เพื่อนเพจคงเคยคุ้นกับคำมงคลจีนที่เอามาติดผนังหรือทำการ์ดหรือของชำร่วย บางอักษรที่เคยผ่านตาอาจจะดูซับซ้อนมากจนถึงกับคิดว่าทำไมอักษรจีนมันช่างเขียนยากอย่างนี้ แต่คุณอาจไม่เคยสังเกตหรือทราบมาก่อนว่า บางอักษรเหล่านั้นเป็นอักษรประสมหรือ ‘เหอเฉิงจื้อ’ (合成字 หรือ Compound Chinese Character) หรือ ‘เหอถี่จื้อ’ (合体字)
อักษรประสมจีนคือการเอาอักษรสองตัวหรือมากกว่ามาเขียนรวมกันจนดูราวกับว่ามันเป็นเพียงอักษรเดียว อย่างเช่นภาพอักษรมงคลคู่ที่เราเห็นบ่อยในงานมงคล (ภาพประกอบ1-ซ้าย) จริงแล้วก็คืออักษร ‘สี่’ ที่แปลว่ามงคลหรือความสุข (喜)มาเขียนติดกันสองตัว
การใช้อักษรประสมที่นิยมทำกันคือการนำประโยคสุภาษิตจีนมาเขียนเป็นอักษรประสมเพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล เราจะเห็นบ่อยมากในช่วงเทศกาลตรุษจีน อย่างเช่น ‘จาวฉายจิ้งป่าว’ ที่แปลว่า กวักทรัพย์เรียกสมบัติ (ดูภาพประกอบ1-ขวา)
ว่ากันว่าต้นกำเนิดของการเขียนอักษรประสมมาจากงานพิธีกรรมทางศาสนาโดยมีการนำคำที่มีความหมายมงคลหรือการขับไล่สิ่งที่ไม่ดีมาเขียนประสมขึ้นบนยันต์ บ้างก็มีการนำชื่อเทพเจ้ามาเขียนเป็นอักษรประสม ต่อมาชาวบ้านจึงนิยมมีไว้ประดับบ้านเรือนเพื่อป้องกันภูตผีปีศาจและโชคร้าย จนกลายมาเป็นการเขียนคำมงคลทั่วไปที่ใช้ในเทศกาลและงานมงคลต่างๆ แบบที่เรายังเห็นมีใช้ในปัจจุบัน นอกจากนี้ปัจจุบันยังกลายมาเป็นเทรนด์ในการดีไซน์โลโก้ของแบรนด์หรือร้านค้าในจีนด้วยเช่นกัน
แล้วอักษรประสมอ่านออกเสียงอย่างไร?
อักษรประสมโดยส่วนใหญ่แทบจะทั้งหมดจะไม่มีเสียงอ่านเฉพาะของมัน แต่จะอ่านครบตามประโยคที่นำมาเขียนรวม เช่น ‘จาวฉายจิ้งป่าว’ ที่เห็นในรูปภาพประกอบ1-ขวา ก็จะอ่านออกมาเต็มๆ สี่อักษร แต่ก็มีบางอักษรประสมที่มีเสียงอ่านเฉพาะ อย่างตัวอย่างอักษรมงคลคู่ (喜喜)จะไม่อ่านว่า ‘สี่สี่’ แต่มีเสียงอ่านเฉพาะตัวว่า ‘สี่’ หรือจะอ่านว่า ‘ซวงสี่’ ก็ได้ (‘ซวง’ แปลว่าคู่)
อักษรประสมต้องดูซับซ้อนเสมอไปหรือไม่? แน่นอนว่าจำนวนอักษรที่นำมาประสมยิ่งมากก็ยิ่งดูซับซ้อน แต่มีอักษรที่ใช้ประจำวันบางตัวที่จัดเป็นอักษรประสมด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสองอักษร ไม่ซับซ้อนเหมือนอักษรมงคลที่กล่าวมาข้างต้น เช่น คำว่า ‘ไว้’ ซึ่งแปลว่าเบี้ยวหรือเอียง (歪) ประกอบด้วยอักษร ‘ปู้’ ด้านบนและ ‘เจิ้ง’ด้านล่าง ซึ่ง ‘ปู้เจิ้ง’ แปลรวมว่าไม่ตรง เป็นต้น
จากที่ไปอ่านเพจของจีนมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ Storyฯ เห็นมีเพจหนึ่งเขาเอารูปถ่ายประตูบ้านของบ้านหลังหนึ่งในเมืองซีอันมาลงให้ดู เลยเอามาให้เพื่อนเพจดูด้วย (ภาพประกอบ 2) ... เห็นแล้วก็อึ้งทึ่งกับความ ‘จัดเต็ม’ ของคำมงคลจีนที่เจ้าของบ้านเอามาแปะไว้ เพราะรวมได้ทั้งหมดสุภาษิต 18 ประโยค เป็นการประสมทั้งหมด 72 อักษรให้เหลือเพียง 18 อักษร เก่งไหมล่ะ?
อยากชวนเพื่อนเพจลองมองซองอั่งเปาและรูปภาพต่างๆ ในเทศกาลตรุษจีนนี้ คุณอาจได้เห็นอักษรประสมเท่ๆ ที่ Storyฯ ไม่ได้กล่าวถึง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาอักษรประสมไหนอีก แปะรูปหรือเม้นท์มาคุยให้ฟังกันบ้างนะคะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.marieclaire.com.tw/entertainment/tvshow/60505
https://baike.baidu.com/item/合体字/2459569
https://www.163.com/dy/article/DBTJP8OA0524L8US.html#:~:text=合体字:就是由两,表示人倚着树木。
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://baike.baidu.com/item/合体字/2459569
https://new.qq.com/rain/a/20210627A08TKO00
#เหอถี่จื้อ #เหอเฉิงจื้อ #คำมงคลจีน #อักษรประสม #อักษรจีน
เพื่อนเพจคงเคยคุ้นกับคำมงคลจีนที่เอามาติดผนังหรือทำการ์ดหรือของชำร่วย บางอักษรที่เคยผ่านตาอาจจะดูซับซ้อนมากจนถึงกับคิดว่าทำไมอักษรจีนมันช่างเขียนยากอย่างนี้ แต่คุณอาจไม่เคยสังเกตหรือทราบมาก่อนว่า บางอักษรเหล่านั้นเป็นอักษรประสมหรือ ‘เหอเฉิงจื้อ’ (合成字 หรือ Compound Chinese Character) หรือ ‘เหอถี่จื้อ’ (合体字)
อักษรประสมจีนคือการเอาอักษรสองตัวหรือมากกว่ามาเขียนรวมกันจนดูราวกับว่ามันเป็นเพียงอักษรเดียว อย่างเช่นภาพอักษรมงคลคู่ที่เราเห็นบ่อยในงานมงคล (ภาพประกอบ1-ซ้าย) จริงแล้วก็คืออักษร ‘สี่’ ที่แปลว่ามงคลหรือความสุข (喜)มาเขียนติดกันสองตัว
การใช้อักษรประสมที่นิยมทำกันคือการนำประโยคสุภาษิตจีนมาเขียนเป็นอักษรประสมเพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล เราจะเห็นบ่อยมากในช่วงเทศกาลตรุษจีน อย่างเช่น ‘จาวฉายจิ้งป่าว’ ที่แปลว่า กวักทรัพย์เรียกสมบัติ (ดูภาพประกอบ1-ขวา)
ว่ากันว่าต้นกำเนิดของการเขียนอักษรประสมมาจากงานพิธีกรรมทางศาสนาโดยมีการนำคำที่มีความหมายมงคลหรือการขับไล่สิ่งที่ไม่ดีมาเขียนประสมขึ้นบนยันต์ บ้างก็มีการนำชื่อเทพเจ้ามาเขียนเป็นอักษรประสม ต่อมาชาวบ้านจึงนิยมมีไว้ประดับบ้านเรือนเพื่อป้องกันภูตผีปีศาจและโชคร้าย จนกลายมาเป็นการเขียนคำมงคลทั่วไปที่ใช้ในเทศกาลและงานมงคลต่างๆ แบบที่เรายังเห็นมีใช้ในปัจจุบัน นอกจากนี้ปัจจุบันยังกลายมาเป็นเทรนด์ในการดีไซน์โลโก้ของแบรนด์หรือร้านค้าในจีนด้วยเช่นกัน
แล้วอักษรประสมอ่านออกเสียงอย่างไร?
อักษรประสมโดยส่วนใหญ่แทบจะทั้งหมดจะไม่มีเสียงอ่านเฉพาะของมัน แต่จะอ่านครบตามประโยคที่นำมาเขียนรวม เช่น ‘จาวฉายจิ้งป่าว’ ที่เห็นในรูปภาพประกอบ1-ขวา ก็จะอ่านออกมาเต็มๆ สี่อักษร แต่ก็มีบางอักษรประสมที่มีเสียงอ่านเฉพาะ อย่างตัวอย่างอักษรมงคลคู่ (喜喜)จะไม่อ่านว่า ‘สี่สี่’ แต่มีเสียงอ่านเฉพาะตัวว่า ‘สี่’ หรือจะอ่านว่า ‘ซวงสี่’ ก็ได้ (‘ซวง’ แปลว่าคู่)
อักษรประสมต้องดูซับซ้อนเสมอไปหรือไม่? แน่นอนว่าจำนวนอักษรที่นำมาประสมยิ่งมากก็ยิ่งดูซับซ้อน แต่มีอักษรที่ใช้ประจำวันบางตัวที่จัดเป็นอักษรประสมด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสองอักษร ไม่ซับซ้อนเหมือนอักษรมงคลที่กล่าวมาข้างต้น เช่น คำว่า ‘ไว้’ ซึ่งแปลว่าเบี้ยวหรือเอียง (歪) ประกอบด้วยอักษร ‘ปู้’ ด้านบนและ ‘เจิ้ง’ด้านล่าง ซึ่ง ‘ปู้เจิ้ง’ แปลรวมว่าไม่ตรง เป็นต้น
จากที่ไปอ่านเพจของจีนมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ Storyฯ เห็นมีเพจหนึ่งเขาเอารูปถ่ายประตูบ้านของบ้านหลังหนึ่งในเมืองซีอันมาลงให้ดู เลยเอามาให้เพื่อนเพจดูด้วย (ภาพประกอบ 2) ... เห็นแล้วก็อึ้งทึ่งกับความ ‘จัดเต็ม’ ของคำมงคลจีนที่เจ้าของบ้านเอามาแปะไว้ เพราะรวมได้ทั้งหมดสุภาษิต 18 ประโยค เป็นการประสมทั้งหมด 72 อักษรให้เหลือเพียง 18 อักษร เก่งไหมล่ะ?
อยากชวนเพื่อนเพจลองมองซองอั่งเปาและรูปภาพต่างๆ ในเทศกาลตรุษจีนนี้ คุณอาจได้เห็นอักษรประสมเท่ๆ ที่ Storyฯ ไม่ได้กล่าวถึง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาอักษรประสมไหนอีก แปะรูปหรือเม้นท์มาคุยให้ฟังกันบ้างนะคะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.marieclaire.com.tw/entertainment/tvshow/60505
https://baike.baidu.com/item/合体字/2459569
https://www.163.com/dy/article/DBTJP8OA0524L8US.html#:~:text=合体字:就是由两,表示人倚着树木。
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://baike.baidu.com/item/合体字/2459569
https://new.qq.com/rain/a/20210627A08TKO00
#เหอถี่จื้อ #เหอเฉิงจื้อ #คำมงคลจีน #อักษรประสม #อักษรจีน
2 Comments
0 Shares
3 Views
0 Reviews