• ตึกถล่ม สร้างใหม่ได้ แต่ศรัทธา…อาจไม่กลับมาอีกแล้วผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินชี้แจงว่า “เก้าอี้ตัวละ 90,000 มีแค่ของประธาน” “เจ้าหน้าที่ทั่วไปนั่งตัวละหมื่น–สองหมื่น” เหมือนจะพยายามลบภาพฟุ่มเฟือย แต่ลบยังไง…ก็ไม่อาจลบคำถามจากสังคมได้ทำไมถึงกล้าใช้เงินภาษีซื้อของแพงขนาดนั้น? ทำไมองค์กรตรวจสอบถึงตั้งมาตรฐานที่ฟุ่มเฟือยได้ขนาดนี้?คำว่า “ทำตามระเบียบ” ไม่ใช่คำตอบ เพราะถ้ามาตรฐานมันแย่ หน้าที่ของคุณคือรื้อ ไม่ใช่ทำตามสังคมไม่ได้ต้องการคำอธิบายรายประเด็น ไม่ได้อยากฟังคำพูดที่เอาไว้ “ฟอกตัวเอง” แต่ต้องการเห็นผู้นำองค์กร กล้ายอมรับ กล้ารื้อระบบ และกล้าปรับวิธีคิดเพราะถ้าคนที่ทำหน้าที่ “ตรวจสอบ” ยังไม่รู้ว่าตัวเองทำผิดตรงไหน ก็อย่าหวังให้ใครเชื่อมั่นในระบบนี้อีกต่อไปตึกถล่ม…สร้างใหม่อาจได้อาคาร แต่ถ้ายังไม่ยอมรับความผิดพลาด สิ่งที่ไม่มีวันได้กลับมา คือศรัทธาของประชาชนเพราะตึกจะถล่มแค่ครั้งเดียว แต่ถ้าคำชี้แจงยังบิดเบือน ศรัทธาจะถล่มซ้ำ…ทุกครั้งที่คุณพูดอ่านบทความฉบับเต็มคลิก https://thepublisherth.com/16455-2/ #ThePublisherTH #สำนักข่าวออนไลน์เพื่อสังคม #ตึกถล่ม #ตึกสตงถล่ม #ตึกสตง #ศรัทธาประชาชน #คอร์รัปชัน #ไม่ได้มาตรฐาน - - - - - - - - - - - - - - - - - - ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ https://thepublisherth.com/https://thepublisherth.com/16455-2/?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR7-29B4KrD9FWsRztzOlQROrdsvd1pTW-mPdnhI7C99no7TIuAxRjo70xwQqQ_aem_Oxe2GqhVEHgQgjpokctUuQ
    ตึกถล่ม สร้างใหม่ได้ แต่ศรัทธา…อาจไม่กลับมาอีกแล้วผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินชี้แจงว่า “เก้าอี้ตัวละ 90,000 มีแค่ของประธาน” “เจ้าหน้าที่ทั่วไปนั่งตัวละหมื่น–สองหมื่น” เหมือนจะพยายามลบภาพฟุ่มเฟือย แต่ลบยังไง…ก็ไม่อาจลบคำถามจากสังคมได้ทำไมถึงกล้าใช้เงินภาษีซื้อของแพงขนาดนั้น? ทำไมองค์กรตรวจสอบถึงตั้งมาตรฐานที่ฟุ่มเฟือยได้ขนาดนี้?คำว่า “ทำตามระเบียบ” ไม่ใช่คำตอบ เพราะถ้ามาตรฐานมันแย่ หน้าที่ของคุณคือรื้อ ไม่ใช่ทำตามสังคมไม่ได้ต้องการคำอธิบายรายประเด็น ไม่ได้อยากฟังคำพูดที่เอาไว้ “ฟอกตัวเอง” แต่ต้องการเห็นผู้นำองค์กร กล้ายอมรับ กล้ารื้อระบบ และกล้าปรับวิธีคิดเพราะถ้าคนที่ทำหน้าที่ “ตรวจสอบ” ยังไม่รู้ว่าตัวเองทำผิดตรงไหน ก็อย่าหวังให้ใครเชื่อมั่นในระบบนี้อีกต่อไปตึกถล่ม…สร้างใหม่อาจได้อาคาร แต่ถ้ายังไม่ยอมรับความผิดพลาด สิ่งที่ไม่มีวันได้กลับมา คือศรัทธาของประชาชนเพราะตึกจะถล่มแค่ครั้งเดียว แต่ถ้าคำชี้แจงยังบิดเบือน ศรัทธาจะถล่มซ้ำ…ทุกครั้งที่คุณพูดอ่านบทความฉบับเต็มคลิก https://thepublisherth.com/16455-2/ #ThePublisherTH #สำนักข่าวออนไลน์เพื่อสังคม #ตึกถล่ม #ตึกสตงถล่ม #ตึกสตง #ศรัทธาประชาชน #คอร์รัปชัน #ไม่ได้มาตรฐาน - - - - - - - - - - - - - - - - - - ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ https://thepublisherth.com/https://thepublisherth.com/16455-2/?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR7-29B4KrD9FWsRztzOlQROrdsvd1pTW-mPdnhI7C99no7TIuAxRjo70xwQqQ_aem_Oxe2GqhVEHgQgjpokctUuQ
    THEPUBLISHERTH.COM
    ศรัทธาถล่มแรงกว่าตึก : ชำแหละวิธีคิด ผู้ว่า สตง. ความวิบัติขององค์กรต้นแบบวินัยการคลัง
    “เงินแผ่นดินนั้นคือเงินของประชาชนทั้งชาติ” — คำขวัญนี้ปรากฏอยู่ในตราสัญลักษณ์ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)แต่คำชี้แจงของผู้ว่าสตง. และบรรยากาศภายในองค์กรหลัง “ตึกถล่ม–เฟอร์นิเจอร์ราคาแพง” กลับสะท้อนสิ่งตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง คนทั้งสังคมเริ่มตั้งคำถามดังขึ้นเรื่อย ๆ ว่า “ผู้บริหาร สตง. เข้าใจคำขวัญนี้จริงหรือไม่?”————-คำชี้แจงที่บอกเราว่า “ผู้ตรวจสอบยังไม่เข้าใจปัญหา” เมื่อ มณเฑียร เจริญผล ผู้ว่าสตง. ออกมาชี้แจงกรณีถูกวิจารณ์ว่าใช้งบจัดซื้อครุภัณฑ์แพงเกินความจำเป็น เช่น เก้าอี้ตัวละ 90,000 บาท ด้วยน้ำเสียงที่คล้ายโต้ตอบความเข้าใจผิดทางเทคนิค — แทนที่จะยอมรับว่าปัญหาอยู่ที่ “วิธีคิด” — มันยิ่งตอกย้ำว่าสำนักงานนี้ไม่เข้าใจเลยว่าความเชื่อมั่นของประชาชนกำลังถล่มทลาย คำชี้แจงว่า “เก้าอี้ราคาแพงมีเพียงชุดประธาน” ไม่ได้ช่วยลบข้อสงสัย เพราะคำถามจริง ๆ คือ—ทำไมถึงกล้าใช้เงินภาษีซื้อของหรูขนาดนั้น? ในวันที่คนทั้งประเทศยังยากลำบาก…แต่คนทำหน้าที่ตรวจสอบเงินแผ่นดินกลับใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย นี่คือประเด็น…ที่น่าแปลกใจว่าจนถึงขณะนี้ผู้บริหารสตง.ยังตีโจทย์ความโกรธของสังคมไม่แตก! คำชี้แจงว่า “เจ้าหน้าที่มีเก้าอี้ราคาแค่ 1-2 หมื่น” ตั้งราคาครุภัณฑ์ตามสถานะ ก็ยิ่งดูแย่ เพราะมันยิ่งเกิดคำถามว่า—-ทำไมถึงกล้าตั้งมาตรฐานที่สิ้นเปลืองตั้งแต่ต้น? ระบบคิดที่สะท้อนว่าคุณไม่เคยตรวจตัวเอง เมื่อสตง.บอกว่าสิ่งที่ทำเป็นไปตามระเบียบราชการแต่เคยย้อนดูสำนึกในฐานะ “ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน” ไหม?ว่าใช้จ่ายแบบนี้มัน “คุ้มค่า” กับเงินประชาชนหรือเปล่า? คุณกล้าชี้นิ้วคนอื่นว่าใช้เงินแผ่นดินอย่างไม่เหมาะสมแต่ในวันที่คุณเป็นผู้ใช้งบเอง…กลับใช้ตรรกะเดียวกับที่คุณตำหนิคนอื่นที่สังคมเขาโกรธคือ…ไม่ละอายเลยหรือ? นี่ไม่ใช่เรื่องเก้าอี้แพง แต่คือคำถามต่อคุณธรรมในการใช้อำนาจงบประมาณ และเมื่อองค์กรตรวจสอบกลับไม่สะท้อนสำนึกนี้ออกมาในคำแถลงมันจึงไม่ใช่แค่ความผิดพลาดทางการจัดซื้อ —
    Like
    Angry
    3
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 342 มุมมอง 0 รีวิว
  • สนธิเล่าเรื่อง 9-4-68
    .
    สวัสดีวันพุธ รายการวันนี้เป็นเมดเลย์ระหว่าง 2 สำคัญในประเทศไทย และในโลก ณ เวลานี้ คือ สาเหตุที่แท้จริงของการถล่ม "ตึก สตง. ถล่ม" หลังจากแผ่นดินไหวใหญ่เมื่อวันศกุร์ที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา และอีกเรื่องคือ สงครามภาษี-สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับ จีน หลังนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพิ่งประกาศขยับภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 105% ... จะเข้มข้นขนาดไหนไปติดตามกัน
    .
    คลิกชม >> https://www.youtube.com/watch?v=5byvvkDMnJk
    .
    #สนธิเล่าเรื่อง #SondhiTalk #ตึกสตงถล่ม #สงครามการค้า
    สนธิเล่าเรื่อง 9-4-68 . สวัสดีวันพุธ รายการวันนี้เป็นเมดเลย์ระหว่าง 2 สำคัญในประเทศไทย และในโลก ณ เวลานี้ คือ สาเหตุที่แท้จริงของการถล่ม "ตึก สตง. ถล่ม" หลังจากแผ่นดินไหวใหญ่เมื่อวันศกุร์ที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา และอีกเรื่องคือ สงครามภาษี-สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับ จีน หลังนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพิ่งประกาศขยับภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 105% ... จะเข้มข้นขนาดไหนไปติดตามกัน . คลิกชม >> https://www.youtube.com/watch?v=5byvvkDMnJk . #สนธิเล่าเรื่อง #SondhiTalk #ตึกสตงถล่ม #สงครามการค้า
    Love
    Like
    4
    3 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 389 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมื่อเสียงสมน้ำหน้า เคล้าก่นด่า ดังกว่า... ตึก สตง. ถล่ม! วิกฤตศรัทธาหน่วยตรวจ ลืมสำรวจตัวเอง? ไม่ใช่แค่ตึกที่พัง แต่ความเชื่อมั่น ในกระบวนการของภาครัฐเอง ก็สั่นสะเทือนไปทั่วประเทศ 😓

