• แอปเปิ้ลสู้กลับ ลงทุนโรงงานในอินโดฯ

    หลังกระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย ไม่อนุญาตให้บริษัทแอปเปิ้ล (Apple Inc.) ของสหรัฐอเมริกา จำหน่ายโทรศัพท์มือถือไอโฟน 16 (iPhone 16) ในประเทศ หลังไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Content) ให้ได้ 40% ตามใบรับรองผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในประเทศ หรือ TKDN ซึ่งพบว่าแอปเปิ้ลเลือกก่อตั้งสถาบัน Apple Academies ที่เมืองทังเกอรัง เมืองซิโดอาร์โจ และเมืองบาตัม แต่เม็ดเงินลงทุนเพียงแค่ 1.48 ล้านล้านรูเปียห์ ต่ำกว่ายอดการลงทุนทั้งหมดที่กำหนดไว้ 1.71 ล้านล้านรูเปียห์ ทำให้อินโดนีเซียขาดดุลทางการค้ากับแอปเปิ้ล คิดเป็นเงินไทยเกือบ 500 ล้านบาท

    ล่าสุด สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานอ้างแหล่งข่าวว่า แอปเปิ้ลเตรียมเสนอการลงทุนในอินโดนีเซีย ด้วยการลงทุนเกือบ 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เข้าลงทุนโรงงานแห่งหนึ่งในเมืองบันดุง จังหวัดชวาตะวันตก ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงจาการ์ตา ร่วมกับซัพพลายเออร์รายหนึ่ง เพื่อเปิดทางให้สามารถจำหน่ายไอโฟน 16 ในประเทศได้ โดยจะผลิตสินค้า เช่น อุปกรณ์เสริมและชิ้นส่วนประกอบของอุปกรณ์แอปเปิ้ล โดยแอปเปิ้ลได้ยื่นข้อเสนอต่อกระทรวงอุตสาหกรรมของอินโดนีเซียแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอ แต่ทั้งแอปเปิ้ลและกระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย ปฎิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าว

    ก่อนหน้านี้ กระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย สั่งห้ามจำหน่ายสมาร์ทโฟน กูเกิล พิกเซล (Google Pixel) ที่ผลิตโดย กูเกิล บริษัทลูกของอัลฟาเบต (Alphabet) ด้วยเหตุผลเดียวกับแอปเปิ้ล คือ ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดการลงทุนในประเทศ โฆษกกระทรวงฯ ยืนยันว่า รัฐบาลผลักดันระเบียบนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่นักลงทุนทุกคนในอินโดนีเซีย ผลิตภัณฑ์ของกูเกิลไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จึงไม่สามารถจำหน่ายในอินโดนีเซียได้ แต่ผู้บริโภคสามารถซื้อสมาร์ทโฟนรุ่นดังกล่าวจากต่างประเทศได้ หากชำระภาษีอย่างถูกต้อง ซึ่งในปี 2567 มีสมาร์ทโฟนรุ่นดังกล่าวนำเข้ามาแล้ว 22,000 เครื่อง

    อินโดนีเซียเป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานอยู่ประมาณ 350 ล้านเครื่อง มากกว่าจำนวนประชากรราว 270 ล้านคน ที่ผ่านมารัฐบาลปราโบโว สุเบียนโต กดดันให้บริษัทต่างชาติเร่งรัดการผลิตในประเทศ เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ หลังนายโดนัลด์ ทรัมป์ ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกครั้ง ท่ามกลางความกังวลว่าอาจมีการเรียกเก็บภาษีที่สูงขึ้น และการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว ต้องดูว่ารัฐบาลอินโดนีเซียจะมีท่าทีอย่างไรกับเรื่องนี้

