• ต้นไม้พูดได้จากยอดเขา วัดพระบาทเขาหนาม เหนือเขื่อนภูมิพลจังหวัดตาก พระหลวงตาท่านหนึ่งดูแลอยู่และท่านไม่ฉันเนื้อสัตว์

    ภาพถ่ายไว้นานกว่า 16-17 ปีได้

    #ข้อคิด
    #เขื่อนภูมิพล
    #วัดพระบาทเขาหนาม
    #thaitimes
    ต้นไม้พูดได้จากยอดเขา วัดพระบาทเขาหนาม เหนือเขื่อนภูมิพลจังหวัดตาก พระหลวงตาท่านหนึ่งดูแลอยู่และท่านไม่ฉันเนื้อสัตว์ ภาพถ่ายไว้นานกว่า 16-17 ปีได้ #ข้อคิด #เขื่อนภูมิพล #วัดพระบาทเขาหนาม #thaitimes
    Love
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 185 มุมมอง 0 รีวิว
  • เรียนรู้..ภูมิศาสตร์ 😅😅

    น้ำจากแม่ปิงไหลผ่านลำพูน ลำปาง ไปเขื่อนภูมิพล แล้วลงแม่น้ำโขง
    เรียนรู้..ภูมิศาสตร์ 😅😅 น้ำจากแม่ปิงไหลผ่านลำพูน ลำปาง ไปเขื่อนภูมิพล แล้วลงแม่น้ำโขง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 54 มุมมอง 18 0 รีวิว
  • เล่นเอาทีมงาน ย้ายเขื่อนภูมิพล ไปกั้นแม่น้ำโขงแทบไม่ทันกันเลยทีเดียวครับ🤨
    #ใครเขียนโพย ?
    เล่นเอาทีมงาน ย้ายเขื่อนภูมิพล ไปกั้นแม่น้ำโขงแทบไม่ทันกันเลยทีเดียวครับ🤨 #ใครเขียนโพย ?
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 10 มุมมอง 0 รีวิว
  • 6 ตุลาคม 2567-อ.สนธิ คชวัตร วิเคราะห์ น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ในรอบร้อยปี ว่าสาเหตุสำคัญคือฝนตกหนักบนดอยที่ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นเกษตรกรรมพืชเชิงเดี่ยว...

    1.สาเหตุของน้ำท่วมหนักในเมืองเชียงใหม่เกิดจากฝนตกหนักหลายวันโดยช่วงต้นเดือนตุลาคม 2567 มีฝนหนักติดต่อกัน3วันวัดปริมาณน้ำฝนได้200ถึง300มิลลิเมตรทั้งที่ไม่มีพายุเข้าแต่เกิดจากมวลอากาศเย็นเคลื่อนลงมาจากแผ่นดินใหญ่มาปะทะร่องมรสุมความกดอากาศต่ำ(อากาศร้อน) ที่พาดผ่านทำให้เกิดฝนตกหนักในเขตอำ เภอเชียงดาว อำเภอแม่แตง อำเภอแม่ริมและอำเภอพร้าวจนเกิดน้ำท่วมอย่างหนักในพื้นที่ราบเชิงเขาของอำเภอเชียงดาว อำเภอแม่แตงและอำเภอเมืองเชียงใหม่โดยทั้งแม่น้ำแม่งัด แม่น้ำแม่แตงและแม่น้ำปิงมีปริมาณน้ำไหลเชี่ยวกรากลงมาท่วมพื้นที่เมืองเชียงใหม่

