• การไฟฟ้าฯ จะตัดไฟ อำลาตั้งฮั่วเส็ง ธนบุรี

    จากกระแสไวรัลบนโซเชียลฯ ถึงความเงียบเหงาของศูนย์การค้าฝั่งธนบุรี ท่ามกลางคำถามที่ว่าอนาคตจะไปทางไหน ในที่้สุดห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง ธนบุรี ถนนสิรินธร ย่านบางพลัด แจ้งกับร้านค้าเป็นการภายในเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (6 ก.ย.) ว่าจำเป็นต้องปิดทำการห้างฯ อาคาร 12 ชั้น ซึ่งมีผลกระทบในพื้นที่ขายทั้งหมด เพราะได้รับหนังสือแจ้งจากการไฟฟ้านครหลวง ขอยุติการจ่ายกระแสไฟฟ้าในวันอังคารที่ 10 ก.ย. 2567 เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป

    "ทางบริษัทฯ อยู่ในระหว่างดำเนินการแก้ไขและเจรจากับผู้ร่วมทุนใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จ ทางห้างฯ จะเร่งกลับมาเปิดบริการในเร็วๆ นี้ และขออภัยในความไม่สะดวกกับเหตุการณ์ครั้งนี้" ประกาศฉบับดังกล่าว ระบุ

    บรรดาร้านค้าที่ทราบข่าวเตรียมทยอยขนของออกจากห้างฯ โดยเฉพาะร้านขายโทรศัพท์มือถือ ที่ไม่ทราบเรื่องดังกล่าวมาก่อน กระทั่งได้รับจดหมายแจ้งว่าจะตัดไฟในวันอังคาร ต้องเก็บของย้ายออกจากห้างฯ มีผลกระทบมาก ส่วนร้านหมาล่าสายพาน "ฟุ่ยโหยว หมาล่า" ที่เปิดไม่ถึงครึ่งปี ต้องปรับเป็นบุฟเฟ่ต์แบบขาดทุน ก่อนปิดแบบไม่มีกำหนด กระแสโซเชียลฯ ต่างให้กำลังใจทางร้านและอุดหนุน ทำบางเมนูหมดลงไปแล้ว

    ปริศนาคลี่คลายเมื่อมีชาวเน็ตต่างเผยแพร่ข้อมูลว่า บริษัท สรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง จำกัด ถูกธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ฟ้องต่อศาลแพ่งตลิ่งชัน คดีหมายเลขแดงที่ ผบ.7325/2562 แล้วกรมบังคับคดีได้ประกาศขายทรัพย์รวม 27 แปลง ราคาประเมิน 1,365,690,450 บาท โดยพบว่ามีบุคคลภายนอก (คาดว่ามาจากกลุ่มทุนอสังหาริมทรัพย์) ประมูลมาได้ แต่ต่ำกว่าราคาประเมิน ส่วนห้างตั้งฮั่วเส็ง สาขาบางลำภู ก็ขายทอดตลาดไปแล้วเช่นกัน

    ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง ก่อตั้งขึ้นในปี 2505 ที่ย่านบางลำพู เดิมเป็นร้านจำหน่ายสินค้าอุปกรณ์เย็บปักถักร้อย เครื่องสำอาง ผ้าแฟชั่น และอุปกรณ์ตัดเย็บต่างๆ ก่อนจะเปิดห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง บางลำพู ภายใต้การบริหารของนายวิโรจน์ จุนประทีปทอง กระทั่งปี 2534 เปิดห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง ธนบุรี อาคารสูง 10 ชั้น ที่จอดรถมากกว่า 800 คัน ต่อมาในปี 2554 รีโนเวตโดยเปลี่ยนชื่อเป็น T-SQUARE

    ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าบริษัทฯ ขาดทุนทุกปี ส่งงบการเงินปีสุดท้าย 2564 มีรายได้รวม 409,744,106.37 บาท ขาดทุนสุทธิ 43,784,884.68 บาท ขณะที่ นายวิโรจน์ จุนประทีปทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ เสียชีวิตไปนานแล้ว เหลือแต่นายมนัส รณกรกิจอนันต์ ลูกพี่ลูกน้องบริหารร่วมกับครอบครัวจุนประทีปทอง

