เด็กเต้นแข่งเรือโบราณ ปาคู จาลูร์ ซอฟต์พาวเวอร์อินโดนีเซีย
กลายเป็นที่ถูกพูดถึงสนั่นโลกโซเชียลฯ และกลายเป็นมีมไปทั่วโลก สำหรับไวรัลสุดน่ารักจากเทศกาลแข่งเรือโบราณ “ปาคู จาลูร์” (Pacu Jalur) บนหมู่เกาะรีเยา (Riau) ทางภาคตะวันออกของเกาะสุมาตรา จรดช่องแคบมะละกา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเด็กชายรายหนึ่งนามว่า เรย์ยาน อาร์กัน ดิกา (Rayyan Arkan Dikha) หรือ ดิกา (Dikha) วัย 11 ขวบ กลายเป็นจุดสนใจจากลีลาการเต้นบนหัวเรือระหว่างแข่งขัน ในตำแหน่งที่เรียกว่า ตูกัง ตาริ (Tukang Tari) ชุดสีดำเรียบหรู และแว่นกันแดด เปรียบกับแดนเซอร์ ทำหน้าที่ปลุกพลังให้กับฝีพาย ซึ่งเขาทำหน้าที่นี้มาตั้งแต่อายุ 9 ขวบ แถมเพลงที่นำมาประกอบในครั้งนี้ก็เป็นเพลงฮิปฮอป “Young Black & Rich” ของศิลปินชาวอเมริกัน เมลลี ไมค์ (Melly Mike)
ท่าเต้นของดิกาแพร่กระจายไวอย่างรวดเร็วใน TikTok และ IG พร้อมเกิดกระแสที่เรียกว่า ออรา ฟาร์มมิ่ง (Aura Farming) หรือการเต้นเลียนแบบเพื่อเรียกความสนใจ โดยมีคนดังและสโมสรกีฬาร่วมเทรนด์ เช่น สโมสรฟุตบอลปารีส แซงต์ แชร์กแมง (PSG) ที่โพสต์วิดีโอเลียนแบบพร้อมข้อความว่า “กลิ่นอายได้แผ่ไปถึงปารีสแล้ว” ส่วนเอซี มิลาน เขียนแคปชันสุดฮาว่า “Aura Farming แม่นยำ 1899%” แถมยังมี ทราวิส เคลซ์ นักอเมริกันฟุตบอล แฟนหนุ่มของเทย์เลอร์ สวิฟต์ รวมถึงนักเตะไทย “เจ ชนาธิป สรงกระสินธ์” ก็เข้าร่วมกระแสนี้ด้วย
ล่าสุด เมลลี ไมค์ ประกาศว่าจะเดินทางมาร่วมงานเทศกาลปาคู จาลูร์ ในปีนี้ด้วยตนเอง ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-24 ส.ค. 2568 ขณะที่เด็กชายดิกาได้รับแต่งตั้งเป็นทูตวัฒนธรรมจังหวัดรีเยา และได้รับเชิญให้เดินทางพร้อมครอบครัวไปยังกรุงจาการ์ตา เพื่อเข้าพบรัฐมนตรีด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของอินโดนีเซีย รวมถึงออกรายการโทรทัศน์ และได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลอินโดนีเซีย ในฐานะที่ทำให้มรดกทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซียเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
เทศกาลปาคู จาลูร์ ถือเป็นหนึ่งในมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญของอินโดนีเซีย จัดขึ้นที่ริมแม่น้ำอินดรากิรี (Indragiri River) โดยมีการแข่งขันพายเรือจาลูร์ ที่สร้างจากไม้ทั้งท่อน ไม่มีข้อต่อ พร้อมการตกแต่งที่วิจิตรงดงาม ไฮไลต์ของเทศกาลคือการมีนักเต้นแสดงอยู่บนหัวเรือ สร้างสีสันและความตื่นตาตื่นใจให้ผู้ชม มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษชาวควนซิงในศตวรรษที่ 22 ต่อมาถูกพัฒนาให้เป็นกิจกรรมประเพณี เคยใช้เฉลิมฉลองวันสำคัญทางศาสนา และในสมัยอาณานิคมเนเธอร์แลนด์ก็เคยจัดเพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดของราชินีด้วย ปัจจุบันจัดต่อเนื่องทุกปี และดึงดูดผู้เข้าชมได้มากกว่า 1 ล้านคนต่อปี
#Newskit
