สาย 536 (3-24E), สาย A1, สาย 3-19E, สาย 4-33E

    อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : t.ly/jlzYH
    🚌ขสมก. Update เส้นทางรถเมล์ เชื่อมต่อสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หมอชิต 2 มีสายใดบ้าง รู้ไว้ไม่หลง! เพื่อเป็นข้อมูลให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบาย และสามารถใช้บริการรถโดยสารของ ขสมก. ในการเดินทาง จึงประชาสัมพันธ์เส้นทางรถเมล์เชื่อมต่อการเดินทาง ทั้ง 2 แห่ง คือ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จำนวน 14 เส้นทาง และสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หมอชิต 2 จำนวน 15 เส้นทาง โดยระบุสายรถเมล์ที่ผ่าน และต้นทาง - ปลายทางของสายนั้น ๆ ดังนี้ 📌 1. สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จำนวน 14 เส้นทาง สาย 3 (2-37), สาย 5, สาย 26 (1-36), สาย 49 (2-43), สาย 96 (1-42), สาย 134 (2-20), สาย 136 (3-47), สาย 138 (4-22E), สาย 145 (3-18), สาย 204 (2-52), สาย 509 (4-60), สาย 536 (3-24E), สาย A1, สาย 3-19E 📌 2. สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หมอชิต 2 จำนวน 15 เส้นทาง สาย 3 (2-37), สาย 5, สาย 26 (1-36), สาย 49 (2-43), สาย 96 (1-42), สาย 134 (2-20), สาย 136 (3-47), สาย 138 (4-22E), สาย 145 (3-18), สาย 204 (2-52), สาย 509 (4-60), สาย 536 (3-24E), สาย A1, สาย 3-19E, สาย 4-33E อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : t.ly/jlzYH
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 153 มุมมอง 0 รีวิว
  • นครชัยแอร์บ้านใหม่ ภายใต้กลุ่มทุนใหม่

    การประกาศย้ายสำนักงานใหญ่ ออฟฟิศและอู่จอดรถ ของบริษัท นครชัยแอร์ จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารรายใหญ่ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 จากบริเวณก่อนถึงแยกรัชวิภา ไปยังปั๊มน้ำมันบางจาก ปากซอยวิภาวดีรังสิต 60 บนพื้นที่ประมาณ 28 ไร่ นับเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของรถทัวร์รายใหญ่ ที่อยู่บนเส้นทางธุรกิจมานานถึง 38 ปี

    นครชัยแอร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2529 โดยมีนายจักรินทร์ วงศ์เบญจรัตน์ เป็นประธานผู้ก่อตั้ง เริ่มต้นได้เปิดให้บริการ 2 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-ขอนแก่น และ กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี โดยมีรถโดยสารปรับอากาศ 42 ที่นั่ง 20 คัน ก่อนผลักดันรถนอนพิเศษเป็นบริษัทแรก ลดจำนวนที่นั่งจาก 42 ที่นั่งเหลือ 32 ที่นั่ง และขยายเส้นทางอย่างต่อเนื่อง

    ที่ผ่านมานครชัยแอร์ย้ายสำนักงานใหญ่มาแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ เมื่อปี 2556 ย้ายมาจากเลขที่ 27 ซอยวิภาวดีรังสิต 19 ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานและที่พักอาศัย 5 ชั้น ไปยังเลขที่ 109 ถนนวิภาวดีรังสิต ก่อนถึงแยกรัชวิภา บนพื้นที่กว่า 16 ไร่ เพื่อรองรับการขยายกิจการ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัวนครชัยแอร์ ผ่านมา 11 ปี จึงย้ายมาที่ปากซอยวิภาวดีรังสิต 60 ในปัจจุบัน

    ถึงกระนั้น สถานีเดินรถนครชัยแอร์ กรุงเทพฯ ยังคงตั้งอยู่ริมถนนกำแพงเพชร 2 เช่นเดิม ผู้โดยสารสามารถใช้บริการได้ตามปกติ รวมทั้งสามารถเลือกขึ้นรถได้ที่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 และนครชัยแอร์ สาขารังสิต ภายในปั๊มน้ำมันบางจาก รังสิต ถนนพหลโยธิน ตรงข้ามโรงงานบริดจสโตน เช่นเดิม

    เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้ ตระกูลวงศ์เบญจรัตน์ได้ขายกิจการเดินรถ ไม่รวมทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน แก่กลุ่มนายคีรี กาญจนพาสน์ นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และระบบขนส่งมวลชน กระทั่งส่งตัวแทนซึ่งล้วนเป็นคนของกลุ่มนายคีรีเข้ามาบริหารแทน ส่วนทายาทรุ่นที่ 3 อย่างนางเครือวัลย์ วงศ์รักมิตร ได้หายไปจากพื้นที่ข่าว หลังปรากฎครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนธันวาคม 2565

    อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทบีทีเอส ยังไม่ประกาศว่านครชัยแอร์เป็นหนึ่งธุรกิจในเครือ จากปัจจุบันกลุ่มธุรกิจ MOVE ประกอบด้วยรถไฟฟ้า 4 สี รถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ด่านเก็บเงินมอเตอร์เวย์ 2 เส้นทาง โครงการสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาและเมืองการบิน

    ข้อความที่ระบุว่า "ต้นแบบการเดินทางไกล ที่สะดวกสบาย ปลอดภัย ด้วยองค์กรที่มั่นคง และร่วมแรงร่วมใจ ให้บริการ" ซึ่งนายจักรินทร์ ประธานผู้ก่อตั้งได้เขียนไว้ในสำนักงาน คงเป็นตำนานอีกหน้าหนึ่งของธุรกิจรถทัวร์ในไทย เพราะอีกไม่นานที่ดินผืนงามกว่า 16 ไร่ย่านแยกรัชวิภา อาจเปลี่ยนมือไปเป็นอย่างอื่น ตามแผนการย้ายสำนักงานใหญ่และขายที่ดินที่เกิดขึ้นนานแล้ว