    #Newskit #ตั้งฮั่วเส็ง #ปิดกิจการ
    การไฟฟ้าฯ จะตัดไฟ อำลาตั้งฮั่วเส็ง ธนบุรี จากกระแสไวรัลบนโซเชียลฯ ถึงความเงียบเหงาของศูนย์การค้าฝั่งธนบุรี ท่ามกลางคำถามที่ว่าอนาคตจะไปทางไหน ในที่้สุดห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง ธนบุรี ถนนสิรินธร ย่านบางพลัด แจ้งกับร้านค้าเป็นการภายในเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (6 ก.ย.) ว่าจำเป็นต้องปิดทำการห้างฯ อาคาร 12 ชั้น ซึ่งมีผลกระทบในพื้นที่ขายทั้งหมด เพราะได้รับหนังสือแจ้งจากการไฟฟ้านครหลวง ขอยุติการจ่ายกระแสไฟฟ้าในวันอังคารที่ 10 ก.ย. 2567 เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป "ทางบริษัทฯ อยู่ในระหว่างดำเนินการแก้ไขและเจรจากับผู้ร่วมทุนใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จ ทางห้างฯ จะเร่งกลับมาเปิดบริการในเร็วๆ นี้ และขออภัยในความไม่สะดวกกับเหตุการณ์ครั้งนี้" ประกาศฉบับดังกล่าว ระบุ บรรดาร้านค้าที่ทราบข่าวเตรียมทยอยขนของออกจากห้างฯ โดยเฉพาะร้านขายโทรศัพท์มือถือ ที่ไม่ทราบเรื่องดังกล่าวมาก่อน กระทั่งได้รับจดหมายแจ้งว่าจะตัดไฟในวันอังคาร ต้องเก็บของย้ายออกจากห้างฯ มีผลกระทบมาก ส่วนร้านหมาล่าสายพาน "ฟุ่ยโหยว หมาล่า" ที่เปิดไม่ถึงครึ่งปี ต้องปรับเป็นบุฟเฟ่ต์แบบขาดทุน ก่อนปิดแบบไม่มีกำหนด กระแสโซเชียลฯ ต่างให้กำลังใจทางร้านและอุดหนุน ทำบางเมนูหมดลงไปแล้ว ปริศนาคลี่คลายเมื่อมีชาวเน็ตต่างเผยแพร่ข้อมูลว่า บริษัท สรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง จำกัด ถูกธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ฟ้องต่อศาลแพ่งตลิ่งชัน คดีหมายเลขแดงที่ ผบ.7325/2562 แล้วกรมบังคับคดีได้ประกาศขายทรัพย์รวม 27 แปลง ราคาประเมิน 1,365,690,450 บาท โดยพบว่ามีบุคคลภายนอก (คาดว่ามาจากกลุ่มทุนอสังหาริมทรัพย์) ประมูลมาได้ แต่ต่ำกว่าราคาประเมิน ส่วนห้างตั้งฮั่วเส็ง สาขาบางลำภู ก็ขายทอดตลาดไปแล้วเช่นกัน ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง ก่อตั้งขึ้นในปี 2505 ที่ย่านบางลำพู เดิมเป็นร้านจำหน่ายสินค้าอุปกรณ์เย็บปักถักร้อย เครื่องสำอาง ผ้าแฟชั่น และอุปกรณ์ตัดเย็บต่างๆ ก่อนจะเปิดห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง บางลำพู ภายใต้การบริหารของนายวิโรจน์ จุนประทีปทอง กระทั่งปี 2534 เปิดห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง ธนบุรี อาคารสูง 10 ชั้น ที่จอดรถมากกว่า 800 คัน ต่อมาในปี 2554 รีโนเวตโดยเปลี่ยนชื่อเป็น T-SQUARE ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าบริษัทฯ ขาดทุนทุกปี ส่งงบการเงินปีสุดท้าย 2564 มีรายได้รวม 409,744,106.37 บาท ขาดทุนสุทธิ 43,784,884.68 บาท ขณะที่ นายวิโรจน์ จุนประทีปทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ เสียชีวิตไปนานแล้ว เหลือแต่นายมนัส รณกรกิจอนันต์ ลูกพี่ลูกน้องบริหารร่วมกับครอบครัวจุนประทีปทอง #Newskit #ตั้งฮั่วเส็ง #ปิดกิจการ
    Sad
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 1033 มุมมอง 0 รีวิว
  • ลาก่อนกาดสวนแก้ว ประกาศขาย 3 พันล้าน

