• อริยสาวก​พึง​ศึกษา​ว่า​แม้เพียงปฐมฌาน ก็ชื่อว่าเป็นที่หลบพ้นภัยจากมาร
    สัทธรรมลำดับที่ : 949
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=949
    ชื่อบทธรรม : -แม้เพียงปฐมฌาน ก็ชื่อว่าเป็นที่หลบพ้นภัยจากมาร
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --แม้เพียงปฐมฌาน ก็ชื่อว่าเป็นที่หลบพ้นภัยจากมาร
    (พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสข้อความปรารภการสงครามระหว่างเทวดากับอสูร
    : ถ้าฝ่ายใดแพ้ถูกไล่ติดตามไปจนถึงภพเป็นที่อยู่แห่งตน
    ก็พ้นจาการถูกไล่ติดตาม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน.
    สรุปความว่า ภพแห่งตนเป็นที่พึ่งที่ต้านทานของตน สำหรับชนสามัญทั่วไป;
    ส่วนสำหรับภิกษุนั้น ตรัสว่า :-
    )​
    --ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น
    : ในสมัยใด ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึง &​ปฐมฌาน
    อันมีวิตกมีวิจาร มีปิติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่ ;
    --ภิกษุ ท. ! ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมคิดอย่างนี้ว่า
    “ในกาลนี้ เรา มีตนอันถึงแล้ว ซึ่งที่ต้านทานสำหรับสัตว์ผู้กลัวอยู่ มารจะไม่ทำอะไรได้”.
    --ภิกษุ ท. ! แม้มารผู้มีบาป ก็คิดอย่างนี้ว่า
    “ในกาลนี้ ภิกษุมีตนอันถึงแล้ว ซึ่งที่ต้านทานสำหรับสัตว์ผู้กลัวอยู่ เราจะทำอะไรไม่ได้”.
    (ในกรณีแห่ง
    &ทุติยฌาน...
    &ตติยฌาน... และ
    &จตุตถฌาน...
    ก็ได้ตรัสข้อความทำนองเดียวกัน ผิดกันแต่ชื่อแห่งฌาน
    ไม่จำเป็นต้องนำมาใส่ไว้ ในที่นี้ให้ยืดยาว
    จักข้ามไปยังข้อความที่กล่าวถึง อากาสานัญจายตนะ :-
    )
    --ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ
    เพราะก้าวล่วงซึ่ง รูปสัญญา เสียได้โดยประการทั้งปวง
    เพราะการดับไปแห่ง ปฏิฆสัญญา
    เพราะการไม่ทำไว้ในใจซึ่ง นานัตตสัญญา
    จึงเข้าถึง &​อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศ ไม่มีที่สิ้นสุด”
    ดังนี้ แล้วแลอยู่.
    --ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า
    ได้กระทำมารให้ถึงที่สุด ให้ไม่มีทางไป
    ได้ถึงที่ซึ่งจักษุของมารผู้มีบาปมองไม่เห็น.
    (ในกรณีแห่ฌานที่ถัดไป คือ
    &วิญญาณัญจายตนะ...
    &อากิญจัญญายตนะ... และ
    &เนวสัญญานาสัญญายตนะ....
    ก็ได้ตรัสข้อความทำนองเดียวกัน ผิดกันแต่ชื่อแห่งฌาน
    ไม่จำเป็นต้องนำมาใส่ไว้ ในที่นี้ให้ยืดยาว.
    ส่วนในกรณีแห่งสัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น ได้ตรัสว่า:-
    )
    --ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ
    เพราะก้าวล่วงซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง
    จึงเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่,
    #อาสวะของเธอก็สิ้นสุดไปเพราะเห็นแล้วด้วยปัญญา.
    http://etipitaka.com/read/pali/23/456/?keywords=อาสวา+ปริกฺขีณา+โหนฺติ
    --ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า
    ได้กระทำมารให้ถึงที่สุด ให้ไม่มีทางไป
    ได้ถึงที่ซึ่งจักษุของมารผู้มีบาปมองไม่เห็น ,
    ข้ามได้แล้วซึ่งเครื่องข้อง (คือตัณหา) ในโลก
    ดังนี้.-
    (ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า เมื่อจิตอยู่ในปฐมฌาน,
    เพียงเท่านั้นจิตก็จะพ้นจากการรบกวนทำร้ายของมาร
    คือนิวรณ์ กิเลส และความรู้สึกอันเป็นทุกข์อื่นๆ
    เพราะอำนาจของปฐมฌานมีมากพอที่จะระงับความรู้สึกอันเป็นทุกข์นั้นเสียได้
    แม้ไม่ตลอดไปก็ต้องได้ในระยะหนึ่งๆ เพื่อเป็นโอกาสให้ได้ปฏิบัติสูงขึ้นไป จนถึงที่สุด.
    ดังนั้น เราควรฝึกฝนอย่างน้อยที่สุดในปฐมฌาน
    สำหรับ เป็นที่หลบภัยจากมารเมื่อไรก็ได้ ดังกล่าวแล้ว
    ).

