• ประเมิน 2 สาเหตุใหญ่ โครงสร้างอ่อนแอ เครนถล่มพระราม 2
    .
    เหตุการณ์โครงถักเหล็กเลื่อน อุปกรณ์ใช้ก่อสร้างทางยกระดับโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว (ช่วงที่ 3) ตอนที่ 1 อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท อุดมศักดิ์เชียงใหม่ จำกัด พังถล่มลงมาบนพื้นที่ กม.21+600-กม.22+100 ถนนพระราม 2 ขาออกกรุงเทพฯ หมู่ 2 ต.คอกกระบือ อ.เมืองสมุทรสาคร มีคนงานเสียชีวิต 6 ศพ กลายเป็นโศกนาฎกรรมที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีกครั้งบนถนนสายนี้ จนหลายฝ่ายเกิดข้อกังขาทำไมการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 ถึงได้เกิดอุบัติเหตุหลายต่อหลายครั้ง
    .
    ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุสลดครั้งล่าสุดว่า จากการได้ลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการวิบัติในทางวิศวกรรม โดยขณะนี้ มีการตั้งสมมุติฐานไว้ 2 แนวทางคือ 1.โครงเหล็กวิบัติที่ตัวโครงเหล็กเอง หรือ 2.ฐานรองรับโครงเหล็กหลุดจากเสา และทำให้โครงเหล็กวิบัติตามมา โดยส่วนตัวให้น้ำหนักไปที่สมมุติฐานข้อที่ 2 นั่นคือ ฐานรองโครงเหล็กหลุดจากเสาก่อน เพราะสามารถอธิบายได้ว่าหลังจากฐานรองรับหลุดแล้ว โครงเหล็กพังถล่มตามลงมาเนื่องจากการกระแทก และการกระชากของชิ้นส่วนที่ห้อยแขวนอยู่ ซึ่งจะอธิบายรูปแบบการวิบัติที่ปรากฏได้ อย่างไรก็ตามทั้งสองข้อข้างต้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้สรุปสาเหตุที่แท้จริงต่อไป
    .
    "เหตุการณ์นี้ สะท้อนให้เห็นว่า การก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ ยังเต็มไปด้วยความไม่ปลอดภัย ไม่ว่าต่อคนงานหรือต่อประชาชนที่ต้องใช้ทางสัญจร ปัญหารากเหง้าคือการก่อสร้างโดยใช้โครงเหล็กเลื่อนเป็นงานที่มีความซับซ้อนและต้องใช้วิศวกรรมระดับสูง ที่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับจะต้องมีความรู้และเข้าใจอย่างแท้จริงถึง ไม่ใช่ปล่อยให้คนงานขึ้นไปทำกันเอง"
    .
    สำหรับมาตรการที่จำเป็นต้องมีเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ควรประกอบด้วย 1.ระยะสั้น ต้องทบทวนมาตรฐานการทำงาน ของโครงการก่อสร้างอื่นทุกโครงการ ที่ใช้โครงเหล็กเลื่อนในการก่อสร้าง ได้แก่ ขั้นตอนการปฏิบัติ รูปแบบการเชื่อมต่อ ความแข็งแรงของโครงเหล็ก ตลอดจนผู้ที่จะไปขึ้นทำงานต้องผ่านการอบรม ทั้งในด้านความปลอดภัยและในด้านการปฏิบัติทางวิศวกรรม 2.ระยะกลาง-ระยะยาว รัฐควรออกกฎหมายเพื่อควบคุมการก่อสร้างที่ใช้ระบบโครงเหล็กเลื่อน ให้เป็น “การก่อสร้างควบคุม” หรือ “Controlled Construction” โดยควบคุมตั้งแต่วิศวกรที่วางแผนและกำกับการทำงาน หัวหน้าคนงาน ผู้บังคับโครงเหล็กเลื่อน ตลอดจนคนงานที่ขึ้นไปปฏิบัติงาน จะต้องผ่านการอบรมและทดสอบได้รับใบอนุญาต จึงจะขึ้นไปปฏิบัติงานได้ และการขอขึ้นไปปฏิบัติงานแต่ละครั้งต้องจัดให้มีเจ้าพนักงานความปลอดภัยตรวจสอบใบอนุญาตการทำงานเสียก่อน 3.รัฐควรออกระเบียบ ให้ขึ้นทะเบียนผู้รับเหมาที่ทำงานโครงเหล็กเลื่อน เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่มีความรู้หรือไม่ได้ขึ้นทะเบียนมารับงานได้
    ...............
