• สว.ยัวะ รุมจวก รบ.ไม่เห็นหัว เทตอบ 5 กระทู้ “ยุคล”ตั้งฉายา “นายกฯ นินจา” หนีสภา ด้าน “หมอเปรม” อาลัย “แพทองโพย” ไร้รับผิดชอบ แขวะใส่ชุดนอนตรวจทหาร หิ้วผัวใต้ออกงาน

    เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. มีการประชุมวุฒิสภา ช่วงวาระตั้งกระทู้ถามรัฐบาล โดยจะมีการกระทู้ถามถึง 6 กระทู้ ปรากฏว่ามีเพียงนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกฯ และรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มาชี้แจงกระทู้ถาม เรื่องการระงับคลื่นวิทยุของ กสทช. ของน.ส.นันทนา นันทวโรภาส เพียงกระทู้เดียว ส่วนที่เหลืออีก 5 กระทู้นั้น รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีกลับไม่มาชี้แจงแม้แต่คนเดียว

    นายยุคคล ชนะวัฒน์ปัญญา สว.กล่าวว่าการตั้งกระทู้ถามทั้ง 2 เรื่องของตนตั้งถามนายกฯ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งเรื่อง เอ็มโอยู 2544 ที่บังคับใช้ไม่ได้ทำไมถึงไม่ยกเลิก และกรณีเรื่องของว้าแดง อย่างไรก็ดีจากกรณีที่นายกฯ หนีตอบกระทู้ของวุฒิสภา ตนขอตั้งฉายาว่า นายกฯ นินจา อนิจจัง หนีตอบกระทู้ในสภาอย่างน่าสังเวช ทั้งนี้ตนจะสอบถามทุกสัปดาห์ว่านายกฯจะหนีอีกหรือไม่

    ด้าน นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สว.กล่าวว่า ไม่ว่านายกฯ ที่รับตำแหน่ง 100 วัน ที่ผ่านมานายกฯ แถลงผลงานเมื่อครบ 90 วัน ซึ่งไม่เคยมีรัฐบาลไหนแถลงนโยบายเมื่อทำงานได้ 90 วัน มีแต่ผลงานครบ 1 ปี ซึ่งการรีบแถลงผลงานเหมือนกับจะรีบไป ตนไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลจะเล่นตลกกับสว.แบบนี้ เพราะทำลายระบบการตรวจสอบสว.

    “ผมจะถามว่านายกฯ อายไหมถึงแต่งกายคล้ายชุดนอนมาเดินแถวเกียรติยศ บางงานเอาสามีมาด้วย และแต่งตัวไม่เข้าระบบการทำงานฐานะผู้นำประชาชน ซึ่งการตรวจแถวเกียรติยศ การทำงานของนายกฯ จะมาทำเล่นทำหัวไม่ได้ เอาลูกมาเดินเล่นในทำเนียบไม่ได้ จะบอกว่า แฟมิลี่เกิร์ลไม่ได้ เป็นคนละเรื่องกัน การตรวจสอบเป็นหน้าที่สว. แต่นายกฯไม่เคยให้เกียรติเลย ผมขอไว้อาลัยกับความไร้ความรับผิดชอบของนายกฯ” นพ.เปรมศักดิ์ อภิปราย

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000122892

    #MGROnline #สว #วุฒิสภา
    สว.ยัวะ รุมจวก รบ.ไม่เห็นหัว เทตอบ 5 กระทู้ “ยุคล”ตั้งฉายา “นายกฯ นินจา” หนีสภา ด้าน “หมอเปรม” อาลัย “แพทองโพย” ไร้รับผิดชอบ แขวะใส่ชุดนอนตรวจทหาร หิ้วผัวใต้ออกงาน • เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. มีการประชุมวุฒิสภา ช่วงวาระตั้งกระทู้ถามรัฐบาล โดยจะมีการกระทู้ถามถึง 6 กระทู้ ปรากฏว่ามีเพียงนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกฯ และรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มาชี้แจงกระทู้ถาม เรื่องการระงับคลื่นวิทยุของ กสทช. ของน.ส.นันทนา นันทวโรภาส เพียงกระทู้เดียว ส่วนที่เหลืออีก 5 กระทู้นั้น รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีกลับไม่มาชี้แจงแม้แต่คนเดียว • นายยุคคล ชนะวัฒน์ปัญญา สว.