• แม้ว่าเสี่ยเปรมชัย จะโดนคดีเสือดำ ตั้งแต่ก่อนมีการว่าจ้างให้สร้างตึกสตง. และระหว่างก่อสร้าง เสี่ยก็โดนพิพากษาให้นอนซังเต แต่ก็ต้องมารับกรรมจากธุรกิจตัวเองไปด้วย อิทธิฤทธิ์ไข่เสือดำที่เสี่ยแดกเข้าไปช่วยกระตุ้นสมรรถภาพทางกฎแห่งกรรมจริงๆ
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #เปรมชัย
    #คดีเสือดำ
    #เปรมชัยตึกสตง
    แม้ว่าเสี่ยเปรมชัย จะโดนคดีเสือดำ ตั้งแต่ก่อนมีการว่าจ้างให้สร้างตึกสตง. และระหว่างก่อสร้าง เสี่ยก็โดนพิพากษาให้นอนซังเต แต่ก็ต้องมารับกรรมจากธุรกิจตัวเองไปด้วย อิทธิฤทธิ์ไข่เสือดำที่เสี่ยแดกเข้าไปช่วยกระตุ้นสมรรถภาพทางกฎแห่งกรรมจริงๆ #คิงส์โพธิ์แดง #เปรมชัย #คดีเสือดำ #เปรมชัยตึกสตง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 167 มุมมอง 0 รีวิว
  • วิบากกรรมเปรมชัย จากเสือดำถึงตึก สตง.

    ยังคงกลายเป็นวิบากกรรมต่อไปสำหรับนายเปรมชัย กรรณสูต วัย 71 ปี อดีตประธานกรรมการ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ล่าสุดศาลอาญาอนุมัติหมายจับในความผิดตามมาตรา 227 และมาตรา 238 กรณีอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา พร้อมกับกลุ่มบริษัทผู้ออกแบบ กลุ่มบริษัทผู้รับจ้างควบคุมการก่อสร้าง และกลุ่มบริษัทผู้รับจ้างก่อสร้าง รวม 17 ราย ตามที่พนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล ขออนุมัติศาลออกหมายจับ ซึ่งเจ้าตัวได้ประสานเข้ามอบตัวในวันที่ 16 พ.ค. เวลา 09.00 น. ที่ สน.บางซื่อ พร้อมผู้ต้องหารายอื่น

    สำหรับผู้ต้องหาตามหมายจับทั้ง 17 ราย มีทั้งผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลกลุ่มบริษัทผู้ออกแบบ 1 ราย บริษัทผู้รับจ้างควบคุมการก่อสร้าง 4 ราย บริษัทผู้รับจ้างก่อสร้าง 3 ราย กลุ่มวิศวกรผู้ลงนามในแบบแปลน 5 ราย ผู้จัดการโครงการ 1 ราย ผู้ได้รับมอบหมายกระทำแทนกิจการร่วมค้าฯ 1 ราย และวิศวกรโครงสร้าง บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด อีก 2 ราย กรณีของนายเปรมชัย แม้จะลาออกจากประธานกรรมการ ITD ไปแล้ว แต่มีรายชื่อเป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจลงนามใน ITD ลงลายมือชื่อร่วมกับ นางนิจพร จรณะจิตต์ อายุ 73 ปี รวมเป็นสองคนและประทับตราสำคัญของบริษัทฯ

    จากการตรวจสอบพยานหลักฐานพบว่าแบบแปลนการก่อสร้างไม่สอดคล้องกับกฎกระทรวง และมาตรฐาน กลุ่มกำแพงปล่องลิฟต์ของอาคาร ไม่ได้อยู่ตรงกลางอาคาร แต่ชิดขอบด้านหลัง ทำให้ศูนย์กลางของการบิดตัวของอาคารเยื้องไปจากศูนย์กลางอาคาร เมื่อแผ่นดินไหวกำแพงปล่องลิฟต์และเสาที่ฐานถล่มเกือบพร้อมกัน ทำให้อาคารทั้งหลังตกลงมาในแนวดิ่งอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน ผลตรวจปูนซีเมนต์พบว่าไม่ได้มาตรฐานตามค่า KSC เหล็กบางส่วนไม่เป็นไปตามแบบ และลายมือชื่อของ นายสมเกียรติ ชูแสงสุข ผู้เสียหายที่ถูกปลอมลายมือชื่อลงไปในฐานะวุฒิวิศวกร ไม่ใช่ลายมือชื่อของคนเดียวกัน

