• หานเหมิน ตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <ทำนองรักกังวานแดนดิน> คงจำได้ว่ามีช่วงหนึ่งที่พระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่หรือที่เรียกว่า ‘หานเหมิน’ (寒门) จริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่นกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน ไว้ Storyฯ จะทยอยมาเล่าต่อ แต่ที่วันนี้จะคุยกันคือคำว่า ‘หานเหมิน’ นี้ปัจจุบันคำว่า ‘หานเหมิน’ หมายถึงคนที่มีฐานะยากจน (‘หาน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าหนาวมากแต่หมายถึงแร้นแค้นยากจน และ ‘เหมิน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าประตูแต่หมายถึงครอบครัวหรือตระกูล) และในหลายซีรีส์ที่มีการสอบราชบัณฑิตก็ดูจะสะท้อนถึงเหล่าบัณฑิตยากไร้ที่พยายามมาสอบเพื่อสร้างอนาคตให้กับตนเอง Storyฯ ไม่ได้ดูว่าละครซับไทยหรือพากย์ไทยแปลมันไว้ว่าอย่างไร แต่จริงๆ แล้ว ‘หานเหมิน’ ในบริบทจีนโบราณแรกเริ่มเลยไม่ได้หมายถึงคนจน เพราะคำว่า ‘เหมิน’ จะใช้เรียกตระกูลที่มีกำลังทรัพย์และอิทธิพลเท่านั้น ไม่ได้เรียกครอบครัวชาวบ้านธรรมดา เราลองมาดูกันสักสองตัวอย่างตัวอย่างแรกคือเผยเหวินเซวียน พระเอกจากเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> ที่ถูกองค์หญิงหลี่หรงเรียกว่ามาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งพื้นเพของเขาคือ มาจากตระกูลที่ไม่เคยมีรับตำแหน่งสูงเกินขั้นที่ห้า แต่ก็จัดเป็นตระกูลอยู่ดีกินดี (อนึ่ง ตำแหน่งขุนนางในอดีตเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดไปตามยุคสมัยแต่โดยกรอบใหญ่การแบ่งขุนนางส่วนกลางเป็นเก้าขั้น หรือ ‘จิ๋วผิ่น’ (九品) มีมายาวนานร่วมสองพันปี) จวบจนบิดาได้เป็นถึงแม่ทัพใหญ่นำพาให้คนในตระกูลมีโอกาสย้ายเข้ามารับราชการอยู่ในเมืองหลวงอีกตัวอย่างหนึ่งคือพานฉือจากเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ซึ่งไม่แน่ใจว่ามีรายละเอียดในซีรีส์มากน้อยแค่ไหน แต่ในบทนิยายเดิมพื้นเพของเขาคือมาจากครอบครัวข้าราชการมีหน้ามีตาระดับท้องถิ่น บิดาเป็นผู้บัญชาการทหารระดับสูง จัดเป็นตระกูลที่อยู่ดีกินดี แต่เขาอยากเห็นคนที่ไม่ได้มีอิทธิพลหนุนหลังสามารถฝ่าฟันอุปสรรคเข้าไปสู่ตำแหน่งขุนนางขั้นสูงของส่วนกลางได้โดยผ่านการสอบราชบัณฑิต เขาถูกเรียกว่ามาจาก ‘หานเหมิน’ เช่นกันจากสองตัวอย่างนี้ เพื่อนเพจคงพอเดาได้แล้วว่าความหมายดั้งเดิมของ ‘หานเหมิน’ หมายถึงตระกูลขุนนางที่อิทธิพลเสื่อมถอย ไม่ได้มีอำนาจผงาดอยู่ในราชสำนัก แต่ก็จัดเป็นตระกูลที่มีหน้ามีตาพอประมาณและมีอันจะกินพอที่ลูกหลานจะมีการศึกษาที่ดี ไม่ใช่คนยากจนสิ้นไร้ไม้ตอก