• วันนี้มาคุยกันสั้นๆ กับสิ่งที่สะดุดตา Storyฯ จากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้จะเห็นว่ามีฉากงานเลี้ยงและรับประทานอาหารบ่อยมาก ไม่ทราบว่ามีใครสะดุดตากับวิธีการจัดวางอาหารบนโต๊ะหรือไม่ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องนี้ เพราะในละครนี้มีการจัดวางอาหารไว้คล้ายคลึงกับที่ปรากฏไว้ในบันทึกพิธีการราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’

    ในบันทึกโจวหลี่มีหลักการการจัดโต๊ะไว้ให้สะดวกต่อการรับประทาน (ดูได้ในรูปประกอบขวาล่าง) โดยกำหนดว่า 1. เนื้อที่ติดกระดูกและปลาอยู่ด้านซ้ายของผู้นั่ง ถ้ามีทั้งสองอย่าง เนื้อติดกระดูกอยู่บน ปลาอยู่ล่างและหางปลาต้องหันเข้าหาตัวผู้นั่งเพื่อสะดวกต่อการตักเนื้อปลา 2. ส่วนด้านขวานั้นเป็นเนื้อที่หั่นเป็นชิ้นแล้ว 3. ด้านขวานอกสุดเป็นตำแหน่งของเนื้อย่าง 4. เครื่องขบเคี้ยวหรือแกล้มวางถัดมาด้านในของเนื้อย่าง (ที่นิยมคือต้นหอมนึ่งสุก) 5. เครื่องดื่ม(เช่น น้ำแกง) ไว้ด้านขวาของคนนั่ง สุราก็เช่นกัน 6. น้ำจิ้มต่างๆ อยู่ด้านหน้า 7. ด้านบนเยื้องขวาเป็นเนื้อตากแห้ง/เนื้อหมัก โดยเนื้อตากแห้ง/หมักนี้หากเป็นแบบเส้นตรงไว้ขวา หากแบบไม่ตรงให้ไว้ซ้าย

    จากรูปประกอบล่างขวาจะเห็นว่า พื้นที่ด้านบนตรงกลางและเยื้องไปทางซ้ายของโต๊ะมักจะมีที่ว่าง ตรงนี้ไม่มีกำหนดไว้ว่าต้องวางอะไร จึงถูกใช้เป็นที่วางพวกผลไม้และผักอื่นๆ โดยวางเรียงจากขวามา อย่างเช่นภาพโต๊ะอาหารท่านย่าเฉิงที่ยกมาจากในละครเป็นต้น (รูปประกอบซ้ายล่าง) และแน่นอนว่าพวกเนื้อสัตว์เป็นชิ้นๆ มีราคาแพงจึงไม่ใช่ทุกมื้อที่ ‘จัดเต็ม’ อย่างที่กล่าวถึงในบันทึกพิธีการโจวหลี่ ดังนั้น อาหารชนิดใดที่ตรงตามระบุไว้ ให้วางตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ ที่ไม่ใช่ค่อยวางตรงพื้นที่เหลือด้านบน

    ภาพจากละครเอามาลงให้ไม่หมดจริงๆ ใครกำลังดูอยู่หรือกลับไปดูซ้ำ ลองสังเกตดูนะคะว่าเขาจัดวางโต๊ะตามที่กล่าวมาข้างต้นอย่างไร เพราะละครเรื่องนี้ว่าตามยุคสมัยฮั่น ซึ่งหลายๆ อย่างยังยึดธรรมเนียมและพิธีการตามโจวหลี่อยู่

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/355808498_528910
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/汉朝饮食/7192206
    https://www.sohu.com/a/580224319_121147311
    https://www.sohu.com/a/355808498_528910
    http://www.ruiwen.com/liyichangshi/2381391.html

    #ดาราจักรรักลำนำใจ #โจวหลี่ #จัดวางอาหารจีนโบราณ
    วันนี้มาคุยกันสั้นๆ กับสิ่งที่สะดุดตา Storyฯ จากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้จะเห็นว่ามีฉากงานเลี้ยงและรับประทานอาหารบ่อยมาก ไม่ทราบว่ามีใครสะดุดตากับวิธีการจัดวางอาหารบนโต๊ะหรือไม่ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องนี้ เพราะในละครนี้มีการจัดวางอาหารไว้คล้ายคลึงกับที่ปรากฏไว้ในบันทึกพิธีการราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบันทึกโจวหลี่มีหลักการการจัดโต๊ะไว้ให้สะดวกต่อการรับประทาน (ดูได้ในรูปประกอบขวาล่าง) โดยกำหนดว่า 1. เนื้อที่ติดกระดูกและปลาอยู่ด้านซ้ายของผู้นั่ง ถ้ามีทั้งสองอย่าง เนื้อติดกระดูกอยู่บน ปลาอยู่ล่างและหางปลาต้องหันเข้าหาตัวผู้นั่งเพื่อสะดวกต่อการตักเนื้อปลา 2. ส่วนด้านขวานั้นเป็นเนื้อที่หั่นเป็นชิ้นแล้ว 3. ด้านขวานอกสุดเป็นตำแหน่งของเนื้อย่าง 4. เครื่องขบเคี้ยวหรือแกล้มวางถัดมาด้านในของเนื้อย่าง (ที่นิยมคือต้นหอมนึ่งสุก) 5. เครื่องดื่ม(เช่น น้ำแกง) ไว้ด้านขวาของคนนั่ง สุราก็เช่นกัน 6. น้ำจิ้มต่างๆ อยู่ด้านหน้า 7. ด้านบนเยื้องขวาเป็นเนื้อตากแห้ง/เนื้อหมัก โดยเนื้อตากแห้ง/หมักนี้หากเป็นแบบเส้นตรงไว้ขวา หากแบบไม่ตรงให้ไว้ซ้าย จากรูปประกอบล่างขวาจะเห็นว่า พื้นที่ด้านบนตรงกลางและเยื้องไปทางซ้ายของโต๊ะมักจะมีที่ว่าง ตรงนี้ไม่มีกำหนดไว้ว่าต้องวางอะไร จึงถูกใช้เป็นที่วางพวกผลไม้และผักอื่นๆ โดยวางเรียงจากขวามา อย่างเช่นภาพโต๊ะอาหารท่านย่าเฉิงที่ยกมาจากในละครเป็นต้น (รูปประกอบซ้ายล่าง) และแน่นอนว่าพวกเนื้อสัตว์เป็นชิ้นๆ มีราคาแพงจึงไม่ใช่ทุกมื้อที่ ‘จัดเต็ม’ อย่างที่กล่าวถึงในบันทึกพิธีการโจวหลี่ ดังนั้น อาหารชนิดใดที่ตรงตามระบุไว้ ให้วางตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ ที่ไม่ใช่ค่อยวางตรงพื้นที่เหลือด้านบน ภาพจากละครเอามาลงให้ไม่หมดจริงๆ ใครกำลังดูอยู่หรือกลับไปดูซ้ำ ลองสังเกตดูนะคะว่าเขาจัดวางโต๊ะตามที่กล่าวมาข้างต้นอย่างไร เพราะละครเรื่องนี้ว่าตามยุคสมัยฮั่น ซึ่งหลายๆ อย่างยังยึดธรรมเนียมและพิธีการตามโจวหลี่อยู่ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/355808498_528910 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/汉朝饮食/7192206 https://www.sohu.com/a/580224319_121147311 https://www.sohu.com/a/355808498_528910 http://www.ruiwen.com/liyichangshi/2381391.html #ดาราจักรรักลำนำใจ #โจวหลี่ #จัดวางอาหารจีนโบราณ
    WWW.SOHU.COM
    古人的请客之道,处处有讲究_客人
    除了上菜时需要注意的礼节,菜肴摆放的位置也在《礼记·曲礼》中做了严格的规定:客人面前的桌子上,左边依次为带骨的熟肉、主食(饭),右边依次是大块的熟肉、酒和饮料;在最里边放酱酪调料,外边放烤肉,右边放着蒸…
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 112 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วงนี้มีกระแสเรื่องหนังสือเรียนเด็กชั้นประถมบ้านเรา ทำให้ Storyฯ เกิด ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วในสมัยจีนโบราณ เด็กๆ เรียนอะไร ผ่านตาในซีรีส์ก็จะเห็นเด็กท่องกันไปยาวๆ อย่างเช่นใน <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบลี้> ตอนที่พระเอกลงไปผ่านด่านเคราะห์ในโลกมนุษย์

    วันนี้เลยมาคุยกันคร่าวๆ เรื่องการศึกษาของเด็กในสมัยจีนโบราณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า ‘เหมิงเสวี๋ย’ (蒙学) หมายถึงการเรียนเพื่อปูพื้นฐานหรือก็คือการเรียนของเด็ก

    เริ่มกันจากที่ว่า เขาเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุเท่าไหร่? เรื่องอายุการเริ่มเรียนมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยพร้อมๆ กับการจัดระเบียบด้านการศึกษา เดิมเด็กๆ เริ่มเรียนกันได้ตั้งแต่สี่ขวบ เข้าเรียนได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเปลี่ยนมาเป็นเปิดเทอมตอนฤดูหนาวเป็นหลัก) ต่อมาในสมัยถังเริ่มเรียนกันที่ 6-7 ขวบ ต่อมาสมัยหมิงและชิงมีจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนได้เรียนกันอย่างแพร่หลายโดยมีช่วงอายุ 8-15 ปี

    แล้วเขาเรียนอะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณมีการแบ่งแยกการสอนเด็กเล็กและเด็กโตโดยจัดเนื้อหาแตกต่างกัน มีตัวอย่างให้เห็นจากการเรียนของราชนิกุลสมัยราชวงศ์เซี่ย ซังและโจว แม้แต่ในบทสอนของขงจื๊อก็มีการแยกระหว่างเด็กเล็กเด็กโต สำหรับเด็กเล็กเน้นให้อ่านออกเขียนได้ โตขึ้นอีกหน่อยก็เริ่มเรียนพวกบทกวีและบทความและปูพื้นฐานสำหรับเรียน ‘สี่หนังสือ’ (ซื่อซู/四书) ว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย

    แต่อย่าลืมว่าการเรียนหนังสือแต่เดิมเป็นเอกสิทธิ์ของราชนิกูลและลูกหลานตระกูลผู้ดีหรือลูกหลานข้าราชการ ต่อมาจึงมีการเปิดโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน และมีการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอนมากขึ้น นับแต่สมัยซ่งมา หนังสือสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญและใช้เป็นหลัก เดิมมีอยู่สามเล่ม เรียกรวมว่า ‘สามร้อยพัน’ (ซานป่ายเชียน/三百千) ต่อมาเพิ่มมาอีก ‘พัน’ เป็น ‘สามร้อยพันพัน’ (ซานป่ายเชียนเชียน/三百千千) สรุปได้ดังนี้

    - ‘สาม’ หมายถึง ‘คัมภีร์สามอักษร’ (ซานจื้อจิง /三字经) เป็นตำราที่มีขึ้นในสมัยซ่งใต้ มีทั้งหมด 1,722 อักษร (โอ้โห... สงสารเด็กเลย!) เนื้อหารวมความรู้พื้นฐานเช่น ประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้ทั่วไป (เช่นทิศ เวลา ฤดูกาล) และหลักคุณธรรม ลักษณะการเขียนแบ่งเป็นวรรคละสามอักษร ประโยคละสองวรรค วรรคแรกคือเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง วรรคหลังคือคำอธิบายเหตุผลหรือสาระของมัน เช่น ตัวอย่างสองประโยคแรก อธิบายว่า อันคนเรานั้นแต่เดิมมีจิตใจดี นิสัยใจคอธรรมชาติให้มาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝึกฝนกันไปความแตกต่างก็จะยิ่งมากขึ้น เป็นต้น มีเว็บไทยอธิบายไว้ ลองไปอ่านดูนะคะ (https://pasajeen.com/three-character-classic/)
    - ‘ร้อย’ หมายถึง ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) แต่จริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ ไว้ให้หัดจำตัวอักษร แฝงไว้ซึ่งความสำคัญของวงศ์ตระกูล (สงสารเด็กอีกแล้ว อักษรจีนจำยากนะ)
    - ‘พัน’ หมายถึง ‘บทความพันอักษร’ (เชียนจื้อเหวิน / 千字文) เป็นหนังสือโบราณตั้งแต่ยุคราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 502-549) โดยครั้งนั้นฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ให้ขุนนางเลือกอักษรออกมาหนึ่งพันตัว แล้วเอามาเรียงร้อยจนได้เป็นบทความ แบ่งเป็นวรรคละสี่อักษร Storyฯ ได้ลองอ่านแล้วถึงกับถอดใจว่าอ่านเข้าใจยากมาก ต้องไปอ่านที่เขาแปลมาให้เข้าใจง่ายๆ อีกที สรุปใจความประมาณว่าธาตุทั้งหลายก่อเกิดเป็นสรรพสิ่ง สอดแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปเช่นว่า น้ำทะเลนั้นเค็ม น้ำจืดนั้นรสจาง เล่าต่อเป็นเรื่องการปกครองแว่นแคว้นให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข สอดแทรกหลักคุณธรรมของกษัตริย์ เล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกแนวปฏิบัติเช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ การวางตัวให้มีจริยธรรม การแต่งกายอย่างสะอาดสุภาพ ฯลฯ
    - อีก ‘พัน’ สุดท้ายคือ ‘บทกวีพันเรือน’ (เชียนเจียซือ /千家诗) จัดทำขึ้นในสมัยชิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกวีและวลีเด็ดของยุคสมัยถังและซ่ง (แม้จะมีของสมัยหยวนและหมิงปนมาบ้างแต่น้อยมาก) รวมทั้งสิ้น 226 ชิ้นงาน เน้นการสอนอ่านให้คล่อง ออกเสียงให้ชัด และมีจังหวะจะโคน

    หนังสือเรียนเด็กยังมีอีกไม่น้อย ใครท่องได้ไวเรียนเก่งก็พัฒนาไวไปจนอ่านบันทึกพิธีการโจวหลี่และซื่อซูของขงจื๊อได้แม้จะเป็นแค่เด็กตัวกะเปี๊ยก แต่แค่ที่เขียนมาข้างต้น Storyฯ ก็รู้สึกเหนื่อยแทนแล้ว มิน่าล่ะ เราถึงเห็นฉากในละครบ่อยๆ เวลาเด็กท่องหนังสือก็ร่ายกันไปยาวๆ หัวก็โคลงหมุนไปตามจังหวะการท่องด้วย แล้วเพื่อนเพจล่ะคะ รู้สึกยังไงกันบ้าง?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://www.fakutownee.cn/wenti/yule/16786.html
    https://www.sohu.com/a/584299187_161835
    https://wang-tobeboss.com/archives/1449
    https://www.hrxfw.com/fjbk/fjdj/2682.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/323332934
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/三百千千/10984837
    https://www.lzs100.com/post/565.html
    https://www.sohu.com/a/584299187_161835
    https://baike.baidu.com/item/蒙学/5024354

    #หนังสือเรียนจีนโบราณ #เหมิงเสวี๋ย #คัมภีร์สามอักษร #ซานจื้อจิง #ร้อยตระกูล #ร้อยแซ่ #ป่ายเจียซิ่ง #พันอักษร #เชียนจื้อเหวิน #กวีพันเรือน #เชียนเจียซือ
    ช่วงนี้มีกระแสเรื่องหนังสือเรียนเด็กชั้นประถมบ้านเรา ทำให้ Storyฯ เกิด ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วในสมัยจีนโบราณ เด็กๆ เรียนอะไร ผ่านตาในซีรีส์ก็จะเห็นเด็กท่องกันไปยาวๆ อย่างเช่นใน <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบลี้> ตอนที่พระเอกลงไปผ่านด่านเคราะห์ในโลกมนุษย์ วันนี้เลยมาคุยกันคร่าวๆ เรื่องการศึกษาของเด็กในสมัยจีนโบราณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า ‘เหมิงเสวี๋ย’ (蒙学) หมายถึงการเรียนเพื่อปูพื้นฐานหรือก็คือการเรียนของเด็ก เริ่มกันจากที่ว่า เขาเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุเท่าไหร่? เรื่องอายุการเริ่มเรียนมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยพร้อมๆ กับการจัดระเบียบด้านการศึกษา เดิมเด็กๆ เริ่มเรียนกันได้ตั้งแต่สี่ขวบ เข้าเรียนได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเปลี่ยนมาเป็นเปิดเทอมตอนฤดูหนาวเป็นหลัก) ต่อมาในสมัยถังเริ่มเรียนกันที่ 6-7 ขวบ ต่อมาสมัยหมิงและชิงมีจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนได้เรียนกันอย่างแพร่หลายโดยมีช่วงอายุ 8-15 ปี แล้วเขาเรียนอะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณมีการแบ่งแยกการสอนเด็กเล็กและเด็กโตโดยจัดเนื้อหาแตกต่างกัน มีตัวอย่างให้เห็นจากการเรียนของราชนิกุลสมัยราชวงศ์เซี่ย ซังและโจว แม้แต่ในบทสอนของขงจื๊อก็มีการแยกระหว่างเด็กเล็กเด็กโต สำหรับเด็กเล็กเน้นให้อ่านออกเขียนได้ โตขึ้นอีกหน่อยก็เริ่มเรียนพวกบทกวีและบทความและปูพื้นฐานสำหรับเรียน ‘สี่หนังสือ’ (ซื่อซู/四书) ว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย แต่อย่าลืมว่าการเรียนหนังสือแต่เดิมเป็นเอกสิทธิ์ของราชนิกูลและลูกหลานตระกูลผู้ดีหรือลูกหลานข้าราชการ ต่อมาจึงมีการเปิดโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน และมีการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอนมากขึ้น นับแต่สมัยซ่งมา หนังสือสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญและใช้เป็นหลัก เดิมมีอยู่สามเล่ม เรียกรวมว่า ‘สามร้อยพัน’ (ซานป่ายเชียน/三百千) ต่อมาเพิ่มมาอีก ‘พัน’ เป็น ‘สามร้อยพันพัน’ (ซานป่ายเชียนเชียน/三百千千) สรุปได้ดังนี้ - ‘สาม’ หมายถึง ‘คัมภีร์สามอักษร’ (ซานจื้อจิง /三字经) เป็นตำราที่มีขึ้นในสมัยซ่งใต้ มีทั้งหมด 1,722 อักษร (โอ้โห... สงสารเด็กเลย!) เนื้อหารวมความรู้พื้นฐานเช่น ประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้ทั่วไป (เช่นทิศ เวลา ฤดูกาล) และหลักคุณธรรม ลักษณะการเขียนแบ่งเป็นวรรคละสามอักษร ประโยคละสองวรรค วรรคแรกคือเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง วรรคหลังคือคำอธิบายเหตุผลหรือสาระของมัน เช่น ตัวอย่างสองประโยคแรก อธิบายว่า อันคนเรานั้นแต่เดิมมีจิตใจดี นิสัยใจคอธรรมชาติให้มาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝึกฝนกันไปความแตกต่างก็จะยิ่งมากขึ้น เป็นต้น มีเว็บไทยอธิบายไว้ ลองไปอ่านดูนะคะ (https://pasajeen.com/three-character-classic/) - ‘ร้อย’ หมายถึง ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) แต่จริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ ไว้ให้หัดจำตัวอักษร แฝงไว้ซึ่งความสำคัญของวงศ์ตระกูล (สงสารเด็กอีกแล้ว อักษรจีนจำยากนะ) - ‘พัน’ หมายถึง ‘บทความพันอักษร’ (เชียนจื้อเหวิน / 千字文) เป็นหนังสือโบราณตั้งแต่ยุคราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 502-549) โดยครั้งนั้นฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ให้ขุนนางเลือกอักษรออกมาหนึ่งพันตัว แล้วเอามาเรียงร้อยจนได้เป็นบทความ แบ่งเป็นวรรคละสี่อักษร Storyฯ ได้ลองอ่านแล้วถึงกับถอดใจว่าอ่านเข้าใจยากมาก ต้องไปอ่านที่เขาแปลมาให้เข้าใจง่ายๆ อีกที สรุปใจความประมาณว่าธาตุทั้งหลายก่อเกิดเป็นสรรพสิ่ง สอดแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปเช่นว่า น้ำทะเลนั้นเค็ม น้ำจืดนั้นรสจาง เล่าต่อเป็นเรื่องการปกครองแว่นแคว้นให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข สอดแทรกหลักคุณธรรมของกษัตริย์ เล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกแนวปฏิบัติเช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ การวางตัวให้มีจริยธรรม การแต่งกายอย่างสะอาดสุภาพ ฯลฯ - อีก ‘พัน’ สุดท้ายคือ ‘บทกวีพันเรือน’ (เชียนเจียซือ /千家诗) จัดทำขึ้นในสมัยชิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกวีและวลีเด็ดของยุคสมัยถังและซ่ง (แม้จะมีของสมัยหยวนและหมิงปนมาบ้างแต่น้อยมาก) รวมทั้งสิ้น 226 ชิ้นงาน เน้นการสอนอ่านให้คล่อง ออกเสียงให้ชัด และมีจังหวะจะโคน หนังสือเรียนเด็กยังมีอีกไม่น้อย ใครท่องได้ไวเรียนเก่งก็พัฒนาไวไปจนอ่านบันทึกพิธีการโจวหลี่และซื่อซูของขงจื๊อได้แม้จะเป็นแค่เด็กตัวกะเปี๊ยก แต่แค่ที่เขียนมาข้างต้น Storyฯ ก็รู้สึกเหนื่อยแทนแล้ว มิน่าล่ะ เราถึงเห็นฉากในละครบ่อยๆ เวลาเด็กท่องหนังสือก็ร่ายกันไปยาวๆ หัวก็โคลงหมุนไปตามจังหวะการท่องด้วย แล้วเพื่อนเพจล่ะคะ รู้สึกยังไงกันบ้าง? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://www.fakutownee.cn/wenti/yule/16786.html https://www.sohu.com/a/584299187_161835 https://wang-tobeboss.com/archives/1449 https://www.hrxfw.com/fjbk/fjdj/2682.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/323332934 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/三百千千/10984837 https://www.lzs100.com/post/565.html https://www.sohu.com/a/584299187_161835 https://baike.baidu.com/item/蒙学/5024354 #หนังสือเรียนจีนโบราณ #เหมิงเสวี๋ย #คัมภีร์สามอักษร #ซานจื้อจิง #ร้อยตระกูล #ร้อยแซ่ #ป่ายเจียซิ่ง #พันอักษร #เชียนจื้อเหวิน #กวีพันเรือน #เชียนเจียซือ
    PASAJEEN.COM
    คัมภีร์ภาษาจีน สามอักษร 三字经 | ภาษาจีน.คอม "เปิดโลกอักษรจีน เปิดโลกภาษาจีน"
    เสน่ห์ของ 三字经 อยู่ที่การท่องทีละ 3 คำ และแม้มีการแบ่งคำ แบ่ง 3 คำๆก็จริง ยังแยกเป็นคู่ๆ สังเกตุจากเครื่องหมายวรรคตอน โดย 3 ตัวแรก อาจบอกสาเหตุ 3 ตัวหลังบอกผล หรือ 3 ตัวแรก อาจบอกอะไรสักอย่าง 3 ตัวหลังขยายความ คู่ ที่ 1 人之初,性本善。คู่ที่ 1 3 ตัวแรกบอกว่า กำเนิดของมนุษย์ หรือธรรมชาติดั้งเดิมของคน 3 ตัวหลังบอกว่า พื้นฐานจิตใจมีเมตตากรุณา คู่ ที่ 2 性相近,习相远。 3 ตัวแรกบอกว่า จิตใจอารมณ์มนุษย์ทุกคนธรรมชาติให้มาใกล้เคียง 3 ตัวหลังบอกว่า การฝึกหัด (อาจดีหรือเลว อยู่ที่สิ่งแวดล้อม) ทำให้คนห่างไกลกัน คนเราพื้นฐานล้วนคล้ายคลึงกันคือเป็นคนดี แต่สิ่งแวดล้อมที่ทำให้คนแตกต่างกัน อันนี้เป็นความเชื่อ ที่นำไปสู่ทัศนคติ การอบรม ลัทธิต่างๆอีกมากมาย บางระบบอย่างฝรั่ง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 506 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🪭แม่สื่อสมัยโบราณ 🪭

    สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับขั้นตอนการสู่ขอและ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ และมีการกล่าวถึงการใช้แม่สื่อ แต่เพื่อนเพจคงไม่ได้อรรถรสว่าจริงๆ แล้วการใช้แม่สื่อมีความสำคัญมาก ในบางยุคสมัยอย่างเช่นสมัยถังถึงกับบัญญัติเป็นกฎหมายไว้ว่าการแต่งงานต้องมีแม่สื่อ

    เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า มีหน่วยงานรัฐรับหน้าที่แม่สื่อ?

    ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ ของสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกมีการระบุไว้ว่า: สำนักงาน ‘เหมยซึ’ (媒氏) มีหน้าที่ดูแลการแต่งงานของประชาชน... ทำทะเบียนบันทึกวันเดือนปีเกิดของทุกคนและจัดให้บุรุษแต่งงานเมื่ออายุสามสิบปีและสตรีเมื่ออายุยี่สิบปี... จัดเทศกาลกลางฤดูใบไม้ผลิหรือที่เรียกว่า ‘จงชุนฮุ่ย’ (仲春会) เพื่อเป็นโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะดูตัว...

    ก่อนจะลงลึกเรื่องหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อเหมยซึนี้ เรามาคุยกันเล็กน้อยเรื่องเกณฑ์อายุสมรสที่กล่าวถึงข้างต้น

    พวกเราจะคุ้นเคยว่ากฎหมายกำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำไว้ แต่ในสมัยโบราณมีกำหนดเกณฑ์อายุสูงสุดไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้คนแต่งงานมีลูกสืบสกุล ในความเชื่อของคนโบราณคือการไม่มีบุตรสืบสกุลถือเป็นความอกตัญญูอย่างใหญ่หลวง แต่จริงๆ แล้วในมุมมองของรัฐมันมีเหตุผลด้านการพัฒนาประเทศ อย่าลืมว่าแรกเริ่มเลยเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยเกษตรกรรม เมื่อประชากรน้อยผลผลิตก็น้อยรัฐก็จน อีกทั้งในสมัยโบราณมีศึกสงครามและอายุขัยของคนไม่ยาวเหมือนสมัยนี้ ดังนั้นทางการจึงพยายามกระตุ้นให้คนแต่งงานและมีลูกหลานกัน จนถึงขั้นกำหนดเป็นกฎหมายบังคับ เพียงแต่เกณฑ์อายุตามกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อย่างเช่นในสมัยฮั่นบุรุษต้องแต่งงานภายในอายุสามสิบปีและสตรีภายในอายุสิบห้าปี หาไม่แล้วต้องถูกปรับด้วยการจ่ายภาษีเพิ่มเป็นห้าเท่า (ในสมัยนั้นจ่ายภาษีเป็นรายหัว ไม่เกี่ยวกับรายได้) และในสมัยราชวงศ์เหนือใต้กำหนดว่าหากสตรีไม่แต่งงานภายในอายุสิบห้าปีพ่อแม่ต้องโทษจำคุก

    แต่ในสมัยโบราณก็มีคนที่ไม่ได้แต่งงานภายในอายุที่กฎหมายที่กำหนด บ้างยืดเวลาออกไปเพราะเหตุผลการไว้ทุกข์ให้พ่อแม่ บ้างมีเหตุผลอื่น แต่ Storyฯ ไม่ได้ไปหาข้อมูลต่อว่าแต่ละยุคสมัยเขามีวิธีหลีกเลี่ยงการแต่งงานกันอย่างไร แต่ที่ชัดเจนก็คือว่า ผู้ที่ถึงเกณฑ์อายุสูงสุดแล้วยังไม่ได้แต่งงานจะมีสำนักงานแม่สื่อมาช่วยจัดการหาคู่ให้ โดยมีความพยายามหว่านล้อมให้เจ้าตัวเห็นชอบและมีตัวเลือกให้ ไม่ใช่นึกจะบังคับแต่งกับใครก็บังคับเลย ประมาณว่าเป็นการบังคับแต่งงานแบบประนีประนอม และนี่เป็นหนึ่งในหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อ

    ทีนี้มาเข้าเรื่องหน้าที่แม่สื่อ... สำหรับหน้าที่แม่สื่อนี้ สำนักงานเหมยซึไม่เพียงหาคู่ให้กับผู้ที่ใกล้จะเลยเกณฑ์อายุสูงสุด หากแต่ยังช่วยหาคู่ให้กับผู้ที่ไม่มีพ่อแม่หรือผู้ใหญ่จัดการเรื่องนี้ รวมถึงจัดงานเทศกาลที่บังคับให้หนุ่มสาวออกมาพบปะและดูตัวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นธุระดูแลเรื่องพิธีการต่างๆ ให้ถูกต้องเช่นส่งคนไปช่วยสู่ขอ กำหนดวันแต่งงาน ช่วยจัดงานแต่งงาน และดูแลสินสอดให้เหมาะสม ในบางสมัยถึงกับมีหน้าที่จัดสรรเงินจากงบประมาณแผ่นดินหรือหาคณบดีท้องถิ่นมาเป็นผู้อุปถัมภ์เพื่อให้บุรุษที่ยากจนสามารถมีเงินสินสอดไปแต่งเมียได้ และอย่างในสมัยฉินมีหน้าที่จัดสรรที่ดินทำกินให้คู่บ่าวสาวไปตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ อันเกิดขึ้นในการหมั้นหมายและแต่งงาน

    และจากตัวอย่างที่ยกมาจากบันทึกโจวหลี่ จะเห็นว่าหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อมีอีกส่วนหนึ่งคืองานด้านทะเบียน โดยมีหน้าที่บันทึกว่าใครเกิดเมื่อไหร่แต่งงานแล้วหรือยัง หย่าร้างหรือไม่ รวมถึงดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน เช่นการลงโทษตามกฏหมาย (เช่น หลบหนีการแต่งงาน)

    ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่แม่สื่อในงานพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมงคลสมรสก็คือคนจากสำนักงานเหมยซึนี่เอง หรือที่เรียกว่า ‘แม่สื่อหลวง’ (官媒) แต่ผู้ที่เป็นแม่สื่อหลวงอาจไม่ใช่ขุนนางทุกคน เพราะเขาจะมีการจ้างคนนอกช่วยทำงาน กล่าวคือคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถมีฝีปากเป็นเลิศคล่องแคล่วแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ไม่มีประวัติอาชญากรรม ฯลฯ มาขึ้นทะเบียนเป็นแม่สื่อหลวงที่ต้องออกไปช่วยเจรจาทาบทามสู่ขอ ช่วยทำพิธีการต่างๆ โดยคนเหล่านี้ได้รับค่าจ้างหลวงแต่ไม่ใช่ข้าราชการ และส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือในท้องที่นั้นๆ หรือเป็นผู้ที่ผู้อาวุโสเหล่านี้แนะนำมา

    ในยุคที่รุ่งเรืองมากๆ อย่างสมัยซ่งนั้น กิจการแม่สื่อมืออาชีพก็เฟื่องฟูตาม มีทั้งแม่สื่อฝ่ายชายและแม่สื่อฝ่ายหญิง ในสมัยซ่งถึงขนาดมีแบ่งแยกระดับของแม่สื่อ ในบันทึก ‘ตงจิงเมิ่งหัวลู่’ ที่ให้รายละเอียดวิถีชีวิตและธรรมเนียมปฏิบัติของคนสมัยซ่งเหนือได้กล่าวไว้ว่า แม่สื่อขั้นสูงสุดนั้นมีผ้าโพกศีรษะสวมเสื้อนอกสีม่วง ให้บริการเฉพาะขุนนางและครอบครัวขุนนาง

    และต่อมาพัฒนาขึ้นเป็น ‘แม่สื่อเอกชน’ (私媒) แบบมืออาชีพ กล่าวคือได้ค่าจ้างจากครอบครัวบ่าวสาว แต่ก็ต้องขึ้นทะเบียนกับทางการอยู่ดี

    ทำไมแค่ช่วยสู่ขอช่วยจัดงานแต่งยังต้องทำเป็นทางการขนาดนั้น? นั่นเป็นเพราะว่าแม่สื่อมีหน้าที่และความรับผิดได้ตามกฎหมาย เป็นต้นว่า หากแม่สื่อโฆษณาคุณสมบัติของบุรุษสตรีเกินจริงจนเข้าข่ายบิดเบือนหรือหลอกลวงก็จะมีโทษ; แม่สื่อมีหน้าที่ตรวจสอบและสืบข้อมูลประวัติของทั้งสองครอบครัวเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นการแต่งงานที่เข้าข่ายต้องห้าม (เช่น ข้ามสถานะระหว่างบุคคลธรรมดากับบุคคลในทะเบียนทาส; เป็นพยานสำคัญว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวถูกคนหรือไม่ ตั้งแต่ข้อมูลวันเดือนปีเกิด เอกสารการหมั้นและการรับตัวเจ้าสาว หรือหากรู้เห็นเป็นใจการหนีสมรสก็มีโทษเช่นกัน; เป็นพยานสำคัญว่าสินสอดและสินเดิมเจ้าสาวถูกต้องครบถ้วนตามรายการบัญชีที่ทำ; และอาจเป็นพยานหรือเป็นผู้ช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างครอบครัวบ่าวสาวได้ ฯลฯ

    แม่สื่อเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ เพียงแต่ในยุคที่กิจการแม่สื่อเฟื่องฟู คนที่นิยมทำหน้าที่นี้เป็นสตรีเสียส่วนใหญ่ และจวบจนสมัยชิงยังมีการกล่าวถึงแม่สื่อหลวง โดยมีตัวอย่างจากบทประพันธ์โบราณชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ซึ่งเป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ดังนั้น แม่สื่อหลวงและแม่สื่อเอกชนอยู่คู่กับจีนมาหลายพันปีแล้ว

    และแน่นอนว่า แม่สื่อเอกชนแบบที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางการก็มี เช่นอาจมีการเชิญผู้ใหญ่คนรู้จักไปช่วยพูดจาทาบทาม เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะนึกภาพออกเพราะบ้านเราเรียกว่า ‘เถ้าแก่’ แต่เถ้าแก่นี้ไม่ใช่แม่สื่อหลักเพราะตามกระบวนการของกฎหมายต้องมีแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วช่วยดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแม่สื่อหลวงหรือแม่สื่อเอกชน ดังนั้นในบริบทนี้ บางครอบครัวอาจใช้เถ้าแก่มาเสริม จึงเกิดเป็นสำนวนที่ว่า ‘ซานเหมยลิ่วพิ่น’ ( 三媒六聘/สามแม่สื่อหกพิธีการแต่งงาน) กล่าวคือแม่สื่อหรือเถ้าแก่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และคนกลางซึ่งมักเป็นแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://meihuamag.com/牵线说媒,这行当已有五千年历史/
    http://sino.newdu.com/m/view.php?aid=91147
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.sss.net.cn/106001/30036.aspx
    http://www.heyuanxw.com/2014/wenhua_1216/15238.html
    http://iolaw.cssn.cn/xspl/200607/t20060726_4598436.shtml
    http://www.xinfajia.net/2592.html
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=795664&remap=gb#%娶妇
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_26937009

    #แม่สื่อ #กวนเหมย #ซือเหมย #เหมยซึ #การแต่งงานจีนโบราณ #สาระจีน
    🪭แม่สื่อสมัยโบราณ 🪭 สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับขั้นตอนการสู่ขอและ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ และมีการกล่าวถึงการใช้แม่สื่อ แต่เพื่อนเพจคงไม่ได้อรรถรสว่าจริงๆ แล้วการใช้แม่สื่อมีความสำคัญมาก ในบางยุคสมัยอย่างเช่นสมัยถังถึงกับบัญญัติเป็นกฎหมายไว้ว่าการแต่งงานต้องมีแม่สื่อ เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า มีหน่วยงานรัฐรับหน้าที่แม่สื่อ? ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ ของสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกมีการระบุไว้ว่า: สำนักงาน ‘เหมยซึ’ (媒氏) มีหน้าที่ดูแลการแต่งงานของประชาชน... ทำทะเบียนบันทึกวันเดือนปีเกิดของทุกคนและจัดให้บุรุษแต่งงานเมื่ออายุสามสิบปีและสตรีเมื่ออายุยี่สิบปี... จัดเทศกาลกลางฤดูใบไม้ผลิหรือที่เรียกว่า ‘จงชุนฮุ่ย’ (仲春会) เพื่อเป็นโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะดูตัว... ก่อนจะลงลึกเรื่องหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อเหมยซึนี้ เรามาคุยกันเล็กน้อยเรื่องเกณฑ์อายุสมรสที่กล่าวถึงข้างต้น พวกเราจะคุ้นเคยว่ากฎหมายกำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำไว้ แต่ในสมัยโบราณมีกำหนดเกณฑ์อายุสูงสุดไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้คนแต่งงานมีลูกสืบสกุล ในความเชื่อของคนโบราณคือการไม่มีบุตรสืบสกุลถือเป็นความอกตัญญูอย่างใหญ่หลวง แต่จริงๆ แล้วในมุมมองของรัฐมันมีเหตุผลด้านการพัฒนาประเทศ อย่าลืมว่าแรกเริ่มเลยเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยเกษตรกรรม เมื่อประชากรน้อยผลผลิตก็น้อยรัฐก็จน อีกทั้งในสมัยโบราณมีศึกสงครามและอายุขัยของคนไม่ยาวเหมือนสมัยนี้ ดังนั้นทางการจึงพยายามกระตุ้นให้คนแต่งงานและมีลูกหลานกัน จนถึงขั้นกำหนดเป็นกฎหมายบังคับ เพียงแต่เกณฑ์อายุตามกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อย่างเช่นในสมัยฮั่นบุรุษต้องแต่งงานภายในอายุสามสิบปีและสตรีภายในอายุสิบห้าปี หาไม่แล้วต้องถูกปรับด้วยการจ่ายภาษีเพิ่มเป็นห้าเท่า (ในสมัยนั้นจ่ายภาษีเป็นรายหัว ไม่เกี่ยวกับรายได้) และในสมัยราชวงศ์เหนือใต้กำหนดว่าหากสตรีไม่แต่งงานภายในอายุสิบห้าปีพ่อแม่ต้องโทษจำคุก แต่ในสมัยโบราณก็มีคนที่ไม่ได้แต่งงานภายในอายุที่กฎหมายที่กำหนด บ้างยืดเวลาออกไปเพราะเหตุผลการไว้ทุกข์ให้พ่อแม่ บ้างมีเหตุผลอื่น แต่ Storyฯ ไม่ได้ไปหาข้อมูลต่อว่าแต่ละยุคสมัยเขามีวิธีหลีกเลี่ยงการแต่งงานกันอย่างไร แต่ที่ชัดเจนก็คือว่า ผู้ที่ถึงเกณฑ์อายุสูงสุดแล้วยังไม่ได้แต่งงานจะมีสำนักงานแม่สื่อมาช่วยจัดการหาคู่ให้ โดยมีความพยายามหว่านล้อมให้เจ้าตัวเห็นชอบและมีตัวเลือกให้ ไม่ใช่นึกจะบังคับแต่งกับใครก็บังคับเลย ประมาณว่าเป็นการบังคับแต่งงานแบบประนีประนอม และนี่เป็นหนึ่งในหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อ ทีนี้มาเข้าเรื่องหน้าที่แม่สื่อ... สำหรับหน้าที่แม่สื่อนี้ สำนักงานเหมยซึไม่เพียงหาคู่ให้กับผู้ที่ใกล้จะเลยเกณฑ์อายุสูงสุด หากแต่ยังช่วยหาคู่ให้กับผู้ที่ไม่มีพ่อแม่หรือผู้ใหญ่จัดการเรื่องนี้ รวมถึงจัดงานเทศกาลที่บังคับให้หนุ่มสาวออกมาพบปะและดูตัวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นธุระดูแลเรื่องพิธีการต่างๆ ให้ถูกต้องเช่นส่งคนไปช่วยสู่ขอ กำหนดวันแต่งงาน ช่วยจัดงานแต่งงาน และดูแลสินสอดให้เหมาะสม ในบางสมัยถึงกับมีหน้าที่จัดสรรเงินจากงบประมาณแผ่นดินหรือหาคณบดีท้องถิ่นมาเป็นผู้อุปถัมภ์เพื่อให้บุรุษที่ยากจนสามารถมีเงินสินสอดไปแต่งเมียได้ และอย่างในสมัยฉินมีหน้าที่จัดสรรที่ดินทำกินให้คู่บ่าวสาวไปตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ อันเกิดขึ้นในการหมั้นหมายและแต่งงาน และจากตัวอย่างที่ยกมาจากบันทึกโจวหลี่ จะเห็นว่าหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อมีอีกส่วนหนึ่งคืองานด้านทะเบียน โดยมีหน้าที่บันทึกว่าใครเกิดเมื่อไหร่แต่งงานแล้วหรือยัง หย่าร้างหรือไม่ รวมถึงดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน เช่นการลงโทษตามกฏหมาย (เช่น หลบหนีการแต่งงาน) ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่แม่สื่อในงานพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมงคลสมรสก็คือคนจากสำนักงานเหมยซึนี่เอง หรือที่เรียกว่า ‘แม่สื่อหลวง’ (官媒) แต่ผู้ที่เป็นแม่สื่อหลวงอาจไม่ใช่ขุนนางทุกคน เพราะเขาจะมีการจ้างคนนอกช่วยทำงาน กล่าวคือคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถมีฝีปากเป็นเลิศคล่องแคล่วแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ไม่มีประวัติอาชญากรรม ฯลฯ มาขึ้นทะเบียนเป็นแม่สื่อหลวงที่ต้องออกไปช่วยเจรจาทาบทามสู่ขอ ช่วยทำพิธีการต่างๆ โดยคนเหล่านี้ได้รับค่าจ้างหลวงแต่ไม่ใช่ข้าราชการ และส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือในท้องที่นั้นๆ หรือเป็นผู้ที่ผู้อาวุโสเหล่านี้แนะนำมา ในยุคที่รุ่งเรืองมากๆ อย่างสมัยซ่งนั้น กิจการแม่สื่อมืออาชีพก็เฟื่องฟูตาม มีทั้งแม่สื่อฝ่ายชายและแม่สื่อฝ่ายหญิง ในสมัยซ่งถึงขนาดมีแบ่งแยกระดับของแม่สื่อ ในบันทึก ‘ตงจิงเมิ่งหัวลู่’ ที่ให้รายละเอียดวิถีชีวิตและธรรมเนียมปฏิบัติของคนสมัยซ่งเหนือได้กล่าวไว้ว่า แม่สื่อขั้นสูงสุดนั้นมีผ้าโพกศีรษะสวมเสื้อนอกสีม่วง ให้บริการเฉพาะขุนนางและครอบครัวขุนนาง และต่อมาพัฒนาขึ้นเป็น ‘แม่สื่อเอกชน’ (私媒) แบบมืออาชีพ กล่าวคือได้ค่าจ้างจากครอบครัวบ่าวสาว แต่ก็ต้องขึ้นทะเบียนกับทางการอยู่ดี ทำไมแค่ช่วยสู่ขอช่วยจัดงานแต่งยังต้องทำเป็นทางการขนาดนั้น? นั่นเป็นเพราะว่าแม่สื่อมีหน้าที่และความรับผิดได้ตามกฎหมาย เป็นต้นว่า หากแม่สื่อโฆษณาคุณสมบัติของบุรุษสตรีเกินจริงจนเข้าข่ายบิดเบือนหรือหลอกลวงก็จะมีโทษ; แม่สื่อมีหน้าที่ตรวจสอบและสืบข้อมูลประวัติของทั้งสองครอบครัวเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นการแต่งงานที่เข้าข่ายต้องห้าม (เช่น ข้ามสถานะระหว่างบุคคลธรรมดากับบุคคลในทะเบียนทาส; เป็นพยานสำคัญว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวถูกคนหรือไม่ ตั้งแต่ข้อมูลวันเดือนปีเกิด เอกสารการหมั้นและการรับตัวเจ้าสาว หรือหากรู้เห็นเป็นใจการหนีสมรสก็มีโทษเช่นกัน; เป็นพยานสำคัญว่าสินสอดและสินเดิมเจ้าสาวถูกต้องครบถ้วนตามรายการบัญชีที่ทำ; และอาจเป็นพยานหรือเป็นผู้ช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างครอบครัวบ่าวสาวได้ ฯลฯ แม่สื่อเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ เพียงแต่ในยุคที่กิจการแม่สื่อเฟื่องฟู คนที่นิยมทำหน้าที่นี้เป็นสตรีเสียส่วนใหญ่ และจวบจนสมัยชิงยังมีการกล่าวถึงแม่สื่อหลวง โดยมีตัวอย่างจากบทประพันธ์โบราณชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ซึ่งเป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ดังนั้น แม่สื่อหลวงและแม่สื่อเอกชนอยู่คู่กับจีนมาหลายพันปีแล้ว และแน่นอนว่า แม่สื่อเอกชนแบบที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางการก็มี เช่นอาจมีการเชิญผู้ใหญ่คนรู้จักไปช่วยพูดจาทาบทาม เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะนึกภาพออกเพราะบ้านเราเรียกว่า ‘เถ้าแก่’ แต่เถ้าแก่นี้ไม่ใช่แม่สื่อหลักเพราะตามกระบวนการของกฎหมายต้องมีแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วช่วยดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแม่สื่อหลวงหรือแม่สื่อเอกชน ดังนั้นในบริบทนี้ บางครอบครัวอาจใช้เถ้าแก่มาเสริม จึงเกิดเป็นสำนวนที่ว่า ‘ซานเหมยลิ่วพิ่น’ ( 三媒六聘/สามแม่สื่อหกพิธีการแต่งงาน) กล่าวคือแม่สื่อหรือเถ้าแก่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และคนกลางซึ่งมักเป็นแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://meihuamag.com/牵线说媒,这行当已有五千年历史/ http://sino.newdu.com/m/view.php?aid=91147 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.sss.net.cn/106001/30036.aspx http://www.heyuanxw.com/2014/wenhua_1216/15238.html http://iolaw.cssn.cn/xspl/200607/t20060726_4598436.shtml http://www.xinfajia.net/2592.html https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=795664&remap=gb#%娶妇 https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_26937009 #แม่สื่อ #กวนเหมย #ซือเหมย #เหมยซึ #การแต่งงานจีนโบราณ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 947 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วงนี้มีกระแสเรื่องหนังสือเรียนเด็กชั้นประถมบ้านเรา ทำให้ Storyฯ เกิด ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วในสมัยจีนโบราณ เด็กๆ เรียนอะไร ผ่านตาในซีรีส์ก็จะเห็นเด็กท่องกันไปยาวๆ อย่างเช่นใน <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบลี้> ตอนที่พระเอกลงไปผ่านด่านเคราะห์ในโลกมนุษย์