กล่าวว่าการตั้งกระทู้ถามทั้ง 2 เรื่องของตนตั้งถามนายกฯ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งเรื่อง เอ็มโอยู 2544 ที่บังคับใช้ไม่ได้ทำไมถึงไม่ยกเลิก และกรณีเรื่องของว้าแดง อย่างไรก็ดีจากกรณีที่นายกฯ หนีตอบกระทู้ของวุฒิสภา ตนขอตั้งฉายาว่า นายกฯ นินจา อนิจจัง หนีตอบกระทู้ในสภาอย่างน่าสังเวช ทั้งนี้ตนจะสอบถามทุกสัปดาห์ว่านายกฯจะหนีอีกหรือไม่ • ด้าน นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สว.กล่าวว่า ไม่ว่านายกฯ ที่รับตำแหน่ง 100 วัน ที่ผ่านมานายกฯ แถลงผลงานเมื่อครบ 90 วัน ซึ่งไม่เคยมีรัฐบาลไหนแถลงนโยบายเมื่อทำงานได้ 90 วัน มีแต่ผลงานครบ 1 ปี ซึ่งการรีบแถลงผลงานเหมือนกับจะรีบไป ตนไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลจะเล่นตลกกับสว.แบบนี้ เพราะทำลายระบบการตรวจสอบสว. • “ผมจะถามว่านายกฯ อายไหมถึงแต่งกายคล้ายชุดนอนมาเดินแถวเกียรติยศ บางงานเอาสามีมาด้วย และแต่งตัวไม่เข้าระบบการทำงานฐานะผู้นำประชาชน ซึ่งการตรวจแถวเกียรติยศ การทำงานของนายกฯ จะมาทำเล่นทำหัวไม่ได้ เอาลูกมาเดินเล่นในทำเนียบไม่ได้ จะบอกว่า แฟมิลี่เกิร์ลไม่ได้ เป็นคนละเรื่องกัน การตรวจสอบเป็นหน้าที่สว. แต่นายกฯไม่เคยให้เกียรติเลย ผมขอไว้อาลัยกับความไร้ความรับผิดชอบของนายกฯ” นพ.เปรมศักดิ์ อภิปราย • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9670000122892 • #MGROnline #สว #วุฒิสภา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 268 มุมมอง 0 รีวิว
  • สว.ยกมือพรึ่บ 153 เสียง ผ่าน พ.ร.บ.ประชามติ ฉบับกมธ.ร่วมฯ ยึดเสียงข้างมากสองชั้น “อังคนา” เชื่อ สส.ยึดหลักประชามติเสียงข้างมากชั้นเดียว แม้จะรอ 6 เดือน ขณะที่ “นันทนา”ซัดอย่าดัดจริต อย่าสองมาตรฐาน ที่ผ่านมาทั้งการเลือกตั้งระดับชาติและท้องถิ่นก็ใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว ด้าน “นอสตราดามุสแก้รธน.” ระบุ ร่างกม.ประชามติมีรูรั่ว สภาฯเสนอใช้แค่เสียงข้างมากชั้นเดียว ไม่ต้องยึดเกณฑ์ 2 ชั้น ฟันฉับ สสร.ไม่เกิด

    เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มี พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานการประชุม วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ที่คณะกรรมาธิการร่วมกัน พิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งมีมติเห็นชอบร่างแก้ไขของวุฒิสภา ที่แก้ไขด้วยเกณฑ์ผ่านประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้เกณฑ์ผ่าน 2 ชั้น คือต้องมีผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสัยงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ใช้เสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามติ

    นายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร สว.อภิปรายว่า การออกเสียงประชามติข้างมากชั้นเดียว เป็นที่นิยมในหลายประเทศ เพราะมีไม่กี่ประเทศที่ใช้กรออกเสียงประชามติ 2 ชั้นที่สร้างปัญหา มากกว่าข้อดี และรูปแบบรัฐเป็นสหพันธรัฐ เพื่อไม่ให้รัฐใหญ่ใช้พวกมาลากไป แต่ประเทศไทยเป็นรัฐเดียว จึงควรใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว พร้อมอ้างตัวอย่างการใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น เหมือนการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ 2560 ในปี 2559 ที่กฎหมายเดิมใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก2 ชั้น ก่อนมีการเปลี่ยนเป็นเสียงข้างมากชั้นเดียว เพราะเสียงข้างมาก 2 ชั้น ถูกรณรงค์ให้คว่ำง่ายมาก เมื่อ คสช.อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)ผ่าน ก็มีการแก้ไขกฎหมาย กลับมาใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000120989