    Sondhi X
    ประเมิน 2 สาเหตุใหญ่ โครงสร้างอ่อนแอ เครนถล่มพระราม 2 . เหตุการณ์โครงถักเหล็กเลื่อน อุปกรณ์ใช้ก่อสร้างทางยกระดับโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว (ช่วงที่ 3) ตอนที่ 1 อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท อุดมศักดิ์เชียงใหม่ จำกัด พังถล่มลงมาบนพื้นที่ กม.21+600-กม.22+100 ถนนพระราม 2 ขาออกกรุงเทพฯ หมู่ 2 ต.คอกกระบือ อ.เมืองสมุทรสาคร มีคนงานเสียชีวิต 6 ศพ กลายเป็นโศกนาฎกรรมที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีกครั้งบนถนนสายนี้ จนหลายฝ่ายเกิดข้อกังขาทำไมการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 ถึงได้เกิดอุบัติเหตุหลายต่อหลายครั้ง . ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุสลดครั้งล่าสุดว่า จากการได้ลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการวิบัติในทางวิศวกรรม โดยขณะนี้ มีการตั้งสมมุติฐานไว้ 2 แนวทางคือ 1.โครงเหล็กวิบัติที่ตัวโครงเหล็กเอง หรือ 2.ฐานรองรับโครงเหล็กหลุดจากเสา และทำให้โครงเหล็กวิบัติตามมา โดยส่วนตัวให้น้ำหนักไปที่สมมุติฐานข้อที่ 2 นั่นคือ ฐานรองโครงเหล็กหลุดจากเสาก่อน เพราะสามารถอธิบายได้ว่าหลังจากฐานรองรับหลุดแล้ว โครงเหล็กพังถล่มตามลงมาเนื่องจากการกระแทก และการกระชากของชิ้นส่วนที่ห้อยแขวนอยู่ ซึ่งจะอธิบายรูปแบบการวิบัติที่ปรากฏได้ อย่างไรก็ตามทั้งสองข้อข้างต้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้สรุปสาเหตุที่แท้จริงต่อไป . "เหตุการณ์นี้ สะท้อนให้เห็นว่า การก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ ยังเต็มไปด้วยความไม่ปลอดภัย ไม่ว่าต่อคนงานหรือต่อประชาชนที่ต้องใช้ทางสัญจร ปัญหารากเหง้าคือการก่อสร้างโดยใช้โครงเหล็กเลื่อนเป็นงานที่มีความซับซ้อนและต้องใช้วิศวกรรมระดับสูง ที่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับจะต้องมีความรู้และเข้าใจอย่างแท้จริงถึง ไม่ใช่ปล่อยให้คนงานขึ้นไปทำกันเอง" . สำหรับมาตรการที่จำเป็นต้องมีเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ควรประกอบด้วย 1.ระยะสั้น ต้องทบทวนมาตรฐานการทำงาน ของโครงการก่อสร้างอื่นทุกโครงการ ที่ใช้โครงเหล็กเลื่อนในการก่อสร้าง ได้แก่ ขั้นตอนการปฏิบัติ รูปแบบการเชื่อมต่อ ความแข็งแรงของโครงเหล็ก ตลอดจนผู้ที่จะไปขึ้นทำงานต้องผ่านการอบรม ทั้งในด้านความปลอดภัยและในด้านการปฏิบัติทางวิศวกรรม 2.ระยะกลาง-ระยะยาว รัฐควรออกกฎหมายเพื่อควบคุมการก่อสร้างที่ใช้ระบบโครงเหล็กเลื่อน ให้เป็น “การก่อสร้างควบคุม” หรือ “Controlled Construction” โดยควบคุมตั้งแต่วิศวกรที่วางแผนและกำกับการทำงาน หัวหน้าคนงาน ผู้บังคับโครงเหล็กเลื่อน ตลอดจนคนงานที่ขึ้นไปปฏิบัติงาน จะต้องผ่านการอบรมและทดสอบได้รับใบอนุญาต จึงจะขึ้นไปปฏิบัติงานได้ และการขอขึ้นไปปฏิบัติงานแต่ละครั้งต้องจัดให้มีเจ้าพนักงานความปลอดภัยตรวจสอบใบอนุญาตการทำงานเสียก่อน 3.รัฐควรออกระเบียบ ให้ขึ้นทะเบียนผู้รับเหมาที่ทำงานโครงเหล็กเลื่อน เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่มีความรู้หรือไม่ได้ขึ้นทะเบียนมารับงานได้ ............... Sondhi X
