• อนุทิน นำ ส.ว.น้ำเงิน ส่งสัญญาณแตกหัก อ้างหลักการแก้ รธน. ทำประชามติ 3 ครั้ง
    .
    การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่เปิดโอกาสในการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยากภายหลังฝ่ายที่่ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะกลุ่มส.ว.เริ่มมีความเคลื่อนไหว โดยล่าสุดสำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้ทำความเห็นเรื่องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช…. (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 หลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและเพิ่มหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่) ของนายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) กับคณะเป็นผู้เสนอ โดยสำนักกฎหมายฯ พิจารณาแล้วมีความเห็นต้องมีการออกเสียงประชามติ 3 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 ถามประชาชนก่อนว่าต้องให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหมหรือไม่ ครั้งที่ 2 (ถ้าผ่านครั้งที่ 1) นำร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับที่เสนอแก้มาตรา 256+เพิ่มหมวด 15/1 เสนอที่ประชุมร่วมรัฐสภา ถ้าสภาเห็นชอบแล้ว จึงไปทำประชามติอีกที
    ครั้งที่ 3 (ถ้าผ่านครั้งที่ 2) ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาร่วมรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เสนอต่อรัฐสภาพิจารณาแล้วจึงทำประชามติ
    .
    ประกอบกับรัฐธรรมนูญมาตรา 221 วรรคสี่ บัญญัติว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา ครม. ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานรัฐ” ซึ่งความเห็นหลักฝ่ายนี้มีการอ้างอิงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18- 22/2555 เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2555 และคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2564 ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยกลางของศาล (มิใช่คำวินิจฉัยส่วนตน) ตามที่วินิจฉัยว่า”…รัฐสภามีหน้าที่ และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง” มาเป็นหลักในการพิจารณา
    .
    ทั้งนี้ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้วินิจฉัยไว้อย่างชัดเจนว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยวิธีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้มีหมวด 15/1 มีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต้องจัดให้ประชาชนออกเสียงประชามติก่อนว่า สมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ (การออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 1 ) และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้วต้องให้ประชาชนลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้ง (การออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 3) ส่วนการออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 2 เป็นไปโดยบทบัญญัติเฉพาะของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 256 (8)
    .
    ความเห็นของสำนักกฎหมายฯ นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ได้ทำหนังสือแจ้งต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ให้ทราบแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และเชื่อว่าความเห็นดังกล่าวจะเป็นท่าทีของ ส.ว.ส่วนใหญ่ในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่จะมีการพิจารณาในการประชุมร่วมรัฐสภาวันที่ 13-14 ก.พ.นี้
    .
    ขณะที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เปิดเผยว่า พรรคภูมิใจไทย มีเป็นมติเอกฉันท์ ไม่ร่วมพิจารณาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์นี้ เพราะเห็นว่า การบรรจุวาระเข้ามายังมีความขัดแย้งคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญปี 2564 ที่ระบุว่า ต้องมีการถามประชามติจากพี่น้องประชาชนก่อน เมื่อการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้น ขั้นตอนการทำประชามติยังไม่ได้รับการปฏิบัติพรรค จึงเห็นว่า มีความสุ่มเสี่ยงไม่สามารถที่จะไปรับฟังความคิดเห็นนั้นได้ เพราะเรามี ส.ส. ซึ่งพี่น้องประชาชนได้เลือกให้เราเข้ามาทำงาน ถึง 71 คน เราก็ต้องทำงาน จะไปรับความเสี่ยง โดยมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญออกมาเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างชัดเจนแล้วไม่ได้
    ..............
    Sondhi X