    #Newskit #นครชัยแอร์ #BTSGroup
    นครชัยแอร์บ้านใหม่ ภายใต้กลุ่มทุนใหม่ การประกาศย้ายสำนักงานใหญ่ ออฟฟิศและอู่จอดรถ ของบริษัท นครชัยแอร์ จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารรายใหญ่ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 จากบริเวณก่อนถึงแยกรัชวิภา ไปยังปั๊มน้ำมันบางจาก ปากซอยวิภาวดีรังสิต 60 บนพื้นที่ประมาณ 28 ไร่ นับเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของรถทัวร์รายใหญ่ ที่อยู่บนเส้นทางธุรกิจมานานถึง 38 ปี นครชัยแอร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2529 โดยมีนายจักรินทร์ วงศ์เบญจรัตน์ เป็นประธานผู้ก่อตั้ง เริ่มต้นได้เปิดให้บริการ 2 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-ขอนแก่น และ กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี โดยมีรถโดยสารปรับอากาศ 42 ที่นั่ง 20 คัน ก่อนผลักดันรถนอนพิเศษเป็นบริษัทแรก ลดจำนวนที่นั่งจาก 42 ที่นั่งเหลือ 32 ที่นั่ง และขยายเส้นทางอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมานครชัยแอร์ย้ายสำนักงานใหญ่มาแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ เมื่อปี 2556 ย้ายมาจากเลขที่ 27 ซอยวิภาวดีรังสิต 19 ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานและที่พักอาศัย 5 ชั้น ไปยังเลขที่ 109 ถนนวิภาวดีรังสิต ก่อนถึงแยกรัชวิภา บนพื้นที่กว่า 16 ไร่ เพื่อรองรับการขยายกิจการ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัวนครชัยแอร์ ผ่านมา 11 ปี จึงย้ายมาที่ปากซอยวิภาวดีรังสิต 60 ในปัจจุบัน ถึงกระนั้น สถานีเดินรถนครชัยแอร์ กรุงเทพฯ ยังคงตั้งอยู่ริมถนนกำแพงเพชร 2 เช่นเดิม ผู้โดยสารสามารถใช้บริการได้ตามปกติ รวมทั้งสามารถเลือกขึ้นรถได้ที่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 และนครชัยแอร์ สาขารังสิต ภายในปั๊มน้ำมันบางจาก รังสิต ถนนพหลโยธิน ตรงข้ามโรงงานบริดจสโตน เช่นเดิม เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้ ตระกูลวงศ์เบญจรัตน์ได้ขายกิจการเดินรถ ไม่รวมทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน แก่กลุ่มนายคีรี กาญจนพาสน์ นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และระบบขนส่งมวลชน กระทั่งส่งตัวแทนซึ่งล้วนเป็นคนของกลุ่มนายคีรีเข้ามาบริหารแทน ส่วนทายาทรุ่นที่ 3 อย่างนางเครือวัลย์ วงศ์รักมิตร ได้หายไปจากพื้นที่ข่าว หลังปรากฎครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนธันวาคม 2565 อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทบีทีเอส ยังไม่ประกาศว่านครชัยแอร์เป็นหนึ่งธุรกิจในเครือ จากปัจจุบันกลุ่มธุรกิจ MOVE ประกอบด้วยรถไฟฟ้า 4 สี รถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ด่านเก็บเงินมอเตอร์เวย์ 2 เส้นทาง โครงการสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาและเมืองการบิน ข้อความที่ระบุว่า "ต้นแบบการเดินทางไกล ที่สะดวกสบาย ปลอดภัย ด้วยองค์กรที่มั่นคง และร่วมแรงร่วมใจ ให้บริการ" ซึ่งนายจักรินทร์ ประธานผู้ก่อตั้งได้เขียนไว้ในสำนักงาน คงเป็นตำนานอีกหน้าหนึ่งของธุรกิจรถทัวร์ในไทย เพราะอีกไม่นานที่ดินผืนงามกว่า 16 ไร่ย่านแยกรัชวิภา อาจเปลี่ยนมือไปเป็นอย่างอื่น ตามแผนการย้ายสำนักงานใหญ่และขายที่ดินที่เกิดขึ้นนานแล้ว #Newskit #นครชัยแอร์ #BTSGroup
    Like
    7
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 915 มุมมอง 0 รีวิว
  • สาย A2 จอดที่เกาะดินแดง ไม่เข้าพหลโยธิน

    ผลกระทบจากการปฎิรูปรถเมล์ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป นอกจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะยกเลิกเดินรถ 14 เส้นทาง เปิดเดินรถเส้นทางใหม่ 10 เส้นทางแล้ว ยังกระทบไปถึงรถเมล์เชื่อมสนามบินดอนเมืองเช่นกัน

    โดยรถเมล์สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเช่นกัน เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง โดยได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์บนรถเมล์สาย A2 ไปแล้ว

    จากเดิม สาย A2 ออกจากป้ายหยุดรถประจำทาง สนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ชั้น 1 ผู้โดยสารขาเข้า ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านหลักสี่ ลงด่านลาดพร้าว เปลี่ยนเป็น ลงด่านดินแดง เลี้ยวขวาที่สามแยกดินแดง สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เกาะดินแดง (ฝั่งศูนย์การค้าวิคตอรี่ฮับ)

    สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยรถจะไม่ผ่านโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ซอยเฉยพ่วง) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต สะพานควาย อารีย์ และสนามเป้าอีกต่อไป

    อย่างไรก็ตาม สามารถใช้บริการรถเมล์สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต 2) ทดแทนกันได้ ซึ่งรถจะลงด่านลาดพร้าว ผ่านป้ายโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต

    ส่วนขาเข้าสนามบิน เปลี่ยนจุดขึ้นรถจากเดิมเกาะพหลโยธิน มาเป็นเกาะดินแดง ไปตามถนนราชวิถี สำนักงาน ป.ป.ส. สามแยกดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านดินแดง ลงสนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ผู้โดยสารขาออก โดยรถจะไม่ผ่านป้ายสนามเป้า อารีย์ สะพานควาย สวนจตุจักร และสวนรถไฟอีกต่อไป

