• จับขังคอกหุ้นตัวป่วน..Delta “โดย สุนันท์ ศรีจันทรา
    ”นักลงทุนพากันเทขายหุ้น DELTA เพราะคาดว่า จะได้รับผลกระทบโดยตรงจาก GLOBAL MINIMUMTAX และต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ทำให้ผลกำไรสุทธิลดลง

    DELTA เป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้น มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดหรือมาร์เก็ตแคป 1.78 ล้านล้านบาท คำนวณจ่ากราคาปิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2568 โดยลดลงจากจุดปิดวันก่อนหน้าหรือวันที่ 30 ธันวาคม ที่มีมาร์เก็ตแคป 1.90 ล้านบาท

    เมื่อเทียบกับมูลค่าหลักทรัพย์ตลาดรวมจำนวน 17.24 ล้านบาท มาร์เก็ตแคป DELTA จะมีสัดส่วน 9.68% ของมาร์เก็ตแคปรวมของตลาด และมีน้ำหนักในการคำนวณดัชนีฯ 134 จุด

    การขึ้นลงของหุ้น DELTA ทุก 1 บาท จะมีผลต่อการขึ้นลงของดัชนีประมาณ 1 จุด

    ดัชนี ฯ ที่ดิ่งลงกว่า 20 จุด ในการเปิดซื้อขายประเดิมวันแรกของศักราชใหม่ปี 2568

    หุ้น DELTA จึงเป็นตัวการสำคัญ และทำให้ภาพตลาดหุ้นโดยรวมดูเหมือนเกิดความผันผวนรุนแรง ทั้งที่หุ้นส่วนใหญ่ไม่ได้ปรับตัวลง

    หลายปีแล้วที่หุ้น DELTA เป็นตัวการสำคัญที่บิดเบือนภาพการลงทุนในตลาดหุ้น เพราะบางครั้ง ภาพการลงทุนโดยรวมซบเซา แต่หุ้น DELTA ที่ขึ้นแรงเพียงตัวเดียว สามารถดึงดัชนี ฯ ให้เป็นสีเขียวหรือเป็นบวกได้ ทั้งที่หุ้นส่วนใหญ่ในกระดานซื้อขายแดงฉาน

    เมื่อวันที่ 2 มกราคมที่ผ่านมาก็เช่นเดียวกัน หุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้น แต่หุ้น DELTA เพียงตัวเดียว ทำให้ดัชนี ฯ แดงแป๊ด

    ปัญหาราคาหุ้น DELTA ที่เคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างร้อนแรง ตลาดหลักทรัพย์ระบุว่า เป็นผลจากฟรีโฟลท หรือสัดส่วนของผู้ถือหุ้นรายย่อยต่ำ เมื่อมีแรงซื้อแรงขายเข้ามามาก จึงทำให้ราคาปรับตัวขึ้นหรือลงสูง ซึ่งผู้ถือหุ้นรายย่อยของ DELTA มีจำนวน 22,655 ราย สัดส่วนการถือหุ้นรวม 23.08% ของทุนจดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น 8 มีนาคม 2567

    ฟรีโฟลทของ DELTA ไม่ต่ำเสียทีเดียว และไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ที่กำหนดว่า บริษัทจดทะเบียน จะต้องมีผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่ต่ำกว่า150 คน หรือมีสัดส่วนการถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 15% ของทุนจดทะเบียน

    อย่างไรก็ตาม ตัวเลขผู้ถือหุ้นรายย่อยของ DELTA อาจเปลี่ยนแปลง หรือมีจำนวนลดลง เพราะราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมาตลอด อาจทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเทขายหุ้นออกทำกำไร ซึ่งจะต้องรอดูตัวเลขฟรีโฟลท DELTA ล่าสุด หลังปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเดือนมีนาคมนี้

    ค่า พี/อี เรโช DELTA ยังคงสูงปริ๊ดคือประมาณ 82 เท่า ราคาหลักทรัพย์ต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชีอยู่ที่ 23 เท่า ซึ่งถือส่าสูงมาก และแม้ตลาดหลักทรัพย์จะเตือนนักลงทุนให้ระมัดระวังการซื้อขายและใช้มาตรการกำกับการซื้อขายหลายครั้งแล้ว

    แต่ไม่อาจสยบ DELTA ได้

    จะถอด DELTA ออกจากการคำนวณดัชนี ฯ ก็ไม่ได้ เพราะ DELTA ไม่ได้ทำผิดหลักเกณฑ์ใด ถ้ายก DELTA ออกจากการคำนวณดัชนีฯจะกลายเป็นการเลือกปฏิบัติ

    สิ่งที่ตลาดหลักทรัพย์ทำอยู่คือ การออกดัชนี ฯ ใหม่ SET50 FF โดยเป็นดัชนีที่คำนวณจากหุ้นขนาดใหญ่ 50 บริษัทที่มีฟรีโฟลทสูง เพื่อสะท้อนภาพตลาดหุ้นที่ไม่ถูกบิดเบือนจาก DELTA และใช้อ้างอิงผลตอบแทนของนักลงทุนสถาบันหรือกองทุนทั้งในแบะต่างประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567

    แต่ SET50FF ก็ไม่เป็นที่นิยม และไม่รู้ว่า นักลงทุนสถาบันหรือกองทุนต่างๆ นำไปใช้อ้างอิงผลตอบแทนเพียงใด

    เพราะนักลงทุนทั่วโลก ชินกับการอ้างอิงหรือติดตาม SET หรือดัชนีราคาหุ้น ตลาดหลักทรัพย์มาเกือบ 50 ปี

    ความพยายามทำให้นักลงทุนทั้งโลกหันมาอ้างอิง SET50FF อาจต้องล้มเหลว เช่นเดียวกับดัชนี ฯ อีกหลายตัวที่ตลาดหลักทรัพย์สร้างขึ้น แต่แทบไม่มีนักลงทุนใส่ใจ

    DELTA ยังคงทำหน้าที่ เป็นหุ้นตัวป่วนอยู่ต่อไป แต่ยังไม่มีมาตรการที่เด็ดขาดในการสยบหุ้นขนาดยักษ์ตัวนี้

    ฝ่ายบริหารตลาดหลักทรัพย์คงจนปัญญาแล้ว ใครมีทางออกดี ๆ แก้ปัญหาตลาดหุ้นถูกบิดเบือนจากหุ้น DELTA เพียงตัวเดียวได้