    อนุทิน นำ ส.ว.น้ำเงิน ส่งสัญญาณแตกหัก อ้างหลักการแก้ รธน. ทำประชามติ 3 ครั้ง . การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่เปิดโอกาสในการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยากภายหลังฝ่ายที่่ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะกลุ่มส.ว.เริ่มมีความเคลื่อนไหว โดยล่าสุดสำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้ทำความเห็นเรื่องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช…. (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 หลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและเพิ่มหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่) ของนายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) กับคณะเป็นผู้เสนอ โดยสำนักกฎหมายฯ พิจารณาแล้วมีความเห็นต้องมีการออกเสียงประชามติ 3 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 ถามประชาชนก่อนว่าต้องให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหมหรือไม่ ครั้งที่ 2 (ถ้าผ่านครั้งที่ 1) นำร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับที่เสนอแก้มาตรา 256+เพิ่มหมวด 15/1 เสนอที่ประชุมร่วมรัฐสภา ถ้าสภาเห็นชอบแล้ว จึงไปทำประชามติอีกที ครั้งที่ 3 (ถ้าผ่านครั้งที่ 2) ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาร่วมรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เสนอต่อรัฐสภาพิจารณาแล้วจึงทำประชามติ . ประกอบกับรัฐธรรมนูญมาตรา 221 วรรคสี่ บัญญัติว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา ครม. ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานรัฐ” ซึ่งความเห็นหลักฝ่ายนี้มีการอ้างอิงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18- 22/2555 เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2555 และคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2564 ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยกลางของศาล (มิใช่คำวินิจฉัยส่วนตน) ตามที่วินิจฉัยว่า”…รัฐสภามีหน้าที่ และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง” มาเป็นหลักในการพิจารณา . ทั้งนี้ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้วินิจฉัยไว้อย่างชัดเจนว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยวิธีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้มีหมวด 15/1 มีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต้องจัดให้ประชาชนออกเสียงประชามติก่อนว่า สมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ (การออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 1 ) และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้วต้องให้ประชาชนลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้ง (การออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 3) ส่วนการออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 2 เป็นไปโดยบทบัญญัติเฉพาะของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 256 (8) . ความเห็นของสำนักกฎหมายฯ นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ได้ทำหนังสือแจ้งต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ให้ทราบแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และเชื่อว่าความเห็นดังกล่าวจะเป็นท่าทีของ ส.ว.ส่วนใหญ่ในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่จะมีการพิจารณาในการประชุมร่วมรัฐสภาวันที่ 13-14 ก.พ.นี้ . ขณะที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เปิดเผยว่า พรรคภูมิใจไทย มีเป็นมติเอกฉันท์ ไม่ร่วมพิจารณาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์นี้ เพราะเห็นว่า การบรรจุวาระเข้ามายังมีความขัดแย้งคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญปี 2564 ที่ระบุว่า ต้องมีการถามประชามติจากพี่น้องประชาชนก่อน เมื่อการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้น ขั้นตอนการทำประชามติยังไม่ได้รับการปฏิบัติพรรค จึงเห็นว่า มีความสุ่มเสี่ยงไม่สามารถที่จะไปรับฟังความคิดเห็นนั้นได้ เพราะเรามี ส.ส. ซึ่งพี่น้องประชาชนได้เลือกให้เราเข้ามาทำงาน ถึง 71 คน เราก็ต้องทำงาน จะไปรับความเสี่ยง โดยมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญออกมาเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างชัดเจนแล้วไม่ได้ .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Wow
    14
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2157 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิดร่างแก้ไข รธน.ฉบับ ปชน.อ้างเหตุผลต้องรื้อเพราะมรดก คสช.ปรับเงื่อนไข ม.256 แก้หมวด 1 หมวด 2 คุณสมบัตินักการเมือง ไม่ต้องผ่านประชามติ ออกแบบเลือกตั้ง สสร.200 คน ให้สิทธินักการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิ สมัคร สสร.ได้ ขีดเส้นทำ รธน.ใหม่ 360 วัน ตั้ง 45 อรหันต์ทำ รธน. ให้โควตาคนนอก 15 คน เขียนให้รัฐสภามีหน้าที่แค่แสดงความเห็น