    ทำเอาชาวเชียงใหม่ใจหายซ้ำสอง หลังธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประกาศขายอุทยานการค้ากาดสวนแก้ว อดีตศูนย์การค้าเก่าแก่สูง 10 ชั้น บนเนื้อที่ 27 ไร่ 2 งาน 98 ตารางวา ริมถนนห้วยแก้ว เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ในราคา 3,000 ล้านบาท หลังศูนย์การค้าฯ ปิดให้บริการชั่วคราวเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2565 ที่ผ่านมา แต่ที่สุดแล้วกลายเป็นการปิดถาวร เป็นที่น่าเสียดายแก่ชาวเชียงใหม่ยุค 80 และ 90 ที่เคยมีประสบการณ์กับสถานที่แห่งนี้

    อุทยานการค้ากาดสวนแก้ว เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2535 ก่อตั้งโดย ร.ต.ท.สุชัย เก่งการค้า อดีตสถาปนิกกรมตำรวจ ที่ผันตัวมาเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยด้านข้างยังมีโรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว สูง 13 ชั้น ขนาด 420 ห้อง โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ตัวอาคารก่อด้วยอิฐสีน้ำตาลเข้ม บุผนังด้านนอกอาคารทั้งหลัง จุดเด่นคือห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาแรกในต่างจังหวัด โรงภาพยนตร์วิสต้า ขนาด 7 โรง และโรงละครกาดเธียเตอร์ ชั้น 5 ความจุ 1,500 ที่นั่ง

    แม้จะเป็นศูนย์การค้ายอดนิยมของคนเชียงใหม่ยุคนั้น แต่ด้วยการแข่งขันธุรกิจค้าปลีกที่สูงขึ้น กลุ่มทุนจากส่วนกลาง อาทิ เซ็นทรัลพัฒนา เปิดศูนย์การค้าเซ็นทรัล เฟสติวัล เชียงใหม่ บริเวณสี่แยกศาลเด็ก เพิ่มเติมจากศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต รวมทั้งกลุ่มเอสเอฟ คอร์ปอเรชั่น เปิดศูนย์การค้าเม-ญ่า ไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ บริเวณสี่แยกรินคำ ไม่นับรวมห้างค้าปลีก คอมมูนิตีมอลล์จำนวนมาก แม้กาดสวนแก้วพยายามรีโนเวตให้ทันสมัย แต่ไม่อาจต้านทานได้

    อีกทั้งสถานการณ์โควิด 19 ตั้งแต่ปลายปี 2562 ไม่มีนักท่องเที่ยว แม้จะช่วยลดค่าเช่า ค่าบริการ ผ่อนผันร้านค้าทุกวิถีทาง พร้อมกับปรับลดค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่เนื่องจากการระบาดยังคงยืดเยื้อต่อเนื่อง อีกทั้งภาครัฐไม่มีนโยบายผ่อนปรนหรือช่วยเหลืออีกต่อไป จึงจำเป็นต้องปิดศูนย์การค้าฯ ชั่วคราว แต่ในที่สุดก็กลายเป็นการปิดถาวร

    อนึ่ง ก่อนหน้านี้กรมบังคับคดีเพิ่งประกาศจำหน่ายทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ศูนย์การค้าพรอมเมนาดา เชียงใหม่ รีสอร์ตมอลล์ 24 แปลง เนื้อที่ประมาณ 54 ไร่ บริเวณแยกต่างระดับดอนจั่น ถนนวงแหวนรอบสอง ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 10 กิโลเมตร กำหนดราคาประเมิน 2,058 ล้านบาท จำหน่ายครั้งแรก 21 ต.ค. 2567 หลังศูนย์การค้าฯ ประกาศปิดให้บริการไปเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2565 และศาลล้มละลายกลาง พิพากษาให้ บริษัท อีซีซี เชียงใหม่ โครงการ 1 จำกัด ล้มละลายเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2566