    ก่อนหน้านี้นายเปรมชัยเคยถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุก 2 ปี 14 เดือน ไม่รอลงอาญา ชดใช้เงิน 2 ล้านบาท เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2564 ในคดีล่าสัตว์ป่า (เสือดำ) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2561 แต่กรมราชทัณฑ์ได้ปล่อยตัวออกจากเรือนจำทองผาภูมิ เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2566 และเห็นควรไม่ให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) เนื่องจากบริเวณข้อเท้าเคยถูกคว้านเนื้อที่ตายจากอาการเบาหวานลงขา แต่อยู่ภายใต้เงื่อนไขคุมประพฤติ กระทั่งครบกำหนดโทษเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา

    #Newskit
    วิบากกรรมเปรมชัย จากเสือดำถึงตึก สตง. ยังคงกลายเป็นวิบากกรรมต่อไปสำหรับนายเปรมชัย กรรณสูต วัย 71 ปี อดีตประธานกรรมการ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ล่าสุดศาลอาญาอนุมัติหมายจับในความผิดตามมาตรา 227 และมาตรา 238 กรณีอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา พร้อมกับกลุ่มบริษัทผู้ออกแบบ กลุ่มบริษัทผู้รับจ้างควบคุมการก่อสร้าง และกลุ่มบริษัทผู้รับจ้างก่อสร้าง รวม 17 ราย ตามที่พนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล ขออนุมัติศาลออกหมายจับ ซึ่งเจ้าตัวได้ประสานเข้ามอบตัวในวันที่ 16 พ.ค. เวลา 09.00 น. ที่ สน.บางซื่อ พร้อมผู้ต้องหารายอื่น สำหรับผู้ต้องหาตามหมายจับทั้ง 17 ราย มีทั้งผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลกลุ่มบริษัทผู้ออกแบบ 1 ราย บริษัทผู้รับจ้างควบคุมการก่อสร้าง 4 ราย บริษัทผู้รับจ้างก่อสร้าง 3 ราย กลุ่มวิศวกรผู้ลงนามในแบบแปลน 5 ราย ผู้จัดการโครงการ 1 ราย ผู้ได้รับมอบหมายกระทำแทนกิจการร่วมค้าฯ 1 ราย และวิศวกรโครงสร้าง บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด อีก 2 ราย กรณีของนายเปรมชัย แม้จะลาออกจากประธานกรรมการ ITD ไปแล้ว แต่มีรายชื่อเป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจลงนามใน ITD ลงลายมือชื่อร่วมกับ นางนิจพร จรณะจิตต์ อายุ 73 ปี รวมเป็นสองคนและประทับตราสำคัญของบริษัทฯ จากการตรวจสอบพยานหลักฐานพบว่าแบบแปลนการก่อสร้างไม่สอดคล้องกับกฎกระทรวง และมาตรฐาน กลุ่มกำแพงปล่องลิฟต์ของอาคาร ไม่ได้อยู่ตรงกลางอาคาร แต่ชิดขอบด้านหลัง ทำให้ศูนย์กลางของการบิดตัวของอาคารเยื้องไปจากศูนย์กลางอาคาร เมื่อแผ่นดินไหวกำแพงปล่องลิฟต์และเสาที่ฐานถล่มเกือบพร้อมกัน ทำให้อาคารทั้งหลังตกลงมาในแนวดิ่งอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน ผลตรวจปูนซีเมนต์พบว่าไม่ได้มาตรฐานตามค่า KSC เหล็กบางส่วนไม่เป็นไปตามแบบ และลายมือชื่อของ นายสมเกียรติ ชูแสงสุข ผู้เสียหายที่ถูกปลอมลายมือชื่อลงไปในฐานะวุฒิวิศวกร ไม่ใช่ลายมือชื่อของคนเดียวกัน ก่อนหน้านี้นายเปรมชัยเคยถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุก 2 ปี 14 เดือน ไม่รอลงอาญา ชดใช้เงิน 2 ล้านบาท เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2564 ในคดีล่าสัตว์ป่า (เสือดำ) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2561 แต่กรมราชทัณฑ์ได้ปล่อยตัวออกจากเรือนจำทองผาภูมิ เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2566 และเห็นควรไม่ให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) เนื่องจากบริเวณข้อเท้าเคยถูกคว้านเนื้อที่ตายจากอาการเบาหวานลงขา แต่อยู่ภายใต้เงื่อนไขคุมประพฤติ กระทั่งครบกำหนดโทษเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 389 มุมมอง 0 รีวิว
  • 78 ปี วิสามัญ “เสือฝ้าย” จอมโจรเมืองสุพรรณ จากผู้ใหญ่บ้าน สู่ขุนโจรผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อตำรวจน่ากลัวกว่าเสือ จึงถูกหลอกซ้ำซาก ล่อติดคุก-ลวงยิงทิ้ง 🐅