กลายเป็นที่ถูกพูดถึงสนั่นโลกโซเชียลฯ และกลายเป็นมีมไปทั่วโลก สำหรับไวรัลสุดน่ารักจากเทศกาลแข่งเรือโบราณ “ปาคู จาลูร์” (Pacu Jalur) บนหมู่เกาะรีเยา (Riau) ทางภาคตะวันออกของเกาะสุมาตรา จรดช่องแคบมะละกา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเด็กชายรายหนึ่งนามว่า เรย์ยาน อาร์กัน ดิกา (Rayyan Arkan Dikha) หรือ ดิกา (Dikha) วัย 11 ขวบ กลายเป็นจุดสนใจจากลีลาการเต้นบนหัวเรือระหว่างแข่งขัน ในตำแหน่งที่เรียกว่า ตูกัง ตาริ (Tukang Tari) ชุดสีดำเรียบหรู และแว่นกันแดด เปรียบกับแดนเซอร์ ทำหน้าที่ปลุกพลังให้กับฝีพาย ซึ่งเขาทำหน้าที่นี้มาตั้งแต่อายุ 9 ขวบ แถมเพลงที่นำมาประกอบในครั้งนี้ก็เป็นเพลงฮิปฮอป “Young Black & Rich” ของศิลปินชาวอเมริกัน เมลลี ไมค์ (Melly Mike)
ท่าเต้นของดิกาแพร่กระจายไวอย่างรวดเร็วใน TikTok และ IG พร้อมเกิดกระแสที่เรียกว่า ออรา ฟาร์มมิ่ง (Aura Farming) หรือการเต้นเลียนแบบเพื่อเรียกความสนใจ โดยมีคนดังและสโมสรกีฬาร่วมเทรนด์ เช่น สโมสรฟุตบอลปารีส แซงต์ แชร์กแมง (PSG) ที่โพสต์วิดีโอเลียนแบบพร้อมข้อความว่า “กลิ่นอายได้แผ่ไปถึงปารีสแล้ว” ส่วนเอซี มิลาน เขียนแคปชันสุดฮาว่า “Aura Farming แม่นยำ 1899%” แถมยังมี ทราวิส เคลซ์ นักอเมริกันฟุตบอล แฟนหนุ่มของเทย์เลอร์ สวิฟต์ รวมถึงนักเตะไทย “เจ ชนาธิป สรงกระสินธ์” ก็เข้าร่วมกระแสนี้ด้วย
ล่าสุด เมลลี ไมค์ ประกาศว่าจะเดินทางมาร่วมงานเทศกาลปาคู จาลูร์ ในปีนี้ด้วยตนเอง ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-24 ส.ค. 2568 ขณะที่เด็กชายดิกาได้รับแต่งตั้งเป็นทูตวัฒนธรรมจังหวัดรีเยา และได้รับเชิญให้เดินทางพร้อมครอบครัวไปยังกรุงจาการ์ตา เพื่อเข้าพบรัฐมนตรีด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของอินโดนีเซีย รวมถึงออกรายการโทรทัศน์ และได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลอินโดนีเซีย ในฐานะที่ทำให้มรดกทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซียเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
เทศกาลปาคู จาลูร์ ถือเป็นหนึ่งในมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญของอินโดนีเซีย จัดขึ้นที่ริมแม่น้ำอินดรากิรี (Indragiri River) โดยมีการแข่งขันพายเรือจาลูร์ ที่สร้างจากไม้ทั้งท่อน ไม่มีข้อต่อ พร้อมการตกแต่งที่วิจิตรงดงาม ไฮไลต์ของเทศกาลคือการมีนักเต้นแสดงอยู่บนหัวเรือ สร้างสีสันและความตื่นตาตื่นใจให้ผู้ชม มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษชาวควนซิงในศตวรรษที่ 22 ต่อมาถูกพัฒนาให้เป็นกิจกรรมประเพณี เคยใช้เฉลิมฉลองวันสำคัญทางศาสนา และในสมัยอาณานิคมเนเธอร์แลนด์ก็เคยจัดเพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดของราชินีด้วย ปัจจุบันจัดต่อเนื่องทุกปี และดึงดูดผู้เข้าชมได้มากกว่า 1 ล้านคนต่อปี
#Newskit
เด็กเต้นแข่งเรือโบราณ ปาคู จาลูร์ ซอฟต์พาวเวอร์อินโดนีเซีย