    Like
    Sad
    Angry
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 677 มุมมอง 0 รีวิว
  • อุบัติเหตุส่วนที่แคบที่สุด ถนนพระรามที่ 2

    โศกนาฏกรรมโครงถักเหล็กเลื่อน หรือลอนชิงทัส (Launching Truss) ที่ใช้ก่อสร้างทางยกระดับถนนพระรามที่ 2 หรือโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 82 สายบางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ตอน 1 ผู้รับจ้าง บริษัท อุดมศักดิ์เชียงใหม่ จำกัด พังถล่มลงมา บริเวณ ต.คอกกระบือ อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร เมื่อเวลา 04.07 น. วันที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 9 ราย ส่งผลทำให้การจราจรถนนพระรามที่ 2 เป็นอัมพาต

    เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นส่วนที่แคบที่สุดของถนนพระรามที่ 2 เนื่องจากทางขนาน (Frontage Road) ลอดใต้สะพานทางแยกต่างระดับเอกชัยมีเพียง 1 ช่องจราจร ขณะที่ช่องทางหลัก (Main Road) มี 3 ช่องจราจร แต่ได้ปิดการจราจรช่องทางหลักตั้งแต่เวลา 21.00 น. ถึง 05.00 น. ของวันรุ่งขึ้นเพื่อก่อสร้างทางยกระดับ ส่งผลทำให้ช่วงหลัง 21.00 น. การจราจรขาออกกรุงเทพฯ ก่อนถึงมหาชัยเมืองใหม่รถติดเป็นคอขวด กว่าจะผ่านจุดนี้มาได้ในยามปกติก็ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที

    แต่หลังเกิดโศกนาฎกรรม ปรากฎว่ารถติดนานนับชั่วโมง ก่อนหน้านี้ใช้วิธีบีบให้รถทุกคันใช้เส้นทางถนนเอกชัย ไปออกถนนพระรามที่ 2 อีกครั้งแถวตลาดทะเลไทย ขณะที่ถนนสายรอง เช่น ถนนวัดพันท้ายนรสิงห์ และถนนเจษฎาวิถี-สารินซิตี้ ได้รับผลกระทบเช่นกัน รถบางคันหนีไปใช้ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล ต่อเนื่องถนนสหกรณ์ ส่วนรถที่มาจากกรุงเทพฯ ใช้ถนนเอกชัย หรือถนนเพชรเกษม และถนนบรมราชชนนีทดแทน ล่าสุดตำรวจทางหลวง ได้เปิดช่องทางพิเศษระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อระบายรถขาออกกรุงเทพฯ ไปยังภาคใต้ ตั้งแต่เวลา 07.00 น. ถึง 21.00 น.ของทุกวัน จนกว่าสถานการณ์จะปกติ

    สำหรับการเคลื่อนย้ายโครงเหล็กติดตั้งสะพานที่ได้รับความเสียหาย ด้านซ้ายทางลงจากตอม่อสะพาน ปลดก้อนคอนกรีตและย้ายโครงเหล็กที่อาจมีผลกระทบด้านขวาทาง กลับสู่ตำแหน่งที่ปลอดภัย คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 14 วัน

    ที่ผ่านมาถนนพระรามที่ 2 ประสบอุบัติเหตุจากการก่อสร้างบ่อยครั้ง ตั้งแต่ปี 2561 ถึงเดือน ม.ค. 2567 รวม 2,244 ครั้ง เสียชีวิต 132 ราย บาดเจ็บ 1,305 ราย โดยมีอุบัติเหตุใหญ่ที่มีผู้เสียชีวิต ได้แก่ 31 ก.ค. 2565 แผ่นปูนสะพานกลับรถ กม.34 ทับรถยนต์เสียชีวิต 2 ราย, 8 พ.ค. 2566 แท่นปูนทางยกระดับหล่นทับคนงาน ก่อนถึงบิ๊กซี พระราม 2 เสียชีวิต 1 ราย, 15 ธ.ค. 2566 เหล็กแบบก่อสร้างทับคนงาน ย่านปากทางบางกระดี่ กทม. เสียชีวิต 1 ราย และ 18 ม.ค. 2567 รถเครนสลิงขาด กระเช้าตกลงมา บริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน เสียชีวิต 1 ราย เป็นต้น