    ช่วยสงเคราะห์ แนะนำวิธีแก้ปัญหา DELTA ให้ตลาดหลักทรัพย์ทีเถอะ“
    จับขังคอกหุ้นตัวป่วน..Delta “โดย สุนันท์ ศรีจันทรา ”นักลงทุนพากันเทขายหุ้น DELTA เพราะคาดว่า จะได้รับผลกระทบโดยตรงจาก GLOBAL MINIMUMTAX และต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ทำให้ผลกำไรสุทธิลดลง DELTA เป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้น มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดหรือมาร์เก็ตแคป 1.78 ล้านล้านบาท คำนวณจ่ากราคาปิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2568 โดยลดลงจากจุดปิดวันก่อนหน้าหรือวันที่ 30 ธันวาคม ที่มีมาร์เก็ตแคป 1.90 ล้านบาท เมื่อเทียบกับมูลค่าหลักทรัพย์ตลาดรวมจำนวน 17.24 ล้านบาท มาร์เก็ตแคป DELTA จะมีสัดส่วน 9.68% ของมาร์เก็ตแคปรวมของตลาด และมีน้ำหนักในการคำนวณดัชนีฯ 134 จุด การขึ้นลงของหุ้น DELTA ทุก 1 บาท จะมีผลต่อการขึ้นลงของดัชนีประมาณ 1 จุด ดัชนี ฯ ที่ดิ่งลงกว่า 20 จุด ในการเปิดซื้อขายประเดิมวันแรกของศักราชใหม่ปี 2568 หุ้น DELTA จึงเป็นตัวการสำคัญ และทำให้ภาพตลาดหุ้นโดยรวมดูเหมือนเกิดความผันผวนรุนแรง ทั้งที่หุ้นส่วนใหญ่ไม่ได้ปรับตัวลง หลายปีแล้วที่หุ้น DELTA เป็นตัวการสำคัญที่บิดเบือนภาพการลงทุนในตลาดหุ้น เพราะบางครั้ง ภาพการลงทุนโดยรวมซบเซา แต่หุ้น DELTA ที่ขึ้นแรงเพียงตัวเดียว สามารถดึงดัชนี ฯ ให้เป็นสีเขียวหรือเป็นบวกได้ ทั้งที่หุ้นส่วนใหญ่ในกระดานซื้อขายแดงฉาน เมื่อวันที่ 2 มกราคมที่ผ่านมาก็เช่นเดียวกัน หุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้น แต่หุ้น DELTA เพียงตัวเดียว ทำให้ดัชนี ฯ แดงแป๊ด ปัญหาราคาหุ้น DELTA ที่เคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างร้อนแรง ตลาดหลักทรัพย์ระบุว่า เป็นผลจากฟรีโฟลท หรือสัดส่วนของผู้ถือหุ้นรายย่อยต่ำ เมื่อมีแรงซื้อแรงขายเข้ามามาก จึงทำให้ราคาปรับตัวขึ้นหรือลงสูง ซึ่งผู้ถือหุ้นรายย่อยของ DELTA มีจำนวน 22,655 ราย สัดส่วนการถือหุ้นรวม 23.08% ของทุนจดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น 8 มีนาคม 2567 ฟรีโฟลทของ DELTA ไม่ต่ำเสียทีเดียว และไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ที่กำหนดว่า บริษัทจดทะเบียน จะต้องมีผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่ต่ำกว่า150 คน หรือมีสัดส่วนการถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 15% ของทุนจดทะเบียน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขผู้ถือหุ้นรายย่อยของ DELTA อาจเปลี่ยนแปลง หรือมีจำนวนลดลง เพราะราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมาตลอด อาจทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเทขายหุ้นออกทำกำไร ซึ่งจะต้องรอดูตัวเลขฟรีโฟลท DELTA ล่าสุด หลังปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเดือนมีนาคมนี้ ค่า พี/อี เรโช DELTA ยังคงสูงปริ๊ดคือประมาณ 82 เท่า ราคาหลักทรัพย์ต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชีอยู่ที่ 23 เท่า ซึ่งถือส่าสูงมาก และแม้ตลาดหลักทรัพย์จะเตือนนักลงทุนให้ระมัดระวังการซื้อขายและใช้มาตรการกำกับการซื้อขายหลายครั้งแล้ว แต่ไม่อาจสยบ DELTA ได้ จะถอด DELTA ออกจากการคำนวณดัชนี ฯ ก็ไม่ได้ เพราะ DELTA ไม่ได้ทำผิดหลักเกณฑ์ใด ถ้ายก DELTA ออกจากการคำนวณดัชนีฯจะกลายเป็นการเลือกปฏิบัติ สิ่งที่ตลาดหลักทรัพย์ทำอยู่คือ การออกดัชนี ฯ ใหม่ SET50 FF โดยเป็นดัชนีที่คำนวณจากหุ้นขนาดใหญ่ 50 บริษัทที่มีฟรีโฟลทสูง เพื่อสะท้อนภาพตลาดหุ้นที่ไม่ถูกบิดเบือนจาก DELTA และใช้อ้างอิงผลตอบแทนของนักลงทุนสถาบันหรือกองทุนทั้งในแบะต่างประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 แต่ SET50FF ก็ไม่เป็นที่นิยม และไม่รู้ว่า นักลงทุนสถาบันหรือกองทุนต่างๆ นำไปใช้อ้างอิงผลตอบแทนเพียงใด เพราะนักลงทุนทั่วโลก ชินกับการอ้างอิงหรือติดตาม SET หรือดัชนีราคาหุ้น ตลาดหลักทรัพย์มาเกือบ 50 ปี ความพยายามทำให้นักลงทุนทั้งโลกหันมาอ้างอิง SET50FF อาจต้องล้มเหลว เช่นเดียวกับดัชนี ฯ อีกหลายตัวที่ตลาดหลักทรัพย์สร้างขึ้น แต่แทบไม่มีนักลงทุนใส่ใจ DELTA ยังคงทำหน้าที่ เป็นหุ้นตัวป่วนอยู่ต่อไป แต่ยังไม่มีมาตรการที่เด็ดขาดในการสยบหุ้นขนาดยักษ์ตัวนี้ ฝ่ายบริหารตลาดหลักทรัพย์คงจนปัญญาแล้ว ใครมีทางออกดี ๆ แก้ปัญหาตลาดหุ้นถูกบิดเบือนจากหุ้น DELTA เพียงตัวเดียวได้ ช่วยสงเคราะห์ แนะนำวิธีแก้ปัญหา DELTA ให้ตลาดหลักทรัพย์ทีเถอะ“
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 306 มุมมอง 0 รีวิว
  • ด้วยอัตราการเกิดที่ต่ำติดอันดับที่ 3 ของโลก ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอัตราการเกิดสูงขึ้นต่อเนื่อง จะส่งผลต่ออนาคตของประเทศไทยอย่างไร?

    เมื่อเร็วๆ นี้ ผมดูคลิปหนึ่งเรื่องความถดถอยของเกาหลีใต้ ตอนหนึ่งเอ่ยถึงอัตราการเกิดที่ต่ำมาก ซึ่งถ้าปล่อยไปแบบนี้เกาหลีใต้จะ "สิ้นชาติ" ภายในปี 2100 เพราะประชากร 70% จะหายไป

    แม้ว่าเกาหลีใต้จะทุ่มเงิน 2.7 แสนล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้นอัตราการเกิด แต่ก็ไม่ได้ผล ซึ่งดูท่าว่าการใช้เงินจะไม่ได้ผลในประเทศอื่นด้วย เช่น ในญี่ปุ่น และสิงคโปร์

    เช่น การให้เงินอุดหนุนคนมีลูก หรือเพิ่มวันลาคลอดทั้งชายทั้งหญิงไปจนถึงรัฐบาลช่วยจับคู่ให้ประชากร ทั้งหมดดูจะล้มเหลว

    มีการเทียบสถานการณ์นี้กับสหภาพโซเวียตซึ่งในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 1960 จากอัตราการเกิดสูงถึง 24.9 คน/ประชากร 1,000 คน ในปี 1966 มาอยู่ที่ 17.4/ประชากร 1,000 คน

    ปัญหาเกิดจากอะไร? เกิดจากการพัฒนามากเกินไปแบบ "กระจุกตัว"

    จากเอกสารลับของ CIA (ตอนนี้ไม่ลับแล้ว) บอกว่า การที่อัตราการเกิดในโซเวียตต่ำเป็นเพราะการขยายตัวของเมือง (Urbanization) และการเปลี่ยนจากสังคมเกษตรเป็นอุตสาหกรรม

    ช่วงหนึ่งโซเวียตทำลายภาคเกษตรอย่างย่อยยับด้วยระบบคอมมูน ซึ่งทำให้การเกษตรล้มหลว จนเกษตรกรต้องอพยพเข้ามาอยูในเมืองและเป็นแรงงานโรงงาน ชีวิตคนเมืองแบบนี้ไม่เอื้อต่อการทำลูกมากๆ ต่างจากสังคมเกษตร

    ในเวลาเดียวกัน เมื่อคนแห่เข้ามาอยู่ในเมืองมากๆ ที่อาศัยในเมืองก็ไม่พอ ทำให้ยิ่งไม่เหมาะกับการมีลูกในแฟลตเล็กๆ ที่อยู่แออัดเหมือนรังหนู

    เมื่อคนมากขึ้นในเมือง แต่ภาคเกษตรล้ม ทำให้ของยิ่งแพง เศรษฐกิจแบบนี้คนจึงไม่อยากมีลูก

    ในเวลาเดียวกัน โซเวียตปลดปล่อยสิทธิสตรี ทำให้ผู้หญิงไม่ต้องผูกมัดกับการมีลูกเพื่อมีตัวตนในสังคม อีกทั้งยังให้สิทธิในการทำแท้งเสรี เมื่อผู้หญิงทำงานเท่าผู้ชาย ก็ไม่อยากจะมีลูกอีก

    ในกรณีของโซเวียต CIA วิเคราะห์ว่าอัตราการเกิดต่ำในปี 1960 ลงมาเพราะผู้หญิงออกมาทำงานและเรียนมากขึ้นถึง 90% แต่เมื่อดูจากสังคมญี่ปุ่นที่ผู้หญิงอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนมากกว่า แต่แล้วก็ยังมีอัตราเกิดต่ำที่สุดในโลก บางทีเรื่องนี้อาจไม่เกี่ยวกับผู้หญิงเลย

    และต่อมาอัตราเกิดของโซเวียตยิ่งต่ำกว่าสหรัฐฯ เสียอีก ซึ่งถือว่าเป็นปัญหามากในช่วงที่ทั้งสองประเทศทำสงครามเย็น หากแรงงานลดลง จะแข่งเรื่องการพัฒนาสร้างความก้าวหน้าไม่ได้ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการทำสงครามจริงๆ

    อีกปัญหาก็คือ สหภาพโซเวียตประกอบด้วยสาธารณรัฐและชนชาติต่างๆ มากมาย ในขณะที่ประชากรชาวรัสเซียลดลงฮวบฮาบ ประชากรชนชาติอื่นยิ่งเพิ่มสูงขึ้น และในที่สุดทำนายกันว่าภายในทศวรรษ 2000 ชาวรัสเซียจะไม่ใช่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ

    ถามว่ารัสเซียนจะกลืนชนชาติอื่นมาเป็นตน (Russification) ได้ไหม? ตอบว่าทำไม่สำเร็จ เพราะกลุ่มที่เกิดมากกว่าไม่ยอมถูกลืนเป็นรัสเซียนและถืออัตลักษณ์ของตนมากกว่า

    ในประเด็นนี้ ผมเคยเสนอว่าวิธีการแก้ปัญหาอัตราการเกิดต่ำของไทย อาจแก้ด้วยการเปิดรับผู้อพยพที่มีทักษะเข้ามามากๆ แล้ว ทำให้พวกเขาเป็นไทย (Thaification) ด้วยการสร้างชาตินิยมไทยให้เข้มแข็ง เพื่อให้ "คนนอก" รู้สึกสำนึกว่าเป็น "คนใน" เช่นที่ไทยเคยทำ Thaification กับประชากรเชื้อชาติจีนสำเร็จมาแล้ว

    แต่เมื่อเห็นปัญหาของโซเวียตผมชักไม่แน่ใจว่าการเอาคนนอกเข้ามาเป็น "คนไทยใหม่" แทน "คนไทยเดิม" ที่เกิดน้อยลงเป็นไอเดียที่จะเวิร์กหรือไม่? ส่วนหนึ่งการทำลาย "ความภูมิใจในความเป็นไทย" ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้คนไทยบางคนก็ไม่อยากเป็นไทย แล้วคนนอกจะยังอยากเป็นไทยหรือ?