    #MGROnline #พรบประชามติ #ประชุมวุฒิสภา
    สว.ยกมือพรึ่บ 153 เสียง ผ่าน พ.ร.บ.ประชามติ ฉบับกมธ.ร่วมฯ ยึดเสียงข้างมากสองชั้น “อังคนา” เชื่อ สส.ยึดหลักประชามติเสียงข้างมากชั้นเดียว แม้จะรอ 6 เดือน ขณะที่ “นันทนา”ซัดอย่าดัดจริต อย่าสองมาตรฐาน ที่ผ่านมาทั้งการเลือกตั้งระดับชาติและท้องถิ่นก็ใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว ด้าน “นอสตราดามุสแก้รธน.” ระบุ ร่างกม.ประชามติมีรูรั่ว สภาฯเสนอใช้แค่เสียงข้างมากชั้นเดียว ไม่ต้องยึดเกณฑ์ 2 ชั้น ฟันฉับ สสร.ไม่เกิด • เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มี พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานการประชุม วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ที่คณะกรรมาธิการร่วมกัน พิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งมีมติเห็นชอบร่างแก้ไขของวุฒิสภา ที่แก้ไขด้วยเกณฑ์ผ่านประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้เกณฑ์ผ่าน 2 ชั้น คือต้องมีผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสัยงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ใช้เสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามติ • นายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร สว.อภิปรายว่า การออกเสียงประชามติข้างมากชั้นเดียว เป็นที่นิยมในหลายประเทศ เพราะมีไม่กี่ประเทศที่ใช้กรออกเสียงประชามติ 2 ชั้นที่สร้างปัญหา มากกว่าข้อดี และรูปแบบรัฐเป็นสหพันธรัฐ เพื่อไม่ให้รัฐใหญ่ใช้พวกมาลากไป แต่ประเทศไทยเป็นรัฐเดียว จึงควรใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว พร้อมอ้างตัวอย่างการใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น เหมือนการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ 2560 ในปี 2559 ที่กฎหมายเดิมใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก2 ชั้น ก่อนมีการเปลี่ยนเป็นเสียงข้างมากชั้นเดียว เพราะเสียงข้างมาก 2 ชั้น ถูกรณรงค์ให้คว่ำง่ายมาก เมื่อ คสช.อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)ผ่าน ก็มีการแก้ไขกฎหมาย กลับมาใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9670000120989 • #MGROnline #พรบประชามติ #ประชุมวุฒิสภา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 294 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัฐบาลเร่งสอบเทวดาสคบ. ขีดเส้นขอเวลา 30 วัน พร้อมจัดการคนผิด
    .
    ท่ามกลางความสนใจของสังคมที่มีต่อกรณีของบริษัท ดิ ไอคอน กรุ๊ป จำกัด มีอีกเรื่องหนึ่งที่เกือบลืมไปแล้ว คือ กรณีของผู้บริหารระดับสูงในสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเรียกรับประโยชน์ หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า เทวดาสคบ. ปรากฎว่าในที่ประชุมวุฒิสภาได้มีการตั้งกระทู้สอบถามถึงความคืบหน้าเรื่องดังกล่าว โดยมีนางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มาเป็นผู้ตอบคำถาม
    .
