• คุยกันเรื่องวังหลังของเฉียนหลงฮ่องเต้มาหลายสัปดาห์ วันนี้ยังคุยกันเรื่องนี้ แต่เปลี่ยนเป็นละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งถามถึงเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพวาดที่พูดถึงในละคร

    ท่านใดที่ได้เคยดูละครหรืออ่านนิยายเรื่องนี้จะทราบว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานรูปภาพทั้งหมดสิบสองภาพให้แก่เหล่าพระมเหสี โดยในเรื่องมีการเล่าถึงความหมายของบางรูปภาพและมีการตีความกันไปต่างๆ นาๆ ว่าองค์เฉียนหลงทรงหมายถึงอะไร ในเรื่องนั้นองค์เฉียนหลงทรงต้องการให้พวกนางไปใช้เวลาไปตีความหมายกันเองจะได้ไม่มีเรื่องราวมากวนพระทัย แต่แน่นอนว่าภาพวาดเหล่านี้ล้วนมีเรื่องราวของมัน คงต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าเราจะคุยจบทั้ง 12 ภาพวาด อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ

    ภาพทั้งสิบสองภาพนี้ถูกเรียกรวมว่า ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ได้รับการวาดขึ้นคู่กับบทกวีสิบสองบทที่เรียกว่า ‘กงซวิ่นซือ’ (宫训诗 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+บทกวี) ที่ทรงให้เหล่าขุนนางเป็นผู้แต่งและจัดทำเป็นป้ายสี่อักษรที่สื่อถึงบทกวีเต็ม และได้ทรงกำหนดไว้ว่า ในทุกวันที่ 26 เดือน 12 ตามปฏิทินจีน (คือห้าวันก่อนตรุษจีน ซึ่งเป็นช่วงเวลาจัดเตรียมการฉลองวันตรุษ) ทั้งสิบสองตำหนักต้องเอาภาพและป้ายอักษรดังกล่าวออกมาแขวน โดยภาพวาดให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันตก ส่วนป้ายอักษรให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันออก รอจนวันที่ 2 เดือน 2 จึงจะปลดลงได้

    ภาพแรกที่จะคุยกันวันนี้เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานให้ฮองเฮา เซี่ยวเสียนฉุนหวงโฮ่วแห่งพระตำหนักฉางชุนกง มีชื่อว่าภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร)

    ‘ไท่ซึ’ คือใคร? ไท่ซึเป็นชายาเอกในองค์โจวเหวินหวาง อ๋องผู้ปกครองแคว้นโจวในสมัยปลายราชวงศ์ซางระหว่างปี 1110-1050 ก่อนคริสตกาลและเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์โจว (หมายเหตุ คือองค์โจวเหวินหวางผู้ทรงกำหนดเพิ่มสายพิณเส้นที่หกที่มีชื่อว่า เซ่ากง บนพิณโบราณกู่ฉินเพื่อเป็นการระลึกถึงโอรสที่วายชนม์ ซึ่ง Storyฯ เคยเล่าถึงตอนคุยเรื่องชื่อของสายพิณจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/569581261836837 )

    จากบันทึกโบราณและบทกวีต่างๆ ที่กล่าวถึง ว่ากันว่า ไท่ซึมีรูปโฉมและจริยวัตรงดงามและมีเมตตา เป็นผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นคู่ครองที่เหมาะสมกับโจวเหวินหวางและเป็นมารดาที่ดีแห่งแคว้น (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) นางมีบุตรชายสิบคนให้กับโจวเหวินหวาง ซึ่งเป็นที่กล่าวขานว่านางสั่งสอนบุตรอย่างเข้มงวดจนเป็นคนดีมีความกตัญญูทุกคน

    มีเรื่องราวต่อมาอีกว่า โอรสคนโตของนางและโจวเหวินหวาง นามว่า ป๋ออี้เข่า นั้น ในตำนานว่ากันว่าเป็นบุรุษรูปงาม เชี่ยวชาญด้านพิณ และขึ้นชื่อว่าเป็นบุตรที่กตัญญูมาก ในสมัยนั้นโจ้วหวางผู้เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซางเพ่งเล็งและระแวงในแคว้นโจว และเพื่อเป็นการปกป้องโจวเหวินหวางและแคว้น ป๋ออี้เข่ายอมจากบ้านเกิดมาเป็นตัวประกันที่ราชสำนักซาง

    โจ้วหวางมีมเหสีที่รักมากชื่อว่าต๋าจี่ ผู้มีความงามอย่างที่หาใครเปรียบได้ยาก ตามตำนานเล่าว่า ต๋าจี่หลงรักป๋ออี้เข่าตั้งแต่แรกพบ เลยใช้ข้ออ้างขอเรียนพิณเพื่อเข้าใกล้ป๋ออี้เข่า แต่เขาไม่มีใจให้นาง นางโกรธแค้นเขามาก จึงสร้างเรื่องว่าถูกเขาลวนลาม ทำให้โจ้วหวางโกรธจนสังหารป๋ออี้เข่าทิ้ง ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจเริ่มคุ้นหูคุ้นตากันบ้างไหมกับชื่อ ‘ต๋าจี่’ นี้ แต่นี่คือเรื่องเล่าในตำนานสงครามเทพ <เฟิงเสิน> และต๋าจี่คือนางงามที่เป็นปีศาจจิ้งจอกจำแลงนั่นเอง

    โจ้วหวางถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นทรราชเพราะมีพฤติกรรมโหดเหี้ยมอำมหิตมากมาย ต๋าจี่กลายเป็นตำนานนางจิ้งจอก เป็นตัวแทนของหญิงงามล่มเมือง และเรื่องราวของป๋ออี้เข่าเป็นโศกนาฏกรรมที่เกิดต่อครอบครัวของโจวเหวินหวางและไท่ซึ และเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้โจวเหวินหวางลุกขึ้นเป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ซางและสถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว ต่อมาบุตรชายคนรองคือโจวอู่หวางก็โค่นล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ (และในเรื่องชื่อของสายพิณที่ Storyฯ เคยเล่าถึงไปแล้วนั้น โจวอู่หวางคือผู้ที่เสริมสายพิณเส้นที่เจ็ดเข้าไปในพิณโบราณกู่ฉินและตั้งชื่อสายพิณเส้นนั้นว่า เซ่าซาง เพื่อเป็นการรำลึกถึงการล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ)

    ดูจะเชื่อมโยงตัวละครจากหลากหลายบทความที่ Storyฯ เคยเขียนถึง ลองย้อนกลับไปอ่านบทความเก่าๆ กันนะคะ จะได้ไม่งง

    สรุปว่า ภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ นี้แฝงไว้ซึ่งเรื่องราวความกตัญญูและโศกนาฏกรรมของป๋ออี้เข่า อารมณ์แฝงอาจสอดคล้องกับอารมณ์ที่โศกเศร้าของฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนที่ต้องสูญเสียพระโอรสไปก่อนเวลาอันควร แต่ยังสะท้อนถึงจริยวัตรของการเป็นมารดาที่สั่งสอนบุตรอย่างดีอีกด้วย ส่วนป้ายอักษรที่มาคู่กับภาพนี้คือ ‘จิ้งซิวเน่ยเจ๋อ’ (敬休内则) มีความหมายประมาณว่า วางตนอย่างสงบและบริหารงานภายในครอบครัวให้เรียบร้อย

    จึงเป็นที่มาของการตีความโดยตัวละครต่างๆ ในเรื่องนี้ว่า ความหมายของรูปภาพนี้คืออยากให้ฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนเลิกโศกเศร้าแล้วลุกขึ้นมาดูแลวังหลังในฐานะมารดาแห่งแผ่นดิน การตีความแบบนี้ถูกหรือไม่ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ แต่เห็นว่าเรื่องราวจากภาพนี้ก็อ่านเพลินดี เพื่อนเพจเห็นด้วยไหม

    สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อกับภาพต่อไปค่ะ

    หมายเหตุ อัพเดทเพิ่มเติมวันที่ 22/8/2566 นะคะว่า ภาพวาดที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนี้ เป็นผลงานในสมัยองค์คังซีของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจินเกี่ยวกับไท่ซึค่ะ ภาพจริงของ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ ซึ่งเป็น 1 ใน 12 กงซวิ่นถูนั้นสูญหายไปแล้ว หน้าตาเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบได้

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://autos.yahoo.com.tw/被催生氣炸-富察皇后吐單身心聲-094507428.html
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    http://lethe921.blogspot.com/2013/05/blog-post.html
    http://www.chinakongzi.org/baike/RENWU/xianqin/201707/t20170720_139258.htm
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/妲己
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/伯邑考
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ภาพวาดเฉียนหลง #ไท่ซึฮุ่ยจื่อ #ไท่ซึ #โจวเหวินหวาง #โจวอู่หวาง #โจ้วหวาง #ต๋าจี่ #นางจิ้งจอก #เฟิงเสิน
    คุยกันเรื่องวังหลังของเฉียนหลงฮ่องเต้มาหลายสัปดาห์ วันนี้ยังคุยกันเรื่องนี้ แต่เปลี่ยนเป็นละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งถามถึงเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพวาดที่พูดถึงในละคร ท่านใดที่ได้เคยดูละครหรืออ่านนิยายเรื่องนี้จะทราบว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานรูปภาพทั้งหมดสิบสองภาพให้แก่เหล่าพระมเหสี โดยในเรื่องมีการเล่าถึงความหมายของบางรูปภาพและมีการตีความกันไปต่างๆ นาๆ ว่าองค์เฉียนหลงทรงหมายถึงอะไร ในเรื่องนั้นองค์เฉียนหลงทรงต้องการให้พวกนางไปใช้เวลาไปตีความหมายกันเองจะได้ไม่มีเรื่องราวมากวนพระทัย แต่แน่นอนว่าภาพวาดเหล่านี้ล้วนมีเรื่องราวของมัน คงต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าเราจะคุยจบทั้ง 12 ภาพวาด อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ ภาพทั้งสิบสองภาพนี้ถูกเรียกรวมว่า ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ได้รับการวาดขึ้นคู่กับบทกวีสิบสองบทที่เรียกว่า ‘กงซวิ่นซือ’ (宫训诗 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+บทกวี) ที่ทรงให้เหล่าขุนนางเป็นผู้แต่งและจัดทำเป็นป้ายสี่อักษรที่สื่อถึงบทกวีเต็ม และได้ทรงกำหนดไว้ว่า ในทุกวันที่ 26 เดือน 12 ตามปฏิทินจีน (คือห้าวันก่อนตรุษจีน ซึ่งเป็นช่วงเวลาจัดเตรียมการฉลองวันตรุษ) ทั้งสิบสองตำหนักต้องเอาภาพและป้ายอักษรดังกล่าวออกมาแขวน โดยภาพวาดให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันตก ส่วนป้ายอักษรให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันออก รอจนวันที่ 2 เดือน 2 จึงจะปลดลงได้ ภาพแรกที่จะคุยกันวันนี้เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานให้ฮองเฮา เซี่ยวเสียนฉุนหวงโฮ่วแห่งพระตำหนักฉางชุนกง มีชื่อว่าภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร) ‘ไท่ซึ’ คือใคร? ไท่ซึเป็นชายาเอกในองค์โจวเหวินหวาง อ๋องผู้ปกครองแคว้นโจวในสมัยปลายราชวงศ์ซางระหว่างปี 1110-1050 ก่อนคริสตกาลและเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์โจว (หมายเหตุ คือองค์โจวเหวินหวางผู้ทรงกำหนดเพิ่มสายพิณเส้นที่หกที่มีชื่อว่า เซ่ากง บนพิณโบราณกู่ฉินเพื่อเป็นการระลึกถึงโอรสที่วายชนม์ ซึ่ง Storyฯ เคยเล่าถึงตอนคุยเรื่องชื่อของสายพิณจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/569581261836837 ) จากบันทึกโบราณและบทกวีต่างๆ ที่กล่าวถึง ว่ากันว่า ไท่ซึมีรูปโฉมและจริยวัตรงดงามและมีเมตตา เป็นผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นคู่ครองที่เหมาะสมกับโจวเหวินหวางและเป็นมารดาที่ดีแห่งแคว้น (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) นางมีบุตรชายสิบคนให้กับโจวเหวินหวาง ซึ่งเป็นที่กล่าวขานว่านางสั่งสอนบุตรอย่างเข้มงวดจนเป็นคนดีมีความกตัญญูทุกคน มีเรื่องราวต่อมาอีกว่า โอรสคนโตของนางและโจวเหวินหวาง นามว่า ป๋ออี้เข่า นั้น ในตำนานว่ากันว่าเป็นบุรุษรูปงาม เชี่ยวชาญด้านพิณ และขึ้นชื่อว่าเป็นบุตรที่กตัญญูมาก ในสมัยนั้นโจ้วหวางผู้เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซางเพ่งเล็งและระแวงในแคว้นโจว และเพื่อเป็นการปกป้องโจวเหวินหวางและแคว้น ป๋ออี้เข่ายอมจากบ้านเกิดมาเป็นตัวประกันที่ราชสำนักซาง โจ้วหวางมีมเหสีที่รักมากชื่อว่าต๋าจี่ ผู้มีความงามอย่างที่หาใครเปรียบได้ยาก ตามตำนานเล่าว่า ต๋าจี่หลงรักป๋ออี้เข่าตั้งแต่แรกพบ เลยใช้ข้ออ้างขอเรียนพิณเพื่อเข้าใกล้ป๋ออี้เข่า แต่เขาไม่มีใจให้นาง นางโกรธแค้นเขามาก จึงสร้างเรื่องว่าถูกเขาลวนลาม ทำให้โจ้วหวางโกรธจนสังหารป๋ออี้เข่าทิ้ง ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจเริ่มคุ้นหูคุ้นตากันบ้างไหมกับชื่อ ‘ต๋าจี่’ นี้ แต่นี่คือเรื่องเล่าในตำนานสงครามเทพ <เฟิงเสิน> และต๋าจี่คือนางงามที่เป็นปีศาจจิ้งจอกจำแลงนั่นเอง โจ้วหวางถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นทรราชเพราะมีพฤติกรรมโหดเหี้ยมอำมหิตมากมาย ต๋าจี่กลายเป็นตำนานนางจิ้งจอก เป็นตัวแทนของหญิงงามล่มเมือง และเรื่องราวของป๋ออี้เข่าเป็นโศกนาฏกรรมที่เกิดต่อครอบครัวของโจวเหวินหวางและไท่ซึ และเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้โจวเหวินหวางลุกขึ้นเป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ซางและสถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว ต่อมาบุตรชายคนรองคือโจวอู่หวางก็โค่นล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ (และในเรื่องชื่อของสายพิณที่ Storyฯ เคยเล่าถึงไปแล้วนั้น โจวอู่หวางคือผู้ที่เสริมสายพิณเส้นที่เจ็ดเข้าไปในพิณโบราณกู่ฉินและตั้งชื่อสายพิณเส้นนั้นว่า เซ่าซาง เพื่อเป็นการรำลึกถึงการล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ) ดูจะเชื่อมโยงตัวละครจากหลากหลายบทความที่ Storyฯ เคยเขียนถึง ลองย้อนกลับไปอ่านบทความเก่าๆ กันนะคะ จะได้ไม่งง สรุปว่า ภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ นี้แฝงไว้ซึ่งเรื่องราวความกตัญญูและโศกนาฏกรรมของป๋ออี้เข่า อารมณ์แฝงอาจสอดคล้องกับอารมณ์ที่โศกเศร้าของฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนที่ต้องสูญเสียพระโอรสไปก่อนเวลาอันควร แต่ยังสะท้อนถึงจริยวัตรของการเป็นมารดาที่สั่งสอนบุตรอย่างดีอีกด้วย ส่วนป้ายอักษรที่มาคู่กับภาพนี้คือ ‘จิ้งซิวเน่ยเจ๋อ’ (敬休内则) มีความหมายประมาณว่า วางตนอย่างสงบและบริหารงานภายในครอบครัวให้เรียบร้อย จึงเป็นที่มาของการตีความโดยตัวละครต่างๆ ในเรื่องนี้ว่า ความหมายของรูปภาพนี้คืออยากให้ฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนเลิกโศกเศร้าแล้วลุกขึ้นมาดูแลวังหลังในฐานะมารดาแห่งแผ่นดิน การตีความแบบนี้ถูกหรือไม่ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ แต่เห็นว่าเรื่องราวจากภาพนี้ก็อ่านเพลินดี เพื่อนเพจเห็นด้วยไหม สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อกับภาพต่อไปค่ะ หมายเหตุ อัพเดทเพิ่มเติมวันที่ 22/8/2566 นะคะว่า ภาพวาดที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนี้ เป็นผลงานในสมัยองค์คังซีของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจินเกี่ยวกับไท่ซึค่ะ ภาพจริงของ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ ซึ่งเป็น 1 ใน 12 กงซวิ่นถูนั้นสูญหายไปแล้ว หน้าตาเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบได้ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://autos.yahoo.com.tw/被催生氣炸-富察皇后吐單身心聲-094507428.html https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html http://lethe921.blogspot.com/2013/05/blog-post.html http://www.chinakongzi.org/baike/RENWU/xianqin/201707/t20170720_139258.htm https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/妲己 https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/伯邑考 https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ภาพวาดเฉียนหลง #ไท่ซึฮุ่ยจื่อ #ไท่ซึ #โจวเหวินหวาง #โจวอู่หวาง #โจ้วหวาง #ต๋าจี่ #นางจิ้งจอก #เฟิงเสิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 37 มุมมอง 0 รีวิว
  • หลังคา-เทหน้าเทหลัง ฮวงจุ้ยดี 100%
    .
    หลังคาที่ถูกต้องนั้นจะต้องเป็น “ทรงปั้นหยา” มีมุมหลังคา 35 องศา เพื่อให้กระแสน้ำฝนค่อย ๆ ไหลเทระบายลงมา ให้พลังงานน้ำจากธรรมชาติไหลเวียนลงมาหน้าบ้าน แล้วก่อตัวเป็นลม พัดเข้าสู่ตัวบ้านให้มากที่สุด
    .
    หลังคาได้มุมแบบนี้ ให้ผลดีในทางฮวงจุ้ย ส่งผลต่อเรื่องทรัพย์ และยังส่งผลต่อสติปัญญาความหลักแหลมของผู้อยู่อาศัยในบ้านหลังนี้ด้วย
    .
    แต่ถ้าเอาให้สมบูรณ์จริง ๆ รูปแบบหลังคานั้นจะต้องเป็นแบบ “เทหน้า-เทหลัง”
    .
    ลักษณะการเทหน้าเทหลังเราจะดูจากชายคาค่ะ ทิศทางที่น้ำฝนไหลผ่านหลังคาลงมาที่ชายคา จะต้องเป็นหน้าบ้านและหลังบ้าน
    เป็นม่านสายฝนที่ตกผ่านประตูหน้าบ้านโดยไม่มีรางน้ำมากั้น ถือเป็นลักษณะที่ถูกต้องตามตำราฮวงจุ้ยโบราณ ที่เราจะรับเอาน้ำเอาลมเข้าบ้านให้ได้มากที่สุด
    หลังคา-เทหน้าเทหลัง ฮวงจุ้ยดี 100% . หลังคาที่ถูกต้องนั้นจะต้องเป็น “ทรงปั้นหยา” มีมุมหลังคา 35 องศา เพื่อให้กระแสน้ำฝนค่อย ๆ ไหลเทระบายลงมา ให้พลังงานน้ำจากธรรมชาติไหลเวียนลงมาหน้าบ้าน แล้วก่อตัวเป็นลม พัดเข้าสู่ตัวบ้านให้มากที่สุด . หลังคาได้มุมแบบนี้ ให้ผลดีในทางฮวงจุ้ย ส่งผลต่อเรื่องทรัพย์ และยังส่งผลต่อสติปัญญาความหลักแหลมของผู้อยู่อาศัยในบ้านหลังนี้ด้วย . แต่ถ้าเอาให้สมบูรณ์จริง ๆ รูปแบบหลังคานั้นจะต้องเป็นแบบ “เทหน้า-เทหลัง” . ลักษณะการเทหน้าเทหลังเราจะดูจากชายคาค่ะ ทิศทางที่น้ำฝนไหลผ่านหลังคาลงมาที่ชายคา จะต้องเป็นหน้าบ้านและหลังบ้าน เป็นม่านสายฝนที่ตกผ่านประตูหน้าบ้านโดยไม่มีรางน้ำมากั้น ถือเป็นลักษณะที่ถูกต้องตามตำราฮวงจุ้ยโบราณ ที่เราจะรับเอาน้ำเอาลมเข้าบ้านให้ได้มากที่สุด
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 56 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภูมิปัญญาดั้งเดิมและการพัฒนาคนรุ่นใหม่เป็นสองสิ่งที่สามารถผสมผสานกันได้อย่างลงตัว เพื่อสร้างสังคมที่ก้าวหน้าและยั่งยืน ภูมิปัญญาดั้งเดิมเป็นความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนานจากบรรพบุรุษ ซึ่งมักสะท้อนถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม และค่านิยมของชุมชน ในขณะที่การพัฒนาคนรุ่นใหม่มุ่งเน้นไปที่การเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนเพื่อรับมือกับความท้าทายในยุคปัจจุบันและอนาคต

    ### วิธีที่ภูมิปัญญาดั้งเดิมสามารถสนับสนุนการพัฒนาคนรุ่นใหม่:
    1. **การส่งเสริมคุณค่าและจริยธรรม**: ภูมิปัญญาดั้งเดิมมักเน้นเรื่องความเอื้ออาทร ความเคารพต่อธรรมชาติ และความสัมพันธ์ในชุมชน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

    2. **การเรียนรู้จากประสบการณ์**: การนำความรู้เดิมมาประยุกต์ใช้ เช่น การเกษตรแบบดั้งเดิม การแพทย์แผนโบราณ หรือการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน สามารถช่วยให้คนรุ่นใหม่เข้าใจและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    3. **การรักษาวัฒนธรรมและอัตลักษณ์**: การเรียนรู้และสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่นช่วยให้คนรุ่นใหม่รู้จักรากเหง้าของตนเอง และสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

    4. **การสร้างสมดุลระหว่างเก่าและใหม่**: การผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาดั้งเดิมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์สังคมได้ เช่น การใช้เทคโนโลยีเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ทันสมัย

    ### ความท้าทาย:
    - **การสื่อสารระหว่างรุ่น**: บางครั้งคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่อาจมีมุมมองที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีช่องทางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์
    - **การปรับตัว**: ภูมิปัญญาดั้งเดิมอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทสมัยใหม่ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ### สรุป:
    การพัฒนาคนรุ่นใหม่ควรคำนึงถึงการรักษาและต่อยอดภูมิปัญญาดั้งเดิม เพื่อสร้างสังคมที่แข็งแกร่งทั้งทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ การผสมผสานระหว่างความรู้เดิมและนวัตกรรมใหม่จะช่วยให้คนรุ่นใหม่เติบโตได้อย่างมีคุณภาพและพร้อมรับมือกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
    ภูมิปัญญาดั้งเดิมและการพัฒนาคนรุ่นใหม่เป็นสองสิ่งที่สามารถผสมผสานกันได้อย่างลงตัว เพื่อสร้างสังคมที่ก้าวหน้าและยั่งยืน ภูมิปัญญาดั้งเดิมเป็นความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนานจากบรรพบุรุษ ซึ่งมักสะท้อนถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม และค่านิยมของชุมชน ในขณะที่การพัฒนาคนรุ่นใหม่มุ่งเน้นไปที่การเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนเพื่อรับมือกับความท้าทายในยุคปัจจุบันและอนาคต ### วิธีที่ภูมิปัญญาดั้งเดิมสามารถสนับสนุนการพัฒนาคนรุ่นใหม่: 1. **การส่งเสริมคุณค่าและจริยธรรม**: ภูมิปัญญาดั้งเดิมมักเน้นเรื่องความเอื้ออาทร ความเคารพต่อธรรมชาติ และความสัมพันธ์ในชุมชน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 2. **การเรียนรู้จากประสบการณ์**: การนำความรู้เดิมมาประยุกต์ใช้ เช่น การเกษตรแบบดั้งเดิม การแพทย์แผนโบราณ หรือการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน สามารถช่วยให้คนรุ่นใหม่เข้าใจและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. **การรักษาวัฒนธรรมและอัตลักษณ์**: การเรียนรู้และสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่นช่วยให้คนรุ่นใหม่รู้จักรากเหง้าของตนเอง และสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม 4. **การสร้างสมดุลระหว่างเก่าและใหม่**: การผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาดั้งเดิมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์สังคมได้ เช่น การใช้เทคโนโลยีเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ทันสมัย ### ความท้าทาย: - **การสื่อสารระหว่างรุ่น**: บางครั้งคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่อาจมีมุมมองที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีช่องทางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ - **การปรับตัว**: ภูมิปัญญาดั้งเดิมอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทสมัยใหม่ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ### สรุป: การพัฒนาคนรุ่นใหม่ควรคำนึงถึงการรักษาและต่อยอดภูมิปัญญาดั้งเดิม เพื่อสร้างสังคมที่แข็งแกร่งทั้งทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ การผสมผสานระหว่างความรู้เดิมและนวัตกรรมใหม่จะช่วยให้คนรุ่นใหม่เติบโตได้อย่างมีคุณภาพและพร้อมรับมือกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 99 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🪭แม่สื่อสมัยโบราณ 🪭

    สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับขั้นตอนการสู่ขอและ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ และมีการกล่าวถึงการใช้แม่สื่อ แต่เพื่อนเพจคงไม่ได้อรรถรสว่าจริงๆ แล้วการใช้แม่สื่อมีความสำคัญมาก ในบางยุคสมัยอย่างเช่นสมัยถังถึงกับบัญญัติเป็นกฎหมายไว้ว่าการแต่งงานต้องมีแม่สื่อ

    เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า มีหน่วยงานรัฐรับหน้าที่แม่สื่อ?

    ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ ของสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกมีการระบุไว้ว่า: สำนักงาน ‘เหมยซึ’ (媒氏) มีหน้าที่ดูแลการแต่งงานของประชาชน... ทำทะเบียนบันทึกวันเดือนปีเกิดของทุกคนและจัดให้บุรุษแต่งงานเมื่ออายุสามสิบปีและสตรีเมื่ออายุยี่สิบปี... จัดเทศกาลกลางฤดูใบไม้ผลิหรือที่เรียกว่า ‘จงชุนฮุ่ย’ (仲春会) เพื่อเป็นโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะดูตัว...

