• คปท.เดือด! ฟาด ‘พรรคประชาชน’ ไดโนเสาร์รุ่นใหม่โลภจัดหิวเลือกตั้ง คิดแต่ประโยชน์พรรค ลืมความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง
    https://www.thai-tai.tv/news/19975/
    .
    #คปท #พิชิตไชยมงคล #พรรคประชาชน #ยุบสภา #ไดโนเสาร์รุ่นใหม่ #วิกฤตการเมือง #ความรับผิดชอบทางการเมือง #การเมืองไทย #ผลประโยชน์ชาติ
    คปท.เดือด! ฟาด ‘พรรคประชาชน’ ไดโนเสาร์รุ่นใหม่โลภจัดหิวเลือกตั้ง คิดแต่ประโยชน์พรรค ลืมความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง https://www.thai-tai.tv/news/19975/ . #คปท #พิชิตไชยมงคล #พรรคประชาชน #ยุบสภา #ไดโนเสาร์รุ่นใหม่ #วิกฤตการเมือง #ความรับผิดชอบทางการเมือง #การเมืองไทย #ผลประโยชน์ชาติ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 30 มุมมอง 0 รีวิว
  • "แขก คำผกา" เตือนสติ! อย่าตื่นตระหนก "ไม่มีสุญญากาศการเมือง" ยันโลกไม่แตก พรุ่งนี้ยังทำงานเหมือนเดิม
    https://www.thai-tai.tv/news/19946/
    .
    #แขกคำผกา #ไม่มีสุญญากาศ #รัฐบาลทำงานต่อ #สุริยะรักษาการนายก #รัฐธรรมนูญ60 #ตุลาการภิวัตน์ #แก้รัฐธรรมนูญ #การเมืองไทย #แพทองธาร #วิกฤตการเมือง
    "แขก คำผกา" เตือนสติ! อย่าตื่นตระหนก "ไม่มีสุญญากาศการเมือง" ยันโลกไม่แตก พรุ่งนี้ยังทำงานเหมือนเดิม https://www.thai-tai.tv/news/19946/ . #แขกคำผกา #ไม่มีสุญญากาศ #รัฐบาลทำงานต่อ #สุริยะรักษาการนายก #รัฐธรรมนูญ60 #ตุลาการภิวัตน์ #แก้รัฐธรรมนูญ #การเมืองไทย #แพทองธาร #วิกฤตการเมือง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 36 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'ช่อ' ท่องยุบสภาคือทางออกที่ดีที่สุด เป็นนักการเมืองอย่ากลัวการเลือกตั้ง
    https://www.thai-tai.tv/news/19936/
    .
    #พรรณิการ์วานิช #คณะก้าวหน้า #แพทองธาร #นายกฯพักปฏิบัติหน้าที่ #ศาลรัฐธรรมนูญ #ยุบสภา #คืนอำนาจให้ประชาชน #แก้รัฐธรรมนูญ #นิติสงคราม #ชายแดนไทยกัมพูชา #การเมืองไทย #วิกฤตการเมือง
    'ช่อ' ท่องยุบสภาคือทางออกที่ดีที่สุด เป็นนักการเมืองอย่ากลัวการเลือกตั้ง https://www.thai-tai.tv/news/19936/ . #พรรณิการ์วานิช #คณะก้าวหน้า #แพทองธาร #นายกฯพักปฏิบัติหน้าที่ #ศาลรัฐธรรมนูญ #ยุบสภา #คืนอำนาจให้ประชาชน #แก้รัฐธรรมนูญ #นิติสงคราม #ชายแดนไทยกัมพูชา #การเมืองไทย #วิกฤตการเมือง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 41 มุมมอง 0 รีวิว
  • คดีชั้น 14 รพ.ตำรวจ ดึงเกมล่าช้าต้องระวัง ซ้ำรอยวิกฤตการเมือง : ถอนหมุดข่าว 26/03/68
    คดีชั้น 14 รพ.ตำรวจ ดึงเกมล่าช้าต้องระวัง ซ้ำรอยวิกฤตการเมือง : ถอนหมุดข่าว 26/03/68
    Angry
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 390 มุมมอง 2 0 รีวิว
  • ผู้สนับสนุนยุน ซอก-ยอลบุกเข้าทำลายทรัพย์สินในศาลกรุงโซล หลังผู้พิพากษาตกลงขยายเวลาการควบคุมตัวประธานาธิบดีที่กำลังถูกดำเนินการถอดถอนจากการประกาศกฎอัยการศึกเมื่อปลายปีที่แล้ว
    .
    วันเสาร์ (18 ม.ค) ประชาชนหลายหมื่นคนรวมตัวหน้าศาลแขวงโซลตะวันตกเพื่อให้กำลังใจยุนที่เป็นประธานาธิบดีคนแรกของเกาหลีใต้ที่ถูกจับกุมระหว่างดำรงตำแหน่ง
    .
    หลังจากศาลประกาศคำวินิจฉัยเมื่อราว 3.00 น. ของวันอาทิตย์ โดยอนุมัติการควบคุมตัวยุนต่ออีก 20 วัน เนื่องจากมีความกังวลว่า เขาอาจทำลายหลักฐานถ้าได้รับการปล่อยตัวออกไปนั้น บรรดาผู้สนับสนุนประธานาธิบดีผู้นี้ได้ใช้อุปกรณ์ดับเพลิงพ่นใส่แถวตำรวจที่ควบคุมสถานการณ์อยู่หน้าทางเข้าศาล ก่อนกรูกันเข้าไปในศาล ทำลายอุปกรณ์สำนักงานและเฟอร์นิเจอร์
    .
    ตำรวจใช้เวลา 2-3 ชั่วโมงจึงสามารถฟื้นความสงบเรียบร้อย และจับกุมผู้ประท้วงได้ 46 คน รวมทั้งประกาศว่า จะตามจับตัวผู้ก่อเหตุรุนแรงคนอื่นๆ มาดำเนินคดี และมีรายงานว่า ตำรวจ 9 นาย และประชาชน 40 คนได้รับบาดเจ็บ
    .
    ชอย ซัง-ม็อก รักษาการประธานาธิบดี แถลงแสดงความเสียใจอย่างมากต่อการก่อความรุนแรงนี้ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่คาดฝันในสังคมประชาธิปไตย และเสริมว่า เจ้าหน้าที่จะเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยตามพื้นที่ต่างๆ ที่มีการชุมนุม
    .
    ด้านยุนเผยว่า ตกใจและเสียใจมากกับการจู่โจมศาล และประกาศว่า จะยืนหยัดแก้ไขความอยุติธรรม ไม่ว่าจะใช้เวลานานเพียงใดก็ตาม
    .
    เหตุการณ์นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิกฤตการเมืองเกาหลีใต้ที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ยุนประกาศกฎอัยการศึกและส่งทหารไปควบคุมรัฐสภา อย่างไรก็ดี คำสั่งดังกล่าวบังคับใช้ได้เพียง 6 ชั่วโมง จนกระทั่งสมาชิกรัฐสภาสามารถฝ่าแนวล้อมของทหารและเข้าสู่สภาเพื่อลงมติล้มล้างการประกาศกฎอัยการศึกสำเร็จ
    .
    หลังจากนั้น ยุนถูกลงมติให้ดำเนินการถอดถอนและต้องหยุดการปฏิบัติหน้าที่ จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะเสร็จสิ้นการวินิจฉัยว่าจะถอดถอนหรือคืนตำแหน่งให้ นอกจากนั้น เขายังถูกสอบสวนคดีอาญาจากการประกาศกฎอัยการศึก
    .
    ผู้สนับสนุนยืนยันว่า การตัดสินใจประกาศกฎอัยการศึกของยุนเป็นสิ่งถูกต้อง โดยอ้างทั้งที่ไม่มีหลักฐานว่า มีการโกงการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้วที่ฝ่ายค้านคว้าชัยชนะ
    .
    ม็อบเหล่านี้มักโบกธงอเมริกันและใช้คำว่า “หยุดปล้นชัยชนะ” ซึ่งเชื่อมโยงกับโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ที่เหล่าผู้สนับสนุนบุกอาคารรัฐสภาเพื่อพยายามล้มล้างผลการเลือกตั้งที่ทรัมป์เป็นฝ่ายแพ้เมื่อหลายปีก่อน
    .
    ลี โฮ-ยอง รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแถลงว่า จะสอบสวนว่า ยูทูบเบอร์ฝ่ายขวาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์รุนแรงล่าสุดนี้หรือไม่ หลังจากมีการไลฟ์สดเหตุการณ์โจมตีศาล
    .