    นายสุนทร พฤกษพิพัฒน์ ส.ว.ในฐานะผู้เสนอกระทู้ได้อภิปรายและสอบถามว่า ในกรณีดิไอคอน ล่าสุดนี้ มีคำว่าเทวดา ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นเทวดาตบทรัพย์หรืออย่างไร หรือเป็นซาตาน ผีปอบ สุดท้ายเราไม่รู้ว่าเทวดาจะหนีรอดอีกหรือไม่ มาจนถึงพระ หลอกลงทุนไปที่แชร์แครอท ต้องบอกว่าถึงเวลาที่จริงจังหรือยัง ทำอย่างไรไม่ให้เกิดเรื่องเหล่านี้ขึ้นมา ไม่ใช่ปล่อยให้เกิดขึ้นมาแล้วไปไล่จับ ทุกกรณีมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง มีคนมีศักดิ์มีศรีเข้าไปเกี่ยวข้อง รัฐบาลมีวิธีการจัดการอย่างไร เทวดามีจริงหรือไม่ และมีแนวทางการป้องกันก่อนเกิดเหตุอย่างไร
    .
    นางสาวจิราพร ชี้แจงว่า นายกฯ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง โดยได้มีข้อสั่งการถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน เพื่อช่วยเร่งสางปมคดีที่เกิดขึ้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ได้เปิดศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา เปิดให้ทุก สน.รับแจ้งข้อหา ได้ระดมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ช่วยร่วมสนับสนุนข้อมูลให้สอบสวนโดยเร็ว ส่วนเรื่องเทวดา สคบ.นั้น ยืนยันว่าไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยมีการเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่ามีกรณีนี้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ มีการปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ ได้เสนอเรื่องไปยังนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลอยู่ ซึ่งได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง
    .
    "ถ้าท่านดูไทม์ไลน์ จะเห็นว่าใช้ระยะเวลาไม่ถึง 1 อาทิตย์ ในการตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้ ซึ่งตามโครงสร้างของคณะกรรมการนี้จะเห็นได้ว่าเป็นคนนอกทั้งหมด เราไม่ได้ให้คนในตรวจกันเอง เราใช้กรรมการจากคนนอกที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะอาญาเข้ามาอยู่ในโครงสร้าง มีทั้งตัวแทน อัยการ ปปง. ดีเอสไอ ตร. เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมกับทุกฝ่ายมากที่สุด ระหว่างกรอบเวลาที่จะสืบหาข้อเท็จจริงนี้ 30 วัน และคณะกรรมการก็ประชุมทันที โดยคณะกรรมการชุดนี้ยังตั้งอนุกรรมการขึ้นมา 2 คณะ ได้แก่ คณะในการสืบหาข้อเท็จจริง และคณะที่ศึกษาปัญหาข้อจำกัดในการทำธุรกิจขายตรงหรือแบบตรง ซึ่งจะเข้ามาดูตั้งแต่ขั้นตอนการขอใบอนุญาต ข้อบังคับต่างๆ" นางสาวจิราพร กล่าว
    .......
    Sondhi X
    รัฐบาลเร่งสอบเทวดาสคบ. ขีดเส้นขอเวลา 30 วัน พร้อมจัดการคนผิด . ท่ามกลางความสนใจของสังคมที่มีต่อกรณีของบริษัท ดิ ไอคอน กรุ๊ป จำกัด มีอีกเรื่องหนึ่งที่เกือบลืมไปแล้ว คือ กรณีของผู้บริหารระดับสูงในสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเรียกรับประโยชน์ หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า เทวดาสคบ. ปรากฎว่าในที่ประชุมวุฒิสภาได้มีการตั้งกระทู้สอบถามถึงความคืบหน้าเรื่องดังกล่าว โดยมีนางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มาเป็นผู้ตอบคำถาม . นายสุนทร พฤกษพิพัฒน์ ส.ว.ในฐานะผู้เสนอกระทู้ได้อภิปรายและสอบถามว่า ในกรณีดิไอคอน ล่าสุดนี้ มีคำว่าเทวดา ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นเทวดาตบทรัพย์หรืออย่างไร หรือเป็นซาตาน ผีปอบ สุดท้ายเราไม่รู้ว่าเทวดาจะหนีรอดอีกหรือไม่ มาจนถึงพระ หลอกลงทุนไปที่แชร์แครอท ต้องบอกว่าถึงเวลาที่จริงจังหรือยัง ทำอย่างไรไม่ให้เกิดเรื่องเหล่านี้ขึ้นมา ไม่ใช่ปล่อยให้เกิดขึ้นมาแล้วไปไล่จับ ทุกกรณีมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง มีคนมีศักดิ์มีศรีเข้าไปเกี่ยวข้อง รัฐบาลมีวิธีการจัดการอย่างไร เทวดามีจริงหรือไม่ และมีแนวทางการป้องกันก่อนเกิดเหตุอย่างไร . นางสาวจิราพร ชี้แจงว่า นายกฯ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง โดยได้มีข้อสั่งการถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน เพื่อช่วยเร่งสางปมคดีที่เกิดขึ้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ได้เปิดศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา เปิดให้ทุก สน.