    ก่อนจะลงลึกเรื่องหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อเหมยซึนี้ เรามาคุยกันเล็กน้อยเรื่องเกณฑ์อายุสมรสที่กล่าวถึงข้างต้น

    พวกเราจะคุ้นเคยว่ากฎหมายกำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำไว้ แต่ในสมัยโบราณมีกำหนดเกณฑ์อายุสูงสุดไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้คนแต่งงานมีลูกสืบสกุล ในความเชื่อของคนโบราณคือการไม่มีบุตรสืบสกุลถือเป็นความอกตัญญูอย่างใหญ่หลวง แต่จริงๆ แล้วในมุมมองของรัฐมันมีเหตุผลด้านการพัฒนาประเทศ อย่าลืมว่าแรกเริ่มเลยเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยเกษตรกรรม เมื่อประชากรน้อยผลผลิตก็น้อยรัฐก็จน อีกทั้งในสมัยโบราณมีศึกสงครามและอายุขัยของคนไม่ยาวเหมือนสมัยนี้ ดังนั้นทางการจึงพยายามกระตุ้นให้คนแต่งงานและมีลูกหลานกัน จนถึงขั้นกำหนดเป็นกฎหมายบังคับ เพียงแต่เกณฑ์อายุตามกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อย่างเช่นในสมัยฮั่นบุรุษต้องแต่งงานภายในอายุสามสิบปีและสตรีภายในอายุสิบห้าปี หาไม่แล้วต้องถูกปรับด้วยการจ่ายภาษีเพิ่มเป็นห้าเท่า (ในสมัยนั้นจ่ายภาษีเป็นรายหัว ไม่เกี่ยวกับรายได้) และในสมัยราชวงศ์เหนือใต้กำหนดว่าหากสตรีไม่แต่งงานภายในอายุสิบห้าปีพ่อแม่ต้องโทษจำคุก

    แต่ในสมัยโบราณก็มีคนที่ไม่ได้แต่งงานภายในอายุที่กฎหมายที่กำหนด บ้างยืดเวลาออกไปเพราะเหตุผลการไว้ทุกข์ให้พ่อแม่ บ้างมีเหตุผลอื่น แต่ Storyฯ ไม่ได้ไปหาข้อมูลต่อว่าแต่ละยุคสมัยเขามีวิธีหลีกเลี่ยงการแต่งงานกันอย่างไร แต่ที่ชัดเจนก็คือว่า ผู้ที่ถึงเกณฑ์อายุสูงสุดแล้วยังไม่ได้แต่งงานจะมีสำนักงานแม่สื่อมาช่วยจัดการหาคู่ให้ โดยมีความพยายามหว่านล้อมให้เจ้าตัวเห็นชอบและมีตัวเลือกให้ ไม่ใช่นึกจะบังคับแต่งกับใครก็บังคับเลย ประมาณว่าเป็นการบังคับแต่งงานแบบประนีประนอม และนี่เป็นหนึ่งในหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อ

    ทีนี้มาเข้าเรื่องหน้าที่แม่สื่อ... สำหรับหน้าที่แม่สื่อนี้ สำนักงานเหมยซึไม่เพียงหาคู่ให้กับผู้ที่ใกล้จะเลยเกณฑ์อายุสูงสุด หากแต่ยังช่วยหาคู่ให้กับผู้ที่ไม่มีพ่อแม่หรือผู้ใหญ่จัดการเรื่องนี้ รวมถึงจัดงานเทศกาลที่บังคับให้หนุ่มสาวออกมาพบปะและดูตัวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นธุระดูแลเรื่องพิธีการต่างๆ ให้ถูกต้องเช่นส่งคนไปช่วยสู่ขอ กำหนดวันแต่งงาน ช่วยจัดงานแต่งงาน และดูแลสินสอดให้เหมาะสม ในบางสมัยถึงกับมีหน้าที่จัดสรรเงินจากงบประมาณแผ่นดินหรือหาคณบดีท้องถิ่นมาเป็นผู้อุปถัมภ์เพื่อให้บุรุษที่ยากจนสามารถมีเงินสินสอดไปแต่งเมียได้ และอย่างในสมัยฉินมีหน้าที่จัดสรรที่ดินทำกินให้คู่บ่าวสาวไปตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ อันเกิดขึ้นในการหมั้นหมายและแต่งงาน

    และจากตัวอย่างที่ยกมาจากบันทึกโจวหลี่ จะเห็นว่าหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อมีอีกส่วนหนึ่งคืองานด้านทะเบียน โดยมีหน้าที่บันทึกว่าใครเกิดเมื่อไหร่แต่งงานแล้วหรือยัง หย่าร้างหรือไม่ รวมถึงดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน เช่นการลงโทษตามกฏหมาย (เช่น หลบหนีการแต่งงาน)

    ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่แม่สื่อในงานพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมงคลสมรสก็คือคนจากสำนักงานเหมยซึนี่เอง หรือที่เรียกว่า ‘แม่สื่อหลวง’ (官媒) แต่ผู้ที่เป็นแม่สื่อหลวงอาจไม่ใช่ขุนนางทุกคน เพราะเขาจะมีการจ้างคนนอกช่วยทำงาน กล่าวคือคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถมีฝีปากเป็นเลิศคล่องแคล่วแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ไม่มีประวัติอาชญากรรม ฯลฯ มาขึ้นทะเบียนเป็นแม่สื่อหลวงที่ต้องออกไปช่วยเจรจาทาบทามสู่ขอ ช่วยทำพิธีการต่างๆ โดยคนเหล่านี้ได้รับค่าจ้างหลวงแต่ไม่ใช่ข้าราชการ และส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือในท้องที่นั้นๆ หรือเป็นผู้ที่ผู้อาวุโสเหล่านี้แนะนำมา

    ในยุคที่รุ่งเรืองมากๆ อย่างสมัยซ่งนั้น กิจการแม่สื่อมืออาชีพก็เฟื่องฟูตาม มีทั้งแม่สื่อฝ่ายชายและแม่สื่อฝ่ายหญิง ในสมัยซ่งถึงขนาดมีแบ่งแยกระดับของแม่สื่อ ในบันทึก ‘ตงจิงเมิ่งหัวลู่’ ที่ให้รายละเอียดวิถีชีวิตและธรรมเนียมปฏิบัติของคนสมัยซ่งเหนือได้กล่าวไว้ว่า แม่สื่อขั้นสูงสุดนั้นมีผ้าโพกศีรษะสวมเสื้อนอกสีม่วง ให้บริการเฉพาะขุนนางและครอบครัวขุนนาง

    และต่อมาพัฒนาขึ้นเป็น ‘แม่สื่อเอกชน’ (私媒) แบบมืออาชีพ กล่าวคือได้ค่าจ้างจากครอบครัวบ่าวสาว แต่ก็ต้องขึ้นทะเบียนกับทางการอยู่ดี

    ทำไมแค่ช่วยสู่ขอช่วยจัดงานแต่งยังต้องทำเป็นทางการขนาดนั้น? นั่นเป็นเพราะว่าแม่สื่อมีหน้าที่และความรับผิดได้ตามกฎหมาย เป็นต้นว่า หากแม่สื่อโฆษณาคุณสมบัติของบุรุษสตรีเกินจริงจนเข้าข่ายบิดเบือนหรือหลอกลวงก็จะมีโทษ; แม่สื่อมีหน้าที่ตรวจสอบและสืบข้อมูลประวัติของทั้งสองครอบครัวเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นการแต่งงานที่เข้าข่ายต้องห้าม (เช่น ข้ามสถานะระหว่างบุคคลธรรมดากับบุคคลในทะเบียนทาส; เป็นพยานสำคัญว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวถูกคนหรือไม่ ตั้งแต่ข้อมูลวันเดือนปีเกิด เอกสารการหมั้นและการรับตัวเจ้าสาว หรือหากรู้เห็นเป็นใจการหนีสมรสก็มีโทษเช่นกัน; เป็นพยานสำคัญว่าสินสอดและสินเดิมเจ้าสาวถูกต้องครบถ้วนตามรายการบัญชีที่ทำ; และอาจเป็นพยานหรือเป็นผู้ช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างครอบครัวบ่าวสาวได้ ฯลฯ

    แม่สื่อเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ เพียงแต่ในยุคที่กิจการแม่สื่อเฟื่องฟู คนที่นิยมทำหน้าที่นี้เป็นสตรีเสียส่วนใหญ่ และจวบจนสมัยชิงยังมีการกล่าวถึงแม่สื่อหลวง โดยมีตัวอย่างจากบทประพันธ์โบราณชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ซึ่งเป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ดังนั้น แม่สื่อหลวงและแม่สื่อเอกชนอยู่คู่กับจีนมาหลายพันปีแล้ว

    และแน่นอนว่า แม่สื่อเอกชนแบบที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางการก็มี เช่นอาจมีการเชิญผู้ใหญ่คนรู้จักไปช่วยพูดจาทาบทาม เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะนึกภาพออกเพราะบ้านเราเรียกว่า ‘เถ้าแก่’ แต่เถ้าแก่นี้ไม่ใช่แม่สื่อหลักเพราะตามกระบวนการของกฎหมายต้องมีแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วช่วยดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแม่สื่อหลวงหรือแม่สื่อเอกชน ดังนั้นในบริบทนี้ บางครอบครัวอาจใช้เถ้าแก่มาเสริม จึงเกิดเป็นสำนวนที่ว่า ‘ซานเหมยลิ่วพิ่น’ ( 三媒六聘/สามแม่สื่อหกพิธีการแต่งงาน) กล่าวคือแม่สื่อหรือเถ้าแก่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และคนกลางซึ่งมักเป็นแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://meihuamag.com/牵线说媒,这行当已有五千年历史/
    http://sino.newdu.com/m/view.php?aid=91147
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.sss.net.cn/106001/30036.aspx
    http://www.heyuanxw.com/2014/wenhua_1216/15238.html
    http://iolaw.cssn.cn/xspl/200607/t20060726_4598436.shtml
    http://www.xinfajia.net/2592.html
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=795664&remap=gb#%娶妇
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_26937009

    #แม่สื่อ #กวนเหมย #ซือเหมย #เหมยซึ #การแต่งงานจีนโบราณ #สาระจีน
    🪭แม่สื่อสมัยโบราณ 🪭 สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับขั้นตอนการสู่ขอและ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ และมีการกล่าวถึงการใช้แม่สื่อ แต่เพื่อนเพจคงไม่ได้อรรถรสว่าจริงๆ แล้วการใช้แม่สื่อมีความสำคัญมาก ในบางยุคสมัยอย่างเช่นสมัยถังถึงกับบัญญัติเป็นกฎหมายไว้ว่าการแต่งงานต้องมีแม่สื่อ เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า มีหน่วยงานรัฐรับหน้าที่แม่สื่อ? ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ ของสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกมีการระบุไว้ว่า: สำนักงาน ‘เหมยซึ’ (媒氏) มีหน้าที่ดูแลการแต่งงานของประชาชน... ทำทะเบียนบันทึกวันเดือนปีเกิดของทุกคนและจัดให้บุรุษแต่งงานเมื่ออายุสามสิบปีและสตรีเมื่ออายุยี่สิบปี... จัดเทศกาลกลางฤดูใบไม้ผลิหรือที่เรียกว่า ‘จงชุนฮุ่ย’ (仲春会) เพื่อเป็นโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะดูตัว... ก่อนจะลงลึกเรื่องหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อเหมยซึนี้ เรามาคุยกันเล็กน้อยเรื่องเกณฑ์อายุสมรสที่กล่าวถึงข้างต้น พวกเราจะคุ้นเคยว่ากฎหมายกำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำไว้ แต่ในสมัยโบราณมีกำหนดเกณฑ์อายุสูงสุดไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้คนแต่งงานมีลูกสืบสกุล ในความเชื่อของคนโบราณคือการไม่มีบุตรสืบสกุลถือเป็นความอกตัญญูอย่างใหญ่หลวง แต่จริงๆ แล้วในมุมมองของรัฐมันมีเหตุผลด้านการพัฒนาประเทศ อย่าลืมว่าแรกเริ่มเลยเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยเกษตรกรรม เมื่อประชากรน้อยผลผลิตก็น้อยรัฐก็จน อีกทั้งในสมัยโบราณมีศึกสงครามและอายุขัยของคนไม่ยาวเหมือนสมัยนี้ ดังนั้นทางการจึงพยายามกระตุ้นให้คนแต่งงานและมีลูกหลานกัน จนถึงขั้นกำหนดเป็นกฎหมายบังคับ เพียงแต่เกณฑ์อายุตามกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อย่างเช่นในสมัยฮั่นบุรุษต้องแต่งงานภายในอายุสามสิบปีและสตรีภายในอายุสิบห้าปี หาไม่แล้วต้องถูกปรับด้วยการจ่ายภาษีเพิ่มเป็นห้าเท่า (ในสมัยนั้นจ่ายภาษีเป็นรายหัว ไม่เกี่ยวกับรายได้) และในสมัยราชวงศ์เหนือใต้กำหนดว่าหากสตรีไม่แต่งงานภายในอายุสิบห้าปีพ่อแม่ต้องโทษจำคุก แต่ในสมัยโบราณก็มีคนที่ไม่ได้แต่งงานภายในอายุที่กฎหมายที่กำหนด บ้างยืดเวลาออกไปเพราะเหตุผลการไว้ทุกข์ให้พ่อแม่ บ้างมีเหตุผลอื่น แต่ Storyฯ ไม่ได้ไปหาข้อมูลต่อว่าแต่ละยุคสมัยเขามีวิธีหลีกเลี่ยงการแต่งงานกันอย่างไร แต่ที่ชัดเจนก็คือว่า ผู้ที่ถึงเกณฑ์อายุสูงสุดแล้วยังไม่ได้แต่งงานจะมีสำนักงานแม่สื่อมาช่วยจัดการหาคู่ให้ โดยมีความพยายามหว่านล้อมให้เจ้าตัวเห็นชอบและมีตัวเลือกให้ ไม่ใช่นึกจะบังคับแต่งกับใครก็บังคับเลย ประมาณว่าเป็นการบังคับแต่งงานแบบประนีประนอม และนี่เป็นหนึ่งในหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อ ทีนี้มาเข้าเรื่องหน้าที่แม่สื่อ... สำหรับหน้าที่แม่สื่อนี้ สำนักงานเหมยซึไม่เพียงหาคู่ให้กับผู้ที่ใกล้จะเลยเกณฑ์อายุสูงสุด หากแต่ยังช่วยหาคู่ให้กับผู้ที่ไม่มีพ่อแม่หรือผู้ใหญ่จัดการเรื่องนี้ รวมถึงจัดงานเทศกาลที่บังคับให้หนุ่มสาวออกมาพบปะและดูตัวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นธุระดูแลเรื่องพิธีการต่างๆ ให้ถูกต้องเช่นส่งคนไปช่วยสู่ขอ กำหนดวันแต่งงาน ช่วยจัดงานแต่งงาน และดูแลสินสอดให้เหมาะสม ในบางสมัยถึงกับมีหน้าที่จัดสรรเงินจากงบประมาณแผ่นดินหรือหาคณบดีท้องถิ่นมาเป็นผู้อุปถัมภ์เพื่อให้บุรุษที่ยากจนสามารถมีเงินสินสอดไปแต่งเมียได้ และอย่างในสมัยฉินมีหน้าที่จัดสรรที่ดินทำกินให้คู่บ่าวสาวไปตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ อันเกิดขึ้นในการหมั้นหมายและแต่งงาน และจากตัวอย่างที่ยกมาจากบันทึกโจวหลี่ จะเห็นว่าหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อมีอีกส่วนหนึ่งคืองานด้านทะเบียน โดยมีหน้าที่บันทึกว่าใครเกิดเมื่อไหร่แต่งงานแล้วหรือยัง หย่าร้างหรือไม่ รวมถึงดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน เช่นการลงโทษตามกฏหมาย (เช่น หลบหนีการแต่งงาน) ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่แม่สื่อในงานพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมงคลสมรสก็คือคนจากสำนักงานเหมยซึนี่เอง หรือที่เรียกว่า ‘แม่สื่อหลวง’ (官媒) แต่ผู้ที่เป็นแม่สื่อหลวงอาจไม่ใช่ขุนนางทุกคน เพราะเขาจะมีการจ้างคนนอกช่วยทำงาน กล่าวคือคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถมีฝีปากเป็นเลิศคล่องแคล่วแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ไม่มีประวัติอาชญากรรม ฯลฯ มาขึ้นทะเบียนเป็นแม่สื่อหลวงที่ต้องออกไปช่วยเจรจาทาบทามสู่ขอ ช่วยทำพิธีการต่างๆ โดยคนเหล่านี้ได้รับค่าจ้างหลวงแต่ไม่ใช่ข้าราชการ และส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือในท้องที่นั้นๆ หรือเป็นผู้ที่ผู้อาวุโสเหล่านี้แนะนำมา ในยุคที่รุ่งเรืองมากๆ อย่างสมัยซ่งนั้น กิจการแม่สื่อมืออาชีพก็เฟื่องฟูตาม มีทั้งแม่สื่อฝ่ายชายและแม่สื่อฝ่ายหญิง ในสมัยซ่งถึงขนาดมีแบ่งแยกระดับของแม่สื่อ ในบันทึก ‘ตงจิงเมิ่งหัวลู่’ ที่ให้รายละเอียดวิถีชีวิตและธรรมเนียมปฏิบัติของคนสมัยซ่งเหนือได้กล่าวไว้ว่า แม่สื่อขั้นสูงสุดนั้นมีผ้าโพกศีรษะสวมเสื้อนอกสีม่วง ให้บริการเฉพาะขุนนางและครอบครัวขุนนาง และต่อมาพัฒนาขึ้นเป็น ‘แม่สื่อเอกชน’ (私媒) แบบมืออาชีพ กล่าวคือได้ค่าจ้างจากครอบครัวบ่าวสาว แต่ก็ต้องขึ้นทะเบียนกับทางการอยู่ดี ทำไมแค่ช่วยสู่ขอช่วยจัดงานแต่งยังต้องทำเป็นทางการขนาดนั้น? นั่นเป็นเพราะว่าแม่สื่อมีหน้าที่และความรับผิดได้ตามกฎหมาย เป็นต้นว่า หากแม่สื่อโฆษณาคุณสมบัติของบุรุษสตรีเกินจริงจนเข้าข่ายบิดเบือนหรือหลอกลวงก็จะมีโทษ; แม่สื่อมีหน้าที่ตรวจสอบและสืบข้อมูลประวัติของทั้งสองครอบครัวเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นการแต่งงานที่เข้าข่ายต้องห้าม (เช่น ข้ามสถานะระหว่างบุคคลธรรมดากับบุคคลในทะเบียนทาส; เป็นพยานสำคัญว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวถูกคนหรือไม่ ตั้งแต่ข้อมูลวันเดือนปีเกิด เอกสารการหมั้นและการรับตัวเจ้าสาว หรือหากรู้เห็นเป็นใจการหนีสมรสก็มีโทษเช่นกัน; เป็นพยานสำคัญว่าสินสอดและสินเดิมเจ้าสาวถูกต้องครบถ้วนตามรายการบัญชีที่ทำ; และอาจเป็นพยานหรือเป็นผู้ช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างครอบครัวบ่าวสาวได้ ฯลฯ แม่สื่อเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ เพียงแต่ในยุคที่กิจการแม่สื่อเฟื่องฟู คนที่นิยมทำหน้าที่นี้เป็นสตรีเสียส่วนใหญ่ และจวบจนสมัยชิงยังมีการกล่าวถึงแม่สื่อหลวง โดยมีตัวอย่างจากบทประพันธ์โบราณชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ซึ่งเป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ดังนั้น แม่สื่อหลวงและแม่สื่อเอกชนอยู่คู่กับจีนมาหลายพันปีแล้ว และแน่นอนว่า แม่สื่อเอกชนแบบที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางการก็มี เช่นอาจมีการเชิญผู้ใหญ่คนรู้จักไปช่วยพูดจาทาบทาม เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะนึกภาพออกเพราะบ้านเราเรียกว่า ‘เถ้าแก่’ แต่เถ้าแก่นี้ไม่ใช่แม่สื่อหลักเพราะตามกระบวนการของกฎหมายต้องมีแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วช่วยดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแม่สื่อหลวงหรือแม่สื่อเอกชน ดังนั้นในบริบทนี้ บางครอบครัวอาจใช้เถ้าแก่มาเสริม จึงเกิดเป็นสำนวนที่ว่า ‘ซานเหมยลิ่วพิ่น’ ( 三媒六聘/สามแม่สื่อหกพิธีการแต่งงาน) กล่าวคือแม่สื่อหรือเถ้าแก่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และคนกลางซึ่งมักเป็นแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://meihuamag.com/牵线说媒,这行当已有五千年历史/ http://sino.newdu.com/m/view.php?aid=91147 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.sss.net.cn/106001/30036.aspx http://www.heyuanxw.com/2014/wenhua_1216/15238.html http://iolaw.cssn.cn/xspl/200607/t20060726_4598436.shtml http://www.xinfajia.net/2592.html https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=795664&remap=gb#%娶妇 https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_26937009 #แม่สื่อ #กวนเหมย #ซือเหมย #เหมยซึ #การแต่งงานจีนโบราณ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 222 มุมมอง 0 รีวิว

  • #วัดชมภูเวก
    #นนทบุรี
    #เที่ยววัด

    วัดชมภูเวก - พาไปชมวัดมอญ กับ ภาพสีฝุ่นโบราณบนผนังโบสถ์ที่ได้รับการยกย่องว่าสวยงาม และสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย

    วัดชมภูเวก ตั้งอยู่แถวสนามบินน้ำ สันนิษฐานว่าก่อสร้างโดยชาวมอญที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ราว ๆ พศ 2300 เดิมชื่อว่า วัดชมภูวิเวก แปลว่า วัดที่ตั้งอยู่บนเนินอันเงียบสงบ ภายหลัง น่าจะเพี้ยนเป็น วัดชมภูเวก

    ทันทีที่เดินเข้ามา ก็จะเห็น พระมุดตา (ชื่อเรียกเจดีย์ที่มีศิลปะผสมผสานของมอญอยู่) สีขาว โดดเด่นสวยงามมาก ด้านหลังเจดีย์จะมีโบสถ์มหาอุด ผนังภายในมีภาพวาดสีฝุ่นที่งดงาม โดยเฉพาะภาพ พระแม่ธรณีบีบมวยผม ที่อยู่เหนือประตูโบสถ์ ทางพุทธศิลป์แล้วได้รับการยกย่อง จัดว่าเป็นภาพที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุด ปัจจุบันโบสถ์มหาอุดดังกล่าวได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานของชาติ

    นอกจากนี้ สายมู ห้ามพลาด ถัดไปด้านข้างโบสถ์มหาอุด เราสามารถลอดอุโบสถเพื่อสะเดาะเคราะห์ เสริมสร้างสิริมงคลให้กับชีวิตได้ โดยทางทางยังจัดให้มีการปิดทองลูกนิมิต และพระ ที่ใต้อุโบสถครับ

    เป็นไงครับ จะชมพุทธศิลป์ ก็มีของดี ระดับประเทศ จะเอาสะเดาะเคราะห์ ก็มาได้ หรือ สายถ่ายภาพก็มีมุมสวยๆ ให้ได้กดชัตเตอร์กัน ใกล้ๆ แค่ นนทบุรี นี่เอง ไม่มา ถือว่าพลาดนะครับ

    #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #teavel #temple #nonthaburi #thailand #amazingthailand #thaitour
    #วัดชมภูเวก #นนทบุรี #เที่ยววัด วัดชมภูเวก - พาไปชมวัดมอญ กับ ภาพสีฝุ่นโบราณบนผนังโบสถ์ที่ได้รับการยกย่องว่าสวยงาม และสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย วัดชมภูเวก ตั้งอยู่แถวสนามบินน้ำ สันนิษฐานว่าก่อสร้างโดยชาวมอญที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ราว ๆ พศ 2300 เดิมชื่อว่า วัดชมภูวิเวก แปลว่า วัดที่ตั้งอยู่บนเนินอันเงียบสงบ ภายหลัง น่าจะเพี้ยนเป็น วัดชมภูเวก ทันทีที่เดินเข้ามา ก็จะเห็น พระมุดตา (ชื่อเรียกเจดีย์ที่มีศิลปะผสมผสานของมอญอยู่) สีขาว โดดเด่นสวยงามมาก ด้านหลังเจดีย์จะมีโบสถ์มหาอุด ผนังภายในมีภาพวาดสีฝุ่นที่งดงาม โดยเฉพาะภาพ พระแม่ธรณีบีบมวยผม ที่อยู่เหนือประตูโบสถ์ ทางพุทธศิลป์แล้วได้รับการยกย่อง จัดว่าเป็นภาพที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุด ปัจจุบันโบสถ์มหาอุดดังกล่าวได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานของชาติ นอกจากนี้ สายมู ห้ามพลาด ถัดไปด้านข้างโบสถ์มหาอุด เราสามารถลอดอุโบสถเพื่อสะเดาะเคราะห์ เสริมสร้างสิริมงคลให้กับชีวิตได้ โดยทางทางยังจัดให้มีการปิดทองลูกนิมิต และพระ ที่ใต้อุโบสถครับ เป็นไงครับ จะชมพุทธศิลป์ ก็มีของดี ระดับประเทศ จะเอาสะเดาะเคราะห์ ก็มาได้ หรือ สายถ่ายภาพก็มีมุมสวยๆ ให้ได้กดชัตเตอร์กัน ใกล้ๆ แค่ นนทบุรี นี่เอง ไม่มา ถือว่าพลาดนะครับ #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #teavel #temple #nonthaburi #thailand #amazingthailand #thaitour
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 227 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้วพูดถึงภาพวาดโบราณที่ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสิบที่ล้ำค่าที่สุดของจีน วันนี้มาคุยกันสั้นๆ ถึงภาพวาดที่ปรากฏในละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>

    ละครเปิดฉากมาที่ร้านชาในเจียงหนานของนางเอกจ้าวพ่านเอ๋อร์ เพื่อนเพจที่ได้ดูละครอาจมัวแต่เพลินกับความสวยของนางเอกและวิวทิวทัศน์จนไม่ทันสังเกตว่าผนังร้านมีภาพวาดแขวนเต็มไปหมด