    #Newskit
    อุบัติเหตุส่วนที่แคบที่สุด ถนนพระรามที่ 2 โศกนาฏกรรมโครงถักเหล็กเลื่อน หรือลอนชิงทัส (Launching Truss) ที่ใช้ก่อสร้างทางยกระดับถนนพระรามที่ 2 หรือโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 82 สายบางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ตอน 1 ผู้รับจ้าง บริษัท อุดมศักดิ์เชียงใหม่ จำกัด พังถล่มลงมา บริเวณ ต.คอกกระบือ อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร เมื่อเวลา 04.07 น. วันที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บ 9 ราย ส่งผลทำให้การจราจรถนนพระรามที่ 2 เป็นอัมพาต เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นส่วนที่แคบที่สุดของถนนพระรามที่ 2 เนื่องจากทางขนาน (Frontage Road) ลอดใต้สะพานทางแยกต่างระดับเอกชัยมีเพียง 1 ช่องจราจร ขณะที่ช่องทางหลัก (Main Road) มี 3 ช่องจราจร แต่ได้ปิดการจราจรช่องทางหลักตั้งแต่เวลา 21.00 น. ถึง 05.00 น. ของวันรุ่งขึ้นเพื่อก่อสร้างทางยกระดับ ส่งผลทำให้ช่วงหลัง 21.00 น. การจราจรขาออกกรุงเทพฯ ก่อนถึงมหาชัยเมืองใหม่รถติดเป็นคอขวด กว่าจะผ่านจุดนี้มาได้ในยามปกติก็ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที แต่หลังเกิดโศกนาฎกรรม ปรากฎว่ารถติดนานนับชั่วโมง ก่อนหน้านี้ใช้วิธีบีบให้รถทุกคันใช้เส้นทางถนนเอกชัย ไปออกถนนพระรามที่ 2 อีกครั้งแถวตลาดทะเลไทย ขณะที่ถนนสายรอง เช่น ถนนวัดพันท้ายนรสิงห์ และถนนเจษฎาวิถี-สารินซิตี้ ได้รับผลกระทบเช่นกัน รถบางคันหนีไปใช้ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล ต่อเนื่องถนนสหกรณ์ ส่วนรถที่มาจากกรุงเทพฯ ใช้ถนนเอกชัย หรือถนนเพชรเกษม และถนนบรมราชชนนีทดแทน ล่าสุดตำรวจทางหลวง ได้เปิดช่องทางพิเศษระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อระบายรถขาออกกรุงเทพฯ ไปยังภาคใต้ ตั้งแต่เวลา 07.00 น. ถึง 21.00 น.ของทุกวัน จนกว่าสถานการณ์จะปกติ สำหรับการเคลื่อนย้ายโครงเหล็กติดตั้งสะพานที่ได้รับความเสียหาย ด้านซ้ายทางลงจากตอม่อสะพาน ปลดก้อนคอนกรีตและย้ายโครงเหล็กที่อาจมีผลกระทบด้านขวาทาง กลับสู่ตำแหน่งที่ปลอดภัย คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 14 วัน ที่ผ่านมาถนนพระรามที่ 2 ประสบอุบัติเหตุจากการก่อสร้างบ่อยครั้ง ตั้งแต่ปี 2561 ถึงเดือน ม.ค. 2567 รวม 2,244 ครั้ง เสียชีวิต 132 ราย บาดเจ็บ 1,305 ราย โดยมีอุบัติเหตุใหญ่ที่มีผู้เสียชีวิต ได้แก่ 31 ก.ค. 2565 แผ่นปูนสะพานกลับรถ กม.34 ทับรถยนต์เสียชีวิต 2 ราย, 8 พ.ค. 2566 แท่นปูนทางยกระดับหล่นทับคนงาน ก่อนถึงบิ๊กซี พระราม 2 เสียชีวิต 1 ราย, 15 ธ.ค. 2566 เหล็กแบบก่อสร้างทับคนงาน ย่านปากทางบางกระดี่ กทม. เสียชีวิต 1 ราย และ 18 ม.ค. 2567 รถเครนสลิงขาด กระเช้าตกลงมา บริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน เสียชีวิต 1 ราย เป็นต้น #Newskit
    Like
    Sad
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 441 มุมมอง 0 รีวิว
  • สมาคมวิศวกรฯ ชี้สมมุติฐานสาเหตุการพังถล่มของโครงถักเหล็ก ถนนพระราม 2🚧ถนนพระราม 2 – จากเหตุการณ์การพังถล่มของโครงถักเหล็ก (Steel launching Truss) ก่อสร้างทางยกระดับบนถนนพระราม 2 ช่วงเช้าวันที่ 29 พ.ย.2567 จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายรายนั้นศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย ได้อธิบายว่า โครงสร้างเหล็กที่พังถล่มลงไปนั้น เป็นโครงถักเหล็กเลื่อน (Steel launching truss) ใช้สำหรับยกชิ้นส่วนสะพานหรือเซ็กเมนต์ ให้วางตัวในแนวเดียวกัน จากนั้นจึงยึดชิ้นส่วนเข้าด้วยกันโดยการดึงลวดอัดแรงโครงถักเหล็กที่ใช้มีลักษณะเป็นรูป 3 เหลี่ยม ใช้คู่กัน 2 ตัวเพื่อยกชิ้นส่วนสะพาน การพังถล่มคาดว่าเกิดขึ้นในขณะที่ทำการติดตั้ง segment ไม่ใช่เป็นขั้นตอนการเลื่อนโครงถักไปข้างหน้า ส่วนสาเหตุที่เกิดการพังถล่ม ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนได้ เพียงแต่มีการตั้งข้อสังเกตหรือข้อสมมุติฐานที่อาจจะเป็นไปได้ โดยพิจารณาจากรูปถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และคำบอกเล่าจากผู้เห็นเหตุการณ์ ดังนี้1.ตำแหน่งที่เกิดการวิบัติของโครงถักเหล็กเกิดขึ้นที่ใกล้เสา ซึ่งเป็นจุดที่มีค่าแรงเฉือนสูง และขณะที่เกิดการพังถล่มมีข้อมูลว่า ได้ทำการยกชิ้นส่วนครบทั้งช่วงเสาและจัดแนวแล้ว แสดงให้เห็นว่าโครงถักเหล็กอยู่ในสภาวะที่รับน้ำหนักเต็มที่ ค่าแรงเฉือนที่เกิดขึ้นจึงมีค่าที่สูงจนอาจทำให้ชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งของโครงถักเกิดดุ้ง หักหรือขาด แล้วทำให้โครงถักเหล็กสูญเสียกำลังจนพังลงมา2.ท่อนเหล็ก PT bar ที่ใช้หิ้ว segment อาจเกิดการขาดหรือหลุด ทำให้น้ำหนักเสียสมดุล และทำให้เกิดการถ่ายแรงจากโครงถักหนึ่งไปยังอีกโครงถักหนึ่ง ทำให้โครงถักต้องรับน้ำหนักมากขึ้น จนเกิดการบิดตัวและพังถล่มตามมา3.โครงเหล็กวินช์ ที่ใช้ยก segment ที่ตั้งอยู่บนโครงถักเหล็ก และสามารถเลื่อนไปมาได้มีน้ำหนักมากหลายสิบตัน อาจหลุดออกจากรางในระหว่างที่ติดตั้งชิ้นส่วนและทำให้เกิดแรงกระแทกต่อโครงถักเหล็กจนพังถล่มลงมา4.จุดยึดหรือรอยต่อระหว่างโครงถักเหล็กโดยใช้สลักเกลียวหรือท่อนเหล็ก PT bar มีการใช้วัสดุที่ได้คุณภาพ มีกำลังรับน้ำหนักที่เพียงพอหรือไม่ และปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้หรือไม่ ตลอดจนฐานรองรับของโครงเหล็กมีการยึดเข้ากับเสาอย่างแข็งแรงหรือไม่ เพียงใดศ.ดร.อมร พิมานมาศ กล่าวต่อว่า ปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมานี้ยังเป็นเพียงข้อสังเกตขั้นต้นเท่านั้น ยังไม่สรุปว่าเป็นสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งอาจมีปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติมอีก และการที่จะระบุสาเหตุที่แท้จริงได้นั้นจะต้องรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เช่น แบบ รายการคำนวณ ข้อกำหนดวิธีการทำงาน และคุณภาพวัสดุ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การวิบัติของโครงถักเหล็กเป็นเรื่องที่กระทบต่อความเชื่อมั่นและความปลอดภัยของการก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ และที่ผ่านมาก็เกิดเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันหลายครั้งแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีมาตรการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันเหตุซ้ำรอยในอนาคตที่มา:matichon
    สมาคมวิศวกรฯ ชี้สมมุติฐานสาเหตุการพังถล่มของโครงถักเหล็ก ถนนพระราม 2🚧ถนนพระราม 2 – จากเหตุการณ์การพังถล่มของโครงถักเหล็ก (Steel launching Truss) ก่อสร้างทางยกระดับบนถนนพระราม 2 ช่วงเช้าวันที่ 29 พ.ย.2567 จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายรายนั้นศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย ได้อธิบายว่า โครงสร้างเหล็กที่พังถล่มลงไปนั้น เป็นโครงถักเหล็กเลื่อน (Steel launching truss) ใช้สำหรับยกชิ้นส่วนสะพานหรือเซ็กเมนต์ ให้วางตัวในแนวเดียวกัน จากนั้นจึงยึดชิ้นส่วนเข้าด้วยกันโดยการดึงลวดอัดแรงโครงถักเหล็กที่ใช้มีลักษณะเป็นรูป 3 เหลี่ยม ใช้คู่กัน 2 ตัวเพื่อยกชิ้นส่วนสะพาน การพังถล่มคาดว่าเกิดขึ้นในขณะที่ทำการติดตั้ง segment ไม่ใช่เป็นขั้นตอนการเลื่อนโครงถักไปข้างหน้า ส่วนสาเหตุที่เกิดการพังถล่ม ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนได้ เพียงแต่มีการตั้งข้อสังเกตหรือข้อสมมุติฐานที่อาจจะเป็นไปได้ โดยพิจารณาจากรูปถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และคำบอกเล่าจากผู้เห็นเหตุการณ์ ดังนี้1.ตำแหน่งที่เกิดการวิบัติของโครงถักเหล็กเกิดขึ้นที่ใกล้เสา ซึ่งเป็นจุดที่มีค่าแรงเฉือนสูง และขณะที่เกิดการพังถล่มมีข้อมูลว่า ได้ทำการยกชิ้นส่วนครบทั้งช่วงเสาและจัดแนวแล้ว แสดงให้เห็นว่าโครงถักเหล็กอยู่ในสภาวะที่รับน้ำหนักเต็มที่ ค่าแรงเฉือนที่เกิดขึ้นจึงมีค่าที่สูงจนอาจทำให้ชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งของโครงถักเกิดดุ้ง หักหรือขาด แล้วทำให้โครงถักเหล็กสูญเสียกำลังจนพังลงมา2.ท่อนเหล็ก PT bar ที่ใช้หิ้ว segment อาจเกิดการขาดหรือหลุด ทำให้น้ำหนักเสียสมดุล และทำให้เกิดการถ่ายแรงจากโครงถักหนึ่งไปยังอีกโครงถักหนึ่ง ทำให้โครงถักต้องรับน้ำหนักมากขึ้น จนเกิดการบิดตัวและพังถล่มตามมา3.โครงเหล็กวินช์ ที่ใช้ยก segment ที่ตั้งอยู่บนโครงถักเหล็ก และสามารถเลื่อนไปมาได้มีน้ำหนักมากหลายสิบตัน อาจหลุดออกจากรางในระหว่างที่ติดตั้งชิ้นส่วนและทำให้เกิดแรงกระแทกต่อโครงถักเหล็กจนพังถล่มลงมา4.จุดยึดหรือรอยต่อระหว่างโครงถักเหล็กโดยใช้สลักเกลียวหรือท่อนเหล็ก PT bar มีการใช้วัสดุที่ได้คุณภาพ มีกำลังรับน้ำหนักที่เพียงพอหรือไม่ และปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้หรือไม่ ตลอดจนฐานรองรับของโครงเหล็กมีการยึดเข้ากับเสาอย่างแข็งแรงหรือไม่ เพียงใดศ.ดร.