    #Newskit #กาดสวนแก้ว #เชียงใหม่
    ลาก่อนกาดสวนแก้ว ประกาศขาย 3 พันล้าน ทำเอาชาวเชียงใหม่ใจหายซ้ำสอง หลังธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประกาศขายอุทยานการค้ากาดสวนแก้ว อดีตศูนย์การค้าเก่าแก่สูง 10 ชั้น บนเนื้อที่ 27 ไร่ 2 งาน 98 ตารางวา ริมถนนห้วยแก้ว เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ในราคา 3,000 ล้านบาท หลังศูนย์การค้าฯ ปิดให้บริการชั่วคราวเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2565 ที่ผ่านมา แต่ที่สุดแล้วกลายเป็นการปิดถาวร เป็นที่น่าเสียดายแก่ชาวเชียงใหม่ยุค 80 และ 90 ที่เคยมีประสบการณ์กับสถานที่แห่งนี้ อุทยานการค้ากาดสวนแก้ว เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2535 ก่อตั้งโดย ร.ต.ท.สุชัย เก่งการค้า อดีตสถาปนิกกรมตำรวจ ที่ผันตัวมาเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยด้านข้างยังมีโรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว สูง 13 ชั้น ขนาด 420 ห้อง โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ตัวอาคารก่อด้วยอิฐสีน้ำตาลเข้ม บุผนังด้านนอกอาคารทั้งหลัง จุดเด่นคือห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาแรกในต่างจังหวัด โรงภาพยนตร์วิสต้า ขนาด 7 โรง และโรงละครกาดเธียเตอร์ ชั้น 5 ความจุ 1,500 ที่นั่ง แม้จะเป็นศูนย์การค้ายอดนิยมของคนเชียงใหม่ยุคนั้น แต่ด้วยการแข่งขันธุรกิจค้าปลีกที่สูงขึ้น กลุ่มทุนจากส่วนกลาง อาทิ เซ็นทรัลพัฒนา เปิดศูนย์การค้าเซ็นทรัล เฟสติวัล เชียงใหม่ บริเวณสี่แยกศาลเด็ก เพิ่มเติมจากศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต รวมทั้งกลุ่มเอสเอฟ คอร์ปอเรชั่น เปิดศูนย์การค้าเม-ญ่า ไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ บริเวณสี่แยกรินคำ ไม่นับรวมห้างค้าปลีก คอมมูนิตีมอลล์จำนวนมาก แม้กาดสวนแก้วพยายามรีโนเวตให้ทันสมัย แต่ไม่อาจต้านทานได้ อีกทั้งสถานการณ์โควิด 19 ตั้งแต่ปลายปี 2562 ไม่มีนักท่องเที่ยว แม้จะช่วยลดค่าเช่า ค่าบริการ ผ่อนผันร้านค้าทุกวิถีทาง พร้อมกับปรับลดค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่เนื่องจากการระบาดยังคงยืดเยื้อต่อเนื่อง อีกทั้งภาครัฐไม่มีนโยบายผ่อนปรนหรือช่วยเหลืออีกต่อไป จึงจำเป็นต้องปิดศูนย์การค้าฯ ชั่วคราว แต่ในที่สุดก็กลายเป็นการปิดถาวร อนึ่ง ก่อนหน้านี้กรมบังคับคดีเพิ่งประกาศจำหน่ายทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ศูนย์การค้าพรอมเมนาดา เชียงใหม่ รีสอร์ตมอลล์ 24 แปลง เนื้อที่ประมาณ 54 ไร่ บริเวณแยกต่างระดับดอนจั่น ถนนวงแหวนรอบสอง ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 10 กิโลเมตร กำหนดราคาประเมิน 2,058 ล้านบาท จำหน่ายครั้งแรก 21 ต.ค. 2567 หลังศูนย์การค้าฯ ประกาศปิดให้บริการไปเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2565 และศาลล้มละลายกลาง พิพากษาให้ บริษัท อีซีซี เชียงใหม่ โครงการ 1 จำกัด ล้มละลายเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2566 #Newskit #กาดสวนแก้ว #เชียงใหม่
    Like
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 987 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขาย'พรอมเมนาดา' ตำนานห้างเชียงใหม่