    #สัมมาสมาธิ
    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - นวก.อ. 23/350-353/243.
    http://etipitaka.com/read/thai/23/350/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%94%E0%B9%93
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นวก.อ. ๒๓/๔๕๐-๔๕๓/๒๔๓.
    http://etipitaka.com/read/pali/23/450/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%94%E0%B9%93
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=949
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=81&id=949
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=81
    ลำดับสาธยายธรรม : 81 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_81.mp3
    อริยสาวก​พึง​ศึกษา​ว่า​แม้เพียงปฐมฌาน ก็ชื่อว่าเป็นที่หลบพ้นภัยจากมาร สัทธรรมลำดับที่ : 949 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=949 ชื่อบทธรรม : -แม้เพียงปฐมฌาน ก็ชื่อว่าเป็นที่หลบพ้นภัยจากมาร เนื้อความทั้งหมด :- --แม้เพียงปฐมฌาน ก็ชื่อว่าเป็นที่หลบพ้นภัยจากมาร (พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสข้อความปรารภการสงครามระหว่างเทวดากับอสูร : ถ้าฝ่ายใดแพ้ถูกไล่ติดตามไปจนถึงภพเป็นที่อยู่แห่งตน ก็พ้นจาการถูกไล่ติดตาม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน. สรุปความว่า ภพแห่งตนเป็นที่พึ่งที่ต้านทานของตน สำหรับชนสามัญทั่วไป; ส่วนสำหรับภิกษุนั้น ตรัสว่า :- )​ --ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในสมัยใด ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึง &​ปฐมฌาน อันมีวิตกมีวิจาร มีปิติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่ ; --ภิกษุ ท. ! ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมคิดอย่างนี้ว่า “ในกาลนี้ เรา มีตนอันถึงแล้ว ซึ่งที่ต้านทานสำหรับสัตว์ผู้กลัวอยู่ มารจะไม่ทำอะไรได้”. --ภิกษุ ท. ! แม้มารผู้มีบาป ก็คิดอย่างนี้ว่า “ในกาลนี้ ภิกษุมีตนอันถึงแล้ว ซึ่งที่ต้านทานสำหรับสัตว์ผู้กลัวอยู่ เราจะทำอะไรไม่ได้”. (ในกรณีแห่ง &ทุติยฌาน... &ตติยฌาน... และ &จตุตถฌาน... ก็ได้ตรัสข้อความทำนองเดียวกัน ผิดกันแต่ชื่อแห่งฌาน ไม่จำเป็นต้องนำมาใส่ไว้ ในที่นี้ให้ยืดยาว จักข้ามไปยังข้อความที่กล่าวถึง อากาสานัญจายตนะ :- ) --ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ เพราะก้าวล่วงซึ่ง รูปสัญญา เสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะการดับไปแห่ง ปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ทำไว้ในใจซึ่ง นานัตตสัญญา จึงเข้าถึง &​อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศ ไม่มีที่สิ้นสุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่. --ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้กระทำมารให้ถึงที่สุด ให้ไม่มีทางไป ได้ถึงที่ซึ่งจักษุของมารผู้มีบาปมองไม่เห็น. (ในกรณีแห่ฌานที่ถัดไป คือ &วิญญาณัญจายตนะ... &อากิญจัญญายตนะ... และ &เนวสัญญานาสัญญายตนะ.... ก็ได้ตรัสข้อความทำนองเดียวกัน ผิดกันแต่ชื่อแห่งฌาน ไม่จำเป็นต้องนำมาใส่ไว้ ในที่นี้ให้ยืดยาว. ส่วนในกรณีแห่งสัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น ได้ตรัสว่า:- ) --ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ เพราะก้าวล่วงซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่, #อาสวะของเธอก็สิ้นสุดไปเพราะเห็นแล้วด้วยปัญญา. http://etipitaka.com/read/pali/23/456/?keywords=อาสวา+ปริกฺขีณา+โหนฺติ --ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้กระทำมารให้ถึงที่สุด ให้ไม่มีทางไป ได้ถึงที่ซึ่งจักษุของมารผู้มีบาปมองไม่เห็น , ข้ามได้แล้วซึ่งเครื่องข้อง (คือตัณหา) ในโลก ดังนี้.- (ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า เมื่อจิตอยู่ในปฐมฌาน, เพียงเท่านั้นจิตก็จะพ้นจากการรบกวนทำร้ายของมาร คือนิวรณ์ กิเลส และความรู้สึกอันเป็นทุกข์อื่นๆ เพราะอำนาจของปฐมฌานมีมากพอที่จะระงับความรู้สึกอันเป็นทุกข์นั้นเสียได้ แม้ไม่ตลอดไปก็ต้องได้ในระยะหนึ่งๆ เพื่อเป็นโอกาสให้ได้ปฏิบัติสูงขึ้นไป จนถึงที่สุด. ดังนั้น เราควรฝึกฝนอย่างน้อยที่สุดในปฐมฌาน สำหรับ เป็นที่หลบภัยจากมารเมื่อไรก็ได้ ดังกล่าวแล้ว ). #สัมมาสมาธิ​ #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - นวก.อ. 23/350-353/243. http://etipitaka.com/read/thai/23/350/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%94%E0%B9%93 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นวก.อ. ๒๓/๔๕๐-๔๕๓/๒๔๓. http://etipitaka.com/read/pali/23/450/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%94%E0%B9%93 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=949 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=81&id=949 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=81 ลำดับสาธยายธรรม : 81 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_81.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - (ในสูตรอื่นแสดงอานิสงส์แห่งการหลีกเร้นไว้ด้วยการ รู้ชัดการเกิดขึ้นและความดับไปแห่งขันธ์ห้า ก็มี. - ๑๗/๒๐/๓๐. (ดูรายละเอียดของความเกิดและความดับแห่งขันธ์ห้า ในหนังสือ ปฏิจจ. โอ. หน้า ๒๕๙ - ๒๖๒ และที่หน้า ๓๓๘ - ๓๔๑ .