รับแจ้งข้อหา ได้ระดมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ช่วยร่วมสนับสนุนข้อมูลให้สอบสวนโดยเร็ว ส่วนเรื่องเทวดา สคบ.นั้น ยืนยันว่าไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยมีการเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่ามีกรณีนี้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ มีการปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ ได้เสนอเรื่องไปยังนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลอยู่ ซึ่งได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง . "ถ้าท่านดูไทม์ไลน์ จะเห็นว่าใช้ระยะเวลาไม่ถึง 1 อาทิตย์ ในการตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้ ซึ่งตามโครงสร้างของคณะกรรมการนี้จะเห็นได้ว่าเป็นคนนอกทั้งหมด เราไม่ได้ให้คนในตรวจกันเอง เราใช้กรรมการจากคนนอกที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะอาญาเข้ามาอยู่ในโครงสร้าง มีทั้งตัวแทน อัยการ ปปง. ดีเอสไอ ตร. เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมกับทุกฝ่ายมากที่สุด ระหว่างกรอบเวลาที่จะสืบหาข้อเท็จจริงนี้ 30 วัน และคณะกรรมการก็ประชุมทันที โดยคณะกรรมการชุดนี้ยังตั้งอนุกรรมการขึ้นมา 2 คณะ ได้แก่ คณะในการสืบหาข้อเท็จจริง และคณะที่ศึกษาปัญหาข้อจำกัดในการทำธุรกิจขายตรงหรือแบบตรง ซึ่งจะเข้ามาดูตั้งแต่ขั้นตอนการขอใบอนุญาต ข้อบังคับต่างๆ" นางสาวจิราพร กล่าว ....... Sondhi X
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1178 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'วุฒิสภา' ยื้อประชามติ ดึงเกมแก้ รธน.รัฐบาลทำใจอาจใช้เวลา
    .
    การเดินเกมทางการเมืองของวุฒิสภาชุดนี้ภายใต้การนำของส.ว.สายสีน้ำเงินเริ่มมีความลึกลับและแหลมคมมากขึ้น ภายหลังคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ… มีมติแก้ไขเนื้อหาที่สำคัญ คือ การใช้ระบบเสียงข้างมากแบบสองชั้น กล่าวคือ กำหนดให้การทำประชามติเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องที่ทำประชามติ
    .
    โดยตามขั้นตอนเมื่อมีการแก้ไขแล้วจะต้องมีการพิจารณากันในที่ประชุมวุฒิสภาวันที่ 30 กันยายน ต่อไป โดยนำมาซึ่งเสียงวิจารณ์เป็นอย่างมากถึงการกำหนดรูปแบบการออกเสียงดังกล่าว อย่างนางอังคณา นีละไพจิตร สว. กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยตั้งแต่แรก เพราะการใช้เสียงข้างมากสองชั้นนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงที่ทุกคนเห็นร่วมกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความจำเป็นต้องแก้ไข แต่กลับมีคนเสนอมติดังกล่าว ทำให้สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น สว.มีอิสระจริงหรือไม่
    .
    “ยืนยันชัดเจนว่าดิฉันไม่อาจจะเห็นด้วยได้ เพราะการกลับมติที่เคยมี การไม่เห็นด้วยกับร่างสส. จะทำให้ร่างพ.ร.บ.ประชามติล่าช้า ไม่ทันการเลือกตั้ง อบจ.เดือนกุมภาพันธ์ ไม่ทันการแก้ไขรัฐธรรมนูญในรัฐบาลชุดนี้ที่แถลงไว้ชัดเจนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่หากตั้งแต่จุดเริ่มต้นคือพ.ร.บ.ประชามติไม่ผ่านก็จบ ถามว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร” นางอังคณา กล่าว
    .