    Storyฯ จะบอกว่ามันคือแกลเลอรี่ดีๆ นี่เอง เพราะภาพที่โชว์อยู่ตามผนังเป็นภาพเหมือนของภาพวาดโบราณที่มีชื่อเสียงจัดเป็นสมบัติชาติของจีน ซึ่งในหลายฉากอื่นในละครก็มีภาพวาดโบราณเหล่านี้ให้ดูอีก วันนี้ยกตัวอย่างมาให้ดูกันสามภาพ

    ภาพแรกคือภาพ ‘เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว’ (莲池水禽图 แปลได้ว่าภาพสัตว์น้ำในสระปทุม ดูรูปประกอบ1) ภาพนี้เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ เป็นภาพคู่ วาดขึ้นบนผ้าไหมหรือที่เรียกว่า ‘เจวี้ยนเปิ่น’ (绢本/silk scroll) ขนาดประมาณของภาพแต่ละผืนคือ 106 x 91ซม. วาดโดยกู้เต๋อเชียนซึ่งมีพื้นเพอยู่เจียงหนาน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว

    ภาพต่อมาคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图 แปลได้ว่าภาพการท่องไปตามภูเขาลำธาร ดูรูปประกอบ2) ภาพนี้วาดโดยฟ่านควน จิตรกรสมัยซ่งเหนือ วาดขึ้นบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 206 x 103ซม. เป็นสมบัติในวังหลวงสืบทอดกันมา (มีตราประทับห้องทรงพระอักษรสมัยหมิงและชิงอยู่ที่ขอบรูปจริง) ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม

    ภาพที่สามคือภาพ ‘ชิวซานเวิ่นเต้า’ (秋山问道图 แปลได้ประมาณว่าภาพการแสวงหาทางธรรมกลางภูผาในสารทฤดู) เป็นภาพสมัยปลายห้าราชวงศ์-ต้นซ่ง ผู้วาดเป็นนักบวชนามว่าจวี้หรัน เป็นภาพวาดบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 165 x 77ซม. ปัจจุบันภาพที่จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามเช่นกัน

    พูดถึงภาพจริงกันไปแล้วพอหอมปากหอมคอ แน่นอนว่าในละครยังมีอีกหลายภาพ ใครที่ยังดูละครเรื่องนี้อยู่อย่ามัวแต่เพลินตากับพระนางนะคะ ดูอาร์ตแกเลอรี่ที่เขาใส่มาให้ในละครด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจากในละครและจาก:
    https://www.163.com/dy/article/HBHTPUAG055226SD.html
    https://news.yangtse.com/content/1470761.html
    http://www.chinashj.com/sh-gdhh-wd/502.html
    https://baike.baidu.com/item/秋山问道图/2237166
    https://baike.baidu.com/item/溪山行旅图/1775752

    #สามบุปผาลิขิตฝัน #ซีซันหลี่ว์สิง #เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว #ชิวซานเวิ่นเต้า #ภาพวาดจีนโบราณ
    สัปดาห์ที่แล้วพูดถึงภาพวาดโบราณที่ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสิบที่ล้ำค่าที่สุดของจีน วันนี้มาคุยกันสั้นๆ ถึงภาพวาดที่ปรากฏในละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ละครเปิดฉากมาที่ร้านชาในเจียงหนานของนางเอกจ้าวพ่านเอ๋อร์ เพื่อนเพจที่ได้ดูละครอาจมัวแต่เพลินกับความสวยของนางเอกและวิวทิวทัศน์จนไม่ทันสังเกตว่าผนังร้านมีภาพวาดแขวนเต็มไปหมด Storyฯ จะบอกว่ามันคือแกลเลอรี่ดีๆ นี่เอง เพราะภาพที่โชว์อยู่ตามผนังเป็นภาพเหมือนของภาพวาดโบราณที่มีชื่อเสียงจัดเป็นสมบัติชาติของจีน ซึ่งในหลายฉากอื่นในละครก็มีภาพวาดโบราณเหล่านี้ให้ดูอีก วันนี้ยกตัวอย่างมาให้ดูกันสามภาพ ภาพแรกคือภาพ ‘เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว’ (莲池水禽图 แปลได้ว่าภาพสัตว์น้ำในสระปทุม ดูรูปประกอบ1) ภาพนี้เป็นภาพวาดสมัยปลายถัง-ห้าราชวงศ์ เป็นภาพคู่ วาดขึ้นบนผ้าไหมหรือที่เรียกว่า ‘เจวี้ยนเปิ่น’ (绢本/silk scroll) ขนาดประมาณของภาพแต่ละผืนคือ 106 x 91ซม. วาดโดยกู้เต๋อเชียนซึ่งมีพื้นเพอยู่เจียงหนาน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว ภาพต่อมาคือภาพ ‘ซีซันหลี่ว์สิง’ (溪山行旅图 แปลได้ว่าภาพการท่องไปตามภูเขาลำธาร ดูรูปประกอบ2) ภาพนี้วาดโดยฟ่านควน จิตรกรสมัยซ่งเหนือ วาดขึ้นบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 206 x 103ซม. เป็นสมบัติในวังหลวงสืบทอดกันมา (มีตราประทับห้องทรงพระอักษรสมัยหมิงและชิงอยู่ที่ขอบรูปจริง) ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม ภาพที่สามคือภาพ ‘ชิวซานเวิ่นเต้า’ (秋山问道图 แปลได้ประมาณว่าภาพการแสวงหาทางธรรมกลางภูผาในสารทฤดู) เป็นภาพสมัยปลายห้าราชวงศ์-ต้นซ่ง ผู้วาดเป็นนักบวชนามว่าจวี้หรัน เป็นภาพวาดบนผ้าไหมเช่นกัน ขนาดประมาณ 165 x 77ซม. ปัจจุบันภาพที่จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามเช่นกัน พูดถึงภาพจริงกันไปแล้วพอหอมปากหอมคอ แน่นอนว่าในละครยังมีอีกหลายภาพ ใครที่ยังดูละครเรื่องนี้อยู่อย่ามัวแต่เพลินตากับพระนางนะคะ ดูอาร์ตแกเลอรี่ที่เขาใส่มาให้ในละครด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจากในละครและจาก: https://www.163.com/dy/article/HBHTPUAG055226SD.html https://news.yangtse.com/content/1470761.html http://www.chinashj.com/sh-gdhh-wd/502.html https://baike.baidu.com/item/秋山问道图/2237166 https://baike.baidu.com/item/溪山行旅图/1775752 #สามบุปผาลิขิตฝัน #ซีซันหลี่ว์สิง #เหลียนฉือสุ่ยโซ่ว #ชิวซานเวิ่นเต้า #ภาพวาดจีนโบราณ
    《梦华录》中的挂画,惊现国宝《溪山行旅图》!
    《梦华录》中的挂画,惊现国宝《溪山行旅图》!,溪山行旅图,梦华录,范宽,董其昌,挂画,画家
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 138 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปธ.กมธ.มั่นคง ลั่น เป็นความผิดพลาดที่ไม่น่าให้อภัย-ไม่รู้ใครต้องรับผิดชอบ หลัง กมธ.คอนเฟิร์มระบบ 'ไบโอเมตริกซ์' ไทย หมดอายุ 3 ปีแล้ว เผย ต้องใช้วิธีโบราณถ่ายภาพ-ปั๊มนิ้วคนผ่านเข้าออก คนจีนในเมียวดีไม่ถูกจำแนกเหยื่อ-อาชญากร อาจทำให้ประเทศอื่นได้รับการปฏิบัติไม่เท่าเทียม ไทยอยู่ภายใต้อิทธิพล

    เมื่อวันที่ (20 ก.พ.) ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร แถลงความคืบหน้าภายหลังการประชุม กมธ.ถึงแนวทางการจัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งมีหลายส่วนเข้าไปพัวพันเกี่ยวข้องกับข้อมูลอัตลักษณ์ และเกี่ยวกับอาชญากรข้ามชาติและยาเสพติด

    โดยนายรังสิมันต์ ระบุว่า ประเทศไทยไม่มีการใช้ระบบไบโอเมตริกซ์อีกแล้ว ซึ่งแปลว่าเวลา 3 ปีเต็มนี้ ไม่มีเครื่องมือในการเก็บข้อมูลอัตลักษณ์นักท่องเที่ยว ทำให้มีโอกาสผิดพลาด จากการที่นักท่องเที่ยวใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านในการก่ออาชญากรรม โดยที่ตัวเขาเองมีสัญชาติที่แตกต่างกัน

    นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า แม้วันนี้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) จะใช้วิธีการถ่ายรูปและพิมพ์ลายนิ้วมือ แต่ข้อมูลที่ได้นั้น ชัดเจนว่าไม่เพียงพอ และกลายเป็นช่องว่างสำคัญ ในการที่จะทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในภายใต้ความอันตรายของปัญหาอาชญากรรมที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000016989

    #MGROnline #ไบโอเมตริกซ์
    ปธ.กมธ.มั่นคง ลั่น เป็นความผิดพลาดที่ไม่น่าให้อภัย-ไม่รู้ใครต้องรับผิดชอบ หลัง กมธ.คอนเฟิร์มระบบ 'ไบโอเมตริกซ์' ไทย หมดอายุ 3 ปีแล้ว เผย ต้องใช้วิธีโบราณถ่ายภาพ-ปั๊มนิ้วคนผ่านเข้าออก คนจีนในเมียวดีไม่ถูกจำแนกเหยื่อ-อาชญากร อาจทำให้ประเทศอื่นได้รับการปฏิบัติไม่เท่าเทียม ไทยอยู่ภายใต้อิทธิพล • เมื่อวันที่ (20 ก.พ.) ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร แถลงความคืบหน้าภายหลังการประชุม กมธ.ถึงแนวทางการจัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งมีหลายส่วนเข้าไปพัวพันเกี่ยวข้องกับข้อมูลอัตลักษณ์ และเกี่ยวกับอาชญากรข้ามชาติและยาเสพติด • โดยนายรังสิมันต์ ระบุว่า ประเทศไทยไม่มีการใช้ระบบไบโอเมตริกซ์อีกแล้ว ซึ่งแปลว่าเวลา 3 ปีเต็มนี้ ไม่มีเครื่องมือในการเก็บข้อมูลอัตลักษณ์นักท่องเที่ยว ทำให้มีโอกาสผิดพลาด จากการที่นักท่องเที่ยวใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านในการก่ออาชญากรรม โดยที่ตัวเขาเองมีสัญชาติที่แตกต่างกัน • นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า แม้วันนี้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) จะใช้วิธีการถ่ายรูปและพิมพ์ลายนิ้วมือ แต่ข้อมูลที่ได้นั้น ชัดเจนว่าไม่เพียงพอ และกลายเป็นช่องว่างสำคัญ ในการที่จะทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในภายใต้ความอันตรายของปัญหาอาชญากรรมที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000016989 • #MGROnline #ไบโอเมตริกซ์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 193 มุมมอง 0 รีวิว
  • เหรียญหลวงพ่ออุปัชฌาย์บัว รุ่น1 วัดบ้านนาซาว ปี2530
    เหรียญหลวงพ่ออุปัชฌาย์บัว รุ่น1 วัดบ้านนาซาว หรือ วัดสระแก้วนาซาว อำเภอเขื่องใน อุบลราชธานี ปี2530 //พระสถาพสวยมาก​ พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณแคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพันชาตรี ปราศจากภยันตราย เมตตามหานิยม เสริมบารมีอำนาจ มั่งมี ร่ำรวย เงินทอง. >>

    ** วัดบ้านนาซาว หรือ วัดสระแก้วนาซาว ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ โดยคนที่อพยพมาจากอำเภอราศีไศลและอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ชาวบ้านมาตั้งหมู่บ้านจึงได้สร้างวัดบ้านนาซาวเป็นวัดประจำหมู่บ้าน โดยมีโบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ กุฏิ จำนวนทั้งสิ้น ๒ หลัง กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน >>

    ** พระสถาพสวยมาก​ พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131

    เหรียญหลวงพ่ออุปัชฌาย์บัว รุ่น1 วัดบ้านนาซาว ปี2530 เหรียญหลวงพ่ออุปัชฌาย์บัว รุ่น1 วัดบ้านนาซาว หรือ วัดสระแก้วนาซาว อำเภอเขื่องใน อุบลราชธานี ปี2530 //พระสถาพสวยมาก​ พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณแคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพันชาตรี ปราศจากภยันตราย เมตตามหานิยม เสริมบารมีอำนาจ มั่งมี ร่ำรวย เงินทอง. >> ** วัดบ้านนาซาว หรือ วัดสระแก้วนาซาว ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ โดยคนที่อพยพมาจากอำเภอราศีไศลและอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ชาวบ้านมาตั้งหมู่บ้านจึงได้สร้างวัดบ้านนาซาวเป็นวัดประจำหมู่บ้าน โดยมีโบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ กุฏิ จำนวนทั้งสิ้น ๒ หลัง กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน >> ** พระสถาพสวยมาก​ พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 85 มุมมอง 0 รีวิว
  • ✨พระปิดตามหาลาภ หลวงพ่อแก้ว วัดนางสาว จังหวัดสมุทรสาคร เนื้อผงยาจินดามณี ปีพ.ศ.2522 เป็นพระพิมพ์เดียวกับเหรียญหล่อโบราณที่โด่งดังของวัดนางสาว โดยหลวงพ่อแก้วท่านจัดสร้างขึ้นเป็นเนื้อผงยาจินดามณีตามตำรับของหลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว พุทธคุณนอกจากเด่นด้านโชคลาภโภคทรัพย์บริบูรณ์แล้วยังช่วยคุ้มกัน ป้องกันภัยทั้งหลายทั้งปวงแก่ผู้ที่มีไว้บูชาอีกด้วย
    ✨พระปิดตามหาลาภ หลวงพ่อแก้ว วัดนางสาว จังหวัดสมุทรสาคร เนื้อผงยาจินดามณี ปีพ.ศ.2522 เป็นพระพิมพ์เดียวกับเหรียญหล่อโบราณที่โด่งดังของวัดนางสาว โดยหลวงพ่อแก้วท่านจัดสร้างขึ้นเป็นเนื้อผงยาจินดามณีตามตำรับของหลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว พุทธคุณนอกจากเด่นด้านโชคลาภโภคทรัพย์บริบูรณ์แล้วยังช่วยคุ้มกัน ป้องกันภัยทั้งหลายทั้งปวงแก่ผู้ที่มีไว้บูชาอีกด้วย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 166 มุมมอง 0 0 รีวิว
  • เหรียญหลวงพ่อทอง รุ่นแรก วัดหัวเค็ด อ.ระโนด จ.สงขลา
    เหรียญหลวงพ่อทอง รุ่นแรก เนื้อชุบนิเกิ้ล วัดหัวเค็ด อ.ระโนด จ.สงขลา ปี2520 //พระเกจิอาจารย์ เก่าแก่ ยุคโบราณ ของ อ.ระโนด ที่คงความศักดิ์สิทธิ์ มาถึงทุกวันนี้ // พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณ "แคล้วคาด" เมตตามหานิยม มั่งมีชื่อเสียง เจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง การเงิน โชคลาภค้าขาย เรียกทรัพย์ เมตตามหานิยม ดีนัก.

    ** พ่อท่านทองเป็นเกจิอาจารย์ เก่าแก่ ยุคโบราณ ของ อ.ระโนด ที่คงความศักดิ์สิทธิ์ มาถึงทุกวันนี้ เดิมตั้งอยู่ที่บ้านโคกทอง ชื่อ “วัดโคกทอง” ต่อมาย้ายมาสร้างใหม่ที่บ้านหัวเค็ด จึงเรียกชื่อตามชื่อบ้านว่า “วัดหัวเค็ด” เหตุที่ชื่อวัดหัวเค็ด เนื่องจากบริเวณวัดอยู่ในที่ใกล้กับคดน้ำคลองระโนด คำว่า “เค็ด” ภาษาใต้หมายถึง “คด” นั้นเอง >>

    ** พระสถาพสวยมาก พระดูง่าย พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131

    เหรียญหลวงพ่อทอง รุ่นแรก วัดหัวเค็ด อ.ระโนด จ.สงขลา เหรียญหลวงพ่อทอง รุ่นแรก เนื้อชุบนิเกิ้ล วัดหัวเค็ด อ.ระโนด จ.สงขลา ปี2520 //พระเกจิอาจารย์ เก่าแก่ ยุคโบราณ ของ อ.ระโนด ที่คงความศักดิ์สิทธิ์ มาถึงทุกวันนี้ // พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณ "แคล้วคาด" เมตตามหานิยม มั่งมีชื่อเสียง เจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง การเงิน โชคลาภค้าขาย เรียกทรัพย์ เมตตามหานิยม ดีนัก. ** พ่อท่านทองเป็นเกจิอาจารย์ เก่าแก่ ยุคโบราณ ของ อ.ระโนด ที่คงความศักดิ์สิทธิ์ มาถึงทุกวันนี้ เดิมตั้งอยู่ที่บ้านโคกทอง ชื่อ “วัดโคกทอง” ต่อมาย้ายมาสร้างใหม่ที่บ้านหัวเค็ด จึงเรียกชื่อตามชื่อบ้านว่า “วัดหัวเค็ด” เหตุที่ชื่อวัดหัวเค็ด เนื่องจากบริเวณวัดอยู่ในที่ใกล้กับคดน้ำคลองระโนด คำว่า “เค็ด” ภาษาใต้หมายถึง “คด” นั้นเอง >> ** พระสถาพสวยมาก พระดูง่าย พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 106 มุมมอง 0 รีวิว
  • แฟนละคร/นิยายจีนคงคุ้นเคยดีกับโครงเรื่องที่มีการชิงอำนาจทางการเมืองด้วยการจัดให้มีการแต่งงานระหว่างตระกูลดังกับเชื้อพระวงศ์ จนเกิดเป็นแรงกดดันมหาศาลให้กับตัวละครเอก บางคนอาจเคยบ่นว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’

    วันนี้ Storyฯ ยกตัวอย่างมาคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจ (เรียกรวมว่า สื้อเจีย / 世家)
    เป็นหนึ่งในตระกูลที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์ตอนต้นและกลางของจีนโบราณก็ว่าได้

    ความมีอยู่ว่า
    ....ตระกูลชุยจากชิงเหอรุ่นนี้ สายหลักของตระกูลมีนางเป็นบุตรีโทนแต่เพียงผู้เดียว ... และตระกูลชุยกำลังรุ่งเรือง นางยังอยู่ในท้องของมารดาก็ได้รับการหมั้นหมายให้กับองค์ชายรัชทายาทแล้ว....
    - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ชิงเหอคือพื้นที่ทางด้านเหนือของจีน (แถบเหอหนาน เหอเป่ยและซานตง) ในสมัยจีนตอนต้นมีสถานะเป็นแคว้นบ้างหรือรองลงมาเป็นจวิ้น (郡) บ้าง ซึ่งนับเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ มีหลายตระกูลดังในประวัติศาตร์จีนที่มาจากพื้นที่แถบนี้ หนึ่งในนั้นคือตระกูลชุย

    ตระกูลชุยมีรากฐานยาวนานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและรวมถึงชาวเผ่าพันธุ์อื่นที่หันมาใช้สกุลนี้ รับราชการในตำแหน่งสำคัญมาหลายยุคสมัย แตกมาเป็นสายที่เรียกว่า ‘ตระกูลชุยจากชิงเหอ’ ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) เมื่อชุยเหลียง (ทายาทรุ่นที่ 7) ได้รับการอวยยศเป็นโหวและได้รับพระราชทานเขตการปกครองชิงเหอนี้ และต่อมาตระกูลชุยจากชิงเหอมีแตกสายย่อยไปอีกรวมเป็นหกสาย

    ตระกูลชุยจากชิงเหอที่กล่าวถึงในละครข้างต้น ‘ไม่ธรรมดา’ แค่ไหน?

    ตระกูลชุยจากชิงเหอรับราชการระดับสูงต่อเนื่อง ผ่านร้อนผ่านหนาวแต่อยู่ยงคงกระพันมากว่า 700 ปี ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ในบรรดาสี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) และในสมัยราชวงศ์ถังก็เป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) อันเป็นตระกูลชั้นสูงที่ต่อมาถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างฐานอำนาจมากเกินไป

    มีคนจากตระกูลชุยจากชิงเหอนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) หรือตำแหน่งที่สูงคล้ายกันมากมายหลายรุ่น เฉพาะในสมัยราชวงศ์ถังที่ยาวนานเกือบสามร้อยปีก็มีถึง 12 คน (ถ้ารวมตระกูลชุยสายอื่นมีอีก 10 คน) มีจอหงวน 11 คน ยังไม่รวมที่รับราชการในตำแหน่งอื่น ที่กุมอำนาจทางการทหาร ที่เป็นผู้นำทางความคิด (นักปราชญ์ กวีชื่อดัง) และที่เป็นลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังในตำแหน่งต่างๆ อีกจำนวนไม่น้อย จวบจนสมัยซ่งใต้ ฐานอำนาจของตระกูลนี้จึงเสื่อมจางลงเหมือนกับตระกูลสื้อเจียอื่นๆ

    ทำไมต้องพูดถึงตระกูลชุยจากชิงเหอ? Storyฯ เล่าเป็นตัวอย่างของเหล่าตระกูลสื้อเจียค่ะ จากที่เคยคิดว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ แต่พอมาเห็นรากฐานของตระกูลสื้อเจียเหล่านี้ เราจะได้อรรถรสเลยว่า ‘ฐานอำนาจ’ ที่เขาพูดถึงกันนั้น มันหยั่งรากลึกแค่ไหน? เหตุใดตัวละครเอกมักรู้สึกถูกกดดันมากมาย? และเพราะเหตุใดมันจึงฝังรากลึกในวัฒนธรรมจีนโบราณ? เพราะมันไม่ใช่เรื่องของหนึ่งหรือสองชั่วอายุคน แต่เรากำลังพูดถึงฐานอำนาจหลายร้อยปีที่แทรกซึมเข้าไปในสังคมโดยมีประมุขใหญ่ของตระกูลในแต่ละรุ่นเป็นแกนนำสำคัญ

    Storyฯ หวังว่าเพื่อนๆ จะดูละครได้อรรถรสยิ่งขึ้นนะคะ ใครเห็นบทบาทของคนในตระกูลชุยในละครเรื่องอื่นใดอีกหรือหากนึกถึงตระกูลอื่นที่คล้ายคลึงก็เม้นท์มาได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/484438060_121051662
    https://www.sohu.com/a/485012584_100151502
    https://www.sohu.com/a/489015136_120827444

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/FNSTJKT60543BK4H.html
    https://new.qq.com/omn/20211021/20211021A09WBQ00.html
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_16209361
    https://www.baike.com/wiki/清河崔氏
    https://zh.wikipedia.org/wiki/清河崔氏

    #กระดูกงดงาม #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #สื้อเจีย
    แฟนละคร/นิยายจีนคงคุ้นเคยดีกับโครงเรื่องที่มีการชิงอำนาจทางการเมืองด้วยการจัดให้มีการแต่งงานระหว่างตระกูลดังกับเชื้อพระวงศ์ จนเกิดเป็นแรงกดดันมหาศาลให้กับตัวละครเอก บางคนอาจเคยบ่นว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ วันนี้ Storyฯ ยกตัวอย่างมาคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจ (เรียกรวมว่า สื้อเจีย / 世家) เป็นหนึ่งในตระกูลที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์ตอนต้นและกลางของจีนโบราณก็ว่าได้ ความมีอยู่ว่า ....ตระกูลชุยจากชิงเหอรุ่นนี้ สายหลักของตระกูลมีนางเป็นบุตรีโทนแต่เพียงผู้เดียว ... และตระกูลชุยกำลังรุ่งเรือง นางยังอยู่ในท้องของมารดาก็ได้รับการหมั้นหมายให้กับองค์ชายรัชทายาทแล้ว.... - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) ชิงเหอคือพื้นที่ทางด้านเหนือของจีน (แถบเหอหนาน เหอเป่ยและซานตง) ในสมัยจีนตอนต้นมีสถานะเป็นแคว้นบ้างหรือรองลงมาเป็นจวิ้น (郡) บ้าง ซึ่งนับเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ มีหลายตระกูลดังในประวัติศาตร์จีนที่มาจากพื้นที่แถบนี้ หนึ่งในนั้นคือตระกูลชุย ตระกูลชุยมีรากฐานยาวนานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและรวมถึงชาวเผ่าพันธุ์อื่นที่หันมาใช้สกุลนี้ รับราชการในตำแหน่งสำคัญมาหลายยุคสมัย แตกมาเป็นสายที่เรียกว่า ‘ตระกูลชุยจากชิงเหอ’ ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) เมื่อชุยเหลียง (ทายาทรุ่นที่ 7) ได้รับการอวยยศเป็นโหวและได้รับพระราชทานเขตการปกครองชิงเหอนี้ และต่อมาตระกูลชุยจากชิงเหอมีแตกสายย่อยไปอีกรวมเป็นหกสาย ตระกูลชุยจากชิงเหอที่กล่าวถึงในละครข้างต้น ‘ไม่ธรรมดา’ แค่ไหน? ตระกูลชุยจากชิงเหอรับราชการระดับสูงต่อเนื่อง ผ่านร้อนผ่านหนาวแต่อยู่ยงคงกระพันมากว่า 700 ปี ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ในบรรดาสี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) และในสมัยราชวงศ์ถังก็เป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) อันเป็นตระกูลชั้นสูงที่ต่อมาถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างฐานอำนาจมากเกินไป มีคนจากตระกูลชุยจากชิงเหอนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) หรือตำแหน่งที่สูงคล้ายกันมากมายหลายรุ่น เฉพาะในสมัยราชวงศ์ถังที่ยาวนานเกือบสามร้อยปีก็มีถึง 12 คน (ถ้ารวมตระกูลชุยสายอื่นมีอีก 10 คน) มีจอหงวน 11 คน ยังไม่รวมที่รับราชการในตำแหน่งอื่น ที่กุมอำนาจทางการทหาร ที่เป็นผู้นำทางความคิด (นักปราชญ์ กวีชื่อดัง) และที่เป็นลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังในตำแหน่งต่างๆ อีกจำนวนไม่น้อย จวบจนสมัยซ่งใต้ ฐานอำนาจของตระกูลนี้จึงเสื่อมจางลงเหมือนกับตระกูลสื้อเจียอื่นๆ ทำไมต้องพูดถึงตระกูลชุยจากชิงเหอ? Storyฯ เล่าเป็นตัวอย่างของเหล่าตระกูลสื้อเจียค่ะ จากที่เคยคิดว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ แต่พอมาเห็นรากฐานของตระกูลสื้อเจียเหล่านี้ เราจะได้อรรถรสเลยว่า ‘ฐานอำนาจ’ ที่เขาพูดถึงกันนั้น มันหยั่งรากลึกแค่ไหน? เหตุใดตัวละครเอกมักรู้สึกถูกกดดันมากมาย? และเพราะเหตุใดมันจึงฝังรากลึกในวัฒนธรรมจีนโบราณ? เพราะมันไม่ใช่เรื่องของหนึ่งหรือสองชั่วอายุคน แต่เรากำลังพูดถึงฐานอำนาจหลายร้อยปีที่แทรกซึมเข้าไปในสังคมโดยมีประมุขใหญ่ของตระกูลในแต่ละรุ่นเป็นแกนนำสำคัญ Storyฯ หวังว่าเพื่อนๆ จะดูละครได้อรรถรสยิ่งขึ้นนะคะ ใครเห็นบทบาทของคนในตระกูลชุยในละครเรื่องอื่นใดอีกหรือหากนึกถึงตระกูลอื่นที่คล้ายคลึงก็เม้นท์มาได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/484438060_121051662 https://www.sohu.com/a/485012584_100151502 https://www.sohu.com/a/489015136_120827444 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/FNSTJKT60543BK4H.html https://new.qq.com/omn/20211021/20211021A09WBQ00.html https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_16209361 https://www.baike.com/wiki/清河崔氏 https://zh.wikipedia.org/wiki/清河崔氏 #กระดูกงดงาม #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #สื้อเจีย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 251 มุมมอง 0 รีวิว
  • เที่ยว #ฉงชิ่ง 🔥🔥
    ไม่ลงร้าน😍

