• ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เรียกร้องความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับเวียดนามในด้านการค้าและห่วงโซ่อุปทาน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ในขณะเริ่มต้นการเดินทางเยือน 3 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กรุงฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม

    การเยือนครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่ปักกิ่งเผชิญกับอัตราภาษี 145% จากสหรัฐฯ ขณะที่เวียดนามกำลังเจรจาเพื่อลดภาษีของสหรัฐฯ 46% ที่อาจบังคับใช้ในเดือนก.ค. หลังสิ้นสุดการระงับชั่วคราว

    “ทั้งสองฝ่ายควรเสริมความร่วมมือในด้านการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน” สี จิ้นผิง ระบุในบทความที่ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์เญินเซิน (Nhan Dan) ของพรรคคอมมิวนิวสต์เวียดนาม ก่อนการเดินทางเยือนในวันนี้ (14) โดยเขายังเรียกร้องให้มีการค้ามากขึ้นและความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นกับฮานอยในด้านปัญญาประดิษฐ์และเศรษฐกิจสีเขียว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9680000035481

    #MGROnline #สีจิ้นผิง
    ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เรียกร้องความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับเวียดนามในด้านการค้าและห่วงโซ่อุปทาน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ในขณะเริ่มต้นการเดินทางเยือน 3 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กรุงฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม • การเยือนครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่ปักกิ่งเผชิญกับอัตราภาษี 145% จากสหรัฐฯ ขณะที่เวียดนามกำลังเจรจาเพื่อลดภาษีของสหรัฐฯ 46% ที่อาจบังคับใช้ในเดือนก.ค. หลังสิ้นสุดการระงับชั่วคราว • “ทั้งสองฝ่ายควรเสริมความร่วมมือในด้านการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน” สี จิ้นผิง ระบุในบทความที่ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์เญินเซิน (Nhan Dan) ของพรรคคอมมิวนิวสต์เวียดนาม ก่อนการเดินทางเยือนในวันนี้ (14) โดยเขายังเรียกร้องให้มีการค้ามากขึ้นและความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นกับฮานอยในด้านปัญญาประดิษฐ์และเศรษฐกิจสีเขียว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9680000035481 • #MGROnline #สีจิ้นผิง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 51 มุมมอง 0 รีวิว
  • รอยเตอร์ - เกาหลีใต้และเวียดนามเห็นพ้องกันในวันนี้ (14) ที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจหลังการประชุมระดับรัฐมนตรี ในช่วงเวลาที่ทั้งสองประเทศกำลังเร่งเจรจาเพื่อลดผลกระทบจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ

    รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้อยู่ระหว่างการเยือนเวียดนาม ในขณะที่ทั้งสองประเทศกำลังพยายามเจรจาเพื่อลดอัตราภาษีตอบโต้ที่สหรัฐฯ เรียกเก็บที่ 25% และ 46% ตามลำดับ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในเดือนก.ค. หลังจากการระงับขึ้นภาษีทั่วโลกสิ้นสุดลง

    บริษัทจากเกาหลีใต้เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้เป็นปลายทางการส่งออกอันดับ 3 ของเกาหลีใต้

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9680000035525

    #MGROnline #เกาหลีใต้ #เวียดนาม
    รอยเตอร์ - เกาหลีใต้และเวียดนามเห็นพ้องกันในวันนี้ (14) ที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจหลังการประชุมระดับรัฐมนตรี ในช่วงเวลาที่ทั้งสองประเทศกำลังเร่งเจรจาเพื่อลดผลกระทบจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ • รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้อยู่ระหว่างการเยือนเวียดนาม ในขณะที่ทั้งสองประเทศกำลังพยายามเจรจาเพื่อลดอัตราภาษีตอบโต้ที่สหรัฐฯ เรียกเก็บที่ 25% และ 46% ตามลำดับ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในเดือนก.ค. หลังจากการระงับขึ้นภาษีทั่วโลกสิ้นสุดลง • บริษัทจากเกาหลีใต้เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้เป็นปลายทางการส่งออกอันดับ 3 ของเกาหลีใต้ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/indochina/detail/9680000035525 • #MGROnline #เกาหลีใต้ #เวียดนาม
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 57 มุมมอง 0 รีวิว
  • ข่าวนี้เล่าถึงการประกาศของ Donald Trump ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เกี่ยวกับการกำหนดอัตราภาษีใหม่สำหรับเซมิคอนดักเตอร์ที่นำเข้า ซึ่งจะมีการประกาศรายละเอียดในสัปดาห์หน้า โดย Trump ระบุว่าจะมีความยืดหยุ่นสำหรับบางบริษัทในอุตสาหกรรมนี้

    Trump ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ระหว่างการเดินทางกลับจาก West Palm Beach โดยระบุว่าการกำหนดอัตราภาษีใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายที่มุ่งเน้นการสนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศและลดการพึ่งพาการนำเข้า อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราภาษีหรือบริษัทที่จะได้รับการยกเว้น

    ในมุมมองที่กว้างขึ้น การกำหนดภาษีนี้อาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี โดยเฉพาะในกลุ่มบริษัทที่พึ่งพาเซมิคอนดักเตอร์จากต่างประเทศ เช่น บริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์

    ✅ การประกาศอัตราภาษีใหม่สำหรับเซมิคอนดักเตอร์
    - Trump ระบุว่าจะมีการประกาศอัตราภาษีใหม่ในสัปดาห์หน้า
    - มีความยืดหยุ่นสำหรับบางบริษัทในอุตสาหกรรม

    ✅ เป้าหมายของนโยบาย
    - สนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศ
    - ลดการพึ่งพาการนำเข้า

    ℹ️ ผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน
    - การกำหนดภาษีอาจเพิ่มต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
    - บริษัทที่พึ่งพาเซมิคอนดักเตอร์จากต่างประเทศอาจต้องปรับตัว

    ℹ️ ความเสี่ยงต่อความสัมพันธ์ทางการค้า
    - การกำหนดภาษีอาจเพิ่มความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และประเทศผู้ส่งออก
    - ความขัดแย้งทางการค้าอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/04/14/trump-says-will-announce-semiconductor-tariffs-over-next-week
    ข่าวนี้เล่าถึงการประกาศของ Donald Trump ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เกี่ยวกับการกำหนดอัตราภาษีใหม่สำหรับเซมิคอนดักเตอร์ที่นำเข้า ซึ่งจะมีการประกาศรายละเอียดในสัปดาห์หน้า โดย Trump ระบุว่าจะมีความยืดหยุ่นสำหรับบางบริษัทในอุตสาหกรรมนี้ Trump ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ระหว่างการเดินทางกลับจาก West Palm Beach โดยระบุว่าการกำหนดอัตราภาษีใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายที่มุ่งเน้นการสนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศและลดการพึ่งพาการนำเข้า อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราภาษีหรือบริษัทที่จะได้รับการยกเว้น ในมุมมองที่กว้างขึ้น การกำหนดภาษีนี้อาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี โดยเฉพาะในกลุ่มบริษัทที่พึ่งพาเซมิคอนดักเตอร์จากต่างประเทศ เช่น บริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ ✅ การประกาศอัตราภาษีใหม่สำหรับเซมิคอนดักเตอร์ - Trump ระบุว่าจะมีการประกาศอัตราภาษีใหม่ในสัปดาห์หน้า - มีความยืดหยุ่นสำหรับบางบริษัทในอุตสาหกรรม ✅ เป้าหมายของนโยบาย - สนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศ - ลดการพึ่งพาการนำเข้า ℹ️ ผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน - การกำหนดภาษีอาจเพิ่มต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี - บริษัทที่พึ่งพาเซมิคอนดักเตอร์จากต่างประเทศอาจต้องปรับตัว ℹ️ ความเสี่ยงต่อความสัมพันธ์ทางการค้า - การกำหนดภาษีอาจเพิ่มความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และประเทศผู้ส่งออก - ความขัดแย้งทางการค้าอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/04/14/trump-says-will-announce-semiconductor-tariffs-over-next-week
    WWW.THESTAR.COM.MY
    Trump says will announce semiconductor tariffs over next week
    ABOARD AIR FORCE ONE (Reuters) - U.S. President Donald Trump on Sunday said he would be announcing the tariff rate on imported semiconductors over the next week, adding that there would be flexibility on some companies in the sector.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 30 มุมมอง 0 รีวิว
  • นางเอลิซาเบธ วอร์เรน (Elizabeth Warren) วุฒิสมาชิกรัฐแมสซาชูเซตส์ จากพรรคเดโมแครต ได้ขอให้ "สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ" (Securities and Exchange Commission - SEC) ตรวจสอบว่าทรัมป์ละเมิดกฎหมายการซื้อขายหลักทรัพย์เรื่องอินไซเดอร์หรือไม่


    หลังจากที่มีการซื้อขายในช่วงความวุ่นวายเรื่องการประกาศมาตรการภาษีศุลกากรของทรัมป์

    ซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์โพสต์ข้อความบนโซเชียลมีเดียของเขาว่า "นี่คือเวลาที่ดีเยี่ยมในการซื้อ" ไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่จะมีการประกาศระงับการใช้อัตราภาษีใหม่ออกไป 90 วัน ซึ่งส่งผลให้มูลค่าตลาดพุ่งสูงขึ้นทันที
    นางเอลิซาเบธ วอร์เรน (Elizabeth Warren) วุฒิสมาชิกรัฐแมสซาชูเซตส์ จากพรรคเดโมแครต ได้ขอให้ "สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ" (Securities and Exchange Commission - SEC) ตรวจสอบว่าทรัมป์ละเมิดกฎหมายการซื้อขายหลักทรัพย์เรื่องอินไซเดอร์หรือไม่ หลังจากที่มีการซื้อขายในช่วงความวุ่นวายเรื่องการประกาศมาตรการภาษีศุลกากรของทรัมป์ ซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์โพสต์ข้อความบนโซเชียลมีเดียของเขาว่า "นี่คือเวลาที่ดีเยี่ยมในการซื้อ" ไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่จะมีการประกาศระงับการใช้อัตราภาษีใหม่ออกไป 90 วัน ซึ่งส่งผลให้มูลค่าตลาดพุ่งสูงขึ้นทันที
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 121 มุมมอง 0 รีวิว
  • นับตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย.2568 เป็นต้นไป ตั้งแต่เวลา 00.01 น. (เวลาสหรัฐฯ) สหรัฐฯ ได้เริ่มเก็บภาษีศุลกากรต่างตอบแทน (Reciprocal Tariff) ตามอัตราเฉพาะที่กำหนดสำหรับแต่ละประเทศ ซึ่งไทยจะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตรา 36% โดยจะเก็บเพิ่มจากอัตราภาษีที่เรียกเก็บอยู่แล้ว (MFN apply rate) รวมทั้งอากร ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ประเทศนั้นถูกจัดเก็บอยู่เดิม นั่นหมายความว่า สินค้าไทยโดนภาษี 36% แล้ว ทุกชนิดสินค้า ไม่มียกเว้น แต่จะยกเว้นให้สำหรับสินค้าที่ขนลงเรือหรือยานพาหนะแล้ว และอยู่ระหว่างเดินทางมายังสหรัฐฯ ก่อนเวลาดังกล่าว

    โดยอัตราภาษีต่างตอบแทนข้างต้น จะไม่ใช้กับสินค้าที่สหรัฐฯ ได้เคยประกาศใช้มาตรการไปก่อนหน้านี้ คือ วันที่ 12 มี.ค.2568 สินค้าเหล็กและอะลูมิเนียม ถูกจัดเก็บอัตราภาษีเฉพาะที่ 25% และวันที่ 3 เม.ย.2568 สินค้ารถยนต์และชิ้นส่วน ถูกจัดเก็บอัตราภาษีเฉพาะที่ 25% และภาษีต่างตอบแทนดังกล่าว ยังจะไม่ใช้กับสินค้าประเภททองแดง ยาและเวชภัณฑ์ เซมิคอนดักเตอร์ ไม้แปรรูป แร่ธาตุสำคัญบางประเภท พลังงานและผลิตภัณฑ์พลังงาน เนื่องจากสหรัฐฯ อาจจะมีการประกาศใช้ภาษีเฉพาะกับสินค้าดังกล่าวในภายหลัง คาดว่าจะเก็บเพิ่มในอัตรา 25%

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/business/detail/9680000034144

    #MGROnline #อัตราภาษี
    นับตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย.2568 เป็นต้นไป ตั้งแต่เวลา 00.01 น. (เวลาสหรัฐฯ) สหรัฐฯ ได้เริ่มเก็บภาษีศุลกากรต่างตอบแทน (Reciprocal Tariff) ตามอัตราเฉพาะที่กำหนดสำหรับแต่ละประเทศ ซึ่งไทยจะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตรา 36% โดยจะเก็บเพิ่มจากอัตราภาษีที่เรียกเก็บอยู่แล้ว (MFN apply rate) รวมทั้งอากร ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ประเทศนั้นถูกจัดเก็บอยู่เดิม นั่นหมายความว่า สินค้าไทยโดนภาษี 36% แล้ว ทุกชนิดสินค้า ไม่มียกเว้น แต่จะยกเว้นให้สำหรับสินค้าที่ขนลงเรือหรือยานพาหนะแล้ว และอยู่ระหว่างเดินทางมายังสหรัฐฯ ก่อนเวลาดังกล่าว • โดยอัตราภาษีต่างตอบแทนข้างต้น จะไม่ใช้กับสินค้าที่สหรัฐฯ ได้เคยประกาศใช้มาตรการไปก่อนหน้านี้ คือ วันที่ 12 มี.ค.2568 สินค้าเหล็กและอะลูมิเนียม ถูกจัดเก็บอัตราภาษีเฉพาะที่ 25% และวันที่ 3 เม.ย.2568 สินค้ารถยนต์และชิ้นส่วน ถูกจัดเก็บอัตราภาษีเฉพาะที่ 25% และภาษีต่างตอบแทนดังกล่าว ยังจะไม่ใช้กับสินค้าประเภททองแดง ยาและเวชภัณฑ์ เซมิคอนดักเตอร์ ไม้แปรรูป แร่ธาตุสำคัญบางประเภท พลังงานและผลิตภัณฑ์พลังงาน เนื่องจากสหรัฐฯ อาจจะมีการประกาศใช้ภาษีเฉพาะกับสินค้าดังกล่าวในภายหลัง คาดว่าจะเก็บเพิ่มในอัตรา 25% • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/business/detail/9680000034144 • #MGROnline #อัตราภาษี
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 127 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศหยุดการเก็บภาษีใหม่ทั่วโลกเป็นเวลา 90 วัน แต่เพิ่มภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเป็น 125% ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสินค้าเทคโนโลยี เช่น แล็ปท็อป, จอภาพ, และ คอนโซลเกม

    🌐 การเปลี่ยนแปลงในนโยบายภาษี:
    📉 ลดภาษีทั่วโลก: ภาษีทั่วโลกถูกปรับลดลงเหลือ 10% ยกเว้นบางประเทศ เช่น เม็กซิโกและแคนาดา ซึ่งอาจมีอัตราภาษีระหว่าง 10%-35%
    📈 เพิ่มภาษีจีน: ภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นจาก 54% เป็น 104% และล่าสุดเป็น 125%

    ⚠️ ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยี:
    🎮 การเลื่อนการเปิดตัวสินค้า: Nintendo เลื่อนการเปิดตัว Switch 2 และผู้ผลิตแล็ปท็อปบางรายหยุดการส่งสินค้าไปยังสหรัฐฯ
    💾 การปรับราคาสินค้า: Micron เพิ่มราคาสินค้า เช่น SSD เพื่อตอบสนองต่อภาษีที่เพิ่มขึ้น

    https://www.techspot.com/news/107487-trump-pauses-global-tariffs-but-raises-china-tariffs.html
    ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศหยุดการเก็บภาษีใหม่ทั่วโลกเป็นเวลา 90 วัน แต่เพิ่มภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเป็น 125% ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสินค้าเทคโนโลยี เช่น แล็ปท็อป, จอภาพ, และ คอนโซลเกม 🌐 การเปลี่ยนแปลงในนโยบายภาษี: 📉 ลดภาษีทั่วโลก: ภาษีทั่วโลกถูกปรับลดลงเหลือ 10% ยกเว้นบางประเทศ เช่น เม็กซิโกและแคนาดา ซึ่งอาจมีอัตราภาษีระหว่าง 10%-35% 📈 เพิ่มภาษีจีน: ภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นจาก 54% เป็น 104% และล่าสุดเป็น 125% ⚠️ ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยี: 🎮 การเลื่อนการเปิดตัวสินค้า: Nintendo เลื่อนการเปิดตัว Switch 2 และผู้ผลิตแล็ปท็อปบางรายหยุดการส่งสินค้าไปยังสหรัฐฯ 💾 การปรับราคาสินค้า: Micron เพิ่มราคาสินค้า เช่น SSD เพื่อตอบสนองต่อภาษีที่เพิ่มขึ้น https://www.techspot.com/news/107487-trump-pauses-global-tariffs-but-raises-china-tariffs.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    Trump pauses global tariffs but raises China tariffs to 125%, potentially impacting laptops, monitors, and consoles
    The decision marks a sharp reversal from the steep tariffs the President announced on April 2, which included significant duties on imports from countries such as Japan...
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 76 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภาษีศุลกากรนำเข้าสหรัฐฯอัตรา 104% สำหรับสินค้าจีนมีผลบังคับใช้แล้วในวันพุธ(9 เม.ย)ตามคำสั่งผู้นำสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ล่าสุดปักกิ่งประกาศตอบโต้สินค้าอเมริกันด้วยอัตราภาษี 84% แต่ผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนมาลงที่การเติบโตเศรษฐกิจเอเชียโดนหั่นไปถึง1 ใน 3 ของ 1% ในปีนี้

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000034016

    #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ภาษีศุลกากรนำเข้าสหรัฐฯอัตรา 104% สำหรับสินค้าจีนมีผลบังคับใช้แล้วในวันพุธ(9 เม.ย)ตามคำสั่งผู้นำสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ล่าสุดปักกิ่งประกาศตอบโต้สินค้าอเมริกันด้วยอัตราภาษี 84% แต่ผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนมาลงที่การเติบโตเศรษฐกิจเอเชียโดนหั่นไปถึง1 ใน 3 ของ 1% ในปีนี้ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000034016 #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    Wow
    14
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 602 มุมมอง 0 รีวิว
  • สงครามการค้าระหว่าง สหรัฐฯ และ จีน ได้สร้างความผันผวนให้กับตลาดโลก โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่ต้องเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักจากการประกาศมาตรการภาษีของประธานาธิบดี Donald Trump บริษัท Apple ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลกตามมูลค่าตลาดได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดในครั้งนี้

    ✅ ผลกระทบจากมาตรการภาษี 50%: มาตรการภาษีที่กำลังถูกเสนอจะส่งผลโดยตรงต่อผลิตภัณฑ์ของ Apple ที่ผลิตในจีน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ iPhone ไปจนถึง MacBook ที่อาจต้องเพิ่มราคาขายสูงถึง 350 ดอลลาร์ ต่อเครื่องเพื่อชดเชยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น หาก Apple เลือกที่จะส่งต่อภาระภาษีไปยังผู้บริโภค

    ✅ การผลิตในประเทศอื่นที่ยังไม่แน่นอน: แม้ว่า Apple จะมีฐานการผลิตใน เวียดนาม ไทย และอินเดีย แต่ประเทศเหล่านี้ก็ต้องเจอมาตรการภาษีที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีข่าวลือว่า Apple อาจพิจารณาย้ายฐานการผลิตบางส่วนไปยัง บราซิล ซึ่งเผชิญอัตราภาษีต่ำกว่าประเทศอื่น

    ✅ สถานะของหุ้น Apple: มูลค่าหุ้นของ Apple ลดลงเกือบ 20% ในช่วงสามวันแรกของสงครามการค้า ทำให้สูญเสียมูลค่าตลาดกว่า 640 พันล้านดอลลาร์ ก่อนจะเริ่มฟื้นตัวในวันอังคาร

    https://www.techspot.com/news/107459-apple-stock-plummets-trump-tariff-threat-wiping-out.html
    สงครามการค้าระหว่าง สหรัฐฯ และ จีน ได้สร้างความผันผวนให้กับตลาดโลก โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่ต้องเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักจากการประกาศมาตรการภาษีของประธานาธิบดี Donald Trump บริษัท Apple ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลกตามมูลค่าตลาดได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดในครั้งนี้ ✅ ผลกระทบจากมาตรการภาษี 50%: มาตรการภาษีที่กำลังถูกเสนอจะส่งผลโดยตรงต่อผลิตภัณฑ์ของ Apple ที่ผลิตในจีน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ iPhone ไปจนถึง MacBook ที่อาจต้องเพิ่มราคาขายสูงถึง 350 ดอลลาร์ ต่อเครื่องเพื่อชดเชยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น หาก Apple เลือกที่จะส่งต่อภาระภาษีไปยังผู้บริโภค ✅ การผลิตในประเทศอื่นที่ยังไม่แน่นอน: แม้ว่า Apple จะมีฐานการผลิตใน เวียดนาม ไทย และอินเดีย แต่ประเทศเหล่านี้ก็ต้องเจอมาตรการภาษีที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีข่าวลือว่า Apple อาจพิจารณาย้ายฐานการผลิตบางส่วนไปยัง บราซิล ซึ่งเผชิญอัตราภาษีต่ำกว่าประเทศอื่น ✅ สถานะของหุ้น Apple: มูลค่าหุ้นของ Apple ลดลงเกือบ 20% ในช่วงสามวันแรกของสงครามการค้า ทำให้สูญเสียมูลค่าตลาดกว่า 640 พันล้านดอลลาร์ ก่อนจะเริ่มฟื้นตัวในวันอังคาร https://www.techspot.com/news/107459-apple-stock-plummets-trump-tariff-threat-wiping-out.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    Apple's China exposure makes it most vulnerable in US-China trade war
    While most major American tech companies have much to lose in a global trade war, Apple – the world's largest by market cap – is the most...
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 109 มุมมอง 0 รีวิว
  • อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเจ้าของเทสลา เคยพูดจาขอร้องประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ตรงๆ เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ให้ยกเลิกมาตรการรีดภาษีตอบโต้ประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ ทว่าโน้มน้าวไม่สำเร็จ ตามรายงานของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ซึ่งอ้างแหล่งข่าวใกล้ชิด
    .
    รายงานฉบับนี้อ้างว่า บทสนทนาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นความขัดแย้งครั้งใหญ่ระหว่าง ทรัมป์ และ มัสก์ และเกิดขึ้นหลังจากที่ ทรัมป์ ออกมากำหนดอัตราภาษีศุลกากรขั้นต่ำ 10% สำหรับสินค้าทุกชนิดที่นำเข้าสหรัฐฯ โดยยังมีอีกหลายสิบประเทศที่จะถูกรีดภาษีสูงเป็นพิเศษ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000033490
    อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเจ้าของเทสลา เคยพูดจาขอร้องประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ตรงๆ เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ให้ยกเลิกมาตรการรีดภาษีตอบโต้ประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ ทว่าโน้มน้าวไม่สำเร็จ ตามรายงานของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ซึ่งอ้างแหล่งข่าวใกล้ชิด . รายงานฉบับนี้อ้างว่า บทสนทนาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นความขัดแย้งครั้งใหญ่ระหว่าง ทรัมป์ และ มัสก์ และเกิดขึ้นหลังจากที่ ทรัมป์ ออกมากำหนดอัตราภาษีศุลกากรขั้นต่ำ 10% สำหรับสินค้าทุกชนิดที่นำเข้าสหรัฐฯ โดยยังมีอีกหลายสิบประเทศที่จะถูกรีดภาษีสูงเป็นพิเศษ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000033490
    Like
    Love
    Haha
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1510 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตลาดหุ้นไต้หวัน ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงถึง 10% ในวันเดียว หลังจากการประกาศมาตรการภาษีนำเข้าของประธานาธิบดีสหรัฐฯ Donald Trump ซึ่งเพิ่มอัตราภาษีสำหรับสินค้านำเข้าจากไต้หวันถึง 32% มาตรการนี้กระทบกับ TSMC และ Foxconn บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของไต้หวันโดยตรง ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจในประเทศ

    == ผลกระทบที่สำคัญต่อบริษัทใหญ่ ==
    ✅ Foxconn:
    - Foxconn รับผิดชอบการประกอบสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น iPhone, MacBook และ AI Servers
    - ด้วยอัตราภาษีใหม่ Foxconn เผชิญต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น กระทบต่อ กำไรและขีดความสามารถในการแข่งขัน อย่างชัดเจน

    ✅ TSMC:
    - แม้ว่าชิปเซมิคอนดักเตอร์จะไม่ได้ถูกรวมในภาษีรอบนี้ แต่รายได้ของ TSMC มีความเชื่อมโยงกับสินค้าที่ใช้ชิป ซึ่งการลดลงของยอดขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อาจส่งผลกระทบอย่างมากในอนาคต

    == การตอบสนองจากรัฐบาลและความช่วยเหลือในประเทศ ==
    ✅ กองทุนช่วยเหลือ:
    - รัฐบาลไต้หวันจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือมูลค่า 2.65 พันล้านดอลลาร์ เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากภาษีสหรัฐฯ

    ✅ มาตรการควบคุมตลาด:
    - มีการจำกัดการขายชอร์ต (Short Selling) เพื่อควบคุมความผันผวนของตลาด

    ✅ คำมั่นจากผู้นำประเทศ:
    - ประธานาธิบดี Lai Ching-te ให้คำมั่นในการเพิ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างไต้หวันและสหรัฐฯ เพื่อบรรเทาความตึงเครียด และมุ่งหวังให้เกิดการลดภาษีในอนาคต

    == คำเตือนจากผู้เชี่ยวชาญ ==
    ✅ นักวิเคราะห์เตือนถึง ความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอย หากสถานการณ์ยืดเยื้อ Goldman Sachs ถึงขั้นลดอันดับความน่าเชื่อถือของไต้หวันในเอเชีย พร้อมเน้นถึงการพึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ที่อาจเป็นจุดอ่อนในระยะยาว

    https://www.tomshardware.com/tech-industry/tsmc-and-foxconn-hit-hard-in-taiwan-following-trumps-tariffs-announcement
    ตลาดหุ้นไต้หวัน ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงถึง 10% ในวันเดียว หลังจากการประกาศมาตรการภาษีนำเข้าของประธานาธิบดีสหรัฐฯ Donald Trump ซึ่งเพิ่มอัตราภาษีสำหรับสินค้านำเข้าจากไต้หวันถึง 32% มาตรการนี้กระทบกับ TSMC และ Foxconn บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของไต้หวันโดยตรง ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจในประเทศ == ผลกระทบที่สำคัญต่อบริษัทใหญ่ == ✅ Foxconn: - Foxconn รับผิดชอบการประกอบสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น iPhone, MacBook และ AI Servers - ด้วยอัตราภาษีใหม่ Foxconn เผชิญต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น กระทบต่อ กำไรและขีดความสามารถในการแข่งขัน อย่างชัดเจน ✅ TSMC: - แม้ว่าชิปเซมิคอนดักเตอร์จะไม่ได้ถูกรวมในภาษีรอบนี้ แต่รายได้ของ TSMC มีความเชื่อมโยงกับสินค้าที่ใช้ชิป ซึ่งการลดลงของยอดขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อาจส่งผลกระทบอย่างมากในอนาคต == การตอบสนองจากรัฐบาลและความช่วยเหลือในประเทศ == ✅ กองทุนช่วยเหลือ: - รัฐบาลไต้หวันจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือมูลค่า 2.65 พันล้านดอลลาร์ เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากภาษีสหรัฐฯ ✅ มาตรการควบคุมตลาด: - มีการจำกัดการขายชอร์ต (Short Selling) เพื่อควบคุมความผันผวนของตลาด ✅ คำมั่นจากผู้นำประเทศ: - ประธานาธิบดี Lai Ching-te ให้คำมั่นในการเพิ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างไต้หวันและสหรัฐฯ เพื่อบรรเทาความตึงเครียด และมุ่งหวังให้เกิดการลดภาษีในอนาคต == คำเตือนจากผู้เชี่ยวชาญ == ✅ นักวิเคราะห์เตือนถึง ความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอย หากสถานการณ์ยืดเยื้อ Goldman Sachs ถึงขั้นลดอันดับความน่าเชื่อถือของไต้หวันในเอเชีย พร้อมเน้นถึงการพึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ที่อาจเป็นจุดอ่อนในระยะยาว https://www.tomshardware.com/tech-industry/tsmc-and-foxconn-hit-hard-in-taiwan-following-trumps-tariffs-announcement
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 111 มุมมอง 0 รีวิว
  • บทความน่าสนใจจากเฟซบุ๊ก Kornkit Disthan เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2568 “เวียดนามเป็นประเทศที่ "คุกเข่าเร็วเหลือเกิน" ให้กับทรัมป์