    วันนี้เลยมาคุยกันคร่าวๆ เรื่องการศึกษาของเด็กในสมัยจีนโบราณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า ‘เหมิงเสวี๋ย’ (蒙学) หมายถึงการเรียนเพื่อปูพื้นฐานหรือก็คือการเรียนของเด็ก

    เริ่มกันจากที่ว่า เขาเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุเท่าไหร่? เรื่องอายุการเริ่มเรียนมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยพร้อมๆ กับการจัดระเบียบด้านการศึกษา เดิมเด็กๆ เริ่มเรียนกันได้ตั้งแต่สี่ขวบ เข้าเรียนได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเปลี่ยนมาเป็นเปิดเทอมตอนฤดูหนาวเป็นหลัก) ต่อมาในสมัยถังเริ่มเรียนกันที่ 6-7 ขวบ ต่อมาสมัยหมิงและชิงมีจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนได้เรียนกันอย่างแพร่หลายโดยมีช่วงอายุ 8-15 ปี

    แล้วเขาเรียนอะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณมีการแบ่งแยกการสอนเด็กเล็กและเด็กโตโดยจัดเนื้อหาแตกต่างกัน มีตัวอย่างให้เห็นจากการเรียนของราชนิกุลสมัยราชวงศ์เซี่ย ซังและโจว แม้แต่ในบทสอนของขงจื๊อก็มีการแยกระหว่างเด็กเล็กเด็กโต สำหรับเด็กเล็กเน้นให้อ่านออกเขียนได้ โตขึ้นอีกหน่อยก็เริ่มเรียนพวกบทกวีและบทความและปูพื้นฐานสำหรับเรียน ‘สี่หนังสือ’ (ซื่อซู/四书) ว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย

    แต่อย่าลืมว่าการเรียนหนังสือแต่เดิมเป็นเอกสิทธิ์ของราชนิกูลและลูกหลานตระกูลผู้ดีหรือลูกหลานข้าราชการ ต่อมาจึงมีการเปิดโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน และมีการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอนมากขึ้น นับแต่สมัยซ่งมา หนังสือสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญและใช้เป็นหลัก เดิมมีอยู่สามเล่ม เรียกรวมว่า ‘สามร้อยพัน’ (ซานป่ายเชียน/三百千) ต่อมาเพิ่มมาอีก ‘พัน’ เป็น ‘สามร้อยพันพัน’ (ซานป่ายเชียนเชียน/三百千千) สรุปได้ดังนี้

    - ‘สาม’ หมายถึง ‘คัมภีร์สามอักษร’ (ซานจื้อจิง /三字经) เป็นตำราที่มีขึ้นในสมัยซ่งใต้ มีทั้งหมด 1,722 อักษร (โอ้โห... สงสารเด็กเลย!) เนื้อหารวมความรู้พื้นฐานเช่น ประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้ทั่วไป (เช่นทิศ เวลา ฤดูกาล) และหลักคุณธรรม ลักษณะการเขียนแบ่งเป็นวรรคละสามอักษร ประโยคละสองวรรค วรรคแรกคือเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง วรรคหลังคือคำอธิบายเหตุผลหรือสาระของมัน เช่น ตัวอย่างสองประโยคแรก อธิบายว่า อันคนเรานั้นแต่เดิมมีจิตใจดี นิสัยใจคอธรรมชาติให้มาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝึกฝนกันไปความแตกต่างก็จะยิ่งมากขึ้น เป็นต้น มีเว็บไทยอธิบายไว้ ลองไปอ่านดูนะคะ (https://pasajeen.com/three-character-classic/)
    - ‘ร้อย’ หมายถึง ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) แต่จริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ ไว้ให้หัดจำตัวอักษร แฝงไว้ซึ่งความสำคัญของวงศ์ตระกูล (สงสารเด็กอีกแล้ว อักษรจีนจำยากนะ)
    - ‘พัน’ หมายถึง ‘บทความพันอักษร’ (เชียนจื้อเหวิน / 千字文) เป็นหนังสือโบราณตั้งแต่ยุคราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 502-549) โดยครั้งนั้นฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ให้ขุนนางเลือกอักษรออกมาหนึ่งพันตัว แล้วเอามาเรียงร้อยจนได้เป็นบทความ แบ่งเป็นวรรคละสี่อักษร Storyฯ ได้ลองอ่านแล้วถึงกับถอดใจว่าอ่านเข้าใจยากมาก ต้องไปอ่านที่เขาแปลมาให้เข้าใจง่ายๆ อีกที สรุปใจความประมาณว่าธาตุทั้งหลายก่อเกิดเป็นสรรพสิ่ง สอดแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปเช่นว่า น้ำทะเลนั้นเค็ม น้ำจืดนั้นรสจาง เล่าต่อเป็นเรื่องการปกครองแว่นแคว้นให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข สอดแทรกหลักคุณธรรมของกษัตริย์ เล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกแนวปฏิบัติเช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ การวางตัวให้มีจริยธรรม การแต่งกายอย่างสะอาดสุภาพ ฯลฯ
    - อีก ‘พัน’ สุดท้ายคือ ‘บทกวีพันเรือน’ (เชียนเจียซือ /千家诗) จัดทำขึ้นในสมัยชิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกวีและวลีเด็ดของยุคสมัยถังและซ่ง (แม้จะมีของสมัยหยวนและหมิงปนมาบ้างแต่น้อยมาก) รวมทั้งสิ้น 226 ชิ้นงาน เน้นการสอนอ่านให้คล่อง ออกเสียงให้ชัด และมีจังหวะจะโคน

    หนังสือเรียนเด็กยังมีอีกไม่น้อย ใครท่องได้ไวเรียนเก่งก็พัฒนาไวไปจนอ่านบันทึกพิธีการโจวหลี่และซื่อซูของขงจื๊อได้แม้จะเป็นแค่เด็กตัวกะเปี๊ยก แต่แค่ที่เขียนมาข้างต้น Storyฯ ก็รู้สึกเหนื่อยแทนแล้ว มิน่าล่ะ เราถึงเห็นฉากในละครบ่อยๆ เวลาเด็กท่องหนังสือก็ร่ายกันไปยาวๆ หัวก็โคลงหมุนไปตามจังหวะการท่องด้วย แล้วเพื่อนเพจล่ะคะ รู้สึกยังไงกันบ้าง?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://www.fakutownee.cn/wenti/yule/16786.html
    https://www.sohu.com/a/584299187_161835
    https://wang-tobeboss.com/archives/1449
    https://www.hrxfw.com/fjbk/fjdj/2682.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/323332934
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/三百千千/10984837
    https://www.lzs100.com/post/565.html
    https://www.sohu.com/a/584299187_161835
    https://baike.baidu.com/item/蒙学/5024354

    #หนังสือเรียนจีนโบราณ #เหมิงเสวี๋ย #คัมภีร์สามอักษร #ซานจื้อจิง #ร้อยตระกูล #ร้อยแซ่ #ป่ายเจียซิ่ง #พันอักษร #เชียนจื้อเหวิน #กวีพันเรือน #เชียนเจียซือ
    ช่วงนี้มีกระแสเรื่องหนังสือเรียนเด็กชั้นประถมบ้านเรา ทำให้ Storyฯ เกิด ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วในสมัยจีนโบราณ เด็กๆ เรียนอะไร ผ่านตาในซีรีส์ก็จะเห็นเด็กท่องกันไปยาวๆ อย่างเช่นใน <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบลี้> ตอนที่พระเอกลงไปผ่านด่านเคราะห์ในโลกมนุษย์ วันนี้เลยมาคุยกันคร่าวๆ เรื่องการศึกษาของเด็กในสมัยจีนโบราณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า ‘เหมิงเสวี๋ย’ (蒙学) หมายถึงการเรียนเพื่อปูพื้นฐานหรือก็คือการเรียนของเด็ก เริ่มกันจากที่ว่า เขาเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุเท่าไหร่? เรื่องอายุการเริ่มเรียนมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยพร้อมๆ กับการจัดระเบียบด้านการศึกษา เดิมเด็กๆ เริ่มเรียนกันได้ตั้งแต่สี่ขวบ เข้าเรียนได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเปลี่ยนมาเป็นเปิดเทอมตอนฤดูหนาวเป็นหลัก) ต่อมาในสมัยถังเริ่มเรียนกันที่ 6-7 ขวบ ต่อมาสมัยหมิงและชิงมีจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนได้เรียนกันอย่างแพร่หลายโดยมีช่วงอายุ 8-15 ปี แล้วเขาเรียนอะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณมีการแบ่งแยกการสอนเด็กเล็กและเด็กโตโดยจัดเนื้อหาแตกต่างกัน มีตัวอย่างให้เห็นจากการเรียนของราชนิกุลสมัยราชวงศ์เซี่ย ซังและโจว แม้แต่ในบทสอนของขงจื๊อก็มีการแยกระหว่างเด็กเล็กเด็กโต สำหรับเด็กเล็กเน้นให้อ่านออกเขียนได้ โตขึ้นอีกหน่อยก็เริ่มเรียนพวกบทกวีและบทความและปูพื้นฐานสำหรับเรียน ‘สี่หนังสือ’ (ซื่อซู/四书) ว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย แต่อย่าลืมว่าการเรียนหนังสือแต่เดิมเป็นเอกสิทธิ์ของราชนิกูลและลูกหลานตระกูลผู้ดีหรือลูกหลานข้าราชการ ต่อมาจึงมีการเปิดโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน และมีการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอนมากขึ้น นับแต่สมัยซ่งมา หนังสือสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญและใช้เป็นหลัก เดิมมีอยู่สามเล่ม เรียกรวมว่า ‘สามร้อยพัน’ (ซานป่ายเชียน/三百千) ต่อมาเพิ่มมาอีก ‘พัน’ เป็น ‘สามร้อยพันพัน’ (ซานป่ายเชียนเชียน/三百千千) สรุปได้ดังนี้ - ‘สาม’ หมายถึง ‘คัมภีร์สามอักษร’ (ซานจื้อจิง /三字经) เป็นตำราที่มีขึ้นในสมัยซ่งใต้ มีทั้งหมด 1,722 อักษร (โอ้โห... สงสารเด็กเลย!) เนื้อหารวมความรู้พื้นฐานเช่น ประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้ทั่วไป (เช่นทิศ เวลา ฤดูกาล) และหลักคุณธรรม ลักษณะการเขียนแบ่งเป็นวรรคละสามอักษร ประโยคละสองวรรค วรรคแรกคือเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง วรรคหลังคือคำอธิบายเหตุผลหรือสาระของมัน เช่น ตัวอย่างสองประโยคแรก อธิบายว่า อันคนเรานั้นแต่เดิมมีจิตใจดี นิสัยใจคอธรรมชาติให้มาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝึกฝนกันไปความแตกต่างก็จะยิ่งมากขึ้น เป็นต้น มีเว็บไทยอธิบายไว้ ลองไปอ่านดูนะคะ (https://pasajeen.com/three-character-classic/) - ‘ร้อย’ หมายถึง ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) แต่จริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ ไว้ให้หัดจำตัวอักษร แฝงไว้ซึ่งความสำคัญของวงศ์ตระกูล (สงสารเด็กอีกแล้ว อักษรจีนจำยากนะ) - ‘พัน’ หมายถึง ‘บทความพันอักษร’ (เชียนจื้อเหวิน / 千字文) เป็นหนังสือโบราณตั้งแต่ยุคราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 502-549) โดยครั้งนั้นฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ให้ขุนนางเลือกอักษรออกมาหนึ่งพันตัว แล้วเอามาเรียงร้อยจนได้เป็นบทความ แบ่งเป็นวรรคละสี่อักษร Storyฯ ได้ลองอ่านแล้วถึงกับถอดใจว่าอ่านเข้าใจยากมาก ต้องไปอ่านที่เขาแปลมาให้เข้าใจง่ายๆ อีกที สรุปใจความประมาณว่าธาตุทั้งหลายก่อเกิดเป็นสรรพสิ่ง สอดแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปเช่นว่า น้ำทะเลนั้นเค็ม น้ำจืดนั้นรสจาง เล่าต่อเป็นเรื่องการปกครองแว่นแคว้นให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข สอดแทรกหลักคุณธรรมของกษัตริย์ เล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกแนวปฏิบัติเช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ การวางตัวให้มีจริยธรรม การแต่งกายอย่างสะอาดสุภาพ ฯลฯ - อีก ‘พัน’ สุดท้ายคือ ‘บทกวีพันเรือน’ (เชียนเจียซือ /千家诗) จัดทำขึ้นในสมัยชิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกวีและวลีเด็ดของยุคสมัยถังและซ่ง (แม้จะมีของสมัยหยวนและหมิงปนมาบ้างแต่น้อยมาก) รวมทั้งสิ้น 226 ชิ้นงาน เน้นการสอนอ่านให้คล่อง ออกเสียงให้ชัด และมีจังหวะจะโคน หนังสือเรียนเด็กยังมีอีกไม่น้อย ใครท่องได้ไวเรียนเก่งก็พัฒนาไวไปจนอ่านบันทึกพิธีการโจวหลี่และซื่อซูของขงจื๊อได้แม้จะเป็นแค่เด็กตัวกะเปี๊ยก แต่แค่ที่เขียนมาข้างต้น Storyฯ ก็รู้สึกเหนื่อยแทนแล้ว มิน่าล่ะ เราถึงเห็นฉากในละครบ่อยๆ เวลาเด็กท่องหนังสือก็ร่ายกันไปยาวๆ หัวก็โคลงหมุนไปตามจังหวะการท่องด้วย แล้วเพื่อนเพจล่ะคะ รู้สึกยังไงกันบ้าง? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://www.fakutownee.cn/wenti/yule/16786.html https://www.sohu.com/a/584299187_161835 https://wang-tobeboss.com/archives/1449 https://www.hrxfw.com/fjbk/fjdj/2682.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/323332934 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/三百千千/10984837 https://www.lzs100.com/post/565.html https://www.sohu.com/a/584299187_161835 https://baike.baidu.com/item/蒙学/5024354 #หนังสือเรียนจีนโบราณ #เหมิงเสวี๋ย #คัมภีร์สามอักษร #ซานจื้อจิง #ร้อยตระกูล #ร้อยแซ่ #ป่ายเจียซิ่ง #พันอักษร #เชียนจื้อเหวิน #กวีพันเรือน #เชียนเจียซือ
    PASAJEEN.COM
    คัมภีร์ภาษาจีน สามอักษร 三字经 | ภาษาจีน.คอม "เปิดโลกอักษรจีน เปิดโลกภาษาจีน"
    เสน่ห์ของ 三字经 อยู่ที่การท่องทีละ 3 คำ และแม้มีการแบ่งคำ แบ่ง 3 คำๆก็จริง ยังแยกเป็นคู่ๆ สังเกตุจากเครื่องหมายวรรคตอน โดย 3 ตัวแรก อาจบอกสาเหตุ 3 ตัวหลังบอกผล หรือ 3 ตัวแรก อาจบอกอะไรสักอย่าง 3 ตัวหลังขยายความ คู่ ที่ 1 人之初,性本善。คู่ที่ 1 3 ตัวแรกบอกว่า กำเนิดของมนุษย์ หรือธรรมชาติดั้งเดิมของคน 3 ตัวหลังบอกว่า พื้นฐานจิตใจมีเมตตากรุณา คู่ ที่ 2 性相近,习相远。 3 ตัวแรกบอกว่า จิตใจอารมณ์มนุษย์ทุกคนธรรมชาติให้มาใกล้เคียง 3 ตัวหลังบอกว่า การฝึกหัด (อาจดีหรือเลว อยู่ที่สิ่งแวดล้อม) ทำให้คนห่างไกลกัน คนเราพื้นฐานล้วนคล้ายคลึงกันคือเป็นคนดี แต่สิ่งแวดล้อมที่ทำให้คนแตกต่างกัน อันนี้เป็นความเชื่อ ที่นำไปสู่ทัศนคติ การอบรม ลัทธิต่างๆอีกมากมาย บางระบบอย่างฝรั่ง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 893 มุมมอง 0 รีวิว
  • ว่าด้วยเรื่องตีกลองร้องฎีกา

    สวัสดีค่ะ ขออภัยที่หายเงียบไปสองสัปดาห์เพราะ Storyฯ งานเข้าและไม่สบายไปหลายวัน วันนี้ยังคงมีเกร็ดเรื่องเล่าจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> มาคุยกัน เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้คงจำได้ว่ามีฉากหนึ่งที่มู่ปา น้องสาวของนางเอกเข้าเมืองหลวงมาตีกลองร้องฎีกาและต้องถูกโบยสามสิบพลองเพราะตีกลองนั้น

    และหากเพื่อนเพจได้ดูละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ก็จะเคยเห็นฉากที่นางเอกตีกลองร้องฎีกาแล้วต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเช่นกัน แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกก็เคยตีกลองร้องฎีกาแต่ไม่ต้องถูกโบย ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นราชวงศ์สมมุติที่อิงจากสมัยถัง

    เรื่องการถูกโบยก่อนได้ร้องทุกข์จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ในวันนี้

    ในสมัยโบราณ ชาวบ้านต้องการร้องทุกข์ก็จะไปดักรอขบวนเสด็จ แต่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน และเพื่อแสดงความห่วงใยในประชาชนของกษัตริย์ จึงมีการกำหนดจุดร้องฎีกาขึ้นเพื่อให้มีขั้นตอนที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ไม่เพียงเพื่อให้ประชาชนร้องทุกข์ แต่เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนออกความเห็นในเรื่องต่างๆ ได้อีกด้วย

    จากบันทึกโจวหลี่ การตีกลองร้องทุกข์มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว (1046 - 256 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีการวางกลองไว้ข้างถนน มีทหารเวรยามดูแล เมื่อมีคนมาตีกลอง ทหารต้องรายงานเบื้องบนจนถึงพระกรรณ

    นอกจากนี้ ยังมีการร้องทุกข์ด้วยการไปยืนอย่างเงียบๆ ข้างหินสีแดงสูงประมาณ 8-9 ฟุต เรียกว่า ‘หินเฟ่ยสือ’ (肺石 แปลตรงตัวว่า ปอดที่ทำจากหิน) สำหรับคนที่ต้องการร้องทุกข์แบบไม่โพนทะนา ยืนสามวัน ทหารที่เฝ้าอยู่ก็จะพาตัวไปรับเรื่องอย่างเงียบๆ

    มีการใช้ระบบร้องทุกข์ทั้งสองแบบนี้ต่อเนื่องกันมาโดยกำหนดสถานที่และหน่วยงานผู้ดูแลแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย และในสมัยถังได้มีการพัฒนาระบบการร้องทุกข์อย่างเข้มข้น มีการแยกกลองร้องทุกข์ออกมาเป็นสองแบบ กลองร้องฎีกาต่อฮ่องเต้เรียกว่ากลอง ‘เติงเหวินกู่’ (登闻鼓 แปลตรงตัวได้ประมาณว่ากลองที่เสียงดังไปถึงราชบัลลังก์ในท้องพระโรง) แตกต่างจากกลองร้องทุกข์ทั่วไปที่ชาวบ้านในตีหน้าศาลหรือหน้าสถานที่ว่าการท้องถิ่นที่เรียกว่า ‘หมิงเยวียนกู่’ (鸣冤鼓)

    มีการบันทึกว่าในสมัยถังนั้น มีการตั้งกลองเติงเหวินกู่และหินเฟ่ยสือที่หน้าประตูอาคารนอกท้องพระโรง และมีทหารยามเฝ้าเพื่อคอยรับเรื่อง (แต่ไม่ได้บอกว่ายังต้องยืนข้างหินเฟ่ยสือนานถึงสามวันหรือไม่) ต่อมาในสมัยจักรพรรดินีบูเช็กเทียนยกเลิกการเฝ้าโดยทหาร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความกลัว และให้มีเจ้าหน้าที่หน่วยตรวจสอบขุนนางหรือที่เรียกว่า ‘อวี้สื่อไถ’ (御史台) มารับคำร้องโดยตรง