    🗓 จำนวนวัน 4 วัน 3 คืน
    ✈ G5-ไชนาเอ็กซเพรสแอร์ไลน์
    🏨 พักโรงแรม ⭐⭐⭐

    📍 มหาศาลาประชาคม
    📍 นั่งรถไฟทะลุตึก
    📍 ถนนโบราณหลงเหมินฮ่าว
    📍 วัดหลัวฮั่น
    📍 ไคว่ชิงโหล
    📍 หมู่บ้านโบราณฉือช่อโข่ว
    📍 ตึกตะเกียบ

    รวมทัวร์ไฟไหม้ ทัวร์หลุดจอง โปรพักเดี่ยว ลดเยอะสุด by 21ปี https://eTravelWay.com🔥
    ⭕️ เข้ากลุ่มลับ Facebook โปรเพียบบบบ : https://78s.me/e86e1a
    ⭕️ เข้ากลุ่มลับ LINE openchat ทัวร์ที่หลุด คลิก https://78s.me/501ad8

    LINE ID: @etravelway.fire
    https://78s.me/e58a3f
    Facebook: etravelway.fire https://78s.me/317663
    Instagram: etravelway.fire https://78s.me/d43626
    Tiktok : https://78s.me/903597
    ☎️: 021166395

    #ทัวร์จีน #ทัวร์ฉงชิ่ง #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ราคาถูก #etravelwayfire #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    เที่ยว #ฉงชิ่ง 🔥🔥 ไม่ลงร้าน😍 🗓 จำนวนวัน 4 วัน 3 คืน ✈ G5-ไชนาเอ็กซเพรสแอร์ไลน์ 🏨 พักโรงแรม ⭐⭐⭐ 📍 มหาศาลาประชาคม 📍 นั่งรถไฟทะลุตึก 📍 ถนนโบราณหลงเหมินฮ่าว 📍 วัดหลัวฮั่น 📍 ไคว่ชิงโหล 📍 หมู่บ้านโบราณฉือช่อโข่ว 📍 ตึกตะเกียบ รวมทัวร์ไฟไหม้ ทัวร์หลุดจอง โปรพักเดี่ยว ลดเยอะสุด by 21ปี https://eTravelWay.com🔥 ⭕️ เข้ากลุ่มลับ Facebook โปรเพียบบบบ : https://78s.me/e86e1a ⭕️ เข้ากลุ่มลับ LINE openchat ทัวร์ที่หลุด คลิก https://78s.me/501ad8 LINE ID: @etravelway.fire https://78s.me/e58a3f Facebook: etravelway.fire https://78s.me/317663 Instagram: etravelway.fire https://78s.me/d43626 Tiktok : https://78s.me/903597 ☎️: 021166395 #ทัวร์จีน #ทัวร์ฉงชิ่ง #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ราคาถูก #etravelwayfire #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 330 มุมมอง 5 0 รีวิว
  • ตราแผ่นดินที่หน้าบันพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง

    ปรากฎคาถาโบราณว่า "สัพเพสัง สัมภูตานัง สามัคคี วุฑฒิสาธิกา"

    มีความหมายว่า "ความพร้อมเพรียงแห่งชนผู้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่ ยังความเจริญรุ่งเรืองให้บังเกิดขึ้น" คาถาโบราณดังกล่าวเริ่มผูกขึ้นประจำตราแผ่นดินมาตั้งแต่สมัย ร.๕
    ตราแผ่นดินที่หน้าบันพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง ปรากฎคาถาโบราณว่า "สัพเพสัง สัมภูตานัง สามัคคี วุฑฒิสาธิกา" มีความหมายว่า "ความพร้อมเพรียงแห่งชนผู้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่ ยังความเจริญรุ่งเรืองให้บังเกิดขึ้น" คาถาโบราณดังกล่าวเริ่มผูกขึ้นประจำตราแผ่นดินมาตั้งแต่สมัย ร.๕
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 68 มุมมอง 0 รีวิว
  • ✨พระปิดตาหล่อโบราณพิมพ์กบ #หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ นครศรีธรรมราช ปีพ.ศ.2528
    .
    หลวงพ่อมุ่ยท่านเป็นผู้สร้างพระปิดตาน้ำนมควายอันโด่งดัง พระเกจิอาจารย์ผู้มีวัตรปฏิปทาที่เคร่งครัด เปี่ยมด้วยวิทยาคมสูงส่ง วิชานะปัดตลอด ของท่านเป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใคร แม้แต่หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ยังชื่นชม
    ✨พระปิดตาหล่อโบราณพิมพ์กบ #หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ นครศรีธรรมราช ปีพ.ศ.2528 . หลวงพ่อมุ่ยท่านเป็นผู้สร้างพระปิดตาน้ำนมควายอันโด่งดัง พระเกจิอาจารย์ผู้มีวัตรปฏิปทาที่เคร่งครัด เปี่ยมด้วยวิทยาคมสูงส่ง วิชานะปัดตลอด ของท่านเป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใคร แม้แต่หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ยังชื่นชม
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 118 มุมมอง 0 0 รีวิว
  • พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พิมพ์สังฆาฏิสั้น EP.1

    สวัสดีสมาชิกแฟนเพจทุกท่านครับ อย่างที่กล่าวไว้ในโพสที่แล้วนะครับ ทีมงานแอดมินอยากเน้นเรื่องความรู้ในการดูพระ โดยเราจะเริ่มจากพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่กันอย่างเน้นๆ เมื่อท่านอาจารย์ได้ทราบถึงแนวทางของทีมงานแอดมิน ท่านจึงแนะนำว่าให้นำเอาบทความที่เน้นการดูเอกลักษณ์หรือตำหนิพุทธศิลป์มาลงมากยิ่งขึ้น โดยบทความเหล่านี้ท่านอาจารย์ได้เขียนให้ดูทีละจุด และในรูปจะมีการชี้ตำแหน่งที่ท่านเขียนถึง จะทำให้สมาชิกที่สนใจศึกษาการดูพระเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

    แอดมินขออนุญาตนำบทความที่เคยลงไปแล้วในเดือนที่แล้วมา Rewrite กันอีกซักครั้งนะครับ ท่านอาจารย์ได้นำรูปพระองค์นี้มาอธิบายให้แอดมินฟังถึงตำหนิต่างๆ แอดมินเลยนำคำบรรยายของท่านอาจารย์มา Rewrite รวมเข้าไปกับบทความเดิมนะครับ

    🙏🙏พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่1 พิมพ์สังฆาฏิสั้น ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุทฒาจารย์ โต พรหมรังสี🙏🙏

    ท่านอาจารย์ได้อธิบายว่า พระสมเด็จฯองค์นี้มีความสวยงาม 2 ประการใหญ่รวมอยู่ในองค์เดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก

    ประการที่ 1 ด้านความสวยงามจากสีขององค์พระ พระสมเด็จฯองค์นี้มีเนื้อเป็นสีเขียว ท่านอาจารย์บอกว่าหาได้ยากมาก ท่านอาจารย์ได้อธิบายว่า ส่วนประกอบหนึ่งในมวลสารที่สมเด็จโตท่านนำมาสร้างเป็นพระสมเด็จฯ คือดอกไม้ที่ญาติโยมนำมาถวายพระ สมเด็จโตท่านน่าจะเห็นว่าดอกไม้เหล่านี้เป็นของสูง ไม่ควรนำไปทิ้งในที่ที่ไม่ควร ท่านจึงนำดอกไม้เหล่านี้มาตากแห้ง และผสมรวมเข้าไปเป็นมวลสาร หนึ่งในดอกไม้ที่คนสมัยนั้นนิยมนำมาถวายพระคือดอกมะลิซ้อน ซึ่งเวลาญาติโยมนำดอกมะลิซ้อนมาถวายบูชาพระจะนำมาทั้งดอกและก้านใบ โดยมัดมาเป็นช่อเล็กๆ นำมาถวายพระ สีเขียวของพระองค์นี้มาจากสีของก้านมะลิที่เมื่อนำไปตากแห่ง ตำให้ละเอียดและผสมกับมวลสารอื่นๆ การผ่านการผสมกับน้ำมันตังอิ้วที่มีทั้งน้ำมันและความชื้นจึงทำให้สีของก้านมะลิละลายออกมา เหมือนเป็นการย้อมสีมวลสารโดยไม่ได้ตั้งใจ ท่านอาจารย์กล่าวว่าท่านเคยเห็นพระสมเด็จฯที่มีสีเขียวอยู่บ้าง บางองค์เขียวเข้ม บางองค์เขียวอ่อน ล้วนแล้วแต่เป็นพระสมเด็จฯ ที่เป็นที่นิยมทั้งสิ้น

    ประการที่ 2 ด้านความสวยงามจากพุทธศิลป์ ท่านอาจารย์อธิบายว่าพระองค์นี้นอกจากจะสีสวยแล้ว การกดพิมพ์ยังกดได้ลึกและแน่นมาก ทำให้องค์พระประธานดูล่ำใหญ่ สามารถมองเห็นเอกลักษณ์จากแม่พิมพ์และตำหนิพุทธศิลป์ได้อย่างชัดเจน ทำให้เป็นพระที่มีความงดงามเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นท่านอาจารย์ยังกล่าวด้วยว่า ด้วยความที่เราสามารถมองเห็นเอกลักษณ์และตำหนิพุทธศิลป์ได้อย่างชัดเจน พระองค์นี้จึงเหมาะมากที่จะกรณีศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจในการดูพระ

    เอาละครับ เรามาเริ่มกันเลย กับเอกลักษณ์และตำหนิพุทธศิลป์ต่างๆที่ท่านอาจารย์ได้เคยอธิบายไว้ดังนี้ (ดูตามหมายเลขในภาพได้เลยนะครับ)

    1. กรอบแม่พิมพ์ เป็นพระที่ตัดปีกพอดีกับกรอบแม่พิมพ์ จึงเป็นกรอบแม่พิมพ์ไม่ชัดนัก

    2. กรอบแม่พิมพ์ด้านซ้าย เป็นกรอบกระจกที่เกิดจากการใช้ตอกตัดจากพิมพ์ด้านหลังมาพิมพ์ด้านหน้า ทำให้เกินเป็นสันเล็กๆที่ด้านหน้าเรียกว่ากรอบกระจก ซึ่งเอกลักษณ์ของพระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ นั้นกรอบกระจกจะเป็นเส้นตรงลงมาจรดซุ้มเรือนแก้วบริเวณแนวข้อศอกซ้ายขององค์พระ

    3. พระเกศ ปลายพระเกศจะแหลมจรดซุ้มเรือนแก้ว แต่โคนพระเกศจะอ้วนใหญ่เป็นกรวย จุดนี้เป็นเอกลักษณ์ของสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่1 ทั้งพิมพ์สังฆาฏิสั้น และสังฆาฏิยาว

    4. พระเศียร ด้วยความที่พระองค์นี้กดพิมพ์ได้ลึกมาก ทำให้พระเศียรกลมโตเป็นพิเศษ

    5. จมูก การกดพิมพ์ที่ลึกมากนั้นยังทำให้บริเวณปลายพระเศียรบริเวณจมูกนูนออกมาเล็กน้อย ซึ่งมีน้อยองค์มากๆที่จะเห็นรอยนูนนี้

    6. พระกรรณ พระกรรณข้างซ้ายจะเป็นปีกคมชัด ปลายพระกรรณยาวเกือบจรดบ่า พระกรรณข้างขวาติดรำไร เพราะเวลาถอดพระออกจากพิมพ์จะออกทางด้านซ้าย ทำให้ซึกซ้ายขององค์พระดูคมชัดกว่าซีกขวา (ในรูปมองเห็นพระกรรณไม่ชัดนัก แม้แต่ด้านซ้ายก็ตาม การถ่ายรูปถึงแม้จะถ่ายจาก Studio ที่มีประสบการณ์ก็ยังไม่สามารถเก็บรายละเอียดเล็กๆนี้ให้เห็นเด่นชัดได้ ท่านอาจารย์บอกว่าถ้าได้ส่องจากองค์จริงจะมองเห็นชัดกว่าในรูป)

    7. รักแร้ขององค์พระ จุดนี้ท่านอาจารย์เน้นย้ำว่า เป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ทุกพิมพ์ รักแร้ด้านซ้ายจะลึกกว่าด้านขวา

    8. ซุ้มเรือนแก้ว เป็นเส้นกลมเหมือนหวายผ่าซีก สำหรับพระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่1 จะมีซุ้มเรือนแก้วที่อ้วนและใหญ่กว่าพิมพ์ใหญ่พิมพ์อื่นทุกพิมพ์ และการหดตัวของซุ้มเรือนแก้วจะหดตัวในแนวตั้งฉาก (ตัวซุ้มเรือนแก้วเป็นแนวตั้งฉากกับพื้นองค์พระ)

    9. แขนทั้ง 2 ข้าง กลมและใหญ่ มีการหดตัวในแนวตั้งฉากเช่นเดียวกับซุ้มเรือนแก้ว

    10. ตำหนิที่ต้นแขนซ้าย เราจะเห็นตำหนิการยุบลงเล็กน้อยบริเวณต้นแขนซ้าย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ทุกพิมพ์ ยกเว้นพิมพ์สังฆาฏิยาวเท่านั้นที่ต้นแขนจะเต็ม ไม่มีตำหนิแบบองค์นี้

    11. จีวรใต้ข้อศอกซ้าย เป็นเส้นเล็กๆยาวจรดที่หัวเข่า ท่านอาจารย์ได้กล่าวว่าต้องมองเทียบกันระหว่างใต้ศอกซ้าย กับใต้ศอกขวา จะเห็นว่าที่ใต้ศอกซ้ายจะมีเนื้อองค์พระที่ตื้นกว่าใต้ศอกขวา เส้นนี้แหละที่เรียกว่าจีวรใต้ศอกซ้าย

    12. ขอบจีวรที่พาดผ่านอก เป็นเส้นตื้นๆ รำไรพาดจากบ่าซ้ายเฉียงลงไปที่ซอกแขนขวา ตามจุดที่ชี้ในรูปจะเห็นเป็นรอย เนื่องจากพระสมเด็จฯองค์นี้กดพิมพ์ได้ลึก จึงทำให้สามารถมองเห็นเส้นขอบจีวรนี้ได้ชัดกว่าองค์อื่นๆ (บางองค์มองแทบไม่เห็น ถ้ามองจากแค่รูปอาจจะไม่เห็นเลย ต้องส่องดูที่องค์จริงอาจจะเห็นเป็นรอยรำไรเท่านั้น)

    13. เส้นสังฆาฏิ เป็นแผ่นโต และนูน พาดจากบ่าซ้ายลงมาที่ต้นช่องท้อง พระสมเด็จฯองค์นี้เราจะเห็นเส้นสังฆาฏิได้ง่ายและชัดมาก แต่บางองค์ที่กดพิมพ์ไม่ลึกมาก เส้นสังฆาฏิอาจจะมองยากซักนิดนึง โดยเฉพาะหากมองจากรูป อาจจะมองไม่เห็นเลย)

    14. พระบาทซ้าย แนบที่หน้าตัก พระบาทยาวเกือบจรดเข่าขวา

    15. ฐานชั้นที่3 เป็นทรงหมอนหนุน กลมโต และยาวตลอดหน้าตัก

    16. เส้นแซมใต้ตัก ปลายฐานชั้นที่3 ทั้งสองข้างจะมีขอบม้วนขึ้นเป็นเส้นแซมใต้ตัก จากรูปตรงจุดที่เลข 16 ชี้นั้นเราจะเห็นเป็นเส้นนูนออกมาเล็กๆ ท่านอาจารย์กล่าวว่าด้วยความที่พระสมเด็จฯ องค์นี้กดพิมพ์ลึก จึงทำให้ยังสามารถเห็นได้แม้จะดูจากรูป แต่พระสมเด็จฯองค์อื่นๆ มองจากในรูปอาจจะไม่เห็นเส้นแซมใต้ตัก ต้องส่องจากองค์จริงถึงจะเห็น

    17. ฐานชั้นที่2 เป็นโต๊ะขาสิงห์ ขอบโต๊ะจะเป็นทรงแหลม

    18. ฐานชั้นที่1 เป็นฐานเขียงใหญ่และหนา ปลายฐานด้านขวาจะตัดเฉียงเป็นทรงหัวขวาน ท่านอาจารย์บอกว่าส่วนมากปลายล่างสุดด้านขวาของฐานชั้นที่ 1 จะชี้ไปยังมุมด้านล่างของซุ้มเรือนแก้ว

    19. รอยหนอนด้น รอยหนอนด้นนั้นเราจะเห็นเป็นเส้นเล็กๆ เหมือนรอยปริแตก เกิดจากการสลายตัวของสารอินทรีย์ในมวลสารขององค์พระ ทำให้เกิดเป็นช่องว่าง เหมือนรอยแยก สำหรับพระสมเด็จฯองค์นี้เราจะเห็นรอยหนอนด้นบนซุ้มเรือนแก้ว (ตำแหน่งของรอยหนอนด้นบนองค์พระไม่แน่นอน แต่ละองค์ไม่เหมือนกัน ท่านอาจารย์ได้กล่าวว่า รอยหนอนด้นเป็นสิ่งหนึ่งที่เอาไว้ดูว่าพระแท้หรือไม่ เพราะรอยดังกล่าวเกิดจากย่อยสลายของสารอินทรีย์ในมวลสาร ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะกลายเป็นรอยหนอนด้น)

    20. เม็ดพระธาตุ เม็ดพระธาตุเป็นปูนอีกชนิดหนึ่งที่สมเด็จโตท่านเอามาผสมในมวลสาร ซึ่งปูนชนิดนี้ไม่ได้ผสมกลมกลืนกับปูนเปลือกหอยที่เป็นวัตถุดิบหลักในการทำมวลสาร เมื่อเวลาผ่านไปการหดตัวของปูน 2 ชนิดไม่เท่ากัน ทำให้เกิดรอยแยกเห็นปูนอีกชนิดหนึ่งเป็นเม็ดเล็กๆ ท่านอาจารย์เล่าให้ฟังว่าสันนิษฐานว่าเม็ดพระธาตุนี้คือเศษปูนที่ฉาบพระประธานในพระอุโบสถไว้ (สมัยโบราณจะมีการฉาบปูนทับองค์พระประธานไว้) เมื่อเศษปูนกระเทาะออก หรือมีการกระเทาะออกอย่างตั้งใจเพื่อที่จะทำการฉาบใหม่ สมเด็จโตท่านเห็นว่าปูนนี้เป็นของสูง ไม่ควรทิ้งในที่ที่มิควร จึงนำมาบดให้ละเอียดและผสมลงในมวลสาร แต่ถึงจะบดอย่างไร ปูนคงมิได้ละเอียดเป็นผง ยังคงมีเหลือที่เป็นเม็ดเล็กๆ เป็นที่มาของเม็ดพระธาตุ

    ท่านอาจารย์บอกว่าพระสมเด็จฯ องค์นี้ในสมัยที่ท่านยังโลดแล่นอยู่ในสนามพระ เรียกกันว่า "องค์เขียวมรกต" ถือเป็นหนึ่งในองค์ครูในการศึกษาการดูพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่1 พิมพ์สังฆาฏิสั้น โดยเฉพาะการดูเอกลักษณ์แม่พิมพ์และตำหนิพุทธศิลป์ของพิมพ์หน้า แอดมินหวังว่าบทความที่ Rewrite ขึ้นมาใหม่นี้จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกแฟนเพจที่ต้องการศึกษาการดูพระบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ ขอบคุณครับ พบกันใหม่ในโพสหน้าครับ