    #Newskit #iPhone16 #Indonesia
    แอปเปิ้ลสู้กลับ ลงทุนโรงงานในอินโดฯ หลังกระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย ไม่อนุญาตให้บริษัทแอปเปิ้ล (Apple Inc.) ของสหรัฐอเมริกา จำหน่ายโทรศัพท์มือถือไอโฟน 16 (iPhone 16) ในประเทศ หลังไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Content) ให้ได้ 40% ตามใบรับรองผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในประเทศ หรือ TKDN ซึ่งพบว่าแอปเปิ้ลเลือกก่อตั้งสถาบัน Apple Academies ที่เมืองทังเกอรัง เมืองซิโดอาร์โจ และเมืองบาตัม แต่เม็ดเงินลงทุนเพียงแค่ 1.48 ล้านล้านรูเปียห์ ต่ำกว่ายอดการลงทุนทั้งหมดที่กำหนดไว้ 1.71 ล้านล้านรูเปียห์ ทำให้อินโดนีเซียขาดดุลทางการค้ากับแอปเปิ้ล คิดเป็นเงินไทยเกือบ 500 ล้านบาท ล่าสุด สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานอ้างแหล่งข่าวว่า แอปเปิ้ลเตรียมเสนอการลงทุนในอินโดนีเซีย ด้วยการลงทุนเกือบ 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เข้าลงทุนโรงงานแห่งหนึ่งในเมืองบันดุง จังหวัดชวาตะวันตก ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงจาการ์ตา ร่วมกับซัพพลายเออร์รายหนึ่ง เพื่อเปิดทางให้สามารถจำหน่ายไอโฟน 16 ในประเทศได้ โดยจะผลิตสินค้า เช่น อุปกรณ์เสริมและชิ้นส่วนประกอบของอุปกรณ์แอปเปิ้ล โดยแอปเปิ้ลได้ยื่นข้อเสนอต่อกระทรวงอุตสาหกรรมของอินโดนีเซียแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอ แต่ทั้งแอปเปิ้ลและกระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย ปฎิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าว ก่อนหน้านี้ กระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย สั่งห้ามจำหน่ายสมาร์ทโฟน กูเกิล พิกเซล (Google Pixel) ที่ผลิตโดย กูเกิล บริษัทลูกของอัลฟาเบต (Alphabet) ด้วยเหตุผลเดียวกับแอปเปิ้ล คือ ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดการลงทุนในประเทศ โฆษกกระทรวงฯ ยืนยันว่า รัฐบาลผลักดันระเบียบนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่นักลงทุนทุกคนในอินโดนีเซีย ผลิตภัณฑ์ของกูเกิลไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จึงไม่สามารถจำหน่ายในอินโดนีเซียได้ แต่ผู้บริโภคสามารถซื้อสมาร์ทโฟนรุ่นดังกล่าวจากต่างประเทศได้ หากชำระภาษีอย่างถูกต้อง ซึ่งในปี 2567 มีสมาร์ทโฟนรุ่นดังกล่าวนำเข้ามาแล้ว 22,000 เครื่อง อินโดนีเซียเป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานอยู่ประมาณ 350 ล้านเครื่อง มากกว่าจำนวนประชากรราว 270 ล้านคน ที่ผ่านมารัฐบาลปราโบโว สุเบียนโต กดดันให้บริษัทต่างชาติเร่งรัดการผลิตในประเทศ เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ หลังนายโดนัลด์ ทรัมป์ ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกครั้ง ท่ามกลางความกังวลว่าอาจมีการเรียกเก็บภาษีที่สูงขึ้น และการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว ต้องดูว่ารัฐบาลอินโดนีเซียจะมีท่าทีอย่างไรกับเรื่องนี้ #Newskit #iPhone16 #Indonesia
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 460 มุมมอง 0 รีวิว
  • อินโดห้ามขาย iPhone 16 อยากใช้ต้องนำเข้าเอง (04/11/67) #news1 #อินโดห้ามขายiPhone16
    อินโดห้ามขาย iPhone 16 อยากใช้ต้องนำเข้าเอง (04/11/67) #news1 #อินโดห้ามขายiPhone16
    Like
    Wow
    17
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1360 มุมมอง 735 0 รีวิว
  • อินโดฯ:ไม่มีการลงทุน ก็ไม่ต้องมี iPhone16

    ชัดเจนแล้วว่าทางการอินโดนีเซียไม่ให้บริษัทแอปเปิ้ล (Apple Inc.) ของสหรัฐอเมริกา จำหน่ายโทรศัพท์มือถือไอโฟน 16 (iPhone 16) ในประเทศ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย แถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (25 ต.ค.) หลังบริษัทท้องถิ่น พีที แอปเปิ้ล อินโดนีเซีย (PT Apple Indonesia) ไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Content) ให้ได้ 40% แต่ผลิตภัณฑ์รุ่นเก่าของแอปเปิ้ลยังคงจำหน่ายในอินโดนีเซียได้