    ในยุคสมัยต่อมายังคงมีการใช้กลองเติงเหวินกู่ แต่นานวันเข้า เรื่องที่ได้รับการร้องทุกข์ผ่านการตีกลองเติงเหวินกู่ดูจะพร่ำเพรื่อขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้เป็นเรื่องร้องเรียนขุนนางระดับสูงหรือเรื่องระดับชาติบ้านเมือง จนทำให้ฮ่องเต้ต้องทรงหมดเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ในสมัยซ่งมีคดีร้องทุกข์ที่โด่งดังจนถูกจารึกไว้ในสมัยองค์ซ่งไท่จงว่า มีชาวบ้านมาตีกลองร้องฎีกาตามหาหมูที่หายไป จึงทรงพระราชทานเงินให้เป็นการชดเชย เป็นเรื่องเล่าที่แสดงถึงความ ‘เข้าถึง’ และความใส่พระทัยองค์ฮ่องเต้ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความยิบย่อยของเรื่องที่มีการร้องฏีกา

    ในรัชสมัยต่อมาในราชวงศ์ซ่งจึงมีการพัฒนาระบบการร้องฎีกายิ่งขึ้น โดยกำหนดที่ตั้งกลองเติงเหวินกู่ไว้สามจุด ต่อมายุบเหลือสองจุด โดยมีหน่วยงานที่ดูแลแต่ละจุดและกลั่นกรองเรื่องต่างกัน

    ต่อมาในยุคหมิงและชิงยิ่งมีข้อกำหนดที่เข้มข้นมากขึ้นเกี่ยวกับการตีกลองเติงเหวินกู่ โดยกำหนดให้ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทหารและการบริหารบ้านเมืองที่สำคัญ การทุจริตในระดับสูง หรือเรื่องที่ได้รับความไม่เป็นธรรมอย่างผิดแปลกมากเท่านั้น และในสมัยชิงนี่เองที่มีการกำหนดไว้ว่า ผู้ที่ตีกลองเติงเหวินกู่นั้น ต้องถูกโบยสามสิบพลองก่อน จึงจะยื่นฎีกาได้

    เมื่อกลองเติงเหวินกู่ดัง องค์ราชันมิอาจเพิกเฉย

    เนื่องด้วยเป็นเรื่องที่รู้ถึงพระเนตรพระกรรณ องค์ฮ่องเต้จึงทรงสามารถเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนของหน่วยงานต่างๆ หรือทรงไต่สวนด้วยองค์เองก็ย่อมได้ และท้ายสุดจะทรงเป็นผู้ตัดสินคดีเอง แต่ในความเป็นจริงนั้นกระบวนการร้องฎีกานี้มีการรับเรื่องและตรวจสอบผ่านหน่วยงานต่างๆ ตามขั้นตอน ดังนั้น หนทางสู่การได้รับความยุติธรรมของผู้ที่ร้องทุกข์ก็ไม่ได้ง่ายหรือตรงไปตรงมาอย่างที่เราเห็นในละคร

    แต่ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ชาวบ้านยังสามารถตีกลองร้องทุกข์ปกติหน้าที่ว่าการอำเภอหรือหน้าศาลได้ โดยมีบทกำหนดขั้นตอนและเนื้อหาของเรื่องที่ร้องเรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุและชนชั้นของผู้ที่ต้องการร้องทุกข์อีกด้วย อีกทั้งยังมีบทลงโทษรุนแรงสำหรับผู้ที่ร้องเรียนด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ

    สรุปได้ว่า ในบริบทของสมัยถังนั้น Stoyฯ ไม่พบข้อมูลว่ามีการโบยผู้ตีกลองร้องฏีกาแต่อย่างใด

    ส่วนในสมัยซ่งซึ่งเป็นฉากหลังของละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> และ <ตำนานหมิงหลัน> นั้น Storyฯ อ่านพบบทวิเคราะห์ว่า ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> นั้น นางเอกตีกลองร้องทุกข์ว่าถูกผู้ชายหลอกว่าจะแต่งงานด้วยและพยายามหลอกเงิน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างชัดเจน (คือยังไม่ได้แต่งงานและเงินก็ไม่ได้ถูกเอาไป) อีกทั้งนางเป็นบุตรีของขุนนางที่เคยต้องโทษ จึงต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้กล่าวหาเท็จ แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกไม่ต้องถูกโบยเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับราชสำนักโดยตรงและเป็นการร้องเรียนโดยตัวนางเอกซึ่งมียศสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Storyฯ หาไม่พบข้อมูลอื่นที่มายืนยันว่าในสมัยซ่งมีการโบยผู้ตีกลองร้องฎีกาจริงๆ หากท่านใดเคยผ่านตาผ่านหูมาก็บอกกล่าวกันได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.wpzysq.com/thread-137854.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/登闻鼓/9859346
    https://baike.baidu.com/item/肺石/5742166
    https://www.bj148.org/wh/bl/zh/201907/t20190718_1521655.html
    https://www.163.com/dy/article/GB17LQI20543L1MM.html
    https://www.gugong.net/wenhua/39062.html
    https://www.youtube.com/watch?v=O06IQj2yGKk

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ตำนานหมิงหลัน #สามบุปผาลิขิตฝัน #กระบวนการร้องทุกข์ #ตีกลองร้องทุกข์
    ว่าด้วยเรื่องตีกลองร้องฎีกา สวัสดีค่ะ ขออภัยที่หายเงียบไปสองสัปดาห์เพราะ Storyฯ งานเข้าและไม่สบายไปหลายวัน วันนี้ยังคงมีเกร็ดเรื่องเล่าจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> มาคุยกัน เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้คงจำได้ว่ามีฉากหนึ่งที่มู่ปา น้องสาวของนางเอกเข้าเมืองหลวงมาตีกลองร้องฎีกาและต้องถูกโบยสามสิบพลองเพราะตีกลองนั้น และหากเพื่อนเพจได้ดูละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ก็จะเคยเห็นฉากที่นางเอกตีกลองร้องฎีกาแล้วต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเช่นกัน แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกก็เคยตีกลองร้องฎีกาแต่ไม่ต้องถูกโบย ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นราชวงศ์สมมุติที่อิงจากสมัยถัง เรื่องการถูกโบยก่อนได้ร้องทุกข์จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ในวันนี้ ในสมัยโบราณ ชาวบ้านต้องการร้องทุกข์ก็จะไปดักรอขบวนเสด็จ แต่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน และเพื่อแสดงความห่วงใยในประชาชนของกษัตริย์ จึงมีการกำหนดจุดร้องฎีกาขึ้นเพื่อให้มีขั้นตอนที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ไม่เพียงเพื่อให้ประชาชนร้องทุกข์ แต่เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนออกความเห็นในเรื่องต่างๆ ได้อีกด้วย จากบันทึกโจวหลี่ การตีกลองร้องทุกข์มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว (1046 - 256 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีการวางกลองไว้ข้างถนน มีทหารเวรยามดูแล เมื่อมีคนมาตีกลอง ทหารต้องรายงานเบื้องบนจนถึงพระกรรณ นอกจากนี้ ยังมีการร้องทุกข์ด้วยการไปยืนอย่างเงียบๆ ข้างหินสีแดงสูงประมาณ 8-9 ฟุต เรียกว่า ‘หินเฟ่ยสือ’ (肺石 แปลตรงตัวว่า ปอดที่ทำจากหิน) สำหรับคนที่ต้องการร้องทุกข์แบบไม่โพนทะนา ยืนสามวัน ทหารที่เฝ้าอยู่ก็จะพาตัวไปรับเรื่องอย่างเงียบๆ มีการใช้ระบบร้องทุกข์ทั้งสองแบบนี้ต่อเนื่องกันมาโดยกำหนดสถานที่และหน่วยงานผู้ดูแลแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย และในสมัยถังได้มีการพัฒนาระบบการร้องทุกข์อย่างเข้มข้น มีการแยกกลองร้องทุกข์ออกมาเป็นสองแบบ กลองร้องฎีกาต่อฮ่องเต้เรียกว่ากลอง ‘เติงเหวินกู่’ (登闻鼓 แปลตรงตัวได้ประมาณว่ากลองที่เสียงดังไปถึงราชบัลลังก์ในท้องพระโรง) แตกต่างจากกลองร้องทุกข์ทั่วไปที่ชาวบ้านในตีหน้าศาลหรือหน้าสถานที่ว่าการท้องถิ่นที่เรียกว่า ‘หมิงเยวียนกู่’ (鸣冤鼓) มีการบันทึกว่าในสมัยถังนั้น มีการตั้งกลองเติงเหวินกู่และหินเฟ่ยสือที่หน้าประตูอาคารนอกท้องพระโรง และมีทหารยามเฝ้าเพื่อคอยรับเรื่อง (แต่ไม่ได้บอกว่ายังต้องยืนข้างหินเฟ่ยสือนานถึงสามวันหรือไม่) ต่อมาในสมัยจักรพรรดินีบูเช็กเทียนยกเลิกการเฝ้าโดยทหาร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความกลัว และให้มีเจ้าหน้าที่หน่วยตรวจสอบขุนนางหรือที่เรียกว่า ‘อวี้สื่อไถ’ (御史台) มารับคำร้องโดยตรง ในยุคสมัยต่อมายังคงมีการใช้กลองเติงเหวินกู่ แต่นานวันเข้า เรื่องที่ได้รับการร้องทุกข์ผ่านการตีกลองเติงเหวินกู่ดูจะพร่ำเพรื่อขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้เป็นเรื่องร้องเรียนขุนนางระดับสูงหรือเรื่องระดับชาติบ้านเมือง จนทำให้ฮ่องเต้ต้องทรงหมดเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ในสมัยซ่งมีคดีร้องทุกข์ที่โด่งดังจนถูกจารึกไว้ในสมัยองค์ซ่งไท่จงว่า มีชาวบ้านมาตีกลองร้องฎีกาตามหาหมูที่หายไป จึงทรงพระราชทานเงินให้เป็นการชดเชย เป็นเรื่องเล่าที่แสดงถึงความ ‘เข้าถึง’ และความใส่พระทัยองค์ฮ่องเต้ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความยิบย่อยของเรื่องที่มีการร้องฏีกา ในรัชสมัยต่อมาในราชวงศ์ซ่งจึงมีการพัฒนาระบบการร้องฎีกายิ่งขึ้น โดยกำหนดที่ตั้งกลองเติงเหวินกู่ไว้สามจุด ต่อมายุบเหลือสองจุด โดยมีหน่วยงานที่ดูแลแต่ละจุดและกลั่นกรองเรื่องต่างกัน ต่อมาในยุคหมิงและชิงยิ่งมีข้อกำหนดที่เข้มข้นมากขึ้นเกี่ยวกับการตีกลองเติงเหวินกู่ โดยกำหนดให้ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทหารและการบริหารบ้านเมืองที่สำคัญ การทุจริตในระดับสูง หรือเรื่องที่ได้รับความไม่เป็นธรรมอย่างผิดแปลกมากเท่านั้น และในสมัยชิงนี่เองที่มีการกำหนดไว้ว่า ผู้ที่ตีกลองเติงเหวินกู่นั้น ต้องถูกโบยสามสิบพลองก่อน จึงจะยื่นฎีกาได้ เมื่อกลองเติงเหวินกู่ดัง องค์ราชันมิอาจเพิกเฉย เนื่องด้วยเป็นเรื่องที่รู้ถึงพระเนตรพระกรรณ องค์ฮ่องเต้จึงทรงสามารถเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนของหน่วยงานต่างๆ หรือทรงไต่สวนด้วยองค์เองก็ย่อมได้ และท้ายสุดจะทรงเป็นผู้ตัดสินคดีเอง แต่ในความเป็นจริงนั้นกระบวนการร้องฎีกานี้มีการรับเรื่องและตรวจสอบผ่านหน่วยงานต่างๆ ตามขั้นตอน ดังนั้น หนทางสู่การได้รับความยุติธรรมของผู้ที่ร้องทุกข์ก็ไม่ได้ง่ายหรือตรงไปตรงมาอย่างที่เราเห็นในละคร แต่ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ชาวบ้านยังสามารถตีกลองร้องทุกข์ปกติหน้าที่ว่าการอำเภอหรือหน้าศาลได้ โดยมีบทกำหนดขั้นตอนและเนื้อหาของเรื่องที่ร้องเรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุและชนชั้นของผู้ที่ต้องการร้องทุกข์อีกด้วย อีกทั้งยังมีบทลงโทษรุนแรงสำหรับผู้ที่ร้องเรียนด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ สรุปได้ว่า ในบริบทของสมัยถังนั้น Stoyฯ ไม่พบข้อมูลว่ามีการโบยผู้ตีกลองร้องฏีกาแต่อย่างใด ส่วนในสมัยซ่งซึ่งเป็นฉากหลังของละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> และ <ตำนานหมิงหลัน> นั้น Storyฯ อ่านพบบทวิเคราะห์ว่า ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> นั้น นางเอกตีกลองร้องทุกข์ว่าถูกผู้ชายหลอกว่าจะแต่งงานด้วยและพยายามหลอกเงิน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างชัดเจน (คือยังไม่ได้แต่งงานและเงินก็ไม่ได้ถูกเอาไป) อีกทั้งนางเป็นบุตรีของขุนนางที่เคยต้องโทษ จึงต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้กล่าวหาเท็จ แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกไม่ต้องถูกโบยเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับราชสำนักโดยตรงและเป็นการร้องเรียนโดยตัวนางเอกซึ่งมียศสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Storyฯ หาไม่พบข้อมูลอื่นที่มายืนยันว่าในสมัยซ่งมีการโบยผู้ตีกลองร้องฎีกาจริงๆ หากท่านใดเคยผ่านตาผ่านหูมาก็บอกกล่าวกันได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.wpzysq.com/thread-137854.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/登闻鼓/9859346 https://baike.baidu.com/item/肺石/5742166 https://www.bj148.org/wh/bl/zh/201907/t20190718_1521655.html https://www.163.com/dy/article/GB17LQI20543L1MM.html https://www.gugong.net/wenhua/39062.html https://www.youtube.com/watch?v=O06IQj2yGKk #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ตำนานหมิงหลัน #สามบุปผาลิขิตฝัน #กระบวนการร้องทุกข์ #ตีกลองร้องทุกข์
    WWW.WPZYSQ.COM
    灼灼风流4K[全40集]古装/爱情/2023-4K专区-网盘资源社
    灼灼风流4K[全40集]古装/爱情/2023的网盘资源剧集简介该剧改编自随宇而安的小说《曾风流》。反抗传统婚姻制度、一心考取功名的事业脑女官慕灼华(景甜饰)与沙场沐血折戟、背负国仇家恨的美强惨战神刘衍(冯绍峰饰)彼此救赎、相知相爱,携手攘外安内、守卫国家,终成一代风流人物的故事。[ttreply]2023.灼灼风流4K
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 727 มุมมอง 0 รีวิว
  • Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ

    วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้
    ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน”
    สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น”
    - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์

    บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ

    แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร?

    ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น

    Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา)

    หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ

    อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29
    https://www.sohu.com/a/155060661_701638
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html
    https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645
    https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579
    http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf

    #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้ ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น” - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์ บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร? ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา) หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29 https://www.sohu.com/a/155060661_701638 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645 https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579 http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 730 มุมมอง 0 รีวิว
  • อาหารพกพายามเดินทางไกล

    สัปดาห์ที่แล้วคุยเรื่องเสบียงอาหารของกองทัพ ก็เลยมีความสงสัยว่า แล้วประชาชนธรรมดาเวลาเดินทางไกลกินอะไรกัน? วันนี้เรามาคุยกันสั้นๆ เรื่องนี้ค่ะ

    ในสมัยนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่มีรถม้าและพักแรมกินอาหารตามโรงเตี๊ยมได้ ระยะทางก็ยาวไกล ไม่สะดวกแบกสัมภาระมาก ภาพที่เราเห็นบ่อยในซีรีส์คือสะพายห่อผ้าเดินเท้ากัน และอาหารที่พกก็คือเปี๊ยะหรือแผ่นแป้งปิ้งที่คุยกันไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid021ovimRULhAa1TBPph1nXsGVcPHbNM5ABmNwrzEahckFTPhq1zhUQ4n1aNAjDVuGNl)

    จริงๆ แล้วการทำเปี๊ยะปิ้งไม่ใช่งานง่ายนัก กว่าจะนวดแป้ง (ไม่นับชาวบ้านชนบทที่อาจต้องโม่แป้งเอง) ไหนจะต้องคอยดูไฟไม่ให้แรงเกินไป คอยพลิกแผ่นเปี๊ยะไปมา ทั้งหมดต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมง อีกทั้งข้าวสาลียังแพงกว่าข้าวฟ่าง ไม่ว่าจะทำเปี๊ยะเองหรือหาซื้อ ล้วนสิ้นเปลืองทุนทรัพย์ ดังนั้น หากมีทางเลือกที่ง่ายกว่าประหยัดกว่า ย่อมเป็นที่นิยมของชาวบ้าน

    อีกทางเลือกที่ว่านี้คือ ‘ฉิ่ว’ (糗) เป็นอาหารแห้งสมัยโบราณ คิดค้นกันขึ้นเมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่มีการกล่าวถึงในบันทึกพิธีการราชวงศ์โจว หรือ บันทึกโจวหลี่ว่า ‘ฉิวเอ่อร์เฝิ่นฉือ’(糗饵粉飺) คือก้อนข้าวและแผ่นแป้ง แต่จริงๆ แผ่นแป้งที่ว่านี้ไม่ใช่เปี๊ยะ ส่วนผสมมันเหมือนกันกับฉิ่ว เพียงแต่ฉิ่วหมายถึงปั้นเป็นก้อน ในขณะที่ฉือคือบี้ให้แบนเป็นแผ่น

    แล้วมันคืออะไร?

    มันคือการเอาข้าวที่นึ่งสุกแล้วมาใส่น้ำเล็กน้อยแล้วบีบหรือทุบให้เละเพื่อจะได้จับตัวกัน เสร็จแล้วปั้นเป็นก้อน (คือฉิ่ว) หรือบี้แบนเป็นแผ่น (คือฉือ) แล้วนำไปตากแห้ง แห้งแล้วก็จะหน้าตาคล้ายข้าวตังบ้านเรา ปัจจุบันของจีนเขาก็มีขนมหน้าตาคล้ายกันเรียกว่า ‘กัวปา’ (锅巴) (ดูรูปประกอบ) ซึ่งข้าวที่ว่านี้ในสมัยโบราณก่อนยุคหมิงคือข้าวฟ่างเป็นหลัก

    หน้าตาคล้าย แต่รสชาติไม่กรอบร่วนเหมือนข้าวเกรียบกัวปาปัจจุบัน เนื้อของฉิ่วก็จะแน่นๆ แข็งๆ แน่นอนว่ามันเป็นอาหารกินกันตาย ไม่ใช่กินเพื่อความจรรโลงใจ ชาวบ้านยามเดินทางไกลก็ห่อฉิ่วในผ้าบางหรือตะกร้าเล็กซุกไว้ในห่อผ้า เก็บได้นานถึงเกือบครึ่งเดือน เวลาจะกินก็คล้ายกับการกินเปี๊ยะกัวคุยที่กล่าวถึงไปในสัปดาห์ที่แล้ว กล่าวคือจิ้มน้ำจิ้มให้ชุ่มและนุ่มลงแล้วค่อยกิน บางคนก็มีผักดองหรือเนื้อหมักแห้งพกมากินแกล้มด้วย หรือหากมีโอกาสได้น้ำร้อนน้ำแกงก็เอาฉิ่วจุ้ม/แช่ให้นุ่มแล้วกินก็ได้เช่นกัน นึกภาพว่าข้าวชามหนึ่งสามารถอัดเป็นก้อนได้ขนาดเล็ก ดังนั้นเห็นก้อนเล็กๆ ก็อิ่มไม่น้อย พกจากบ้านไปก็ประหยัดทรัพย์ไปได้หลายวัน

    น้ำจิ้มที่ใช้ก็พวกถั่วหมักเค็มหรือเต้าเจี้ยว ใส่เครื่องปรุงอย่างอื่นบ้าง ใส่ขิงซอยขิงสับบ้าง แต่น้ำจิ้มเป็นน้ำ เขาพกพากันอย่างไร? ง่ายๆ คือเอาไปตากแดดจนน้ำระเหย จาก ‘น้ำ’ จิ้มก็กลายเป็น ‘เปียก’ จิ้ม... คือข้นๆ เหนียวๆ เสร็จแล้วก็ห่อในกระดาษน้ำมัน พกพาได้ง่าย เวลาจะกินก็แบ่งออกมาเติมน้ำผสมให้เหลวหน่อย

    น้ำจิ้มมันเค็มจึงมักมีการตัดเค็มด้วยน้ำส้มสายชู แต่วิธีการพกน้ำส้มสายชูเป็นอะไรที่ Storyฯ ยอมรับว่าเหนือความคาดหมายของข้าพเจ้าเอง สมัยนั้นมีไหมีขวดให้ใช้บรรจุน้ำส้มสายชูได้แต่ก็ไม่สามารถพกติดตัวได้ในปริมาณมาก อีกทั้งยังส่งกลิ่นแรง (มันซึมผ่านผ้าที่จุกฝา) ดังนั้นวิธีพกคือใช้ผ้าสะอาดตัดเป็นแถบแล้วแช่ในน้ำส้มสายชู จากนั้นนำมาตากแห้ง พกเป็นผ้าไป เวลาจะกินก็ตัดผ้าชิ้นเล็กออกมาแช่ในน้ำก็จะได้รสชาติของน้ำส้มสายชูแล้ว

    และไม่ว่าจะเป็นฉิ่ว หรือน้ำจิ้ม หรือวิธีพกน้ำส้มสายชูที่กล่าวถึงข้างต้น ไม่เพียงใช้โดยชาวบ้านธรรมดา แต่ในกองทัพก็ใช้เช่นกัน Storyฯ หาไม่พบข้อมูลว่าฉิ่วหายไปจากวิถีชีวิตของชาวบ้านตั้งแต่เมื่อไหร่ สันนิษฐานเอาเองว่าหายไปเมื่อสารพัดชนิดของเปี๊ยะมีมากขึ้นและราคาถูกลง

    เชื่อว่าวิธีเตรียมและพกพาอาหารแห้งเหล่านี้ ของไทยเราก็น่าจะมีอะไรคล้ายคลึงที่สืบทอดเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านมาเช่นกัน แต่ Storyฯ ไม่รู้จักมากนัก ใครมีเรื่องเล่าที่ฟังมาจากผู้ใหญ่หรือคนรุ่นก่อน นำมาเล่าแบ่งปันกันด้วยนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://www.sohu.com/a/690825754_121115947
    https://www.sohu.com/a/712914583_121338666
    https://m.fx361.com/news/2022/0630/10495172.html
    https://www.sohu.com/a/443453413_120946747
    https://www.sohu.com/a/476806140_120018480
    https://cidian.qianp.com/ci/%E7%B3%97%E9%A5%B5
    https://www.zhihu.com/question/558888787/answer/2718324984
    https://www.meishichina.com/mofang/shaobing/