    ตัวอย่างเช่น ที่สหรัฐฯ อัตราการเกิดนับตั้งแต่ 1970 เป็นต้นมา ส่วนใหญ่มากจากแม่ที่เป็นผู้อพยพ ส่วนคนท้องถิ่นมีลูกน้อยลง แต่ปัญหาผู้อพยพในสหรัฐ ตอนนี้กำลังทำให้ประเทศแตกแยกอย่างหนัก

    บางทีการแก้ปัญหาหาอาจต้องเน้นการสร้างเด็กเกิดใหม่โดยคนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเป็นหลัก หากปัญหาของการไม่มีลูกอยู่ที่การกระจุกตัวของสังคมเมือง รัฐบาลก็ต้องกระจายโอกาสให้เมืองชนบทมากขึ้น

    คนทำเกษตรควรจะมีสวัสดิภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะพวกเขาอาจเป็นความหวังของการมีลูกมากว่าคนเมือง ดังนั้น แทนที่จะหนุนคนหนุ่มสาวในเมืองให้มีลูก รัฐควรเน้นที่นอกเมืองแทน

    กรณีของสหภาพโซเวียต CIA วิเคราะห์ว่า "เพราะปัญหาเมืองใหญ่ แต่บ้านเล็ก" นั่นคือ แม้เมืองจะโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะคนบ้านนอกเข้ามาเยอะ แต่การมีบ้านในเมืองเป็นเรื่องยาก ในปี 1967 อัตราพื้นที่อยู่อาศัยต่อหัวของโซเวียตอยู่ที่แค่ 7 ตร.ม. เท่านั้น ขนาดคนเดียวยังไม่รอด แล้วจะไปมีลูกได้อย่างไร และในทศวรรษที่ 1950 มีการสำรวจพบว่า 14% ที่ไม่มีลูกในเมืองแล้วเลือกทำแท้ง เพราะบ้านไม่พออยู่

    นี่ขนาดโซเวียตเป็นรัฐสังคมนิยมที่บ้านไม่ใช่ของแพง (แต่สร้างยาก) แล้วยังมีพื้นที่ประเทศใหญ่ที่สุดในโลก

    ดูเหมือนที่อยู่แพงและหายากและเล็กจิ๋ว จะเป็นปัญหาของคนจีน เกาหลี สิงคโปร์ และญี่ปุ่นด้วย เพระาคนเยอะแต่ดินแดนมีจำกัด

    แต่สหรัฐฯ ในช่วง 1970 อัตรการเกิดสูงมาก เนื่องจากเป็นยุคเศรษฐกิจบูม บ้านราคาไม่แพง และภาคเกษตรไม่ตกต่ำและยืนเคียงข้างภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ดูเหมือนการพัฒนาจะไม่กระจุกในเมือง เพราะมีเขตรอบนอกเมือง และชนบทที่เข้าถึงการปัจจัยในการดำรงชีพได้พอๆ กัน

    ในกรณีของสหรัฐฯ ปี 1970 เป็นต้นมามีปัญหาหนึ่งคล้ายกับไทย คือ "ท้องนอกสมรสกันเยอะ" แต่เพราะทำแท้งยาก ลูกก็เลยเต็มเมือง แต่เมื่อลูกแบบนี้เยอะก็ไม่เป็นปัญหา เพราะเข้าถึงการศึกษาได้ถ้วนหน้า

    อัตราการเกิดของสหรัฐฯ จะคึกมาถึงทศวรรษที่ 1990 เลยด้วยซ้ำตามสภาวะเศรษฐกิจ หลังจากนั้นก็ลดลงเพราะ "จักรวรรดิเศรษฐกิจเริ่มพังทลาย" และสังคมแตกแยกสูง จนตั้งแง่กับผู้อพยพอย่างหนัก

    ดังนั้นเมื่อมองมาที่ไทย ถ้ารัฐบาลอยากให้มีลูก ไม่ควรจะแจกเงินเท่านั้นเพราจะตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ควรจะไปแก้ที่ปัจจัยสี่แห่งการมีลูก คือ บ้านต้องมีกันได้ง่ายๆ (บ้านไม่แพง) สาธารณสุขต้องครบครัน (มีลูกต้องไม่แพง) คนชนทบทต้องไม่หนีเข้ามาในเมือง (มีงานและโอกาสทั่วถึง) และควรให้สวัสดิการผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย (เช่นวันหยุดเพิ่มเติมสำหรับคนที่ตั้งใจหรือกำลังมีลูก)

    ถ้าปัจจัยครบ รัฐบาลไม่ต้องเสียเวลาบังคับให้ใครมีลูก เดี๋ยวเขาจะมีกันเอง

    หรือถ้ามีกระตุ้นให้มีลูกกันเองไม่ได้ บางทีอาจจะต้องอาศัยการรับผู้อพบพเข้ามาแล้วทำให้เป็นคนไทยโดยสมบูรณ์ อย่างในกรณีของสหรัฐมีผู้อพยพจากประเทศที่มีอัตราการเจริญพันธุ์สูงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเข้ามาอยู่แล้วก็ถือเป็น "อเมริกัน" ไม่ใช่คนชาติเดิมอีก บางทีเราต้องดูตัวอย่างการกลืน (Assimilation) แบบสหรัฐฯ ด้วย

    ปัจจัยสี่แห่งการมีลูกนี้ผมนึกเอาเอง ผมคิดว่าหลายคนก็คงมีไอเดียอื่นๆ ด้วย และที่เล่ามานั้นไม่ใช่ถูกหรือผิด เพียงแค่อยากจะแบ่งปันวิธีแก้ปัญหาของชาติเท่านั้น ไม่ได้อยากจะอวดดีอวดเก่งอะไร