กลายเป็นที่ถูกพูดถึงสนั่นโลกโซเชียลฯ และกลายเป็นมีมไปทั่วโลก สำหรับไวรัลสุดน่ารักจากเทศกาลแข่งเรือโบราณ “ปาคู จาลูร์” (Pacu Jalur) บนหมู่เกาะรีเยา (Riau) ทางภาคตะวันออกของเกาะสุมาตรา จรดช่องแคบมะละกา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเด็กชายรายหนึ่งนามว่า เรย์ยาน อาร์กัน ดิกา (Rayyan Arkan Dikha) หรือ ดิกา (Dikha) วัย 11 ขวบ กลายเป็นจุดสนใจจากลีลาการเต้นบนหัวเรือระหว่างแข่งขัน ในตำแหน่งที่เรียกว่า ตูกัง ตาริ (Tukang Tari) ชุดสีดำเรียบหรู และแว่นกันแดด เปรียบกับแดนเซอร์ ทำหน้าที่ปลุกพลังให้กับฝีพาย ซึ่งเขาทำหน้าที่นี้มาตั้งแต่อายุ 9 ขวบ แถมเพลงที่นำมาประกอบในครั้งนี้ก็เป็นเพลงฮิปฮอป “Young Black & Rich” ของศิลปินชาวอเมริกัน เมลลี ไมค์ (Melly Mike)
ท่าเต้นของดิกาแพร่กระจายไวอย่างรวดเร็วใน TikTok และ IG พร้อมเกิดกระแสที่เรียกว่า ออรา ฟาร์มมิ่ง (Aura Farming) หรือการเต้นเลียนแบบเพื่อเรียกความสนใจ โดยมีคนดังและสโมสรกีฬาร่วมเทรนด์ เช่น สโมสรฟุตบอลปารีส แซงต์ แชร์กแมง (PSG) ที่โพสต์วิดีโอเลียนแบบพร้อมข้อความว่า “กลิ่นอายได้แผ่ไปถึงปารีสแล้ว” ส่วนเอซี มิลาน เขียนแคปชันสุดฮาว่า “Aura Farming แม่นยำ 1899%” แถมยังมี ทราวิส เคลซ์ นักอเมริกันฟุตบอล แฟนหนุ่มของเทย์เลอร์ สวิฟต์ รวมถึงนักเตะไทย “เจ ชนาธิป สรงกระสินธ์” ก็เข้าร่วมกระแสนี้ด้วย
ล่าสุด เมลลี ไมค์ ประกาศว่าจะเดินทางมาร่วมงานเทศกาลปาคู จาลูร์ ในปีนี้ด้วยตนเอง ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-24 ส.ค. 2568 ขณะที่เด็กชายดิกาได้รับแต่งตั้งเป็นทูตวัฒนธรรมจังหวัดรีเยา และได้รับเชิญให้เดินทางพร้อมครอบครัวไปยังกรุงจาการ์ตา เพื่อเข้าพบรัฐมนตรีด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของอินโดนีเซีย รวมถึงออกรายการโทรทัศน์ และได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลอินโดนีเซีย ในฐานะที่ทำให้มรดกทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซียเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
เทศกาลปาคู จาลูร์ ถือเป็นหนึ่งในมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญของอินโดนีเซีย จัดขึ้นที่ริมแม่น้ำอินดรากิรี (Indragiri River) โดยมีการแข่งขันพายเรือจาลูร์ ที่สร้างจากไม้ทั้งท่อน ไม่มีข้อต่อ พร้อมการตกแต่งที่วิจิตรงดงาม ไฮไลต์ของเทศกาลคือการมีนักเต้นแสดงอยู่บนหัวเรือ สร้างสีสันและความตื่นตาตื่นใจให้ผู้ชม มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษชาวควนซิงในศตวรรษที่ 22 ต่อมาถูกพัฒนาให้เป็นกิจกรรมประเพณี เคยใช้เฉลิมฉลองวันสำคัญทางศาสนา และในสมัยอาณานิคมเนเธอร์แลนด์ก็เคยจัดเพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดของราชินีด้วย ปัจจุบันจัดต่อเนื่องทุกปี และดึงดูดผู้เข้าชมได้มากกว่า 1 ล้านคนต่อปี
#Newskit
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
5 มุมมอง
0 รีวิว