    #สยบรักจอมเสเพล #กัวปา #ฉิ่ว #เสบียงแห้งโบราณ
    อาหารพกพายามเดินทางไกล สัปดาห์ที่แล้วคุยเรื่องเสบียงอาหารของกองทัพ ก็เลยมีความสงสัยว่า แล้วประชาชนธรรมดาเวลาเดินทางไกลกินอะไรกัน? วันนี้เรามาคุยกันสั้นๆ เรื่องนี้ค่ะ ในสมัยนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่มีรถม้าและพักแรมกินอาหารตามโรงเตี๊ยมได้ ระยะทางก็ยาวไกล ไม่สะดวกแบกสัมภาระมาก ภาพที่เราเห็นบ่อยในซีรีส์คือสะพายห่อผ้าเดินเท้ากัน และอาหารที่พกก็คือเปี๊ยะหรือแผ่นแป้งปิ้งที่คุยกันไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid021ovimRULhAa1TBPph1nXsGVcPHbNM5ABmNwrzEahckFTPhq1zhUQ4n1aNAjDVuGNl) จริงๆ แล้วการทำเปี๊ยะปิ้งไม่ใช่งานง่ายนัก กว่าจะนวดแป้ง (ไม่นับชาวบ้านชนบทที่อาจต้องโม่แป้งเอง) ไหนจะต้องคอยดูไฟไม่ให้แรงเกินไป คอยพลิกแผ่นเปี๊ยะไปมา ทั้งหมดต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมง อีกทั้งข้าวสาลียังแพงกว่าข้าวฟ่าง ไม่ว่าจะทำเปี๊ยะเองหรือหาซื้อ ล้วนสิ้นเปลืองทุนทรัพย์ ดังนั้น หากมีทางเลือกที่ง่ายกว่าประหยัดกว่า ย่อมเป็นที่นิยมของชาวบ้าน อีกทางเลือกที่ว่านี้คือ ‘ฉิ่ว’ (糗) เป็นอาหารแห้งสมัยโบราณ คิดค้นกันขึ้นเมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่มีการกล่าวถึงในบันทึกพิธีการราชวงศ์โจว หรือ บันทึกโจวหลี่ว่า ‘ฉิวเอ่อร์เฝิ่นฉือ’(糗饵粉飺) คือก้อนข้าวและแผ่นแป้ง แต่จริงๆ แผ่นแป้งที่ว่านี้ไม่ใช่เปี๊ยะ ส่วนผสมมันเหมือนกันกับฉิ่ว เพียงแต่ฉิ่วหมายถึงปั้นเป็นก้อน ในขณะที่ฉือคือบี้ให้แบนเป็นแผ่น แล้วมันคืออะไร? มันคือการเอาข้าวที่นึ่งสุกแล้วมาใส่น้ำเล็กน้อยแล้วบีบหรือทุบให้เละเพื่อจะได้จับตัวกัน เสร็จแล้วปั้นเป็นก้อน (คือฉิ่ว) หรือบี้แบนเป็นแผ่น (คือฉือ) แล้วนำไปตากแห้ง แห้งแล้วก็จะหน้าตาคล้ายข้าวตังบ้านเรา ปัจจุบันของจีนเขาก็มีขนมหน้าตาคล้ายกันเรียกว่า ‘กัวปา’ (锅巴) (ดูรูปประกอบ) ซึ่งข้าวที่ว่านี้ในสมัยโบราณก่อนยุคหมิงคือข้าวฟ่างเป็นหลัก หน้าตาคล้าย แต่รสชาติไม่กรอบร่วนเหมือนข้าวเกรียบกัวปาปัจจุบัน เนื้อของฉิ่วก็จะแน่นๆ แข็งๆ แน่นอนว่ามันเป็นอาหารกินกันตาย ไม่ใช่กินเพื่อความจรรโลงใจ ชาวบ้านยามเดินทางไกลก็ห่อฉิ่วในผ้าบางหรือตะกร้าเล็กซุกไว้ในห่อผ้า เก็บได้นานถึงเกือบครึ่งเดือน เวลาจะกินก็คล้ายกับการกินเปี๊ยะกัวคุยที่กล่าวถึงไปในสัปดาห์ที่แล้ว กล่าวคือจิ้มน้ำจิ้มให้ชุ่มและนุ่มลงแล้วค่อยกิน บางคนก็มีผักดองหรือเนื้อหมักแห้งพกมากินแกล้มด้วย หรือหากมีโอกาสได้น้ำร้อนน้ำแกงก็เอาฉิ่วจุ้ม/แช่ให้นุ่มแล้วกินก็ได้เช่นกัน นึกภาพว่าข้าวชามหนึ่งสามารถอัดเป็นก้อนได้ขนาดเล็ก ดังนั้นเห็นก้อนเล็กๆ ก็อิ่มไม่น้อย พกจากบ้านไปก็ประหยัดทรัพย์ไปได้หลายวัน น้ำจิ้มที่ใช้ก็พวกถั่วหมักเค็มหรือเต้าเจี้ยว ใส่เครื่องปรุงอย่างอื่นบ้าง ใส่ขิงซอยขิงสับบ้าง แต่น้ำจิ้มเป็นน้ำ เขาพกพากันอย่างไร? ง่ายๆ คือเอาไปตากแดดจนน้ำระเหย จาก ‘น้ำ’ จิ้มก็กลายเป็น ‘เปียก’ จิ้ม... คือข้นๆ เหนียวๆ เสร็จแล้วก็ห่อในกระดาษน้ำมัน พกพาได้ง่าย เวลาจะกินก็แบ่งออกมาเติมน้ำผสมให้เหลวหน่อย น้ำจิ้มมันเค็มจึงมักมีการตัดเค็มด้วยน้ำส้มสายชู แต่วิธีการพกน้ำส้มสายชูเป็นอะไรที่ Storyฯ ยอมรับว่าเหนือความคาดหมายของข้าพเจ้าเอง สมัยนั้นมีไหมีขวดให้ใช้บรรจุน้ำส้มสายชูได้แต่ก็ไม่สามารถพกติดตัวได้ในปริมาณมาก อีกทั้งยังส่งกลิ่นแรง (มันซึมผ่านผ้าที่จุกฝา) ดังนั้นวิธีพกคือใช้ผ้าสะอาดตัดเป็นแถบแล้วแช่ในน้ำส้มสายชู จากนั้นนำมาตากแห้ง พกเป็นผ้าไป เวลาจะกินก็ตัดผ้าชิ้นเล็กออกมาแช่ในน้ำก็จะได้รสชาติของน้ำส้มสายชูแล้ว และไม่ว่าจะเป็นฉิ่ว หรือน้ำจิ้ม หรือวิธีพกน้ำส้มสายชูที่กล่าวถึงข้างต้น ไม่เพียงใช้โดยชาวบ้านธรรมดา แต่ในกองทัพก็ใช้เช่นกัน Storyฯ หาไม่พบข้อมูลว่าฉิ่วหายไปจากวิถีชีวิตของชาวบ้านตั้งแต่เมื่อไหร่ สันนิษฐานเอาเองว่าหายไปเมื่อสารพัดชนิดของเปี๊ยะมีมากขึ้นและราคาถูกลง เชื่อว่าวิธีเตรียมและพกพาอาหารแห้งเหล่านี้ ของไทยเราก็น่าจะมีอะไรคล้ายคลึงที่สืบทอดเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านมาเช่นกัน แต่ Storyฯ ไม่รู้จักมากนัก ใครมีเรื่องเล่าที่ฟังมาจากผู้ใหญ่หรือคนรุ่นก่อน นำมาเล่าแบ่งปันกันด้วยนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://www.sohu.com/a/690825754_121115947 https://www.sohu.com/a/712914583_121338666 https://m.fx361.com/news/2022/0630/10495172.html https://www.sohu.com/a/443453413_120946747 https://www.sohu.com/a/476806140_120018480 https://cidian.qianp.com/ci/%E7%B3%97%E9%A5%B5 https://www.zhihu.com/question/558888787/answer/2718324984 https://www.meishichina.com/mofang/shaobing/ #สยบรักจอมเสเพล #กัวปา #ฉิ่ว #เสบียงแห้งโบราณ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 809 มุมมอง 0 รีวิว
  • โล่วหู นาฬิกาหยดน้ำโบราณ

    สวัสดีค่ะ วันนี้เราอยู่กันกับซีรีส์เรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ

    หลายท่านคงทราบว่านาฬิกาโบราณนั้น มีนาฬิกาแดด นาฬิกาทรายและนาฬิกาหยดน้ำ ก่อนจะพัฒนามาเป็นนาฬิกากลไกที่ใช้เฟือง มีบทความเกี่ยวกับนาฬิกาโบราณไม่น้อยให้เพื่อนเพจได้ค้นหาอ่านกัน วันนี้ Storyฯ มาขยายความเรื่องนาฬิกาน้ำแบบหยดน้ำ เพราะที่เห็นในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> มันสวยเตะตาเหลือเกิน (แต่จนใจหาฉากที่เห็นรูปนาฬิกาแบบเต็มเรือนมาให้ดูไม่ได้)

    นาฬิกาหยดน้ำที่เห็นในซีรีส์เรื่องนี้มีองค์ประกอบและหลักการทำงานโดยสรุปดังนี้ (ดูรูปประกอบ): เป็นโถใส่น้ำอยู่ด้านบน ปล่อยให้น้ำค่อยๆ หยดลงบนถาด เมื่อน้ำปริ่มจนได้ระดับก็จะหยดลงในอ่างด้านล่าง ในอ่างด้านล่างมีไม้บรรทัดตั้งอยู่โดยเสียบผ่านถาดไม้บนอ่าง บนไม้บรรทัดมีขีดบอกเวลาสิบสองชั่วยาม เมื่อระดับน้ำในอ่างรับน้ำมีมากขึ้นไม้ก็จะค่อยๆ ลอยขึ้น ระดับความสูงของขอบถาดอยู่ตรงขีดไม้บรรทัดขีดไหนก็คือเวลานั้นๆ

    ดูจากหลักการทำงานตามที่กล่าวมาข้างต้น Storyฯ คิดว่านาฬิการุ่นนี้เป็นแบบขั้นบันได พูดแล้วเพื่อนเพจคงงงว่าเป็นแบบขั้นบันไดอย่างไร ก่อนอื่นมาดูรูปแบบของนาฬิกาหยดน้ำโบราณกันค่ะ

    นาฬิกาหยดน้ำเรียกว่า ‘โล่วหู’ (漏壶 แปลตรงตัวว่าโถที่มีรู) มีดีไซน์หลากหลาย แต่สามารถจัดหมวดหมู่ได้เป็นสามกลุ่มตามหลักการที่ใช้ สรุปดังนี้

    1. แบบระบายน้ำ (泄水型 /เซี่ยสุ่ยสิง หรือ 沉箭漏 / เฉินเจี้ยนโล่ว): นี่เป็นแบบแรกเริ่มของนาฬิกาหยดน้ำในจีน โดยหลักการคือใช้โถปล่อยน้ำที่มีท่อเล็กระบายน้ำที่ส่วนล่าง ฝาโถมีรูให้เสียบก้านไม้ที่มีเส้นขีดบอกเวลาเพื่อว่าก้านไม้จะได้ไม่เอียง ด้านล่างของก้านไม้ยึดอยู่บนถาดที่ลอยอยู่ในโถ (ดูรูปประกอบ) เมื่อน้ำค่อยๆ หยดระบายออก ก้านไม้ในโถก็จะค่อยๆ ลดระดับ เมื่อมองจากด้านนอกก็จะเห็นว่าขีดบอกเวลาอยู่ที่ระดับใด โบราณวัตถุที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยค้นพบเจอนั้นเป็นของสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 202 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 008)

    ข้อเสียของนาฬิกาหยดน้ำแบบระบายน้ำนี้ก็คือ ความช้าเร็วในการหยดของน้ำจะแตกต่างกันเมื่อระดับปริมาณน้ำในโถที่ลดลง เป็นเรื่องของแรงดันน้ำอันเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก คือน้ำในโถปล่อยยิ่งมาก แรงดันยิ่งสูง ก็จะยิ่งหยดเร็ว

    2. แบบสะสมน้ำ (受水型 /โซ่วสุ่ยสิง หรือ 浮箭漏/ฝูเจี้ยนโล่ว): ว่ากันว่านาฬิกาแบบนี้มีมาแต่สมัยฮั่นตะวันตกในช่วงปลายราชวงศ์ โดยหลักการคือเอาก้านไม้ที่บอกเวลาไปลอยไว้ในโถหรืออ่างรับน้ำที่วางอยู่ข้างล่าง เมื่อโถรับน้ำมีปริมาณน้ำสะสมมากขึ้นก็จะดันให้ก้านไม้ค่อยๆ ลอยสูงขึ้นพ้นขอบ ก็จะเห็นว่าขีดบอกเวลาอยู่ที่ขีดเวลาใด (ดูรูปประกอบเพื่อเปรียบเทียบ) เป็นหลักการที่พยายามแก้ไขปัญหาความเพี้ยนของการบอกเวลา

    แต่... มันยังไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ดี ดังนั้น จึงเกิดเป็นแบบที่สามขึ้นมา

    3. แบบขั้นบันได (阶梯式 /เจี้ยทีซึ): คือมีโถปล่อยน้ำเรียงหลายขั้นลดหลั่นกันลงมา แรกเริ่มคือเป็นโถปล่อยน้ำ 2 ขั้น มีใช้ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25-220 ) ต่อมาเพิ่มโถปล่อยน้ำอีกหลาย ในราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เป็นโถปล่อยน้ำ 3 ขั้น หลักการทำงานคือมีก้านไม้บอกเวลาลอยอยู่ในโถรับน้ำ (เหมือนแบบสะสมน้ำ) แต่ที่เพิ่มเติมคือมีการรักษาให้ปริมาตรของน้ำจากโถปล่อยน้ำมีความคงที่ด้วยการแบ่งเป็นหลายโถ โถขั้นกลางและล่างจะได้มีปริมาตรและแรงดันที่ค่อนข้างคงที่ ยิ่งจำนวนโถปล่อยน้ำขั้นกลางมีมากเท่าไหร่ น้ำที่หยดลงสู่อ่างรับน้ำก็จะยิ่งมีระยะห่างที่สม่ำเสมอ เป็นการสร้างเสถียรภาพในการบอกเวลาได้ดี

    แต่มันก็ยังไม่แม่นยำนัก ต่อมาในยุคหลังจึงเกิดนาฬิกากลไกขึ้นมา

    Storyฯ เล่าหลักการแบบง่ายๆ นะคะ แต่ในความเป็นจริงต้องมีการคำนวณอย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นความกว้างความสูงของทุกชิ้นส่วนของภาชนะ การตีเส้นบนก้านไม้ ตำแหน่งความสูงของหลอดปล่อยน้ำ ฯลฯ

    กลับมาที่นาฬิกาเรือนสวยลายนกเป็ดน้ำในซีรีส์ <เล่ห์รักวังคุนหนิง>... ที่ Storyฯ บอกว่ามันเป็นนาฬิกาหยดน้ำแบบขั้นบันไดก็เพราะว่ามีการรักษาปริมาตรของน้ำเพื่อให้น้ำหยดลงในระยะห่างที่คงที่ด้วยการใช้ถาดใบบัวมาขั้นนั่นเอง (ดูรูปประกอบ) แน่นอนว่ามันมีหน้าตาสวยงามกว่าต้นแบบที่ต้องใช้โถหลายใบวางเรียงกันแต่ก็คงแม่นยำไม่เท่าด้วย

    นาฬิกาหยดน้ำเป็นสิ่งประดิษฐ์ของจีนหรือว่าได้รับอิทธิพลมาจากทางตะวันตก? เรื่องนี้คำตอบไม่แน่ชัด บ้างบอกว่าได้รับอิทธิพลมาจากฝั่งตะวันตกเพราะดูจากหลักฐานโบราณวัตถุที่ค้นพบในจีนนั้นเป็นของยุคสมัยฮั่นตะวันตก แต่นาฬิกาหยดน้ำที่ใช้ในโลกตะวันตกมีต้นแบบมาจากสมัยบาบีโลนของอียิปต์ (ประมาณพันห้าร้อยปีก่อนคริสตกาล) เป็นแบบระบายน้ำเรียกว่า clepsydra โดยของฝั่งโลกตะวันตกไม่ได้ใช้ก้านไม้ขีดเส้นลอยอยู่ในน้ำ แต่เป็นการบากเส้นขึ้นในภาชนะและจะใช้เป็นภาชนะปากกว้างเช่นอ่างเพื่อให้เห็นเส้นขีดบอกเวลาภายใน

    แต่มีบางบทความอ้างอิงว่าในบันทึกโจวหลี่มีการเขียนไว้ว่า ในสมัยราชวงศ์ซางมีตำแหน่งข้าราชการที่เรียกว่า ‘เชี่ยหูซึ’ (挈壶氏) มีหน้าที่คอยดูเวลาที่นาฬิกาหยดน้ำ บ่งบอกว่านาฬิกาหยดน้ำมีใช้ในจีนโบราณมาตั้งแต่สี่พันปีที่แล้ว

    จริงๆ ในซีรีส์เรื่องนี้มีนาฬิกาโบราณแบบอื่นให้เห็นด้วย มีเพื่อนเพจท่านใดจำได้บ้างไหม?

    หมายเหตุ: แก้ไขรูปประกอบที่ผิดพลาดเมื่อวันที่ 17/5 เวลา 16.30น. นะคะ ขออภัยที่สร้างความสับสนมาก่อนหน้านี้

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/582597735
    http://www.chinajl.com.cn/jiliangqiwu/57554.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://art.people.com.cn/n/2014/0521/c206244-25043967.html
    https://www.cctv.com/geography/news/20030514/7.html#:~:text=中国最早的漏壶,或“浮箭漏”。
    https://zh.wikipedia.org/wiki/水鐘
    http://m.cnwest.com/sxxw/a/2021/12/21/20176664.html