    Kornkit Disthan
    ด้วยอัตราการเกิดที่ต่ำติดอันดับที่ 3 ของโลก ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอัตราการเกิดสูงขึ้นต่อเนื่อง จะส่งผลต่ออนาคตของประเทศไทยอย่างไร? เมื่อเร็วๆ นี้ ผมดูคลิปหนึ่งเรื่องความถดถอยของเกาหลีใต้ ตอนหนึ่งเอ่ยถึงอัตราการเกิดที่ต่ำมาก ซึ่งถ้าปล่อยไปแบบนี้เกาหลีใต้จะ "สิ้นชาติ" ภายในปี 2100 เพราะประชากร 70% จะหายไป แม้ว่าเกาหลีใต้จะทุ่มเงิน 2.7 แสนล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้นอัตราการเกิด แต่ก็ไม่ได้ผล ซึ่งดูท่าว่าการใช้เงินจะไม่ได้ผลในประเทศอื่นด้วย เช่น ในญี่ปุ่น และสิงคโปร์ เช่น การให้เงินอุดหนุนคนมีลูก หรือเพิ่มวันลาคลอดทั้งชายทั้งหญิงไปจนถึงรัฐบาลช่วยจับคู่ให้ประชากร ทั้งหมดดูจะล้มเหลว มีการเทียบสถานการณ์นี้กับสหภาพโซเวียตซึ่งในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 1960 จากอัตราการเกิดสูงถึง 24.9 คน/ประชากร 1,000 คน ในปี 1966 มาอยู่ที่ 17.4/ประชากร 1,000 คน ปัญหาเกิดจากอะไร? เกิดจากการพัฒนามากเกินไปแบบ "กระจุกตัว" จากเอกสารลับของ CIA (ตอนนี้ไม่ลับแล้ว) บอกว่า การที่อัตราการเกิดในโซเวียตต่ำเป็นเพราะการขยายตัวของเมือง (Urbanization) และการเปลี่ยนจากสังคมเกษตรเป็นอุตสาหกรรม ช่วงหนึ่งโซเวียตทำลายภาคเกษตรอย่างย่อยยับด้วยระบบคอมมูน ซึ่งทำให้การเกษตรล้มหลว จนเกษตรกรต้องอพยพเข้ามาอยูในเมืองและเป็นแรงงานโรงงาน ชีวิตคนเมืองแบบนี้ไม่เอื้อต่อการทำลูกมากๆ ต่างจากสังคมเกษตร ในเวลาเดียวกัน เมื่อคนแห่เข้ามาอยู่ในเมืองมากๆ ที่อาศัยในเมืองก็ไม่พอ ทำให้ยิ่งไม่เหมาะกับการมีลูกในแฟลตเล็กๆ ที่อยู่แออัดเหมือนรังหนู เมื่อคนมากขึ้นในเมือง แต่ภาคเกษตรล้ม ทำให้ของยิ่งแพง เศรษฐกิจแบบนี้คนจึงไม่อยากมีลูก ในเวลาเดียวกัน โซเวียตปลดปล่อยสิทธิสตรี ทำให้ผู้หญิงไม่ต้องผูกมัดกับการมีลูกเพื่อมีตัวตนในสังคม อีกทั้งยังให้สิทธิในการทำแท้งเสรี เมื่อผู้หญิงทำงานเท่าผู้ชาย ก็ไม่อยากจะมีลูกอีก ในกรณีของโซเวียต CIA วิเคราะห์ว่าอัตราการเกิดต่ำในปี 1960 ลงมาเพราะผู้หญิงออกมาทำงานและเรียนมากขึ้นถึง 90% แต่เมื่อดูจากสังคมญี่ปุ่นที่ผู้หญิงอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนมากกว่า แต่แล้วก็ยังมีอัตราเกิดต่ำที่สุดในโลก บางทีเรื่องนี้อาจไม่เกี่ยวกับผู้หญิงเลย และต่อมาอัตราเกิดของโซเวียตยิ่งต่ำกว่าสหรัฐฯ เสียอีก ซึ่งถือว่าเป็นปัญหามากในช่วงที่ทั้งสองประเทศทำสงครามเย็น หากแรงงานลดลง จะแข่งเรื่องการพัฒนาสร้างความก้าวหน้าไม่ได้ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการทำสงครามจริงๆ อีกปัญหาก็คือ สหภาพโซเวียตประกอบด้วยสาธารณรัฐและชนชาติต่างๆ มากมาย ในขณะที่ประชากรชาวรัสเซียลดลงฮวบฮาบ ประชากรชนชาติอื่นยิ่งเพิ่มสูงขึ้น และในที่สุดทำนายกันว่าภายในทศวรรษ 2000 ชาวรัสเซียจะไม่ใช่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ถามว่ารัสเซียนจะกลืนชนชาติอื่นมาเป็นตน (Russification) ได้ไหม? ตอบว่าทำไม่สำเร็จ เพราะกลุ่มที่เกิดมากกว่าไม่ยอมถูกลืนเป็นรัสเซียนและถืออัตลักษณ์ของตนมากกว่า ในประเด็นนี้ ผมเคยเสนอว่าวิธีการแก้ปัญหาอัตราการเกิดต่ำของไทย อาจแก้ด้วยการเปิดรับผู้อพยพที่มีทักษะเข้ามามากๆ แล้ว ทำให้พวกเขาเป็นไทย (Thaification) ด้วยการสร้างชาตินิยมไทยให้เข้มแข็ง เพื่อให้ "คนนอก" รู้สึกสำนึกว่าเป็น "คนใน" เช่นที่ไทยเคยทำ Thaification กับประชากรเชื้อชาติจีนสำเร็จมาแล้ว แต่เมื่อเห็นปัญหาของโซเวียตผมชักไม่แน่ใจว่าการเอาคนนอกเข้ามาเป็น "คนไทยใหม่" แทน "คนไทยเดิม" ที่เกิดน้อยลงเป็นไอเดียที่จะเวิร์กหรือไม่? ส่วนหนึ่งการทำลาย "ความภูมิใจในความเป็นไทย" ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้คนไทยบางคนก็ไม่อยากเป็นไทย แล้วคนนอกจะยังอยากเป็นไทยหรือ? ตัวอย่างเช่น ที่สหรัฐฯ อัตราการเกิดนับตั้งแต่ 1970 เป็นต้นมา ส่วนใหญ่มากจากแม่ที่เป็นผู้อพยพ ส่วนคนท้องถิ่นมีลูกน้อยลง แต่ปัญหาผู้อพยพในสหรัฐ ตอนนี้กำลังทำให้ประเทศแตกแยกอย่างหนัก บางทีการแก้ปัญหาหาอาจต้องเน้นการสร้างเด็กเกิดใหม่โดยคนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเป็นหลัก หากปัญหาของการไม่มีลูกอยู่ที่การกระจุกตัวของสังคมเมือง รัฐบาลก็ต้องกระจายโอกาสให้เมืองชนบทมากขึ้น คนทำเกษตรควรจะมีสวัสดิภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะพวกเขาอาจเป็นความหวังของการมีลูกมากว่าคนเมือง ดังนั้น แทนที่จะหนุนคนหนุ่มสาวในเมืองให้มีลูก รัฐควรเน้นที่นอกเมืองแทน กรณีของสหภาพโซเวียต CIA วิเคราะห์ว่า "เพราะปัญหาเมืองใหญ่ แต่บ้านเล็ก" นั่นคือ แม้เมืองจะโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะคนบ้านนอกเข้ามาเยอะ แต่การมีบ้านในเมืองเป็นเรื่องยาก ในปี 1967 อัตราพื้นที่อยู่อาศัยต่อหัวของโซเวียตอยู่ที่แค่ 7 ตร.ม. เท่านั้น ขนาดคนเดียวยังไม่รอด แล้วจะไปมีลูกได้อย่างไร และในทศวรรษที่ 1950 มีการสำรวจพบว่า 14% ที่ไม่มีลูกในเมืองแล้วเลือกทำแท้ง เพราะบ้านไม่พออยู่ นี่ขนาดโซเวียตเป็นรัฐสังคมนิยมที่บ้านไม่ใช่ของแพง (แต่สร้างยาก) แล้วยังมีพื้นที่ประเทศใหญ่ที่สุดในโลก ดูเหมือนที่อยู่แพงและหายากและเล็กจิ๋ว จะเป็นปัญหาของคนจีน เกาหลี สิงคโปร์ และญี่ปุ่นด้วย เพระาคนเยอะแต่ดินแดนมีจำกัด แต่สหรัฐฯ ในช่วง 1970 อัตรการเกิดสูงมาก เนื่องจากเป็นยุคเศรษฐกิจบูม บ้านราคาไม่แพง และภาคเกษตรไม่ตกต่ำและยืนเคียงข้างภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ดูเหมือนการพัฒนาจะไม่กระจุกในเมือง เพราะมีเขตรอบนอกเมือง และชนบทที่เข้าถึงการปัจจัยในการดำรงชีพได้พอๆ กัน ในกรณีของสหรัฐฯ ปี 1970 เป็นต้นมามีปัญหาหนึ่งคล้ายกับไทย คือ "ท้องนอกสมรสกันเยอะ" แต่เพราะทำแท้งยาก ลูกก็เลยเต็มเมือง แต่เมื่อลูกแบบนี้เยอะก็ไม่เป็นปัญหา เพราะเข้าถึงการศึกษาได้ถ้วนหน้า อัตราการเกิดของสหรัฐฯ จะคึกมาถึงทศวรรษที่ 1990 เลยด้วยซ้ำตามสภาวะเศรษฐกิจ หลังจากนั้นก็ลดลงเพราะ "จักรวรรดิเศรษฐกิจเริ่มพังทลาย" และสังคมแตกแยกสูง จนตั้งแง่กับผู้อพยพอย่างหนัก ดังนั้นเมื่อมองมาที่ไทย ถ้ารัฐบาลอยากให้มีลูก ไม่ควรจะแจกเงินเท่านั้นเพราจะตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ควรจะไปแก้ที่ปัจจัยสี่แห่งการมีลูก คือ บ้านต้องมีกันได้ง่ายๆ (บ้านไม่แพง) สาธารณสุขต้องครบครัน (มีลูกต้องไม่แพง) คนชนทบทต้องไม่หนีเข้ามาในเมือง (มีงานและโอกาสทั่วถึง) และควรให้สวัสดิการผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย (เช่นวันหยุดเพิ่มเติมสำหรับคนที่ตั้งใจหรือกำลังมีลูก) ถ้าปัจจัยครบ รัฐบาลไม่ต้องเสียเวลาบังคับให้ใครมีลูก เดี๋ยวเขาจะมีกันเอง หรือถ้ามีกระตุ้นให้มีลูกกันเองไม่ได้ บางทีอาจจะต้องอาศัยการรับผู้อพบพเข้ามาแล้วทำให้เป็นคนไทยโดยสมบูรณ์ อย่างในกรณีของสหรัฐมีผู้อพยพจากประเทศที่มีอัตราการเจริญพันธุ์สูงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเข้ามาอยู่แล้วก็ถือเป็น "อเมริกัน" ไม่ใช่คนชาติเดิมอีก บางทีเราต้องดูตัวอย่างการกลืน (Assimilation) แบบสหรัฐฯ ด้วย ปัจจัยสี่แห่งการมีลูกนี้ผมนึกเอาเอง ผมคิดว่าหลายคนก็คงมีไอเดียอื่นๆ ด้วย และที่เล่ามานั้นไม่ใช่ถูกหรือผิด เพียงแค่อยากจะแบ่งปันวิธีแก้ปัญหาของชาติเท่านั้น ไม่ได้อยากจะอวดดีอวดเก่งอะไร Kornkit Disthan
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 332 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ไอซ์ รักชนก" แขวะแรง "เดียร์ ขัตติยา" เข้าใจ "นายกฯ อิ๊งค์" เป็นพิเศษ เพราะอาศัยบารมีบุพการีเหมือนกัน เผยประชาชนอยากเห็นแถลงผลงาน ไม่ได้หวังให้มาฝึกงาน หรือฝากงานรัฐมนตรี ที่คุยใน ครม.ก็ได้ แนะหากเวลาจำกัดจนแถลงรายละเอียดไม่ครบ ให้มาตอบกระทู้ในสภา พิสูจน์ว่าเป็นนายกฯ ตัวจริง