    เมื่อผู้ใหญ่บ้าน กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่รัฐกลัวที่สุด ย้อนตำนาน “เสือฝ้าย” จอมโจรผู้เลื่องชื่อแห่งเมืองสุพรรณ กับบทสรุปที่กลายเป็นปริศนา เสือจริงหรือตำรวจคือภัยร้ายกว่า?

    เรื่องราวของ “เสือฝ้าย” จอมโจรเมืองสุพรรณ ผู้กล้าท้าทายอำนาจรัฐ ด้วยเหตุแห่งความอยุติธรรม กลายเป็นตำนานโจรผู้ยิ่งใหญ่ ที่ชาวบ้านรัก และตำรวจหวาดกลัว 🕵️‍♂️🔥

    เมื่อความอยุติธรรม สร้างตำนานโจรผู้ยิ่งใหญ่ หากพูดถึง "เสือ" ในตำนานไทย หลายคนอาจนึกถึง “เสือใบ”, “เสือดำ” หรือ “เสือมเหศวร” แต่มีอีกหนึ่งชื่อ ที่ไม่อาจมองข้ามได้เลยคือ “เสือฝ้าย” 🐯 จอมโจรเมืองสุพรรณ ผู้ที่ไม่ได้เริ่มต้นจากการเป็นโจร แต่กลับกลายเป็นตำนาน ด้วยความเจ็บแค้นที่ถูกระบบรังแก

    "เสือฝ้าย" หรือ "นายฝ้าย เพ็ชนะ" เคยเป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 ตำบลเดิมบาง เป็นนักรบเสรีไทย และเป็นผู้ชายธรรมดาคนหนึ่ง ที่อยากทำดีเพื่อบ้านเกิด แต่เมื่อความดี ถูกตอบแทนด้วยความอยุติธรรม จึงเลือกหนทางของ "เสือ"

    “เมื่อรัฐเล่นตลกกับข้า ข้าก็จะสร้างเสียงหัวเราะให้พวกมัน!” เสือฝ้าย กล่าวไว้ หลังพ้นโทษจำคุก 8 ปี

    😇👉😈 "นายฝ้าย เพ็ชนะ" เกิดเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2431 ที่ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นลูกของชาวนา ครอบครัวมีพี่น้อง 8 คน เติบโตมาอย่างเรียบง่าย กระทั่งช่วงวัย 20 ต้น ๆ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “ผู้ใหญ่บ้านบ้านท่าใหญ่ หมู่ที่ 5”

    ระหว่างสงครามโลก ครั้งที่สอง เสือฝ้ายมีบทบาทสำคัญใน “ขบวนการเสรีไทย” ต่อต้านทหารญี่ปุ่น และได้รับฉายา “จอมพลฝ้าย” จากประชาชน

    แต่เรื่องราวกลับเปลี่ยนไป เมื่อถูกใส่ร้ายจากหลานเขย ผู้มีสายสัมพันธ์กับตำรวจ ถูกตัดสินให้ติดคุกถึง 8 ปี ทั้งที่ไม่มีความผิด นี่คือจุดเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลง 🧨

    ✊ เสือฝ้ายผู้รักความยุติธรรม แม้จะถูกตราหน้าว่าเป็น “โจร” แต่เสือฝ้ายไม่เหมือนโจรทั่วไป