    🏢 เหตุการณ์ถล่ม ของตึกเดียวในประเทศไทย จากแผ่นดินไหว จุดชนวนคำถามถึงความโปร่งใส ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ และทำให้หน่วยงาน “ผู้ตรวจ” กลายเป็น “ผู้ถูกตรวจสอบ” เสียเอง

    🔎 เมื่อคำถามไม่ได้มีแค่ “ทำไมตึกถล่ม” แต่เป็น “ใครจะรับผิดชอบ?” 28 มีนาคม 2568 เวลา 14.37 น. กรุงเทพฯ สะเทือนจากแรงแผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูด ศูนย์กลางที่เมียนมา 🌏 ในขณะที่อาคารสูงทั่วกรุงเทพฯ แกว่งไกวเล็กน้อยเพียงชั่วครู่ แต่กลับมีตึกหนึ่งที่ “พังลงทั้งหลัง” 😱 ตึกแห่งนั้นคือ อาคารสำนักงานแห่งใหม่ของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

    เสียงระเบิดของโครงสร้างถล่มลงมา เสียงผู้รอดชีวิตร้องขอความช่วยเหลือ... และเสียง “ประชาชน” ที่เริ่มตั้งคำถามดังยิ่งกว่าเสียงไหน ๆ

    ทำไมตึกเดียวในไทยถึงถล่มทั้งหลัง?

    สตง. ไม่ตรวจสอบโครงการของตนเองหรือ?

    หรือระบบรัฐไทยล้มเหลวในระดับโครงสร้าง... ทั้งจริง ๆ และเชิงเปรียบเทียบ?

    📘 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หรือ Office of the Auditor General of Thailand คือหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ 🇹🇭 มีภารกิจสำคัญในการตรวจสอบ การใช้เงินของภาครัฐให้ถูกต้อง โปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

    📌 ภารกิจหลักของ สตง.
    1. ตรวจสอบงบประมาณหน่วยงานรัฐ (Financial Audit)
    2. ตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย (Compliance Audit)
    3. ตรวจสอบประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Performance Audit)

    นอกจากบทบาทในการตรวจสอบ สตง. ยังเสนอแนะการบริหาร และใช้จ่ายงบประมาณ พร้อมจัดทำรายงานประจำปีต่อรัฐสภา และประชาชนผ่านเว็บไซต์ www.audit.go.th เพื่อให้เกิด “ธรรมาภิบาล” ที่แท้จริง

    สตง. ทำหน้าที่เป็น “ผู้ตรวจสอบความโปร่งใสของรัฐ” แต่เมื่อสำนักงานของตัวเองถล่ม... ใครจะตรวจสอบ “ผู้ตรวจสอบ”?

