• เพื่อนเพจที่ได้อ่านนิยาย/ดูละครเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> คงจำได้ว่า เป็นเรื่องราวแนวสืบสวนที่พูดถึงการใช้ข้อมูลจากบันทึกและทะเบียนต่างๆ มาใช้ในการแกะรอยคนร้าย มีหลายประเด็นที่ทำให้ Storyฯ สงสัยเลยต้องไปหาข้อมูลมาเพิ่ม

    เรื่องที่จะเล่าวันนี้มีความ ‘เอ๊ะ’ ตรงไหน เรามาดูจากคำพูดข้างล่างจากในละครเรื่องนี้
    ... สวีปินกล่าว “จากบันทึกทะเบียนบ้านของคนผู้นี้ เขาย้ายมาฉางอันเมื่อปีที่ยี่สิบหกในรัชศกก่อน จดทะเบียนในนามหลงปอ ต่อมาย้ายบ้านหลายครา เมื่อปีที่แล้วย้ายเข้าหวยหย่วนฟาง ที่ดูน่าสงสัยคือ เมื่อปลายปีรัชศกเทียนเป่าปีที่สอง มีการจัดทำสมุดทะเบียนใหม่ กำหนดให้ใส่รายละเอียดใบหน้าให้ชัดเจน แต่ทะเบียนของหลงปอยังคงเป็นทะเบียนเก่าสมัยรัชศกก่อน ไม่เคยระบุรายละเอียดหน้าตา”...

    เพื่อนเพจสงสัยเหมือนกันไหมว่า ทะเบียนราษฎร์ในสมัยราชวงศ์ถัง (รัชศกเทียนเป่าคือช่วงปีค.ศ. 742-756) ถึงขนาดมีรายละเอียดใบหน้าชัดเจนเชียวหรือ?

    ไปค้นข้อมูลมาจึงพบว่า การนับจำนวนประชากรในจีนโบราณมีมาตั้งแต่กว่าสองพันปีก่อนคริสตกาล เดิมเป็นการจัดเก็บข้อมูลเพื่อไว้เพื่อช่วยเหลือคนในยามเกิดอุทกภัยน้ำท่วม ไม่ปรากฏข้อมูลเพิ่มเติมว่าเป็นเพียงการนับจำนวนประชากรหรือมีการบันทึกรายละเอียดมากกว่านั้น แต่ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก (ปี 1045-771 ก่อนคริสตกาล) มีการจัดทำทะเบียนราษฎร์ทุกสามปี รายละเอียดที่บันทึกไว้รวมถึงวันเกิด วันตาย เพศ และที่อยู่ของประชาชน

    ในสมัยฉิน มีการจัดทำทะเบียนราษฎร์อย่างเข้มงวด นอกจากรายละเอียดข้างต้นยังมีการระบุเจ้าบ้าน ชื่อสามี-ภรรยา โดยวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อใช้ในการเก็บภาษีและเกณฑ์ทหาร

    ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น (ปี 202 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 221) ประชาชนมีหน้าที่รายงานข้อมูลและการเปลี่ยนแปลงของสมาชิกในครอบครัวทุกปี โดยข้อมูลจะถูกตรวจสอบโดยทางการท้องถิ่นอีกครั้งก่อนจะรวบรวมส่งทางการส่วนกลาง รายละเอียดที่บันทึกรวมถึงชื่อแซ่ อายุ ภูมิลำเนาเดิม สถานะสมรส รายละเอียดหน้าตา รายได้ และจำนวนพื้นที่ของที่ดินที่ถือครอง หากจะย้ายบ้าน ต้องทำการรายงานกับที่ว่าการท้องถิ่นก่อนจึงจะย้ายออกได้ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นคนพเนจร ซึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย (คือโดนฆ่าตายก็ไม่มีการสืบสวนเอาผิดคนฆ่า) ว่ากันว่าทะเบียนราษฏร์สมัยราชวงศ์ฮั่นนี้ละเอียดถูกต้องเชื่อถือได้มากกว่าครั้งใดที่จีนเคยทำมาในอดีต

    การจัดทำทะเบียนราษฎร์มีต่อมาเรื่อยๆ และมีการลงรายละเอียดมากขึ้นในยุคสมัยราชวงศ์ถัง (ซึ่งเรื่องราวของ <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> เกิดขึ้นในสมัยนี้) ในสมัยนั้น ทะเบียนราษฎร์คือการสรุปรวมข้อมูลของทะเบียนบ้านหรือที่เรียกว่า ‘โส่วสือ’ (手实) มีการจัดแยกหมวดหมู่ตามสถานะ กล่าวคือเป็นเจ้าบ้าน เป็นสมาชิกของตระกูล หรือเป็นผู้อยู่อาศัยในเรือนเช่นทาส บ่าว นักดนตรี ฯลฯ และมีการบันทึกรายละเอียดเพิ่มเติมของรูปพรรณสัณฐาน เช่นส่วนสูง สีผิว เป็นต้น โดยมีเพียงสมาชิกของตระกูลเท่านั้นที่จะมีสิทธิแยกออกมาจัดตั้งครัวเรือนใหม่ได้ (Storyฯ เพิ่งเข้าใจบริบทที่ว่าบางนิยายจีนโบราณกล่าวถึงการ ‘แยกบ้าน’ ของคนในตระกูลเดียวกันที่ฟังดูเป็นเรื่องราวใหญ่โต) สำหรับชาวไร่ชาวนา ข้อมูลจากโส่วสือยังถูกใช้ในการจัดสรรที่ดินทำกิน โดยอิงตามจำนวนสมาชิกในบ้าน

    ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิง มีการลงรายละเอียดเพิ่มเติมอีกคืออาชีพของคนในบ้าน เช่น นายช่าง ทหาร หรือข้าราชการ ฯลฯ และมีรายละเอียดรายรับและสินทรัพย์ของแต่ละคนเพิ่มเติม เช่นจำนวนที่ดิน บ้าน ร้านค้า รถม้า เรือ ฯลฯ ทะเบียนราษฎร์นี้เรียกว่า ‘หวงเช่อ’ (黄册) แปลตรงตัวว่าสมุดเหลือง เพราะมักใช้ปกสีเหลือง (โนว์... ไม่ใช่สมุดโทรศัพท์ Yellow Pages จ้า) อีกทั้งการนำข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์มาใช้เพิ่มดีกรีความเข้มข้น ใครจะเดินทางต้องพกเอกสารใบอนุญาตที่มีข้อมูลประจำตัวและบ้าน (Storyฯ นึกถึงในละครที่จะผ่านประตูเมืองแต่ละครั้งต้องควักเอกสารออกมาฉบับหนึ่ง)

    Storyฯ รู้สึกทึ่งว่า แบบแผนการบริหารงานบ้านเมืองในโลกปัจจุบัน จริงๆ แล้วไม่ได้หนีจากของโบราณที่มีมาหลายพันปีแล้วเลย คนโบราณช่างคิดช่างทำ เก่งจริง เพื่อนๆ ว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://luvasianseries.blogspot.com/2020/10/longest-day-in-changan.html
    https://daydaynews.cc/zh-hans/history/160001.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/113664748
    http://www.naradafoundation.org/content/6526
    https://daydaynews.cc/zh-hans/history/160001.html

    #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #ประวัติศาสตร์จีน #ทะเบียนราษฎร์จีน #ราชวงศ์ถัง
    เพื่อนเพจที่ได้อ่านนิยาย/ดูละครเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> คงจำได้ว่า เป็นเรื่องราวแนวสืบสวนที่พูดถึงการใช้ข้อมูลจากบันทึกและทะเบียนต่างๆ มาใช้ในการแกะรอยคนร้าย มีหลายประเด็นที่ทำให้ Storyฯ สงสัยเลยต้องไปหาข้อมูลมาเพิ่ม เรื่องที่จะเล่าวันนี้มีความ ‘เอ๊ะ’ ตรงไหน เรามาดูจากคำพูดข้างล่างจากในละครเรื่องนี้ ... สวีปินกล่าว “จากบันทึกทะเบียนบ้านของคนผู้นี้ เขาย้ายมาฉางอันเมื่อปีที่ยี่สิบหกในรัชศกก่อน จดทะเบียนในนามหลงปอ ต่อมาย้ายบ้านหลายครา เมื่อปีที่แล้วย้ายเข้าหวยหย่วนฟาง ที่ดูน่าสงสัยคือ เมื่อปลายปีรัชศกเทียนเป่าปีที่สอง มีการจัดทำสมุดทะเบียนใหม่ กำหนดให้ใส่รายละเอียดใบหน้าให้ชัดเจน แต่ทะเบียนของหลงปอยังคงเป็นทะเบียนเก่าสมัยรัชศกก่อน ไม่เคยระบุรายละเอียดหน้าตา”... เพื่อนเพจสงสัยเหมือนกันไหมว่า ทะเบียนราษฎร์ในสมัยราชวงศ์ถัง (รัชศกเทียนเป่าคือช่วงปีค.ศ. 742-756) ถึงขนาดมีรายละเอียดใบหน้าชัดเจนเชียวหรือ? ไปค้นข้อมูลมาจึงพบว่า การนับจำนวนประชากรในจีนโบราณมีมาตั้งแต่กว่าสองพันปีก่อนคริสตกาล เดิมเป็นการจัดเก็บข้อมูลเพื่อไว้เพื่อช่วยเหลือคนในยามเกิดอุทกภัยน้ำท่วม ไม่ปรากฏข้อมูลเพิ่มเติมว่าเป็นเพียงการนับจำนวนประชากรหรือมีการบันทึกรายละเอียดมากกว่านั้น แต่ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก (ปี 1045-771 ก่อนคริสตกาล) มีการจัดทำทะเบียนราษฎร์ทุกสามปี รายละเอียดที่บันทึกไว้รวมถึงวันเกิด วันตาย เพศ และที่อยู่ของประชาชน ในสมัยฉิน มีการจัดทำทะเบียนราษฎร์อย่างเข้มงวด นอกจากรายละเอียดข้างต้นยังมีการระบุเจ้าบ้าน ชื่อสามี-ภรรยา โดยวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อใช้ในการเก็บภาษีและเกณฑ์ทหาร ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น (ปี 202 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 221) ประชาชนมีหน้าที่รายงานข้อมูลและการเปลี่ยนแปลงของสมาชิกในครอบครัวทุกปี โดยข้อมูลจะถูกตรวจสอบโดยทางการท้องถิ่นอีกครั้งก่อนจะรวบรวมส่งทางการส่วนกลาง รายละเอียดที่บันทึกรวมถึงชื่อแซ่ อายุ ภูมิลำเนาเดิม สถานะสมรส รายละเอียดหน้าตา รายได้ และจำนวนพื้นที่ของที่ดินที่ถือครอง หากจะย้ายบ้าน ต้องทำการรายงานกับที่ว่าการท้องถิ่นก่อนจึงจะย้ายออกได้ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นคนพเนจร ซึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย (คือโดนฆ่าตายก็ไม่มีการสืบสวนเอาผิดคนฆ่า) ว่ากันว่าทะเบียนราษฏร์สมัยราชวงศ์ฮั่นนี้ละเอียดถูกต้องเชื่อถือได้มากกว่าครั้งใดที่จีนเคยทำมาในอดีต การจัดทำทะเบียนราษฎร์มีต่อมาเรื่อยๆ และมีการลงรายละเอียดมากขึ้นในยุคสมัยราชวงศ์ถัง (ซึ่งเรื่องราวของ <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> เกิดขึ้นในสมัยนี้) ในสมัยนั้น ทะเบียนราษฎร์คือการสรุปรวมข้อมูลของทะเบียนบ้านหรือที่เรียกว่า ‘โส่วสือ’ (手实) มีการจัดแยกหมวดหมู่ตามสถานะ กล่าวคือเป็นเจ้าบ้าน เป็นสมาชิกของตระกูล หรือเป็นผู้อยู่อาศัยในเรือนเช่นทาส บ่าว นักดนตรี ฯลฯ และมีการบันทึกรายละเอียดเพิ่มเติมของรูปพรรณสัณฐาน เช่นส่วนสูง สีผิว เป็นต้น โดยมีเพียงสมาชิกของตระกูลเท่านั้นที่จะมีสิทธิแยกออกมาจัดตั้งครัวเรือนใหม่ได้ (Storyฯ เพิ่งเข้าใจบริบทที่ว่าบางนิยายจีนโบราณกล่าวถึงการ ‘แยกบ้าน’ ของคนในตระกูลเดียวกันที่ฟังดูเป็นเรื่องราวใหญ่โต) สำหรับชาวไร่ชาวนา ข้อมูลจากโส่วสือยังถูกใช้ในการจัดสรรที่ดินทำกิน โดยอิงตามจำนวนสมาชิกในบ้าน ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิง มีการลงรายละเอียดเพิ่มเติมอีกคืออาชีพของคนในบ้าน เช่น นายช่าง ทหาร หรือข้าราชการ ฯลฯ และมีรายละเอียดรายรับและสินทรัพย์ของแต่ละคนเพิ่มเติม เช่นจำนวนที่ดิน บ้าน ร้านค้า รถม้า เรือ ฯลฯ ทะเบียนราษฎร์นี้เรียกว่า ‘หวงเช่อ’ (黄册) แปลตรงตัวว่าสมุดเหลือง เพราะมักใช้ปกสีเหลือง (โนว์... ไม่ใช่สมุดโทรศัพท์ Yellow Pages จ้า) อีกทั้งการนำข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์มาใช้เพิ่มดีกรีความเข้มข้น ใครจะเดินทางต้องพกเอกสารใบอนุญาตที่มีข้อมูลประจำตัวและบ้าน (Storyฯ นึกถึงในละครที่จะผ่านประตูเมืองแต่ละครั้งต้องควักเอกสารออกมาฉบับหนึ่ง) Storyฯ รู้สึกทึ่งว่า แบบแผนการบริหารงานบ้านเมืองในโลกปัจจุบัน จริงๆ แล้วไม่ได้หนีจากของโบราณที่มีมาหลายพันปีแล้วเลย คนโบราณช่างคิดช่างทำ เก่งจริง เพื่อนๆ ว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://luvasianseries.blogspot.com/2020/10/longest-day-in-changan.html https://daydaynews.cc/zh-hans/history/160001.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/113664748 http://www.naradafoundation.org/content/6526 https://daydaynews.cc/zh-hans/history/160001.html #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #ประวัติศาสตร์จีน #ทะเบียนราษฎร์จีน #ราชวงศ์ถัง
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 393 มุมมอง 0 รีวิว
  • เรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> เป็นเรื่องที่ใส่รายละเอียดทางประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ถังไว้มากพอสมควร แต่ Storyฯ รู้สึกสะดุดตาอย่างมากกับลักษณะการเสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมของตัวละครเอกคนหนึ่งคือ หลี่ปี้

    ความ ‘เอ๊ะ’ คือว่า ทำไมเขาถึงเสียบปิ่นของมงกฎครอบมวยผมในแนวตรง คือจากหลังมาหน้า (ดูรูปกลางสี่เหลี่ยม) ในขณะที่ตัวละครอื่นเสียบปิ่นในแนวขวางจากขวาไปซ้ายเหมือนกับที่เราเห็นในละครจีนโบราณเรื่องอื่นๆ (ดูเปรียบเทียบตัวละครจากเรื่องเดียวกันในรูปวงกลม)

    ไปทำการบ้านมาค่ะ เลยพบว่ามีคนเขียนชมละครเรื่องนี้ว่ามีความพยายามทำให้ใกล้เคียงประวัติศาสตร์จริงมากในเรื่องการแต่งกาย ซึ่งสาเหตุที่หลี่ปี้เสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมในแนวตรงนั้น เป็นเพราะว่าเขาเป็นนักพรต

    แต่มันแตกต่างจากเรื่องอื่นที่เราเห็นนักพรตปักปิ่นในแนวขวาง Storyฯ เลยเอารูปวาดโบราณมาเปรียบเทียบให้ดู (ดูภาพเปรียบเทียบในรูปสี่เหลี่ยมที่แปะมา) ก็จะเห็นว่านักพรตในลัทธิเต๋าในช่วงยุคสมัยรัชวงศ์ถังนั้นปักปิ่นในแนวตรงจริงๆ โดยวิธีเสียบปิ่นคือจากข้างหลังมาข้างหน้า หรือที่เรียกว่า ‘จื๋ออู่จ๊าน’ (子午簪)

    ดูภาพจากละครจะเห็นว่ามงกฎครอบผมของหลี่ปี้มีสองแบบ มันคือแบบลายดอกพุดตานที่มีกลีบใหญ่ชูเด่น และแบบลายดอกบัว เดิมเรียกแยกสองแบบอย่างนี้ ต่อมาการเวลาผ่านไปถูกเรียกรวมเป็นลายดอกบัว มีเฉพาะนักพรตที่มีระดับสูงจึงจะใช้ได้

    จากข้อมูลที่หาได้ ในสมัยราชวงศ์ถังนั้น นักพรตเต๋ามีเจ็ดระดับ สูงสุดคือระดับเจ็ด มีระเบียบกำหนดเรื่องการแต่งกายไว้อย่างเคร่งครัด แตกต่างกันไปทั้งเนื้อผ้าสีผ้าของชุดและมงกุฎครอบผมตามแต่ละระดับ ตัวอย่างเช่น นักพรตระดับที่ห้า มงกฎครอบผมสีน้ำตาลเข้มรูปทรงดอกบัวกลีบสองชั้นทั้งสี่ด้าน ชุดสีเหลือง ฯลฯ นักพรตระดับที่หก มงกฎครอบผมรูปทรงดอกบัวกลีบสามชั้นทั้งสี่ด้าน ชุดสีเขียวฟ้ากระจ่าง ผ้าพาดบ่าสีม่วง ฯลฯ

    ในเนื้อเรื่องของละคร <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> Storyฯ ไม่เห็นมีข้อมูลว่าหลี่ปี้เป็นนักพรตระดับใด Storyฯ เองก็ไม่แน่ใจว่ารายละเอียดการแต่งกายในละครถูกต้องหรือไม่ มีบางเพจเขียนว่าปิ่นของหลี่ปี้สั้นไป แต่ที่ดูจะถูกต้องแน่นอนคือวิธีการเสียบปิ่นของหลี่ปี้

    แล้วที่เราเห็นในละครเรื่องอื่นที่นักพรตเสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมแนวขวางล่ะ?

    จากข้อมูลที่ Storyฯ หาเจอ วิธีเสียบปิ่นตามแนวตรงข้างต้นเป็นไปจนสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่จากสมัยราชวงศ์หมิงจนถึงราชวงศ์ชิง มีนักพรตเสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมแนวขวาง แต่มีจุดสังเกตคือจะต้องเป็นการเสียบจากซ้ายไปขวา ไม่ใช่ขวาไปซ้ายแบบคนทั่วไป และแบบแนวตรงก็ยังคงมีใช้อยู่ ซึ่งที่มาคือแนวคิดที่ว่า แนวตรงคือการแบ่งแยกหยินหยาง แนวขวางจากซ้ายคือการเกิดไปสู่ขวาคือความตาย

    แต่คนธรรมดาทั่วไปจะปักปิ่นจากขวาไปซ้ายเป็นส่วนใหญ่เพราะหลายคนถนัดขวา มีเพจหนึ่งที่อ่านเจอเขียนว่า หากคนธรรมดาปักปิ่นจากซ้ายไปขวาแสดงว่าอยู่ในระหว่างไว้ทุกข์ แต่ข้อมูลนี้ Storyฯ ไม่ได้ไปค้นหาต่อว่าใช่หรือไม่

    ต่อมามงกฎทรงดอกบัวถูกนำมาใช้สำหรับสตรีสูงศักดิ์ในวังด้วย แต่ความแตกต่างอยู่ที่ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นมงกุฎ เป็นทองคำลวดลายวิจิตรและมีการประดับหินและพลอยให้ดูอลังการ และไม่มีปิ่นปักกลางไว้ยึดผมเหมือนมงกุฎครอบมวยผมนักพรต

    ท่านใดที่ชอบละครเรื่องนี้ ลองดูลิ้งค์ที่แปะมาบางลิ้งค์ด้านล่างจะเห็นการเปรียบเทียบว่ามีการอิงประวัติศาสตร์จริงอย่างไร (อ่านไม่ออกก็ดูรูปได้) อย่างเช่นการวาดคิ้วสมัยราชวงศ์ถังแบบต่างๆ ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อหลายเดือนก่อน ก็มีปรากฎให้เห็นในบรรดาชาวบ้านที่แต่งตัวกันออกมาเที่ยวเทศกาลในเรื่องนี้ด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจากในละครและจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/72817310
    https://new.qq.com/omn/20190716/20190716A0SOED00.html?pc
    https://www.behance.net/gallery/84983593/The-Longest-Day-In-Changan-Posters
    http://www.xinhuanet.com/ent/2019-07/02/c_1124697419.htm