    นี่เป็นทัศนะของสำนักข่าว Pheonix และบอกว่า "การคุกเข่าอย่างรวดเร็วของเวียดนามได้สร้างบรรทัดฐานที่ไม่ดีสำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาษีศุลกากรของทรัมป์เดิมทีเป็นภาษีสากล โดยอัตราภาษีสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใกล้เคียงกับจีนแผ่นดินใหญ่ เพื่อให้เอเชียสามารถรวมตัวเป็นพันธมิตรที่เผชิญหน้าและ "สามัคคีกัน" เพื่อแข่งขันกับสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกับยุโรป"

    และ "การสื่อสารของเวียดนามกับสหรัฐอเมริกาในลักษณะนี้และการตอบสนองความต้องการทั้งหมดของทรัมป์โดยไม่มีการต่อต้านใดๆ เปรียบเสมือนการเปิดโอกาสในการเจรจากับสหรัฐอเมริกาเพียงลำพังเพื่อขอการอภัยโทษและรักษาข้อได้เปรียบด้านการค้าที่ต่ำกับสหรัฐอเมริกา"

    ทัศนะนี้ผมเห็นด้วย นายกฯ เวียดนามก้มหัวให้ทรัมป์เร็วไป แน่ล่ะ ประเทศไหนๆ ก็ต้องการเอาตัวรอด แต่แบบนี้มัน "ยอมจำนน" เกินไปเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านประเทศอื่นๆ ที่ยังหาทางตอบโต้แบบไม่เสียศักดิ์ศรีและไม่เสียผลประโยชน์ของชาติ

    เอาเข้าจริง เวียดนามยอมจำนนก่อนที่ทรัมป์จะประกาศวัน Liberation day สักประมาณ 2-3 สัปดาห์ก่อนเห็นจะได้ที่เวียดนามประกาศจะลดภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ จากนั้นก็ส่งสัญญาณเป็นระยะๆ ผมคาดว่าเวียดนามคงจะคิดว่าทำแบบนี้แล้วทรัมป์คงจะมีเมตตา

    แต่เปล่าเลย เวียดนามถูกขึ้นพิกัดอัตราภาษีสูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากกัมพูชา (ที่จริงผมคาดการณ์มาระยะหนึ่งแล้วว่าเวียดนามจะต้องโดนหนักกว่าเพื่อน แต่คาดการณ์พลาดไปนิดนึง)

    นั่นหมายความว่าท่าทียอมจำนนของเวียดนามใช้ไม่ได้ผล และพอทรัมป์ประกาศเล่นงานเวียดนาม เวียดนามก็สนองด้วยการลดภาษีสินค้าอเมริกันมันซะเลยให้เหลือ 0% เพื่อเอาใจทรัมป์ เพราะหวังว่าทรัมป์จะมีเมตตา

    ขนาดมหามิตรอย่างแคนาดากับสหภาพยุโรปทรัมป์ยังไม่มีเมตตา แล้วเวียดนามจะได้รับความเวทนาหรือ? แล้วที่เวียดนามขอให้ทรัมป์ละเว้นมาตรการนี้ไปสัก 3 - 4 เดือน เวียดนามจะมีเวลาพอแก้ไขสถานการณ์หรือ? หากทำอะไรไม่คิดหน้าคิดหลังระวัง FDI จะไหลออกไม่รู้ตัว

    ยังไม่นับความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างๆ ที่อาจจะเห็นว่าเวียดนามต่อรองอะไรไม่เป็น และเรื่องนี้ไม่ควรจะยอมท่าเดียวด้วยซ้ำในทัศนะของนักลงทุนรายใหญ่ๆ ของเวียดนาม เช่น จีน และสหภาพยุโรปที่กำลังมีคิวมาคุยเรื่องลงทุนกับเวียดนาม

    แคนาดากับประเทศในยุโรปไม่ยอมก้มหัวให้ ประกาศตอบโต้แทบจะทันที เช่นเดียวกับจีน สหภาพยุโรปนั้นเตรียมจะสวนกลับหากต่อรองกันไม่สำเร็จด้วยซ้ำ แม้พวกนี้จะเป็นประเทศใหญ่ก็จริง แต่ประเทศเล็กก็สามารถรวมกลุ่มต่อรองก็ได้ไม่ใช่หรือ? ยังไม่นับการรวมกลุ่มที่จะเป็นปฏิปักษ์ต่อสหรัฐฯ ที่น่าจะเกิดขึ้นมาอีก

    ผมคิดว่าเวียดนามเจริญเติบโต้เร็วก็จริง แต่อาจจะยังขาดประสบการณ์ในโลกทุนนิยมที่ประเทศนายทุนใหญ่มักจะมีเล่ห์เหลี่ยมสูงกว่า แม้แต่ญี่ปุ่นเองในทศวรรษที่ 80 ก็เคยโตเร็วจนกระทั่่งกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ สหรัฐฯ และพวก (ซึ่งก็พวกเดียวกับญี่ปุ่นนั่นเอง) จึงบีบให้ญี่ปุ่นรับข้อเสนอ Plaza Accord ซึ่งเป็นจุดจบของการผงาดของญี่ปุ่น

    ทุกวันนี้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็ยังง่อยเพราะต้องยอมจำนนให้ "ลูกพี่" คราวนี้นายกฯ ญี่ปุ่นก็แสดงท่าทีอ่อนข้อให้เช่นกัน แต่ "แม้ว่านายกรัฐมนตรีชิเงรุ อิชิบะของญี่ปุ่นจะแสดง "ความผิดหวังอย่างยิ่ง" ต่อภาษีของทรัมป์และเรียกภาษี 24% ที่สหรัฐฯ กำหนดกับญี่ปุ่นว่าเป็น "วิกฤตระดับชาติ" แต่เขาก็ยังชี้แจงอย่างชัดเจนว่าญี่ปุ่นจะจัดการกับสถานการณ์นี้ด้วยความสงบและจะทำทุกวิถีทางที่จะให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อลดผลกระทบของภาษี คำกล่าวนี้หมายความว่าจะไม่มีการใช้มาตรการตอบโต้ใดๆ"

    แม้จะไม่ตอบโต้ แต่ก็ยังไม่ยอมขนาดเวียดนาม เวียดนามนั้นเป็นแบบที่เขาว่าจริงๆ คือ เป็นตัวอย่างไม่ดีให้กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    เป็นการตอบสนองที่เร็วจริงๆ แต่สะท้อนว่าเวียดนามไม่ได้เจนจัดเรื่องการค้าโลกสักเท่าไร

    ป.ล. - ในทัศนะของผม แม้เราจะช้าไม่ได้กับการต่อรองกับทรัมป์ แต่ต้องตระหนักว่าเรื่องนี้จะเป็นจุดเริ่มของการจัดระเบียบโลกใหม่ เป็นการสลายและรวมกลุ่มอำนาจใหม่เพื่อตอบสนองกับภาวะ "การล่มสลายของจักรวรรดิ" ของสหรัฐฯ ดังนั้น จะช้าก็ไมได้ แต่จะรีบก็ไม่ดี

    ป.ล. 2 - กับท่าทีต่อไปของจีนต่อการทำแบบนี้ของเวียดนามนั้น แม้เวียดนามจะรับจีนเข้ามาลงทุนมากจนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ (และเป็นตัวการให้ถูกเก็ยภาษีสูงมากจากทรัมป์) ผมคิดตามทัศนะของ Pheonix ที่ว่า "หากเวียดนามทำเช่นนี้ ประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ก็อาจทำตามเช่นกัน ระวังอย่าให้ประเทศเหล่านี้สร้างกำแพงภาษีศุลกากรต่อจีนและจำกัดการนำเข้าสินค้าจากจีนเพื่อแสดงความภักดีต่อทรัมป์ ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่จีนต้องป้องกันเมื่อโจมตีสหรัฐฯ โดยตรง" - นั่นหมายความว่า หากประเทศอย่างเวียดนามก้มหัวให้สหรัฐฯ เร็วๆ แบบนี้ ก็มีโอกาสสูงที่จะ "หักหลัง" จีนในเร็ววันเพื่อเอาตัวรอด ถึงตอนนั้น จีนยังจะลงทุนในเวียดนามหรือไม่? แต่ผมไม่คิดว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะทำตามเวียดนามทั้งหมด เพราะต้องมีสักประเทศที่สบช่องจากความใจเร็วด่วนได้ของเวียดนามแน่ๆ แล้วสามารถสร้างดุลยภาพกับสหรัฐฯ และจีนได้อย่างลงตัว”
    บทความน่าสนใจจากเฟซบุ๊ก Kornkit Disthan เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2568 “เวียดนามเป็นประเทศที่ "คุกเข่าเร็วเหลือเกิน" ให้กับทรัมป์ นี่เป็นทัศนะของสำนักข่าว Pheonix และบอกว่า "การคุกเข่าอย่างรวดเร็วของเวียดนามได้สร้างบรรทัดฐานที่ไม่ดีสำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาษีศุลกากรของทรัมป์เดิมทีเป็นภาษีสากล โดยอัตราภาษีสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใกล้เคียงกับจีนแผ่นดินใหญ่ เพื่อให้เอเชียสามารถรวมตัวเป็นพันธมิตรที่เผชิญหน้าและ "สามัคคีกัน" เพื่อแข่งขันกับสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกับยุโรป" และ "การสื่อสารของเวียดนามกับสหรัฐอเมริกาในลักษณะนี้และการตอบสนองความต้องการทั้งหมดของทรัมป์โดยไม่มีการต่อต้านใดๆ เปรียบเสมือนการเปิดโอกาสในการเจรจากับสหรัฐอเมริกาเพียงลำพังเพื่อขอการอภัยโทษและรักษาข้อได้เปรียบด้านการค้าที่ต่ำกับสหรัฐอเมริกา" ทัศนะนี้ผมเห็นด้วย นายกฯ เวียดนามก้มหัวให้ทรัมป์เร็วไป แน่ล่ะ ประเทศไหนๆ ก็ต้องการเอาตัวรอด แต่แบบนี้มัน "ยอมจำนน" เกินไปเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านประเทศอื่นๆ ที่ยังหาทางตอบโต้แบบไม่เสียศักดิ์ศรีและไม่เสียผลประโยชน์ของชาติ เอาเข้าจริง เวียดนามยอมจำนนก่อนที่ทรัมป์จะประกาศวัน Liberation day สักประมาณ 2-3 สัปดาห์ก่อนเห็นจะได้ที่เวียดนามประกาศจะลดภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ จากนั้นก็ส่งสัญญาณเป็นระยะๆ ผมคาดว่าเวียดนามคงจะคิดว่าทำแบบนี้แล้วทรัมป์คงจะมีเมตตา แต่เปล่าเลย เวียดนามถูกขึ้นพิกัดอัตราภาษีสูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากกัมพูชา (ที่จริงผมคาดการณ์มาระยะหนึ่งแล้วว่าเวียดนามจะต้องโดนหนักกว่าเพื่อน แต่คาดการณ์พลาดไปนิดนึง) นั่นหมายความว่าท่าทียอมจำนนของเวียดนามใช้ไม่ได้ผล และพอทรัมป์ประกาศเล่นงานเวียดนาม เวียดนามก็สนองด้วยการลดภาษีสินค้าอเมริกันมันซะเลยให้เหลือ 0% เพื่อเอาใจทรัมป์ เพราะหวังว่าทรัมป์จะมีเมตตา ขนาดมหามิตรอย่างแคนาดากับสหภาพยุโรปทรัมป์ยังไม่มีเมตตา แล้วเวียดนามจะได้รับความเวทนาหรือ? แล้วที่เวียดนามขอให้ทรัมป์ละเว้นมาตรการนี้ไปสัก 3 - 4 เดือน เวียดนามจะมีเวลาพอแก้ไขสถานการณ์หรือ? หากทำอะไรไม่คิดหน้าคิดหลังระวัง FDI จะไหลออกไม่รู้ตัว ยังไม่นับความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างๆ ที่อาจจะเห็นว่าเวียดนามต่อรองอะไรไม่เป็น และเรื่องนี้ไม่ควรจะยอมท่าเดียวด้วยซ้ำในทัศนะของนักลงทุนรายใหญ่ๆ ของเวียดนาม เช่น จีน และสหภาพยุโรปที่กำลังมีคิวมาคุยเรื่องลงทุนกับเวียดนาม แคนาดากับประเทศในยุโรปไม่ยอมก้มหัวให้ ประกาศตอบโต้แทบจะทันที เช่นเดียวกับจีน สหภาพยุโรปนั้นเตรียมจะสวนกลับหากต่อรองกันไม่สำเร็จด้วยซ้ำ แม้พวกนี้จะเป็นประเทศใหญ่ก็จริง แต่ประเทศเล็กก็สามารถรวมกลุ่มต่อรองก็ได้ไม่ใช่หรือ? ยังไม่นับการรวมกลุ่มที่จะเป็นปฏิปักษ์ต่อสหรัฐฯ ที่น่าจะเกิดขึ้นมาอีก ผมคิดว่าเวียดนามเจริญเติบโต้เร็วก็จริง แต่อาจจะยังขาดประสบการณ์ในโลกทุนนิยมที่ประเทศนายทุนใหญ่มักจะมีเล่ห์เหลี่ยมสูงกว่า แม้แต่ญี่ปุ่นเองในทศวรรษที่ 80 ก็เคยโตเร็วจนกระทั่่งกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ สหรัฐฯ และพวก (ซึ่งก็พวกเดียวกับญี่ปุ่นนั่นเอง) จึงบีบให้ญี่ปุ่นรับข้อเสนอ Plaza Accord ซึ่งเป็นจุดจบของการผงาดของญี่ปุ่น ทุกวันนี้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็ยังง่อยเพราะต้องยอมจำนนให้ "ลูกพี่" คราวนี้นายกฯ ญี่ปุ่นก็แสดงท่าทีอ่อนข้อให้เช่นกัน แต่ "แม้ว่านายกรัฐมนตรีชิเงรุ อิชิบะของญี่ปุ่นจะแสดง "ความผิดหวังอย่างยิ่ง" ต่อภาษีของทรัมป์และเรียกภาษี 24% ที่สหรัฐฯ กำหนดกับญี่ปุ่นว่าเป็น "วิกฤตระดับชาติ" แต่เขาก็ยังชี้แจงอย่างชัดเจนว่าญี่ปุ่นจะจัดการกับสถานการณ์นี้ด้วยความสงบและจะทำทุกวิถีทางที่จะให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อลดผลกระทบของภาษี คำกล่าวนี้หมายความว่าจะไม่มีการใช้มาตรการตอบโต้ใดๆ" แม้จะไม่ตอบโต้ แต่ก็ยังไม่ยอมขนาดเวียดนาม เวียดนามนั้นเป็นแบบที่เขาว่าจริงๆ คือ เป็นตัวอย่างไม่ดีให้กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นการตอบสนองที่เร็วจริงๆ แต่สะท้อนว่าเวียดนามไม่ได้เจนจัดเรื่องการค้าโลกสักเท่าไร ป.ล. - ในทัศนะของผม แม้เราจะช้าไม่ได้กับการต่อรองกับทรัมป์ แต่ต้องตระหนักว่าเรื่องนี้จะเป็นจุดเริ่มของการจัดระเบียบโลกใหม่ เป็นการสลายและรวมกลุ่มอำนาจใหม่เพื่อตอบสนองกับภาวะ "การล่มสลายของจักรวรรดิ" ของสหรัฐฯ ดังนั้น จะช้าก็ไมได้ แต่จะรีบก็ไม่ดี ป.ล. 2 - กับท่าทีต่อไปของจีนต่อการทำแบบนี้ของเวียดนามนั้น แม้เวียดนามจะรับจีนเข้ามาลงทุนมากจนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ (และเป็นตัวการให้ถูกเก็ยภาษีสูงมากจากทรัมป์) ผมคิดตามทัศนะของ Pheonix ที่ว่า "หากเวียดนามทำเช่นนี้ ประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ก็อาจทำตามเช่นกัน ระวังอย่าให้ประเทศเหล่านี้สร้างกำแพงภาษีศุลกากรต่อจีนและจำกัดการนำเข้าสินค้าจากจีนเพื่อแสดงความภักดีต่อทรัมป์ ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่จีนต้องป้องกันเมื่อโจมตีสหรัฐฯ โดยตรง" - นั่นหมายความว่า หากประเทศอย่างเวียดนามก้มหัวให้สหรัฐฯ เร็วๆ แบบนี้ ก็มีโอกาสสูงที่จะ "หักหลัง" จีนในเร็ววันเพื่อเอาตัวรอด ถึงตอนนั้น จีนยังจะลงทุนในเวียดนามหรือไม่? แต่ผมไม่คิดว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะทำตามเวียดนามทั้งหมด เพราะต้องมีสักประเทศที่สบช่องจากความใจเร็วด่วนได้ของเวียดนามแน่ๆ แล้วสามารถสร้างดุลยภาพกับสหรัฐฯ และจีนได้อย่างลงตัว”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 240 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายกฯ สิงคโปร์เตือน โลกเข้าสู่ยุค “ไร้เสถียรภาพ” ชี้ยุคการค้าเสรีสิ้นสุดแล้ว หลังสหรัฐทำลายระบบที่ตัวเองสร้าง  แนะประชาชนเตรียมพร้อมรับมือ .นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ส่งสัญญาณเตือนถึงความท้าทายครั้งใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเวทีโลก โดยระบุว่า ความสงบและเสถียรภาพที่โลกเคยรู้จักนั้น "จะไม่กลับมาในเร็ววันนี้" และสิงคโปร์ในฐานะประเทศขนาดเล็กจำเป็นต้องเตรียมพร้อมทั้งทางเศรษฐกิจและจิตใจ เพื่อเผชิญกับยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน.ลอเรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ โพสต์คลิปวีดีโอกล่าวถึงมาตรการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐว่า“พี่น้องชาวสิงคโปร์ทั้งหลาย ฉันเคยพูดไว้แล้วว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจเปิดขนาดเล็กอย่างสิงคโปร์ ก่อนหน้านี้บางคนเคยตั้งคำถามเกี่ยวกับการคาดการณ์นี้ แต่การประกาศวันปลดปล่อยของสหรัฐฯ เมื่อไม่นานนี้ทำให้ไม่ต้องสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระเบียบโลก ยุคของโลกาภิวัตน์ที่ยึดตามกฎเกณฑ์และการค้าเสรีได้สิ้นสุดลงแล้ว เรากำลังเข้าสู่ช่วงใหม่ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการกระทำตามอำเภอใจ กีดกันทางการค้า และเป็นอันตรายมากขึ้น สหรัฐฯ เป็นรากฐานของเศรษฐกิจตลาดเสรีของโลกมานานหลายทศวรรษ สหรัฐฯ เป็นผู้นำการค้าเสรีและผลักดันความพยายามในการสร้างระบบการค้าพหุภาคีที่ยึดโยงกับกฎเกณฑ์และบรรทัดฐานที่ชัดเจน ซึ่งประเทศต่างๆ จะได้รับผลประโยชน์ร่วมกันผ่านการค้า ระบบ WTO นี้ทำให้โลกและสหรัฐฯ เองมีเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน พูดให้ชัดเจนก็คือ ระบบนี้ไม่ได้สมบูรณ์แบบ สิงคโปร์และอีกหลายประเทศเรียกร้องให้มีการปฏิรูปเพื่อปรับปรุงกฎเกณฑ์และปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น แต่สิ่งที่สหรัฐฯ กำลังทำอยู่ตอนนี้ไม่ใช่การปฏิรูป แต่เป็นการละทิ้งระบบทั้งหมดที่ตนสร้างขึ้น แนวทางใหม่ในการเรียกเก็บภาษีศุลกากรแบบตอบแทนประเทศต่อประเทศถือเป็นการปฏิเสธกรอบการทำงานขององค์การการค้าโลกอย่างสมบูรณ์ สหรัฐฯ ได้จัดให้สิงคโปร์อยู่ในฐานที่ต่ำที่สุด ด้วยอัตราภาษี 10%ดังนั้นผลกระทบโดยตรงต่อเราอาจจะจำกัดอยู่เพียงเท่านี้ในตอนนี้ แต่จะมีผลกระทบในวงกว้างและลึกซึ้งกว่านั้นหากประเทศอื่นๆ ใช้แนวทางเดียวกันกับสหรัฐอเมริกา นั่นก็คือ ละทิ้ง WTO และทำการค้าเฉพาะในประเทศที่มีเงื่อนไขที่ต้องการเท่านั้นจะนำมาซึ่งปัญหาแก่ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศเล็กๆ เช่น สิงคโปร์ เราเสี่ยงต่อการถูกบีบให้ออก ถูกละเลย และถูกทิ้งไว้ข้างหลัง นอกจากนี้ เรายังคาดหวังการตอบโต้จากทั่วโลกอย่างรุนแรงต่อภาษีของอเมริกา สิงคโปร์ได้ตัดสินใจที่จะไม่เรียกเก็บภาษีตอบโต้แต่ประเทศอื่นอาจไม่ใช้มาตรการควบคุมเช่นเดียวกัน ความเป็นไปได้ของสงครามการค้าโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ผลกระทบจากภาษีที่สูงขึ้น รวมถึงความไม่แน่นอนว่าประเทศอื่นจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบอย่างหนักการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศจะได้รับผลกระทบและการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว สิงคโปร์จะได้รับผลกระทบมากกว่าประเทศอื่นๆ เนื่องจากประเทศนี้พึ่งพาการค้าเป็นอย่างมากครั้งสุดท้ายที่โลกประสบกับเหตุการณ์เช่นนี้คือในช่วงทศวรรษที่ 1930 สงครามการค้าทวีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นความขัดแย้งด้วยอาวุธ และในที่สุดก็กลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันจะเป็นอย่างไรในอีกไม่กี่เดือนหรือไม่กี่ปีข้างหน้าแต่เราต้องตระหนักถึงอันตรายที่กำลังก่อตัวขึ้นในโลกนี้ สถาบันระดับโลกกำลังอ่อนแอลง บรรทัดฐานระหว่างประเทศกำลังเสื่อมถอย ประเทศต่างๆ จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จะกระทำการโดยยึดถือผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก และใช้กำลังหรือความสุขเพื่อแสวงหาสิ่งที่ตนต้องการนี่คือความจริงอันโหดร้ายของโลกเราในปัจจุบัน เราจะเฝ้าระวัง เราจะสร้างศักยภาพของเรา เราจะเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับประเทศที่มีแนวคิดเดียวกัน เรามีความพร้อมมากกว่าประเทศอื่นๆ มากมาย ทั้งในด้านเงินทุนสำรอง ความสามัคคี และความมุ่งมั่น แต่เราต้องเตรียมรับมือกับความตกตะลึงที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตความสงบและเสถียรภาพของโลกที่เราเคยรู้จักในอดีตจะไม่กลับมาอีกในเร็วๆ นี้ เราไม่สามารถคาดหวังว่ากฎเกณฑ์ที่ปกป้องรัฐเล็กๆ จะยังคงอยู่ต่อไปได้ ฉันแบ่งปันสิ่งนี้กับคุณเพื่อให้เราทุกคนเตรียมใจไว้เพื่อที่เราจะไม่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ทันตั้งตัว อย่าปล่อยให้ตัวเองหลงระเริง ความเสี่ยงเป็นเรื่องจริงและเดิมพันก็สูง เส้นทางข้างหน้าจะยากขึ้น แต่หากเรายังคงแน่วแน่และเป็นหนึ่งเดียว สิงคโปร์จะยังคงยืนหยัดได้ในโลกที่วุ่นวายแห่งนี้”https://youtu.be/xOUbUxa3PVk?si=A1KGjvpj008UtF_b
    นายกฯ สิงคโปร์เตือน โลกเข้าสู่ยุค “ไร้เสถียรภาพ” ชี้ยุคการค้าเสรีสิ้นสุดแล้ว หลังสหรัฐทำลายระบบที่ตัวเองสร้าง  แนะประชาชนเตรียมพร้อมรับมือ .นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ส่งสัญญาณเตือนถึงความท้าทายครั้งใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเวทีโลก โดยระบุว่า ความสงบและเสถียรภาพที่โลกเคยรู้จักนั้น "จะไม่กลับมาในเร็ววันนี้" และสิงคโปร์ในฐานะประเทศขนาดเล็กจำเป็นต้องเตรียมพร้อมทั้งทางเศรษฐกิจและจิตใจ เพื่อเผชิญกับยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน.ลอเรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ โพสต์คลิปวีดีโอกล่าวถึงมาตรการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐว่า“พี่น้องชาวสิงคโปร์ทั้งหลาย ฉันเคยพูดไว้แล้วว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจเปิดขนาดเล็กอย่างสิงคโปร์ ก่อนหน้านี้บางคนเคยตั้งคำถามเกี่ยวกับการคาดการณ์นี้ แต่การประกาศวันปลดปล่อยของสหรัฐฯ เมื่อไม่นานนี้ทำให้ไม่ต้องสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระเบียบโลก ยุคของโลกาภิวัตน์ที่ยึดตามกฎเกณฑ์และการค้าเสรีได้สิ้นสุดลงแล้ว เรากำลังเข้าสู่ช่วงใหม่ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการกระทำตามอำเภอใจ กีดกันทางการค้า และเป็นอันตรายมากขึ้น สหรัฐฯ เป็นรากฐานของเศรษฐกิจตลาดเสรีของโลกมานานหลายทศวรรษ สหรัฐฯ เป็นผู้นำการค้าเสรีและผลักดันความพยายามในการสร้างระบบการค้าพหุภาคีที่ยึดโยงกับกฎเกณฑ์และบรรทัดฐานที่ชัดเจน ซึ่งประเทศต่างๆ จะได้รับผลประโยชน์ร่วมกันผ่านการค้า ระบบ WTO นี้ทำให้โลกและสหรัฐฯ เองมีเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน พูดให้ชัดเจนก็คือ ระบบนี้ไม่ได้สมบูรณ์แบบ สิงคโปร์และอีกหลายประเทศเรียกร้องให้มีการปฏิรูปเพื่อปรับปรุงกฎเกณฑ์และปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น แต่สิ่งที่สหรัฐฯ กำลังทำอยู่ตอนนี้ไม่ใช่การปฏิรูป แต่เป็นการละทิ้งระบบทั้งหมดที่ตนสร้างขึ้น แนวทางใหม่ในการเรียกเก็บภาษีศุลกากรแบบตอบแทนประเทศต่อประเทศถือเป็นการปฏิเสธกรอบการทำงานขององค์การการค้าโลกอย่างสมบูรณ์ สหรัฐฯ ได้จัดให้สิงคโปร์อยู่ในฐานที่ต่ำที่สุด ด้วยอัตราภาษี 10%ดังนั้นผลกระทบโดยตรงต่อเราอาจจะจำกัดอยู่เพียงเท่านี้ในตอนนี้ แต่จะมีผลกระทบในวงกว้างและลึกซึ้งกว่านั้นหากประเทศอื่นๆ ใช้แนวทางเดียวกันกับสหรัฐอเมริกา นั่นก็คือ ละทิ้ง WTO และทำการค้าเฉพาะในประเทศที่มีเงื่อนไขที่ต้องการเท่านั้นจะนำมาซึ่งปัญหาแก่ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศเล็กๆ เช่น สิงคโปร์ เราเสี่ยงต่อการถูกบีบให้ออก ถูกละเลย และถูกทิ้งไว้ข้างหลัง นอกจากนี้ เรายังคาดหวังการตอบโต้จากทั่วโลกอย่างรุนแรงต่อภาษีของอเมริกา สิงคโปร์ได้ตัดสินใจที่จะไม่เรียกเก็บภาษีตอบโต้แต่ประเทศอื่นอาจไม่ใช้มาตรการควบคุมเช่นเดียวกัน ความเป็นไปได้ของสงครามการค้าโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ผลกระทบจากภาษีที่สูงขึ้น รวมถึงความไม่แน่นอนว่าประเทศอื่นจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบอย่างหนักการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศจะได้รับผลกระทบและการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว สิงคโปร์จะได้รับผลกระทบมากกว่าประเทศอื่นๆ เนื่องจากประเทศนี้พึ่งพาการค้าเป็นอย่างมากครั้งสุดท้ายที่โลกประสบกับเหตุการณ์เช่นนี้คือในช่วงทศวรรษที่ 1930 สงครามการค้าทวีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นความขัดแย้งด้วยอาวุธ และในที่สุดก็กลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันจะเป็นอย่างไรในอีกไม่กี่เดือนหรือไม่กี่ปีข้างหน้าแต่เราต้องตระหนักถึงอันตรายที่กำลังก่อตัวขึ้นในโลกนี้ สถาบันระดับโลกกำลังอ่อนแอลง บรรทัดฐานระหว่างประเทศกำลังเสื่อมถอย ประเทศต่างๆ จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จะกระทำการโดยยึดถือผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก และใช้กำลังหรือความสุขเพื่อแสวงหาสิ่งที่ตนต้องการนี่คือความจริงอันโหดร้ายของโลกเราในปัจจุบัน เราจะเฝ้าระวัง เราจะสร้างศักยภาพของเรา เราจะเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับประเทศที่มีแนวคิดเดียวกัน เรามีความพร้อมมากกว่าประเทศอื่นๆ มากมาย ทั้งในด้านเงินทุนสำรอง ความสามัคคี และความมุ่งมั่น แต่เราต้องเตรียมรับมือกับความตกตะลึงที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตความสงบและเสถียรภาพของโลกที่เราเคยรู้จักในอดีตจะไม่กลับมาอีกในเร็วๆ นี้ เราไม่สามารถคาดหวังว่ากฎเกณฑ์ที่ปกป้องรัฐเล็กๆ จะยังคงอยู่ต่อไปได้ ฉันแบ่งปันสิ่งนี้กับคุณเพื่อให้เราทุกคนเตรียมใจไว้เพื่อที่เราจะไม่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ทันตั้งตัว อย่าปล่อยให้ตัวเองหลงระเริง ความเสี่ยงเป็นเรื่องจริงและเดิมพันก็สูง เส้นทางข้างหน้าจะยากขึ้น แต่หากเรายังคงแน่วแน่และเป็นหนึ่งเดียว สิงคโปร์จะยังคงยืนหยัดได้ในโลกที่วุ่นวายแห่งนี้”https://youtu.be/xOUbUxa3PVk?si=A1KGjvpj008UtF_b
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 247 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าทุกประเภท 10% และเพิ่มภาษีสินค้าจาก 60 ประเทศ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก จีนโดนหนักสุดด้วยภาษีนำเข้ารวมกว่า 54% หุ้นเทคโนโลยีตกหนัก โดยเฉพาะ Apple, Nvidia และ Tesla นักวิเคราะห์เตือนว่าการขึ้นภาษีครั้งนี้อาจนำไปสู่ สงครามการค้าครั้งใหญ่ และราคาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อาจพุ่งสูงขึ้น

    ✅ เศรษฐกิจโลกอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย
    - นักเศรษฐศาสตร์เตือนว่า การขึ้นภาษีครั้งนี้อาจกระตุ้นสงครามการค้าแบบตอบโต้
    - มีการคาดการณ์ว่าหลายประเทศ อาจต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยภายในปีหน้า

    ✅ ตลาดหุ้นร่วงหนัก หลังข่าวภาษีใหม่ประกาศออกมา
    - หุ้นเทคโนโลยีร่วงอย่างหนัก โดย Apple ลดลง 9% และ Nasdaq Composite ลดลงกว่า 5%
    - Microsoft และ Alphabet ลดลงประมาณ 2% ขณะที่ Nvidia และ Tesla ลดลง 5%

    ✅ ภาษีสำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยี—ชิปคอมพิวเตอร์รอดจากภาษี แต่เพียงชั่วคราว
    - ชิปคอมพิวเตอร์และทองแดง ยังคงได้รับการยกเว้น แต่คาดว่า ภาษีสำหรับเซมิคอนดักเตอร์จะถูกเพิ่มเข้ามาในภายหลัง
    - หุ้นของ Marvell, Arm และ Micron ลดลงกว่า 8% ขณะที่ AMD ลดลง 4%

    ✅ ภาษีสูงสุดสำหรับประเทศคู่ค้า—จีนโดนหนักสุด
    - สินค้าจากจีนจะต้องเผชิญกับ อัตราภาษีรวมกว่า 54% ซึ่งสูงกว่าภาษีนำเข้าเดิมอย่างมาก
    - ประเทศอื่นที่ได้รับผลกระทบหนัก ได้แก่ เวียดนาม (46%) และกัมพูชา (49%)

    ✅ ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไอทีและผู้บริโภค
    - สินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน, แล็ปท็อป, ทีวี และคอมพิวเตอร์ อาจมีราคาสูงขึ้น
    - Amazon อาจได้รับผลกระทบหนัก เนื่องจาก ทรัมป์เตรียมยกเลิกข้อยกเว้นสินค้าราคาต่ำกว่า $800 ที่เคยได้รับการปลอดภาษี

    ✅ การตอบโต้จาก EU และจีน
    - ทั้ง สหภาพยุโรปและจีนเตรียมดำเนินมาตรการตอบโต้ แต่กระทรวงการคลังสหรัฐฯ เรียกร้องให้ประเทศอื่น ยอมรับการขึ้นภาษีเป็นมาตรฐานใหม่

    https://www.techspot.com/news/107402-trump-tariffs-could-prove-nuclear-bomb-international-trade.html
    ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าทุกประเภท 10% และเพิ่มภาษีสินค้าจาก 60 ประเทศ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก จีนโดนหนักสุดด้วยภาษีนำเข้ารวมกว่า 54% หุ้นเทคโนโลยีตกหนัก โดยเฉพาะ Apple, Nvidia และ Tesla นักวิเคราะห์เตือนว่าการขึ้นภาษีครั้งนี้อาจนำไปสู่ สงครามการค้าครั้งใหญ่ และราคาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อาจพุ่งสูงขึ้น ✅ เศรษฐกิจโลกอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย - นักเศรษฐศาสตร์เตือนว่า การขึ้นภาษีครั้งนี้อาจกระตุ้นสงครามการค้าแบบตอบโต้ - มีการคาดการณ์ว่าหลายประเทศ อาจต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยภายในปีหน้า ✅ ตลาดหุ้นร่วงหนัก หลังข่าวภาษีใหม่ประกาศออกมา - หุ้นเทคโนโลยีร่วงอย่างหนัก โดย Apple ลดลง 9% และ Nasdaq Composite ลดลงกว่า 5% - Microsoft และ Alphabet ลดลงประมาณ 2% ขณะที่ Nvidia และ Tesla ลดลง 5% ✅ ภาษีสำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยี—ชิปคอมพิวเตอร์รอดจากภาษี แต่เพียงชั่วคราว - ชิปคอมพิวเตอร์และทองแดง ยังคงได้รับการยกเว้น แต่คาดว่า ภาษีสำหรับเซมิคอนดักเตอร์จะถูกเพิ่มเข้ามาในภายหลัง - หุ้นของ Marvell, Arm และ Micron ลดลงกว่า 8% ขณะที่ AMD ลดลง 4% ✅ ภาษีสูงสุดสำหรับประเทศคู่ค้า—จีนโดนหนักสุด - สินค้าจากจีนจะต้องเผชิญกับ อัตราภาษีรวมกว่า 54% ซึ่งสูงกว่าภาษีนำเข้าเดิมอย่างมาก - ประเทศอื่นที่ได้รับผลกระทบหนัก ได้แก่ เวียดนาม (46%) และกัมพูชา (49%) ✅ ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไอทีและผู้บริโภค - สินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน, แล็ปท็อป, ทีวี และคอมพิวเตอร์ อาจมีราคาสูงขึ้น - Amazon อาจได้รับผลกระทบหนัก เนื่องจาก ทรัมป์เตรียมยกเลิกข้อยกเว้นสินค้าราคาต่ำกว่า $800 ที่เคยได้รับการปลอดภาษี ✅ การตอบโต้จาก EU และจีน - ทั้ง สหภาพยุโรปและจีนเตรียมดำเนินมาตรการตอบโต้ แต่กระทรวงการคลังสหรัฐฯ เรียกร้องให้ประเทศอื่น ยอมรับการขึ้นภาษีเป็นมาตรฐานใหม่ https://www.techspot.com/news/107402-trump-tariffs-could-prove-nuclear-bomb-international-trade.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    Trump's tariffs could prove to be a "nuclear bomb" on international trade and tech imports, experts warn
    This aggressive escalation of Trump's trade wars could mean higher prices on virtually every product Americans purchase from overseas. Worse, analysts predict the tariffs could trigger recessions...
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 254 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากไทย 36% (ล่าสุดปรับอีกครั้งเป็น 37%) หนึ่งในทางออกคือ ไทยต้องเล่นบทบาทนำในอาเซียน เพื่อผ่านวิกฤตครั้งนี้ให้ได้.ประเด็นเร่งด่วนในระยะสั้นที่ไทยต้องเร่งผลักดันผ่านคณะทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับสูง และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อให้ทันก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้คือ.รับมือกับมาตรการทางทางการค้าของสหรัฐอเมริการ่วมกัน เพราะสมาชิกอาเซียนโดนกันถ้วนหน้า กัมพูชา 49% สปป ลาว 48% เวียดนาม 46% เมียนมา 44% ไทย 36-37% อินโดนีเซีย 32% มาเลเซียและบรูไน 24% ฟิลิปปินส์ 17% หรือแม้แต่สิงคโปร์ก็โดนภาษี 10% เราต้องคำนวณร่วมกันว่า อัตราที่ทรัมป์กล่าวอ้าง นั่นคือ x2 ของอัตราภาษีเหล่านี้ คืออัตราจริงหรือไม่ ที่มาเป็นอย่างไร ถ้าไม่จริงต้องเร่งปฏิเสธ (ซึ่งผมค่อนข้างมั่นใจว่าไม่น่าจะใช่อัตราที่ถูกต้อง รวมทั้งมีผู้คำนวณแล้วว่าตัวเลขชุดนี้ แท้จริงแล้วคือ สัดส่วนมูลค่าการขาดดุลการค้าต่อมูลค่าการนำเข้าที่สหรัฐนำเข้าสินค้าจากแต่ละประเทศ).จากนั้น ต้องคิดต่อว่าหากให้แต่ละประเทศสมาชิกเจรจากับสหรัฐ (ซึ่งจะมีเวลาเตรียมตัวสั้นมาก) เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า อำนาจการต่อรองของแต่ละสมาชิกเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาคือ เรื่องจิ๊บจ๊อยขี้ประติ๋ว แต่หากประชาคมอาเซียนรวมตัวกัน นี้คือตลาดของประชาชนเรือน 700 ล้านประชากร ที่มีรายได้สูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก และเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญ ดังนั้น อาเซียนต้องร่วมมือกัน อาเซียนต้องเดินหน้าต่อรองด้วยกัน .อาเซียนต้องไม่ดำเนินมาตรการที่ขัดแข้งขัดขาซึ่งกันและกัน มาตรการจำพวกตั้งภาษีตอบโต้กัน หรือเลียนแบบมาตรการทางการค้าเพื่อตอบโต้ซึ่งกันและกัน (Tariff Retaliation and/or Trade Emulation) รวมทั้งนโยบายประเภทเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น ขอทานจากประเทศเพื่อบ้าน (Beggar-thy-neighbor) อาทิ ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดึงดูดเงินทุน แข่งกันให้สิทธิพิเศษทางการค้าการลงทุนจนวายวอดทั้งภูมิภาค ฯลฯ เหล่านี้ต้องไม่เกิดขึ้น .จากนั้นทั้งอาเซียนต้องร่วมกัน.1. แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า อาเซียนคืออาเซียน อาเซียนมีจุดแข็งของตนเอง อาเซียนพร้อมสนับสนุนการค้า การลงทุนเสรี อาเซียนสนับสนุนกฎกติการแบบพหุภาคีนิยม และอาเซียนไม่ได้เป็นเขตอิทธิพลของมหาอำนาจใดมหาอำนาจหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น จีน สหรัฐ หรือ มหาอำนาจใดๆ.2. เร่งสำรวจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากมาตรการทางการค้าที่สหรัฐประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน ว่าแต่ละประเทศได้รับผลกระทบอย่างไร และหากเราร่วมมือกัน เราต้องการตจะกำหนดทิศทางการเจรจาอย่างไร แน่นอนว่า ทุกประเทศ ทุกคน คงไม่ได้สิ่งที่ต้องการทั้งหมด แต่ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ บางเรื่อง บางประเทศ คงต้องยอมถอย เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อบางภาคการผลิต บางประเทศ และจากนั้นค่อยไปหารือกันว่าอาเซียนจะช่วยการเยียวยาผลกระทบซึ่งกันและกันได้อย่างไร เร่งปรึกษาหารือกับวิสาหกิจสหรัฐที่ทำการค้า ทำการลงทุนอยู่แล้วในอาเซียน ว่าพวกเขามีข้อเสนอแนะใดบ้าง.3. เร่งสำรวจว่าแต่ละประเทศมีช่องทาง มีสายสัมพันธ์ มีแนวทางการติดต่อประสานงานกับประธานาธิบดีทรัมป์ และทีมงานที่ภักดีของเขา รวมทั้งผู้สนับสนุนการรณรงค์หาเสียงของเขาในช่องทางใดบ้าง มีอะไรที่จะเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้คนเหล่านี้ต้องการเป็นสะพานเพื่อเปิดการเจรจาระหว่างอาเซียนกับสหรัฐ.4. วางยุทธศาสตร์การเจรจาร่วมกัน โดยการจัดทำ “ยุทธศาสตร์ราชสีห์กับหนู” นำเสนอนโยบายที่ทำให้ทรัมป์ต้องให้ความสนใจอาเซียน (ทรัมป์เคยมาเยือนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ฟิลิปปินส์ในปี 2017 แต่ไม่เคยเข้าประชุมกับผู้นำอาเซียน) อาเซียนต้องเป็นหนูที่แสดงความเกรงใจนบนอบในระยะปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแสดงให้เห็นโอกาสที่สหรัฐจะได้จากการร่วมมือกับในอนาคต มีอะไรที่เราจะเสนอกับอาเซียนได้บ้าง อาทิ ความต้องการในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของอาเซียนร่วมกันในอีก 5 ปีต่อจากนี้ ความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการที่เป็น Billing ขนาดใหญ่ อาทิ การจัดหาเครื่องบินพาณิชย์ของสายการบินต่างๆ ในประเทศอาเซียนที่มีตลาดการบินขนาดใหญ่และเป็น Hub ทางการบินที่สำคัญ, การจัดซื้อ Software และ Hardware สำหรับระบบบริหาร ASEAN Smart City Network รวมทั้งความต้องการในการจัดซื้อบริการเหล่านี้สำหรับการบริหารกิจการทั้งของรัฐบาลและของภาคเอกชนในอาเซียน, ความต้องการซื้ออุปกรณ์และองค์ความรู้ในการติดตั้งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าและศักยภาพของการผลิตพลังงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิตอลที่ผู้ประกอบการสหรัฐต้องการ, ทรัพยากรธรรมชาติของอาเซียนที่สหรัฐดิ้นรนแสวงหาอยู่ ณ ขณะนี้, ไปจนถึงการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนคาสิโนแห่ง Las Vegas ได้มีโอกาสในการทำธุรกิจในอาเซียนในประเทศที่กำลังเดินหน้านโยบายการเปิดบ่อน (ส่วนตัวผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนคาสิโนที่มอมเมาประชาชน แต่หากรัฐบาลจะดันทุรังเปิดให้ได้ อย่างน้อยก็ต้องเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพราะต้องอย่าลืมว่าผู้สนับสนุนทรัมป์ก็เป็นกลุ่มทุนคาสิโนยักษ์ใหญ่) ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอำนาจต่อรองที่หนูตัวนี้จะรอดจากเงื้อมมือราชสีห์ด้วยกันทั้งสิ้น.5. และเนื่องจาก ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม ได้รับสิทธิ์ในการเป็น Partner Country ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BRICS ในขณะที่อินโดนีเซียได้รับสิทธิ์เป็น Full Member ของ BRICS เรียบร้อยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่หนูน้อยอาเซียนต้องดำเนินการด้วยนั่นก็คือ เร่งเจรจากับผู้นำบราซิลที่จะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดกลุ่ม BRICS ในปีนี้ ว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะรับอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าเป็นสมาชิก เพราะหนูตัวนี้บางครั้งก็ต้องพึ่งพาราชสีห์อีกตัวมากดดันราชสีห์อันทพาลตัวเก่า การแสวงหาโอกาส การแสวงหาตลาดใหม่ๆ ที่จะเป็นทางเลือกเพื่อมาทดแทนตลาดการค้าที่กำลังจะเสียไป เป็นทางเลือกที่เรามีสิทธิ์ในฐานะรัฐอธิปไตย.ขอเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายของไทยต้องมีวิสัยทัศน์ มีความกล้าหาญในการเล่นบทบาทนำของประเทศไทยในประชาคมอาเซียน เราต้องมีข้อเสนอกับประชาคมอาเซียนเพื่อรับมือมาตรการกีดกันทางการค้าจะสหรัฐร่วมกัน.รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนามคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ปล. รบกวนช่วยกัน Share นะครับ เราต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบ้าง ไม่งั้นไทยจะหายไปจากจอเรดาร์
    สหรัฐเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากไทย 36% (ล่าสุดปรับอีกครั้งเป็น 37%) หนึ่งในทางออกคือ ไทยต้องเล่นบทบาทนำในอาเซียน เพื่อผ่านวิกฤตครั้งนี้ให้ได้.ประเด็นเร่งด่วนในระยะสั้นที่ไทยต้องเร่งผลักดันผ่านคณะทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับสูง และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อให้ทันก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้คือ.รับมือกับมาตรการทางทางการค้าของสหรัฐอเมริการ่วมกัน เพราะสมาชิกอาเซียนโดนกันถ้วนหน้า กัมพูชา 49% สปป ลาว 48% เวียดนาม 46% เมียนมา 44% ไทย 36-37% อินโดนีเซีย 32% มาเลเซียและบรูไน 24% ฟิลิปปินส์ 17% หรือแม้แต่สิงคโปร์ก็โดนภาษี 10% เราต้องคำนวณร่วมกันว่า อัตราที่ทรัมป์กล่าวอ้าง นั่นคือ x2 ของอัตราภาษีเหล่านี้ คืออัตราจริงหรือไม่ ที่มาเป็นอย่างไร ถ้าไม่จริงต้องเร่งปฏิเสธ (ซึ่งผมค่อนข้างมั่นใจว่าไม่น่าจะใช่อัตราที่ถูกต้อง รวมทั้งมีผู้คำนวณแล้วว่าตัวเลขชุดนี้ แท้จริงแล้วคือ สัดส่วนมูลค่าการขาดดุลการค้าต่อมูลค่าการนำเข้าที่สหรัฐนำเข้าสินค้าจากแต่ละประเทศ).จากนั้น ต้องคิดต่อว่าหากให้แต่ละประเทศสมาชิกเจรจากับสหรัฐ (ซึ่งจะมีเวลาเตรียมตัวสั้นมาก) เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า อำนาจการต่อรองของแต่ละสมาชิกเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาคือ เรื่องจิ๊บจ๊อยขี้ประติ๋ว แต่หากประชาคมอาเซียนรวมตัวกัน นี้คือตลาดของประชาชนเรือน 700 ล้านประชากร ที่มีรายได้สูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก และเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญ ดังนั้น อาเซียนต้องร่วมมือกัน อาเซียนต้องเดินหน้าต่อรองด้วยกัน .อาเซียนต้องไม่ดำเนินมาตรการที่ขัดแข้งขัดขาซึ่งกันและกัน มาตรการจำพวกตั้งภาษีตอบโต้กัน หรือเลียนแบบมาตรการทางการค้าเพื่อตอบโต้ซึ่งกันและกัน (Tariff Retaliation and/or Trade Emulation) รวมทั้งนโยบายประเภทเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น ขอทานจากประเทศเพื่อบ้าน (Beggar-thy-neighbor) อาทิ ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดึงดูดเงินทุน แข่งกันให้สิทธิพิเศษทางการค้าการลงทุนจนวายวอดทั้งภูมิภาค ฯลฯ เหล่านี้ต้องไม่เกิดขึ้น .จากนั้นทั้งอาเซียนต้องร่วมกัน.1. แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า อาเซียนคืออาเซียน อาเซียนมีจุดแข็งของตนเอง อาเซียนพร้อมสนับสนุนการค้า การลงทุนเสรี อาเซียนสนับสนุนกฎกติการแบบพหุภาคีนิยม และอาเซียนไม่ได้เป็นเขตอิทธิพลของมหาอำนาจใดมหาอำนาจหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น จีน สหรัฐ หรือ มหาอำนาจใดๆ.2. เร่งสำรวจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากมาตรการทางการค้าที่สหรัฐประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน ว่าแต่ละประเทศได้รับผลกระทบอย่างไร และหากเราร่วมมือกัน เราต้องการตจะกำหนดทิศทางการเจรจาอย่างไร แน่นอนว่า ทุกประเทศ ทุกคน คงไม่ได้สิ่งที่ต้องการทั้งหมด แต่ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ บางเรื่อง บางประเทศ คงต้องยอมถอย เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อบางภาคการผลิต บางประเทศ และจากนั้นค่อยไปหารือกันว่าอาเซียนจะช่วยการเยียวยาผลกระทบซึ่งกันและกันได้อย่างไร เร่งปรึกษาหารือกับวิสาหกิจสหรัฐที่ทำการค้า ทำการลงทุนอยู่แล้วในอาเซียน ว่าพวกเขามีข้อเสนอแนะใดบ้าง.3. เร่งสำรวจว่าแต่ละประเทศมีช่องทาง มีสายสัมพันธ์ มีแนวทางการติดต่อประสานงานกับประธานาธิบดีทรัมป์ และทีมงานที่ภักดีของเขา รวมทั้งผู้สนับสนุนการรณรงค์หาเสียงของเขาในช่องทางใดบ้าง มีอะไรที่จะเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้คนเหล่านี้ต้องการเป็นสะพานเพื่อเปิดการเจรจาระหว่างอาเซียนกับสหรัฐ.4. วางยุทธศาสตร์การเจรจาร่วมกัน โดยการจัดทำ “ยุทธศาสตร์ราชสีห์กับหนู” นำเสนอนโยบายที่ทำให้ทรัมป์ต้องให้ความสนใจอาเซียน (ทรัมป์เคยมาเยือนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ฟิลิปปินส์ในปี 2017 แต่ไม่เคยเข้าประชุมกับผู้นำอาเซียน) อาเซียนต้องเป็นหนูที่แสดงความเกรงใจนบนอบในระยะปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแสดงให้เห็นโอกาสที่สหรัฐจะได้จากการร่วมมือกับในอนาคต มีอะไรที่เราจะเสนอกับอาเซียนได้บ้าง อาทิ ความต้องการในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของอาเซียนร่วมกันในอีก 5 ปีต่อจากนี้ ความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการที่เป็น Billing ขนาดใหญ่ อาทิ การจัดหาเครื่องบินพาณิชย์ของสายการบินต่างๆ ในประเทศอาเซียนที่มีตลาดการบินขนาดใหญ่และเป็น Hub ทางการบินที่สำคัญ, การจัดซื้อ Software และ Hardware สำหรับระบบบริหาร ASEAN Smart City Network รวมทั้งความต้องการในการจัดซื้อบริการเหล่านี้สำหรับการบริหารกิจการทั้งของรัฐบาลและของภาคเอกชนในอาเซียน, ความต้องการซื้ออุปกรณ์และองค์ความรู้ในการติดตั้งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าและศักยภาพของการผลิตพลังงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิตอลที่ผู้ประกอบการสหรัฐต้องการ, ทรัพยากรธรรมชาติของอาเซียนที่สหรัฐดิ้นรนแสวงหาอยู่ ณ ขณะนี้, ไปจนถึงการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนคาสิโนแห่ง Las Vegas ได้มีโอกาสในการทำธุรกิจในอาเซียนในประเทศที่กำลังเดินหน้านโยบายการเปิดบ่อน (ส่วนตัวผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนคาสิโนที่มอมเมาประชาชน แต่หากรัฐบาลจะดันทุรังเปิดให้ได้ อย่างน้อยก็ต้องเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพราะต้องอย่าลืมว่าผู้สนับสนุนทรัมป์ก็เป็นกลุ่มทุนคาสิโนยักษ์ใหญ่) ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอำนาจต่อรองที่หนูตัวนี้จะรอดจากเงื้อมมือราชสีห์ด้วยกันทั้งสิ้น.5. และเนื่องจาก ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม ได้รับสิทธิ์ในการเป็น Partner Country ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BRICS ในขณะที่อินโดนีเซียได้รับสิทธิ์เป็น Full Member ของ BRICS เรียบร้อยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่หนูน้อยอาเซียนต้องดำเนินการด้วยนั่นก็คือ เร่งเจรจากับผู้นำบราซิลที่จะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดกลุ่ม BRICS ในปีนี้ ว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะรับอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าเป็นสมาชิก เพราะหนูตัวนี้บางครั้งก็ต้องพึ่งพาราชสีห์อีกตัวมากดดันราชสีห์อันทพาลตัวเก่า การแสวงหาโอกาส การแสวงหาตลาดใหม่ๆ ที่จะเป็นทางเลือกเพื่อมาทดแทนตลาดการค้าที่กำลังจะเสียไป เป็นทางเลือกที่เรามีสิทธิ์ในฐานะรัฐอธิปไตย.ขอเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายของไทยต้องมีวิสัยทัศน์ มีความกล้าหาญในการเล่นบทบาทนำของประเทศไทยในประชาคมอาเซียน เราต้องมีข้อเสนอกับประชาคมอาเซียนเพื่อรับมือมาตรการกีดกันทางการค้าจะสหรัฐร่วมกัน.รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนามคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ปล. รบกวนช่วยกัน Share นะครับ เราต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบ้าง ไม่งั้นไทยจะหายไปจากจอเรดาร์
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 520 มุมมอง 0 รีวิว
  • การประกาศภาษีใหม่ของทรัมป์ทำให้ราคาสินค้า Apple พุ่งสูงขึ้น เนื่องจากเวียดนามและอินเดีย ซึ่งเป็นฐานการผลิตของ Apple ต้องเจอกับภาษีสูงสุดถึง 46% แผนการลดการพึ่งพาจีนของ Apple ถูกกระทบหนัก ขณะที่ ภาษี 10% สำหรับสินค้านำเข้าทั้งหมดจะเริ่มบังคับใช้ใน 5 เมษายน Apple อาจต้องปรับราคาสินค้าหรือหาทางออกอื่นเพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้ แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ อาจพิจารณายกเว้นภาษีบางส่วนในอนาคต