    #เล่ห์รักวังคุนหนิง #นาฬิกาโบราณ #นาฬิกาหยดน้ำ #โล่วหู
    โล่วหู นาฬิกาหยดน้ำโบราณ สวัสดีค่ะ วันนี้เราอยู่กันกับซีรีส์เรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ หลายท่านคงทราบว่านาฬิกาโบราณนั้น มีนาฬิกาแดด นาฬิกาทรายและนาฬิกาหยดน้ำ ก่อนจะพัฒนามาเป็นนาฬิกากลไกที่ใช้เฟือง มีบทความเกี่ยวกับนาฬิกาโบราณไม่น้อยให้เพื่อนเพจได้ค้นหาอ่านกัน วันนี้ Storyฯ มาขยายความเรื่องนาฬิกาน้ำแบบหยดน้ำ เพราะที่เห็นในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> มันสวยเตะตาเหลือเกิน (แต่จนใจหาฉากที่เห็นรูปนาฬิกาแบบเต็มเรือนมาให้ดูไม่ได้) นาฬิกาหยดน้ำที่เห็นในซีรีส์เรื่องนี้มีองค์ประกอบและหลักการทำงานโดยสรุปดังนี้ (ดูรูปประกอบ): เป็นโถใส่น้ำอยู่ด้านบน ปล่อยให้น้ำค่อยๆ หยดลงบนถาด เมื่อน้ำปริ่มจนได้ระดับก็จะหยดลงในอ่างด้านล่าง ในอ่างด้านล่างมีไม้บรรทัดตั้งอยู่โดยเสียบผ่านถาดไม้บนอ่าง บนไม้บรรทัดมีขีดบอกเวลาสิบสองชั่วยาม เมื่อระดับน้ำในอ่างรับน้ำมีมากขึ้นไม้ก็จะค่อยๆ ลอยขึ้น ระดับความสูงของขอบถาดอยู่ตรงขีดไม้บรรทัดขีดไหนก็คือเวลานั้นๆ ดูจากหลักการทำงานตามที่กล่าวมาข้างต้น Storyฯ คิดว่านาฬิการุ่นนี้เป็นแบบขั้นบันได พูดแล้วเพื่อนเพจคงงงว่าเป็นแบบขั้นบันไดอย่างไร ก่อนอื่นมาดูรูปแบบของนาฬิกาหยดน้ำโบราณกันค่ะ นาฬิกาหยดน้ำเรียกว่า ‘โล่วหู’ (漏壶 แปลตรงตัวว่าโถที่มีรู) มีดีไซน์หลากหลาย แต่สามารถจัดหมวดหมู่ได้เป็นสามกลุ่มตามหลักการที่ใช้ สรุปดังนี้ 1. แบบระบายน้ำ (泄水型 /เซี่ยสุ่ยสิง หรือ 沉箭漏 / เฉินเจี้ยนโล่ว): นี่เป็นแบบแรกเริ่มของนาฬิกาหยดน้ำในจีน โดยหลักการคือใช้โถปล่อยน้ำที่มีท่อเล็กระบายน้ำที่ส่วนล่าง ฝาโถมีรูให้เสียบก้านไม้ที่มีเส้นขีดบอกเวลาเพื่อว่าก้านไม้จะได้ไม่เอียง ด้านล่างของก้านไม้ยึดอยู่บนถาดที่ลอยอยู่ในโถ (ดูรูปประกอบ) เมื่อน้ำค่อยๆ หยดระบายออก ก้านไม้ในโถก็จะค่อยๆ ลดระดับ เมื่อมองจากด้านนอกก็จะเห็นว่าขีดบอกเวลาอยู่ที่ระดับใด โบราณวัตถุที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยค้นพบเจอนั้นเป็นของสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 202 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 008) ข้อเสียของนาฬิกาหยดน้ำแบบระบายน้ำนี้ก็คือ ความช้าเร็วในการหยดของน้ำจะแตกต่างกันเมื่อระดับปริมาณน้ำในโถที่ลดลง เป็นเรื่องของแรงดันน้ำอันเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก คือน้ำในโถปล่อยยิ่งมาก แรงดันยิ่งสูง ก็จะยิ่งหยดเร็ว 2. แบบสะสมน้ำ (受水型 /โซ่วสุ่ยสิง หรือ 浮箭漏/ฝูเจี้ยนโล่ว): ว่ากันว่านาฬิกาแบบนี้มีมาแต่สมัยฮั่นตะวันตกในช่วงปลายราชวงศ์ โดยหลักการคือเอาก้านไม้ที่บอกเวลาไปลอยไว้ในโถหรืออ่างรับน้ำที่วางอยู่ข้างล่าง เมื่อโถรับน้ำมีปริมาณน้ำสะสมมากขึ้นก็จะดันให้ก้านไม้ค่อยๆ ลอยสูงขึ้นพ้นขอบ ก็จะเห็นว่าขีดบอกเวลาอยู่ที่ขีดเวลาใด (ดูรูปประกอบเพื่อเปรียบเทียบ) เป็นหลักการที่พยายามแก้ไขปัญหาความเพี้ยนของการบอกเวลา แต่... มันยังไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ดี ดังนั้น จึงเกิดเป็นแบบที่สามขึ้นมา 3. แบบขั้นบันได (阶梯式 /เจี้ยทีซึ): คือมีโถปล่อยน้ำเรียงหลายขั้นลดหลั่นกันลงมา แรกเริ่มคือเป็นโถปล่อยน้ำ 2 ขั้น มีใช้ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25-220 ) ต่อมาเพิ่มโถปล่อยน้ำอีกหลาย ในราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เป็นโถปล่อยน้ำ 3 ขั้น หลักการทำงานคือมีก้านไม้บอกเวลาลอยอยู่ในโถรับน้ำ (เหมือนแบบสะสมน้ำ) แต่ที่เพิ่มเติมคือมีการรักษาให้ปริมาตรของน้ำจากโถปล่อยน้ำมีความคงที่ด้วยการแบ่งเป็นหลายโถ โถขั้นกลางและล่างจะได้มีปริมาตรและแรงดันที่ค่อนข้างคงที่ ยิ่งจำนวนโถปล่อยน้ำขั้นกลางมีมากเท่าไหร่ น้ำที่หยดลงสู่อ่างรับน้ำก็จะยิ่งมีระยะห่างที่สม่ำเสมอ เป็นการสร้างเสถียรภาพในการบอกเวลาได้ดี แต่มันก็ยังไม่แม่นยำนัก ต่อมาในยุคหลังจึงเกิดนาฬิกากลไกขึ้นมา Storyฯ เล่าหลักการแบบง่ายๆ นะคะ แต่ในความเป็นจริงต้องมีการคำนวณอย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นความกว้างความสูงของทุกชิ้นส่วนของภาชนะ การตีเส้นบนก้านไม้ ตำแหน่งความสูงของหลอดปล่อยน้ำ ฯลฯ กลับมาที่นาฬิกาเรือนสวยลายนกเป็ดน้ำในซีรีส์ <เล่ห์รักวังคุนหนิง>... ที่ Storyฯ บอกว่ามันเป็นนาฬิกาหยดน้ำแบบขั้นบันไดก็เพราะว่ามีการรักษาปริมาตรของน้ำเพื่อให้น้ำหยดลงในระยะห่างที่คงที่ด้วยการใช้ถาดใบบัวมาขั้นนั่นเอง (ดูรูปประกอบ) แน่นอนว่ามันมีหน้าตาสวยงามกว่าต้นแบบที่ต้องใช้โถหลายใบวางเรียงกันแต่ก็คงแม่นยำไม่เท่าด้วย นาฬิกาหยดน้ำเป็นสิ่งประดิษฐ์ของจีนหรือว่าได้รับอิทธิพลมาจากทางตะวันตก? เรื่องนี้คำตอบไม่แน่ชัด บ้างบอกว่าได้รับอิทธิพลมาจากฝั่งตะวันตกเพราะดูจากหลักฐานโบราณวัตถุที่ค้นพบในจีนนั้นเป็นของยุคสมัยฮั่นตะวันตก แต่นาฬิกาหยดน้ำที่ใช้ในโลกตะวันตกมีต้นแบบมาจากสมัยบาบีโลนของอียิปต์ (ประมาณพันห้าร้อยปีก่อนคริสตกาล) เป็นแบบระบายน้ำเรียกว่า clepsydra โดยของฝั่งโลกตะวันตกไม่ได้ใช้ก้านไม้ขีดเส้นลอยอยู่ในน้ำ แต่เป็นการบากเส้นขึ้นในภาชนะและจะใช้เป็นภาชนะปากกว้างเช่นอ่างเพื่อให้เห็นเส้นขีดบอกเวลาภายใน แต่มีบางบทความอ้างอิงว่าในบันทึกโจวหลี่มีการเขียนไว้ว่า ในสมัยราชวงศ์ซางมีตำแหน่งข้าราชการที่เรียกว่า ‘เชี่ยหูซึ’ (挈壶氏) มีหน้าที่คอยดูเวลาที่นาฬิกาหยดน้ำ บ่งบอกว่านาฬิกาหยดน้ำมีใช้ในจีนโบราณมาตั้งแต่สี่พันปีที่แล้ว จริงๆ ในซีรีส์เรื่องนี้มีนาฬิกาโบราณแบบอื่นให้เห็นด้วย มีเพื่อนเพจท่านใดจำได้บ้างไหม? หมายเหตุ: แก้ไขรูปประกอบที่ผิดพลาดเมื่อวันที่ 17/5 เวลา 16.30น. นะคะ ขออภัยที่สร้างความสับสนมาก่อนหน้านี้ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/582597735 http://www.chinajl.com.cn/jiliangqiwu/57554.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://art.people.com.cn/n/2014/0521/c206244-25043967.html https://www.cctv.com/geography/news/20030514/7.html#:~:text=中国最早的漏壶,或“浮箭漏”。 https://zh.wikipedia.org/wiki/水鐘 http://m.cnwest.com/sxxw/a/2021/12/21/20176664.html #เล่ห์รักวังคุนหนิง #นาฬิกาโบราณ #นาฬิกาหยดน้ำ #โล่วหู
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 570 มุมมอง 0 รีวิว
  • หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 4 ‘ซู’ และ ‘ซู่’

    ผ่านมาหลายสัปดาห์กับหกทักษะของสุภาพบุรุษจากตระกูลสูงศักดิ์ หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือ(หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数)

    สัปดาห์นี้มาคุยกันถึงสองทักษะสุดท้าย ซึ่งไม่ตื่นตาตื่นใจเท่าสัปดาห์ที่แล้ว และในบันทึกโจวหลี่ไม่ได้มีการขยายความเพิ่มเติม เพียงระบุไว้ว่าต้องมีทักษะที่ห้า คือ ‘ลิ่วซู’ หรือหกอักษร และทักษะที่หกคือ ‘จิ่วซู่’ หรือเก้าคำนวณ และชนรุ่นหลังจึงต้องอาศัยหนังสืออื่นในสมัยฮั่นที่บรรยายเพิ่มเติมถึงสองทักษะนี้

    สำหรับทักษะที่ห้า ‘ซู’ หรืออักษรนี้ เพื่อนเพจอย่าได้เข้าใจผิดว่ามันหมายถึงงานโคลงกลอนวรรณกรรมชั้นสูง หรือการเขียนพู่กันรูปแบบอักษรต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพราะจริงๆ แล้วมันเป็นทักษะพื้นฐานในการเขียนอ่านสำหรับเด็กเมื่อเริ่มเรียนหนังสือเมื่อกว่าสามพันปีที่แล้ว สรุปได้ดังนี้
    (1) เซี่ยงสิง (象形/Pictogram) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงสิ่งของหรือสิ่งมีชีวิตที่เรามองเห็น ซึ่งเพื่อนเพจอย่าลืมว่าแรกเริ่มการเขียนของมนุษย์เรามาจากการวาดภาพ อักขระที่ใช้ในสมัยจีนบรรพกาลตามที่เราเห็นบนกระดูกโบราณก็เป็นลักษณะคล้ายภาพวาด อย่างเช่นอักษร ‘เหริน’ (人) ที่แปลว่าคน ก็คือมาจากการวาดรูปคนเดิน เป็นต้น
    (2) จื่อซื่อ (指事/Indicatives) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงความคิดความรู้สึกที่เราจับต้องไม่ได้ เช่น ตัวเลขจีนหรือคำว่าบนล่าง (‘ซ่างเซี่ย’ / 上下) เป็นต้น
    (3) ฮุ่ยอี้ (会意/Associative Compound) คืออักษรประสมที่เกิดจากการประกอบอักษรเดี่ยว (เซี่ยงสิงหรือจื่อซื่อ) มากกว่าหนึ่งอักษรเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นอีกความหมายหนึ่ง เช่น ‘จ้ง’ (众) ประกอบด้วยอักษร ‘เหริน’ สามตัว หมายถึงกลุ่มคน เป็นต้น
    (4) สิงเซิง (形声/Pictophonetic Compound) คืออักษรประสมที่ใช้อักษรหลักเดียวกัน แต่อาศัยอักษรข้างหรืออักษรบนล่างผันเสียงและ/หรือสร้างความหมายให้แตกต่างกันไป เช่น 绸 调 鲷 雕 และ 竿 笼 笔 筷 签 เป็นต้น ประเด็นนี้เพื่อนเพจที่ได้เรียนภาษาจีนจะเข้าใจได้ดีกว่าที่ Storyฯ อธิบาย

    สี่อักษรข้างต้นนั้น เป็นการวางรากฐานการเขียนและอักษรจีน แต่อีกสองอักษรที่เหลือเป็นหลักการการใช้ศัพท์ กล่าวคือ
    (5) จ่วนจู้ (转注/ Shared Component Characters) คืออักษรประสมที่อาจเขียนและออกเสียงแตกต่างแต่มีความหมายเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีเงื่อนไขว่าอักษรนี้ต้องมีอักษรประกอบ (คืออักษรข้างหรืออักษรบนล่าง) ที่เหมือนกัน มีเสียงอ่านใกล้เคียงกัน และใช้อธิบายความหมายของกันและกันได้ ทั้งนี้เพราะแต่ละพื้นที่ของจีนมีภาษาท้องถิ่นที่ออกเสียงแตกต่างกันไปจึงอาจมีการใช้อักษรบางตัวแตกต่างกันไป แต่หากเข้าใจหลักการของ ‘จ่วนจู้’ ก็จะสามารถเข้าใจความหมายของอักษรที่แตกต่างกันไปเหล่านั้นได้ เช่น ‘คง’ (空) แปลว่าว่างเปล่า และ ‘เชี่ยว’ (窍) แปลว่ารู เป็นต้น
    (6) เจี่ยเจี้ย (假借/Phonetic Loans) คือการยืมอักษรที่ออกเสียงเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมาใช้แทนกัน ซึ่งในสมัยโบราณมีการใช้ทักษะนี้ในการแต่งบทกลอนไม่น้อย และยังเห็นได้ในพวกคำมงคลต่างๆ เช่นคำว่า ‘เต้า’ (倒) ที่แปลว่ากลับหัว ถูกนำมาใช้ในบริบทของการติดป้ายมงคลกลับหัวเพื่อเรียกแทนคำว่า ‘เต้า’ (到) ที่แปลว่ามาถึง หรืออีกกรณีหนึ่งคือเจี่ยเจี้ยอาจหมายถึงการเอาอักษรหนึ่งมาใช้ในอีกบริบทหนึ่งจนเกิดเป็นความหมายใหม่ขึ้นมา เช่นคำว่า ‘ลิ่ง’ (令) ซึ่งแปลว่าคำสั่ง ต่อมาถูกนำมาใช้รวมกับคำอื่นจนแปลว่าผู้นำหรือผู้มีอำนาจสั่งการอย่าง ‘เซี่ยนลิ่ง’ (县令) คือผู้ว่าการอำเภอ เป็นต้น และอักษรเจี่ยเจี้ยเหล่านี้ นานวันเข้าก็เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย

    ส่วนทักษะการคำนวณหรือ ‘จิ่วซู่’ นั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดมากเพราะว่ามาตรฐานและหน่วยวัดต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้วตามกาลเวลา ขอสรุปสั้นๆ พอให้เห็นภาพว่า เก้าคำนวณนี้ประกอบด้วย

    (1) ฟางเถียน (方田) ซึ่งก็คือการคำนวณขนาดของพื้นที่ โจทย์โดยหลักคือที่นา
    (2) ซู่หมี่ (粟米) คือการคำนวณปริมาณตามน้ำหนักของข้าวและธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวฟ่างน้ำหนักเท่านี้เทียบเท่ากับข้าวเจ้าน้ำหนักเท่าไหร่ เป็นต้น
    (3) ซวยเฟิน (衰分) แปลตรงตัวคือการซอยย่อยหรือการหาร
    (4) สาวก่วง (少广) แปลตรงตัวคือเพิ่มจากน้อยไปมาก ซึ่งก็คือการคูณ
    (5) ซังกง (商功) คือการคำนวณปริมาตรของรูปทรงต่างๆ ใช้สำหรับงานก่อสร้าง
    (6) จวินซู (均输) คือการคำนวณเปรียบเทียบอัตราส่วน เช่น เมื่อวานมีเกลือจำนวนเท่านี้ ขนส่งมาด้วยระยะทางหนึ่งร้อยหลี่ คิดเป็นเงินเท่านี้ ถ้าวันนี้มีเกลือน้อยลงหนึ่งส่วนสี่ ขนส่งด้วยระยะทางแปดสิบหลี่ ควรคิดเป็นเงินเท่าไหร่ เป็นต้น
    (7) อิ๋งปู้จู๋ (盈不足) แปลตรงตัวคือกำไรขาดทุน ซึ่งก็คือการแก้สมการโดยมีโจทย์เป็นการคำนวณเงินๆ ทองๆ เช่น หากจะซื้อรถม้าสักคัน ถ้าออกเงินคนละห้าตำลึง จะขาดเงินเก้าสิบตำลึง ถ้าออกเงินคนละห้าสิบห้าตำลึง จะมีเงินเหลือสิบตำลึง ถามว่ามีคนออกเงินกี่คนและรถม้าราคาเท่าไหร่ เป็นต้น
    (8) ฟางเฉิง (方程) คือการแก้สมการ เช่น มีวัวห้าตัวแพะสองตัว รวมเป็นมูลค่าสิบตำลึง แต่ถ้าวัวสองตัวแพะห้าตัวจะรวมมูลค่าได้แปดตำลึง ถามว่าวัวและแพะต่างมีราคาเท่าไหร่ เป็นต้น
    (9) โกวกู่ (勾股) คือการคำนวณความสัมพันธ์ในเรขาคณิต (Pythagoras' theorem) เช่นการคำนวณองศาและความยาว เป็นอีกหนึ่งทักษะสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง

    จะเห็นได้ว่า ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าการยิงธนู ห้าการขับขี่ หกอักษร และ เก้าคำนวณ) จริงๆ แล้วก็คือพื้นฐานการเรียนการสอนซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในยุคสมัยนั้น พื้นฐานเหล่านี้ถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยมาตลอด แต่เรียกได้ว่าหกทักษะที่กำหนดไว้เมื่อกว่าสี่พันปีที่แล้วนี้ก็คือพื้นฐานของหลักสูตรการศึกษาจวบจนปัจจุบัน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html
    https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    https://www.sohu.com/a/584032470_121288924
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    https://www.sohu.com/a/584032470_121288924
    https://baike.baidu.com/item/汉字造字法/4018743
    https://studycli.org/zh-CN/chinese-characters/types-of-chinese-characters/
    https://ctext.org/nine-chapters/zhs

    #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน

    หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 4 ‘ซู’ และ ‘ซู่’ ผ่านมาหลายสัปดาห์กับหกทักษะของสุภาพบุรุษจากตระกูลสูงศักดิ์ หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือ(หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数) สัปดาห์นี้มาคุยกันถึงสองทักษะสุดท้าย ซึ่งไม่ตื่นตาตื่นใจเท่าสัปดาห์ที่แล้ว และในบันทึกโจวหลี่ไม่ได้มีการขยายความเพิ่มเติม เพียงระบุไว้ว่าต้องมีทักษะที่ห้า คือ ‘ลิ่วซู’ หรือหกอักษร และทักษะที่หกคือ ‘จิ่วซู่’ หรือเก้าคำนวณ และชนรุ่นหลังจึงต้องอาศัยหนังสืออื่นในสมัยฮั่นที่บรรยายเพิ่มเติมถึงสองทักษะนี้ สำหรับทักษะที่ห้า ‘ซู’ หรืออักษรนี้ เพื่อนเพจอย่าได้เข้าใจผิดว่ามันหมายถึงงานโคลงกลอนวรรณกรรมชั้นสูง หรือการเขียนพู่กันรูปแบบอักษรต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพราะจริงๆ แล้วมันเป็นทักษะพื้นฐานในการเขียนอ่านสำหรับเด็กเมื่อเริ่มเรียนหนังสือเมื่อกว่าสามพันปีที่แล้ว สรุปได้ดังนี้ (1) เซี่ยงสิง (象形/Pictogram) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงสิ่งของหรือสิ่งมีชีวิตที่เรามองเห็น ซึ่งเพื่อนเพจอย่าลืมว่าแรกเริ่มการเขียนของมนุษย์เรามาจากการวาดภาพ อักขระที่ใช้ในสมัยจีนบรรพกาลตามที่เราเห็นบนกระดูกโบราณก็เป็นลักษณะคล้ายภาพวาด อย่างเช่นอักษร ‘เหริน’ (人) ที่แปลว่าคน ก็คือมาจากการวาดรูปคนเดิน เป็นต้น (2) จื่อซื่อ (指事/Indicatives) คืออักษรภาพที่เป็นอักษรเดี่ยว วาดขึ้นเพื่อบรรยายหรือสะท้อนถึงความคิดความรู้สึกที่เราจับต้องไม่ได้ เช่น ตัวเลขจีนหรือคำว่าบนล่าง (‘ซ่างเซี่ย’ / 上下) เป็นต้น (3) ฮุ่ยอี้ (会意/Associative Compound) คืออักษรประสมที่เกิดจากการประกอบอักษรเดี่ยว (เซี่ยงสิงหรือจื่อซื่อ) มากกว่าหนึ่งอักษรเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นอีกความหมายหนึ่ง เช่น ‘จ้ง’ (众) ประกอบด้วยอักษร ‘เหริน’ สามตัว หมายถึงกลุ่มคน เป็นต้น (4) สิงเซิง (形声/Pictophonetic Compound) คืออักษรประสมที่ใช้อักษรหลักเดียวกัน แต่อาศัยอักษรข้างหรืออักษรบนล่างผันเสียงและ/หรือสร้างความหมายให้แตกต่างกันไป เช่น 绸 调 鲷 雕 และ 竿 笼 笔 筷 签 เป็นต้น ประเด็นนี้เพื่อนเพจที่ได้เรียนภาษาจีนจะเข้าใจได้ดีกว่าที่ Storyฯ อธิบาย สี่อักษรข้างต้นนั้น เป็นการวางรากฐานการเขียนและอักษรจีน แต่อีกสองอักษรที่เหลือเป็นหลักการการใช้ศัพท์ กล่าวคือ (5) จ่วนจู้ (转注/ Shared Component Characters) คืออักษรประสมที่อาจเขียนและออกเสียงแตกต่างแต่มีความหมายเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีเงื่อนไขว่าอักษรนี้ต้องมีอักษรประกอบ (คืออักษรข้างหรืออักษรบนล่าง) ที่เหมือนกัน มีเสียงอ่านใกล้เคียงกัน และใช้อธิบายความหมายของกันและกันได้ ทั้งนี้เพราะแต่ละพื้นที่ของจีนมีภาษาท้องถิ่นที่ออกเสียงแตกต่างกันไปจึงอาจมีการใช้อักษรบางตัวแตกต่างกันไป แต่หากเข้าใจหลักการของ ‘จ่วนจู้’ ก็จะสามารถเข้าใจความหมายของอักษรที่แตกต่างกันไปเหล่านั้นได้ เช่น ‘คง’ (空) แปลว่าว่างเปล่า และ ‘เชี่ยว’ (窍) แปลว่ารู เป็นต้น (6) เจี่ยเจี้ย (假借/Phonetic Loans) คือการยืมอักษรที่ออกเสียงเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมาใช้แทนกัน ซึ่งในสมัยโบราณมีการใช้ทักษะนี้ในการแต่งบทกลอนไม่น้อย และยังเห็นได้ในพวกคำมงคลต่างๆ เช่นคำว่า ‘เต้า’ (倒) ที่แปลว่ากลับหัว ถูกนำมาใช้ในบริบทของการติดป้ายมงคลกลับหัวเพื่อเรียกแทนคำว่า ‘เต้า’ (到) ที่แปลว่ามาถึง หรืออีกกรณีหนึ่งคือเจี่ยเจี้ยอาจหมายถึงการเอาอักษรหนึ่งมาใช้ในอีกบริบทหนึ่งจนเกิดเป็นความหมายใหม่ขึ้นมา เช่นคำว่า ‘ลิ่ง’ (令) ซึ่งแปลว่าคำสั่ง ต่อมาถูกนำมาใช้รวมกับคำอื่นจนแปลว่าผู้นำหรือผู้มีอำนาจสั่งการอย่าง ‘เซี่ยนลิ่ง’ (县令) คือผู้ว่าการอำเภอ เป็นต้น และอักษรเจี่ยเจี้ยเหล่านี้ นานวันเข้าก็เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนทักษะการคำนวณหรือ ‘จิ่วซู่’ นั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดมากเพราะว่ามาตรฐานและหน่วยวัดต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้วตามกาลเวลา ขอสรุปสั้นๆ พอให้เห็นภาพว่า เก้าคำนวณนี้ประกอบด้วย (1) ฟางเถียน (方田) ซึ่งก็คือการคำนวณขนาดของพื้นที่ โจทย์โดยหลักคือที่นา (2) ซู่หมี่ (粟米) คือการคำนวณปริมาณตามน้ำหนักของข้าวและธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวฟ่างน้ำหนักเท่านี้เทียบเท่ากับข้าวเจ้าน้ำหนักเท่าไหร่ เป็นต้น (3) ซวยเฟิน (衰分) แปลตรงตัวคือการซอยย่อยหรือการหาร (4) สาวก่วง (少广) แปลตรงตัวคือเพิ่มจากน้อยไปมาก ซึ่งก็คือการคูณ (5) ซังกง (商功) คือการคำนวณปริมาตรของรูปทรงต่างๆ ใช้สำหรับงานก่อสร้าง (6) จวินซู (均输) คือการคำนวณเปรียบเทียบอัตราส่วน เช่น เมื่อวานมีเกลือจำนวนเท่านี้ ขนส่งมาด้วยระยะทางหนึ่งร้อยหลี่ คิดเป็นเงินเท่านี้ ถ้าวันนี้มีเกลือน้อยลงหนึ่งส่วนสี่ ขนส่งด้วยระยะทางแปดสิบหลี่ ควรคิดเป็นเงินเท่าไหร่ เป็นต้น (7) อิ๋งปู้จู๋ (盈不足) แปลตรงตัวคือกำไรขาดทุน ซึ่งก็คือการแก้สมการโดยมีโจทย์เป็นการคำนวณเงินๆ ทองๆ เช่น หากจะซื้อรถม้าสักคัน ถ้าออกเงินคนละห้าตำลึง จะขาดเงินเก้าสิบตำลึง ถ้าออกเงินคนละห้าสิบห้าตำลึง จะมีเงินเหลือสิบตำลึง ถามว่ามีคนออกเงินกี่คนและรถม้าราคาเท่าไหร่ เป็นต้น (8) ฟางเฉิง (方程) คือการแก้สมการ เช่น มีวัวห้าตัวแพะสองตัว รวมเป็นมูลค่าสิบตำลึง แต่ถ้าวัวสองตัวแพะห้าตัวจะรวมมูลค่าได้แปดตำลึง ถามว่าวัวและแพะต่างมีราคาเท่าไหร่ เป็นต้น (9) โกวกู่ (勾股) คือการคำนวณความสัมพันธ์ในเรขาคณิต (Pythagoras' theorem) เช่นการคำนวณองศาและความยาว เป็นอีกหนึ่งทักษะสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง จะเห็นได้ว่า ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าการยิงธนู ห้าการขับขี่ หกอักษร และ เก้าคำนวณ) จริงๆ แล้วก็คือพื้นฐานการเรียนการสอนซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในยุคสมัยนั้น พื้นฐานเหล่านี้ถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยมาตลอด แต่เรียกได้ว่าหกทักษะที่กำหนดไว้เมื่อกว่าสี่พันปีที่แล้วนี้ก็คือพื้นฐานของหลักสูตรการศึกษาจวบจนปัจจุบัน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU https://www.sohu.com/a/584032470_121288924 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 https://www.sohu.com/a/584032470_121288924 https://baike.baidu.com/item/汉字造字法/4018743 https://studycli.org/zh-CN/chinese-characters/types-of-chinese-characters/ https://ctext.org/nine-chapters/zhs #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    《度华年》定档0626 赵今麦张凌赫入宿命循环局_商业频道_中华网
    今日,由赵今麦、张凌赫领衔主演的古装轻喜剧《度华年》官宣定档6月26日于优酷全网独播。该剧由青梅影业、浙江影视集团、优酷出品,袁玉梅担任总制片人兼艺术总监,高翊浚执导,饶俊编剧。
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1006 มุมมอง 0 รีวิว
  • หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 3 ‘เซ่อ’ และ ‘อวี้’