    ทั้งนี้ มีโทรศัพท์มือถือไอโฟน 16 นำเข้ามาในประเทศอินโดนีเซียแล้ว 9,000 เครื่อง ผ่านการซื้อจากต่างประเทศของผู้โดยสาร และลูกเรือบนเครื่องบิน หรือการส่งพัสดุระหว่างประเทศ แต่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานส่วนบุคคล (Personal Use) เท่านั้น ไม่สามารถซื้อขายแก่ผู้อื่นได้ และตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ทางการอินโดนีเซียได้กำหนดให้โทรศัพท์มือถือทุกรุ่นที่ซื้อจากต่างประเทศต้องลงทะเบียนกับรัฐบาล และเสียภาษีในอัตราที่สูง

    กรณีนี้กลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้แอปเปิ้ล ไม่สามารถเจาะตลาดสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ แก่ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานอยู่ประมาณ 350 ล้านเครื่อง มากกว่าจำนวนประชากรราว 270 ล้านคน ทั้งที่แอปเปิ้ลเปิดตัวผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุด วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2567 เป็นต้นมา ซึ่งในภูมิภาคอาเซียนวางจำหน่ายแล้วที่ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย เวียดนาม บรูไน ฟิลิปปินส์

    ตามข้อบังคับของกระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย ปี 2017 กำหนดให้ผู้ประกอบการจะต้องขอใบรับรองผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในประเทศ เรียกว่า TKDN (Tingkat Komponen Domestik Negeri) หนึ่งในนั้นคือการกำหนด Local Content ในรูปแบบการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ การผลิตและการจ้างแรงงานในประเทศ การพัฒนาแอปพลิเคชัน หรือนวัตกรรมในประเทศ ที่ผ่านมาแอปเปิ้ลเลือกใช้โครงการพัฒนานวัตกรรม ก่อตั้งสถาบัน Apple Academies ที่เมืองทังเกอรัง เมืองซิโดอาร์โจ และเมืองบาตัม

    ปัญหาก็คือ เม็ดเงินลงทุนของแอปเปิ้ลในอินโดนีเซียอยู่ที่ 1.48 ล้านล้านรูเปียห์ ต่ำกว่ายอดการลงทุนทั้งหมดที่กำหนดไว้ 1.71 ล้านล้านรูเปียห์ ทำให้อินโดนีเซียขาดดุลทางการค้าคิดเป็นเงินไทยเกือบ 500 ล้านบาท แม้มองผิวเผินดูเหมือนว่าเป็นการกีดกันทางการค้า จำกัดเสรีภาพในการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ แต่อีกมุมหนึ่ง ถือเป็นการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ไม่ให้เกิดการขาดดุลทางการค้า ซึ่งที่ผ่านมา ซัมซุงและเสียวมี่ เลือกที่จะตั้งโรงงานในอินโดนีเซียเช่นกัน