    ✅ อัตราภาษีใหม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตนอกจีน
    - Apple พยายาม ลดการพึ่งพาการผลิตในจีน มาหลายปี แต่แผนนี้ถูกกระทบจากภาษีใหม่
    - เวียดนามเจอภาษีสูงถึง 46% ขณะที่อินเดียโดน 26%

    ✅ ผู้บริโภคในสหรัฐฯ ต้องแบกรับราคาที่แพงขึ้น
    - นอกจากภาษี 10% สำหรับสินค้านำเข้าทั้งหมดที่เริ่มใช้ใน 5 เมษายน
    - ยังมีภาษีแบบ Reciprocal Tariffs ที่เพิ่มอัตราภาษีให้สูงขึ้นสำหรับสินค้าที่ประเทศอื่นขายแพง

    ✅ ภาระต้นทุนการผลิตทำให้ Apple ตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก
    - ภาษีที่สูงขึ้นทำให้ ต้นทุนการผลิตพุ่งขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อกำไรของบริษัท
    - Apple อยู่ในสถานะ Lose-Lose Situation ไม่ว่าจะเลือกปรับราคาหรือดูดซับต้นทุน

    ✅ Trump อาจพิจารณายกเว้นภาษีบางส่วน
    - มีรายงานว่า สหรัฐฯ อาจผ่อนปรนภาษีให้กับบางประเทศ ที่สำคัญต่อห่วงโซ่อุปทานของ Apple

    ✅ จีนยังคงเป็นเป้าหมายหลักของภาษีสหรัฐฯ
    - ภาษี 34% ถูกกำหนดไว้เป็นมาตรการตอบโต้การค้า
    - Apple อาจต้องทบทวนแผนการกระจายฐานการผลิตใหม่ทั้งหมด

    https://wccftech.com/apple-supply-chains-hit-with-up-to-a-46-percent-trump-tariffs/
    การประกาศภาษีใหม่ของทรัมป์ทำให้ราคาสินค้า Apple พุ่งสูงขึ้น เนื่องจากเวียดนามและอินเดีย ซึ่งเป็นฐานการผลิตของ Apple ต้องเจอกับภาษีสูงสุดถึง 46% แผนการลดการพึ่งพาจีนของ Apple ถูกกระทบหนัก ขณะที่ ภาษี 10% สำหรับสินค้านำเข้าทั้งหมดจะเริ่มบังคับใช้ใน 5 เมษายน Apple อาจต้องปรับราคาสินค้าหรือหาทางออกอื่นเพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้ แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ อาจพิจารณายกเว้นภาษีบางส่วนในอนาคต ✅ อัตราภาษีใหม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตนอกจีน - Apple พยายาม ลดการพึ่งพาการผลิตในจีน มาหลายปี แต่แผนนี้ถูกกระทบจากภาษีใหม่ - เวียดนามเจอภาษีสูงถึง 46% ขณะที่อินเดียโดน 26% ✅ ผู้บริโภคในสหรัฐฯ ต้องแบกรับราคาที่แพงขึ้น - นอกจากภาษี 10% สำหรับสินค้านำเข้าทั้งหมดที่เริ่มใช้ใน 5 เมษายน - ยังมีภาษีแบบ Reciprocal Tariffs ที่เพิ่มอัตราภาษีให้สูงขึ้นสำหรับสินค้าที่ประเทศอื่นขายแพง ✅ ภาระต้นทุนการผลิตทำให้ Apple ตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก - ภาษีที่สูงขึ้นทำให้ ต้นทุนการผลิตพุ่งขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อกำไรของบริษัท - Apple อยู่ในสถานะ Lose-Lose Situation ไม่ว่าจะเลือกปรับราคาหรือดูดซับต้นทุน ✅ Trump อาจพิจารณายกเว้นภาษีบางส่วน - มีรายงานว่า สหรัฐฯ อาจผ่อนปรนภาษีให้กับบางประเทศ ที่สำคัญต่อห่วงโซ่อุปทานของ Apple ✅ จีนยังคงเป็นเป้าหมายหลักของภาษีสหรัฐฯ - ภาษี 34% ถูกกำหนดไว้เป็นมาตรการตอบโต้การค้า - Apple อาจต้องทบทวนแผนการกระจายฐานการผลิตใหม่ทั้งหมด https://wccftech.com/apple-supply-chains-hit-with-up-to-a-46-percent-trump-tariffs/
    WCCFTECH.COM
    Apple’s Supply Chain To Bear The Immense Financial Burden Of The Trump Tariffs, With Multiple Countries, Including Vietnam & India, Hit With Up To A 46 Percent Levy
    Various production hubs of Apple will be subject to up to a 46 percent bump in tariffs, forcing mutiple products, including iPhones, to jump in price
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 217 มุมมอง 0 รีวิว
  • รายงานวิเคราะห์จากเพจลงทุนแมน เกี่ยวกับสรุปวิกฤติค่าเงิน อินโดนีเซีย อ่อนสุดตั้งแต่ต้มยำกุ้ง ในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน
    ถ้าบอกว่า อินโดนีเซียยังเป็นประเทศดาวรุ่งพุ่งแรง ที่ทุกอย่างกำลังดูดี โพสต์นี้อาจทำให้หลายคนมองภาพประเทศนี้เปลี่ยนไป

    เพราะตอนนี้ อินโดนีเซียกำลังเจอวิกฤติเงินรูเปียอ่อนค่าอย่างหนัก ซึ่งเป็นการอ่อนค่ามากที่สุด นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 เลยทีเดียว

    จนธนาคารกลางอินโดนีเซีย ต้องนำเงินทุนสำรองมาพยุงค่าเงินรูเปียไม่ให้อ่อนค่าไปมากกว่านี้

    วิกฤติค่าเงินของอินโดนีเซียรุนแรงแค่ไหน ?
    แล้วเกิดขึ้นเพราะอะไร ?
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

    ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย ร่วงไปแตะระดับ 16,600 รูเปียต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่ามากที่สุด ระดับเดียวกับช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540

    สถานการณ์ของอินโดนีเซียในครั้งนี้ อาจไม่ได้ซ้ำรอยกับวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่เริ่มต้นจากการถล่มค่าเงินในภูมิภาค แต่เกิดขึ้นจากรากฐานเศรษฐกิจของอินโดนีเซียที่อ่อนแอลง และถูกซ้ำเติมด้วยนโยบายภาครัฐ

    ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซีย คือหนึ่งในประเทศที่ได้รับเงินสนับสนุนและการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง

    โดยในปี 2566 มีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติมากถึง 1.88 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% จากปีก่อนหน้า และมี GDP เติบโตเฉลี่ย 5% ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา

    เมื่อมีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง บวกกับเศรษฐกิจที่เติบโตดี มีฐานประชากรกว่า 281 ล้านคน คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

    อีกทั้งรัฐบาลอินโดนีเซีย ดำเนินนโยบายแบบขาดดุลตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอินโดนีเซียมีกรอบนโยบายขาดดุลงบประมาณราว -3% ต่อ GDP อย่างยาวนาน

    จนมาถึงยุคของ ประธานาธิบดีปราโบโว ซูเบียนโต
    ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งในช่วงปลายปี 2567 ก็ยังคงเดินตามแบบแผนเดิม ๆ คือ การตั้งงบประมาณแบบขาดดุล

    พร้อมกับนโยบายประชานิยมหลากหลายอย่าง ที่เขาได้ประกาศใช้ ไม่ว่าจะเป็น

    - ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 6.5% สูงกว่าข้อเสนอของกระทรวงแรงงานที่เสนอไว้ 6%

    - อาหารกลางวันฟรี ให้กับประชาชนกว่า 83 ล้านคน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ เด็ก และสตรีมีครรภ์ ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 950,000 ล้านบาทต่อปี

    - สั่งเบรกอัตราภาษี VAT ที่จะต้องปรับขึ้นเป็น 12% ในสินค้าทุกรายการ เป็นบังคับใช้เพียงสินค้าฟุ่มเฟือยเท่านั้น

    แน่นอนว่า การทำนโยบายประชานิยม ก็ยิ่งกดดันให้อินโดนีเซียต้องขาดดุลมากขึ้น และมีความเสี่ยงที่จะเลยกรอบ 3% ต่อ GDP ที่วางไว้

    ซึ่งในปี 2568 รัฐบาลอินโดนีเซีย ตั้งเป้างบประมาณขาดดุลไว้ที่ 2.53% เพิ่มขึ้นจาก 2.29% ในปี 2567

    แล้วภาพเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย เป็นอย่างไร ?

    สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อินโดนีเซีย ในปี 2567 อยู่ที่ 39% ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับชาติอื่น ๆ ในภูมิภาค เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ หรือ มาเลเซีย

    แต่หากดูในภาพรวม จะพบว่า GDP ของอินโดนีเซีย กำลังเติบโตลดลงทีละน้อย จาก 5.31% ในปี 2565 เหลือ 5.03% ในปี 2567

    ในขณะที่รายได้ของรัฐ เริ่มส่งสัญญาณโตไม่ทันรายจ่าย ทำให้ภาครัฐขาดดุลมากขึ้น

    ปี 2565 ขาดดุล 943,236 ล้านบาท
    ปี 2566 ขาดดุล 994,387 ล้านบาท
    ปี 2567 ขาดดุล 1,070,091 ล้านบาท

    เมื่อมีแนวโน้มขาดดุลงบประมาณมากขึ้น แต่การเติบโตของเศรษฐกิจกลับเริ่มอ่อนแรง การกู้เงินมาใช้จ่ายจึงเพิ่มขึ้น

    ซึ่งแม้แต่ประธานาธิบดีปราโบโวเอง ก็เคยบอกไว้ว่ามีแผนจะปรับระดับเพดานหนี้สาธารณะต่อ GDP อินโดนีเซีย ไปอยู่ในระดับ 50% ภายในเวลา 5 ปี

    นอกจากเรื่องการขาดดุลอย่างต่อเนื่องแล้ว ประธานาธิบดีคนนี้ ยังต้องการตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่ชื่อว่า Danantara ที่คาดว่าจะมีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การจัดการกว่า 30 ล้านล้านบาท

    Danantara มีโมเดลคล้าย Temasek กองทุน
    ความมั่งคั่งแห่งชาติสิงคโปร์ ที่เน้นนำเงินของประเทศ
    ไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก

    รวมถึง รัฐวิสาหกิจของอินโดนีเซีย กว่า 40 แห่ง ที่จะถูกรวมเข้ามาเป็นสินทรัพย์ภายใต้กองทุน เช่น
    - Pertamina บริษัทน้ำมันและก๊าซ
    - PLN บริษัทไฟฟ้า
    - Telkom Indonesia บริษัทโทรคมนาคม

    แต่ปัญหาคือ กองทุนนี้ต้องใช้เงินมหาศาลในการจัดตั้งกองทุน ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลอินโดนีเซียทำ เป็นความเสี่ยงที่หลายคนกังวล

    เพราะรัฐบาลหาเงินมาทำกองทุนนี้ ด้วยการตัดงบประมาณบริการสาธารณะที่จำเป็น รวมถึงการลดเงินทุนสำหรับการศึกษาระดับประถมลง 24% และลดงบประมาณการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยลง 39% ลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพลง 19% และที่สำคัญคือ การลดโครงการสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานลง 73%

    เรียกได้ว่า กองทุนนี้มีเงินตั้งต้นจากการลดค่าใช้จ่าย
    ในเศรษฐกิจ ที่เป็นอนาคตสำคัญของประเทศ

    จากปัญหาหลักทั้ง 2 เรื่องนี้ นั่นก็คือ การขาดดุลงบประมาณ และการลดค่าใช้จ่ายที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ก็ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มกังวลกับความอ่อนแอของเศรษฐกิจ และศักยภาพการเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาวของอินโดนีเซีย

    ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มเทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย จนดัชนีตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย (IDX Composite) ปรับตัวลงไปแล้ว -10% นับจากต้นปี (ยังดีกว่าดัชนี SET ของไทยที่ -14%)

    ซึ่งวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียได้มีการประกาศหยุดซื้อขายหุ้นชั่วคราว หลังจากดัชนีหลักทรัพย์ร่วงไป -5%

    โดยแรงขายหุ้นจากนักลงทุนต่างชาติ ยังเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียอ่อนค่าลงอีกทาง

    ในที่สุด ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียก็อ่อนค่าลงต่อเนื่อง จนตอนนี้อยู่ในระดับที่ต่ำสุด นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งในช่วงปี 2540 ไปแล้ว (ในขณะที่ค่าเงินบาทไทยยังห่างไกลจากช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่อ่อนค่าลงไปแตะ 55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ)

    อย่างไรก็ตาม ก็ต้องบอกว่า เรื่องนี้ก็อาจเกิดขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น หากความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมา และความท้าทายทางเศรษฐกิจเริ่มคลี่คลาย

    แต่ถ้ารัฐบาลอินโดนีเซียภายใต้ผู้นำที่ชื่อว่า ปราโบโว
    ซูเบียนโต ยังทำแบบเดิม ๆ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ยังไม่ฟื้นคืน

    สุดท้าย ก็อาจทำให้ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย ร่วงหนักไปมากกว่านี้ก็ได้..

    ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ

    รู้ไหมว่า กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ Danantara
    ของอินโดนีเซีย มีคุณทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาอีกด้วย
    ╔═══════════╗
    ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ติดตามลงทุนแมนได้ที่
    Website - longtunman.com
    Blockdit - blockdit.com/longtunman
    Facebook - facebook.com/longtunman
    Twitter - twitter.com/longtunman
    Instagram - instagram.com/longtunman
    YouTube - youtube.com/longtunman
    TikTok - tiktok.com/@longtunman
    Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
    Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
    Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
    References
    -https://www.reuters.com/markets/currencies/indonesia-cbank-says-rupiah-weakness-reflects-global-domestic-factors-2025-03-25/?utm_source=chatgpt.com
    -https://www.bloomberg.com/news/articles/2025-03-26/indonesia-stock-market-why-are-investors-fleeing-what-role-has-prabowo-played
    -https://tradingeconomics.com/indonesia/indicators
    -https://www.bps.go.id/en/statistics-table/2/MTA4NSMy/actual-government-expenditures--finance-.html
    -https://asiatimes.com/2025/03/danantara-indonesias-ticking-financial-time-bomb
    รายงานวิเคราะห์จากเพจลงทุนแมน เกี่ยวกับสรุปวิกฤติค่าเงิน อินโดนีเซีย อ่อนสุดตั้งแต่ต้มยำกุ้ง ในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน ถ้าบอกว่า อินโดนีเซียยังเป็นประเทศดาวรุ่งพุ่งแรง ที่ทุกอย่างกำลังดูดี โพสต์นี้อาจทำให้หลายคนมองภาพประเทศนี้เปลี่ยนไป เพราะตอนนี้ อินโดนีเซียกำลังเจอวิกฤติเงินรูเปียอ่อนค่าอย่างหนัก ซึ่งเป็นการอ่อนค่ามากที่สุด นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 เลยทีเดียว จนธนาคารกลางอินโดนีเซีย ต้องนำเงินทุนสำรองมาพยุงค่าเงินรูเปียไม่ให้อ่อนค่าไปมากกว่านี้ วิกฤติค่าเงินของอินโดนีเซียรุนแรงแค่ไหน ? แล้วเกิดขึ้นเพราะอะไร ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย ร่วงไปแตะระดับ 16,600 รูเปียต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่ามากที่สุด ระดับเดียวกับช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 สถานการณ์ของอินโดนีเซียในครั้งนี้ อาจไม่ได้ซ้ำรอยกับวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่เริ่มต้นจากการถล่มค่าเงินในภูมิภาค แต่เกิดขึ้นจากรากฐานเศรษฐกิจของอินโดนีเซียที่อ่อนแอลง และถูกซ้ำเติมด้วยนโยบายภาครัฐ ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซีย คือหนึ่งในประเทศที่ได้รับเงินสนับสนุนและการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 มีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติมากถึง 1.88 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% จากปีก่อนหน้า และมี GDP เติบโตเฉลี่ย 5% ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อมีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง บวกกับเศรษฐกิจที่เติบโตดี มีฐานประชากรกว่า 281 ล้านคน คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อีกทั้งรัฐบาลอินโดนีเซีย ดำเนินนโยบายแบบขาดดุลตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอินโดนีเซียมีกรอบนโยบายขาดดุลงบประมาณราว -3% ต่อ GDP อย่างยาวนาน จนมาถึงยุคของ ประธานาธิบดีปราโบโว ซูเบียนโต ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งในช่วงปลายปี 2567 ก็ยังคงเดินตามแบบแผนเดิม ๆ คือ การตั้งงบประมาณแบบขาดดุล พร้อมกับนโยบายประชานิยมหลากหลายอย่าง ที่เขาได้ประกาศใช้ ไม่ว่าจะเป็น - ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 6.5% สูงกว่าข้อเสนอของกระทรวงแรงงานที่เสนอไว้ 6% - อาหารกลางวันฟรี ให้กับประชาชนกว่า 83 ล้านคน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ เด็ก และสตรีมีครรภ์ ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 950,000 ล้านบาทต่อปี - สั่งเบรกอัตราภาษี VAT ที่จะต้องปรับขึ้นเป็น 12% ในสินค้าทุกรายการ เป็นบังคับใช้เพียงสินค้าฟุ่มเฟือยเท่านั้น แน่นอนว่า การทำนโยบายประชานิยม ก็ยิ่งกดดันให้อินโดนีเซียต้องขาดดุลมากขึ้น และมีความเสี่ยงที่จะเลยกรอบ 3% ต่อ GDP ที่วางไว้ ซึ่งในปี 2568 รัฐบาลอินโดนีเซีย ตั้งเป้างบประมาณขาดดุลไว้ที่ 2.53% เพิ่มขึ้นจาก 2.29% ในปี 2567 แล้วภาพเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย เป็นอย่างไร ? สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อินโดนีเซีย ในปี 2567 อยู่ที่ 39% ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับชาติอื่น ๆ ในภูมิภาค เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ หรือ มาเลเซีย แต่หากดูในภาพรวม จะพบว่า GDP ของอินโดนีเซีย กำลังเติบโตลดลงทีละน้อย จาก 5.31% ในปี 2565 เหลือ 5.03% ในปี 2567 ในขณะที่รายได้ของรัฐ เริ่มส่งสัญญาณโตไม่ทันรายจ่าย ทำให้ภาครัฐขาดดุลมากขึ้น ปี 2565 ขาดดุล 943,236 ล้านบาท ปี 2566 ขาดดุล 994,387 ล้านบาท ปี 2567 ขาดดุล 1,070,091 ล้านบาท เมื่อมีแนวโน้มขาดดุลงบประมาณมากขึ้น แต่การเติบโตของเศรษฐกิจกลับเริ่มอ่อนแรง การกู้เงินมาใช้จ่ายจึงเพิ่มขึ้น ซึ่งแม้แต่ประธานาธิบดีปราโบโวเอง ก็เคยบอกไว้ว่ามีแผนจะปรับระดับเพดานหนี้สาธารณะต่อ GDP อินโดนีเซีย ไปอยู่ในระดับ 50% ภายในเวลา 5 ปี นอกจากเรื่องการขาดดุลอย่างต่อเนื่องแล้ว ประธานาธิบดีคนนี้ ยังต้องการตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่ชื่อว่า Danantara ที่คาดว่าจะมีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การจัดการกว่า 30 ล้านล้านบาท Danantara มีโมเดลคล้าย Temasek กองทุน ความมั่งคั่งแห่งชาติสิงคโปร์ ที่เน้นนำเงินของประเทศ ไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึง รัฐวิสาหกิจของอินโดนีเซีย กว่า 40 แห่ง ที่จะถูกรวมเข้ามาเป็นสินทรัพย์ภายใต้กองทุน เช่น - Pertamina บริษัทน้ำมันและก๊าซ - PLN บริษัทไฟฟ้า - Telkom Indonesia บริษัทโทรคมนาคม แต่ปัญหาคือ กองทุนนี้ต้องใช้เงินมหาศาลในการจัดตั้งกองทุน ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลอินโดนีเซียทำ เป็นความเสี่ยงที่หลายคนกังวล เพราะรัฐบาลหาเงินมาทำกองทุนนี้ ด้วยการตัดงบประมาณบริการสาธารณะที่จำเป็น รวมถึงการลดเงินทุนสำหรับการศึกษาระดับประถมลง 24% และลดงบประมาณการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยลง 39% ลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพลง 19% และที่สำคัญคือ การลดโครงการสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานลง 73% เรียกได้ว่า กองทุนนี้มีเงินตั้งต้นจากการลดค่าใช้จ่าย ในเศรษฐกิจ ที่เป็นอนาคตสำคัญของประเทศ จากปัญหาหลักทั้ง 2 เรื่องนี้ นั่นก็คือ การขาดดุลงบประมาณ และการลดค่าใช้จ่ายที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ก็ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มกังวลกับความอ่อนแอของเศรษฐกิจ และศักยภาพการเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาวของอินโดนีเซีย ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มเทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย จนดัชนีตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย (IDX Composite) ปรับตัวลงไปแล้ว -10% นับจากต้นปี (ยังดีกว่าดัชนี SET ของไทยที่ -14%) ซึ่งวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียได้มีการประกาศหยุดซื้อขายหุ้นชั่วคราว หลังจากดัชนีหลักทรัพย์ร่วงไป -5% โดยแรงขายหุ้นจากนักลงทุนต่างชาติ ยังเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียอ่อนค่าลงอีกทาง ในที่สุด ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียก็อ่อนค่าลงต่อเนื่อง จนตอนนี้อยู่ในระดับที่ต่ำสุด นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งในช่วงปี 2540 ไปแล้ว (ในขณะที่ค่าเงินบาทไทยยังห่างไกลจากช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่อ่อนค่าลงไปแตะ 55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) อย่างไรก็ตาม ก็ต้องบอกว่า เรื่องนี้ก็อาจเกิดขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น หากความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมา และความท้าทายทางเศรษฐกิจเริ่มคลี่คลาย แต่ถ้ารัฐบาลอินโดนีเซียภายใต้ผู้นำที่ชื่อว่า ปราโบโว ซูเบียนโต ยังทำแบบเดิม ๆ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ยังไม่ฟื้นคืน สุดท้าย ก็อาจทำให้ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย ร่วงหนักไปมากกว่านี้ก็ได้.. ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ รู้ไหมว่า กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ Danantara ของอินโดนีเซีย มีคุณทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาอีกด้วย ╔═══════════╗ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download ╚═══════════╝ ติดตามลงทุนแมนได้ที่ Website - longtunman.com Blockdit - blockdit.com/longtunman Facebook - facebook.com/longtunman Twitter - twitter.com/longtunman Instagram - instagram.com/longtunman YouTube - youtube.com/longtunman TikTok - tiktok.com/@longtunman Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829 Soundcloud - soundcloud.com/longtunman References -https://www.reuters.com/markets/currencies/indonesia-cbank-says-rupiah-weakness-reflects-global-domestic-factors-2025-03-25/?utm_source=chatgpt.com -https://www.bloomberg.com/news/articles/2025-03-26/indonesia-stock-market-why-are-investors-fleeing-what-role-has-prabowo-played -https://tradingeconomics.com/indonesia/indicators -https://www.bps.go.id/en/statistics-table/2/MTA4NSMy/actual-government-expenditures--finance-.html -https://asiatimes.com/2025/03/danantara-indonesias-ticking-financial-time-bomb
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 789 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่วุ่น ยสท. วิ่งล็อบบี้คลังเปิดอัตราภาษีใหม่ทำบุหรี่ราคาถูกซองละ 40 บาท สู้คู่แข่ง และแก้ปัญหาบุหรี่เถื่อน
    .
    กระทรวงการคลังยังไม่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตบุหรี่ แม้ว่าการยาสูบแห่งประเทศไทย (ยสท.) จะเสนอให้เพิ่มอัตราการเก็บภาษีเป็น 3 อัตรา เพื่อผลิตบุหรี่ราคาถูกซองละ 40 บาท หวังแข่งขันกับคู่แข่งและลดปัญหาบุหรี่เถื่อน อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังไม่เห็นด้วย เนื่องจากที่ผ่านมาคู่แข่งสามารถออกบุหรี่ราคาถูกมาสู้ได้ และข้อมูลพบว่าการบริโภคบุหรี่เถื่อนเพิ่มขึ้นเป็น 25% ในปี 2567 แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษีมาก่อนหน้านี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000027633
    ปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่วุ่น ยสท. วิ่งล็อบบี้คลังเปิดอัตราภาษีใหม่ทำบุหรี่ราคาถูกซองละ 40 บาท สู้คู่แข่ง และแก้ปัญหาบุหรี่เถื่อน . กระทรวงการคลังยังไม่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตบุหรี่ แม้ว่าการยาสูบแห่งประเทศไทย (ยสท.) จะเสนอให้เพิ่มอัตราการเก็บภาษีเป็น 3 อัตรา เพื่อผลิตบุหรี่ราคาถูกซองละ 40 บาท หวังแข่งขันกับคู่แข่งและลดปัญหาบุหรี่เถื่อน อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังไม่เห็นด้วย เนื่องจากที่ผ่านมาคู่แข่งสามารถออกบุหรี่ราคาถูกมาสู้ได้ และข้อมูลพบว่าการบริโภคบุหรี่เถื่อนเพิ่มขึ้นเป็น 25% ในปี 2567 แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษีมาก่อนหน้านี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000027633
    Like
    Haha
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1319 มุมมอง 0 รีวิว
  • สงครามการค้าระหว่างอเมริกากับหุ้นส่วนเศรษฐกิจและคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด 3 ชาติยิ่งบานปลายขยายตัว หลังจากทรัมป์ยืนยันว่ามาตรการขึ้นอัตราภาษีศุลกากรที่เงื้อง่าอยู่ เริ่มมีผลบังคับใช้กับแคนาดา เม็กซิโก และจีนแน่นอนส่งผลให้ปักกิ่งและออตตาวาประกาศตอบโต้แบบทันควัน ขณะที่เม็กซิโกก็ระบุเอาคืนแน่นอน แต่ยังไม่ได้ให้รายละเอียด
    .
    หลังเวลาเที่ยงคืนของวันจันทร์ (3 มี.ค.) ตามเวลาภาคตะวันออกของสหรัฐฯ (ซึ่งช้ากว่าเวลาเมืองไทย 12 ชั่วโมง) สินค้าแคนาดาและเม็กซิโกที่นำเข้าไปยังอเมริกา ซึ่งมีมูลค่ารวมกันสูงกว่า 918,000 ล้านดอลลาร์จะถูกเรียกเก็บภาษีศุลกากรสูงขึ้น 25% รวด เวลาเดียวกันประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยังรีดภาษีจากสินค้านำเข้าจากจีนสูงขึ้นอีก 10% จากที่เพิ่มขึ้นไปแล้ว 10% เมื่อเดือนกุมภาพันธ์
    .
    ด้านนายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด แถลงว่า แคนาดาจะตอบโต้โดยเรียกเก็บภาษีศุลกากรเพิ่ม 25% จากสินค้าอเมริกันมูลค่ากว่า 100,000 ล้านดอลลาร์ในช่วง 21 วัน ขณะที่ประธานาธิบดี เกลาเดีย เชย์นเบาม์ ระบุว่าความเคลื่อนไหวช่นนี้ของสหรัฐฯไม่มีความชอบธรรม และประกาศจะตอบโต้กลับด้วยมาตรการภาษีของตัวเอง
    .
    ผู้นำหญิงของเม็กซิโกบอกว่า เธอจะประกาศรายการสินค้านำเข้าจากอเมริกาที่จะตกเป็นเป้าถูกขึ้นภาษีตอบโต้ในวันอาทิตย์ (9) นี้ ณ งานพิธีซึ่งกำหนดจัดขึ้นที่จัตุรัสใจกลางเมืองหลวงเม็กซิโกซิตี ท่าทีเช่นนี้ทำให้มองกันว่าการเลื่อนช้าออกไปเช่นนี้บ่งชี้ว่าเม็กซิโกยังคงมีความหวังที่จะเจรจาต่อรองกันก่อนเพื่อไม่ให้สงครามการค้าบานปลาย
    .
    แรกทีเดียวนั้น มาตรการภาษีศุลกากรสินค้าแคนาดาและเม็กซิโกจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ทว่า ทรัมป์ตกลงขยายเวลาออกไป 30 วันเพื่อเจรจาเพิ่มเติมกับสองประเทศคู่ค้าใหญ่ที่สุดของอเมริกา สำหรับเหตุผลในการขึ้นภาษีคือ เพื่อให้สองประเทศเพื่อนบ้านนี้จัดการปัญหาการลักลอบขนยาเสพติด โดยเฉพาะ เฟนทานิล และปัญหาการลักลอบเข้าเมืองผ่านดินแดนของประเทศทั้งสองเข้ามายังสหรัฐฯ
    .
    ขณะที่ทั้งสองชาติต่างยืนยันว่า มีความคืบหน้าในการแก้ปัญหา ทว่า ทรัมป์กลับบอกเพิ่มเติมว่า จะลดภาษีศุลกากรต่อเมื่อการขาดดุลการค้าของอเมริกาต่อเม็กซิโกและแคนาดาสิ้นสุดลง ถึงแม้เรื่องหลังนี้ย่อมเป็นกระบวนการที่ไม่สามารถแก้ไขได้ตามกรอบเวลาทางการเมือง
    .
    มีผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์กันว่า มาตรการที่สหรัฐฯขึ้นภาษีศุลกากรกับแคนาดาและเม็กซิโก น่าจะส่งผลสะท้อนกลับกระทบถึงเศรษฐกิจอเมริกันอย่างแรงๆ และดังนั้นจึงอาจบังคับใช้ได้เพียงช่วงสั้นๆ และสิ่งที่ทรัมป์อาจเลือกกระทำต่อไป อาจเป็นการหันไปรีดภาษีจากสินค้านำเข้าจากสหภาพยุโรป และอินเดีย รวมทั้งพวก ชิปคอมพิวเตอร์ ยานยนต์ และยาเวชภัณฑ์นำเข้าเพิ่มมากขึ้น
    .
    ในส่วนของจีนนั้น ปักกิ่งประณามการบังคับใช้มาตรการ “ตามอำเภอใจฝ่ายเดียว” เช่นนี้ของอเมริกา และประกาศตอบโต้ทันทีด้วยการเรียกเก็บภาษีศุลกากรเพิ่ม 15% จากสินค้าเกษตรและอาหารของอเมริกามูลค่า 21,000 ล้านดอลลาร์ มีผลตั้งแต่สัปดาห์หน้า รวมทั้งเพิ่มบริษัทอเมริกันอีก 25 แห่งในบัญชีรายชื่อบริษัทที่ถูกจำกัดการส่งออกและการลงทุนภายใต้เหตุผลด้านความมั่นคงแห่งชาติ
    .
    ทั้งนี้ จีนเป็นตลาดใหญ่ที่สุดที่รองรับสินค้าเกษตรของอเมริกา โดยปีที่แล้ว แม้จีนนำเข้าสินค้าเกษตรสหรัฐฯ ลดลงเป็นปีที่สอง แต่ก็ยังคงมีมูลค่าถึง 29,250 ล้านดอลลาร์ เท่าที่ผ่านมาภาคเศรษฐกิจนี้มักถูกใช้เป็นกระสอบทรายในยามที่สถานการณ์การค้าระหว่าง 2 ประเทศตึงเครียด โดยเฉพาะในเมื่อพวกรัฐที่เศรษฐกิจพึ่งพาการเกษตรอย่างมาก ยังเป็นพวกรัฐฐานเสียงของทรัมป์และรีพับลิกันอีกด้วย
    .
    ในวันอังคาร (3) กระทรวงการต่างประเทศจีนออกมาแถลงว่า จีนจะไม่ยอมจำนนต่อการรังแกหรือข่มขู่ และสำทับว่า การพยายามกดดันจีนเป็นการคำนวณผิดพลาด
    .
    อย่างไรก็ดี พวกนักวิเคราะห์เชื่อว่า ปักกิ่งยังหวังว่าจะสามารถเปิดการเจรจาสงบศึกกับคณะบริหารของทรัมป์ จึงกำหนดภาษีตอบโต้ในอัตราต่ำกว่า 20% เพื่อให้คณะผู้เจรจาของตนสามารถต่อรองและบรรลุข้อตกลงได้สำเร็จ ทว่าเมื่อการตอบโต้กันไปมาชักบานปลายออกไป มันก็อาจลดโอกาสที่ทั้งสองฝ่ายจะประนีประนอมกันได้
    .
    เวลาเดียวกัน สำนักข่าวเอพีเสนอรายงานข่าวที่ระบุว่า ผู้นำสหรัฐฯ กำลังทำให้เศรษฐกิจของทั่วโลกผันผวนและไร้ความแน่นอน เนื่องจากไม่มีใครคาดเดาได้ว่า ทรัมป์จะทำอะไรต่อไป
    .
    การเรียกเก็บภาษีศุลกากรสินค้าแคนาดาและเม็กซิโกแบบเหวี่ยงแหยังมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น ยานยนต์และวัสดุก่อสร้าง และเสี่ยงทำให้ค่าครองชีพของประชาชนเพิ่มขึ้น
    .
    นักเศรษฐศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า มาตรการภาษีของทรัมป์อาจทำให้ราคาผู้บริโภคในสหรัฐฯพุ่งขึ้น และเพิ่มความกดดันต่อการเติบโตและการจ้างงานในอเมริกา
    .
    มูลนิธิแท็กซ์ ฟาวน์เดชัน ของสหรัฐฯประเมินว่า มาตรการภาษีต่อแคนาดา เม็กซิโก และจีนจะทำให้อัตราเติบโตของอเมริกาหายไป 0.1% ทั้งนี้ ยังไม่คำนวณผลกระทบจากมาตรการตอบโต้ของทั้งสามชาติ
    .
    ไดแอน สวองค์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเคพีเอ็มจี เตือนว่า ถ้าทรัมป์ยังเดินตามแผนรีดภาษีต่อไป อัตราภาษีศุลกากรของอเมริกาอาจเพิ่มขึ้นถึงระดับสูงสุดนับจากปี 1936 ภายในต้นปีหน้า โดยที่ทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตของสหรัฐฯจะต้องเป็นผู้รับภาระหนักจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากภาษีศุลกากร ซึ่งอาจส่งผลตามมาทำให้ดีมานด์ลดลง และภาคธุรกิจต้องปลดพนักงานเพื่อควบคุมต้นทุน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000021232
    ..............
    Sondhi X
    สงครามการค้าระหว่างอเมริกากับหุ้นส่วนเศรษฐกิจและคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด 3 ชาติยิ่งบานปลายขยายตัว หลังจากทรัมป์ยืนยันว่ามาตรการขึ้นอัตราภาษีศุลกากรที่เงื้อง่าอยู่ เริ่มมีผลบังคับใช้กับแคนาดา เม็กซิโก และจีนแน่นอนส่งผลให้ปักกิ่งและออตตาวาประกาศตอบโต้แบบทันควัน ขณะที่เม็กซิโกก็ระบุเอาคืนแน่นอน แต่ยังไม่ได้ให้รายละเอียด . หลังเวลาเที่ยงคืนของวันจันทร์ (3 มี.ค.) ตามเวลาภาคตะวันออกของสหรัฐฯ (ซึ่งช้ากว่าเวลาเมืองไทย 12 ชั่วโมง) สินค้าแคนาดาและเม็กซิโกที่นำเข้าไปยังอเมริกา ซึ่งมีมูลค่ารวมกันสูงกว่า 918,000 ล้านดอลลาร์จะถูกเรียกเก็บภาษีศุลกากรสูงขึ้น 25% รวด เวลาเดียวกันประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยังรีดภาษีจากสินค้านำเข้าจากจีนสูงขึ้นอีก 10% จากที่เพิ่มขึ้นไปแล้ว 10% เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ . ด้านนายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด แถลงว่า แคนาดาจะตอบโต้โดยเรียกเก็บภาษีศุลกากรเพิ่ม 25% จากสินค้าอเมริกันมูลค่ากว่า 100,000 ล้านดอลลาร์ในช่วง 21 วัน ขณะที่ประธานาธิบดี เกลาเดีย เชย์นเบาม์ ระบุว่าความเคลื่อนไหวช่นนี้ของสหรัฐฯไม่มีความชอบธรรม และประกาศจะตอบโต้กลับด้วยมาตรการภาษีของตัวเอง . ผู้นำหญิงของเม็กซิโกบอกว่า เธอจะประกาศรายการสินค้านำเข้าจากอเมริกาที่จะตกเป็นเป้าถูกขึ้นภาษีตอบโต้ในวันอาทิตย์ (9) นี้ ณ งานพิธีซึ่งกำหนดจัดขึ้นที่จัตุรัสใจกลางเมืองหลวงเม็กซิโกซิตี ท่าทีเช่นนี้ทำให้มองกันว่าการเลื่อนช้าออกไปเช่นนี้บ่งชี้ว่าเม็กซิโกยังคงมีความหวังที่จะเจรจาต่อรองกันก่อนเพื่อไม่ให้สงครามการค้าบานปลาย . แรกทีเดียวนั้น มาตรการภาษีศุลกากรสินค้าแคนาดาและเม็กซิโกจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ทว่า ทรัมป์ตกลงขยายเวลาออกไป 30 วันเพื่อเจรจาเพิ่มเติมกับสองประเทศคู่ค้าใหญ่ที่สุดของอเมริกา สำหรับเหตุผลในการขึ้นภาษีคือ เพื่อให้สองประเทศเพื่อนบ้านนี้จัดการปัญหาการลักลอบขนยาเสพติด โดยเฉพาะ เฟนทานิล และปัญหาการลักลอบเข้าเมืองผ่านดินแดนของประเทศทั้งสองเข้ามายังสหรัฐฯ . ขณะที่ทั้งสองชาติต่างยืนยันว่า มีความคืบหน้าในการแก้ปัญหา ทว่า ทรัมป์กลับบอกเพิ่มเติมว่า จะลดภาษีศุลกากรต่อเมื่อการขาดดุลการค้าของอเมริกาต่อเม็กซิโกและแคนาดาสิ้นสุดลง ถึงแม้เรื่องหลังนี้ย่อมเป็นกระบวนการที่ไม่สามารถแก้ไขได้ตามกรอบเวลาทางการเมือง . มีผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์กันว่า มาตรการที่สหรัฐฯขึ้นภาษีศุลกากรกับแคนาดาและเม็กซิโก น่าจะส่งผลสะท้อนกลับกระทบถึงเศรษฐกิจอเมริกันอย่างแรงๆ และดังนั้นจึงอาจบังคับใช้ได้เพียงช่วงสั้นๆ และสิ่งที่ทรัมป์อาจเลือกกระทำต่อไป อาจเป็นการหันไปรีดภาษีจากสินค้านำเข้าจากสหภาพยุโรป และอินเดีย รวมทั้งพวก ชิปคอมพิวเตอร์ ยานยนต์ และยาเวชภัณฑ์นำเข้าเพิ่มมากขึ้น . ในส่วนของจีนนั้น ปักกิ่งประณามการบังคับใช้มาตรการ “ตามอำเภอใจฝ่ายเดียว” เช่นนี้ของอเมริกา และประกาศตอบโต้ทันทีด้วยการเรียกเก็บภาษีศุลกากรเพิ่ม 15% จากสินค้าเกษตรและอาหารของอเมริกามูลค่า 21,000 ล้านดอลลาร์ มีผลตั้งแต่สัปดาห์หน้า รวมทั้งเพิ่มบริษัทอเมริกันอีก 25 แห่งในบัญชีรายชื่อบริษัทที่ถูกจำกัดการส่งออกและการลงทุนภายใต้เหตุผลด้านความมั่นคงแห่งชาติ . ทั้งนี้ จีนเป็นตลาดใหญ่ที่สุดที่รองรับสินค้าเกษตรของอเมริกา โดยปีที่แล้ว แม้จีนนำเข้าสินค้าเกษตรสหรัฐฯ ลดลงเป็นปีที่สอง แต่ก็ยังคงมีมูลค่าถึง 29,250 ล้านดอลลาร์ เท่าที่ผ่านมาภาคเศรษฐกิจนี้มักถูกใช้เป็นกระสอบทรายในยามที่สถานการณ์การค้าระหว่าง 2 ประเทศตึงเครียด โดยเฉพาะในเมื่อพวกรัฐที่เศรษฐกิจพึ่งพาการเกษตรอย่างมาก ยังเป็นพวกรัฐฐานเสียงของทรัมป์และรีพับลิกันอีกด้วย . ในวันอังคาร (3) กระทรวงการต่างประเทศจีนออกมาแถลงว่า จีนจะไม่ยอมจำนนต่อการรังแกหรือข่มขู่ และสำทับว่า การพยายามกดดันจีนเป็นการคำนวณผิดพลาด . อย่างไรก็ดี พวกนักวิเคราะห์เชื่อว่า ปักกิ่งยังหวังว่าจะสามารถเปิดการเจรจาสงบศึกกับคณะบริหารของทรัมป์ จึงกำหนดภาษีตอบโต้ในอัตราต่ำกว่า 20% เพื่อให้คณะผู้เจรจาของตนสามารถต่อรองและบรรลุข้อตกลงได้สำเร็จ ทว่าเมื่อการตอบโต้กันไปมาชักบานปลายออกไป มันก็อาจลดโอกาสที่ทั้งสองฝ่ายจะประนีประนอมกันได้ . เวลาเดียวกัน สำนักข่าวเอพีเสนอรายงานข่าวที่ระบุว่า ผู้นำสหรัฐฯ กำลังทำให้เศรษฐกิจของทั่วโลกผันผวนและไร้ความแน่นอน เนื่องจากไม่มีใครคาดเดาได้ว่า ทรัมป์จะทำอะไรต่อไป . การเรียกเก็บภาษีศุลกากรสินค้าแคนาดาและเม็กซิโกแบบเหวี่ยงแหยังมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น ยานยนต์และวัสดุก่อสร้าง และเสี่ยงทำให้ค่าครองชีพของประชาชนเพิ่มขึ้น . นักเศรษฐศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า มาตรการภาษีของทรัมป์อาจทำให้ราคาผู้บริโภคในสหรัฐฯพุ่งขึ้น และเพิ่มความกดดันต่อการเติบโตและการจ้างงานในอเมริกา . มูลนิธิแท็กซ์ ฟาวน์เดชัน ของสหรัฐฯประเมินว่า มาตรการภาษีต่อแคนาดา เม็กซิโก และจีนจะทำให้อัตราเติบโตของอเมริกาหายไป 0.1% ทั้งนี้ ยังไม่คำนวณผลกระทบจากมาตรการตอบโต้ของทั้งสามชาติ . ไดแอน สวองค์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเคพีเอ็มจี เตือนว่า ถ้าทรัมป์ยังเดินตามแผนรีดภาษีต่อไป อัตราภาษีศุลกากรของอเมริกาอาจเพิ่มขึ้นถึงระดับสูงสุดนับจากปี 1936 ภายในต้นปีหน้า โดยที่ทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตของสหรัฐฯจะต้องเป็นผู้รับภาระหนักจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากภาษีศุลกากร ซึ่งอาจส่งผลตามมาทำให้ดีมานด์ลดลง และภาคธุรกิจต้องปลดพนักงานเพื่อควบคุมต้นทุน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000021232 .............. Sondhi X
    Like
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2515 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ทรัมป์บ้า” กับ...การลอบสังหารครั้งที่ 4!!! โดย: ทับทิม พญาไท เนื่องจากอะไรมิอะไรมันน่าจะเริ่ม “ตกผลึก” ลงมามั่งแล้ว หรือน่าจะพอ “เดาทาง” ผู้นำอเมริกาอย่าง “ทรัมป์บ้า” ได้บ้างแล้วว่า น่าจะออกไปในแนวไหน? ลูกไหน? ไม่ได้ถึงขั้น “บ้า...จนเดาไม่ออก” เปิดฉากสัปดาห์นี้...เลยคงต้องขออนุญาตทบทวน ใคร่ครวญ ถึงความเพียรพยายามที่จะทำให้ “America Great Again” ของประธานาธิบดีอเมริกันรายนี้ เอาไว้พอให้เห็นภาพคร่าวๆ ส่วนจะถูก-จะผิด จริง-ไม่จริง เชื่อ-ไม่เชื่อ ก็อย่าถึงกับได้ถือสา หาความ ถือเสียว่าเป็นการ “แลกเปลี่ยนมุมมอง” ไปตามสภาพก็แล้วกัน...
    ประการแรก...ตั้งแต่การเชื้อเชิญ ชักชวน ให้ผู้นำ “มหาอำนาจคู่แข่ง” อย่างประธานาธิบดี “ปูติน” แห่งรัสเซีย และ “สี ทนได้”
    หรือ “สี จิ้นผิง” แห่งประเทศจีน มาร่วมมือกัน “ปรับลดค่าใช้จ่ายทางทหาร” ลงไปแบบครึ่ง-ต่อครึ่ง โดยผู้นำรัสเซียได้แสดงอาการตอบสนองอย่างไม่อิดเอื้อน-ลังเลใดๆ เอาเลยแม้แต่น้อย ขณะที่ผู้นำจีนยังคงเงียบๆ เฉยๆ แต่โดย “ภาพรวม” แล้ว ต้องถือเป็นการ “ริเริ่มในเชิงสร้างสรรค์” เอามากๆ ส่วนประการสอง...ก็คือความพยายามลดค่าใช้จ่ายที่รกรุงรังของสหรัฐฯ เอง ถึงขั้นปิดฉากองค์กรความช่วยเหลือต่างประเทศอย่าง “USAID” เอาดื้อๆ หรือคิดจะหั่นงบประมาณประเภทสุรุ่ยสุร่ายของประเทศ ลงไปไม่น้อยกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ ตามเข็มมุ่งและเจตนาของนายใหญ่-นายใหม่ แห่งกระทรวง “DODGE” หรือ “The Department of Government Efficiency” อย่าง “นายElon Musk” ผู้ใกล้ชนิดสนิทสนมประธานาธิบดี อันแสดงให้เห็นถึงความพยายาม “รัดเข็มขัด” แบบชนิดแทบไม่ต้องสนใจว่าชาวอเมริกันรายใดจะหน้าเขียว-หน้าเหลือง กันไปถึงขั้นไหน...
    ตามมาด้วยประการที่สาม...ก็คือการคิดขาย “บัตรทอง” บัตรวีไอพีที่พร้อมจะมอบความเป็นพลเมืองสหรัฐฯ มอบกรีนการ์ด เป็นเครื่องตอบแทน ใบละถึง 5 ล้านดอลลาร์ หรือ 168 ล้านบาทเอาเลยถึงขั้นนั้น โดยหวังจะได้อะไรกลับมา จากไอเดียสุดบรรเจิดเช่นนี้ ตามคำพูด คำสัมภาษณ์ของ “ทรัมป์บ้า” ก็น่าจะถือเป็น “คำตอบ” ได้โดยชัดเจนโดยเฉพาะคำพูดที่ว่า... “บางทีเราอาจสามารถขายบัตรได้ราวๆ 1 ล้านใบ หรืออาจมากกว่านั้น และถึงขายได้แค่ 1 ล้านใบ เราจะได้เงินกลับมาถึง 5 ล้านล้านดอลลาร์ แต่ถ้าขายได้ 10 ล้านใบ ก็เท่ากับ 50 ล้านล้านดอลลาร์ แล้วเรามีหนี้ประเทศอยู่แค่ 35 ล้านล้านดอลลาร์ ดังนั้น...มันเป็นเรื่องเยี่ยมไหมล่ะ!!!” พูดง่ายๆ ว่า...เป็นความพยายามที่น่าเห็นใจเอามากๆ สำหรับการคิดทุเลา เบาบาง “ปัญหาหนี้สิน” ที่ล้นทะลักคอหลอยย์ประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่ง จนหาทางออก-ทางไปแทบไม่เจอ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลพรรคไหนต่อพรรคไหนก็ตามที...
    ส่วนประการที่สี่...การคิดจะยึดแคนาดา ยึดเกาะกรีนแลนด์ หรือยึดคลองปานา แต่กลับหันไป “ถีบทิ้ง” ยุโรปซะดื้อๆ อันนี้...ยิ่งถือเป็นส่วนเสริม เพิ่มเติม ให้เห็นโดยชัดเจน ว่าในแต่ละประการดังที่ได้กล่าวไปแล้ว น่าจะสรุปได้ไม่ยากว่า ความคิดที่จะทำให้ “America Great Again” ของ “ทรัมป์บ้า” ก็น่าจะเป็นความ “Great” ความ “ยิ่งใหญ่” ภายใต้ “ขอบเขตที่ตัวเองต้องการ” ไม่ใช่ความยิ่งใหญ่ในแบบจ้าวโลก ประมุขโลก หรือผู้ที่สามารถควบคุมครอบครอง “โลกทั้งใบ” ได้แบบเดิมๆ อีกต่อไปแล้ว หรือเท่ากับเป็นการยอมรับ “ความจริง” และ “ข้อเท็จจริง” ว่าโลกยุคใหม่ หรือยุคนี้ ไม่ใช่เป็น “โลกขั้วอำนาจเดียว” เหมือนเดิมๆ อีกต่อไป อีกทั้งรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ อย่าง “นายMarco Rubio” ก็ยังได้ออกมาตอกย้ำให้เห็นถึงการยอมรับความจริง-ข้อเท็จจริงในลักษณะที่ว่านี้ ดังที่เคยนำมาเล่าสู่กันฟังเมื่อช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา...
    และด้วยแนวคิด แนวทาง เช่นนี้นี่เอง...ที่ทำให้แม้แต่ผู้นำรัสเซีย อย่างประธานาธิบดี “ปูติน” ยังอดไม่ได้ที่จะกล่าวกับบรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงแห่งหน่วยงาน “FSB” (The Russian Federal Security Service) ของรัสเซีย เมื่อช่วงวัน-สองวันที่ผ่านมา ว่าโดยแนวคิดของผู้นำอเมริกานั้น...ถือเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับการปฏิบัติ หรือแสดงออกถึงการยอมรับความจริง-ข้อเท็จจริง เป็นพื้นฐาน (pragmatism and a realistic vision of things) เอาเลยถึงขั้นนั้น ส่วนในแง่ของการปฏิบัติ จะบรรลุเป้าหมาย เป้าประสงค์ ได้มาก-น้อยขนาดไหน??? อันนี้...ก็ยังต้องถือเป็น “คำถาม” ตัวโตๆ อีกต่อไป??? เพราะด้วยความเป็นประเทศ “จักรวรรดินิยม” และมหาอำนาจอันดับหนึ่งอย่างอเมริกานั้น...โอกาสที่จะ “Great Again” หรือ “Dead Again” คงต้องยอมรับอย่างมิอาจปฏิเสธได้ว่าออกไป 50-50 หรือหนักไปทาง “เจ๊ง...กับ...เจ๊า” อะไรประมาณนั้น...
    คือแค่เฉพาะประการแรก ในเรื่อง “ปัญหาหนี้สิน” ก็ต้องเรียกว่า...น่าจะรากเขียว-รากเหลืองกันไปอีกนาน โอกาสที่จะปรับลดค่าใช้จ่ายต่างๆ พรวดเดียวได้ถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์นั้นไม่น่าจะง่าย!!! บรรดาข้าราชการชาวอเมริกันที่ตกงาน ว่างงานทั้งหลาย ชักเริ่มออกมา “ลงถนน” กันเต็มบ้าน เต็มเมือง ส่วนจะขาย “บัตรทอง” ให้ได้ถึง 10 ล้านใบ ก็ใช่ว่า...มหาเศรษฐีทั่วทั้งโลกอยากจะเป็นพลเมืองอเมริกัน อยากได้กรีนการ์ด ชนิดมากมายมหาศาลถึงปานนั้นซะเมื่อไหร่??? และประการที่สองคือความพยายามที่จะรักษาความยิ่งใหญ่ของ “เงินดอลลาร์” ไม่ให้ตกต่ำ เสื่อมค่า ลงไปกว่านี้ ด้วยการอาศัย “ภาษี” เป็นเครื่องมือ ถึงขั้นพร้อมประกาศว่าจะขึ้นภาษีต่อประเทศใดก็ตาม โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ “BRICS” ถ้าหากคิด “เทดอลลาร์” (De-Dollarization) หรือคิดแทนที่ดอลลาร์ด้วยเงินตราสกุลอื่นๆ จะต้องเจอกับการขึ้นภาษีสินค้าเข้าอเมริการะดับ 100-150 เปอร์เซ็นต์เอาเลยถึงขั้นนั้น แต่ก็นั่นแหละ...การอาศัยอัตราภาษีเป็นเครื่องมือ ก็ใช่ว่าจะก่อให้เกิดความเจ็บปวดรวดร้าว ต่อเฉพาะฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใด ฝ่ายเดียวก็หาไม่ บรรดาอเมริกันชนที่อยู่ในฐานะ “ผู้บริโภค” หรือแม้แต่อุตสาหกรรมต่างๆ ของอเมริกาที่จะต้องหาทางแข่งขันกับ “ผู้ผลิต” รายอื่นๆ ย่อมมีสิทธิ์อ้วกแตก-อ้วกแตนเพราะราคาสินค้าที่แพงขึ้นๆ หรือเพราะการขาดหาย ขาดแคลนของสินค้าประเภท “ห่วงโซ่อุปทาน” ทั้งหลาย จนอาจต้องเจ๊ง-กับ-เจ๊ง ไปเป็นรายๆ เอาเลยก็ไม่แน่!!!
    ยิ่งเป็นสินค้าจากประเทศกลุ่ม “BRICS” ที่มีสัดส่วนการค้าถึง 1 ใน 5 ของโลกทั้งโลก มี “GDP” ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของ “GDP” โลก เป็นตลาดสำหรับ “ผู้บริโภค” ถึง 47 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก โอกาสที่จะเกิดการ “ยืมหอกสนองคืน” สร้างความเจ็บปวดรวดร้าว ให้กับบรรดาอเมริกันชนหรือประเทศอเมริกาทั้งประเทศ ก็ใช่ว่าจะเป็นไปได้เอาเลย และอาจด้วยเหตุนี้นี่เอง...ที่ทำให้หนึ่งในผู้นำประเทศกลุ่ม “BRICS”
    อย่างผู้นำบราซิล ประธานาธิบดี “Luiz Inacio Lula da Silva” ท่านเลยกล้าออกมาแสดงความเป็น “หมูไม่กลัวน้ำร้อน” ด้วยการประกาศว่า... “การคุกคามของผู้นำอเมริกาด้วยการใช้ภาษีเป็นเครื่องมือ ไม่อาจหยุดยั้งการหาทางเลือกอื่นๆ ในการค้าขาย-แลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS ได้เลย” หรือด้วยเหตุเพราะความเสื่อมถอย เสื่อมค่าของเงินดอลลาร์อเมริกันในฐานะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศลงไปถึง 40 เปอร์เซ็นต์ด้วยตัวของมันเอง ที่ทำให้บรรดาประเทศทั้งหลายเลยต้องพยายามหาทางออก-ทางไป แทนที่จะแขวนชะตากรรมในอนาคตไว้กับสกุลเงินตราชนิดนี้ แบบทื่อมะลื่อไปเรื่อยๆ จนทำให้การ “De-Dollarization” มันได้กลายเป็น “ข้อเท็จจริง” เป็นแนวโน้มของโลก ที่มิอาจฝืน หรือมิอาจขัดขืนได้อีกต่อไป นั่นแล...
    ประการที่สาม...ก็คือ “ปัญหาภายใน” ของสังคมอเมริกัน ที่ยากจะเยียวยากันได้ง่ายๆ ไม่ว่าความเสื่อมทางศีลธรรมที่สร้างความตกตะลึงให้กับคอลัมนิสต์ชาวอเมริกันเอง อย่าง “นายTyler Durden” แห่ง “ZeroHedge” ที่ต้องนำรายละเอียดเอามาแจกแจงไว้ถึง 11 เรื่อง ไม่ว่าเหตุการณ์ว่าด้วยการปล้น ฆ่า ข่มขืน ฯลฯ ชนิดตู้สินค้าบนเส้นทางรถไฟถูกปล้นเพิ่มขึ้นกว่าปี ค.ศ. 2023 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์เอาเลยถึงขั้นนั้น ร้านอาหารดังๆ อย่าง “McDonald” ถึงกับต้องปิดตัวเองในย่านบรู๊คลินเพราะทนบรรดาวัยรุ่นอเมริกันไม่ไหว เด็กๆ ระดับอายุแค่ไม่กี่ปีถูกข่มขืนไม่เว้นแต่ละวัน ฯลฯ และนั่นยังไม่รวมไปถึงความรุนแรงจากการแบ่งขั้ว แบ่งข้าง ทางการเมือง ที่ทำให้กระทั่งประธานเสนาธิการทหารผิวสี อย่าง “พลเอกCharls Brown” ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้สนับสนุนพวกขบวนการผิวสี หรือพวก “Black Lives Matter” (BLM) ที่เคยก่อความรุนแรงหลังชาวอเมริกันผิวดำ อย่าง “George Floyd” ถูกตำรวจเอาเข่ากดคอจนเด๊ดสะมอเร่ย์ อิน เดอะ เท่งทึง ในช่วงปี ค.ศ. 2020 เลยต้องถูกปลดจากตำแหน่งซะดื้อๆ!!!
    และด้วยการแบ่งขั้วแบ่งข้างทางการเมืองในลักษณะเช่นนี้นี่เอง...ที่ทำให้เกิดความพยายาม “ลอบสังหารทรัมป์บ้า” มาแล้วถึง 3 ครั้ง 3 คราด้วยกัน ไม่ว่าตั้งแต่การ “ยิงเฉี่ยวหู” ขณะหาเสียงที่รัฐเพนซิลเวเนีย ช่วงเดือนก.ค.ปี 2024 แอบซุ่มอยู่สนามกอล์ฟของรีสอร์ต “Mar-a-Lago” ช่วงเดือนกันยาปีเดียวกัน แต่เผอิญเจ้าหน้าที่เห็นกระบอกปืนโผล่ออกมาจากพุ่มไม้เลยจับได้ไล่ทันก่อนลงมือ ส่วนครั้งที่สามถูกรวบตัวก่อนมุ่งตรงไปยังพื้นที่หาเสียงของ “ทรัมป์บ้า” ณ เมืองโคเรลลา รัฐแคลิฟอร์เนีย ขณะที่พกปืนลูกซองติดตัวไปด้วย อันนี้นี่แหละ...ที่เลยทำให้โอกาสที่จะเกิดการ “ลอบสังหารครั้งที่ 4” ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เอาเลย โดยเฉพาะถ้าหากยังไม่คิดจะลดราวาศอก ในการเล่นงานพวก “Deep State” ต่อไปเรื่อยๆ โอกาสที่ “America Great Again” หรือจะ “Dead Again” เลยน่าจะเป็นไปแบบที่ว่าไว้แล้วนั่นแหละ ออกไปทาง 50-50 หรือถ้าหากไม่ “เจ๊ง” ก็คงได้แค่ “เจ๊า” เท่านั้นเอง ไม่ถึงกับยิ่งใหญ่ระดับคับโลก คับฟ้า ครอบโลก ครองโลก แบบเดิมๆ ได้อีกต่อไปแล้ว!!!