    #พระสมเด็จ #พระสมเด็จวัดระฆัง #เบญจภาคี #พระเครื่อง #สมเด็จโต
    พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พิมพ์สังฆาฏิสั้น EP.1 สวัสดีสมาชิกแฟนเพจทุกท่านครับ อย่างที่กล่าวไว้ในโพสที่แล้วนะครับ ทีมงานแอดมินอยากเน้นเรื่องความรู้ในการดูพระ โดยเราจะเริ่มจากพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่กันอย่างเน้นๆ เมื่อท่านอาจารย์ได้ทราบถึงแนวทางของทีมงานแอดมิน ท่านจึงแนะนำว่าให้นำเอาบทความที่เน้นการดูเอกลักษณ์หรือตำหนิพุทธศิลป์มาลงมากยิ่งขึ้น โดยบทความเหล่านี้ท่านอาจารย์ได้เขียนให้ดูทีละจุด และในรูปจะมีการชี้ตำแหน่งที่ท่านเขียนถึง จะทำให้สมาชิกที่สนใจศึกษาการดูพระเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น แอดมินขออนุญาตนำบทความที่เคยลงไปแล้วในเดือนที่แล้วมา Rewrite กันอีกซักครั้งนะครับ ท่านอาจารย์ได้นำรูปพระองค์นี้มาอธิบายให้แอดมินฟังถึงตำหนิต่างๆ แอดมินเลยนำคำบรรยายของท่านอาจารย์มา Rewrite รวมเข้าไปกับบทความเดิมนะครับ 🙏🙏พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่1 พิมพ์สังฆาฏิสั้น ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุทฒาจารย์ โต พรหมรังสี🙏🙏 ท่านอาจารย์ได้อธิบายว่า พระสมเด็จฯองค์นี้มีความสวยงาม 2 ประการใหญ่รวมอยู่ในองค์เดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก ประการที่ 1 ด้านความสวยงามจากสีขององค์พระ พระสมเด็จฯองค์นี้มีเนื้อเป็นสีเขียว ท่านอาจารย์บอกว่าหาได้ยากมาก ท่านอาจารย์ได้อธิบายว่า ส่วนประกอบหนึ่งในมวลสารที่สมเด็จโตท่านนำมาสร้างเป็นพระสมเด็จฯ คือดอกไม้ที่ญาติโยมนำมาถวายพระ สมเด็จโตท่านน่าจะเห็นว่าดอกไม้เหล่านี้เป็นของสูง ไม่ควรนำไปทิ้งในที่ที่ไม่ควร ท่านจึงนำดอกไม้เหล่านี้มาตากแห้ง และผสมรวมเข้าไปเป็นมวลสาร หนึ่งในดอกไม้ที่คนสมัยนั้นนิยมนำมาถวายพระคือดอกมะลิซ้อน ซึ่งเวลาญาติโยมนำดอกมะลิซ้อนมาถวายบูชาพระจะนำมาทั้งดอกและก้านใบ โดยมัดมาเป็นช่อเล็กๆ นำมาถวายพระ สีเขียวของพระองค์นี้มาจากสีของก้านมะลิที่เมื่อนำไปตากแห่ง ตำให้ละเอียดและผสมกับมวลสารอื่นๆ การผ่านการผสมกับน้ำมันตังอิ้วที่มีทั้งน้ำมันและความชื้นจึงทำให้สีของก้านมะลิละลายออกมา เหมือนเป็นการย้อมสีมวลสารโดยไม่ได้ตั้งใจ ท่านอาจารย์กล่าวว่าท่านเคยเห็นพระสมเด็จฯที่มีสีเขียวอยู่บ้าง บางองค์เขียวเข้ม บางองค์เขียวอ่อน ล้วนแล้วแต่เป็นพระสมเด็จฯ ที่เป็นที่นิยมทั้งสิ้น ประการที่ 2 ด้านความสวยงามจากพุทธศิลป์ ท่านอาจารย์อธิบายว่าพระองค์นี้นอกจากจะสีสวยแล้ว การกดพิมพ์ยังกดได้ลึกและแน่นมาก ทำให้องค์พระประธานดูล่ำใหญ่ สามารถมองเห็นเอกลักษณ์จากแม่พิมพ์และตำหนิพุทธศิลป์ได้อย่างชัดเจน ทำให้เป็นพระที่มีความงดงามเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นท่านอาจารย์ยังกล่าวด้วยว่า ด้วยความที่เราสามารถมองเห็นเอกลักษณ์และตำหนิพุทธศิลป์ได้อย่างชัดเจน พระองค์นี้จึงเหมาะมากที่จะกรณีศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจในการดูพระ เอาละครับ เรามาเริ่มกันเลย กับเอกลักษณ์และตำหนิพุทธศิลป์ต่างๆที่ท่านอาจารย์ได้เคยอธิบายไว้ดังนี้ (ดูตามหมายเลขในภาพได้เลยนะครับ) 1. กรอบแม่พิมพ์ เป็นพระที่ตัดปีกพอดีกับกรอบแม่พิมพ์ จึงเป็นกรอบแม่พิมพ์ไม่ชัดนัก 2. กรอบแม่พิมพ์ด้านซ้าย เป็นกรอบกระจกที่เกิดจากการใช้ตอกตัดจากพิมพ์ด้านหลังมาพิมพ์ด้านหน้า ทำให้เกินเป็นสันเล็กๆที่ด้านหน้าเรียกว่ากรอบกระจก ซึ่งเอกลักษณ์ของพระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ นั้นกรอบกระจกจะเป็นเส้นตรงลงมาจรดซุ้มเรือนแก้วบริเวณแนวข้อศอกซ้ายขององค์พระ 3. พระเกศ ปลายพระเกศจะแหลมจรดซุ้มเรือนแก้ว แต่โคนพระเกศจะอ้วนใหญ่เป็นกรวย จุดนี้เป็นเอกลักษณ์ของสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่1 ทั้งพิมพ์สังฆาฏิสั้น และสังฆาฏิยาว 4. พระเศียร ด้วยความที่พระองค์นี้กดพิมพ์ได้ลึกมาก ทำให้พระเศียรกลมโตเป็นพิเศษ 5. จมูก การกดพิมพ์ที่ลึกมากนั้นยังทำให้บริเวณปลายพระเศียรบริเวณจมูกนูนออกมาเล็กน้อย ซึ่งมีน้อยองค์มากๆที่จะเห็นรอยนูนนี้ 6. พระกรรณ พระกรรณข้างซ้ายจะเป็นปีกคมชัด ปลายพระกรรณยาวเกือบจรดบ่า พระกรรณข้างขวาติดรำไร เพราะเวลาถอดพระออกจากพิมพ์จะออกทางด้านซ้าย ทำให้ซึกซ้ายขององค์พระดูคมชัดกว่าซีกขวา (ในรูปมองเห็นพระกรรณไม่ชัดนัก แม้แต่ด้านซ้ายก็ตาม การถ่ายรูปถึงแม้จะถ่ายจาก Studio ที่มีประสบการณ์ก็ยังไม่สามารถเก็บรายละเอียดเล็กๆนี้ให้เห็นเด่นชัดได้ ท่านอาจารย์บอกว่าถ้าได้ส่องจากองค์จริงจะมองเห็นชัดกว่าในรูป) 7. รักแร้ขององค์พระ จุดนี้ท่านอาจารย์เน้นย้ำว่า เป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ทุกพิมพ์ รักแร้ด้านซ้ายจะลึกกว่าด้านขวา 8. ซุ้มเรือนแก้ว เป็นเส้นกลมเหมือนหวายผ่าซีก สำหรับพระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่1 จะมีซุ้มเรือนแก้วที่อ้วนและใหญ่กว่าพิมพ์ใหญ่พิมพ์อื่นทุกพิมพ์ และการหดตัวของซุ้มเรือนแก้วจะหดตัวในแนวตั้งฉาก (ตัวซุ้มเรือนแก้วเป็นแนวตั้งฉากกับพื้นองค์พระ) 9. แขนทั้ง 2 ข้าง กลมและใหญ่ มีการหดตัวในแนวตั้งฉากเช่นเดียวกับซุ้มเรือนแก้ว 10. ตำหนิที่ต้นแขนซ้าย เราจะเห็นตำหนิการยุบลงเล็กน้อยบริเวณต้นแขนซ้าย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ทุกพิมพ์ ยกเว้นพิมพ์สังฆาฏิยาวเท่านั้นที่ต้นแขนจะเต็ม ไม่มีตำหนิแบบองค์นี้ 11. จีวรใต้ข้อศอกซ้าย เป็นเส้นเล็กๆยาวจรดที่หัวเข่า ท่านอาจารย์ได้กล่าวว่าต้องมองเทียบกันระหว่างใต้ศอกซ้าย กับใต้ศอกขวา จะเห็นว่าที่ใต้ศอกซ้ายจะมีเนื้อองค์พระที่ตื้นกว่าใต้ศอกขวา เส้นนี้แหละที่เรียกว่าจีวรใต้ศอกซ้าย 12. ขอบจีวรที่พาดผ่านอก เป็นเส้นตื้นๆ รำไรพาดจากบ่าซ้ายเฉียงลงไปที่ซอกแขนขวา ตามจุดที่ชี้ในรูปจะเห็นเป็นรอย เนื่องจากพระสมเด็จฯองค์นี้กดพิมพ์ได้ลึก จึงทำให้สามารถมองเห็นเส้นขอบจีวรนี้ได้ชัดกว่าองค์อื่นๆ (บางองค์มองแทบไม่เห็น ถ้ามองจากแค่รูปอาจจะไม่เห็นเลย ต้องส่องดูที่องค์จริงอาจจะเห็นเป็นรอยรำไรเท่านั้น) 13. เส้นสังฆาฏิ เป็นแผ่นโต และนูน พาดจากบ่าซ้ายลงมาที่ต้นช่องท้อง พระสมเด็จฯองค์นี้เราจะเห็นเส้นสังฆาฏิได้ง่ายและชัดมาก แต่บางองค์ที่กดพิมพ์ไม่ลึกมาก เส้นสังฆาฏิอาจจะมองยากซักนิดนึง โดยเฉพาะหากมองจากรูป อาจจะมองไม่เห็นเลย) 14. พระบาทซ้าย แนบที่หน้าตัก พระบาทยาวเกือบจรดเข่าขวา 15. ฐานชั้นที่3 เป็นทรงหมอนหนุน กลมโต และยาวตลอดหน้าตัก 16. เส้นแซมใต้ตัก ปลายฐานชั้นที่3 ทั้งสองข้างจะมีขอบม้วนขึ้นเป็นเส้นแซมใต้ตัก จากรูปตรงจุดที่เลข 16 ชี้นั้นเราจะเห็นเป็นเส้นนูนออกมาเล็กๆ ท่านอาจารย์กล่าวว่าด้วยความที่พระสมเด็จฯ องค์นี้กดพิมพ์ลึก จึงทำให้ยังสามารถเห็นได้แม้จะดูจากรูป แต่พระสมเด็จฯองค์อื่นๆ มองจากในรูปอาจจะไม่เห็นเส้นแซมใต้ตัก ต้องส่องจากองค์จริงถึงจะเห็น 17. ฐานชั้นที่2 เป็นโต๊ะขาสิงห์ ขอบโต๊ะจะเป็นทรงแหลม 18. ฐานชั้นที่1 เป็นฐานเขียงใหญ่และหนา ปลายฐานด้านขวาจะตัดเฉียงเป็นทรงหัวขวาน ท่านอาจารย์บอกว่าส่วนมากปลายล่างสุดด้านขวาของฐานชั้นที่ 1 จะชี้ไปยังมุมด้านล่างของซุ้มเรือนแก้ว 19. รอยหนอนด้น รอยหนอนด้นนั้นเราจะเห็นเป็นเส้นเล็กๆ เหมือนรอยปริแตก เกิดจากการสลายตัวของสารอินทรีย์ในมวลสารขององค์พระ ทำให้เกิดเป็นช่องว่าง เหมือนรอยแยก สำหรับพระสมเด็จฯองค์นี้เราจะเห็นรอยหนอนด้นบนซุ้มเรือนแก้ว (ตำแหน่งของรอยหนอนด้นบนองค์พระไม่แน่นอน แต่ละองค์ไม่เหมือนกัน ท่านอาจารย์ได้กล่าวว่า รอยหนอนด้นเป็นสิ่งหนึ่งที่เอาไว้ดูว่าพระแท้หรือไม่ เพราะรอยดังกล่าวเกิดจากย่อยสลายของสารอินทรีย์ในมวลสาร ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะกลายเป็นรอยหนอนด้น) 20. เม็ดพระธาตุ เม็ดพระธาตุเป็นปูนอีกชนิดหนึ่งที่สมเด็จโตท่านเอามาผสมในมวลสาร ซึ่งปูนชนิดนี้ไม่ได้ผสมกลมกลืนกับปูนเปลือกหอยที่เป็นวัตถุดิบหลักในการทำมวลสาร เมื่อเวลาผ่านไปการหดตัวของปูน 2 ชนิดไม่เท่ากัน ทำให้เกิดรอยแยกเห็นปูนอีกชนิดหนึ่งเป็นเม็ดเล็กๆ ท่านอาจารย์เล่าให้ฟังว่าสันนิษฐานว่าเม็ดพระธาตุนี้คือเศษปูนที่ฉาบพระประธานในพระอุโบสถไว้ (สมัยโบราณจะมีการฉาบปูนทับองค์พระประธานไว้) เมื่อเศษปูนกระเทาะออก หรือมีการกระเทาะออกอย่างตั้งใจเพื่อที่จะทำการฉาบใหม่ สมเด็จโตท่านเห็นว่าปูนนี้เป็นของสูง ไม่ควรทิ้งในที่ที่มิควร จึงนำมาบดให้ละเอียดและผสมลงในมวลสาร แต่ถึงจะบดอย่างไร ปูนคงมิได้ละเอียดเป็นผง ยังคงมีเหลือที่เป็นเม็ดเล็กๆ เป็นที่มาของเม็ดพระธาตุ ท่านอาจารย์บอกว่าพระสมเด็จฯ องค์นี้ในสมัยที่ท่านยังโลดแล่นอยู่ในสนามพระ เรียกกันว่า "องค์เขียวมรกต" ถือเป็นหนึ่งในองค์ครูในการศึกษาการดูพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่1 พิมพ์สังฆาฏิสั้น โดยเฉพาะการดูเอกลักษณ์แม่พิมพ์และตำหนิพุทธศิลป์ของพิมพ์หน้า แอดมินหวังว่าบทความที่ Rewrite ขึ้นมาใหม่นี้จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกแฟนเพจที่ต้องการศึกษาการดูพระบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ ขอบคุณครับ พบกันใหม่ในโพสหน้าครับ #พระสมเด็จ #พระสมเด็จวัดระฆัง #เบญจภาคี #พระเครื่อง #สมเด็จโต
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 158 มุมมอง 0 รีวิว
  • เที่ยว #เซี่ยงไฮ้ มีนาคม 68 🔥🔥

    🗓 จำนวนวัน 5 วัน 3 คืน
    ✈ Vietjet Air (VZ)
    🏨 พักโรงแรม ⭐⭐⭐

    📍 อิสระฟรีเดย์ 1 วัน
    📍 วัดพระหยกขาว
    📍 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติเซี่ยงไฮ้
    📍 หมู่บ้านโบราณผานหลง
    📍 ตลาดร้อยปีเฉินหวังเมี่ยว
    📍 หาดไว่ทาน
    📍 ล่องเรือชมแสงสีกลางคืนเซี่ยงไฮ้
    📍 ชมตึกหอไข่มุก
    📍 The street of 1,000 red jars
    📍 ตึกสตาร์บัค
    📍 Florentia Village Outlet

    รวมทัวร์ไฟไหม้ ทัวร์หลุดจอง โปรพักเดี่ยว ลดเยอะสุด by 21ปี https://eTravelWay.com🔥
    ⭕️ เข้ากลุ่มลับ Facebook โปรเพียบบบบ : https://78s.me/e86e1a
    ⭕️ เข้ากลุ่มลับ LINE openchat ทัวร์ที่หลุด คลิก https://78s.me/501ad8

    LINE ID: @etravelway.fire
    https://78s.me/e58a3f
    Facebook: etravelway.fire https://78s.me/317663
    Instagram: etravelway.fire https://78s.me/d43626
    Tiktok : https://78s.me/903597
    ☎️: 021166395

    #ทัวร์จีน #ทัวร์เซี่ยงไฮ้ #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ราคาถูก #etravelwayfire #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    เที่ยว #เซี่ยงไฮ้ มีนาคม 68 🔥🔥 🗓 จำนวนวัน 5 วัน 3 คืน ✈ Vietjet Air (VZ) 🏨 พักโรงแรม ⭐⭐⭐ 📍 อิสระฟรีเดย์ 1 วัน 📍 วัดพระหยกขาว 📍 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติเซี่ยงไฮ้ 📍 หมู่บ้านโบราณผานหลง 📍 ตลาดร้อยปีเฉินหวังเมี่ยว 📍 หาดไว่ทาน 📍 ล่องเรือชมแสงสีกลางคืนเซี่ยงไฮ้ 📍 ชมตึกหอไข่มุก 📍 The street of 1,000 red jars 📍 ตึกสตาร์บัค 📍 Florentia Village Outlet รวมทัวร์ไฟไหม้ ทัวร์หลุดจอง โปรพักเดี่ยว ลดเยอะสุด by 21ปี https://eTravelWay.com🔥 ⭕️ เข้ากลุ่มลับ Facebook โปรเพียบบบบ : https://78s.me/e86e1a ⭕️ เข้ากลุ่มลับ LINE openchat ทัวร์ที่หลุด คลิก https://78s.me/501ad8 LINE ID: @etravelway.fire https://78s.me/e58a3f Facebook: etravelway.fire https://78s.me/317663 Instagram: etravelway.fire https://78s.me/d43626 Tiktok : https://78s.me/903597 ☎️: 021166395 #ทัวร์จีน #ทัวร์เซี่ยงไฮ้ #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ราคาถูก #etravelwayfire #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 339 มุมมอง 6 0 รีวิว
  • ช่วงนี้กระแสหนังภารตะเรื่องหนึ่งแรงมาก เป็นเรื่องราวอิงชีวประวัติของโสเภณีหญิงที่กลายมาเป็นแม่เล้าผู้ทรงอิทธิพลในอินเดีย เห็นว่าฟ้องร้องกันอยู่ว่าเรื่องราวบิดเบือนเพราะเธอไม่ได้เป็นโสเภณีจริง ความจริงเป็นอย่างไรไม่รู้ แต่หนังเรื่องนี้ทำให้ Storyฯ นึกถึงภาพยนตร์จีนโบราณที่เคยผ่านตาเมื่อนานมาแล้วเรื่องหนึ่งชื่อว่า <หลิ่วหรูซื่อ> (Threads of Time)

    เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวประวัติของนางคณิกานามว่า ‘หลิ่วหรูซื่อ’ นางถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นกวีหญิงที่โดดเด่นในสมัยปลายราชวงศ์หมิง และเป็นสตรีที่รักชาติและต่อต้านการรุกรานจากชาวแมนจูในช่วงผลัดแผ่นดิน ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจคุ้นเคยกับเรื่องของนางกันบ้างหรือไม่? วันนี้เลยมาคุยให้ฟังอย่างย่อ

    หลิ่วหรูซื่อ (ค.ศ. 1618-1664) ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาจากแม่น้ำฉินหวย (ฉินหวยปาเยี่ยน / 秦淮八艳)

    อะไรคือ ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ? ในสมัยปลายราชวงศ์หมิงนั้น สถานสอบราชบันฑิตที่ใหญ่ที่สุดคือเจียงหนานก้งเยวี่ยน (江南贡院) ตั้งอยู่ที่เมืองเจียงหนานริมฝั่งแม่น้ำฉินหวย ในแต่ละปีจะมีบัณฑิตและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการสอบมาที่นี่ถึงสองสามหมื่นคน จากเมืองเจียงหนานข้ามแม่น้ำฉินหวยมาก็เป็นเมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งนับว่าเป็นเมืองทางผ่านสำหรับเขาเหล่านี้ ที่นี่จึงกลายเป็นทำเลทองของกิจการหอนางโลม

    เพื่อนเพจอย่าได้คิดว่านางคณิกาเหล่านี้เน้นขายบริการทางเพศแต่อย่างเดียว ในยุคนั้นรายได้เป็นกอบเป็นกำมาจากการขายความบันเทิงทางศิลปะเคล้าสุรา เช่น เล่นดนตรี / เล่นหมากล้อม / โชว์เต้นรำ / แต่งกลอนวาดภาพ หรืออาจทำทั้งหมด มีนางคณิกาจำนวนไม่น้อยที่ขายศิลปะไม่ขายตัวและคนที่ชื่อดังจะต้องมีฝีมือดีเยี่ยม ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่มีการศึกษา ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ทั้งแปดคนนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของนางคณิกาในย่านเมืองหนานจิงนี้นี่เอง

    หลิ่วหรูซื่อมีนามเดิมว่า ‘หยางอ้าย’ ต่อมาเปลี่ยนชื่อตนเองใหม่เป็น ‘อิ่ง’ และมีนามรองว่า ‘หรูซื่อ’ ตามบทกวีจากสมัยซ่ง บ่อยครั้งที่นางแต่งตัวเป็นชายออกไปโต้กลอนกับคนอื่นโดยใช้นามว่า ‘เหอตงจวิน’ นางโด่งดังที่สุดด้านงานอักษรและงานพู่กันจีน (บทกวี คัดพู่กัน และภาพวาด) ผลงานของนางมีมากมายทั้งในนาม ‘หลิ่วหรูซื่อ’ และ ‘เหอตงจวิน’ มีการรวมเล่มผลงานของนางออกจำหน่ายในหลายยุคสมัยจวบจนปัจจุบัน

    นางเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ถูกขายให้กับหอนางโลมเมื่ออายุแปดขวบ แต่แม่เล้ารับเป็นลูกบุญธรรมและได้ฝึกเรียนศิลปะแขนงต่างๆ ในชีวิตนางมีชายสามคนที่มีบทบาทมาก คนแรกคืออดีตเสนาบดีอดีตจอหงวน ที่รับนางเป็นอนุเมื่ออายุเพียง 14 ปี เขาโปรดปรานนางที่สุด ใช้เวลาทั้งวันกับการสอนศิลปะขั้นสูงเหล่านี้ให้กับนาง

    เมื่อเขาตายลงนางถูกขับออกจากเรือนจึงกลับไปอยู่หอนางโลมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีวิชาความรู้ติดตัวจนเป็นที่เลื่องลือ ทำให้นางใช้ชีวิตอยู่กับการคบหาสมาคมกับเหล่าบัณฑิตจนได้มาพบรักกับเฉินจื่อหลง เขาเป็นบัณฑิตที่ต่อมารับราชการไปได้ไกล ทั้งสองอยู่ด้วยกันนานหลายปี แต่สุดท้ายไปไม่รอดแยกย้ายกันไปและนางออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่นางมีผลงานด้านโคลงกลอนและภาพวาดมากมาย

    ต่อมาในวัย 23 ปี นางได้พบและแต่งงานกับอดีตขุนนางอายุกว่า 50 ปีนามว่าเฉียนเชียนอี้เป็นภรรยารอง (แต่ภรรยาคนแรกเสียไปแล้ว) และอยู่ด้วยกันนานกว่า 20 ปี มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ช่วงเวลาที่อยู่กับเฉียนเชียนอี้นี้ เป็นช่วงเวลาที่นางได้รับการยกย่องเรื่องรักชาติ และนางเป็นผู้ผลักดันให้เฉียนเชียนอี้ทำงานต่อต้านแมนจูอย่างลับๆ เพื่อกอบกู้ราชวงศ์หมิง แม้ว่าฉากหน้าจะสวามิภักดิ์รับราชการกับทางการแมนจูไปแล้ว (เรื่องราวของเฉียนเชียนอี้ที่กลับไปกลับมากับการสนับสนุนฝ่ายใดเป็นเรื่องที่ยาว Storyฯ ขอไม่ลงในรายละเอียด) ต่อมาเฉียนเชียนอี้ลาออกไปใช้ชีวิตบั้นปลายในชนบทโดยนางติดตามไปด้วย เมื่อเขาตายลงมีการแย่งทรัพย์สมบัติ นางจึงฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้ทางการเอาผิดคนโกงและคืนทรัพย์สินกลับมาให้ลูก

    หลิ่วหรูซื่อไม่เพียงฝากผลงานเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังมากมาย หากแต่ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและรักชาติของหลิ่วหรูซื่อถูกสะท้อนออกมาในบทประพันธ์ต่างๆ ของนางด้วยอารมณ์ประมาณว่า “ถ้าฉันเป็นชาย ฉันจะไปสู้เพื่อชาติ” แต่เมื่อเป็นหญิง นางจึงพยายามสนับสนุนกองกำลังกู้ชาติทางการเงินและผลักดันให้สามีของนางสนับสนุนด้วย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมเรื่องราวของนางคณิกาธรรมดาคนนี้ยังไม่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html
    https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2008/03-10/1186637.shtml
    https://new.qq.com/omn/20191102/20191102A03LG800.html
    https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html
    http://www.360doc.com/content/20/0325/10/60244337_901533310.shtml
    https://kknews.cc/history/ogan4p.html
    https://baike.baidu.com/item/%E7%A7%A6%E6%B7%AE%E5%85%AB%E8%89%B3/384726

    #หลิ่วหรูซือ #เหอตงจวิน #นางคณิกาจีนโบราณ #ฉินหวยปาเยี่ยน #เฉียนเชียนอี้ #เฉินจื่อหลง #กอบกู้หมิง
    ช่วงนี้กระแสหนังภารตะเรื่องหนึ่งแรงมาก เป็นเรื่องราวอิงชีวประวัติของโสเภณีหญิงที่กลายมาเป็นแม่เล้าผู้ทรงอิทธิพลในอินเดีย เห็นว่าฟ้องร้องกันอยู่ว่าเรื่องราวบิดเบือนเพราะเธอไม่ได้เป็นโสเภณีจริง ความจริงเป็นอย่างไรไม่รู้ แต่หนังเรื่องนี้ทำให้ Storyฯ นึกถึงภาพยนตร์จีนโบราณที่เคยผ่านตาเมื่อนานมาแล้วเรื่องหนึ่งชื่อว่า <หลิ่วหรูซื่อ> (Threads of Time) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวประวัติของนางคณิกานามว่า ‘หลิ่วหรูซื่อ’ นางถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นกวีหญิงที่โดดเด่นในสมัยปลายราชวงศ์หมิง และเป็นสตรีที่รักชาติและต่อต้านการรุกรานจากชาวแมนจูในช่วงผลัดแผ่นดิน ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจคุ้นเคยกับเรื่องของนางกันบ้างหรือไม่? วันนี้เลยมาคุยให้ฟังอย่างย่อ หลิ่วหรูซื่อ (ค.ศ. 1618-1664) ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาจากแม่น้ำฉินหวย (ฉินหวยปาเยี่ยน / 秦淮八艳) อะไรคือ ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ? ในสมัยปลายราชวงศ์หมิงนั้น สถานสอบราชบันฑิตที่ใหญ่ที่สุดคือเจียงหนานก้งเยวี่ยน (江南贡院) ตั้งอยู่ที่เมืองเจียงหนานริมฝั่งแม่น้ำฉินหวย ในแต่ละปีจะมีบัณฑิตและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการสอบมาที่นี่ถึงสองสามหมื่นคน จากเมืองเจียงหนานข้ามแม่น้ำฉินหวยมาก็เป็นเมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งนับว่าเป็นเมืองทางผ่านสำหรับเขาเหล่านี้ ที่นี่จึงกลายเป็นทำเลทองของกิจการหอนางโลม เพื่อนเพจอย่าได้คิดว่านางคณิกาเหล่านี้เน้นขายบริการทางเพศแต่อย่างเดียว ในยุคนั้นรายได้เป็นกอบเป็นกำมาจากการขายความบันเทิงทางศิลปะเคล้าสุรา เช่น เล่นดนตรี / เล่นหมากล้อม / โชว์เต้นรำ / แต่งกลอนวาดภาพ หรืออาจทำทั้งหมด มีนางคณิกาจำนวนไม่น้อยที่ขายศิลปะไม่ขายตัวและคนที่ชื่อดังจะต้องมีฝีมือดีเยี่ยม ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่มีการศึกษา ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ทั้งแปดคนนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของนางคณิกาในย่านเมืองหนานจิงนี้นี่เอง หลิ่วหรูซื่อมีนามเดิมว่า ‘หยางอ้าย’ ต่อมาเปลี่ยนชื่อตนเองใหม่เป็น ‘อิ่ง’ และมีนามรองว่า ‘หรูซื่อ’ ตามบทกวีจากสมัยซ่ง บ่อยครั้งที่นางแต่งตัวเป็นชายออกไปโต้กลอนกับคนอื่นโดยใช้นามว่า ‘เหอตงจวิน’ นางโด่งดังที่สุดด้านงานอักษรและงานพู่กันจีน (บทกวี คัดพู่กัน และภาพวาด) ผลงานของนางมีมากมายทั้งในนาม ‘หลิ่วหรูซื่อ’ และ ‘เหอตงจวิน’ มีการรวมเล่มผลงานของนางออกจำหน่ายในหลายยุคสมัยจวบจนปัจจุบัน นางเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ถูกขายให้กับหอนางโลมเมื่ออายุแปดขวบ แต่แม่เล้ารับเป็นลูกบุญธรรมและได้ฝึกเรียนศิลปะแขนงต่างๆ ในชีวิตนางมีชายสามคนที่มีบทบาทมาก คนแรกคืออดีตเสนาบดีอดีตจอหงวน ที่รับนางเป็นอนุเมื่ออายุเพียง 14 ปี เขาโปรดปรานนางที่สุด ใช้เวลาทั้งวันกับการสอนศิลปะขั้นสูงเหล่านี้ให้กับนาง เมื่อเขาตายลงนางถูกขับออกจากเรือนจึงกลับไปอยู่หอนางโลมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีวิชาความรู้ติดตัวจนเป็นที่เลื่องลือ ทำให้นางใช้ชีวิตอยู่กับการคบหาสมาคมกับเหล่าบัณฑิตจนได้มาพบรักกับเฉินจื่อหลง เขาเป็นบัณฑิตที่ต่อมารับราชการไปได้ไกล ทั้งสองอยู่ด้วยกันนานหลายปี แต่สุดท้ายไปไม่รอดแยกย้ายกันไปและนางออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่นางมีผลงานด้านโคลงกลอนและภาพวาดมากมาย ต่อมาในวัย 23 ปี นางได้พบและแต่งงานกับอดีตขุนนางอายุกว่า 50 ปีนามว่าเฉียนเชียนอี้เป็นภรรยารอง (แต่ภรรยาคนแรกเสียไปแล้ว) และอยู่ด้วยกันนานกว่า 20 ปี มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ช่วงเวลาที่อยู่กับเฉียนเชียนอี้นี้ เป็นช่วงเวลาที่นางได้รับการยกย่องเรื่องรักชาติ และนางเป็นผู้ผลักดันให้เฉียนเชียนอี้ทำงานต่อต้านแมนจูอย่างลับๆ เพื่อกอบกู้ราชวงศ์หมิง แม้ว่าฉากหน้าจะสวามิภักดิ์รับราชการกับทางการแมนจูไปแล้ว (เรื่องราวของเฉียนเชียนอี้ที่กลับไปกลับมากับการสนับสนุนฝ่ายใดเป็นเรื่องที่ยาว Storyฯ ขอไม่ลงในรายละเอียด) ต่อมาเฉียนเชียนอี้ลาออกไปใช้ชีวิตบั้นปลายในชนบทโดยนางติดตามไปด้วย เมื่อเขาตายลงมีการแย่งทรัพย์สมบัติ นางจึงฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้ทางการเอาผิดคนโกงและคืนทรัพย์สินกลับมาให้ลูก หลิ่วหรูซื่อไม่เพียงฝากผลงานเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังมากมาย หากแต่ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและรักชาติของหลิ่วหรูซื่อถูกสะท้อนออกมาในบทประพันธ์ต่างๆ ของนางด้วยอารมณ์ประมาณว่า “ถ้าฉันเป็นชาย ฉันจะไปสู้เพื่อชาติ” แต่เมื่อเป็นหญิง นางจึงพยายามสนับสนุนกองกำลังกู้ชาติทางการเงินและผลักดันให้สามีของนางสนับสนุนด้วย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมเรื่องราวของนางคณิกาธรรมดาคนนี้ยังไม่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2008/03-10/1186637.shtml https://new.qq.com/omn/20191102/20191102A03LG800.html https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html http://www.360doc.com/content/20/0325/10/60244337_901533310.shtml https://kknews.cc/history/ogan4p.html https://baike.baidu.com/item/%E7%A7%A6%E6%B7%AE%E5%85%AB%E8%89%B3/384726 #หลิ่วหรูซือ #เหอตงจวิน #นางคณิกาจีนโบราณ #ฉินหวยปาเยี่ยน #เฉียนเชียนอี้ #เฉินจื่อหลง #กอบกู้หมิง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 336 มุมมอง 0 รีวิว
  • เทคโนโลยีกับพระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและน่าสนใจ ทั้งในด้านการเสริมสร้างการปฏิบัติธรรมและการท้าทายต่อหลักคำสอนพื้นฐาน ต่อไปนี้เป็นแนวคิดหลักที่เชื่อมโยงทั้งสองประเด็น:

    ### 1. **เทคโนโลยีสนับสนุนการปฏิบัติธรรม**
    - **แอปพลิเคชันสมาธิและธรรมะ**: แอปเช่น *Insight Timer* หรือ *Headspace* ช่วยให้ผู้คนเข้าถึงการนั่งสมาธิแบบมีคำแนะนำ บทสวดมนต์ และคำสอนทางพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น
    - **การเรียนรู้ทางไกล**: พุทธศาสนิกชนสามารถฟังธรรมจากพระอาจารย์ทั่วโลกผ่าน YouTube, Podcasts หรือเว็บไซต์ เช่น [DharmaSeed](https://www.dharmaseed.org)
    - **วัดเสมือนจริง**: ในยุคโควิด-19 หลายวัดจัดกิจกรรมทางศาสนาออนไลน์ เช่น การถ่ายทอดสดการบวชพระ หรือการปฏิบัติธรรมร่วมกันผ่าน Zoom

    ### 2. **การเผยแผ่ธรรมะในยุคดิจิทัล**
    - **โซเชียลมีเดีย**: พระสงฆ์หลายรูปใช้ Facebook หรือ TikTok แบ่งปันคำสอนสั้นๆ ที่เข้าถึงคนรุ่นใหม่
    - **ปัญญาประดิษฐ์ (AI)**: มีการพัฒนา AI ที่สามารถตอบคำถามธรรมะเบื้องต้น หรือแปลพระสูตรโบราณได้ แต่ยังเป็นที่ถกเถียงเรื่องความลึกซึ้งทางจิตวิญญาณ

    ### 3. **ความท้าทายต่อหลักพุทธธรรม**
    - **การเสพติดเทคโนโลยี**: การใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไปขัดกับหลัก "สติ" และ "ความพอดี" ในทางพุทธ
    - **โลกเสมือนกับความจริง**: การใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลอาจทำให้หลงลืมการอยู่กับปัจจุบัน (หลักอริยสัจ 4)
    - **จริยธรรมทางเทคโนโลยี**: การพัฒนา AI หรือชีวเทคโนโลยีตั้งคำถามเชิงพุทธเกี่ยวกับ "กรรม" และ "เจตนา"

    ### 4. **พุทธธรรมกับการออกแบบเทคโนโลยี**
    - **เทคโนโลยีเชิงเมตตา**: หลัก "กรุณา" และ "มุทิตา" อาจ inspire การออกแบบเทคโนโลยีที่ลดการแบ่งแยกหรือช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส
    - **Digital Detox**: แนวคิด "ความไม่ยึดมั่น" ส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีอย่างมีสติ ไม่ตกเป็นทาสของอุปกรณ์

    ### 5. **กรณีศึกษา**
    - **หุ่นยนต์สอนธรรมะ**: ในญี่ปุ่น มีการทดลองใช้หุ่นยนต์ Pepper อ่านพระสูตร แต่หลายคนเห็นว่าขาด "จิตวิญญาณแห่งการสั่งสอน"
    - **Blockchain กับวัด**: บางวัดใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อความโปร่งใสในการบริจาค

    ### 6. **ทางสายกลางในยุคดิจิทัล**
    พระพุทธศาสนาเน้น "มัชฌิมาปฏิปทา" การใช้เทคโนโลยีจึงควรอยู่บนพื้นฐาน:
    - **สติ**: รู้ตัวว่ากำลังใช้เทคโนโลยีเพื่ออะไร
    - **วัตถุประสงค์เชิงกุศล**: นำไปสู่การลดทุกข์ ไม่ใช่เพิ่มตัณหา
    - **ความสัมพันธ์มนุษย์**: ไม่ให้เทคโนโลยีทำลายการสื่อสารแบบเห็นหน้า

    ### สรุป
    เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ใช่จุดหมายสุดท้าย การใช้อย่างชาญฉลาดภายใต้กรอบศีลธรรมทางพุทธศาสนาจะช่วยให้มนุษย์พัฒนาจิตใจควบคู่ไปกับความก้าวหน้าทางวัตถุ โดยไม่หลงลืมแก่นแท้แห่งการหลุดพ้นจากทุกข์ ☸️💻
    เทคโนโลยีกับพระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและน่าสนใจ ทั้งในด้านการเสริมสร้างการปฏิบัติธรรมและการท้าทายต่อหลักคำสอนพื้นฐาน ต่อไปนี้เป็นแนวคิดหลักที่เชื่อมโยงทั้งสองประเด็น: ### 1. **เทคโนโลยีสนับสนุนการปฏิบัติธรรม** - **แอปพลิเคชันสมาธิและธรรมะ**: แอปเช่น *Insight Timer* หรือ *Headspace* ช่วยให้ผู้คนเข้าถึงการนั่งสมาธิแบบมีคำแนะนำ บทสวดมนต์ และคำสอนทางพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น - **การเรียนรู้ทางไกล**: พุทธศาสนิกชนสามารถฟังธรรมจากพระอาจารย์ทั่วโลกผ่าน YouTube, Podcasts หรือเว็บไซต์ เช่น [DharmaSeed](https://www.dharmaseed.org) - **วัดเสมือนจริง**: ในยุคโควิด-19 หลายวัดจัดกิจกรรมทางศาสนาออนไลน์ เช่น การถ่ายทอดสดการบวชพระ หรือการปฏิบัติธรรมร่วมกันผ่าน Zoom ### 2. **การเผยแผ่ธรรมะในยุคดิจิทัล** - **โซเชียลมีเดีย**: พระสงฆ์หลายรูปใช้ Facebook หรือ TikTok แบ่งปันคำสอนสั้นๆ ที่เข้าถึงคนรุ่นใหม่ - **ปัญญาประดิษฐ์ (AI)**: มีการพัฒนา AI ที่สามารถตอบคำถามธรรมะเบื้องต้น หรือแปลพระสูตรโบราณได้ แต่ยังเป็นที่ถกเถียงเรื่องความลึกซึ้งทางจิตวิญญาณ ### 3. **ความท้าทายต่อหลักพุทธธรรม** - **การเสพติดเทคโนโลยี**: การใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไปขัดกับหลัก "สติ" และ "ความพอดี" ในทางพุทธ - **โลกเสมือนกับความจริง**: การใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลอาจทำให้หลงลืมการอยู่กับปัจจุบัน (หลักอริยสัจ 4) - **จริยธรรมทางเทคโนโลยี**: การพัฒนา AI หรือชีวเทคโนโลยีตั้งคำถามเชิงพุทธเกี่ยวกับ "กรรม" และ "เจตนา" ### 4. **พุทธธรรมกับการออกแบบเทคโนโลยี** - **เทคโนโลยีเชิงเมตตา**: หลัก "กรุณา" และ "มุทิตา" อาจ inspire การออกแบบเทคโนโลยีที่ลดการแบ่งแยกหรือช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส - **Digital Detox**: แนวคิด "ความไม่ยึดมั่น" ส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีอย่างมีสติ ไม่ตกเป็นทาสของอุปกรณ์ ### 5. **กรณีศึกษา** - **หุ่นยนต์สอนธรรมะ**: ในญี่ปุ่น มีการทดลองใช้หุ่นยนต์ Pepper อ่านพระสูตร แต่หลายคนเห็นว่าขาด "จิตวิญญาณแห่งการสั่งสอน" - **Blockchain กับวัด**: บางวัดใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อความโปร่งใสในการบริจาค ### 6. **ทางสายกลางในยุคดิจิทัล** พระพุทธศาสนาเน้น "มัชฌิมาปฏิปทา" การใช้เทคโนโลยีจึงควรอยู่บนพื้นฐาน: - **สติ**: รู้ตัวว่ากำลังใช้เทคโนโลยีเพื่ออะไร - **วัตถุประสงค์เชิงกุศล**: นำไปสู่การลดทุกข์ ไม่ใช่เพิ่มตัณหา - **ความสัมพันธ์มนุษย์**: ไม่ให้เทคโนโลยีทำลายการสื่อสารแบบเห็นหน้า ### สรุป เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ใช่จุดหมายสุดท้าย การใช้อย่างชาญฉลาดภายใต้กรอบศีลธรรมทางพุทธศาสนาจะช่วยให้มนุษย์พัฒนาจิตใจควบคู่ไปกับความก้าวหน้าทางวัตถุ โดยไม่หลงลืมแก่นแท้แห่งการหลุดพ้นจากทุกข์ ☸️💻
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 194 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🪭สามหนังสือหกพิธีการ 🪭

    สวัสดีค่ะ Storyฯ ขอต้อนรับวันแห่งความรักด้วยบทความเกี่ยวกับการแต่งงาน

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> คงได้ผ่านตาฉากที่ว่าหลิ่วเหมียนถางได้รับการสู่ขอจากบุตรชายตระกูลซู ที่หอบสินสอดมาไว้ให้ที่เรือนสกุลเฉียวพร้อมเจรจาสู่ขอ และหลิ่วเหมียนถางบอกให้ตาของนางรีบคืนสินสอดนั้นไป โดยบอกว่า “ตามกฎหมายของต้าฉี ต้องมีการเขียนหนังสือก่อนแล้วจึงให้สินสอด การหมั้นหมายจำเป็นต้องให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในหนังสือสมรส ไม่เช่นนั้นก็ถือเป็นการบังคับแต่งงาน”
    (หมายเหตุ คำแปลจากซับไทย)

    เพื่อนเพจหลายท่านน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ (三书六礼) มาบ้าง เพราะมีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึง แต่อาจไม่ค่อยกระจ่างว่าสามหนังสือที่ว่านี้มันอยู่ในขั้นตอนใดของหกพิธีการ จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ ว่าต้องมีการเขียนหนังสือก่อนให้สินสอดตามที่กล่าวมาในเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> นี้อย่างไร วันนี้เลยมาลงรายละเอียดให้ฟัง

    ก่อนอื่นขออธิบายโดยย่อว่า ขั้นตอนการแต่งงานในจีนโบราณแบ่งได้เป็นสามช่วง ช่วงแรกคือก่อนพิธีมงคลสมรส ช่วงสองคือพิธีมงคลสมรสและเข้าหอและช่วงสามคือหลังเข้าหอ เรื่อง ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ เป็นขั้นตอนปฏิบัติในช่วงแรก ครอบคลุมขั้นตอนการทาบทามสู่ขอ การหมั้นหมายและการรับตัวเจ้าสาว โดยถูกกำหนดไว้แต่โบราณในบันทึกหลี่จี้ ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก

    ขั้นตอนตามสามหนังสือหกพิธีการก็คือ เริ่มจากให้แม่สื่อไปทาบทาม (พิธีการสู่ขอ ‘น่าไฉ่’/纳采) ถ้าฝ่ายหญิงเห็นดีเห็นงามด้วย ก็แลกเปลี่ยนเวลาตกฟากวันเดือนปีเกิดของว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวโดยบันทึกอย่างละเอียดลงในเอกสารเรียกว่า ‘เกิงเถี่ย’ (庚帖) หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ‘เฉาเถี่ยจือ’ (草帖子) นี่คือพิธีการที่สอง (พิธีการสอบถาม ‘เวิ่นหมิง’/问名) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้ ในทางปฏิบัติจะมีโอกาสให้ผู้ใหญ่ฝ่ายชายฝ่ายหญิงได้เจอหน้าค่าตาพูดคุยกัน สอบถามประวัติตระกูลเพราะในสมัยโบราณการแต่งงานถือเป็นการผูกสัมพันธ์ระหว่างสองครอบครัวไม่ใช่เรื่องระหว่างเจ้าบ่าวเจ้าสาวเพียงสองคน รวมถึงสอบถามชัดเจนว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวเป็นลูกภรรยาเอกหรืออนุภรรยา และอาจเปิดโอกาสให้ผู้ใหญ่ได้พบเห็นว่าที่คู่สมรสของอีกฝ่ายได้ (เช่น บุรุษมาเยือนทำความเคารพผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง หรือสตรีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงมาเจอหน้าว่าที่เจ้าสาว) อันนี้แล้วแต่จะจัดนัดหมายกัน ถ้าไม่แฮปปี้กันก็จะไม่มีการแลกเปลี่ยนวันเวลาเกิดกัน

    จากนั้นฝ่ายชายก็นำวันเวลาเกิดดังกล่าวไปดูดวงสมพงษ์ นับเป็นพิธีการที่สาม (พีธีการดูดวงสมพงษ์ ‘น่าจี๋’/纳吉) แล้วแจ้งผลไปยังฝ่ายหญิง ถ้าคู่บ่าวสาวดวงสมพงษ์กันก็จะเริ่มเจรจาเตรียมการหมั้นหมายอย่างเป็นทางการ จนนำมาถึงพิธีการที่สี่ซึ่งก็คือฝ่ายชายนำสินสอดมามอบให้ฝ่ายหญิง (พิธีการมอบสินสอดและหมั้นหมาย ‘น่าเจิง’/纳征) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้มีสอง ‘หนังสือ’ ที่เกี่ยวข้อง คือ ‘หนังสือหมั้น’ (พิ่นซู/聘书หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ซี่เถี่ยจือ/细帖子) และ ‘หนังสือสินสอด’ (หลี่ซู/礼书) โดยหนังสือหมั้นคือเอกสารที่บุรุษระบุคำมั่นสัญญาที่จะแต่งสตรี และหนังสือสินสอดคือเอกสารแจกแจงรายการสินทรัพย์ที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิงเป็นสินสอดทั้งหมด

    คำถาม ณ จุดนี้คือ หนังสือฉบับไหนให้เมื่อไหร่และใครเป็นคนให้?

    ธรรมเนียมปฏิบัติจริงแตกต่างไปตามยุคสมัย และ ‘น่าเจิง’ จริงแล้วหมายรวมว่าได้ดำเนินการสองเรื่องแล้วเสร็จ คือการส่งมอบสินสอด (น่า) และการยืนยันความประสงค์ที่จะแต่งงาน (เจิง) ดังนั้น ขั้นตอนที่รวบยอดที่สุดคือคุยกันนอกรอบแล้วฝ่ายชายเดินทางมาหาฝ่ายหญิงเพื่อทำการส่งมอบสินสอดและหลักฐานการหมั้นพร้อมด้วยสองหนังสือดังกล่าวในคราวเดียวกัน

    แต่ในหลายครั้งก็จัดทำสองเรื่องนี้แยกกัน โดยส่งมอบหนังสือหมั้นทันทีที่ตกลงหมั้นซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อตรวจดวงสมพงษ์แล้วเสร็จได้ผลเป็นที่พอใจ ในบางยุคสมัยแบ่งออกเป็นหนังสือแสดงเจตจำนงจากฝ่ายชายที่จะแต่งงาน ตามด้วยหนังสือตอบรับยินดีที่จะแต่งงานจากฝ่ายหญิง ใช้รวมกันเป็นหนังสือหมั้น ตัวอย่างเอกสารโบราณจากสมัยถังเป็นเช่นนี้ จากนั้นค่อยมีการนำส่งสินสอดและหนังสือสินสอดในภายหลัง

    เมื่อได้รับสินสอดจากฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงก็ต้องมีของขวัญตอบแทน ซึ่งแน่นอนว่ามีรายละเอียดเพิ่มเติมว่าแต่ละขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น (ไม่ว่าจะเป็นของขวัญ ของตอบแทนหรือสินสอด) ควรประกอบด้วยของอะไรบ้างแต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด

    เมื่อผ่านทั้งสี่ขั้นตอนข้างต้นแล้ว ก็เป็นขั้นตอนที่ห้า คือฝ่ายชายหาฤกษ์แต่งและหารือ/แจ้งกับฝ่ายหญิง (พิธีการแจ้งฤกษ์ ‘ฉิ่งชี’/请期) เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วต่างฝ่ายต่างเตรียมการงานแต่ง และสุดท้ายคือฝ่ายชายมารับตัวเจ้าสาวไปบ้านฝ่ายชายเพื่อกราบไหว้ฟ้าดิน (พิธีการรับตัวเจ้าสาว ‘ชินอิ๋ง’/ 亲迎) โดยฝ่ายเจ้าบ่าวจะมอบ ‘หนังสือรับตัวเจ้าสาว’ (อิ๋งซู/迎书) ให้แก่ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวเมื่อมาถึงบ้านเจ้าสาวเพื่อรับตัวเจ้าสาว

    และนี่คือสามหนังสือหกพิธีการ แน่นอนว่าพิธีการเหล่านี้ถูกย่อลงไปตามการเวลา ในสมัยซ่งลดเหลือเพียงสามพิธีการคือ สู่ขอ (‘น่าไฉ่’ มอบหนังสือ เฉ๋าเถี่ยจือ) หมั้นหมาย (‘น่าเจิง’ มอบหนังสือซี่เถี่ยจือ) และรับตัว (‘อิ๋งชิน’ มอบหนังสืออิ๋งซู) แต่ในทางปฏิบัติยังคงรวมกิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว

    นอกจากนี้ ในหลายนิยายและซีรีส์มักกล่าวถึงหนังสือที่เป็นหลักฐานการสมรสหรือที่เรียกว่า ‘หนังสือสมรส’ (ฮุนซู/婚书) แต่... ในสมัยโบราณไม่มีทะเบียนสมรสที่ออกโดยทางการแม้ว่าจะมีการไปรายงานและลงทะเบียนกับที่ว่าการท้องถิ่นเพื่อยืนยันการแต่งงานระหว่างชายหญิง จึงเป็นที่ข้องใจอีกว่า แล้วหนังสือฮุนซูที่ว่านี้คืออะไร? เรามาทำความเข้าใจมันจากกฎหมายที่เกี่ยวกับการยกเลิกการแต่งงานในสมัยถังกันค่ะ

    กฎหมายสมัยถังระบุว่า ผู้ที่ได้รายงานและขึ้นทะเบียนหนังสือสมรส (ฮุนซู) ต่อทางการแล้วและฝ่ายหนึ่งยกเลิกการแต่งงานโดยอีกฝ่ายไม่ยินยอมหรือรับรู้ก็จะมีบทลงโทษ ทั้งนี้ หากไม่มีหนังสือยืนยันความประสงค์แต่งงานแต่มีการรับสินสอดให้ถือเสมือนว่ามีการให้คำมั่นที่จะแต่งงานแล้วด้วยเช่นกัน สรุปบทลงโทษได้ดังนี้
    - ฝ่ายหญิงยกเลิกการแต่งงาน ให้โบยหกสิบครั้งและยังต้องแต่งงานตามเดิม
    - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นแต่ยังแต่งไม่สำเร็จ ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง และยังต้องแต่งงานกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะไปแต่งงานกับผู้อื่นได้
    - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นและได้แต่งไปเรียบร้อยแล้ว ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง ทำงานหนักหนึ่งปีครึ่ง การแต่งงานเป็นโมฆะและฝ่ายหญิงต้องกลับมาแต่งกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะอยู่กับสามีที่แต่งงานกันไปแล้วได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
    - ฝ่ายชายยกเลิกการแต่งงาน ไม่มีการลงทัณฑ์แต่ให้สละสิทธิ์ในสินสอดที่มอบให้ฝ่ายหญิงไปแล้ว

    ฟังดูเหมือนบทลงทัณฑ์เอนเอียงและให้โทษกับฝ่ายหญิงมากกว่า แต่นั่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโกหกปอกลอกทรัพย์สินสอด ทั้งนี้ บทลงทัณฑ์ข้างต้นไม่เพียงใช้กับคู่บ่าวสาว หากแต่หมายรวมถึงผู้ใหญ่ฝ่ายนั้นด้วยเพราะถือว่าพิธีการต่างๆ ของการแต่งงานต้องดำเนินการผ่านผู้ใหญ่ และมีเหตุการณ์ที่อนุโลมให้ยกเลิกการแต่งงานได้เช่นในกรณีอีกฝ่ายถูกพิพากษาเป็นนักโทษ ฯลฯ

    กฎหมายว่าด้วยเรื่องยกเลิกการแต่งงานและบทลงโทษเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยแต่ยังอยู่ภายใต้กรอบแนวทางคล้ายคลึงกัน และจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราจะเห็นได้ว่าหนังสือสมรสก็คือหนังสือที่แสดงเจตนารมณ์ที่จะแต่งงานโดยยังไม่ได้มีการรับส่งตัวเจ้าสาว เปรียบได้เป็นหนังสือหมั้นนั่นเอง ซึ่งในบางยุคสมัยจะหมายรวมการตอบรับโดยฝ่ายเจ้าสาวด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะเคยผ่านตาว่าบุรุษอาจเรียกคู่หมั้นว่า ‘ภรรยาที่ยังไม่แต่งข้ามเรือนมา’ ทั้งนี้ เป็นเพราะการหมั้นในสมัยโบราณมีความหนักแน่นเสมือนแต่งงานกันแล้ว และเมื่อผ่านการหมั้นแล้ว ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายสามารถเรียกซึ่งกันและกันว่า ‘ชิ่นเจีย’ (亲家) ได้เลย ซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้เรียกพ่อแม่ของเขย-สะใภ้

    และบทความที่กล่าวมาข้างต้นจึงอธิบายบริบทของสังคมใน <ซ่อนรักชายาลับ> ที่ระบุว่าต้องมีการทำหนังสือสมรสร่วมกันก่อนแล้วค่อยมอบสินสอดได้จึงจะถูกต้อง และหากรับสินสอดโดยไม่มีการทำหนังสือหมั้นก็ถือได้ว่าต้องแต่งงานเหมือนกัน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/12/id/5676081.shtml
    https://www.gmw.cn/guoxue/2018-04/11/content_28279045.htm
    https://www.gz.gov.cn/zlgz/whgz/content/post_8071815.html
    https://www.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4F126BD3881FD42A2C.aspx
    https://newspaper.jcrb.com/2023/20230607/20230607_007/20230607_007_3.htm