อมร พิมานมาศ กล่าวต่อว่า ปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมานี้ยังเป็นเพียงข้อสังเกตขั้นต้นเท่านั้น ยังไม่สรุปว่าเป็นสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งอาจมีปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติมอีก และการที่จะระบุสาเหตุที่แท้จริงได้นั้นจะต้องรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เช่น แบบ รายการคำนวณ ข้อกำหนดวิธีการทำงาน และคุณภาพวัสดุ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การวิบัติของโครงถักเหล็กเป็นเรื่องที่กระทบต่อความเชื่อมั่นและความปลอดภัยของการก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ และที่ผ่านมาก็เกิดเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันหลายครั้งแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีมาตรการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันเหตุซ้ำรอยในอนาคตที่มา:matichon
    Like
    Sad
    2
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 277 มุมมอง 0 รีวิว
  • จากเหตุการณ์การพังถล่มของโครงถักเหล็ก (Steel launching Truss) ก่อสร้างทางยกระดับบนถนนพระราม 2 ช่วงเช้าวันที่ 29 พ.ย.2567 จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายรายนั้น ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย ได้อธิบายว่า โครงสร้างเหล็กที่พังถล่มลงไปนั้นเป็นโครงถักเหล็กเลื่อน (Steel launching truss) ใช้สำหรับยกชิ้นส่วนสะพานหรือเซกเมนต์ให้วางตัวในแนวเดียวกัน จากนั้นจึงยึดชิ้นส่วนเข้าด้วยกันโดยการดึงลวดอัดแรง โครงถักเหล็กที่ใช้มีลักษณะเป็นรูป 3 เหลี่ยม ใช้คู่กัน 2 ตัวเพื่อยกชิ้นส่วนสะพาน การพังถล่มคาดว่าเกิดขึ้นในขณะที่ทำการติดตั้ง segment ไม่ใช่เป็นขั้นตอนการเลื่อนโครงถักไปข้างหน้า ส่วนสาเหตุที่เกิดการพังถล่ม ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุที่สาเหตุชัดเจนได้ เพียงแต่มีการตั้งข้อสังเกต หรือข้อสมมติฐานที่อาจจะเป็นไปได้ โดยพิจารณาจากรูปถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และคำบอกเล่าจากผู้เห็นเหตุการณ์ ดังนี้

    1.ตำแหน่งที่เกิดการวิบัติของโครงถักเหล็กเกิดขึ้นที่ใกล้เสา ซึ่งเป็นจุดที่มีค่าแรงเฉือนสูง และขณะที่เกิดการพังถล่มมีข้อมูลว่า ได้ทำการการยกชิ้นส่วนครบทั้งช่วงเสาและจัดแนวแล้ว แสดงให้เห็นว่าโครงถักเหล็กอยู่ในสภาวะที่รับน้ำหนักเต็มที่ ค่าแรงเฉือนที่เกิดขึ้นจึงมีค่าที่สูงจนอาจทำให้ชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งของโครงถักเกิดดุ้ง หักหรือขาด แล้วทำให้โครงถักเหล็กสูญเสียกำลังจนพังลงมา

    2.ท่อนเหล็ก PT bar ที่ใช้หิ้ว segment อาจเกิดการขาดหรือหลุด ทำให้น้ำหนักเสียสมดุล และทำให้เกิดการถ่ายแรงจากโครงถักหนึ่งไปยังอีกโครงถักหนึ่ง ทำให้โครงถักต้องรับน้ำหนักมากขึ้น จนเกิดการบิดตัวและพังถล่มตามมา

    3.โครงเหล็กวินช์ ที่ใช้ยก segment ที่ตั้งอยู่บนโครงถักเหล็ก และสามารถเลื่อนไปมาได้มีน้ำหนักมากหลายสิบตัน อาจหลุดออกจากรางในระหว่างที่ติดตั้งชิ้นส่วนและทำให้เกิดแรงกระแทกต่อโครงถักเหล็กจนพังถล่มลงมา

    4.จุดยึดหรือรอยต่อระหว่างโครงถักเหล็กโดยใช้สลักเกลียวหรือท่อนเหล็ก PT bar มีการใช้วัสดุที่ได้คุณภาพ มีกำลังรับน้ำหนักที่เพียงพอหรือไม่ และปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้หรือไม่ ตลอดจนฐานรองรับของโครงเหล็กมีการยึดเข้ากับเสาอย่างแข็งแรงหรือไม่ เพียงใด

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/stockmarket/detail/9670000114846

    #MGROnline #โครงถักเหล็ก #ถนนพระราม2
    จากเหตุการณ์การพังถล่มของโครงถักเหล็ก (Steel launching Truss) ก่อสร้างทางยกระดับบนถนนพระราม 2 ช่วงเช้าวันที่ 29 พ.ย.2567 จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายรายนั้น ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย ได้อธิบายว่า โครงสร้างเหล็กที่พังถล่มลงไปนั้นเป็นโครงถักเหล็กเลื่อน (Steel launching truss) ใช้สำหรับยกชิ้นส่วนสะพานหรือเซกเมนต์ให้วางตัวในแนวเดียวกัน จากนั้นจึงยึดชิ้นส่วนเข้าด้วยกันโดยการดึงลวดอัดแรง โครงถักเหล็กที่ใช้มีลักษณะเป็นรูป 3 เหลี่ยม ใช้คู่กัน 2 ตัวเพื่อยกชิ้นส่วนสะพาน การพังถล่มคาดว่าเกิดขึ้นในขณะที่ทำการติดตั้ง segment ไม่ใช่เป็นขั้นตอนการเลื่อนโครงถักไปข้างหน้า ส่วนสาเหตุที่เกิดการพังถล่ม ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุที่สาเหตุชัดเจนได้ เพียงแต่มีการตั้งข้อสังเกต หรือข้อสมมติฐานที่อาจจะเป็นไปได้ โดยพิจารณาจากรูปถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และคำบอกเล่าจากผู้เห็นเหตุการณ์ ดังนี้ • 1.ตำแหน่งที่เกิดการวิบัติของโครงถักเหล็กเกิดขึ้นที่ใกล้เสา ซึ่งเป็นจุดที่มีค่าแรงเฉือนสูง และขณะที่เกิดการพังถล่มมีข้อมูลว่า ได้ทำการการยกชิ้นส่วนครบทั้งช่วงเสาและจัดแนวแล้ว แสดงให้เห็นว่าโครงถักเหล็กอยู่ในสภาวะที่รับน้ำหนักเต็มที่ ค่าแรงเฉือนที่เกิดขึ้นจึงมีค่าที่สูงจนอาจทำให้ชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งของโครงถักเกิดดุ้ง หักหรือขาด แล้วทำให้โครงถักเหล็กสูญเสียกำลังจนพังลงมา • 2.ท่อนเหล็ก PT bar ที่ใช้หิ้ว segment อาจเกิดการขาดหรือหลุด ทำให้น้ำหนักเสียสมดุล และทำให้เกิดการถ่ายแรงจากโครงถักหนึ่งไปยังอีกโครงถักหนึ่ง ทำให้โครงถักต้องรับน้ำหนักมากขึ้น จนเกิดการบิดตัวและพังถล่มตามมา • 3.โครงเหล็กวินช์ ที่ใช้ยก segment ที่ตั้งอยู่บนโครงถักเหล็ก และสามารถเลื่อนไปมาได้มีน้ำหนักมากหลายสิบตัน อาจหลุดออกจากรางในระหว่างที่ติดตั้งชิ้นส่วนและทำให้เกิดแรงกระแทกต่อโครงถักเหล็กจนพังถล่มลงมา • 4.จุดยึดหรือรอยต่อระหว่างโครงถักเหล็กโดยใช้สลักเกลียวหรือท่อนเหล็ก PT bar มีการใช้วัสดุที่ได้คุณภาพ มีกำลังรับน้ำหนักที่เพียงพอหรือไม่ และปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้หรือไม่ ตลอดจนฐานรองรับของโครงเหล็กมีการยึดเข้ากับเสาอย่างแข็งแรงหรือไม่ เพียงใด • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/stockmarket/detail/9670000114846 • #MGROnline #โครงถักเหล็ก #ถนนพระราม2
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 307 มุมมอง 0 รีวิว