    🧱 โครงการตึกใหม่ สตง. ต้นทุน 2,560 ล้านบาท แลกกับภาพลักษณ์องค์กร

    🏗️ ข้อมูลโครงการ
    สร้างที่:ถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

    ขนาดอาคาร 30 ชั้น บนพื้นที่ 11 ไร่

    งบประมาณรวม 2,560 ล้านบาท

    ผู้รับเหมาคือ กิจการร่วมค้า ITD-CREC เป็นบริษัทร่วมลงทุนระหว่างบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) และบริษัทไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด

    บริษัทควบคุมงานคือ กิจการร่วมค้าพีเคดับเบิลยู (PKW) ที่ร่วมทุนระหว่างบริษัทพี เอ็น ซิงค์โครไนซ์ จํากัด, บริษัท ว.และ สหาย คอนซัลแตนตส์ จํากัด และบริษัท เคพี คอนซัลแทนส์ แอนด์ แมเนจเม้น จํากัด

    การก่อสร้างเริ่มตั้งแต่ปี 2563 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2569 โดยตั้งเป้าเป็นอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รองรับการขยายตัวขององค์กรในอนาคต 🌱

    แต่ในวันที่ 28 มีนาคม 2568 หลังจากสร้างมาได้เพียง 30%... ตึกก็ถล่มทั้งหลัง 😰

    💣 สาเหตุ? อุบัติเหตุ? หรือสะท้อนปัญหาลึกของระบบ?

    📍 แรงแผ่นดินไหว หรือโครงสร้างอ่อนแอ? แม้แผ่นดินไหวขนาด 8.2 จะถือว่ารุนแรง แต่บริเวณกรุงเทพฯ โดยเฉพาะจตุจักร ได้รับแรงสั่นสะเทือนประมาณ 5.1 เท่านั้น ซึ่งถือว่า ไม่แรงพอที่จะทำให้อาคารพังราบทั้งหลัง ตามมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง

    แล้วอะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาคารพัง?

    วัสดุก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน? 🧱

    โครงสร้างไม่รองรับแรงสั่น?

    ขั้นตอนตรวจสอบขาดความรัดกุม?

    จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า เหล็กเส้นที่ใช้ในอาคารส่วนใหญ่ มาจากบริษัทต่างชาติ ที่ถูกสั่งปิดโรงงานในปลายปี 2567 เนื่องจากไม่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย ‼️

    🧪 ตรวจสอบวัสดุจริง กับข้อเท็จจริงที่น่าหวั่นใจ กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ สวทช. และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ได้เข้าตรวจสอบเหล็กเส้น จากสถานที่เกิดเหตุ พบว่า เหล็ก 5 จาก 6 ประเภท มาจากโรงงานเดียวกัน โรงงานนี้เคยมีประวัติการระเบิด และเครนหล่น อีกทั้งยังเคยถูกสั่งปิดชั่วคราว จากเหตุผลด้านความปลอดภัย

    ❗ คำถามคือ เหล็กจากแหล่งที่ไม่มีคุณภาพเหล่านี้ ผ่านการอนุมัติเข้าโครงการระดับพันล้าน ได้อย่างไร?

    🧠 เมื่อ “ผู้ตรวจ” ลืม “ตรวจสอบตัวเอง”? กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐไทย แม้จะมีกฎหมายและระเบียบที่รัดกุม แต่ในทางปฏิบัติ กลับพบว่า…

    การประมูลมักให้น้ำหนักกับ “ราคาถูก” มากกว่าคุณภาพ ผู้รับเหมาจึงใช้วัสดุราคาต่ำกว่ามาตรฐาน การกำกับดูแลไม่ทั่วถึง เพราะผู้ควบคุมโครงการ ก็อยู่ภายใต้งบจำกัด

    น่าเจ็บปวดที่เหตุการณ์นี้เกิดกับ “สตง.” ผู้ที่ควรจะเป็นต้นแบบของความโปร่งใส

    ⚖️ การเมืองในองค์กรอิสระ: อิสระจริง หรือเลือกกันเอง? โครงสร้าง คตง. และการสรรหา คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) มาจากการสรรหาโดย ส.ว. ปัจจุบันผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ได้รับการแต่งตั้งโดย ส.ว. ชุดพิเศษ การแต่งตั้งกรรมการหลายคน มีข้อครหาว่าไม่โปร่งใส และถูกฟ้องต่อศาลปกครอง

    ⛔ จุดนี้เองที่ทำให้ประชาชนเริ่มตั้งคำถามถึง “อิสรภาพ” ขององค์กรที่ควรเป็นอิสระจากการเมือง

    📣 กระแสโซเชียล & ประชาชน “เสียงสมน้ำหน้า” ดังยิ่งกว่าความเศร้า ในขณะที่ครอบครัวผู้เสียชีวิต ยังรอการกู้ร่างในซากตึก โลกออนไลน์กลับเต็มไปด้วยเสียงแดกดัน เช่น

    “ผู้ตรวจ ลืมตรวจตึกตัวเอง”

    “สมน้ำหน้าที่พังเพราะไม่โปร่งใส”

    “เงินภาษีคนไทยพังลงต่อหน้า”

    คำพูดเหล่านี้อาจดูโหดร้าย แต่ก็สะท้อนความรู้สึกของคนจำนวนมาก ที่รู้สึกว่า “แม้แต่หน่วยงานตรวจสอบ ก็ยังไม่รอดจากระบบที่พัง”

    📉 วิกฤตศรัทธา & บทเรียนราคาแพง สิ่งที่สูญเสียไม่ใช่แค่งบประมาณ หรือชีวิต… แต่คือ ความเชื่อมั่นต่อระบบรัฐ

    🚨 บทเรียนสำคัญที่รัฐต้องรับให้ได้ การคัดเลือกผู้รับเหมา ควรมีระบบที่ยึด “คุณภาพ” เป็นหลัก ต้องมีการตรวจสอบหลายชั้น โดยอิสระจริง ๆ ปฏิรูประบบจัดซื้อจัดจ้าง ให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพิ่มบทลงโทษกรณีวัสดุหรือผู้รับเหมาไม่ได้มาตรฐาน

    📌 จากตึกถล่ม สู่การตรวจสอบศรัทธาประชาชน เหตุการณ์ตึก สตง. ถล่ม อาจเป็นจุดเปลี่ยนที่เจ็บปวดของประเทศไทย 🕯️ แต่ในขณะเดียวกัน... นี่อาจเป็นโอกาสในการทบทวนระบบราชการ และการบริหารงบประมาณของรัฐอย่างแท้จริง

    อย่าให้เสียง “สมน้ำหน้า” ดังกลบเสียงของผู้เสียชีวิต อย่าให้ตึกที่พัง เป็นเพียงข่าวแค่ไม่กี่วัน แต่ให้มันเป็นบทเรียนที่สร้าง “การเปลี่ยนแปลง”