    “ทรัมป์บ้า” กับ...การลอบสังหารครั้งที่ 4!!! โดย: ทับทิม พญาไท เนื่องจากอะไรมิอะไรมันน่าจะเริ่ม “ตกผลึก” ลงมามั่งแล้ว หรือน่าจะพอ “เดาทาง” ผู้นำอเมริกาอย่าง “ทรัมป์บ้า” ได้บ้างแล้วว่า น่าจะออกไปในแนวไหน? ลูกไหน? ไม่ได้ถึงขั้น “บ้า...จนเดาไม่ออก” เปิดฉากสัปดาห์นี้...เลยคงต้องขออนุญาตทบทวน ใคร่ครวญ ถึงความเพียรพยายามที่จะทำให้ “America Great Again” ของประธานาธิบดีอเมริกันรายนี้ เอาไว้พอให้เห็นภาพคร่าวๆ ส่วนจะถูก-จะผิด จริง-ไม่จริง เชื่อ-ไม่เชื่อ ก็อย่าถึงกับได้ถือสา หาความ ถือเสียว่าเป็นการ “แลกเปลี่ยนมุมมอง” ไปตามสภาพก็แล้วกัน... ประการแรก...ตั้งแต่การเชื้อเชิญ ชักชวน ให้ผู้นำ “มหาอำนาจคู่แข่ง” อย่างประธานาธิบดี “ปูติน” แห่งรัสเซีย และ “สี ทนได้” หรือ “สี จิ้นผิง” แห่งประเทศจีน มาร่วมมือกัน “ปรับลดค่าใช้จ่ายทางทหาร” ลงไปแบบครึ่ง-ต่อครึ่ง โดยผู้นำรัสเซียได้แสดงอาการตอบสนองอย่างไม่อิดเอื้อน-ลังเลใดๆ เอาเลยแม้แต่น้อย ขณะที่ผู้นำจีนยังคงเงียบๆ เฉยๆ แต่โดย “ภาพรวม” แล้ว ต้องถือเป็นการ “ริเริ่มในเชิงสร้างสรรค์” เอามากๆ ส่วนประการสอง...ก็คือความพยายามลดค่าใช้จ่ายที่รกรุงรังของสหรัฐฯ เอง ถึงขั้นปิดฉากองค์กรความช่วยเหลือต่างประเทศอย่าง “USAID” เอาดื้อๆ หรือคิดจะหั่นงบประมาณประเภทสุรุ่ยสุร่ายของประเทศ ลงไปไม่น้อยกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ ตามเข็มมุ่งและเจตนาของนายใหญ่-นายใหม่ แห่งกระทรวง “DODGE” หรือ “The Department of Government Efficiency” อย่าง “นายElon Musk” ผู้ใกล้ชนิดสนิทสนมประธานาธิบดี อันแสดงให้เห็นถึงความพยายาม “รัดเข็มขัด” แบบชนิดแทบไม่ต้องสนใจว่าชาวอเมริกันรายใดจะหน้าเขียว-หน้าเหลือง กันไปถึงขั้นไหน... ตามมาด้วยประการที่สาม...ก็คือการคิดขาย “บัตรทอง” บัตรวีไอพีที่พร้อมจะมอบความเป็นพลเมืองสหรัฐฯ มอบกรีนการ์ด เป็นเครื่องตอบแทน ใบละถึง 5 ล้านดอลลาร์ หรือ 168 ล้านบาทเอาเลยถึงขั้นนั้น โดยหวังจะได้อะไรกลับมา จากไอเดียสุดบรรเจิดเช่นนี้ ตามคำพูด คำสัมภาษณ์ของ “ทรัมป์บ้า” ก็น่าจะถือเป็น “คำตอบ” ได้โดยชัดเจนโดยเฉพาะคำพูดที่ว่า... “บางทีเราอาจสามารถขายบัตรได้ราวๆ 1 ล้านใบ หรืออาจมากกว่านั้น และถึงขายได้แค่ 1 ล้านใบ เราจะได้เงินกลับมาถึง 5 ล้านล้านดอลลาร์ แต่ถ้าขายได้ 10 ล้านใบ ก็เท่ากับ 50 ล้านล้านดอลลาร์ แล้วเรามีหนี้ประเทศอยู่แค่ 35 ล้านล้านดอลลาร์ ดังนั้น...มันเป็นเรื่องเยี่ยมไหมล่ะ!!!” พูดง่ายๆ ว่า...เป็นความพยายามที่น่าเห็นใจเอามากๆ สำหรับการคิดทุเลา เบาบาง “ปัญหาหนี้สิน” ที่ล้นทะลักคอหลอยย์ประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่ง จนหาทางออก-ทางไปแทบไม่เจอ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลพรรคไหนต่อพรรคไหนก็ตามที... ส่วนประการที่สี่...การคิดจะยึดแคนาดา ยึดเกาะกรีนแลนด์ หรือยึดคลองปานา แต่กลับหันไป “ถีบทิ้ง” ยุโรปซะดื้อๆ อันนี้...ยิ่งถือเป็นส่วนเสริม เพิ่มเติม ให้เห็นโดยชัดเจน ว่าในแต่ละประการดังที่ได้กล่าวไปแล้ว น่าจะสรุปได้ไม่ยากว่า ความคิดที่จะทำให้ “America Great Again” ของ “ทรัมป์บ้า” ก็น่าจะเป็นความ “Great” ความ “ยิ่งใหญ่” ภายใต้ “ขอบเขตที่ตัวเองต้องการ” ไม่ใช่ความยิ่งใหญ่ในแบบจ้าวโลก ประมุขโลก หรือผู้ที่สามารถควบคุมครอบครอง “โลกทั้งใบ” ได้แบบเดิมๆ อีกต่อไปแล้ว หรือเท่ากับเป็นการยอมรับ “ความจริง” และ “ข้อเท็จจริง” ว่าโลกยุคใหม่ หรือยุคนี้ ไม่ใช่เป็น “โลกขั้วอำนาจเดียว” เหมือนเดิมๆ อีกต่อไป อีกทั้งรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ อย่าง “นายMarco Rubio” ก็ยังได้ออกมาตอกย้ำให้เห็นถึงการยอมรับความจริง-ข้อเท็จจริงในลักษณะที่ว่านี้ ดังที่เคยนำมาเล่าสู่กันฟังเมื่อช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา... และด้วยแนวคิด แนวทาง เช่นนี้นี่เอง...ที่ทำให้แม้แต่ผู้นำรัสเซีย อย่างประธานาธิบดี “ปูติน” ยังอดไม่ได้ที่จะกล่าวกับบรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงแห่งหน่วยงาน “FSB” (The Russian Federal Security Service) ของรัสเซีย เมื่อช่วงวัน-สองวันที่ผ่านมา ว่าโดยแนวคิดของผู้นำอเมริกานั้น...ถือเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับการปฏิบัติ หรือแสดงออกถึงการยอมรับความจริง-ข้อเท็จจริง เป็นพื้นฐาน (pragmatism and a realistic vision of things) เอาเลยถึงขั้นนั้น ส่วนในแง่ของการปฏิบัติ จะบรรลุเป้าหมาย เป้าประสงค์ ได้มาก-น้อยขนาดไหน??? อันนี้...ก็ยังต้องถือเป็น “คำถาม” ตัวโตๆ อีกต่อไป??? เพราะด้วยความเป็นประเทศ “จักรวรรดินิยม” และมหาอำนาจอันดับหนึ่งอย่างอเมริกานั้น...โอกาสที่จะ “Great Again” หรือ “Dead Again” คงต้องยอมรับอย่างมิอาจปฏิเสธได้ว่าออกไป 50-50 หรือหนักไปทาง “เจ๊ง...กับ...เจ๊า” อะไรประมาณนั้น... คือแค่เฉพาะประการแรก ในเรื่อง “ปัญหาหนี้สิน” ก็ต้องเรียกว่า...น่าจะรากเขียว-รากเหลืองกันไปอีกนาน โอกาสที่จะปรับลดค่าใช้จ่ายต่างๆ พรวดเดียวได้ถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์นั้นไม่น่าจะง่าย!!! บรรดาข้าราชการชาวอเมริกันที่ตกงาน ว่างงานทั้งหลาย ชักเริ่มออกมา “ลงถนน” กันเต็มบ้าน เต็มเมือง ส่วนจะขาย “บัตรทอง” ให้ได้ถึง 10 ล้านใบ ก็ใช่ว่า...มหาเศรษฐีทั่วทั้งโลกอยากจะเป็นพลเมืองอเมริกัน อยากได้กรีนการ์ด ชนิดมากมายมหาศาลถึงปานนั้นซะเมื่อไหร่??? และประการที่สองคือความพยายามที่จะรักษาความยิ่งใหญ่ของ “เงินดอลลาร์” ไม่ให้ตกต่ำ เสื่อมค่า ลงไปกว่านี้ ด้วยการอาศัย “ภาษี” เป็นเครื่องมือ ถึงขั้นพร้อมประกาศว่าจะขึ้นภาษีต่อประเทศใดก็ตาม โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ “BRICS” ถ้าหากคิด “เทดอลลาร์” (De-Dollarization) หรือคิดแทนที่ดอลลาร์ด้วยเงินตราสกุลอื่นๆ จะต้องเจอกับการขึ้นภาษีสินค้าเข้าอเมริการะดับ 100-150 เปอร์เซ็นต์เอาเลยถึงขั้นนั้น แต่ก็นั่นแหละ...การอาศัยอัตราภาษีเป็นเครื่องมือ ก็ใช่ว่าจะก่อให้เกิดความเจ็บปวดรวดร้าว ต่อเฉพาะฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใด ฝ่ายเดียวก็หาไม่ บรรดาอเมริกันชนที่อยู่ในฐานะ “ผู้บริโภค” หรือแม้แต่อุตสาหกรรมต่างๆ ของอเมริกาที่จะต้องหาทางแข่งขันกับ “ผู้ผลิต” รายอื่นๆ ย่อมมีสิทธิ์อ้วกแตก-อ้วกแตนเพราะราคาสินค้าที่แพงขึ้นๆ หรือเพราะการขาดหาย ขาดแคลนของสินค้าประเภท “ห่วงโซ่อุปทาน” ทั้งหลาย จนอาจต้องเจ๊ง-กับ-เจ๊ง ไปเป็นรายๆ เอาเลยก็ไม่แน่!!! ยิ่งเป็นสินค้าจากประเทศกลุ่ม “BRICS” ที่มีสัดส่วนการค้าถึง 1 ใน 5 ของโลกทั้งโลก มี “GDP” ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของ “GDP” โลก เป็นตลาดสำหรับ “ผู้บริโภค” ถึง 47 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก โอกาสที่จะเกิดการ “ยืมหอกสนองคืน” สร้างความเจ็บปวดรวดร้าว ให้กับบรรดาอเมริกันชนหรือประเทศอเมริกาทั้งประเทศ ก็ใช่ว่าจะเป็นไปได้เอาเลย และอาจด้วยเหตุนี้นี่เอง...ที่ทำให้หนึ่งในผู้นำประเทศกลุ่ม “BRICS” อย่างผู้นำบราซิล ประธานาธิบดี “Luiz Inacio Lula da Silva” ท่านเลยกล้าออกมาแสดงความเป็น “หมูไม่กลัวน้ำร้อน” ด้วยการประกาศว่า... “การคุกคามของผู้นำอเมริกาด้วยการใช้ภาษีเป็นเครื่องมือ ไม่อาจหยุดยั้งการหาทางเลือกอื่นๆ ในการค้าขาย-แลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS ได้เลย” หรือด้วยเหตุเพราะความเสื่อมถอย เสื่อมค่าของเงินดอลลาร์อเมริกันในฐานะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศลงไปถึง 40 เปอร์เซ็นต์ด้วยตัวของมันเอง ที่ทำให้บรรดาประเทศทั้งหลายเลยต้องพยายามหาทางออก-ทางไป แทนที่จะแขวนชะตากรรมในอนาคตไว้กับสกุลเงินตราชนิดนี้ แบบทื่อมะลื่อไปเรื่อยๆ จนทำให้การ “De-Dollarization” มันได้กลายเป็น “ข้อเท็จจริง” เป็นแนวโน้มของโลก ที่มิอาจฝืน หรือมิอาจขัดขืนได้อีกต่อไป นั่นแล... ประการที่สาม...ก็คือ “ปัญหาภายใน” ของสังคมอเมริกัน ที่ยากจะเยียวยากันได้ง่ายๆ ไม่ว่าความเสื่อมทางศีลธรรมที่สร้างความตกตะลึงให้กับคอลัมนิสต์ชาวอเมริกันเอง อย่าง “นายTyler Durden” แห่ง “ZeroHedge” ที่ต้องนำรายละเอียดเอามาแจกแจงไว้ถึง 11 เรื่อง ไม่ว่าเหตุการณ์ว่าด้วยการปล้น ฆ่า ข่มขืน ฯลฯ ชนิดตู้สินค้าบนเส้นทางรถไฟถูกปล้นเพิ่มขึ้นกว่าปี ค.ศ. 2023 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์เอาเลยถึงขั้นนั้น ร้านอาหารดังๆ อย่าง “McDonald” ถึงกับต้องปิดตัวเองในย่านบรู๊คลินเพราะทนบรรดาวัยรุ่นอเมริกันไม่ไหว เด็กๆ ระดับอายุแค่ไม่กี่ปีถูกข่มขืนไม่เว้นแต่ละวัน ฯลฯ และนั่นยังไม่รวมไปถึงความรุนแรงจากการแบ่งขั้ว แบ่งข้าง ทางการเมือง ที่ทำให้กระทั่งประธานเสนาธิการทหารผิวสี อย่าง “พลเอกCharls Brown” ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้สนับสนุนพวกขบวนการผิวสี หรือพวก “Black Lives Matter” (BLM) ที่เคยก่อความรุนแรงหลังชาวอเมริกันผิวดำ อย่าง “George Floyd” ถูกตำรวจเอาเข่ากดคอจนเด๊ดสะมอเร่ย์ อิน เดอะ เท่งทึง ในช่วงปี ค.ศ. 2020 เลยต้องถูกปลดจากตำแหน่งซะดื้อๆ!!! และด้วยการแบ่งขั้วแบ่งข้างทางการเมืองในลักษณะเช่นนี้นี่เอง...ที่ทำให้เกิดความพยายาม “ลอบสังหารทรัมป์บ้า” มาแล้วถึง 3 ครั้ง 3 คราด้วยกัน ไม่ว่าตั้งแต่การ “ยิงเฉี่ยวหู” ขณะหาเสียงที่รัฐเพนซิลเวเนีย ช่วงเดือนก.ค.ปี 2024 แอบซุ่มอยู่สนามกอล์ฟของรีสอร์ต “Mar-a-Lago” ช่วงเดือนกันยาปีเดียวกัน แต่เผอิญเจ้าหน้าที่เห็นกระบอกปืนโผล่ออกมาจากพุ่มไม้เลยจับได้ไล่ทันก่อนลงมือ ส่วนครั้งที่สามถูกรวบตัวก่อนมุ่งตรงไปยังพื้นที่หาเสียงของ “ทรัมป์บ้า” ณ เมืองโคเรลลา รัฐแคลิฟอร์เนีย ขณะที่พกปืนลูกซองติดตัวไปด้วย อันนี้นี่แหละ...ที่เลยทำให้โอกาสที่จะเกิดการ “ลอบสังหารครั้งที่ 4” ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เอาเลย โดยเฉพาะถ้าหากยังไม่คิดจะลดราวาศอก ในการเล่นงานพวก “Deep State” ต่อไปเรื่อยๆ โอกาสที่ “America Great Again” หรือจะ “Dead Again” เลยน่าจะเป็นไปแบบที่ว่าไว้แล้วนั่นแหละ ออกไปทาง 50-50 หรือถ้าหากไม่ “เจ๊ง” ก็คงได้แค่ “เจ๊า” เท่านั้นเอง ไม่ถึงกับยิ่งใหญ่ระดับคับโลก คับฟ้า ครอบโลก ครองโลก แบบเดิมๆ ได้อีกต่อไปแล้ว!!!
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 892 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เพิ่มความหวังสำหรับการระงับรีดภาษีรอบใหม่สินค้านำเข้าจากเม็กซิโกและแคนาดาออกไปอีก 1 เดือน บอกว่ามันอาจมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 เมษายน และหยิบยกความเป็นไปได้ของการเรียกเก็บภาษีตอบโต้ (Reciprocal tariffs) 25% กับรถยนต์และสินค้าอื่นๆ จากยุโรป
    .
    อย่างไรก็ตาม พวกเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว ระบุว่าเส้นตายก่อนหน้านี้ของทรัมป์ ในวันที่ 4 มีนาคม สำหรับรีดภาษี 25% สินค้านำเข้าจากเม็กซิโกและแคนาดา ณ ปัจจุบัน "ยังคงมีผลบังคับใช้" ขึ้นอยู่กับการทบทวนของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่อความเคลื่อนไหวต่างๆ ของเม็กซิโกและแคนาดา ในการคุ้มกันชายแดนและชะลอกระแสไหลบ่าของผู้อพยพและยาเฟนตานิลเข้าสู่อเมริกา
    .
    ความเห็นที่ก่อความสับสนของทรัมป์ เกิดขึ้นระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกในวันพุธ (26 ก.พ.) ครั้งที่เขาถูกถามเกี่ยวกับกรอบเวลาของการเริ่มรีดภาษีแคนาดาและเม็กซิโก ซึ่งเขาตอบกลับมาว่าจะเป็นวันที่ 2 เมษายน
    .
    "ผมจะบอกกับคุณว่า เป็นวันที่ 2 เมษายน ตอนแรกผมจะทำมันในวันที่ 1 เมษายน แต่ผมเชื่อโชคลางเล็กน้อย ผมจะทำมันในวันที่ 2 เมษายน เดินหน้ารีดภาษี แม้จะไม่ใช่ทั้งหมด แต่เป็นจำนวนมาก" ทรัมป์กล่าว ทั้งนี้ความเห็นของประธานาธิบดีสหรัฐฯ กระตุ้นให้ค่าเงินดอลลาร์แคนาดาและเปโซของเม็กซิโกดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์
    .
    ฟรองซัวส์-ฟิลิปป์ แชมเปญ รัฐมนตรีกระทรวงนวัตกรรมของแคนาดา บอกกับพวกผู้สื่อข่าวว่า แคนาดาจะรอให้ทรัมป์ ลงนามในคำสั่งพิเศษก่อน แล้วค่อยแสดงปฏิกิริยาใดๆ "ภารกิจของเรา ยังคงเป็นการหลีกเลี่ยงภาษี ขยายเวลาของการระงับ ถ้าเราจำเป็นต้องทำ" เขากล่าว "เราเตรียมพร้อมแล้ว มันเป็นการการตอบโต้อย่างเล็งเป้า อย่างเป็นยุทธศาสตร์และหนักแน่น ถ้าทรัมป์กำหนดรีดภาษี"
    .
    กระทรวงเศรษฐกิจของเม็กซิโก ปฏิเสธแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำพูดของทรัมป์ แต่ทาง มาร์เซโล เอบราร์ด รัฐมนตรีเศรษฐกิจ มีกำหนดพบปะกับเจมีสัน กรีเออร์ ผู้แทนการค้า และโฮเวิร์ด ลุตนิค รัฐมนตรีพาณิชย์ของสหรัฐฯ ในวันศุกร์ (28 ก.พ.)
    .
    ลุตนิค บอกกับคณะรัฐมนตรีว่าความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาเฟนตานิล ถูกระงับเป็นเวลา 30 วัน แต่พาดพิงถึงมาตรการรีดภาษีโดยรวมในวันที่ 2 เมษายน และไม่ได้เจาะจงว่าเส้นตายรีดภาษีเดิมในวันที่ 4 มีนาคม ยังมีผลบังคับใช้หรือไม่
    .
    ทรัมป์ เล็งไว้ในช่วงต้นเดือนเมษายนสำหรับกำหนดมาตรการรีดภาษีตอบโต้ขึ้นภาษีให้เท่ากับอัตราภาษีที่ประเทศอื่นๆ เรียกเก็บกับสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ รวมถึงชดเชยข้อจำกัดอื่นๆ ของประเทศคู่ค้าเหล่านั้น ทั้งนี้คณะที่ปรึกษาด้านการค้าของทรัมป์ มองว่าภาษีมูลค่าเพิ่มของบรรดาชาติยุโรปไม่ต่างจากการรีดภาษี
    .
    เมื่อถูกถามว่าเขาตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราภาษีที่้จะเรียกเก็บกับสินค้านำเข้าจากสหภาพยุโรปแล้วหรือไม่ ทรัมป์ตอบว่า "เราได้ตัดสินใจแล้ว และเราจะแถลงเร็วๆ นี้ และมันจะเป็น 25% มันจะเป็นรถยนต์และสิ่งต่างๆ ทั้งหมด"
    .
    เขาบอกว่าสำหรับอียูนั้น เป็นกรณีที่ต่างออกไปจากแคนาดาและเอาเปรียบสหรัฐฯ ในรูปแบบที่ต่างออกไป "พวกเขาไม่ยอมรับรถยนต์ของเรา พวกเขาไม่อ้าแขนรับผลิตภัณฑ์ฟาร์มของเรา" ทรัมป์กล่าว พร้อมระบุว่าอียูก่อตั้งมาเพื่อคาดคั้นสหรัฐฯ
    .
    โฆษกคณะกรรมาธิการยุโรป บอกว่า "อียูจะตอบสนองอย่างหนักแน่นและโดยทันที ต่อขวากนามที่ไม่ยุติธรรมใดๆ ต่อความเสรีและความยุติธรรมทางการค้า ในนั้นรวมถึงการรีดภาษี ที่ท้าทายกฎหมายและนโยบายไม่เลือกปฏิบัติ" พร้อมบอกต่อว่า "สหภาพยุโรปคือตลาดเสรีใหญ่ที่สุดในโลก เราเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับสหรัฐฯ"
    .
    โรเบอร์ตา เมตโซลา ประธานรัฐสภายุโรป มีแผนพบปะกับบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ในกรุงวอชิงตัน ในวันพุธ (26 ก.พ.) แต่ไม่มีกำหนดเข้าพูดคุยหารือใดๆ กับพวกเจ้าหน้าที่ในรัฐบาลทรัมป์
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000019218
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เพิ่มความหวังสำหรับการระงับรีดภาษีรอบใหม่สินค้านำเข้าจากเม็กซิโกและแคนาดาออกไปอีก 1 เดือน บอกว่ามันอาจมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 เมษายน และหยิบยกความเป็นไปได้ของการเรียกเก็บภาษีตอบโต้ (Reciprocal tariffs) 25% กับรถยนต์และสินค้าอื่นๆ จากยุโรป . อย่างไรก็ตาม พวกเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว ระบุว่าเส้นตายก่อนหน้านี้ของทรัมป์ ในวันที่ 4 มีนาคม สำหรับรีดภาษี 25% สินค้านำเข้าจากเม็กซิโกและแคนาดา ณ ปัจจุบัน "ยังคงมีผลบังคับใช้" ขึ้นอยู่กับการทบทวนของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่อความเคลื่อนไหวต่างๆ ของเม็กซิโกและแคนาดา ในการคุ้มกันชายแดนและชะลอกระแสไหลบ่าของผู้อพยพและยาเฟนตานิลเข้าสู่อเมริกา . ความเห็นที่ก่อความสับสนของทรัมป์ เกิดขึ้นระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกในวันพุธ (26 ก.พ.) ครั้งที่เขาถูกถามเกี่ยวกับกรอบเวลาของการเริ่มรีดภาษีแคนาดาและเม็กซิโก ซึ่งเขาตอบกลับมาว่าจะเป็นวันที่ 2 เมษายน . "ผมจะบอกกับคุณว่า เป็นวันที่ 2 เมษายน ตอนแรกผมจะทำมันในวันที่ 1 เมษายน แต่ผมเชื่อโชคลางเล็กน้อย ผมจะทำมันในวันที่ 2 เมษายน เดินหน้ารีดภาษี แม้จะไม่ใช่ทั้งหมด แต่เป็นจำนวนมาก" ทรัมป์กล่าว ทั้งนี้ความเห็นของประธานาธิบดีสหรัฐฯ กระตุ้นให้ค่าเงินดอลลาร์แคนาดาและเปโซของเม็กซิโกดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ . ฟรองซัวส์-ฟิลิปป์ แชมเปญ รัฐมนตรีกระทรวงนวัตกรรมของแคนาดา บอกกับพวกผู้สื่อข่าวว่า แคนาดาจะรอให้ทรัมป์ ลงนามในคำสั่งพิเศษก่อน แล้วค่อยแสดงปฏิกิริยาใดๆ "ภารกิจของเรา ยังคงเป็นการหลีกเลี่ยงภาษี ขยายเวลาของการระงับ ถ้าเราจำเป็นต้องทำ" เขากล่าว "เราเตรียมพร้อมแล้ว มันเป็นการการตอบโต้อย่างเล็งเป้า อย่างเป็นยุทธศาสตร์และหนักแน่น ถ้าทรัมป์กำหนดรีดภาษี" . กระทรวงเศรษฐกิจของเม็กซิโก ปฏิเสธแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำพูดของทรัมป์ แต่ทาง มาร์เซโล เอบราร์ด รัฐมนตรีเศรษฐกิจ มีกำหนดพบปะกับเจมีสัน กรีเออร์ ผู้แทนการค้า และโฮเวิร์ด ลุตนิค รัฐมนตรีพาณิชย์ของสหรัฐฯ ในวันศุกร์ (28 ก.พ.) . ลุตนิค บอกกับคณะรัฐมนตรีว่าความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาเฟนตานิล ถูกระงับเป็นเวลา 30 วัน แต่พาดพิงถึงมาตรการรีดภาษีโดยรวมในวันที่ 2 เมษายน และไม่ได้เจาะจงว่าเส้นตายรีดภาษีเดิมในวันที่ 4 มีนาคม ยังมีผลบังคับใช้หรือไม่ . ทรัมป์ เล็งไว้ในช่วงต้นเดือนเมษายนสำหรับกำหนดมาตรการรีดภาษีตอบโต้ขึ้นภาษีให้เท่ากับอัตราภาษีที่ประเทศอื่นๆ เรียกเก็บกับสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ รวมถึงชดเชยข้อจำกัดอื่นๆ ของประเทศคู่ค้าเหล่านั้น ทั้งนี้คณะที่ปรึกษาด้านการค้าของทรัมป์ มองว่าภาษีมูลค่าเพิ่มของบรรดาชาติยุโรปไม่ต่างจากการรีดภาษี . เมื่อถูกถามว่าเขาตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราภาษีที่้จะเรียกเก็บกับสินค้านำเข้าจากสหภาพยุโรปแล้วหรือไม่ ทรัมป์ตอบว่า "เราได้ตัดสินใจแล้ว และเราจะแถลงเร็วๆ นี้ และมันจะเป็น 25% มันจะเป็นรถยนต์และสิ่งต่างๆ ทั้งหมด" . เขาบอกว่าสำหรับอียูนั้น เป็นกรณีที่ต่างออกไปจากแคนาดาและเอาเปรียบสหรัฐฯ ในรูปแบบที่ต่างออกไป "พวกเขาไม่ยอมรับรถยนต์ของเรา พวกเขาไม่อ้าแขนรับผลิตภัณฑ์ฟาร์มของเรา" ทรัมป์กล่าว พร้อมระบุว่าอียูก่อตั้งมาเพื่อคาดคั้นสหรัฐฯ . โฆษกคณะกรรมาธิการยุโรป บอกว่า "อียูจะตอบสนองอย่างหนักแน่นและโดยทันที ต่อขวากนามที่ไม่ยุติธรรมใดๆ ต่อความเสรีและความยุติธรรมทางการค้า ในนั้นรวมถึงการรีดภาษี ที่ท้าทายกฎหมายและนโยบายไม่เลือกปฏิบัติ" พร้อมบอกต่อว่า "สหภาพยุโรปคือตลาดเสรีใหญ่ที่สุดในโลก เราเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับสหรัฐฯ" . โรเบอร์ตา เมตโซลา ประธานรัฐสภายุโรป มีแผนพบปะกับบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ในกรุงวอชิงตัน ในวันพุธ (26 ก.พ.) แต่ไม่มีกำหนดเข้าพูดคุยหารือใดๆ กับพวกเจ้าหน้าที่ในรัฐบาลทรัมป์ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000019218 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    13
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2405 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์ทิ้งบอมบ์รอบใหม่ ขู่รีดภาษีศุลกากรรถนำเข้า 25% และจัดเก็บในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าสำหรับผลิตภัณฑ์ยาและเซมิคอนดักเตอร์ ด้านจีนประณามมาตรการภาษีและการข่มขู่ของทรัมป์ระหว่างการประชุมองค์การการค้าโลกว่า เป็นการคุกคามระบบการค้าและทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอย
    .
    นับจากเข้ารับตำแหน่งปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ได้สั่งเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้าของพวกประเทศคู่ค้าใหญ่ที่สุดบางแห่งโดยอ้างว่า เพื่อตอบโต้กับแนวทางปฏิบัติทางการค้าที่เอาเปรียบและไม่เป็นธรรมกับสหรัฐฯ นอกจากนั้น ในหลายกรณีก็ระบุเหตุผลว่าเพื่อผลักดันนโยบายสำคัญของอเมริกา อย่างเช่นการปราบปรามการอพยพเข้าสหรัฐฯ อย่างผิดกฎหมาย
    .
    ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศรีดภาษีศุลกากรจากสินค้านำเข้าทุกรายการจากจีนเพิ่มขึ้นอีก 10% และปักกิ่งได้ตอบโต้ด้วยมาตรการทำนองเดียวกันในขนาดขอบเขตที่แคบกว่า จากนั้นทรัมป์ยังสั่งขึ้นภาษีที่เก็บจากเหล็กกล้าและอะลูมิเนียมนำเข้าจากทุกประเทศในอัตรา 25%
    .
    ล่าสุดในวันอังคาร (18 ก.พ.) ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า จะขึ้นภาษีศุลกากรที่จะเรียกเก็บจากอุตสาหกรรมรถยนต์ในอัตราประมาณ 25% โดยจะบังคับใช้ในราววันที่ 2 เมษายน
    .
    สำหรับสินค้าพวกยาและเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งทรัมป์เคยบอกไว้ว่าจะพิจารณาเพิ่มภาษีในช่วงเวลาเดียวกับรถยนต์นั้น ทรัมป์ขยายความในคราวนี้ว่า จะเก็บสูงขึ้นในอัตรา 25% หรือสูงกว่านั้น แล้วจากนั้นจะเพิ่มขึ้นสูงมากภายใน 1 ปี แต่เขายังไม่ระบุว่าจะเริ่มเมื่อใด
    .
    เขายังบอกว่า ต้องการให้เวลาพวกบริษัทที่ได้รับผลกระทบ เพื่อจะได้กลับลำมาทำธุรกิจในอเมริกา และเสริมด้วยว่า ประเทศคู่ค้าของวอชิงตันก็สามารถหลีกเลี่ยงการถูกเก็บภาษีเพิ่มได้ด้วยการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานในอเมริกา
    .
    อย่างไรก็ตาม พวกผู้เชี่ยวชาญย้ำคำเตือนที่ได้ให้ไว้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้ ที่ว่ามาตรการเพิ่มภาษีศุลกาการจากสินค้านำเข้านั้น คนอเมริกันเองมีแนวโน้มต้องแบกรับมากกว่าพวกผู้ส่งออกต่างชาติ เนื่องจากคนที่ต้องควักเงินจ่ายภาษีจริงๆ ก็คือผู้นำเข้าในอเมริกา และพวกเขาก็มักแบ่งเบาภาระนี้ด้วยการขึ้นราคาสินค้าที่จำหน่ายในสหรัฐฯ
    .
    เฉพาะรถยนต์นั้น ปัจจุบันรถยนต์ราว 50% ที่ขายในอเมริกาเป็นรถที่ผลิตภายในประเทศ ขณะที่รถนำเข้าประมาณครึ่งหนึ่งเป็นรถจากเม็กซิโกและแคนาดา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแบรนด์ระดับอินเตอร์ไปตั้งโรงงานประกอบกันที่นั่น นอกจากนั้นยังมีญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเยอรมนีที่เป็นซัปพลายเออร์รายสำคัญ
    .
    เอเชียจับตามาตรการภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างระมัดระวังมาก เนื่องจากมีซัปพลายเออร์หลักบางแห่งของอุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกาตั้งอยู่
    .
    โยชิมาสะ ฮายาชิ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์เมื่อวันพุธว่า ญี่ปุ่นได้หยิบยกประเด็นภาษีศุลกากรรถยนต์หารือกับอเมริกาแล้ว และรัฐบาลจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมควบคู่กับการตรวจสอบรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงของมาตรการภาษีดังกล่าว
    .
    ทางด้านไต้หวันที่เป็นฮับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของโลกและถูกทรัมป์กล่าวหาว่า ปล้นอุตสาหกรรมชิปไปจากอเมริกานั้น ก็แสดงท่าทีตื่นตัวเฝ้าระวัง ถึงแม้กระทรวงเศรษฐกิจแถลงว่า ขอบเขตผลิตภัณฑ์ที่จะถูกเรียกเก็บภาษียังไม่มีความชัดเจน และรัฐบาลจะติดตามทิศทางนโยบายของอเมริกาต่อไป รวมทั้งจะให้ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมท้องถิ่นที่ได้รับความเดือดร้อน
    .
    ก่อนหน้านี้ไทเปประกาศแล้วว่า จะเพิ่มการลงทุนในอเมริกาเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงมาตรการภาษีของทรัมป์
    .
    ผู้นำอเมริกายังแสดงความยินดีที่สหภาพยุโรป ลดภาษีศุลกากรรถยนต์จาก 10% เหลือ 2.5% เท่ากับอเมริกา และบอกว่า ถ้าทุกประเทศทำแบบนี้ การค้าทั่วโลกจะแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม
    .
    ในอีกด้านหนึ่ง หลี่ เฉิงกัง เอกอัครราชทูตจีนประจำองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ได้ประณามมาตรการภาษีศุลกากรและการข่มขู่ของทรัมป์ ในระหว่างการประชุมคณะมนตรีใหญ่ดับเบิลยูทีโอในวันอังคารโดยระบุว่า การขึ้นภาษีอย่างแรงและการดำเนินการฝ่ายเดียวของทรัมป์เช่นนี้ ส่งผลกระทบหนักหน่วงต่อระบบการค้าโลก ทำให้เศรษฐกิจไร้ความแน่นอนมากขึ้น การค้าโลกสะดุด เสี่ยงเกิดภาวะเฟ้อในอเมริกา บิดเบือนตลาด หรือแม้กระทั่งทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย
    .
    ทว่า เดวิด บิสบี นักการทูตของอเมริกาตอบโต้ว่า เศรษฐกิจจีนเป็นระบบเศรษฐกิจนักล่าที่ไม่ได้อิงกับตลาด และเสริมว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่เข้าเป็นสมาชิก จีนละเมิด เพิกเฉย และหลบเลี่ยงกฎของดับเบิลยูทีโอมาหลายครั้ง
    .
    ทั้งนี้ ความขัดแย้งระหว่างสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในดับเบิลยูทีโอเกิดขึ้นมานานแล้ว โดยปักกิ่งกล่าวหาวอชิงตันละเมิดกฎ ขณะที่วอชิงตันระบุว่า ปักกิ่งไม่สมควรได้รับสถานะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งได้รับการปฏิบัติพิเศษภายใต้กฎของดับเบิลยูทีโอ
    .
    นอกจากนั้น การที่คณะบริหารของทรัมป์ประกาศแผนถอนตัวจากองค์กรระดับโลกหลายแห่ง ยังเท่ากับว่า ดับเบิลยูทีโอไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่ทำเนียบขาวคำนึงถึงมากนัก
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016777
    ..............
    Sondhi X
    ทรัมป์ทิ้งบอมบ์รอบใหม่ ขู่รีดภาษีศุลกากรรถนำเข้า 25% และจัดเก็บในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าสำหรับผลิตภัณฑ์ยาและเซมิคอนดักเตอร์ ด้านจีนประณามมาตรการภาษีและการข่มขู่ของทรัมป์ระหว่างการประชุมองค์การการค้าโลกว่า เป็นการคุกคามระบบการค้าและทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอย . นับจากเข้ารับตำแหน่งปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ได้สั่งเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้าของพวกประเทศคู่ค้าใหญ่ที่สุดบางแห่งโดยอ้างว่า เพื่อตอบโต้กับแนวทางปฏิบัติทางการค้าที่เอาเปรียบและไม่เป็นธรรมกับสหรัฐฯ นอกจากนั้น ในหลายกรณีก็ระบุเหตุผลว่าเพื่อผลักดันนโยบายสำคัญของอเมริกา อย่างเช่นการปราบปรามการอพยพเข้าสหรัฐฯ อย่างผิดกฎหมาย . ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศรีดภาษีศุลกากรจากสินค้านำเข้าทุกรายการจากจีนเพิ่มขึ้นอีก 10% และปักกิ่งได้ตอบโต้ด้วยมาตรการทำนองเดียวกันในขนาดขอบเขตที่แคบกว่า จากนั้นทรัมป์ยังสั่งขึ้นภาษีที่เก็บจากเหล็กกล้าและอะลูมิเนียมนำเข้าจากทุกประเทศในอัตรา 25% . ล่าสุดในวันอังคาร (18 ก.พ.) ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า จะขึ้นภาษีศุลกากรที่จะเรียกเก็บจากอุตสาหกรรมรถยนต์ในอัตราประมาณ 25% โดยจะบังคับใช้ในราววันที่ 2 เมษายน . สำหรับสินค้าพวกยาและเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งทรัมป์เคยบอกไว้ว่าจะพิจารณาเพิ่มภาษีในช่วงเวลาเดียวกับรถยนต์นั้น ทรัมป์ขยายความในคราวนี้ว่า จะเก็บสูงขึ้นในอัตรา 25% หรือสูงกว่านั้น แล้วจากนั้นจะเพิ่มขึ้นสูงมากภายใน 1 ปี แต่เขายังไม่ระบุว่าจะเริ่มเมื่อใด . เขายังบอกว่า ต้องการให้เวลาพวกบริษัทที่ได้รับผลกระทบ เพื่อจะได้กลับลำมาทำธุรกิจในอเมริกา และเสริมด้วยว่า ประเทศคู่ค้าของวอชิงตันก็สามารถหลีกเลี่ยงการถูกเก็บภาษีเพิ่มได้ด้วยการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานในอเมริกา . อย่างไรก็ตาม พวกผู้เชี่ยวชาญย้ำคำเตือนที่ได้ให้ไว้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้ ที่ว่ามาตรการเพิ่มภาษีศุลกาการจากสินค้านำเข้านั้น คนอเมริกันเองมีแนวโน้มต้องแบกรับมากกว่าพวกผู้ส่งออกต่างชาติ เนื่องจากคนที่ต้องควักเงินจ่ายภาษีจริงๆ ก็คือผู้นำเข้าในอเมริกา และพวกเขาก็มักแบ่งเบาภาระนี้ด้วยการขึ้นราคาสินค้าที่จำหน่ายในสหรัฐฯ . เฉพาะรถยนต์นั้น ปัจจุบันรถยนต์ราว 50% ที่ขายในอเมริกาเป็นรถที่ผลิตภายในประเทศ ขณะที่รถนำเข้าประมาณครึ่งหนึ่งเป็นรถจากเม็กซิโกและแคนาดา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแบรนด์ระดับอินเตอร์ไปตั้งโรงงานประกอบกันที่นั่น นอกจากนั้นยังมีญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเยอรมนีที่เป็นซัปพลายเออร์รายสำคัญ . เอเชียจับตามาตรการภาษีศุลกากรของทรัมป์อย่างระมัดระวังมาก เนื่องจากมีซัปพลายเออร์หลักบางแห่งของอุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกาตั้งอยู่ . โยชิมาสะ ฮายาชิ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์เมื่อวันพุธว่า ญี่ปุ่นได้หยิบยกประเด็นภาษีศุลกากรรถยนต์หารือกับอเมริกาแล้ว และรัฐบาลจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมควบคู่กับการตรวจสอบรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงของมาตรการภาษีดังกล่าว . ทางด้านไต้หวันที่เป็นฮับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของโลกและถูกทรัมป์กล่าวหาว่า ปล้นอุตสาหกรรมชิปไปจากอเมริกานั้น ก็แสดงท่าทีตื่นตัวเฝ้าระวัง ถึงแม้กระทรวงเศรษฐกิจแถลงว่า ขอบเขตผลิตภัณฑ์ที่จะถูกเรียกเก็บภาษียังไม่มีความชัดเจน และรัฐบาลจะติดตามทิศทางนโยบายของอเมริกาต่อไป รวมทั้งจะให้ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมท้องถิ่นที่ได้รับความเดือดร้อน . ก่อนหน้านี้ไทเปประกาศแล้วว่า จะเพิ่มการลงทุนในอเมริกาเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงมาตรการภาษีของทรัมป์ . ผู้นำอเมริกายังแสดงความยินดีที่สหภาพยุโรป ลดภาษีศุลกากรรถยนต์จาก 10% เหลือ 2.5% เท่ากับอเมริกา และบอกว่า ถ้าทุกประเทศทำแบบนี้ การค้าทั่วโลกจะแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม . ในอีกด้านหนึ่ง หลี่ เฉิงกัง เอกอัครราชทูตจีนประจำองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ได้ประณามมาตรการภาษีศุลกากรและการข่มขู่ของทรัมป์ ในระหว่างการประชุมคณะมนตรีใหญ่ดับเบิลยูทีโอในวันอังคารโดยระบุว่า การขึ้นภาษีอย่างแรงและการดำเนินการฝ่ายเดียวของทรัมป์เช่นนี้ ส่งผลกระทบหนักหน่วงต่อระบบการค้าโลก ทำให้เศรษฐกิจไร้ความแน่นอนมากขึ้น การค้าโลกสะดุด เสี่ยงเกิดภาวะเฟ้อในอเมริกา บิดเบือนตลาด หรือแม้กระทั่งทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย . ทว่า เดวิด บิสบี นักการทูตของอเมริกาตอบโต้ว่า เศรษฐกิจจีนเป็นระบบเศรษฐกิจนักล่าที่ไม่ได้อิงกับตลาด และเสริมว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่เข้าเป็นสมาชิก จีนละเมิด เพิกเฉย และหลบเลี่ยงกฎของดับเบิลยูทีโอมาหลายครั้ง . ทั้งนี้ ความขัดแย้งระหว่างสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในดับเบิลยูทีโอเกิดขึ้นมานานแล้ว โดยปักกิ่งกล่าวหาวอชิงตันละเมิดกฎ ขณะที่วอชิงตันระบุว่า ปักกิ่งไม่สมควรได้รับสถานะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งได้รับการปฏิบัติพิเศษภายใต้กฎของดับเบิลยูทีโอ . นอกจากนั้น การที่คณะบริหารของทรัมป์ประกาศแผนถอนตัวจากองค์กรระดับโลกหลายแห่ง ยังเท่ากับว่า ดับเบิลยูทีโอไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่ทำเนียบขาวคำนึงถึงมากนัก . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016777 .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    12
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2684 มุมมอง 0 รีวิว
  • เก็บภาษีความเค็ม เพื่อสร้างสุขภาพที่ดี แต่ไม่แตะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
    .
    ข่าวสารบ้านเมืองเวลานี้คนส่วนใหญ่อาจจะให้ความสนใจกับความเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นหลัก ทำให้ข่าวสารด้านเศรษฐกิจกลายเป็นข่าวกระแสรองไปโดยปริยาย แต่เวลานี้มีเรื่องเศรษฐกิจใกล้ตัวที่ประชาชนควรต้องรับรู้ คือ การออกมาตรการภาษีความเค็ม โดยจะเริ่มจากสินค้าจำพวกขนมคบเคี้ยว
    .
    ในประเด็นนี้ นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตเตรียมเร่งสรุปแผนการจัดเก็บภาษีสินค้าตัวใหม่ และ ปรับปรุงโครงสร้างภาษีสินค้าที่อยู่ในพิกัด โดยเฉพาะการเก็บภาษีจากสินค้าที่มีส่วนประกอบของโซเดียม หรือภาษีความเค็ม ซึ่งในหลักการกรมสรรพสามิตจะจัดเก็บจากปริมาณการใช้โซเดียมเป็นหลัก เพื่อเป็นการช่วยปรับพฤติกรรมให้ลดการบริโภคโซเดียมลดลง
    .
    อธิบดีกรมสรรพสามิต ระบุว่า ในเฟสแรกจะเน้นไปที่สินค้าประเภทขนมขบเคี้ยว ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ค่อยมีความจำเป็นในการบริโภคเมื่อเทียบกับสินค้าอื่น ส่วนสินค้าที่เป็นประเภทเครื่องปรุง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยังไม่อยู่ในแผนการจัดเก็บ ทั้งนี้ ได้หารือร่วมกับภาคเอกชน เพื่อให้มีการปรับตัวรองรับการจัดเก็บภาษีดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ดี สำหรับการจัดเก็บจริงนั้น ทางกรมฯก็จะให้เวลาภาคเอกชนในการปรับตัวเช่นเดียวกันกับการจัดเก็บภาษีความหวาน คือการนับอัตราแบบขั้นบันได เพื่อเวลาผู้ประกอบการได้ปรับตัว โดยเรื่องการเก็บภาษีความเค็มนั้น เกี่ยวข้องกับสุขภาพของประชาชน
    .
    สำหรับการจัดเก็บภาษีความเค็ม เป็นมาตรการใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นเพิ่มเติมจากเดิมที่ก่อนหน้านี้ หน่วยงานภาครัฐได้กำหนดการจัดเก็บภาษีความหวานที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2566 กล่าวคือ ปริมาณน้ำตาล 6-8 กรัม คิดอัตราภาษี 0.3 บาทต่อลิตร ปริมาณน้ำตาล 8-10 กรัม คิดอัตราภาษี 1 บาทต่อลิตร ปริมาณน้ำตาล 10-14 กรัม คิดอัตราภาษี 3 บาทต่อลิตร ปริมาณน้ำตาล 14-18 กรัม คิดอัตราภาษี 5 บาทต่อลิตร และปริมาณน้ำตาล ตั้งแต่ 18 กรัม คิดอัตราภาษี 5 บาทต่อลิตร
    ...............
    Sondhi X
    เก็บภาษีความเค็ม เพื่อสร้างสุขภาพที่ดี แต่ไม่แตะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป . ข่าวสารบ้านเมืองเวลานี้คนส่วนใหญ่อาจจะให้ความสนใจกับความเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นหลัก ทำให้ข่าวสารด้านเศรษฐกิจกลายเป็นข่าวกระแสรองไปโดยปริยาย แต่เวลานี้มีเรื่องเศรษฐกิจใกล้ตัวที่ประชาชนควรต้องรับรู้ คือ การออกมาตรการภาษีความเค็ม โดยจะเริ่มจากสินค้าจำพวกขนมคบเคี้ยว . ในประเด็นนี้ นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตเตรียมเร่งสรุปแผนการจัดเก็บภาษีสินค้าตัวใหม่ และ ปรับปรุงโครงสร้างภาษีสินค้าที่อยู่ในพิกัด โดยเฉพาะการเก็บภาษีจากสินค้าที่มีส่วนประกอบของโซเดียม หรือภาษีความเค็ม ซึ่งในหลักการกรมสรรพสามิตจะจัดเก็บจากปริมาณการใช้โซเดียมเป็นหลัก เพื่อเป็นการช่วยปรับพฤติกรรมให้ลดการบริโภคโซเดียมลดลง . อธิบดีกรมสรรพสามิต ระบุว่า ในเฟสแรกจะเน้นไปที่สินค้าประเภทขนมขบเคี้ยว ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ค่อยมีความจำเป็นในการบริโภคเมื่อเทียบกับสินค้าอื่น ส่วนสินค้าที่เป็นประเภทเครื่องปรุง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยังไม่อยู่ในแผนการจัดเก็บ ทั้งนี้ ได้หารือร่วมกับภาคเอกชน เพื่อให้มีการปรับตัวรองรับการจัดเก็บภาษีดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ดี สำหรับการจัดเก็บจริงนั้น ทางกรมฯก็จะให้เวลาภาคเอกชนในการปรับตัวเช่นเดียวกันกับการจัดเก็บภาษีความหวาน คือการนับอัตราแบบขั้นบันได เพื่อเวลาผู้ประกอบการได้ปรับตัว โดยเรื่องการเก็บภาษีความเค็มนั้น เกี่ยวข้องกับสุขภาพของประชาชน . สำหรับการจัดเก็บภาษีความเค็ม เป็นมาตรการใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นเพิ่มเติมจากเดิมที่ก่อนหน้านี้ หน่วยงานภาครัฐได้กำหนดการจัดเก็บภาษีความหวานที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2566 กล่าวคือ ปริมาณน้ำตาล 6-8 กรัม คิดอัตราภาษี 0.3 บาทต่อลิตร ปริมาณน้ำตาล 8-10 กรัม คิดอัตราภาษี 1 บาทต่อลิตร ปริมาณน้ำตาล 10-14 กรัม คิดอัตราภาษี 3 บาทต่อลิตร ปริมาณน้ำตาล 14-18 กรัม คิดอัตราภาษี 5 บาทต่อลิตร และปริมาณน้ำตาล ตั้งแต่ 18 กรัม คิดอัตราภาษี 5 บาทต่อลิตร ............... Sondhi X
    Like
    Haha
    11
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2069 มุมมอง 0 รีวิว
  • ดันเศรษฐกิจโลกสู่ปากเหว