    #Newskit #iPhone16 #Indonesia
    อินโดฯ:ไม่มีการลงทุน ก็ไม่ต้องมี iPhone16 ชัดเจนแล้วว่าทางการอินโดนีเซียไม่ให้บริษัทแอปเปิ้ล (Apple Inc.) ของสหรัฐอเมริกา จำหน่ายโทรศัพท์มือถือไอโฟน 16 (iPhone 16) ในประเทศ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย แถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (25 ต.ค.) หลังบริษัทท้องถิ่น พีที แอปเปิ้ล อินโดนีเซีย (PT Apple Indonesia) ไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Content) ให้ได้ 40% แต่ผลิตภัณฑ์รุ่นเก่าของแอปเปิ้ลยังคงจำหน่ายในอินโดนีเซียได้ ทั้งนี้ มีโทรศัพท์มือถือไอโฟน 16 นำเข้ามาในประเทศอินโดนีเซียแล้ว 9,000 เครื่อง ผ่านการซื้อจากต่างประเทศของผู้โดยสาร และลูกเรือบนเครื่องบิน หรือการส่งพัสดุระหว่างประเทศ แต่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานส่วนบุคคล (Personal Use) เท่านั้น ไม่สามารถซื้อขายแก่ผู้อื่นได้ และตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ทางการอินโดนีเซียได้กำหนดให้โทรศัพท์มือถือทุกรุ่นที่ซื้อจากต่างประเทศต้องลงทะเบียนกับรัฐบาล และเสียภาษีในอัตราที่สูง กรณีนี้กลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้แอปเปิ้ล ไม่สามารถเจาะตลาดสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ แก่ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานอยู่ประมาณ 350 ล้านเครื่อง มากกว่าจำนวนประชากรราว 270 ล้านคน ทั้งที่แอปเปิ้ลเปิดตัวผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุด วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2567 เป็นต้นมา ซึ่งในภูมิภาคอาเซียนวางจำหน่ายแล้วที่ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย เวียดนาม บรูไน ฟิลิปปินส์ ตามข้อบังคับของกระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย ปี 2017 กำหนดให้ผู้ประกอบการจะต้องขอใบรับรองผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในประเทศ เรียกว่า TKDN (Tingkat Komponen Domestik Negeri) หนึ่งในนั้นคือการกำหนด Local Content ในรูปแบบการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ การผลิตและการจ้างแรงงานในประเทศ การพัฒนาแอปพลิเคชัน หรือนวัตกรรมในประเทศ ที่ผ่านมาแอปเปิ้ลเลือกใช้โครงการพัฒนานวัตกรรม ก่อตั้งสถาบัน Apple Academies ที่เมืองทังเกอรัง เมืองซิโดอาร์โจ และเมืองบาตัม ปัญหาก็คือ เม็ดเงินลงทุนของแอปเปิ้ลในอินโดนีเซียอยู่ที่ 1.48 ล้านล้านรูเปียห์ ต่ำกว่ายอดการลงทุนทั้งหมดที่กำหนดไว้ 1.71 ล้านล้านรูเปียห์ ทำให้อินโดนีเซียขาดดุลทางการค้าคิดเป็นเงินไทยเกือบ 500 ล้านบาท แม้มองผิวเผินดูเหมือนว่าเป็นการกีดกันทางการค้า จำกัดเสรีภาพในการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ แต่อีกมุมหนึ่ง ถือเป็นการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ไม่ให้เกิดการขาดดุลทางการค้า ซึ่งที่ผ่านมา ซัมซุงและเสียวมี่ เลือกที่จะตั้งโรงงานในอินโดนีเซียเช่นกัน #Newskit #iPhone16 #Indonesia
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 591 มุมมอง 0 รีวิว
  • อีกไม่กี่วันมาไทยแน่ iPhone16 / iPhone 16 Pro … สร้างจากภาพ Apple Store เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ [คลิปสร้างโดย AI]
    อีกไม่กี่วันมาไทยแน่ iPhone16 / iPhone 16 Pro … สร้างจากภาพ Apple Store เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ [คลิปสร้างโดย AI]
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 637 มุมมอง 282 0 รีวิว
  • ถัดมาภายหลังวันเดียวจากที่แอปเปิลเปิดตัว iPhone16 ที่สหรัฐอเมริกา ... วันนี้ (10 ก.ย.) ที่ประเทศจีน หัวเว่ยก็เปิดตัว Huawei Mate XT Ultimate Design สมาร์ทโฟนแบบพับ 3 ทบ ที่เคลมว่าเป็นสมาร์ทโฟนที่มีหน้าจอใหญ่ที่สุดในโลก คือ 10.2 นิ้ว
    .
    ชมคลิป Live >> https://www.youtube.com/watch?v=bXfSvkF6LGk
    ถัดมาภายหลังวันเดียวจากที่แอปเปิลเปิดตัว iPhone16 ที่สหรัฐอเมริกา ... วันนี้ (10 ก.ย.) ที่ประเทศจีน หัวเว่ยก็เปิดตัว Huawei Mate XT Ultimate Design สมาร์ทโฟนแบบพับ 3 ทบ ที่เคลมว่าเป็นสมาร์ทโฟนที่มีหน้าจอใหญ่ที่สุดในโลก คือ 10.2 นิ้ว . ชมคลิป Live >> https://www.youtube.com/watch?v=bXfSvkF6LGk
    Like
    Yay
    Wow
    10
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 675 มุมมอง 0 รีวิว