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 021119 เม.ย. 2568

    📢#ตึกสตงถล่ม #ผู้ตรวจถูกตรวจ #แผ่นดินไหว2568 #ข่าวด่วน #เหล็กไม่ได้มาตรฐาน #สตงคือใคร #ความโปร่งใสภาครัฐ #อาคารถล่มกรุงเทพ #ITDCREC #ข่าวไทย
    เมื่อเสียงสมน้ำหน้า เคล้าก่นด่า ดังกว่า... ตึก สตง. ถล่ม! วิกฤตศรัทธาหน่วยตรวจ ลืมสำรวจตัวเอง? ไม่ใช่แค่ตึกที่พัง แต่ความเชื่อมั่น ในกระบวนการของภาครัฐเอง ก็สั่นสะเทือนไปทั่วประเทศ 😓 🏢 เหตุการณ์ถล่ม ของตึกเดียวในประเทศไทย จากแผ่นดินไหว จุดชนวนคำถามถึงความโปร่งใส ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ และทำให้หน่วยงาน “ผู้ตรวจ” กลายเป็น “ผู้ถูกตรวจสอบ” เสียเอง 🔎 เมื่อคำถามไม่ได้มีแค่ “ทำไมตึกถล่ม” แต่เป็น “ใครจะรับผิดชอบ?” 28 มีนาคม 2568 เวลา 14.37 น. กรุงเทพฯ สะเทือนจากแรงแผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูด ศูนย์กลางที่เมียนมา 🌏 ในขณะที่อาคารสูงทั่วกรุงเทพฯ แกว่งไกวเล็กน้อยเพียงชั่วครู่ แต่กลับมีตึกหนึ่งที่ “พังลงทั้งหลัง” 😱 ตึกแห่งนั้นคือ อาคารสำนักงานแห่งใหม่ของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เสียงระเบิดของโครงสร้างถล่มลงมา เสียงผู้รอดชีวิตร้องขอความช่วยเหลือ... และเสียง “ประชาชน” ที่เริ่มตั้งคำถามดังยิ่งกว่าเสียงไหน ๆ ทำไมตึกเดียวในไทยถึงถล่มทั้งหลัง? สตง. ไม่ตรวจสอบโครงการของตนเองหรือ? หรือระบบรัฐไทยล้มเหลวในระดับโครงสร้าง... ทั้งจริง ๆ และเชิงเปรียบเทียบ? 📘 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หรือ Office of the Auditor General of Thailand คือหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ 🇹🇭 มีภารกิจสำคัญในการตรวจสอบ การใช้เงินของภาครัฐให้ถูกต้อง โปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน 📌 ภารกิจหลักของ สตง. 1. ตรวจสอบงบประมาณหน่วยงานรัฐ (Financial Audit) 2. ตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย (Compliance Audit) 3. ตรวจสอบประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Performance Audit) นอกจากบทบาทในการตรวจสอบ สตง. ยังเสนอแนะการบริหาร และใช้จ่ายงบประมาณ พร้อมจัดทำรายงานประจำปีต่อรัฐสภา และประชาชนผ่านเว็บไซต์ www.audit.go.th เพื่อให้เกิด “ธรรมาภิบาล” ที่แท้จริง สตง. ทำหน้าที่เป็น “ผู้ตรวจสอบความโปร่งใสของรัฐ” แต่เมื่อสำนักงานของตัวเองถล่ม... ใครจะตรวจสอบ “ผู้ตรวจสอบ”? 🧱 โครงการตึกใหม่ สตง. ต้นทุน 2,560 ล้านบาท แลกกับภาพลักษณ์องค์กร 🏗️ ข้อมูลโครงการ สร้างที่:ถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ขนาดอาคาร 30 ชั้น บนพื้นที่ 11 ไร่ งบประมาณรวม 2,560 ล้านบาท ผู้รับเหมาคือ กิจการร่วมค้า ITD-CREC เป็นบริษัทร่วมลงทุนระหว่างบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) และบริษัทไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทควบคุมงานคือ กิจการร่วมค้าพีเคดับเบิลยู (PKW) ที่ร่วมทุนระหว่างบริษัทพี เอ็น ซิงค์โครไนซ์ จํากัด, บริษัท ว.และ สหาย คอนซัลแตนตส์ จํากัด และบริษัท เคพี คอนซัลแทนส์ แอนด์ แมเนจเม้น จํากัด การก่อสร้างเริ่มตั้งแต่ปี 2563 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2569 โดยตั้งเป้าเป็นอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รองรับการขยายตัวขององค์กรในอนาคต 🌱 แต่ในวันที่ 28 มีนาคม 2568 หลังจากสร้างมาได้เพียง 30%... ตึกก็ถล่มทั้งหลัง 😰 💣 สาเหตุ? อุบัติเหตุ? หรือสะท้อนปัญหาลึกของระบบ? 📍 แรงแผ่นดินไหว หรือโครงสร้างอ่อนแอ? แม้แผ่นดินไหวขนาด 8.2 จะถือว่ารุนแรง แต่บริเวณกรุงเทพฯ โดยเฉพาะจตุจักร ได้รับแรงสั่นสะเทือนประมาณ 5.1 เท่านั้น ซึ่งถือว่า ไม่แรงพอที่จะทำให้อาคารพังราบทั้งหลัง ตามมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง แล้วอะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาคารพัง? วัสดุก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน? 🧱 โครงสร้างไม่รองรับแรงสั่น? ขั้นตอนตรวจสอบขาดความรัดกุม? จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า เหล็กเส้นที่ใช้ในอาคารส่วนใหญ่ มาจากบริษัทต่างชาติ ที่ถูกสั่งปิดโรงงานในปลายปี 2567 เนื่องจากไม่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย ‼️ 🧪 ตรวจสอบวัสดุจริง กับข้อเท็จจริงที่น่าหวั่นใจ กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ สวทช. และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ได้เข้าตรวจสอบเหล็กเส้น จากสถานที่เกิดเหตุ พบว่า เหล็ก 5 จาก 6 ประเภท มาจากโรงงานเดียวกัน โรงงานนี้เคยมีประวัติการระเบิด และเครนหล่น อีกทั้งยังเคยถูกสั่งปิดชั่วคราว จากเหตุผลด้านความปลอดภัย ❗ คำถามคือ เหล็กจากแหล่งที่ไม่มีคุณภาพเหล่านี้ ผ่านการอนุมัติเข้าโครงการระดับพันล้าน ได้อย่างไร? 🧠 เมื่อ “ผู้ตรวจ” ลืม “ตรวจสอบตัวเอง”? กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐไทย แม้จะมีกฎหมายและระเบียบที่รัดกุม แต่ในทางปฏิบัติ กลับพบว่า… การประมูลมักให้น้ำหนักกับ “ราคาถูก” มากกว่าคุณภาพ ผู้รับเหมาจึงใช้วัสดุราคาต่ำกว่ามาตรฐาน การกำกับดูแลไม่ทั่วถึง เพราะผู้ควบคุมโครงการ ก็อยู่ภายใต้งบจำกัด น่าเจ็บปวดที่เหตุการณ์นี้เกิดกับ “สตง.” ผู้ที่ควรจะเป็นต้นแบบของความโปร่งใส ⚖️ การเมืองในองค์กรอิสระ: อิสระจริง หรือเลือกกันเอง? โครงสร้าง คตง. และการสรรหา คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) มาจากการสรรหาโดย ส.ว. ปัจจุบันผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ได้รับการแต่งตั้งโดย ส.ว. ชุดพิเศษ การแต่งตั้งกรรมการหลายคน มีข้อครหาว่าไม่โปร่งใส และถูกฟ้องต่อศาลปกครอง ⛔ จุดนี้เองที่ทำให้ประชาชนเริ่มตั้งคำถามถึง “อิสรภาพ” ขององค์กรที่ควรเป็นอิสระจากการเมือง 📣 กระแสโซเชียล & ประชาชน “เสียงสมน้ำหน้า” ดังยิ่งกว่าความเศร้า ในขณะที่ครอบครัวผู้เสียชีวิต ยังรอการกู้ร่างในซากตึก โลกออนไลน์กลับเต็มไปด้วยเสียงแดกดัน เช่น “ผู้ตรวจ ลืมตรวจตึกตัวเอง” “สมน้ำหน้าที่พังเพราะไม่โปร่งใส” “เงินภาษีคนไทยพังลงต่อหน้า” คำพูดเหล่านี้อาจดูโหดร้าย แต่ก็สะท้อนความรู้สึกของคนจำนวนมาก ที่รู้สึกว่า “แม้แต่หน่วยงานตรวจสอบ ก็ยังไม่รอดจากระบบที่พัง” 📉 วิกฤตศรัทธา & บทเรียนราคาแพง สิ่งที่สูญเสียไม่ใช่แค่งบประมาณ หรือชีวิต… แต่คือ ความเชื่อมั่นต่อระบบรัฐ 🚨 บทเรียนสำคัญที่รัฐต้องรับให้ได้ การคัดเลือกผู้รับเหมา ควรมีระบบที่ยึด “คุณภาพ” เป็นหลัก ต้องมีการตรวจสอบหลายชั้น โดยอิสระจริง ๆ ปฏิรูประบบจัดซื้อจัดจ้าง ให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพิ่มบทลงโทษกรณีวัสดุหรือผู้รับเหมาไม่ได้มาตรฐาน 📌 จากตึกถล่ม สู่การตรวจสอบศรัทธาประชาชน เหตุการณ์ตึก สตง. ถล่ม อาจเป็นจุดเปลี่ยนที่เจ็บปวดของประเทศไทย 🕯️ แต่ในขณะเดียวกัน... นี่อาจเป็นโอกาสในการทบทวนระบบราชการ และการบริหารงบประมาณของรัฐอย่างแท้จริง อย่าให้เสียง “สมน้ำหน้า” ดังกลบเสียงของผู้เสียชีวิต อย่าให้ตึกที่พัง เป็นเพียงข่าวแค่ไม่กี่วัน แต่ให้มันเป็นบทเรียนที่สร้าง “การเปลี่ยนแปลง” ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 021119 เม.ย. 2568 📢#ตึกสตงถล่ม #ผู้ตรวจถูกตรวจ #แผ่นดินไหว2568 #ข่าวด่วน #เหล็กไม่ได้มาตรฐาน #สตงคือใคร #ความโปร่งใสภาครัฐ #อาคารถล่มกรุงเทพ #ITDCREC #ข่าวไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 926 มุมมอง 0 รีวิว
  • สนธิเล่าเรื่อง 2-4-68
    คุณสนธิจะออกมาชำแหละหลายๆ ประเด็นเกี่ยวกับ "ตึก สตง. ถล่ม" ไม่ว่าจะเป็นตัว สตง. เองเจ้าของตึก, กรุงเทพมหานคร, รัฐบาลนำโดย "อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร" และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ที่มีผู้นำองค์กร ชื่อนายอนุทิน ชาญวีรกูล
    https://www.youtube.com/watch?v=k3czsjbPnKs