    สิ่งที่ “ปล้น” ไม่ใช่เพื่อความร่ำรวยส่วนตัว เสือฝ้ายตั้งเป้าเล่นงานเฉพาะ “ผู้มีอำนาจที่ฉ้อโกง” ไม่ปล้นคนจน ไม่แตะต้องชาวบ้าน แจกจ่ายทรัพย์สินที่ปล้นมา ให้กับผู้ยากไร้ในชุมชน

    🔥 ชาวบ้านจึงเปรียบเสือฝ้ายเสมือน “ฮีโร่” มากกว่า “ผู้ร้าย” ❤️

    “ชาวบ้านรักเสือฝ้าย เพราะไม่เคยทำร้ายใครที่ไม่มีอำนาจ”

    🏴‍☠️ ชุมโจรที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เสือฝ้ายไม่ใช่โจรเดี่ยว นำกองกำลังชุมโจรที่ใหญ่ที่สุด เท่าที่ไทยเคยมี สมุนไม่ต่ำกว่า 100-200 คน เทียบกับกลุ่มโจรทั่วไปในยุคนั้น ที่มีเพียง 10-20 คน

    เสือฝ้ายใช้เส้นทางป่าในเขตเดิมบางนางบวช ซึ่งล้อมรอบด้วยภูเขาและป่าทึบ เป็นที่หลบซ่อนและตั้งฐานปฏิบัติการ

    “บางคนว่าทั้งสุพรรณบุรี คือบ้านของเสือฝ้าย เพราะทุกคนต่างพร้อมใจ ให้การช่วยเหลือ”

    🌆 เมืองสุพรรณยุคโจรครองเมือง 🧧 ย้อนกลับไปในยุคต้นรัชกาลที่ 6 เมืองสุพรรณฯ เต็มไปด้วยข่าวปล้น คนจีนอพยพมาตั้งตลาด หอดูโจรถูกสร้างไว้ทั่วเมือง

    จนมีคำพูดติดปากว่า “ใครไปรับราชการที่สุพรรณฯ ต้องเตรียมหม้อใส่กระดูกกลับบ้าน”

    สุพรรณกลายเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในแง่ลบ แต่ก็เป็นบ้านของวีรบุรุษนอกกฎหมาย ที่ชาวบ้านศรัทธา

    📜 การลวงฆ่าเสือฝ้าย ความจริงที่ไม่เคยเปิดเผยอย่างเป็นทางการ 🔫 วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2490 เป็นวันที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึก...

    ตำรวจกองปราบหลอกเสือฝ้ายว่า จะพาไปรับรางวัลที่กรุงเทพฯ แล้วนำตัวไปพักที่โรงแรมศรีธงชัย ปัจจุบันคือธนาคารกรุงศรีฯ แต่รุ่งเช้ากลับมีข่าวว่า เสือฝ้ายถูกยิงตายที่ป่าช้าบ้านบางกะโพ้น ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยอ้างว่า “กระโดดน้ำหนี” ❌

    แต่ชาวบ้านไม่เชื่อ เพราะ “ไม่มีทางที่เสือฝ้ายจะหนี ทั้งที่เชื่อว่ากำลังจะได้รางวัล”

    😰 ปากคำชาวบ้าน ตำรวจน่ากลัวกว่าโจร

    “ตำรวจกองปราบน่ากลัวกว่าเสือเสียอีก พวกเขาอำพรางข่าว หลอกลวง และฆ่าคนบริสุทธิ์” ยายเกียด ทรัพย์จีน กล่าวไว้

    เธอเผยว่าเคยต้องปลอมตัว เอาโคลนทาทั่วตัว เพื่อส่งเสบียงให้ชุมโจรแบบลับ ๆ

    🧘‍♂️ เสือฝ้ายกับขุนพันธ์ ผู้ยิ่งใหญ่ที่ไม่ยอมรับสินบน ⚖️ เสือฝ้ายเคยพยายามติดสินบน “ขุนพันธ์” นายตำรวจผู้ปราบโจรในตำนาน แต่ขุนพันธ์ปฏิเสธ ด้วยเหตุผลว่า "ไม่ใช่พื้นที่รับผิดชอบ" และไม่ยอมลดศักดิ์ศรีของตำรวจ ด้วยการรับสินบนจากโจร

    🐯 เสือฝ้ายในโลกภาพยนตร์ 🎬 เสือฝ้ายยังเป็นแรงบันดาลใจ ให้กับภาพยนตร์หลายเรื่อง โดยเฉพาะในภาพยนตร์ "ขุนพันธ์ ภาค 2" แสดงโดย ผู้พันเบิร์ด "พันโทวันชนะ สวัสดี" เพิ่มความเหนือธรรมชาติ เช่น วิชานะจังงัง, รอยสักยันต์ช้างเอราวัณ และยันต์ท้าวเวสสุวรรณ

    🔥 ความตายที่กลายเป็นตำนาน แม้เสือฝ้ายจะถูกฆ่าตาย แต่ตำนานของเขายังอยู่...