    -(ในสูตรอื่นแสดงอานิสงส์แห่งการหลีกเร้นไว้ด้วยการ รู้ชัดการเกิดขึ้นและความดับไปแห่งขันธ์ห้า ก็มี. - ๑๗/๒๐/๓๐. (ดูรายละเอียดของความเกิดและความดับแห่งขันธ์ห้า ในหนังสือ ปฏิจจ. โอ. หน้า ๒๕๙ - ๒๖๒ และที่หน้า ๓๓๘ - ๓๔๑ . ในสูตรอื่นแสดงไว้ด้วยการ รู้ชัดอริยสัจสี่ ก็มี ดังที่ได้ยกมาไว้ในภาคนำแห่งหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า ๗๕. ในสูตรอื่นแสดงไว้ด้วยการ รู้ชัดอายตนิกธรรม ๖ หมวดๆ ละ ๕ อย่างคือ จักษุ รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดขึ้นจากจักขุสัมผัส ฯลฯ รวมเป็นรู้ชัดอายตนิกธรรม ๓๐ อย่าง ว่าเป็นอนิจจัง ก็มี. - ๑๘/๑๐๐/๑๔๘. ในสูตรอื่นแสดงไว้ด้วยการปรากฏของอายตนิกธรรมทั้ง ๖ หมวดนั้น โดยความเป็นอนิจจัง ก็มี. - ๑๘/๑๘๑/๒๕๐). แม้เพียงปฐมฌาน ก็ชื่อว่าเป็นที่หลบพ้นภัยจากมาร (พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสข้อความปรารภการสงครามระหว่างเทวดากับอสูร : ถ้าฝ่ายใดแพ้ถูกไล่ติดตามไปจนถึงภพเป็นที่อยู่แห่งตน ก็พ้นจาการถูกไล่ติดตาม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน. สรุปความว่า ภพแห่งตนเป็นที่พึ่งที่ต้านทานของตน สำหรับชนสามัญทั่วไป; ส่วนสำหรับภิกษุนั้น ตรัสว่า :-) ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในสมัยใด ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกมีวิจาร มีปิติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่ ; ภิกษุ ท. ! ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมคิดอย่างนี้ว่า “ในกาลนี้ เรา มีตนอันถึงแล้ว ซึ่งที่ต้านทานสำหรับสัตว์ผู้กลัวอยู่ มารจะไม่ทำอะไรได้”. ภิกษุ ท. ! แม้มารผู้มีบาป ก็คิดอย่างนี้ว่า “ในกาลนี้ ภิกษุมีตนอันถึงแล้ว ซึ่งที่ต้านทานสำหรับสัตว์ผู้กลัว อยู่ เราจะทำอะไรไม่ได้”. (ในกรณีแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ก็ได้ตรัสข้อความทำนองเดียวกัน ผิดกันแต่ชื่อแห่งฌาน ไม่จำเป็นต้องนำมาใส่ไว้ ในที่นี้ให้ยืดยาว จักข้ามไปยังข้อความที่กล่าวถึงอากาสานัญจายตนะ :-) ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ เพราะก้าวล่วงซึ่งรูปสัญญาเสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะการดับไปแห่ง ปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ทำไว้ในใจ ซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศ ไม่มีที่สิ้นสุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้กระทำมารให้ถึงที่สุด ให้ไม่มีทางไป ได้ถึงที่ซึ่งจักษุของมารผู้มีบาปมองไม่เห็น. (ในกรณีแห่ฌานที่ถัดไป คือ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็ได้ตรัสข้อความทำนองเดียวกัน ผิดกันแต่ชื่อแห่งฌาน ไม่จำเป็นต้องนำมาใส่ไว้ ในที่นี้ให้ยืดยาว. ส่วนในกรณีแห่งสัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น ได้ตรัสว่า:-) ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ เพราะก้าวล่วงซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่, อาสวะของเธอก็สิ้นสุดไป เพราะเห็นแล้วด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้กระทำมารให้ถึงที่สุด ให้ไม่มีทางไป ได้ถึงที่ซึ่งจักษุของมารผู้มีบาปมองไม่เห็น , ข้ามได้แล้วซึ่งเครื่องข้อง (คือตัณหา) ในโลก ดังนี้.
    0 Comments 0 Shares 125 Views 0 Reviews