    #สนธิเล่าเรื่อง #SondhiTalk #ตึกสตงถล่ม #แผ่นดินไหว
    สนธิเล่าเรื่อง 2-4-68 คุณสนธิจะออกมาชำแหละหลายๆ ประเด็นเกี่ยวกับ "ตึก สตง. ถล่ม" ไม่ว่าจะเป็นตัว สตง. เองเจ้าของตึก, กรุงเทพมหานคร, รัฐบาลนำโดย "อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร" และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ที่มีผู้นำองค์กร ชื่อนายอนุทิน ชาญวีรกูล https://www.youtube.com/watch?v=k3czsjbPnKs #สนธิเล่าเรื่อง #SondhiTalk #ตึกสตงถล่ม #แผ่นดินไหว
    Like
    Love
    Sad
    30
    4 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 3283 มุมมอง 2 รีวิว
  • สนธิเล่าเรื่อง 2-4-68
    .
    เช้าวันพุธ คุณสนธิจะออกมาชำแหละหลายๆ ประเด็นเกี่ยวกับ "ตึก สตง. ถล่ม" จากเหตุแผ่นดินไหวใหญ่ที่พม่า และกระทบถึงประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นตัว สตง. เองเจ้าของตึก, กรุงเทพมหานคร, รัฐบาลนำโดย "อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร" และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ที่มีผู้นำองค์กร ชื่อนายอนุทิน ชาญวีรกูล
    .
    คลิกชม >> https://www.youtube.com/watch?v=k3czsjbPnKs
    .
    #สนธิเล่าเรื่อง #SondhiTalk #ตึกสตงถล่ม #แผ่นดินไหว
    สนธิเล่าเรื่อง 2-4-68 . เช้าวันพุธ คุณสนธิจะออกมาชำแหละหลายๆ ประเด็นเกี่ยวกับ "ตึก สตง. ถล่ม" จากเหตุแผ่นดินไหวใหญ่ที่พม่า และกระทบถึงประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นตัว สตง. เองเจ้าของตึก, กรุงเทพมหานคร, รัฐบาลนำโดย "อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร" และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ที่มีผู้นำองค์กร ชื่อนายอนุทิน ชาญวีรกูล . คลิกชม >> https://www.youtube.com/watch?v=k3czsjbPnKs . #สนธิเล่าเรื่อง #SondhiTalk #ตึกสตงถล่ม #แผ่นดินไหว
    Like
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 554 มุมมอง 1 รีวิว
  • สนธิเล่าเรื่อง 31-3-68
    วันนี้จัดให้เต็ม ๆ เรื่อง "แผ่นดินไหวครั้งประวัติศาสตร์" และกรณีตึก สตง. มูลค่า 2,100 กว่าล้านที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างเกิดถล่ม ปัญหาอยู่ที่ไหน และเราจะจัดการเรื่องนี้ แก้ไขปัญหาความด้อยคุณภาพในการก่อสร้างอย่างไร ติดตามโดยพลัน
    https://www.youtube.com/watch?v=CdiIGEZZJ_4