    เสือฝ้ายเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่ถูกระบบกดขี่ แล้วลุกขึ้นมาต่อสู้ เป็นเสียงของผู้ไร้เสียง และเป็นเสือที่ถูกฆ่าโดย “สัตว์ที่ร้ายกว่า”

    คำถามที่ยังไม่มีคำตอบ ❓

    ใครสั่งวิสามัญเสือฝ้ายจริง ๆ?

    ตำรวจเพียงแค่ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือมีเจตนาแอบแฝง?

    ทำไมข่าวถูกกลบอย่างรวดเร็ว?

    🐾 เสือที่ยังคงคำรามในประวัติศาสตร์ 📚 เรื่องราวของเสือฝ้าย ไม่ใช่เพียงเรื่องของโจร หรือเรื่องของตำรวจ
    แต่คือ “ภาพสะท้อนของสังคม” ที่ยังคงเป็นจริงแม้ผ่านไป 78 ปี

    เสือฝ้ายคือผู้ที่ระบบผลักให้กลายเป็นโจร แต่ชาวบ้านกลับยกย่องว่า “วีรบุรุษ” และตราบใดที่ความอยุติธรรมยังมีอยู่ เสียงคำรามของ “เสือฝ้าย” ก็ยังดังก้องในใจของคนรุ่นหลัง ✊