    ซอก ดง-ฮยอน ทนายความของยุน ประณามการวินิจฉัยของศาล พร้อมเตือนผู้สนับสนุนว่า การใช้ความรุนแรงจะสร้างภาระให้การไต่สวนยุนที่กำลังจะเกิดขึ้น
    .
    ทั้งนี้ ขณะที่ยุนต้องกลับเข้าสู่ห้องขังเดี่ยวภายหลังเดินทางไปปรากฏตัวที่ศาลในวันเสาร์นั้น อัยการเผยว่า เตรียมฟ้องร้องยุนในคดีอาญาข้อหาก่อกบฏอย่างเป็นทางการ ซึ่งอาจทำให้ประธานาธิบดีผู้นี้ถูกจำคุกตลอดชีวิตหรือรับโทษประหาร หากถูกตัดสินว่าผิดจริง
    .
    ขณะเดียวกัน สำนักงานสอบสวนการทุจริตเผยว่าจะส่งหมายเรียกอีกครั้งในวันจันทร์ (20 ม.ค.) หลังจากยุนปฏิเสธไปให้ปากคำในวันอาทิตย์
    .
    นอกจากนั้น ยุนยังไม่ไปปรากฏตัวที่ศาลรัฐธรรมนูญที่กำลังพิจารณาว่า จะถอดถอนหรือคืนตำแหน่งให้เขา ซึ่งหากศาลลงความเห็นให้ถอดถอน ยุนจะพ้นจากตำแหน่งอย่างเป็นทางการและต้องจัดการเลือกตั้งภายใน 60 วัน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000005825
    ..............
    Sondhi X
    ผู้สนับสนุนยุน ซอก-ยอลบุกเข้าทำลายทรัพย์สินในศาลกรุงโซล หลังผู้พิพากษาตกลงขยายเวลาการควบคุมตัวประธานาธิบดีที่กำลังถูกดำเนินการถอดถอนจากการประกาศกฎอัยการศึกเมื่อปลายปีที่แล้ว . วันเสาร์ (18 ม.ค) ประชาชนหลายหมื่นคนรวมตัวหน้าศาลแขวงโซลตะวันตกเพื่อให้กำลังใจยุนที่เป็นประธานาธิบดีคนแรกของเกาหลีใต้ที่ถูกจับกุมระหว่างดำรงตำแหน่ง . หลังจากศาลประกาศคำวินิจฉัยเมื่อราว 3.00 น. ของวันอาทิตย์ โดยอนุมัติการควบคุมตัวยุนต่ออีก 20 วัน เนื่องจากมีความกังวลว่า เขาอาจทำลายหลักฐานถ้าได้รับการปล่อยตัวออกไปนั้น บรรดาผู้สนับสนุนประธานาธิบดีผู้นี้ได้ใช้อุปกรณ์ดับเพลิงพ่นใส่แถวตำรวจที่ควบคุมสถานการณ์อยู่หน้าทางเข้าศาล ก่อนกรูกันเข้าไปในศาล ทำลายอุปกรณ์สำนักงานและเฟอร์นิเจอร์ . ตำรวจใช้เวลา 2-3 ชั่วโมงจึงสามารถฟื้นความสงบเรียบร้อย และจับกุมผู้ประท้วงได้ 46 คน รวมทั้งประกาศว่า จะตามจับตัวผู้ก่อเหตุรุนแรงคนอื่นๆ มาดำเนินคดี และมีรายงานว่า ตำรวจ 9 นาย และประชาชน 40 คนได้รับบาดเจ็บ . ชอย ซัง-ม็อก รักษาการประธานาธิบดี แถลงแสดงความเสียใจอย่างมากต่อการก่อความรุนแรงนี้ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่คาดฝันในสังคมประชาธิปไตย และเสริมว่า เจ้าหน้าที่จะเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยตามพื้นที่ต่างๆ ที่มีการชุมนุม . ด้านยุนเผยว่า ตกใจและเสียใจมากกับการจู่โจมศาล และประกาศว่า จะยืนหยัดแก้ไขความอยุติธรรม ไม่ว่าจะใช้เวลานานเพียงใดก็ตาม . เหตุการณ์นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิกฤตการเมืองเกาหลีใต้ที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ยุนประกาศกฎอัยการศึกและส่งทหารไปควบคุมรัฐสภา อย่างไรก็ดี คำสั่งดังกล่าวบังคับใช้ได้เพียง 6 ชั่วโมง จนกระทั่งสมาชิกรัฐสภาสามารถฝ่าแนวล้อมของทหารและเข้าสู่สภาเพื่อลงมติล้มล้างการประกาศกฎอัยการศึกสำเร็จ . หลังจากนั้น ยุนถูกลงมติให้ดำเนินการถอดถอนและต้องหยุดการปฏิบัติหน้าที่ จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะเสร็จสิ้นการวินิจฉัยว่าจะถอดถอนหรือคืนตำแหน่งให้ นอกจากนั้น เขายังถูกสอบสวนคดีอาญาจากการประกาศกฎอัยการศึก . ผู้สนับสนุนยืนยันว่า การตัดสินใจประกาศกฎอัยการศึกของยุนเป็นสิ่งถูกต้อง โดยอ้างทั้งที่ไม่มีหลักฐานว่า มีการโกงการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้วที่ฝ่ายค้านคว้าชัยชนะ . ม็อบเหล่านี้มักโบกธงอเมริกันและใช้คำว่า “หยุดปล้นชัยชนะ” ซึ่งเชื่อมโยงกับโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ที่เหล่าผู้สนับสนุนบุกอาคารรัฐสภาเพื่อพยายามล้มล้างผลการเลือกตั้งที่ทรัมป์เป็นฝ่ายแพ้เมื่อหลายปีก่อน . ลี โฮ-ยอง รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแถลงว่า จะสอบสวนว่า ยูทูบเบอร์ฝ่ายขวาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์รุนแรงล่าสุดนี้หรือไม่ หลังจากมีการไลฟ์สดเหตุการณ์โจมตีศาล . ซอก ดง-ฮยอน ทนายความของยุน ประณามการวินิจฉัยของศาล พร้อมเตือนผู้สนับสนุนว่า การใช้ความรุนแรงจะสร้างภาระให้การไต่สวนยุนที่กำลังจะเกิดขึ้น . ทั้งนี้ ขณะที่ยุนต้องกลับเข้าสู่ห้องขังเดี่ยวภายหลังเดินทางไปปรากฏตัวที่ศาลในวันเสาร์นั้น อัยการเผยว่า เตรียมฟ้องร้องยุนในคดีอาญาข้อหาก่อกบฏอย่างเป็นทางการ ซึ่งอาจทำให้ประธานาธิบดีผู้นี้ถูกจำคุกตลอดชีวิตหรือรับโทษประหาร หากถูกตัดสินว่าผิดจริง . ขณะเดียวกัน สำนักงานสอบสวนการทุจริตเผยว่าจะส่งหมายเรียกอีกครั้งในวันจันทร์ (20 ม.ค.) หลังจากยุนปฏิเสธไปให้ปากคำในวันอาทิตย์ . นอกจากนั้น ยุนยังไม่ไปปรากฏตัวที่ศาลรัฐธรรมนูญที่กำลังพิจารณาว่า จะถอดถอนหรือคืนตำแหน่งให้เขา ซึ่งหากศาลลงความเห็นให้ถอดถอน ยุนจะพ้นจากตำแหน่งอย่างเป็นทางการและต้องจัดการเลือกตั้งภายใน 60 วัน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000005825 .............. Sondhi X
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1570 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทางการเกาหลีใต้เข้าจับกุมประธานาธิบดี ยุน ซ็อกยอล เพื่อนำตัวไปสอบสวนความผิดฐานก่อกบฏ (insurrection) ได้สำเร็จวันนี้ (15 ม.ค.) ขณะที่ ยุน ประกาศว่าตนยอมให้ความร่วมมือกับกระบวนการสอบสวนก็เพื่อไม่ให้เกิด "เหตุการณ์นองเลือด"

    นับตั้งแต่ถูกสมาชิกรัฐสภาโหวตถอดถอนออกจากตำแหน่งสืบเนื่องจากการประกาศกฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.ปีที่แล้ว ยุน ก็กบดานอยู่แต่ในบ้านพักริมเชิงเขา โดยมีหน่วยอารักขาประธานาธิบดีจำนวนหนึ่งคอยคุ้มกัน และสกัดขัดขวางความพยายามจับกุม ยุน รอบแรก