    #SondhiTalk #สนธิเล่าเรื่อง #แผ่นดินไหว #ตึกสตงถล่ม
    สนธิเล่าเรื่อง 31-3-68 วันนี้จัดให้เต็ม ๆ เรื่อง "แผ่นดินไหวครั้งประวัติศาสตร์" และกรณีตึก สตง. มูลค่า 2,100 กว่าล้านที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างเกิดถล่ม ปัญหาอยู่ที่ไหน และเราจะจัดการเรื่องนี้ แก้ไขปัญหาความด้อยคุณภาพในการก่อสร้างอย่างไร ติดตามโดยพลัน https://www.youtube.com/watch?v=CdiIGEZZJ_4 #SondhiTalk #สนธิเล่าเรื่อง #แผ่นดินไหว #ตึกสตงถล่ม
    Like
    Love
    Angry
    Sad
    32
    1 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 2768 มุมมอง 1 รีวิว
  • สนธิเล่าเรื่อง 31-3-68
    .
    สวัสดีเช้าวันจันทร์ วันนี้จัดให้เต็ม ๆ เรื่อง "แผ่นดินไหวครั้งประวัติศาสตร์" ที่กระทบถึงประเทศไทย และกรณีตึก สตง. มูลค่า 2,100 กว่าล้านที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างเกิดถล่ม ปัญหาอยู่ที่ไหน และเราจะจัดการเรื่องนี้ แก้ไขปัญหาความด้อยคุณภาพในการก่อสร้างอย่างไร ติดตามโดยพลัน
    .
    คลิกชม >> https://www.youtube.com/watch?v=CdiIGEZZJ_4
    .
    #SondhiTalk #สนธิเล่าเรื่อง #แผ่นดินไหว #ตึกสตงถล่ม
    สนธิเล่าเรื่อง 31-3-68 . สวัสดีเช้าวันจันทร์ วันนี้จัดให้เต็ม ๆ เรื่อง "แผ่นดินไหวครั้งประวัติศาสตร์" ที่กระทบถึงประเทศไทย และกรณีตึก สตง. มูลค่า 2,100 กว่าล้านที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างเกิดถล่ม ปัญหาอยู่ที่ไหน และเราจะจัดการเรื่องนี้ แก้ไขปัญหาความด้อยคุณภาพในการก่อสร้างอย่างไร ติดตามโดยพลัน . คลิกชม >> https://www.youtube.com/watch?v=CdiIGEZZJ_4 . #SondhiTalk #สนธิเล่าเรื่อง #แผ่นดินไหว #ตึกสตงถล่ม
    Like
    Love
    Sad
    3
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 352 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยุติค้นหา ตึกใหม่ สตง. ถล่ม! ยืนยันตาย 7 ศพ สูญหาย 47 คน เปิดเบื้องหลังบริษัทยักษ์ใหญ่จีน ชิมลางสร้างตึกสูงในไทย แห่งแรกในต่างแดน ที่จบไม่สวย

    📌 เหตุการณ์สั่นสะเทือนวงการก่อสร้างไทย-จีน ที่สะท้อนความเสี่ยงระดับชาติ

    🏗️ แผ่นดินไหวแรงสะเทือนถึงใจ ตึกใหม่ สตง. ถล่มกลางกรุง! ในช่วงบ่ายวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 เหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดก็เกิดขึ้น... อาคารสำนักงานแห่งใหม่ของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในย่านจตุจักร กรุงเทพฯ พังถล่มลงมาอย่างรุนแรง หลังเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูด ในประเทศเมียนมา ซึ่งแรงสั่นสะเทือนส่งผลมาถึงกรุงเทพฯ

    เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่เพียงแต่สะเทือนชีวิตผู้คน มีผู้เสียชีวิตยืนยันแล้ว 7 ศพ สูญหาย 47 คน และมีผู้ติดอยู่ใต้ซากอาคาร 30 คน แต่ยังเป็น จุดจบของความหวังทางยุทธศาสตร์ ที่จะให้บริษัทจีนเข้ามาชิมลาง สร้างอาคารสูงพิเศษในไทย เป็นครั้งแรกในต่างแดน 🇹🇭🇨🇳

    📌 เมื่อช่วงบ่ายของวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 8.2 แมกนิจูด ในประเทศเมียนมา ซึ่งมีศูนย์กลางลึกใต้ดินกว่า 90 กม. แม้จะห่างจากกรุงเทพฯ หลายร้อยกิโลเมตร แต่แรงสั่นสะเทือน สามารถรับรู้ได้ถึงกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 🌀

    จุดพังถล่มคือ อาคารสำนักงาน สตง. แห่งใหม่ บริเวณถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และเพิ่งสร้างโครงสร้างเสร็จไปได้เพียง 30% ของแผนงาน

    แม้อาคารจะยังไม่เปิดใช้งาน แต่ในขณะนั้นมีวิศวกร ช่างเทคนิค และคนงานกว่า 100 ชีวิต อยู่ภายใน เนื่องจากกำลังเร่งติดตั้งระบบภายใน เช่น ระบบไฟฟ้า น้ำ และระบบอาคารอัจฉริยะต่างๆ

    ⛑️ ทันทีหลังจากเหตุการณ์ถล่ม เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยหลายทีม ได้เข้าพื้นที่อย่างเร่งด่วน พร้อมอุปกรณ์ค้นหา และกู้ภัยทันสมัย เช่น กล้องจับความร้อน, โดรน, เครื่องตรวจจับเสียง ฯลฯ

    📉 ภาพรวมความเสียหาย และภารกิจค้นหาผู้รอดชีวิต
    🚨 สรุปสถานการณ์ ณ วันที่ 29 มีนาคม เวลา 05.00 น.
    - เสียชีวิตแล้ว 7 ศพ นำออกมาได้แล้ว 5 ศพ
    - ผู้รอดชีวิต 9 คน บาดเจ็บหลากหลายระดับ
    - ผู้ติดใต้ซาก 30 คน มีสัญญาณชีพ 15 คน
    - ผู้สูญหาย 47 คน
    - ยืนยันตัวตนแล้ว 85 คน

    การค้นหาแบ่งออกเป็น 4 โซน ได้แก่ A, B, C, D
    📍โซน A พบผู้มีสัญญาณชีพ 10 ราย
    📍โซน B พบผู้มีสัญญาณชีพ 2 ราย
    📍โซน D พบผู้มีสัญญาณชีพ 3 ราย

    การค้นหาต้องหยุดชั่วคราว เพื่อประเมินแผนใหม่ เนื่องจากโครงสร้างบางจุดยังไม่เสถียร เสี่ยงต่อเจ้าหน้าที่ค้นหาเองด้วย

    💬 “เรากำลังแข่งกับเวลา และแข่งกับซากปูนที่อาจถล่มซ้ำอีกทุกวินาที” หนึ่งในทีมกู้ภัยกล่าว