    วันที่ (13 ธ.ค.67) น.ส.รักชนก ศรีนอก สส.กทม. พรรคประชาชน ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "รักชนก ศรีนอก - Rukchanok Srinork" ระบุว่า...ต้องถามก่อนว่าตกลงเป็น “แถลงนโยบาย” หรือ “สรุปผลงาน” เพราะสิ่งที่ประชาชนคาดหวังกับการแถลงสรุปผลงานวันนี้ คือ “ผลงาน” ทั้งนโยบายที่หาเสียงไว้กับประชาชนตอนเลือกตั้งและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น ไม่ได้หวังจะเห็นนายกฯ มา “ฝึกงาน” และ “ฝากงาน” ให้รัฐมนตรีไปศึกษาและทำเรื่องต่างๆ

    ถ้าจะมอบหมายงานกัน ไม่ต้องเสียเวลา ไม่ต้องเสียงบประมาณ จัดแจงสถานที่ หอบสังขารกันมาถึงตรงนี้ คุยในที่ประชุม ครม. เอาก็คงได้ และไม่อยากให้ลืมว่า รัฐบาลของพรรคเพื่อไทยชุดนี้ รวมถึงรัฐมนตรีกว่าครึ่งอยู่ในตำแหน่งมา 1 ปี 4 เดือนแล้ว ไม่ใช่ 90 วันค่ะ

    น่าเสียดายที่มันกลายเป็นการ “เล่าสิ่งที่กะว่าจะทำปีหน้า” ซึ่งผิดฝาผิดตัวแบบนี้ ทั้งที่ข้างตัวนายกฯ ก็มีผู้มากประสบการณ์หลายคนคอยอนุบาลให้ แต่เพราะอะไรกัน เพราะรัฐบาลไม่มีผลงานหรือความคืบหน้าในการดำเนินนโยบายที่หาเสียงเอาไว้หรือไม่มีปัญญาหาวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น เช่น เรื่องรถนักเรียนไฟไหม้ นายกใช้เป็นคลิปเปิดงาน สรุปว่ามาตรการต่างๆ คืบหน้าไปถึงไหน ได้แก้ทั้งระบบหรือยัง? หรือว่าแค่มีรูปไปหน้างานก็พอแล้ว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000119742

    #MGROnline #ไอซ์รักชนก #เดียร์ขัตติยา #นายกฯ #อิ๊งค์
    "ไอซ์ รักชนก" แขวะแรง "เดียร์ ขัตติยา" เข้าใจ "นายกฯ อิ๊งค์" เป็นพิเศษ เพราะอาศัยบารมีบุพการีเหมือนกัน เผยประชาชนอยากเห็นแถลงผลงาน ไม่ได้หวังให้มาฝึกงาน หรือฝากงานรัฐมนตรี ที่คุยใน ครม.ก็ได้ แนะหากเวลาจำกัดจนแถลงรายละเอียดไม่ครบ ให้มาตอบกระทู้ในสภา พิสูจน์ว่าเป็นนายกฯ ตัวจริง • วันที่ (13 ธ.ค.67) น.ส.รักชนก ศรีนอก สส.กทม. พรรคประชาชน ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "รักชนก ศรีนอก - Rukchanok Srinork" ระบุว่า...ต้องถามก่อนว่าตกลงเป็น “แถลงนโยบาย” หรือ “สรุปผลงาน” เพราะสิ่งที่ประชาชนคาดหวังกับการแถลงสรุปผลงานวันนี้ คือ “ผลงาน” ทั้งนโยบายที่หาเสียงไว้กับประชาชนตอนเลือกตั้งและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น ไม่ได้หวังจะเห็นนายกฯ มา “ฝึกงาน” และ “ฝากงาน” ให้รัฐมนตรีไปศึกษาและทำเรื่องต่างๆ • ถ้าจะมอบหมายงานกัน ไม่ต้องเสียเวลา ไม่ต้องเสียงบประมาณ จัดแจงสถานที่ หอบสังขารกันมาถึงตรงนี้ คุยในที่ประชุม ครม. เอาก็คงได้ และไม่อยากให้ลืมว่า รัฐบาลของพรรคเพื่อไทยชุดนี้ รวมถึงรัฐมนตรีกว่าครึ่งอยู่ในตำแหน่งมา 1 ปี 4 เดือนแล้ว ไม่ใช่ 90 วันค่ะ • น่าเสียดายที่มันกลายเป็นการ “เล่าสิ่งที่กะว่าจะทำปีหน้า” ซึ่งผิดฝาผิดตัวแบบนี้ ทั้งที่ข้างตัวนายกฯ ก็มีผู้มากประสบการณ์หลายคนคอยอนุบาลให้ แต่เพราะอะไรกัน เพราะรัฐบาลไม่มีผลงานหรือความคืบหน้าในการดำเนินนโยบายที่หาเสียงเอาไว้หรือไม่มีปัญญาหาวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น เช่น เรื่องรถนักเรียนไฟไหม้ นายกใช้เป็นคลิปเปิดงาน สรุปว่ามาตรการต่างๆ คืบหน้าไปถึงไหน ได้แก้ทั้งระบบหรือยัง? หรือว่าแค่มีรูปไปหน้างานก็พอแล้ว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9670000119742 • #MGROnline #ไอซ์รักชนก #เดียร์ขัตติยา #นายกฯ #อิ๊งค์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 325 มุมมอง 0 รีวิว
  • ที่ประชุมตามข้อตกลงอัสตานาซึ่งจัดขึ้นในโดฮา ประเทศกาตาร์ เรียกร้องให้ซีเรียเข้าสู่การเจรจาระหว่างรัฐบาลซีเรียและกลุ่มฝ่ายค้านที่ถูกต้องตามกฎหมาย

    รมว.ต่างประเทศอิหร่าน Araghchi กล่าวว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซีย และตุรกี ในช่วงท้ายของการประชุม นาย Pederson ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเข้าร่วมด้วย และผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่าความขัดแย้งควรยุติลงทันที บูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของซีเรียควรได้รับการเคารพ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเริ่มการเจรจาทางการเมืองระหว่างรัฐบาลซีเรียและกลุ่มฝ่ายต่อต้าน "ที่ถูกต้องตามกฎหมาย" นี่คือข้อเรียกร้องของการประชุม และมีการตัดสินใจว่าเราควรแจ้งให้กับรัฐบาลซีเรียรับทราบในเรื่องนี้
    .
    ทางด้าน เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย กล่าวว่า:
    - เราเรียกร้องให้เริ่มการเจรจาระหว่างรัฐบาลซีเรียและฝ่ายต่อต้าน กลุ่มก่อการร้าย HTS ไม่มีสิทธิ์เข้าควบคุมซีเรีย การปล่อยให้กลุ่มก่อการร้ายควบคุมดินแดนซีเรียเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เราเน้นย้ำถึงความสามัคคีของดินแดนซีเรียและความจำเป็นเร่งด่วนในการยุติการสู้รบ

    - เราขอเน้นย้ำถึงอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของซีเรียอีกครั้ง ซึ่งเราได้ตกลงกับอิหร่านและตุรกีในการแสวงหาความมั่นคงและเสถียรภาพ

    - วันนี้กลุ่มก่อการร้ายฮายัต ตาห์รีร อัลชาม (HTS) ในซีเรียยังคงสถานะเป็น “กลุ่มก่อการร้าย”

    - วิธีแก้ปัญหาวิกฤตซีเรียอย่างยั่งยืนต้องรวมถึงการขจัดการก่อการร้ายทุกรูปแบบและการถอนกำลังจากต่างประเทศที่ยึดครองดินแดนซีเรียโดยไม่ได้รับความยินยอม

    - ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในปาเลสไตน์และซีเรียเกิดจากนโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งพยายามที่จะรักษาอำนาจของตนเองเหนือดินแดนต่อไป