    วันนี้(2 ม.ค. 68) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากที่นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชนและคณะ ได้นำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มเติมหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ยื่นต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เมื่อช่วงกลางเดือนธ.ค.2567 และ ประธานรัฐสภา เตรียมนัดประชุมวิป 3 ฝ่าย หารือถึงการนัดประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อเตรียมวาระพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ วันที่ 8 ม.ค. นั้น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เผยแพร่เอกสารร่างแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ 2560 และเพิ่มเติมหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่พรรคประชาชนเสนอ โดยมีสาระสำคัญ อาทิ

    มีการระบุเหตุผลว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความชอบธรรมทางประชาธิปไตย เพราะเชื่อมโยงกับคณะรัฐประหาร ถูกรับรองโดยกระบวนการประชามติที่ไม่เสรีและเป็นธรรม รวมถึงมีบทบัญญัติหลายประการที่ไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย จึงสมควรแก้ไข โดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และแก้ไขมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไข

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000000359

    #MGROnline #พรรคประชาชน #ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
    เปิดร่างแก้ไข รธน.ฉบับ ปชน.อ้างเหตุผลต้องรื้อเพราะมรดก คสช.ปรับเงื่อนไข ม.256 แก้หมวด 1 หมวด 2 คุณสมบัตินักการเมือง ไม่ต้องผ่านประชามติ ออกแบบเลือกตั้ง สสร.200 คน ให้สิทธินักการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิ สมัคร สสร.ได้ ขีดเส้นทำ รธน.ใหม่ 360 วัน ตั้ง 45 อรหันต์ทำ รธน. ให้โควตาคนนอก 15 คน เขียนให้รัฐสภามีหน้าที่แค่แสดงความเห็น • วันนี้(2 ม.ค. 68) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากที่นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชนและคณะ ได้นำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มเติมหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ยื่นต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เมื่อช่วงกลางเดือนธ.ค.2567 และ ประธานรัฐสภา เตรียมนัดประชุมวิป 3 ฝ่าย หารือถึงการนัดประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อเตรียมวาระพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ วันที่ 8 ม.ค. นั้น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เผยแพร่เอกสารร่างแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ 2560 และเพิ่มเติมหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่พรรคประชาชนเสนอ โดยมีสาระสำคัญ อาทิ • มีการระบุเหตุผลว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความชอบธรรมทางประชาธิปไตย เพราะเชื่อมโยงกับคณะรัฐประหาร ถูกรับรองโดยกระบวนการประชามติที่ไม่เสรีและเป็นธรรม รวมถึงมีบทบัญญัติหลายประการที่ไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย จึงสมควรแก้ไข โดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และแก้ไขมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไข • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/politics/detail/9680000000359 • #MGROnline #พรรคประชาชน #ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
    MGRONLINE.COM
    เปิดร่างแก้ รธน.ฉบับพรรคส้ม อ้างล้างมรดก คสช. รื้อหมวด 1 หมวด 2 ตั้ง สสร.200 คน นักการเมืองโดนแบนสมัครได้
    เปิดร่างแก้ไข รธน.ฉบับ ปชน.อ้างเหตุผลต้องรื้อเพราะมรดก คสช.ปรับเงื่อนไข ม.256 แก้หมวด1 หมวด 2 คุณสมบัตินักการเมือง ไม่ต้องผ่านประชามติ ออกแบบเลือกตั้ง สสร. 200 คน ให้สิทธิ “นักการเมือง” ถูกเพิกถอนสิทธิ สมัครสสร.ได้ ขีดเส้นทำรธน.ใ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 465 มุมมอง 0 รีวิว
  • สว.ยกมือพรึ่บ 153 เสียง ผ่าน พ.ร.บ.ประชามติ ฉบับกมธ.ร่วมฯ ยึดเสียงข้างมากสองชั้น “อังคนา” เชื่อ สส.ยึดหลักประชามติเสียงข้างมากชั้นเดียว แม้จะรอ 6 เดือน ขณะที่ “นันทนา”ซัดอย่าดัดจริต อย่าสองมาตรฐาน ที่ผ่านมาทั้งการเลือกตั้งระดับชาติและท้องถิ่นก็ใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว ด้าน “นอสตราดามุสแก้รธน.” ระบุ ร่างกม.ประชามติมีรูรั่ว สภาฯเสนอใช้แค่เสียงข้างมากชั้นเดียว ไม่ต้องยึดเกณฑ์ 2 ชั้น ฟันฉับ สสร.ไม่เกิด

    เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มี พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานการประชุม วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ที่คณะกรรมาธิการร่วมกัน พิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งมีมติเห็นชอบร่างแก้ไขของวุฒิสภา ที่แก้ไขด้วยเกณฑ์ผ่านประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้เกณฑ์ผ่าน 2 ชั้น คือต้องมีผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสัยงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ใช้เสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามติ

    นายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร สว.อภิปรายว่า การออกเสียงประชามติข้างมากชั้นเดียว เป็นที่นิยมในหลายประเทศ เพราะมีไม่กี่ประเทศที่ใช้กรออกเสียงประชามติ 2 ชั้นที่สร้างปัญหา มากกว่าข้อดี และรูปแบบรัฐเป็นสหพันธรัฐ เพื่อไม่ให้รัฐใหญ่ใช้พวกมาลากไป แต่ประเทศไทยเป็นรัฐเดียว จึงควรใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว พร้อมอ้างตัวอย่างการใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น เหมือนการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ 2560 ในปี 2559 ที่กฎหมายเดิมใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก2 ชั้น ก่อนมีการเปลี่ยนเป็นเสียงข้างมากชั้นเดียว เพราะเสียงข้างมาก 2 ชั้น ถูกรณรงค์ให้คว่ำง่ายมาก เมื่อ คสช.อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)ผ่าน ก็มีการแก้ไขกฎหมาย กลับมาใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000120989

    #MGROnline #พรบประชามติ #ประชุมวุฒิสภา
    สว.ยกมือพรึ่บ 153 เสียง ผ่าน พ.ร.บ.ประชามติ ฉบับกมธ.ร่วมฯ ยึดเสียงข้างมากสองชั้น “อังคนา” เชื่อ สส.ยึดหลักประชามติเสียงข้างมากชั้นเดียว แม้จะรอ 6 เดือน ขณะที่ “นันทนา”ซัดอย่าดัดจริต อย่าสองมาตรฐาน ที่ผ่านมาทั้งการเลือกตั้งระดับชาติและท้องถิ่นก็ใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว ด้าน “นอสตราดามุสแก้รธน.” ระบุ ร่างกม.ประชามติมีรูรั่ว สภาฯเสนอใช้แค่เสียงข้างมากชั้นเดียว ไม่ต้องยึดเกณฑ์ 2 ชั้น ฟันฉับ สสร.ไม่เกิด • เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มี พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานการประชุม วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ที่คณะกรรมาธิการร่วมกัน พิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งมีมติเห็นชอบร่างแก้ไขของวุฒิสภา ที่แก้ไขด้วยเกณฑ์ผ่านประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้เกณฑ์ผ่าน 2 ชั้น คือต้องมีผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสัยงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ใช้เสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามติ • นายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร สว.อภิปรายว่า การออกเสียงประชามติข้างมากชั้นเดียว เป็นที่นิยมในหลายประเทศ เพราะมีไม่กี่ประเทศที่ใช้กรออกเสียงประชามติ 2 ชั้นที่สร้างปัญหา มากกว่าข้อดี และรูปแบบรัฐเป็นสหพันธรัฐ เพื่อไม่ให้รัฐใหญ่ใช้พวกมาลากไป แต่ประเทศไทยเป็นรัฐเดียว จึงควรใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว พร้อมอ้างตัวอย่างการใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น เหมือนการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ 2560 ในปี 2559 ที่กฎหมายเดิมใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก2 ชั้น ก่อนมีการเปลี่ยนเป็นเสียงข้างมากชั้นเดียว เพราะเสียงข้างมาก 2 ชั้น ถูกรณรงค์ให้คว่ำง่ายมาก เมื่อ คสช.อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)ผ่าน ก็มีการแก้ไขกฎหมาย กลับมาใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9670000120989 • #MGROnline #พรบประชามติ #ประชุมวุฒิสภา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 438 มุมมอง 0 รีวิว
  • “นิกร” บิ๊วท์ “รัฐบาล” โอกาสแก้ รธน.ฉบับปชช.ยังมี ถ้าทำสิ่งนี้? (10/12/67) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #แก้ไข รธน. #ม.256 #สสร. #รธน.ฉบับปชช. #ประชามติ #วันรัฐธรรมนูญ
    “นิกร” บิ๊วท์ “รัฐบาล” โอกาสแก้ รธน.ฉบับปชช.ยังมี ถ้าทำสิ่งนี้? (10/12/67) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #แก้ไข รธน. #ม.256 #สสร. #รธน.ฉบับปชช. #ประชามติ #วันรัฐธรรมนูญ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 964 มุมมอง 38 0 รีวิว