• ปิดตำนาน 20 ปี บัตรสมาร์ทเพิร์ส

    ในขณะที่คนไทยกำลังตื่นเต้น ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 480 สาขา สแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร ผ่านบริการมายพร้อมคิวอาร์ (MyPromptQR) เฉพาะบางธนาคาร แต่อีกด้านหนึ่ง บัตรเซเว่นการ์ด (7-Card) ซึ่งเป็นบัตรสมาร์ทเพิร์สรุ่นสุดท้าย จะยกเลิกให้บริการ โดยปิดระบบเติมเงินในวันที่ 1 ม.ค. 2568 และสมาชิกสามารถใช้เงินภายในบัตรได้ถึง 31 ม.ค. 2568

    หลังจากนั้นจะไม่สามารถใช้งานบัตรได้ สมาชิกต้องลงทะเบียนขอรับเงินคืน และนำบัตร 7-Card ที่ทำลายแล้วพร้อมสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาสมุดบัญชีส่งทางไปรษณีย์ หากไม่ดำเนินการในอีก 120 วันจะหักแต้ม และหักค่ารักษาบัญชีจนหมด

    บัตรสมาร์ทเพิร์ส เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2548 โดยใช้ชื่อว่า "บัตรเชื่อมรัก" ของเคาน์เตอร์เซอร์วิส ใช้สำหรับส่งและรับเงินระหว่างกันที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นที่เข้าร่วมโครงการ 1,000 สาขา ตลอด 24 ชั่วโมง คิดค่าบริการครั้งละ 20 บาท

    กระทั่งวันที่ 15 ธ.ค. 2548 จึงได้เริ่มให้บริการบัตรสมาร์ทเพิร์ส นำร่องร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 1,500 สาขา ก่อนทยอยเปิดครบทุกสาขาในปี 2549 โดยบัตรจำหน่ายราคาใบละ 250 บาท เติมเงินขั้นต่ำ 50 บาท สูงสุด 10,000 บาท ผ่านไปปีแรก ในปี 2549 มีผู้ถือบัตรมากถึง 1.1 ล้านใบ และร้านค้ารับบัตร 7,000 แห่ง

    นอกจากนี้ ยังมีบัตรโคแบรนด์ที่ออกร่วมกับภาคเอกชน ร้านค้า สถานศึกษา มากกว่า 100 องค์กร และยังมีบัตรที่ออกร่วมกับธนาคาร เช่น บัตรเอทีเอ็มซีไอเอ็มบีไทย สมาร์ทพอยต์ ร่วมกับธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย บัตรเค-เดบิต เซเว่นพอยต์ ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย แต่เป็นไปในลักษณะแยกกันคนละกระเป๋าเงิน ได้แก่ กระเป๋าเงินสมาร์ทเพิร์ส กับบัญชีธนาคาร

    กระทั่งเปิดตัวบัตรสมาชิก All Member ไปเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2562 จังหวะนั้นเอง บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ก็เข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จํากัด จากผู้ถือหุ้นอื่นทุกราย เพื่อย้ายฐานสมาชิกบัตร 7-Card ไปเป็น ALL Member

    อิทธิพลของดิจิทัลดิสรัปชัน โดยเฉพาะโมบายเพย์เมนต์ อีกทั้งร้านค้าต่างทยอยยกเลิกรับบัตรสมาร์ทเพิร์ส เหลือร้านเซเว่นอีเลฟเว่นที่ยังรับบัตรอยู่ ขณะนั้นมีฐานสมาชิกบัตรที่ยังไม่หมดอายุกว่า 3 ล้านใบ และมีบัตรที่ใช้งานต่อเนื่อง 1.5 ล้านใบต่อเดือน

    แต่ระหว่างนั้นเซเว่นอีเลฟเว่นหันมาทำการตลาดกับทรูมันนี่วอลเล็ต ผ่านแอปพลิเคชัน TrueMoney และ 7-App แทน กระทั่งวันสุดท้ายของบัตรใบนี้ก็มาถึง

    นับเป็นการปิดตำนานบัตรที่ใช้จ่ายแทนเงินสดในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นอย่างถาวร หลังจากให้บริการมานาน 20 ปี

    #Newskit #SmartPurse #7Card
    ปิดตำนาน 20 ปี บัตรสมาร์ทเพิร์ส ในขณะที่คนไทยกำลังตื่นเต้น ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 480 สาขา สแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร ผ่านบริการมายพร้อมคิวอาร์ (MyPromptQR) เฉพาะบางธนาคาร แต่อีกด้านหนึ่ง บัตรเซเว่นการ์ด (7-Card) ซึ่งเป็นบัตรสมาร์ทเพิร์สรุ่นสุดท้าย จะยกเลิกให้บริการ โดยปิดระบบเติมเงินในวันที่ 1 ม.ค. 2568 และสมาชิกสามารถใช้เงินภายในบัตรได้ถึง 31 ม.ค. 2568 หลังจากนั้นจะไม่สามารถใช้งานบัตรได้ สมาชิกต้องลงทะเบียนขอรับเงินคืน และนำบัตร 7-Card ที่ทำลายแล้วพร้อมสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาสมุดบัญชีส่งทางไปรษณีย์ หากไม่ดำเนินการในอีก 120 วันจะหักแต้ม และหักค่ารักษาบัญชีจนหมด บัตรสมาร์ทเพิร์ส เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2548 โดยใช้ชื่อว่า "บัตรเชื่อมรัก" ของเคาน์เตอร์เซอร์วิส ใช้สำหรับส่งและรับเงินระหว่างกันที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นที่เข้าร่วมโครงการ 1,000 สาขา ตลอด 24 ชั่วโมง คิดค่าบริการครั้งละ 20 บาท กระทั่งวันที่ 15 ธ.ค. 2548 จึงได้เริ่มให้บริการบัตรสมาร์ทเพิร์ส นำร่องร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 1,500 สาขา ก่อนทยอยเปิดครบทุกสาขาในปี 2549 โดยบัตรจำหน่ายราคาใบละ 250 บาท เติมเงินขั้นต่ำ 50 บาท สูงสุด 10,000 บาท ผ่านไปปีแรก ในปี 2549 มีผู้ถือบัตรมากถึง 1.1 ล้านใบ และร้านค้ารับบัตร 7,000 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีบัตรโคแบรนด์ที่ออกร่วมกับภาคเอกชน ร้านค้า สถานศึกษา มากกว่า 100 องค์กร และยังมีบัตรที่ออกร่วมกับธนาคาร เช่น บัตรเอทีเอ็มซีไอเอ็มบีไทย สมาร์ทพอยต์ ร่วมกับธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย บัตรเค-เดบิต เซเว่นพอยต์ ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย แต่เป็นไปในลักษณะแยกกันคนละกระเป๋าเงิน ได้แก่ กระเป๋าเงินสมาร์ทเพิร์ส กับบัญชีธนาคาร กระทั่งเปิดตัวบัตรสมาชิก All Member ไปเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2562 จังหวะนั้นเอง บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ก็เข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จํากัด จากผู้ถือหุ้นอื่นทุกราย เพื่อย้ายฐานสมาชิกบัตร 7-Card ไปเป็น ALL Member อิทธิพลของดิจิทัลดิสรัปชัน โดยเฉพาะโมบายเพย์เมนต์ อีกทั้งร้านค้าต่างทยอยยกเลิกรับบัตรสมาร์ทเพิร์ส เหลือร้านเซเว่นอีเลฟเว่นที่ยังรับบัตรอยู่ ขณะนั้นมีฐานสมาชิกบัตรที่ยังไม่หมดอายุกว่า 3 ล้านใบ และมีบัตรที่ใช้งานต่อเนื่อง 1.5 ล้านใบต่อเดือน แต่ระหว่างนั้นเซเว่นอีเลฟเว่นหันมาทำการตลาดกับทรูมันนี่วอลเล็ต ผ่านแอปพลิเคชัน TrueMoney และ 7-App แทน กระทั่งวันสุดท้ายของบัตรใบนี้ก็มาถึง นับเป็นการปิดตำนานบัตรที่ใช้จ่ายแทนเงินสดในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นอย่างถาวร หลังจากให้บริการมานาน 20 ปี #Newskit #SmartPurse #7Card
    Like
    8
    0 Comments 0 Shares 739 Views 0 Reviews
  • ไม่ใหม่แต่แปลก เซเว่นฯ สแกนจ่ายได้

    การเปิดทดลองชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด My Prompt QR ผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 480 สาขา หลังเฟซบุ๊ก "ผู้บริโภค" ทดสอบเมื่อเช้าวันที่ 27 ก.ย. 2567 ที่ผ่านมา กลายเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับผู้บริโภค เพราะทราบกันดีว่า ร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาอันดับ 1 ในไทย ไม่รับสแกนจ่าย แตกต่างจากร้านสะดวกซื้อรายอื่น อาทิ โลตัสโกเฟรช บิ๊กซีมินิ ซีเจเอ็กซ์เพรส ท็อปส์เดลี่ ลอว์สัน 108 เทอร์เทิล และร้านถุงเงินที่ขายของชำ สแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคารได้ตั้งนานแล้ว

    ถึงกระนั้น สาขาที่ใช้บริการได้ ห่างไกลจากจำนวนสาขารวม 14,854 แห่งทั่วประเทศ อีกทั้ง QR Code ที่สแกนจ่าย เป็นบริการ My Prompt QR ที่ให้ร้านค้าสแกนคิวอาร์โค้ดของลูกค้า รองรับเฉพาะแอปพลิเคชัน 5 ธนาคาร ได้แก่ K PLUS (ธนาคารกสิกรไทย) SCB Easy (ธนาคารไทยพาณิชย์) Krungthai NEXT (ธนาคารกรุงไทย) Bangkok Bank (ธนาคารกรุงเทพ) และ KMA (ธนาคารกรุงศรี) ซึ่งที่ผ่านมาได้นำมาใช้กับเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ 7-Eleven มาแล้ว

    น่าเสียดาย เมื่อสอบถามไปยังสำนักบริหารการสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กลับได้รับคำตอบว่า รับทราบข้อมูล "เท่าที่เห็น" ในสื่อสังคมออนไลน์ขณะนี้ เพิ่งเปิดทดลองให้บริการเท่านั้น

    ปัจจุบัน ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นนอกจากรับชำระด้วยเงินสดแล้ว ยังมีแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet และ 7-App ทั้งรูปแบบเงินในวอลเล็ต ผูกกับบัตรเครดิต บัญชี My Saving รวมทั้งรับชำระผ่านบัตรเครดิต ขั้นต่ำ 200 บาท และอี-วอลเล็ทจากต่างประเทศ 13 แอปพลิเคชันในเครือข่าย Alipay+ แต่สำหรับบัตร 7-Card หรือบัตรสมาร์ทเพิร์ส ซึ่งใช้มาตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2548 กำลังจะยกเลิกให้บริการ โดยสมาชิกบัตรสามารถใช้เงินภายในบัตรได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568

    ที่ผ่านมา เซเว่นอีเลฟเว่นเน้นทำการตลาดกับผู้ใช้งาน TrueMoney Wallet เป็นหลัก แต่ไม่มีสแกนจ่าย เมื่อเทียบกับร้านสะดวกซื้อรายอื่น โดยเฉพาะซีเจเอ็กซ์เพรส ของกลุ่มคาราบาวกรุ๊ป กว่า 1,000 สาขา พบว่ามีหลายสาขาเปิดแข่งกัน นอกจากสินค้าราคาถูกกว่าแล้ว ยังสแกนจ่ายได้ไม่มีขั้นต่ำ กลายเป็นข้อเปรียบเทียบกับเซเว่นอีเลฟเว่น ที่กลับไม่มีตรงนี้

    ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในปี 2566 มีการโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ 19,900 ล้านครั้ง และธุรกรรมการชำระเงินผ่าน QR payment 5,700 ล้านครั้ง ซึ่งโมบายแบงกิ้งมีเจ้าตลาดหลักอย่าง K PLUS ธนาคารกสิกรไทย พบว่าในปี 2566 มีลูกค้าใช้งานมากถึง 21.7 ล้านราย และมีจำนวนธุรกรรมมากกว่า 9,600 ล้านธุรกรรม

    #Newskit #เซเว่นอีเลฟเว่น #สแกนจ่าย
    ไม่ใหม่แต่แปลก เซเว่นฯ สแกนจ่ายได้ การเปิดทดลองชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด My Prompt QR ผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 480 สาขา หลังเฟซบุ๊ก "ผู้บริโภค" ทดสอบเมื่อเช้าวันที่ 27 ก.ย. 2567 ที่ผ่านมา กลายเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับผู้บริโภค เพราะทราบกันดีว่า ร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาอันดับ 1 ในไทย ไม่รับสแกนจ่าย แตกต่างจากร้านสะดวกซื้อรายอื่น อาทิ โลตัสโกเฟรช บิ๊กซีมินิ ซีเจเอ็กซ์เพรส ท็อปส์เดลี่ ลอว์สัน 108 เทอร์เทิล และร้านถุงเงินที่ขายของชำ สแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคารได้ตั้งนานแล้ว ถึงกระนั้น สาขาที่ใช้บริการได้ ห่างไกลจากจำนวนสาขารวม 14,854 แห่งทั่วประเทศ อีกทั้ง QR Code ที่สแกนจ่าย เป็นบริการ My Prompt QR ที่ให้ร้านค้าสแกนคิวอาร์โค้ดของลูกค้า รองรับเฉพาะแอปพลิเคชัน 5 ธนาคาร ได้แก่ K PLUS (ธนาคารกสิกรไทย) SCB Easy (ธนาคารไทยพาณิชย์) Krungthai NEXT (ธนาคารกรุงไทย) Bangkok Bank (ธนาคารกรุงเทพ) และ KMA (ธนาคารกรุงศรี) ซึ่งที่ผ่านมาได้นำมาใช้กับเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ 7-Eleven มาแล้ว น่าเสียดาย เมื่อสอบถามไปยังสำนักบริหารการสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กลับได้รับคำตอบว่า รับทราบข้อมูล "เท่าที่เห็น" ในสื่อสังคมออนไลน์ขณะนี้ เพิ่งเปิดทดลองให้บริการเท่านั้น ปัจจุบัน ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นนอกจากรับชำระด้วยเงินสดแล้ว ยังมีแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet และ 7-App ทั้งรูปแบบเงินในวอลเล็ต ผูกกับบัตรเครดิต บัญชี My Saving รวมทั้งรับชำระผ่านบัตรเครดิต ขั้นต่ำ 200 บาท และอี-วอลเล็ทจากต่างประเทศ 13 แอปพลิเคชันในเครือข่าย Alipay+ แต่สำหรับบัตร 7-Card หรือบัตรสมาร์ทเพิร์ส ซึ่งใช้มาตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2548 กำลังจะยกเลิกให้บริการ โดยสมาชิกบัตรสามารถใช้เงินภายในบัตรได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 ที่ผ่านมา เซเว่นอีเลฟเว่นเน้นทำการตลาดกับผู้ใช้งาน TrueMoney Wallet เป็นหลัก แต่ไม่มีสแกนจ่าย เมื่อเทียบกับร้านสะดวกซื้อรายอื่น โดยเฉพาะซีเจเอ็กซ์เพรส ของกลุ่มคาราบาวกรุ๊ป กว่า 1,000 สาขา พบว่ามีหลายสาขาเปิดแข่งกัน นอกจากสินค้าราคาถูกกว่าแล้ว ยังสแกนจ่ายได้ไม่มีขั้นต่ำ กลายเป็นข้อเปรียบเทียบกับเซเว่นอีเลฟเว่น ที่กลับไม่มีตรงนี้ ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในปี 2566 มีการโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ 19,900 ล้านครั้ง และธุรกรรมการชำระเงินผ่าน QR payment 5,700 ล้านครั้ง ซึ่งโมบายแบงกิ้งมีเจ้าตลาดหลักอย่าง K PLUS ธนาคารกสิกรไทย พบว่าในปี 2566 มีลูกค้าใช้งานมากถึง 21.7 ล้านราย และมีจำนวนธุรกรรมมากกว่า 9,600 ล้านธุรกรรม #Newskit #เซเว่นอีเลฟเว่น #สแกนจ่าย
    Like
    Haha
    11
    0 Comments 0 Shares 803 Views 0 Reviews
  • ปัจจุบันช่องทางการชำระเงินในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น นอกจากรับชำระด้วยเงินสดแล้ว ยังมีแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet ทั้งรูปแบบเงินในวอลเล็ต ผูกกับบัตรเครดิต และบัญชี My Saving รวมทั้งรับชำระผ่านบัตรเครดิต ขั้นต่ำ 200 บาท และอี-วอลเล็ทจากต่างประเทศ 13 แอปพลิเคชัน ในเครือข่าย Alipay+

    https://sondhitalk.com/detail/9670000091007
    ปัจจุบันช่องทางการชำระเงินในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น นอกจากรับชำระด้วยเงินสดแล้ว ยังมีแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet ทั้งรูปแบบเงินในวอลเล็ต ผูกกับบัตรเครดิต และบัญชี My Saving รวมทั้งรับชำระผ่านบัตรเครดิต ขั้นต่ำ 200 บาท และอี-วอลเล็ทจากต่างประเทศ 13 แอปพลิเคชัน ในเครือข่าย Alipay+ https://sondhitalk.com/detail/9670000091007
    SONDHITALK.COM
    เซเว่นฯ ทดลองสแกนจ่าย QR Code ผ่านแอปฯ ธนาคาร ก่อนใช้ทั่วประเทศเร็วๆ นี้
    วันนี้ (27 ก.ย.) สืบเนื่องมาจากเฟซบุ๊ก ผู้บริโภค ได้โพสต์ภาพขณะที่กำลังเปิดหน้าจอ Thai QR Payment ในเมนู QR จ่ายเงิน) บนแอปพลิเคชันธนาคารแห่งหนึ่ง เพื่อให้แคชเชียร์ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ยิงคิวอาร์โค้ดเพื่อชำระเงิน พร้อมข้อความในภ
    Like
    3
    0 Comments 0 Shares 913 Views 0 Reviews
  • https://youtu.be/1sFX_VsHHvY?t=384

    #BTC #FixTheMoneyFixTheWorld
    https://youtu.be/1sFX_VsHHvY?t=384 #BTC #FixTheMoneyFixTheWorld
    0 Comments 0 Shares 56 Views 0 Reviews
  • https://www.youtube.com/live/-6IoHnGci40?si=EGM1H_Y-hWt7k0wB

    #FixTheMoneyFixTheWorld😇😇😇
    https://www.youtube.com/live/-6IoHnGci40?si=EGM1H_Y-hWt7k0wB #FixTheMoneyFixTheWorld😇😇😇
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 98 Views 0 Reviews
  • https://youtu.be/Hp-HlJ0PbpI?t=724

    #FixTheMoneyFixTheWorld 😇😇😇 #BITCOIN
    https://youtu.be/Hp-HlJ0PbpI?t=724 #FixTheMoneyFixTheWorld 😇😇😇 #BITCOIN
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 122 Views 0 Reviews
  • เปรียบเทียบ e-Wallet กับบัตรพรีเพดในไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2567 คัดเลือกเฉพาะบัตรที่ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปีเท่านั้น)

    (มีคำผิด MRT MEV แก้เป็น MRT EMV)

    ชมวีดีโอคลิป คลิกที่นี่ Facebook : https://www.facebook.com/newskit.th/videos/811305880781760
    Tiktok : https://www.tiktok.com/@newskit/video/7394456177066790162

    หมายเหตุ : ไม่สามารถ Upload วีดีโอผ่านแพลตฟอร์ม Thaitimes ได้ในขณะนี้ ขออภัยในความไม่สะดวก

    #Newskit #eMoney #eWallet
    เปรียบเทียบ e-Wallet กับบัตรพรีเพดในไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2567 คัดเลือกเฉพาะบัตรที่ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปีเท่านั้น) (มีคำผิด MRT MEV แก้เป็น MRT EMV) ชมวีดีโอคลิป คลิกที่นี่ Facebook : https://www.facebook.com/newskit.th/videos/811305880781760 Tiktok : https://www.tiktok.com/@newskit/video/7394456177066790162 หมายเหตุ : ไม่สามารถ Upload วีดีโอผ่านแพลตฟอร์ม Thaitimes ได้ในขณะนี้ ขออภัยในความไม่สะดวก #Newskit #eMoney #eWallet
    Like
    5
    0 Comments 2 Shares 721 Views 0 Reviews
  • แอร์เอเชียร่วมวง e-Money ในไทย

    เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับ "บิ๊กเพย์" (BigPay) ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) รายล่าสุดในไทย จากกลุ่มแคปปิตอล เอ (Capital A) บริษัทแม่ของสายการบินแอร์เอเชีย งานนี้ โทนี เฟอร์นานเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแคปปิตอล เอ เดินทางมาเปิดตัวด้วยตัวเอง พร้อมทั้งอัดงบโฆษณาโปรโมต ผ่านอินฟลูเอนเซอร์สายท่องเที่ยว

    สำหรับแอปพลิเคชัน BigPay มาพร้อมบัตรเสมือน Visa Virtual Card สำหรับใช้จ่ายผ่านร้านค้าออนไลน์ และบัตรพลาสติก Visa Platinum Prepaid Card ที่มีค่าออกบัตร 150 บาทต่อใบ สำหรับใช้จ่ายผ่านร้านค้าทั่วไป และถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ที่ต่างประเทศ พร้อมฟังก์ชัน Stash กระเป๋าเก็บเงินย่อย และ Roundup ฟังก์ชันปัดเศษเงินทอนเพื่อเก็บเงินได้ทันที

    BigPay เปิดให้บริการครั้งแรกในมาเลเซียเมื่อกลางเดือนมกราคม 2561 ปรับปรุงจากผลิตภัณฑ์บัตรเติมเงิน Big Prepaid Mastercard จุดเด่นในขณะนั้นคือ เมื่อซื้อตั๋วเครื่องบินแอร์เอเชียแล้วจ่ายผ่านบัตร BigPay ไม่เสียค่า Processing Fee เมื่อเทียบกับช่องทางอื่น ต่อมาได้ขยายบริการไปยังสิงคโปร์ และล่าสุดให้บริการในประเทศไทยเป็นแห่งที่สาม

    อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการบินแห่งมาเลเซีย (MAVCOM) สั่งห้ามแอร์เอเชียเรียกเก็บค่า Processing Fee แยกจากค่าโดยสารเมื่อปี 2562 ทำให้จุดเด่นตรงนี้หายไป

    ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่ามีผลิตภัณฑ์ e-Money ในประเทศไทย 74 ผลิตภัณฑ์ แต่ที่มีลักษณะคล้ายกัน ได้แก่ ทรูมันนี่วอลเล็ต (TrueMoney Wallet) ดีพ พ็อกเก็ต (DeepPocket) เจ วอลเล็ต (J Wallet) ไว วอลเล็ต (Wi Wallet) เป๋าตังเปย์ (Paotang Pay) ยูทริป (YouTrip) พลาเน็ตเอสซีบี (Planet SCB) และกรุงศรีบอร์ดดิ้งการ์ด (Krungsri Boarding Card) เป็นต้น

    #Newskit #BigPay #เงินอิเล็กทรอนิกส์
    แอร์เอเชียร่วมวง e-Money ในไทย เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับ "บิ๊กเพย์" (BigPay) ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) รายล่าสุดในไทย จากกลุ่มแคปปิตอล เอ (Capital A) บริษัทแม่ของสายการบินแอร์เอเชีย งานนี้ โทนี เฟอร์นานเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแคปปิตอล เอ เดินทางมาเปิดตัวด้วยตัวเอง พร้อมทั้งอัดงบโฆษณาโปรโมต ผ่านอินฟลูเอนเซอร์สายท่องเที่ยว สำหรับแอปพลิเคชัน BigPay มาพร้อมบัตรเสมือน Visa Virtual Card สำหรับใช้จ่ายผ่านร้านค้าออนไลน์ และบัตรพลาสติก Visa Platinum Prepaid Card ที่มีค่าออกบัตร 150 บาทต่อใบ สำหรับใช้จ่ายผ่านร้านค้าทั่วไป และถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ที่ต่างประเทศ พร้อมฟังก์ชัน Stash กระเป๋าเก็บเงินย่อย และ Roundup ฟังก์ชันปัดเศษเงินทอนเพื่อเก็บเงินได้ทันที BigPay เปิดให้บริการครั้งแรกในมาเลเซียเมื่อกลางเดือนมกราคม 2561 ปรับปรุงจากผลิตภัณฑ์บัตรเติมเงิน Big Prepaid Mastercard จุดเด่นในขณะนั้นคือ เมื่อซื้อตั๋วเครื่องบินแอร์เอเชียแล้วจ่ายผ่านบัตร BigPay ไม่เสียค่า Processing Fee เมื่อเทียบกับช่องทางอื่น ต่อมาได้ขยายบริการไปยังสิงคโปร์ และล่าสุดให้บริการในประเทศไทยเป็นแห่งที่สาม อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการบินแห่งมาเลเซีย (MAVCOM) สั่งห้ามแอร์เอเชียเรียกเก็บค่า Processing Fee แยกจากค่าโดยสารเมื่อปี 2562 ทำให้จุดเด่นตรงนี้หายไป ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่ามีผลิตภัณฑ์ e-Money ในประเทศไทย 74 ผลิตภัณฑ์ แต่ที่มีลักษณะคล้ายกัน ได้แก่ ทรูมันนี่วอลเล็ต (TrueMoney Wallet) ดีพ พ็อกเก็ต (DeepPocket) เจ วอลเล็ต (J Wallet) ไว วอลเล็ต (Wi Wallet) เป๋าตังเปย์ (Paotang Pay) ยูทริป (YouTrip) พลาเน็ตเอสซีบี (Planet SCB) และกรุงศรีบอร์ดดิ้งการ์ด (Krungsri Boarding Card) เป็นต้น #Newskit #BigPay #เงินอิเล็กทรอนิกส์
    Like
    4
    0 Comments 1 Shares 737 Views 0 Reviews