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 251009 เม.ย. 2568

    📢 #เสือฝ้าย #ตำนานเสือสุพรรณ #จอมโจรไทย #ประวัติศาสตร์โจร #ขุนพันธ์ #เสรีไทย #วิสามัญฆาตกรรม #สุพรรณบุรี #วีรบุรุษโจร #เสือฝ้ายผู้ยิ่งใหญ่
    78 ปี วิสามัญ “เสือฝ้าย” จอมโจรเมืองสุพรรณ จากผู้ใหญ่บ้าน สู่ขุนโจรผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อตำรวจน่ากลัวกว่าเสือ จึงถูกหลอกซ้ำซาก ล่อติดคุก-ลวงยิงทิ้ง 🐅 เมื่อผู้ใหญ่บ้าน กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่รัฐกลัวที่สุด ย้อนตำนาน “เสือฝ้าย” จอมโจรผู้เลื่องชื่อแห่งเมืองสุพรรณ กับบทสรุปที่กลายเป็นปริศนา เสือจริงหรือตำรวจคือภัยร้ายกว่า? เรื่องราวของ “เสือฝ้าย” จอมโจรเมืองสุพรรณ ผู้กล้าท้าทายอำนาจรัฐ ด้วยเหตุแห่งความอยุติธรรม กลายเป็นตำนานโจรผู้ยิ่งใหญ่ ที่ชาวบ้านรัก และตำรวจหวาดกลัว 🕵️‍♂️🔥 เมื่อความอยุติธรรม สร้างตำนานโจรผู้ยิ่งใหญ่ หากพูดถึง "เสือ" ในตำนานไทย หลายคนอาจนึกถึง “เสือใบ”, “เสือดำ” หรือ “เสือมเหศวร” แต่มีอีกหนึ่งชื่อ ที่ไม่อาจมองข้ามได้เลยคือ “เสือฝ้าย” 🐯 จอมโจรเมืองสุพรรณ ผู้ที่ไม่ได้เริ่มต้นจากการเป็นโจร แต่กลับกลายเป็นตำนาน ด้วยความเจ็บแค้นที่ถูกระบบรังแก "เสือฝ้าย" หรือ "นายฝ้าย เพ็ชนะ" เคยเป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 ตำบลเดิมบาง เป็นนักรบเสรีไทย และเป็นผู้ชายธรรมดาคนหนึ่ง ที่อยากทำดีเพื่อบ้านเกิด แต่เมื่อความดี ถูกตอบแทนด้วยความอยุติธรรม จึงเลือกหนทางของ "เสือ" “เมื่อรัฐเล่นตลกกับข้า ข้าก็จะสร้างเสียงหัวเราะให้พวกมัน!” เสือฝ้าย กล่าวไว้ หลังพ้นโทษจำคุก 8 ปี 😇👉😈 "นายฝ้าย เพ็ชนะ" เกิดเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2431 ที่ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นลูกของชาวนา ครอบครัวมีพี่น้อง 8 คน เติบโตมาอย่างเรียบง่าย กระทั่งช่วงวัย 20 ต้น ๆ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “ผู้ใหญ่บ้านบ้านท่าใหญ่ หมู่ที่ 5” ระหว่างสงครามโลก ครั้งที่สอง เสือฝ้ายมีบทบาทสำคัญใน “ขบวนการเสรีไทย” ต่อต้านทหารญี่ปุ่น และได้รับฉายา “จอมพลฝ้าย” จากประชาชน แต่เรื่องราวกลับเปลี่ยนไป เมื่อถูกใส่ร้ายจากหลานเขย ผู้มีสายสัมพันธ์กับตำรวจ ถูกตัดสินให้ติดคุกถึง 8 ปี ทั้งที่ไม่มีความผิด นี่คือจุดเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลง 🧨 ✊ เสือฝ้ายผู้รักความยุติธรรม แม้จะถูกตราหน้าว่าเป็น “โจร” แต่เสือฝ้ายไม่เหมือนโจรทั่วไป สิ่งที่ “ปล้น” ไม่ใช่เพื่อความร่ำรวยส่วนตัว เสือฝ้ายตั้งเป้าเล่นงานเฉพาะ “ผู้มีอำนาจที่ฉ้อโกง” ไม่ปล้นคนจน ไม่แตะต้องชาวบ้าน แจกจ่ายทรัพย์สินที่ปล้นมา ให้กับผู้ยากไร้ในชุมชน 🔥 ชาวบ้านจึงเปรียบเสือฝ้ายเสมือน “ฮีโร่” มากกว่า “ผู้ร้าย” ❤️ “ชาวบ้านรักเสือฝ้าย เพราะไม่เคยทำร้ายใครที่ไม่มีอำนาจ” 🏴‍☠️ ชุมโจรที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เสือฝ้ายไม่ใช่โจรเดี่ยว นำกองกำลังชุมโจรที่ใหญ่ที่สุด เท่าที่ไทยเคยมี สมุนไม่ต่ำกว่า 100-200 คน เทียบกับกลุ่มโจรทั่วไปในยุคนั้น ที่มีเพียง 10-20 คน เสือฝ้ายใช้เส้นทางป่าในเขตเดิมบางนางบวช ซึ่งล้อมรอบด้วยภูเขาและป่าทึบ เป็นที่หลบซ่อนและตั้งฐานปฏิบัติการ “บางคนว่าทั้งสุพรรณบุรี คือบ้านของเสือฝ้าย เพราะทุกคนต่างพร้อมใจ ให้การช่วยเหลือ” 🌆 