หลายครั้งถูกมองว่าเป็นตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' หรือ Tier 2แล้วตระกูลขุนนาง 'ชั้นหนึ่ง' หรือ Tier 1 คืออะไร? คำตอบคือ ‘สื้อเจีย’ (世家) ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อนานมาแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/373292221465743 และ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/378258494302449) ซึ่งโดยสรุปคือหมายถึงตระกูลขุนนางระดับสูงอันเก่าแก่ คนในตระกูลรับตำแหน่งขุนนางระดับสูงถึงสูงที่สุดต่อเนื่องมาหลายชั่วอายุคน ตระกูลเหล่านี้มีอิทธิพลทางการเมืองสูง (และอิทธิพลทางสังคมด้านอื่นๆ ด้วย) และในสมัยโบราณตระกูลเหล่านี้สามารถยื่นฎีกาเสนอชื่อคนในตระกูลเข้ารับตำแหน่งขุนนางได้เลย ดังนั้นในสายตาของชาวสื้อเจียที่มียศอำนาจสูงมาตลอดแล้วนั้น คนจากหานเหมินจึงต่ำต้อยกว่าเพราะมีเพียงครั้งคราวที่มีโอกาสได้รับตำแหน่งใหญ่หรืออาจเป็นเพียงตระกูลที่ ‘เคยมี’ การสอบราชบัณฑิตจึงเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้มาจากตระกูลสื้อเจียสามารถเข้ามาช่วงชิงตำแหน่งทางการเมืองได้ผ่านความรู้ความสามารถของตน แต่แน่นอนว่าหนทางนี้ไม่ได้ง่าย อย่างที่เราเห็นในหลายซีรีส์ถึงความพยายามของเหล่ากลุ่มอำนาจที่จะพยายามดำรงไว้ซึ่งอำนาจ และ Storyฯ คิดว่าเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> สะท้อนประเด็นความขัดแย้งนี้ออกมาได้ดีมาก และองค์หญิงหลี่หรงเองเคยถกถึงข้อดีข้อเสียของการรับคนจากสื้อเจียบรรจุเข้าเป็นขุนนางโดยไม่ผ่านการสอบแข่งขันด้วยการสอบราชบัณฑิตได้รับการพัฒนาถึงขีดสุดในสมัยซ่งและในยุคสมัยนี้เองที่เหล่าสื้อเจียถูกริดรอนอำนาจจนเสื่อมหายไปในที่สุด เมื่อไม่มีสื้อเจียตระกูลขุนนางชั้นหนึ่งก็ไม่มีหานเหมินตระกูลขุนนางชั้นสอง และต่อมาคำว่า ‘หานเหมิน’ จึงถูกใช้เรียกคนยากจนสัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อถึงวลีจีนที่เหยียนซิ่นใช้ปลอบพานฉือที่กล่าวถึงในย่อหน้าแรกค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/249182333_100121516 https://www.163.com/dy/article/HQT63VVA05561H1M.html https://www.sohu.com/a/576151365_121252035 https://www.lishirenwu.com/jiangxianggushi/58427.html #ทำนองรักกังวานแดนดิน #องค์หญิงใหญ่ #หานเหมิน #สื้อเจีย #ตระกูลขุนนางจีน #สาระจีน