    🗣️ นับตั้งแต่ทรัมป์หาเสียงเลือกตั้ง โดยขายนโยบายตั้งกำแพงภาษี ต่อคู่ค้าของสหรัฐฯ

    เศรษฐกิจทั่วโลกก็ต้องเตรียมใจอยู่แล้ว

    แต่ข้อมูลล่าสุด แนวคิดของทรัมป์ จะดันเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ใกล้ริมปากเหวมากขึ้น

    รูป 1 ทรัมป์เพิ่งประกาศนโยบายเพิ่มเติม จะขึ้นกำแพงภาษี กับประเทศที่ค้าขายกับสหรัฐทั่วโลก

    โดยไม่ใช่คำนึงแต่เฉพาะว่า ประเทศนั้นกำหนดภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าสหรัฐเท่าใด

    🧶 แต่จะขยายไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ด้วย

    ทรัมป์ทึกทักเอาว่า กรณีประเทศใดนำเข้าสินค้าสหรัฐ ถ้าราคาที่นำไปขายภายในประเทศนั้นมี VAT

    เขาถือเป็นการกีดกันอย่างหนึ่ง

    ตรงนี้แหวกกฎเศรษฐศาสตร์ เพราะ VAT เป็นภาษีที่เก็บจากการบริโภคภายในประเทศ

    และปกติ จะเก็บ VAT ในอัตราเดียวสำหรับสินค้าชนิดเดียวกัน ไม่ว่าผลิตในประเทศนั้น หรือนำเข้า

    🪢 VAT จึงเป็นนโยบายภาษีเฉพาะ domestic เน้นเก็บจากยอดบริโภค (ขารายจ่าย) แตกต่างจากภาษีเงินได้ ที่เก็บจากขารายได้

    กรณี VAT คือ ใครจ่ายบริโภคมาก ก็ต้องจ่ายมาก ยังไม่คำนึงว่ามีรายได้หรือไม่

    กรณีภาษีเงินได้ คือ ใครรับรายได้มาก ก็ต้องจ่ายมาก ยังไม่คำนึงว่าเอารายได้ไปใช้จ่ายหรือไม่

    ภาษีทั้งสองชนิด ไม่ได้พุ่งเป้าไปที่การนำเข้า ไม่ใช่เพื่อปกป้องการผลิตภายในประเทศ

    👗 การที่ทรัมป์จะขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐ โดยเอา VAT ไปรวมด้วย จึงผิดหลักเศรษฐศาสตร์

    แต่ดูเหมือนไม่มีใครทัดทานทรัมป์

    รูป 2 แสดงอัตราภาษีนำเข้าสหรัฐ ที่กำลังศึกษา และมีกำหนดจะประกาศต้นเดือน เม.ย.