    #ซ่อนรักชายาลับ #สามหนังสือหกพิธีการ #ซานซูลิ่วหลี่ #หนังสือแต่งงาน #การถอนหมั้น #สาระจีน
    🪭สามหนังสือหกพิธีการ 🪭 สวัสดีค่ะ Storyฯ ขอต้อนรับวันแห่งความรักด้วยบทความเกี่ยวกับการแต่งงาน เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> คงได้ผ่านตาฉากที่ว่าหลิ่วเหมียนถางได้รับการสู่ขอจากบุตรชายตระกูลซู ที่หอบสินสอดมาไว้ให้ที่เรือนสกุลเฉียวพร้อมเจรจาสู่ขอ และหลิ่วเหมียนถางบอกให้ตาของนางรีบคืนสินสอดนั้นไป โดยบอกว่า “ตามกฎหมายของต้าฉี ต้องมีการเขียนหนังสือก่อนแล้วจึงให้สินสอด การหมั้นหมายจำเป็นต้องให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในหนังสือสมรส ไม่เช่นนั้นก็ถือเป็นการบังคับแต่งงาน” (หมายเหตุ คำแปลจากซับไทย) เพื่อนเพจหลายท่านน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ (三书六礼) มาบ้าง เพราะมีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึง แต่อาจไม่ค่อยกระจ่างว่าสามหนังสือที่ว่านี้มันอยู่ในขั้นตอนใดของหกพิธีการ จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ ว่าต้องมีการเขียนหนังสือก่อนให้สินสอดตามที่กล่าวมาในเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> นี้อย่างไร วันนี้เลยมาลงรายละเอียดให้ฟัง ก่อนอื่นขออธิบายโดยย่อว่า ขั้นตอนการแต่งงานในจีนโบราณแบ่งได้เป็นสามช่วง ช่วงแรกคือก่อนพิธีมงคลสมรส ช่วงสองคือพิธีมงคลสมรสและเข้าหอและช่วงสามคือหลังเข้าหอ เรื่อง ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ เป็นขั้นตอนปฏิบัติในช่วงแรก ครอบคลุมขั้นตอนการทาบทามสู่ขอ การหมั้นหมายและการรับตัวเจ้าสาว โดยถูกกำหนดไว้แต่โบราณในบันทึกหลี่จี้ ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก ขั้นตอนตามสามหนังสือหกพิธีการก็คือ เริ่มจากให้แม่สื่อไปทาบทาม (พิธีการสู่ขอ ‘น่าไฉ่’/纳采) ถ้าฝ่ายหญิงเห็นดีเห็นงามด้วย ก็แลกเปลี่ยนเวลาตกฟากวันเดือนปีเกิดของว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวโดยบันทึกอย่างละเอียดลงในเอกสารเรียกว่า ‘เกิงเถี่ย’ (庚帖) หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ‘เฉาเถี่ยจือ’ (草帖子) นี่คือพิธีการที่สอง (พิธีการสอบถาม ‘เวิ่นหมิง’/问名) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้ ในทางปฏิบัติจะมีโอกาสให้ผู้ใหญ่ฝ่ายชายฝ่ายหญิงได้เจอหน้าค่าตาพูดคุยกัน สอบถามประวัติตระกูลเพราะในสมัยโบราณการแต่งงานถือเป็นการผูกสัมพันธ์ระหว่างสองครอบครัวไม่ใช่เรื่องระหว่างเจ้าบ่าวเจ้าสาวเพียงสองคน รวมถึงสอบถามชัดเจนว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวเป็นลูกภรรยาเอกหรืออนุภรรยา และอาจเปิดโอกาสให้ผู้ใหญ่ได้พบเห็นว่าที่คู่สมรสของอีกฝ่ายได้ (เช่น บุรุษมาเยือนทำความเคารพผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง หรือสตรีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงมาเจอหน้าว่าที่เจ้าสาว) อันนี้แล้วแต่จะจัดนัดหมายกัน ถ้าไม่แฮปปี้กันก็จะไม่มีการแลกเปลี่ยนวันเวลาเกิดกัน จากนั้นฝ่ายชายก็นำวันเวลาเกิดดังกล่าวไปดูดวงสมพงษ์ นับเป็นพิธีการที่สาม (พีธีการดูดวงสมพงษ์ ‘น่าจี๋’/纳吉) แล้วแจ้งผลไปยังฝ่ายหญิง ถ้าคู่บ่าวสาวดวงสมพงษ์กันก็จะเริ่มเจรจาเตรียมการหมั้นหมายอย่างเป็นทางการ จนนำมาถึงพิธีการที่สี่ซึ่งก็คือฝ่ายชายนำสินสอดมามอบให้ฝ่ายหญิง (พิธีการมอบสินสอดและหมั้นหมาย ‘น่าเจิง’/纳征) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้มีสอง ‘หนังสือ’ ที่เกี่ยวข้อง คือ ‘หนังสือหมั้น’ (พิ่นซู/聘书หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ซี่เถี่ยจือ/细帖子) และ ‘หนังสือสินสอด’ (หลี่ซู/礼书) โดยหนังสือหมั้นคือเอกสารที่บุรุษระบุคำมั่นสัญญาที่จะแต่งสตรี และหนังสือสินสอดคือเอกสารแจกแจงรายการสินทรัพย์ที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิงเป็นสินสอดทั้งหมด คำถาม ณ จุดนี้คือ หนังสือฉบับไหนให้เมื่อไหร่และใครเป็นคนให้? ธรรมเนียมปฏิบัติจริงแตกต่างไปตามยุคสมัย และ ‘น่าเจิง’ จริงแล้วหมายรวมว่าได้ดำเนินการสองเรื่องแล้วเสร็จ คือการส่งมอบสินสอด (น่า) และการยืนยันความประสงค์ที่จะแต่งงาน (เจิง) ดังนั้น ขั้นตอนที่รวบยอดที่สุดคือคุยกันนอกรอบแล้วฝ่ายชายเดินทางมาหาฝ่ายหญิงเพื่อทำการส่งมอบสินสอดและหลักฐานการหมั้นพร้อมด้วยสองหนังสือดังกล่าวในคราวเดียวกัน แต่ในหลายครั้งก็จัดทำสองเรื่องนี้แยกกัน โดยส่งมอบหนังสือหมั้นทันทีที่ตกลงหมั้นซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อตรวจดวงสมพงษ์แล้วเสร็จได้ผลเป็นที่พอใจ ในบางยุคสมัยแบ่งออกเป็นหนังสือแสดงเจตจำนงจากฝ่ายชายที่จะแต่งงาน ตามด้วยหนังสือตอบรับยินดีที่จะแต่งงานจากฝ่ายหญิง ใช้รวมกันเป็นหนังสือหมั้น ตัวอย่างเอกสารโบราณจากสมัยถังเป็นเช่นนี้ จากนั้นค่อยมีการนำส่งสินสอดและหนังสือสินสอดในภายหลัง เมื่อได้รับสินสอดจากฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงก็ต้องมีของขวัญตอบแทน ซึ่งแน่นอนว่ามีรายละเอียดเพิ่มเติมว่าแต่ละขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น (ไม่ว่าจะเป็นของขวัญ ของตอบแทนหรือสินสอด) ควรประกอบด้วยของอะไรบ้างแต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด เมื่อผ่านทั้งสี่ขั้นตอนข้างต้นแล้ว ก็เป็นขั้นตอนที่ห้า คือฝ่ายชายหาฤกษ์แต่งและหารือ/แจ้งกับฝ่ายหญิง (พิธีการแจ้งฤกษ์ ‘ฉิ่งชี’/请期) เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วต่างฝ่ายต่างเตรียมการงานแต่ง และสุดท้ายคือฝ่ายชายมารับตัวเจ้าสาวไปบ้านฝ่ายชายเพื่อกราบไหว้ฟ้าดิน (พิธีการรับตัวเจ้าสาว ‘ชินอิ๋ง’/ 亲迎) โดยฝ่ายเจ้าบ่าวจะมอบ ‘หนังสือรับตัวเจ้าสาว’ (อิ๋งซู/迎书) ให้แก่ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวเมื่อมาถึงบ้านเจ้าสาวเพื่อรับตัวเจ้าสาว และนี่คือสามหนังสือหกพิธีการ แน่นอนว่าพิธีการเหล่านี้ถูกย่อลงไปตามการเวลา ในสมัยซ่งลดเหลือเพียงสามพิธีการคือ สู่ขอ (‘น่าไฉ่’ มอบหนังสือ เฉ๋าเถี่ยจือ) หมั้นหมาย (‘น่าเจิง’ มอบหนังสือซี่เถี่ยจือ) และรับตัว (‘อิ๋งชิน’ มอบหนังสืออิ๋งซู) แต่ในทางปฏิบัติยังคงรวมกิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว นอกจากนี้ ในหลายนิยายและซีรีส์มักกล่าวถึงหนังสือที่เป็นหลักฐานการสมรสหรือที่เรียกว่า ‘หนังสือสมรส’ (ฮุนซู/婚书) แต่... ในสมัยโบราณไม่มีทะเบียนสมรสที่ออกโดยทางการแม้ว่าจะมีการไปรายงานและลงทะเบียนกับที่ว่าการท้องถิ่นเพื่อยืนยันการแต่งงานระหว่างชายหญิง จึงเป็นที่ข้องใจอีกว่า แล้วหนังสือฮุนซูที่ว่านี้คืออะไร? เรามาทำความเข้าใจมันจากกฎหมายที่เกี่ยวกับการยกเลิกการแต่งงานในสมัยถังกันค่ะ กฎหมายสมัยถังระบุว่า ผู้ที่ได้รายงานและขึ้นทะเบียนหนังสือสมรส (ฮุนซู) ต่อทางการแล้วและฝ่ายหนึ่งยกเลิกการแต่งงานโดยอีกฝ่ายไม่ยินยอมหรือรับรู้ก็จะมีบทลงโทษ ทั้งนี้ หากไม่มีหนังสือยืนยันความประสงค์แต่งงานแต่มีการรับสินสอดให้ถือเสมือนว่ามีการให้คำมั่นที่จะแต่งงานแล้วด้วยเช่นกัน สรุปบทลงโทษได้ดังนี้ - ฝ่ายหญิงยกเลิกการแต่งงาน ให้โบยหกสิบครั้งและยังต้องแต่งงานตามเดิม - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นแต่ยังแต่งไม่สำเร็จ ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง และยังต้องแต่งงานกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะไปแต่งงานกับผู้อื่นได้ - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นและได้แต่งไปเรียบร้อยแล้ว ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง ทำงานหนักหนึ่งปีครึ่ง การแต่งงานเป็นโมฆะและฝ่ายหญิงต้องกลับมาแต่งกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะอยู่กับสามีที่แต่งงานกันไปแล้วได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย - ฝ่ายชายยกเลิกการแต่งงาน ไม่มีการลงทัณฑ์แต่ให้สละสิทธิ์ในสินสอดที่มอบให้ฝ่ายหญิงไปแล้ว ฟังดูเหมือนบทลงทัณฑ์เอนเอียงและให้โทษกับฝ่ายหญิงมากกว่า แต่นั่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโกหกปอกลอกทรัพย์สินสอด ทั้งนี้ บทลงทัณฑ์ข้างต้นไม่เพียงใช้กับคู่บ่าวสาว หากแต่หมายรวมถึงผู้ใหญ่ฝ่ายนั้นด้วยเพราะถือว่าพิธีการต่างๆ ของการแต่งงานต้องดำเนินการผ่านผู้ใหญ่ และมีเหตุการณ์ที่อนุโลมให้ยกเลิกการแต่งงานได้เช่นในกรณีอีกฝ่ายถูกพิพากษาเป็นนักโทษ ฯลฯ กฎหมายว่าด้วยเรื่องยกเลิกการแต่งงานและบทลงโทษเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยแต่ยังอยู่ภายใต้กรอบแนวทางคล้ายคลึงกัน และจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราจะเห็นได้ว่าหนังสือสมรสก็คือหนังสือที่แสดงเจตนารมณ์ที่จะแต่งงานโดยยังไม่ได้มีการรับส่งตัวเจ้าสาว เปรียบได้เป็นหนังสือหมั้นนั่นเอง ซึ่งในบางยุคสมัยจะหมายรวมการตอบรับโดยฝ่ายเจ้าสาวด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะเคยผ่านตาว่าบุรุษอาจเรียกคู่หมั้นว่า ‘ภรรยาที่ยังไม่แต่งข้ามเรือนมา’ ทั้งนี้ เป็นเพราะการหมั้นในสมัยโบราณมีความหนักแน่นเสมือนแต่งงานกันแล้ว และเมื่อผ่านการหมั้นแล้ว ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายสามารถเรียกซึ่งกันและกันว่า ‘ชิ่นเจีย’ (亲家) ได้เลย ซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้เรียกพ่อแม่ของเขย-สะใภ้ และบทความที่กล่าวมาข้างต้นจึงอธิบายบริบทของสังคมใน <ซ่อนรักชายาลับ> ที่ระบุว่าต้องมีการทำหนังสือสมรสร่วมกันก่อนแล้วค่อยมอบสินสอดได้จึงจะถูกต้อง และหากรับสินสอดโดยไม่มีการทำหนังสือหมั้นก็ถือได้ว่าต้องแต่งงานเหมือนกัน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/12/id/5676081.shtml https://www.gmw.cn/guoxue/2018-04/11/content_28279045.htm https://www.gz.gov.cn/zlgz/whgz/content/post_8071815.html https://www.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4F126BD3881FD42A2C.aspx https://newspaper.jcrb.com/2023/20230607/20230607_007/20230607_007_3.htm #ซ่อนรักชายาลับ #สามหนังสือหกพิธีการ #ซานซูลิ่วหลี่ #หนังสือแต่งงาน #การถอนหมั้น #สาระจีน
    WWW.COSMOPOLITAN.COM
    陸劇《柳舟記》結局!崔眠夫婦歸隱江湖,張晚意願當王楚然的小嬌夫!帝后CP先婚後愛好嗑,敲碗番外篇
    《柳舟記》劇情從頭到尾都在線!而且除了崔眠夫婦好嗑,帝后CP也很讓人愛啊~
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 345 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฮวงจุ้ยเสริมความรัก ต้อนรับ "วันวาเลนไทน์"

    เพื่อให้ไม่ตก Trend กับประเด็นวันแห่งความรัก "Valentine's Day” ที่หนุ่มๆสาวๆทั้งอดีตและปัจจุบันมักนิยมจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่จะมอบความรักให้แก่กัน ทั้งสิ่งของที่เป็นของขวัญ หรือกุหลาบแดงสดทั้งช่อหรือดอกไว้ให้เป็นสื่อรักทางใจต่อกัน เพื่อสานสร้างความรักให้ยั่งยืน ยาวนานจนเป็นนิรันดร์ตลอดไป

    คงเกิดคำถามที่ว่า "ฮวงจุ้ย" เกี่ยวข้องอะไรกับวันแห่งความรัก ”Valentine's Day” ?
    นอกเหนือจากการสานความรัก...เสริมความสัมพันธ์...กับการมอบสื่อตัวแทนแห่งรักให้แก่กันและกันในเทศกาลแห่งความรักแล้ว เรายังสามารถ "กระตุ้นหนุนพลังแห่งรัก" ให้บังเกิดขึ้นด้วยศาสตร์ "วิชาฮวงจุ้ย" ได้อีกด้วย

    ศาสตร์ฮวงจุ้ยในหลักวิชาแปดทิศ ”八卦 (โป๊ยข่วย)” ช่วยกระตุ้นกระแสพลังแห่งรักอันเป็นนิรันดร์ให้บังเกิดขึ้นได้ การจัดวางเสริมเติมแต่งตำแหน่งทิศทางเสริมสร้างบรรยากาศแห่งความรักให้ฟุ้งอบอวล ทั้ง กลิ่น แสง สี เสียง กระทบต่อประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตลอดจนเลือกสรรสื่อสัญลักษณ์ที่มีความหมายถึง “คู่รักตุนาหงัน” อันเป็นนิรันดร์ ไม่ว่าจะเป็น “คู่เป็ดแมนดาริน” หรือ “คู่นกเงือก” หรือ “คู่ผีเสื้อ” หรือแม้แต่ “หัวใจคู่” ฯลฯ

    ทั้งจัดการตามระบบเบญจธาตุด้วยมิติแสงสว่าง "ธาตุไฟ" ให้โดดเด่นเน้นเป็นบางจุดเพื่อดึงดูดความสนใจ ผสมผสานไอเย็น "ธาตุทอง" แผ่วเบา พร้อมปลุกเร้าอารมณ์ด้วยกลิ่นหอมและเสียงเพลงจาก "ธาตุไม้" ผสานกระแส "ธาตุน้ำ" เคล้าคลอเคลียให้เคลิบเคลิ้ม เสริมเพิ่มความรักได้อย่างมั่นคง ของ "ธาตุดิน" ในทิศทาง ตำแหน่งที่ถูกกำหนดจัดวางให้โดดเด่นเน้นตามหลักศาสตร์คัมภีร์ฮวงจุ้ยจีนโบราณ โดยใช้หลักการหันหน้า ของบ้าน อาคาร สำนักงาน ห้องทำงาน หรือแม้แต่ห้องนอน เป็นตัวกำหนดตำแหน่งได้ ดังนี้

    - ทิศเหนือ ... ตำแหน่งเสริมความรัก คือ "ทิศเหนือ"

    - ทิศใต้ ... ตำแหน่งเสริมความรัก คือ " ทิศใต้"

    - ทิศตะวันออก ... ตำแหน่งเสริมความรัก คือ " ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ"

    - ทิศตะวันตก ... ตำแหน่งเสริมความรัก คือ " ทิศตะวันออกเฉียงใต้"

    - ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ... ตำแหน่งเสริมความรัก คือ " ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ"

    - ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ... ตำแหน่งเสริมความรัก คือ " ทิศตะวันตก"

    - ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ... ตำแหน่งเสริมความรัก คือ " ทิศตะวันตกเฉียงใต้"

    - ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ... ตำแหน่งเสริมความรัก คือ " ทิศตะวันออก"

    อยากเสริมความรักของท่านให้มั่นคงส่งเสริมซึ่งกันและกัน ลองใช้ศาตร์วิชา "ฮวงจุ้ย" ช่วยปรับเสริม "ตำแหน่ง" ผสานกับ "ทิศทาง" ที่จะช่วยเสริม "พลังแห่งรัก" ให้ยืนยาว และพร้อมจับมือกันก้าวผ่านอุปสรรคไปได้มั่นคงต่อไป

    ___________________________________
    FengshuiBizDesigner
    ฮวงจุ้ย...ออกแบบได้

    เช็คฮวงจุ้ยให้ธุรกิจ แอดเลย!! คลิก https://lin.ee/nyL0NuG
    ติดต่อ : 066-095-4524 (จิม) , 081-625-2587(ด็อง)
    .
    .
    #ดูดวงธุรกิจ #โลโก้ดี #ออกแบบโลโก้ #เช็คฮวงจุ้ยให้ธุรกิจ #ฮวงจุ้ย #พี่อ๋า #สมศักดิ์ #ชาคริตฐากูร
    #FengshuiBiz #FengshuiBizDesigner
    ฮวงจุ้ยเสริมความรัก ต้อนรับ "วันวาเลนไทน์" เพื่อให้ไม่ตก Trend กับประเด็นวันแห่งความรัก "Valentine's Day” ที่หนุ่มๆสาวๆทั้งอดีตและปัจจุบันมักนิยมจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่จะมอบความรักให้แก่กัน ทั้งสิ่งของที่เป็นของขวัญ หรือกุหลาบแดงสดทั้งช่อหรือดอกไว้ให้เป็นสื่อรักทางใจต่อกัน เพื่อสานสร้างความรักให้ยั่งยืน ยาวนานจนเป็นนิรันดร์ตลอดไป คงเกิดคำถามที่ว่า "ฮวงจุ้ย" เกี่ยวข้องอะไรกับวันแห่งความรัก ”Valentine's Day” ? นอกเหนือจากการสานความรัก...เสริมความสัมพันธ์...กับการมอบสื่อตัวแทนแห่งรักให้แก่กันและกันในเทศกาลแห่งความรักแล้ว เรายังสามารถ "กระตุ้นหนุนพลังแห่งรัก" ให้บังเกิดขึ้นด้วยศาสตร์ "วิชาฮวงจุ้ย" ได้อีกด้วย ศาสตร์ฮวงจุ้ยในหลักวิชาแปดทิศ ”八卦 (โป๊ยข่วย)” ช่วยกระตุ้นกระแสพลังแห่งรักอันเป็นนิรันดร์ให้บังเกิดขึ้นได้ การจัดวางเสริมเติมแต่งตำแหน่งทิศทางเสริมสร้างบรรยากาศแห่งความรักให้ฟุ้งอบอวล ทั้ง กลิ่น แสง สี เสียง กระทบต่อประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตลอดจนเลือกสรรสื่อสัญลักษณ์ที่มีความหมายถึง “คู่รักตุนาหงัน” อันเป็นนิรันดร์ ไม่ว่าจะเป็น “คู่เป็ดแมนดาริน” หรือ “คู่นกเงือก” หรือ “คู่ผีเสื้อ” หรือแม้แต่ “หัวใจคู่” ฯลฯ ทั้งจัดการตามระบบเบญจธาตุด้วยมิติแสงสว่าง "ธาตุไฟ" ให้โดดเด่นเน้นเป็นบางจุดเพื่อดึงดูดความสนใจ ผสมผสานไอเย็น "ธาตุทอง" แผ่วเบา พร้อมปลุกเร้าอารมณ์ด้วยกลิ่นหอมและเสียงเพลงจาก "ธาตุไม้" ผสานกระแส "ธาตุน้ำ" เคล้าคลอเคลียให้เคลิบเคลิ้ม เสริมเพิ่มความรักได้อย่างมั่นคง ของ "ธาตุดิน" ในทิศทาง ตำแหน่งที่ถูกกำหนดจัดวางให้โดดเด่นเน้นตามหลักศาสตร์คัมภีร์ฮวงจุ้ยจีนโบราณ โดยใช้หลักการหันหน้า ของบ้าน อาคาร สำนักงาน ห้องทำงาน หรือแม้แต่ห้องนอน เป็นตัวกำหนดตำแหน่งได้ ดังนี้ - ทิศเหนือ ... ตำแหน่งเสริมความรัก คือ "ทิศเหนือ" - ทิศใต้ ... ตำแหน่งเสริมความรัก คือ " ทิศใต้" - ทิศตะวันออก ... ตำแหน่งเสริมความรัก คือ " ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ" - ทิศตะวันตก ... ตำแหน่งเสริมความรัก คือ " ทิศตะวันออกเฉียงใต้" - ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ... ตำแหน่งเสริมความรัก คือ " ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ" - ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ... ตำแหน่งเสริมความรัก คือ " ทิศตะวันตก" - ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ... ตำแหน่งเสริมความรัก คือ " ทิศตะวันตกเฉียงใต้" - ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ... ตำแหน่งเสริมความรัก คือ " ทิศตะวันออก" อยากเสริมความรักของท่านให้มั่นคงส่งเสริมซึ่งกันและกัน ลองใช้ศาตร์วิชา "ฮวงจุ้ย" ช่วยปรับเสริม "ตำแหน่ง" ผสานกับ "ทิศทาง" ที่จะช่วยเสริม "พลังแห่งรัก" ให้ยืนยาว และพร้อมจับมือกันก้าวผ่านอุปสรรคไปได้มั่นคงต่อไป ___________________________________ FengshuiBizDesigner ฮวงจุ้ย...ออกแบบได้ เช็คฮวงจุ้ยให้ธุรกิจ แอดเลย!! คลิก https://lin.ee/nyL0NuG ติดต่อ : 066-095-4524 (จิม) , 081-625-2587(ด็อง) . . #ดูดวงธุรกิจ #โลโก้ดี #ออกแบบโลโก้ #เช็คฮวงจุ้ยให้ธุรกิจ #ฮวงจุ้ย #พี่อ๋า #สมศักดิ์ #ชาคริตฐากูร #FengshuiBiz #FengshuiBizDesigner
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 245 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผ่านวีคเอนด์แห่งความรักมาแล้ว วันนี้คุยกันเรื่องประเพณีงานแต่งงาน
    ความมีอยู่ว่า

    ... ครั้นกู้ถิงเยี่ยยกน้ำชาให้เสิ้งหงและฮูหยินจนเสร็จสิ้นพิธีการแล้ว เจ้าสาวที่แต่งกายแต่งหน้าอย่างเต็มที่พร้อมผ้าคลุมหน้าก็ถูกแม่เฒ่าป๋าวพาก้าวเนิบๆ เข้าโถงใหญ่มา กู้ถิงเยี่ยไม่กระพริบตา เขาพาหมิงหลันค้อมกายลงคำนับอำลาเสิ้งหงและฮูหยิน ...

    - จากเรื่อง <หมิงหลัน บุปผาเคียงใจ> ผู้แต่ง กวนซินเจ๋อล่วน
    (หมายเหตุ ชื่อตามหนังสือฉบับแปลอย่างเป็นทางการ ละครเรื่องตำนานหมิงหลันดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    ในหนังสือ (ตามความข้างบน) หมิงหลันมีผ้าคลุมหน้าตอนแต่งงาน แต่ในละครกลับใช้เป็นพัดกลมบังหน้า (ดูจากรูปของละคร เปรียบเทียบกับรูปเจ้าสาวคลุมหน้าทั่วไป) มีเพื่อนเพจสงสัยกันบ้างไหมว่า ต่างกันอย่างไร? และประเพณีที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร?