    #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #หลี่ปี้ #ปิ่นปักผมจีน #วัฒนธรรมจีนโบราณ StoryfromStory
    เรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> เป็นเรื่องที่ใส่รายละเอียดทางประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ถังไว้มากพอสมควร แต่ Storyฯ รู้สึกสะดุดตาอย่างมากกับลักษณะการเสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมของตัวละครเอกคนหนึ่งคือ หลี่ปี้ ความ ‘เอ๊ะ’ คือว่า ทำไมเขาถึงเสียบปิ่นของมงกฎครอบมวยผมในแนวตรง คือจากหลังมาหน้า (ดูรูปกลางสี่เหลี่ยม) ในขณะที่ตัวละครอื่นเสียบปิ่นในแนวขวางจากขวาไปซ้ายเหมือนกับที่เราเห็นในละครจีนโบราณเรื่องอื่นๆ (ดูเปรียบเทียบตัวละครจากเรื่องเดียวกันในรูปวงกลม) ไปทำการบ้านมาค่ะ เลยพบว่ามีคนเขียนชมละครเรื่องนี้ว่ามีความพยายามทำให้ใกล้เคียงประวัติศาสตร์จริงมากในเรื่องการแต่งกาย ซึ่งสาเหตุที่หลี่ปี้เสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมในแนวตรงนั้น เป็นเพราะว่าเขาเป็นนักพรต แต่มันแตกต่างจากเรื่องอื่นที่เราเห็นนักพรตปักปิ่นในแนวขวาง Storyฯ เลยเอารูปวาดโบราณมาเปรียบเทียบให้ดู (ดูภาพเปรียบเทียบในรูปสี่เหลี่ยมที่แปะมา) ก็จะเห็นว่านักพรตในลัทธิเต๋าในช่วงยุคสมัยรัชวงศ์ถังนั้นปักปิ่นในแนวตรงจริงๆ โดยวิธีเสียบปิ่นคือจากข้างหลังมาข้างหน้า หรือที่เรียกว่า ‘จื๋ออู่จ๊าน’ (子午簪) ดูภาพจากละครจะเห็นว่ามงกฎครอบผมของหลี่ปี้มีสองแบบ มันคือแบบลายดอกพุดตานที่มีกลีบใหญ่ชูเด่น และแบบลายดอกบัว เดิมเรียกแยกสองแบบอย่างนี้ ต่อมาการเวลาผ่านไปถูกเรียกรวมเป็นลายดอกบัว มีเฉพาะนักพรตที่มีระดับสูงจึงจะใช้ได้ จากข้อมูลที่หาได้ ในสมัยราชวงศ์ถังนั้น นักพรตเต๋ามีเจ็ดระดับ สูงสุดคือระดับเจ็ด มีระเบียบกำหนดเรื่องการแต่งกายไว้อย่างเคร่งครัด แตกต่างกันไปทั้งเนื้อผ้าสีผ้าของชุดและมงกุฎครอบผมตามแต่ละระดับ ตัวอย่างเช่น นักพรตระดับที่ห้า มงกฎครอบผมสีน้ำตาลเข้มรูปทรงดอกบัวกลีบสองชั้นทั้งสี่ด้าน ชุดสีเหลือง ฯลฯ นักพรตระดับที่หก มงกฎครอบผมรูปทรงดอกบัวกลีบสามชั้นทั้งสี่ด้าน ชุดสีเขียวฟ้ากระจ่าง ผ้าพาดบ่าสีม่วง ฯลฯ ในเนื้อเรื่องของละคร <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> Storyฯ ไม่เห็นมีข้อมูลว่าหลี่ปี้เป็นนักพรตระดับใด Storyฯ เองก็ไม่แน่ใจว่ารายละเอียดการแต่งกายในละครถูกต้องหรือไม่ มีบางเพจเขียนว่าปิ่นของหลี่ปี้สั้นไป แต่ที่ดูจะถูกต้องแน่นอนคือวิธีการเสียบปิ่นของหลี่ปี้ แล้วที่เราเห็นในละครเรื่องอื่นที่นักพรตเสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมแนวขวางล่ะ? จากข้อมูลที่ Storyฯ หาเจอ วิธีเสียบปิ่นตามแนวตรงข้างต้นเป็นไปจนสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่จากสมัยราชวงศ์หมิงจนถึงราชวงศ์ชิง มีนักพรตเสียบปิ่นมงกฎครอบมวยผมแนวขวาง แต่มีจุดสังเกตคือจะต้องเป็นการเสียบจากซ้ายไปขวา ไม่ใช่ขวาไปซ้ายแบบคนทั่วไป และแบบแนวตรงก็ยังคงมีใช้อยู่ ซึ่งที่มาคือแนวคิดที่ว่า แนวตรงคือการแบ่งแยกหยินหยาง แนวขวางจากซ้ายคือการเกิดไปสู่ขวาคือความตาย แต่คนธรรมดาทั่วไปจะปักปิ่นจากขวาไปซ้ายเป็นส่วนใหญ่เพราะหลายคนถนัดขวา มีเพจหนึ่งที่อ่านเจอเขียนว่า หากคนธรรมดาปักปิ่นจากซ้ายไปขวาแสดงว่าอยู่ในระหว่างไว้ทุกข์ แต่ข้อมูลนี้ Storyฯ ไม่ได้ไปค้นหาต่อว่าใช่หรือไม่ ต่อมามงกฎทรงดอกบัวถูกนำมาใช้สำหรับสตรีสูงศักดิ์ในวังด้วย แต่ความแตกต่างอยู่ที่ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นมงกุฎ เป็นทองคำลวดลายวิจิตรและมีการประดับหินและพลอยให้ดูอลังการ และไม่มีปิ่นปักกลางไว้ยึดผมเหมือนมงกุฎครอบมวยผมนักพรต ท่านใดที่ชอบละครเรื่องนี้ ลองดูลิ้งค์ที่แปะมาบางลิ้งค์ด้านล่างจะเห็นการเปรียบเทียบว่ามีการอิงประวัติศาสตร์จริงอย่างไร (อ่านไม่ออกก็ดูรูปได้) อย่างเช่นการวาดคิ้วสมัยราชวงศ์ถังแบบต่างๆ ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อหลายเดือนก่อน ก็มีปรากฎให้เห็นในบรรดาชาวบ้านที่แต่งตัวกันออกมาเที่ยวเทศกาลในเรื่องนี้ด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/72817310 https://new.qq.com/omn/20190716/20190716A0SOED00.html?pc https://www.behance.net/gallery/84983593/The-Longest-Day-In-Changan-Posters http://www.xinhuanet.com/ent/2019-07/02/c_1124697419.htm #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #หลี่ปี้ #ปิ่นปักผมจีน #วัฒนธรรมจีนโบราณ StoryfromStory
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 394 มุมมอง 0 รีวิว
  • บีวายดี (BYD) สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับวงการยานยนต์จีนอีกครั้ง หลังจากประกาศปรับลดราคาครั้งใหญ่ครอบคลุมรถยนต์ถึง 22 รุ่น โดยรุ่นที่ได้รับส่วนลดมากที่สุด ได้แก่ Seal 07 DM-i (รุ่น 1.5L 125km) ที่ลดลงถึง 53,000 หยวน หรือประมาณ 241,792 บาท* นอกจากนี้ รุ่น Qin PLUS DM-i และ Qin L DM-i ก็มีราคาลดลงอย่างชัดเจน ส่งผลให้ราคารถเริ่มต้นอยู่ที่เพียง 63,800–79,800 หยวน หรือประมาณ 291,063 –364,052 บาท

    การปรับลดราคาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สามในรอบ 2 เดือนของบีวายดี สะท้อนแรงกดดันที่บริษัทเผชิญในด้านยอดขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดภายในประเทศ แม้ว่ายอดขายรวมในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายนจะอยู่ที่ 1.38 ล้านคัน แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะในประเทศ ยอดขายอยู่ที่ประมาณ 1.1 ล้านคัน หรือเฉลี่ยเดือนละ 275,000 คัน ซึ่งยังห่างไกลจากเป้าหมายรายปีที่ตั้งไว้ 5.5 ล้านคัน และจำเป็นต้องมียอดขายเฉลี่ยวันละกว่า 15,000 คันในช่วงที่เหลือของปี

    แม้ภาพรวมยอดขายจะดูแข็งแกร่ง แต่บีวายดีกลับเผชิญแรงแข่งขันจากทั้งผู้ผลิตจีนรายอื่นและบริษัทรถยนต์ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มรถราคาประหยัด เช่น รถยนต์รุ่นเรือธงอย่าง Han DM, Song PLUS DM และ Qin PLUS DM ก็เผชิญกับแรงกดดันจากคู่แข่งใหม่ เช่น Geely Xingyao 8ที่มีราคาถูกกว่าถึง 53,000 หยวน หรือ 241,792 บาท และ Chery Fengyun A9 ส่วนในตลาดรถยนต์ ICE แบรนด์ต่างชาติอย่าง Volkswagen, Honda และ Buick ก็เร่งเคลียร์สต๊อกด้วยการหั่นราคาอย่างหนัก ทำให้ความได้เปรียบด้านราคาของบีวายดีลดลง
    ทันทีหลังประกาศลดราคาในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา หุ้นของบีวายดีในตลาดหลักทรัพย์ร่วงลงอย่างรุนแรง โดยในตลาดฮ่องกงราคาลดลงถึง 8.6% และในตลาด A-share ลดลงกว่า 6% ภายในเวลา 3 วัน มูลค่าบริษัทหายไปราว 1 แสนล้านหยวน นักลงทุนตื่นตระหนกกับแนวโน้มกำไรของบริษัทที่จะได้รับผลกระทบจากสงครามราคา ขณะที่หุ้นของบริษัทรถยนต์รายอื่น เช่น Geely, Great Wall, Seres, Changan และ SAIC ก็ร่วงตามไปในระดับ 2–5%

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/china/detail/9680000050149

    #MGROnline #บีวายดี #ยานยนต์จีน
    บีวายดี (BYD) สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับวงการยานยนต์จีนอีกครั้ง หลังจากประกาศปรับลดราคาครั้งใหญ่ครอบคลุมรถยนต์ถึง 22 รุ่น โดยรุ่นที่ได้รับส่วนลดมากที่สุด ได้แก่ Seal 07 DM-i (รุ่น 1.5L 125km) ที่ลดลงถึง 53,000 หยวน หรือประมาณ 241,792 บาท* นอกจากนี้ รุ่น Qin PLUS DM-i และ Qin L DM-i ก็มีราคาลดลงอย่างชัดเจน ส่งผลให้ราคารถเริ่มต้นอยู่ที่เพียง 63,800–79,800 หยวน หรือประมาณ 291,063 –364,052 บาท • การปรับลดราคาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สามในรอบ 2 เดือนของบีวายดี สะท้อนแรงกดดันที่บริษัทเผชิญในด้านยอดขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดภายในประเทศ แม้ว่ายอดขายรวมในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายนจะอยู่ที่ 1.38 ล้านคัน แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะในประเทศ ยอดขายอยู่ที่ประมาณ 1.1 ล้านคัน หรือเฉลี่ยเดือนละ 275,000 คัน ซึ่งยังห่างไกลจากเป้าหมายรายปีที่ตั้งไว้ 5.5 ล้านคัน และจำเป็นต้องมียอดขายเฉลี่ยวันละกว่า 15,000 คันในช่วงที่เหลือของปี • แม้ภาพรวมยอดขายจะดูแข็งแกร่ง แต่บีวายดีกลับเผชิญแรงแข่งขันจากทั้งผู้ผลิตจีนรายอื่นและบริษัทรถยนต์ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มรถราคาประหยัด เช่น รถยนต์รุ่นเรือธงอย่าง Han DM, Song PLUS DM และ Qin PLUS DM ก็เผชิญกับแรงกดดันจากคู่แข่งใหม่ เช่น Geely Xingyao 8ที่มีราคาถูกกว่าถึง 53,000 หยวน หรือ 241,792 บาท และ Chery Fengyun A9 ส่วนในตลาดรถยนต์ ICE แบรนด์ต่างชาติอย่าง Volkswagen, Honda และ Buick ก็เร่งเคลียร์สต๊อกด้วยการหั่นราคาอย่างหนัก ทำให้ความได้เปรียบด้านราคาของบีวายดีลดลง ทันทีหลังประกาศลดราคาในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา หุ้นของบีวายดีในตลาดหลักทรัพย์ร่วงลงอย่างรุนแรง โดยในตลาดฮ่องกงราคาลดลงถึง 8.6% และในตลาด A-share ลดลงกว่า 6% ภายในเวลา 3 วัน มูลค่าบริษัทหายไปราว 1 แสนล้านหยวน นักลงทุนตื่นตระหนกกับแนวโน้มกำไรของบริษัทที่จะได้รับผลกระทบจากสงครามราคา ขณะที่หุ้นของบริษัทรถยนต์รายอื่น เช่น Geely, Great Wall, Seres, Changan และ SAIC ก็ร่วงตามไปในระดับ 2–5% • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/china/detail/9680000050149 • #MGROnline #บีวายดี #ยานยนต์จีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 331 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถนนจูเชวี่ยแห่งนครฉางอัน

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเร็วหน่อยก่อนจะแยกย้ายกันไปฉลองปีใหม่ พูดถึงเทศกาลคริสมาสและปีใหม่ ก็หนีไม่พ้นเรื่องของการซื้อของให้ของขวัญ ทำให้ Storyฯ นึกถึงถนนสายหนึ่งที่มักถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เวลาที่นางเอกชวนสาวใช้ไปเดินช้อปปิ้ง

    ถนนสายนี้มีชื่อว่า ถนนจูเชวี่ย (朱雀街 / ถนนวิหคชาด) ซึ่งเป็นชื่อที่ปรากฏบ่อยมากในซีรีส์และนิยายจีน เพราะมันเป็นถนนที่โด่งดังมากแห่งนครฉางอัน และปัจจุบันยังคงมีถนนสายนี้อยู่ที่เมืองซีอัน แต่เรียกจริงๆ ว่าถนนใหญ่จูเชวี่ย (朱雀大街 / Zhuque Avenue)

    ถนนจูเชวี่ยที่เราเห็นในละครหลายเรื่องดูจะเป็นถนนเล็ก สองฟากเรียงรายด้วยแผงขายของ แต่จริงๆ แล้ว ถนนจูเชวี่ยเป็นถนนที่ใหญ่มาก เลยต้องเอารูปประกอบมาเสริมจากละครเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> ซึ่งถูกกล่าวขานยกย่องว่ามีการจำลองผังเมืองนครฉางอันมาอย่างดี

    ‘ฉางอัน’ ชื่อนี้แปลว่าสงบสุขยืนยาว และเมืองฉางอันมีอดีตยาวนานสมชื่อ มันเคยเป็นเมืองหลวงเก่าแก่หลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้มีอาณาเขตเท่ากันในทุกยุคสมัย ในสมัยราชวงศ์สุยและถังมีการสร้างพระราชวังขึ้นเพิ่มและขยายอาณาเขตออกไป และในสมัยถังจัดได้ว่าเป็นช่วงที่เรืองรองที่สุดของนครฉางอัน ในช่วงที่เฟื่องฟูที่สุดนั้น นครฉางอันมีประชากรถึง 3 ล้านคน เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกในสมัยนั้น ใหญ่กว่ากรุงโรมโบราณถึง 7 เท่า เส้นผ่าศูนย์กลางตะวันออก-ตะวันตกของเมืองยาว 9.7 กิโลเมตร เหนือ-ใต้ยาว 8.7 กิโลเมตร

    ต่อมาในสมัยปลายถังมีการหนีข้าศึกย้ายราชธานีไปยังเมืองลั่วหยาง เมืองฉางอันก็ค่อยๆ เสื่อมโทรมลง ในสมัยหมิงมีการบูรณะฉางอันสร้างขึ้นอีกครั้งเป็นเมืองซีอัน แต่ก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่เท่าฉางอันเดิม

    นครฉางอันสมัยถังแบ่งเป็นสองเขตใหญ่ คือฝั่งตะวันออกและตะวันตก มีถนนใหญ่คั่นกลางคือถนนจูเชวี่ย (ดูรูปประกอบ2) พื้นที่ทั้งหมดถูกแบ่งซอยย่อยเป็นเขตเล็กทรงสี่เหลี่ยมเรียกว่า ‘ฟาง’ มีหลายขนาด ยาวประมาณ 500-800 เมตร กว้าง 700-1,000 เมตร แต่ละเขตฟางมีกำแพงและคูระบายน้ำล้อมรอบ และมีประตูเข้าออกของมันเองเพื่อความปลอดภัย โดยประตูจะเปิดในตอนเช้าและปิดในตอนกลางคืน มีทั้งหมดด้วยกัน 108 เขตฟาง (ไม่รวมตลาดอีก 2 ฟาง) จนบางคนเปรียบผังเมืองฉางอันเป็นกระดานหมากล้อม เพื่อนเพจที่ได้ดู <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> น่าจะคุ้นเคยกับภาพของเขตฟางเหล่านี้

    นครฉางอันมีประตูเมือง 12 ประตู (Storyฯ เคยคุยถึงประตูเมืองโบราณแล้วใน https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/581451090649854 ) และประตูเมืองที่สำคัญเพราะเป็นประตูหลักในการเข้าออกเมืองนี้ก็คือประตูทิศใต้ที่มีชื่อว่า ประตูหมิงเต๋อ มันเป็นประตูเมืองประตูเดียวที่มีถึงห้าบาน โดยหนึ่งบานนั้นเป็นประตูที่เปิดใช้เฉพาะยามที่ฮ่องเต้เสด็จเข้าออกเมือง

    ถนนจูเชวี่ยนี้ ทิศใต้จรดประตูเมืองหมิงเต๋อที่กล่าวถึงข้างต้น ส่วนทิศเหนือนั้นจรดประตูเขตพระนครชื่อว่าประตูจูเชวี่ย และเลยผ่านเขตพระนครไปจรดประตูพระราชวังเฉิงเทียน อนึ่ง เขตพระนครหรือหวงเฉิง (皇城 / Royal City) นั้นคือส่วนที่เป็นบริเวณสถานที่ราชการต่างๆ ส่วนเขตพระราชวังหรือกงเฉิง (宫城 / Palace City) นั้นคือเขตที่ประทับของฮ่องเต้และเหล่าเชื้อพระวงศ์ ถนนจูเชวี่ยส่วนที่อยู่ในเขตพระนครนั้นเรียกว่า ถนนเฉิงเทียน ตามชื่อประตู และเป็นที่มาว่าถนนจูเชวี่ยถูกเรียกว่าถนน ‘เทียนเจีย’ (ถนนสวรรค์)

    ถนนจูเชวี่ยแห่งนครฉางอันในสมัยถังนั้น จริงแท้หน้าตาเป็นอย่างไรไม่ปรากฏภาพวาดเปรียบเทียบกับถนนอื่นอย่างชัดเจน แต่มีการขุดพบซากถนนเก่าที่ยืนยันขนาดของมันว่ามีความยาว กว่า 5 กม. ถนนหน้ากว้าง 150 เมตร (รวมคูข้างถนน ถ้าไม่รวมคือประมาณ 129-130 เมตร) และทุกระยะทาง 200 เมตรจะมีการขยายถนนออกไปเล็กน้อย คล้ายเป็นไหล่ทาง มีไว้ให้คนยืนหลบเวลาที่ฮ่องเต้เสด็จผ่าน --- ลองนึกเปรียบเทียบดูว่า ถนนบ้านเราปัจจุบันตามกฎหมายกว้าง 3 เมตร ดังนั้นความกว้างของถนนจูเชวี่ยเทียบเท่าถนนห้าสิบเลนปัจจุบันของเราเลยทีเดียว! ทีนี้เพื่อนเพจคงนึกภาพตามได้ไม่ยากแล้วว่า ในละครที่เราเห็นภาพฮ่องเต้ทรงอวยพรให้แม่ทัพและเหล่ากองกำลังทหารก่อนเดินทัพออกจากพระราชวังนั้น เขามีถนนใหญ่อย่างนี้จริง

    มีคนวิเคราะห์ไว้ว่า ขนาดความกว้างของถนนจูเชวี่ยนี้ เป็นเพราะระยะทางการยิงของธนูธรรมดาในสมัยนั้น ยิงได้ไกลประมาณ 60 เมตร ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของขบวนเสด็จของฮ่องเต้ ถนนจูเชวี่ยจึงต้องมีความกว้างถึง 150 เมตร

    แต่ไม่ใช่ถนนทุกสายที่มีหน้ากว้างขนาดนี้ ถนนสายรองของเมืองมีหน้ากว้างปกติ 40-70 เมตร และถนนเล็กเลียบกำแพงเมืองจะมีหน้ากว้างไม่เกิน 25 เมตร ส่วนถนนระหว่างเขตฟางส่วนใหญ่มีความกว้างเพียงให้รถเกวียนหรือรถม้าสองคันวิ่งสวนกัน

    ถนนจูเชวี่ยใหญ่ขนาดนี้ ใช่ถนนช้อปปิ้งหรือไม่?

    จากบันทึกโบราณ สถานช้อปปิ้งหลักของนครฉางอันคือตลาดตะวันตกและตลาดตะวันออก (ดูรูปผังเมืองที่แปะมา) โดยสินค้าในตลาดตะวันตกส่วนใหญ่เป็นสินค้าพื้นบ้านหรือของนำเข้าจากเมืองอื่นสำหรับชาวบ้านทั่วไป แต่สินค้าในตลาดตะวันออกจากมีราคาสูงขึ้นมาอีก เพราะกลุ่มลูกค้าจะเป็นชนชั้นสูง ส่วนถนนจูเชวี่ยนั้น สองฝั่งฟากส่วนใหญ่เป็นวัดวาอารามและหอชมวิว

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.niusnews.com/=P0123ga33
    https://n.znds.com/article/39071.html
    http://v.xiancity.cn/folder11/folder186/2016-11-25/89648.html
    https://m.planning.org.cn/zx_news/9888.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.planning.org.cn/zx_news/9888.htm
    https://en.unesco.org/silkroad/content/did-you-know-cosmopolitan-city-changan-eastern-end-silk-roads
    https://i.ifeng.com/c/8NbyjwjSa8B
    https://kknews.cc/history/6o6lop.html
    https://kknews.cc/news/e8orjvn.html
    https://www.gugong.net/zhongguo/tangchao/29679.html

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #ฉางอัน #ถนนจูเชวี่ย #ถนนสวรรค์
    ถนนจูเชวี่ยแห่งนครฉางอัน สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเร็วหน่อยก่อนจะแยกย้ายกันไปฉลองปีใหม่ พูดถึงเทศกาลคริสมาสและปีใหม่ ก็หนีไม่พ้นเรื่องของการซื้อของให้ของขวัญ ทำให้ Storyฯ นึกถึงถนนสายหนึ่งที่มักถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เวลาที่นางเอกชวนสาวใช้ไปเดินช้อปปิ้ง ถนนสายนี้มีชื่อว่า ถนนจูเชวี่ย (朱雀街 / ถนนวิหคชาด) ซึ่งเป็นชื่อที่ปรากฏบ่อยมากในซีรีส์และนิยายจีน เพราะมันเป็นถนนที่โด่งดังมากแห่งนครฉางอัน และปัจจุบันยังคงมีถนนสายนี้อยู่ที่เมืองซีอัน แต่เรียกจริงๆ ว่าถนนใหญ่จูเชวี่ย (朱雀大街 / Zhuque Avenue) ถนนจูเชวี่ยที่เราเห็นในละครหลายเรื่องดูจะเป็นถนนเล็ก สองฟากเรียงรายด้วยแผงขายของ แต่จริงๆ แล้ว ถนนจูเชวี่ยเป็นถนนที่ใหญ่มาก เลยต้องเอารูปประกอบมาเสริมจากละครเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> ซึ่งถูกกล่าวขานยกย่องว่ามีการจำลองผังเมืองนครฉางอันมาอย่างดี ‘ฉางอัน’ ชื่อนี้แปลว่าสงบสุขยืนยาว และเมืองฉางอันมีอดีตยาวนานสมชื่อ มันเคยเป็นเมืองหลวงเก่าแก่หลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้มีอาณาเขตเท่ากันในทุกยุคสมัย ในสมัยราชวงศ์สุยและถังมีการสร้างพระราชวังขึ้นเพิ่มและขยายอาณาเขตออกไป และในสมัยถังจัดได้ว่าเป็นช่วงที่เรืองรองที่สุดของนครฉางอัน ในช่วงที่เฟื่องฟูที่สุดนั้น นครฉางอันมีประชากรถึง 3 ล้านคน เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกในสมัยนั้น ใหญ่กว่ากรุงโรมโบราณถึง 7 เท่า เส้นผ่าศูนย์กลางตะวันออก-ตะวันตกของเมืองยาว 9.7 กิโลเมตร เหนือ-ใต้ยาว 8.7 กิโลเมตร ต่อมาในสมัยปลายถังมีการหนีข้าศึกย้ายราชธานีไปยังเมืองลั่วหยาง เมืองฉางอันก็ค่อยๆ เสื่อมโทรมลง ในสมัยหมิงมีการบูรณะฉางอันสร้างขึ้นอีกครั้งเป็นเมืองซีอัน แต่ก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่เท่าฉางอันเดิม นครฉางอันสมัยถังแบ่งเป็นสองเขตใหญ่ คือฝั่งตะวันออกและตะวันตก มีถนนใหญ่คั่นกลางคือถนนจูเชวี่ย (ดูรูปประกอบ2) พื้นที่ทั้งหมดถูกแบ่งซอยย่อยเป็นเขตเล็กทรงสี่เหลี่ยมเรียกว่า ‘ฟาง’ มีหลายขนาด ยาวประมาณ 500-800 เมตร กว้าง 700-1,000 เมตร แต่ละเขตฟางมีกำแพงและคูระบายน้ำล้อมรอบ และมีประตูเข้าออกของมันเองเพื่อความปลอดภัย โดยประตูจะเปิดในตอนเช้าและปิดในตอนกลางคืน มีทั้งหมดด้วยกัน 108 เขตฟาง (ไม่รวมตลาดอีก 2 ฟาง) จนบางคนเปรียบผังเมืองฉางอันเป็นกระดานหมากล้อม เพื่อนเพจที่ได้ดู <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> น่าจะคุ้นเคยกับภาพของเขตฟางเหล่านี้ นครฉางอันมีประตูเมือง 12 ประตู (Storyฯ เคยคุยถึงประตูเมืองโบราณแล้วใน https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/581451090649854 ) และประตูเมืองที่สำคัญเพราะเป็นประตูหลักในการเข้าออกเมืองนี้ก็คือประตูทิศใต้ที่มีชื่อว่า ประตูหมิงเต๋อ มันเป็นประตูเมืองประตูเดียวที่มีถึงห้าบาน โดยหนึ่งบานนั้นเป็นประตูที่เปิดใช้เฉพาะยามที่ฮ่องเต้เสด็จเข้าออกเมือง ถนนจูเชวี่ยนี้ ทิศใต้จรดประตูเมืองหมิงเต๋อที่กล่าวถึงข้างต้น ส่วนทิศเหนือนั้นจรดประตูเขตพระนครชื่อว่าประตูจูเชวี่ย และเลยผ่านเขตพระนครไปจรดประตูพระราชวังเฉิงเทียน อนึ่ง เขตพระนครหรือหวงเฉิง (皇城 / Royal City) นั้นคือส่วนที่เป็นบริเวณสถานที่ราชการต่างๆ ส่วนเขตพระราชวังหรือกงเฉิง (宫城 / Palace City) นั้นคือเขตที่ประทับของฮ่องเต้และเหล่าเชื้อพระวงศ์ ถนนจูเชวี่ยส่วนที่อยู่ในเขตพระนครนั้นเรียกว่า ถนนเฉิงเทียน ตามชื่อประตู และเป็นที่มาว่าถนนจูเชวี่ยถูกเรียกว่าถนน ‘เทียนเจีย’ (ถนนสวรรค์) ถนนจูเชวี่ยแห่งนครฉางอันในสมัยถังนั้น จริงแท้หน้าตาเป็นอย่างไรไม่ปรากฏภาพวาดเปรียบเทียบกับถนนอื่นอย่างชัดเจน แต่มีการขุดพบซากถนนเก่าที่ยืนยันขนาดของมันว่ามีความยาว กว่า 5 กม. ถนนหน้ากว้าง 150 เมตร (รวมคูข้างถนน ถ้าไม่รวมคือประมาณ 129-130 เมตร) และทุกระยะทาง 200 เมตรจะมีการขยายถนนออกไปเล็กน้อย คล้ายเป็นไหล่ทาง มีไว้ให้คนยืนหลบเวลาที่ฮ่องเต้เสด็จผ่าน --- ลองนึกเปรียบเทียบดูว่า ถนนบ้านเราปัจจุบันตามกฎหมายกว้าง 3 เมตร ดังนั้นความกว้างของถนนจูเชวี่ยเทียบเท่าถนนห้าสิบเลนปัจจุบันของเราเลยทีเดียว! ทีนี้เพื่อนเพจคงนึกภาพตามได้ไม่ยากแล้วว่า ในละครที่เราเห็นภาพฮ่องเต้ทรงอวยพรให้แม่ทัพและเหล่ากองกำลังทหารก่อนเดินทัพออกจากพระราชวังนั้น เขามีถนนใหญ่อย่างนี้จริง มีคนวิเคราะห์ไว้ว่า ขนาดความกว้างของถนนจูเชวี่ยนี้ เป็นเพราะระยะทางการยิงของธนูธรรมดาในสมัยนั้น ยิงได้ไกลประมาณ 60 เมตร ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของขบวนเสด็จของฮ่องเต้ ถนนจูเชวี่ยจึงต้องมีความกว้างถึง 150 เมตร แต่ไม่ใช่ถนนทุกสายที่มีหน้ากว้างขนาดนี้ ถนนสายรองของเมืองมีหน้ากว้างปกติ 40-70 เมตร และถนนเล็กเลียบกำแพงเมืองจะมีหน้ากว้างไม่เกิน 25 เมตร ส่วนถนนระหว่างเขตฟางส่วนใหญ่มีความกว้างเพียงให้รถเกวียนหรือรถม้าสองคันวิ่งสวนกัน ถนนจูเชวี่ยใหญ่ขนาดนี้ ใช่ถนนช้อปปิ้งหรือไม่? จากบันทึกโบราณ สถานช้อปปิ้งหลักของนครฉางอันคือตลาดตะวันตกและตลาดตะวันออก (ดูรูปผังเมืองที่แปะมา) โดยสินค้าในตลาดตะวันตกส่วนใหญ่เป็นสินค้าพื้นบ้านหรือของนำเข้าจากเมืองอื่นสำหรับชาวบ้านทั่วไป แต่สินค้าในตลาดตะวันออกจากมีราคาสูงขึ้นมาอีก เพราะกลุ่มลูกค้าจะเป็นชนชั้นสูง ส่วนถนนจูเชวี่ยนั้น สองฝั่งฟากส่วนใหญ่เป็นวัดวาอารามและหอชมวิว (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.niusnews.com/=P0123ga33 https://n.znds.com/article/39071.html http://v.xiancity.cn/folder11/folder186/2016-11-25/89648.html https://m.planning.org.cn/zx_news/9888.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.planning.org.cn/zx_news/9888.htm https://en.unesco.org/silkroad/content/did-you-know-cosmopolitan-city-changan-eastern-end-silk-roads https://i.ifeng.com/c/8NbyjwjSa8B https://kknews.cc/history/6o6lop.html https://kknews.cc/news/e8orjvn.html https://www.gugong.net/zhongguo/tangchao/29679.html #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #ฉางอัน #ถนนจูเชวี่ย #ถนนสวรรค์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1418 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประกันชั้น 1 รถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่น ทำได้ที่เพจเรา ผ่อน 0% สูงสุดถึง 12 เดือน*ครอบคลุมทุกรุ่นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ยอดฮิตในตลาดประกันภัยจากบริษัทชั้นนำมากมาย.เข้าทำรายการเองได้24ชั่วโมง​https://share.724.co.th/insure/a/motor/AM00153592ให้ฝ่ายขายเช็กเบี้ยประกันให้​ เข้าทำรายการได้ที่นี่​ สอบถามเพิ่มเติม">https://share.724.co.th/insure/a/724-ev-car-insure/AM00153592สอบถามเพิ่มเติม ติดต่อ แอดไลน์ของเรา line id : evcar_1 หรือคลิกแอดไลน์ https://line.me/ti/p/1OBQA_o6Gsติดต่อส่วนกลางของทีมขายของเพจเรา โทร 065 569 3990บัญชีปลายทาง จะเป็นบัญชีโบรคเกอร์ / บัญชีชื่อบริษัทประกันภัย /ไม่ใช่ชื่อบุคคลนะคะ > ขอบคุณที่ใช้บริการค่ะ#Evcar #EVclub #EVthailand #รถไฟฟ้า #รถEv #ประกันออนไลน์ #ประกันภัยรถ #ผ่อนประกันรถ#tesla #byd #neta #mg #changan#วิริยะประกันภัย #ธนชาตประกันภัย #กรุงเทพประกันภัย #เมืองไทยประกันภัย #แอกซ่าประกันภัย #axa #คุ้มภัยโตเกียวมารีน #tokiomarine #เออโก้ประกันภัย #ergo #เทเวศประกันภัย #ทิพยประกันภัย #แอลเอ็มจีประกันภัย #Lmg #allianzAyudhya #อลิอันซ์อยุธยา#อุบัติเหตุ
    ประกันชั้น 1 รถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่น ทำได้ที่เพจเรา 👇✅ผ่อน 0% สูงสุดถึง 12 เดือน*✅ครอบคลุมทุกรุ่นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ยอดฮิตในตลาด✅ประกันภัยจากบริษัทชั้นนำมากมาย.เข้าทำรายการเองได้24ชั่วโมง​👉https://share.724.co.th/insure/a/motor/AM00153592ให้ฝ่ายขายเช็กเบี้ยประกันให้​ เข้าทำรายการได้ที่นี่​ 👉https://share.724.co.th/insure/a/724-ev-car-insure/AM00153592👉💚สอบถามเพิ่มเติม ติดต่อ แอดไลน์ของเรา✅ line id : evcar_1✅ หรือคลิกแอดไลน์ https://line.me/ti/p/1OBQA_o6Gsติดต่อส่วนกลางของทีมขายของเพจเรา โทร 065 569 3990บัญชีปลายทาง จะเป็นบัญชีโบรคเกอร์ / บัญชีชื่อบริษัทประกันภัย /ไม่ใช่ชื่อบุคคลนะคะ > ขอบคุณที่ใช้บริการค่ะ#Evcar #EVclub #EVthailand #รถไฟฟ้า #รถEv #ประกันออนไลน์ #ประกันภัยรถ #ผ่อนประกันรถ#tesla #byd #neta #mg #changan#วิริยะประกันภัย #ธนชาตประกันภัย #กรุงเทพประกันภัย #เมืองไทยประกันภัย #แอกซ่าประกันภัย #axa #คุ้มภัยโตเกียวมารีน #tokiomarine #เออโก้ประกันภัย #ergo #เทเวศประกันภัย #ทิพยประกันภัย #แอลเอ็มจีประกันภัย #Lmg #allianzAyudhya #อลิอันซ์อยุธยา#อุบัติเหตุ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2160 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประกันชั้น 1 รถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่น ทำได้ที่เพจเรา ผ่อน 0% สูงสุดถึง 12 เดือน*ครอบคลุมทุกรุ่นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ยอดฮิตในตลาดประกันภัยจากบริษัทชั้นนำมากมาย.เข้าทำรายการเองได้24ชั่วโมง​https://share.724.co.th/insure/a/motor/AM00153592ให้ฝ่ายขายเช็กเบี้ยประกันให้​ เข้าทำรายการได้ที่นี่​ สอบถามเพิ่มเติม">https://share.724.co.th/insure/a/724-ev-car-insure/AM00153592สอบถามเพิ่มเติม ติดต่อ แอดไลน์ของเรา line id : evcar_1 หรือคลิกแอดไลน์ https://line.me/ti/p/1OBQA_o6Gsติดต่อส่วนกลางของทีมขายของเพจเรา โทร 065 569 3990บัญชีปลายทาง จะเป็นบัญชีโบรคเกอร์ / บัญชีชื่อบริษัทประกันภัย /ไม่ใช่ชื่อบุคคลนะคะ > ขอบคุณที่ใช้บริการค่ะ#Evcar #EVclub #EVthailand #รถไฟฟ้า #รถEv #ประกันออนไลน์ #ประกันภัยรถ #ผ่อนประกันรถ#tesla #byd #neta #mg #changan#วิริยะประกันภัย #ธนชาตประกันภัย #กรุงเทพประกันภัย #เมืองไทยประกันภัย #แอกซ่าประกันภัย #axa #คุ้มภัยโตเกียวมารีน #tokiomarine #เออโก้ประกันภัย #ergo #เทเวศประกันภัย #ทิพยประกันภัย #แอลเอ็มจีประกันภัย #Lmg #allianzAyudhya #อลิอันซ์อยุธยา#อุบัติเหตุ
    ประกันชั้น 1 รถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่น ทำได้ที่เพจเรา 👇✅ผ่อน 0% สูงสุดถึง 12 เดือน*✅ครอบคลุมทุกรุ่นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ยอดฮิตในตลาด✅ประกันภัยจากบริษัทชั้นนำมากมาย.เข้าทำรายการเองได้24ชั่วโมง​👉https://share.724.co.th/insure/a/motor/AM00153592ให้ฝ่ายขายเช็กเบี้ยประกันให้​ เข้าทำรายการได้ที่นี่​ 👉https://share.724.co.th/insure/a/724-ev-car-insure/AM00153592👉💚สอบถามเพิ่มเติม ติดต่อ แอดไลน์ของเรา✅ line id : evcar_1✅ หรือคลิกแอดไลน์ https://line.me/ti/p/1OBQA_o6Gsติดต่อส่วนกลางของทีมขายของเพจเรา โทร 065 569 3990บัญชีปลายทาง จะเป็นบัญชีโบรคเกอร์ / บัญชีชื่อบริษัทประกันภัย /ไม่ใช่ชื่อบุคคลนะคะ > ขอบคุณที่ใช้บริการค่ะ#Evcar #EVclub #EVthailand #รถไฟฟ้า #รถEv #ประกันออนไลน์ #ประกันภัยรถ #ผ่อนประกันรถ#tesla #byd #neta #mg #changan#วิริยะประกันภัย #ธนชาตประกันภัย #กรุงเทพประกันภัย #เมืองไทยประกันภัย #แอกซ่าประกันภัย #axa #คุ้มภัยโตเกียวมารีน #tokiomarine #เออโก้ประกันภัย #ergo #เทเวศประกันภัย #ทิพยประกันภัย #แอลเอ็มจีประกันภัย #Lmg #allianzAyudhya #อลิอันซ์อยุธยา#อุบัติเหตุ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2145 มุมมอง 0 รีวิว