    ซ้ายมือ ไม่คำนึงถึง VAT ขวามือ คำนึง

    น่าตกใจ ไทยอาจจะโดนถึงระดับ 5% อันดับที่ 23

    👙 รูป 3 นักวิเคราะห์ลองหักตัวเลขภาษีการค้าภายในสหรัฐออก อัตราลดลงบ้าง

    ที่น่ากลัวมากคือ กลุ่มยุโรป เพราะอัตรา VAT สูงมหาศาล หลายประเทศทะลุระดับ 20%

    ปริมาณการค้าโลก จะถูกกระทบอย่างกว้างขวางไม่น่าเชื่อ

    รูป 4 นอกจากนี้ ทรัมป์ ยังสั่งให้ทีมงานศึกษาเพื่อเก็บภาษีตอบโต้

    จากการที่ฝรั่งเศสและอิตาลี เก็บภาษีจากบริษัทโซเชียลมีเดีย

    👘 เขาอ้างแนวคิดวิตถารว่า รัฐบาลสหรัฐเท่านั้น ที่จะมีสิทธิ์เก็บภาษีจากบริษัทสหรัฐ

    ทั้งที่ ถ้าหากบริษัทโซเชียลมีเดียสหรัฐ ได้รายได้จากการทำธุรกิจในประเทศหนึ่ง เช่น Facebook ได้ค่าโฆษณา

    ด้วยหลักการปกติ ประเทศที่เป็นผู้จ่ายค่าโฆษณา ย่อมมีสิทธิ์ที่จะเก็บภาษีจากบริษัทโซเชียลมีเดีย

    รูป5 กำแพงภาษีสหรัฐ จะกระทบส่งออกของไทยอย่างมาก เนื่องจากสหรัฐเป็นตลาด 17% ของส่งออกทั้งหมด

    🩲 รูป 6-7 ไทยส่งออกไปสหรัฐ สูงสุดเป็นอันดับที่ 1 แต่ละปี 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เกินดุลอยู่ 3.5 หมื่นล้านดอลล่าร์

    แนวคิดของทรัมป์ นอกจากจะดันเศรษฐกิจโลกสู่ปากเหวแล้ว ยังก่อความเสี่ยงต่อการเมืองโลกอีกด้วย

    รูป 8 แสดงแนวโน้มการค้าของโลกย้อนหลัง 200 ปี จะเห็นได้ว่า มีช่วงที่การค้าลดต่ำกว่า trend

    เส้นสีแดงสองเส้น แสดงห้วงเวลาสงครามโลกทั้งสองครั้ง

    🩴 นักประวัติศาสตร์หลายคนลงความเห็นว่า ปัจจัยหลักที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สองอย่างชัดเจน

    คือประเทศสหรัฐขึ้นกำแพงภาษีสองครั้ง เส้นสีดำ

    ซึ่งนำไปสู่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และก่อความตึงเครียดทางการเมือง

    รูป 9-10 ปัจจัยสำคัญหนึ่ง ที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก็เกิดจากสหรัฐขึ้นกำแพงภาษีเช่นเดียวกัน

    ที่สำคัญก็คือ มีการผสมโรงด้วย วิกฤติในตลาดการเงิน ปี 1907 ไปถึงปี 1913 เริ่มต้น WW1 พอดี

    🧐 ขณะนี้ สภาวะตลาดทุนตลาดเงิน ทั้งในสหรัฐ ยุโรป มีความเสี่ยงฟองสบู่ใกล้แตกเต็มที

    ถ้าเกิดวิกฤตในปีนี้ ดังที่ผมคาดไว้

    ก็จะต้องจับตาให้ดี เงื่อนไขที่นำไปสู่สงครามโลกในอดีต จะกลับมาอีกหรือไม่

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568

    นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ
    ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
    ดันเศรษฐกิจโลกสู่ปากเหว 🗣️ นับตั้งแต่ทรัมป์หาเสียงเลือกตั้ง โดยขายนโยบายตั้งกำแพงภาษี ต่อคู่ค้าของสหรัฐฯ เศรษฐกิจทั่วโลกก็ต้องเตรียมใจอยู่แล้ว แต่ข้อมูลล่าสุด แนวคิดของทรัมป์ จะดันเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ใกล้ริมปากเหวมากขึ้น รูป 1 ทรัมป์เพิ่งประกาศนโยบายเพิ่มเติม จะขึ้นกำแพงภาษี กับประเทศที่ค้าขายกับสหรัฐทั่วโลก โดยไม่ใช่คำนึงแต่เฉพาะว่า ประเทศนั้นกำหนดภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าสหรัฐเท่าใด 🧶 แต่จะขยายไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ด้วย ทรัมป์ทึกทักเอาว่า กรณีประเทศใดนำเข้าสินค้าสหรัฐ ถ้าราคาที่นำไปขายภายในประเทศนั้นมี VAT เขาถือเป็นการกีดกันอย่างหนึ่ง ตรงนี้แหวกกฎเศรษฐศาสตร์ เพราะ VAT เป็นภาษีที่เก็บจากการบริโภคภายในประเทศ และปกติ จะเก็บ VAT ในอัตราเดียวสำหรับสินค้าชนิดเดียวกัน ไม่ว่าผลิตในประเทศนั้น หรือนำเข้า 🪢 VAT จึงเป็นนโยบายภาษีเฉพาะ domestic เน้นเก็บจากยอดบริโภค (ขารายจ่าย) แตกต่างจากภาษีเงินได้ ที่เก็บจากขารายได้ กรณี VAT คือ ใครจ่ายบริโภคมาก ก็ต้องจ่ายมาก ยังไม่คำนึงว่ามีรายได้หรือไม่ กรณีภาษีเงินได้ คือ ใครรับรายได้มาก ก็ต้องจ่ายมาก ยังไม่คำนึงว่าเอารายได้ไปใช้จ่ายหรือไม่ ภาษีทั้งสองชนิด ไม่ได้พุ่งเป้าไปที่การนำเข้า ไม่ใช่เพื่อปกป้องการผลิตภายในประเทศ 👗 การที่ทรัมป์จะขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐ โดยเอา VAT ไปรวมด้วย จึงผิดหลักเศรษฐศาสตร์ แต่ดูเหมือนไม่มีใครทัดทานทรัมป์ รูป 2 แสดงอัตราภาษีนำเข้าสหรัฐ ที่กำลังศึกษา และมีกำหนดจะประกาศต้นเดือน เม.ย. ซ้ายมือ ไม่คำนึงถึง VAT ขวามือ คำนึง น่าตกใจ ไทยอาจจะโดนถึงระดับ 5% อันดับที่ 23 👙 รูป 3 นักวิเคราะห์ลองหักตัวเลขภาษีการค้าภายในสหรัฐออก อัตราลดลงบ้าง ที่น่ากลัวมากคือ กลุ่มยุโรป เพราะอัตรา VAT สูงมหาศาล หลายประเทศทะลุระดับ 20% ปริมาณการค้าโลก จะถูกกระทบอย่างกว้างขวางไม่น่าเชื่อ รูป 4 นอกจากนี้ ทรัมป์ ยังสั่งให้ทีมงานศึกษาเพื่อเก็บภาษีตอบโต้ จากการที่ฝรั่งเศสและอิตาลี เก็บภาษีจากบริษัทโซเชียลมีเดีย 👘 เขาอ้างแนวคิดวิตถารว่า รัฐบาลสหรัฐเท่านั้น ที่จะมีสิทธิ์เก็บภาษีจากบริษัทสหรัฐ ทั้งที่ ถ้าหากบริษัทโซเชียลมีเดียสหรัฐ ได้รายได้จากการทำธุรกิจในประเทศหนึ่ง เช่น Facebook ได้ค่าโฆษณา ด้วยหลักการปกติ ประเทศที่เป็นผู้จ่ายค่าโฆษณา ย่อมมีสิทธิ์ที่จะเก็บภาษีจากบริษัทโซเชียลมีเดีย รูป5 กำแพงภาษีสหรัฐ จะกระทบส่งออกของไทยอย่างมาก เนื่องจากสหรัฐเป็นตลาด 17% ของส่งออกทั้งหมด 🩲 รูป 6-7 ไทยส่งออกไปสหรัฐ สูงสุดเป็นอันดับที่ 1 แต่ละปี 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เกินดุลอยู่ 3.5 หมื่นล้านดอลล่าร์ แนวคิดของทรัมป์ นอกจากจะดันเศรษฐกิจโลกสู่ปากเหวแล้ว ยังก่อความเสี่ยงต่อการเมืองโลกอีกด้วย รูป 8 แสดงแนวโน้มการค้าของโลกย้อนหลัง 200 ปี จะเห็นได้ว่า มีช่วงที่การค้าลดต่ำกว่า trend เส้นสีแดงสองเส้น แสดงห้วงเวลาสงครามโลกทั้งสองครั้ง 🩴 นักประวัติศาสตร์หลายคนลงความเห็นว่า ปัจจัยหลักที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สองอย่างชัดเจน คือประเทศสหรัฐขึ้นกำแพงภาษีสองครั้ง เส้นสีดำ ซึ่งนำไปสู่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และก่อความตึงเครียดทางการเมือง รูป 9-10 ปัจจัยสำคัญหนึ่ง ที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก็เกิดจากสหรัฐขึ้นกำแพงภาษีเช่นเดียวกัน ที่สำคัญก็คือ มีการผสมโรงด้วย วิกฤติในตลาดการเงิน ปี 1907 ไปถึงปี 1913 เริ่มต้น WW1 พอดี 🧐 ขณะนี้ สภาวะตลาดทุนตลาดเงิน ทั้งในสหรัฐ ยุโรป มีความเสี่ยงฟองสบู่ใกล้แตกเต็มที ถ้าเกิดวิกฤตในปีนี้ ดังที่ผมคาดไว้ ก็จะต้องจับตาให้ดี เงื่อนไขที่นำไปสู่สงครามโลกในอดีต จะกลับมาอีกหรือไม่ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 805 มุมมอง 0 รีวิว
  • MediaTek บริษัทชิปรายใหญ่จากไต้หวันกำลังดำเนินการประเมินผลกระทบจากการกำหนดอัตราภาษีของสหรัฐอเมริกา ทางบริษัทใช้การจำลองผลกระทบเหล่านี้เพื่อเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการค้าและนโยบายการค้าที่กำลังเปลี่ยนแปลง

    Rick Tsai ซีอีโอของ MediaTek กล่าวถึงความไม่แน่นอนของอัตราภาษีและเน้นว่าสถานการณ์ยังคงมีความซับซ้อน เขายังมั่นใจว่าผลกระทบในปี 2025 จะสามารถจัดการได้ แต่ก็ยอมรับว่าสถานการณ์นี้มีความซับซ้อนมาก

    หากสหรัฐกำหนดอัตราภาษีใหม่ MediaTek อาจต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้นเมื่อส่งออกชิปไปยังตลาดอเมริกา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อราคาสินค้า โซ่อุปทาน และกำไรของบริษัท ทั้งนี้ MediaTek อาจต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนโซ่อุปทานและกลยุทธ์การกำหนดราคาเพื่อลดความเสี่ยง

    ในขณะที่บริษัทต้องเผชิญกับความท้าทายทางการค้า อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ยังต้องเผชิญกับแรงกดดันจากการแข่งขันใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดขึ้นของ DeepSeek บริษัทสตาร์ทอัพจากจีนที่เสนอทางแก้ไขปัญหาปัญญาประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำ ซึ่งทำให้หุ้นในตลาดเทคโนโลยีทั่วโลกตกลง

    นอกจากนี้ TSMC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่จากไต้หวันอีกแห่งกำลังพิจารณาการปรับราคาการผลิตชิปเพิ่มขึ้นถึง 15% เพื่อชดเชยการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากอัตราภาษีสหรัฐฯ ต่อการนำเข้าจากจีน

    https://www.tomshardware.com/tech-industry/mediatek-is-conducting-impact-simulations-to-prepare-for-u-s-tariffs
    MediaTek บริษัทชิปรายใหญ่จากไต้หวันกำลังดำเนินการประเมินผลกระทบจากการกำหนดอัตราภาษีของสหรัฐอเมริกา ทางบริษัทใช้การจำลองผลกระทบเหล่านี้เพื่อเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการค้าและนโยบายการค้าที่กำลังเปลี่ยนแปลง Rick Tsai ซีอีโอของ MediaTek กล่าวถึงความไม่แน่นอนของอัตราภาษีและเน้นว่าสถานการณ์ยังคงมีความซับซ้อน เขายังมั่นใจว่าผลกระทบในปี 2025 จะสามารถจัดการได้ แต่ก็ยอมรับว่าสถานการณ์นี้มีความซับซ้อนมาก หากสหรัฐกำหนดอัตราภาษีใหม่ MediaTek อาจต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้นเมื่อส่งออกชิปไปยังตลาดอเมริกา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อราคาสินค้า โซ่อุปทาน และกำไรของบริษัท ทั้งนี้ MediaTek อาจต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนโซ่อุปทานและกลยุทธ์การกำหนดราคาเพื่อลดความเสี่ยง ในขณะที่บริษัทต้องเผชิญกับความท้าทายทางการค้า อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ยังต้องเผชิญกับแรงกดดันจากการแข่งขันใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดขึ้นของ DeepSeek บริษัทสตาร์ทอัพจากจีนที่เสนอทางแก้ไขปัญหาปัญญาประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำ ซึ่งทำให้หุ้นในตลาดเทคโนโลยีทั่วโลกตกลง นอกจากนี้ TSMC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่จากไต้หวันอีกแห่งกำลังพิจารณาการปรับราคาการผลิตชิปเพิ่มขึ้นถึง 15% เพื่อชดเชยการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากอัตราภาษีสหรัฐฯ ต่อการนำเข้าจากจีน https://www.tomshardware.com/tech-industry/mediatek-is-conducting-impact-simulations-to-prepare-for-u-s-tariffs
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 306 มุมมอง 0 รีวิว
  • จีนแถลงวันพุธ (5 ก.พ.) ยืนกรานคัดค้านสหรัฐฯ ประกาศมาตรการรีดภาษีศุลกากรจากสินค้าเข้าแดนมังกร พร้อมเรียกร้องเปิดเจรจาเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้า ทว่า ทำเนียบขาวระบุทรัมป์ยังไม่รีบร้อนหารือสี จิ้นผิง ขณะที่ในอีกด้านหนึ่ง สำนักงานไปรษณีย์สหรัฐฯ ประกาศระงับการรับพัสดุภัณฑ์จากจีนและฮ่องกง ซึ่งคาดหมายกันว่าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยอดนิยมของจีนอย่าง “ชีอิน” และ “เทมู” โดยที่ยังมีรายงานข่าวด้วยว่า วอชิงตันกำลังพิจารณาขึ้นบัญชีดำยักษ์ใหญ่แดนมังกรทั้งสองเจ้านี้ว่าเป็นบริษัทที่มีการบังคับใช้แรงงาน
    .
    ในวันพุธ ซึ่งเป็นวันแรกที่หน่วยราชการของจีนเปิดทำการหลังหยุดยาวช่วงเทศกาลตรุษจีน หลิน เจี้ยน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศออกมาแถลงว่า จีนไม่พอใจอย่างมากและคัดค้านถึงที่สุดต่อมาตรการขึ้นภาษีศุลกากรของอเมริกา และเรียกร้องให้เปิดการเจรจาอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ก่อนทิ้งท้ายว่า ไม่มีผู้ชนะในสงครามการค้าหรือสงครามภาษีศุลกากร
    .
    ทั้งนี้ ก่อนหน้านั้นคือเมื่อวันอังคาร (4) จีนประกาศตอบโต้อเมริกา โดยจะขึ้นภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บจากสินค้าถ่านหินและก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ซึ่งส่งมาจากสหรัฐฯสูงขึ้น 15% จากน้ำมันดิบ อุปกรณ์เกษตรกรรม รถบรรทุก รถซีดาน 10% มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ก.พ.
    .
    นอกจากนั้น จีนยังประกาศเริ่มการสอบสวนที่มุ่งต่อต้านพฤติการณ์การผูกขาดของกูเกิล ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของอัลฟาเบต รวมทั้งขึ้นบัญชีพีวีเอช คอร์ป บริษัทโฮลดิ้งเจ้าของแบรนด์แคลวิน ไคลน์ และบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ อิลลูมินา เอาไว้ในรายชื่อบริษัทที่อาจถูกแซงก์ชันในจีน โดยบริษัทเหล่านี้ล้วนเป็นกิจการของอเมริกา
    .
    เวลาเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์และสำนักงานศุลกากรจีนยังสั่งควบคุมการส่งออกโลหะบางรายการที่จำเป็นสำหรับการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ทางทหาร และแผงพลังงานแสงอาทิตย์
    .
    การประกาศมาตรการตอบโต้ของจีนเช่นนี้ เกิดขึ้นแทบจะทันที หลังจากการมีผลบังคับใช้ของมาตรการขึ้นภาษีศุลกากรของฝ่ายอเมริกา ซึ่งเป็นการบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ให้เพิ่มอัตราภาษีศุลกากรจัดเก็บจากสินค้านำเข้าจีนทุกรายการขึ้นอีก 10% โดยที่ทรัมป์ย้ำข้อกล่าวหาของเขาที่ว่า ปักกิ่งไม่พยายามมากพอในการสกัดการลักลอบขนยาเสพติดแฟนทานิลเข้าสู่อเมริกา
    .
    ก่อนหน้านี้ในวันจันทร์ (3) ทำเนียบขาวส่งสัญญาณว่า ทรัมป์จะมีการหารือกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ภายในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ดี ในตอนบ่ายวันอังคาร (4) ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กลับบอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบขาวว่า ไม่รีบร้อนที่จะคุยกับผู้นำจีน
    .
    แคโรไลน์ เลวิตต์ โฆษกทำเนียบขาว แถลงในวันเดียวกันว่า การหารือระหว่างทรัมป์กับสีที่ถูกมองว่า เป็นกุญแจสำคัญที่อาจผ่อนปรนหรือชะลอการบังคับใช้ภาษีศุลกากรนั้น จำเป็นต้องมีการตกลงกันเรื่องตารางเวลา ทว่า ขณะนี้ผู้นำจีนยังไม่ได้ติดต่อมาแต่อย่างใด
    .
    นอกจากไม่มีความคืบหน้าในการเจรจาแล้ว เมื่อวันอังคาร สำนักงานไปรษณีย์สหรัฐฯ (ยูเอสพีเอส) ได้ประกาศระงับการรับพัสดุภัณฑ์ที่ส่งจากจีนและฮ่องกง หลังจากทรัมป์ออกคำสั่งยกเลิกข้อยกเว้นการเก็บภาษีอากรกับพัสดุที่มีมูลค่าไม่เกิน 800 ดอลลาร์ ที่เรียกกันว่า ข้อยกเว้น de minimis
    .
    ยูเอสพีเอสยืนยันว่า การเปลี่ยนแปลงนี้จะไม่กระทบจดหมายและจดหมายขนาดใหญ่ (ความยาวไม่เกิน 38 ซม. หรือหนาไม่เกิน 1.9 ซม.) จากจีนและฮ่องกง แต่ไม่ได้ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกี่ยวข้องกับการยกเลิกข้อยกเว้น de minimis หรือไม่
    .
    ตามรายงานของคณะกรรมาธิการรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อเดือนมิถุนายน 2023 ระบุว่าพัสดุภัณฑ์เกือบครึ่งหนึ่งที่จัดส่งภายใต้ข้อยกเว้น de minimis นั้นส่งมาจากจีน
    .
    รายงานดังกล่าวยังระบุว่า “ชีอิน” แพลตฟอร์มฟาสต์แฟชั่น และ “เทมู” แพลตฟอร์มขายสินค้าราคาถูก ซึ่งต่างก็เป็นของจีนและขายสินค้าทุกอย่างตั้งแต่ของเล่นจนถึงสมาร์ทโฟนนั้น เติบโตเร็วมากในอเมริกา ส่วนหนึ่งเนื่องจากข้อยกเว้น de minimis โดยทั้งสองบริษัทมีแนวโน้มเป็นเจ้าของพัสดุกว่า 30% ที่จัดส่งไปยังอเมริกาในแต่ละวันภายใต้ข้อยกเว้นดังกล่าว
    .
    แม้ผู้เชี่ยวชาญหลายคนระบุว่า การยกเลิกข้อยกเว้น de minimis อาจทำให้สินค้าบนแพลตฟอร์มชีอินและเทมูแพงขึ้น แต่ไม่มีแนวโน้มว่า จะทำให้ยอดจัดส่งของทั้งสองบริษัทลดลงแต่อย่างใด
    .
    กระนั้น แพลตฟอร์มทั้งสองแห่งอาจหนีไม่พ้นการเล่นงานเพิ่มเติมของคณะบริหารทรัมป์ โดยเมื่อวันอังคาร เว็บไซต์เซมาฟอร์รายงานว่า อเมริกากำลังพิจารณาขึ้นบัญชีเทมูและชีอินในรายชื่อบริษัทที่บังคับใช้แรงงานของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011929
    ..............
    Sondhi X
    จีนแถลงวันพุธ (5 ก.พ.) ยืนกรานคัดค้านสหรัฐฯ ประกาศมาตรการรีดภาษีศุลกากรจากสินค้าเข้าแดนมังกร พร้อมเรียกร้องเปิดเจรจาเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้า ทว่า ทำเนียบขาวระบุทรัมป์ยังไม่รีบร้อนหารือสี จิ้นผิง ขณะที่ในอีกด้านหนึ่ง สำนักงานไปรษณีย์สหรัฐฯ ประกาศระงับการรับพัสดุภัณฑ์จากจีนและฮ่องกง ซึ่งคาดหมายกันว่าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยอดนิยมของจีนอย่าง “ชีอิน” และ “เทมู” โดยที่ยังมีรายงานข่าวด้วยว่า วอชิงตันกำลังพิจารณาขึ้นบัญชีดำยักษ์ใหญ่แดนมังกรทั้งสองเจ้านี้ว่าเป็นบริษัทที่มีการบังคับใช้แรงงาน . ในวันพุธ ซึ่งเป็นวันแรกที่หน่วยราชการของจีนเปิดทำการหลังหยุดยาวช่วงเทศกาลตรุษจีน หลิน เจี้ยน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศออกมาแถลงว่า จีนไม่พอใจอย่างมากและคัดค้านถึงที่สุดต่อมาตรการขึ้นภาษีศุลกากรของอเมริกา และเรียกร้องให้เปิดการเจรจาอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ก่อนทิ้งท้ายว่า ไม่มีผู้ชนะในสงครามการค้าหรือสงครามภาษีศุลกากร . ทั้งนี้ ก่อนหน้านั้นคือเมื่อวันอังคาร (4) จีนประกาศตอบโต้อเมริกา โดยจะขึ้นภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บจากสินค้าถ่านหินและก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ซึ่งส่งมาจากสหรัฐฯสูงขึ้น 15% จากน้ำมันดิบ อุปกรณ์เกษตรกรรม รถบรรทุก รถซีดาน 10% มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ก.พ. . นอกจากนั้น จีนยังประกาศเริ่มการสอบสวนที่มุ่งต่อต้านพฤติการณ์การผูกขาดของกูเกิล ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของอัลฟาเบต รวมทั้งขึ้นบัญชีพีวีเอช คอร์ป บริษัทโฮลดิ้งเจ้าของแบรนด์แคลวิน ไคลน์ และบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ อิลลูมินา เอาไว้ในรายชื่อบริษัทที่อาจถูกแซงก์ชันในจีน โดยบริษัทเหล่านี้ล้วนเป็นกิจการของอเมริกา . เวลาเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์และสำนักงานศุลกากรจีนยังสั่งควบคุมการส่งออกโลหะบางรายการที่จำเป็นสำหรับการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ทางทหาร และแผงพลังงานแสงอาทิตย์ . การประกาศมาตรการตอบโต้ของจีนเช่นนี้ เกิดขึ้นแทบจะทันที หลังจากการมีผลบังคับใช้ของมาตรการขึ้นภาษีศุลกากรของฝ่ายอเมริกา ซึ่งเป็นการบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ให้เพิ่มอัตราภาษีศุลกากรจัดเก็บจากสินค้านำเข้าจีนทุกรายการขึ้นอีก 10% โดยที่ทรัมป์ย้ำข้อกล่าวหาของเขาที่ว่า ปักกิ่งไม่พยายามมากพอในการสกัดการลักลอบขนยาเสพติดแฟนทานิลเข้าสู่อเมริกา . ก่อนหน้านี้ในวันจันทร์ (3) ทำเนียบขาวส่งสัญญาณว่า ทรัมป์จะมีการหารือกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ภายในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ดี ในตอนบ่ายวันอังคาร (4) ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กลับบอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบขาวว่า ไม่รีบร้อนที่จะคุยกับผู้นำจีน . แคโรไลน์ เลวิตต์ โฆษกทำเนียบขาว แถลงในวันเดียวกันว่า การหารือระหว่างทรัมป์กับสีที่ถูกมองว่า เป็นกุญแจสำคัญที่อาจผ่อนปรนหรือชะลอการบังคับใช้ภาษีศุลกากรนั้น จำเป็นต้องมีการตกลงกันเรื่องตารางเวลา ทว่า ขณะนี้ผู้นำจีนยังไม่ได้ติดต่อมาแต่อย่างใด . นอกจากไม่มีความคืบหน้าในการเจรจาแล้ว เมื่อวันอังคาร สำนักงานไปรษณีย์สหรัฐฯ (ยูเอสพีเอส) ได้ประกาศระงับการรับพัสดุภัณฑ์ที่ส่งจากจีนและฮ่องกง หลังจากทรัมป์ออกคำสั่งยกเลิกข้อยกเว้นการเก็บภาษีอากรกับพัสดุที่มีมูลค่าไม่เกิน 800 ดอลลาร์ ที่เรียกกันว่า ข้อยกเว้น de minimis . ยูเอสพีเอสยืนยันว่า การเปลี่ยนแปลงนี้จะไม่กระทบจดหมายและจดหมายขนาดใหญ่ (ความยาวไม่เกิน 38 ซม. หรือหนาไม่เกิน 1.9 ซม.) จากจีนและฮ่องกง แต่ไม่ได้ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกี่ยวข้องกับการยกเลิกข้อยกเว้น de minimis หรือไม่ . ตามรายงานของคณะกรรมาธิการรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อเดือนมิถุนายน 2023 ระบุว่าพัสดุภัณฑ์เกือบครึ่งหนึ่งที่จัดส่งภายใต้ข้อยกเว้น de minimis นั้นส่งมาจากจีน . รายงานดังกล่าวยังระบุว่า “ชีอิน” แพลตฟอร์มฟาสต์แฟชั่น และ “เทมู” แพลตฟอร์มขายสินค้าราคาถูก ซึ่งต่างก็เป็นของจีนและขายสินค้าทุกอย่างตั้งแต่ของเล่นจนถึงสมาร์ทโฟนนั้น เติบโตเร็วมากในอเมริกา ส่วนหนึ่งเนื่องจากข้อยกเว้น de minimis โดยทั้งสองบริษัทมีแนวโน้มเป็นเจ้าของพัสดุกว่า 30% ที่จัดส่งไปยังอเมริกาในแต่ละวันภายใต้ข้อยกเว้นดังกล่าว . แม้ผู้เชี่ยวชาญหลายคนระบุว่า การยกเลิกข้อยกเว้น de minimis อาจทำให้สินค้าบนแพลตฟอร์มชีอินและเทมูแพงขึ้น แต่ไม่มีแนวโน้มว่า จะทำให้ยอดจัดส่งของทั้งสองบริษัทลดลงแต่อย่างใด . กระนั้น แพลตฟอร์มทั้งสองแห่งอาจหนีไม่พ้นการเล่นงานเพิ่มเติมของคณะบริหารทรัมป์ โดยเมื่อวันอังคาร เว็บไซต์เซมาฟอร์รายงานว่า อเมริกากำลังพิจารณาขึ้นบัญชีเทมูและชีอินในรายชื่อบริษัทที่บังคับใช้แรงงานของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011929 .............. Sondhi X
    Like
    Angry
    12
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2601 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts