• เข้าใจ Windows 10 มากขึ้น https://youtu.be/oPcPR-KDxdw #windows10
    เข้าใจ Windows 10 มากขึ้น https://youtu.be/oPcPR-KDxdw #windows10
    0 Comments 0 Shares 87 Views 0 Reviews
  • #CPR #AED #ฉุกเฉิน
    #CPR #AED #ฉุกเฉิน
    0 Comments 0 Shares 92 Views 27 0 Reviews
  • 9 ตุลาคม 2567-สำนักข่าวอิศรารายงานว่า นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในโอกาสที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีอายุครบ 22 ปี สนข. เปรียบเสมือน "คลังสมอง"ให้กับกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติภารกิจหน้าที่และมีบทบาทในการเสนอแนะนโยบายและจัดทำแผนยุทธศาสตร์แผนแม่บท แผนงานต่าง ๆ ด้านคมนาคมขนส่งและจราจร ทั้งมิติทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ รวมทั้งผลักดันขับเคลื่อนแผนงาน โครงการ และมาตรการต่าง ๆ ให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเตรียมความพร้อมในการรองรับการขยายตัว และการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และผลักดันให้ประเทศไทย ก้าวสู่การเป็น "ศูนย์กลางด้านคมนาคมในภูมิภาค"

    โดยแผนงานด้านคมนาคมทางบกนั้นให้ สนข. เป็นหน่วยงานหลัก ผ่านกลไกของคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เพื่อบริหารจัดการการแก้ไขปัญหารจราจร และในระยะกลาง ให้พัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทาง เช่น จัดระบบฟีดเดอร์เชื่อมโยงรถเมล์ กับรถไฟฟ้า

    ส่วนระบบรางให้เร่งจัดระบบขนส่งสาธารณะในเมืองใหญ่ในภูมิภาค และ ให้ สนข. เป็นหน่วยงานร่วมในการเจรจากับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อหาข้อสรุปในโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ที่จังหวัดหนองคาย เพื่อเชื่อมโยงถนนกับระบบราง ส่วนในระยะกลางให้หาข้อสรูปแนวทางการพัฒนารถไฟทางคู่ระบบรถไฟฟ้าในเมืองภูมิภาค และ คมนาคมทางอากาศ ให้พิจารณาการเชื่อมต่อการเดินทางทางอากาศกับการขนส่งทางบก เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวก

    @ผลักดันร่าง พ.ร.บ. SEC ภายในปี 67

    นางมนพรกล่าวถึงโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้และเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (ชุมพร-ระนอง) หรือโครงการแลนด์บริดจ์ว่า ให้ สนข. เร่งเดินหน้าให้เป็นรูปธรรม และเป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนดโดยจะเร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (พ.ร.บ. SEC) เพื่อขับเคลื่อนแลนด์บริดจ์ และเข้าสู่ขั้นตอนการเปิดประมูลหาผู้ร่วมลงทุน (PPP)

    ซึ่งขณะนี้ สนข.ได้เสนอเรื่องไปที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะเลขาฯคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) เพื่อรอเสนอที่ประชุม กพศ.พิจารณามอบอำนาจให้ สนข. เป็นผู้จัดทำร่าง พ.ร.บ. SEC ก่อน เสนอร่าง พ.ร.บ.SEC ไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

    ขณะที่นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งแลงและจราจร (สนข.) กล่าวว่า หลังจากสนข.ได้รับมอบอำนาจในการจัดทำร่างพ.ร.บ. SEC แล้วจะนำร่างพ.ร.บ.SEC รับฟังความคิดเห็นฯ มีระยะเวลา 7 วัน คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จะสรุปความเห็นมาปรับปรุงประกอบ และ นำเสนอ กระทรวงคมนาคม และครม. ได้ภายในปี 2567 เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ต่อไป

    นายปัญญากล่าวว่า ในปี 2568 สนข. จะดำเนินการคู่ขนาน เช่น การจัดเตรียมเอกสารและให้คำปรึกษาในการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการแลนด์บริดจ์ (RFP) และศึกษา EHIA รวมถึงเตรียมการจัดตั้งหน่วยงาน SEC ซึ่งจะต้องจัดตั้งให้เสร็จก่อน เพื่อทำหน้าที่ในการประมูลคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน

    สำหรับพ.ร.บ. SEC จะใช้เป็นกฎหมาย เพื่อขับเคลื่อนแลนด์บริดจ์ จะมีการกำหนดพื้นที่ 4 จังหวัด คือสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ระนอง เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ เหมือนอีอีซี

    https://www.isranews.org/article/isranews-short-news/132458-transport-30.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0hxox5LMd8oKGw5uMuOi7SIA80cONdUQhiSa-sgcprf0WOETKcJBPDC3c_aem_OSkH-jMSzmfvSL9Wimismw#m21x5n8ypb7jxxg1reh

    #Thaitimes
    9 ตุลาคม 2567-สำนักข่าวอิศรารายงานว่า นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในโอกาสที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีอายุครบ 22 ปี สนข. เปรียบเสมือน "คลังสมอง"ให้กับกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติภารกิจหน้าที่และมีบทบาทในการเสนอแนะนโยบายและจัดทำแผนยุทธศาสตร์แผนแม่บท แผนงานต่าง ๆ ด้านคมนาคมขนส่งและจราจร ทั้งมิติทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ รวมทั้งผลักดันขับเคลื่อนแผนงาน โครงการ และมาตรการต่าง ๆ ให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเตรียมความพร้อมในการรองรับการขยายตัว และการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และผลักดันให้ประเทศไทย ก้าวสู่การเป็น "ศูนย์กลางด้านคมนาคมในภูมิภาค" โดยแผนงานด้านคมนาคมทางบกนั้นให้ สนข. เป็นหน่วยงานหลัก ผ่านกลไกของคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เพื่อบริหารจัดการการแก้ไขปัญหารจราจร และในระยะกลาง ให้พัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทาง เช่น จัดระบบฟีดเดอร์เชื่อมโยงรถเมล์ กับรถไฟฟ้า ส่วนระบบรางให้เร่งจัดระบบขนส่งสาธารณะในเมืองใหญ่ในภูมิภาค และ ให้ สนข. เป็นหน่วยงานร่วมในการเจรจากับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อหาข้อสรุปในโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ที่จังหวัดหนองคาย เพื่อเชื่อมโยงถนนกับระบบราง ส่วนในระยะกลางให้หาข้อสรูปแนวทางการพัฒนารถไฟทางคู่ระบบรถไฟฟ้าในเมืองภูมิภาค และ คมนาคมทางอากาศ ให้พิจารณาการเชื่อมต่อการเดินทางทางอากาศกับการขนส่งทางบก เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวก @ผลักดันร่าง พ.ร.บ. SEC ภายในปี 67 นางมนพรกล่าวถึงโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้และเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (ชุมพร-ระนอง) หรือโครงการแลนด์บริดจ์ว่า ให้ สนข. เร่งเดินหน้าให้เป็นรูปธรรม และเป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนดโดยจะเร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (พ.ร.บ. SEC) เพื่อขับเคลื่อนแลนด์บริดจ์ และเข้าสู่ขั้นตอนการเปิดประมูลหาผู้ร่วมลงทุน (PPP) ซึ่งขณะนี้ สนข.ได้เสนอเรื่องไปที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะเลขาฯคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) เพื่อรอเสนอที่ประชุม กพศ.พิจารณามอบอำนาจให้ สนข. เป็นผู้จัดทำร่าง พ.ร.บ. SEC ก่อน เสนอร่าง พ.ร.บ.SEC ไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ขณะที่นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งแลงและจราจร (สนข.) กล่าวว่า หลังจากสนข.ได้รับมอบอำนาจในการจัดทำร่างพ.ร.บ. SEC แล้วจะนำร่างพ.ร.บ.SEC รับฟังความคิดเห็นฯ มีระยะเวลา 7 วัน คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จะสรุปความเห็นมาปรับปรุงประกอบ และ นำเสนอ กระทรวงคมนาคม และครม. ได้ภายในปี 2567 เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ต่อไป นายปัญญากล่าวว่า ในปี 2568 สนข. จะดำเนินการคู่ขนาน เช่น การจัดเตรียมเอกสารและให้คำปรึกษาในการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการแลนด์บริดจ์ (RFP) และศึกษา EHIA รวมถึงเตรียมการจัดตั้งหน่วยงาน SEC ซึ่งจะต้องจัดตั้งให้เสร็จก่อน เพื่อทำหน้าที่ในการประมูลคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน สำหรับพ.ร.บ. SEC จะใช้เป็นกฎหมาย เพื่อขับเคลื่อนแลนด์บริดจ์ จะมีการกำหนดพื้นที่ 4 จังหวัด คือสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ระนอง เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ เหมือนอีอีซี https://www.isranews.org/article/isranews-short-news/132458-transport-30.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0hxox5LMd8oKGw5uMuOi7SIA80cONdUQhiSa-sgcprf0WOETKcJBPDC3c_aem_OSkH-jMSzmfvSL9Wimismw#m21x5n8ypb7jxxg1reh #Thaitimes
    WWW.ISRANEWS.ORG
    ‘คมนาคม-สนข.’ ตั้งเป้าเสนอ พ.ร.บ. SEC เข้าครม.ภายในปี 67
    ‘มนพร’ เผยความคืบหน้าการผลักดันนโยบาย ‘แลนด์บริดจ์’ เข็นร่าง พ.ร.บ. SEC ให้ผ่าน ‘สภาพัฒน์’ โดยเร็ว ด้านผอ.สนข.ชี้ตั้งเป้าผลักดันให้ ครม. เห็นชอบภายในปีนี้
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 548 Views 0 Reviews
  • 🇵🇸 ⚔️ 🇮🇱 1 ปีในฉนวนกาซาตั้งแต่การโจมตี 7 ตุลาคม – เรียงความภาพ
    .
    Ali Jadallah ช่างภาพจาก Anadolu Agency ประจำกาซา พูดถึงภาพถ่ายทรงพลังที่สุดบางส่วนที่เขาถ่ายไว้ในปีนี้ นับตั้งแต่การโจมตีของกลุ่มฮามาสเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่จุดชนวนให้เกิดสงครามกาซา

    🔘 คำเตือน : มีเนื้อหาที่รุนแรง รวมถึงการเสียชีวิต

    #Jadallah : เป็นช่างภาพชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในฉนวนกาซา ซึ่งทำงานให้กับ Anadolu Agency ตั้งแต่ปี 2012 เขาบันทึกภาพสงครามอิสราเอล-ฉนวนกาซาตั้งแต่เริ่มต้น โดยเผชิญกับความท้าทายมากมาย

    • Jadallah ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ และระดับท้องถิ่นหลายรางวัลจากภาพถ่ายของเขา
    • สูญเสียญาติไป 4 คน จากการโจมตีของอิสราเอลในฉนวนกาซา
    • เขายังคงรายงานเกี่ยวกับสงครามในภูมิภาคนี้ต่อไป
    .
    ▪ ผู้หญิงคนหนึ่งกำลังอุ้มเด็กกำลังหลบหนีการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลที่โจมตีพื้นที่หนึ่งในเมืองกาซา เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม
    ▪ จนท.ป้องกันพลเรือนชาวปาเลสไตน์ที่ได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีของอิสราเอลกำลังได้รับการ CPR บนเปลที่โรงพยาบาลอัลชิฟาในกาซา เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 66
    ▪ หญิงและเด็กที่ได้รับบาดเจ็บรวมอยู่ในกลุ่มผู้คนจำนวนมากที่ถูกนำส่งร.พ.อัลชิฟา หลังเกิดระเบิดที่ร.พ.แบปทิสต์ ในเมืองกาซา ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 500 ราย เมื่อ 17 ต.ค.
    ▪ เปลวไฟและควันพวยพุ่งขึ้นในย่านเทลอัลฮาวา ขณะที่การโจมตีของอิสราเอลยังคงดำเนินต่อไป ในวันที่ 30 ต.ค.
    ▪ ชาวปาเลสไตน์ดำเนินการค้นหาและกู้ภัยหลังจากถูกโจมตีเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 24 ชม. ที่ค่ายผู้ลี้ภัยจาบาเลียในเมืองกาซา เมื่อ 1 พ.ย.
    ▪ พลุสัญญาณส่องสว่างขึ้นบนท้องฟ้าเหนือค่ายผู้ลี้ภัยอัลชาติ ในฉนวนกาซา ในระหว่างการโจมตีของอิสราเอล เมื่อ 6 พ.ย.
    ▪ ทารกวัย 2 เดือน ซึ่งเสียชีวิตในการโจมตีบ้านหลังหนึ่งของอิสราเอล 17 มี.ค.
    ▪ ฟาดี ซานต์ วัย 9 ขวบ ได้รับการรักษาภาวะทุพโภชนาการ หลังจากได้รับการอพยพจากกาซาตอนเหนือไปยังร.พ.สนามในเมืองราฟาห์ เมื่อ 24 มี.ค.
    ▪ ชาวปาเลสไตน์บางส่วนเริ่มเดินทางกลับบ้านของตนที่เมืองคานยูนิส หลังจากที่อิสราเอลถอนกำลังออกไป และทิ้งร่องรอยการทำลายล้างอันยิ่งใหญ่ไว้ เมื่อวันที่ 7 เม.ษ.
    ▪ ชาวปาเลสไตน์มองดูประกายไฟ เปลวไฟ และควันที่พวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าหลังการโจมตีของอิสราเอลในเมืองเดียร์ อัล บาลาห์ เมื่อ 6 มิ.ย.
    ▪ ผู้รอดชีวิตกำลังหนีจากซากปรักหักพังของอาคารที่ถูกทำลายหลังจากการโจมตีบ้านของครอบครัวอาบูไอชาในเดียร์อัลบาลาห์ เมื่อ 14 มิ.ย.
    ...........................................................
    Amir Levy เป็นช่างภาพข่าวชาวอเมริกันเชื้อสายอิสราเอลที่มีประสบการณ์ 15 ปี ช่างภาพของ Getty Images พูดถึงภาพถ่ายทรงพลังที่สุดของเขาที่ถ่ายตลอดทั้งปี

    ▪ ผู้คนซ่อนตัวอยู่ในบันไดอาคารขณะที่เสียงไซเรนดังขึ้น เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 66 ในเมืองเทลอาวีฟ อิสราเอล
    ▪ ทหารอิสราเอลนำศพของพลเรือนที่เสียชีวิตก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน ในการโจมตีของปาเลสไตน์ในคิบบุตซ์ ใกล้พรมแดนกาซา เมื่อ 10 ต.ค. 66 ในเมืองคฟาร์อาซา อิสราเอล
    ▪ ทหารอิสราเอลกำลังรักษาความปลอดภัยในอุโมงค์ใกล้ชายแดนอิสราเอลในฉนวนกาซาตอนเหนือ เมื่อ ธ.ค. 66 กองทัพอิสราเอลกล่าวว่า นี่คืออุโมงค์ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยพบในกาซา โดยประกอบด้วยสาขาที่ทอดยาวกว่า 4 กม.
    ▪ อามิต ซูสซานา (ขวา) ซึ่งถูกกลุ่มฮามาสจับเป็นตัวประกัน และได้รับการปล่อยตัว เมื่อ 29 ม.ค. 67 ในเมืองคฟาร์อาซา
    ▪ ชาวยิวออร์โธดอกซ์สุดโต่งกับเศษซากขีปนาวุธใกล้เมืองอารัด เมื่อ 30 เม.ษ. 67 ซึ่งเป็นผลมาจากการโจมตีทางอากาศของอิหร่าน เมื่อวันที่ 13 เม.ษ. ซึ่งมีรายงานว่าอิหร่านได้ยิงโดรน 170 ลำ และขีปนาวุธกว่า 150 ลูกโจมตีประเทศและบริเวณที่ราบสูงโกลันที่ถูกอิสราเอลยึดครอง
    ▪ จนท.ดับเพลิงกำลังดับไฟ หลังจากถูกโจมตีด้วยจรวดจากเลบานอน เมื่อ 4 ก.ค. 67 ทางตอนเหนือของอิสราเอล
    ▪ ผู้ไว้อาลัยเข้าร่วมงานศพที่จัดขึ้นเพื่อเหยื่อจากการโจมตีด้วยจรวด เมื่อ 28 ก.ค. ใน Majdal Shams บนที่ราบสูงโกลัน
    ▪ ชายชาวยิวออร์โธดอกซ์สุดโต่ง ปะทะกับตำรวจขี่ม้าระหว่างการชุมนุมประท้วงการเกณฑ์ทหารของอิสราเอล ใกล้ฐานรับสมัคร เมื่อ 5 ส.ค. ในพื้นที่เทลฮาโชเมอร์ เมืองรามัตกัน ประเทศอิสราเอล
    ▪ ครอบครัวของตัวประกันที่ถูกจับกุมในฉนวนกาซาและผู้สนับสนุน จุดพลุสัญญาณขณะปิดกั้นถนนสายหลักระหว่างการชุมนุมเรียกร้องให้มีข้อตกลงจับตัวประกัน เมื่อ 13 ก.ย. ในเมืองเทลอาวีฟ
    .
    แหล่งข้อมูลภาพทั้งหมด มาจากสื่อหลักอังกฤษ The Guardian 🇬🇧

    อ่านคำบรรยายในแต่ละภาพเพิ่มเติมได้ที่
    https://www.theguardian.com/world/2024/oct/05/one-year-in-gaza-since-the-7-october-attack-photo-essay

    https://www.theguardian.com/world/2024/oct/05/one-year-in-israel-since-the-7-october-attack-photo-essay



    Noraseth Tuntasiri
    🇵🇸 ⚔️ 🇮🇱 1 ปีในฉนวนกาซาตั้งแต่การโจมตี 7 ตุลาคม – เรียงความภาพ . Ali Jadallah ช่างภาพจาก Anadolu Agency ประจำกาซา พูดถึงภาพถ่ายทรงพลังที่สุดบางส่วนที่เขาถ่ายไว้ในปีนี้ นับตั้งแต่การโจมตีของกลุ่มฮามาสเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่จุดชนวนให้เกิดสงครามกาซา 🔘 คำเตือน : มีเนื้อหาที่รุนแรง รวมถึงการเสียชีวิต #Jadallah : เป็นช่างภาพชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในฉนวนกาซา ซึ่งทำงานให้กับ Anadolu Agency ตั้งแต่ปี 2012 เขาบันทึกภาพสงครามอิสราเอล-ฉนวนกาซาตั้งแต่เริ่มต้น โดยเผชิญกับความท้าทายมากมาย • Jadallah ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ และระดับท้องถิ่นหลายรางวัลจากภาพถ่ายของเขา • สูญเสียญาติไป 4 คน จากการโจมตีของอิสราเอลในฉนวนกาซา • เขายังคงรายงานเกี่ยวกับสงครามในภูมิภาคนี้ต่อไป . ▪ ผู้หญิงคนหนึ่งกำลังอุ้มเด็กกำลังหลบหนีการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลที่โจมตีพื้นที่หนึ่งในเมืองกาซา เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ▪ จนท.ป้องกันพลเรือนชาวปาเลสไตน์ที่ได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีของอิสราเอลกำลังได้รับการ CPR บนเปลที่โรงพยาบาลอัลชิฟาในกาซา เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 66 ▪ หญิงและเด็กที่ได้รับบาดเจ็บรวมอยู่ในกลุ่มผู้คนจำนวนมากที่ถูกนำส่งร.พ.อัลชิฟา หลังเกิดระเบิดที่ร.พ.แบปทิสต์ ในเมืองกาซา ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 500 ราย เมื่อ 17 ต.ค. ▪ เปลวไฟและควันพวยพุ่งขึ้นในย่านเทลอัลฮาวา ขณะที่การโจมตีของอิสราเอลยังคงดำเนินต่อไป ในวันที่ 30 ต.ค. ▪ ชาวปาเลสไตน์ดำเนินการค้นหาและกู้ภัยหลังจากถูกโจมตีเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 24 ชม. ที่ค่ายผู้ลี้ภัยจาบาเลียในเมืองกาซา เมื่อ 1 พ.ย. ▪ พลุสัญญาณส่องสว่างขึ้นบนท้องฟ้าเหนือค่ายผู้ลี้ภัยอัลชาติ ในฉนวนกาซา ในระหว่างการโจมตีของอิสราเอล เมื่อ 6 พ.ย. ▪ ทารกวัย 2 เดือน ซึ่งเสียชีวิตในการโจมตีบ้านหลังหนึ่งของอิสราเอล 17 มี.ค. ▪ ฟาดี ซานต์ วัย 9 ขวบ ได้รับการรักษาภาวะทุพโภชนาการ หลังจากได้รับการอพยพจากกาซาตอนเหนือไปยังร.พ.สนามในเมืองราฟาห์ เมื่อ 24 มี.ค. ▪ ชาวปาเลสไตน์บางส่วนเริ่มเดินทางกลับบ้านของตนที่เมืองคานยูนิส หลังจากที่อิสราเอลถอนกำลังออกไป และทิ้งร่องรอยการทำลายล้างอันยิ่งใหญ่ไว้ เมื่อวันที่ 7 เม.ษ. ▪ ชาวปาเลสไตน์มองดูประกายไฟ เปลวไฟ และควันที่พวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าหลังการโจมตีของอิสราเอลในเมืองเดียร์ อัล บาลาห์ เมื่อ 6 มิ.ย. ▪ ผู้รอดชีวิตกำลังหนีจากซากปรักหักพังของอาคารที่ถูกทำลายหลังจากการโจมตีบ้านของครอบครัวอาบูไอชาในเดียร์อัลบาลาห์ เมื่อ 14 มิ.ย. ........................................................... Amir Levy เป็นช่างภาพข่าวชาวอเมริกันเชื้อสายอิสราเอลที่มีประสบการณ์ 15 ปี ช่างภาพของ Getty Images พูดถึงภาพถ่ายทรงพลังที่สุดของเขาที่ถ่ายตลอดทั้งปี ▪ ผู้คนซ่อนตัวอยู่ในบันไดอาคารขณะที่เสียงไซเรนดังขึ้น เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 66 ในเมืองเทลอาวีฟ อิสราเอล ▪ ทหารอิสราเอลนำศพของพลเรือนที่เสียชีวิตก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน ในการโจมตีของปาเลสไตน์ในคิบบุตซ์ ใกล้พรมแดนกาซา เมื่อ 10 ต.ค. 66 ในเมืองคฟาร์อาซา อิสราเอล ▪ ทหารอิสราเอลกำลังรักษาความปลอดภัยในอุโมงค์ใกล้ชายแดนอิสราเอลในฉนวนกาซาตอนเหนือ เมื่อ ธ.ค. 66 กองทัพอิสราเอลกล่าวว่า นี่คืออุโมงค์ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยพบในกาซา โดยประกอบด้วยสาขาที่ทอดยาวกว่า 4 กม. ▪ อามิต ซูสซานา (ขวา) ซึ่งถูกกลุ่มฮามาสจับเป็นตัวประกัน และได้รับการปล่อยตัว เมื่อ 29 ม.ค. 67 ในเมืองคฟาร์อาซา ▪ ชาวยิวออร์โธดอกซ์สุดโต่งกับเศษซากขีปนาวุธใกล้เมืองอารัด เมื่อ 30 เม.ษ. 67 ซึ่งเป็นผลมาจากการโจมตีทางอากาศของอิหร่าน เมื่อวันที่ 13 เม.ษ. ซึ่งมีรายงานว่าอิหร่านได้ยิงโดรน 170 ลำ และขีปนาวุธกว่า 150 ลูกโจมตีประเทศและบริเวณที่ราบสูงโกลันที่ถูกอิสราเอลยึดครอง ▪ จนท.ดับเพลิงกำลังดับไฟ หลังจากถูกโจมตีด้วยจรวดจากเลบานอน เมื่อ 4 ก.ค. 67 ทางตอนเหนือของอิสราเอล ▪ ผู้ไว้อาลัยเข้าร่วมงานศพที่จัดขึ้นเพื่อเหยื่อจากการโจมตีด้วยจรวด เมื่อ 28 ก.ค. ใน Majdal Shams บนที่ราบสูงโกลัน ▪ ชายชาวยิวออร์โธดอกซ์สุดโต่ง ปะทะกับตำรวจขี่ม้าระหว่างการชุมนุมประท้วงการเกณฑ์ทหารของอิสราเอล ใกล้ฐานรับสมัคร เมื่อ 5 ส.ค. ในพื้นที่เทลฮาโชเมอร์ เมืองรามัตกัน ประเทศอิสราเอล ▪ ครอบครัวของตัวประกันที่ถูกจับกุมในฉนวนกาซาและผู้สนับสนุน จุดพลุสัญญาณขณะปิดกั้นถนนสายหลักระหว่างการชุมนุมเรียกร้องให้มีข้อตกลงจับตัวประกัน เมื่อ 13 ก.ย. ในเมืองเทลอาวีฟ . แหล่งข้อมูลภาพทั้งหมด มาจากสื่อหลักอังกฤษ The Guardian 🇬🇧 อ่านคำบรรยายในแต่ละภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://www.theguardian.com/world/2024/oct/05/one-year-in-gaza-since-the-7-october-attack-photo-essay https://www.theguardian.com/world/2024/oct/05/one-year-in-israel-since-the-7-october-attack-photo-essay Noraseth Tuntasiri
    0 Comments 0 Shares 164 Views 0 Reviews
  • คนรักหมาแมว"เอส“จากมูลนิธิ ดิ อาร์ค" กู้ภัยช่วยชีวิตหมาแมวจากน้ำท่วมใหญ่ จ.เชียงราย เสียชีวิตกะทันหันหลังเสร็จสิ้นภารกิจ โลกออนไลน์ร่วมแสดงความอาลัยและเสียใจต่อการจากไป

    15 กันยายน2567-รายงานจากโลกออนไลน์ระบุว่า ทางมูลนิธิ ดิ อาร์ค ดอยสะเก็ด เชียงใหม่ เดินทางมารอรับศพ คุณเอส หรือ นายภรัญโรจน์ กิตติภัทร์ฐากรณ์ โดยมีคุณบัณฑิต เจ้าของมูลนิธิเสียใจร้องไห้อยู่เพราะตัวเองเป็นคนเปิดประตูเข้าไปแล้วก็เห็นว่าคุณเอสหมดสติอยู่บนเตียง

    ส่วนคุณแชมป์ น้องชาย กล่าวว่า พี่ชายเป็นคนรักหมารักแมวมาก เมื่อวานยังโทรคุยงาน พี่ชายบอกเลยว่าให้เตรียมคอกสัตว์เอาไว้ อาจจะต้องมีสุนัขไปประมาณ 20 พี่เอสเป็นคนที่ทุ่มเทกับการทำงาน ตนอยู่กับพี่มาไม่เคยได้กอดพี่เลย จนกระทั่งวินาทีสุดท้าย พี่ชายคิดว่าตัวเองไม่รัก แต่ตัวเองรักพี่ชายมาก ขอให้พี่ชายไปดี อยากจะบอกกับพี่ว่าผมรักพี่มาก

    ต่อมา มีรายงานว่า ได้เคลื่อนร่างของคุณเอสออกมาจากอาคารบ้านหลังสุดท้าย โรงพยาบาลแม่สาย โดยมีทางคุณบัณฑิต เจ้าของมูลนิธิ เรียกดวงวิญญาณคุณเอสกลับบ้าน ที่ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ร้องไห้เสียใจเพราะว่าทำภารกิจในการช่วยเหลือมาด้วยกัน 14 ปี ไม่คิดเหมือนกันว่านี่คือภารกิจสุดท้ายของคุณเอสในการช่วยเหลือน้องหมาน้องแมวจนวาระสุดท้ายของชีวิต โดยจะนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดวังธาร อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่.

    นายดลชนก บุณโยทยาน รองประธานมูลนิธิวินวิน กล่าวว่า น้องเอสทำมูลนิธิ 14 ปี มาเริ่มภารกิจที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ตั้งแต่พฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2567 และกำหนดวันนี้จะมูฟไปที่เชียงราย คือเมื่อวาน (14 กันยายน) จะมีคลิปที่ไปเก็บศพน้องหมาน้องแมว เอสก็เป็นคนไปขุดหลุมฝังสุนัขเอง ตอนนั้นก็ไม่ได้มีท่าทีเหนื่อยหรือว่าอะไร และกลับมาที่โรงแรมก็ทานอาหารกัน บอกว่าน่าจะเป็นกรดไหลย้อน

    พอเข้าไปในห้องพักสักพัก พี่บัณฑิต ประธานมูลนิธิก็เข้าไปเจอแล้วก็รีบทำซีพีอาร์เพราะว่ากู้ภัยอยู่ด้วยกันเยอะ แต่สุดท้ายไม่สามารถที่จะยื้อชีวิตได้ แพทย์ระบุว่าเสียชีวิต ตนก็อยากบอกชื่นชมเอสว่า เอสเป็นคนที่มองจุดเล็ก ๆ ว่าทุกคนเขาก็ให้ความสำคัญคุณค่ากระทั่งชีวิตสัตว์ที่เสียชีวิตก็ยังนำไปทำให้เหมาะสม ในเฟซบุ๊กของนายดลชนกได้เล่าว่า

    ”หลังเสร็จภารกิจเรากลับเข้าโรงแรมนั่งทานข้าวกัน มันเป็นอาหารที่อร่อยเอสทานเยอะมาก

    เอสบ่นว่าตัวเองน่าจะกรดไหลย้อนขอตัวกลับห้องก่อน เราก็นั่งคุยกับลุงดิ๊บต่ออีกซัก 1 ชม. ก็แยกย้ายกันกลับห้อง ไม่นานลุงดิ๊บโทรมาว่าพี้ต้อยเอสไม่หายใจ เรากับน้องอีกคนวิ่งไปอย่างเร็ว ไปถึงพบเอสตัวเริ่มซีดหยุดหายใจ เราก็ทำ CPR น้องอีกคนวิ่งไปตามกู้ภัยเพราะในรีสอร์ทมีแต่กู้ภัยพัก มีน้องๆนับ 10 คนมาช่วยกันเอารถกู้ชีพพาไปส่ง รพ.แม่สาย แต่ด้วยเวลาที่หยุดหายใจนานเกินไปเอสได้จากพวกเราไปอย่างสงบ

    ใครรู้จักลุงดิ๊บ,เอส จากมูลนิธิ ดิ อาร์ค ร่วมกันไว้อาลัยให้เพื่อนเราด้วยกัน“

    ที่มา : https://www.facebook.com/share/f2yhP9hDfW6Ztpag/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    คนรักหมาแมว"เอส“จากมูลนิธิ ดิ อาร์ค" กู้ภัยช่วยชีวิตหมาแมวจากน้ำท่วมใหญ่ จ.เชียงราย เสียชีวิตกะทันหันหลังเสร็จสิ้นภารกิจ โลกออนไลน์ร่วมแสดงความอาลัยและเสียใจต่อการจากไป 15 กันยายน2567-รายงานจากโลกออนไลน์ระบุว่า ทางมูลนิธิ ดิ อาร์ค ดอยสะเก็ด เชียงใหม่ เดินทางมารอรับศพ คุณเอส หรือ นายภรัญโรจน์ กิตติภัทร์ฐากรณ์ โดยมีคุณบัณฑิต เจ้าของมูลนิธิเสียใจร้องไห้อยู่เพราะตัวเองเป็นคนเปิดประตูเข้าไปแล้วก็เห็นว่าคุณเอสหมดสติอยู่บนเตียง ส่วนคุณแชมป์ น้องชาย กล่าวว่า พี่ชายเป็นคนรักหมารักแมวมาก เมื่อวานยังโทรคุยงาน พี่ชายบอกเลยว่าให้เตรียมคอกสัตว์เอาไว้ อาจจะต้องมีสุนัขไปประมาณ 20 พี่เอสเป็นคนที่ทุ่มเทกับการทำงาน ตนอยู่กับพี่มาไม่เคยได้กอดพี่เลย จนกระทั่งวินาทีสุดท้าย พี่ชายคิดว่าตัวเองไม่รัก แต่ตัวเองรักพี่ชายมาก ขอให้พี่ชายไปดี อยากจะบอกกับพี่ว่าผมรักพี่มาก ต่อมา มีรายงานว่า ได้เคลื่อนร่างของคุณเอสออกมาจากอาคารบ้านหลังสุดท้าย โรงพยาบาลแม่สาย โดยมีทางคุณบัณฑิต เจ้าของมูลนิธิ เรียกดวงวิญญาณคุณเอสกลับบ้าน ที่ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ร้องไห้เสียใจเพราะว่าทำภารกิจในการช่วยเหลือมาด้วยกัน 14 ปี ไม่คิดเหมือนกันว่านี่คือภารกิจสุดท้ายของคุณเอสในการช่วยเหลือน้องหมาน้องแมวจนวาระสุดท้ายของชีวิต โดยจะนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดวังธาร อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่. นายดลชนก บุณโยทยาน รองประธานมูลนิธิวินวิน กล่าวว่า น้องเอสทำมูลนิธิ 14 ปี มาเริ่มภารกิจที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ตั้งแต่พฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2567 และกำหนดวันนี้จะมูฟไปที่เชียงราย คือเมื่อวาน (14 กันยายน) จะมีคลิปที่ไปเก็บศพน้องหมาน้องแมว เอสก็เป็นคนไปขุดหลุมฝังสุนัขเอง ตอนนั้นก็ไม่ได้มีท่าทีเหนื่อยหรือว่าอะไร และกลับมาที่โรงแรมก็ทานอาหารกัน บอกว่าน่าจะเป็นกรดไหลย้อน พอเข้าไปในห้องพักสักพัก พี่บัณฑิต ประธานมูลนิธิก็เข้าไปเจอแล้วก็รีบทำซีพีอาร์เพราะว่ากู้ภัยอยู่ด้วยกันเยอะ แต่สุดท้ายไม่สามารถที่จะยื้อชีวิตได้ แพทย์ระบุว่าเสียชีวิต ตนก็อยากบอกชื่นชมเอสว่า เอสเป็นคนที่มองจุดเล็ก ๆ ว่าทุกคนเขาก็ให้ความสำคัญคุณค่ากระทั่งชีวิตสัตว์ที่เสียชีวิตก็ยังนำไปทำให้เหมาะสม ในเฟซบุ๊กของนายดลชนกได้เล่าว่า ”หลังเสร็จภารกิจเรากลับเข้าโรงแรมนั่งทานข้าวกัน มันเป็นอาหารที่อร่อยเอสทานเยอะมาก เอสบ่นว่าตัวเองน่าจะกรดไหลย้อนขอตัวกลับห้องก่อน เราก็นั่งคุยกับลุงดิ๊บต่ออีกซัก 1 ชม. ก็แยกย้ายกันกลับห้อง ไม่นานลุงดิ๊บโทรมาว่าพี้ต้อยเอสไม่หายใจ เรากับน้องอีกคนวิ่งไปอย่างเร็ว ไปถึงพบเอสตัวเริ่มซีดหยุดหายใจ เราก็ทำ CPR น้องอีกคนวิ่งไปตามกู้ภัยเพราะในรีสอร์ทมีแต่กู้ภัยพัก มีน้องๆนับ 10 คนมาช่วยกันเอารถกู้ชีพพาไปส่ง รพ.แม่สาย แต่ด้วยเวลาที่หยุดหายใจนานเกินไปเอสได้จากพวกเราไปอย่างสงบ ใครรู้จักลุงดิ๊บ,เอส จากมูลนิธิ ดิ อาร์ค ร่วมกันไว้อาลัยให้เพื่อนเราด้วยกัน“ ที่มา : https://www.facebook.com/share/f2yhP9hDfW6Ztpag/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Sad
    Love
    6
    0 Comments 0 Shares 620 Views 0 Reviews