    วันนี้มาคุยกันต่อถึงหกทักษะของสุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺 ) (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งถูกกล่าวถึงในหลากหลายละครและนิยายจีนโบราณ และเป็นพื้นฐานความรู้ด้านต่างๆ

    ในบันทึกโจวหลี่ระบุไว้ว่า หกทักษะนี้ในรายละเอียดแบ่งเป็น ห้าพิธีการ (หลี่/礼) หกดนตรี (เยวี่ย/乐) ห้าธนู (เซ่อ/射) ห้าขับขี่ (อวี้/御) หกอักษร (ซู/书) และเก้าคำนวณ (ซู่/数) เราคุยกันไปแล้วถึงสองทักษะ วันนี้มาคุยกันต่อค่ะ

    ทักษะที่สามก็คือทักษะยิงธนู เป็นพื้นฐานการฝึกฝนด้านสมาธิ การตัดสินใจและพละกำลัง

    เรามักเห็นในซีรีส์เวลาแสดงความสามารถด้านการธนูที่ทำให้ผู้ชมร้องว้าวว่า เป็นการยิงสามดอกในทีเดียวหรือยิงซ้อนดอกแรกทะลุเข้าเป้า จริงๆ แล้วทักษะการยิงธนูห้าแบบตามหลักการโบราณคืออะไร?

    การยิงธนูห้าแบบตามตำราสรุปได้คือ:
    (1) ไป๋สื่อ (白矢) คือการยิงที่เน้นความแม่นยำและพละกำลัง โจทย์ของมันก็คือยิงตรงๆ ให้เข้าเป้าอย่างแรงจนทะลุเป้าออกไปเห็นหัวลูกศรโผล่ออกมาที่ด้านหลัง เป็นที่มาของคำว่า ‘ไป๋สื่อ’ ซึ่งแปลตรงตัวว่าหัวธนูสีขาว
    (2) ชานเหลียน (参连) เป็นการยิงตรงๆ หนึ่งดอกให้เข้าเป้า แล้วค่อยตามติดรัวๆ อีกสามดอก โดยแต่ละดอกจะปักเข้าที่ปลายท้ายของธนูดอกก่อนหน้านั้น เรียงกันเป็นแถวตรงยาว ไม่เอนเอียง ซึ่งนั่นหมายความว่าดอกแรกต้องฝังลึกพอที่จะยึดน้ำหนักของธนูได้สี่ดอก และดอกหลังๆ ก็ต้องฝังลึกพอที่ยึดน้ำหนักได้เช่นกัน เรียกได้ว่าการยิงแบบนี้ต้องทั้งแม่น ตรงและแรง
    (3) เหยียนจู้ (剡注) เป็นการยิงขึ้นสูงให้วิถีของธนูโค้งขึ้นแล้วปักลงกลางเป้าโดยมีลักษณะหางชี้เอียงขึ้น มีการบรรยายไว้ว่าเป็นการยิงอย่างเร็ว (คือไม่เล็งนาน) และแรงจนได้ยินเสียงเสียดสีของปีกธนูดังหวิวๆ ดั่งเสียงร้องของนก
    (4) เซียงฉื่อ (襄尺) เป็นหลักปฏิบัติยามข้าราชสำนักยิงธนูพร้อมกับกษัตริย์ ให้ข้าราชสำนักถอยหลังหนึ่งฉื่อ (ประมาณ 10 นิ้ว) เพื่อแสดงถึงความเคารพ ไม่มีข้อมูลมากกว่านี้ แต่มันทำให้ Storyฯ อดคิดไม่ได้ว่า ถ้าอย่างนี้เวลาเราฝึกก็ต้องฝึกให้แม่นทั้งสองระยะ แม้ว่าระยะทั้งสองจะแตกต่างกันเพียงประมาณไม่ถึงฟุต
    (5) จิ่งอี๋ (井儀) เป็นการยิงที่ยากที่สุด คือการยิงรัวๆ สี่ดอก ทุกดอกทะลุเป้าจนเห็นหัวลูกศรโผล่ออกมาด้านหลังของเป้า ธนูสี่ดอกปักเรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมพอดีดั่งสี่เหลี่ยมในตัวอักษร ‘จิ่ง’ (井) หรือหากยิงนก คือยิงได้เรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมบนตัวนกเช่นกัน

    ต่อมาคือทักษะที่สี่ ‘อวี้’ ซึ่งหมายถึงทักษะการขับรถและหมายรวมถึงทักษะการทำศึกหรือล่าสัตว์ด้วยรถ จากรูปประกอบจะเห็นว่ารถม้าส่วนใหญ่ในสมัยนั้นเป็นรถแบบไม่มีประทุน การฝึกฝนทักษะนี้เป็นการฝึกความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและปลูกฝังความใส่ใจและความรับผิดชอบต่อผู้อื่นด้วย

    การขับรถม้าทั้งห้าแบบนี้คือ
    (1) หมิงเหอหลวน (鸣和鸾) เป็นการขับรถให้กับผู้ที่สูงศักดิ์นั่ง เช่นกษัตริย์ โดย ‘เหอ’ ในที่นี้หมายถึงกระดิ่งที่แขวนไว้บนราวจับมือของผู้โดยสารและ ‘หลวน’ คือกระดิ่งที่แขวนอยู่บนแอกเหนือตัวสัตว์ที่ลากรถ และการขับรถม้าแบบที่เรียกว่า ‘หมิงเหอหลวน’ นี้ คือขับรถอย่างเสถียรนิ่มนวลให้จังหวะเดินของสัตว์และจังหวะการโยกหรือกระเด้งของตัวรถเป็นจังหวะเดียวกัน เพื่อว่าเสียงกระดิ่งทั้งสองนี้จะดังขึ้นอย่างพร้อมเพรียงกัน
    (2) จู๋สุ่ยชวี (逐水曲) เป็นการขับรถให้โค้งตามขอบน้ำที่คดเคี้ยวได้โดยไม่ให้รถเสียศูนย์หรือร่วงลงน้ำ ซึ่งเป็นการฝึกให้สามารถบังคับรถม้าในยามที่ต้องเลี้ยวไปเลี้ยวมาในสภาวะฉุกเฉิน
    (3) กั้วจวินเปี่ยว (过君表) เป็นการขับรถผ่านซุ้มประตูที่มีปักธงไว้ (ปกติบ่งบอกว่าเป็นทางเดินรถของขบวนเสด็จ) ซึ่งจะมีการวางหมุดหรือดุมหินให้ยื่นออกมาคุ้มกันธงที่เสาประตูทั้งสองข้าง และทักษะนี้คือการขับรถผ่านซุ้มประตูโดยไม่ชนดุมหินของเสาประตูนี้ ว่ากันว่าขนาดของรถและซุ้มประตูสมัยนั้นจะทำให้เหลือช่องไฟระหว่างดุมล้อและหินกันธงเพียงข้างละห้านิ้วเท่านั้น
    (4) อู่เจียวฉวี (舞交衢) คือการบังคับให้รถเลี้ยวเมื่อถึงทางแยกของถนนได้อย่างเร็วและมีจังหวะประหนึ่งหมุนตัวเต้นรำ ซึ่ง Storyฯ ก็นึกภาพไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ก็จินตนาการเอาเองว่าก็คงเหมือนเวลาที่เรากะจังหวะรถให้เลี้ยวโค้งได้อย่างเร็วโดยไม่เสียศูนย์กระมัง
    (5) จู๋ฉินจั่ว (逐禽左) เป็นเทคนิคในการขับรถล่าสัตว์ โดยต้อนสัตว์ให้ไปอยู่ทางซ้ายของรถแล้วค่อยยิงด้วยธนู นี่เป็นการฝึกปรือเพื่อใช้จริงในการศึกด้วย

    เป็นอย่างไรคะ ไม่ง่ายเลยทั้งการยิงธนูและการขับรถ เพื่อนเพจว่าไหม? เรามาคุยกันต่อเกี่ยวกับทักษะที่เหลือสัปดาห์หน้าค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    https://www.sohu.com/a/716142814_116162
    https://sports.sina.cn/others/mashu/2017-07-07/detail-ifyhwehx5318583.d.html
    https://www.sgss8.net/tpdq/10845310/1.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    https://mychistory.com/a001-2/11-04
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083
    http://www.leafarchery.com/nd.jsp?fromColId=105&id=3
    https://kknews.cc/car/p88yjrp.html
    https://www.sohu.com/a/459650524_121052969

    #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน

    หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 3 ‘เซ่อ’ และ ‘อวี้’ วันนี้มาคุยกันต่อถึงหกทักษะของสุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺 ) (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งถูกกล่าวถึงในหลากหลายละครและนิยายจีนโบราณ และเป็นพื้นฐานความรู้ด้านต่างๆ ในบันทึกโจวหลี่ระบุไว้ว่า หกทักษะนี้ในรายละเอียดแบ่งเป็น ห้าพิธีการ (หลี่/礼) หกดนตรี (เยวี่ย/乐) ห้าธนู (เซ่อ/射) ห้าขับขี่ (อวี้/御) หกอักษร (ซู/书) และเก้าคำนวณ (ซู่/数) เราคุยกันไปแล้วถึงสองทักษะ วันนี้มาคุยกันต่อค่ะ ทักษะที่สามก็คือทักษะยิงธนู เป็นพื้นฐานการฝึกฝนด้านสมาธิ การตัดสินใจและพละกำลัง เรามักเห็นในซีรีส์เวลาแสดงความสามารถด้านการธนูที่ทำให้ผู้ชมร้องว้าวว่า เป็นการยิงสามดอกในทีเดียวหรือยิงซ้อนดอกแรกทะลุเข้าเป้า จริงๆ แล้วทักษะการยิงธนูห้าแบบตามหลักการโบราณคืออะไร? การยิงธนูห้าแบบตามตำราสรุปได้คือ: (1) ไป๋สื่อ (白矢) คือการยิงที่เน้นความแม่นยำและพละกำลัง โจทย์ของมันก็คือยิงตรงๆ ให้เข้าเป้าอย่างแรงจนทะลุเป้าออกไปเห็นหัวลูกศรโผล่ออกมาที่ด้านหลัง เป็นที่มาของคำว่า ‘ไป๋สื่อ’ ซึ่งแปลตรงตัวว่าหัวธนูสีขาว (2) ชานเหลียน (参连) เป็นการยิงตรงๆ หนึ่งดอกให้เข้าเป้า แล้วค่อยตามติดรัวๆ อีกสามดอก โดยแต่ละดอกจะปักเข้าที่ปลายท้ายของธนูดอกก่อนหน้านั้น เรียงกันเป็นแถวตรงยาว ไม่เอนเอียง ซึ่งนั่นหมายความว่าดอกแรกต้องฝังลึกพอที่จะยึดน้ำหนักของธนูได้สี่ดอก และดอกหลังๆ ก็ต้องฝังลึกพอที่ยึดน้ำหนักได้เช่นกัน เรียกได้ว่าการยิงแบบนี้ต้องทั้งแม่น ตรงและแรง (3) เหยียนจู้ (剡注) เป็นการยิงขึ้นสูงให้วิถีของธนูโค้งขึ้นแล้วปักลงกลางเป้าโดยมีลักษณะหางชี้เอียงขึ้น มีการบรรยายไว้ว่าเป็นการยิงอย่างเร็ว (คือไม่เล็งนาน) และแรงจนได้ยินเสียงเสียดสีของปีกธนูดังหวิวๆ ดั่งเสียงร้องของนก (4) เซียงฉื่อ (襄尺) เป็นหลักปฏิบัติยามข้าราชสำนักยิงธนูพร้อมกับกษัตริย์ ให้ข้าราชสำนักถอยหลังหนึ่งฉื่อ (ประมาณ 10 นิ้ว) เพื่อแสดงถึงความเคารพ ไม่มีข้อมูลมากกว่านี้ แต่มันทำให้ Storyฯ อดคิดไม่ได้ว่า ถ้าอย่างนี้เวลาเราฝึกก็ต้องฝึกให้แม่นทั้งสองระยะ แม้ว่าระยะทั้งสองจะแตกต่างกันเพียงประมาณไม่ถึงฟุต (5) จิ่งอี๋ (井儀) เป็นการยิงที่ยากที่สุด คือการยิงรัวๆ สี่ดอก ทุกดอกทะลุเป้าจนเห็นหัวลูกศรโผล่ออกมาด้านหลังของเป้า ธนูสี่ดอกปักเรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมพอดีดั่งสี่เหลี่ยมในตัวอักษร ‘จิ่ง’ (井) หรือหากยิงนก คือยิงได้เรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมบนตัวนกเช่นกัน ต่อมาคือทักษะที่สี่ ‘อวี้’ ซึ่งหมายถึงทักษะการขับรถและหมายรวมถึงทักษะการทำศึกหรือล่าสัตว์ด้วยรถ จากรูปประกอบจะเห็นว่ารถม้าส่วนใหญ่ในสมัยนั้นเป็นรถแบบไม่มีประทุน การฝึกฝนทักษะนี้เป็นการฝึกความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและปลูกฝังความใส่ใจและความรับผิดชอบต่อผู้อื่นด้วย การขับรถม้าทั้งห้าแบบนี้คือ (1) หมิงเหอหลวน (鸣和鸾) เป็นการขับรถให้กับผู้ที่สูงศักดิ์นั่ง เช่นกษัตริย์ โดย ‘เหอ’ ในที่นี้หมายถึงกระดิ่งที่แขวนไว้บนราวจับมือของผู้โดยสารและ ‘หลวน’ คือกระดิ่งที่แขวนอยู่บนแอกเหนือตัวสัตว์ที่ลากรถ และการขับรถม้าแบบที่เรียกว่า ‘หมิงเหอหลวน’ นี้ คือขับรถอย่างเสถียรนิ่มนวลให้จังหวะเดินของสัตว์และจังหวะการโยกหรือกระเด้งของตัวรถเป็นจังหวะเดียวกัน เพื่อว่าเสียงกระดิ่งทั้งสองนี้จะดังขึ้นอย่างพร้อมเพรียงกัน (2) จู๋สุ่ยชวี (逐水曲) เป็นการขับรถให้โค้งตามขอบน้ำที่คดเคี้ยวได้โดยไม่ให้รถเสียศูนย์หรือร่วงลงน้ำ ซึ่งเป็นการฝึกให้สามารถบังคับรถม้าในยามที่ต้องเลี้ยวไปเลี้ยวมาในสภาวะฉุกเฉิน (3) กั้วจวินเปี่ยว (过君表) เป็นการขับรถผ่านซุ้มประตูที่มีปักธงไว้ (ปกติบ่งบอกว่าเป็นทางเดินรถของขบวนเสด็จ) ซึ่งจะมีการวางหมุดหรือดุมหินให้ยื่นออกมาคุ้มกันธงที่เสาประตูทั้งสองข้าง และทักษะนี้คือการขับรถผ่านซุ้มประตูโดยไม่ชนดุมหินของเสาประตูนี้ ว่ากันว่าขนาดของรถและซุ้มประตูสมัยนั้นจะทำให้เหลือช่องไฟระหว่างดุมล้อและหินกันธงเพียงข้างละห้านิ้วเท่านั้น (4) อู่เจียวฉวี (舞交衢) คือการบังคับให้รถเลี้ยวเมื่อถึงทางแยกของถนนได้อย่างเร็วและมีจังหวะประหนึ่งหมุนตัวเต้นรำ ซึ่ง Storyฯ ก็นึกภาพไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ก็จินตนาการเอาเองว่าก็คงเหมือนเวลาที่เรากะจังหวะรถให้เลี้ยวโค้งได้อย่างเร็วโดยไม่เสียศูนย์กระมัง (5) จู๋ฉินจั่ว (逐禽左) เป็นเทคนิคในการขับรถล่าสัตว์ โดยต้อนสัตว์ให้ไปอยู่ทางซ้ายของรถแล้วค่อยยิงด้วยธนู นี่เป็นการฝึกปรือเพื่อใช้จริงในการศึกด้วย เป็นอย่างไรคะ ไม่ง่ายเลยทั้งการยิงธนูและการขับรถ เพื่อนเพจว่าไหม? เรามาคุยกันต่อเกี่ยวกับทักษะที่เหลือสัปดาห์หน้าค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU https://www.sohu.com/a/716142814_116162 https://sports.sina.cn/others/mashu/2017-07-07/detail-ifyhwehx5318583.d.html https://www.sgss8.net/tpdq/10845310/1.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 https://mychistory.com/a001-2/11-04 https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083 http://www.leafarchery.com/nd.jsp?fromColId=105&id=3 https://kknews.cc/car/p88yjrp.html https://www.sohu.com/a/459650524_121052969 #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    GUOXUE.IFENG.COM
    由器见道:儒家其实很“文艺”
    由器见道:儒家其实很“文艺”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1057 มุมมอง 0 รีวิว
  • หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 2 ‘เยวี่ย’

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึง ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะที่สุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์พึงมี (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数)

    สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องทักษะแรกคือห้าพิธีการ วันนี้คุยกันต่อถึงทักษะที่สองคือ ‘เยวี่ย’ เรียกรวมกว่าหกดนตรี ซึ่ง Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจหลายคนคงเข้าใจผิดเหมือน Storyฯ ว่ามันหมายถึงการเล่นดนตรี และภาพที่ลอยมาในหัวคือคุณชายดีดพิณหรือเป่าขลุ่ย

    แต่จริงๆ แล้ว ‘เยวี่ย’ ในบริบทของหกทักษะของสุภาพบุรุษนี้หมายถึงการเต้นรำ

    ใช่ค่ะ สุภาพบุรุษโบราณต้องเรียนรู้ที่จะเต้นรำ แต่มันไม่ใช่การเต้นรำทั่วไป หากแต่หมายถึงการเต้นรำหมู่ของบุรุษประกอบการบวงสรวงหรืองานสำคัญ ซึ่งเราไม่ค่อยเห็นในซีรีส์

    ‘ลิ่วเยวี่ย’ หรือหกดนตรี คือคำเรียกย่อของระบำหกยุคสมัย ‘ลิ่วไต้เยวี่ยอู่’ (六代乐舞) ซึ่งมีมาแต่หกยุคสมัยจีนโบราณบรรพกาล ประกอบด้วย
    (1) ‘อวิ๋นเหมินต้าเจวี้ยน’ (云门大卷/ระบำประตูเมฆ) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘อวิ๋นเหมิน’ เป็นการงานเฉลิมฉลองร่วมกับประชาชนในสมัยของจักรพรรดิเหลือง (หวงตี้ ประมาณสองพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเป็นการแซ่ซ้องคุณงามความดีและความเรืองรองของรัชสมัย จากรูปวาดโบราณจะเห็นว่าเป็นการเล่นเครื่องดนตรีบางชนิดไปพร้อมกับเดินเต้นไปด้วย ระบำนี้ในยุคสมัยโจวถูกใช้เป็นระบำหลักในการบวงสรวงฟ้าและเทพยดา
    (2) ‘เสียนฉือ’ (咸池) หรือ ‘ต้าเสียน’ (大咸) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิเหยา (ประมาณสองพันสามร้อยปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งคำว่าเสียนฉือเป็นชื่อเรียกเดิมของทิศพยัคฆ์ขาวหรือทิศตะวันตก ระบำเสียนฉือจึงถูกนำมาใช้เป็นระบำสักการะดินและเทพเจ้าแห่งผืนดิน
    (3) ‘ต้าสาว’ (大韶) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิซุ่น (ประมาณสองพันสองร้อยปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่เชิดชูความงดงามของธรรมชาติรอบกาย ผสมผสานบทกลอน ดนตรี และระบำเข้าด้วยกัน กล่าวคือมีคนอ่านกลอนเป็นท่วงทำนอง มีเสียงเครื่องดนตรีนับสิบชนิดบรรเลงประกอบโดยเน้นเสียงขลุ่ยเซียวเป็นหลัก และมีคนสวมหน้ากากแสดงเป็นเหล่าปักษาและนกเฟิ่งหวงฟ้อนรำ ถูกใช้เป็นระบำบวงสรวงสี่ทิศ
    (4) ‘ต้าเซี่ย’ (大夏) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์เซี่ย (ประมาณสองพันปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ต้าสู่แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ถูกใช้เป็นระบำสักการะขุนเขาและสายน้ำ เป็นระบำโบราณเดียวที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันแม้ว่าจะผ่านการเปลี่ยนแปลงมาไม่น้อย(ดูรูปประกอบ)
    (5) ‘ต้าฮู่’ (大濩) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณหนึ่งพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์เซี่ยสำเร็จ ใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษ
    (6) ‘ต้าอู่’ (大武) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์โจว เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์ซางสำเร็จ ถูกใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษเช่นกัน