    2.แม่น้ำปิงมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาผีปันน้ำในพื้นที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียง ใหม่ไหลลงมาทางทิศไต้ผ่านหุบเขาเข้าสู่เขตอำเภอแม่แตง มีแม่น้ำแม่งัดไหลมาบรร จบทางฝั่งซ้ายและน้ำแม่แตงไหลมาบรร จบทางฝั่งขวาเข้าสู่พื้นที่ราบลุ่มผ่านอำ เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และมีน้ำแม่กวง ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำปิงไหลมาบรรจบทางฝั่งซ้าย บริเวณพื้นที่อำเภอป่าซาง จัง หวัดลำพูน จากนั้นแม่น้ำปิงจะไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้โดยมีแม่น้ำลี้ ซึ่งไหลผ่านจากอำเภอลี้ มาบรรจบกับแม่น้ำปิงที่อำเภอจอมทองทางฝั่งซ้ายและจากอำเภอจอมทอง แม่น้ำปิงจะไหลลงไปทางใต้โดย มีแม่น้ำแม่แจ่มไหลมาบรรจบทางฝั่งขวาที่อำเภอฮอดก่อนจะไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำของเขื่อนภูมิพล จ.ตาก ที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ต่อไป
    เมื่อเกิดฝนตกหนักติดต่อกันยาวนานในพื้นที่ต้นน้ำจะเป็นผลให้ระดับน้ำและปริ มาณน้ำในแม่ปิงสะสมตัวเพิ่มสูงขึ้น จนเกิดล้นตลิ่งและไหลเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำใกล้เคียง เกิดอุทกภัยสร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่บ้านเรือน ชีวิตและทรัพย์สินขึ้นได้ โดยเฉพาะในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ โดยจะเกิดขึ้นเมื่อปริมาณน้ำเพิ่มสูงเกินความจุของลำน้ำโดยความจุของน้ำปิงที่ตัวเมืองเชียงใหม่คือ 440 ลบ.เมตร/วินาที และระ ดับวิกฤติที่น้ำจะเริ่มล้นฝั่งไหลท่วมอยู่ที่ 3.70 เมตร

    3. ปี2566/67 จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 285,004 ไร่ ที่อำเภอเชียงดาวมีพื้นที่ปลูกข้าวโพด 19,878 ไร่ และอำเภอแม่แตงมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดประมาณ1636.75ไร่ ส่วนใหญ่จะปลูกบนดอยสูง นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ ให้น้ำป่าบนภูเขาต้นน้ำไหลลงมาได้รวด เร็วและเชี่ยวกรากไหลลงมาท่วมพื้นที่ราบเชิงเขาได้
    ...หากฝนตกบนภูเขาที่เต็มไปด้วยป่าใหญ่ น้ำฝนจะขังอยู่ในป่าประมาณเก้าส่วน อีกหนึ่งส่วนไหลลงข้างล่าง และค่อยๆไหลรินไปหล่อเลี้ยงผู้คนด้านล่างตลอดทั้งปี แต่หากเป็นภูเขาหัวโล้น น้ำฝนจะขังอยู่หนึ่งส่วน อีกเก้าส่วนไหลลงข้างล่างทำให้เกิดมหาอุทกภัยใหญ่หลวง...

    ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/pfkBEHemaUuFdGYg/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    6 ตุลาคม 2567-อ.สนธิ คชวัตร วิเคราะห์ น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ในรอบร้อยปี ว่าสาเหตุสำคัญคือฝนตกหนักบนดอยที่ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นเกษตรกรรมพืชเชิงเดี่ยว... 1.สาเหตุของน้ำท่วมหนักในเมืองเชียงใหม่เกิดจากฝนตกหนักหลายวันโดยช่วงต้นเดือนตุลาคม 2567 มีฝนหนักติดต่อกัน3วันวัดปริมาณน้ำฝนได้200ถึง300มิลลิเมตรทั้งที่ไม่มีพายุเข้าแต่เกิดจากมวลอากาศเย็นเคลื่อนลงมาจากแผ่นดินใหญ่มาปะทะร่องมรสุมความกดอากาศต่ำ(อากาศร้อน) ที่พาดผ่านทำให้เกิดฝนตกหนักในเขตอำ เภอเชียงดาว อำเภอแม่แตง อำเภอแม่ริมและอำเภอพร้าวจนเกิดน้ำท่วมอย่างหนักในพื้นที่ราบเชิงเขาของอำเภอเชียงดาว อำเภอแม่แตงและอำเภอเมืองเชียงใหม่โดยทั้งแม่น้ำแม่งัด แม่น้ำแม่แตงและแม่น้ำปิงมีปริมาณน้ำไหลเชี่ยวกรากลงมาท่วมพื้นที่เมืองเชียงใหม่ 2.แม่น้ำปิงมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาผีปันน้ำในพื้นที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียง ใหม่ไหลลงมาทางทิศไต้ผ่านหุบเขาเข้าสู่เขตอำเภอแม่แตง มีแม่น้ำแม่งัดไหลมาบรร จบทางฝั่งซ้ายและน้ำแม่แตงไหลมาบรร จบทางฝั่งขวาเข้าสู่พื้นที่ราบลุ่มผ่านอำ เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และมีน้ำแม่กวง ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำปิงไหลมาบรรจบทางฝั่งซ้าย บริเวณพื้นที่อำเภอป่าซาง จัง หวัดลำพูน จากนั้นแม่น้ำปิงจะไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้โดยมีแม่น้ำลี้ ซึ่งไหลผ่านจากอำเภอลี้ มาบรรจบกับแม่น้ำปิงที่อำเภอจอมทองทางฝั่งซ้ายและจากอำเภอจอมทอง แม่น้ำปิงจะไหลลงไปทางใต้โดย มีแม่น้ำแม่แจ่มไหลมาบรรจบทางฝั่งขวาที่อำเภอฮอดก่อนจะไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำของเขื่อนภูมิพล จ.ตาก ที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ต่อไป เมื่อเกิดฝนตกหนักติดต่อกันยาวนานในพื้นที่ต้นน้ำจะเป็นผลให้ระดับน้ำและปริ มาณน้ำในแม่ปิงสะสมตัวเพิ่มสูงขึ้น จนเกิดล้นตลิ่งและไหลเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำใกล้เคียง เกิดอุทกภัยสร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่บ้านเรือน ชีวิตและทรัพย์สินขึ้นได้ โดยเฉพาะในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ โดยจะเกิดขึ้นเมื่อปริมาณน้ำเพิ่มสูงเกินความจุของลำน้ำโดยความจุของน้ำปิงที่ตัวเมืองเชียงใหม่คือ 440 ลบ.เมตร/วินาที และระ ดับวิกฤติที่น้ำจะเริ่มล้นฝั่งไหลท่วมอยู่ที่ 3.70 เมตร 3. ปี2566/67 จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 285,004 ไร่ ที่อำเภอเชียงดาวมีพื้นที่ปลูกข้าวโพด 19,878 ไร่ และอำเภอแม่แตงมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดประมาณ1636.75ไร่ ส่วนใหญ่จะปลูกบนดอยสูง นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ ให้น้ำป่าบนภูเขาต้นน้ำไหลลงมาได้รวด เร็วและเชี่ยวกรากไหลลงมาท่วมพื้นที่ราบเชิงเขาได้ ...หากฝนตกบนภูเขาที่เต็มไปด้วยป่าใหญ่ น้ำฝนจะขังอยู่ในป่าประมาณเก้าส่วน อีกหนึ่งส่วนไหลลงข้างล่าง และค่อยๆไหลรินไปหล่อเลี้ยงผู้คนด้านล่างตลอดทั้งปี แต่หากเป็นภูเขาหัวโล้น น้ำฝนจะขังอยู่หนึ่งส่วน อีกเก้าส่วนไหลลงข้างล่างทำให้เกิดมหาอุทกภัยใหญ่หลวง... ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/pfkBEHemaUuFdGYg/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 753 มุมมอง 0 รีวิว

  • เขื่อนแห่งแรกในประเทศไทย

    มีหนังสือเล่มหนึ่งที่ชอบและอยากแนะนำให้มีคนรู้จักมากขึ้น เนื่องจากผู้เขียนไม่ใช่นักเขียนที่ชื่อคุ้นหูผู้อ่านนิยายทั่วไปที่เป็นแนวมีพระเอกนางเอกนัก คงจะมีคนได้อ่านผลงานเขียนชิ้นนี้ไม่มาก ซึ่งน่าเสียดายอย่างยิ่ง