    การจับกุม ยุน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกสำหรับประธานาธิบดีในตำแหน่งของเกาหลีใต้ นับเป็นความคืบหน้าล่าสุดในวิกฤตการเมืองที่สั่นสะเทือนแดนโสมขาว ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในชาติที่มีระบอบประชาธิปไตยเข้มแข็งที่สุดในเอเชีย แม้จะมีประวัติดำเนินคดีและสั่งจำคุกอดีตประธานาธิบดีมาแล้วหลายคนก็ตาม

    ยุน ซึ่งยังคงยืนกรานความบริสุทธิ์อย่างแข็งกร้าว ระบุว่าที่ยอมมอบตัวต่อพนักงานสอบสวนก็เพื่อไม่ให้เกิดเหตุรุนแรงขึ้น หลังจากที่มีตำรวจมากกว่า 3,000 นายเดินเข้ามายังบ้านพักเพิ่อจับกุมตนในช่วงเช้าวันนี้ (15)

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/around/detail/9680000004327

    #MGROnline #เกาหลีใต้ #ยุนซอกยอล #กฎอัยการศึก
    ทางการเกาหลีใต้เข้าจับกุมประธานาธิบดี ยุน ซ็อกยอล เพื่อนำตัวไปสอบสวนความผิดฐานก่อกบฏ (insurrection) ได้สำเร็จวันนี้ (15 ม.ค.) ขณะที่ ยุน ประกาศว่าตนยอมให้ความร่วมมือกับกระบวนการสอบสวนก็เพื่อไม่ให้เกิด "เหตุการณ์นองเลือด" • นับตั้งแต่ถูกสมาชิกรัฐสภาโหวตถอดถอนออกจากตำแหน่งสืบเนื่องจากการประกาศกฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.ปีที่แล้ว ยุน ก็กบดานอยู่แต่ในบ้านพักริมเชิงเขา โดยมีหน่วยอารักขาประธานาธิบดีจำนวนหนึ่งคอยคุ้มกัน และสกัดขัดขวางความพยายามจับกุม ยุน รอบแรก • การจับกุม ยุน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกสำหรับประธานาธิบดีในตำแหน่งของเกาหลีใต้ นับเป็นความคืบหน้าล่าสุดในวิกฤตการเมืองที่สั่นสะเทือนแดนโสมขาว ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในชาติที่มีระบอบประชาธิปไตยเข้มแข็งที่สุดในเอเชีย แม้จะมีประวัติดำเนินคดีและสั่งจำคุกอดีตประธานาธิบดีมาแล้วหลายคนก็ตาม • ยุน ซึ่งยังคงยืนกรานความบริสุทธิ์อย่างแข็งกร้าว ระบุว่าที่ยอมมอบตัวต่อพนักงานสอบสวนก็เพื่อไม่ให้เกิดเหตุรุนแรงขึ้น หลังจากที่มีตำรวจมากกว่า 3,000 นายเดินเข้ามายังบ้านพักเพิ่อจับกุมตนในช่วงเช้าวันนี้ (15) • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/around/detail/9680000004327 • #MGROnline #เกาหลีใต้ #ยุนซอกยอล #กฎอัยการศึก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 532 มุมมอง 0 รีวิว
  • เจ้าหน้าที่สอบสวนจากสำนักงานปราบปรามการทุจริตของเกาหลีใต้เตรียมขอขยายเวลาหมายจับ รวมทั้งขอให้ตำรวจเข้าจับกุมยุน ซอก-ยอล หลังจากประธานาธิบดีที่กำลังถูกสอบสวนเพื่อถอดถอนผู้นี้ขัดขวางการเข้าควบคุมตัวจากกรณีการประกาศกฎอัยการศึกมาตลอดหนึ่งสัปดาห์
    .
    ยุน อดีตอัยการดาวเด่น ปฏิเสธการไปให้ปากคำและกบดานอยู่ในที่พักประธานาธิบดีท่ามกลางการอารักขาของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยนับร้อย
    .
    ลี แจ-ซอง รองผู้อำนวยการสำนักงานปราบปรามการทุจริต (ซีไอโอ) เผยว่า กำลังเตรียมยื่นคำร้องต่อศาลให้ขยายหมายจับที่กำลังจะหมดอายุเที่ยงคืนวันจันทร์ (6 ม.ค.) รวมทั้งขอให้ตำรวจเข้าดำเนินการจับกุมยุนแทน ขณะที่ทีมกฎหมายของยุนแย้งว่า ซีไอโอไม่มีอำนาจในการจับกุมประธานาธิบดี
    .
    สัปดาห์ที่แล้ว เจ้าหน้าที่ต้องล้มเลิกความพยายามเข้าจับกุมยุนด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย หลังเผชิญหน้ากับหน่วยรักษาความปลอดภัยประธานาธิบดีนับร้อยคนนานนับชั่วโมง
    .
    ทั้งนี้ หากถูกจับกุมและถูกตัดสินว่าผิด ยุนอาจถูกจำคุกหรือรับโทษประหาร จากกรณีการประกาศกฎอัยการศึกช่วงสั้นๆ เมื่อต้นเดือนธันวาคมและนำเกาหลีใต้เข้าสู่วิกฤตการเมืองครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ทว่า ทั้งยุน และผู้สนับสนุนยังคงต่อต้านการจับกุม
    .
    คิม ซู ยอง วัย 62 ปี หนึ่งในแกนนำการชุมนุม ประกาศว่า หน่วยอารักขาจะปกป้องประธานาธิบดี และผู้ชุมนุมจะปกป้องหน่วยอารักขาอีกทอดจนถึงเที่ยงคืนวันจันทร์ รวมทั้งยืนยันว่า ถ้ามีการออกหมายจับใหม่ก็จะมาชุมนุมกันอีก
    .
    นอกจากนั้น เมื่อเช้าวันจันทร์ยังมีสมาชิกสภาจากพรรคพลังประชาชน (พีพีพี) ของยุนไปปรากฏตัวหน้าที่พักประธานาธิบดี
    .
    ทางด้านตำรวจได้ปิดถนนเพื่อป้องกันผู้ประท้วงที่คาดว่าจะรวมพลังกันต่อในวันจันทร์ ขณะที่ผู้ชุมนุมทั้งฝ่ายสนับสนุนและต่อต้านยุนหลายสิบคนปักหลักค้างคืนในวันอาทิตย์ (5 ม.ค.) ท่ามกลางอุณหภูมิติดลบ
    .
    ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ขอออกหมายจับครั้งแรกเนื่องจากยุนไม่ยอมไปให้ปากคำเรื่องการประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งทีมกฎหมายของยุนย้ำว่า หมายจับดังกล่าวผิดกฎหมายและจะดำเนินการทางกฎหมายเพื่อตอบโต้ ขณะที่หัวหน้าหน่วยอารักขาประธานาธิบดีประกาศเมื่อวันอาทิตย์ว่า จะไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่สอบสวนเข้าจับกุมยุน
    .
    ขณะเดียวกัน แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เดินทางถึงโซลเมื่อเช้าวันจันทร์เพื่อหารือกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลเกาหลีใต้ที่รวมถึงชอย ซัง-ม็อก รัฐมนตรีคลังและรักษาการประธานาธิบดี
    .
    บลิงเคนไม่มีกำหนดพบกับยุนที่ถูกระงับการปฏิบัติหน้าที่ แต่แถลงข่าวร่วมกับโช แต-ยุล รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้ และความสนใจของบลิงเคนเปลี่ยนจากประเด็นการเมืองภายในของเกาหลีใต้ เนื่องจากก่อนแถลงข่าวไม่นาน เปียงยางได้ทดสอบยิงขีปนาวุธข้ามทวีป
    .
    อนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ระบุว่า จะเริ่มการพิจารณาคดีถอดถอนยุนในวันอังคารหน้า (14 ม.ค.) ไม่ว่ายุนจะไปปรากฏตัวในศาลหรือไม่ก็ตาม โดยศาลรัฐธรรมนูญมีเวลา 180 วันในการวินิจฉัยว่า จะถอดถอนหรือคืนตำแหน่งให้ยุน
    .
    เอเอฟพีรายงานโดยอ้างอิงจากรายงานของอัยการเกี่ยวกับอดีตรัฐมนตรีกลาโหมว่า ยุนเพิกเฉยต่อการคัดค้านของรัฐมนตรีสำคัญหลายคนก่อนที่จะประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งรายงานนี้อาจเป็นหลักฐานที่ศาลรัฐธรรมนูญรับไว้พิจารณา
    .
    ตามรายงานดังกล่าว นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีต่างประเทศ และรัฐมนตรีคลังในขณะนั้น ต่างแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจและการทูตที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีในคืนที่ยุนประกาศกฎอัยการศึก
    .
    นอกจากนั้น พรรคประชาธิปไตยที่เป็นฝ่ายค้านสำคัญยังเรียกร้องให้ยุบหน่วยอารักขายุน
    .
    อย่างไรก็ดี ทีมกฎหมายของยุนยืนยันว่า จะใช้สิทธิดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดกฎหมายเช่นเดียวกัน โดยเมื่อวันอาทิตย์ ยุน กั๊บ-กึน ทนายความคนหนึ่งในทีม เผยว่า จะยื่นคำร้องคัดค้านผู้อำนวยการซีไอโอที่พยายามเข้าจับกุมยุน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000001570
    ..............
    Sondhi X
    เจ้าหน้าที่สอบสวนจากสำนักงานปราบปรามการทุจริตของเกาหลีใต้เตรียมขอขยายเวลาหมายจับ รวมทั้งขอให้ตำรวจเข้าจับกุมยุน ซอก-ยอล หลังจากประธานาธิบดีที่กำลังถูกสอบสวนเพื่อถอดถอนผู้นี้ขัดขวางการเข้าควบคุมตัวจากกรณีการประกาศกฎอัยการศึกมาตลอดหนึ่งสัปดาห์ . ยุน อดีตอัยการดาวเด่น ปฏิเสธการไปให้ปากคำและกบดานอยู่ในที่พักประธานาธิบดีท่ามกลางการอารักขาของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยนับร้อย . ลี แจ-ซอง รองผู้อำนวยการสำนักงานปราบปรามการทุจริต (ซีไอโอ) เผยว่า กำลังเตรียมยื่นคำร้องต่อศาลให้ขยายหมายจับที่กำลังจะหมดอายุเที่ยงคืนวันจันทร์ (6 ม.ค.) รวมทั้งขอให้ตำรวจเข้าดำเนินการจับกุมยุนแทน ขณะที่ทีมกฎหมายของยุนแย้งว่า ซีไอโอไม่มีอำนาจในการจับกุมประธานาธิบดี . สัปดาห์ที่แล้ว เจ้าหน้าที่ต้องล้มเลิกความพยายามเข้าจับกุมยุนด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย หลังเผชิญหน้ากับหน่วยรักษาความปลอดภัยประธานาธิบดีนับร้อยคนนานนับชั่วโมง . ทั้งนี้ หากถูกจับกุมและถูกตัดสินว่าผิด ยุนอาจถูกจำคุกหรือรับโทษประหาร จากกรณีการประกาศกฎอัยการศึกช่วงสั้นๆ เมื่อต้นเดือนธันวาคมและนำเกาหลีใต้เข้าสู่วิกฤตการเมืองครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ทว่า ทั้งยุน และผู้สนับสนุนยังคงต่อต้านการจับกุม . คิม ซู ยอง วัย 62 ปี หนึ่งในแกนนำการชุมนุม ประกาศว่า หน่วยอารักขาจะปกป้องประธานาธิบดี และผู้ชุมนุมจะปกป้องหน่วยอารักขาอีกทอดจนถึงเที่ยงคืนวันจันทร์ รวมทั้งยืนยันว่า ถ้ามีการออกหมายจับใหม่ก็จะมาชุมนุมกันอีก . นอกจากนั้น เมื่อเช้าวันจันทร์ยังมีสมาชิกสภาจากพรรคพลังประชาชน (พีพีพี) ของยุนไปปรากฏตัวหน้าที่พักประธานาธิบดี . ทางด้านตำรวจได้ปิดถนนเพื่อป้องกันผู้ประท้วงที่คาดว่าจะรวมพลังกันต่อในวันจันทร์ ขณะที่ผู้ชุมนุมทั้งฝ่ายสนับสนุนและต่อต้านยุนหลายสิบคนปักหลักค้างคืนในวันอาทิตย์ (5 ม.ค.) ท่ามกลางอุณหภูมิติดลบ . ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ขอออกหมายจับครั้งแรกเนื่องจากยุนไม่ยอมไปให้ปากคำเรื่องการประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งทีมกฎหมายของยุนย้ำว่า หมายจับดังกล่าวผิดกฎหมายและจะดำเนินการทางกฎหมายเพื่อตอบโต้ ขณะที่หัวหน้าหน่วยอารักขาประธานาธิบดีประกาศเมื่อวันอาทิตย์ว่า จะไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่สอบสวนเข้าจับกุมยุน . ขณะเดียวกัน แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เดินทางถึงโซลเมื่อเช้าวันจันทร์เพื่อหารือกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลเกาหลีใต้ที่รวมถึงชอย ซัง-ม็อก รัฐมนตรีคลังและรักษาการประธานาธิบดี . บลิงเคนไม่มีกำหนดพบกับยุนที่ถูกระงับการปฏิบัติหน้าที่ แต่แถลงข่าวร่วมกับโช แต-ยุล รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้ และความสนใจของบลิงเคนเปลี่ยนจากประเด็นการเมืองภายในของเกาหลีใต้ เนื่องจากก่อนแถลงข่าวไม่นาน เปียงยางได้ทดสอบยิงขีปนาวุธข้ามทวีป . อนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ระบุว่า จะเริ่มการพิจารณาคดีถอดถอนยุนในวันอังคารหน้า (14 ม.ค.) ไม่ว่ายุนจะไปปรากฏตัวในศาลหรือไม่ก็ตาม โดยศาลรัฐธรรมนูญมีเวลา 180 วันในการวินิจฉัยว่า จะถอดถอนหรือคืนตำแหน่งให้ยุน . เอเอฟพีรายงานโดยอ้างอิงจากรายงานของอัยการเกี่ยวกับอดีตรัฐมนตรีกลาโหมว่า ยุนเพิกเฉยต่อการคัดค้านของรัฐมนตรีสำคัญหลายคนก่อนที่จะประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งรายงานนี้อาจเป็นหลักฐานที่ศาลรัฐธรรมนูญรับไว้พิจารณา . ตามรายงานดังกล่าว นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีต่างประเทศ และรัฐมนตรีคลังในขณะนั้น ต่างแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจและการทูตที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีในคืนที่ยุนประกาศกฎอัยการศึก . นอกจากนั้น พรรคประชาธิปไตยที่เป็นฝ่ายค้านสำคัญยังเรียกร้องให้ยุบหน่วยอารักขายุน . อย่างไรก็ดี ทีมกฎหมายของยุนยืนยันว่า จะใช้สิทธิดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดกฎหมายเช่นเดียวกัน โดยเมื่อวันอาทิตย์ ยุน กั๊บ-กึน ทนายความคนหนึ่งในทีม เผยว่า จะยื่นคำร้องคัดค้านผู้อำนวยการซีไอโอที่พยายามเข้าจับกุมยุน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000001570 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1477 มุมมอง 0 รีวิว
  • ชาวเกาหลีใต้หลายพันคนปักหลักชุมนุมท่ามกลางพายุหิมะหน้าที่พักประธานาธิบดี ยุน ซอก-ยอล ในวันอาทิตย์ (5 ม.ค.) ก่อนเส้นตายหมายจับกรณีการประกาศกฎอัยการศึกจะสิ้นสุดในอีกไม่ถึง 48 ชั่วโมง
    .
    ยุนนำเกาหลีใต้เข้าสู่วิกฤตการเมืองตั้งแต่ต้นเดือนที่แล้วจากการประกาศกฎอัยการศึกช่วงสั้นๆ และนับจากนั้นก็กบดานอยู่ในทำเนียบประธานาธิบดีโดยมีหน่วยอารักขาที่จงรักภักดีห้อมล้อมป้องกันการเข้าจับกุมของทางการ
    .
    วันเสาร์ (4 ม.ค.) ประชาชนหลายพันคนไปรวมตัวกันที่หน้าทำเนียบประธานาธิบดีและถนนหลักหลายสายในกรุงโซล หลังจากความพยายามเข้าจับกุมยุนล้มเหลว โดยฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้จับกุมประธานาธิบดีผู้นี้ ขณะที่อีกฝ่ายต้องการให้ประกาศว่า การถอดถอนยุนเป็นโมฆะ ผู้ประท้วงเหล่านั้นนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งในวันอาทิตย์แม้มีหิมะตกลงมาอย่างหนักเมื่อคืนวันเสาร์ก็ตาม
    .
    ลี จิน-อา วัย 28 ปี ที่เคยทำงานในร้านกาแฟแห่งหนึ่ง บอกว่า ลาออกจากงานเพื่อไปประท้วงต่อต้านยุนและปกป้องประเทศชาติและประชาธิปไตย โดยไม่สนใจว่า หิมะจะตกหนักแค่ไหน ลียังปักหลักค้างแรมหน้าทำเนียบประธานาธิบดีเนื่องจากบ้านอยู่ไกลเกินกว่าจะเดินทางกลับ
    .
    เช่นเดียวกับพัค ยอง-ชุล วัย 70 ปี ที่บอกว่า เคยไปรบกับคอมมิวนิสต์ท่ามกลางอุณหภูมิติดลบ 20 องศา และตอนนี้ต้องออกรบอีกครั้งเพื่อปกป้องยุนก่อนที่หมายจับจะหมดอายุเที่ยงคืนวันจันทร์
    .
    การชุมนุมท่ามกลางความหนาวเหน็บเกิดขึ้นหลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมายุนเผยว่า ได้ติดตามการชุมนุมของผู้สนับสนุนตนเองจากไลฟ์สตรีมบนยูทูบ พร้อมประกาศ “สู้” กับพวกที่พยายามตั้งคำถามกับการประกาศกฎอัยการศึกของตน
    .
    การยึดอำนาจในช่วงสั้นๆ ดังกล่าวส่งผลให้ยุนเผชิญข้อหาอาญาจากการก่อกบฏ ซึ่งเป็นหนึ่งในคดีอาญาไม่กี่คดีที่ประธานาธิบดีไม่ได้รับเอกสิทธิ์คุ้มกัน ซึ่งเท่ากับว่า ยุนอาจถูกตัดสินจำคุกหรือเลวร้ายที่สุดคือประหารชีวิต หากมีการบังคับใช้หมายจับ ยุนจะเป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนแรกที่ถูกจับกุมขณะอยู่ในตำแหน่ง
    .
    ทั้งนี้ พรรคประชาธิปไตย (ดีพี) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านสำคัญ เรียกร้องให้ยุบหน่วยอารักขาประธานาธิบดี หลังจากเจ้าหน้าที่สอบสวนถูกกองกำลังรักษาความปลอดภัยนับร้อยขัดขวางไม่ให้เข้าถึงตัวยุน
    .
    พัค ชาน-แด ผู้นำดีพีในรัฐสภา กล่าวเมื่อวันเสาร์ว่า หน่วยอารักขาประธานาธิบดีละเมิดรัฐธรรมนูญด้วยการตั้งตนเป็นกองกำลังปฏิวัติ จึงไม่มีความชอบธรรมอีกต่อไป
    .
    สำนักงานสอบสวนการทุจริต (ซีไอโอ) ที่ทำการสอบสวนกรณีการประกาศกฎอัยการศึก และฝ่ายค้านเรียกร้องให้ชอย ซัง-ม็อก สมาชิกพรรคเดียวกับยุนที่เข้ารักษาการตำแหน่งประธานาธิบดีไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ สั่งให้หน่วยอารักขาประธานาธิบดีให้ความร่วมมือในการสอบสวน
    .
    นอกจากนั้น มีแนวโน้มว่า แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ที่เดินทางถึงโซลในวันอาทิตย์ จะหารือกับโช แท-ยุล รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้ เกี่ยวกับวิกฤตการเมืองที่เกาหลีใต้เผชิญอยู่ รวมถึงสนับสนุนให้สานต่อนโยบายของยุนในวันจันทร์ (6 ม.ค.)
    .
    วันศุกร์ที่ผ่านมา ทนายความของยุนระบุว่า ความพยายามจับกุมประธานาธิบดี “ผิดกฎหมายและไม่ถูกต้อง” และประกาศจะดำเนินการตามกฎหมาย ขณะที่หน่วยอารักขาและทหารกีดขวางไม่ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนเข้าถึงตัวยุน และต้องล้มเลิกความพยายามโดยระบุเหตุผลด้านความปลอดภัย
    .
    ทางด้านศาลรัฐธรรมนูญนั้นจะเริ่มการไต่สวนในวันที่ 14 ม.ค. ไม่ว่ายุนจะไปให้การหรือไม่ก็ตาม โดยมีเวลา 180 วันในการวินิจฉัยว่า จะปลดหรือคืนตำแหน่งให้ยุนซึ่งในระหว่างนี้ถูกห้ามปฏิบัติหน้าที่
    .
    ทั้งนี้ อดีตประธานาธิบดีโน มู-เฮียน และพัค กึน-ฮเยไม่เคยไปปรากฏตัวในการพิจารณาคดีถอดถอนแต่อย่างใด
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000001202
    ..............
    Sondhi X
    ชาวเกาหลีใต้หลายพันคนปักหลักชุมนุมท่ามกลางพายุหิมะหน้าที่พักประธานาธิบดี ยุน ซอก-ยอล ในวันอาทิตย์ (5 ม.ค.) ก่อนเส้นตายหมายจับกรณีการประกาศกฎอัยการศึกจะสิ้นสุดในอีกไม่ถึง 48 ชั่วโมง . ยุนนำเกาหลีใต้เข้าสู่วิกฤตการเมืองตั้งแต่ต้นเดือนที่แล้วจากการประกาศกฎอัยการศึกช่วงสั้นๆ และนับจากนั้นก็กบดานอยู่ในทำเนียบประธานาธิบดีโดยมีหน่วยอารักขาที่จงรักภักดีห้อมล้อมป้องกันการเข้าจับกุมของทางการ . วันเสาร์ (4 ม.ค.) ประชาชนหลายพันคนไปรวมตัวกันที่หน้าทำเนียบประธานาธิบดีและถนนหลักหลายสายในกรุงโซล หลังจากความพยายามเข้าจับกุมยุนล้มเหลว โดยฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้จับกุมประธานาธิบดีผู้นี้ ขณะที่อีกฝ่ายต้องการให้ประกาศว่า การถอดถอนยุนเป็นโมฆะ ผู้ประท้วงเหล่านั้นนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งในวันอาทิตย์แม้มีหิมะตกลงมาอย่างหนักเมื่อคืนวันเสาร์ก็ตาม . ลี จิน-อา วัย 28 ปี ที่เคยทำงานในร้านกาแฟแห่งหนึ่ง บอกว่า ลาออกจากงานเพื่อไปประท้วงต่อต้านยุนและปกป้องประเทศชาติและประชาธิปไตย โดยไม่สนใจว่า หิมะจะตกหนักแค่ไหน ลียังปักหลักค้างแรมหน้าทำเนียบประธานาธิบดีเนื่องจากบ้านอยู่ไกลเกินกว่าจะเดินทางกลับ . เช่นเดียวกับพัค ยอง-ชุล วัย 70 ปี ที่บอกว่า เคยไปรบกับคอมมิวนิสต์ท่ามกลางอุณหภูมิติดลบ 20 องศา และตอนนี้ต้องออกรบอีกครั้งเพื่อปกป้องยุนก่อนที่หมายจับจะหมดอายุเที่ยงคืนวันจันทร์ . การชุมนุมท่ามกลางความหนาวเหน็บเกิดขึ้นหลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมายุนเผยว่า ได้ติดตามการชุมนุมของผู้สนับสนุนตนเองจากไลฟ์สตรีมบนยูทูบ พร้อมประกาศ “สู้” กับพวกที่พยายามตั้งคำถามกับการประกาศกฎอัยการศึกของตน . การยึดอำนาจในช่วงสั้นๆ ดังกล่าวส่งผลให้ยุนเผชิญข้อหาอาญาจากการก่อกบฏ ซึ่งเป็นหนึ่งในคดีอาญาไม่กี่คดีที่ประธานาธิบดีไม่ได้รับเอกสิทธิ์คุ้มกัน ซึ่งเท่ากับว่า ยุนอาจถูกตัดสินจำคุกหรือเลวร้ายที่สุดคือประหารชีวิต หากมีการบังคับใช้หมายจับ ยุนจะเป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนแรกที่ถูกจับกุมขณะอยู่ในตำแหน่ง . ทั้งนี้ พรรคประชาธิปไตย (ดีพี) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านสำคัญ เรียกร้องให้ยุบหน่วยอารักขาประธานาธิบดี หลังจากเจ้าหน้าที่สอบสวนถูกกองกำลังรักษาความปลอดภัยนับร้อยขัดขวางไม่ให้เข้าถึงตัวยุน . พัค ชาน-แด ผู้นำดีพีในรัฐสภา กล่าวเมื่อวันเสาร์ว่า หน่วยอารักขาประธานาธิบดีละเมิดรัฐธรรมนูญด้วยการตั้งตนเป็นกองกำลังปฏิวัติ จึงไม่มีความชอบธรรมอีกต่อไป . สำนักงานสอบสวนการทุจริต (ซีไอโอ) ที่ทำการสอบสวนกรณีการประกาศกฎอัยการศึก และฝ่ายค้านเรียกร้องให้ชอย ซัง-ม็อก สมาชิกพรรคเดียวกับยุนที่เข้ารักษาการตำแหน่งประธานาธิบดีไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ สั่งให้หน่วยอารักขาประธานาธิบดีให้ความร่วมมือในการสอบสวน . นอกจากนั้น มีแนวโน้มว่า แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ที่เดินทางถึงโซลในวันอาทิตย์ จะหารือกับโช แท-ยุล รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้ เกี่ยวกับวิกฤตการเมืองที่เกาหลีใต้เผชิญอยู่ รวมถึงสนับสนุนให้สานต่อนโยบายของยุนในวันจันทร์ (6 ม.ค.) . วันศุกร์ที่ผ่านมา ทนายความของยุนระบุว่า ความพยายามจับกุมประธานาธิบดี “ผิดกฎหมายและไม่ถูกต้อง” และประกาศจะดำเนินการตามกฎหมาย ขณะที่หน่วยอารักขาและทหารกีดขวางไม่ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนเข้าถึงตัวยุน และต้องล้มเลิกความพยายามโดยระบุเหตุผลด้านความปลอดภัย . ทางด้านศาลรัฐธรรมนูญนั้นจะเริ่มการไต่สวนในวันที่ 14 ม.ค. ไม่ว่ายุนจะไปให้การหรือไม่ก็ตาม โดยมีเวลา 180 วันในการวินิจฉัยว่า จะปลดหรือคืนตำแหน่งให้ยุนซึ่งในระหว่างนี้ถูกห้ามปฏิบัติหน้าที่ . ทั้งนี้ อดีตประธานาธิบดีโน มู-เฮียน และพัค กึน-ฮเยไม่เคยไปปรากฏตัวในการพิจารณาคดีถอดถอนแต่อย่างใด . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000001202 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1692 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้เผยได้ร่างโรดแมปเตรียมพร้อมไว้แล้วกรณีที่ทรัมป์ฟื้นการเจรจานิวเคลียร์กับเปียงยาง แต่ยอมรับว่า สถานการณ์วุ่นวายทางการเมืองทำให้การติดต่อประสานงานกับทีมงานของว่าที่ผู้นำใหม่ของสหรัฐฯ สะดุด
    .
    ในวันพุธ (18 ธ.ค.) ที่งานแถลงข่าวร่วมต่อสื่อต่างประเทศซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก โช แต-ยุล รัฐมนตรีต่างประเทศ และชอย ซัง-ม็อก รัฐมนตรีคลังเกาหลีใต้ พยายามฟื้นความมั่นใจของชาติพันธมิตรและนักลงทุนในตลาด นับจากที่ประธานาธิบดียุน ซอก-ยอล พยายามประกาศกฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. และดึงประเทศเข้าสู่วิกฤตการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปี
    .
    โชเผยว่า เกาหลีใต้ได้สร้างเครือข่ายและช่องทางสื่อสารกับทีมหาเสียงของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของอเมริกา “ที่แข็งแกร่งกว่าประเทศใดๆ” ทว่า การประกาศกฎอัยการศึกทำให้เครือข่ายและช่องทางเหล่านั้นสะดุดและบ่อนทำลายโมเมนตัมทางการเมืองระหว่างสองฝ่าย
    .
    ทีมงานของโชยังร่างโรดแมปสำหรับความเป็นไปได้ที่วอชิงตันและเปียงยางอาจฟื้นการเจรจานิวเคลียร์ โดยอ้างอิงการที่ทรัมป์เลือกอดีตผู้นำหน่วยข่าวกรองเป็นผู้แทนภารกิจพิเศษที่รวมถึงนโยบายต่อเกาหลีเหนือ
    .
    ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เปียงยางเพิกเฉยต่อการทาบทามเพื่อฟื้นการเจรจาโดยปราศจากเงื่อนไขของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แต่ทีมงานของทรัมป์พยายามหาทางเจรจาโดยตรงกับคิม จอง-อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ เพื่อลดความเสี่ยงในการปะทะทางทหาร
    .
    นอกจากนั้นทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า ต้องการเจรจาเพื่อยุติสงครามในยูเครน แต่โชเชื่อว่า เรื่องนี้ต้องใช้เวลาสักพักจนกว่าจะเกิดขึ้นจริง และจำเป็นต้องหาทางตอบโต้กรณีที่เกาหลีเหนือส่งทหารไปรัสเซียควบคู่กับการเฝ้าติดตามสถานการณ์
    .
    ในส่วนจีนนั้น โชเผยว่า ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ถูกคาดหมายว่า จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ในเกาหลีใต้ปีหน้า ซึ่งจะถือเป็นการเยือนโซลครั้งแรกของประมุขจีนในรอบ 11 ปี
    .
    เขายังกล่าวถึงการที่จีนตัดสินใจขยายมาตรการเดินทางเข้าเกาหลีใต้โดยไม่ต้องใช้วีซ่าว่า เป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารเชิงยุทธศาสตร์ระดับสูงระหว่างกันและความพยายามในการปรับปรุงความสัมพันธ์ และเสริมว่า โซลกำลังสำรวจความเป็นไปได้สำหรับมาตรการเดียวกัน
    .
    ทั้งนี้ นอกจากต้องพยายามควบคุมผลกระทบจากวิกฤตการเมืองต่อตลาดการเงินและตลาดปริวรรตเงินตราแล้ว เกาหลีใต้ยังต้องเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตที่ไม่แน่นอนกับอเมริกาภายใต้คณะบริหารของทรัมป์
    .
    ภายหลังความพยายามในการประกาศกฎอัยการศึกของยุนที่ถูกสภาลงมติถอดถอนเมื่อวันเสาร์ (14 ธ.ค.) และขณะนี้ศาลรัฐธรรมนูญกำลังพิจารณาว่า จะถอดถอนหรือคืนตำแหน่งให้นั้น วอชิงตันได้วิจารณ์สถานการณ์การเมืองของเกาหลีใต้อย่างตรงไปตรงมาผิดปกติ โดยเคิร์ต แคมป์เบลล์ รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศ ระบุว่า การตัดสินใจของยุน “ผิดพลาดร้ายแรง”
    .
    ทางด้านชอย รัฐมนตรีคลังเกาหลีใต้ แถลงว่า รัฐบาลจะใช้ทรัพยากรทั้งหมดที่มีเพื่อจัดการเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และรับมือความผันผวนรุนแรงในตลาดปริวรรตเงินตราอย่างเต็มที่
    .
    โชและชอยเป็นส่วนหนึ่งของคณะรัฐมนตรีที่คัดค้านแผนการประกาศกฎอัยการศึกของยุนอย่างเปิดเผยระหว่างการประชุมกลางดึกก่อนที่ยุนจะประกาศคำสั่งนี้ไม่นาน
    .
    ระหว่างให้การต่อรัฐสภาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โชกล่าวว่า ได้เตือนว่า การประกาศกฎอัยการศึกอาจทำลายความสำเร็จที่เกาหลีใต้สร้างสมมาตลอด 70 ปี แต่ยุนไม่สนใจคำขอร้องของตนให้ทบทวนการตัดสินใจ
    .
    โชกล่าวในงานแถลงข่าวว่า ครั้งล่าสุดที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกในเกาหลีใต้คือปี 1979 ซึ่งเขาได้เข้าทำงานในกระทรวงต่างประเทศ และสำทับว่า เขา “อึ้ง” กับการตัดสินใจดังกล่าวและไม่นึกไม่ฝันว่า เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นอีกครั้งในอีก 45 ปีต่อมา
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000121640
    ..............