    หานเหมิน ตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <ทำนองรักกังวานแดนดิน> คงจำได้ว่ามีช่วงหนึ่งที่พระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่หรือที่เรียกว่า ‘หานเหมิน’ (寒门) จริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่นกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน ไว้ Storyฯ จะทยอยมาเล่าต่อ แต่ที่วันนี้จะคุยกันคือคำว่า ‘หานเหมิน’ นี้ปัจจุบันคำว่า ‘หานเหมิน’ หมายถึงคนที่มีฐานะยากจน (‘หาน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าหนาวมากแต่หมายถึงแร้นแค้นยากจน และ ‘เหมิน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าประตูแต่หมายถึงครอบครัวหรือตระกูล) และในหลายซีรีส์ที่มีการสอบราชบัณฑิตก็ดูจะสะท้อนถึงเหล่าบัณฑิตยากไร้ที่พยายามมาสอบเพื่อสร้างอนาคตให้กับตนเอง Storyฯ ไม่ได้ดูว่าละครซับไทยหรือพากย์ไทยแปลมันไว้ว่าอย่างไร แต่จริงๆ แล้ว ‘หานเหมิน’ ในบริบทจีนโบราณแรกเริ่มเลยไม่ได้หมายถึงคนจน เพราะคำว่า ‘เหมิน’ จะใช้เรียกตระกูลที่มีกำลังทรัพย์และอิทธิพลเท่านั้น ไม่ได้เรียกครอบครัวชาวบ้านธรรมดา เราลองมาดูกันสักสองตัวอย่างตัวอย่างแรกคือเผยเหวินเซวียน พระเอกจากเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> ที่ถูกองค์หญิงหลี่หรงเรียกว่ามาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งพื้นเพของเขาคือ มาจากตระกูลที่ไม่เคยมีรับตำแหน่งสูงเกินขั้นที่ห้า แต่ก็จัดเป็นตระกูลอยู่ดีกินดี (อนึ่ง ตำแหน่งขุนนางในอดีตเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดไปตามยุคสมัยแต่โดยกรอบใหญ่การแบ่งขุนนางส่วนกลางเป็นเก้าขั้น หรือ ‘จิ๋วผิ่น’ (九品) มีมายาวนานร่วมสองพันปี) จวบจนบิดาได้เป็นถึงแม่ทัพใหญ่นำพาให้คนในตระกูลมีโอกาสย้ายเข้ามารับราชการอยู่ในเมืองหลวงอีกตัวอย่างหนึ่งคือพานฉือจากเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ซึ่งไม่แน่ใจว่ามีรายละเอียดในซีรีส์มากน้อยแค่ไหน แต่ในบทนิยายเดิมพื้นเพของเขาคือมาจากครอบครัวข้าราชการมีหน้ามีตาระดับท้องถิ่น บิดาเป็นผู้บัญชาการทหารระดับสูง จัดเป็นตระกูลที่อยู่ดีกินดี แต่เขาอยากเห็นคนที่ไม่ได้มีอิทธิพลหนุนหลังสามารถฝ่าฟันอุปสรรคเข้าไปสู่ตำแหน่งขุนนางขั้นสูงของส่วนกลางได้โดยผ่านการสอบราชบัณฑิต เขาถูกเรียกว่ามาจาก ‘หานเหมิน’ เช่นกันจากสองตัวอย่างนี้ เพื่อนเพจคงพอเดาได้แล้วว่าความหมายดั้งเดิมของ ‘หานเหมิน’ หมายถึงตระกูลขุนนางที่อิทธิพลเสื่อมถอย ไม่ได้มีอำนาจผงาดอยู่ในราชสำนัก แต่ก็จัดเป็นตระกูลที่มีหน้ามีตาพอประมาณและมีอันจะกินพอที่ลูกหลานจะมีการศึกษาที่ดี ไม่ใช่คนยากจนสิ้นไร้ไม้ตอก หลายครั้งถูกมองว่าเป็นตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' หรือ Tier 2แล้วตระกูลขุนนาง 'ชั้นหนึ่ง' หรือ Tier 1 คืออะไร? คำตอบคือ ‘สื้อเจีย’ (世家) ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อนานมาแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/373292221465743 