    เล่มที่พูดถึงนี้มีชื่อว่า "คนเหนือน้ำ" เป็นนวนิยายเขียนโดย คุณเฉลิมศักดิ์ แหงมงาม ซึ่งเป็นคนจังหวัดตาก และรับราชการมาทั้งชีวิต ครั้งหนึ่งได้เคยเป็นนายอำเภอสามเงา จ.ตาก ได้สัมผัสสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนคนพื้นถิ่น รับรู้เรื่องราว ปัญหา การดำเนินชีวิตของชาวชุมชนที่นั่น จึงได้เก็บข้อมูลนำมาเขียนเป็นนิยายเรื่องนี้

    ซึ่งบอกเล่าเกี่ยวกับตำนานประวัติของพระนางจามเทวี ผูกโยงกับหลักคิดทางพระพุทธศาสนา และการใช้ชีวิตอย่างสมถะของชาวเหนือเขื่อน รุ่นปู่ย่าตายาย กับแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศไทย คือเขื่อนภูมิพล จากข้อมูลที่ผู้เขียนศึกษาเพิ่มเติม และประสบการณ์ในชีวิตทำงาน คำบอกเล่าของผู้คนในพื้นที่ ตำนานเรื่องเล่า ประวัติศาตร์เมืองตาก ได้ถูกผสมผสานอย่างกลมกลืน แล้วผนวกรวมเป็นเรื่องราวแนวจินตนิยาย ที่แฝงหลักคิดการดำเนินชีวิตอันล้ำค่าน่าสนใจ

    ภาษาที่ใช้เป็นภาษาง่าย ๆ แต่มีความสละสลวย อ่านแล้วมองเห็นภาพตามชัดเจน โดยเฉพาะบรรยากาศที่งดงาม หากลูกอีสาน คือ นวนิยายที่แสดงถึงภาพชีวิตของคนภาคอีสานได้อย่างดีที่สุดเรื่องหนึ่งแล้ว ผมอยากจะกล่าวว่า "คนเหนือน้ำ" ก็สมควรเป็นตัวแทนของนวนิยายที่แสดงถึงภาพชีวิตของคนในเขตภาคตะวันตกติดเทือกเขาถนนธงชัยได้อย่างเต็มภาคภูมิ

    หนังสือ หนาถึง 412 หน้า จำนวน 36 บท
    พิมพ์ครั้งแรกปี พ.ศ. 2563 เดือน มกราคม
    จัดจำหน่ายโดย บ.เคล็ดไทย

    🔹️🔹️ในราคา 200 บาท 🔹️🔹️

    พิมพ์ขาวดำตลอดเล่ม ซึ่งถือว่าราคาไม่แพงเลยสำหรับหนังสือที่มีความหนาของจำนวนหน้าขนาดนี้ ที่สำคัญอักษรตัวใหญ่อ่านง่าย สำหรับผู้ที่เริ่มมีอายุและปัญหาทางสายตา

    มีภาพประกอบบ้างในบางบท พอช่วยเสริมจินตนาการ

    อ่านแล้วเชื่อว่าทุกคนจะรักเมืองตากมากยิ่งกว่าเก่า

    ป.ล. หนังสือ อาจหายากหน่อย หากสนใจสามารถสั่งเข้ามาได้ครับ มีเหลืออยู่ไม่มาก ทุกเล่มเป็นมือหนึ่งสภาพใหม่จากโรงพิมพ์

    จัดส่งฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย รายได้เข้าบัญชีมูลนิธิเพื่อนช่วยเพื่อน แจ้งมาได้ทางข้อความหรือใต้โพสต์นี้ครับ