    - เราสนับสนุนสิทธิอธิปไตยของซีเรียอย่างเต็มที่ และคัดค้านการแทรกแซงจากภายนอกใดๆ ที่บั่นทอนเสถียรภาพหรือบูรณภาพแห่งดินแดนของซีเรีย
    ที่ประชุมตามข้อตกลงอัสตานาซึ่งจัดขึ้นในโดฮา ประเทศกาตาร์ เรียกร้องให้ซีเรียเข้าสู่การเจรจาระหว่างรัฐบาลซีเรียและกลุ่มฝ่ายค้านที่ถูกต้องตามกฎหมาย รมว.ต่างประเทศอิหร่าน Araghchi กล่าวว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซีย และตุรกี ในช่วงท้ายของการประชุม นาย Pederson ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเข้าร่วมด้วย และผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่าความขัดแย้งควรยุติลงทันที บูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของซีเรียควรได้รับการเคารพ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเริ่มการเจรจาทางการเมืองระหว่างรัฐบาลซีเรียและกลุ่มฝ่ายต่อต้าน "ที่ถูกต้องตามกฎหมาย" นี่คือข้อเรียกร้องของการประชุม และมีการตัดสินใจว่าเราควรแจ้งให้กับรัฐบาลซีเรียรับทราบในเรื่องนี้ . ทางด้าน เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย กล่าวว่า: - เราเรียกร้องให้เริ่มการเจรจาระหว่างรัฐบาลซีเรียและฝ่ายต่อต้าน กลุ่มก่อการร้าย HTS ไม่มีสิทธิ์เข้าควบคุมซีเรีย การปล่อยให้กลุ่มก่อการร้ายควบคุมดินแดนซีเรียเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เราเน้นย้ำถึงความสามัคคีของดินแดนซีเรียและความจำเป็นเร่งด่วนในการยุติการสู้รบ - เราขอเน้นย้ำถึงอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของซีเรียอีกครั้ง ซึ่งเราได้ตกลงกับอิหร่านและตุรกีในการแสวงหาความมั่นคงและเสถียรภาพ - วันนี้กลุ่มก่อการร้ายฮายัต ตาห์รีร อัลชาม (HTS) ในซีเรียยังคงสถานะเป็น “กลุ่มก่อการร้าย” - วิธีแก้ปัญหาวิกฤตซีเรียอย่างยั่งยืนต้องรวมถึงการขจัดการก่อการร้ายทุกรูปแบบและการถอนกำลังจากต่างประเทศที่ยึดครองดินแดนซีเรียโดยไม่ได้รับความยินยอม - ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในปาเลสไตน์และซีเรียเกิดจากนโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งพยายามที่จะรักษาอำนาจของตนเองเหนือดินแดนต่อไป - เราสนับสนุนสิทธิอธิปไตยของซีเรียอย่างเต็มที่ และคัดค้านการแทรกแซงจากภายนอกใดๆ ที่บั่นทอนเสถียรภาพหรือบูรณภาพแห่งดินแดนของซีเรีย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 237 มุมมอง 0 รีวิว
  • การพูดคุยเจรจา: วิธีแก้ปัญหาและสร้างความสัมพันธ์ในองค์กรอย่างมีเป้าหมายในองค์กรที่มีความซับซ้อนและประกอบด้วยบุคคลหลากหลายความคิด การเกิดปัญหาและความขัดแย้งเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ การพูดคุยเจรจา (Negotiation and Communication) จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้จะอธิบายถึงความสำคัญของการพูดคุยเจรจา วิธีการนำไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ และผลลัพธ์ที่องค์กรจะได้รับจากการใช้ทักษะนี้ความสำคัญของการพูดคุยเจรจา1. แก้ไขปัญหาอย่างตรงจุดการพูดคุยเจรจาช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับปัญหาได้โดยตรง ซึ่งนำไปสู่การหาข้อตกลงหรือแนวทางแก้ไขที่ทุกฝ่ายยอมรับได้2. ลดความขัดแย้งในองค์กรเมื่อมีการสื่อสารอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา ความเข้าใจผิดและความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือทีมจะลดลง และส่งผลให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่น3. สร้างความเชื่อมั่นและความร่วมมือการพูดคุยอย่างเปิดใจและมีเป้าหมายช่วยเสริมสร้างความไว้วางใจระหว่างบุคคล และกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันวิธีการพูดคุยเจรจาอย่างมีประสิทธิภาพ1. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนเริ่มการพูดคุย ควรกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้ชัดเจน เช่น การหาข้อตกลง การลดความเข้าใจผิด หรือการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น2. ฟังอย่างตั้งใจการฟังเป็นหัวใจสำคัญของการพูดคุยที่มีประสิทธิภาพ การให้โอกาสผู้อื่นได้แสดงความคิดเห็นจะช่วยสร้างความไว้วางใจและเพิ่มความเข้าใจซึ่งกันและกัน3. ใช้ภาษาที่เหมาะสมเลือกใช้คำพูดที่สุภาพ ชัดเจน และเหมาะสมกับบริบท หลีกเลี่ยงการใช้คำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง4. ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ร่วมมุ่งเน้นหาทางออกที่ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์หรือยอมรับได้ ไม่ใช่เพียงแค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง5. ติดตามผลหลังการเจรจาหลังการพูดคุย ควรมีการติดตามผลเพื่อให้มั่นใจว่าข้อตกลงหรือแนวทางแก้ปัญหาถูกนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้องผลลัพธ์จากการพูดคุยเจรจาที่มีเป้าหมายความสัมพันธ์ในองค์กรดีขึ้นเมื่อบุคลากรมีความเข้าใจกันและสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น จะส่งผลให้บรรยากาศในที่ทำงานดีขึ้นประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นการสื่อสารที่ดีช่วยลดอุปสรรคในการทำงาน และส่งเสริมให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการพูดคุยเจรจาอย่างสร้างสรรค์จะเป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมที่สนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือสรุปการพูดคุยเจรจาไม่เพียงแค่เป็นวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นในองค์กร แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรและส่งเสริมความสำเร็จในระยะยาว หากองค์กรสามารถปลูกฝังและสนับสนุนการพูดคุยเจรจาอย่างมีเป้าหมายได้ ย่อมเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน.
    การพูดคุยเจรจา: วิธีแก้ปัญหาและสร้างความสัมพันธ์ในองค์กรอย่างมีเป้าหมายในองค์กรที่มีความซับซ้อนและประกอบด้วยบุคคลหลากหลายความคิด การเกิดปัญหาและความขัดแย้งเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ การพูดคุยเจรจา (Negotiation and Communication) จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้จะอธิบายถึงความสำคัญของการพูดคุยเจรจา วิธีการนำไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ และผลลัพธ์ที่องค์กรจะได้รับจากการใช้ทักษะนี้ความสำคัญของการพูดคุยเจรจา1. แก้ไขปัญหาอย่างตรงจุดการพูดคุยเจรจาช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับปัญหาได้โดยตรง ซึ่งนำไปสู่การหาข้อตกลงหรือแนวทางแก้ไขที่ทุกฝ่ายยอมรับได้2. ลดความขัดแย้งในองค์กรเมื่อมีการสื่อสารอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา ความเข้าใจผิดและความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือทีมจะลดลง และส่งผลให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่น3. สร้างความเชื่อมั่นและความร่วมมือการพูดคุยอย่างเปิดใจและมีเป้าหมายช่วยเสริมสร้างความไว้วางใจระหว่างบุคคล และกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันวิธีการพูดคุยเจรจาอย่างมีประสิทธิภาพ1. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนเริ่มการพูดคุย ควรกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้ชัดเจน เช่น การหาข้อตกลง การลดความเข้าใจผิด หรือการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น2. ฟังอย่างตั้งใจการฟังเป็นหัวใจสำคัญของการพูดคุยที่มีประสิทธิภาพ การให้โอกาสผู้อื่นได้แสดงความคิดเห็นจะช่วยสร้างความไว้วางใจและเพิ่มความเข้าใจซึ่งกันและกัน3. ใช้ภาษาที่เหมาะสมเลือกใช้คำพูดที่สุภาพ ชัดเจน และเหมาะสมกับบริบท หลีกเลี่ยงการใช้คำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง4. ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ร่วมมุ่งเน้นหาทางออกที่ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์หรือยอมรับได้ ไม่ใช่เพียงแค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง5. ติดตามผลหลังการเจรจาหลังการพูดคุย ควรมีการติดตามผลเพื่อให้มั่นใจว่าข้อตกลงหรือแนวทางแก้ปัญหาถูกนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้องผลลัพธ์จากการพูดคุยเจรจาที่มีเป้าหมายความสัมพันธ์ในองค์กรดีขึ้นเมื่อบุคลากรมีความเข้าใจกันและสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น จะส่งผลให้บรรยากาศในที่ทำงานดีขึ้นประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นการสื่อสารที่ดีช่วยลดอุปสรรคในการทำงาน และส่งเสริมให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการพูดคุยเจรจาอย่างสร้างสรรค์จะเป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมที่สนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือสรุปการพูดคุยเจรจาไม่เพียงแค่เป็นวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นในองค์กร แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรและส่งเสริมความสำเร็จในระยะยาว หากองค์กรสามารถปลูกฝังและสนับสนุนการพูดคุยเจรจาอย่างมีเป้าหมายได้ ย่อมเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 248 มุมมอง 0 รีวิว