เมืองสุพรรณยุคโจรครองเมือง 🧧 ย้อนกลับไปในยุคต้นรัชกาลที่ 6 เมืองสุพรรณฯ เต็มไปด้วยข่าวปล้น คนจีนอพยพมาตั้งตลาด หอดูโจรถูกสร้างไว้ทั่วเมือง จนมีคำพูดติดปากว่า “ใครไปรับราชการที่สุพรรณฯ ต้องเตรียมหม้อใส่กระดูกกลับบ้าน” สุพรรณกลายเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในแง่ลบ แต่ก็เป็นบ้านของวีรบุรุษนอกกฎหมาย ที่ชาวบ้านศรัทธา 📜 การลวงฆ่าเสือฝ้าย ความจริงที่ไม่เคยเปิดเผยอย่างเป็นทางการ 🔫 วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2490 เป็นวันที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึก... ตำรวจกองปราบหลอกเสือฝ้ายว่า จะพาไปรับรางวัลที่กรุงเทพฯ แล้วนำตัวไปพักที่โรงแรมศรีธงชัย ปัจจุบันคือธนาคารกรุงศรีฯ แต่รุ่งเช้ากลับมีข่าวว่า เสือฝ้ายถูกยิงตายที่ป่าช้าบ้านบางกะโพ้น ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยอ้างว่า “กระโดดน้ำหนี” ❌ แต่ชาวบ้านไม่เชื่อ เพราะ “ไม่มีทางที่เสือฝ้ายจะหนี ทั้งที่เชื่อว่ากำลังจะได้รางวัล” 😰 ปากคำชาวบ้าน ตำรวจน่ากลัวกว่าโจร “ตำรวจกองปราบน่ากลัวกว่าเสือเสียอีก พวกเขาอำพรางข่าว หลอกลวง และฆ่าคนบริสุทธิ์” ยายเกียด ทรัพย์จีน กล่าวไว้ เธอเผยว่าเคยต้องปลอมตัว เอาโคลนทาทั่วตัว เพื่อส่งเสบียงให้ชุมโจรแบบลับ ๆ 🧘‍♂️ เสือฝ้ายกับขุนพันธ์ ผู้ยิ่งใหญ่ที่ไม่ยอมรับสินบน ⚖️ เสือฝ้ายเคยพยายามติดสินบน “ขุนพันธ์” นายตำรวจผู้ปราบโจรในตำนาน แต่ขุนพันธ์ปฏิเสธ ด้วยเหตุผลว่า "ไม่ใช่พื้นที่รับผิดชอบ" และไม่ยอมลดศักดิ์ศรีของตำรวจ ด้วยการรับสินบนจากโจร 🐯 เสือฝ้ายในโลกภาพยนตร์ 🎬 เสือฝ้ายยังเป็นแรงบันดาลใจ ให้กับภาพยนตร์หลายเรื่อง โดยเฉพาะในภาพยนตร์ "ขุนพันธ์ ภาค 2" แสดงโดย ผู้พันเบิร์ด "พันโทวันชนะ สวัสดี" เพิ่มความเหนือธรรมชาติ เช่น วิชานะจังงัง, รอยสักยันต์ช้างเอราวัณ และยันต์ท้าวเวสสุวรรณ 🔥 ความตายที่กลายเป็นตำนาน แม้เสือฝ้ายจะถูกฆ่าตาย แต่ตำนานของเขายังอยู่... เสือฝ้ายเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่ถูกระบบกดขี่ แล้วลุกขึ้นมาต่อสู้ เป็นเสียงของผู้ไร้เสียง และเป็นเสือที่ถูกฆ่าโดย “สัตว์ที่ร้ายกว่า” คำถามที่ยังไม่มีคำตอบ ❓ ใครสั่งวิสามัญเสือฝ้ายจริง ๆ? ตำรวจเพียงแค่ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือมีเจตนาแอบแฝง? ทำไมข่าวถูกกลบอย่างรวดเร็ว? 🐾 เสือที่ยังคงคำรามในประวัติศาสตร์ 📚 เรื่องราวของเสือฝ้าย ไม่ใช่เพียงเรื่องของโจร หรือเรื่องของตำรวจ แต่คือ “ภาพสะท้อนของสังคม” ที่ยังคงเป็นจริงแม้ผ่านไป 78 ปี เสือฝ้ายคือผู้ที่ระบบผลักให้กลายเป็นโจร แต่ชาวบ้านกลับยกย่องว่า “วีรบุรุษ” และตราบใดที่ความอยุติธรรมยังมีอยู่ เสียงคำรามของ “เสือฝ้าย” ก็ยังดังก้องในใจของคนรุ่นหลัง ✊ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 251009 เม.ย. 2568 📢 #เสือฝ้าย #ตำนานเสือสุพรรณ #จอมโจรไทย #ประวัติศาสตร์โจร #ขุนพันธ์ #เสรีไทย #วิสามัญฆาตกรรม #สุพรรณบุรี #วีรบุรุษโจร #เสือฝ้ายผู้ยิ่งใหญ่
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 748 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพชรบุรี - ตื่นเต้น!! นักท่องเที่ยวพบ ‘พยัคฆ์สีนิล ขณะขึ้นเขาพะเนินทุ่ง กม.20 พบเสือดำ เดินอยู่ริมถนนบริเวณชายป่า สร้างความตื่นเต้นให้กับครอบครัวที่ได้ขึ้นมาท่องเที่ยว พบสัตว์ป่าคุ้มครองหายาก แห่งผืนป่ามรดกโลก