    นับเป็นการปิดฉากตำนานรีสอร์ตมอลล์ในเมืองเชียงใหม่ เมื่อกรมบังคับคดีเตรียมขายทรัพย์สินที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โครงการพรอมเมนาดา รีสอร์ต มอลล์ บริเวณแยกดอนจั่น ถนนวงแหวนรอบ 2 ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จากคดีหมายเลขแดงที่ ล.2966/2562 ที่ บริษัท ฟลอยด์ จำกัด (มหาชน) ยื่นฟ้อง บริษัท อีซีซี เชียงใหม่ โครงการ 1 จำกัด และศาลได้พิพากษาให้จำเลยล้มละลายเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2566 โดยจะทำการขายรวม 24 แปลง กำหนดราคาประเมินรวม 2,058,375,055 บาท

    ทั้งนี้ กรมบังคับคดีจะทำการขายโดยปลอดการจำนอง โดยได้กำหนดจำหน่ายทรัพย์ครั้งแรกวันที่ 21 ต.ค. 2567 ที่กรมบังคับคดี ถนนบางขุนนนท์ กรุงเทพฯ ผู้ประสงค์จะเข้าเสนอราคาต้องวางหลักประกันเป็นจำนวน 105,000,000.00 บาท จึงเป็นที่จับตามองว่า ผู้พัฒนาศูนย์การค้าหรืออสังหาริมทรัพย์รายใดจะคว้าศูนย์การค้านี้ไปครอง หลังจากถูกปล่อยทิ้งร้างมานานกว่า 2 ปี แม้ว่าทำเลจะอยู่ห่างออกไปจากใจกลางเมืองเชียงใหม่ ไปทางถนนซูเปอร์ไฮเวย์ประมาณ 10 กิโลเมตรก็ตาม

    สำหรับพรอมเมนาดา เชียงใหม่ เป็นศูนย์การค้าสไตล์รีสอร์ต มอลล์ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 58 ไร่ ลงทุนและบริหารโครงการโดยอีซีซี อินเตอร์เนชั่นแนล เรียลเอสเตท ซึ่งเป็นกลุ่มทุนจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ใช้เงินลงทุนกว่า 2,900 ล้านบาท ก่อสร้างเสร็จและเริ่มเปิดให้บริการเฟสแรกเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2556 แบ่งออกเป็น 2 อาคาร ได้แก่ อาคาร A และอาคาร B มีผู้เช่าหลักหลักประกอบด้วย ริมปิง ซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านชิชาง ดิ เอ็กซ์พีเรียน สโตร์, โรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซีเนม่า จำนวน 8 โรง เป็นต้น

    ในช่วงเปิดตัวได้รับความนิยม เนื่องจากสถาปัตยกรรมแปลกใหม่และความหรูหรา แต่ด้วยการแข่งขันด้านชอปปิ้งมอลล์ที่รุนแรงขึ้น อีกทั้งทำเลที่ตั้งอยู่ไกลจากเมือง ทำให้ความนิยมค่อยๆ ลดลง มีผู้ใช้บริการค่อนข้างน้อย ส่วนร้านดังต่างทยอยปิดตัวลง

    ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2565 ศูนย์การค้าฯ แจ้งร้านค้าปิดให้บริการชั่วคราวอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ตั้งแต่เดือน มี.ค. 2563 เป็นต้นมา แม้พยายามประคับประคองและต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายตลอด 3 ปี พยายามให้ส่วนลดค่าเช่ารวมถึงงดเก็บค่าเช่าในบางเดือน แต่ไม่อาจแบกรับภาระได้ ภายหลังยอมรับว่าค้างชำระค่าไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอยู่จำนวนหนึ่ง แม้ผ่อนชำระตามเงื่อนไข แต่กลับแจ้งให้ชำระเต็มจำนวน ซึ่งไม่สามารถหาเงินมาได้ทัน

    #Newskit #กรมบังคับคดี #Promenada
    ขาย'พรอมเมนาดา' ตำนานห้างเชียงใหม่ นับเป็นการปิดฉากตำนานรีสอร์ตมอลล์ในเมืองเชียงใหม่ เมื่อกรมบังคับคดีเตรียมขายทรัพย์สินที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โครงการพรอมเมนาดา รีสอร์ต มอลล์ บริเวณแยกดอนจั่น ถนนวงแหวนรอบ 2 ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จากคดีหมายเลขแดงที่ ล.2966/2562 ที่ บริษัท ฟลอยด์ จำกัด (มหาชน) ยื่นฟ้อง บริษัท อีซีซี เชียงใหม่ โครงการ 1 จำกัด และศาลได้พิพากษาให้จำเลยล้มละลายเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2566 โดยจะทำการขายรวม 24 แปลง กำหนดราคาประเมินรวม 2,058,375,055 บาท ทั้งนี้ กรมบังคับคดีจะทำการขายโดยปลอดการจำนอง โดยได้กำหนดจำหน่ายทรัพย์ครั้งแรกวันที่ 21 ต.ค. 2567 ที่กรมบังคับคดี ถนนบางขุนนนท์ กรุงเทพฯ ผู้ประสงค์จะเข้าเสนอราคาต้องวางหลักประกันเป็นจำนวน 105,000,000.00 บาท จึงเป็นที่จับตามองว่า ผู้พัฒนาศูนย์การค้าหรืออสังหาริมทรัพย์รายใดจะคว้าศูนย์การค้านี้ไปครอง หลังจากถูกปล่อยทิ้งร้างมานานกว่า 2 ปี แม้ว่าทำเลจะอยู่ห่างออกไปจากใจกลางเมืองเชียงใหม่ ไปทางถนนซูเปอร์ไฮเวย์ประมาณ 10 กิโลเมตรก็ตาม สำหรับพรอมเมนาดา เชียงใหม่ เป็นศูนย์การค้าสไตล์รีสอร์ต มอลล์ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 58 ไร่ ลงทุนและบริหารโครงการโดยอีซีซี อินเตอร์เนชั่นแนล เรียลเอสเตท ซึ่งเป็นกลุ่มทุนจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ใช้เงินลงทุนกว่า 2,900 ล้านบาท ก่อสร้างเสร็จและเริ่มเปิดให้บริการเฟสแรกเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2556 แบ่งออกเป็น 2 อาคาร ได้แก่ อาคาร A และอาคาร B มีผู้เช่าหลักหลักประกอบด้วย ริมปิง ซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านชิชาง ดิ เอ็กซ์พีเรียน สโตร์, โรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซีเนม่า จำนวน 8 โรง เป็นต้น ในช่วงเปิดตัวได้รับความนิยม เนื่องจากสถาปัตยกรรมแปลกใหม่และความหรูหรา แต่ด้วยการแข่งขันด้านชอปปิ้งมอลล์ที่รุนแรงขึ้น อีกทั้งทำเลที่ตั้งอยู่ไกลจากเมือง ทำให้ความนิยมค่อยๆ ลดลง มีผู้ใช้บริการค่อนข้างน้อย ส่วนร้านดังต่างทยอยปิดตัวลง ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2565 ศูนย์การค้าฯ แจ้งร้านค้าปิดให้บริการชั่วคราวอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ตั้งแต่เดือน มี.ค. 2563 เป็นต้นมา แม้พยายามประคับประคองและต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายตลอด 3 ปี พยายามให้ส่วนลดค่าเช่ารวมถึงงดเก็บค่าเช่าในบางเดือน แต่ไม่อาจแบกรับภาระได้ ภายหลังยอมรับว่าค้างชำระค่าไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอยู่จำนวนหนึ่ง แม้ผ่อนชำระตามเงื่อนไข แต่กลับแจ้งให้ชำระเต็มจำนวน ซึ่งไม่สามารถหาเงินมาได้ทัน #Newskit #กรมบังคับคดี #Promenada
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 908 มุมมอง 0 รีวิว