    🏢 โครงการก่อสร้างอาคาร สตง. เป้าหมายสู่อนาคตรัฐ อาคารสำนักงานแห่งใหม่นี้ ถูกวางเป้าหมายให้เป็น ศูนย์กลางการเงิน และการควบคุมงบประมาณของรัฐ โดยมีโครงสร้าง 30 ชั้น ความสูงรวม 137 เมตร รวมพื้นที่ก่อสร้างกว่า 96,000 ตารางเมตร

    👉 อาคารนี้ประกอบด้วย อาคารสำนักงานหลัก อาคารประชุม และอาคารจอดรถอัตโนมัติ

    โครงการเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2563 ด้วยงบประมาณ 2,136 ล้านบาท โดยผู้รับเหมาก่อสร้างหลัก คือ กิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี และควบคุมงานโดยกลุ่มวิศวกร PKW โดยมีการลงนาม Integrity Pact กับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน เพื่อความโปร่งใสในการจัดจ้าง

    🏗️ "ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10" บริษัทยักษ์จากจีนผู้หวังปักหมุดในไทย “China Railway No.10 Engineering Group” หรือ CRCC เป็นบริษัทลูกของกลุ่มรัฐวิสาหกิจจีน ที่มีชื่อเสียงด้านโครงสร้างพื้นฐาน

    โครงการ สตง. คือ โครงการอาคารสูงพิเศษแห่งแรกในต่างแดน ของบริษัทนี้ นำเทคโนโลยีล้ำสมัยจากจีนเข้ามาใช้เต็มที่ เช่น
    - ระบบ “แกนกลางรับแรง + พื้นไร้คาน”
    - เทคนิคแบบสไลด์คอนกรีต (Slip Form)
    - ระบบนั่งร้านปีนไต่อัตโนมัติ
    - ระบบติดตั้งไฟฟ้า แบบไม่ให้ท่อชนกันแม้แต่นิดเดียว

    👷 ทั้งหมดนี้แสดงถึงความพร้อมด้านวิศวกรรม และความหวังจะก้าวเข้าตลาดอาเซียนอย่างยิ่งใหญ่ แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น กลับกลายเป็นวิกฤตแห่งความเชื่อมั่น...

    🔍 ความเสียหายเชิงยุทธศาสตร์ ไม่ใช่แค่ตึกถล่ม แต่คือภาพลักษณ์ล่มสลาย ผลกระทบหลัก 3 ด้าน
    - ชีวิตคนงาน การสูญเสียชีวิต7 ศพ และผู้ติดอยู่ใต้ซากหลายสิบคน คือความสูญเสียที่ไม่มีเม็ดเงินใดทดแทนได้

    - ความเชื่อมั่นในบริษัทจีน โครงการนี้เคยเป็นความหวังว่าจะเป็น “โชว์เคสระดับอาเซียน” กลายเป็น “บทเรียนราคาแพง”

    - ผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-จีน โครงการยุทธศาสตร์ไทย-จีนในอนาคตอาจถูกชะลอ ตรวจสอบมากขึ้น และถูกตั้งคำถามมากขึ้น

    🧑‍💼 การตอบสนองของหน่วยงานรัฐ เดินหน้าแก้ไข เร่งค้นหาความจริง
    – นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ลงพื้นที่พร้อมทีมวิศวกรกว่า 100 คน เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของอาคารทั่วกรุงเทพฯ ที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

    – นายสุทธิพงษ์ บุญนิธิ รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ในฐานะโฆษกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เร่งตรวจสอบคุณภาพโครงการ และประเมินความเสียหาย พร้อมยืนยัน จะเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะอย่างโปร่งใส

    – นายสุริยชัย รวิวรรณ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กทม. รายงานสถานการณ์ค้นหาอย่างต่อเนื่อง พร้อมแบ่งโซนและใช้เทคโนโลยี ช่วยระบุตำแหน่งผู้ติดใต้ซาก

    ✅ จุดจบที่ไม่ควรเกิด กับความหวังที่ดับไปกลางซากอาคาร โศกนาฏกรรมครั้งนี้ เป็นจุดเตือนที่สะเทือนใจว่า การลงทุนเชิงยุทธศาสตร์ และความร่วมมือระหว่างประเทศ ไม่อาจวัดด้วยเทคโนโลยี หรือเงินทุนเพียงอย่างเดียว ต้องอาศัย มาตรฐาน ความปลอดภัย และความโปร่งใสระดับสูงสุด

    หากสิ่งเหล่านี้ขาดหายไป... แม้จะเป็นโครงการที่ดูดีแค่ไหน ก็พร้อมจะพังถล่มลงมาในพริบตา 🕯️