    นายมงคล ไชยภักดี หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ประจำจุดบ้านกร่าง ว่า เมื่อวันที่ 24 มี.ค.68 ที่ผ่านมา ขณะที่ นายสถาพร ธนากรธำรง นักท่องเที่ยว ได้นั่งรถนำเที่ยวขึ้นไปเที่ยวบนเขาพะเนินทุ่ง เมื่อผ่านมาที่ กม.20 ได้พบกับเสือดำ เดินอยู่ริมถนนบริเวณชายป่า สร้างความตื่นเต้นให้กับครอบครัวที่ได้ขึ้นมาท่องเที่ยว และได้พบสัตว์ป่าคุ้มครองหายาก แห่งผืนป่ามรดกโลกแห่งนี้

    สำหรับการพบเจอเสือดำครั้งนี้ พบว่าเสือดำเดินข้ามถนนก่อนจะหายเข้าไปในป่า การพบเสือดำล่าสุดนี้เป็นสัญญาณที่ดี แสดงให้เห็นว่าสัตว์ป่ายังคงใช้พื้นที่อย่างปกติ แม้ก่อนหน้านี้จะมีเหตุการณ์ไกด์และนักท่องเที่ยวตามถ่ายภาพเสือดำจนสร้างความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อพฤติกรรมของสัตว์ป่า โดยจากที่ได้รับรายงานล่าสุด พบว่า รถนำเที่ยวที่พบเสือดำ ได้ค่อยๆเคลื่อนรถช้าๆ จนเสือดำเดินเข้าป่าไปอย่างปลอดภัย และไม่ไปรบกวนพฤติกรรมสัตว์ป่าแต่อย่างใด

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/local/detail/9680000028617

    #MGROnline #เพชรบุรี #เสือดำ #พยัคฆ์สีนิล #เขาพะเนินทุ่ง
    เพชรบุรี - ตื่นเต้น!! นักท่องเที่ยวพบ ‘พยัคฆ์สีนิล ขณะขึ้นเขาพะเนินทุ่ง กม.20 พบเสือดำ เดินอยู่ริมถนนบริเวณชายป่า สร้างความตื่นเต้นให้กับครอบครัวที่ได้ขึ้นมาท่องเที่ยว พบสัตว์ป่าคุ้มครองหายาก แห่งผืนป่ามรดกโลก • นายมงคล ไชยภักดี หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ประจำจุดบ้านกร่าง ว่า เมื่อวันที่ 24 มี.ค.68 ที่ผ่านมา ขณะที่ นายสถาพร ธนากรธำรง นักท่องเที่ยว ได้นั่งรถนำเที่ยวขึ้นไปเที่ยวบนเขาพะเนินทุ่ง เมื่อผ่านมาที่ กม.20 ได้พบกับเสือดำ เดินอยู่ริมถนนบริเวณชายป่า สร้างความตื่นเต้นให้กับครอบครัวที่ได้ขึ้นมาท่องเที่ยว และได้พบสัตว์ป่าคุ้มครองหายาก แห่งผืนป่ามรดกโลกแห่งนี้ • สำหรับการพบเจอเสือดำครั้งนี้ พบว่าเสือดำเดินข้ามถนนก่อนจะหายเข้าไปในป่า การพบเสือดำล่าสุดนี้เป็นสัญญาณที่ดี แสดงให้เห็นว่าสัตว์ป่ายังคงใช้พื้นที่อย่างปกติ แม้ก่อนหน้านี้จะมีเหตุการณ์ไกด์และนักท่องเที่ยวตามถ่ายภาพเสือดำจนสร้างความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อพฤติกรรมของสัตว์ป่า โดยจากที่ได้รับรายงานล่าสุด พบว่า รถนำเที่ยวที่พบเสือดำ ได้ค่อยๆเคลื่อนรถช้าๆ จนเสือดำเดินเข้าป่าไปอย่างปลอดภัย และไม่ไปรบกวนพฤติกรรมสัตว์ป่าแต่อย่างใด • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/local/detail/9680000028617 • #MGROnline #เพชรบุรี #เสือดำ #พยัคฆ์สีนิล #เขาพะเนินทุ่ง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 488 มุมมอง 0 รีวิว