และ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/378258494302449) ซึ่งโดยสรุปคือหมายถึงตระกูลขุนนางระดับสูงอันเก่าแก่ คนในตระกูลรับตำแหน่งขุนนางระดับสูงถึงสูงที่สุดต่อเนื่องมาหลายชั่วอายุคน ตระกูลเหล่านี้มีอิทธิพลทางการเมืองสูง (และอิทธิพลทางสังคมด้านอื่นๆ ด้วย) และในสมัยโบราณตระกูลเหล่านี้สามารถยื่นฎีกาเสนอชื่อคนในตระกูลเข้ารับตำแหน่งขุนนางได้เลย ดังนั้นในสายตาของชาวสื้อเจียที่มียศอำนาจสูงมาตลอดแล้วนั้น คนจากหานเหมินจึงต่ำต้อยกว่าเพราะมีเพียงครั้งคราวที่มีโอกาสได้รับตำแหน่งใหญ่หรืออาจเป็นเพียงตระกูลที่ ‘เคยมี’ การสอบราชบัณฑิตจึงเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้มาจากตระกูลสื้อเจียสามารถเข้ามาช่วงชิงตำแหน่งทางการเมืองได้ผ่านความรู้ความสามารถของตน แต่แน่นอนว่าหนทางนี้ไม่ได้ง่าย อย่างที่เราเห็นในหลายซีรีส์ถึงความพยายามของเหล่ากลุ่มอำนาจที่จะพยายามดำรงไว้ซึ่งอำนาจ และ Storyฯ คิดว่าเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> สะท้อนประเด็นความขัดแย้งนี้ออกมาได้ดีมาก และองค์หญิงหลี่หรงเองเคยถกถึงข้อดีข้อเสียของการรับคนจากสื้อเจียบรรจุเข้าเป็นขุนนางโดยไม่ผ่านการสอบแข่งขันด้วยการสอบราชบัณฑิตได้รับการพัฒนาถึงขีดสุดในสมัยซ่งและในยุคสมัยนี้เองที่เหล่าสื้อเจียถูกริดรอนอำนาจจนเสื่อมหายไปในที่สุด เมื่อไม่มีสื้อเจียตระกูลขุนนางชั้นหนึ่งก็ไม่มีหานเหมินตระกูลขุนนางชั้นสอง และต่อมาคำว่า ‘หานเหมิน’ จึงถูกใช้เรียกคนยากจนสัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อถึงวลีจีนที่เหยียนซิ่นใช้ปลอบพานฉือที่กล่าวถึงในย่อหน้าแรกค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/249182333_100121516 https://www.163.com/dy/article/HQT63VVA05561H1M.html https://www.sohu.com/a/576151365_121252035 https://www.lishirenwu.com/jiangxianggushi/58427.html #ทำนองรักกังวานแดนดิน #องค์หญิงใหญ่ #หานเหมิน #สื้อเจีย #ตระกูลขุนนางจีน #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 545 มุมมอง 0 รีวิว
  • ลี่ เสมียนหลวงโบราณวันนี้เรามาคุยกันสั้นๆ ถึงอีกเกร็ดหนึ่งจากซีรีส์เรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ เพื่อนเพจที่ได้ดูแล้วคงจำได้ว่าในตอนปลายของเรื่องนั้น ไต้เท้าฟ่านเสียนได้เดินทางไปซูโจว และเอาเงินและของที่ได้รับกำนัลจากเหล่าขุนนางท้องถิ่นไปบริจาคให้ชาวบ้านที่หนีภัยธรรมชาติมายังซูโจว ในเหตุการณ์นี้ ฟ่านเสียนมอบหมายให้เสมียนหลวงเป็นคนเอาของไปแจกจ่าย คำกล่าวของเขาคือ เสมียนไม่ใช่ขุนนาง จึงมีสถานะห่างจากชาวบ้านธรรมดาน้อยหน่อยเสมียนหลวงหรือที่เรียกว่า ‘ลี่’ (吏) นี้หากดูจากขอบเขตหน้าที่การทำงานแล้ว