    ไม่ว่าจะเป็นพัดหรือผ้าคลุมหน้า ล้วนเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นกุลสตรีของเจ้าสาว เพราะสมัยโบราณถือว่าการเผยหน้าต่อสาธารณะชนเป็นการประพฤติตนไม่งาม

    แต่ประเพณีแต่โบราณดั้งเดิมคือการถือพัด ว่ากันว่า เป็นไปตามตำนานปรำปราเรื่องของหนี่ว์วาและพี่ชายฝูซี สองพี่น้องเทพยดาผู้ซึ่งอาศัยอยู่บนเขาคุนลุ้น ต่อมาแต่งงานกันและสร้างเผ่าพันธุ์มนุษย์จากดินเหนียว โดยตามตำนานนางรู้สึกเขินอายเมื่อต้องแต่งงานกับพี่ชาย จึงใช้พัดที่ถักจากหญ้ามาบังใบหน้าไว้ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติขึ้น ต่อมาเพิ่มเติมเป็นเคล็ดใช้บังเจ้าสาวจากสิ่งอัปมงคล

    ประวัติศาสตร์มีจารึกไว้เรื่องประเพณีเจ้าสาวถือพัดมาแต่ราชวงศ์เหนือใต้ (ปีค.ศ. 420-589) โดยในสมัยราชวงศ์ซ่ง เจ้าสาวต้องถือพัดไว้ตลอดจนกว่าจะถูกส่งเข้าห้องหอ โดยพัดที่ใช้เป็นพัดรูปทรงกลมหรือทรงผีเสื้อ พออยู่ในห้องหอจึงวางพัดลงได้ ขั้นตอนวางพัดนี้มีชื่อเรียกว่า “เชวี่ยซ่าน” (却扇)

    และในยุคสมัยราชวงศ์ซ่งนี้เอง ได้เริ่มมีการใช้ผ้าคลุมหน้า ซึ่งเดิมเพียงพาดไว้บนศีรษะเพื่อบังความหนาว ต่อมากลายเป็นการคลุมทั้งหน้าลงมาและทดแทนการถือพัด และภายหลังจากราชวงศ์ซ่งเป็นต้นมา ก็เลิกใช้พัดปิดหน้า เปลี่ยนมาใช้ผ้าคลุมหน้าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติแทน

    เนื่องจากเรื่อง หมิงหลันฯ นี้เป็นเรื่องราวในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการถือพัดแบบในละคร หรือการคลุมผ้าปิดหน้าแบบในหนังสือ ล้วนถูกต้องตามประเพณีของสมัยนั้นทั้งคู่ค่ะ

    Credit รูปภาพจาก:
    https://dramapanda.com/2019/01/the-story-of-minglan-wedding-between.html
    http://www.bgushi.com/archives/2236
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100heft.html
    http://www.3yan.cn/question/982793

    #หมิงหลัน #ราชวงศ์ซ่ง #ประเพณีจินโบราณ #ชุดเจ้าสาวจีน #พัดบังหน้า #StoryfromStory
    ผ่านวีคเอนด์แห่งความรักมาแล้ว วันนี้คุยกันเรื่องประเพณีงานแต่งงาน ความมีอยู่ว่า ... ครั้นกู้ถิงเยี่ยยกน้ำชาให้เสิ้งหงและฮูหยินจนเสร็จสิ้นพิธีการแล้ว เจ้าสาวที่แต่งกายแต่งหน้าอย่างเต็มที่พร้อมผ้าคลุมหน้าก็ถูกแม่เฒ่าป๋าวพาก้าวเนิบๆ เข้าโถงใหญ่มา กู้ถิงเยี่ยไม่กระพริบตา เขาพาหมิงหลันค้อมกายลงคำนับอำลาเสิ้งหงและฮูหยิน ... - จากเรื่อง <หมิงหลัน บุปผาเคียงใจ> ผู้แต่ง กวนซินเจ๋อล่วน (หมายเหตุ ชื่อตามหนังสือฉบับแปลอย่างเป็นทางการ ละครเรื่องตำนานหมิงหลันดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) ในหนังสือ (ตามความข้างบน) หมิงหลันมีผ้าคลุมหน้าตอนแต่งงาน แต่ในละครกลับใช้เป็นพัดกลมบังหน้า (ดูจากรูปของละคร เปรียบเทียบกับรูปเจ้าสาวคลุมหน้าทั่วไป) มีเพื่อนเพจสงสัยกันบ้างไหมว่า ต่างกันอย่างไร? และประเพณีที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร? ไม่ว่าจะเป็นพัดหรือผ้าคลุมหน้า ล้วนเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นกุลสตรีของเจ้าสาว เพราะสมัยโบราณถือว่าการเผยหน้าต่อสาธารณะชนเป็นการประพฤติตนไม่งาม แต่ประเพณีแต่โบราณดั้งเดิมคือการถือพัด ว่ากันว่า เป็นไปตามตำนานปรำปราเรื่องของหนี่ว์วาและพี่ชายฝูซี สองพี่น้องเทพยดาผู้ซึ่งอาศัยอยู่บนเขาคุนลุ้น ต่อมาแต่งงานกันและสร้างเผ่าพันธุ์มนุษย์จากดินเหนียว โดยตามตำนานนางรู้สึกเขินอายเมื่อต้องแต่งงานกับพี่ชาย จึงใช้พัดที่ถักจากหญ้ามาบังใบหน้าไว้ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติขึ้น ต่อมาเพิ่มเติมเป็นเคล็ดใช้บังเจ้าสาวจากสิ่งอัปมงคล ประวัติศาสตร์มีจารึกไว้เรื่องประเพณีเจ้าสาวถือพัดมาแต่ราชวงศ์เหนือใต้ (ปีค.ศ. 420-589) โดยในสมัยราชวงศ์ซ่ง เจ้าสาวต้องถือพัดไว้ตลอดจนกว่าจะถูกส่งเข้าห้องหอ โดยพัดที่ใช้เป็นพัดรูปทรงกลมหรือทรงผีเสื้อ พออยู่ในห้องหอจึงวางพัดลงได้ ขั้นตอนวางพัดนี้มีชื่อเรียกว่า “เชวี่ยซ่าน” (却扇) และในยุคสมัยราชวงศ์ซ่งนี้เอง ได้เริ่มมีการใช้ผ้าคลุมหน้า ซึ่งเดิมเพียงพาดไว้บนศีรษะเพื่อบังความหนาว ต่อมากลายเป็นการคลุมทั้งหน้าลงมาและทดแทนการถือพัด และภายหลังจากราชวงศ์ซ่งเป็นต้นมา ก็เลิกใช้พัดปิดหน้า เปลี่ยนมาใช้ผ้าคลุมหน้าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติแทน เนื่องจากเรื่อง หมิงหลันฯ นี้เป็นเรื่องราวในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการถือพัดแบบในละคร หรือการคลุมผ้าปิดหน้าแบบในหนังสือ ล้วนถูกต้องตามประเพณีของสมัยนั้นทั้งคู่ค่ะ Credit รูปภาพจาก: https://dramapanda.com/2019/01/the-story-of-minglan-wedding-between.html http://www.bgushi.com/archives/2236 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100heft.html http://www.3yan.cn/question/982793 #หมิงหลัน #ราชวงศ์ซ่ง #ประเพณีจินโบราณ #ชุดเจ้าสาวจีน #พัดบังหน้า #StoryfromStory
    DRAMAPANDA.COM
    The Story of Minglan wedding between Minglan and Gu Tingye - DramaPanda
    The latest developments in The Story of Minglan 知否知否应是绿肥红瘦 have been pure bliss and a stark contrast to the tragedy dealt in past episodes. With their separate storylines finally converging, Gu Tingye succeeds in pursuing Minglan and they get married (this happens on episode 40)! Truth be told, I started the show mainly for Zhao Liying, more so because it’s her drama with real-life hubby Feng Shaofeng though it didn’t take long before I was completely hooked to everything else about it. Despite complaints about the slow pace, I wouldn’t have it any other way because even as the characters go about dealing with the most
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 241 มุมมอง 0 รีวิว
  • เหรียญพระพุทธรูปเจ้าแม่อยู่หัว วัดท่าคุระ จ.สงขลา ปี2528
    เหรียญพระพุทธรูปเจ้าแม่อยู่หัว เนื้อทองแดงรมดำ วัดท่าคุระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา ปี2528 // พระดีพิธีใหญ่ ขอได้-ไหว้รับ พระพุทธรูปเก่าแก่ คู่บ้านคู่เมือง // พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณเด่นด้านเมตตามหานิยม มหาบารมี ขอได้-ไหว้รับ บนบานขอโชคลาภ ก็ได้สมหวัง ให้โชคลาภ เงินไหลเทมา ความเจริญรุ่งเรื่อง แคล้วคลาด การค้าขาย สุขภาพ ความสำเร็จในชีวิต >>

    ** พระพุทธรูปแม่เจ้าอยู่หัว ขอได้-ไหว้รับ เป็นที่เคารพนับถือและเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธ์ ด้วยความเชื่อถือและศรัทธาว่าเจ้าแม่อยู่หัวมีความศักดิ์สิทธ์ มีการสมโภชและสรงน้ำเจ้าแม่อยู่หัวทุกปีเป็นประเพณีโบราณอันศักดิ์สิทธิ์ สรงน้ำพระพุทธรูปเจ้าแม่อยู่หัว พระพุทธรูปเก่าแก่ คู่บ้านคู่เมือง.....


    ** พระสถาพสวยมาก พระดูง่าย พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    เหรียญพระพุทธรูปเจ้าแม่อยู่หัว วัดท่าคุระ จ.สงขลา ปี2528 เหรียญพระพุทธรูปเจ้าแม่อยู่หัว เนื้อทองแดงรมดำ วัดท่าคุระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา ปี2528 // พระดีพิธีใหญ่ ขอได้-ไหว้รับ พระพุทธรูปเก่าแก่ คู่บ้านคู่เมือง // พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณเด่นด้านเมตตามหานิยม มหาบารมี ขอได้-ไหว้รับ บนบานขอโชคลาภ ก็ได้สมหวัง ให้โชคลาภ เงินไหลเทมา ความเจริญรุ่งเรื่อง แคล้วคลาด การค้าขาย สุขภาพ ความสำเร็จในชีวิต >> ** พระพุทธรูปแม่เจ้าอยู่หัว ขอได้-ไหว้รับ เป็นที่เคารพนับถือและเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธ์ ด้วยความเชื่อถือและศรัทธาว่าเจ้าแม่อยู่หัวมีความศักดิ์สิทธ์ มีการสมโภชและสรงน้ำเจ้าแม่อยู่หัวทุกปีเป็นประเพณีโบราณอันศักดิ์สิทธิ์ สรงน้ำพระพุทธรูปเจ้าแม่อยู่หัว พระพุทธรูปเก่าแก่ คู่บ้านคู่เมือง..... ** พระสถาพสวยมาก พระดูง่าย พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 125 มุมมอง 0 รีวิว
  • เทศกาลวาเลนไทน์ ให้ความรัก สร้างความสุข ให้คนที่คุณรัก รอบตัวคุณ 14 กุมภาพันธ์ 2568
    กาแฟ ชา ไข่ลวก ไฮ้ หมวย https://goo.gl/maps/rf3UG3QF3pHTPSAz8
    ร้าน เจ กาแฟโบราณ https://goo.gl/maps/H7rqh7TzoHMXZHeh9
    สั่งออนไลน์ ลิงค์อยู่ในช่องแสดงความคิดเห็น
    เทศกาลวาเลนไทน์ ให้ความรัก สร้างความสุข ให้คนที่คุณรัก รอบตัวคุณ 14 กุมภาพันธ์ 2568 กาแฟ ชา ไข่ลวก ไฮ้ หมวย https://goo.gl/maps/rf3UG3QF3pHTPSAz8 ร้าน เจ กาแฟโบราณ https://goo.gl/maps/H7rqh7TzoHMXZHeh9 สั่งออนไลน์ ลิงค์อยู่ในช่องแสดงความคิดเห็น
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 97 มุมมอง 0 รีวิว
  • เหรียญทวารวดี เหรียญนี้ เป็นเหรียญบันทึกเหตุการณ์ที่ทำให้คนบนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แลคนไทย หาแผ่นดินของบรรพบุรุษไม่เจอ ตามไปดูเหตุการณ์จากบันทึกของเหรียญกันค่ะ

    เหรียญนี้ใช้สีชี้เพื่อการเล่าความหมายจะเข้าใจง่ายขึ้น
    สีน้ำเงินแทนน้ำ ,มหาสมุทร,เครื่องหมายที่เกี่ยวกับน้ำ
    สีแดงแทนแผ่นดิน,เมือง,,ประเทศ

    #เหรียญด้านซ้ายมือ
    ควายถูกทำแทนคนบนแผ่นดินที่กำลังหลับใหล
    ในวงกลมสีน้ำเงิน คือสัญลักษณ์คลื่น มีความหมาย คือมวลน้ำสึนามิขนาดมหึมา พุ่งข้ามภูเขา ลูกศรสีน้ำเงินชี้เส้นโค้ง นั่นคือ สัญลักษณ์มวลน้ำมหึมาข้ามภูเขา มวลน้ำมหาศาลถล่มลงมาด้านบน

    น้ำถล่ม เกิดจากปรับแผ่นเปลือกโลกทำให้เกิดแผ่นดินไหว ทำให้เกิดสึนามิขนาดยักษ์ถล่มแผ่นดิน

    ดูควาย(คิดว่าเป็นควายเพราะไม่มีหนอก) ควายถูกทำออกมาสภาพหันคอหลับ แปลว่า บนแผ่นดินไม่มีใครรู้ตัวเลย ตุ่มรอบๆเหรียญนั่นคือเมืองหรือประเทศต่าง ๆ บนแผ่นดินนั้น ถูกน้ำทำลายจนแหกสลาย

    #เหรียญด้านขวามือ
    เส้นลูกศรสีน้ำเงินชี้ไปที่ลายเส้นถูกทำมาแทนน้ำ น้ำวิ่งไปมาถูกแสดงให้เห็นจากด้านบนลงมา ด้านล่างขึ้นไป สัญลักษณ์ของน้ำขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ พุ่งทำลายแผ่นดินทั้งซ้ายและขวา

    แท่งสูงๆ มีลูกศรสีน้ำเงินกำกับข้างทั้งซ้ายขวาของเหรียญคือสัญลักษณ์แทนความสูงของคลื่น

    กลางเหรียญ มองมาด้านล่างเหรียญ จะเห็นลายเส้นแทนน้ำ น้ำจะใหญ่ขึ้น
    ส่วนรูปคนแทนแผ่นดิน ตรงกลางเหรียญยังเห็นเต็มตัว พอมองมาด้านล่างจะเห็นคนเหลือแค่ครึ่งตัว หมายความว่าแผ่นดินถูกน้ำทำลายเหมือนคนถูกทำลาย ถูกตัดลำตัว

    และล่างสุด คือเมือง หรือประเทศ ทำสัญลักษณ์แทน ตุ่ม (ในวงกลมสีแดง) ผู้ทำเหรียญจะทำตุ่มไว้ต่ำสุดเพื่อให้รู้ว่าแผ่นดินถูกทำลายด้วยน้ำ

    มองบนสุดของเหรียญ ในวงกลมสีน้ำเงินมุมซ้าย นั่นคือ คลื่นยักษ์ที่พุ่งเข้าแผ่นดิน ทำลายแผ่นดินระเบิด * ดังภาพในวงกลมสีน้ำเงินมุมขวาบน

    เหรียญนี้ ผู้ที่ทำเหรียญออกมา เพื่อให้รู้ว่าแผ่นดินของบรรพบุรุษของชาวเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ถูกทำลายแบบไหน เพื่อเป็นบันทึกไม่ให้สูญหาย

    บทความและหลักฐานโบราณ
    โดยคุณทราวิฑะ นอกกรอบ

    เหรียญทวารวดี เหรียญนี้ เป็นเหรียญบันทึกเหตุการณ์ที่ทำให้คนบนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แลคนไทย หาแผ่นดินของบรรพบุรุษไม่เจอ ตามไปดูเหตุการณ์จากบันทึกของเหรียญกันค่ะ เหรียญนี้ใช้สีชี้เพื่อการเล่าความหมายจะเข้าใจง่ายขึ้น สีน้ำเงินแทนน้ำ ,มหาสมุทร,เครื่องหมายที่เกี่ยวกับน้ำ สีแดงแทนแผ่นดิน,เมือง,,ประเทศ #เหรียญด้านซ้ายมือ ควายถูกทำแทนคนบนแผ่นดินที่กำลังหลับใหล ในวงกลมสีน้ำเงิน คือสัญลักษณ์คลื่น มีความหมาย คือมวลน้ำสึนามิขนาดมหึมา พุ่งข้ามภูเขา ลูกศรสีน้ำเงินชี้เส้นโค้ง นั่นคือ สัญลักษณ์มวลน้ำมหึมาข้ามภูเขา มวลน้ำมหาศาลถล่มลงมาด้านบน น้ำถล่ม เกิดจากปรับแผ่นเปลือกโลกทำให้เกิดแผ่นดินไหว ทำให้เกิดสึนามิขนาดยักษ์ถล่มแผ่นดิน ดูควาย(คิดว่าเป็นควายเพราะไม่มีหนอก) ควายถูกทำออกมาสภาพหันคอหลับ แปลว่า บนแผ่นดินไม่มีใครรู้ตัวเลย ตุ่มรอบๆเหรียญนั่นคือเมืองหรือประเทศต่าง ๆ บนแผ่นดินนั้น ถูกน้ำทำลายจนแหกสลาย #เหรียญด้านขวามือ เส้นลูกศรสีน้ำเงินชี้ไปที่ลายเส้นถูกทำมาแทนน้ำ น้ำวิ่งไปมาถูกแสดงให้เห็นจากด้านบนลงมา ด้านล่างขึ้นไป สัญลักษณ์ของน้ำขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ พุ่งทำลายแผ่นดินทั้งซ้ายและขวา แท่งสูงๆ มีลูกศรสีน้ำเงินกำกับข้างทั้งซ้ายขวาของเหรียญคือสัญลักษณ์แทนความสูงของคลื่น กลางเหรียญ มองมาด้านล่างเหรียญ จะเห็นลายเส้นแทนน้ำ น้ำจะใหญ่ขึ้น ส่วนรูปคนแทนแผ่นดิน ตรงกลางเหรียญยังเห็นเต็มตัว พอมองมาด้านล่างจะเห็นคนเหลือแค่ครึ่งตัว หมายความว่าแผ่นดินถูกน้ำทำลายเหมือนคนถูกทำลาย ถูกตัดลำตัว และล่างสุด คือเมือง หรือประเทศ ทำสัญลักษณ์แทน ตุ่ม (ในวงกลมสีแดง) ผู้ทำเหรียญจะทำตุ่มไว้ต่ำสุดเพื่อให้รู้ว่าแผ่นดินถูกทำลายด้วยน้ำ มองบนสุดของเหรียญ ในวงกลมสีน้ำเงินมุมซ้าย นั่นคือ คลื่นยักษ์ที่พุ่งเข้าแผ่นดิน ทำลายแผ่นดินระเบิด * ดังภาพในวงกลมสีน้ำเงินมุมขวาบน เหรียญนี้ ผู้ที่ทำเหรียญออกมา เพื่อให้รู้ว่าแผ่นดินของบรรพบุรุษของชาวเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ถูกทำลายแบบไหน เพื่อเป็นบันทึกไม่ให้สูญหาย บทความและหลักฐานโบราณ โดยคุณทราวิฑะ นอกกรอบ
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 107 มุมมอง 0 รีวิว
  • https://www.youtube.com/watch?v=nwUR7aWqhyU
    แบบทดสอบการฟังภาษาอังกฤษ จากบทสนทนาวันวาเลนไทน์
    (คลิกอ่านเพิ่มเติม เพื่ออ่านบทสนทนาภาษาอังกฤษและไทย และคำศัพท์น่ารู้)
    แบบทดสอบการฟังภาษาอังกฤษ จากบทสนทนาวันวาเลนไทน์
    มีคำถาม 5 ข้อหลังฟังเสร็จ เพื่อทดสอบการฟังภาษาอังกฤษของคุณ

    #บทสนทนาภาษาอังกฤษ #ฝึกฟังภาษาอังกฤษ #วาเลนไทน์

    The conversations from the clip :

    James: Hey, Sophia! Valentine’s Day is coming soon. Do you know the history behind it?
    Sophia: Of course! It started with Saint Valentine, a priest in ancient Rome.
    James: Oh yeah, he secretly performed weddings for soldiers, right?
    Sophia: Exactly! Emperor Claudius II banned soldiers from getting married, but Saint Valentine helped them in secret.
    James: That’s so romantic! But sadly, he was caught and executed on February 14th.
    Sophia: Yes, and that’s why we celebrate Valentine’s Day on that date. Over time, it became a day for love and romance.
    James: Speaking of romance, how about we go on a special date this year?
    Sophia: I’d love that! Do you have any plans in mind?
    James: How about a fancy dinner at a rooftop restaurant, and then we take a walk in the park?
    Sophia: That sounds amazing! A romantic evening with a beautiful view.
    James: And I have a special gift for you!
    Sophia: Aww, really? What is it? Give me a hint!
    James: Hmm… It’s something shiny that you can wear every day.
    Sophia: Oh my gosh! Is it a necklace?
    James: Yes! I picked a beautiful necklace that reminds me of you.
    Sophia: That’s so sweet! I love it already. This is going to be the best Valentine’s Day ever!

    James: เฮ้, โซเฟีย! วันวาเลนไทน์ใกล้จะมาถึงแล้วนะ เธอรู้ประวัติของวันนี้ไหม?
    Sophia: รู้สิ! มันเริ่มต้นจาก นักบุญวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นนักบวชในกรุงโรมสมัยโบราณ
    James: ใช่เลย! เขาแอบจัดพิธีแต่งงานให้กับทหารใช่ไหม?
    Sophia: ใช่แล้ว! จักรพรรดิคลอดิอุสที่ 2 ห้ามทหารแต่งงาน แต่นักบุญวาเลนไทน์ช่วยพวกเขาอย่างลับ ๆ
    James: โรแมนติกมาก! แต่สุดท้ายเขาถูกจับและถูกประหารชีวิตในวันที่ 14 กุมภาพันธ์
    Sophia: ใช่ และนั่นเป็นเหตุผลที่เราฉลองวันวาเลนไทน์ในวันนี้ เมื่อเวลาผ่านไป วันนี้ก็กลายเป็นวันแห่งความรักและความโรแมนติก
    James: พูดถึงความโรแมนติกแล้ว ปีนี้เราไปเดทพิเศษกันดีไหม?
    Sophia: ฉันชอบไอเดียนั้นเลย! เธอมีแผนอะไรหรือเปล่า?
    James: ไปดินเนอร์ที่ร้านอาหารบนดาดฟ้าดีไหม แล้วจากนั้นก็เดินเล่นในสวนสาธารณะ
    Sophia: ฟังดูดีมาก! ค่ำคืนสุดโรแมนติกกับวิวสวย ๆ
    James: และฉันมีของขวัญพิเศษให้เธอด้วยนะ!
    Sophia: ว้าว จริงเหรอ? อะไรเหรอ? บอกใบ้หน่อย!
    James: อืม… มันเป็นของที่เป็นประกายและเธอสามารถใส่ได้ทุกวัน
    Sophia: โอ้! หรือว่าสร้อยคอ?
    James: ใช่เลย! ฉันเลือกสร้อยคอที่สวยที่สุด เพราะมันทำให้ฉันนึกถึงเธอ
    Sophia: น่ารักมากเลย! ฉันชอบมันแน่นอน นี่ต้องเป็นวันวาเลนไทน์ที่ดีที่สุดแน่ ๆ!

    Vocabulary (คำศัพท์น่ารู้)

    Valentine (แวล-นไทน์) n. แปลว่า วันวาเลนไทน์
    History (ฮิส-ทอรี) n. แปลว่า ประวัติศาสตร์
    Priest (พรีสท์) n. แปลว่า นักบวช
    Emperor (เอ็ม-พี-เร่อ) n. แปลว่า จักรพรรดิ
    Rome (โรม) n. แปลว่า กรุงโรม
    Soldier (โซล-เจอ) n. แปลว่า ทหาร
    Marriage (แมร์-ริจ) n. แปลว่า การแต่งงาน
    Banned (แบน) adj. แปลว่า ถูกห้าม
    Executed (เอ็ก-ซี-คิว-ทิด) v. แปลว่า ถูกประหารชีวิต
    Celebrate (เซล-เล-เบรท) v. แปลว่า เฉลิมฉลอง
    Romantic (โร-แมน-ทิค) adj. แปลว่า โรแมนติก
    Dinner (ดิน-เนอร์) n. แปลว่า อาหารค่ำ
    Necklace (เนค-คเลิส) n. แปลว่า สร้อยคอ
    Hint (ฮินท์) n. แปลว่า คำใบ้
    Special (สเปช-ชัล) adj. แปลว่า พิเศษ
    https://www.youtube.com/watch?v=nwUR7aWqhyU แบบทดสอบการฟังภาษาอังกฤษ จากบทสนทนาวันวาเลนไทน์ (คลิกอ่านเพิ่มเติม เพื่ออ่านบทสนทนาภาษาอังกฤษและไทย และคำศัพท์น่ารู้) แบบทดสอบการฟังภาษาอังกฤษ จากบทสนทนาวันวาเลนไทน์ มีคำถาม 5 ข้อหลังฟังเสร็จ เพื่อทดสอบการฟังภาษาอังกฤษของคุณ #บทสนทนาภาษาอังกฤษ #ฝึกฟังภาษาอังกฤษ #วาเลนไทน์ The conversations from the clip : James: Hey, Sophia! Valentine’s Day is coming soon. Do you know the history behind it? Sophia: Of course! It started with Saint Valentine, a priest in ancient Rome. James: Oh yeah, he secretly performed weddings for soldiers, right? Sophia: Exactly! Emperor Claudius II banned soldiers from getting married, but Saint Valentine helped them in secret. James: That’s so romantic! But sadly, he was caught and executed on February 14th. Sophia: Yes, and that’s why we celebrate Valentine’s Day on that date. Over time, it became a day for love and romance. James: Speaking of romance, how about we go on a special date this year? Sophia: I’d love that! Do you have any plans in mind? James: How about a fancy dinner at a rooftop restaurant, and then we take a walk in the park? Sophia: That sounds amazing! A romantic evening with a beautiful view. James: And I have a special gift for you! Sophia: Aww, really? What is it? Give me a hint! James: Hmm… It’s something shiny that you can wear every day. Sophia: Oh my gosh! Is it a necklace? James: Yes! I picked a beautiful necklace that reminds me of you. Sophia: That’s so sweet! I love it already. This is going to be the best Valentine’s Day ever! James: เฮ้, โซเฟีย! วันวาเลนไทน์ใกล้จะมาถึงแล้วนะ เธอรู้ประวัติของวันนี้ไหม? Sophia: รู้สิ! มันเริ่มต้นจาก นักบุญวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นนักบวชในกรุงโรมสมัยโบราณ James: ใช่เลย! เขาแอบจัดพิธีแต่งงานให้กับทหารใช่ไหม? Sophia: ใช่แล้ว! จักรพรรดิคลอดิอุสที่ 2 ห้ามทหารแต่งงาน แต่นักบุญวาเลนไทน์ช่วยพวกเขาอย่างลับ ๆ James: โรแมนติกมาก! แต่สุดท้ายเขาถูกจับและถูกประหารชีวิตในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ Sophia: ใช่ และนั่นเป็นเหตุผลที่เราฉลองวันวาเลนไทน์ในวันนี้ เมื่อเวลาผ่านไป วันนี้ก็กลายเป็นวันแห่งความรักและความโรแมนติก James: พูดถึงความโรแมนติกแล้ว ปีนี้เราไปเดทพิเศษกันดีไหม? Sophia: ฉันชอบไอเดียนั้นเลย! เธอมีแผนอะไรหรือเปล่า? James: ไปดินเนอร์ที่ร้านอาหารบนดาดฟ้าดีไหม แล้วจากนั้นก็เดินเล่นในสวนสาธารณะ Sophia: ฟังดูดีมาก! ค่ำคืนสุดโรแมนติกกับวิวสวย ๆ James: และฉันมีของขวัญพิเศษให้เธอด้วยนะ! Sophia: ว้าว จริงเหรอ? อะไรเหรอ? บอกใบ้หน่อย! James: อืม… มันเป็นของที่เป็นประกายและเธอสามารถใส่ได้ทุกวัน Sophia: โอ้! หรือว่าสร้อยคอ? James: ใช่เลย! ฉันเลือกสร้อยคอที่สวยที่สุด เพราะมันทำให้ฉันนึกถึงเธอ Sophia: น่ารักมากเลย! ฉันชอบมันแน่นอน นี่ต้องเป็นวันวาเลนไทน์ที่ดีที่สุดแน่ ๆ! Vocabulary (คำศัพท์น่ารู้) Valentine (แวล-นไทน์) n. แปลว่า วันวาเลนไทน์ History (ฮิส-ทอรี) n. แปลว่า ประวัติศาสตร์ Priest (พรีสท์) n. แปลว่า นักบวช Emperor (เอ็ม-พี-เร่อ) n. แปลว่า จักรพรรดิ Rome (โรม) n. แปลว่า กรุงโรม Soldier (โซล-เจอ) n. แปลว่า ทหาร Marriage (แมร์-ริจ) n. แปลว่า การแต่งงาน Banned (แบน) adj. แปลว่า ถูกห้าม Executed (เอ็ก-ซี-คิว-ทิด) v. แปลว่า ถูกประหารชีวิต Celebrate (เซล-เล-เบรท) v. แปลว่า เฉลิมฉลอง Romantic (โร-แมน-ทิค) adj. แปลว่า โรแมนติก Dinner (ดิน-เนอร์) n. แปลว่า อาหารค่ำ Necklace (เนค-คเลิส) n. แปลว่า สร้อยคอ Hint (ฮินท์) n. แปลว่า คำใบ้ Special (สเปช-ชัล) adj. แปลว่า พิเศษ
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 277 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts