• โรคเลื่อนรถไฟทางคู่ เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู

    โครงการรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู (Gemas-Johor Bahru Electrified Double-Tracking Rail Project) หรือ Gemas-JB EDTP ประเทศมาเลเซีย ระยะทาง 192 กิโลเมตร แม้มีความคืบหน้าการก่อสร้าง แต่การขยายเส้นทางบริการรถไฟ ETS จากสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) รัฐปะลิส หรือสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ถึงสถานีเซกามัส (Segamat) ซึ่งเป็นสถานีแรกของรัฐยะโฮร์ ต้องถูกเลื่อนออกไปเป็นครั้งที่สอง

    เดิมการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) มีแผนที่จะขยายบริการรถไฟ ETS ไปยังสถานีเซกามัสในวันที่ 1 ก.ค. 2567 แต่ต้องเลื่อนออกไป คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือน ต.ค. 2567 แต่แล้วก็เลื่อนออกไปอีก ตามรายงานข่าวของสำนักข่าวเดอะสเตรทไทมส์ของมาเลเซีย ระบุแหล่งข่าวจากรัฐบาลมาเลเซียว่า เกิดจากบริษัท YTL Construction ผู้รับจ้างก่อสร้าง ไม่สามารถดำเนินการด้านเทคนิคของสายจ่ายกระแสไฟฟ้าที่สถานีควบคุมการเดินรถเกนวง (Genuang Operating Station) ส่งผลทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือศีรษะได้

    แม้ว่าการวางรางรถไฟช่วงสถานีเกอมัส ถึงรัฐยะโฮร์จะคืบหน้ากว่า 95% แต่งานด้านอื่นที่ยังดำเนินการอยู่ ได้แก่ การทดสอบเดินรถไฟฟ้า โดยที่ผ่านมาโครงการนี้ประสบปัญหาล่าช้ากว่า 3 ปี จากสถานการณ์โควิด 19 และการเวนคืนที่ดิน นอกจากนี้ ยังมีความล่าช้าในการส่งมอบขบวนรถโดยสารรุ่น KTM Class 94 หรือ ETS3 ขนาด 312 ที่นั่ง จำนวน 10 คัน จากบริษัท CRRC Zhuzhou Locomotive ประเทศจีน ซึ่งนายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย คาดว่าขบวนรถจะส่งมอบทั้งหมดภายในวันที่ 12 ส.ค. 2568

    อย่างไรก็ตาม คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือน เม.ย. 2568 และเปิดให้บริการในช่วงกลางปี 2568 ขณะที่การก่อสร้างสถานี Genuang, Segamat, Labis, Bekok และ Paloh เปิดให้ประชาชนใช้บริการได้แล้ว

    โครงการ Gemas-JB EDTP เริ่มต้นจากสถานีเกอมัส รัฐเนกรีเซมบีลัน เชื่อมกับรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ที่เปิดให้บริการเมื่อปี 2554 ถึงสถานีเจบีเซ็นทรัล (JB Sentral) รัฐยะโฮร์ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยลดเวลาการเดินทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ไปยังเมืองยะโฮร์บาห์รู จาก 7 ชั่วโมงเหลือ 4 ชั่วโมง 30 นาที คาดว่าจะให้บริการผู้โดยสารได้ 3,000 คนต่อวัน รวมทั้งยังใกล้กับโครงการรถไฟ RTS Link ไปยังประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการภายในเดือน ม.ค. 2570

    ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 มีผู้ใช้บริการรถไฟดีเซลราง KTM Intercity เส้นทางระหว่างเกอมัสถึงยะโฮร์บาห์รู จำนวน 63,607 คน

    #Newskit #Gemas #KTMB
    โรคเลื่อนรถไฟทางคู่ เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู โครงการรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู (Gemas-Johor Bahru Electrified Double-Tracking Rail Project) หรือ Gemas-JB EDTP ประเทศมาเลเซีย ระยะทาง 192 กิโลเมตร แม้มีความคืบหน้าการก่อสร้าง แต่การขยายเส้นทางบริการรถไฟ ETS จากสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) รัฐปะลิส หรือสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ถึงสถานีเซกามัส (Segamat) ซึ่งเป็นสถานีแรกของรัฐยะโฮร์ ต้องถูกเลื่อนออกไปเป็นครั้งที่สอง เดิมการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) มีแผนที่จะขยายบริการรถไฟ ETS ไปยังสถานีเซกามัสในวันที่ 1 ก.ค. 2567 แต่ต้องเลื่อนออกไป คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือน ต.ค. 2567 แต่แล้วก็เลื่อนออกไปอีก ตามรายงานข่าวของสำนักข่าวเดอะสเตรทไทมส์ของมาเลเซีย ระบุแหล่งข่าวจากรัฐบาลมาเลเซียว่า เกิดจากบริษัท YTL Construction ผู้รับจ้างก่อสร้าง ไม่สามารถดำเนินการด้านเทคนิคของสายจ่ายกระแสไฟฟ้าที่สถานีควบคุมการเดินรถเกนวง (Genuang Operating Station) ส่งผลทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือศีรษะได้ แม้ว่าการวางรางรถไฟช่วงสถานีเกอมัส ถึงรัฐยะโฮร์จะคืบหน้ากว่า 95% แต่งานด้านอื่นที่ยังดำเนินการอยู่ ได้แก่ การทดสอบเดินรถไฟฟ้า โดยที่ผ่านมาโครงการนี้ประสบปัญหาล่าช้ากว่า 3 ปี จากสถานการณ์โควิด 19 และการเวนคืนที่ดิน นอกจากนี้ ยังมีความล่าช้าในการส่งมอบขบวนรถโดยสารรุ่น KTM Class 94 หรือ ETS3 ขนาด 312 ที่นั่ง จำนวน 10 คัน จากบริษัท CRRC Zhuzhou Locomotive ประเทศจีน ซึ่งนายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย คาดว่าขบวนรถจะส่งมอบทั้งหมดภายในวันที่ 12 ส.ค. 2568 อย่างไรก็ตาม คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือน เม.ย. 2568 และเปิดให้บริการในช่วงกลางปี 2568 ขณะที่การก่อสร้างสถานี Genuang, Segamat, Labis, Bekok และ Paloh เปิดให้ประชาชนใช้บริการได้แล้ว โครงการ Gemas-JB EDTP เริ่มต้นจากสถานีเกอมัส รัฐเนกรีเซมบีลัน เชื่อมกับรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ที่เปิดให้บริการเมื่อปี 2554 ถึงสถานีเจบีเซ็นทรัล (JB Sentral) รัฐยะโฮร์ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยลดเวลาการเดินทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ไปยังเมืองยะโฮร์บาห์รู จาก 7 ชั่วโมงเหลือ 4 ชั่วโมง 30 นาที คาดว่าจะให้บริการผู้โดยสารได้ 3,000 คนต่อวัน รวมทั้งยังใกล้กับโครงการรถไฟ RTS Link ไปยังประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการภายในเดือน ม.ค. 2570 ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 มีผู้ใช้บริการรถไฟดีเซลราง KTM Intercity เส้นทางระหว่างเกอมัสถึงยะโฮร์บาห์รู จำนวน 63,607 คน #Newskit #Gemas #KTMB
    Like
    Sad
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 512 มุมมอง 0 รีวิว
  • กลุ่มพราวบูสต์เมืองหัวหิน ทำทางเชื่อมสถานีหนองแก

    สถานีรถไฟหนองแก ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ของทางรถไฟสายใต้ ซึ่งโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ได้ก่อสร้างงานโยธาช่วงนครปฐม-ชุมพร ระยะทาง 420 กิโลเมตรแล้วเสร็จ และเปิดใช้ทางไปเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา มีขบวนรถธรรมดาจอดรับ-ส่งผู้โดยสารวันละ 2 เที่ยว ได้แก่ ขบวน 255 ธนบุรี-หลังสวน และขบวน 251 ธนบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ไป-กลับรวม 4 เที่ยว

    ด้วยที่ตั้งสถานีติดกับโครงการของกลุ่มบริษัทพราว ที่มี พราวพุธ ลิปตพัลลภ ลูกสาวของ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นกรรมการบริหาร ประกอบด้วย โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ วานานาวา หัวหิน สวนน้ำวานานาวา วอเตอร์จังเกิ้ล และโครงการคอนโดมิเนียมเวหา หัวหิน ที่คาดว่าแล้วเสร็จไตรมาส 2/2568 จึงขออนุญาตการรถไฟแห่งประเทศไทย เช่าพื้นที่ทำทางเชื่อมจากสถานีรถไฟหนองแก ถึงโรงแรมฮอลิเดย์อินน์ฯ ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ และเตรียมเปิดให้บริการเร็วๆ นี้

    ทางเชื่อมสถานีรถไฟหนองแก สามารถเดินเท้าไปยังโรงแรมฮอลิเดย์อินน์ วานา นาวา หัวหิน ด้วยระยะทาง 200 เมตร ที่มี วานานาวา สกาย รูฟท็อปบาร์ ซึ่งเป็นบาร์สูงที่สุดในหัวหิน โดยทางโรงแรมฯ เตรียมบริการรับ-ส่งผ่านรถบักกี้และดูแลจัดการกระเป๋าเดินทางให้แก่ผู้เข้าพัก ต่อด้วยสถานที่ท่องเที่ยวข้างเคียง สวนน้ำวานานาวา วอเตอร์จังเกิ้ล หัวหิน อีกด้านหนึ่ง สามารถเดินเท้าไปยังตลาดซิคาด้า ระยะทาง 700 เมตรในเวลา 15 นาที รวมทั้งชายหาดเขาตะเกียบ และหมู่บ้านประมง

    พร้อมกันนี้ ยังเตรียมจัดหาขบวนรถไฟ เปิดเส้นทางท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ ถึงสถานีหนองแก สำหรับผู้ที่มาใช้บริการที่โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ วานานาวา หัวหิน, สวนน้ำวานานาวา วอเตอร์จังเกิ้ล และโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล หัวหินรีสอร์ท รวมถึงประชาชนที่สนใจโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. ถึง 31 มี.ค. 2568 โดยสำรองที่นั่งได้ผ่านทาง www.vananavahuahin.com ซึ่งจะมีพนักงานของพราวกรุ๊ปคอยให้บริการและอำนวยความสะดวกบนขบวน

    การจัดขบวนรถไฟไปยังสถานีหนองแก ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในช่วงที่ถนนพระรามที่ 2 มีการก่อสร้างและการจราจรติดขัด ให้สามารถเดินทางสู่เมืองหัวหินได้สะดวก ที่ผ่านมากลุ่มพราวพยายามผลักดันการท่องเที่ยวทั้งการสร้างสวนน้ำ ศูนย์การค้า และการจัดงานอีเวนต์ต่างๆ ตลอดทั้งปี โดยล่าสุดศูนย์การค้าบลูพอร์ต หัวหิน ได้เปิด Blúport Hall Hua Hin MICE สถานที่จัดงานประชุมสัมมนาที่ชั้น 1 พื้นที่รวม 3,295 ตารางเมตร รองรับผู้เข้าร่วมงานอีเวนต์ได้สูงสุด 2,000 คน

    #Newskit #VanaNava #สถานีหนองแก
    กลุ่มพราวบูสต์เมืองหัวหิน ทำทางเชื่อมสถานีหนองแก สถานีรถไฟหนองแก ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ของทางรถไฟสายใต้ ซึ่งโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ได้ก่อสร้างงานโยธาช่วงนครปฐม-ชุมพร ระยะทาง 420 กิโลเมตรแล้วเสร็จ และเปิดใช้ทางไปเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา มีขบวนรถธรรมดาจอดรับ-ส่งผู้โดยสารวันละ 2 เที่ยว ได้แก่ ขบวน 255 ธนบุรี-หลังสวน และขบวน 251 ธนบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ไป-กลับรวม 4 เที่ยว ด้วยที่ตั้งสถานีติดกับโครงการของกลุ่มบริษัทพราว ที่มี พราวพุธ ลิปตพัลลภ ลูกสาวของ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นกรรมการบริหาร ประกอบด้วย โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ วานานาวา หัวหิน สวนน้ำวานานาวา วอเตอร์จังเกิ้ล และโครงการคอนโดมิเนียมเวหา หัวหิน ที่คาดว่าแล้วเสร็จไตรมาส 2/2568 จึงขออนุญาตการรถไฟแห่งประเทศไทย เช่าพื้นที่ทำทางเชื่อมจากสถานีรถไฟหนองแก ถึงโรงแรมฮอลิเดย์อินน์ฯ ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ และเตรียมเปิดให้บริการเร็วๆ นี้ ทางเชื่อมสถานีรถไฟหนองแก สามารถเดินเท้าไปยังโรงแรมฮอลิเดย์อินน์ วานา นาวา หัวหิน ด้วยระยะทาง 200 เมตร ที่มี วานานาวา สกาย รูฟท็อปบาร์ ซึ่งเป็นบาร์สูงที่สุดในหัวหิน โดยทางโรงแรมฯ เตรียมบริการรับ-ส่งผ่านรถบักกี้และดูแลจัดการกระเป๋าเดินทางให้แก่ผู้เข้าพัก ต่อด้วยสถานที่ท่องเที่ยวข้างเคียง สวนน้ำวานานาวา วอเตอร์จังเกิ้ล หัวหิน อีกด้านหนึ่ง สามารถเดินเท้าไปยังตลาดซิคาด้า ระยะทาง 700 เมตรในเวลา 15 นาที รวมทั้งชายหาดเขาตะเกียบ และหมู่บ้านประมง พร้อมกันนี้ ยังเตรียมจัดหาขบวนรถไฟ เปิดเส้นทางท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ ถึงสถานีหนองแก สำหรับผู้ที่มาใช้บริการที่โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ วานานาวา หัวหิน, สวนน้ำวานานาวา วอเตอร์จังเกิ้ล และโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล หัวหินรีสอร์ท รวมถึงประชาชนที่สนใจโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. ถึง 31 มี.ค. 2568 โดยสำรองที่นั่งได้ผ่านทาง www.vananavahuahin.com ซึ่งจะมีพนักงานของพราวกรุ๊ปคอยให้บริการและอำนวยความสะดวกบนขบวน การจัดขบวนรถไฟไปยังสถานีหนองแก ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในช่วงที่ถนนพระรามที่ 2 มีการก่อสร้างและการจราจรติดขัด ให้สามารถเดินทางสู่เมืองหัวหินได้สะดวก ที่ผ่านมากลุ่มพราวพยายามผลักดันการท่องเที่ยวทั้งการสร้างสวนน้ำ ศูนย์การค้า และการจัดงานอีเวนต์ต่างๆ ตลอดทั้งปี โดยล่าสุดศูนย์การค้าบลูพอร์ต หัวหิน ได้เปิด Blúport Hall Hua Hin MICE สถานที่จัดงานประชุมสัมมนาที่ชั้น 1 พื้นที่รวม 3,295 ตารางเมตร รองรับผู้เข้าร่วมงานอีเวนต์ได้สูงสุด 2,000 คน #Newskit #VanaNava #สถานีหนองแก
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 415 มุมมอง 0 รีวิว
  • อนาคตสถานีลพบุรี

    โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ระยะทาง 145 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 21,467 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างตั้งแต่กลางปี 2561 ในที่สุดสัญญาที่ 1 ช่วงบ้านกลับ-โคกกะเทียม (ทางรถไฟยกระดับ) ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือน ก.ย. 2567 ส่วนสัญญาที่ 2 ท่าแค-ปากน้ำโพ คืบหน้า 98.26% คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน พ.ย. 2567 และสัญญาที่ 3 งานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม (ST8) คืบหน้า 49.59% คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2568

    สำหรับไฮไลต์ของโครงการอยู่ที่สัญญาที่ 1 เป็นการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ใหม่ ระยะทาง 29 กิโลเมตร เพื่อป้องกันผลกระทบต่อโบราณสถานอย่างพระปรางค์สามยอด มีจุดเริ่มต้นทางทิศใต้ของสถานีบ้านกลับ เบี่ยงออกทางด้านทิศตะวันตกของเมืองลพบุรี และยกระดับบนแนวเกาะกลางถนนของทางหลวงหมายเลข 366 (ถนนเลี่ยงเมืองลพบุรี) ระยะทาง 19 กิโลเมตร ก่อนลดระดับลง บรรจบแนวเส้นทางรถไฟเดิม ระหว่างสถานีท่าแค และสถานีโคกกะเทียม

    พร้อมปรับปรุงสถานีรถไฟบ้านกลับ โดยอนุรักษ์อาคารเดิมไว้ และก่อสร้างสถานีรถไฟลพบุรี 2 บริเวณถนนเลี่ยงเมืองลพบุรี ก่อนถึงแยกสนามไชย ต.โพลาดแก้ว อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ 3 ชั้น ประกอบด้วยชั้น 1 ที่จอดรถ ชั้น 2 พื้นที่จำหน่ายตั๋วและรองรับผู้โดยสาร ชั้น 3 ชานชาลา

    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากที่ตั้งสถานีรถไฟลพบุรี 2 อยู่ห่างจากสถานีรถไฟลพบุรี ต.ท่าหิน อ.เมืองฯ จ.ลพบุรี ประมาณ 9 กิโลเมตร ตามแผนของกระทรวงคมนาคม จะให้รถไฟชานเมือง กรุงเทพ (หัวลำโพง)-ลพบุรี และรถไฟท้องถิ่น พิษณุโลก-ลพบุรี ทั้งไปและกลับ จอดที่สถานีเดิม นอกนั้นทั้งรถไฟธรรมดา รถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ ย้ายไปให้บริการที่สถานีลพบุรี 2 แห่งใหม่

    แน่นอนว่าย่อมมีผู้ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่ต้องอาศัยรถไฟธรรมดา สายพิษณุโลก สายตะพานหิน สายนครสวรรค์ และสายบ้านตาคลี มายังสถานีลพบุรี ไม่นับรวมกรณีรถไฟทางไกลสายเหนือ ต้องไปใช้บริการที่สถานีลพบุรี 2 มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอหรือไม่ มีรถรับส่งผู้โดยสารไปยังตัวเมืองลพบุรีหรือไม่ บริการฟรีหรือเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ภาระตกอยู่กับผู้โดยสารเพิ่มขึ้น

    ขณะนี้สถานีรถไฟลพบุรี ได้ทำทำแบบสำรวจเพื่อประกอบการจัดทำแผนในการเดินขบวนรถไฟโดยสาร ที่ให้บริการระหว่างสถานีลพบุรี (เดิม) และสถานีลพบุรี 2 เพื่อรับทราบถึงความคิดเห็น ความต้องการ ข้อดีข้อเสีย และผลกระทบที่ได้รับ สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ Google Form https://forms.gle/8HG7zhG7gheZBaSW6 หรือที่ช่องจำหน่ายตั๋วโดยสาร สถานีรถไฟลพบุรี

    #Newskit #สถานีลพบุรี #รถไฟทางคู่
    อนาคตสถานีลพบุรี โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ระยะทาง 145 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 21,467 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างตั้งแต่กลางปี 2561 ในที่สุดสัญญาที่ 1 ช่วงบ้านกลับ-โคกกะเทียม (ทางรถไฟยกระดับ) ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือน ก.ย. 2567 ส่วนสัญญาที่ 2 ท่าแค-ปากน้ำโพ คืบหน้า 98.26% คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน พ.ย. 2567 และสัญญาที่ 3 งานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม (ST8) คืบหน้า 49.59% คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2568 สำหรับไฮไลต์ของโครงการอยู่ที่สัญญาที่ 1 เป็นการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ใหม่ ระยะทาง 29 กิโลเมตร เพื่อป้องกันผลกระทบต่อโบราณสถานอย่างพระปรางค์สามยอด มีจุดเริ่มต้นทางทิศใต้ของสถานีบ้านกลับ เบี่ยงออกทางด้านทิศตะวันตกของเมืองลพบุรี และยกระดับบนแนวเกาะกลางถนนของทางหลวงหมายเลข 366 (ถนนเลี่ยงเมืองลพบุรี) ระยะทาง 19 กิโลเมตร ก่อนลดระดับลง บรรจบแนวเส้นทางรถไฟเดิม ระหว่างสถานีท่าแค และสถานีโคกกะเทียม พร้อมปรับปรุงสถานีรถไฟบ้านกลับ โดยอนุรักษ์อาคารเดิมไว้ และก่อสร้างสถานีรถไฟลพบุรี 2 บริเวณถนนเลี่ยงเมืองลพบุรี ก่อนถึงแยกสนามไชย ต.โพลาดแก้ว อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ 3 ชั้น ประกอบด้วยชั้น 1 ที่จอดรถ ชั้น 2 พื้นที่จำหน่ายตั๋วและรองรับผู้โดยสาร ชั้น 3 ชานชาลา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากที่ตั้งสถานีรถไฟลพบุรี 2 อยู่ห่างจากสถานีรถไฟลพบุรี ต.ท่าหิน อ.เมืองฯ จ.ลพบุรี ประมาณ 9 กิโลเมตร ตามแผนของกระทรวงคมนาคม จะให้รถไฟชานเมือง กรุงเทพ (หัวลำโพง)-ลพบุรี และรถไฟท้องถิ่น พิษณุโลก-ลพบุรี ทั้งไปและกลับ จอดที่สถานีเดิม นอกนั้นทั้งรถไฟธรรมดา รถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ ย้ายไปให้บริการที่สถานีลพบุรี 2 แห่งใหม่ แน่นอนว่าย่อมมีผู้ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่ต้องอาศัยรถไฟธรรมดา สายพิษณุโลก สายตะพานหิน สายนครสวรรค์ และสายบ้านตาคลี มายังสถานีลพบุรี ไม่นับรวมกรณีรถไฟทางไกลสายเหนือ ต้องไปใช้บริการที่สถานีลพบุรี 2 มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอหรือไม่ มีรถรับส่งผู้โดยสารไปยังตัวเมืองลพบุรีหรือไม่ บริการฟรีหรือเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ภาระตกอยู่กับผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ขณะนี้สถานีรถไฟลพบุรี ได้ทำทำแบบสำรวจเพื่อประกอบการจัดทำแผนในการเดินขบวนรถไฟโดยสาร ที่ให้บริการระหว่างสถานีลพบุรี (เดิม) และสถานีลพบุรี 2 เพื่อรับทราบถึงความคิดเห็น ความต้องการ ข้อดีข้อเสีย และผลกระทบที่ได้รับ สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ Google Form https://forms.gle/8HG7zhG7gheZBaSW6 หรือที่ช่องจำหน่ายตั๋วโดยสาร สถานีรถไฟลพบุรี #Newskit #สถานีลพบุรี #รถไฟทางคู่
    Like
    8
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 375 มุมมอง 0 รีวิว
  • 9 ตุลาคม 2567-สำนักข่าวอิศรารายงานว่า นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในโอกาสที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีอายุครบ 22 ปี สนข. เปรียบเสมือน "คลังสมอง"ให้กับกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติภารกิจหน้าที่และมีบทบาทในการเสนอแนะนโยบายและจัดทำแผนยุทธศาสตร์แผนแม่บท แผนงานต่าง ๆ ด้านคมนาคมขนส่งและจราจร ทั้งมิติทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ รวมทั้งผลักดันขับเคลื่อนแผนงาน โครงการ และมาตรการต่าง ๆ ให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเตรียมความพร้อมในการรองรับการขยายตัว และการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และผลักดันให้ประเทศไทย ก้าวสู่การเป็น "ศูนย์กลางด้านคมนาคมในภูมิภาค"

    โดยแผนงานด้านคมนาคมทางบกนั้นให้ สนข. เป็นหน่วยงานหลัก ผ่านกลไกของคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เพื่อบริหารจัดการการแก้ไขปัญหารจราจร และในระยะกลาง ให้พัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทาง เช่น จัดระบบฟีดเดอร์เชื่อมโยงรถเมล์ กับรถไฟฟ้า

    ส่วนระบบรางให้เร่งจัดระบบขนส่งสาธารณะในเมืองใหญ่ในภูมิภาค และ ให้ สนข. เป็นหน่วยงานร่วมในการเจรจากับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อหาข้อสรุปในโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ที่จังหวัดหนองคาย เพื่อเชื่อมโยงถนนกับระบบราง ส่วนในระยะกลางให้หาข้อสรูปแนวทางการพัฒนารถไฟทางคู่ระบบรถไฟฟ้าในเมืองภูมิภาค และ คมนาคมทางอากาศ ให้พิจารณาการเชื่อมต่อการเดินทางทางอากาศกับการขนส่งทางบก เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวก

    @ผลักดันร่าง พ.ร.บ. SEC ภายในปี 67

    นางมนพรกล่าวถึงโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้และเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (ชุมพร-ระนอง) หรือโครงการแลนด์บริดจ์ว่า ให้ สนข. เร่งเดินหน้าให้เป็นรูปธรรม และเป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนดโดยจะเร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (พ.ร.บ. SEC) เพื่อขับเคลื่อนแลนด์บริดจ์ และเข้าสู่ขั้นตอนการเปิดประมูลหาผู้ร่วมลงทุน (PPP)

    ซึ่งขณะนี้ สนข.ได้เสนอเรื่องไปที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะเลขาฯคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) เพื่อรอเสนอที่ประชุม กพศ.พิจารณามอบอำนาจให้ สนข. เป็นผู้จัดทำร่าง พ.ร.บ. SEC ก่อน เสนอร่าง พ.ร.บ.SEC ไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

    ขณะที่นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งแลงและจราจร (สนข.) กล่าวว่า หลังจากสนข.ได้รับมอบอำนาจในการจัดทำร่างพ.ร.บ. SEC แล้วจะนำร่างพ.ร.บ.SEC รับฟังความคิดเห็นฯ มีระยะเวลา 7 วัน คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จะสรุปความเห็นมาปรับปรุงประกอบ และ นำเสนอ กระทรวงคมนาคม และครม. ได้ภายในปี 2567 เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ต่อไป

    นายปัญญากล่าวว่า ในปี 2568 สนข. จะดำเนินการคู่ขนาน เช่น การจัดเตรียมเอกสารและให้คำปรึกษาในการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการแลนด์บริดจ์ (RFP) และศึกษา EHIA รวมถึงเตรียมการจัดตั้งหน่วยงาน SEC ซึ่งจะต้องจัดตั้งให้เสร็จก่อน เพื่อทำหน้าที่ในการประมูลคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน

    สำหรับพ.ร.บ. SEC จะใช้เป็นกฎหมาย เพื่อขับเคลื่อนแลนด์บริดจ์ จะมีการกำหนดพื้นที่ 4 จังหวัด คือสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ระนอง เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ เหมือนอีอีซี

    https://www.isranews.org/article/isranews-short-news/132458-transport-30.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0hxox5LMd8oKGw5uMuOi7SIA80cONdUQhiSa-sgcprf0WOETKcJBPDC3c_aem_OSkH-jMSzmfvSL9Wimismw#m21x5n8ypb7jxxg1reh

    #Thaitimes
    9 ตุลาคม 2567-สำนักข่าวอิศรารายงานว่า นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในโอกาสที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีอายุครบ 22 ปี สนข. เปรียบเสมือน "คลังสมอง"ให้กับกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติภารกิจหน้าที่และมีบทบาทในการเสนอแนะนโยบายและจัดทำแผนยุทธศาสตร์แผนแม่บท แผนงานต่าง ๆ ด้านคมนาคมขนส่งและจราจร ทั้งมิติทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ รวมทั้งผลักดันขับเคลื่อนแผนงาน โครงการ และมาตรการต่าง ๆ ให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเตรียมความพร้อมในการรองรับการขยายตัว และการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และผลักดันให้ประเทศไทย ก้าวสู่การเป็น "ศูนย์กลางด้านคมนาคมในภูมิภาค" โดยแผนงานด้านคมนาคมทางบกนั้นให้ สนข. เป็นหน่วยงานหลัก ผ่านกลไกของคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เพื่อบริหารจัดการการแก้ไขปัญหารจราจร และในระยะกลาง ให้พัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทาง เช่น จัดระบบฟีดเดอร์เชื่อมโยงรถเมล์ กับรถไฟฟ้า ส่วนระบบรางให้เร่งจัดระบบขนส่งสาธารณะในเมืองใหญ่ในภูมิภาค และ ให้ สนข. เป็นหน่วยงานร่วมในการเจรจากับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อหาข้อสรุปในโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ที่จังหวัดหนองคาย เพื่อเชื่อมโยงถนนกับระบบราง ส่วนในระยะกลางให้หาข้อสรูปแนวทางการพัฒนารถไฟทางคู่ระบบรถไฟฟ้าในเมืองภูมิภาค และ คมนาคมทางอากาศ ให้พิจารณาการเชื่อมต่อการเดินทางทางอากาศกับการขนส่งทางบก เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวก @ผลักดันร่าง พ.ร.บ. SEC ภายในปี 67 นางมนพรกล่าวถึงโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้และเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (ชุมพร-ระนอง) หรือโครงการแลนด์บริดจ์ว่า ให้ สนข. เร่งเดินหน้าให้เป็นรูปธรรม และเป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนดโดยจะเร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (พ.ร.บ. SEC) เพื่อขับเคลื่อนแลนด์บริดจ์ และเข้าสู่ขั้นตอนการเปิดประมูลหาผู้ร่วมลงทุน (PPP) ซึ่งขณะนี้ สนข.ได้เสนอเรื่องไปที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะเลขาฯคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) เพื่อรอเสนอที่ประชุม กพศ.พิจารณามอบอำนาจให้ สนข. เป็นผู้จัดทำร่าง พ.ร.บ. SEC ก่อน เสนอร่าง พ.ร.บ.SEC ไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ขณะที่นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งแลงและจราจร (สนข.) กล่าวว่า หลังจากสนข.ได้รับมอบอำนาจในการจัดทำร่างพ.ร.บ. SEC แล้วจะนำร่างพ.ร.บ.SEC รับฟังความคิดเห็นฯ มีระยะเวลา 7 วัน คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จะสรุปความเห็นมาปรับปรุงประกอบ และ นำเสนอ กระทรวงคมนาคม และครม. ได้ภายในปี 2567 เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ต่อไป นายปัญญากล่าวว่า ในปี 2568 สนข. จะดำเนินการคู่ขนาน เช่น การจัดเตรียมเอกสารและให้คำปรึกษาในการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการแลนด์บริดจ์ (RFP) และศึกษา EHIA รวมถึงเตรียมการจัดตั้งหน่วยงาน SEC ซึ่งจะต้องจัดตั้งให้เสร็จก่อน เพื่อทำหน้าที่ในการประมูลคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน สำหรับพ.ร.บ. SEC จะใช้เป็นกฎหมาย เพื่อขับเคลื่อนแลนด์บริดจ์ จะมีการกำหนดพื้นที่ 4 จังหวัด คือสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ระนอง เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ เหมือนอีอีซี https://www.isranews.org/article/isranews-short-news/132458-transport-30.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0hxox5LMd8oKGw5uMuOi7SIA80cONdUQhiSa-sgcprf0WOETKcJBPDC3c_aem_OSkH-jMSzmfvSL9Wimismw#m21x5n8ypb7jxxg1reh #Thaitimes
    WWW.ISRANEWS.ORG
    ‘คมนาคม-สนข.’ ตั้งเป้าเสนอ พ.ร.บ. SEC เข้าครม.ภายในปี 67
    ‘มนพร’ เผยความคืบหน้าการผลักดันนโยบาย ‘แลนด์บริดจ์’ เข็นร่าง พ.ร.บ. SEC ให้ผ่าน ‘สภาพัฒน์’ โดยเร็ว ด้านผอ.สนข.ชี้ตั้งเป้าผลักดันให้ ครม. เห็นชอบภายในปีนี้
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 532 มุมมอง 0 รีวิว
  • เทศบาลนครหัวหิน อัปเกรดเมืองตากอากาศ

    วันคล้ายวันสถาปนาเทศบาลเมืองหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปีที่ 87 ผ่านพ้นไปเมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา ถือเป็นปีสุดท้ายที่ใช้นามว่าเทศบาลเมืองหัวหิน เพราะในปี 2568 จะยกฐานะเป็นเทศบาลนครหัวหิน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับเมืองขนาดใหญ่ ที่มีประชากรตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป และมีรายได้พอเพียงต่อการให้บริการสาธารณะ ตามหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้

    โดยเมื่อวันที่ 28 ก.ย. ที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทย ออกประกาศ เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบศรีชันธ์ เป็นเทศบาลนครหัวหิน ตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค. 2568 เป็นต้นไป นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย นับเป็นเทศบาลนครแห่งที่ 32 ในประเทศไทย ต่อจากเทศบาลนครบุรีรัมย์ ที่จะมีผลในวันที่ 31 ต.ค. 2567 ที่จะถึงนี้ ซึ่งจะส่งผลให้มีเขตเลือกตั้งจาก 3 เขตเป็น 4 เขต มีรองนายกเทศมนตรีจาก 3 คนเป็น 4 คน พร้อมทั้งมีอำนาจหน้าที่ดูแลประชาชนมากขึ้น

    สำหรับเทศบาลเมืองหัวหิน มีพื้นที่ 86.36 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลหัวหิน และตำบลหนองแก จํานวน 40 ชุมชน มีประชากรจํานวน 62,111 คน สภาพของสังคม มีจํานวนครอบครัว 19,489 ครอบครัว ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จํานวน 46,297 คน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รายได้จริงไม่รวมเงินอุดหนุน 630,854,560.29 บาท รายจ่ายประจํา 320,219,300 บาท

    ปัจจุบัน เทศบาลเมืองหัวหิน เป็นที่ตั้งของเขตพระราชฐาน คือ พระราชวังไกลกังวล มีอุทยานราชภักดิ์ พระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ไทย 7 พระองค์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวตากอากาศยอดนิยมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีชายหาด เช่น หาดหัวหิน หาดเขาเต่า หาดหัวดอน สวนสนประดิพัทธ์ มีตลาดโต้รุ่งหัวหิน มีโรงแรมทั้งหมด 125 แห่ง ร้านอาหาร 1,192 แห่ง มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ 2 แห่ง โรงภาพยนตร์ 2 แห่ง มีสวนน้ำ และสนามกอล์ฟทั้งในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียง

    ส่วนโครงสร้างพื้นฐาน มีโครงการพัฒนาท่าอากาศยานหัวหิน รองรับเครื่องบินแอร์บัส A320 และโบอิ้ง B-737-800 และรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ ซึ่งเคยมีเที่ยวบินตรง หัวหิน-กัวลาลัมเปอร์ มาก่อน ปัจจุบันมีเที่ยวบินหัวหิน-เชียงใหม่วันละ 1 เที่ยว มีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ซึ่งได้เปิดใช้สถานีรถไฟหัวหินแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งมีขบวนรถโดยสารให้บริการรวม 28 ขบวนต่อวัน

    รถโดยสารประจำทาง มีสถานีเดินรถ 3 แห่ง ได้แก่ Bus & Van Station (มาร์เก็ตวิลเลจ หัวหิน), รุ่งเรืองโค้ช (ติดกับสนามบินหัวหิน) และสถานีเดินรถหัวหิน (สมบัติทัวร์ หัวหิน)

    #Newskit #Huahin #เทศบาลนครหัวหิน
    เทศบาลนครหัวหิน อัปเกรดเมืองตากอากาศ วันคล้ายวันสถาปนาเทศบาลเมืองหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปีที่ 87 ผ่านพ้นไปเมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา ถือเป็นปีสุดท้ายที่ใช้นามว่าเทศบาลเมืองหัวหิน เพราะในปี 2568 จะยกฐานะเป็นเทศบาลนครหัวหิน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับเมืองขนาดใหญ่ ที่มีประชากรตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป และมีรายได้พอเพียงต่อการให้บริการสาธารณะ ตามหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยเมื่อวันที่ 28 ก.ย. ที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทย ออกประกาศ เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบศรีชันธ์ เป็นเทศบาลนครหัวหิน ตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค. 2568 เป็นต้นไป นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย นับเป็นเทศบาลนครแห่งที่ 32 ในประเทศไทย ต่อจากเทศบาลนครบุรีรัมย์ ที่จะมีผลในวันที่ 31 ต.ค. 2567 ที่จะถึงนี้ ซึ่งจะส่งผลให้มีเขตเลือกตั้งจาก 3 เขตเป็น 4 เขต มีรองนายกเทศมนตรีจาก 3 คนเป็น 4 คน พร้อมทั้งมีอำนาจหน้าที่ดูแลประชาชนมากขึ้น สำหรับเทศบาลเมืองหัวหิน มีพื้นที่ 86.36 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลหัวหิน และตำบลหนองแก จํานวน 40 ชุมชน มีประชากรจํานวน 62,111 คน สภาพของสังคม มีจํานวนครอบครัว 19,489 ครอบครัว ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จํานวน 46,297 คน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รายได้จริงไม่รวมเงินอุดหนุน 630,854,560.29 บาท รายจ่ายประจํา 320,219,300 บาท ปัจจุบัน เทศบาลเมืองหัวหิน เป็นที่ตั้งของเขตพระราชฐาน คือ พระราชวังไกลกังวล มีอุทยานราชภักดิ์ พระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ไทย 7 พระองค์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวตากอากาศยอดนิยมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีชายหาด เช่น หาดหัวหิน หาดเขาเต่า หาดหัวดอน สวนสนประดิพัทธ์ มีตลาดโต้รุ่งหัวหิน มีโรงแรมทั้งหมด 125 แห่ง ร้านอาหาร 1,192 แห่ง มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ 2 แห่ง โรงภาพยนตร์ 2 แห่ง มีสวนน้ำ และสนามกอล์ฟทั้งในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียง ส่วนโครงสร้างพื้นฐาน มีโครงการพัฒนาท่าอากาศยานหัวหิน รองรับเครื่องบินแอร์บัส A320 และโบอิ้ง B-737-800 และรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ ซึ่งเคยมีเที่ยวบินตรง หัวหิน-กัวลาลัมเปอร์ มาก่อน ปัจจุบันมีเที่ยวบินหัวหิน-เชียงใหม่วันละ 1 เที่ยว มีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ซึ่งได้เปิดใช้สถานีรถไฟหัวหินแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งมีขบวนรถโดยสารให้บริการรวม 28 ขบวนต่อวัน รถโดยสารประจำทาง มีสถานีเดินรถ 3 แห่ง ได้แก่ Bus & Van Station (มาร์เก็ตวิลเลจ หัวหิน), รุ่งเรืองโค้ช (ติดกับสนามบินหัวหิน) และสถานีเดินรถหัวหิน (สมบัติทัวร์ หัวหิน) #Newskit #Huahin #เทศบาลนครหัวหิน
    Like
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 542 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไม่แปลกหรอกถ้าคุณทักษิณจะหลุดคดี ๑๑๒ ด้วย:

    ๑.ผมสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาที่ทำรัฐประหาร เพราะช่วงนั้น คุณทักษิณ ชินวัตรโกงชาติโกงแผ่นดินมากมายแล้วกฎหมายบ้านเมืองเอาผิดไม่ได้

    คุณทักษิณคุมทหาร คุมตำรวจ คุมอัยการ คุมกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด เมื่อกฎหมายเอาผิดคุณทักษิณไม่ได้ ประชาชนก็ออกถนน กลายเป็นกลุ่มเสื้อเหลือง พอเห็นเสื้อเหลืองออกถนน คุณทักษิณก็สร้างมวลชนเสื้อแดงมาต่อต้าน ถึงขั้นเผาศาลากลางจังหวัดด้วย

    เมื่อประชาธิปไตยเดินหน้าไม่ได้ ทหารก็จำเป็นต้องทำรัฐประหาร ผมมองว่าการทำรัฐประหารเป็นการผ่าทางตันและนำหลักนิติธรรมนิติรัฐกลับมา

    ถ้าพรรคประชาชนหรือนักการเมืองพรรคนี้ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ก็เป็นเรื่องของท่าน อเมริกาทำรัฐประหารในประเทศอื่นๆ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดตนเองเป็นประจำ เช่น ที่ปากีสถาน บังกลาเทศ ตอนนี้ กำลังหาทางทำที่บราซิลและเวเนซุเอล่า ทำไมคนไทยจะทำไม่ได้บ้างละครับ เพื่อให้ประเทศชาติมีความมั่นคงกลับคืนมา?

    รัฐบาลท่านพลเอกประยุทธ์ก็ทำโครงการดีๆ หลายเรื่อง เอาคนเก่งมาทำงาน สร้างถนนหนทางในต่างจังหวัดดีขึ้นจนผิดหูผิดตา เศรษฐกิจไม่ดี ท่านก็มีเป๋าตังค์หรือโครงการคนละครึ่งช่วยเหลือประชาชน

    ข้อสำคัญ ไม่มีใครสงสัยในความภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของท่าน และอีกข้อคือท่านไม่มีประเด็นด่างพร้อยเรื่องทุจริต อย่างน้อยก็ไม่มีใครเอาผิดท่านได้

    จึงไม่แปลกหรอกที่ประชาชนไทยจำนวนมากจะคิดถึงท่านพลเอกประยุทธ์ แม้ท่านจะหมดอำนาจจากรัฐบาลไปแล้ว

    ๒.ปัญหาก็คือพอทำรัฐประหารได้อำนาจมา พลเอกประยุทธ์ไม่ได้ตั้งใจหาทางแก้กฎหมายด้านความมั่นคงหลายๆ ด้านให้รัดกุมยิ่งขึ้น เช่น

    ไม่ออกกฎหมายกวาดล้าง NGOs ที่แทรกแซงการเมืองภายในประเทศ ไม่ออกกฎหมายจัดการคนที่ไลฟ์สดคุยกับนักโทษที่หลบหนีไปต่างประเทศ ไม่ออกกฎหมายจัดการสื่อโซเชียลมิเดียที่หมิ่นประมาทต่อสถาบันกษัตริย์เหมือนรัฐบาลประเทศอื่นๆ หลายปรเทศ ไม่ออกกฎหมายควบคุมสื่อโซเชียลมิเดียที่โฆษณาบ่อนพนันเป็นอาจิณ ฯลฯ คุณทักษิณจึงไลฟ์สดเข้าประเทศไทย หาเสียงได้อย่างสบายๆ ต่างชาติก็ยังใช้ NGOs ปลุกระดมประชาชนช่วยพรรคฝ่ายตรงข้ามได้อย่างสบายๆ เหมือนเดิม

    ในขณะที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์หันไปเน้นสร้างถนนและรถไฟฟ้ามากมายหลายเส้นสายแทน

    ผมเคยวิจารณ์ว่าแค่สร้างรถไฟทางคู่ให้ครอบคลุมทั่วประเทศก็พอแล้ว หันไปเน้นขุดคลองส่งน้ำในชนบทภาคอีสานและภาคอื่นๆ อย่างทั่วถึงจะดีกว่า ประชาชนจะได้อยู่ดีกินดีมากยิ่งขึ้นเพราะรายได้ประชาชนยังมีไม่มาก ถ้าสร้างรถไฟฟ้าหลายเส้นสายแล้วประชาชนไม่มีเงินนั่ง จะเจ๊งเอาได้

    ตอนนี้ก็มีข่าวว่าเริ่มเป็นปัญหาคือรถไฟฟ้าหลายเส้นทางก่อหนี้สิ้นมากขึ้นแล้ว เพราะค่ารถไฟฟ้าแพง คนส่วนใหญ่ไม่มีกำลังจะไปนั่ง

    แถมรัฐบาลท่านพลเอกประยุทธ์ยังเปิดทาง ปล่อยคุณยิ่งลักษณ์ให้หลบหนีไปต่างประเทศอย่างสะดวกสบายอีกด้วย

    ๓.ต่อมา พอมีการเลือกตั้งใหม่ พรรคท่านพลเอกประยุทธ์พ่ายแพ้เสียงข้างมากในการเลือกตั้ง ก็มีดีลพาคุณทักษิณ ชินวัตรกลับบ้าน มีการเสนออภัยโทษคุณทักษิณ ชินวัตร โดยพลเอกประยุทธ์ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชการโองการ มีวุฒิสมาชิกสายพลเอกประยุทธ์โหวตให้คุณเศรษฐาเป็นนายก

    แล้วคุณทักษิณ ชินวัตรก็กลับประเทศไทย และทำผิดกติกา ไม่ยอมเข้าคุกแม้แต่วันเดียว เป็นการทำลายระบบนิติธรรมนิติรัฐ คุณทักษิณกลายเป็นผู้กว้างขวางนอกรัฐธรรมนูญหรืออภิสิทธิ์ชนในสังคมไทยขึ้นมา

    ตอนนี้ คุณทักษิณซึ่งเป็นนักโทษหนีคดีเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการจัดตั้งรัฐบาล เป็นผู้นัดพบนักการเมืองพรรคต่างๆ ไปพบ แล้วเอาลูกตัวเองเป็นนายิการัฐมนตรี

    จะแปลกอะไรถ้าคุณทักษิณจะหลุดคดี ๑๑๒ ด้วย?


    ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    ไม่แปลกหรอกถ้าคุณทักษิณจะหลุดคดี ๑๑๒ ด้วย: ๑.ผมสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาที่ทำรัฐประหาร เพราะช่วงนั้น คุณทักษิณ ชินวัตรโกงชาติโกงแผ่นดินมากมายแล้วกฎหมายบ้านเมืองเอาผิดไม่ได้ คุณทักษิณคุมทหาร คุมตำรวจ คุมอัยการ คุมกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด เมื่อกฎหมายเอาผิดคุณทักษิณไม่ได้ ประชาชนก็ออกถนน กลายเป็นกลุ่มเสื้อเหลือง พอเห็นเสื้อเหลืองออกถนน คุณทักษิณก็สร้างมวลชนเสื้อแดงมาต่อต้าน ถึงขั้นเผาศาลากลางจังหวัดด้วย เมื่อประชาธิปไตยเดินหน้าไม่ได้ ทหารก็จำเป็นต้องทำรัฐประหาร ผมมองว่าการทำรัฐประหารเป็นการผ่าทางตันและนำหลักนิติธรรมนิติรัฐกลับมา ถ้าพรรคประชาชนหรือนักการเมืองพรรคนี้ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ก็เป็นเรื่องของท่าน อเมริกาทำรัฐประหารในประเทศอื่นๆ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดตนเองเป็นประจำ เช่น ที่ปากีสถาน บังกลาเทศ ตอนนี้ กำลังหาทางทำที่บราซิลและเวเนซุเอล่า ทำไมคนไทยจะทำไม่ได้บ้างละครับ เพื่อให้ประเทศชาติมีความมั่นคงกลับคืนมา? รัฐบาลท่านพลเอกประยุทธ์ก็ทำโครงการดีๆ หลายเรื่อง เอาคนเก่งมาทำงาน สร้างถนนหนทางในต่างจังหวัดดีขึ้นจนผิดหูผิดตา เศรษฐกิจไม่ดี ท่านก็มีเป๋าตังค์หรือโครงการคนละครึ่งช่วยเหลือประชาชน ข้อสำคัญ ไม่มีใครสงสัยในความภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของท่าน และอีกข้อคือท่านไม่มีประเด็นด่างพร้อยเรื่องทุจริต อย่างน้อยก็ไม่มีใครเอาผิดท่านได้ จึงไม่แปลกหรอกที่ประชาชนไทยจำนวนมากจะคิดถึงท่านพลเอกประยุทธ์ แม้ท่านจะหมดอำนาจจากรัฐบาลไปแล้ว ๒.ปัญหาก็คือพอทำรัฐประหารได้อำนาจมา พลเอกประยุทธ์ไม่ได้ตั้งใจหาทางแก้กฎหมายด้านความมั่นคงหลายๆ ด้านให้รัดกุมยิ่งขึ้น เช่น ไม่ออกกฎหมายกวาดล้าง NGOs ที่แทรกแซงการเมืองภายในประเทศ ไม่ออกกฎหมายจัดการคนที่ไลฟ์สดคุยกับนักโทษที่หลบหนีไปต่างประเทศ ไม่ออกกฎหมายจัดการสื่อโซเชียลมิเดียที่หมิ่นประมาทต่อสถาบันกษัตริย์เหมือนรัฐบาลประเทศอื่นๆ หลายปรเทศ ไม่ออกกฎหมายควบคุมสื่อโซเชียลมิเดียที่โฆษณาบ่อนพนันเป็นอาจิณ ฯลฯ คุณทักษิณจึงไลฟ์สดเข้าประเทศไทย หาเสียงได้อย่างสบายๆ ต่างชาติก็ยังใช้ NGOs ปลุกระดมประชาชนช่วยพรรคฝ่ายตรงข้ามได้อย่างสบายๆ เหมือนเดิม ในขณะที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์หันไปเน้นสร้างถนนและรถไฟฟ้ามากมายหลายเส้นสายแทน ผมเคยวิจารณ์ว่าแค่สร้างรถไฟทางคู่ให้ครอบคลุมทั่วประเทศก็พอแล้ว หันไปเน้นขุดคลองส่งน้ำในชนบทภาคอีสานและภาคอื่นๆ อย่างทั่วถึงจะดีกว่า ประชาชนจะได้อยู่ดีกินดีมากยิ่งขึ้นเพราะรายได้ประชาชนยังมีไม่มาก ถ้าสร้างรถไฟฟ้าหลายเส้นสายแล้วประชาชนไม่มีเงินนั่ง จะเจ๊งเอาได้ ตอนนี้ก็มีข่าวว่าเริ่มเป็นปัญหาคือรถไฟฟ้าหลายเส้นทางก่อหนี้สิ้นมากขึ้นแล้ว เพราะค่ารถไฟฟ้าแพง คนส่วนใหญ่ไม่มีกำลังจะไปนั่ง แถมรัฐบาลท่านพลเอกประยุทธ์ยังเปิดทาง ปล่อยคุณยิ่งลักษณ์ให้หลบหนีไปต่างประเทศอย่างสะดวกสบายอีกด้วย ๓.ต่อมา พอมีการเลือกตั้งใหม่ พรรคท่านพลเอกประยุทธ์พ่ายแพ้เสียงข้างมากในการเลือกตั้ง ก็มีดีลพาคุณทักษิณ ชินวัตรกลับบ้าน มีการเสนออภัยโทษคุณทักษิณ ชินวัตร โดยพลเอกประยุทธ์ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชการโองการ มีวุฒิสมาชิกสายพลเอกประยุทธ์โหวตให้คุณเศรษฐาเป็นนายก แล้วคุณทักษิณ ชินวัตรก็กลับประเทศไทย และทำผิดกติกา ไม่ยอมเข้าคุกแม้แต่วันเดียว เป็นการทำลายระบบนิติธรรมนิติรัฐ คุณทักษิณกลายเป็นผู้กว้างขวางนอกรัฐธรรมนูญหรืออภิสิทธิ์ชนในสังคมไทยขึ้นมา ตอนนี้ คุณทักษิณซึ่งเป็นนักโทษหนีคดีเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการจัดตั้งรัฐบาล เป็นผู้นัดพบนักการเมืองพรรคต่างๆ ไปพบ แล้วเอาลูกตัวเองเป็นนายิการัฐมนตรี จะแปลกอะไรถ้าคุณทักษิณจะหลุดคดี ๑๑๒ ด้วย? ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 504 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฟื้นรถไฟ กทม.-ปีนัง หลังหายไปนาน 8 ปี

    ในการประชุมร่วมระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยและการรถไฟมาเลเซีย ครั้งที่ 42 (KTMB - SRT Joint Conference) ที่เมืองโคตาคินาบาลู รัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม 2567 ซึ่งมีนายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนการรถไฟฯ เข้าร่วมประชุม มีมติที่น่าสนใจหลายเรื่อง

    หนึ่งในนั้นก็คือ ที่ประชุมได้เห็นชอบหลักการจัดเดินขบวนรถจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – ปาดังเบซาร์ - บัตเตอร์เวอร์ธ รัฐปีนัง ซึ่งหลังจากนี้จะได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อพิจารณาการเปิดให้บริการขบวนรถไฟเส้นทางต่อขยายจากสถานีปาดังเบซาร์ ไปยังสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ โดยในช่วงแรกจะเป็นการทดลองการเดินรถเป็นระยะเวลา 6 เดือน

    นับเป็นการฟื้นการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปีนัง กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่ยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 เป็นต้นมา เหลือเพียงแค่ขบวนรถที่ 45/46 ไปยังสถานีปลายทางปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส เท่านั้น หลังเคยเปิดการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2465 เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 94 ปี

    ย้อนกลับไปในอดีต การรถไฟแห่งประเทศไทย เดินรถจากต้นทางสถานีรถไฟบางกอกน้อย ไปยังสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ประเทศมาเลเซีย ทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันเสาร์ ก่อนย้ายมาที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2470 แต่หยุดการเดินรถชั่วคราวเนื่องจากสะพานพระราม 6 ถูกทำลายในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แล้วจึงกลับมาเดินรถอีกครั้ง

    ขณะนั้นให้บริการวันละ 1 เที่ยว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพในช่วงบ่าย ไปถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธในช่วงสายของวันถัดมา ก่อนที่จะหยุดการเดินรถ พบว่ารถออกจากสถานีกรุงเทพ เวลา 14.45 น. ถึงสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ เวลา 13.25 น. ตามเวลามาเลเซีย มีให้บริการเฉพาะรถนั่งและนอนชั้น 2 ค่าโดยสารเตียงบน 1,210 บาท เตียงล่าง 1,120 บาท

    แต่หลังจากประเทศมาเลเซียได้ปรับปรุงทางรถไฟระบบปิด มีลักษณะรถไฟทางคู่ และให้บริการรถไฟแบบ ETS ซึ่งเป็นรถไฟด่วนพิเศษ และ KTM Komuter ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ในปี 2559 ทำให้ประสบปัญหาผู้โดยสารขึ้นรถไฟผิดขบวน การรถไฟฯ ได้ยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ และสิ้นสุดการให้บริการที่สถานีปาดังเบซาร์ ฝั่งมาเลเซียแทน

    ปัจจุบัน ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 45 ออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 16.10 น. ถึงสถานีปาดังเบซาร์เวลา 08.05 น. ของวันรุ่งขึ้น (เวลาประเทศไทย) และขบวนรถด่วนพิเศษที่ 46 ออกจากสถานีปาดังเบซาร์ เวลา 17.00 น. (เวลาประเทศไทย) ถึงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 09.05 น. ของวันรุ่งขึ้น ใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมง

    การเดินรถไฟจากสถานีปาดังเบซาร์ ถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ หากเป็นขบวนรถ KTM Komuter จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แต่จอดทุกสถานี คาดว่าจากกรุงเทพฯ ไปยังบัตเตอร์เวอร์ธ จะใช้เวลาน้อยกว่าเมื่อ 8 ปีก่อน เพราะปัจจุบันรถไฟทางไกลย้ายต้นทางไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-ชุมพร 421 กิโลเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนหน้านี้

    ส่วนขบวนรถไฟท่องเที่ยวมายสวัสดี (MySawasdee) จากประเทศมาเลเซียมายังประเทศไทย ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้ขยายเส้นทางจากเดิมให้บริการถึงสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้มาถึงสถานีสุราษฎร์ธานี หลังได้รับผลตอบรับที่ดีเยี่ยม มีจำนวนผู้โดยสารเต็มทุกเที่ยว หลังจากนี้ทั้งสองหน่วยงานจะมีการตกลงรายละเอียด และระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป

    สำหรับขบวนรถไฟท่องเที่ยวมายสวัสดี (MySawasdee) ระหว่างสถานีเคแอล เซ็นทรัล (KL Sentral) กรุงกัวลาลัมเปอร์ กับสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้บริการเฉพาะวันหยุดเทศกาลของประเทศมาเลเซียเท่านั้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ที่จะเดินทางไปยัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565

    ปัจจุบันยังมีบริการ มาย สวัสดี พลัส (MySawasdee PLUS) สำหรับตัวแทนทัวร์และบริษัททัวร์ รวมทั้งองค์กรภาคธุรกิจ สามารถเช่าเหมารถไฟทั้งขบวนได้อีกด้วย แต่ละเที่ยวรองรับผู้โดยสารประมาณ 400 คนต่อขบวน ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 26-29 กรกฎาคม 2567 โดยบริษัท Golden Century Tours & Travel เสนอแพกเกจไปยังหาดใหญ่ เดินทาง 4 วัน 2 คืน

    ส่วนสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ที่ อ.พุนพิน ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ประมาณ 20 กิโลเมตร สามารถเดินทางต่อไปยังท่าเรือดอนสัก เพื่อโดยสารเรือเฟอร์รี่ไปยังเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี แหล่งท่องเที่ยวตากอากาศยอดนิยมได้อีกด้วย

    #Newskit #SRT #Butterworth
    ฟื้นรถไฟ กทม.-ปีนัง หลังหายไปนาน 8 ปี ในการประชุมร่วมระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยและการรถไฟมาเลเซีย ครั้งที่ 42 (KTMB - SRT Joint Conference) ที่เมืองโคตาคินาบาลู รัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม 2567 ซึ่งมีนายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนการรถไฟฯ เข้าร่วมประชุม มีมติที่น่าสนใจหลายเรื่อง หนึ่งในนั้นก็คือ ที่ประชุมได้เห็นชอบหลักการจัดเดินขบวนรถจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – ปาดังเบซาร์ - บัตเตอร์เวอร์ธ รัฐปีนัง ซึ่งหลังจากนี้จะได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อพิจารณาการเปิดให้บริการขบวนรถไฟเส้นทางต่อขยายจากสถานีปาดังเบซาร์ ไปยังสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ โดยในช่วงแรกจะเป็นการทดลองการเดินรถเป็นระยะเวลา 6 เดือน นับเป็นการฟื้นการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปีนัง กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่ยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 เป็นต้นมา เหลือเพียงแค่ขบวนรถที่ 45/46 ไปยังสถานีปลายทางปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส เท่านั้น หลังเคยเปิดการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2465 เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 94 ปี ย้อนกลับไปในอดีต การรถไฟแห่งประเทศไทย เดินรถจากต้นทางสถานีรถไฟบางกอกน้อย ไปยังสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ประเทศมาเลเซีย ทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันเสาร์ ก่อนย้ายมาที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2470 แต่หยุดการเดินรถชั่วคราวเนื่องจากสะพานพระราม 6 ถูกทำลายในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แล้วจึงกลับมาเดินรถอีกครั้ง ขณะนั้นให้บริการวันละ 1 เที่ยว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพในช่วงบ่าย ไปถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธในช่วงสายของวันถัดมา ก่อนที่จะหยุดการเดินรถ พบว่ารถออกจากสถานีกรุงเทพ เวลา 14.45 น. ถึงสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ เวลา 13.25 น. ตามเวลามาเลเซีย มีให้บริการเฉพาะรถนั่งและนอนชั้น 2 ค่าโดยสารเตียงบน 1,210 บาท เตียงล่าง 1,120 บาท แต่หลังจากประเทศมาเลเซียได้ปรับปรุงทางรถไฟระบบปิด มีลักษณะรถไฟทางคู่ และให้บริการรถไฟแบบ ETS ซึ่งเป็นรถไฟด่วนพิเศษ และ KTM Komuter ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ในปี 2559 ทำให้ประสบปัญหาผู้โดยสารขึ้นรถไฟผิดขบวน การรถไฟฯ ได้ยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ และสิ้นสุดการให้บริการที่สถานีปาดังเบซาร์ ฝั่งมาเลเซียแทน ปัจจุบัน ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 45 ออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 16.10 น. ถึงสถานีปาดังเบซาร์เวลา 08.05 น. ของวันรุ่งขึ้น (เวลาประเทศไทย) และขบวนรถด่วนพิเศษที่ 46 ออกจากสถานีปาดังเบซาร์ เวลา 17.00 น. (เวลาประเทศไทย) ถึงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 09.05 น. ของวันรุ่งขึ้น ใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมง การเดินรถไฟจากสถานีปาดังเบซาร์ ถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ หากเป็นขบวนรถ KTM Komuter จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แต่จอดทุกสถานี คาดว่าจากกรุงเทพฯ ไปยังบัตเตอร์เวอร์ธ จะใช้เวลาน้อยกว่าเมื่อ 8 ปีก่อน เพราะปัจจุบันรถไฟทางไกลย้ายต้นทางไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-ชุมพร 421 กิโลเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนหน้านี้ ส่วนขบวนรถไฟท่องเที่ยวมายสวัสดี (MySawasdee) จากประเทศมาเลเซียมายังประเทศไทย ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้ขยายเส้นทางจากเดิมให้บริการถึงสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้มาถึงสถานีสุราษฎร์ธานี หลังได้รับผลตอบรับที่ดีเยี่ยม มีจำนวนผู้โดยสารเต็มทุกเที่ยว หลังจากนี้ทั้งสองหน่วยงานจะมีการตกลงรายละเอียด และระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป สำหรับขบวนรถไฟท่องเที่ยวมายสวัสดี (MySawasdee) ระหว่างสถานีเคแอล เซ็นทรัล (KL Sentral) กรุงกัวลาลัมเปอร์ กับสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้บริการเฉพาะวันหยุดเทศกาลของประเทศมาเลเซียเท่านั้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ที่จะเดินทางไปยัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 ปัจจุบันยังมีบริการ มาย สวัสดี พลัส (MySawasdee PLUS) สำหรับตัวแทนทัวร์และบริษัททัวร์ รวมทั้งองค์กรภาคธุรกิจ สามารถเช่าเหมารถไฟทั้งขบวนได้อีกด้วย แต่ละเที่ยวรองรับผู้โดยสารประมาณ 400 คนต่อขบวน ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 26-29 กรกฎาคม 2567 โดยบริษัท Golden Century Tours & Travel เสนอแพกเกจไปยังหาดใหญ่ เดินทาง 4 วัน 2 คืน ส่วนสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ที่ อ.พุนพิน ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ประมาณ 20 กิโลเมตร สามารถเดินทางต่อไปยังท่าเรือดอนสัก เพื่อโดยสารเรือเฟอร์รี่ไปยังเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี แหล่งท่องเที่ยวตากอากาศยอดนิยมได้อีกด้วย #Newskit #SRT #Butterworth
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 924 มุมมอง 0 รีวิว