    ทั้งนี้ ระบำสี่แบบแรกเป็นแบบที่เรียกว่า ‘เหวิน’ (หรือบุ๋น) แต่ระบำสองแบบสุดท้ายเป็นแบบที่เรียกว่า ‘อู่’ (หรือบู๊) ซึ่งเป็นการแสดงออกแนวฮึกเหิม นักแสดงถือโล่และอาวุธเช่นขวาน (แต่ไม่ได้ถอดเสื้อเหมือนใน <กำเนิดเทพเจ้า 1 อาณาจักรแห่งพายุ> นะ) ทั้งหมดนี้มีการกำหนดจัดเรียงแถวอย่างชัดเจน รวมแปดแถว แต่ละแถวแปดคน รวมหกสิบสี่คน และในงานใหญ่อาจมีการจัดการรำหลายแบบพร้อมกันบนลานกว้าง

    นอกจากนี้ ในงานใหญ่ยังมีการรำเสริมโดยเหล่าราชนิกุลชาย โดยกำหนดเป็นการรำอีกหกรูปแบบเรียกเป็น ‘รำเล็ก’ เพราะเป็นการรำเดี่ยวหรือกลุ่มเล็ก แต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดในชนิดของระบำ ทั้งนี้ ราชนิกุลชายในยุคราชวงศ์โจวเมื่ออายุสิบสามปีก็จะเริ่มเรียน ‘รำเล็ก’ อายุสิบห้าเรียนรำอาวุธ และเมื่ออายุได้ยี่สิบก็เรียน ‘รำใหญ่’ สำหรับพิธีบวงสรวงซึ่งก็คือหกระบำที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง และเมื่อสำเร็จการเรียนรู้ระบำต่างๆ เหล่านี้แล้วจึงเข้ารับราชการบรรจุเป็นขุนนางได้

    ทักษะด้านการรำนี้ ถูกใช้สอนในเรื่องของความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และช่วยปรับท่าทางการเดินเหินให้สง่าผึ่งผาย รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับงานสักการะต่างๆ แน่นอนว่าสุภาพบุรุษต้องเรียนรู้การเล่นดนตรี เพียงแต่มันได้ถูกระบุเป็นหกทักษะของสุภาพบุรุษเท่านั้นเอง

    สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://app.xinhuanet.com/news/article.html?articleId=1e283da99d5077df8508b27c88bfaeae
    https://chinakongzi.org/zt/2021jikong/yange/202109/t20210922_521023.htm https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    https://m.jiemian.com/article/1154435.html
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083
    https://h.bkzx.cn/knowledge/1733

    #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 2 ‘เยวี่ย’ สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึง ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะที่สุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์พึงมี (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数) สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องทักษะแรกคือห้าพิธีการ วันนี้คุยกันต่อถึงทักษะที่สองคือ ‘เยวี่ย’ เรียกรวมกว่าหกดนตรี ซึ่ง Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจหลายคนคงเข้าใจผิดเหมือน Storyฯ ว่ามันหมายถึงการเล่นดนตรี และภาพที่ลอยมาในหัวคือคุณชายดีดพิณหรือเป่าขลุ่ย แต่จริงๆ แล้ว ‘เยวี่ย’ ในบริบทของหกทักษะของสุภาพบุรุษนี้หมายถึงการเต้นรำ ใช่ค่ะ สุภาพบุรุษโบราณต้องเรียนรู้ที่จะเต้นรำ แต่มันไม่ใช่การเต้นรำทั่วไป หากแต่หมายถึงการเต้นรำหมู่ของบุรุษประกอบการบวงสรวงหรืองานสำคัญ ซึ่งเราไม่ค่อยเห็นในซีรีส์ ‘ลิ่วเยวี่ย’ หรือหกดนตรี คือคำเรียกย่อของระบำหกยุคสมัย ‘ลิ่วไต้เยวี่ยอู่’ (六代乐舞) ซึ่งมีมาแต่หกยุคสมัยจีนโบราณบรรพกาล ประกอบด้วย (1) ‘อวิ๋นเหมินต้าเจวี้ยน’ (云门大卷/ระบำประตูเมฆ) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘อวิ๋นเหมิน’ เป็นการงานเฉลิมฉลองร่วมกับประชาชนในสมัยของจักรพรรดิเหลือง (หวงตี้ ประมาณสองพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเป็นการแซ่ซ้องคุณงามความดีและความเรืองรองของรัชสมัย จากรูปวาดโบราณจะเห็นว่าเป็นการเล่นเครื่องดนตรีบางชนิดไปพร้อมกับเดินเต้นไปด้วย ระบำนี้ในยุคสมัยโจวถูกใช้เป็นระบำหลักในการบวงสรวงฟ้าและเทพยดา (2) ‘เสียนฉือ’ (咸池) หรือ ‘ต้าเสียน’ (大咸) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิเหยา (ประมาณสองพันสามร้อยปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งคำว่าเสียนฉือเป็นชื่อเรียกเดิมของทิศพยัคฆ์ขาวหรือทิศตะวันตก ระบำเสียนฉือจึงถูกนำมาใช้เป็นระบำสักการะดินและเทพเจ้าแห่งผืนดิน (3) ‘ต้าสาว’ (大韶) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิซุ่น (ประมาณสองพันสองร้อยปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่เชิดชูความงดงามของธรรมชาติรอบกาย ผสมผสานบทกลอน ดนตรี และระบำเข้าด้วยกัน กล่าวคือมีคนอ่านกลอนเป็นท่วงทำนอง มีเสียงเครื่องดนตรีนับสิบชนิดบรรเลงประกอบโดยเน้นเสียงขลุ่ยเซียวเป็นหลัก และมีคนสวมหน้ากากแสดงเป็นเหล่าปักษาและนกเฟิ่งหวงฟ้อนรำ ถูกใช้เป็นระบำบวงสรวงสี่ทิศ (4) ‘ต้าเซี่ย’ (大夏) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์เซี่ย (ประมาณสองพันปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ต้าสู่แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ถูกใช้เป็นระบำสักการะขุนเขาและสายน้ำ เป็นระบำโบราณเดียวที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันแม้ว่าจะผ่านการเปลี่ยนแปลงมาไม่น้อย(ดูรูปประกอบ) (5) ‘ต้าฮู่’ (大濩) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณหนึ่งพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์เซี่ยสำเร็จ ใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษ (6) ‘ต้าอู่’ (大武) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์โจว เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์ซางสำเร็จ ถูกใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษเช่นกัน ทั้งนี้ ระบำสี่แบบแรกเป็นแบบที่เรียกว่า ‘เหวิน’ (หรือบุ๋น) แต่ระบำสองแบบสุดท้ายเป็นแบบที่เรียกว่า ‘อู่’ (หรือบู๊) ซึ่งเป็นการแสดงออกแนวฮึกเหิม นักแสดงถือโล่และอาวุธเช่นขวาน (แต่ไม่ได้ถอดเสื้อเหมือนใน <กำเนิดเทพเจ้า 1 อาณาจักรแห่งพายุ> นะ) ทั้งหมดนี้มีการกำหนดจัดเรียงแถวอย่างชัดเจน รวมแปดแถว แต่ละแถวแปดคน รวมหกสิบสี่คน และในงานใหญ่อาจมีการจัดการรำหลายแบบพร้อมกันบนลานกว้าง นอกจากนี้ ในงานใหญ่ยังมีการรำเสริมโดยเหล่าราชนิกุลชาย โดยกำหนดเป็นการรำอีกหกรูปแบบเรียกเป็น ‘รำเล็ก’ เพราะเป็นการรำเดี่ยวหรือกลุ่มเล็ก แต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดในชนิดของระบำ ทั้งนี้ ราชนิกุลชายในยุคราชวงศ์โจวเมื่ออายุสิบสามปีก็จะเริ่มเรียน ‘รำเล็ก’ อายุสิบห้าเรียนรำอาวุธ และเมื่ออายุได้ยี่สิบก็เรียน ‘รำใหญ่’ สำหรับพิธีบวงสรวงซึ่งก็คือหกระบำที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง และเมื่อสำเร็จการเรียนรู้ระบำต่างๆ เหล่านี้แล้วจึงเข้ารับราชการบรรจุเป็นขุนนางได้ ทักษะด้านการรำนี้ ถูกใช้สอนในเรื่องของความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และช่วยปรับท่าทางการเดินเหินให้สง่าผึ่งผาย รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับงานสักการะต่างๆ แน่นอนว่าสุภาพบุรุษต้องเรียนรู้การเล่นดนตรี เพียงแต่มันได้ถูกระบุเป็นหกทักษะของสุภาพบุรุษเท่านั้นเอง สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://app.xinhuanet.com/news/article.html?articleId=1e283da99d5077df8508b27c88bfaeae https://chinakongzi.org/zt/2021jikong/yange/202109/t20210922_521023.htm https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 https://m.jiemian.com/article/1154435.html https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083 https://h.bkzx.cn/knowledge/1733 #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 949 มุมมอง 0 รีวิว
  • หกทักษะของสุภาพบุรุษจีนโบราณ ตอน 1 ‘หลี่’

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <องค์หญิงใหญ่> จะจำได้ว่าองค์หญิงหลี่หรงจัดงานเลี้ยงเพื่อทำความรู้จักกับแคนดิเดทราชบุตรเขย โดยในระหว่างงานเลี้ยงได้กำหนดให้เหล่าคุณชายแสดงความสามารถตาม ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) และหกทักษะนี้ได้รับการกล่าวถึงในหลากหลายละครและนิยายจีนโบราณด้วยเช่นกัน

    หกทักษะนี้คือพื้นฐานความรู้ด้านต่างๆ อันแฝงไว้ซึ่งปรัชญาและคำสอนของขงจื๊อ เชื่อว่าเพื่อนเพจเคยผ่านตาผ่านหูว่า หกทักษะนี้คือ พิธีการ (หลี่/礼) ดนตรี (เยวี่ย/乐) ยิงธนู (เซ่อ/射) ขับขี่ (อวี้/御) อักษรศาสตร์ (ซู/书) และคำนวณ (ซู่/数) แต่เชื่อว่าเพื่อนเพจคงไม่รู้ถึงรายละเอียดของมัน

    หกทักษะปรากฏอยู่ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ (เป็นบันทึกที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นเพื่อรวมรวมข้อมูลพิธีการและความรู้ด้านต่างๆ จากสมัยราชวงศ์โจว) ในรายละเอียดประกอบด้วย ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าธนู ห้าขับขี่ หกอักษร และเก้าคำนวณ และมีการอธิบายไว้ชัดเจนว่าองค์ประกอบของมันมีอะไรบ้าง Storyฯ อ่านแล้วก็รู้สึกว่ามีหลายอย่างที่เหนือความคาดหมาย เลยมาเล่าสู่กันฟัง แต่ขอแบ่งเล่าเป็นหลายตอนเพื่อไม่ให้บทความยาวเกินไป

    ทักษะแรกคือ ‘หลี่’ (礼) ซึ่งแปลได้ว่าพิธีการหรือมารยาท โดยบัณฑิตต้องรู้ถึงรายละเอียดของการเตรียมงาน ขั้นตอนในงาน กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการวางตัว เสื้อผ้าข้าวของเครื่องใช้ และคำพูดที่ถูกต้องเหมาะสม และห้า ‘หลี่’ ที่บัณฑิตต้องรู้คือ
    (1) จี๋หลี่ (吉礼) หมายถึงพิธีการเสริมดวงเสริมบารมี คืองานเซ่นไหว้สักการะและงานบวงสรวงทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ ตามเทศกาลสำคัญหรือกราบไหว้บรรพบุรุษ
    (2) ซยงหลี่ (凶礼) หมายถึงพิธีการเกี่ยวกับภยันตราย โดยหลักคืองานศพ และหมายรวมถึงพิธีการขับไล่สิ่งอัปมงคลในยามที่เกิดอุทกภัยหรือโรคระบาด หรือพิธีการเซ่นไหว้ไว้อาลัยหลังสงคราม
    (3) จวินหลี่ (军礼) หมายถึงพิธีการด้านการทหาร (การจัดขบวน การเคลื่อนทัพ การบวงสรวงต่างๆ เมื่อองค์กษัตริย์ทรงยาตราทัพเอง การเยี่ยมชมและตรวจการกองทัพ และการต้อนรับกองทัพที่กลับจากสงคราม โดยพิธีการมีจำแนกว่าชนะศึกหรือพ่ายศึกกลับมา ฯลฯ) และยังรวมถึงพิธีการเกี่ยวกับงานล่าสัตว์ประจำฤดูของกษัตริย์ และหมายรวมงานก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องเกณฑ์ชาวบ้านมาร่วมทำเช่นอารามหลวง พระราชวัง ฯลฯ
    (4) ปินหลี่ (宾礼) หมายถึงมารยาทและพิธีการในการต้อนรับแขก โดยจำแนกตามยศศักดิ์ของแขกและผู้ที่ให้การต้อนรับ เช่น กษัตริย์ต้อนรับกษัตริย์แขกเมืองหรือขุนนาง ข้าราชการต้อนรับประชาชนธรรมดา ต้อนรับแขกเมืองระดับต่างๆ ฯลฯ
    (5) เจียหลี่ (嘉礼) หมายถึงพิธีการมงคล ซึ่งจำแนกรายละเอียดตามยศศักดิ์ของเจ้าของงาน เช่นงานราชพิธีต่างๆ (พิธีราชาภิเษก งานแต่งตั้งองค์รัชทายาท งานเลือกชายาและสนม ฯลฯ) งานมงคลสมรส พิธีปักปิ่น พิธีสวมหมวกกวาน พิธีการขอบคุณ พิธีการอำลา งานเลี้ยงสังสรรค์ทั่วไป เป็นต้น

    แน่นอนว่าแต่ละพิธีการเหล่านี้มีรายละเอียดอีกมากมายที่เราไม่ได้ลงรายละเอียดในที่นี้ (หมายเหตุ Storyฯ เคยกล่าวถึงบางพิธีการ เช่นพิธีการปักปิ่น ฯลฯ ลองค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญนะคะ) แต่โดยภาพรวมเราจะเห็นได้ว่า ทักษะว่าด้วย ‘หลี่’ นี้ หมายรวมถึงความเข้าใจอย่างละเอียดถึงพิธีการต่างๆ หลักการปฏิบัติและวางตนต่อผู้อื่นและมารยาททางสังคม โดยมาจากแนวคำสอนของขงจื๊อที่ว่า ผู้ที่บกพร่องในทักษะนี้ จะขาดการวางตนที่ดี ไม่รู้ว่าควรปฏิบัติต่อผู้อื่นหรืออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างไร ทำให้สูญเสียความมั่นใจในตนเอง หรือทำให้เกิดความวุ่นวายสร้างความขุ่นเคืองหรือสับสนต่อผู้อื่นได้ และทำให้สังคมไม่สมานฉันท์

    สัปดาห์หน้าเรามาคุยกันต่อค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=204949
    https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    http://www.dfg.cn/gb/ssht/ly/07-junli.htm
    https://baike.baidu.com/item/五礼/491424

    #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน

    หกทักษะของสุภาพบุรุษจีนโบราณ ตอน 1 ‘หลี่’ สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <องค์หญิงใหญ่> จะจำได้ว่าองค์หญิงหลี่หรงจัดงานเลี้ยงเพื่อทำความรู้จักกับแคนดิเดทราชบุตรเขย โดยในระหว่างงานเลี้ยงได้กำหนดให้เหล่าคุณชายแสดงความสามารถตาม ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) และหกทักษะนี้ได้รับการกล่าวถึงในหลากหลายละครและนิยายจีนโบราณด้วยเช่นกัน หกทักษะนี้คือพื้นฐานความรู้ด้านต่างๆ อันแฝงไว้ซึ่งปรัชญาและคำสอนของขงจื๊อ เชื่อว่าเพื่อนเพจเคยผ่านตาผ่านหูว่า หกทักษะนี้คือ พิธีการ (หลี่/礼) ดนตรี (เยวี่ย/乐) ยิงธนู (เซ่อ/射) ขับขี่ (อวี้/御) อักษรศาสตร์ (ซู/书) และคำนวณ (ซู่/数) แต่เชื่อว่าเพื่อนเพจคงไม่รู้ถึงรายละเอียดของมัน หกทักษะปรากฏอยู่ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ (เป็นบันทึกที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นเพื่อรวมรวมข้อมูลพิธีการและความรู้ด้านต่างๆ จากสมัยราชวงศ์โจว) ในรายละเอียดประกอบด้วย ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าธนู ห้าขับขี่ หกอักษร และเก้าคำนวณ และมีการอธิบายไว้ชัดเจนว่าองค์ประกอบของมันมีอะไรบ้าง Storyฯ อ่านแล้วก็รู้สึกว่ามีหลายอย่างที่เหนือความคาดหมาย เลยมาเล่าสู่กันฟัง แต่ขอแบ่งเล่าเป็นหลายตอนเพื่อไม่ให้บทความยาวเกินไป ทักษะแรกคือ ‘หลี่’ (礼) ซึ่งแปลได้ว่าพิธีการหรือมารยาท โดยบัณฑิตต้องรู้ถึงรายละเอียดของการเตรียมงาน ขั้นตอนในงาน กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการวางตัว เสื้อผ้าข้าวของเครื่องใช้ และคำพูดที่ถูกต้องเหมาะสม และห้า ‘หลี่’ ที่บัณฑิตต้องรู้คือ (1) จี๋หลี่ (吉礼) หมายถึงพิธีการเสริมดวงเสริมบารมี คืองานเซ่นไหว้สักการะและงานบวงสรวงทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ ตามเทศกาลสำคัญหรือกราบไหว้บรรพบุรุษ (2) ซยงหลี่ (凶礼) หมายถึงพิธีการเกี่ยวกับภยันตราย โดยหลักคืองานศพ และหมายรวมถึงพิธีการขับไล่สิ่งอัปมงคลในยามที่เกิดอุทกภัยหรือโรคระบาด หรือพิธีการเซ่นไหว้ไว้อาลัยหลังสงคราม (3) จวินหลี่ (军礼) หมายถึงพิธีการด้านการทหาร (การจัดขบวน การเคลื่อนทัพ การบวงสรวงต่างๆ เมื่อองค์กษัตริย์ทรงยาตราทัพเอง การเยี่ยมชมและตรวจการกองทัพ และการต้อนรับกองทัพที่กลับจากสงคราม โดยพิธีการมีจำแนกว่าชนะศึกหรือพ่ายศึกกลับมา ฯลฯ) และยังรวมถึงพิธีการเกี่ยวกับงานล่าสัตว์ประจำฤดูของกษัตริย์ และหมายรวมงานก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องเกณฑ์ชาวบ้านมาร่วมทำเช่นอารามหลวง พระราชวัง ฯลฯ (4) ปินหลี่ (宾礼) หมายถึงมารยาทและพิธีการในการต้อนรับแขก โดยจำแนกตามยศศักดิ์ของแขกและผู้ที่ให้การต้อนรับ เช่น กษัตริย์ต้อนรับกษัตริย์แขกเมืองหรือขุนนาง ข้าราชการต้อนรับประชาชนธรรมดา ต้อนรับแขกเมืองระดับต่างๆ ฯลฯ (5) เจียหลี่ (嘉礼) หมายถึงพิธีการมงคล ซึ่งจำแนกรายละเอียดตามยศศักดิ์ของเจ้าของงาน เช่นงานราชพิธีต่างๆ (พิธีราชาภิเษก งานแต่งตั้งองค์รัชทายาท งานเลือกชายาและสนม ฯลฯ) งานมงคลสมรส พิธีปักปิ่น พิธีสวมหมวกกวาน พิธีการขอบคุณ พิธีการอำลา งานเลี้ยงสังสรรค์ทั่วไป เป็นต้น แน่นอนว่าแต่ละพิธีการเหล่านี้มีรายละเอียดอีกมากมายที่เราไม่ได้ลงรายละเอียดในที่นี้ (หมายเหตุ Storyฯ เคยกล่าวถึงบางพิธีการ เช่นพิธีการปักปิ่น ฯลฯ ลองค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญนะคะ) แต่โดยภาพรวมเราจะเห็นได้ว่า ทักษะว่าด้วย ‘หลี่’ นี้ หมายรวมถึงความเข้าใจอย่างละเอียดถึงพิธีการต่างๆ หลักการปฏิบัติและวางตนต่อผู้อื่นและมารยาททางสังคม โดยมาจากแนวคำสอนของขงจื๊อที่ว่า ผู้ที่บกพร่องในทักษะนี้ จะขาดการวางตนที่ดี ไม่รู้ว่าควรปฏิบัติต่อผู้อื่นหรืออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างไร ทำให้สูญเสียความมั่นใจในตนเอง หรือทำให้เกิดความวุ่นวายสร้างความขุ่นเคืองหรือสับสนต่อผู้อื่นได้ และทำให้สังคมไม่สมานฉันท์ สัปดาห์หน้าเรามาคุยกันต่อค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=204949 https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083 https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 http://www.dfg.cn/gb/ssht/ly/07-junli.htm https://baike.baidu.com/item/五礼/491424 #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    WWW.UPMEDIA.MG
    張凌赫新劇《度華年》對打王星越《墨雨雲間》 他與趙今麥演歡喜冤家3關鍵獲好評--上報
    張凌赫近年事業蒸蒸日上,他2022年擔任王鶴棣、虞書欣的爆款劇《蒼蘭訣》男配嶄露頭角,接著又在2023年與虞......
    Like
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1107 มุมมอง 0 รีวิว