คงเปรียบได้กับข้าราชการพลเรือนสามัญในระบบราชการไทย แต่ ‘ลี่’ นี้ ในระบบข้าราชการของจีนโบราณมีสถานะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย บางสมัยนับเป็นข้าราชการ บางสมัยไม่ใช่ ในเรื่อง <หาญท้าฯ> นี้ ขุนนางเรียกว่า ‘กวน’ (官) ในขณะที่ ‘ลี่’ คือเสมียน แต่จริงๆ แล้วในยุคแรกๆ ทั้งกวนและลี่ล้วนใช้กับข้าราชการเหมือนกันและมักเรียกรวมเป็นกวนลี่ และในเอกสารต่างๆ เรียกขุนนางว่าลี่ โดยหมายรวมถึงขุนนางระดับสูงด้วย ตัวอย่างเช่น เอกสารบันทึกสมัยชุนชิวที่เรียกว่าจั่วจ้วน (左传) มีการกล่าวถึงว่า ข้าหลวงตัวแทนพระองค์มีอำนาจและยศต่ำกว่า ‘ซานลี่’ (ลี่สามตำแหน่ง) ซึ่งหมายถึง ‘ซานกง’ (บางคนแปลว่าสามพระยา บางคนแปลว่าสามมหาเสนา) ซึ่งเป็นขุนนางสูงสุดสามตำแหน่งในสมัยนั้นต่อมาคำว่า ‘ลี่’ ถูกใช้เรียกข้าราชการท้องถิ่นเป็นหลัก ในสมัยฮั่นมีการวางระบบข้าราชการเพิ่มเติมและแยกข้าราชการท้องถิ่นออกเป็นสามระดับคือ กวน จ่างลี่ (长吏) และส้าวลี่ (少吏) และกำหนดเกณฑ์ว่าผู้ที่ได้รับเงินเดือนสูงกว่าข้าวสองร้อยต้านคือกวน ต่ำกว่านั้นคือลี่ เห็นได้ว่า แม้ว่าลี่ยังเป็นข้าราชการแต่จัดเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยต่อมาการแบ่งแยกระหว่างกวนและลี่มีมากขึ้นภายใต้ระบบขุนนางเก้าขั้นและเมื่อขุนนางท้องถิ่นถูกลดทอนอำนาจ ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการยกเลิกการให้เงินเดือนหลวงกับลี่และจำนวนขุนนางที่ไปประจำการท้องถิ่นมีน้อยลง จึงต้องว่าจ้างคนในพื้นที่ทำงาน กลายเป็นว่าลี่คือเสมียนรับจ้างจากข้าราชการอีกที ทำให้ในสมัยถังและซ่ง ลี่ถูกมองว่าเป็นคนชั้นล่าง การแบ่งแยกนี้ยิ่งชัดเจนขึ้นในสมัยหมิง เมื่อมีการกำหนดว่าผู้ที่ทำหน้าที่เสมียนหลวงห้ามสอบขุนนาง นั่นแปลว่า ‘ลี่’ เข้ารับราชการไม่ได้เลย ดังนั้น จากเดิมที่ลี่เป็นข้าราชการเช่นเดียวกับกวน ผ่านไปกว่าพันปีกลับกลายเป็นว่า ลี่แม้ทำงานในที่ว่าการท้องถิ่น แต่ไม่ใช่ข้าราชการ ไม่มียศขั้น ไม่มีเงินเดือนหลวงประจำตำแหน่งหากแต่ได้รับค่าจ้างตามแต่ข้าราชการท้องถิ่นจะมีงบประมาณว่าจ้าง ในยุคสมัยที่ขุนนางได้รับการยกย่องว่าเป็นชนชั้นสูงมีหน้ามีตาในสังคม จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นภาพเช่นในเรื่อง <หาญท้าฯ> ที่มีการดูถูกเสมียนหลวงว่าเป็นคนที่ต่ำต้อย และไม่แปลกว่าทำไมฟ่านเสียนจึงบอกว่า เสมียนหลวงไม่ใช่ข้าราชการและนับว่ามีสถานะใกล้ชิดกับชาวบ้านมากกว่าขุนนางในความเป็นจริง เสมียนหลวงมีความสำคัญไม่น้อยแม้ไม่ได้รับการยกย่องชูเกียรติเหมือนขุนนาง เนื่องเพราะพวกเขาเป็นเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของที่ว่าการท้องถิ่น ดูแลงานต่างๆ ประจำวัน อาจกล่าวได้ว่างานหลายเรื่องจะถูกดองหรือไม่ขึ้นอยู่กับพวกเขา นอกจากนี้ ขุนนางที่ไปประจำการท้องถิ่นโดยปกติจะมีการโยกย้ายทุกสามปี แต่เสมียนหลวงเป็นชาวบ้านในพื้นที่ ไม่ต้องถูกโยกย้ายไปประจำการในพื้นที่อื่นและรู้ตื้นลึกหนาบางในพื้นที่ของตนเป็นอย่างดี และนี่ก็เป็นสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าฯ> จึงมีคนท้วงฟ่านเสียนว่าเหตุใดจึงไม่กลัวว่าเสมียนหลวงจะยักยอกเงิน(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ejdz.cn/download/news/n134541.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ctext.org/chun-qiu-zuo-zhuan/cheng-gong-er-nian/zhs https://web.stanford.edu/~xgzhou/zhou_16_GuanLi_EN.pdfhttps://www.sohu.com/a/574234_109477https://www.sohu.com/a/460112987_120129611 https://www.163.com/dy/article/DAJGGOVH0523F8UN.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ขุนนางจีน #เสมียนหลวง #ลี่ #กวน #สาระจีน
    ลี่ เสมียนหลวงโบราณวันนี้เรามาคุยกันสั้นๆ ถึงอีกเกร็ดหนึ่งจากซีรีส์เรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ เพื่อนเพจที่ได้ดูแล้วคงจำได้ว่าในตอนปลายของเรื่องนั้น ไต้เท้าฟ่านเสียนได้เดินทางไปซูโจว และเอาเงินและของที่ได้รับกำนัลจากเหล่าขุนนางท้องถิ่นไปบริจาคให้ชาวบ้านที่หนีภัยธรรมชาติมายังซูโจว ในเหตุการณ์นี้ ฟ่านเสียนมอบหมายให้เสมียนหลวงเป็นคนเอาของไปแจกจ่าย คำกล่าวของเขาคือ เสมียนไม่ใช่ขุนนาง จึงมีสถานะห่างจากชาวบ้านธรรมดาน้อยหน่อยเสมียนหลวงหรือที่เรียกว่า ‘ลี่’ (吏) นี้หากดูจากขอบเขตหน้าที่การทำงานแล้ว คงเปรียบได้กับข้าราชการพลเรือนสามัญในระบบราชการไทย แต่ ‘ลี่’ นี้ ในระบบข้าราชการของจีนโบราณมีสถานะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย บางสมัยนับเป็นข้าราชการ บางสมัยไม่ใช่ ในเรื่อง <หาญท้าฯ> นี้ ขุนนางเรียกว่า ‘กวน’ (官) ในขณะที่ ‘ลี่’ คือเสมียน แต่จริงๆ แล้วในยุคแรกๆ ทั้งกวนและลี่ล้วนใช้กับข้าราชการเหมือนกันและมักเรียกรวมเป็นกวนลี่ และในเอกสารต่างๆ เรียกขุนนางว่าลี่ โดยหมายรวมถึงขุนนางระดับสูงด้วย ตัวอย่างเช่น เอกสารบันทึกสมัยชุนชิวที่เรียกว่าจั่วจ้วน (左传) มีการกล่าวถึงว่า ข้าหลวงตัวแทนพระองค์มีอำนาจและยศต่ำกว่า ‘ซานลี่’ (ลี่สามตำแหน่ง) ซึ่งหมายถึง ‘ซานกง’ (บางคนแปลว่าสามพระยา บางคนแปลว่าสามมหาเสนา) ซึ่งเป็นขุนนางสูงสุดสามตำแหน่งในสมัยนั้นต่อมาคำว่า ‘ลี่’ ถูกใช้เรียกข้าราชการท้องถิ่นเป็นหลัก ในสมัยฮั่นมีการวางระบบข้าราชการเพิ่มเติมและแยกข้าราชการท้องถิ่นออกเป็นสามระดับคือ กวน จ่างลี่ (长吏) และส้าวลี่ (少吏) และกำหนดเกณฑ์ว่าผู้ที่ได้รับเงินเดือนสูงกว่าข้าวสองร้อยต้านคือกวน ต่ำกว่านั้นคือลี่ เห็นได้ว่า แม้ว่าลี่ยังเป็นข้าราชการแต่จัดเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยต่อมาการแบ่งแยกระหว่างกวนและลี่มีมากขึ้นภายใต้ระบบขุนนางเก้าขั้นและเมื่อขุนนางท้องถิ่นถูกลดทอนอำนาจ ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการยกเลิกการให้เงินเดือนหลวงกับลี่และจำนวนขุนนางที่ไปประจำการท้องถิ่นมีน้อยลง จึงต้องว่าจ้างคนในพื้นที่ทำงาน กลายเป็นว่าลี่คือเสมียนรับจ้างจากข้าราชการอีกที ทำให้ในสมัยถังและซ่ง ลี่ถูกมองว่าเป็นคนชั้นล่าง การแบ่งแยกนี้ยิ่งชัดเจนขึ้นในสมัยหมิง เมื่อมีการกำหนดว่าผู้ที่ทำหน้าที่เสมียนหลวงห้ามสอบขุนนาง นั่นแปลว่า ‘ลี่’ เข้ารับราชการไม่ได้เลย ดังนั้น จากเดิมที่ลี่เป็นข้าราชการเช่นเดียวกับกวน ผ่านไปกว่าพันปีกลับกลายเป็นว่า ลี่แม้ทำงานในที่ว่าการท้องถิ่น แต่ไม่ใช่ข้าราชการ ไม่มียศขั้น ไม่มีเงินเดือนหลวงประจำตำแหน่งหากแต่ได้รับค่าจ้างตามแต่ข้าราชการท้องถิ่นจะมีงบประมาณว่าจ้าง ในยุคสมัยที่ขุนนางได้รับการยกย่องว่าเป็นชนชั้นสูงมีหน้ามีตาในสังคม จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นภาพเช่นในเรื่อง <หาญท้าฯ> ที่มีการดูถูกเสมียนหลวงว่าเป็นคนที่ต่ำต้อย และไม่แปลกว่าทำไมฟ่านเสียนจึงบอกว่า เสมียนหลวงไม่ใช่ข้าราชการและนับว่ามีสถานะใกล้ชิดกับชาวบ้านมากกว่าขุนนางในความเป็นจริง เสมียนหลวงมีความสำคัญไม่น้อยแม้ไม่ได้รับการยกย่องชูเกียรติเหมือนขุนนาง เนื่องเพราะพวกเขาเป็นเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของที่ว่าการท้องถิ่น ดูแลงานต่างๆ ประจำวัน อาจกล่าวได้ว่างานหลายเรื่องจะถูกดองหรือไม่ขึ้นอยู่กับพวกเขา นอกจากนี้ ขุนนางที่ไปประจำการท้องถิ่นโดยปกติจะมีการโยกย้ายทุกสามปี แต่เสมียนหลวงเป็นชาวบ้านในพื้นที่ ไม่ต้องถูกโยกย้ายไปประจำการในพื้นที่อื่นและรู้ตื้นลึกหนาบางในพื้นที่ของตนเป็นอย่างดี และนี่ก็เป็นสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าฯ> จึงมีคนท้วงฟ่านเสียนว่าเหตุใดจึงไม่กลัวว่าเสมียนหลวงจะยักยอกเงิน(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ejdz.cn/download/news/n134541.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ctext.org/chun-qiu-zuo-zhuan/cheng-gong-er-nian/zhs https://web.stanford.edu/~xgzhou/zhou_16_GuanLi_EN.pdfhttps://www.sohu.com/a/574234_109477https://www.sohu.com/a/460112987_120129611 https://www.163.com/dy/article/DAJGGOVH0523F8UN.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ขุนนางจีน #เสมียนหลวง #ลี่ #กวน #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 423 มุมมอง 0 รีวิว