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 291100 มี.ค. 2568

    🔖#ตึกสตงถล่ม #CRCCไทย #ไชน่าเรลเวย์10 #ข่าวด่วน #แผ่นดินไหว #อาคารสูงพิเศษ #ก่อสร้างไทยจีน #ข่าวโศกนาฏกรรม #ตึกถล่ม #ไทยจีน
    ยุติค้นหา ตึกใหม่ สตง. ถล่ม! ยืนยันตาย 7 ศพ สูญหาย 47 คน เปิดเบื้องหลังบริษัทยักษ์ใหญ่จีน ชิมลางสร้างตึกสูงในไทย แห่งแรกในต่างแดน ที่จบไม่สวย 📌 เหตุการณ์สั่นสะเทือนวงการก่อสร้างไทย-จีน ที่สะท้อนความเสี่ยงระดับชาติ 🏗️ แผ่นดินไหวแรงสะเทือนถึงใจ ตึกใหม่ สตง. ถล่มกลางกรุง! ในช่วงบ่ายวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 เหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดก็เกิดขึ้น... อาคารสำนักงานแห่งใหม่ของ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในย่านจตุจักร กรุงเทพฯ พังถล่มลงมาอย่างรุนแรง หลังเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูด ในประเทศเมียนมา ซึ่งแรงสั่นสะเทือนส่งผลมาถึงกรุงเทพฯ เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่เพียงแต่สะเทือนชีวิตผู้คน มีผู้เสียชีวิตยืนยันแล้ว 7 ศพ สูญหาย 47 คน และมีผู้ติดอยู่ใต้ซากอาคาร 30 คน แต่ยังเป็น จุดจบของความหวังทางยุทธศาสตร์ ที่จะให้บริษัทจีนเข้ามาชิมลาง สร้างอาคารสูงพิเศษในไทย เป็นครั้งแรกในต่างแดน 🇹🇭🇨🇳 📌 เมื่อช่วงบ่ายของวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 8.2 แมกนิจูด ในประเทศเมียนมา ซึ่งมีศูนย์กลางลึกใต้ดินกว่า 90 กม. แม้จะห่างจากกรุงเทพฯ หลายร้อยกิโลเมตร แต่แรงสั่นสะเทือน สามารถรับรู้ได้ถึงกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 🌀 จุดพังถล่มคือ อาคารสำนักงาน สตง. แห่งใหม่ บริเวณถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และเพิ่งสร้างโครงสร้างเสร็จไปได้เพียง 30% ของแผนงาน แม้อาคารจะยังไม่เปิดใช้งาน แต่ในขณะนั้นมีวิศวกร ช่างเทคนิค และคนงานกว่า 100 ชีวิต อยู่ภายใน เนื่องจากกำลังเร่งติดตั้งระบบภายใน เช่น ระบบไฟฟ้า น้ำ และระบบอาคารอัจฉริยะต่างๆ ⛑️ ทันทีหลังจากเหตุการณ์ถล่ม เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยหลายทีม ได้เข้าพื้นที่อย่างเร่งด่วน พร้อมอุปกรณ์ค้นหา และกู้ภัยทันสมัย เช่น กล้องจับความร้อน, โดรน, เครื่องตรวจจับเสียง ฯลฯ 📉 ภาพรวมความเสียหาย และภารกิจค้นหาผู้รอดชีวิต 🚨 สรุปสถานการณ์ ณ วันที่ 29 มีนาคม เวลา 05.00 น. - เสียชีวิตแล้ว 7 ศพ นำออกมาได้แล้ว 5 ศพ - ผู้รอดชีวิต 9 คน บาดเจ็บหลากหลายระดับ - ผู้ติดใต้ซาก 30 คน มีสัญญาณชีพ 15 คน - ผู้สูญหาย 47 คน - ยืนยันตัวตนแล้ว 85 คน การค้นหาแบ่งออกเป็น 4 โซน ได้แก่ A, B, C, D 📍โซน A พบผู้มีสัญญาณชีพ 10 ราย 📍โซน B พบผู้มีสัญญาณชีพ 2 ราย 📍โซน D พบผู้มีสัญญาณชีพ 3 ราย การค้นหาต้องหยุดชั่วคราว เพื่อประเมินแผนใหม่ เนื่องจากโครงสร้างบางจุดยังไม่เสถียร เสี่ยงต่อเจ้าหน้าที่ค้นหาเองด้วย 💬 “เรากำลังแข่งกับเวลา และแข่งกับซากปูนที่อาจถล่มซ้ำอีกทุกวินาที” หนึ่งในทีมกู้ภัยกล่าว 🏢 โครงการก่อสร้างอาคาร สตง. เป้าหมายสู่อนาคตรัฐ อาคารสำนักงานแห่งใหม่นี้ ถูกวางเป้าหมายให้เป็น ศูนย์กลางการเงิน และการควบคุมงบประมาณของรัฐ โดยมีโครงสร้าง 30 ชั้น ความสูงรวม 137 เมตร รวมพื้นที่ก่อสร้างกว่า 96,000 ตารางเมตร 👉 อาคารนี้ประกอบด้วย อาคารสำนักงานหลัก อาคารประชุม และอาคารจอดรถอัตโนมัติ โครงการเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2563 ด้วยงบประมาณ 2,136 ล้านบาท โดยผู้รับเหมาก่อสร้างหลัก คือ กิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี และควบคุมงานโดยกลุ่มวิศวกร PKW โดยมีการลงนาม Integrity Pact กับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน เพื่อความโปร่งใสในการจัดจ้าง 🏗️ "ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10" บริษัทยักษ์จากจีนผู้หวังปักหมุดในไทย “China Railway No.10 Engineering Group” หรือ CRCC เป็นบริษัทลูกของกลุ่มรัฐวิสาหกิจจีน ที่มีชื่อเสียงด้านโครงสร้างพื้นฐาน โครงการ สตง. คือ โครงการอาคารสูงพิเศษแห่งแรกในต่างแดน ของบริษัทนี้ นำเทคโนโลยีล้ำสมัยจากจีนเข้ามาใช้เต็มที่ เช่น - ระบบ “แกนกลางรับแรง + พื้นไร้คาน” - เทคนิคแบบสไลด์คอนกรีต (Slip Form) - ระบบนั่งร้านปีนไต่อัตโนมัติ - ระบบติดตั้งไฟฟ้า แบบไม่ให้ท่อชนกันแม้แต่นิดเดียว 👷 ทั้งหมดนี้แสดงถึงความพร้อมด้านวิศวกรรม และความหวังจะก้าวเข้าตลาดอาเซียนอย่างยิ่งใหญ่ แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น กลับกลายเป็นวิกฤตแห่งความเชื่อมั่น... 🔍 ความเสียหายเชิงยุทธศาสตร์ ไม่ใช่แค่ตึกถล่ม แต่คือภาพลักษณ์ล่มสลาย ผลกระทบหลัก 3 ด้าน - ชีวิตคนงาน การสูญเสียชีวิต7 ศพ และผู้ติดอยู่ใต้ซากหลายสิบคน คือความสูญเสียที่ไม่มีเม็ดเงินใดทดแทนได้ - ความเชื่อมั่นในบริษัทจีน โครงการนี้เคยเป็นความหวังว่าจะเป็น “โชว์เคสระดับอาเซียน” กลายเป็น “บทเรียนราคาแพง” - ผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-จีน โครงการยุทธศาสตร์ไทย-จีนในอนาคตอาจถูกชะลอ ตรวจสอบมากขึ้น และถูกตั้งคำถามมากขึ้น 🧑‍💼 การตอบสนองของหน่วยงานรัฐ เดินหน้าแก้ไข เร่งค้นหาความจริง – นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ลงพื้นที่พร้อมทีมวิศวกรกว่า 100 คน เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของอาคารทั่วกรุงเทพฯ ที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว – นายสุทธิพงษ์ บุญนิธิ รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ในฐานะโฆษกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เร่งตรวจสอบคุณภาพโครงการ และประเมินความเสียหาย พร้อมยืนยัน จะเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะอย่างโปร่งใส – นายสุริยชัย รวิวรรณ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กทม. รายงานสถานการณ์ค้นหาอย่างต่อเนื่อง พร้อมแบ่งโซนและใช้เทคโนโลยี ช่วยระบุตำแหน่งผู้ติดใต้ซาก ✅ จุดจบที่ไม่ควรเกิด กับความหวังที่ดับไปกลางซากอาคาร โศกนาฏกรรมครั้งนี้ เป็นจุดเตือนที่สะเทือนใจว่า การลงทุนเชิงยุทธศาสตร์ และความร่วมมือระหว่างประเทศ ไม่อาจวัดด้วยเทคโนโลยี หรือเงินทุนเพียงอย่างเดียว ต้องอาศัย มาตรฐาน ความปลอดภัย และความโปร่งใสระดับสูงสุด หากสิ่งเหล่านี้ขาดหายไป... แม้จะเป็นโครงการที่ดูดีแค่ไหน ก็พร้อมจะพังถล่มลงมาในพริบตา 🕯️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 291100 มี.ค. 2568 🔖#ตึกสตงถล่ม #CRCCไทย #ไชน่าเรลเวย์10 #ข่าวด่วน #แผ่นดินไหว #อาคารสูงพิเศษ #ก่อสร้างไทยจีน #ข่าวโศกนาฏกรรม #ตึกถล่ม #ไทยจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 944 มุมมอง 0 รีวิว