    #thaitimes
    #แนะนำหนังสือ
    #หนังสือน่าอ่าน
    #นิยาย
    #เล่าเรื่องเมืองตาก
    #เขื่อนภูมิพล
    #พระนางจามเทวี
    #คนเหนือน้ำ
    เขื่อนแห่งแรกในประเทศไทย มีหนังสือเล่มหนึ่งที่ชอบและอยากแนะนำให้มีคนรู้จักมากขึ้น เนื่องจากผู้เขียนไม่ใช่นักเขียนที่ชื่อคุ้นหูผู้อ่านนิยายทั่วไปที่เป็นแนวมีพระเอกนางเอกนัก คงจะมีคนได้อ่านผลงานเขียนชิ้นนี้ไม่มาก ซึ่งน่าเสียดายอย่างยิ่ง เล่มที่พูดถึงนี้มีชื่อว่า "คนเหนือน้ำ" เป็นนวนิยายเขียนโดย คุณเฉลิมศักดิ์ แหงมงาม ซึ่งเป็นคนจังหวัดตาก และรับราชการมาทั้งชีวิต ครั้งหนึ่งได้เคยเป็นนายอำเภอสามเงา จ.ตาก ได้สัมผัสสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนคนพื้นถิ่น รับรู้เรื่องราว ปัญหา การดำเนินชีวิตของชาวชุมชนที่นั่น จึงได้เก็บข้อมูลนำมาเขียนเป็นนิยายเรื่องนี้ ซึ่งบอกเล่าเกี่ยวกับตำนานประวัติของพระนางจามเทวี ผูกโยงกับหลักคิดทางพระพุทธศาสนา และการใช้ชีวิตอย่างสมถะของชาวเหนือเขื่อน รุ่นปู่ย่าตายาย กับแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศไทย คือเขื่อนภูมิพล จากข้อมูลที่ผู้เขียนศึกษาเพิ่มเติม และประสบการณ์ในชีวิตทำงาน คำบอกเล่าของผู้คนในพื้นที่ ตำนานเรื่องเล่า ประวัติศาตร์เมืองตาก ได้ถูกผสมผสานอย่างกลมกลืน แล้วผนวกรวมเป็นเรื่องราวแนวจินตนิยาย ที่แฝงหลักคิดการดำเนินชีวิตอันล้ำค่าน่าสนใจ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาง่าย ๆ แต่มีความสละสลวย อ่านแล้วมองเห็นภาพตามชัดเจน โดยเฉพาะบรรยากาศที่งดงาม หากลูกอีสาน คือ นวนิยายที่แสดงถึงภาพชีวิตของคนภาคอีสานได้อย่างดีที่สุดเรื่องหนึ่งแล้ว ผมอยากจะกล่าวว่า "คนเหนือน้ำ" ก็สมควรเป็นตัวแทนของนวนิยายที่แสดงถึงภาพชีวิตของคนในเขตภาคตะวันตกติดเทือกเขาถนนธงชัยได้อย่างเต็มภาคภูมิ หนังสือ หนาถึง 412 หน้า จำนวน 36 บท พิมพ์ครั้งแรกปี พ.ศ. 2563 เดือน มกราคม จัดจำหน่ายโดย บ.เคล็ดไทย 🔹️🔹️ในราคา 200 บาท 🔹️🔹️ พิมพ์ขาวดำตลอดเล่ม ซึ่งถือว่าราคาไม่แพงเลยสำหรับหนังสือที่มีความหนาของจำนวนหน้าขนาดนี้ ที่สำคัญอักษรตัวใหญ่อ่านง่าย สำหรับผู้ที่เริ่มมีอายุและปัญหาทางสายตา มีภาพประกอบบ้างในบางบท พอช่วยเสริมจินตนาการ อ่านแล้วเชื่อว่าทุกคนจะรักเมืองตากมากยิ่งกว่าเก่า ป.ล. หนังสือ อาจหายากหน่อย หากสนใจสามารถสั่งเข้ามาได้ครับ มีเหลืออยู่ไม่มาก ทุกเล่มเป็นมือหนึ่งสภาพใหม่จากโรงพิมพ์ จัดส่งฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย รายได้เข้าบัญชีมูลนิธิเพื่อนช่วยเพื่อน แจ้งมาได้ทางข้อความหรือใต้โพสต์นี้ครับ #thaitimes #แนะนำหนังสือ #หนังสือน่าอ่าน #นิยาย #เล่าเรื่องเมืองตาก #เขื่อนภูมิพล #พระนางจามเทวี #คนเหนือน้ำ
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1494 มุมมอง 0 รีวิว