    Sondhi X
    รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้เผยได้ร่างโรดแมปเตรียมพร้อมไว้แล้วกรณีที่ทรัมป์ฟื้นการเจรจานิวเคลียร์กับเปียงยาง แต่ยอมรับว่า สถานการณ์วุ่นวายทางการเมืองทำให้การติดต่อประสานงานกับทีมงานของว่าที่ผู้นำใหม่ของสหรัฐฯ สะดุด . ในวันพุธ (18 ธ.ค.) ที่งานแถลงข่าวร่วมต่อสื่อต่างประเทศซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก โช แต-ยุล รัฐมนตรีต่างประเทศ และชอย ซัง-ม็อก รัฐมนตรีคลังเกาหลีใต้ พยายามฟื้นความมั่นใจของชาติพันธมิตรและนักลงทุนในตลาด นับจากที่ประธานาธิบดียุน ซอก-ยอล พยายามประกาศกฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. และดึงประเทศเข้าสู่วิกฤตการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปี . โชเผยว่า เกาหลีใต้ได้สร้างเครือข่ายและช่องทางสื่อสารกับทีมหาเสียงของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของอเมริกา “ที่แข็งแกร่งกว่าประเทศใดๆ” ทว่า การประกาศกฎอัยการศึกทำให้เครือข่ายและช่องทางเหล่านั้นสะดุดและบ่อนทำลายโมเมนตัมทางการเมืองระหว่างสองฝ่าย . ทีมงานของโชยังร่างโรดแมปสำหรับความเป็นไปได้ที่วอชิงตันและเปียงยางอาจฟื้นการเจรจานิวเคลียร์ โดยอ้างอิงการที่ทรัมป์เลือกอดีตผู้นำหน่วยข่าวกรองเป็นผู้แทนภารกิจพิเศษที่รวมถึงนโยบายต่อเกาหลีเหนือ . ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เปียงยางเพิกเฉยต่อการทาบทามเพื่อฟื้นการเจรจาโดยปราศจากเงื่อนไขของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แต่ทีมงานของทรัมป์พยายามหาทางเจรจาโดยตรงกับคิม จอง-อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ เพื่อลดความเสี่ยงในการปะทะทางทหาร . นอกจากนั้นทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า ต้องการเจรจาเพื่อยุติสงครามในยูเครน แต่โชเชื่อว่า เรื่องนี้ต้องใช้เวลาสักพักจนกว่าจะเกิดขึ้นจริง และจำเป็นต้องหาทางตอบโต้กรณีที่เกาหลีเหนือส่งทหารไปรัสเซียควบคู่กับการเฝ้าติดตามสถานการณ์ . ในส่วนจีนนั้น โชเผยว่า ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ถูกคาดหมายว่า จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ในเกาหลีใต้ปีหน้า ซึ่งจะถือเป็นการเยือนโซลครั้งแรกของประมุขจีนในรอบ 11 ปี . เขายังกล่าวถึงการที่จีนตัดสินใจขยายมาตรการเดินทางเข้าเกาหลีใต้โดยไม่ต้องใช้วีซ่าว่า เป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารเชิงยุทธศาสตร์ระดับสูงระหว่างกันและความพยายามในการปรับปรุงความสัมพันธ์ และเสริมว่า โซลกำลังสำรวจความเป็นไปได้สำหรับมาตรการเดียวกัน . ทั้งนี้ นอกจากต้องพยายามควบคุมผลกระทบจากวิกฤตการเมืองต่อตลาดการเงินและตลาดปริวรรตเงินตราแล้ว เกาหลีใต้ยังต้องเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตที่ไม่แน่นอนกับอเมริกาภายใต้คณะบริหารของทรัมป์ . ภายหลังความพยายามในการประกาศกฎอัยการศึกของยุนที่ถูกสภาลงมติถอดถอนเมื่อวันเสาร์ (14 ธ.ค.) และขณะนี้ศาลรัฐธรรมนูญกำลังพิจารณาว่า จะถอดถอนหรือคืนตำแหน่งให้นั้น วอชิงตันได้วิจารณ์สถานการณ์การเมืองของเกาหลีใต้อย่างตรงไปตรงมาผิดปกติ โดยเคิร์ต แคมป์เบลล์ รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศ ระบุว่า การตัดสินใจของยุน “ผิดพลาดร้ายแรง” . ทางด้านชอย รัฐมนตรีคลังเกาหลีใต้ แถลงว่า รัฐบาลจะใช้ทรัพยากรทั้งหมดที่มีเพื่อจัดการเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และรับมือความผันผวนรุนแรงในตลาดปริวรรตเงินตราอย่างเต็มที่ . โชและชอยเป็นส่วนหนึ่งของคณะรัฐมนตรีที่คัดค้านแผนการประกาศกฎอัยการศึกของยุนอย่างเปิดเผยระหว่างการประชุมกลางดึกก่อนที่ยุนจะประกาศคำสั่งนี้ไม่นาน . ระหว่างให้การต่อรัฐสภาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โชกล่าวว่า ได้เตือนว่า การประกาศกฎอัยการศึกอาจทำลายความสำเร็จที่เกาหลีใต้สร้างสมมาตลอด 70 ปี แต่ยุนไม่สนใจคำขอร้องของตนให้ทบทวนการตัดสินใจ . โชกล่าวในงานแถลงข่าวว่า ครั้งล่าสุดที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกในเกาหลีใต้คือปี 1979 ซึ่งเขาได้เข้าทำงานในกระทรวงต่างประเทศ และสำทับว่า เขา “อึ้ง” กับการตัดสินใจดังกล่าวและไม่นึกไม่ฝันว่า เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นอีกครั้งในอีก 45 ปีต่อมา . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000121640 .............. Sondhi X
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1198 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดียุน ซ็อกยอล แห่งเกาหลีใต้ ประกาศว่าจะต่อสู้เพื่ออนาคตทางการเมือง หลังเขาถูกถอดถอนพ้นจากตำแหน่ง ในการโหวตครั้งที่ 2 ของรัฐสภาที่นำโดยฝ่ายค้าน ต่อการประกาศกฎอัยการศึกที่มีผลบังคับในช่วงสั้นๆ ความเคลื่อนไหวที่สร้างความตกตะลึงไปทั่วประเทศ
    .
    ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินใจว่าจะรับรองการถอดถอนยุนพ้นจากเก้าอี้หรือไม่ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งใน 6 เดือนข้างหน้า และถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเห็นชอบมติถอดถอน เมื่อนั้นก็จะมีการเลือกตั้งใหม่
    .
    นายกรัฐมนตรีนายฮัน ด็อก-ซู ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากยุน ก้าวมาเป็นรักษาการประธานาธิบดี ในระหว่างที่ ยุน ยังคงอยู่ในตำแหน่ง แต่อำนาจประธานาธิบดีของเขาถูกพักเอาไว้ ในขณะที่วาระการดำรงตำแหน่งของเขาเพิ่งผ่านมาได้แค่ครึ่งทาง
    .
    "ผมจะใช้ทุกความเข้มแข็งที่ผมมีและทุกความพยายามในการรักษาเสถียรภาพแก่รัฐบาล" ฮันบอกกับผู้สื่อข่าวหลังการโหวต
    .
    วิกฤตการเมืองครั้งนี้ อันนำมาซึ่งการลาออกและการจับกุมเจ้าหน้าที่กลาโหมและเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงหลายรายก่อความกังวลเกี่ยวกับศักยภาพของเกาหลีใต้ในการป้องปรามเกาหลีเหนือ ชาติติดอาวุธนิวเคลียร์ ในช่วงเวลาที่ เปียงยาง กำลังยกระดับคลังแสงและกระชับความสัมพันธ์แน่นแฟ้นขึ้นกับรัสเซีย
    .
    ยุน ถือเป็นประธานาธิบดีอนุรักษนิยมคนที่ 2 ติดต่อกันที่ถูกถอดถอนในเกาหลีใต้ หลังจากพัค กึน-ฮเย ถูกเขี่ยพ้นจากตำแหน่งในปี 2017 ทั้งนี้ ยุน ถูกยื่นถอดถอนครั้งแรกเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้ว แต่รอดพ้นมาได้สืบเนื่องจากสมาชิกพรรคของเขาส่วนใหญ่บอตคอตการลงมติ ส่งผลให้องค์ประชุมไม่ครบ อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้ว ก็เขาถูกถอดถอนในการลงมติรอบ 2
    .
    "แม้ว่าผมจะหยุดแล้วในตอนนี้ แต่การเดินทางเคียงข้างประชาชนของผมในช่วง 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา ในการมุ่งหน้าสู่อนาคต จะไม่มีวันหยุดลง ผมจะไม่มีวันยอมแพ้" ยุนกล่าว
    .
    บรรดาผู้ประท้วงใกล้อาคารรัฐสภาที่สนับสนุนการถอดถอนยุน ส่งเสียงยินดีอย่างกึกก้องขานรับข่าวการลงมติถอดถอน สวนทางกับบรรยากาศของที่ชุมนุมของฝ่ายสนับสนุนยุน
    .