  • cr. Winn Voravuthikunchai
    1. Logistic Regression: ทำนายผลลัพธ์ที่เป็นใช่/ไม่ใช่
    2. Recurrent Neural Networks (RNN): เข้าใจลำดับเรื่องราว
    3. K-Means Clustering: จัดกลุ่มไอเทมที่คล้ายกัน
    4. Principal Component Analysis (PCA): บีบอัดข้อมูลสำคัญลงในพื้นที่ขนาดเล็ก
    5. Autoencoders: บีบอัดและสร้างภาพขึ้นมาใหม่
    6. Neural Networks: เรียนรู้จากตัวอย่างเหมือนเซลล์สมองของเรา
    7. Reinforcement Learning: เรียนรู้ด้วยรางวัล เหมือนการฝึกสุนัข
    8. Q-Learning: หาเส้นทางที่ดีที่สุดในเขาวงกต
    9. Naive Bayes: ทำนายผลลัพธ์จากความรู้ก่อนหน้า
    10. k-Nearest Neighbors (k-NN): หาไอเทมที่คล้ายกันโดยถามเพื่อน
    11. Bayesian Networks: ทำนายโดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ
    12. Support Vector Machine (SVM): แยกไอเทมด้วยเส้นตรงที่ตรงที่สุด
    13. Genetic Algorithms: ผสมลักษณะเพื่อสร้างวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
    14. Linear Regression: ทำนายผลลัพธ์จากข้อมูลในอดีต
    15. Random Forests: รวมคำตอบหลายๆ อย่างเพื่อความแม่นยำ
    16. Convolutional Neural Networks (CNN): จดจำลวดลายเหมือนใบหน้า
    17. Decision Trees: ตัดสินใจด้วยคำถามใช่/ไม่ใช่
    18. Gradient Boosting: ปรับปรุงด้วยความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ
    cr. Winn Voravuthikunchai 1. Logistic Regression: ทำนายผลลัพธ์ที่เป็นใช่/ไม่ใช่ 2. Recurrent Neural Networks (RNN): เข้าใจลำดับเรื่องราว 3. K-Means Clustering: จัดกลุ่มไอเทมที่คล้ายกัน 4. Principal Component Analysis (PCA): บีบอัดข้อมูลสำคัญลงในพื้นที่ขนาดเล็ก 5. Autoencoders: บีบอัดและสร้างภาพขึ้นมาใหม่ 6. Neural Networks: เรียนรู้จากตัวอย่างเหมือนเซลล์สมองของเรา 7. Reinforcement Learning: เรียนรู้ด้วยรางวัล เหมือนการฝึกสุนัข 8. Q-Learning: หาเส้นทางที่ดีที่สุดในเขาวงกต 9. Naive Bayes: ทำนายผลลัพธ์จากความรู้ก่อนหน้า 10. k-Nearest Neighbors (k-NN): หาไอเทมที่คล้ายกันโดยถามเพื่อน 11. Bayesian Networks: ทำนายโดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ 12. Support Vector Machine (SVM): แยกไอเทมด้วยเส้นตรงที่ตรงที่สุด 13. Genetic Algorithms: ผสมลักษณะเพื่อสร้างวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด 14. Linear Regression: ทำนายผลลัพธ์จากข้อมูลในอดีต 15. Random Forests: รวมคำตอบหลายๆ อย่างเพื่อความแม่นยำ 16. Convolutional Neural Networks (CNN): จดจำลวดลายเหมือนใบหน้า 17. Decision Trees: ตัดสินใจด้วยคำถามใช่/ไม่ใช่ 18. Gradient Boosting: ปรับปรุงด้วยความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 163 มุมมอง 0 รีวิว
  • แนะนำวิธีแก้ปัญหา
    #เข้าให้ถึงปัญหา
    #จะได้แก้ให้ถูกทาง
    แนะนำวิธีแก้ปัญหา #เข้าให้ถึงปัญหา #จะได้แก้ให้ถูกทาง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 257 มุมมอง 0 รีวิว
  • ชาวเน็ตเซ็ง Facebook มีแต่ Feed ขยะ 90% เป็นโพสต์ที่ไม่อยากดู
    .
    แทนที่จะได้เห็นเรื่องราวของเพื่อนหรือครอบครัว ผู้ใช้ Quora.com ชื่อ Leandro Mattos ตั้งกระทู้ถามหาวิธีลบเนื้อหาที่ไม่ได้สนใจและไม่ได้อยากชม โดยบอกว่าจากที่ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กนี้มาตั้งแต่ปี 2013 และไม่เคยใช้งานค่ายอื่นเลยมาตลอด 11 ปี แต่ตอนนี้เริ่มคิดจริงจังแล้วว่าจะเลิกใช้งาน
    .
    ผู้ใช้รายนี้ระบุว่าครั้งหนึ่ง facebook เคยเป็นเครือข่ายสังคมที่ดี มีเนื้อหาเฉพาะของแต่ละคน และสำหรับเขาก็เคยเป็นพื้นที่สนุกสนานที่ได้สังสรรค์กับเพื่อนบนเนื้อหาที่เกี่ยวกับเกมในดวงใจ แต่วันนี้ทุกอย่างยิ่งแย่ลง เนื้อหาที่เคยกดติดตามหรือถูกใจไว้นั้นไม่ปรากฏให้เห็นเลย ตรงกันข้ามหน้าฟีดกลับเต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่ได้สนใจ และไม่ได้อยากอ่าน
    .
    ปรากฏว่ามีผู้คนมากมายเข้ามาตอบคำถามในทำนองว่า น่าเสียใจที่ขณะนี้ยังไม่มีวิธีแก้ปัญหานี้ได้แบบ 100% ซึ่งหลายคนบอกว่า Facebook เวอร์ชั่นดั้งเดิมนั้นตายไปแล้ว และจะไม่มีทางกลับมา
    .
    บางคนบอกว่าไม่มีคำตอบที่ดีให้กับคำถามนี้เลย เพราะว่าแทบทุกคนต้องพบปัญหาเดียวกัน ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงความข้องใจของผู้ใช้ ซึ่งมีความรู้สึกว่าเมื่อใดที่กดไลค์ หรือกดติดตามเพจที่ชื่นชอบ เนื้อหาจากเพจนั้นจะหายวับไป จนอดคิดไม่ได้ว่า Facebook ตั้งใจปิดกั้น ไม่ให้เห็นเนื้อหาเพจนั้น แต่จะเลือกจากเพจอื่น ที่มี "ผู้แชร์เยอะๆ โต้ตอบเยอะๆ" แทน
    .
    ไม่แน่ นี่อาจเป็นกับดักของ Facebook ที่หวังจะเพิ่มรายได้โฆษณามากขึ้น เพราะในมุมของเพจ ผู้สร้างเนื้อหามักต้องการยอดแชร์และโต้ตอบที่คึกคัก ซึ่งการจะทำให้เกิดการแชร์และโต้ตอบได้นั้นก็จะต้องเริ่มจากการทำให้คนเห็นโพสต์ จึงต้องมีการซื้อโฆษณา และเมื่อระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ของ Facebook ได้เห็น ยอดชมจึงจะเพิ่มขึ้น กดดันให้เพจต้องทุ่มงบซื้อโฆษณากับ Facebook ในที่สุด
    .
    สิ่งที่เกิดขึ้นจึงกลายเป็นว่า เนื้อหาจากเพจที่มีเงินซื้อโฆษณา ได้ถูกกระจายไปเต็มหน้าฟีด Facebook จนทำให้เกิดการแชร์มากกว่าเพจที่ไม่ได้ซื้อโฆษณาซึ่งผู้ใช้กดติดตามไว้ สะท้อนให้เห็นเป็นวงจรอุบาทว์ที่ทำให้ 90% ของหน้าฟีด Facebook แนะนำเนื้อหาจากเพจหรือคนที่ผู้ใช้ไม่รู้จัก ไม่ได้สนใจ และไม่ได้อยากจะดู แบบไม่รู้จบ
    .
    Cr : FB CyberBiz Online
    ชาวเน็ตเซ็ง Facebook มีแต่ Feed ขยะ 90% เป็นโพสต์ที่ไม่อยากดู . แทนที่จะได้เห็นเรื่องราวของเพื่อนหรือครอบครัว ผู้ใช้ Quora.com ชื่อ Leandro Mattos ตั้งกระทู้ถามหาวิธีลบเนื้อหาที่ไม่ได้สนใจและไม่ได้อยากชม โดยบอกว่าจากที่ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กนี้มาตั้งแต่ปี 2013 และไม่เคยใช้งานค่ายอื่นเลยมาตลอด 11 ปี แต่ตอนนี้เริ่มคิดจริงจังแล้วว่าจะเลิกใช้งาน . ผู้ใช้รายนี้ระบุว่าครั้งหนึ่ง facebook เคยเป็นเครือข่ายสังคมที่ดี มีเนื้อหาเฉพาะของแต่ละคน และสำหรับเขาก็เคยเป็นพื้นที่สนุกสนานที่ได้สังสรรค์กับเพื่อนบนเนื้อหาที่เกี่ยวกับเกมในดวงใจ แต่วันนี้ทุกอย่างยิ่งแย่ลง เนื้อหาที่เคยกดติดตามหรือถูกใจไว้นั้นไม่ปรากฏให้เห็นเลย ตรงกันข้ามหน้าฟีดกลับเต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่ได้สนใจ และไม่ได้อยากอ่าน . ปรากฏว่ามีผู้คนมากมายเข้ามาตอบคำถามในทำนองว่า น่าเสียใจที่ขณะนี้ยังไม่มีวิธีแก้ปัญหานี้ได้แบบ 100% ซึ่งหลายคนบอกว่า Facebook เวอร์ชั่นดั้งเดิมนั้นตายไปแล้ว และจะไม่มีทางกลับมา . บางคนบอกว่าไม่มีคำตอบที่ดีให้กับคำถามนี้เลย เพราะว่าแทบทุกคนต้องพบปัญหาเดียวกัน ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงความข้องใจของผู้ใช้ ซึ่งมีความรู้สึกว่าเมื่อใดที่กดไลค์ หรือกดติดตามเพจที่ชื่นชอบ เนื้อหาจากเพจนั้นจะหายวับไป จนอดคิดไม่ได้ว่า Facebook ตั้งใจปิดกั้น ไม่ให้เห็นเนื้อหาเพจนั้น แต่จะเลือกจากเพจอื่น ที่มี "ผู้แชร์เยอะๆ โต้ตอบเยอะๆ" แทน . ไม่แน่ นี่อาจเป็นกับดักของ Facebook ที่หวังจะเพิ่มรายได้โฆษณามากขึ้น เพราะในมุมของเพจ ผู้สร้างเนื้อหามักต้องการยอดแชร์และโต้ตอบที่คึกคัก ซึ่งการจะทำให้เกิดการแชร์และโต้ตอบได้นั้นก็จะต้องเริ่มจากการทำให้คนเห็นโพสต์ จึงต้องมีการซื้อโฆษณา และเมื่อระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ของ Facebook ได้เห็น ยอดชมจึงจะเพิ่มขึ้น กดดันให้เพจต้องทุ่มงบซื้อโฆษณากับ Facebook ในที่สุด . สิ่งที่เกิดขึ้นจึงกลายเป็นว่า เนื้อหาจากเพจที่มีเงินซื้อโฆษณา ได้ถูกกระจายไปเต็มหน้าฟีด Facebook จนทำให้เกิดการแชร์มากกว่าเพจที่ไม่ได้ซื้อโฆษณาซึ่งผู้ใช้กดติดตามไว้ สะท้อนให้เห็นเป็นวงจรอุบาทว์ที่ทำให้ 90% ของหน้าฟีด Facebook แนะนำเนื้อหาจากเพจหรือคนที่ผู้ใช้ไม่รู้จัก ไม่ได้สนใจ และไม่ได้อยากจะดู แบบไม่รู้จบ . Cr : FB CyberBiz Online
    Like
    Haha
    Love
    Sad
    20
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 762 มุมมอง 0 รีวิว
  • กลยุทธ์ของนาโต้ในการส่งอาวุธให้ยูเครนล้มเหลว – ซาห์รา วาเกนเน็คท์