    นอกจากนี้ ยังต้องรอลุ้นว่า รถเมล์สาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี และสาย A4 ท่าอากาศยานดอนเมือง-ถนนข้าวสาร-สนามหลวง จะยังคงให้บริการต่อ หรือหยุดให้บริการ เนื่องจากสองเส้นทางนี้ไม่ได้ถูกบรรจุในแผนปฎิรูปรถเมล์มาก่อน ซึ่งมีเจ้าภาพหลักคือ กรมการขนส่งทางบก

    #Newskit #ขสมก #สนามบินดอนเมือง
    สาย A2 จอดที่เกาะดินแดง ไม่เข้าพหลโยธิน ผลกระทบจากการปฎิรูปรถเมล์ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป นอกจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะยกเลิกเดินรถ 14 เส้นทาง เปิดเดินรถเส้นทางใหม่ 10 เส้นทางแล้ว ยังกระทบไปถึงรถเมล์เชื่อมสนามบินดอนเมืองเช่นกัน โดยรถเมล์สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเช่นกัน เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง โดยได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์บนรถเมล์สาย A2 ไปแล้ว จากเดิม สาย A2 ออกจากป้ายหยุดรถประจำทาง สนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ชั้น 1 ผู้โดยสารขาเข้า ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านหลักสี่ ลงด่านลาดพร้าว เปลี่ยนเป็น ลงด่านดินแดง เลี้ยวขวาที่สามแยกดินแดง สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เกาะดินแดง (ฝั่งศูนย์การค้าวิคตอรี่ฮับ) สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยรถจะไม่ผ่านโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ซอยเฉยพ่วง) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต สะพานควาย อารีย์ และสนามเป้าอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม สามารถใช้บริการรถเมล์สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต 2) ทดแทนกันได้ ซึ่งรถจะลงด่านลาดพร้าว ผ่านป้ายโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต ส่วนขาเข้าสนามบิน เปลี่ยนจุดขึ้นรถจากเดิมเกาะพหลโยธิน มาเป็นเกาะดินแดง ไปตามถนนราชวิถี สำนักงาน ป.ป.ส. สามแยกดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านดินแดง ลงสนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ผู้โดยสารขาออก โดยรถจะไม่ผ่านป้ายสนามเป้า อารีย์ สะพานควาย สวนจตุจักร และสวนรถไฟอีกต่อไป นอกจากนี้ ยังต้องรอลุ้นว่า รถเมล์สาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี และสาย A4 ท่าอากาศยานดอนเมือง-ถนนข้าวสาร-สนามหลวง จะยังคงให้บริการต่อ หรือหยุดให้บริการ เนื่องจากสองเส้นทางนี้ไม่ได้ถูกบรรจุในแผนปฎิรูปรถเมล์มาก่อน ซึ่งมีเจ้าภาพหลักคือ กรมการขนส่งทางบก #Newskit #ขสมก #สนามบินดอนเมือง
    Like
    6
    2 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1033 มุมมอง 0 รีวิว
  • 25 กรกฎาคมนี้ จุดเปลี่ยน ขสมก.

    ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ยุติการให้บริการรถโดยสารประจำทาง 14 เส้นทาง ตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่ คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส ทำการเดินรถแทน นับเป็นการยุติการเดินรถล็อตใหญ่ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนรถเมล์ไทยก็ว่าได้

    เพราะมีทั้งเส้นทาง ขสมก.ให้บริการมาแล้วหลายปี เช่น สาย 1 ถนนตก-ท่าเตียน รวมไปถึงหลายเส้นทางที่เป็นสายยอดนิยม ก็ยุติการเดินรถไปด้วย เช่น สาย 71 สวนสยาม-วัดธาตุทอง สาย 77 เซ็นทรัลพระราม 3-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) สาย 84 วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี สาย 515 เซ็นทรัลศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฯลฯ

    ขณะนี้รถประจำทาง ขสมก. ทั้ง 14 เส้นทาง ได้ติดแผ่นกระดาษประชาสัมพันธ์บนรถโดยสารประจำทางไปแล้ว โดยหลังจากวันที่ 25 กรกฎาคม จะไม่มีรถให้บริการอีก ส่วนรถโดยสารเดิมจะนำไปจัดสรรให้กับเส้นทางอื่นที่ขาดแคลน รวมทั้งเตรียมพร้อมเปิดเส้นทางใหม่ ที่กรมการขนส่งทางบกอนุมัติเส้นทางปฎิรูป ทั้งเส้นทางเดิมที่ปรับปรุง และเส้นทางใหม่ รวม 107 เส้นทาง

    ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยุติการเดินรถเพื่อส่งต่อให้กับผู้ประกอบการเอกชน มาตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเดิมด้วยสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง ก่อนที่จะมีสายอื่นตามมา โดยเฉพาะเส้นทางทำเงินอย่างสาย 140 อู่แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

    ด้านบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ได้เตรียมรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เพิ่มอีกกว่า 389 คัน และจะทยอยเพิ่มจำนวนต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดให้ 4 เส้นทางให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ สาย 4 ท่าน้ำภาษีเจริญ - ท่าเรือคลองเตย สาย 25 ท่าช้างวังหลวง - อู่สายลวด สาย 82 พระประแดง - บางลำพู และสาย 84 สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ - สามพราน

    #Newskit #ขสมก #ไทยสมายล์บัส
    25 กรกฎาคมนี้ จุดเปลี่ยน ขสมก. ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ยุติการให้บริการรถโดยสารประจำทาง 14 เส้นทาง ตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่ คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส ทำการเดินรถแทน นับเป็นการยุติการเดินรถล็อตใหญ่ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนรถเมล์ไทยก็ว่าได้ เพราะมีทั้งเส้นทาง ขสมก.ให้บริการมาแล้วหลายปี เช่น สาย 1 ถนนตก-ท่าเตียน รวมไปถึงหลายเส้นทางที่เป็นสายยอดนิยม ก็ยุติการเดินรถไปด้วย เช่น สาย 71 สวนสยาม-วัดธาตุทอง สาย 77 เซ็นทรัลพระราม 3-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) สาย 84 วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี สาย 515 เซ็นทรัลศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฯลฯ ขณะนี้รถประจำทาง ขสมก. ทั้ง 14 เส้นทาง ได้ติดแผ่นกระดาษประชาสัมพันธ์บนรถโดยสารประจำทางไปแล้ว โดยหลังจากวันที่ 25 กรกฎาคม จะไม่มีรถให้บริการอีก ส่วนรถโดยสารเดิมจะนำไปจัดสรรให้กับเส้นทางอื่นที่ขาดแคลน รวมทั้งเตรียมพร้อมเปิดเส้นทางใหม่ ที่กรมการขนส่งทางบกอนุมัติเส้นทางปฎิรูป ทั้งเส้นทางเดิมที่ปรับปรุง และเส้นทางใหม่ รวม 107 เส้นทาง ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยุติการเดินรถเพื่อส่งต่อให้กับผู้ประกอบการเอกชน มาตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเดิมด้วยสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง ก่อนที่จะมีสายอื่นตามมา โดยเฉพาะเส้นทางทำเงินอย่างสาย 140 อู่แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ด้านบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ได้เตรียมรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เพิ่มอีกกว่า 389 คัน และจะทยอยเพิ่มจำนวนต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดให้ 4 เส้นทางให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ สาย 4 ท่าน้ำภาษีเจริญ - ท่าเรือคลองเตย สาย 25 ท่าช้างวังหลวง - อู่สายลวด สาย 82 พระประแดง - บางลำพู และสาย 84 สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ - สามพราน #Newskit #ขสมก #ไทยสมายล์บัส
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 839 มุมมอง 0 รีวิว