    ญัตติถอดถอนประธานาธิบดีครั้งนี้มี ส.ส.ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลร่วมกันโหวตเห็นชอบ 204 เสียง คัดค้าน 85 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง และมีคะแนนโหวตที่เป็นโมฆะ (nullified) อีก 8 เสียง
    .
    ส.ส.พรรคพลังประชาชน (PPP) ที่เป็นฝั่งรัฐบาลประกาศไม่บอยคอตการโหวตเหมือนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และมี ส.ส.อย่างน้อย 12 คนที่ช่วยโหวตสนับสนุนญัตติถอดถอนของฝ่ายค้าน เปิดทางสำหรับการได้คะแนนเสียง 2 ใน 3 ที่จำเป็นสำหรับการถอดถอน ในสมัชชาที่มีทั้งหมด 300 ที่นั่ง และมีพรรค PPP ครองเสียงข้างมากด้วยจำนวน 192 เสียง
    .
    ยุน สร้างความตกตะลึงไปทั่วประเทศเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม เมื่อเขาประกาศกฎอัยการศึก ให้อำนาจฉุกเฉินอย่างกว้างขวางแก่กองทัพในการขุดรากถอนโคนในสิ่งที่เขาเรียกว่า "กองกำลังต่อต้านรัฐ" และพิชิตการทำตัวเป็นอุปสรรคขัดขวางของฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง
    .
    อย่างไรก็ตาม เขายกเลิกประกาศดังกล่าวเพียงแค่อีก 6 ชั่วโมงต่อมา หลังจากรัฐสภาขัดขืนทหารและตำรวจ ลงมติคัดค้านอัยการศึก แต่มันฉุดให้ประเทศแห่งนี้ดำดิ่งสู่วิกฤตรัฐธรรมนูญและโหมกระพือเสียงเรียกร้องอย่างกว้างขวางให้เขาลาออกจากตำแหน่ง ในเหตุผลที่ว่าเขาละเมิดกฎหมาย
    .
    ต่อมา ยุน ออกมาขอโทษ แต่ปกป้องการตัดสินใจของตนเอง แต่เมินเสียงเรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่ง กระตุ้นให้บรรดาพรรคฝ่ายค้ายยื่นถอดถอน ภายใต้การสนับสนุนของผู้ชุมนุมจำนวนมาก
    .
    นอกจากนี้ ยุน ยังอยู่ภายใต้การสืบสวนทางอาญา ตามคำกล่าวหาก่อกบฏจากการประกาศอัยการศึก และเจ้าหน้าที่สั่งห้ามเขาเดินทางออกนอกประเทศ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000120164
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดียุน ซ็อกยอล แห่งเกาหลีใต้ ประกาศว่าจะต่อสู้เพื่ออนาคตทางการเมือง หลังเขาถูกถอดถอนพ้นจากตำแหน่ง ในการโหวตครั้งที่ 2 ของรัฐสภาที่นำโดยฝ่ายค้าน ต่อการประกาศกฎอัยการศึกที่มีผลบังคับในช่วงสั้นๆ ความเคลื่อนไหวที่สร้างความตกตะลึงไปทั่วประเทศ . ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินใจว่าจะรับรองการถอดถอนยุนพ้นจากเก้าอี้หรือไม่ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งใน 6 เดือนข้างหน้า และถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเห็นชอบมติถอดถอน เมื่อนั้นก็จะมีการเลือกตั้งใหม่ . นายกรัฐมนตรีนายฮัน ด็อก-ซู ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากยุน ก้าวมาเป็นรักษาการประธานาธิบดี ในระหว่างที่ ยุน ยังคงอยู่ในตำแหน่ง แต่อำนาจประธานาธิบดีของเขาถูกพักเอาไว้ ในขณะที่วาระการดำรงตำแหน่งของเขาเพิ่งผ่านมาได้แค่ครึ่งทาง . "ผมจะใช้ทุกความเข้มแข็งที่ผมมีและทุกความพยายามในการรักษาเสถียรภาพแก่รัฐบาล" ฮันบอกกับผู้สื่อข่าวหลังการโหวต . วิกฤตการเมืองครั้งนี้ อันนำมาซึ่งการลาออกและการจับกุมเจ้าหน้าที่กลาโหมและเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงหลายรายก่อความกังวลเกี่ยวกับศักยภาพของเกาหลีใต้ในการป้องปรามเกาหลีเหนือ ชาติติดอาวุธนิวเคลียร์ ในช่วงเวลาที่ เปียงยาง กำลังยกระดับคลังแสงและกระชับความสัมพันธ์แน่นแฟ้นขึ้นกับรัสเซีย . ยุน ถือเป็นประธานาธิบดีอนุรักษนิยมคนที่ 2 ติดต่อกันที่ถูกถอดถอนในเกาหลีใต้ หลังจากพัค กึน-ฮเย ถูกเขี่ยพ้นจากตำแหน่งในปี 2017 ทั้งนี้ ยุน ถูกยื่นถอดถอนครั้งแรกเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้ว แต่รอดพ้นมาได้สืบเนื่องจากสมาชิกพรรคของเขาส่วนใหญ่บอตคอตการลงมติ ส่งผลให้องค์ประชุมไม่ครบ อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้ว ก็เขาถูกถอดถอนในการลงมติรอบ 2 . "แม้ว่าผมจะหยุดแล้วในตอนนี้ แต่การเดินทางเคียงข้างประชาชนของผมในช่วง 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา ในการมุ่งหน้าสู่อนาคต จะไม่มีวันหยุดลง ผมจะไม่มีวันยอมแพ้" ยุนกล่าว . บรรดาผู้ประท้วงใกล้อาคารรัฐสภาที่สนับสนุนการถอดถอนยุน ส่งเสียงยินดีอย่างกึกก้องขานรับข่าวการลงมติถอดถอน สวนทางกับบรรยากาศของที่ชุมนุมของฝ่ายสนับสนุนยุน . ญัตติถอดถอนประธานาธิบดีครั้งนี้มี ส.ส.ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลร่วมกันโหวตเห็นชอบ 204 เสียง คัดค้าน 85 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง และมีคะแนนโหวตที่เป็นโมฆะ (nullified) อีก 8 เสียง . ส.ส.พรรคพลังประชาชน (PPP) ที่เป็นฝั่งรัฐบาลประกาศไม่บอยคอตการโหวตเหมือนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และมี ส.ส.อย่างน้อย 12 คนที่ช่วยโหวตสนับสนุนญัตติถอดถอนของฝ่ายค้าน เปิดทางสำหรับการได้คะแนนเสียง 2 ใน 3 ที่จำเป็นสำหรับการถอดถอน ในสมัชชาที่มีทั้งหมด 300 ที่นั่ง และมีพรรค PPP ครองเสียงข้างมากด้วยจำนวน 192 เสียง . ยุน สร้างความตกตะลึงไปทั่วประเทศเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม เมื่อเขาประกาศกฎอัยการศึก ให้อำนาจฉุกเฉินอย่างกว้างขวางแก่กองทัพในการขุดรากถอนโคนในสิ่งที่เขาเรียกว่า "กองกำลังต่อต้านรัฐ" และพิชิตการทำตัวเป็นอุปสรรคขัดขวางของฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง . อย่างไรก็ตาม เขายกเลิกประกาศดังกล่าวเพียงแค่อีก 6 ชั่วโมงต่อมา หลังจากรัฐสภาขัดขืนทหารและตำรวจ ลงมติคัดค้านอัยการศึก แต่มันฉุดให้ประเทศแห่งนี้ดำดิ่งสู่วิกฤตรัฐธรรมนูญและโหมกระพือเสียงเรียกร้องอย่างกว้างขวางให้เขาลาออกจากตำแหน่ง ในเหตุผลที่ว่าเขาละเมิดกฎหมาย . ต่อมา ยุน ออกมาขอโทษ แต่ปกป้องการตัดสินใจของตนเอง แต่เมินเสียงเรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่ง กระตุ้นให้บรรดาพรรคฝ่ายค้ายยื่นถอดถอน ภายใต้การสนับสนุนของผู้ชุมนุมจำนวนมาก . นอกจากนี้ ยุน ยังอยู่ภายใต้การสืบสวนทางอาญา ตามคำกล่าวหาก่อกบฏจากการประกาศอัยการศึก และเจ้าหน้าที่สั่งห้ามเขาเดินทางออกนอกประเทศ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000120164 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1236 มุมมอง 0 รีวิว