    ในการตอบคำถามเชิงรุกของนักข่าวในการสัมภาษณ์กับ Spiegel เกี่ยวกับการประนีประนอมกับรัสเซีย, ซาห์รา วาเกนเน็คท์, ผู้นำกลุ่มพันธมิตรซาห์รา วาเกนเน็คท์, ถามผู้สัมภาษณ์ว่า, "คุณมีวิธีแก้ปัญหาเพื่อหยุดยั้งการเสียชีวิตอย่างไร? เราจะต้องยึดมั่นในศีลธรรมอันสูงส่งต่อไปหรือไม่? ที่นาโต้แทรกแซงโดยตรงในสงครามและทำลายยุโรปทั้งหมดลงเอยด้วยซากปรักหักพังหรือไม่?"

    💬 "กลยุทธ์ในการจัดหาอาวุธให้ยูเครนเพื่อเอาชนะสงครามนั้นได้ล้มเหลว," เธอกล่าวตอบโต้ข้อโต้แย้งของนักข่าวที่ว่านาโต้ไม่ควรเจรจากับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เพียงเพราะกองทัพรัสเซียกำลังรุกคืบ

    ผู้นำพรรคฝ่ายซ้ายเสนอให้ "หยุดส่งมอบอาวุธ หากตกลงหยุดยิงทันทีในแนวหน้าปัจจุบัน" ในการเจรจาสันติภาพที่อาจเกิดขึ้นกับรัสเซีย
    .
    NATO STRATEGY OF ARMING UKRAINE HAS FAILED – SAHRA WAGENKNECHT

    Replying to a journalist's aggressive question in an interview with Spiegel about compromise with Russia, Sahra Wagenknecht, leader the Sahra Wagenknecht Alliance, asked the interviewer, "What is your solution to stop the deaths? That we continue to uphold noble morals? That NATO intervenes directly in the war and ends up with all of Europe in ruins?"

    💬 "The strategy of supplying Ukraine with weapons so that it can win the war has failed," she stated in response to the journalist’s argument that NATO should not negotiate with President Vladimir Putin just because the Russian army is advancing.

    The left-wing party leader instead proposed "a halt to arms deliveries if they agreed to an immediate ceasefire on the current front line" in possible peace talks with Russia.
    .
    6:58 PM · Sep 14, 2024 · 1,587 Views
    https://x.com/SputnikInt/status/1834924720518537582
    กลยุทธ์ของนาโต้ในการส่งอาวุธให้ยูเครนล้มเหลว – ซาห์รา วาเกนเน็คท์ ในการตอบคำถามเชิงรุกของนักข่าวในการสัมภาษณ์กับ Spiegel เกี่ยวกับการประนีประนอมกับรัสเซีย, ซาห์รา วาเกนเน็คท์, ผู้นำกลุ่มพันธมิตรซาห์รา วาเกนเน็คท์, ถามผู้สัมภาษณ์ว่า, "คุณมีวิธีแก้ปัญหาเพื่อหยุดยั้งการเสียชีวิตอย่างไร? เราจะต้องยึดมั่นในศีลธรรมอันสูงส่งต่อไปหรือไม่? ที่นาโต้แทรกแซงโดยตรงในสงครามและทำลายยุโรปทั้งหมดลงเอยด้วยซากปรักหักพังหรือไม่?" 💬 "กลยุทธ์ในการจัดหาอาวุธให้ยูเครนเพื่อเอาชนะสงครามนั้นได้ล้มเหลว," เธอกล่าวตอบโต้ข้อโต้แย้งของนักข่าวที่ว่านาโต้ไม่ควรเจรจากับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เพียงเพราะกองทัพรัสเซียกำลังรุกคืบ ผู้นำพรรคฝ่ายซ้ายเสนอให้ "หยุดส่งมอบอาวุธ หากตกลงหยุดยิงทันทีในแนวหน้าปัจจุบัน" ในการเจรจาสันติภาพที่อาจเกิดขึ้นกับรัสเซีย . NATO STRATEGY OF ARMING UKRAINE HAS FAILED – SAHRA WAGENKNECHT Replying to a journalist's aggressive question in an interview with Spiegel about compromise with Russia, Sahra Wagenknecht, leader the Sahra Wagenknecht Alliance, asked the interviewer, "What is your solution to stop the deaths? That we continue to uphold noble morals? That NATO intervenes directly in the war and ends up with all of Europe in ruins?" 💬 "The strategy of supplying Ukraine with weapons so that it can win the war has failed," she stated in response to the journalist’s argument that NATO should not negotiate with President Vladimir Putin just because the Russian army is advancing. The left-wing party leader instead proposed "a halt to arms deliveries if they agreed to an immediate ceasefire on the current front line" in possible peace talks with Russia. . 6:58 PM · Sep 14, 2024 · 1,587 Views https://x.com/SputnikInt/status/1834924720518537582
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 438 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปัญหา เป็นสิ่งที่ทุกชีวิตไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

    ...บางปัญหาเป็นสิ่งที่เมื่อเข้ามา เพื่อให้เราได้แก้ แล้วแกร่งขึ้น

    ...บางปัญหาเข้ามาในชีวิตเพื่อให้เราได้รู้ว่าสิ่งที่ยังหลงเหลือนั้นมีคุณค่าแค่ไหน

    ...บางปัญหาเข้ามาเพื่อให้รู้ว่าความแน่นแฟ้นในครอบครัวนั้นสำคัญเช่นไร

    ...และในบางเวลาวิธีแก้ปัญหาก็ไม่สำคัญเท่ากับกำลังใจจากคนข้างๆก็พอ

    ถอดบทเรียนจากหนังสือ | การพบกันคือเรื่องมหัศจรรย์ การจากกันเป็นเรื่องปกติ

    #หนอนแว่นคลับ #รีวิวหนังสือ
    #การพบกันคือเรื่องมหัศจรรย์การจากกันเป็นเรื่องปกติ
    #หนังสือน่าอ่าน #ปัญหาชีวิต #กำลังใจ
    ปัญหา เป็นสิ่งที่ทุกชีวิตไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ...บางปัญหาเป็นสิ่งที่เมื่อเข้ามา เพื่อให้เราได้แก้ แล้วแกร่งขึ้น ...บางปัญหาเข้ามาในชีวิตเพื่อให้เราได้รู้ว่าสิ่งที่ยังหลงเหลือนั้นมีคุณค่าแค่ไหน ...บางปัญหาเข้ามาเพื่อให้รู้ว่าความแน่นแฟ้นในครอบครัวนั้นสำคัญเช่นไร ...และในบางเวลาวิธีแก้ปัญหาก็ไม่สำคัญเท่ากับกำลังใจจากคนข้างๆก็พอ ถอดบทเรียนจากหนังสือ | การพบกันคือเรื่องมหัศจรรย์ การจากกันเป็นเรื่องปกติ #หนอนแว่นคลับ #รีวิวหนังสือ #การพบกันคือเรื่องมหัศจรรย์การจากกันเป็นเรื่องปกติ #หนังสือน่าอ่าน #ปัญหาชีวิต #กำลังใจ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 468 มุมมอง 0 รีวิว
  • เผยกลยุทธ์เด็ดผู้ว่าฯชัชชาติ ทำลายแหล่งอาศัยปลาหมอคางดำล่วหน้าทั่วกรุงเทพฯ ไม่งั้นป่านนี้อาจระบาดหนักกว่านี้
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #ปลาหมอคางดำ
    #ชัชชาติ
    #คลองช่องนนทรี
    #กลยุทธ์เด็ด
    #วิธีแก้ปัญหา
    เผยกลยุทธ์เด็ดผู้ว่าฯชัชชาติ ทำลายแหล่งอาศัยปลาหมอคางดำล่วหน้าทั่วกรุงเทพฯ ไม่งั้นป่านนี้อาจระบาดหนักกว่านี้ #คิงส์โพธิ์แดง #ปลาหมอคางดำ #ชัชชาติ #คลองช่องนนทรี #กลยุทธ์เด็ด #วิธีแก้ปัญหา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 669 มุมมอง 0 รีวิว