ชาวเกาหลีใต้หลายพันคนปักหลักชุมนุมท่ามกลางพายุหิมะหน้าที่พักประธานาธิบดี ยุน ซอก-ยอล ในวันอาทิตย์ (5 ม.ค.) ก่อนเส้นตายหมายจับกรณีการประกาศกฎอัยการศึกจะสิ้นสุดในอีกไม่ถึง 48 ชั่วโมง
.
ยุนนำเกาหลีใต้เข้าสู่วิกฤตการเมืองตั้งแต่ต้นเดือนที่แล้วจากการประกาศกฎอัยการศึกช่วงสั้นๆ และนับจากนั้นก็กบดานอยู่ในทำเนียบประธานาธิบดีโดยมีหน่วยอารักขาที่จงรักภักดีห้อมล้อมป้องกันการเข้าจับกุมของทางการ
.
วันเสาร์ (4 ม.ค.) ประชาชนหลายพันคนไปรวมตัวกันที่หน้าทำเนียบประธานาธิบดีและถนนหลักหลายสายในกรุงโซล หลังจากความพยายามเข้าจับกุมยุนล้มเหลว โดยฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้จับกุมประธานาธิบดีผู้นี้ ขณะที่อีกฝ่ายต้องการให้ประกาศว่า การถอดถอนยุนเป็นโมฆะ ผู้ประท้วงเหล่านั้นนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งในวันอาทิตย์แม้มีหิมะตกลงมาอย่างหนักเมื่อคืนวันเสาร์ก็ตาม
.
ลี จิน-อา วัย 28 ปี ที่เคยทำงานในร้านกาแฟแห่งหนึ่ง บอกว่า ลาออกจากงานเพื่อไปประท้วงต่อต้านยุนและปกป้องประเทศชาติและประชาธิปไตย โดยไม่สนใจว่า หิมะจะตกหนักแค่ไหน ลียังปักหลักค้างแรมหน้าทำเนียบประธานาธิบดีเนื่องจากบ้านอยู่ไกลเกินกว่าจะเดินทางกลับ
.
เช่นเดียวกับพัค ยอง-ชุล วัย 70 ปี ที่บอกว่า เคยไปรบกับคอมมิวนิสต์ท่ามกลางอุณหภูมิติดลบ 20 องศา และตอนนี้ต้องออกรบอีกครั้งเพื่อปกป้องยุนก่อนที่หมายจับจะหมดอายุเที่ยงคืนวันจันทร์
.
การชุมนุมท่ามกลางความหนาวเหน็บเกิดขึ้นหลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมายุนเผยว่า ได้ติดตามการชุมนุมของผู้สนับสนุนตนเองจากไลฟ์สตรีมบนยูทูบ พร้อมประกาศ “สู้” กับพวกที่พยายามตั้งคำถามกับการประกาศกฎอัยการศึกของตน
.
การยึดอำนาจในช่วงสั้นๆ ดังกล่าวส่งผลให้ยุนเผชิญข้อหาอาญาจากการก่อกบฏ ซึ่งเป็นหนึ่งในคดีอาญาไม่กี่คดีที่ประธานาธิบดีไม่ได้รับเอกสิทธิ์คุ้มกัน ซึ่งเท่ากับว่า ยุนอาจถูกตัดสินจำคุกหรือเลวร้ายที่สุดคือประหารชีวิต หากมีการบังคับใช้หมายจับ ยุนจะเป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนแรกที่ถูกจับกุมขณะอยู่ในตำแหน่ง
.
ทั้งนี้ พรรคประชาธิปไตย (ดีพี) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านสำคัญ เรียกร้องให้ยุบหน่วยอารักขาประธานาธิบดี หลังจากเจ้าหน้าที่สอบสวนถูกกองกำลังรักษาความปลอดภัยนับร้อยขัดขวางไม่ให้เข้าถึงตัวยุน
.
พัค ชาน-แด ผู้นำดีพีในรัฐสภา กล่าวเมื่อวันเสาร์ว่า หน่วยอารักขาประธานาธิบดีละเมิดรัฐธรรมนูญด้วยการตั้งตนเป็นกองกำลังปฏิวัติ จึงไม่มีความชอบธรรมอีกต่อไป
.
สำนักงานสอบสวนการทุจริต (ซีไอโอ) ที่ทำการสอบสวนกรณีการประกาศกฎอัยการศึก และฝ่ายค้านเรียกร้องให้ชอย ซัง-ม็อก สมาชิกพรรคเดียวกับยุนที่เข้ารักษาการตำแหน่งประธานาธิบดีไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ สั่งให้หน่วยอารักขาประธานาธิบดีให้ความร่วมมือในการสอบสวน
.
นอกจากนั้น มีแนวโน้มว่า แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ที่เดินทางถึงโซลในวันอาทิตย์ จะหารือกับโช แท-ยุล รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้ เกี่ยวกับวิกฤตการเมืองที่เกาหลีใต้เผชิญอยู่ รวมถึงสนับสนุนให้สานต่อนโยบายของยุนในวันจันทร์ (6 ม.ค.)
.
วันศุกร์ที่ผ่านมา ทนายความของยุนระบุว่า ความพยายามจับกุมประธานาธิบดี “ผิดกฎหมายและไม่ถูกต้อง” และประกาศจะดำเนินการตามกฎหมาย ขณะที่หน่วยอารักขาและทหารกีดขวางไม่ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนเข้าถึงตัวยุน และต้องล้มเลิกความพยายามโดยระบุเหตุผลด้านความปลอดภัย
.
ทางด้านศาลรัฐธรรมนูญนั้นจะเริ่มการไต่สวนในวันที่ 14 ม.ค. ไม่ว่ายุนจะไปให้การหรือไม่ก็ตาม โดยมีเวลา 180 วันในการวินิจฉัยว่า จะปลดหรือคืนตำแหน่งให้ยุนซึ่งในระหว่างนี้ถูกห้ามปฏิบัติหน้าที่
.
ทั้งนี้ อดีตประธานาธิบดีโน มู-เฮียน และพัค กึน-ฮเยไม่เคยไปปรากฏตัวในการพิจารณาคดีถอดถอนแต่อย่างใด
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000001202
..............
Sondhi X
.
ยุนนำเกาหลีใต้เข้าสู่วิกฤตการเมืองตั้งแต่ต้นเดือนที่แล้วจากการประกาศกฎอัยการศึกช่วงสั้นๆ และนับจากนั้นก็กบดานอยู่ในทำเนียบประธานาธิบดีโดยมีหน่วยอารักขาที่จงรักภักดีห้อมล้อมป้องกันการเข้าจับกุมของทางการ
.
วันเสาร์ (4 ม.ค.) ประชาชนหลายพันคนไปรวมตัวกันที่หน้าทำเนียบประธานาธิบดีและถนนหลักหลายสายในกรุงโซล หลังจากความพยายามเข้าจับกุมยุนล้มเหลว โดยฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้จับกุมประธานาธิบดีผู้นี้ ขณะที่อีกฝ่ายต้องการให้ประกาศว่า การถอดถอนยุนเป็นโมฆะ ผู้ประท้วงเหล่านั้นนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งในวันอาทิตย์แม้มีหิมะตกลงมาอย่างหนักเมื่อคืนวันเสาร์ก็ตาม
.
ลี จิน-อา วัย 28 ปี ที่เคยทำงานในร้านกาแฟแห่งหนึ่ง บอกว่า ลาออกจากงานเพื่อไปประท้วงต่อต้านยุนและปกป้องประเทศชาติและประชาธิปไตย โดยไม่สนใจว่า หิมะจะตกหนักแค่ไหน ลียังปักหลักค้างแรมหน้าทำเนียบประธานาธิบดีเนื่องจากบ้านอยู่ไกลเกินกว่าจะเดินทางกลับ
.
เช่นเดียวกับพัค ยอง-ชุล วัย 70 ปี ที่บอกว่า เคยไปรบกับคอมมิวนิสต์ท่ามกลางอุณหภูมิติดลบ 20 องศา และตอนนี้ต้องออกรบอีกครั้งเพื่อปกป้องยุนก่อนที่หมายจับจะหมดอายุเที่ยงคืนวันจันทร์
.
การชุมนุมท่ามกลางความหนาวเหน็บเกิดขึ้นหลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมายุนเผยว่า ได้ติดตามการชุมนุมของผู้สนับสนุนตนเองจากไลฟ์สตรีมบนยูทูบ พร้อมประกาศ “สู้” กับพวกที่พยายามตั้งคำถามกับการประกาศกฎอัยการศึกของตน
.
การยึดอำนาจในช่วงสั้นๆ ดังกล่าวส่งผลให้ยุนเผชิญข้อหาอาญาจากการก่อกบฏ ซึ่งเป็นหนึ่งในคดีอาญาไม่กี่คดีที่ประธานาธิบดีไม่ได้รับเอกสิทธิ์คุ้มกัน ซึ่งเท่ากับว่า ยุนอาจถูกตัดสินจำคุกหรือเลวร้ายที่สุดคือประหารชีวิต หากมีการบังคับใช้หมายจับ ยุนจะเป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนแรกที่ถูกจับกุมขณะอยู่ในตำแหน่ง
.
ทั้งนี้ พรรคประชาธิปไตย (ดีพี) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านสำคัญ เรียกร้องให้ยุบหน่วยอารักขาประธานาธิบดี หลังจากเจ้าหน้าที่สอบสวนถูกกองกำลังรักษาความปลอดภัยนับร้อยขัดขวางไม่ให้เข้าถึงตัวยุน
.
พัค ชาน-แด ผู้นำดีพีในรัฐสภา กล่าวเมื่อวันเสาร์ว่า หน่วยอารักขาประธานาธิบดีละเมิดรัฐธรรมนูญด้วยการตั้งตนเป็นกองกำลังปฏิวัติ จึงไม่มีความชอบธรรมอีกต่อไป
.
สำนักงานสอบสวนการทุจริต (ซีไอโอ) ที่ทำการสอบสวนกรณีการประกาศกฎอัยการศึก และฝ่ายค้านเรียกร้องให้ชอย ซัง-ม็อก สมาชิกพรรคเดียวกับยุนที่เข้ารักษาการตำแหน่งประธานาธิบดีไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ สั่งให้หน่วยอารักขาประธานาธิบดีให้ความร่วมมือในการสอบสวน
.
นอกจากนั้น มีแนวโน้มว่า แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ที่เดินทางถึงโซลในวันอาทิตย์ จะหารือกับโช แท-ยุล รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้ เกี่ยวกับวิกฤตการเมืองที่เกาหลีใต้เผชิญอยู่ รวมถึงสนับสนุนให้สานต่อนโยบายของยุนในวันจันทร์ (6 ม.ค.)
.
วันศุกร์ที่ผ่านมา ทนายความของยุนระบุว่า ความพยายามจับกุมประธานาธิบดี “ผิดกฎหมายและไม่ถูกต้อง” และประกาศจะดำเนินการตามกฎหมาย ขณะที่หน่วยอารักขาและทหารกีดขวางไม่ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนเข้าถึงตัวยุน และต้องล้มเลิกความพยายามโดยระบุเหตุผลด้านความปลอดภัย
.
ทางด้านศาลรัฐธรรมนูญนั้นจะเริ่มการไต่สวนในวันที่ 14 ม.ค. ไม่ว่ายุนจะไปให้การหรือไม่ก็ตาม โดยมีเวลา 180 วันในการวินิจฉัยว่า จะปลดหรือคืนตำแหน่งให้ยุนซึ่งในระหว่างนี้ถูกห้ามปฏิบัติหน้าที่
.
ทั้งนี้ อดีตประธานาธิบดีโน มู-เฮียน และพัค กึน-ฮเยไม่เคยไปปรากฏตัวในการพิจารณาคดีถอดถอนแต่อย่างใด
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000001202
..............
Sondhi X
ชาวเกาหลีใต้หลายพันคนปักหลักชุมนุมท่ามกลางพายุหิมะหน้าที่พักประธานาธิบดี ยุน ซอก-ยอล ในวันอาทิตย์ (5 ม.ค.) ก่อนเส้นตายหมายจับกรณีการประกาศกฎอัยการศึกจะสิ้นสุดในอีกไม่ถึง 48 ชั่วโมง
.
ยุนนำเกาหลีใต้เข้าสู่วิกฤตการเมืองตั้งแต่ต้นเดือนที่แล้วจากการประกาศกฎอัยการศึกช่วงสั้นๆ และนับจากนั้นก็กบดานอยู่ในทำเนียบประธานาธิบดีโดยมีหน่วยอารักขาที่จงรักภักดีห้อมล้อมป้องกันการเข้าจับกุมของทางการ
.
วันเสาร์ (4 ม.ค.) ประชาชนหลายพันคนไปรวมตัวกันที่หน้าทำเนียบประธานาธิบดีและถนนหลักหลายสายในกรุงโซล หลังจากความพยายามเข้าจับกุมยุนล้มเหลว โดยฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้จับกุมประธานาธิบดีผู้นี้ ขณะที่อีกฝ่ายต้องการให้ประกาศว่า การถอดถอนยุนเป็นโมฆะ ผู้ประท้วงเหล่านั้นนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งในวันอาทิตย์แม้มีหิมะตกลงมาอย่างหนักเมื่อคืนวันเสาร์ก็ตาม
.
ลี จิน-อา วัย 28 ปี ที่เคยทำงานในร้านกาแฟแห่งหนึ่ง บอกว่า ลาออกจากงานเพื่อไปประท้วงต่อต้านยุนและปกป้องประเทศชาติและประชาธิปไตย โดยไม่สนใจว่า หิมะจะตกหนักแค่ไหน ลียังปักหลักค้างแรมหน้าทำเนียบประธานาธิบดีเนื่องจากบ้านอยู่ไกลเกินกว่าจะเดินทางกลับ
.
เช่นเดียวกับพัค ยอง-ชุล วัย 70 ปี ที่บอกว่า เคยไปรบกับคอมมิวนิสต์ท่ามกลางอุณหภูมิติดลบ 20 องศา และตอนนี้ต้องออกรบอีกครั้งเพื่อปกป้องยุนก่อนที่หมายจับจะหมดอายุเที่ยงคืนวันจันทร์
.
การชุมนุมท่ามกลางความหนาวเหน็บเกิดขึ้นหลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมายุนเผยว่า ได้ติดตามการชุมนุมของผู้สนับสนุนตนเองจากไลฟ์สตรีมบนยูทูบ พร้อมประกาศ “สู้” กับพวกที่พยายามตั้งคำถามกับการประกาศกฎอัยการศึกของตน
.
การยึดอำนาจในช่วงสั้นๆ ดังกล่าวส่งผลให้ยุนเผชิญข้อหาอาญาจากการก่อกบฏ ซึ่งเป็นหนึ่งในคดีอาญาไม่กี่คดีที่ประธานาธิบดีไม่ได้รับเอกสิทธิ์คุ้มกัน ซึ่งเท่ากับว่า ยุนอาจถูกตัดสินจำคุกหรือเลวร้ายที่สุดคือประหารชีวิต หากมีการบังคับใช้หมายจับ ยุนจะเป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนแรกที่ถูกจับกุมขณะอยู่ในตำแหน่ง
.
ทั้งนี้ พรรคประชาธิปไตย (ดีพี) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านสำคัญ เรียกร้องให้ยุบหน่วยอารักขาประธานาธิบดี หลังจากเจ้าหน้าที่สอบสวนถูกกองกำลังรักษาความปลอดภัยนับร้อยขัดขวางไม่ให้เข้าถึงตัวยุน
.
พัค ชาน-แด ผู้นำดีพีในรัฐสภา กล่าวเมื่อวันเสาร์ว่า หน่วยอารักขาประธานาธิบดีละเมิดรัฐธรรมนูญด้วยการตั้งตนเป็นกองกำลังปฏิวัติ จึงไม่มีความชอบธรรมอีกต่อไป
.
สำนักงานสอบสวนการทุจริต (ซีไอโอ) ที่ทำการสอบสวนกรณีการประกาศกฎอัยการศึก และฝ่ายค้านเรียกร้องให้ชอย ซัง-ม็อก สมาชิกพรรคเดียวกับยุนที่เข้ารักษาการตำแหน่งประธานาธิบดีไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ สั่งให้หน่วยอารักขาประธานาธิบดีให้ความร่วมมือในการสอบสวน
.
นอกจากนั้น มีแนวโน้มว่า แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ที่เดินทางถึงโซลในวันอาทิตย์ จะหารือกับโช แท-ยุล รัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้ เกี่ยวกับวิกฤตการเมืองที่เกาหลีใต้เผชิญอยู่ รวมถึงสนับสนุนให้สานต่อนโยบายของยุนในวันจันทร์ (6 ม.ค.)
.
วันศุกร์ที่ผ่านมา ทนายความของยุนระบุว่า ความพยายามจับกุมประธานาธิบดี “ผิดกฎหมายและไม่ถูกต้อง” และประกาศจะดำเนินการตามกฎหมาย ขณะที่หน่วยอารักขาและทหารกีดขวางไม่ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนเข้าถึงตัวยุน และต้องล้มเลิกความพยายามโดยระบุเหตุผลด้านความปลอดภัย
.
ทางด้านศาลรัฐธรรมนูญนั้นจะเริ่มการไต่สวนในวันที่ 14 ม.ค. ไม่ว่ายุนจะไปให้การหรือไม่ก็ตาม โดยมีเวลา 180 วันในการวินิจฉัยว่า จะปลดหรือคืนตำแหน่งให้ยุนซึ่งในระหว่างนี้ถูกห้ามปฏิบัติหน้าที่
.
ทั้งนี้ อดีตประธานาธิบดีโน มู-เฮียน และพัค กึน-ฮเยไม่เคยไปปรากฏตัวในการพิจารณาคดีถอดถอนแต่อย่างใด
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000001202
..............
Sondhi X