9 мая - 9 May - 9 พฤษภาคม
วันแห่งชัยชนะของประชาชนโซเวียตในมหาสงครามแห่งความรักชาติ
วันที่ 9 พฤษภาคม เป็นวันแห่งชัยชนะในมหาสงครามแห่งความรักชาติ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2484 (ค.ศ.1941) ถึง พ.ศ.2488 (ค.ศ.1945) รวมระยะเวลา 1,418 วัน
👉พิธีการยอมจำนนในเบอร์ลิน:
วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ในเขตชานเมืองของกรุงเบอร์ลิน เวลา 22:43 น. ตามเวลายุโรปกลาง (เนื่องจากเป็นเวลา 00:43 น. ตามเวลามอสโก จึงทำให้เป็นวันที่ 9 พฤษภาคม ) มีการลงนามในตราสารการยอมรับความพ่ายแพ้ของกองทัพเยอรมนีอย่างไม่มีเงื่อนไข ซึ่งถือเป็นการยุติมหาสงครามแห่งความรักชาติ และ สงครามโลกครั้งที่ 2
ฝ่ายเยอรมัน เอกสารลงนามโดย: จอมพล Wilhelm Keitel ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพเรือเยอรมัน, พันเอก Hans Stumpf ผู้แทนของ Luftwaffe (กองทัพอากาศ), และ พลเรือเอก Hans von Friedeburg ตัวแทนของ Kriegsmarine (กองทัพเรือ)
ในส่วนของพันธมิตรนั้น จอมพล Georgy Zhukov (จากโซเวียต) และ จอมพล Arthur Tedder (จากสหราชอาณาจักร) รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองกำลังพันธมิตร
ส่วน นายพล Carl Spaats (สหรัฐอเมริกา) และนายพล Jean de Latre de Tassigny (ฝรั่งเศส) ลงนามในฐานะพยาน
ก่อนหน้าที่จะมีการลงนามใน "พิธีการยอมจำนน" ที่กรุงเบอร์ลิน มีการลงนามกันในแรมส์ ประเทศฝรั่งเศส ไปแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อเวลา 2.41 น. ของวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 สถานที่ในการลงนามเป็นกองบัญชาการกำลังรบนอกประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรสูงสุด (SHAEF) และจะมีผลเมื่อเวลา 23.01 น. ตามเวลายุโรปกลาง ของวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
แต่ทางโซเวียตไม่เห็นด้วย เนื่องจากพิธีการลงนามในแรมส์ถูกจัดขึ้นโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก โดยไม่ได้ตกลงกับทางกองบัญชาการหลักของโซเวียต ไม่นานหลังจากมีการลงนามยอมจำนนแล้ว ฝ่ายโซเวียตได้ประกาศว่าผู้แทนโซเวียตในแรมส์ พลเอกซูสโลปารอฟ ไม่มีอำนาจที่จะลงนามในตราสารนี้
ยิ่งไปกว่านี้ บางส่วนของกองทัพเยอรมันปฏิเสธที่จะยอมวางอาวุธและยังคงทำการสู้รบต่อไปในเชโกสโลวาเกีย โดยได้มีการประกาศในสถานีวิทยุเยอรมันว่าเยอรมนีตกลงสันติภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก มิใช่กับฝ่ายโซเวียต
โซเวียตยืนกรานว่าการลงนามยอมจำนนในแรมส์ ควรเรียกว่าเป็น "พิธีสารชั้นต้นของการยอมจำนน" ดังนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตกลงให้มีพิธีการยอมจำนนอีกครั้งหนึ่งในเบอร์ลิน
วันแห่งชัยชนะของประชาชนโซเวียตในมหาสงครามแห่งความรักชาติ
วันที่ 9 พฤษภาคม เป็นวันแห่งชัยชนะในมหาสงครามแห่งความรักชาติ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2484 (ค.ศ.1941) ถึง พ.ศ.2488 (ค.ศ.1945) รวมระยะเวลา 1,418 วัน
👉พิธีการยอมจำนนในเบอร์ลิน:
วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ในเขตชานเมืองของกรุงเบอร์ลิน เวลา 22:43 น. ตามเวลายุโรปกลาง (เนื่องจากเป็นเวลา 00:43 น. ตามเวลามอสโก จึงทำให้เป็นวันที่ 9 พฤษภาคม ) มีการลงนามในตราสารการยอมรับความพ่ายแพ้ของกองทัพเยอรมนีอย่างไม่มีเงื่อนไข ซึ่งถือเป็นการยุติมหาสงครามแห่งความรักชาติ และ สงครามโลกครั้งที่ 2
ฝ่ายเยอรมัน เอกสารลงนามโดย: จอมพล Wilhelm Keitel ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพเรือเยอรมัน, พันเอก Hans Stumpf ผู้แทนของ Luftwaffe (กองทัพอากาศ), และ พลเรือเอก Hans von Friedeburg ตัวแทนของ Kriegsmarine (กองทัพเรือ)
ในส่วนของพันธมิตรนั้น จอมพล Georgy Zhukov (จากโซเวียต) และ จอมพล Arthur Tedder (จากสหราชอาณาจักร) รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองกำลังพันธมิตร
ส่วน นายพล Carl Spaats (สหรัฐอเมริกา) และนายพล Jean de Latre de Tassigny (ฝรั่งเศส) ลงนามในฐานะพยาน
ก่อนหน้าที่จะมีการลงนามใน "พิธีการยอมจำนน" ที่กรุงเบอร์ลิน มีการลงนามกันในแรมส์ ประเทศฝรั่งเศส ไปแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อเวลา 2.41 น. ของวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 สถานที่ในการลงนามเป็นกองบัญชาการกำลังรบนอกประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรสูงสุด (SHAEF) และจะมีผลเมื่อเวลา 23.01 น. ตามเวลายุโรปกลาง ของวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
แต่ทางโซเวียตไม่เห็นด้วย เนื่องจากพิธีการลงนามในแรมส์ถูกจัดขึ้นโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก โดยไม่ได้ตกลงกับทางกองบัญชาการหลักของโซเวียต ไม่นานหลังจากมีการลงนามยอมจำนนแล้ว ฝ่ายโซเวียตได้ประกาศว่าผู้แทนโซเวียตในแรมส์ พลเอกซูสโลปารอฟ ไม่มีอำนาจที่จะลงนามในตราสารนี้
ยิ่งไปกว่านี้ บางส่วนของกองทัพเยอรมันปฏิเสธที่จะยอมวางอาวุธและยังคงทำการสู้รบต่อไปในเชโกสโลวาเกีย โดยได้มีการประกาศในสถานีวิทยุเยอรมันว่าเยอรมนีตกลงสันติภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก มิใช่กับฝ่ายโซเวียต
โซเวียตยืนกรานว่าการลงนามยอมจำนนในแรมส์ ควรเรียกว่าเป็น "พิธีสารชั้นต้นของการยอมจำนน" ดังนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตกลงให้มีพิธีการยอมจำนนอีกครั้งหนึ่งในเบอร์ลิน
9 мая - 9 May - 9 พฤษภาคม
วันแห่งชัยชนะของประชาชนโซเวียตในมหาสงครามแห่งความรักชาติ
วันที่ 9 พฤษภาคม เป็นวันแห่งชัยชนะในมหาสงครามแห่งความรักชาติ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2484 (ค.ศ.1941) ถึง พ.ศ.2488 (ค.ศ.1945) รวมระยะเวลา 1,418 วัน
👉พิธีการยอมจำนนในเบอร์ลิน:
วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ในเขตชานเมืองของกรุงเบอร์ลิน เวลา 22:43 น. ตามเวลายุโรปกลาง (เนื่องจากเป็นเวลา 00:43 น. ตามเวลามอสโก จึงทำให้เป็นวันที่ 9 พฤษภาคม ) มีการลงนามในตราสารการยอมรับความพ่ายแพ้ของกองทัพเยอรมนีอย่างไม่มีเงื่อนไข ซึ่งถือเป็นการยุติมหาสงครามแห่งความรักชาติ และ สงครามโลกครั้งที่ 2
ฝ่ายเยอรมัน เอกสารลงนามโดย: จอมพล Wilhelm Keitel ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพเรือเยอรมัน, พันเอก Hans Stumpf ผู้แทนของ Luftwaffe (กองทัพอากาศ), และ พลเรือเอก Hans von Friedeburg ตัวแทนของ Kriegsmarine (กองทัพเรือ)
ในส่วนของพันธมิตรนั้น จอมพล Georgy Zhukov (จากโซเวียต) และ จอมพล Arthur Tedder (จากสหราชอาณาจักร) รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองกำลังพันธมิตร
ส่วน นายพล Carl Spaats (สหรัฐอเมริกา) และนายพล Jean de Latre de Tassigny (ฝรั่งเศส) ลงนามในฐานะพยาน
ก่อนหน้าที่จะมีการลงนามใน "พิธีการยอมจำนน" ที่กรุงเบอร์ลิน มีการลงนามกันในแรมส์ ประเทศฝรั่งเศส ไปแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อเวลา 2.41 น. ของวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 สถานที่ในการลงนามเป็นกองบัญชาการกำลังรบนอกประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรสูงสุด (SHAEF) และจะมีผลเมื่อเวลา 23.01 น. ตามเวลายุโรปกลาง ของวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
แต่ทางโซเวียตไม่เห็นด้วย เนื่องจากพิธีการลงนามในแรมส์ถูกจัดขึ้นโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก โดยไม่ได้ตกลงกับทางกองบัญชาการหลักของโซเวียต ไม่นานหลังจากมีการลงนามยอมจำนนแล้ว ฝ่ายโซเวียตได้ประกาศว่าผู้แทนโซเวียตในแรมส์ พลเอกซูสโลปารอฟ ไม่มีอำนาจที่จะลงนามในตราสารนี้
ยิ่งไปกว่านี้ บางส่วนของกองทัพเยอรมันปฏิเสธที่จะยอมวางอาวุธและยังคงทำการสู้รบต่อไปในเชโกสโลวาเกีย โดยได้มีการประกาศในสถานีวิทยุเยอรมันว่าเยอรมนีตกลงสันติภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก มิใช่กับฝ่ายโซเวียต
โซเวียตยืนกรานว่าการลงนามยอมจำนนในแรมส์ ควรเรียกว่าเป็น "พิธีสารชั้นต้นของการยอมจำนน" ดังนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตกลงให้มีพิธีการยอมจำนนอีกครั้งหนึ่งในเบอร์ลิน
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
0 มุมมอง
0 รีวิว