    ไม่เว้นแม้แต่ฝ่ายรัฐบาลที่ก็มองว่าอาจต้องเพิ่มกระบวนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติเข้าไปอีก โดยนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ระบุว่า ส่วนตัวไม่ขอวิจารณ์การทำงานของส.ว. แต่หากที่สุดแล้วที่ประชุมส.ว.มีมติอะไรต่างจากร่างกฎหมายที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอ ก็ต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันทั้งสองสภา เพื่อให้ได้กฎหมายที่มีความเห็นร่วมของทั้งสองสภา อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้การดำเนินการอะไรในสภาฯ ต้องให้หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลคุยกันก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าจะเสนอกฎหมายอะไร อย่างไร เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากนั้นจึงนำเข้าสู่ที่ประชุมวิปรัฐบาลเพื่อเป็นมติ จะได้ไม่มีปัญหาอีก แต่ตนเชื่อว่าทุกอย่างจะจบได้ด้วยการเจรจา
    ............
    Sondhi X
    'วุฒิสภา' ยื้อประชามติ ดึงเกมแก้ รธน.รัฐบาลทำใจอาจใช้เวลา . การเดินเกมทางการเมืองของวุฒิสภาชุดนี้ภายใต้การนำของส.ว.สายสีน้ำเงินเริ่มมีความลึกลับและแหลมคมมากขึ้น ภายหลังคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ… มีมติแก้ไขเนื้อหาที่สำคัญ คือ การใช้ระบบเสียงข้างมากแบบสองชั้น กล่าวคือ กำหนดให้การทำประชามติเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องที่ทำประชามติ . โดยตามขั้นตอนเมื่อมีการแก้ไขแล้วจะต้องมีการพิจารณากันในที่ประชุมวุฒิสภาวันที่ 30 กันยายน ต่อไป โดยนำมาซึ่งเสียงวิจารณ์เป็นอย่างมากถึงการกำหนดรูปแบบการออกเสียงดังกล่าว อย่างนางอังคณา นีละไพจิตร สว. กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยตั้งแต่แรก เพราะการใช้เสียงข้างมากสองชั้นนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงที่ทุกคนเห็นร่วมกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความจำเป็นต้องแก้ไข แต่กลับมีคนเสนอมติดังกล่าว ทำให้สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น สว.มีอิสระจริงหรือไม่ . “ยืนยันชัดเจนว่าดิฉันไม่อาจจะเห็นด้วยได้ เพราะการกลับมติที่เคยมี การไม่เห็นด้วยกับร่างสส. จะทำให้ร่างพ.ร.บ.ประชามติล่าช้า ไม่ทันการเลือกตั้ง อบจ.เดือนกุมภาพันธ์ ไม่ทันการแก้ไขรัฐธรรมนูญในรัฐบาลชุดนี้ที่แถลงไว้ชัดเจนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่หากตั้งแต่จุดเริ่มต้นคือพ.ร.บ.ประชามติไม่ผ่านก็จบ ถามว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร” นางอังคณา กล่าว . ไม่เว้นแม้แต่ฝ่ายรัฐบาลที่ก็มองว่าอาจต้องเพิ่มกระบวนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติเข้าไปอีก โดยนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ระบุว่า ส่วนตัวไม่ขอวิจารณ์การทำงานของส.ว. แต่หากที่สุดแล้วที่ประชุมส.ว.มีมติอะไรต่างจากร่างกฎหมายที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอ ก็ต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันทั้งสองสภา เพื่อให้ได้กฎหมายที่มีความเห็นร่วมของทั้งสองสภา อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้การดำเนินการอะไรในสภาฯ ต้องให้หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลคุยกันก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าจะเสนอกฎหมายอะไร อย่างไร เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากนั้นจึงนำเข้าสู่ที่ประชุมวิปรัฐบาลเพื่อเป็นมติ จะได้ไม่มีปัญหาอีก แต่ตนเชื่อว่าทุกอย่างจะจบได้ด้วยการเจรจา ............ Sondhi X
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1167 มุมมอง 0 รีวิว